คลังเก็บป้ายกำกับ: E-Commerce

Alibaba และ JD.com ประกาศสถิติเทศกาลลดราคา 6.18 บอกเติบโตมากกว่าที่คาด

Alibaba และ JD.com สองยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซในจีน ประกาศสถิติยอดขายในเทศกาลช้อปปิ้งกลางปี 6.18 ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน โดยถือเป็นเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก 11.11 หรือเทศกาลลดราคาวันคนโสด

โดย Alibaba ไม่ได้ให้ข้อมูลตัวเลขยอดขายสุทธิหรือ GMV แต่บอกว่าภาพรวมเติบโต 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับตัวเลขปี 2022 และทันทีที่เข้าสู่เที่ยงคืนวันที่ 18 มิถุนายน มี 305 แบรนด์ ที่ทำยอดขายมากกว่า 100 ล้านหยวน สินค้าขายดีที่น่าสนใจคือ รองเท้าลุยน้ำ (Watersports Shoes) มีผู้ซื้อ 1.8 แสนคน และกระเป๋าเดินทางมีคนซื้อ 1.65 ล้านคน

ส่วน JD.com ก็ไม่ได้ให้ตัวเลข GMV เช่นกัน บอกเพียงยอดขายรวมเติบโตมากกว่าที่คาดไว้ ขณะที่สินค้าซึ่งทำแคมเปญร่วมกับร้านค้าออฟไลน์มียอดขายที่เติบโตสูง ออเดอร์ 95% สามารถจัดส่งได้ภายใน 1 วัน

ที่มา: Alibaba และ JD.com

No Description

from:https://www.blognone.com/node/134440

TikTok ประกาศลงทุนระดับหลายพันล้านดอลลาร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลักดัน E-Commerce

Shou Zi Chew ซีอีโอ TikTok เปิดเผยในงานสัมมนาที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่าบริษัทเตรียมลงทุนเป็นวงเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในอีกหลายปีข้างหน้า ทั้งในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นหนึ่งตลาดใหญ่ที่สุดของ TikTok ในแง่จำนวนผู้ใช้งาน

อย่างไรก็ตาม TikTok ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าเงินลงทุนนี้มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่บอกว่าเป็นการลงทุนทั้งด้านการฝึกอบรม โฆษณา และโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ให้เข้าร่วมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ TikTok Shop ซึ่งตอนนี้เฉพาะอินโดนีเซียมีมากกว่า 2 ล้านร้านค้าที่อยู่ในแพลตฟอร์ม

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซสูง ตัวเลขในปีที่ผ่านมาแตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ มีผู้เล่นรายหลักคือ Shopee และ Lazada

ที่มา: CNBC

No Description

from:https://www.blognone.com/node/134405

มูลค่ารวม E-Commerce ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แตะ 1 แสนล้านดอลลาร์ – Shopee ครองส่วนแบ่งที่ 1

Venture Builder บริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพและวิจัยตลาด รายงานภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2022 ยังคงเติบโตในอัตราสูง มูลค่าการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มรวม (GMV – Gross merchandise value) เพิ่มขึ้นเป็น 9.95 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.8 เท่าตัว เทียบกับปี 2020 ถึงแม้มีความท้าทายหลายปัจจัยทั้งสถานการณ์หลังโควิด เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

GMV ถึง 52% ของทั้งภูมิภาคอยู่ในอินโดนีเซีย ขณะที่หากวัดด้วย GMV ต่อประชากร ตัวเลขของสิงคโปร์และมาเลเซียจะสูงสุดที่สุด

Shopee มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ในทั้ง 6 ประเทศที่อยู่ในรายงาน โดย Lazada อยู่ในอันดับ 2 ยกเว้นที่อินโดนีเซีย ซึ่ง Tokopedia เป็นอันดับที่ 2 อย่างไรก็ตาม Lazada ยังมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด Alibaba เพิ่งเพิ่มทุนอีก 353 ล้านดอลลาร์ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ผู้เล่นรายใหม่ที่มาแรงและน่าสนใจคือ TikTok Shop ซึ่งเติบโตมีส่วนแบ่งมากขึ้น สอดคล้องกับที่ TikTok ตั้งเป้ายอดขายรวม 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ เทียบกับปีก่อนที่ 4.4 พันล้านดอลลาร์

