คลังเก็บป้ายกำกับ: ARTIFICIAL_INTELLIGENCE

Ernie แชตบอตจีน เซ็นเซอร์ตัวเองเมื่อถามถึงการเมืองและ Xi Jinping

ในตอนนี้ทั่วโลกต่างให้ความสนใจต่อแชตบอตอัจฉริยะที่เกิดจาก AI กันจำนวนมาก บริษัทหลายแห่งต่างพยายามคิดค้นแชตบอตที่มีประสิทธิภาพออกมาหลายตัว อย่าง Ernie Bot ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Baidu จากจีนและ ChatGPT ที่ถูกพัฒนาโดย Open AI สหรัฐอเมริกา

นักข่าวจีนคนหนึ่งได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพแอปฯ Ernie Bot และ Chat GPT โดยถามคำถามตั้งแต่เรื่องคณิตศาสตร์ไปจนถึงประวัติศาสตร์รวมไปถึงคำถามที่ละเอียดอ่อนอย่างเรื่องการเมืองด้วย

ผลการทดสอบปรากฏว่าด้านการตอบคำถาม เมื่อนักข่าวถามเกี่ยวกับการเมืองหรือเกี่ยวกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง Ernie Bot ตอบว่า “I cannot answer that question.” ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าถูกจำกัดเนื้อหาของคำตอบด้านการเมืองในประเทศจีน เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อบริษัท

กลับกัน ChatGPT สามารถที่จะตอบคำถามด้านการเมืองหรือสถานการณ์สำคัญอย่าง สงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ซึ่งคำตอบที่ได้ก็มีการพัฒนาคำตอบดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าคำตอบอาจจะยังไม่ถูกใจผู้ถามมากนัก แต่ ChatGPT ก็ยังสามารถพูดคุยต่อในประเด็นนี้ต่อได้อีก ซึ่งนักข่าวให้ความคิดเห็นว่า การที่ AI ตอบว่า “น่าจะ” ต่างกับการตอบว่า “ไม่ทำ” ตั้งแต่เริ่ม

แต่เมื่อเปรียบเทียบคำถามด้านคณิตศาสตร์ทั้ง Ernie Bot และ ChatGPT สามารถทำออกมาได้ดีทั้งคู่ จะต่างกันตรงที่ตอนนี้ ChatGPT ยังไม่สามารถสร้างภาพได้ แต่ Ernie Bot สร้างภาพได้ตรงตามคำสั่งและออกมาดีมาก กลับกันถ้าให้แชตบอตทั้ง 2 วางแผนการเดินทางเที่ยวญี่ปุ่นในเดือนเมษายน คำตอบของ ChatGPT เหนือกว่าตรงที่สามารถเสนอเพิ่มเติมได้เช่น เดือนเมษายนเป็นช่วงเวลาที่ดีเนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกซากุระกำลังบานสะพรั่ง แต่ฝั่ง Ernie Bot ไม่สามารถบอกคำตอบเหล่านี้ได้

นักข่าวที่ทำการทดสอบให้บทสรุปว่า ChatGPT ได้เปรียบในเรื่องของภาษามากกว่า Ernie Bot อย่างไรก็ตามแชตบอตทั้งสองยังอยู่ในช่วงการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

ที่มา: NikkeiAsia

Ernie

from:https://www.blognone.com/node/133153

Advertisement

OpenAI เปิดบริการ ChatGPT Plugins อ่านข้อมูลและส่งคำสั่งไปยังโลกภายนอกได้

OpenAI เปิดบริการ ChatGPT plugins เปิดทางให้ ChatGPT สามารถอ่านข้อมูลและส่งคำสั่งไปยังโลกภายนอกได้ เช่น Instacart เปิดให้สั่งสินค้าจากในแชตได้ทันที หรือ Zapier ที่เชื่อมข้อมูลจำนวนมาก ทั้ง Google Sheet, Trello, Gmail เข้ามายัง ChatGPT ได้

ผู้ใช้สามารถใช้ปลั๊กอินหลายตัวเชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน เช่น ขอสูตรอาหารจากปลั๊กอินตัวหนึ่ง คำนวณค่าพลังงานด้วย Wolfram แล้วสั่งวัตถุดิบผ่านทาง Instacart

ทาง OpenAI เปิดตัวอย่างปลั๊กอิน ChatGPT Retrieval สำหรับการดึงข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลในองค์กรเข้ามายังหน้าแชต โดยเอกสารต่างๆ ต้องแปลงเป็นเวคเตอร์ผ่านทางโมเดล text-embedding-ada-002 เสียก่อนเพื่อให้เรียกใช้งานระหว่างแชตได้ โดยตัวปลั๊กอินนี้ยังเป็นเพียงการอ่านเอกสาร ยังไม่มีการส่งคำสั่ง สำหรับปลั๊กอินมาตรฐานของ OpenAI เองมีสองตัว ได้แก่

  • Browsing: สำหรับการดึงข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาแสดง
  • Code Interpreter: สำหรับการรันโค้ด Python ที่ได้จากการแชต ผู้ใช้สามารถอัพโหลดไฟล์ใส่เข้าไปและดาวน์โหลดผลออกมาได้

