คลังเก็บป้ายกำกับ: MR

รวมข้อมูล Apple Vision Pro จริง ๆ แล้วมันคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

แว่น Vision Pro สุดล้ำจาก Apple ที่เปิดตัวมาในราคาราว ๆ แสนสองหมื่นบาท ตอนดูพรีเซ้นท์ในงาน หลาย ๆ คนก็น่าจะว้าวอยู่ว่ามันสามารถทำนู่นทำนี่ได้เหมือนในหนัง Sci-fi เลย แต่ก็น่าจะมีคำถามกันหลายข้ออยู่ว่าความสามารถจริง ๆ ของมันมีอะไรบ้าง มันเอาไว้ใช้ทำอะไร และทำไมถึงแพงมหาศาลขนาดนี้ เราก็เลยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาสรุปให้ชัด ๆ ไปเลยว่า Vision Pro มันมีดีตรงไหนครับ

Vision Pro คืออะไร?

Apple ไม่ได้วางคาแรคเตอร์ของ Vision Pro เอาไว้ว่าเป็นแว่น VR, AR หรือ MR ที่มีคู่แข่งมากมายในตลาดนะครับ แต่เค้าจำกัดความว่ามันคือ Spatial Computer รุ่นแรกของ Apple ถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือคอมพิวเตอร์สวมใส่ที่สามารถแสดงผลภาพแบบดิจิทัลเข้ากับภาพของโลกจริงได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งทำงาน และความบันเทิง

แม้ว่าทาง Apple จะไม่อยากใช้คำว่า VR หรือ AR กับเจ้า Vision Pro แต่จากการพรีเซ้นต์ที่เราได้เห็นในงาน WWDC มันก็คือแว่นที่รวมเอาเทคโนโลยี VR และ AR มาไว้ในอุปกรณ์เดียวกันนี่แหละ เพราะมันทำได้ทั้งการผสานภาพดิจิทัลเข้ากับโลกจริงเหมือนแว่น AR และการเข้าสู่โลกไซเบอร์แบบเต็ม ๆ โดยที่ไม่เห็นโลกจริงแบบแว่น VR ก็ได้เหมือนกัน

รูปร่างหน้าตาของ Vision Pro 

Vision Pro มีหน้าตาที่เหมือนกับแว่นดำน้ำ (โดนแซวจนยับแล้ว) ที่มีกรอบเป็นอลูมินัมอัลลอย และมีเลนส์สีดำอยู่ด้านหน้า ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่เลนส์โปร่งแสงแบบที่คนใส่จะมองทะลุออกมาได้เหมือนกับ Hololens ของ Microsoft นะครับ แต่มันเป็นหน้าจอ OLED ที่สามารถแสดงภาพบริเวณดวงตาของเราให้คนอื่นเห็นได้ ในขณะที่เราก็มองเห็นคนด้านนอกได้เช่นกัน

ที่เห็นตาคนใส่ไม่ใช่เลนส์ใสนะ แต่เป็นจอภาพที่แสดงบริเวณตาของคนใส่ให้เห็นได้

การสวมใส่ก็ใช้สายคาดหัวคล้าย ๆ กับ VR Headset ทั่วไป แต่จะฝังลำโพงระบบ Spatial Audio ไว้ข้าง ๆ บริเวณหูเพื่อความสมจริง (Audio Straps) ด้านหลังเป็นสายคาดที่ทำจากผ้ายืดปรับความแน่นได้

Audio Straps

สเปค Vision Pro

Vision Pro เป็นแว่น MR ที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียบกับ PC หรือใช้งานคู่กับมือถือ เพราะมันมีชิปสุดแรง M2 ในตัวสำหรับการประมวลผลทั่วไป และยังมีชิป R1 ที่ถูกออกแบบมาสำหรับประมวลผลกล้อง + เซนเซอร์ + ไมโครโฟน ที่อยู่รอบแว่นอีกทีนึง ทำให้การผสานกราฟิกต่าง ๆ เข้ากับโลกจริงมีความแม่นยำและรวดเร็วแบบเรียลไทม์

หน้าจอของ Vision Pro ทั้งซ้าย-ขวา มีความละเอียดสูงถึงข้างละ 4K เป็นจอแบบ micro-OLED ที่ให้ภาพแบบคมกริบ ละเอียดยิบ และสีสันสดสวยสมจริง แถมยังครอบด้วยเลนส์ ZEISS เพิ่มความชัดเจน และลดความผิดเพี้ยนของมุมมองด้านในด้วย

รอบ ๆ ตัวเครื่อง Vision Pro มีกล้องและเซนเซอร์ติดไว้เพียบประกอบด้วยกล้องหน้า 2 ตัว, เซนเซอร์ 3D LiDAR ตรงกลาง 1 ตัว, กล้องมองด้านล่าง 2 ตัว, กล้องด้านข้าง 2 ตัว, กล้องจับความลึก TrueDepth 2 ตัว และตัวยิงแสงอินฟราเรดอีก 2 ตัว โดยทั้งหมดนี้จะถูกประมวลผลผ่านชิป R1 ทำให้การจับความตื้นลึกบริเวณรอบ ๆ มีความแม่นยำสูงมาก ๆ นั่นเอง

ก่อนหน้านี้เทคโนโลยี AR จะยังไม่เนียนเท่าไหร่ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้งานพวกนี้ (เช่นมือถือ) ยังไม่มีเซนเซอร์สำหรับวัดความตื้นลึกของบริเวณรอบ ๆ ได้แบบละเอียดยิบและแม่นยำเหมือนของ Vision Pro คือสามารถแสดงกราฟิกลอยกลางอากาศได้ แต่ยังตรึงอยู่กับที่ไม่แม่น เวลาเดินเข้าไปหาหรือเดินรอบ ๆ แล้วกราฟิก 3D จะยังขยับหรือยังโดดไปมาอยู่

ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็เอามาใช้ในการเปิดหน้าจอเสมือนให้ลอยอยู่ต่อหน้าเราเพื่อใช้งานได้เหมือนหน้าจอจริง ๆ แถมยังเปิดได้พร้อมกันหลายจอ และขยับเปลี่ยนที่ตั้งไปมา หรือขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นได้ตามใจเลย

อยากมองเห็นโลกภายนอก หรือจะเข้าไปอยู่ในโลกไซเบอร์เต็มตัวก็ได้ง่าย ๆ

อย่างที่บอกไปว่า Vision Pro สามารถใช้งานแบบ AR ซึ่งจะแสดงภาพของโลกภาพนอกระหว่างใช้งานแอปต่าง ๆ ไปด้วยได้ หรือจะเข้าสู่โลก VR แบบเต็ม ๆ โดยที่ไม่เห็นโลกภาพนอกเลยก็ได้ ซึ่งเราปรับโหมดได้ง่าย ๆ ด้วยปุ่มหมุนที่ตัวแว่น (หมุนเพื่อหรี่ภาพของโลกภายนอกหรือหมุนไปอีกทางเพื่อแสดงภาพโลกภายนอกแบบเต็ม ๆ)

อยากนั่งดูหนังในห้องแบบ AR

หรือจะเข้าโหมด VR เพื่อดูหนังในป่าก็ได้

ปรับง่าย ๆ ด้วยปุ่มหมุน

ระบบเสียง Spatial Audio

Vision Pro รองรับระบบเสียง Spatial Audio ที่จะเล่นเสียงออกมาจากลำโพงที่สายคาดหัว ซึ่งระบบ Spatial Audio จะมีความที่เหมาะกับเทคโนโลยี AR มาก ๆ เพราะมันจะเล่นเสียงมาจากทิศทางที่นั้น ๆ เลย ยกตัวอย่างเราดูไลฟ์การแข่งขัน NBA แบบ 360° อยู่ เมื่อเราหันหน้าไปที่สนามเสียงการแข่งขันก็จะอยู่ด้านหน้าตามปกติ แต่พอเราหันข้างเสียงการแข่งขันก็จะมาจากข้าง ๆ แทน ไม่เหมือนการใช้หูฟังทั่วไป ที่เสียงจะมาเท่า ๆ กันไม่ว่าจะหันไปทางไหน

ระบบ VisionOS คืออะไร?

อย่างที่บอกไปว่า Vision Pro สามารถใช้งานได้ในตัวเอง ไม่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพราะมันมีชิปในตัว และยังมีระบบปฎิบัติการในตัวอีกด้วย ซึ่งก็คือระบบ visionOS ที่ออกแบบมาให้ทำงานได้ด้วยการใช้สายตาในการเลือกเมนูต่าง ๆ ใช้มือเปล่าสั่งการได้โดยไม่ต้องมีคอนโทรลเลอร์ รวมถึงใช้คำสั่งเสียงก็ได้เหมือนกัน

ใช้สายตากวาดมองไปที่แอปแทนการใช้เม้าส์

ปลดล็อคด้วยการสแกนดวงตาก่อนใช้งาน

เวลาจะเข้าใช้งาน Vision Pro แต่ละที จะต้องยืนยันตัวตนผ่านการสแกนดวงตาด้วยเซนเซอร์ Optic ID ที่อยู่ด้านในแว่นซะก่อน เนื่องจาก visionOS มีทั้ง App Store และแอปอื่น ๆ ที่ผูกกับ Apple ID เอาไว้นั่นเอง ก็เลยต้องมีการล็อคเครื่องล็อคบัญชีเหมือนกับ iPhone นั่นเองครับ

Vision Pro ใช้แอปอะไรได้บ้าง

visionOS จะมีแอปให้เลือกใช้ได้เหมือนกับ iOS เลย ไม่ว่าจะเป็นเบราว์เซอร์ Safari, Apple TV, Photos, Music ฯลฯ และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จาก App Store ที่มีติดตั้งอยู่แล้ว โดยแอปเหล่านี้ก็จะถูกออกแบบมาให้ใช้งานคู่กับ visionOS โดยเฉพาะ เนื่องจากมันมีการแสดงผลและการสั่งการที่ต่างจากบนหน้าจออุปกรณ์ทั่วไปนั่นเอง แต่ตอนเปิดตัววางขายจริงก็จะมีแอปอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาจากเหล่านักพัฒนาอีกเพียบแน่นอน

การใช้งาน Vision Pro

Vision Pro ไม่มีคอนโทรลเลอร์มาให้เหมือนกับพวก VR Headset นะครับ เพราะมันถูกออกแบบมาให้ใช้วิธีตรวจจับการมอง (Eye Tracking) และตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือ (Hand Tracking) อย่างเวลาเราเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วเลือกว่าจะใช้แอปไหน ก็แค่กวาดสายตาไปแล้วจ้องไปตรงแอปที่ต้องการ จากนั้นก็จีบนื้วมือแทนการคลิก เท่านี้แอปก็จะเปิดขึ้นมาให้เลย โดยที่เราไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นมาชี้ไปตรงนั้นตรงนี้ให้เมื่อยด้วย

หรือเวลาทำงานผ่าน Safari, แอปแชท หรืออื่น ๆ เราก็ใช้มือแทนเมาส์ได้ เช่นการจีบนิ้วก็คือการคลิก ถ้าจีบค้างไว้แล้วลากก็เหมือนการคลิกเมาส์ค้างไว้นั่นเอง อย่างเวลาจะส่งภาพเข้าห้องแชท ก็แค่จีบนิ้วตรงภาพในเบราว์เซอร์แล้วลากมาไว้ในห้องแชทเพื่อส่งภาพได้ทันที

