รีวิว iPick แอพใหม่เอาใจคนชอบกิน ดื่ม อย่างมีสไตล์ ดาวน์โหลดฟรีบน iOS และ Android ได้ที่นี่

ถ้าจะพูดถึงเรื่องของการรับประทานอาหาร ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของใครหลายคนในแต่ละวัน เพราะเรามักจะได้ยินคำถามประเภทที่ว่า มื้อนี้กินอะไรดี? หรือ วันนี้ไปกินที่ไหนกันดี? อยู่เสมอ รวมไปถึงบางคนที่ชื่นชอบอาหารประเภทต่างๆ ซึ่งถ้าอยู่ที่บ้านก็อาจจะสามารถทำอาหารตามประเภทที่ตัวเองต้องการ ได้แต่ถ้าอยู่นอกบ้านแล้วละก็ การเดินหาร้านอาหารตามประเภทที่ชื่นชอบดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวายพอตัวกันเลยทีเดียว ซึ่งในวันนี้จะมีอีกหนึ่งวิธีที่จะมาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ กับการค้นหาร้านอาหารด้วยแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า iPick

iPick-review-by-flashfly-02

iPick เป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นในประเภทค้นหาร้านอาหาร ที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจกว่าแอพพลิเคชั่นอื่นในประเภทเดียวกันตรงที่ สามารถใช้งานได้ง่าย มีฟังก์ชันค้นหาที่ค่อนข้างละเอียด สามารถคัดกรองร้านอาหารได้ตรงตามความต้องการ ด้วยเงื่อนไขการค้นหาที่หลากหลาย และยังสามารถวางแผนนัดเพื่อนๆมาพบประสังสรรค์หรือทานข้าวร่วมกันด้วยการส่งคำเชิญและนำไป Sync เก็บไว้บน Calendar ในเครื่องได้อีกด้วย รวมไปถึงยังมีบทวิจารณ์จากนักวิจารณ์อาหารมืออาชีพและรีวิวจากผู้ใช้งานจริงมาช่วยเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าร้านไหนอร่อยจริงหรือไม่

iPick-review-by-flashfly-03

มาเริ่มทำความรู้จักกับแอพพลิเคชั่น iPick กันเลยดีกว่า เริ่มจากการดาวน์โหลด ซึ่ง iPick นั้นเป็นแอพพลิเคชั่นที่ปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งบนระบบปฎิบัติการ Android และ iOS เมื่อทำการเริ่มใช้งานจะเข้าสู่หน้าจอล็อกอิน ซึ่งจะเห็นได้ว่า iPick นั้นมีการเชื่อมต่อกับระบบของ Facebook หรือ WeChat ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้ทันทีด้วยการเลือกเชื่อมต่อกับ account ของ Facebook หรือ WeChat ทำให้ไม่ต้องสมัครใช้งานใหม่ใ้ห้ยุ่งยาก

iPick-review-by-flashfly-04

เมื่อเข้ามาสู่หน้าแรก หรือหน้า Home จะเห็นได้ว่ามีเมนูการใช้งานหลักๆทั้ง 4 แบบอยู่ที่ด้านล่าง ซึ่งได้แก่

iPick-review-by-flashfly-05

1.หน้าแรก : เป็นเมนูหลักหรือหน้า Home ที่จะมาทำการอัพเดทข้อมูลที่น่าสนใจใหม่ๆ รวมถึงแนะนำ จัดอันดับและจัดหมวดหมู่ของร้านอาหารผ่านไอคอนที่สามารถทำความเข้าใจและใช้งานได้ง่ายทั้ง 6 ไอคอน ยกตัวอย่างเช่น เปิดใหม่ ร้านในโรงแรม แฮงก์เอาท์ และใกล้เคียงเป็นต้น และไอคอนเหล่านี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนี้อะไรที่ฮิต หรือเทรนด์ไหนกำลังมา

