[ IT Case Studies ] Zebra Technologies โชว์ผลงานว่าด้วยอุปกรณ์อ่านบาร์โค้ดประเภทพกพา และเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมของตนได้ช่วยให้ผู้บริการจัดส่งสินค้าสามารถดำเนินการได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 15%
Printer – งานสั่งพิมพ์ข้อมูลสินค้าในรูปแบบ RFID tag :
นอกจากเครื่องอ่านบาร์โค้ดแล้ว ภายในคลังสินค้าของ Stuart ได้เลือกใช้เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมรุ่น Zebra ZT411 RFID (Radio Frequency Identification) เข้ามาช่วยสร้างฉลากสินค้าชนิด RFID tag ซึ่งจะเห็นได้จากร้านค้าของ Decathlon ที่ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี RFID กับสินค้าในทุกรายการ ตั้งแต่กระบวนการรับสินค้าเข้า การจัดวางสินค้าพร้อมจำหน่าย และการตัดรายการสินค้าออกจากร้านค้า (การชำระเงิน) โดยมีรายงานว่า Zebra ZT411 RFID Printer สามารถช่วยเร่งผลผลิตจากงานพิมพ์เพิ่มขึ้นถึง 70% เลยทีเดียว
Léonel de La Bretesche กรรมการผู้จัดการของ Stuart Retail France กล่าวว่า “การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำที่ศูนย์คัดแยกของเรามีความสำคัญต่อความสำเร็จของเรา ด้วยโซลูชันใหม่นี้ เราพบว่ามีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่ง – มากถึง 70% ในบางพื้นที่”
“เวิร์กโฟลว์ของเราเชื่อถือได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเรากำจัดข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้เกือบทั้งหมดแล้ว ด้วยแอปพลิเคชันที่กำลังพัฒนามากขึ้นและความเป็นไปได้ในการปรับขยายโซลูชันนี้ทั่วทั้งธุรกิจของเรา เราหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีของ Zebra อย่างต่อเนื่อง”Léonel de La Bretesche กล่าวทิ้งท้าย
Google Drive – บริการจัดเก็บและแชร์ไฟล์ร่วมกัน แก้ปัญหาเรื่องการส่งข้อมูลไม่ทั่วถึง หรือไม่ได้รับข้อมูลล่าสุด ทั้งยังสามารถควบคุมการเข้าถึงไฟล์ได้ตามต้องการ
Google Docs และ Google Sheets – บริการเอกสารข้อความและสเปรดชีตที่มีจุดเด่นในการสร้างและแก้ไขข้อมูลบนเอกสารร่วมกันได้ ช่วยให้ทีมงาน เข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันและไม่พลาดการอัปเดตใด ๆ
Google Form – บริการแบบฟอร์มออนไลน์ที่ ACRM มักใช้เพื่อจองการประชุม จองทรัพยากรจากส่วนกลาง หรือทำแบบสอบถาม เป็นต้น
โจทย์แรกจัดขึ้นในช่วงกันยายน 2021 ในหัวข้อ “NOSTRA Virtual Hack” ประลองไอเดียในเรื่องเทคโนโลยี Map Data & Road Network Dataset and Satellite Imagery Map Data & ข้อมูลโครงข่ายคมนาคมสำหรับระบบนำทางและภาพถ่ายดาวเทียมและ NOSTRA GeoData
โจทย์ที่สองจัดขึ้นในช่วงกุมภาพันธ์ 2022 ในหัวข้อ “Next Normal – Real Time Intelligence (Next Normal After COVID-19)” มุ่งเน้น 5 Focus Area ได้แก่ 1. Smart Living 2. Smart Mobility 3. Smart Education, 4. Smart City และ 5. Smart Nation
ทั้งสองวัน ทีมงาน Mayaseven ได้สาธิตการ “แฮก” บนสภาพแวดล้อมที่จำลองขึ้นมากันให้เห็นสด ๆ ผ่านเครื่อง VM ที่ติดตั้ง Kali Linux ไว้ ด้วยคำสั่ง Command Line บน Linux และ Power Shell มากมายพร้อมเครื่องมือยอดนิยมต่าง ๆ มากมาย เช่น Bloodhound, Metasploit หรือ Burp Suite ที่สามารถนำมาประยุกต์ผสมผสานกันจนสามารถยึดเครื่อง Server เครื่องหนึ่งแล้วสามารถทำการแฮกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งยึดถึง Domain Server ได้เลย
อีกส่วนหนึ่งที่มีพูดถึงในงานนี้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ OWASP Top 10 ปี 2021 ช่องโหว่บน Web Application และ API ที่แม้แต่ Firewall ก็อาจไม่สามารถป้องกันได้ ซึ่งทีม Mayaseven ได้อธิบายให้เห็นภาพของแต่ละกรณี พร้อมทั้งแนะนำคู่มือที่ควรจะไปศึกษาต่อยอดเพิ่มเติมได้ ทั้ง OWASP Application Security Verification Standard (ASVS) หรือว่า OWASP Web Security Testing Guide และได้โชว์การแฮกเว็บที่จำลองไว้กันให้ดูสด ๆ ซึ่งทำให้เห็นภาพได้ว่าถ้าหากพัฒนาเว็บไซต์ไม่ปลอดภัยดีพอ อาจนำมาซึ่งความเสียหายมากกว่าที่คาดคิดไว้ได้แน่นอน
