[Black Hat Asia 2016] นักวิจัยเตือน DLP อาจถูกขโมยข้อมูลเสียเอง ถ้าไม่ตรวจสอบช่องโหว่ให้ดี

black_hat_2016_logo

ในงาน Black Hat Asia 2016 ที่กำลังจัดอยู่นี้ Zach Lanier นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Cylance และ Kelly Lum วิศวกรด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Tumblr ได้ออกมาเตือนถึงการเลือกใช้โซลูชัน DLP ยอดนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากบางครั้งอาจเกิดปัญหาเรื่องการเข้าซื้อกิจการของบริษัทเล็กๆ แต่ยังไม่ได้รวมโซลูชันเข้าด้วยกันอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้อาจเกิดช่องโหว่บน DLP ซึ่งช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถขโมยข้อมูลออกไปได้

black_hat_1-2

แนะนำ DLP เบื้องต้นกันก่อน

DLP ย่อมาจาก Data Leak Prevention เป็นโซลูชันสำหรับป้องกันการรั่วไหลข้อมูลออกสู่ภายนอก ไม่ว่าพนักงานในองค์กรจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม DLP นับว่าเป็นโซลูชันสำคัญที่ทุกองค์กรต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันแยกต่างหาก หรือเป็นฟีเจอร์ add-on บนโซลูชันด้านความปลอดภัยอื่นๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยการันตีได้ว่า ข้อมูลความลับขององค์กรจะอยู่เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น ไม่เล็ดลอดออกสู่ภายนอก รวมทั้งอาจเรียกได้ว่าเป็นโซลูชันที่ช่วยป้องกันพนักงานที่ซื่อสัตย์สุจริตขององค์กรทำอะไรโง่ๆ อีกด้วย

DLP ที่ไม่ปลอดภัย อาจเป็นช่องโหว่เสียเอง

เนื่องจาก DLP จำเป็นต้องคอยเฝ้าระวังและตรวจสอบทราฟฟิค ไม่ว่าจะเป็นบนเครือข่าย อีเมล หรือที่จะส่งออกไปยังระบบ Cloud ส่งผลให้ DLP จำเป็นต้องมีสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่สูง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลข้างในได้ ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้า DLP กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงปลอดภัยเสียเอง เช่น กรณีที่ Vendor รายใหญ่เข้าซื้อกิจการของ Vendor รายย่อย แล้วรีบนำโซลูชันมาผสานกันเพื่อให้พร้อมบริการลูกค้าโดยไม่ผ่านการตรวจสอบให้ดีเสียก่อน อาจกลายเป็นช่องโหว่ที่แฮ็คเกอร์ใช้เจาะเพื่อขโมยข้อมูลออกไปแทนได้

ทดสอบกับ 3 Vendors ชื่อดังและ Vendor รายย่อย พบมีช่องโหว่ทั้งสิ้น

Lanier และ Lum ได้ทำการทดสอบเจาะระบบโซลูชัน DLP จาก 3 Vendors ชื่อดัง ได้แก่ Trend Micro, Sophos และ Websense (ForcePoint ในปัจจุบัน) รวมไปถึง Open-source อย่าง OpenDLP และ Vendor รายย่อยอีก 4 ราย พบว่าทุก Vendor ต่างมีช่องโหว่ที่ค้นพบได้โดยการใช้เครื่องมือสแกน เช่น Burp Suite ทั้งสิ้น เช่น XSS, CSRF, ปัญหาเรื่อง chroot และ Privilege, ปัญหาเรื่องการพิสูจน์ตัวตนกับฐานข้อมูล เป็นต้น

black_hat_1-3

นอกจากนี้ยังพบว่าโซลูชันที่เป็น Linux ส่วนใหญ่ไม่มีการทำ Hardening รวมไปถึง Services ต่างๆ ที่ใช้งานและ Agent ที่ติดตั้งมีสิทธิ์ระดับ Root หรือ System ที่สำคัญคือ บาง Vendor ที่เพิ่งซื้อโซลูชันของคนอื่นมาใช้งานร่วมกัน กลับนำช่องโหว่บนโซลูชันเหล่านั้นแถมติดมาให้ด้วย เช่น JRE, FreeDCE ที่มีช่องโหว่และไม่ได้อัพเดทล่าสุด

หลายช่องโหว่ที่พบนั้น ถ้าถูกโจมตีอาจส่งผลให้แฮ็คเกอร์สามารถเข้าควบคุมระบบ DLP หรือใช้เป็นช่องทางในการขโมยข้อมูลภายในออกไปได้ทันที ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทั้ง Vendor และผู้ใช้งานที่ต้องร่วมกันตรวจสอบหาช่องโหว่และทดลองเจาะระบบอุปกรณ์ของตนเอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ตัวโซลูชันที่เรานำมาป้องกันข้อมูลไม่ให้ถูกขโมยออกไป จะกลายเป็นช่องทางที่ถูกใช้ขโมยเสียเอง