iPick-review-by-flashfly-06

ยกตัวอย่างลองเข้ามาดูหนึ่งในไอคอนจากเมนูหน้าแรก อย่างไอคอนเปิดใหม่ ซึ่งก็แน่นอนว่าหมายถึงร้านอาหารที่เพิ่งเปิดใหม่นั่นเอง จะเห็นได้ว่าจะมีข้อมูลร้านอาหารที่เรียงขึ้นมาให้เห็นอย่างมากมาย โดยสามารถเลือกเรียงตาม คะแนน ระยะทาง หรือ ราคา ได้อีกด้วย

iPick-review-by-flashfly-07

ถ้าต้องการดูข้อมูลของร้านไหนที่สนใจ ก็เพียงแค่กดเข้าไปดูข้อมูลของแต่ละร้าน โดยจะมีการนำเสนอข้อมูลของร้านอาหารต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมุลส่วนตัว รีวิว บทวิจารณ์ รูปภาพ และเมนู เป็นต้น โดยจะเห็นได้ว่าจากหน้าของส่วนการแสดงผลข้อมูลร้านอาหารนี้ เราสามารถเข้ากดถูกใจ ให้คะแนน บุ๊คมาร์ค หรือชวนเพื่อนได้อีกด้วย

iPick-review-by-flashfly-08

2.ค้นพบ : สำหรับเมนูนี้จะเป็นการรวมข้อมูลการรีวิวและบทวิจารณ์อาหารจากบุคคลในแวดวงอาหารที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจที่จะเลือกร้านที่ต้องการ แถมยังเพิ่มความมั่นใจว่าแต่ละร้านมีความอร่อยขนาดไหน

iPick-review-by-flashfly-010

3. โมเมนต์ : เป็นการแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งของตนเองและของเพื่อนๆ เช่นการ like การ rate , การ upload รูป หรือการรีวิวร้านต่างๆ รวมถึงยังสามารถพิมพ์ข้อความ comment เพื่อพูดคุยกับเพื่อนได้ทันทีอีกด้วย

iPick-review-by-flashfly-11

4. ฉัน : และเมนูสุดท้ายที่จะเป็นเหมือนการบันทึกการใช้งานของตนเอง ในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ร้านที่เคย bookmark , การวางแผนนัดหมายต่างๆ หรือร้านที่เคยรีวิวไว้เป็นต้น

iPick-review-by-flashfly-12

ได้รู้จักเมนูในการใช้งานหลักๆของแอพพลิเคชั่น iPick กันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูในส่วนของฟังก์ชันที่เรียกได้ว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้ iPick มีความน่าสนใจกว่าแอพพลิเคชั่นอื่นในประเภทเดียวกันกันบ้าง เริ่มกันจากฟังก์ชันการค้นหาอัจฉริยะหรือ Smart Search ซึ่งฟังก์ชันนี้มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะในการค้นหาร้านอาหารเชื่อแน่ว่าหลายคนจะมีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหาร สถานที่ ราคาหรือข้อเสนอบัตรเครดิตต่างๆ ซึ่ง iPick ได้มีการเตรียมการแก้ปัญหาเหล่านี้ไว้หมดแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ในการค้นหาร้านอาหารสามารถทำได้ง่ายและตรงตามความต้องการเป็นอย่างมาก

iPick-review-by-flashfly-13

ต่อมาฟังก์ชันการวางแผนนัดหมายที่จะทำให้นอกจากหาร้านอาหารที่ตรงตามความต้องการได้แล้ว ยังสามารถส่งคำเชิญผ่านทาง WeChat , Facebook หรือ Whatsapp ไปหาเพื่อนๆเพื่อนัดหมายชวนมากินข้าวด้วยกันได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถทำการ sync ข้อมูลการนัดหมายนี้ไปเก็บไว้ใน calendar ของตัวเองได้อย่างง่ายๆโดยไม่ต้องออกจากแอพพลิเคชั่นไปจัดการให้วุ่นวายอีกด้วย