Firewall ไม่ใช่พระเจ้า ขนาด Firewall เองยังมีหลายแบบหลายระดับ และที่สำคัญคือหากช่องโหว่ที่มีดันสามารถทำงานได้ข้าม Firewall เช่น ช่องโหว่ที่มีอยู่ใน Web Application ที่วางไว้อยู่ภายในเครื่อง Web Server ที่อยู่หลัง Firewall ซึ่งหากถูกเจาะผ่าน Web App แล้วโดนยึดเครื่อง Web Server ไป ก็มีโอกาสโดนใช้เครื่อง Web Server ไปดึงข้อมูลจาก Database แล้วส่งออกไปในอินเทอร์เน็ต ข้าม Firewall ไปได้อย่างง่ายดาย เป็นต้น สิ่งนี้จึงชี้ให้เห็นว่าต่อให้มี Firewall แล้ว ระบบต่าง ๆ ที่ใช้ภายในองค์กรก็ต้องทำให้ปลอดภัยด้วยเช่นกัน
ปาริฉัตรหาญญานันท์ Head of Digital HR กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า “การใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยในกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลนั้น ได้ทรานฟอร์มประสบการณ์การทำงานที่ดีขึ้นให้แก่พนักงานของเราอย่างมาก เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ยกระดับประสบการณ์ของพนักงานของเราในรูปแบบดิจิทัล และพร้อมที่จะขยายการดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์ม Workato ต่อไป โดยมุ่งมั่นในการเสริมแกร่งการเป็นองค์กรชั้นนำในยุคดิจิทัล”
เมื่อการทำงานต้องเปลี่ยนไปสู่ Work from Anywhere และมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำงานมากมาย ธุรกิจองค์กรก็ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน การจ้างงาน ทักษะที่ต้องการ และการดูแลพนักงานให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
เตรียมตัวสู่โลกแห่งอนาคต New Normal ในสองปีที่ผ่านมาจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ถึงแม้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้คนและธุรกิจทั่วโลกจะต้องเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการใช้ชีวิตและวิธีการทำงานกันไปโดยสิ้นเชิงจนเกิดเป็นคำที่เราเรียกกันว่า New Normal แล้ว แต่หลังจากนี้ที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มรับมือกับวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีขึ้นจนเริ่มกลับมาเปิดธุรกิจหรือเปิดประเทศกันอีกครั้งแล้ว วิธีการใช้ชีวิตและวิธีการทำงานของผู้คนก็จะต้องเปลี่ยนไปอีกครั้ง
นอกจากเทรนด์ข้างต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้กันสำหรับในมุมของบริษัทก็คือการปรับประสบการณ์ในการทำงานของพนักงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงาน ที่เดิมทีได้อิทธิพลมาจากทั้ง Social Network และ Mobile Application ที่หลากหลายในการทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างสะดวก ทำให้ในองค์กรเองก็ต้องปรับนำ Business Application สำหรับแผนกต่างๆ ที่ใช้งานได้ง่ายและสร้างประสบการณ์ที่ดีมาใช้งานให้บริการพนักงาน
Net Zero การลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนในการใช้งานเทคโนโลยีและการทำงานใดๆ ให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งในมุมของ Salesforce นั้นก็มีการเลือกใช้ Data Center สำหรับการให้บริการ Cloud ในแบบ Net Zero ทั้งหมด รวมถึงยังมีบริการ Cloud สำหรับช่วยติดตามการใช้พลังงานหรือการสร้างคาร์บอนในอาคารต่างๆ ได้ทั้งหมด
กรณีศึกษาจาก IBM สู่การเป็น Trusted Enterprise ด้วย Salesforce
หนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ของ Salesforce ในระดับโลกนั้นก็คือ IBM ที่ได้ใช้งาน Slack เพื่อเชื่อมผสานการทำงานระหว่างพนักงานภายในองค์กรมากกว่า 380,000 คน ซึ่งมีการแชทพูดคุยทั้งภายในและภายนอกองค์กรมากกว่า 16.6 ล้านข้อความในแต่ละวัน พร้อม Customer 360 ที่ช่วยให้พนักงานฝ่ายขายและบริการกว่า 55,000 คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านช่องทางในแบบ Self-Service, Chatbot และ Support Community ด้วยการ Integrate ระบบของ Slack เข้ากับระบบอื่นๆ ที่มีการใช้งานภายใน IBM นั่นเอง