ส่วนแบ่งการตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในรายงานของ Venture Builder ระบุว่า Shopee มีส่วนแบ่งอันดับ 1 (56%), Lazada อันดับ 2 (40%) และ TikTok Shop (4%)

ที่มา: Tech In Asia

from:https://www.blognone.com/node/134384

Google Shopping เพิ่มโหมดทดลองใส่เสื้อผ้าแบบเสมือนจริง ใช้ AI สร้างนางแบบลองใส่ให้ดู

หลายคนคงเคยประสบปัญหาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์แต่พอลองใส่แล้วดันไม่เหมาะกับตัวเอง Google จึงเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ใน Google Shoping อย่างโหมดทดลองใส่แบบเสมือนจริง โดยใช้ Generative AI สร้างแบบโมเดลเสมือนจริงขึ้นมาสวมใส่เสื้อผ้า เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เห็นภาพว่าเสื้อผ้าจากแบรนด์เหล่านี้จะมีลักษณะอย่างไรเมื่อสวมใส่จริง

ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งโมเดลนางแบบได้ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะสีผิว ชาติพันธุ์ เส้นผม และรูปร่างตั้งแต่ขนาด XXS ถึง 4XL เพื่อหาแบบที่ใกล้เคียงกับตัวเองที่สุด โดยเบื้องต้น Google ร่วมมือกับแบรนด์ Anthropologie, Everlane, H&M และ Loft ก่อน และจะมีเฉพาะเสื้อของผู้หญิงก่อนเท่านั้น และจะเพิ่มเสื้อของผู้ชาย รวมถึงเครื่องแต่งกายชิ้นอื่นๆ จะตามมาภายในปีนี้

No Description

ฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้แค่ในสหรัฐก่อน โดยจะมีปุ่ม Try on models ขึ้นมาให้ เมื่อกดเข้าไปหน้าดูข้อมูลของเสื้อผ้าแต่ละตัว

ปีที่แล้ว Walmart ก็เคยประกาศฟีเจอร์ลองเสื้อผ้าเสมือนจริงที่คล้ายกับฟีเจอร์นี้ของ Google Shoping มาแล้ว

ที่มา : Google

No Description

from:https://www.blognone.com/node/134376

TikTok กำลังกลายเป็นภัยคุกคามใหม่ของชอปปิงออนไลน์แพลตฟอร์มทั้ง Shopee และ Lazada

สำหรับคนที่เสพ TikTok เพื่อความบันเทิง เพื่อความรู้ อาจไม่ได้รับผลกระทบเท่าคนที่ต้องการขายสินค้าออนไลน์ แต่ดันมีพื้นที่ไม่ครอบคลุมไปยัง TikTok ถ้ามีเพียงพื้นที่ขายของเฉพาะใน Shopee หรือ Lazada ตอนนี้อาจไม่พอแล้ว ต้องมาลุย TikTok ด้วย

Online Shopping

ใครที่เล่น TikTok ไถหน้าจอและเสพคอนเทนต์จากพื้นที่นี้ไปเรื่อยๆ จะรู้กันดีว่า อยู่ๆ เราก็เผลอตกเป็นลูกค้าของพ่อค้าแม่ค้าใน TikTok โดยไม่รู้ตัวเพราะการนำเสนอเนื้อหาแบบเพลินๆ เล่าเรื่องไป แต่งหน้าไป คุยตลกๆ กับเพื่อนไป รู้ตัวอีกที เอ้าขายของ และก็ขายดีซะด้วยเพราะทดลองใช้สินค้าให้ดูเห็นๆ ใช้เวลาสั้นๆ เล่าเรื่องให้ฟังเพลินๆ ไม่กี่นาที ก็ทำให้ผู้ชมเผลอกดซื้อสินค้าไปได้ง่ายๆ