iPick-review-by-flashfly-14

iPick-review-by-flashfly-15

iPick-review-by-flashfly-16

และอีกหนึ่งฟังก์ชันที่เป็นจุดเด่นของ iPick คงต้องบอกว่าเป็นฟังก์ชันที่จะมาเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการร้านอาหารต่างๆ นั่นก็คือ การนำเสนอข้อมูลการวิจารณ์เรื่องอาหารจากบุคคลในแวดวงอาหาร ที่มีความน่าเชื่อถือ ทำให้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าร้านนี้ได้รับการันตีความอร่อยมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าใครยังรู้สึกไม่มั่นใจอยากได้ข้อมูลเพิ่ม iPick ก็ยังมีในส่วนของการรีวิวจากผู้ได้ใช้งานที่เคยไปรับประทานอาหารตามร้านต่างๆมาให้ดูประกอบกันอีกด้วย รวมถึงผู้ใช้งานยังสามารถแชร์หรือเขียนรีวิวร้านที่เคยไปมา เพื่อเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้ใช้งานคนอื่นๆได้รู้ได้ด้วยเช่นกัน

iPick-review-by-flashfly-17

iPick-review-by-flashfly-18

iPick-review-by-flashfly-19

โดยสรุปแล้ว iPick ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเรื่องของการกิน ซึ่งเชื่อแน่ว่ามักเป็นปัญหาของใครหลายๆคนอย่างแน่นอน การใช้งานหลักๆของ iPick ถือได้ว่ามีการออกแบบหน้าตาการใช้งานที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำความเข้าใจและใช้งานได้ไม่ยากนัก รวมถึงมีการเพิ่มฟังก์ชันที่ทำให้มีจุดเด่นซึ่งต่างจากแอพพลิเคชั่นอื่นๆเข้าไปได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหากใครที่ต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นประเภทที่เกี่ยวกับร้านอาหารแล้วละก็ iPick ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่น่าดาวน์โหลดมาเก็บไว้เป็นแอพสามัญประจำเครื่องอีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นก็ว่าได้

iPick-review-by-flashfly-20

ดาวน์โหลด iPick สำหรับ Android ได้ที่นี่

ดาวน์โหลด iPick สำหรับ iOS ได้ที่นี่

บทความโดย – www.flashfly.net

from:http://www.flashfly.net/wp/?p=129121

เว็บ MICT กลับมาแล้ว ใช้ระบบของ CloudFlare

หลังจากเว็บไซต์กระทรวงไอซีทีล่ม ขณะนี้เว็บไซต์ได้กลับมาแล้ว (23:15 น.) โดยกระทรวงไอซีทีไปใช้ระบบของ CloudFlare แทนระบบเดิม

Thailand, CloudFlare, DDoS, Security

from:https://www.blognone.com/node/73117

นักวิจัยพบช่องโหว่ Gatekeeper บน OS X สามารถข้ามผ่านการตรวจสอบแอพได้

Gatekeeper เป็นระบบป้องกันการติดตั้งแอพที่ติดตั้งบน OS X ตั้งแต่ปี 2012 โดยหากแอพที่ไม่ได้มีการเซ็นรับรองความปลอดภัยจาก Apple จะไม่สามารถติดตั้งตัวเองได้ ต้องให้ผู้ใช้อนุญาตก่อน แต่ตอนนี้มีนักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบวิธีข้ามผ่านการตรวจสอบจาก Gatekeeper แล้ว

Patrick Wardle หัวหน้านักวิจัยจาก Synack กล่าวว่า Gatekeeper จะอนุญาตให้แอพที่เซ็นรับรองความปลอดภัยแล้วผ่านไปได้ แต่กระบวนการหลังจากนั้นคือหากแอพที่เซ็นรับรองความปลอดภัยแล้วไปเรียกแอพที่ไม่ได้เซ็นรับรองความปลอดภัยขึ้นมาอีกที Gatekeeper จะไม่เช็คแอพที่ถูกรันขึ้นมาทีหลังและปล่อยให้รันได้ โดยวิธีนี้ก็สามารถใช้งานกับ plugin ได้ด้วย

