คลังเก็บป้ายกำกับ: AIS

ลองใช้ ZTE 5G Home WiFi ของ AIS ฉบับชาวหอ เล่นเน็ตแรงเต็มคาราเบล แบบไม่ง้อสาย Fiber ราคา 9,490 บาท

ZTE 5G Home WiFi เราเตอร์กระจายสัญญาณของ AIS ที่วางขายในราคา 9,490 บาท เรียกได้ว่าตอบโจทย์ชาวหอที่อยากได้อินเตอร์เน็ตความเร็วแรง คนที่อยู่ต่างจังหวัดและต้องการติดตั้งอินเตอร์เน็ตแบบง่าย ๆ และสาย IT ที่ต้องการพกพาไวไฟไปได้ทุกที่ จะใช้ดีขนาดไหน เข้ามาดูการใช้งานเต็ม ๆ ได้ค่ะ

แกะกล่อง ZTE 5G Home WiFi

ZTE 5G Home WiFi หรือเราเตอร์กระจายสัญญาณ WiFi ของทาง AIS ซึ่งภายในกล่องก็จะมีอุปกรณ์มาให้ ดังนี้

  • เราเตอร์ ZTE 5G Home WiFi
  • สายชาร์จ
  • สาย LAN
  • คู่มือ

ซึ่งมีขนาด 182 x 124 x 70 มิลลิเมตร น้ำหนัก 650 กรัม มีความกะทัดรัด สามารถเคลื่อนย้ายสะดวก พกพาไปได้ทุกที่ ใช้งานง่ายมาก ๆ เพียงแค่ใส่ซิมที่มีแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตเท่านั้น อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อทั้งแบบไร้สายและแบบมีสายได้ ซึ่งมีพอร์ต LAN ความเร็ว 1 Gb 2 ช่อง

ตัวเครื่องใช้ชิป Snapdragon X62 รองรับเครือข่ายสัญญาณ 5G ทั้ง AIS 5G SA และ NSA ซึ่งมีคุณสมบัติในเรื่องของความแรง และความหน่วงต่ำ อีกทั้งยังรองรับ WiFi6 แบบ Dual Band 2.4 GHz และ 5 GHz โดยตัวที่เราเชื่อมต่อเพื่อทดสอบวันนี้เป็น 5GHz ค่ะ

ตัวเครื่องมีเสาสัญญาณใหญ่ 10dBi เพิ่มกำลังส่งให้สามารถเล่นเน็ตได้เร็วแรง และครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น สามารถทะลุทะลวงกำแพงและสิ่งกีดขวางได้ดี และเพิ่มความเร็วขึ้นอีก 15% และรองรับสัญญาณ 5G ได้ดีขึ้น ซึ่งในการทดลองนี้อิงจากการใช้งานแบบทั่วไปของผู้ใช้งานมือใหม่ – ระดับปานกลางนะคะ

สรุปสเปค ZTE 5G HOME WIFI

  • ขนาด : 182 x 124 x 70 mm
  • น้ำหนัก : 650g
  • จอแสดงผล : ไฟ LED แสดงสถานะ (Signal / Network / Wifi / Power)
  • CPU : Snapdragon™ X62
  • RAM : 1GB
  • ความจำ : 1GB
  • ซิมการ์ด : Nano SIM 1 ซิม
  • รองรับ : 2G, 3G, 4G, 5G WiFi 6 Dual Band 2.4GHz & 5GHz

ทดสอบการใช้งาน

ซิมที่เราใส่อยู่นั้นมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gbps และสถานที่ที่เราทดสอบนั้นคืออยู่ในซอยย่านลาดพร้าว ซึ่งก็จะมีบ้านพัก หอพัก รายล้อมอยู่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อผลลัพธ์ค่ะ

ทดสอบความเสถียร

ในการทดสอบคามเสถียรนี้ผู้เขียนได้เชื่อมต่อเราเตอร์กับโน้ตบุ๊ค 1 เครื่อง และมือถืออีก 1 เครื่อง วางในระยะใกล้กัน จากนั้นก็ทำงานปกติ โดยมีปัจจัยรอบข้างคือจำนวนคนที่อยู่ร่วมห้อง, ช่วงเวลาที่คนเข้ามาทำงานหรือช่วงคนพักเที่ยง  จากการทดสอบ 10 ครั้ง ผลความเร็วแรงของสัญญาณที่ได้ออกมาถือว่าเสถียรเลยล่ะค่ะ อีกทั้งในการใช้ทำงานก็ไม่ได้มีปัญหาหลุดกลางคันด้วย

ครั้งที่ เวลา ดาวน์โหลด อัพโหลด Ping จำนวนคน
1 11.05 71.94 58.63 35 6
2 11.08 82.98 58.09 17 10
3 11.18 84.68 54.9 15 18
4 13.04 73.56 48.83 41 10
5 13.25 73.18 54.93 15 6
6 13.45 134.14 53.15 15 6
7 14.24 89.58 60.8 22 11
8 15.5 86.04 37.13 15 12
9 16.27 91.13 33.1 16 15
10 16.59 55.48 42.48 16 10

 

ทดสอบการกระจายของสัญญาณ

ทดสอบใช้งานในอาคารชั้นที่ 2

ผู้เขียนใช้งานในตึกออฟฟิศ เป็นอาคาร 2 ชั้น ในชั้นที่ 2 ที่นั่งทำงานอยู่นั้นจะมีเนื้อที่ 133 ตร.ม ไม่รวมระเบียง ในห้องทำงานเป็นที่โล่ง ไม่ได้มีห้องซ้อน ๆ กันเยอะ จากการทดสอบใช้งานเดินไปมุมห้อง ซ้ายสุดและขวาสุด ระยะห่างนับจากตัวเครื่องประมาณ 4 เมตร ก็พบว่าสัญญาณยังได้เร็วแรงอยู่ ใช้งานได้ไม่มีปัญหาเลย และเมื่อไปที่ระเบียงที่มีระยะไกลขึ้นไปอีกก็ยังโอเคอยู่

การทดสอบ  ระยะห่าง ดาวน์โหลด อัพโหลด Ping ปัจจับรอบ ๆ
ครั้งที่ 1 ใกล้เครื่อง 20 ซม. 92.7 48.8 19 อุปกรณ์สำนักงานทั่วไป ที่โล่ง ไม่มีกำแพงกั้น
ครั้งที่ 2 มุมห้องด้านขวา 4 เมตร 74.6 54.5 17 อุปกรณ์สำนักงานทั่วไป ที่โล่ง ไม่มีกำแพงกั้น
ครั้งที่ 3 มุมห้องด้านซ้าย 3 เมตร 74.2 49.1 18 อุปกรณ์สำนักงานทั่วไป มีกระจกกั้น 1 ชั้น
ครั้งที่ 4 ระเบียง 6 เมตร 73.8 46.2 19 ระยะจากเราเตอร์ถึงระเบียงต้องผ่านกระจก 2 ชั้น

ทดสอบใช้งานในอาคารชั้นที่ 1

ในชั้นที่ 1 มีเนื้อที่ 300 ตร.ม. จากการทดสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบที่วางเราเตอร์ไว้ที่ชั้น 2 ที่เดิม พบว่า หากเดินลงมาด้านล่างให้หัวของเราตรงหรือเยื้อง ๆ กับเราเตอร์ สัญญาณก็ยังใช้ได้ดี แต่ถ้าเราเดินออกไปอีกห้องใกล้ ๆ สัก 5-7 เมตร สัญญาณจะอ่อนจนหายไปเลย