จีบนิ้วเพื่อคลิก

แน่นอนว่าฟีเจอร์พื้นฐานอย่างการสั่งงานด้วยเสียงก็มีมาให้ด้วย อย่างเวลาจะค้นหาข้อมูลใน Google หรือหาหนังดู ก็แค่กดตรงปุ่มคำสั่งเสียงแล้วพูดออกไปได้เลย

การพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด

Vision Pro จะเชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดแบบไร้สายก็ได้เพราะผู้ใส่สามารถมองเห็นคีย์บอร์ดที่วางอยู่ในโลกจริงได้อยู่แล้ว หรือหากไปนอกสถานที่ ไม่ได้พกอะไรไปด้วย ก็ใช้คีย์บอร์ดเสมือนที่ลอยอยู่ตรงหน้า แล้วใช้นิ้วจิ้มเอาเหมือนคีย์บอร์ดจริง ๆ แต่แน่นอนว่าการจิ้ม ๆ กลางอากาศแบบนี้จะเมื่อยมากเลย เวลาใช้ไปซักพัก

มีคีย์บอร์ดลอยอยู่ตรงหน้า

Vision Pro ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

มาถึงตรงนี้แล้ว หลาย ๆ คนน่าจะสงสัยว่า Vision Pro มันจะเอามาทำอะไรได้บ้าง ซึ่งตามที่ Apple พรีเซ้นท์เอาไว้ หลัก ๆ ก็คือ…

ดูหนังจอยักษ์แบบส่วนตัว

Vison Pro สามารถแสดงจอสำหรับเล่นหนังได้แบบยักษ์ ๆ เหมือน IMAX ไปเลย โดยจะดูหนังแบบให้จอลอยอยู่กลางห้องนั่งเล่นแบบ AR ก็ได้ หรือจะปรับให้เป็นโหมด VR เปลี่ยนบริเวณรอบด้านกลายเป็นสภาพแวดล้อมอื่น ๆ อย่างโรงหนัง, กลางป่า, บนดวงจันทร์ ไปเลยก็ได้เหมือนกัน

เล่นเกมผ่าน Apple Arcade ด้วยจอยักษ์ส่วนตัว

Apple พรีเซ้นท์ว่า Vision Pro สามารถเล่นเกมผ่าน Apple Arcade ได้ ด้วยการเชื่อมกับคอนโทรลเลอร์เกมทั่วไป ซึ่งตัวเกมจะไม่ได้เป็นแบบ VR นะครับ แต่จะเป็นการแสดงหน้าจอขนาดใหญ่ขึ้นมาตรงหน้าเหมือนเวลาเราดูหนังนี่แหละ

ดูคอนเท้นต์ 360 องศา

Apple บอกว่าจะไปจับมือกับค่ายต่าง ๆ อย่าง Disney เพื่อผลิตคอนเท้นต์ 360 องศา ให้เหมือนกับว่าเราเข้าไปนั่งอยู่ในหนังหรือในการ์ตูนได้ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปดูการแข่งขันกีฬาอย่าง NBA แบบติดขอบสนามได้ด้วย (เป็นคอนเท้นต์ที่ต้องเสียค่าบริการ)

วิดีโอคอลล์ได้เหมือนคุยกันต่อหน้า

สามารถวิดีโอคอลล์ผ่าน FaceTime ได้เหมือนคุยกันอยู่ต่อหน้า โดยหน้าต่างวิดีโอคอลล์จะขยายหรือหดได้ตามที่ต้องการ

Vision Pro ใช้งานได้นานแค่ไหน? เปลี่ยนแบตได้ไหม?

Apple เคลมว่า Vision Pro ใช้งานต่อเนื่องได้ราว ๆ 2 ชั่วโมง โดยแบตเตอรี่ของมันจะใช้แบบต่อสายออกมาข้างนอกซึ่งสามารถเปลี่ยนแบตก้อนใหม่ได้เหมือนพาวเวอร์แบงค์ แต่! เนื่องจาก Vision Pro ไม่มีแบตเตอรี่ในตัวนะครับ หากแบตเตอรี่หมดแล้วจะเปลี่ยนก้อนใหม่ก็ต้องปิดเครื่องก่อน หรือถ้าต้องการจะใช้งานแบบนาน ๆ ก็ต้องเสียบไฟบ้านเอา แน่นอนว่าก็จะต้องนั่งเล่นยืนเล่นอยู่กับที่ (อ้าว!)

from:https://droidsans.com/apple-vision-pro-what-is-it-what-does-it-do/

Samsung เปลี่ยนดีไซน์แว่น Galaxy XR ใหม่ พร้อมอัปเกรดสเปค เพื่อเตรียมทุบ Apple Vision Pro

Samsung เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ดูเหมือนจะสนใจตลาด VR อยู่เนือง ๆ เพราะเมื่อหลายปีก่อนก็เคยเปิดตัว Gear VR อุปกรณ์เสริมที่ใช้มือถือทำหน้าที่เป็นจอเพื่อใช้งานในโหมด VR แต่ก็ได้เงียบหายกันไปพักใหญ่ แต่ล่าสุดเมื่อช่วงต้นปีก็มีข่าวว่าทางแบรนด์ได้ซุ่มพัฒนาแว่นตา MR คล้าย ๆ Vision Pro อยู่ด้วยในชื่อ Galaxy XR แต่ในเมื่อ Apple ชิงเปิดตัวก่อน Samsung จึงไม่รอช้า สั่งรื้อสเปค และดีไซน์ใหม่เพื่อท้าชนแล้ว

มีข่าวลือมาว่าหลังจากที่ Apple Vision Pro ได้เปิดตัวออกมาอย่างฮือฮา มาพร้อมเทคโนโลยีจัดเต็ม ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนทิศทางตลาดพรีเมียมเทคโนโลยีในอนาคต ทำให้ฝั่ง Samsung ที่กำลังพัฒนาแว่น Galaxy XR อยู่ถึงกับนั่งไม่ติดเก้าอี้ ได้กลับไปทบทวนแผนการพัฒนา รวมถึงรื้อดีไซน์ใหม่เพื่อแข่งขันกับทาง Apple

Galaxy XR

Galaxy XR

ดีไซน์ Galaxy XR ที่หลุดออกมาครั้งก่อน

นอกจากนี้แล้ว Samsung ก็กำลังพิจารณาอัปเกรดสเปคแว่น Galaxy XR ใหม่ด้วยเช่นกัน จากทีแรกที่ทางแบรนด์จะใช้พาเนลจอความละเอียด 2,000 PPI แต่ภายหลังเมื่อ Apple Vision Pro เปิดตัวมาพร้อมกับจอด้านในที่มีความละเอียดสูงกว่า 3,500 PPI ทำให้ Samsung ต้องตัดสินใจอัปเกรดความละเอียดจอให้สูงกว่าเดิมที่ 3,000 PPI เพื่อให้พอฟัดพอเหวี่ยงกับแบรนด์ผลไม้นั่นเอง

ณ ขณะนี้ ทาง Samsung ได้สั่งผลิตตัวอย่างจอแสดงผลเวอร์ชั่นอัปเกรดใหม่แล้ว และคาดว่าจะเริ่มผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 แต่ถ้าหากผลิตไม่ทันในเดือนเดียวกัน ทางแบรนด์อาจต้องเลื่อนเปิดตัวแว่นตาจากเดิมที่พาร์ตเนอร์อย่าง Google เคยเปรย ๆ ไว้ว่าจะเปิดตัวภายในปี 2023 นี้

อย่างไหร่ก็ตาม เราอาจจะได้เห็นทางแบรนด์เอาแว่นตา Galaxy XR ตัวต้นแบบออกมาโชว์กันในงาน Galaxy Unpacked รอบที่ 2 ปี 2023 ที่กำลังจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ก็เป็นได้ แต่ตัวต้นแบบที่นำมาโชว์อาจจะยังเป็นรุ่นที่ใช้พาเนลจอแบบเก่าอยู่ และจะยังไม่เปิดให้สั่งจองภายในงาน ส่วนจะจริงเท็จอย่างไร ต้องรอติดตามรับชมกันในงานนะ

ที่มา: SamMobile

from:https://droidsans.com/samsung-galaxy-xr-redesign-to-beat-apple-vision-pro/

รู้แหละว่าแพง…Apple พัฒนาแว่น Vision รุ่นธรรมดาที่มีราคาถูกกว่า คาดเปิดตัวปี 2025

ในงาน WWDC ที่ผ่านมา หนึ่งในสิ่งที่ว้าวที่สุดและทำเอาแฟน ๆ Apple ฮือฮากันก็คือแว่น MR สุดล้ำอย่าง Vision Pro ที่มากับเทคโนโลยีสุดเทพ แถมยังมีราคาที่ใครเห็นก็ต้องอุทาน (จะอุทานอะไรก็แล้วแต่…) ด้วยค่าตัวราว ๆ แสนสองหมื่นบาท แต่ล่าสุดมีข้อมูลออกมาว่า Apple ไม่ได้มีแว่น MR รุ่นนี้แค่รุ่นเดียว แต่กำลังพัฒนารุ่นที่มีราคาถูกกว่าออกมาในปี 2025 ด้วย

ข้อมูลของแว่น Vision รุ่นเล็กนี้ มาจากสายข่าวฝั่ง Apple อย่าง Mark Gurman ที่มักจะวิเคราะห์หลาย ๆ เรือ่งได้อย่างแม่นยำ ซึ่งล่าสุดเค้าออกมาเผยว่าทาง Apple กำลังพัฒนาแว่น MR รุ่นที่มีราคาถูกกว่า Vision Pro อยู่ เพื่อที่จะทำให้สินค้าประเภทนี้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยแว่นรุ่นเล็กอาจใช้ชื่อว่า Vision หรือ Vision One

แน่นอนว่าเมื่อราคาถูกลงแล้ว สเปคต่าง ๆ ก็จะลดหลั่นลงมาจากรุ่น Pro ด้วย ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอที่อาจมีความละเอียดน้อยกว่า ชิปประมวลผลที่ไม่แรงเท่า ตัดกล้องหรือเซนเซอร์บางตัวออกไป และอาจต้องใช้งานคู่กับหูฟัง AirPods เพราะไม่มีหูฟังมาให้ในตัว ส่วนฟีเจอร์หลัก ๆ อย่างจอนอกสำหรับแสดงหน้าของผู้ใส่และเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือจะยังคงมีอยู่

แหล่งข่าวบอกว่า Apple วางแผนจะเปิดตัว Vision รุ่นธรรมดาช่วงปลายปี 2025 นู่นเลย นอกจากนี้ยังจะเริ่มพัฒนา Vision Pro รุ่นที่สองต่อเลยด้วย

ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าหาก Apple เปิดตัวแว่น Vision ทีมีราคาถูกลงจนลูกค้าทั่วไปสามารถหามาใช้ได้ไม่ยากแล้ว ตอนนั้นตลาดแว่น AR / VR อาจกลับมาคึกคักอีกรอบก็ได้ เพราะหลาย ๆ ค่ายก็น่าจะเริ่มพัฒนาแว่นของตัวเองออกมาแข่งกันนั่นแหละ