ทาง OpenAI ยอมรับว่าการให้ปัญญาประดิษฐ์เชื่อมต่อกับโลกภายนอกนั้นอันตรายแต่ก็วางแนวทางป้องกันไว้หลายชั้น ปลั๊กอินที่ออกมามีทีมตรวจสอบดูความปลอดภัยก่อนที่จะเปิดให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน นอกจากนี้การเปิดบริการปลั๊กอินจะค่อยๆ เพิ่มผู้ใช้เป็นลำดับ ตัวปลั๊กอินของ OpenAI เองนั้นมีรายงานมาตรการจำกัดความเสี่ยงเอาไว้ เช่น โค้ด Python นั้นไม่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้เอง หรือ Browsing จะเชื่อไฟล์ robots.txt ว่าเว็บใดสามารถอ่านได้หรือไม่ได้

ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานสามารถลงชื่อรอคิวได้แล้ววันนี้

ที่มา – OpenAI

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133144

สมาคมนักเขียนบทอเมริกาเสนอ อนุญาตให้ AI เขียนบทหนังได้

แม้ในหลายอุตสาหกรรมจะแบนผลงานจาก AI แต่ดูเหมือนจะไม่ใช่สำหรับการเขียนบทภาพยนตร์ เมื่อสมาคมนักเขียนบทแห่งอเมริกา (WGA – Writers Guild of America) มีข้อเสนอที่อนุญาตให้ใช้ AI ในการเขียนบทภาพยนตร์ได้ โดยข้อเสนอของ WGA ระบุว่านักเขียนบทสามารถใช้ ChatGPT ในการเขียนสคริปต์ได้ รวมไปถึงทางสตูดิโอก็สามารถส่งสคริปต์ที่สร้างโดย AI และส่งต่อให้มนุษย์แก้ไขและเขียนซ้ำได้เช่นกัน

WGA ยังระบุอีกว่าข้อความที่สร้างขึ้นโดย AI ไม่ควรถูกพิจารณาว่าเป็นเนื้อหาวรรณกรรมหรือเนื้อหาต้นฉบับ เพราะถ้ามีการถูกสร้างจากแหล่งอ้างอิงข้อมูลอื่นที่เคยมีมา จะไม่ถือว่าเป็นเนื้อหาต้นฉบับ รวมไปถึง WGA ยังบอกอีกว่าให้ลดบทบาทของ AI ในการสร้างสิ่งใหม่ๆ น้อยลง แต่ให้เพิ่มการใช้ AI เพื่อเป็นเครื่องมือการทำงานมากขึ้น

ข้อเสนอดังกล่าว มีขึ้นในขณะที่กำลังจะเซ็นสัญญาฉบับใหม่กับ Alliance of Motion Picture and Television Producers สมาคมผู้ผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตามทาง WGA ก็ไม่ได้ปล่อยให้นักเขียนบทใช้ AI ได้อย่างอิสระ แต่ก็ต้องมีกฎในการควบคุมด้วย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ WGA ก็ได้เรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้งานของ AI ด้านงานเขียน รวมไปถึงก่อนหน้านี้รายงานจาก OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เคยคาดการณ์ว่าอาจจะมีแรงงานบางสายที่ได้รับผลกระทบจาก AI มากถึง 80% โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายงานด้านโปรแกรมเมอร์และนักเขียน

ที่มา: Variety

alt="WGA"

from:https://www.blognone.com/node/133138

Mozilla ประกาศตั้งกองทุน Mozilla.ai เพื่อส่งเสริมการสร้าง AI ที่เชื่อถือได้และโอเพนซอร์ส

Mozilla ประกาศตั้งกองทุน Mozilla.ai ด้วยเงิน 30 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมชุมชนสตาร์ทอัพ ในการสร้างระบบนิเวศ AI ที่เชื่อถือได้ เป็นอิสระ และโอเพนซอร์ส

Mark Surman ผู้อำนวยการ Mozilla Foundation กล่าวว่า ปี 2023 ผ่านไปแล้ว 3 เดือน ก็เป็นที่ชัดเจนว่าหนึ่งในหัวข้อใหญ่ของปีนี้คือ AI ซึ่งตอนนี้มีความสนใจในระดับเดียวกับ Netscape เมื่อปี 1994 และ iPhone เมื่อปี 2007 ตอนนี้ทุกคนต่างคิดว่า AI จะสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่เราก็สงสัยในอีกทางว่า AI จะทำงานผิดพลาดได้ไหม และเราจะรู้ได้อย่างว่ามีปัญหาแล้ว จึงเป็นที่มาของการตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการทำ AI ที่เชื่อถือได้

Moez Draief จะเป็นผู้ดูแลโครงการดังกล่าว โดยช่วงแรก Mozilla.ai จะโฟกัสที่การสร้าง AI ผลิตเนื้อหาหรือ Generative AI ให้ปลอดภัยและโปร่งใส รวมทั้งสร้างระบบแนะนำเนื้อหาแบบใช้คนเป็นศูนย์กลาง ที่ไม่ให้ข้อมูลบิดเบือน