สถานที่ ระยะห่าง ดาวน์โหลด อัพโหลด Ping ปัจจับรอบ ๆ
ครั้งที่ 1 ชั้น 1 ยืนเยื้อง ๆ เครื่อง 2 เมตร 63.9 42.4 18 อุปกรณ์สำนักงานทั่วไป มีฝ้าเพดานกั้น
ครั้งที่ 2 ชั้น 1 ห้องครัว 5 เมตร 16.4 4.51 43 ระยะห่างจากเครื่องค่อนข้างไกล ต้องผ่านหลายห้อง ซึ่งก็เป็นกำแพงหลายชั้น
ครั้งที่ 3
ชั้น 1 ห้องสตูดิโอ ติดครัว
4 เมตร 49.8 41.8 19 ระยะห่างจากเครื่องไกล ต้องผ่านหลายห้อง
ครั้งที่ 4 ชั้น 1 ที่จอดรถ 3 เมตร 73.9 41.9 19 ระยะห่างไม่ไกลเครื่องมากเท่าครัว แต่ผ่านกำแพงเพียงชั้นเดียว

ทดสอบในที่โล่งแจ้ง

เราได้ทำการวางเราเตอร์ไว้ที่โล่ง ณ กลางถนน จากนั้นก็เดินไปที่ท้ายซอยซ้ายขวา  ตามภาพแผนที่ที่เราแปะไว้ พบว่า ในระยะทางเท่ากัน เมื่อเดินเข้าซอยไปทางซ้ายที่มีความแคบกว่าและรอบ ๆ เป็นบ้านพักอาศัยหลังอื่น ๆ ซึ่งสัญญาณอ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด เทียบกับด้านขวาที่พื้นที่ซอยจะมีความกว้างกว่า มีบ้านที่ร่นระยะเข้าไปอีก เมื่อเดินไปยังจุดดังกล่าวตามระยะทางสัญญาณเน็ตก็ยังเชื่อมต่อและใช้งานได้อยู่

การทดสอบ ระยะห่าง ดาวน์โหลด อัพโหลด Ping ปัจจับรอบ ๆ
ครั้งที่ 1 ใกล้เครื่อง 85.5 19.4 25 กลางถนนที่โล่งแจ้ง แต่มีบ้านอยู่รอบ ๆ
ครั้งที่ 2 19 เมตร 48.9 20 28 มีบ้านอยู่รอบ ๆ 4 หลังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสัญณาณอยู่
ครั้งที่ 3 32 เมตร 22. 9 9.56 21 เดินเลยหัวมุมซอยออกไป มีบ้านอยู่รอบ ๆ 4 หลัง
ครั้งที่4 15 เมตร 110 20.4 20 พื้นที่ซอยกว้างขึ้นและความหนาแน่นของบ้านน้อยลง มีบ้านขนาบข้าง 2 หลัง
ครั้งที่ 5 30 เมตร 58.9 18.9 21 พื้นที่ซอยกว้างขึ้นและความหนาแน่นของบ้านน้อยลง มีบ้านขนาบข้าง 2 หลัง

ZTE 5G Home WiFi สามารถกระจายสัญญาณได้ประมาณ Router ที่แถมมากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ในรุ่นที่เก่าหน่อย) เพราะพวกรุ่นใหม่ ๆ Wi-Fi 6 คาดหวังเรื่องของประสิทธิภาพได้มากกว่านี้เล็กน้อย สัญญาณสามารถทะลุกำแพงได้ประมาณ 2 ชั้น เหมาะสำหรับพื้นที่ประมาณคอนโดที่มีห้องนอนประมาณ 2 ห้อง ตัวเดียวเอาอยู่ ส่วนถ้าต้องการประสิทธิภาพการกระจายสัญญาณ Wi-Fi ที่ดีมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าให้ต่อ Access Point เพิ่ม จะทำให้สัญญาณแรงขึ้นกว่านี้

ทดสอบการเชื่อมต่อพร้อมกันหลาย ๆ อุปกรณ์

เราได้ทำการนำมือถือของเพื่อนชาวออฟฟิศจำนวน 10 เครื่องมาเชื่อมต่อไวไฟและเปิดวิดีโอ ภาพยนตร์แบบ 4K หรือวิดีโอไลฟไปพร้อมกัน ผลลัพธ์คือ ทุกเครื่องสามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล ใครที่เพื่อนเยอะรับรองว่าเอาอยู่ค่ะ

ทดสอบการเล่นเกม

ในการทดสอบการเล่นเกม ผู้เขียนได้เชื่อมต่อโน้ตบุ๊ค 3 เครื่อง สมาร์ทโฟน 2 เครื่อง รวม 5 อุปกรณ์ เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ทั้งหมด โดยมีโน้ตบุ๊คเครื่องที่ 1 เล่นเกม League of Legends และโน้ตบุ๊คทั้ง 2 เครื่อง 2 ดู Live Stream  ส่วนสามร์ทโฟนทั้งสองเครื่องดู Youtube

พบว่าเครื่องที่เล่นเกมมีค่า Ping อยู่ที่ 20-25 ms ซึ่งถ้าเทียบกับเน็ตบ้านจะอยู่ที่ไม่เกิน 10 ms ถือว่าเล่นได้เลยนะ จะมีอาการ Ping พุ่งสูง บ้างเล็กน้อย นาน ๆ ครั้ง ไม่ได้รบกวนการเล่นเกมมากนัก ส่วนเครื่องอื่น ๆ ที่ไม่ได้เล่นเกมก็ยังสามารถดู Live Stream ได้อย่าลื่นไหล แต่คิดว่าถ้ามีเครื่องไหนโหลด Bittorrent ขึ้นมาน่าจะล่มทั้งขบวนแน่นอน

ทดสอบการจับสัญญาณ เทียบกับสมาร์ทโฟน

ในการทดสอบการจับสัญญาณ ทำโดยนำอุปกรณ์มาวางอยู่ใกล้ ๆ กัน แล้วกด Speedtest พร้อมกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบมีดังนี้ iPhone 14 Pro, iPhone 13 Pro และ โน้ตบุ๊คต่อสาย LAN เข้ากับตัว Router จากนั้นกด Speedtest พร้อมกันพบว่า ตัว ZTE 5G Home WiFi มีความเร็วที่น้อยกว่า iPhone ตั้งสองเครื่องอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งถ้ามองด้วยกายภาพแล้ว จะรู้สึกว่า ZTE 5G Home WiFi มีขนาดใหญ่กว่า iPhone ดังนั้นเสาสัญญาณก็น่าจะใหญ่กว่า แต่จากผลการทดสอบปรากฎว่า ความเร็วที่ได้น้อยกว่า iPhone อีก จึงอาจสรุปได้ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมเสาสัญญาณ (Cell Site) เดียวกันจะได้รับลำดับความสำคัญ (QoS) ที่ต่างกันในช่วงเวลานั้น ๆ โดยสมาร์ทโฟนจะได้ความสำคัญสูงสุด จึงได้ความเร็วที่มากกว่า

แต่ถ้าทดสอบโดยตัว ZTE 5G Home WiFi เดี่ยว ๆ จะทำความเร็วได้สูงกว่าทดสอบพร้อมกันมาก จึงอาจทำให้มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ส่งผลต่อความเร็วที่ได้รับในแต่ละช่วงเวลาด้วย

สรุปการใช้งาน

ZTE 5G Home WiFi เป็นเครื่องกระจายสัญญาณที่พกพาสะดวก ใช้งานง่าย ใครที่ทำงานนอกสถานที่บ่อย ๆ และต้องการตัวกระจายสัญญาณดี ๆ สักตัวถือว่าตอบโจทย์เลย หรือใครที่ไม่สะดวกติดอินเทอร์เน็ตแบบต่อสายไฟเบอร์ ต้องการจะซื้อมาใช้งานภายในบ้านก็สะดวกดีเช่นกัน เพราะสัญญาณสามารถกระจายได้กว้างค่ะ