 

ที่มา : Gizmochina

from:https://droidsans.com/cheaper-apple-vison-might-coming-2025/

สนุกแน่…Samsung จับมือ Qualcomm และ Google ซุ่มพัฒนาแว่น Mixed Reality เตรียมชน Apple Vision Pro ในปีนี้

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปิดตัว Vision Pro แว่น Mixed Reality ของฝั่ง Apple กันไปแล้ว ซึ่งจากการพรีเซ้นต์ฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็ทำเอาหลายคนว้าวไปตาม ๆ กัน (พอรู้ราคายิ่งว้าวเข้าไปใหญ่ -_-) แต่ดูท่าทางปีนี้ตลาด Mixed Reality อาจจะดุเดือดขึ้นมาก็ได้ เพราะมีข่าวว่า Samsung ได้จับมือกับ Qualcomm และ Google เพื่อพัฒนาแว่น Mixed Reality ของตัวเองอยู่เหมือนกัน

มีข้อมูลออกมาว่าตอนนี้ Samsung, Qualcomm และ Google ได้จับมือกันเพื่อพัฒนาแว่น MR (Mixed reality) ของตัวเองอยู่ และคาดว่าน่าจะเผยโฉมภายในปีนี้ โดยฝั่ง Google จะรับผิดชอบด้านระบบปฏิบัติการสำหรับ Mixed Reality โดยเฉพาะ ฝั่ง Qualcomm รับผิดชอบด้านชิปประมวลผลสำหรับ Mixed Reality และ Samsung จะรับผิดชอบด้านตัวเครื่องของแว่น MR และจะเป็นผู้จัดจำหน่ายด้วย

จริง ๆ ไม่ใช่ว่าทั้ง 3 พึ่งจะมาจับมือกันพัฒนาอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยี MR นะครับ แต่ได้ซุ่มพัฒนากันมาซักพักแล้ว โดยในงาน Google I/O 2023 ที่ผ่านมา รองประธานของ Google ได้ออกมาเผยว่าทางบริษัทได้ร่วมมือกับ Samsung Electronics เพื่อเตรียมขยายตลาดออกไปในฝั่ง XR หรือ Extended Reality ซึ่งจะเผยข้อมูลเต็ม ๆ ออกมาอีกทีภายหลังของปีนี้ (Extended Reality คือคำที่ใช้เรียกรวมเทคโนโลยี VR AR และ MR)

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Samsung ได้จดสิทธิบัตรแอปสำหรับแว่น MR ของตัวเองไว้แล้ว โดยจะเอามาใช้กับแว่นที่มีชื่อว่า Galaxy Glasses ที่ตามข้อมูลบอกว่ารูปร่างของมันจะเหมือนกับแว่นตาธรรมดา ๆ ไม่ได้รูปร่างเป็นแว่นดำน้ำเหมือน Vision Pro

ยังไม่รู้ว่าแว่น MR ของทั้ง 3 ค่ายนี้จะออกมาชนกับ Vision Pro เต็ม ๆ เลยรึเปล่า เพราะก่อนนี้ Samsung ก็เคยทำแว่น VR สำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะออกมาขายในชื่อ HMD Odyssey ส่วน Google ก็เป็นคนปลุกกระแสแว่น VR ขึ้นมาตั้งแต่สมัย Cardboard ไล่มาถึงโปรเจ็คท์ Daydream แต่กระแสก็ค่อย ๆ ซาลงไป

 

ที่มา : Gizchina, 91mobiles

from:https://droidsans.com/samsung-joined-forces-qualcomm-google-mr-headset/

เปิดตัว Meta Quest 3 แว่น VR เล่นได้ไม่ต้องต่อคอม ตัวเล็กลงแต่แรงกว่าเดิม 2 เท่า เพิ่มฟีเจอร์ Mixed Reality เนียนกว่าเดิม

เปิดตัวแบบไม่ให้สุ้มให้เสียงกันเลยสำหรับแว่น VR รุ่นใหม่อย่าง Meta Quest 3 โดยคราวนี้อัปเกรดจากรุ่นเดิมเพียบ (เพราะเปิดมาตั้งแต่ปี 2020 แล้ว) ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างที่หดเล็กลงกว่าเดิม หน้าจอที่คมชัดมากขึ้น และแน่นอนว่าสเปคก็แรงกว่าเดิม แถมคราวนี้ยังมากับความสามารถในการใช้งานแบบ MR หรือ Mixed Reality เล่นเกมแบบผสานกับโลกจริงได้แบบเนียน ๆ ด้วย

Meta Quest 3 มีหน้าตาที่เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนค่อนข้างเยอะเลย โดยตัวแว่นมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมถึง 40% เพราะเปลี่ยนจากเลนส์แบบ Fresnel มาใช้เลนส์แบบ Pancake ที่สามารถมองเห็นได้ชัดกว่าในระยะใกล้ ทำให้ลดระยะระหว่างดวงตาและเลนส์ลงได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีความคมชัดของภาพตรงกลางเลนส์มากกว่าเดิม 25% และตรงขอบเลนส์ก็ชัดขึ้นอีก 50%

Quest 2 / Quest 3

เครื่องแรงกว่าเดิมด้วยชิป Snapdragon รุ่นใหม่ ที่มีความแรงในการประมวลผลกราฟิกมากกว่า Meta Quest 2 ถึง 2 เท่า และคราวนี้ยังเพิ่มความสามารถในการใช้งานแบบ Mixed Reality ด้วยเลนส์กล้องที่ติดไว้ด้านหน้าสำหรับรับภาพจากโลกจริงเข้ามาผสานกับกราฟิกให้เล่นเกมหรือใช้งานได้หลากหลายกว่าเดิม

ซึ่งฟีเจอร์ MR นี้ เคยมีให้ลองใช้แล้วใน Quest 2 แต่ว่าด้วยข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ที่กล้องหน้าเป็นสีขาวดำเท่านั้นและยังความละเอียดต่ำด้วย ทำให้เวลาเล่นแล้วไม่ได้อารมณ์เท่าไหร่ แต่คราวนี้กล้องของ Quest 3 เป็นกล้องสี และมีความละเอียดมากขึ้นถึง 10 เท่า แถมยังมีเซนเซอร์วัดความลึกที่แม่นกว่าเดิม ทำให้แว่น VR ตัวนี้ตอบสนองกับโลกจริงได้เป็นธรรมชาติเลย

คอนโทรลเลอร์ก็เปลี่ยนไปด้วย ถ้าใครที่เคยเล่น Quest 2 แล้วมาเห็นของ Quest 3 จะเห็นว่าดีไซน์ใหม่ของมันคือการเอาคอนโทรลเลอร์เดิมมาหักวงแหวนด้านบนทิ้งไป เหลือแค่ด้ามจับกับปุ่มควบคุม ขนาดก็เลยเล็กกะทัดรัดพกพาง่าย ไม่ต้องกลัวไปฟาดอะไรแล้วจะหักด้วย

เหมือนเห็ดออรินจิ…

Meta Quest 3 จะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 500 ดอลลาร์ หรือราว ๆ 17,300 บาท และจะวางขายในช่วงปลายปี…ส่วนฟีเจอร์ต่าง ๆ และความสามารถแบบละเอียด ๆ ต้องรอชมกันในงาน Meta Connect วันที่ 27 กันยายนนี้อีกรอบนึง เพราะการเปิดตัวเมื่อคืนน่าจะรีบเข็นออกมาเพื่อตัดหน้า Reality Pro ของ Apple ที่จะเปิดตัวในอีกไม่กี่วันนี้นั่นเอง

ที่มา : Meta

from:https://droidsans.com/meta-quest-3-new-stand-alone-vr-headset-announced/

สรุปเทรนด์ Network Cabling ปี 2022: เตรียมอัปเกรดจาก 10GbE สู่ 400GbE และรองรับอุปกรณ์ IoT จำนวนมหาศาลได้อย่างยั่งยืน

ในงานสัมมนา CommScope Connected ซึ่งเป็นงาน Thailand Partner Conference ครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ทาง CommScope ได้ออกมาสรุปถึงเทรนด์ด้านการเดินสายสื่อสารสำหรับการวางระบบเครือข่ายในภาคธุรกิจองค์กร 10 ปีต่อจากนี้ ที่จะมุ่งเน้นถึงประเด็นด้านความยั่งยืนทั้งในเชิงเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และการลงทุนเป็นหลัก
 

ภายในบทความนี้ ทีมงาน TechTalkThai จึงขอหยิบยกนำประเด็นที่น่าสนใจจากงานสัมมนาครั้งนี้มาสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

Data Center Networking Trends 2022: เดินสาย Fiber รองรับการอัปเกรดความเร็วจาก 10GbE สู่ 400GbE โดยไม่ต้องเดินสายใหม่ในอนาคต
 
ด้วย Workload ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นทั้งบนระบบ Cloud, 5G, IoT, AI, MR/AR/VR, e-Commerce, Video และ Social Network ทำให้ปริมาณของ Traffic ที่เกิดขึ้นในฝั่ง Data Center นั้นเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาสั้นๆ อีกทั้งกระแสของการทำ Digital Transformation ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่หลายปีก่อน ก็ทำให้ธุรกิจองค์กรต้องเร่งปรับตัวเปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
 
การเติบโตของปริมาณ Traffic นี้เองได้กลายเป็นตัวเร่งให้การพัฒนามาตรฐานความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระดับที่สูงขึ้นได้รับความสำคัญ ตั้งแต่มาตรฐาน 400Gbps ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงปี 2017, 800Gbps ในปี 2021 และมาตรฐานในอนาคตอย่าง 1.6Tbps หรือ 3.2Tbps ที่คาดว่าจะเปิดตัวในตัวในปี 2023 และ 2025 ตามลำดับ โดยจากการคาดการณ์นั้นเชื่อว่าในปี 2030 ก็มีแนวโน้มที่เราจะได้เห็นมาตรฐานระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 12.8Tbps กันเลยทีเดียว
 

ส่วนในแง่ของการนำมาตรฐานเหล่านี้ไปใช้งาน จากการศึกษาของ 650 Group เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ก็พบว่าในอดีตก่อนหน้าปี 2020 มาตรฐานหลักยังคงเป็นความเร็วในช่วง 10 – 40 Gbps แต่ในช่วงปี 2020-2022 นี้ มาตรฐานความเร็ว 100Gbps ก็ได้กลายเป็นมาตรฐานหลักที่ธุรกิจองค์กรใช้งานกันแทน ส่วนในอนาคตหลังจากปี 2022 เป็นต้นไป ถึงแม้การใช้งานมาตรฐาน 100Gbps จะยังคงมีอยู่ แต่ความเร็วที่ระดับ 25Gbps, 400Gbps และ 800Gbps ขึ้นไปจะเติบโตมากยิ่งขึ้นอย่างชัดเจน