TikTok รุกคืบช้าๆ แต่เติบโตอย่างรวดเร็ว

ปี 2022 ที่ผ่านมา TikTok เริ่มรุกคืบมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บุกตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทยมาอย่างเงียบๆ แต่ดันขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ด้าน Shawn Yang นักวิเคราะห์ จาก Blue Lotus Research Institute ได้ระบุไว้ในรายงานของ Sea Group ซึ่งเป็นเจ้าของ Shopee เอง ยังประเมินไว้ด้วยว่า ยอดขายออนไลน์ของ TikTok ในปี 2023 น่าจะทะลุ 20% นักวิเคราะห์จึงแนะนำให้ Shopee เร่งเพิ่มยอดขายและทำการตลาดเชิงรุกตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่ฝั่ง TikTok เองก็ไม่ได้แสดงความคิดเห็นหรือเปิดเผยตัวเลขด้านยอดขายแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ยอดขายสินค้าโดยรวมของ TikTok ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2022 นั้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า อยู่ที่ 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.53 แสนล้านบาท และยังมีรายงานอีกว่า TikTok ตั้งเป้าจะทำให้ยอดขายสินค้าโดยรวมของปี 2023 เติบโตถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 4.17 แสนล้านบาท

หากเทียบกับ Shopee ยอดขายสินค้าออนไลน์โดยรวมของปี 2022 อยู่ที่ 7.35 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.55 ล้านล้านบาท ส่วนยอดขายสินค้าโดยรวมของ Lazada ในปี 2021 อยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ​ 7.3 แสนล้านบาท

tiktok

ฐานลูกค้า TikTok ค่อยๆ แข็งแกร่ง แพลตฟอร์มพร้อมเดินหน้าพัฒนาร้านค้าออนไลน์

ด้านโฆษกจาก TikTok ระบุกับ CNBC ไว้ว่ายอดผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนั้นเติบโตต่อเนื่อง ทาง TikTok เองก็กำลังมุ่งเป้าที่จะพัฒนาร้านค้าในแพลตฟอร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปเช่นกัน แค่เดือนพฤษภาคมนี้ ยอดผู้ใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พุ่งสูงถึง 135 ล้านราย ซึ่งอินโดนีเซียถือว่ามียอดผู้ใช้งานสูงมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอเมริกา

ทั้งนี้ มีผลสำรวจจากบริษัท Cube Asia ตั้งคำถามว่า “การที่คุณใช้จ่ายเงินในร้านค้าบนแพลตฟอร์ม TikTok นี้ มันทำให้คุณต้องลดการใช้จ่ายจากช่องทางอื่นๆ หรือไม่?” ผลสำรวจจากอินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ พบว่า พวกเขาลดค่าใช้จ่ายจากแพลตฟอร์มอื่นจริง ลดจาก Shopee 51% ลดจาก Lazada 45% และลดจากช่องทางออฟไลน์ 38% ด้าน Shopee และ Lazada ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ กับเรื่องนี้

นักวิเคราะห์มอง การเผาเงินเพื่อดึงลูกค้าของ TikTok นั้น ไม่ยั่งยืน

Jonathan Woo นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Phillip Securities Research ระบุว่า TikTok ทุ่มเงินอย่างมหาศาล เพื่อจะกระตุ้นให้เกิดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบนแพลตฟอร์ม ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้นานนัก ซึ่ง Woo ประเมินว่า TikTok น่าจะใช้เงินสำหรับก้อนนี้ราว 600 ถึง 800 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณเกือบ 3 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 6-8% ของยอดขายโดยรวมในปี 2023 ที่น่าจะอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

การเผาเงินเพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดผู้ใช้งานเพิ่ม มีหลายแบบด้วยกัน ตัวอย่างจาก CNBC ระบุว่า เช่นการยกเลิกค่าคอมมิชชันสำหรับในบางพื้นที่ ขณะที่บางแพลตฟอร์มออนไลน์ คิดค่าคอมฯ หรือหากเช็คราคาตลาดสินค้าอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ใน TikTok กลับขายถูกกว่าตลาดมาก เป็นต้น

ทั้งนี้ Jonathan Woo มองว่า TikTok อาจจะสร้างความเสี่ยงให้กับ Shopee ได้มาก ซึ่ง Shopee อาจจะสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับ TikTok ไปบ้าง แต่เขามองว่า Lazada ไม่น่าจะได้รับความเสี่ยงแบบเดียวกัน เนื่องจาก Lazada พยายามไล่ตาม Shopee ให้ทันมาตั้งแต่ปี 2020 แล้ว โดยรวม เขามองว่า TikTok อาจจะมีศักยภาพที่จะยิ่งใหญ่ได้พอๆ กับ Shopee หรือ Lazada แต่ก็น่าจะใช้เวลาอีกหลายปี

ที่มา​ – CNBC, LinedIn

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post TikTok กำลังกลายเป็นภัยคุกคามใหม่ของชอปปิงออนไลน์แพลตฟอร์มทั้ง Shopee และ Lazada first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/tiktok-new-threat-of-shopee-and-lazada/

Mozilla ซื้อกิจการ Fakespot บริการตรวจสอบ-รายงาน รีวิวสินค้าที่น่าสงสัยตามเว็บอีคอมเมิร์ซ

Mozilla ประกาศซื้อกิจการ Fakespot เครื่องมือตรวจสอบและให้คะแนนรีวิวสินค้าในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีทั้ง extension ของเบราว์เซอร์ และแอปในมือถือ ทั้งนี้หลังซื้อกิจการเสร็จสิ้น Fakespot จะยังมีให้ใช้งานต่อไปในทุกแพลตฟอร์มตามเดิม

Fakespot เป็นบริการตรวจสอบความน่าเชื่อของสินค้าที่ขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซด้วย AI โดยอาศัยข้อมูลรีวิวประกอบการตัดสินใจ เพื่อแยกทั้งรีวิวแบบปกติ รีวิวปลอม หรือรีวิวที่ปั่นเพื่อทำคะแนน จากนั้นจึงให้คะแนนความน่าเชื่อถือของรีวิวในสินค้านั้น ๆ ซึ่ง Mozilla บอกว่าแนวทางดังกล่าวตรงกับเป้าหมายองค์กร ที่นำ AI มาใช้งานอย่างมีจริยธรรม และช่วยสร้างระบบโฆษณาที่มีความรับผิดชอบ

คาดว่าบริการ Fakespot จะนำมาเป็นส่วนหนึ่งใน Firefox คล้ายกับตอนที่ Mozilla ซื้อกิจการ Pocket

ที่มา: Mozilla

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133674

สัมภาษณ์พิเศษ คุณ Orapa Tachochavalit CEO (Thailand) ที่ Intrepid Group Asia บริษัทสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซ

ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษแบบส่วนตัวกับคุณ Orapa Tachochavalit – CEO บริษัท Intrepid  Group Asia
 

จุดเริ่มต้นในปี 2562 เมื่อครั้งที่ Intrepid Group Asia ขยายธุรกิจมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่เธอมาพร้อมกับประสบการณ์ที่เคยผ่านการทำงานในธุรกิจ Retail กับบริษัทระดับ Global ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยขยายความร่วมมือกับแบรนด์ระดับชั้นนำทั่วโลก รวมถึงความเชี่ยวชาญและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญในประเทศไทยเป็นอย่างดี
 
Intrepid Group Asia ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซและโซลูชันดิจิทัลระดับภูมิภาคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้บริการลูกค้าทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านด้วยเทคโนโลยีชั้นยอด
 