“บาง Vendor ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็ทราบถึงช่องโหว่ของอุปกรณ์ที่ตนเองมีอยู่ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้จะมีกระบวนการ Internal Review อยู่เรื่อยๆ แต่บาง Vendor ก็ใช้เวลาถึงหลักเดือนจึงจะทราบว่าโซลูชันของตนเองไม่มั่นคงปลอดภัย ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกใช้โซลูชันใดจึงควรสอบถามประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของตัวโซลูชันจาก Vendor ให้แน่ชัดเสียก่อน” — Lum ให้ความเห็น

from:https://www.techtalkthai.com/researchers-warn-vulnerable-dlp-can-lead-to-data-leakage/

ANA แถลงสาเหตุระบบล่ม สวิตช์เสียแต่ยังรายงานว่าทำงานปกติ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสายการบิน ANA เกิดเหตุระบบล่มขนานใหญ่ นานถึง 4 ชั่วโมง 40 นาที ทำให้ผู้โดยสารติดค้างสนามบินจำนวนนับหมื่นราย ตอนนี้ทางสายการบินก็ออกมาชี้แจงสาเหตุ ระบุว่าเกิดจากสวิตช์เน็ตเวิร์คตัวหนึ่งที่เชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลเสียหาย

ทาง ANA ระบุว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะสองเหตุการณ์พร้อมกัน (จากอุปกรณ์ตัวเดียวกัน) คือเน็ตเวิร์คสวิตช์ไม่ทำงานตมปกติ ทำให้ระบบฐานข้อมูลไม่สามารถซิงก์ข้อมูลระหว่างกันได้ และระบบปิดตัวเองลงโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูล ขณะที่อีกปัญหาหนึ่งคือตัวสวิตช์เองยังรายงานว่าตัวเองทำงานได้ถูกต้องดีไม่แสดงปัญหาออกมา ทำให้ระบบสำรองที่ควรจะขึ้นมาทำงานแทนอัตโนมัติไม่สามารถทำงานแทนได้อย่างถูกต้อง

ทาง ANA ระบุว่าได้เพิ่มเติมระบบตรวจสอบการทำงานของสวิตช์ไว้แล้ว แม้ระบบจะแจ้งว่าทำงานดีอยู่แต่หากพบความผิดพลาดก็จะใช้ระบบสำรองทันที พร้อมกับระบุว่าจะหาทางร่วมกับผู้ผลิตหาทางปรับปรุงสินค้าต่อไป สุดท้ายคือในเดือนเมษายนนี้จะมีการปรับปรุงทีมงานโดยนำผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วย

ผู้บริหาร ANA ลดเงินเดือนเพื่อรับผิดชอบเหตุการณ์ครั้งนี้ตั้งแต่ประธานบริษัท, CEO, CIO ขณะที่ประธานบริษัท ANA Holdings บริษัทแม่ก็รับเงินเดือนลดลงด้วยเช่นกัน

แถลงการณ์ของ ANA ไม่ได้บอกโดยตรงว่าใครเป็นผู้วางระบบนี้และสวิตช์ที่เสียเป็นของผู้ผลิตรายใด แต่ทางหนังสอพิมพ์ Nikei BP ก็ระบุว่าผู้วางระบบคือ Unisys และสวิตช์ที่มีปัญหาคือ Cisco Catalyst 4948E

ที่มา – ANA, Nikei BP

upic.me

ภาพแปลจากภาพของสายการบิน ANA

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/79572

ไมโครซอฟท์แจก Xamarin ฟรีสำหรับผู้ใช้ Visual Studio, เปิดซอร์สตัว SDK

ไมโครซอฟท์เพิ่งซื้อ Xamarin เมื่อเดือนที่แล้ว ในงาน Build 2016 วันที่สอง ก็มีข่าวใหญ่ที่หลายคนรอคอย

  • Xamarin จะถูกผนวกเข้ามาใน Visual Studio ทุกรุ่น (Community ไปจนถึง Enterprise) และที่สำคัญคือ ฟรี! นั่นแปลว่าเราสามารถใช้ Visual Studio สร้างแอพบน iOS/Android ด้วยภาษา C# ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติม
  • Xamarin Enterprise จะถูกผนวกเข้า Visual Studio Enterprise
  • Xamarin SDK ตัวแกนหลักของ Xamarin ซึ่งประกอบด้วยรันไทม์ ไลบรารี และเครื่องมืออื่นๆ จะเปิดซอร์สในเร็วๆ นี้ โค้ดจะถูกส่งเข้า .NET Foundation
  • บริการอื่นๆ ของ Xamarin ได้แก่ Test Cloud และ Xamarin University จะถูกแยกออกมาเป็นบริการต่างหาก ขายแยกเช่นเดียวกับบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์
  • ตัวโปรแกรม Xamarin Studio ที่เป็น IDE จะออกรุ่น Communtiy Edition บนแมค ใช้งานได้ฟรี
  • ผู้ที่สมัครสมาชิก Visual Studio Professional/Enterprise จะได้ใช้ Xamarin Studio รุ่น Professional/Enterprise ด้วยเลย