นอกเหนือจากประเด็นด้านความเร็วของระบบเครือข่ายแล้ว ประเด็นด้านการใช้พลังงานเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะที่ผ่านมาอัตราส่วนการใช้พลังงานของระบบเครือข่ายภายใน Data Center นั้นนับเป็น 30% ของการใช้พลังงานทั้งหมดเลยทีเดียว แต่จุดที่น่าสนใจก็สัดส่วนระหว่างความเร็วที่ได้กับพลังงานที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหากนับจากช่วงปี 2010 ที่เรายังใช้ความเร็ว 1Gbps บน Switch ที่ชิปประสิทธิภาพ 640Gbps เทียบกับในปี 2022 ที่ความเร็วเพิ่มมาเป็นระดับ 100 – 400Gbps บน Switch ที่ประสิทธิภาพ 51.2Tbps แล้ว จะเห็นได้ว่าที่ความเร็วเพิ่มขึ้นในระดับ 80 เท่า ปริมาณการใช้พลังงานกลับเพิ่มขึ้นเพียงราวๆ 22 เท่าเท่านั้น ดังนั้นการเลือกลงทุนในเทคโนโลยีระบบเครือข่ายด้วยความเร็วที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมความคุ้มค่าในการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี

ด้วยข้อมูลสถิติดังกล่าวนี้ แนวโน้มในอนาคตจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การอัปเกรดระบบเครือข่ายไปสู่สายที่มีความเร็วสูงขึ้นเท่านั้น แต่การออกแบบหรือเลือกใช้งานอุปกรณ์ Switch จึงเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมที่เราเคยต้องใช้ Switch หลายชุดมาทำงานร่วมกันแบบ Leaf-Spine เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและปริมาณ Port ที่ต้องการ ก็มาสู่การใช้ Switch ชุดเดียวที่มี 400GbE Port แทน ทำให้สามารถลดได้ทั้งจำนวนการเดินสาย, พลังงานที่ต้องใช้, จำนวนอุปกรณ์ที่ต้องลงทุน และยังลดความซับซ้อนในระบบเครือข่ายลงไปอีกด้วย
 
CommScope Propel: วางระบบเครือข่าย Data Center เผื่ออนาคตอีก 10 ปีอย่างคุ้มค่าสูงสุด
 
จากแนวโน้มดังกล่าวข้างต้น CommScope ในฐานะของผู้นำด้านระบบ Network Infrastructure ระดับโลก จึงได้นำเสนอโซลูชัน CommScope Propel ที่ได้นำเสนอแนวคิดในการเลือกใช้มาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับวางระบบ Cabling ภายใน Data Center ให้มีความยั่งยืน รองรับความเร็วของระบบเครือข่ายได้ตั้งแต่ 10GbE และสามารถอัปเกรดไปถึง 400GbE ได้โดยที่ไม่ต้องเดินสายใหม่
 
ประการแรกก็คือการเลือกสาย Fiber และ Connector ให้รองรับจำนวน Core ที่พอดีกัน และยังอัปเกรดต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ทุกการลงทุนนั้นได้เกิดความสูญเปล่าภายในระบบน้อยที่สุด เช่น หากมีแผนที่จะใช้ 400GBase-SR8, 800GBase-DR8 หรือ 800GBase-SR8 ก็สามารถใช้ Connector แบบ MPO16 ก็จะคุ้มค่ากว่าการใช้ MPO24 ในขณะที่หากมีแผนสำหรับ 400GBase-DR4 หรือ 400GBase-SR4.2  ก็อาจเลือกใช้ Connector แบบ MPO8, 4xSN หรือ 4xMDC ก็จะคุ้มค่าที่สุด และยังสามารถอัปเกรดไปสู่ 800G ในอนาคตได้
 
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านมาตรฐานแต่ละแบบ และสามารถวางแผนระยะยาวในเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์เดิมและรองรับการอัปเกรดจากความเร็วในระดับปัจจุบันไปถึงอนาคตได้ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวของธุรกิจลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งถึงแม้เรื่องนี้จะมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่ทีมงาน CommScope ในประเทศไทยก็พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาช่วยวางแผนออกแบบการลงทุนในระบบ Fiber ของธุรกิจให้ทั้งหมด เพื่อที่ผู้ดูแลระบบ IT และ IT Manager เองจะได้สามารถวางแผนลงทุนได้อย่างมั่นใจ
 
ประการถัดมาที่น่าสนใจนั้นก็คือการเลือกใช้หัว Connector ในแบบ Angled Physical Contact (APC) ที่ค่า Return Loss ที่ดีกว่าแบบ UPC ทั้งบนสาย Singlemode และ Multimode เพื่อให้รองรับความเร็วที่สูงขึ้นได้ในอนาคต ก็จะเป็นอีกทางเลือกให้กับการวางแผนออกแบบระบบได้ อีกทั้งยังมี VSFF Connector ใหม่สำหรับสาย Breakout แบ่ง 400G ออกเป็น 100GbE หรือ 200GbE นั้น การใช้หัว Connector แบบ SN และ MDC ก็เป็นทางเลือกใหม่ในการวางระบบสายสำหรับการเชื่อมต่อ Switch แบบ Leaf-Spine ที่ดี ทั้งด้วยขนาดที่เล็กลง, ความง่ายในการติดตั้งใช้งาน และความเสถียรที่สูงขึ้น

เพื่อให้การวางแผนออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานและการบริหารจัดการระบบ Cabling เพื่อรองรับอนาคตในอีก 10 ปีหลังจากนี้มีความยืดหยุ่นและง่ายดาย ทาง CommScope จึงมี Component ที่หลากหลายในโซลูชัน Propel ให้เลือกใช้งาน ดังนี้

  • Panel สามารถเลือกใช้ได้ทั้งขนาด 1U, 2U และ 4U ในแบบ Sliding รองรับ 72 Duplex LC/MPO ต่อ 1RU และ 288 SN ต่อ 1RU
  • Blade ในแต่ละ Panel จะมีการแบ่งพื้นที่โดยมีลักษณะเป็น Blade ที่สามารถติดตั้ง Fiber Module ได้ตามต้องการ ทำให้การออกแบบมีความยืดหยุ่นตามรูปแบบการใช้งานได้
  • Module/Cassette มีให้เลือกใช้ได้ทั้งแบบ 8/12/16/24 Fiber Module ที่รองรับ Connector ได้ทั้ง MPO, LC และ SN ตามต้องการ โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง รวมถึงใช้ Method B Enhanced Polarity ที่สนับสนุน OS2, OM4 และ OM5 ในระดับ Ultra-Low Loss
  • Adapter Pack มี 4 ขนาดเหมือน Module/Cassette เลือกใช้ตาม Connector แบบที่ต้องการจาก MPO, LC และ SN
  • Cable Assembly เลือกใช้ได้ทั้ง MPO8, MPO12, MPO16, MPO24, SN, และ LC
รายละเอียดหนึ่งที่ CommScope ให้ความใส่ใจนั้นก็คือการมี QR Code ที่สามารถแสดง Serial Number ได้ในอุปกรณ์ทุกชิ้น ดังนั้นในการติดตั้ง ก็สามารถทำการตรวจสอบชนิด, การใช้งาน และประสิทธิภาพได้ทันที หรือถ้าหากอุปกรณ์ชิ้นใดมีปัญหา ผู้ดูแลระบบก็สามารถทำการตรวจสอบ Serial Number ที่หน้างานและทำการแจ้งรับซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ได้อย่างง่ายดาย
 
 
Campus Networking Trends 2022: เดินสาย Category 6A รองรับทั้งความเร็วที่สูงขึ้น และระบบ IoT ที่กำลังเติบโต
 
การมาของ Smart Building ที่กำลังกลายเป็นที่แพร่หลายในฐานะของแนวคิดการนำอุปกรณ์ IoT และ Network จำนวนมากมาใช้งานภายในอาคารเพื่อให้ผู้ที่ใช้งานหรืออาศัยภายในอาคารสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับยกระดับคุณภาพชีวิตและการทำงานได้ ส่งผลให้ประเด็นด้านการเดินสาย Ethernet ภายในอาคารกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคธุรกิจองค์กรต้องคำนึงถึงเพื่อที่จะไม่ต้องเดินสายใหม่บ่อยๆ ในอนาคต
 
จากข้อมูลของ BSRIA ระบุว่าการลงทุนด้านระบบสาย Copper Cabling ทั่วโลกนั้น จะเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา การใช้งานสายแบบ Category 5e และ Category 6 นั้นกำลังค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่การใช้สายแบบ Category 6A กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ Category 7, 7A และ 8 นั้นยังมีสัดส่วนการใช้งานที่น้อยมาก
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะด้วยการออกแบบมาตรฐานของ Category 6A ที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากๆ ทั้งในเชิงของเทคโนโลยี, การใช้งาน และการลงทุน โดยหากวิเคราะห์แยกรายมาตรฐานแล้วจะมีเหตุผลดังนี้
 
  • Cat 5e เป็นมาตรฐานที่กำลังจะเลิกใช้งาน โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 11.4% มี Bandwidth 100MHz ด้วยความเร็วสูงสุดที่รองรับได้เพียง 1Gbps ในระยะทาง 100 เมตรเท่านั้น ใช้หัวเชื่อมต่อ RJ-45
  • Cat 6 ยังคงเป็นมาตรฐานที่ยังมีการใช้งานอยู่ โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 49.1% มี Bandwidth 250MHz โดยสามารถรองรับความเร็ว 1Gbps ได้ที่ระยะ 100 เมตร และ 10Gbps ได้ที่ระยะ 37 เมตร ใช้หัวเชื่อมต่อ RJ-45
  • Cat 6A เป็นมาตรฐานที่กำลังเติบโต โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 36.2% มี Bandwidth 500MHz โดยสามารถรองรับความเร็ว 1Gbps ไปจนถึง 10Gbps ได้ที่ระยะ 100 เมตร ใช้หัวเชื่อมต่อ RJ-45
  • Cat 7 เป็นมาตรฐานที่ยังไม่มีการใช้งานมากนัก โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 2.6% มี Bandwidth 600MHz โดยสามารถรองรับความเร็ว 1Gbps ไปจนถึง 10Gbps ได้ที่ระยะ 100 เมตร ใช้หัวเชื่อมต่อ GG-45/Tera
  • Cat 7A เป็นมาตรฐานที่ยังไม่มีการใช้งานมากนัก โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 0.5% มี Bandwidth 1000MHz โดยสามารถรองรับความเร็ว 1Gbps ไปจนถึง 10Gbps ได้ที่ระยะ 100 เมตร และความเร็ว 40Gbps ได้ที่ระยะ 50 เมตร ใช้หัวเชื่อมต่อ GG-45/Tera
  • Cat 8 เป็นมาตรฐานที่ยังไม่มีการใช้งานมากนัก โดยมีสัดส่วนการใช้งานอยู่ที่ 0.2% มี Bandwidth 2000MHz โดยสามารถรองรับความเร็ว 1Gbps ไปจนถึง 10Gbps ได้ที่ระยะ 100 เมตร และความเร็ว 40Gbps ได้ที่ระยะ 30-36 เมตร ใช้หัวเชื่อมต่อ RJ-45/GG-45/Tera
จะเห็นได้ว่าแม้จะมีมาตรฐานใหม่อย่าง Cat 7, Cat 7A ออกมา แต่ด้วยการรองรับหัวเชื่อมต่อแบบ GG-45/Tera ที่ยังไม่แพร่หลาย ก็ทำให้มาตรฐานทั้งสองนี้ไม่ได้ถูกใช้งานเท่าที่ควร ส่วนสาย Cat 8 เองถึงแม้จะกลับมารองรับ RJ-45 ได้ แต่ด้วยตลาดปัจจุบันที่ความเร็วระดับ 10Gbps ในการเชื่อมต่อระดับ Campus ยังถือว่าเพียงพอ และความเร็ว 40Gbps นั้นใช้ Fiber ตอบโจทย์ได้ยืดหยุ่นกว่า ก็ทำให้การใช้งาน Cat 8 ไม่ได้รับความนิยมเช่นกัน ภาพรวมตลาดส่วนใหญ่ Cat 6A จึงยังตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุม คุ้มค่า และยังคงเป็นมาตรฐานที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกเลือกใช้งานเป็นหลักกันต่อไป
 