ประวัติด้านการศึกษาของคุณ Orapa Tachochavalit
  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จบการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม
ก่อนเข้ามาร่วมงานกับ Intrepid คุณ Orapa เคยดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายการขายสินค้าและปฏิบัติการที่ Central Group รวมถึงเป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านการจัดซื้อที่ Tesco Lotus ซึ่งเป็นสองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Retail ในประเทศไทย การตัดสินใจก้าวออกมาจากองค์กรระดับใหญ่เพื่อเริ่มต้นบทบาทใหม่กับบริษัทสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซ เธอมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญและเร่งการเติบโตช่องทางขายออนไลน์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
 

ทำไมคุณ Orapa Tachochavalit จึงสินใจเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ก่อตั้ง และรับดำรงตำแหน่ง CEO (Thailand) ที่ Intrepid Group Asia

“ย้อนหลังไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ได้มองเห็นโอกาสในตลาดออนไลน์มีการเติบโตที่น่าสนใจ และคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจผันตัวเองเข้ามาอยู่ในตลาดนี้แบบเต็มตัวกับบริษัทสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจมาได้ 4 ปีที่มีชื่อว่า Intrepid Group Asia นี่เป็นอีกปัจจัยที่มีความสนใจในเทรนด์ของกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพที่ในช่วง 3-4 ปีหลังที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นมาค่อยข้างมากพอสมควร จึงหันมามองด้านประสบการณ์ของตัวเองที่เคยสะสมในกลุ่มบริษัทระดับใหญ่มาน่าจะนำมาช่วยขับเคลื่อนในบริษัทระดับแรกเริ่มได้”
 
สาเหตุหลักที่เลือก Intrepid
  1. มองว่า Intrepid เป็นบริษัทที่มีความท้าทายที่น่าสนใจกับเทรนด์ปัจจุบัน
  2. มองว่า Intrepid เป็นบริษัทที่มีการการดำเนินธุรกิจเทรนด์ใหม่ๆ ที่ตรงกับเทรนด์ปัจจุบัน
  3. วัฒนธรรมขององค์กรระดับสตาร์ทอัพที่มีความแตกต่างกับบริษัทระดับกลางไปถึงใหญ่ คือ เราสามารถตัดสินใจได้ค่อนข้างเร็ว และสามารถมองเห็นการขับเคลื่อนด้านต่างๆ ว่าสามารถลงมือทำอะไรได้บ้างซึ่งเห็นผลลัพธ์จริงได้อย่างรวดเร็ว ส่วนนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้กล้าตัดสินใจถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์
ช่วงก่อนเกิดการระบาดครั้งใหญ่ของ Covid-19 ถ้าเอ่ยถึงบริษัทสตาร์ทอัพด้าน E-commerce enable คงเกิดคำถามมากมายว่าคืออะไร ทำอะไรเป็นหลัก แต่พอผ่านวิกฤติเลวร้ายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ หลายคนเริ่มเข้าใจธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซมากขึ้น เพราะวิถี New Normal ทำให้เราเดินเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ เพื่อการเอาตัวรอดและการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัว
 

Intrepid คาดการณ์ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยไว้อย่างไรบ้าง

“ในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยจะเติบโต 15 – 17% จากปีที่ผ่านมา จากรายงานของ SEA eCommerce ประจำปี 2565 ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยจะเติบโต 13% ภายในปี 2568”
 