ZTE 5G Home WiFi เหมาะกับใครบ้าง

  • เหมาะกับผู้ที่พักอาศัยที่หอพัก คอนโดมิเนียมที่เน็ตที่ไม่สามารถลากไฟเบอร์ขึ้นไปได้
  • ผู้ที่อยู่ในพื้นที่สาย Fiber Optic เข้าไม่ถึง
  • ผู้ที่ย้ายบ้านบ่อย และไม่อยากติดเน็ตให้ยุ่งยาก
  • สาย Freelance หรือคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อย ๆ
  • องค์กรที่ต้องการอินเทอร์เน็ตสำรอง (ฺBackup Failover)
  • ผู้ที่ต้องการ Router Mifi ที่มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกว่า 4G

ราคาจำหน่าย

ZTE 5G Home WiFi วางขายในราคา 9,490 บาท สามารถผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% ได้นานสูงสุด 10 เดือน สำหรับลูกค้าทั่วไปที่ซื้อเครื่องในช่วง 1 มิถุนายน 2566 – 30 มิถุนายน 2566 รับส่วนลด 1,000 บาท เหลือเพียง 8,490 บาท สั่งซื้อได้ผ่านช่องทาง AIS Online Store  รับประกัน 1 ปี นับจากวันที่ซื้อในใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีจากร้านค้า AIS หรือตัวแทนจำหน่าย

from:https://droidsans.com/ais-zte-5g-home-wifi-review/

ยกเครื่องงานบริการ! บิ๊กซี ดึงอดีตผู้บริหาร AIS Serenede เพิ่มฐานสมาชิก และประสบการณ์ช้อป

บมจ. บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ BRC ดึง บุษยา ยินดีสุข อดีตผู้บริหาร AIS Serenade ยกเครื่องงานบริการ วาง 3 เป้าหมาย เพิ่มฐานสมาชิกบิ๊กพอยต์จาก 18 ล้านราย เพิ่มมูลค่าการจับจ่าย และเพิ่มประสบการณ์ซื้อสินค้าในช่องทางต่าง ๆ เหตุสมาชิกบิ๊กพอยต์มียอดจับจ่ายมากกว่าคนไม่เป็นสมาชิกถึง 3 เท่า

BRC

บิ๊กซี ปรับปรุงงานบริการปั๊มยอดขาย

บุษยา ยินดีสุข ประธานเจ้าหน้าที่สายธุรกิจบริหารคุณค่าลูกค้า บมจ. บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น หรือ BRC เล่าให้ฟังว่า หลังออกจาก AIS ในฐานะผู้บริหารหน่วยธุรกิจดูแลลูกค้า และสิทธิประโยชน์ หรือ AIS Serenade ได้เข้ามาร่วมงานกับเครือ BJC เพื่อยกระดับงานบริการของธุรกิจค้าปลีก หรือ Big C ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การเข้ามารับตำแหน่งดังกล่าว บุษยา จะรับผิดชอบ 3 เป้าหมายหลักประกอบด้วย

  • การเพิ่มฐานสมาชิก บิ๊กพอยต์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 18 ล้านราย ให้มีจำนวนมากขึ้น
  • การเพิ่มมูลค่าจับจ่ายของสมาชิกให้มากขึ้น เนื่องจากรายได้มาจากสมาชิกบิ๊กพอยต์ประมาณ 60-80%
  • การเพิ่มประสบการณ์ที่ดีขึ้นในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ของบริษัท

“การย้ายจากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาสู่ค้าปลีกค่อนข้างแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะที่บิ๊กซีมีฐานข้อมูลทั้งลูกค้า และสินค้า รวมถึงประเภทการจับจ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้านำทั้งหมดนี้มาวิเคราะห์ดี ๆ ย่อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้บริษัท และยกระดับให้องค์กรเติบโตในอนาคต”

ทั้งนี้จำนวนสมาชิกบิ๊กพอยต์ 18 ล้านราย เติบโตขึ้น 29.5% ในระยะเวลา 3 ปี จาก 13.9 ล้านราย ในปี 2562 โดยสมาชิก 3.3 ล้านราย มีสถิติการใช้บริการเป็นประจำทุกเดือน และทางบิ๊กซีเคลมว่า สมาชิกบิ๊กพอยต์ คือบัตรสมาชิก หรือ Retail Loyalty Card อันดับ 1 ในประเทศไทย

BRC

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดึงคน AIS มาช่วยพัฒนาบริการลูกค้า

การดึงผู้บริหารที่ดูแล AIS Serenade มาช่วยพัฒนางานบริการลูกค้าไม่ใช่เกิดขึ้นกับบิ๊กซีเป็นครั้งแรก เพราะเมื่อปี 2018 ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ได้ดึง วิลาสินี พุทธิการันต์ ผู้ปลุกปั้นให้ AIS Serenede เป็นที่รู้จัก และพัฒนางานบริการลูกค้าของ AIS อยู่ในอันดับต้น ๆ ของตลาด เข้ามาช่วยพัฒนางานบริการลูกค้าของ SCB

การเข้ามาของ วิลาสินี ในปี 2018 ได้ยกระดับงาน Call Center ของ SCB ให้แก้ไขปัญหาจบภายในตัวเองได้ 1 ใน 3 ของกรณีทั้งหมด พร้อมลดอัตราการวางสายก่อน Call Center รับ เหลือ 8-9% ของสายทั้งหมด จากเดิมอยู่กว่า 20% ทั้งยังช่วยปรับงานบริการต่าง ๆ ในช่วงที่ SCB เริ่มยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการดิจิทัลต่าง ๆ

ส่วนกรณีของ บุษยา เธอเข้ามาดูแล AIS Serenade และบริการลูกค้า AIS ต่อจาก วิลาสินี และการย้ายมาที่ BRC เป็นการเกษียณออกมาจาก AIS ที่ทำงานมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ถือเป็นอีกข้อพิสูจน์ว่า หากต้องการพัฒนางานบริการลูกค้า ผู้บริหาร AIS Serenade คือหนึ่งในตัวเลือกสำคัญ

BRC

มาพร้อมการเกิดขึ้นของ BigC Place และ IPO

ขณะเดียวกันการเข้ามาของ บุษยา ยังเกิดขึ้นพร้อมกับการเปิดตัว BigC Place โมเดลสาขารูปแบบใหม่ที่วางตัวเป็นสถานที่สำหรับการจับจ่าย และพักผ่อนของชุมชน ประกอบด้วยพื้นที่ช้อปปิ้ง, พื้นที่ Edutainment, พื้นที่เช่าสำหรับบริการด้านสุขภาพ และความงาม, พื้นที่ที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง, ร้านอาหาร เครื่องดื่ม และศูนย์อาหาร

นอกจากนี้ BRC ยังเตรียมกลับเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งด้วยวิธี IPO ทั้งหมด 3,729 ล้านหุ้น หรือ 29.98% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออก และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ โดยการระดมทุนจะทำเพื่อนำเงินมาลงทุนขยายสาขา และทำตลาดในแง่มุมต่าง ๆ

โครงสร้างธุรกิจของ BRC ในปัจจุบันประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

  • ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น Big C แบบต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ในประเทศไทย, กัมพูชา และลาว
  • ธุรกิจค้าส่ง เช่น ร้านค้าโดนใจ ที่ BRC เข้าไปช่วยเหลือโชห่วยต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ร้านขายยา Pure, ร้านหนังสือ Asia Books และร้านกาแฟวาวี

หลังจากนี้ BRC มีแผนลงทุนปีละราว 10,000 ล้านบาท เพื่อขยายสาขาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งไทย และต่างประเทศ จากปัจจุบันมีสาขารวมกว่า 2,000 แห่ง และครองส่วนแบ่ง Hypermarket ราว 42% ของประเทศไทย และมีพื้นที่ให้เช่ากว่า 1 ล้านตร.ม. โดยปี 2022 มีรายได้รวม 1.06 แสนล้านบาท 89% มาจากธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่