สาย Category 6A นี้กลายเป็นหัวใจสำคัญสำหรับธุรกิจองค์กรที่ต้องการจะอัปเกรดระบบ Wi-Fi มาสู่มาตรฐาน Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax ที่มีความเร็วสูงสุด 6.77Gbps อีกทั้งยังรองรับการใช้งาน Power over Ethernet หรือ PoE ได้ ทำให้ในช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนเดินสายใหม่เป็น Category 6A กันมากขึ้นทั่วโลก
 
CommScope Cat6A Solution: เลือกใช้งานได้ทั้งสาย Unshielded และ Shielded
 
เพื่อรองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ในทุกสถานการณ์ ทาง CommScope จึงมีทั้งโซลูชัน CommScope SYSTIMAX ซึ่งเป็นโซลูชันสาย Cat6A แบบ Unshielded สำหรับใช้ทั่วไป และโซลูชัน CommScope NETCONNECT ซึ่งเป็นโซลูชันสาย Cat6A แบบ Shielded สำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีสัญญาณรบกวนหรือการใช้ไฟฟ้ามากเป็นพิเศษ โดยมีทั้งสายขนาด 23AWG, 24AWG และ Patch Cord แบบ 28AWG ให้เลือกใช้งาน
ร่วมอบรมปูพื้นฐานและอัปเดตความรู้ด้านระบบ Cabling ได้ฟรีกับ CommScope
 
สำหรับผู้ดูแลระบบ IT มือใหม่ หรือผู้ที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว สามารถทำการเรียนรู้และอัปเดตความรู้เทคโนโลยีด้าน Cabling ได้ฟรีๆ ทันทีกับ CommScope ได้ในช่องทางออนไลน์ดังนี้
 
  • CommScope Technical Family (CTF): ติดตาม Webinar ที่อัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดด้านระบบ Cabling  https://www.commscope.com/ctf
  • CommScope Training: คอร์สออนไลน์สอนพื้นฐานด้านเทคโนโลยี Cabling และ Wireless ครอบคลุมครบทุกประเด็นสำคัญ https://www.commscopetraining.com/
สนใจโซลูชันระบบ Fiber และ Copper Cable ติดต่อทีมงาน CommScope ได้ทันที
 
สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันระบบ Fiber และ Copper Cable สามารถติดต่อทีมงาน Commscope ได้ทันทีที่คุณสุรีพร หงษ์คุณากร อีเมลล์ Sureeporn.Ho@commscope.com โทร 02-059-7555

from:https://www.techtalkthai.com/trend-network-cabling-2022-year-upgrade-from-10gbe-to-400gbe-support-iot-end-to-end/

นักวิเคราะห์เผย Apple จะเปิดตัวอุปกรณ์ VR ของตัวเองช่วงกลางปี 2022

ล่าสุดได้มีข่าวที่น่าสนใจจากแหล่งข่าวหลุดชื่อดังของฝั่ง Apple อย่าง Ming Chi Kuo ที่ออกมาให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ ที่คราวนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นแว่น VR สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ใน Eco-system ของ Apple เอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเล่นเกม หรือรับชมสื่อ Multimedia ในรูปแบบใหม่ได้

Ming Chi Kuo ได้ให้ข้อมูลว่า Apple ได้ลงทุนเป็นจำนวนมากให้กับเทคโนโลยี MR (Mixed Reality) และ AR (Augmented Reality) เพราะเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ 2 เทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างผู้ใช้งาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ แถม Ming Chi Kuo ยังบอกเพิ่มเติมด้วยว่า MR/AR จะกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งานทุกคน แต่ VR (Virtual Reality) จะกลายเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

ในข้อมูลที่เผยออกมาบอกว่า Apple จะแบ่งกำหนดการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ MR/AR ออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ ๆ โดยจะเปิดตัวอุปกรณ์ VR ภายในปี 2022 ตามมาด้วย แว่น AR ภายในปี 2025 และจบด้วย คอนแทคเลนส์ AR ในช่วงปี 2030-2040 

รูปสเกตช์ VR Headset ของ Apple จากข้อมูลที่มี (ขอบคุณรูปภาพจาก TheInformation)

มาดูอุปกรณ์ VR ที่ดูจับต้องได้ที่สุดในทั้งหมดก่อนดีกว่า ซึ่งจากข้อมูลดูเหมือนตอนนี้จะมี Headset แบบ Prototype ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวอุปกรณ์มีน้ำหนักราว ๆ 200-300 กรัม แต่คาดว่า Apple จะพยายามลดน้ำหนักลงให้เหลือราว ๆ 100-200 กรัม เพื่อให้สามารถใส่สบายขึ้น เพราะอุปกรณ์ VR ในปัจจุบันอย่าง Oculus Quest 2 มีน้ำหนักอยู่ที่ 503 กรัม เลยทีเดียว

Oculus Quest 2

Headset ดังกล่าวจะมาพร้อมกับหน้าจอ micro-OLED ที่ผลิตโดย Sony แถมยังมาพร้อมกับ See-through mode ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองผ่านกล้องทะลุออกไปด้านนอกสำหรับใช้งาน AR ได้อีกด้วย ในส่วนของราคาดูเหมือนว่าจะอยู่ในช่วงเดียวกับ iPhone 12 Pro ที่ราว ๆ 1,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (ราว ๆ 30,750 บาท) ซึ่งก็ถือว่าสูงกว่าหมวก VR ในตลาดของแบรนด์อื่น ๆ ในตอนนี้อยู่พอสมควร

ภาพเรนเดอร์ Concept ของ Apple VR (ขอบคุณภาพจาก Aderosa)

ส่วนอุปกรณ์ประเภทแว่นตา AR จะเน้นการใช้งานประจำวันเหมือนกับ Google Glass มากกว่า ซึ่งตัวแว่นจะมีแบตเตอรี่ และหน่วยประมวลผลติดมาที่แว่น  สามารถเอาไปใช้กับ Apple Car เพื่อแสดงสถานะตอนขับรถได้ เช่นความเร็ว หรือการนำทาง

ผลิตภัณฑ์ชิ้นสุดท้ายที่ Ming Chi Kuo พูดถึงก็จะมาในรูปแบบของคอนแทคเลนส์ AR ที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์อื่นในการใช้งานเช่น iPhone ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูการแจ้งเดือนต่าง ๆ ลอยอยู่บนอากาศตรงหน้าแบบหนังไซไฟนั่นเอง

 

จากข้อมูลทั้งหมดทั้งมวล ที่ดูเป็นไปได้ที่สุดน่าจะเป็น VR Headset ที่จะเปิดในช่วง 2022 ที่จะถึงนี้ แต่สำหรับแว่นตา และคอนแทคเลนส์ก็อาจจะต้องรอดูกันอีกทีว่าเทคโนโลยีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะสามารถตามไอเดียของ Apple ได้ทันหรือไม่ครับ

 

Source: GSMArena

from:https://droidsans.com/apple-planned-to-launched-sets-of-vr-equipment-within-2022/

Cisco เผยทิศทางการใช้ AI เสริมความสามารถให้ Intent-based Networking ทุกสิ่งจะเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นไปอีก

ถึงแม้ทุกวันนี้ แนวคิดของ Intent-based Networking หรือ IBN นั้นจะเข้ามาช่วยให้ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่นั้นสามารถถูกบริหารจัดการและแก้ไขการตั้งค่าต่างๆ ได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้อย่างครอบคลุมนัก ทาง Cisco จึงได้ออกมาเล่าถึงแนวคิดในการนำ AI เข้ามาใช้เสริมขีดความสามารถของ IBN ให้การจัดการเครือข่ายกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายและอัตโนมัติยิ่งขึ้นไปอีก

Credit: Cisco

แนวคิดของ AI ใน IBN ของ Cisco นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  1. Translation นำ Natural Language Processing (NLP), Machine Learning (ML), Machine Reasoning (MR) เข้ามาใช้ในการรับคำสั่งจากผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่พิมพ์เข้ามาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของคำสั่งนั้นๆ และนำไปแปลงเป็นการตั้งค่าระบบเครือข่ายที่เหมาะสม
  2. Activation นำข้อมูลที่ได้จากข้อที่แล้ว มาแปลงเป็นการตั้งค่าในเชิง Network และ Security และนำไปตั้งค่าโดยอัตโนมัติให้กับระบบเครือข่ายส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยอาจมีการนำข้อมูลแบบ Real-time หรือข้อมูลสถิติย้อนหลังมาช่วยใช้ในการตั้งค่าให้ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น เช่น การปรับ QoS หรือการกำหนดปริมาณ Bandwidth ให้เหมาะสมต่อความต้องการในการใช้งานจริงโดยที่ผู้ดูแลระบบอาจไม่ต้องระบุค่าเอง แต่ระบบเลือกค่าที่ดีที่สุดหรือทำนายค่าที่เหมาะสมมาให้เลย
  3. Assurance ทำการติดตามผลหลังจากปรับแต่งการตั้งค่า ว่าแนวโน้มในการเชื่อมต่อเครือข่ายและใช้งานของผู้ใช้งานนั้นดีขึ้นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือมีเหตุการณ์ผิดปกติอะไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญหรือเปล่า

Cisco นั้นใช้ทั้งความเชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายและการแก้ไขปัญหาในระบบเครือข่ายที่ตนเองมีอยู่ ผสานเข้ากับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายซึ่งถูกสร้างขึ้นจาก ASIC, OS และ Software มาใช้ร่วมกับข้อมูลเดิมที่ Cisco มีทางด้านข้อมูลเครือข่าย เพื่อนำไปวิเคราะห์ในระบบ AI ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ Cisco ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาได้ระยะหนึ่ง ทำให้ระบบเครือข่ายนั้นมี AI สำหรับใช้เพื่อช่วยผู้ดูแลระบบให้ทำงานได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

Cisco ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าหลังจากนี้ Cisco ก็จะผลักดันเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้าน AI มาตอบโจทย์วงการ Networking ต่อไปในอนาคต

ที่มา: https://blogs.cisco.com/enterprise/improving-networks-with-ai

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-talks-about-ai-in-intent-based-networking/

Gartner เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีประจำปี 2019: Blockchain, Quantum, Augmented Things, AI

Gartner ได้ออกมาเผยถึง 10 เทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีประจำปี 2019 ในงาน Gartner Symposium/ITxpt ที่จัดขึ้นในเมือง Orlando เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปเนื้อหาเอาไว้เป็นภาษาไทยดังนี้