ที่มา – Visual Studio Blog

from:https://www.blognone.com/node/79571

LG Innotek อวดเทคโนโลยีระบบชาร์จไร้สายรุ่นใหม่ ชาร์จได้ 50% ในเวลา 30 นาที

วันนี้ทาง LG Innotek ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ LG ที่มีหน้าที่ในการผลิตชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์ต่างๆ ได้ทำการเปิดตัวชิปสำหรับเทคโนโลยีระบบชาร์จไร้สายรุ่นใหม่ (wireless charging) ซึ่งมีความเร็วมากกว่าระบบชาร์จไร้สายที่มีวางขายอยู่ในปัจจุบันถึง 3 เท่า ทำให้สามารถชาร์จได้ 50% ในเวลาเพียงแค่ 30 นาที เท่านั้น

ทาง LG Innotek ได้บอกว่า ชิปของระบบชาร์จไร้สายตัวใหม่นี้สามารถปล่อยกำลังไฟได้สูงถึง 15 วัตต์ หรือเทียบเท่ากับการชาร์จด้วยสาย microUSB ทั่วไปเลยทีเดียว ทำให้สามารถชาร์จได้เร็วกว่าระบบชาร์จไร้สายที่มีอยู่ตอนนี้ถึง 3 เท่า (กำลังไฟ 5 วัตต์)

นอกจากที่จะชาร์จเร็วแล้ว ชิปของระบบชาร์จไร้สายรุ่นใหม่นี้ยังสามารถที่จะชาร์จกับสมาร์ทโฟนรุ่นไหนก็ได้อีกด้วย ไม่จำกัดยี่ห้อใด ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งทาง LG Innotek จะเริ่มผลิตชิปตัวใหม่นี้ภายในปีนี้ และแจกจ่ายไปยังผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Motorola หรือ Kyocera และแน่นอน LG Electronics ของตัวเองด้วยครับ

 

ที่มา: Korea Herald via Phandroid

from:http://droidsans.com/lg-new-wireless-charging-chip

[PR] ดาต้าเซ็นเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลกำลังจะล้มหายตายจาก

ธุรกิจจำนวนมากในขณะนี้ยืนอยู่บนปากเหวของการต้องกำหนดรูปแบบการอัพเดทศูนย์ข้อมูลครั้งต่อไปอย่างจริงจัง และสำหรับซีไอโอรวมทั้งผู้จัดการในแต่ละหน่วยธุรกิจจะต้องเผชิญกับคำถามเดียวกันว่า พวกเขาสามารถคาดเดาได้หรือไม่ว่าศูนย์ข้อมูลประเภทใดที่ธุรกิจของพวกเขาต้องการใช้ในปี 2564? และหากพวกเขาคิดไม่ออก พอจะระบุได้ไหมว่าศูนย์ข้อมูลแบบใดที่พวกเขาควรจะคำนึงถึง?

data-center

การตอบคำถามดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสองปัจจัยที่แตกต่างกัน: ข้อแรกเกิดอะไรขึ้นกับเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวม? และข้อสองธุรกิจและการตลาดของพวกเขามุ่งไปในทิศทางใด? นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่เหล่าบรรดาซีไอโอและผู้จัดการฝ่ายธุรกิจทั้งหลายจะตอบคำถามทั้งสองข้ออย่างไม่เข้าที่เข้าทางกัน และปัจจัยทางการตลาดบ่งบอกว่ามันจะเกิดเร็วขึ้นกว่าวงจรชีวิตของศูนย์ข้อมูลโดยปกติ

ตลาดการค้าในปัจจุบันนี้อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ลง และธุรกิจเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการดำเนินธุรกิจและวิธีการทำตลาดในรูปแบบใหม่ ๆ การชะงักงันอย่างคาดไม่ถึงจากการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจและการบุกตลาดแนวใหม่นี่เอง คือสาเหตุที่ทำให้ผู้นำทางธุรกิจจำเป็นต้องประเมินทิศทางกลยุทธ์ของพวกเขาใหม่หมด ควบคู่ไปกับการปรับรูปแบบธุรกิจที่ต้องพร้อมเสมอสำหรับการรับมือกับการจู่โจมที่ไม่อาจคาดเดาได้

ตัวอย่างที่ฮือฮาในระดับพาดหัวข่าวก็เช่นในกรณีของ Uber, Airbnb และ Netflix ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของระบบเครือข่าย รวมถึงการปลดล็อคช่องทางการทำธุรกิจที่มีมูลค่าสูงหากแต่ยังไม่มีใครเข้าถึงก่อนหน้านี้ ซึ่งธุรกิจดังกล่าวล้วนมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคการตลาด ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวอย่างเท่านั้น แต่ประเด็นสำคัญก็คือผลกระทบที่กำลังก่อหวอดอยู่ในตลาดขณะนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและถาวร

การเปลี่ยนแปลงในระดับฐานรากนี้เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับรูปแบบธุรกิจซึ่งจนถึงขณะนี้แค่เพียงยืนหยัดเพื่อผ่านการทดสอบของเวลา นอกจากนี้ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายภาครัฐบาลซึ่งจำเป็นต้องปรับพิจารณากฎระเบียบที่จำเป็นเพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค

ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีแนวคิดใหม่ที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดการทำงานและหน้าที่ต่าง ๆ หรือที่รู้จักกันดี ในชื่อ SDDC ( Software-Defined Data Centers ) – ซึ่งว่ากันตามจริงแล้วซอฟต์แวร์นั้นใช้เป็นตัวกำหนดอะไร ก็ตามและรวมถึงทุก ๆ อย่างได้ – กำลังท้าทายความแข็งแกร่งของการออกแบบศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม สมาร์ทโฟนที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของเรา ยังไม่ได้ขยายฐานไปยังศูนย์ข้อมูลซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความสลับซับซ้อนและยังคงถูกมองว่าความยุ่งยากในการจัดการนั้นเป็นเรื่องปกติ

ความเสี่ยงขั้นสูงสำหรับธุรกิจที่ต้องการจะรับมือกับสถานการณ์นี้ในช่วงห้าปีถัดไป – ซึ่งเป็นวงจรชีวิตที่คาดการณ์สำหรับการอัพเกรดศูนย์ข้อมูลในแต่ละครั้ง – พวกเขามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะพบกับความเสียหายขั้นรุนแรง ทั้งในแง่ของการเลือกโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลและแนวทางในการทำธุรกิจของพวกเขา

ประเด็นนี้สวนทางกับรูปแบบดั้งเดิมของการบริหารจัดการธุรกิจแบบความเสี่ยงปรปักษ์ โดยจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แนวคิด “ตราบใดที่ยังทำงานได้อยู่ ก็ไม่ควรเปลี่ยนแปลงอะไร” เคยเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่คงไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว

ในขณะที่ศูนย์ข้อมูลทันสมัยหันมาใช้ฮาร์ดแวร์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น และวงจรชีวิตในระดับห้าปีถือว่าเป็นที่ยอมรับได้สำหรับการใช้งานแบบดั้งเดิม การเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตในการใช้งานต่างหากที่เริ่มจะบีบบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ในปัจจุบันนี้แอพพลิเคชั่นสามารถที่จะพัฒนาเพิ่มลงไปในระบบใช้งานจริงหรือโละทิ้งด้วยระยะเวลาที่วัดกันในระดับเดือน เมื่อผนวกกับรอบการอัพเกรดที่ย่นระยะเวลาเร็วขึ้น มันจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะมองเห็นว่าทำไมวิธีการแบบดั้งเดิมในการกำหนดคุณสมบัติของศูนย์ข้อมูลจึงจำเป็นต้องได้รับการยกเครื่องขนานใหญ่ และนั่นก็ไม่ได้จะหยุดอยู่เพียงแค่นี้

การเติบโตในการใช้งานของรูปแบบแอพพลิคชั่นตามแนวคิดของ DevOps และ Continual Delivery ซึ่งเป็นรูปแบบที่การติดตั้งแอพพลิเคชั่น จะไม่ใช่แพ็คเกจขนาดใหญ่และยุ่งยากในระดับที่ต้องแยกระบบออกมาจากระบบใช้งานจริง ในทางกลับกันแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมได้แบบเอกเทศและในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าวิธีการนี้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพได้ดีขึ้นเพียงเพราะว่าปัญหาสามารถถูกค้นพบและแก้ไขได้รวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกันก็ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ว่าการไม่ยอมเปลี่ยนแปลงและยึดติดกับวิธีการแบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลจะกลายเป็นความเสี่ยงมากที่สุดเท่าที่บริษัทจะพึงทำได้ ตรรกะแนวใหม่ความเสี่ยงปรปักษ์ คือความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความเสี่ยงทั้งหมด

รูปแบบการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่มักอิงบนแนวคิดของการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่มีขนาดใหญ่ เป็นเอกเทศ และจัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนแร็คทรัพยากรคอมพิวเตอร์แบบถาวร ในลักษณะเดียวกันกับที่ Uber และ Airbnb ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจไปอย่างมาก สถาปัตยกรรมที่ใช้ “ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่” ก็กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของศูนย์ข้อมูล เซิร์ฟเวอร์เก่าคร่ำครึและใหญ่เทอะทะกำลังจะกลายเป็นของเก่าตกยุคไปเสียแล้ว

“ของเก่า” ที่ว่านี้ไม่เข้าท่าเสียแล้วกับบริบทของการพัฒนาที่ระบุไว้ข้างต้น และการก่อเกิดของศูนย์ข้อมูลแนวคิดใหม่ที่สนับสนุนรูปแบบการพัฒนาดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่นการใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะปัจจุบันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในการใช้งานแอพลิเคชันใหม่ ๆ ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วองค์กรขนาดใหญ่มักชอบวิธีการแบบไฮบริด โดยคลาวด์จะถูกจำกัดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เป็นส่วนตัวเท่านั้น