Intrepid สร้างความแตกต่างอะไรบ้างที่ทำให้มีจุดเด่นในตลาด อีคอมเมิร์ซ ประเทศไทย

จุดเด่นที่สร้างความแตกได้เด่นชัดที่สุด คือ
  • Intrepid เป็นบริษัทที่ไม่ได้มีอยู่ในเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น เรามีสำนักงานอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก ทำให้ Intrepid สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมทั้งภูมิภาคและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในวงกว้าง
  • Intrepid ในประเทศไทยมีพนักงานประมาณ 100 คน ที่ทำงานร่วมกับทีม Tech Inhouse ประจำอยู่ที่เวียดนาม สำหรับพัฒนาระบบ E-commerce online ทั้งหมด จุดแข็งของทีม Tech คือ การวิเคราะห์การบริการที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ลูกค้า เช่น การซื้อพื้นที่โฆษณาของลูกค้า ทีม Tech สามารถวิเคราะห์ตำแหน่งการลงโฆษณาที่เหมาะสมกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ นั่นหมายถึงการ Matching สินค้าและพื้นที่เป้าหมายที่มีความต้องการของผู้ซื้อได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้การลงทุนของลูกค้าที่คุ่มค่ามากที่สุด
  • Intrepid เป็นส่วนหนึ่งของ Ascential ซึ่งสามารถช่วยยกระดับด้านการปรับใช้ข้อมูลความต้องการในตลาด E-commerce ได้กว้างมากขึ้น

ในมุมมองของคุณ Orapa Tachochavalit เทรนด์ อีคอมเมิร์ซ ระดับโลกและในประเทศไทยที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2023 มีอะไรบ้าง

เทรนด์แรก คือ “การนำเสนอในรูปแบบวิดีโอสั้น” เนื่องจากหลากหลายแพลตฟอร์มเริ่มเข้ามาเล่นวิดีโอแบบสั้นมากขึ้น เช่น Facebook, Line หรือ TikTok ต่างมุ่งเป้าไปที่รูปแบบวิดีโอแบบสั้นประมาณ 15 – 30 วินาที มุ่งเน้นคอนเทนท์ที่กระชับ ตรงประเด็น และครอบคลุมจุดขายเฉพาะของสินค้าได้ง่ายที่สุด “เราจะทำอย่างไรให้วิดีโอแบบสั้นเกิดยอดขายได้ง่ายที่สุด”  นี่คือโจทย์ที่ผู้ค้าบนอีคอมเมิร์ซต้องปรับกลยุทธ์สู่ผลลัพธ์ของความสำเร็จให้ได้
 
เทรนด์ที่สอง คือ “Social Commerce” ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มให้ความสนใจกับช่องทาง Social Commerce เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถโต้ตอบสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมความชอบที่คล้ายๆ กันได้ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้การนำเสนอได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและขยายวงกว้างได้มากขึ้น สิ่งสำคัญของช่องทาง Social Commerce คือ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของแบรนด์ได้ เพราะเป็นการซื้อขายโดยตรงโดยที่ไม่ผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้เสียเวลาการรอคอยและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
 
เทรนด์ที่สาม คือ “On-Demand Commerce” ธุรกิจการจัดส่งอาหาร Food Delivery เริ่มเข้ามาโลดเล่นในตลาด On-Demand Commerce เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น GrabFood, Foodpanda, Lineman, Shopee และ Robinhood นอกจากที่กล่าวมายังมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาให้พบเห็นในตลาดนี้เช่นกัน เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงความเข้มข้นในการแข่งขันที่เริ่มมีรายย่อยเข้ามาลงสนาม คำถามที่พบเยอะบ่อยที่สุด คือ On-Demand Commerce มีความแตกต่างกับ e-Market Place ยังไง ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องระยะเวลาการรอคอยสินค้า ภาคส่วนของ e-Market Place มีความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าประมาณ 1-2 วัน แต่ภาคส่วนของ On-Demand Commerce นั้้น ลูกค้าคาดหวังไว้ที่ 1-2 ชั่วโมงที่สินค้าจะมาส่งถึงหน้าบ้าน
 
ที่ผ่านมากลุ่มสินค้าของ On-Demand Commerce จะเป็นอาหารที่พร้อมบริโภคได้ทันที แต่ต่อไปจากนี้ จะมีสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช้กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มเข้ามาอยู่ในช่องทาง On-Demand Commerce พร้อมกับการคาดหวังว่าจะได้รับสินค้าภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากส่งคำสั่งซื้อออกไป
 