 

Credit: ShutterStock.com

 

1. Autonomous Things

หุ่นยนต์, Drone และรถยนต์ไร้คนขับจะเริ่มนำ AI ไปใช้เพื่อให้สามารถทำในสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์เคยต้องทำด้วยตนเองได้มากขึ้น เปลี่ยนจากการใช้ Rigid Programming มาใช้ AI แทน เช่น หาก Drone บินสำรวจในฟาร์มแล้วพบว่าพืชผลในนั้นพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวแล้ว Drone ก็จะส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์เก็บเกี่ยวหรือรถเก็บเกี่ยวให้ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ มีความเป็นโซลูชันมากขึ้น เป็นต้น

 

2. Augmented Analytics

หัวใจของการทำ Augmented Analytics หรือการทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Automated Analytics หรือ Automated Machine Learning นั้นจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจได้มีองค์ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้เกิดกลุ่ม Citizen Data Scientist มากขึ้นไปด้วย โดย Gartner ได้ทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 จะมีกลุ่ม Citizen Data Scientist เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

 

3. AI-Driven Development

แนวโน้มเดิมที่ Data Scientist เคยต้องทำงานร่วมกับ Software Developer เพื่อพัฒนาโซลูชันที่นำ AI เข้าไปเสริมนั้นจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่จะทำให้เหล่า Software Developer สามารถนำ AI ไปเสริมใน Application ของตนได้นั้นจะมีหลากหลายและใช้งานง่ายมากขึ้น ทำให้การนำ AI ไปใช้งานจริงนั้นจะมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และ AI เองก็จะเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการต่างๆ เช่น การพัฒนา Software หรือระหว่างกระบวนการทำงานของ Data Scientist มากขึ้นด้วย โดย Gartner ทำนายว่าภายในปี 2020 นั้น ใน 40% ของการพัฒนา Software จะต้องมี AI Co-developer เข้าไปร่วมงานด้วย

 

4. Digital Twins

Digital Twin หรือการนำข้อมูลจากวัถตุหรือระบบในโลกจริงไปนำเสนอแบบครบถ้วนทุกมิติในโลก Digital นั้นจะได้รับความนิยมมากขึ้น และ Gartner ก็ได้ทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 อุปกรณ์ Connected Device กว่า 20,000 ล้านชิ้นทั่วโลกจะมีตัวตนแบบ Digital Twin ควบคู่ไปด้วย

 

5. Empowered Edge

การทำ Edge Computing หรือการย้ายระบบจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลไปไว้ใกล้ๆ กับ Sensor หรือ Endpoint ให้มากขึ้นและทำงานต่างๆ ได้ก่อนส่งข้อมูลขึ้น Cloud นั้นจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยภายใน 5 ปีนับถัดจากนี้ เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้เป็นอย่างมากก็คือชิปประมวลผลสำหรับงานทางด้าน AI โดยเฉพาะ และระบบโครงข่าย 5G

 

6. Immersive Experience

เทคโนโลยี Conversational Platform ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อหรือควบคุมระบบต่างๆ ได้ด้วยภาษามนุษย์ผ่านทาง Chat หรือการพูดนั้น จะถูกนำมาผสานรวมเข้ากับ Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) ทำให้เกิดวิธีการสื่อสารและโต้ตอบรูปแบบใหม่ระหว่างผู้ใช้งานกับเทคโนโลยีขึ้น

 

7. Blockchain

Gartner ระบุว่าการใช้งาน Blockchain ในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ดึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีออกมาใช้อย่างเต็มที่ โดยนอกเหนือจากการนำ Blockchain มาใช้เพื่อทำการแปลงกระบวนการทางธุรกิจให้มีความเป็นอัตโนมัติ หรือบันทึกสิ่งต่างๆ อย่างน่าเชื่อถือในรูปแบบ Digital แล้ว การนำ Blockchain มาใช้เพื่อแบ่งปันข้อมูล. ติดตามวัตถุสิ่งของ และสร้าง Digital Twin รวมถึงการลดปัญหา Vendor Lock-In ก็จะเกิดมามากขึ้นในอนาคค

 

8. Smart Spaces

พื้นที่อัจฉริยะที่เกิดขึ้นจากการผสานผู้คน, กระบวนการ, บริการ และสิ่งของอัจฉริยะจะเกิดมากขึ้นทั้งในโลกจริงและในโลก Digital เพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ ทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน ต่อยอดจากเทคโนโลยี Smart City, Digital Workplace, Smart Home และ Connected Factory ขึ้นไปอีกขั้น ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเรามากขึ้นไปด้วย

 

9. Digital Ethics and Privacy

ประเด็นด้านจริยธรรมและความเป็นส่วนตัวนั้นได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับบุคคล, องค์กร และภาครัฐ ซึ่งผู้คนนั้นก็ให้ความสำคัญกับการที่เหล่าองค์กรและภาครัฐจะนำข้อมูลของตนเองไปใช้ ในขณะที่องค์กรและภาครัฐเองก็ต้องออกมาดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อป้องกันกรณีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่รอให้เกิดขึ้นแล้วมาตามแก้ไขภายหลัง ดังนั้นข้อตกลงในประเด็นด้านจริยธรรมในการใช้งานข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานนั้นจึงจะถูกยกระดับขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำในฐานะสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกบังคับให้ต้องทำ

 

10. Quantum Computing

การนำ Quantum Computing มาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมเริ่มมีความเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมา และเหล่า CIO หรือผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรเองก็ต้องเริ่มทำความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีและมองหาวิธีการนำ Quantum Computing มาใช้งานกันมากขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อเทคโนโลยีพร้อมแล้วจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดย Gartner คาดว่า Quantum Computing นั้นจะเริ่มใช้งานได้อย่างแพร่หลายภายในปี 2023 ถึง 2025

 

สำหรับรายงานฉบับเต็มสามารถศึกษาได้ที่ https://www.gartner.com/user/registration/prospect?resId=3891569 ส่วนวิดีโอบทวิเคราะห์สามารถดูได้ด้านล่างนี้ครับ

 

ที่มา: https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2018-10-15-gartner-identifies-the-top-10-strategic-technology-trends-for-2019

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-10-technology-trends-for-2019/

15 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองทั้งสำหรับคน IT และคนนอกสาย IT ประจำปี 2018 โดย TechTalkThai

สำหรับปี 2018 นี้ถือเป็นปีทองของโลกเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ กับการที่เทคโนโลยีพื้นฐานต่างๆ มีความพร้อมรองรับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้จริงทั้งในชีวิตประจำวันและเชิงธุรกิจมากขึ้น ในบทความนี้ทาง TechTalkThai ขอสรุปเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง ทั้งสำหรับคนสาย IT และคนทำธุรกิจที่ควรติดตามในปี 2018 นี้เอาไว้ดังนี้ครับ

 

Credit: ShutterStock.com

 

1. Artificial Intelligence (AI), Machine Learning (ML), Deep Learning (DL)

หัวข้อของ AI, ML, DL นี้นับวันจะยิ่งร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเริ่มมีกรณีการใช้งานเกิดขึ้นจริงเพิ่มขึ้น, เครื่องมือเริ่มง่ายและหลากหลายขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจเริ่มเห็นความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งานในธุรกิจของตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแน่นอนว่า AI เองก็จะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจกันอย่างแน่นอนในปีนี้

คำถามที่น่าสนใจคือใครบ้างที่ควรจะสนใจในเทคโนโลยีเหล่านี้? คำตอบก็คือแทบทุกคนควรจะต้องหันมาให้ความสนใจกันได้แล้ว เพราะ AI, ML, DL เริ่มถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายในแทบทุกวงการ ตอบโจทย์ทั้งในฝั่งของธุรกิจและฝั่งผู้บริโภค ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้ย่อมจะต้องส่งผลกระทบต่อชีวิตเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และแน่นอนว่าการรู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เข้าใจหลักการทำงาน จนถึงพอจะทราบว่าจะนำมาใช้งานได้อย่างไรนั้นก็จะเป็นการสร้างโอกาสที่ดีอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ทิศทางของเทคโนโลยีกลุ่มนี้นับวันจะยิ่งง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญในอาชีพแขนงต่างๆ สามารถนำเครื่องมือและข้อมูลที่มีอยู่ไปสร้าง AI ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ด้วยตัวเองมากขึ้น ดังนั้นหากใครเชื่อว่า AI เป็นเรื่องของคนสาย IT เท่านั้นก็ควรรีบเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ และเริ่มต้นศึกษาเพื่อคว้าโอกาสในอนาคตกันได้แล้ว

 

2. Blockchain

ปีที่ผ่านมาก็ถือเป็นปีที่ร้อนแรงของ Blockchain เช่นกันในการนำมาใช้สร้างโครงการขนาดใหญ่ของทั้งฝั่งธุรกิจการเงินและภาครัฐ รวมถึงมีการนำ Blockchain ไปใช้ตอบโจทย์ใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าหากในอดีตคน IT ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Excel หรือ Database ต่อไปก็อาจต้องมีความรู้พื้นฐานของ Blockchain กันบ้าง

อย่างไรก็ดี ในปี 2018 นี้เราน่าจะได้เห็นการนำ Blockchain หลายๆ ระบบมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข้ามระบบ Blockchain กันได้ และก็จะได้เห็นวิวัฒนาการของ Blockchain กันมากขึ้นด้วยแนวคิดใหม่ๆ ดังนั้นการเรียนรู้พื้นฐานของ Blockchain เอาไว้ก็จะทำให้ทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตได้ด้วยเช่นกัน รวมถึงจะทำให้เข้าใจด้วยว่าทำไมเทคโนโลยีหรือบริการบางอย่างถึงต้องเลือกใช้ Blockchain แล้วมันดีกว่า Database แบบเดิมๆ อย่างไร

ส่วนสำหรับคนทั่วไป เข้าใจ Blockchain ว่าทำไมมันถึงน่าเชื่อถือ และทำไมภาคธุรกิจถึงอยากนำ Blockchain มาใช้งานกันก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่ก็เช่นเดียวกับ AI เพราะหากเข้าใจในหลักการของ Blockchain และมองออกว่าจะนำมาประยุกต์ในธุรกิจของตนเองได้อย่างไร ก็จะเป็นการสร้างโอกาสที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

 