สถาปัตยกรรมที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นตัวกำหนด ( Software Defined Data Center -SDDC ) สนับสนุนแนวทางที่เพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นเหล่านี้ ซึ่งช่วยให้ซอฟต์แวร์สามารถกำหนดสภาพแวดล้อมการใช้งานที่ต้องการโดยทำการตั้งค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮาร์ดแวร์สูงสุดได้ด้วยตนเอง

เมื่อมองไปยังอนาคตข้างหน้า ศูนย์ข้อมูลจะยังคงมีอยู่ แต่มันจะเป็นสิ่งที่แตกต่างจากวันนี้อย่างเห็นได้ชัดเพราะสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของเซิร์ฟเวอร์แร็คที่จัดเก็บทรัพยากรข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจัดสรรตามการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงกำลังจะถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ การปรับขนาดให้เหมาะสมตามการใช้งานและทรัพยากรที่มีจะกลายเป็นฟังก์ชั่นของการกำหนด ตั้งค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยตนเอง

ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงคือความเสี่ยงที่ควรตระหนักรู้และตรวจสอบข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลและตลาดการค้าของคุณเองในขณะนี้

ข้อโต้เถียงของแนวคิดปรปักษ์ความเสี่ยงอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เมื่อก่อนนั้นอาจเคยเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่จะพูดว่า “เราจำเป็นต้องรัน SAP บนแพลตฟอร์มที่ได้รับการอนุมัติและตรวจสอบแล้ว ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องอยู่บนเทคโนโลยีเดียวกัน” แต่ปัจจุบันกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป เนื่องจากแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจที่สำคัญโดยส่วนมากสามารถทำงานบนสภาพแวดล้อมของศูนย์ข้อมูลแบบ hyperconverged รวมทั้ง SAP ด้วย คุณอาจจะเถียงว่าถ้าอย่างนั้น SAP ก็กลายเป็นแอพพลิเคชั่นตกรุ่นไปด้วยอย่างนั้นหรือ?

ไม่ใช่อย่างนั้น เทคโนโลยี SDDC ในปัจจุบันช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและให้ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานสำหรับแอพพลิเคชั่นทุกประเภทที่จะนำลงติดตั้งแอพพลิเคชั่นเช่น SAP เป็นการผสมผสานของแอพพลิเคชั่นหลากหลายทางธุรกิจมากกว่าที่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่ต้องการการบำรุงรักษาสูง หรือมีข้อเรียกร้อง

เยอะ SAP มักจะพูดถึงการทำให้แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ นั้นง่ายขึ้นอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นมันจึงเหมาะสมที่จะรวมการใช้งานแอพพลิเคชั่นองค์กรขนาดใหญ่เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่พูดถึงความต้องการทั้งในด้านความคล่องตัวและความยืดหยุ่น

บทสรุป – หลีกเลี่ยงความเสี่ยงปรปักษ์ด้วยการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยง

บทความโดย Venugopal Pai, VP of alliances and business development for Nutanix

 nutanix-venugopal-pai

 

เกี่ยวกับ Nutanix

Nutanix คือผู้ให้บริการคลาวด์สำหรับองค์กร ด้วยแนวคิดใหม่ที่ต้องการลดภาระงาน ลดความยุ่งยาก ลดความกังวลในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กร และยกระดับระบบไอทีให้องค์กรหันไปทุ่มความสำคัญกับการบริการลูกค้าและธุรกิจของตัวเอง เสมือนว่าไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัญหาอีกต่อไป

แพลตฟอร์มคลาวด์ของ Nutanix ออกแบบด้วยหลักการที่ผนวกรวมเอาหน่วยประมวลผล ( เซิร์ฟเวอร์ ) เข้ากับหน่วยจัดเก็บข้อมูล ( สตอเรจ ) และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น ให้มีความยืดหยุ่น และควบคุมด้วยซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีของ Nutanix ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ถึงประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานที่สอดรับกับเทคโนโลยีคลาวด์ การรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง และความสามารถในการเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจได้อย่างราบรื่นสำหรับความหลากหลายของการใช้งานขององค์กร เรียนรู้เพิ่มเติมที่ www.nutanix.com หรือติดตามเราได้ที่ Twitter @nutanix

from:https://www.techtalkthai.com/nutanix-article-datacenter-is-dead/

Sony ปล่อยโปรแกรม Xperia Companion โปรแกรมช่วยจัดการ Xperia ตัวใหม่

เพื่อนๆ คนไหนที่ใช้มือถือ Xperia อยู่น่าจะคุ้นเคยกับโปรแกรม PC Companion ที่เป็นโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ Windows สำหรับช่วยจัดการ Xperia ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการ back-up ข้อมูล หรือการซ่อมหรืออัพเดตเฟิร์มแวร์ แต่ล่าสุดทางโซนี่ได้เปิดตัวโปรแกรมใหม่อีกตัวที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกันออกมาในชื่อว่า Xperia Companion ครับ