วิธีที่ Wardle ได้เสนอคือ สร้างไอคอน, แอพที่เซ็นรับรองความปลอดภัย, แอพที่ยังไม่ได้เซ็นรับรอง และโค้ดที่เอาไว้รันบน Terminal กระบวนการทำงานคือเมื่อผู้ใช้คลิกไอคอน จะไปเรียกแอพที่เซ็นรับรอง และแอพที่เซ็นรับรองก็จะเรียกโค้ดรันบน Terminal เพื่อเรียกแอพที่ยังไม่ได้เซ็นรับรองอีกที ซึ่ง Gatekeeper ไม่ได้ตรวจสอบตรงนี้

Wardle บอกว่าได้รายงานบั๊กนี้ให้ Apple ทราบมานานกว่า 2 เดือนแล้ว ส่วนฝั่ง Apple บอกกับ Ars Technica ว่าตอนนี้กำลังทำแพทซ์แก้อยู่

ที่มา – 9to5Mac, Ars Technica

OS X, Security, Mac

from:https://www.blognone.com/node/73116

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ล่ม คาดโยง Single Gateway

ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวกับมหกรรมเยี่ยมชมเว็บราชการเพื่อต่อต้านนโยบาย Single Gateway หรือไม่ แต่ขณะนี้เว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ล่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หากดูจากเวลาซึ่งใกล้เคียงไล่เลี่ยกันอย่างมาก ก็พอจะเดาได้ว่างานนี้มีเรื่อง Single Gateway เข้ามาเกี่ยวด้วยอย่างแน่นอน

ทั้งนี้เว็บไซต์ของพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นเว็บที่ 7 ที่ขัดข้องพร้อมกันในค่ำคืนนี้

DDoS, Security, Thailand

from:https://www.blognone.com/node/73111

แอพตอบคำถาม QuizUp เตรียมพัฒนาเป็นรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์

สถานีโทรทัศน์ NBC ในอเมริกา ประกาศความร่วมมือกับทีมพัฒนาแอพเกมตอบคำถาม QuizUp เพื่อทำรายการเกมโชว์ชื่อ QuizUp America โดยเป็นการแข่งขันระหว่างคนในห้องส่ง กับผู้ชมทางบ้านที่ตอบคำถามผ่านแอพ QuizUp นี้

QuizUp เป็นแอพเกมตอบคำถามความรู้ทั่วไปในหัวข้อต่างๆ (Trivia) มีจุดเด่นคือสามารถแข่งขันกับผู้เล่นได้ทั่วโลก ซึ่งทำให้คุณสมบัตินี้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเกมโชว์ทางโทรทัศน์นั่นเอง

ปัจจุบัน QuizUp มีผู้ใช้งานราว 75 ล้านคน ได้รับการเพิ่มทุนมาแล้วราว 22 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่แอพเปิดตัวในปี 2013

ที่มา: The Verge

QuizUp, Games

from:https://www.blognone.com/node/73109

พบช่องโหว่ใหม่บน WinRAR ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้กว่า 500 ล้านคน

มีการประกาศค้นพบช่องโหว่ความรุนแรงสูงบนเวอร์ชันล่าสุดของโปรแกรมบีบอัดข้อมูลชื่อดังอย่าง WinRAR ส่งผลให้แฮ็คเกอร์สามารถรันโค้ดโจมตีบนเครื่องของเหยื่อที่ติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution)

ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้กว่า 500 ล้านคนทั่วโลก

ช่องโหว่ที่ค้นพบเป็นช่องโหว่ประเภท Zero-day ที่ไม่เคยถูกพบมาก่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อ WinRAR 5.21 เวอร์ชันล่าสุดบนระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก ช่องโหว่นี้ถูกจัดให้มีความรุนแรงระดับ “High Severity” และระดับ 9 บน CVSS (Common Vulnerability Scoring System)