3. Chatbot & Conversational Platform

ภาษามนุษย์ทั้งในรูปแบบของการพิมพ์และการพูดนั้นเริ่มจะกลายมาเป็นอีกหนึ่ง Interface ที่มนุษย์เราใช้โต้ตอบกับระบบ IT และอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างจริงจังแล้ว โดยแทบทุกอุปกรณ์ PC, Notebook และ Mobile ที่ใช้งานในทุกวันนี้ก็มีฟังก์ชันนี้รองรับได้ในภาษาอังกฤษกันแทบทุกอุปกรณ์ และปัญหาด้านกำแพงด้านภาษาที่ก่อนหน้านี้ภาษาไทยเคยประสบนั้นก็จะค่อยๆ เริ่มถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะก็เริ่มมีเหล่าธุรกิจไทยที่เล็งเห็นโอกาสและเริ่มพัฒนาในประเด็นนี้กันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้เป็น Interface พื้นฐานใน Application ต่างๆ ด้วยในอนาคต ทั้ง Mobile Application, Internet of Things และ Kiosk ทำให้เราไม่ต้องสื่อสารกับระบบเหล่านั้นด้วยการกดปุ่มหรือสัมผัสหน้าจออีกต่อไป แต่สามารถใช้เสียงสั่งการหรือพิมพ์ข้อความได้เลย ซึ่งก็จะไม่ได้มีเพียงแต่เทคโนโลยีสำหรับ Consumer เท่านั้น แต่ระบบ Application สำหรับองค์กรก็จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ สร้างเป็นผู้ช่วยเสมือนในการทำงานด้วยระบบต่างๆ ด้วย โดยตอนนี้ระบบประชุมทางไกลหรือ Video Conference / Web Conference ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง หรือแม้แต่ระบบ ERP จากบางค่ายเองก็มีเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ใช้ได้แล้วด้วยเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน สำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้า หากจะทำการเลือกใช้งาน E-Commerce Platform หรือ Social Network สำหรับค้าขาย ต่อไปก็อาจต้องพิจารณาด้วยว่าระบบเหล่านั้นมี Chatbot ให้พร้อมใช้งานได้ในระดับไหน, ตั้งค่าเองได้ง่ายแค่ไหน, ช่วยลดภาระงานให้ได้มากน้อยแค่ไหน และช่วยให้เพิ่มยอดขายได้อย่างง่ายดายหรือไม่ เพราะ Chatbot นี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จครั้งใหญ่ในระบบ E-Commerce ของ Alibaba ที่ทำลายสถิติในวันคนโสดที่ผ่านมาไปแล้ว

ทั้งนี้การออกแบบประสบการณ์การใช้งาน Interface เหล่านี้ก็ดูจะเป็นอีกหัวข้อใหญ่ที่น่าสนใจและถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ เพราะเป้าหมายของการออกแบบคือการทำให้ระบบสามารถตอบสนองกับมนุษย์ได้เสมือนกับว่าเป็นมนุษย์มาพูดคุยด้วย และมีความชาญฉลาดด้วย ดังนั้นมุมในการออกแบบและทดสอบก็จะต้องต่างออกไปจากอดีตมากพอสมควร

 

4. Container, Docker, Kubernetes

หัวข้อนี้สำหรับคนที่ไม่ใช่สาย IT ข้ามไปได้เลย แต่สำหรับคน IT นี่คือเรื่องที่ห้ามข้ามไปเด็ดขาด เพราะเทคโนโลยีฝั่ง Container นั้นแทบจะยึดตลาด Cloud-Native Application ไปทั้งหมดแล้ว และในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะเข้ามายึดตลาด Software-Defined ที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีอื่นๆ ทั้งหมดด้วย ด้วยข้อดีเรื่องความง่ายในการควบคุม Environment สำหรับระบบต่างๆ ในการ Deploy อีกทั้งยังมีเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ จาก Docker และ Kubernetes มาช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น (และยากขึ้นในบางที) ก็ทำให้เทคโนโลยีฝั่งนี้เป็นสิ่งที่นอกจาก Developer และ System Engineer จะต้องเรียนรู้กันแล้ว เหล่าคนทำงานสาย Network และ Security ก็ต้องเรียนรู้ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ด้วยแนวโน้มการมาของประเด็นเรื่อง Multi-Cloud Strategy (จะมีกล่าวอย่างละเอียดอีกทีในภายหลัง) ก็ทำให้ Container ได้กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการจัดการ Application เพื่อให้ Application ต่างๆ สามารถทำงานบน Cloud ของผู้ให้บริการายใดก็ได้ และสามารถโยกย้ายข้ามผู้ให้บริการ หรือย้ายกลับมายัง Private Cloud ภายในองค์กรได้ ก็เป็นอีกเหตุผลที่ควรจะต้องเริ่มต้นตั้งใจเรียนรู้กันได้แล้ว

 

5. Cryptocurrency & ICO

ทั้งคน IT และคนนอกสาย IT ก็คงได้ยินข่าวคราวของ Cryptocurrency กันมาตลอดทั้งปี 2017 และมาได้ยินหนักๆ กันในช่วงปลายปีนี้ที่มูลค่าของสิ่งเหล่านี้พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ (อันที่จริงมันน่าตกใจมานานแล้วแต่คนไม่ค่อยได้ตามข่าวกัน) ซึ่งการลงทุนหรือการเก็งกำไรใน Cryptocurrency นี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น และก็อยู่บนความเสี่ยงที่ทุกคนต้องพิจารณาตัดสินใจด้วยตัวเองทั้งสิ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากจะเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อจะได้ประเมินประเด็นเหล่านี้ด้วยตัวเองได้ ก็อาจนับเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการบริหารจัดการเงินเก็บได้เหมือนกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของการทำ ICO ที่ในไทยเริ่มมีธุรกิจนำแนวทางนี้มาระดมทุนกันแล้ว การรีบทำความเข้าใจจนสามารถประเมินความเสี่ยงต่างๆ ได้ด้วยตัวเองนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่ดีในยามนี้ เพราะจะได้ประเมินโอกาสต่างๆ ด้วยตนเองได้หากโอกาสมาถึง

 

6. Cybersecurity & Data Privacy

ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ได้พูดถึงทุกปี (และแทบในทุกหัวข้อที่เป็นเทรนด์ด้านเทคโนโลยี) เพราะภัยคุกคามในโลกไซเบอร์นั้นนับวันจะยิ่งหลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางโลกที่หมุนไปพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นทุกๆ วัน ดังนั้นสำหรับคนทั่วๆ ไปอย่างน้อยๆ ก็ควรจะต้องเรียนรู้วิธีใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ให้ปลอดภัยเบื้องต้น, อัปเดตอุปกรณ์ของตนเองให้ปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นอัปเดตข่าวสารอย่างต่อเนื่องว่ามีการหลอกลวง, การโจมตี หรือความเสี่ยงต่อตัวเองใหม่ๆ อย่างไรบ้าง เหมือนกับที่อ่านข่าวรายวันเพื่อเรียนรู้ว่าบรรดาโจรหรือแก๊งหลอกลวงมีมุกใหม่ๆ มาอย่างไร

ส่วนในมุมของคน IT นั้นต้องปรับมุมมองว่างานด้าน Cybersecurity นั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าใครจะทำงานในส่วนไหนต่างก็ต้องเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อให้ระบบที่เกี่ยวข้องกับตนเองมีความมั่นคงปลอดภัยสูงสุด รวมถึงมีการพูดคุยกันข้ามทีมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านนี้ร่วมกัน ในขณะที่การให้ความรู้ด้าน Cybersecurity แก่เหล่าพนักงาน และมีการผลักดันโดยฝ่ายบริหารให้ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องสำคัญก็ถือเป็นสิ่งที่ควรทำเช่นกัน

อีกประเด็นที่เชื่อว่าจะเริ่มมีการพูดถึงและเรียกร้องกันมากขึ้น ก็คือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล จากในช่วงปีที่ผ่านมาที่มีกรณีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าแบรนด์ต่างๆ หลุดออกมาค่อนข้างมากจนเกิดความเสียหาย ไปจนถึงบางแบรนด์แอบใช้งานข้อมูลของลูกค้าตนเองจนเกินขอบเขตที่ลูกค้าจะยินยอม ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อภาคธุรกิจในไทยจะเริ่มทำธุรกิจด้วยการนำข้อมูลมาใช้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

และหากพูดถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล บรรดาภาคธุรกิจที่ต้องข้องเกี่ยวกับธุรกิจหรือลูกค้าทางยุโรปก็อาจต้องศึกษาเรื่องของ GDPR ซึ่งเป็นกฎหมายทางด้านข้อมูลที่เหล่าประเทศในยุโรปจะบังคับใช้ในปี 2018 นี้ เพื่อตรวจสอบว่าธุรกิจของเราต้องปรับเปลี่ยนประเด็นไหนอย่างไรหรือไม่

 

7. Drone & Robot

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในฝั่ง AI ก็ทำให้การนำ Drone และ Robot มาใช้งานจริงในธุรกิจนั้นมีความหลากหลายและคุ้มค่าสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ในขณะที่กรณีการใช้งานจริงในต่างประเทศก็เริ่มมีให้เห็นเป็นตัวอย่างกันในหลากหลายอุตสาหกรรม อีกทั้ง Ecosystem ในไทยก็เริ่มมีตัวแทนจำหน่าย Drone และ Robot สำหรับภาคธุรกิจกันมากขึ้นแล้ว ดังนั้นถัดจากนี้ไปเราก็จะเริ่มเห็นการนำสองสิ่งนี้มาใช้ในธุรกิจกันมากขึ้นเรื่อยๆ และก็จะมีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการแตกต่างหลากหลายให้เราได้เลือกใช้กัน

เหล่าคน IT อาจต้องเริ่มเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานได้อย่างไร และต้องการ IT Infrastructure พื้นฐานอย่างไรเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ในขณะที่เหล่าคนนอกสาย IT ก็อาจต้องเรียนรู้ว่าในธุรกิจของตนมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้อย่างไรบ้าง เพื่อนำมาเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตน และประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างแม่นยำ รวมถึงทำความเข้าใจว่าจะต้องจัดตั้งทีมงานอย่างไรในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้จริงให้ได้ประสบผลสำเร็จ

 

8. GovTech & FinTech

ทั้งภาครัฐและสถาบันการเงินต่างก็พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ประชาชนและภาคธุรกิจกันอย่างต่อเนื่อง การติดตามว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรบ้าง และเทคโนโลยีเหล่านั้นจะมีประโยชน์หรือมีความเสี่ยงอย่างไร เพื่อจะได้ประเมินถูกว่าควรเริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยีนั้นหรือไม่ก็ถือเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนควรจะทำ ทั้งสำหรับการนำมาใช้งานส่วนตัวและการนำมาใช้งานร่วมกับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถัดจากนี้ที่ทั้งภาครัฐเองก็เริ่มก้าวไปสู่การเป็น Thailand 4.0 อย่างเต็มตัว และภาคการเงินในไทยเองก็เข็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาตอบรับทั้งการทำ National ePayment และการรับมือกับเหล่า Startup ต่างๆ

 

9. Image Recognition

เป็นหัวข้อที่ต้องเขียนแยกจากเรื่องของ AI, ML, DL เนื่องจาก Image Recognition นี้มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นกรณีการใช้งานแรกๆ ของหลายๆ ธุรกิจในการนำ 3 เทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ ด้วยการนำข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมได้ง่ายที่สุดอย่างภาพถ่ายหรือภาพจากกล้องวงจรปิด และ Open Data ต่างๆ มาใช้เรียนรู้ด้วยเครื่องมือสำหรับสร้าง AI ที่เริ่มง่ายจนทำให้คนปกติสามารถช่วยระบุตำแหน่งของสิ่งของในภาพได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นกรณีการใช้งานหลักในหลายๆ ธุรกิจเช่นการทำ Quality Control ในโรงงานผลิต, การตรวจจับวัตถุจากกล้องวงจรปิด, การใช้ Drone สอดส่องสิ่งต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้กรณีการทำ Image Recognition นี้น่าจะแพร่หลายในภาคธุรกิจได้อย่างรวดเร็วหากรู้จักใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และอาจกลายเป็นเทคโนโลยี AI แรกๆ ที่จะถูกเริ่มสร้างได้โดยคนนอกสาย IT