ทางโซนี่ไม่ได้เปิดตัวเป็นทางการแต่อย่างใด แต่ก็ดันไปปรากฏอยู่ในหน้า Support ของ Xperia Z3 โดยเจ้า Xperia Companion นั่นเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถหลักๆ 3 อย่าง นั่นก็คือ

  1. การแสดงสถานะความจำและการเปิดดูไฟล์ของ Xperia
  2. การตรวจสอบอัพเดตและการอัพเดตเฟิร์มแวร์
  3. อย่างสุดท้ายคือการซ่อมแซมเฟิร์มแวร์

ซึ่งถ้าเทียบกับ PC Companion แล้วดูเหมือนว่า Xperia Companion เองยังทำได้น้อยกว่าด้วยซ้ำ สำหรับในส่วนของหน้าตาโปรแกรมนั้นผมมองว่าดูทันสมัยขึ้นเล็กน้อย และการที่โชว์ฟังก์ชันการใช้งานเต็มๆ จอ ก็ทำให้ดูจะใช้งานง่ายขึ้นครับ

ที่มาที่ไปของ Xperia Companion นั้นน่าจะเป็นการที่ทางโซนี่ต้องการปรับเปลี่ยนโปรแกรมเป็นตัวใหม่รวมถึงการเลือกใช้ชื่อ Xperia Companion นั้นเข้าใจง่ายกว่าชื่อโปรแกรมเก่าอย่าง PC Companion อีกด้วย และผมยังเชื่ออีกว่าตัว Xperia Companion น่าจะเกี่ยวข้องกับการขยายแบรนด์ Xperia ที่ครอบคลุมไปถึงอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่มือถือหรือแท็บเล็ตที่โซนี่ได้เปิดตัวและเอามาโชว์ในงาน MWC 2016 ที่ผ่านมาด้วยครับ

Xperia Companion นั้นรองรับการใช้งานกับ Xperia Z3 ขึ้นไป รุ่นก่อนหน้านั้นจะใช้งานร่วมกันไม่ได้นะครับ ใครที่สนใจอยากดาวน์โหลดไปลองติดตั้งก็ไปตาม Link นี้ ได้เลยครับ

 

ที่มา: Xperia Blog

from:http://droidsans.com/sony-xperia-companion-launched

[PR] ฟูจิ ซีร็อกซ์ ร่วมสนับสนุนการจัดการแข่งขัน ประกวดสุดยอดแผนธุรกิจระดับเอเซีย “Asia Venture Challenge 2016”

fuji-xerox-asia-venture-challenge-2016

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสมมาตร บุณยะสุนานนท์ รองประธานบริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ ( ประเทศไทย ) จำกัด เป็นตัวแทนบริษัทรับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณจาก หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่ฟูจิ ซีร็อกซ์ ร่วมสนับสนุนการจัดการแข่งขันประกวดสุดยอดแผนธุรกิจระดับเอเซีย “Asia Venture Challenge 2016” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจัดขึ้นเป็นปีที่ 12 ภายใต้แนวคิด “Millennial – Reigniting Entrepreneurship” โดยมีทีมเข้าร่วมประกวดจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียทั้งหมด 12 ทีม จาก 9 ประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน, ฮ่องกง, อินเดีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, เกาหลี และไทย เพื่อเฟ้นหาทีมผู้ชนะที่จะได้เริ่มต้นธุรกิจจากแผนการตลาดที่ได้รับการคัดเลือกด้วยเงินรางวัลมูลค่า 10, 000 เหรียญสหรัฐฯ ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ

from:https://www.techtalkthai.com/fuji-xerox-asia-venture-challenge-2016/

Apple ได้สิทธิบัตรขั้วสายชาร์จแบบแม่เหล็กที่สามารถต่อพ่วงซ้อนกันได้หลายอัน

Apple ได้สิทธิบัตรฉบับใหม่เรื่องการออกแบบขั้วสายชาร์จไฟให้อุปกรณ์แบบที่สามารถเชื่อมต่อหลายเส้นซ้อนพ่วงกันได้โดยใช้แม่เหล็กเป็นตัวตรึงตำแหน่งของขั้วสายชาร์จให้อยู่กับที่

แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับสารพัดอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านหัว USB ที่พบเห็นได้ทั่วไปที่เวลาใช้งานก็สามารถต่อหัว USB ซ้อนๆ กันได้หลายอันโดยทั้งหมดนั้นเชื่อมต่อกับพอร์ต USB ของเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงรูเดียว แต่สิทธิบัตรของ Apple นี้ไม่ใช่การเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB หากแต่เป็นหัวสายแบบเฉพาะของ Apple ซึ่งมีทั้งแบบหน้าตัดสี่เหลี่ยมและแบบหน้าตัดวงกลม

ขั้วสายชาร์จแต่ละอันจะมีแม่เหล็กสำหรับยึดตำแหน่งมันให้อยู่กับที่ในระหว่างใช้งานตามแบบฉบับสายชาร์จแบบ MagSafe ที่ Apple เป็นผู้ริเริ่ม บริเวณตัวนำไฟฟ้าถูกออกแบบให้ไม่มีทางช็อตถึงกันได้แม้ว่าผู้ใช้จะพลิกกลับด้านเชื่อมต่อสายชาร์จในลักษณะไหน ในระหว่างใช้งานอุปกรณ์ทุกตัวที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านสายชาร์จเหล่านี้จะได้รับไฟและรับ-ส่งข้อมูลกันได้ทั้งหมดทุกตัว