เทรนด์ที่สี่ คือ “MarTech” แนวคิดหรือแนวทางของเทคโนโลยีทางการตลาด เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคส่วนการตลาด MarTech จะทำให้แบรนด์สามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้าที่มีความต้องการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอให้แม่นยำกับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ในยุคดิจิทัล MarTech หรือ เทคโนโลยีการตลาดจะเป็นสิ่งจำเป็นกับอนาคตของการตลาดสมัยใหม่ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการการสื่อสารระหว่างคู่ค้าและลูกค้า เข้ามาช่วยปรับปรุงเชื่อมโยงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เราจะต้องมีข้อมูลที่ดีที่สุด เพื่อทำการตลาดที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า”
 

คุณ Orapa Tachochavalit มองเห็นตลาด อีคอมเมิร์ซ และ Intrepid ได้รับประโยชน์จาก ChatGPT อย่างไร

“เรามองเห็นศักยภาพที่สูงใน CX domains ซึ่งเรากำลังสำรวจศักยภาพของ ChatGPT ที่สนับสนุนความสามารถในการแชทบางส่วนของเรา เพื่อปรับปรุงความเร็วและยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า
 
นอกจากนี้ เรายังมองเห็นโอกาสในการทำให้การเขียนคำโฆษณาเป็นไปโดยอัตโนมัติสำหรับเนื้อหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงรายการสินค้า การเขียนคำอธิบายที่น่าสนใจและการผสมผสานคำหลักอย่างราบรื่นภายใต้การดูแลของทีมงานภายในของเรา”

บทสรุป

สุดท้ายนี้ ทาง Intrepid ต้องการให้กลุ่มลูกค้าที่กำลังขายหรือกำลังจะเริ่มต้นบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ นึกถึง Intrepid ในฐานะพันธมิตรที่สามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ไม่ต้องลงมือสร้างหรือทำด้วยตัวเองทั้งหมด Intrepid มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยปูแผนเส้นทางการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จทางการขายออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน
 
เป้าหมายของ Intrepid สำหรับในปี 2023 นี้ เราจะสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าปลายทางที่เข้ามาซื้อสินค้า ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ จัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว และได้รับบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม สิ่งนี้จะสามารถสร้างประตูของการกลับมาซื้อกับเราได้อีกครั้ง เราให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมทั้งลูกค้ารายใหม่และรายเดิม
 
หากสนใจในบริการของ Intrepid หรือต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้จากช่องทางด้านล่างนี้

Intrepid Ecommerce Services (Thailand) Co., Ltd.

from:https://www.techtalkthai.com/exclusive-interview-with-orapa-tachochavalit-ceo-thailand-at-intrepid-group-asia-an-e-commerce-startup-company/

Amazon ปิดร้านหนังสือ Book Depository

Amazon ประกาศปิดร้านหนังสือ Book Depository ร้านหนังสือในอังกฤษที่ซื้อกิจการมาตั้งแต่ปี 2011 โดยตอนนี้ยังไม่ประกาศกับลูกค้าแต่เริ่มส่งอีเมลประกาศสายส่งหนังสือและสำนักพิมพ์ต่างๆ

Book Depository นั้นมีจุดเด่นที่ส่งหนังสือไปทั่วโลกโดยไม่คิดค่าส่ง ตัวบริษัทเองก่อตั้งโดย Stuart Felton และ Andrew Crawford อดีตพนักงานของ Amazon เมื่อปี 2004 และสุดท้าย Amazon ก็ซื้อบริษัทเข้ามา

อีเมลจาก Book Depository ระบุว่าลูกค้าจะสั่งหนังสือได้วันสุดท้ายวันที่ 26 เมษายนนี้

ที่มา – The Guardian

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133300

Amazon เริ่มขึ้นป้ายเตือนสินค้า “ที่ลูกค้าขอคืนบ่อย” ให้เห็นก่อนตัดสินใจซื้อ

อาจถือเป็นก้าวสำคัญของวงการอีคอมเมิร์ซ (ต่างประเทศ) ที่สามารถคืนสินค้าได้ง่าย ล่าสุด Amazon เริ่มขึ้นป้ายเตือน “Frequently returned item” ในหน้ารายการสินค้าที่มีปัญหาบ่อยๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลครบถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ

ป้ายเตือนของ Amazon อยู่ในหน้ารายการสินค้าเลย โดยแนะนำให้ผู้บริโภคดูข้อมูลสินค้าและรีวิวของลูกค้าคนอื่นๆ ให้ถี่ถ้วนก่อน ตัวอย่างคือ เครื่องเล่นแผ่นเสียงยี่ห้อ Pro-Ject Automat A1 ซึ่งในรีวิวมีคนพูดถึงปัญหาเครื่องพังจากการแพ็คสินค้าไม่ดี และปัญหามอเตอร์มีเสียงรบกวน เป็นต้น

No Description

ที่มา – The Verge

from:https://www.blognone.com/node/133235

Google ลบ Pinduoduo แอป E-commerce ยักษ์ใหญ่ในจีนออกจาก Play Store เหตุดูดข้อมูลผู้ใช้งาน

Pinduoduo แอปช็อปปิ้งจีนยักษ์ใหญ่ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 800 ล้านคนได้ถูก Google แบนเนื่องจากถูกรายงานว่าเป็นมัลแวร์ โดยพบว่าแอปมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย มีโค้ดที่เป็นอันตรายที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้ ล่าสุดได้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้งานและได้ระงับการใช้งานแอปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่เคยโหลดไว้ก็จะถูกแจ้งเตือนให้ลบออก ส่วนคนที่กำลังจะโหลดตอนนี้จะไม่สามารถโหลดได้แล้ว

พฤติกรรมอันน่าสงสัยของเจ้าแอป Pinduoduo นี้ที่ทาง Google จับโป๊ะได้คือ ตัวแอปดึงข้อมูลจากผู้ใช้งานมากเกินไปดึงไปเกินความจำเป็น แถมแอปก็พยายามหลบซ่อนตัวเอง นอกจากนี้นักวิเคราะห์ยังให้ข้อมูลว่า แอปมีช่องโหว่ Zero-day Vulnerability ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่อันตรายและมีโอกาสที่ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกแฮกได้ทันที

ปกติแล้ว Google จะมีระบบกันผู้ใช้งานไม่ให้ติดตั้งแอปอันตราย หรือแจ้งเตือนเราให้ถอนการติดตั้งแอปเหล่านี้อยู่แล้ว (Google Play protect) ซึ่ง Pinduoduo ที่ถูกสงสัยว่ามีมัลแวร์ร้ายซ่อนอยู่จึงถูกตรวจสอบว่าเป็นแอปอันตราย และถูกถอดออกจาก Play Store เป็นที่เรียบร้อย

แต่ที่น่าแปลกคือถึงแม้ว่าตัวแอปจะถูกถอดออกจาก Play Store แต่ดันไปเจอในร้านค้าแอป Custom Stores ของแบรนด์ต่าง ๆ ทั้ง Galaxy Store, HUAWEI App Gallery, OPPO App Market และอื่น ๆ ทำให้สื่อนอกตั้งเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า ร้านค้าแอปของแบรนด์เหล่านี้มีมาตรการคัดกรองแอป หรือมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่รัดกุมหรือไม่?

ทั้งนี้ยังไม่มีคำชี้แจงใด ๆ จาก Pinduoduo นะคะ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่อยากให้ตระหนักมาก ๆ เลยก็คือการพิจารณาดาวน์โหลดแอปจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือก่อนจะติดตั้งอะไรก็แนะนำให้อ่านเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูลให้ดี จะได้เป็นการลดความเสี่ยงที่จะถูกดูดข้อมูลและใช้งานได้อย่างปลอดภัยสบายใจด้วย

 

ที่มา : Gizmochina 

 

from:https://droidsans.com/pinduoduo-app-ecommerce-from-china/