 

10. Internet of Things (IoT) & Industrial Internet of Things (IIoT)

หลังจากที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายต่างๆ ในไทยต่างทยอยทดสอบและเปิดตัวบริการเครือข่ายไร้สายสำหรับ IoT กันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว หลังจากนี้การนำ IoT มาใช้ในไทยก็คงจะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน และจะเริ่มเห็นกรณีการทดสอบนำไปใช้งานจริงในหลากหลายอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น นับเป็นโอกาสทั้งสำหรับภาคธุรกิจและเหล่าผู้พัฒนานวัตกรรมในช่วงนี้

ส่วน IIoT นั้นก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตยิ่งขึ้นต่อไปหลังจากที่ปี 2017 ได้มีธุรกิจหลายแห่งริเริ่มโครงการเหล่านี้กันไปแล้วโดยเฉพาะในบรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ที่การปรับปรุงประสิทธิภาพหรือกระบวนการใดๆ เพียงเล็กน้อย ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ทำให้โครงการลักษณะนี้คืนทุนได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่อาจต้องให้ความสำคัญกันมากขึ้นก็คือ Security ในฝั่ง IoT ที่ในไทยยังไม่เป็นที่พูดถึงหรือยังไม่มีกรณีร้ายแรงที่ออกมาเป็นข่าวกันมากนัก ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังกันต่อไป

 

11. Low-code Platform

อีกหนึ่งม้ามืดที่คาดว่าจะเริ่มเข้ามาในไทยภายในปี 2018 นี้กับ Low-code Platform ที่จะทำให้คนนอกสาย IT สามารถทำการพัฒนา Application ขึ้นมาใช้งานเองได้โดยไม่ต้องอาศัย Programmer มากอย่างแต่ก่อน ทำให้การสร้าง Application ขึ้นมาใช้งานตอบโจทย์ภายในองค์กรด้วยตัวเองนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างคล่องตัว โดยถึงแม้ Application เหล่านั้นจะไม่สามารถทำงานได้อย่างซับซ้อนมากนัก แต่หากเป็นแค่การจัดการกับข้อมูล หรือการกำหนด Workflow ต่างๆ ในการทำงานได้ผ่านทาง Mobile Application และ Web Application ระบบ Low-code Platform นี้ก็ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว

Low-code Platform นี้จะมีบทบาทเป็นอย่างมากในการทำ Digital Transformation เพราะจะทำให้แต่ละทีมขององค์กรสร้างนวัตกรรมหรือปรับปรุงกระบวนการทำงานบนโลก Digital ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ดี ด้วยประเด็นด้านราคาและการที่ต้องฝึกอบรมพนักงานก่อนนั้น ก็คาดว่าจะทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกเริ่มต้นใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่กันก่อน

 

12. Multi-Cloud Strategy

หากปีก่อนๆ เราพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนภาพจาก Public Cloud และ Private Cloud มาสู่การเป็น Hybrid Cloud กัน ปีหน้าเราจะได้เริ่มพูดถึง Multi-Cloud ที่เมืองนอกพูดคุยกันมาได้ระยะใหญ่แล้วครับ

แนวคิดของ Multi-Cloud นั้นเกิดขึ้นเพราะในวงการ Cloud เองก็เริ่มมีปัญหา Vendor Lock-in หรือการที่เลือกใช้บริการ Cloud ของค่ายใดแล้ว การย้ายออกไปยังค่ายอื่นๆ จะทำได้ยากมาก ทำให้ในบางเวลาหาก Cloud ค่ายอื่นๆ มีฟีเจอร์ใหม่ที่อยากใช้งาน หรือมีบริการที่ราคาถูกกว่า องค์กรก็ไม่สามารถย้ายไปใช้งานได้ในทันที

Multi-Cloud Strategy นี้เป็นภาพที่พูดถึงกันทั้งใน Cloud แบบ IaaS, PaaS และ SaaS แต่ที่เห็นว่าน่าจะไปได้ง่ายที่สุดคือ IaaS ที่มี VMware ซึ่งเริ่มขยายฐานบริการไปยังเหล่าผู้ให้บริการ Public Cloud มากขึ้นเรื่อยๆ และ PaaS ที่มี Docker และ Kubernetes เป็นตัวนำ ส่วน SaaS นั้นอาจจะยังยากอยู่ รวมถึงยังมีประเด็นเรื่องการย้ายข้อมูลอยู่ดีไม่ว่าจะเป็นบริการลักษณะใดก็ตาม

ในมุมคน IT คงต้องทำความเข้าใจภาพเหล่านี้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเอาไว้ เพื่อจะได้ช่วยองค์กรประเมินได้ว่าหากเลือกใช้บริการ Cloud เจ้าใดแล้วมีแผนจะย้ายออก จะจัดการได้อย่างไร ในขณะที่เหล่าคนนอกสาย IT เองก็ควรทราบเอาไว้แบบผิวเผิน เพื่อจะได้ให้คน IT ช่วยประเมินได้ก็น่าจะเพียงพอ

 

13. Quantum Computing

ปี 2017 ถือเป็นปีที่เทคโนโลยี Quantum Computing เริ่มจับต้องได้มากยิ่งกว่าในอดีตอย่างชัดเจน ทั้งการที่จำนวน Qubit ของแต่ละค่ายเริ่มสูงขึ้นจนเข้าใกล้ภาพของ Quantum Leap หรือความเร็วระดับที่ Quantum Computer จะเหนือกว่า Computer ในปัจจุบันจนตามกันไม่ทันอีกต่อไป, การออกภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรมบน Quantum Computer ของแต่ละค่าย และการออก Quantum Computer Simulator มาให้เริ่มต้นเรียนรู้กันได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ไปจนถึงการที่เหล่าผู้ให้บริการ Cloud ค่ายใหญ่ๆ เริ่มให้บริการ Quantum Computer กันบน Cloud แบบทดสอบและแบบใช้จริงแล้ว

นอกจากนี้ Quantum Computing ยังเข้ามาส่งผลกระทบต่อ Security เนื่องจากประสิทธิภาพในการประมวลที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ Factorization หรือการแยกตัวประกอบซึ่งเป็นพื้นฐานของการเข้ารหัสข้อมูล ส่งผลให้อัลกอริธึมการเข้ารหัสข้อมูลในปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้เวลาแคร็กนานหลายปี อาจลดเวลาเหลือเพียงหลักวันหรือหลักสัปดาห์ก็ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานนับสิบปีกว่า Quantum Computer จะไปถึงจุดนั้น แต่ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยเริ่มคิดค้นและพัฒนาอัลกอริธึมการเข้ารหัสข้อมูลที่สามารถทนต่อการถูก Quantum Computer โจมตีกันแล้ว

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้คงจะยังไม่เข้าไทยเร็วนัก ดังนั้นระหว่างนี้ก็ถือเป็นโอกาสดีที่คนสาย IT จะเริ่มต้นทำความเข้าใจกับมัน และคนนอกสาย IT เริ่มทำความเข้าใจว่า Quantum Computer จะเหมาะกับงานแบบไหนบ้าง

 

14. Serverless Architectures

หลังจากที่ AWS เป็นคนเปิดภาพของ Serverless Architectures นำมาก่อนได้ระยะหนึ่ง จนค่ายอื่นๆ เริ่มพัฒนาตามกันมาหมดแล้ว Serverless Architectures ก็เริ่มเข้าสู่การเป็นบริการ Mainstream ภายในบริการ Cloud สำหรับรับ Workload ประเภทที่เหมาะสมกับสถาปัตยกรรมแบบนี้ รวมถึงอีกไม่นานก็จะเริ่มมีระบบ Serverless ที่ติดตั้งใช้งานเองภายนอก Cloud ได้มากขึ้นเรื่อยๆ และเหล่าคน IT ก็ควรต้องทำความเข้าใจเพื่อที่จะเลือกใช้ Serverless ให้เหมาะกับงาน

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ Serverless Architectures นั้นมีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้กับงานด้าน IoT จำนวนมาก เพราะด้วยประเด็นด้านความง่ายในการ Deploy และการดูแลรักษาในระยะยาว อีกทั้งยังกินทรัพยากรน้อย ทำให้สามารถนำไปใช้งานในอุปกรณ์ได้ทุกขนาด นับเป็นอีกสถาปัตยกรรมหนึ่งที่ต้องศึกษาเป็นลำดับถัดจาก Virtualization, Cloud, Container เลยครับ

 

15. Virtual Reality, Augmented Reality, Mixed Reality & 3D

ปิดท้ายกันด้วย Interface ที่ดูจะมาแรงมากๆ ในปีหน้า ทั้งด้วยปัจจัยของราคาอุปกรณ์ที่มีแนวโน้มจะลดลงอย่างรวดเร็ว, การมีเครื่องมืพัฒนาจากค่ายใหญ่ถูกปล่อยกันออกมาอย่างต่อเนื่อง, การเริ่มมีทรัพยากรด้าน 3D ให้หยิบนำไปใช้งานและปรับแต่งกันได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน, หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับงานเหล่านี้ได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง และการผลักดันในเชิงการตลาดจากค่ายใหญ่

ในภาค Consumer เราจะได้เห็นเทคโนโลยีเหล่านี้กันในวงการเกม, วงการบันเทิง และการนำมาใช้ในการตลาดรูปแบบต่างๆ กันเป็นหลัก ในขณะที่สำหรับภาคธุรกิจ การนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปช่วยในการฝึกอบรม, การวิเคราะห์ข้อมูล, การออกแบบ และการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในแผนการทำ Digital Transformation ก็จะยิ่งชัดยิ่งขึ้นไปอีก

แน่นอนว่าคน IT เองนอกจากจะต้องเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้ว การเตรียมระบบเครือข่ายและพลังประมวลผลให้พร้อมเองก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้จะใช้ระบบเครือข่ายเยอะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่เหล่าคนนอกสาย IT ก็คงต้องติดตามกันให้ดีว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ทำอะไรกันบ้าง

ทั้งนี้อีกประเด็นที่น่าจับตามองเกี่ยวกับเทคโนโลยีกลุ่มนี้ คือการนำ AI เข้ามาผสานเพื่อสร้าง Content เสมือนที่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น เช่น ใบหน้าของมนุษย์ จนอาจนำไปสู่การสร้างข่าวปลอมที่มีความเหมือนจริงและยากต่อการแยกแยะได้ในอนาคตอันใกล้

 

สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2018 ของทาง TechTalkThai ก็ขอจบลงเพียงเท่านี้ครับ อาจตกหล่นอะไรไปบ้างแต่เท่านี้ก็ยาวมากแล้ว ที่แน่ๆ เราทุกคนต่างก็มีการบ้านที่ต้องเริ่มทำกันอย่างหนักแล้วครับ

from:https://www.techtalkthai.com/15-technology-trends-for-2018-by-techtalkthai/