โดยหลักการแล้วการผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานจริงนั้นไม่น่าจะมีปัญหาทางเทคนิคแต่อย่างใด อยู่ที่ว่า Apple เจตนาจะปล่อยผลงานสิทธิบัตรชิ้นนี้ออกมาเป็นสินค้าจริงเมื่อไหร่เท่านั้น

ที่มา – The Verge, ข้อมูลสิทธิบัตรจาก FPO

upic.me

upic.me

upic.me

upic.me

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/79570

[PR] ออโตเดสก์ เปิดตัว ออโตแคด 2017

กรุงเทพฯ 30 มีนาคม 2559 – ออโตเดสก์ ประกาศเปิดตัวโปรแกรม “ออโตแคด 2017” อย่างเป็นทางการ เพื่อสนับสนุนการออกเบบที่นำสมัยให้กับผู้ใช้งาน

ทั้งนี้ โปรแกรมรุ่นล่าสุดจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีศักยภาพมากขึ้นกว่าเดิม ผ่านการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่หรือพกพาชนิดอื่น ๆ ทำให้การทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นได้ง่ายดายยิ่งขึ้น สร้างเสริมประสบการณ์ออกแบบที่เฉพาะตัวยิ่งขึ้น และมีฟังก์ชั่นใหม่ ๆ พร้อมให้อัปเดตอยู่ตลอดเวลาเพื่อการรับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

ฟังก์ชั่นการใช้งานหลักของ ออโตแคด 2017 ได้แก่:

  • อิมพอร์ต พีดีเอฟ ( PDFs ) เป็นฟังก์ชั่นหลักที่มีการเรียกร้องจากผู้ใช้มากที่สุด ไฟล์ พีดีเอฟ ได้ถูกเพิ่มให้เป็นฟอร์แมตที่สามารถอิมพอร์ตได้แล้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถนำเข้ารูปทรง geometry ตัวอักษร ทรูไทป์ และรูปภาพ ( แรสเตอร์ ) จากไฟล์ พีดีเอฟ หรือนำมาเปิดซ้อนในแบบวาดของออโตแคดได้
“อิมพอร์ต พีดีเอฟ” ช่วยให้ผู้ใช้นำเข้ารูปทรง geometry จากไฟล์ พีดีเอฟ เป็นวัตถุวาดของ ออโตแคด
“อิมพอร์ต พีดีเอฟ” ช่วยให้ผู้ใช้นำเข้ารูปทรง geometry จากไฟล์ พีดีเอฟ เป็นวัตถุวาดของ ออโตแคด
  • แอปพลิเคชั่น ออโตเดสก์ บนเดสก์ท็อป แอปพลิเคชั่นนี้มาแทนที่ “ออโตเดสก์ แอปพลิเคชั่น แมเนเจอร์” และช่วยให้ผู้ใช้ได้รับอัปเดต และคอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้ราบรื่นยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ของโปรแกรม ออโตแคด 2017 ได้อย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ผู้ใช้ ออโตเดสก์ บนไมโครซอฟท์ ( Microsoft® Windows®-based Autodesk® products ) เวอร์ชั่น 2015 2016 และ 2017 จะได้รับแพตช์เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและอัปเดตต่าง ๆ ซึ่งจะไม่รบกวนการทำงานของผู้ใช้ นอกจากนี้ แอปพลิเคชั่น ออโตเดสก์ บนเดสก์ท็อปยังสามารถรับรู้ว่าผู้ใช้ได้ลงทะเบียนกับออโตแคด โดยจะนำเสนอ อัปเดต และคอนเทนต์ใหม่ ๆ สำหรับผู้ลงทะเบียนโดยเฉพาะเมื่อมีการออกอัปเดต และคอนเทนต์ตัวใหม่อีกด้วย
จัดการและตรวจสอบการอัปเดตทั้งหมดได้ผ่านแอปพลิเคชั่นเดียวบนหน้าจอเดสก์ท็อป
จัดการและตรวจสอบการอัปเดตทั้งหมดได้ผ่านแอปพลิเคชั่นเดียวบนหน้าจอเดสก์ท็อป
  • ไฟล์ ดีดับเบิลยูจี ที่เชื่อถือได้ ด้วยโปรแกรม ออโตแคด แอล ที 2017 ผู้ใช้สามารถสร้างและแชร์ภาพวาดผ่านเทคโนโลยี “ทรัสเตต ดีดับเบิลยูจี” ซึ่งเป็นวิธีการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลการออกแบบในไฟล์ ดีดับเบิลยูจี ที่ไม่เหมือนใครและแม่นยำที่สุด
  • จุดกึ่งกลางเส้น / สัญลักษณ์กึ่งกลาง อัจฉริยะ สร้างและแก้ไข จุดกึ่งกลางเส้น และสัญลักษณ์กึ่งกลาง ได้รวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น โดยเมื่อผู้ใช้เลื่อนวัตถุที่เกี่ยวข้องในภาพ จุดกึ่งกลางเส้น และสัญลักษณ์กึ่งกลาง จะเลื่อนตามโดยอัตโนมัติ