แฝงโค้ดแปลกปลอมลงไปในไฟล์ที่บีบอัด

ช่องโหว่นี้ปรากฏบนฟังก์ชัน “Text and Icon” ที่อยู่ภายใต้โมดูล “Text to display in SFX window” โดยแฮ็คเกอร์จะแฝงโค้ด HTML แปลกปลอมลงไปขณะสร้างไฟล์ SFX (WinRAR SFX เป็นไฟล์บีบอัดที่สามารถรันได้ โดยอาจประกอบด้วยไฟล์ย่อยตั้งแต่ 1 ไฟล์เป็นต้นไป) เมื่อผู้ให้เผลอเปิดไฟล์ดังกล่าว โค้ดที่แฝงตัวอยู่ในไฟล์นั้นจะถูกรันโดยอัตโนมัติทันที ซึ่งสามารถโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย หรืออุปกรณ์ที่ใช้งานได้

ยังไม่มีแพทช์เพื่ออุดช่องโหว่

จนถึงตอนนี้ ยังไม่พบว่ามีการอัพเดทแพทช์เพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว คำแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้งาน Windows คือ

  • เลี่ยงไปใช้ซอฟต์แวร์สำหรับบีบอัดข้อมูลอื่นแทน เช่น 7-Zip
  • ไม่เปิดไฟล์ที่ถูกส่งมาจากไหนก็ไม่รู้
  • ใช้ระบบพิสูจน์ตัวตนเพื่อจำกัดสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้บนคอมพิวเตอร์

ที่มา: http://www.net-security.org/secworld.php?id=18914

from:https://www.techtalkthai.com/winrar-vulnerability-puts-500-million-users-at-risk/

เว็บไซต์ TOT ล่มเป็นรายที่ 6

เว็บหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (และไม่ค่อยเกี่ยวข้อง) กับนโยบาย Single Gateway ยังคงถูกชาวเน็ตเข้าไปดูจนล่มเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากมีการนัดรวมพลเพื่อต่อต้าน Single Gateway โดยเริ่มตั้งแต่เวลาสี่ทุ่มที่ผ่านมา ก็มีเว็บไซต์กว่า 6 เว็บล่มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเว็บที่ 6 ก็คือเว็บของ TOT เอง (http://www.tot.co.th)

DDoS, Security, Thailand, TOT

from:https://www.blognone.com/node/73108

เว็บที่ 5 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ

หลังจากที่ เว็บกระทรวงไอซีที, เว็บกสท, เว็บกอ. รมน., เว็บทำเนียบรัฐบาล ล่มไปทั้งหมด 4 เว็บแล้วนั้น การระดมเข้าเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆ พร้อมกันก็ทำให้เกิดผลกระทบกับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีกเว็บไซต์ ที่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ

ทั้งนี้ทั้งนั้นจำนวน 5 เว็บไซต์ข้างต้น เกิดปัญหาติดต่อกันภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาอีกด้วย

DDoS, Security, Thailand

from:https://www.blognone.com/node/73106

เว็บทำเนียบรัฐบาลล่มเป็นรายที่ 4

เว็บไซต์หน่วยงานราชการต่างๆ ยังคงทยอยล่มกันไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากการรวมพลของชาวเน็ตในการใช้วิธี DDoS (ด้วยการกด F5) เว็บไซต์ที่เป็นเป้าหมายเพื่อเป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านนโยบาย Single Gateway โดยเว็บไซต์ล่าสุดก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นเว็บไซต์ของทำเนียบรัฐบาลเอง

สามารถเข้าไป “ดู” กันเองได้ที่ http://www.thaigov.go.th ครับ

DDoS, Security, Thailand

from:https://www.blognone.com/node/73104

เว็บที่สาม เว็บกอ. รมน.ล่ม

หลังจากเว็บกระทรวงไอซีทีและเว็บไซต์กสท ตอนนี้อีกหนึ่งเว็บที่ตกเป็นเป้าหมายคือ “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” ที่ถูกเพจพลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen นัดหมายให้เข้าเว็บตั้งแต่ช่วงสามทุ่มครึ่งที่ผ่านมา

หลังเวลานัดหมายไม่กี่นาทีเว็บก็เข้าไม่ได้ และขึ้นข้อความ “The service is unavailable.” มาแทน

ที่มา – พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen

upic.me

Thailand, DDoS, Security

from:https://www.blognone.com/node/73103