BRC

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ยกเครื่องงานบริการ! บิ๊กซี ดึงอดีตผู้บริหาร AIS Serenede เพิ่มฐานสมาชิก และประสบการณ์ช้อป first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/big-c-ex-ais-serenade/

AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์

AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์
Appdisqus Team

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) คือผลจากการวัดสำรวจพฤติกรรมการใช้งานด้านดิจิทัลของคนไทยใน 7 ประการ ผ่านมาตรวัดที่ถูกจัดทำขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท AIS ในภารกิจของอุ่นใจ CYBER ร่วมมือกับ มจธ. และผู้เชี่ยวชาญในด้านสาขางานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

โดยพฤติกรรมการใช้งานด้านดิจิทัล ที่นำมาวัดผลประกอบด้วย  ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)

ซึ่งการจัดทำมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลในครั้งนี้นับเป็นฉบับแรกของประเทศไทย จัดทำขึ้นจากความร่วมมือของบริษัท AIS ร่วมกับ มจธ.(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล โดยมีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน

ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในวันนี้ยังพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

AIS ThailandCyberWellness scaled | AIS | AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์

โครงการนี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากภารกิจหลักของ AIS อุ่นใจ CYBER ที่มุ่งสร้างทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัล คัดสรรโซลูชัน และเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้ได้ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นด้วยการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นเป็นฉบับแรกของไทยกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ด้วยที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าผสานกำลังส่งมอบดัชนีนี้ไปยังเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันนำองค์ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่มต่อไป

 

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง

ดังนั้น AIS ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการดิจิทัล เราเข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญต่อสังคมดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ผ่านมากว่า 4 ปี  AIS จึงอาสาจุดประกายสังคมเกี่ยวกับประเด็นนี้ ตั้งแต่วันที่ดิจิทัลเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีการใช้ชีวิต ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ทั้งในด้านการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้งาน การพัฒนาโซลูชันและบริการดิจิทัลเพื่อปกป้องและส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดและทักษะของพลเมืองดิจิทัล”

Pic 04 Thailand Cyber Wellness scaled | AIS | AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์

นายสมชัย อธิบายเพิ่มเติมว่า “จากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม อันจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือ และองค์ความรู้ส่งมอบให้กับคนไทยได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาเกิดขึ้น ในชื่อของ “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย โดยมีพันธมิตรรายสำคัญอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมนักวิชาการหลากหลายแขนง มาร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับเรื่องดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อไป”

ทางด้าน รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า “เราทำงานร่วมกับ AIS มาอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้จัดทำหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เพื่อสร้างทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย จนมาวันนี้ เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดผลถึงการใช้งานกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index และเพื่อให้การศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามหลักมาตรฐานของการวิจัย มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และการวัดประเมินผล ในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัย กรอบแนวคิด จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic  และระดับ Improvement ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของประชาชนไทยแต่ละกลุ่ม ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ”

นายสมชัย กล่าวในช่วงท้ายว่า “จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น โดย AIS พร้อมด้วยพันธมิตรจะยังคงเดินหน้าทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง สุดท้ายต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนสำคัญทำให้ดัชนีฉบับนี้เป็นสมบัติของประเทศไทย อันจะเป็นเสมือนหนึ่งเข็มทิศที่ช่วยให้พวกเรามองเห็นเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

Pic01 Thailand Cyber Wellness | AIS | AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่ : https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf

หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index เพื่อใช้วัดผลและขับเคลื่อนองค์กร สามารถติดต่อมาได้ที่ aissustainability@ais.co.th

ข่าว: AIS ผนึก มจธ. เผยดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคนไทย พบ 44% ยังเสี่ยงภัยด้านไซเบอร์ มีที่มาจาก: แอพดิสคัส.

from:https://www.appdisqus.com/ais-cyber-thailand-cyber-wellness-index/

AIS เผยคนไทยเสี่ยงภัยไซเบอร์ 44% ผู้สูงอายุเสี่ยงสุด พบภาคเหนือ – ตะวันตก อยู่ในระดับต้องพัฒนาทักษะ

AIS ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและนักวิชาการ สร้าง”ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลตัวแรกของไทย” เพื่อนำผลไปช่วยพัฒนาและส่งเสริมและป้องกันให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันในการใช้งานสื่อออนไลน์ พร้อมเผย 44.04% เสี่ยงภัยไซเบอร์ และวัยผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีค่าดัชนีเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลคืออะไร?

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พูดง่าย ๆ คือ เป็นตัวชี้วัดว่าเรามีความสามารถในการใช้งานโซเชียลมีเดียมากน้อยแค่ไหน และสุ่มเสี่ยงในด้านใดบ้าง มองภาพง่าย ๆ ก็เหมือนตัวชี้วัดทักษะทั่วไป อย่างด้านสติปัญญาก็จะวัดออกมาเป็น IQ ด้านทักษะทางอารมณ์ก็จะวัดออกมาเป็น EQ นั่นเอง

โดยดัชนีดังกล่าวได้เป็นไปตามพื้นฐานการวิจัยที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด จากการออกแบบกรอบแนวคิดของการศึกษา เก็บผลและวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล สำคัญอย่างไร ?

ในปัจจุบันสื่อโซเชียลได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเราค่อนข้างมาก ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้งานได้รับทั้งข้อดีและความเสี่ยงพร้อม ๆ กัน จึงจำเป็นจะต้องมีดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลในการจัดการกับการใช้งานสื่อออนไลน์ พร้อมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อสร้างความปลอดภัยในการใช้งานโซเชียลในทุกรูปแบบ โดยดัชนีได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ระดับสูง (ADVANCED) หากผู้ใช้งานอยู่ในระดับ จะถือว่าเป็นผู้มีทักษะและความรู้ในการใช้เทคโนโลยี ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รู้เท่าทันภัยทุกรูปแบบ พร้อมแนะนำผู้อื่นได้
  • ระดับพื้นฐาน (BASIC) ในระดับนี้ยังถือว่าปกติดี ใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
  • ระดับที่ต้องพัฒนา (IMPROVEMENT) ในระดับนี้ถือว่ายังมีความรู้ความสามารถในการใช้งานโซเชียลไม่เพียงพอ และมีความเสี่ยง

การแบ่งประเภทของดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล

  • การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล
  • การรู้เท่าทันดิจิทัล
  • การใช้ดิจิทัล
  • ความมั่นคงความปลอดภัยดิจิทัล
  • การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
  • เข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
  • การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล

จากผลสำรวจของกลุ่มตัวอย่าง 21,862 คน จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศไทยพบว่า ด้านการใช้ดิจิทัล, การรู้เท่าทันดิจิทัล และความมั่นคงความปลอดภัยดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน ด้านการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัลและการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัลอยู่ในระดับต้องพัฒนา และการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์อยู่ในระดับสูงค่ะ

หากแบ่งเป็นช่วงอายุ จะพบว่าผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา ส่วนช่วง 10 – 59 ปีอยู่ในระดับพื้นฐาน และกลุ่มที่ได้ค่าดัชนีชี้วัดสูงสุดก็คือช่วงอายุ 16 – 18 ปีค่ะ 

หากแบ่งเป็นอาชีพจะพบว่า อาชีพนักเรียนนักศึกษา, ข้าราชการ, ข้าราชการบำนาญและพนักงานของรัฐมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพื้นฐาน และคนว่างงาน, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พนักงานเอกชน, ค้าขายธุรกิจส่วนตัวและเกษตรกรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา

หากแบ่งเป็นภาพรวมในระดับภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคใต้และภาคกลางของประเทศไทยมีค่าดัชนีเฉลี่ยอยู่ในระดับพื้นฐาน ส่วนภาคตะวันตกและภาคเหนืออยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา

ในภาพรวมถือว่าประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ก็ยังมีข้อมูลเผยว่า มีประชาชนถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีอีกกลุ่มนึงที่ต้องการความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโซเชียลให้มากขึ้น

ซึ่งทาง AIS และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญได้เห็นถึงจุดที่ต้องพัฒนาทักษะ พร้อมทั้งเผยว่าจะเดินหน้าสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนไทยอย่างต่อเนื่อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ก็ได้เผยว่า ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกโดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคลทั้งเรื่องการขโมยข้อมูล,  การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์, การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรจึงต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง

 

ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์

from:https://droidsans.com/thailand-cyber-wellness-index-by-ais/

AIS ยกระดับภารกิจ อุ่นใจ CYBER ผนึก มจธ. และผู้เชี่ยวชาญ เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index”

จากภารกิจหลักของ AIS อุ่นใจ CYBER ที่มุ่งสร้างทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาบริการดิจิทัล คัดสรรโซลูชัน และเครื่องมือป้องกันภัยไซเบอร์ให้กับคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง วันนี้ได้ยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นด้วยการสร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัลขึ้นเป็นฉบับแรกของไทยกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ด้วยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล ที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง

รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังเดินหน้าผสานกำลังส่งมอบดัชนีนี้ไปยังเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันนำองค์ความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกกลุ่มต่อไป

AIS

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง

ดังนั้น AIS ในฐานะผู้นำด้านการให้บริการดิจิทัล เราเข้าใจดีว่าเรื่องดังกล่าวมีความสำคัญต่อสังคมดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ผ่านมากว่า 4 ปี  AIS จึงอาสาจุดประกายสังคมเกี่ยวกับประเด็นนี้ ตั้งแต่วันที่ดิจิทัลเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวิถีการใช้ชีวิต ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER ทั้งในด้านการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้งาน การพัฒนาโซลูชันและบริการดิจิทัลเพื่อปกป้องและส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดและทักษะของพลเมืองดิจิทัล”

นายสมชัย อธิบายเพิ่มเติมว่า “จากการทำงานเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องทำให้เราเห็นแนวทางแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน จึงเป็นที่มาของการพัฒนาดัชนีชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงระดับความรู้และทักษะดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนของประชาชนในแต่ละกลุ่ม อันจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำเครื่องมือ และองค์ความรู้ส่งมอบให้กับคนไทยได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาเกิดขึ้น

ในชื่อของ “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)” ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศไทย โดยมีพันธมิตรรายสำคัญอย่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมนักวิชาการหลากหลายแขนง มาร่วมกันทำงานเพื่อยกระดับเรื่องดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมต่อไป”

ทางด้าน รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า “เราทำงานร่วมกับ AIS มาอย่างต่อเนื่องในการสร้างองค์ความรู้จัดทำหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เพื่อสร้างทักษะดิจิทัลให้แก่คนไทย 

จนมาวันนี้ เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดผลถึงการใช้งานกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index และเพื่อให้การศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามหลักมาตรฐานของการวิจัย มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และการวัดประเมินผล ในการออกแบบระเบียบวิธีวิจัย กรอบแนวคิด จนสามารถพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยออกมาได้ 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับ Advanced ระดับ Basic  และระดับ Improvement ที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้งานดิจิทัลของประชาชนไทยแต่ละกลุ่ม ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ”

ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล  ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), 

ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) ที่มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน

ซึ่งวันนี้จากผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น”

นายสมชัย กล่าวในช่วงท้ายว่า “จากผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ทำให้เราเห็นจุดที่ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานในอีกหลายประเด็น โดย AIS พร้อมด้วยพันธมิตรจะยังคงเดินหน้าทำงานเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนสำคัญทำให้ดัชนีฉบับนี้เป็นสมบัติของประเทศไทย อันจะเป็นเสมือนหนึ่งเข็มทิศที่ช่วยให้พวกเรามองเห็นเส้นทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf หรือองค์กรใดสนใจนำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index เพื่อใช้วัดผลและขับเคลื่อนองค์กร สามารถติดต่อมาได้ที่ aissustainability@ais.co.th

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ais-elevates-mission-aunjai-cyber/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ais-elevates-mission-aunjai-cyber

AIS จับมือ OPPY – Old People Playing Young  Longevity CLUB ส่งต่อทักษะพลเมืองดิจิทัล เสริมภูมิคุ้มกันให้ผู้สูงวัยหัวใจไฮเทคก้าวทันภัยไซเบอร์ ผ่านหลักสูตร AIS อุ่นใจไซเบอร์

AIS เดินหน้าขยายผลโครงการอุ่นใจไซเบอร์ คัดสรร 4 บทเรียนขั้นพื้นฐานในหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ส่งต่อทักษะพลเมืองดิจิทัล ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยในชมรมอินเทอร์เน็ต เพื่อผู้สูงวัย OPPY CLUB มุ่งสร้างทักษะดิจิทัล เสริมภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลให้ผู้สูงวัยใช้งานได้อย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ พร้อมก้าวทันภัยไซเบอร์ 

โดยในวันเปิดงานอบรม นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS ร่วมกับนายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.ล็อกซเล่ย์ และนายวสันต์ จาติกวณิช กรรมการ  บมจ.ล็อกซเล่ย์ มาเปิดหลักสูตรในครั้งนี้ ณ OPPY Longevity Club คลองเตย

AIS

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์  AIS  กล่าวว่า “ AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่นอกจากจะพัฒนา Digital Infrastructure แล้ว เรายังตระหนักถึงการส่งเสริมให้ทุกคนรู้เท่าทันภัยไซเบอร์และใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจไซเบอร์ ที่มีทั้ง Digital solutions ที่ช่วยป้องกันมิจฉาชีพผ่านบริการต่างๆ และการสร้างองค์ความรู้ (Wisdom) ผ่านหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน 

พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน กลุ่มผู้สูงวัยมีการใช้สื่อโซเชียลมากขึ้น ทำให้เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการเข้ามาหลอกลวงได้อย่างง่ายดาย ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2565 พบว่า มีผู้สูงอายุถูกหลอกลวงทางสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง 44%  และทางไลน์ 31.25% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เราจำเป็นต้องให้ความรู้และสร้างทักษะทางดิจิทัลให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์”

“ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราได้ทำงานร่วมกับ กลุ่มผู้สูงวัยในชมรมอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เพื่อผู้สูงวัย หรือ OPPY CLUB By Loxley  โดยนำเนื้อหาในหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ส่งต่อให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยเราได้คัดสรรเนื้อหาพื้นฐานที่เหมาะสม ประกอบด้วย สุขภาวะดิจิทัล, การจัดการความเป็นส่วนตัวและการจัดการสิทธิ์แบบมีส่วนร่วม, การจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล และการจัดการร่องรอยทางไซเบอร์ และเตรียมเพิ่มเติมทักษะดิจิทัลในระดับ Advance อีก 3 เนื้อหา คือ อัตลักษณ์พลเมืองไซเบอร์ การจัดการเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์องค์กร อันจะเป็นการยกระดับทักษะดิจิทัลให้แก่สมาชิกในกลุ่ม OPPY CLUB มีความรู้เท่าทันและมีความรอบคอบในระหว่างการใช้สื่อออนไลน์ รวมถึงใช้งานได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”