ออโตแคด แอล ที 2017 เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่มเครื่องมือการร่างภาพ 2 มิติอัจฉริยะ ที่จะช่วยให้การทำงานของผู้ใช้รวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับผู้ลงทะเบียน ออโตแคด แอล ที จะได้รับแอปพลิเคชั่น ออโตแคด 360 บนแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ ( โมบายล์ ) ด้วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถเรียกดู สร้าง และแก้ไขภาพวาดได้บนสมาร์ตโฟนหรือแท็บเลต ทั้งยังสามารถเพิ่มตัวหนังสือ เครื่องหมาย หรือเปลี่ยนแปลงภาพวาดนั้นได้แบบรีลไทม์ ตลอดจนแชร์การออกแบบ และการแปลี่ยนเปลงปรับปรุงแบบต่าง ๆ ได้โดยตรงจากอุปกรณ์นั้น ๆ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถใช้บริการให้ความช่วยเหลือทางโทรศัพท์ทั่วโลกแบบตัวต่อตัวได้โดยตรง พร้อมความช่วยเหลือผ่านทางแชต การตอบรับที่รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมบริการสนับสนุนอื่น ๆ จาก ออโตเดสก์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ได้ลงทะเบียนกับ ออโตแคด แอล ที แต่อย่างใด

ความพร้อมในการให้บริการ

ออโตแคด 2017 และออโตแคด แอล ที 2017 มีพร้อมให้ใช้งานแล้วในประเทศไทยเวอร์ชั่นภาษาท้องถิ่น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผ่านการลงทะเบียนแบบจ่ายตามการใช้งาน รายสามเดือน รายปี และรายหลายปี

ออโตแคด 2017 ช่วยให้การสร้างและแก้ไข จุดกึ่งกลางเส้น และสัญลักษณ์กึ่งกลาง ไม่ยุ่งยากอย่างที่เคย
ออโตแคด 2017 ช่วยให้การสร้างและแก้ไข จุดกึ่งกลางเส้น และสัญลักษณ์กึ่งกลาง ไม่ยุ่งยากอย่างที่เคย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ออโตแคด 2017

 

เกี่ยวกับ ออโตเดสก์

autodesk-logo

ออโตเดสก์ เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์การออกแบบ วิศวกรรม และความบันเทิงแบบ 3 มิติ ช่วยให้ผู้คนสามารถจินตนาการ ออกแบบ และสร้างสรรค์โลกให้ดีขึ้น ผู้ใช้ทุกคน ตั้งแต่นักออกแบบอาชีพ วิศวกร สถาปนิก ไปจนถึงศิลปินที่ทำงานด้านดิจิตอล นักเรียน หรือผู้ทำงานอดิเรก สามารถใช้โปรแกรม ออโตเดสก์ เพื่อปลดปล่อยจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาท้าทายที่สำคัญให้สำเร็จลุล่วง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ autodesk.com หรือติดตาม @autodesk

from:https://www.techtalkthai.com/autodesk-unveil-autodesk-2017/

[Review] Acer Aspire V5-591G โน้ตบุ๊คพรีเมียมคลาส เสียงดี เล่นเกมได้ ราคาโดน!!

ปี 2016 ทาง Acer ประเทศไทยได้เปิดกลยุทธ์สำคัญเพื่อตีตลาดโน้ตบุ๊คระดับกลางไปถึงระดับท็อปด้วย คีย์หลักอย่าง Good , Better และ Best ที่แบ่งไลน์ความเจ๋ง ความแรง ความพรีเมียม และความเทพออกเป็นสามระดับ ทั้ง Good เองจะอยู่ในกลุ่มโน้ตบุ๊ค Aspire V5 , Better ในกลุ่มของ Aspire V Nitro และ Best ในกลุ่มสุดยอดเกมมิ่งอย่าง Predator

และในบทความนี้ทาง NBS ได้หยิบยก Good Product หนึ่งรุ่นที่น่าสนใจมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน อย่าง Acer Aspire V5-591G-726Z โน้ตบุ๊คพรีเมียมประสิทธิภาพสูงตัวคุ้ม ด้วยความโดดเด่น และความคุ้มในหลายๆ ด้านทั้งจาก Skylake-H Processor, DDR4 8GB , SSHD และกราฟิกการ์ด GeForce GTX950M บนการออกแบบที่พรีเมียมมากขึ้น สนนราคาที่ 29,900 บาท ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน่าสนใจสุดๆ แต่มันจะดีจริงเหมือนที่ Acer หวังไว้หรือไม่ ผมและแอดมินแอ๋มจะเล่าให้ฟัง

from:http://notebookspec.com/acer-aspire-v5-591g-review/341735/