นางสาวสุธีรา จำลองศุภลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอพีพีวาย จำกัด ในฐานะครูใหญ่แห่งชมรม OPPY CLUB ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบทเรียน กล่าวว่า “สำหรับ OPPY CLUB คลับแห่งความสุขของผู้สูงวัย (Old People Playing Young Club) หรือที่รู้จักกันในนามของ ชมรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงวัยนั้น เรามุ่งเน้นการสอนผู้สูงวัยให้ใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนได้อย่างสนุกและมีความสุข

โดยเรามีการจัดกิจกรรมอบรมให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ผู้สูงวัยไม่ตกยุคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งความร่วมมือกับ AIS ในครั้งนี้ ทาง OPPY CLUB ได้นำเนื้อหาในหลักสูตร AIS อุ่นใจไซเบอร์ จัดอบรมให้แก่สมาชิกในกลุ่ม OPPY CLUB เพื่อให้กลุ่มผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจในทักษะการใช้งานดิจิทัล และสามารถรับมือการใช้งานบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์”

เอไอเอส ยังคงเดินหน้าขยายผลอุ่นใจไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อมุ่งหวังให้คนไทยทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย และสร้างสรรค์ และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีต่อไป

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ais-joins-hands-with-oppy-old-people-playing-young-longevity-club/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ais-joins-hands-with-oppy-old-people-playing-young-longevity-club

OPPY – Old People Playing Young  Longevity CLUB สร้างทักษะพลเมืองดิจิทัลให้ผู้สูงวัยทันภัยไซเบอร์กับ AIS

AIS เดินหน้าขยายผลโครงการอุ่นใจไซเบอร์ คัดสรร 4 บทเรียนขั้นพื้นฐานในหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ส่งต่อทักษะพลเมืองดิจิทัล ให้กับกลุ่มผู้สูงวัยในชมรมอินเทอร์เน็ต เพื่อผู้สูงวัย OPPY CLUB มุ่งสร้างทักษะดิจิทัล เสริมภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลให้ผู้สูงวัยใช้งานได้อย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ พร้อมก้าวทันภัยไซเบอร์ โดยในวันเปิดงานอบรม นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS ร่วมกับนายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส บมจ.ล็อกซเล่ย์ และนายวสันต์ จาติกวณิช กรรมการ  บมจ.ล็อกซเล่ย์ มาเปิดหลักสูตรในครั้งนี้ ณ OPPY Longevity Club คลองเตย

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์  AIS  กล่าวว่าโครงการ AIS อุ่นใจไซเบอร์ ส่งเสริมและสร้างทักษะดิจิทัลให้คนไทยรู้เท่าทัน พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน กลุ่มผู้สูงวัยมีการใช้สื่อโซเชียลมากขึ้น ทำให้เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการเข้ามาหลอกลวงได้อย่างง่ายดาย ดังจะเห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2565 พบว่า มีผู้สูงอายุถูกหลอกลวงทางสื่อเฟซบุ๊กมากที่สุดถึง 44% และทางไลน์ 31.25% สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เราจำเป็นต้องให้ความรู้และสร้างทักษะทางดิจิทัลให้รู้เท่าทันภัยไซเบอร์

ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราได้ทำงานร่วมกับ กลุ่มผู้สูงวัยในชมรมอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เพื่อผู้สูงวัย หรือ OPPY CLUB By Loxley โดยนำเนื้อหาในหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ส่งต่อให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยเราได้คัดสรรเนื้อหาพื้นฐานที่เหมาะสม ประกอบด้วย สุขภาวะดิจิทัล, การจัดการความเป็นส่วนตัวและการจัดการสิทธิ์แบบมีส่วนร่วม, การจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล และการจัดการร่องรอยทางไซเบอร์ และเตรียมเพิ่มเติมทักษะดิจิทัลในระดับ Advance อีก 3 เนื้อหา คือ อัตลักษณ์พลเมืองไซเบอร์ การจัดการเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์องค์กร อันจะเป็นการยกระดับทักษะดิจิทัลให้แก่สมาชิกในกลุ่ม OPPY CLUB มีความรู้เท่าทันและมีความรอบคอบในระหว่างการใช้สื่อออนไลน์ รวมถึงใช้งานได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”

สุธีรา จำลองศุภลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอพีพีวาย จำกัด ในฐานะครูใหญ่แห่งชมรม OPPY CLUB ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบทเรียน กล่าวว่า สำหรับ OPPY CLUB คลับแห่งความสุขของผู้สูงวัย (Old People Playing Young Club) หรือที่รู้จักกันในนามของ ชมรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพื่อผู้สูงวัย นั้นเรามุ่งเน้นการสอนผู้สูงวัยให้ใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนได้อย่างสนุกและมีความสุข โดยเรามีการจัดกิจกรรมอบรมให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ผู้สูงวัยไม่ตกยุคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งความร่วมมือกับ AIS ในครั้งนี้ ทาง OPPY CLUB ได้นำเนื้อหาในหลักสูตร AIS อุ่นใจไซเบอร์ จัดอบรมให้แก่สมาชิกในกลุ่ม OPPY CLUB เพื่อให้กลุ่มผู้สูงวัยมีความรู้ ความเข้าใจในทักษะการใช้งานดิจิทัล และสามารถรับมือการใช้งานบนโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post OPPY – Old People Playing Young  Longevity CLUB สร้างทักษะพลเมืองดิจิทัลให้ผู้สูงวัยทันภัยไซเบอร์กับ AIS first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/oppy-old-people-playing-young-longevity-club-with-ais/

AIS ควง Dutch Mill ตอกย้ำการแข่งขันอีสปอร์ตระดับมัธยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในไทย พร้อมผนึกภาครัฐและสถาบันการศึกษา ขยายโอกาสสู่น้องๆ ทั่วประเทศ กับเวที AIS 5G eSports S-Series Thailand Championship 2023 by Dutch Mill ต่อเนื่องปีที่ 3

AIS เดินหน้าผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อร่วมกันสร้าง Ecosystem ภายในคอมมูนิตี้ให้มีความแข็งแรง ทั้งกลุ่มเกมเมอร์ แคสเตอร์สตรีมเมอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ผู้ให้บริการเกม แพลตฟอร์ม ดีไวซ์ ผู้จัดการแข่งขัน สื่อ สปอนเซอร์ หรือแม้แต่หน่วยงานสนับสนุน 

ในการสร้างกิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เกมเมอร์หรือนักกีฬาอีสปอร์ตได้ฝึกฝนและแสดงความสามารถ อย่างเวที AIS 5G eSports S-Series Thailand Championship 2023 by Dutch Mill ที่ AIS ยังคงทำงานร่วมกับนมเปรี้ยวดัชมิลล์ ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องปีที่ 3 ติดต่อกัน นับเป็นเวทีการแข่งขันอีสปอร์ตระดับมัธยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ และจากความสำเร็จในปีที่ผ่านมามีน้องมัธยมเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 800 ทีม จาก 126 โรงเรียน

AIS 5G

ทำให้ในปีนี้โครงการได้ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ อย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.) ได้แก่ ภูเก็ต, เชียงราย, ลำปาง, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา และชลบุรี 

รวมถึงยังทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ไปยังน้องๆ ระดับมัธยมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ที่มีความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันได้แสดงความสามารถ เพื่อพัฒนาตัวเองสู่การเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพต่อไป 

ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนร่วม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ แบรนด์จินเซนโนไซด์โปร ผลิตภัณฑ์แจ็กซ์ มันฝรั่งแท่งทอดกรอบ ทรอส (TROS) ผลิตภัณฑ์ดูแลตัวเองสำหรับผู้ชาย และผลิตภัณฑ์ ทาโร ปลาเส้นแซ่บ อร่อยแซ่บเข้าเส้น ที่ให้การสนับสนุนให้ครั้งนี้

นางสาวรุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS อธิบาย “เราเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตในช่วงหลายปีที่ผ่านทั้งจากจำนวนเกมเมอร์ที่เพิ่มขึ้น เวทีการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่จัดขึ้นมากมาย ทำให้เกิดนักกีฬาอีสปอร์ตหน้าใหม่ๆ เข้าสู่วงการอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้เรายังเห็นกลุ่มอาชีพที่เติบโตขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างกลุ่ม แคสเตอร์ สตรีมเมอร์ โดยการเติบโตดังกล่าวนำมาซึ่งโอกาสและการขับเคลื่อนของ Digital Economy”

ดังนั้น AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลที่พร้อมนำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะเข้าสนับสนุนการเติบโตของวงการเกมและอีสปอร์ตไทยผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการจัดการแข่งขัน AIS 5G eSports S-Series Thailand Championship 2023 by Dutch Mill ในครั้งนี้ 

ที่นอกเหนือจากนมเปรี้ยวดัชมิลล์ ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักแล้ว เพื่อเป็นการตอกย้ำเวทีอีสปอร์ตระดับมัธยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ ในปีนี้เรายังได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.) นับเป็นการขยายโอกาสไปยังกลุ่มเกมเมอร์หน้าใหม่ๆ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการมีเวทีให้น้องๆ ได้แสดงความสามารถจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสนับสนุนเยาวชนที่รักและหลงไหลในโลกของเกมให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ ฝึกฝนทักษะและแสดงความสามารถให้พัฒนาสู่การเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตมืออาชีพได้ในอนาคต”

คุณวารินทร์ ก้องวิทยาคม ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวดัชมิลล์ บริษัท ดัชมิลล์ จำกัด กล่าวว่า “กลุ่ม บริษัท ดัชมิลล์ ในฐานะองค์กรผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมอันดับ 1 ในประเทศไทย ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนในมิติต่างๆ

ซึ่งครั้งนี้บริษัทฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนความฝันของเด็กไทยที่มีใจรักการเล่นเกม และมุ่งอยากเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต โดยเป็นอีกครั้งที่เราได้ร่วมมือกับทาง AIS eSports ในการร่วมกันจัดการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตระดับมัธยม เพื่อส่งเสริมวงการอีสปอร์ตไทยให้ก้าวทันสู่เวทีระดับนานาชาติ”

สำหรับการแข่งขัน AIS 5G eSport S-Series Thailand Championship 2023 ยังคงได้รับความร่วมมือจาก Garena ในการนำ ROV เกม MOBA ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มวัยรุ่น เยาวชน นักเรียน นักศึกษา มาใช้ในการแข่งขัน

โดยจะเปิดรับสมัคร ลงพื้นที่ Road Show เพื่อรับสมัครและให้ความรู้เรื่องอีสปอร์ตกับโรงเรียนที่เข้าร่วมตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป หลังจากนั้นจะเข้าสู่การแข่งขันรอบคัดเลือกตัวแทนจังหวัดในช่วงเดือนกรกฎาคม ก่อนที่จะมีการจัดแข่งขันในระดับประเทศเพื่อชิงเงินรางวัลรวม 200,000 บาท

สำหรับโรงเรียนที่สนใจต้องการเข้าร่วมศึกการแข่งขันในปีนี้ สามารถสมัครการแข่งขัน หรือ ติดตามเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://www.ais.th/game/sseries/ หรือช่องทาง Facebook AIS eSports Tournament

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ais-5g-esports-s-series-thailand-championship-2023-by-dutch-mill/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ais-5g-esports-s-series-thailand-championship-2023-by-dutch-mill

AIS จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ยกระดับภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย ด้วย “AIS 5G Manufacturing Platform” เสริมขีดความสามารถผู้ประกอบการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นแบบ One Stop

สืบเนื่องจากการยกระดับ SME เพื่อเข้าสู่ Industry 4.0 Platform เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การยกระดับ ในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการ Monitor สถานะเครื่องจักร, พลังงานไฟฟ้า, การวัดประสิทธิภาพการผลิตแบบ Realtime Overall Equipment Effectiveness (OEE), การเชื่อมโยงเครื่องจักร แบบ Realtime 

สิ่งที่ใช้เชื่อมโยงคือ Platform และ Platform ยังเป็นเครื่องมือ ในการให้ข้อมูล ในการปรับปรุงโรงงาน ให้มีการยกระดับได้อย่างมีทิศทาง และดีขึ้น

โดยปัจจุบัน Platform ต่างๆ ที่ใช้ใน Industry 4.0 ราคาค่อนข้างสูง ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงมีวัตถุประสงค์  “ส่งเสริม SME ให้เข้าถึง Platform ในราคาที่ SME จับต้องได้” จึงเกิดความร่วมมือ กับ AIS

AIS

เพราะ AIS คือ Operator ที่ยังคงเดินหน้านำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ยกระดับภาคอุตสาหกรรม ตอกย้ำความเป็นที่ 1 ตัวจริง และผู้นำการให้บริการดิจิทัลและโซลูชัน ที่ได้รับการยอมรับสูงสุดจากกลุ่มผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และ SME พร้อมเชื่อมต่อการทำงานกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจแบบร่วมกันหรือ ECOSYSTEM ECONOMY 

ล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการผลักดันและสนับสนุนการทำงานของผู้ประกอบการโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีขีดความสามารถใหม่ๆ สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการผลิต เครื่องจักร ทั้งในเรื่องของการเพิ่มความแม่นยำ การวิเคราะห์ วัดผล หรือแม้ระบบติดตามผล ด้วยเครื่องมือด้านดิจิทัลเทคโนโลยีจาก IoT เต็มรูปแบบ ที่มาพร้อมโซลูชัน AIS 5G Manufacturing Platform บน PARAGON Platform

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “เพราะเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า 5G คือหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ผ่านมาเราจึงเข้าประมูลคลื่นความถี่ 5G มาในปริมาณมากที่สุด

พร้อมลงทุนในการพัฒนาโครงข่าย Digital Infrastructure ให้แข็งแรงต่อการเป็นรากฐานสำคัญในเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือ  ECOSYSTEM ECONOMY อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนตามเป้าหมายข้างต้น

โดยครั้งนี้เรารู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่ได้ทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกครั้ง ด้วยการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้ามาเชื่อมต่อให้ผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มโรงงาน ภาคการผลิตต่างๆ สามารถบริหารจัดการธุรกิจผ่านการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นได้แบบ One Stop 

เพราะนอกจากจะสามารถยกระดับการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ลดต้นทุน รองรับโอกาสและการเติบโตในอนาคตจาก Business Model ใหม่ๆได้แล้ว ยังช่วยให้แข็งแกร่งพอที่จะแข่งขันได้ในระดับสากลอีกด้วย”

ด้วย AIS 5G Manufacturing Platform ที่วันนี้ทำงานอยู่บน PARAGON Platform (แพลตฟอร์ม 5G ที่รวมศูนย์การบริหารจัดการ 5G, Edge Computing, Clouds และ Applications มาไว้ที่เดียวแบบ One Stop Service ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เองอย่างสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจและงบประมาณในแต่ละช่วงเวลา)  ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี IoT ที่ทำงานอยู่บน 5G Private Network จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์การทำงาน

และสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมได้แบบเรียลไทม์  และ One Stop เพราะ AIS 5G Manufacturing Platform มีความสามารถในการวัดประสิทธิภาพและช่วยติดตามการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ เสริมขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์มในด้านต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย

  • Machine Monitoring สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์
  • Overall Equipment Effectiveness (OEE) Monitoring & Manufacturing Execution System (MES) หัวใจหลักในภาคอุตสาหกรรม ที่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรได้ตลอดเวลา พร้อมระบบติดตาม ตรวจสอบและออกรายงานด้านการผลิตได้อย่างละเอียด แม่นยำ เป็นระบบ
  • Energy Management ระบบในการตรวจสอบการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรกลต่างๆ ทั้งในช่วงเวลาที่ทำการผลิตและนอกเวลาการผลิต เพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์และหาวิธีการปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “FTI ในฐานะองค์กรหลักที่สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย มีสมาชิกในเครือข่าย จำนวน 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ภารกิจของ FTI เรามีเป้าหมายที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Industry 4.0  

สำหรับความร่วมมือกับ AIS ครั้งนี้ จะทำให้กลุ่มผู้ประกอบการ SME สามารถนำแพลตฟอร์ม AIS 5G Manufacturing Platform ไปใช้ในการบริหารจัดการระบบโรงงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของไทยไปสู่ Industry 4.0  ได้ในที่สุด”

สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรม และสนใจในโซลูชันนี้ สามารถติดต่อได้ที่ Line: @icticlub, Facebook: icticlub,Email: icti.connect@gmail.com หรือสามารถดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติมได้ที่ https://business.ais.co.th/5g/smartManufacturing/5g-manufacturing-platform.html

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ais-5g-manufacturing-platform/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ais-5g-manufacturing-platform

AIS Business ผลักดัน SME ไทยให้เติบโตอุ่นใจไปด้วยกัน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและกลยุทธ์ 7s

AIS Business ได้เดินหน้าในการส่งมอบบริการด้านดิจิทัลและไอซีทีโซลูชัน ผ่านทางแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” นอกจากจะช่วยให้องค์กรลูกค้าระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ ได้สัมผัสกับประสบการณ์ในแง่มุมของการทำ Digital Transformation ที่ยอดเยี่ยมจากบริการที่หลากหลายของ AIS Business แล้ว พวกเขายังได้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของตนเองเพื่อตอบโจทย์การให้บริการแก่ลูกค้าของตนได้อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย ล่าสุดยังได้เปิดตัวกลยุทธ์สำคัญ 7s เพื่อช่วยพัฒนาและผลักดันให้องค์กรธุรกิจผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (SME) สามารถก้าวสู่โลกของเศรษฐกิจแบบร่วมกันหรือ Economy Ecosystem ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน SME กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีมากถึง 3.18 ล้านราย เป็นกลไกสำคัญในการ ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ช่วยผลักดัน GDP ของประเทศกว่า 34.2% นับได้ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่อนาคตและการเติบโตที่สดใสเป็นอย่างมาก

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวว่า AIS Business ได้เห็นถึงความสำคัญขององค์กรแบบ SME และเข้าใจด้วยว่าพวกเขาต้องการเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาเป็นตัวผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเขาชี้ให้เห็นว่า “สิ่งที่ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ต้องการ อาทิ เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง, แพลตฟอร์มค้าขาย online หรือ E-Commerce เพื่อให้เสริมศักยภาพ เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน สามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน ขยายช่องทางการขาย หรือแม้กระทั่งการขยายฐานลูกค้าและการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ”

วางแผนกลยุทธ์ 7s ผลักดันธุรกิจ SME

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ AIS Business ได้วางแผนการดำเนินการตามกลยุทธ์ในการผลักดันธุรกิจ SME ไทยให้ประสิทธิภาพด้วยกลยุทธ์ 7s อันประกอบด้วย

  • AIS SME Mobile Services บริการโทรศัพท์เพื่อการสื่อสาร
  • AIS SME Internet Services บริการอินเทอร์เน็ต
  • AIS SME Digital Marketing Services เครื่องมือด้านการตลาดออนไลน์
  • AIS SME IT & Digital Solutions พัฒนาระบบไอทีหลังบ้าน
  • AIS SME Full e-Services งานบริการแบบ E-Service ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นิติบุคคล
  • AIS SME Special Privileges สิทธิพิเศษที่ทำให้การทำธุรกิจง่ายขึ้นด้วย AIS SME BIZ UP
  • AIS SME Strategic Partnership การผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ

จะเห็นได้ว่าการวางกลยุทธ์ทั้ง 7 นั้น แบ่งออกเป็นโซลูชั่น 4 ประการ และส่วนงานบริการอีก 3 กลยุทธ์ โดยออกแบบมาให้แต่ละธุรกิจได้ใช้งานกันตามความต้องการที่แตกต่างของประเภทของธุรกิจของ SME ตัวอย่างเช่น

ธุรกิจการผลิต – บริษัท Abalone Cosmetic Product Manager ได้นำเอาโซลูชั่นด้านเทคโนโลยี Cloud Contact Center ของ AIS Business ไปเพิ่มศํกยภาพการเข้าถึงลูกค้า

ธุรกิจการค้า – บริษัท Shu Global ใช้โซลูชัน 5G FWA และ Cloud Management เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานง่ายขึ้น

ธุรกิจการบริการ – บริษัท Captain Quint ใช้ระบบการจองแบบคลาวด์เพื่อช่วยลดภาระการจองคิวรับบริการ

ธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ – บริษัท ZipEvent ใช้ระบบ Microsoft Azure ในการให้บริการลูกค้า เป็นต้น

บริการพิเศษที่ไม่เหมือนใครจาก AIS Business

ตัวอย่างข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งที่ AIS Business มีให้กับธุรกิจ SME แต่นอกเหนือจากนั้น ทาง AIS Business ยังมีพาร์ทเนอร์อีกมากมาย เพื่อสร้างบริการอันเป็นประโยชน์อื่นๆ มารองรับไม่ว่าจะเป็น บริการ Yellow B2B2C e-marketplace ที่ทาง AIS ได้ร่วมมือกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) เพิ่มช่องทางให้ SME พบผู้ซื้อทั้งรายใหญ่และรายเล็กได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่าน http://www.yellow.co.th

บริการสิทธิพิเศษเพื่อลูกค้า SME จาก AIS Serenade และ AIS Points รายแรกและรายเดียวในไทย AIS พร้อมมอบสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้า SME เพื่อรับสิทธิพิเศษได้แบบจัดเต็มเช่นเดียวกับลูกค้าทั่วไป รวมถึงโปรแกรม AIS SME BIZ UP ที่มาพร้อมความพิเศษที่มากกว่า ทั้งการอัพเดตความรู้ เทรนด์ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจแบบเอ็กคลูซีฟ ส่วนลดค่าสินค้าและบริการจากพันธมิตร ร้านค้า ดังเช่น บริการจาก สตาร์ทอัพในกลุ่ม AIS The StartUp  การให้ส่วนลดสุงสุด 20% กับบริการขนส่งออนไลน์ Shippop หรือการให้ใช้แพลตฟอร์มบริหารจัดการระบบในร้านอาหารจาก Foodstory

หรือแม้กระทั่งแพ็คเกจใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ค้า SME ออนไลน์ ให้ได้ใช้แอปถุงเงิน หรือแอป TikTok ในราคาประหยัด, รวมถึงแพ็กเกจ AIS Fibre พร้อมระบบกล้องวงจรปิด เป็นต้น

หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าวทิ้งท้ายว่า “AIS เชื่อว่าวันนี้ผู้ประกอบการ SME ไทยมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ การที่เขามีอาวุธดิจิทัลและเทคโนโลยี จะยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพของการทำงานให้ก้าวไปอีกขั้น  AIS Business เองจะขอเป็นผู้ที่พร้อมสนับสนุนให้ SME เติบโต ผ่านการนำดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพทางการแข่งขันได้อย่างเต็มที่”

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-business-sme-news-release/