ที่มา: Mozilla

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133129

GitHub เปิดตัว Copilot X เพื่อนคู่โปรแกรมเมอร์พลัง GPT-4 ถามได้ตั้งแต่โค้ดจนคำสั่ง command line

GitHub Copilot นับเป็นบริการตัวแรกที่ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ OpenAI อย่างจริงจังตั้งแต่สมัย GPT-2 ตอนนี้ทาง GitHub ก็เปิดตัว Copilot X บริการรุ่นอัพเกรดเพิ่มมาหลายฟีเจอร์ และบางฟีเจอร์ก็ใช้ GPT-4 ที่เพิ่งเปิดตัวมาแล้ว รายการฟีเจอร์ที่เพิ่มมาได้แก่

  • อินเทอร์เฟซแบบ ChatGPT: จากเดิม Copilot จะเติมโค้ดแบบ autocomplete เท่านั้น แต่เวอร์ชั่นใหม่สามารถพูดคุยสอบถาม เช่น ขอ testcase สำหรับโค้ดที่เขียนไปแล้ว หรือให้ช่วยปรับแก้โค้ดให้
  • Copilot for Pull Request: อ่านแพตช์ที่นักพัฒนาส่งเข้าไปแล้วเติมคำบรรยายให้โดยอัตโนมัติ รูปแบบนี้คล้ายกับก่อนหน้าที่มีนักพัฒนาทำแพ็กเกจ aicommit ช่วยคิดคำบรรยาย commit
  • ระบบถามตอบจากเอกสาร: โครงการใหญ่ๆ เช่น React, Azure Docs, และ MDN จะมีหน้าถามตอบเฉพาะเพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ไปอ่านเอกสารและตอบคำตอบมาให้ ตอนนี้ยังจำกัดเฉพาะบางโครงการและอนาคตจะเปิดให้ใช้กับเอกสารภายในได้ด้วย
  • ถามวิธีใช้คำสั่ง command line: ฟีเจอร์เพิ่มเติมของ GitHub CLI สามารถถามวิธีการใช้คำสั่งต่างๆ หรือขอคำสั่งตามที่ต้องการ สามารถสั่งรันได้ทันที

แม้จะเรียกชื่อรวมว่า GitHub Copilot X แต่ฟีเจอร์ต่างๆ ก็แยกจากกัน ต้องสมัครใช้งาน หรือเข้าคิวรอใช้งานแยกกัน

ที่มา – GitHub

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133125

Azure OpenAI เปิดให้บริการเช่าใช้งาน GPT-4 แล้ว

ไมโครซอฟท์เปิดบริการโมเดล GPT-4 บน Azure OpenAI Service อย่างรวดเร็ว คล้อยหลังการเปิดตัวของ OpenAI เพียงหนึ่งสัปดาห์

ค่าใช้บริการคิดเป็น token โดยแยกเป็น token ในการสั่งงาน (prompt) และการรันงานจนเสร็จ (completion) ราคาแบบรุ่นเล็ก (8k content) คือ 0.03 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (prompt) และ 0.06 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (completion) หากต้องการใช้รุ่นใหญ่ (32k content) ราคาจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

บริการ Azure OpenAI Service ให้บริการโมเดลของ OpenAI หลายตัว เช่น GPT-3.5, Dall-E 2, ChatGPT และล่าสุดคือ GPT-4

No Description

ที่มา – Microsoft Azure Blog

from:https://www.blognone.com/node/133122

Google ดึงทีมพัฒนา Google Assistant มาช่วยในการพัฒนา Bard

แม้ปัจจุบันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ของ Google Assistant และ Google Bard จะยังไม่ใช่ตัวเดียวกัน แต่ในการพัฒนา Bard ที่โมเดลประมวลผล LaMDA ทาง Google ก็มีการดึงทีมงานจาก Google Assistant ที่เชี่ยวชาญการทำ AI รูปแบบการสนทนาและการเข้าใจคำสั่งพูด (conversational AI and speech understanding) มาช่วยในการพัฒนา Bard ด้วย

อีกส่วนที่ทีม Google Assistant เชี่ยวชาญและเข้ามาช่วย คือการแปลงงานวิจัย ให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์และให้บริการจริงกับลูกค้าจำนวนมากมาหลายปี

อย่างการประกาศเปิดให้สมัครทดสอบใช้งาน Bard เมื่อคืนนี้ หนึ่งในคนที่ประกาศคือ Sissie Hsiao ตำแหน่ง Vice President and General Manager ของ Google Assistant

ที่มา – 9to5Google

Google Assistant

from:https://www.blognone.com/node/133119

Ubisoft เปิดตัว Ghostwriter เครื่องมือสร้างบทสนทนาในเกมด้วย AI

Ubisoft เปิดตัว Ghostwriter เครื่องมือ AI สำหรับสร้างบทสนทนาในเกม โดยเป็นผลงานจาก La Forge ฝ่ายวิจัยของบริษัทเอง

Ubisoft บอกว่า Ghostwriter ไม่ได้สร้างขึ้นมาให้นักเขียนบทเกมตกงาน แต่เข้ามาช่วยให้งานเขียนบทที่น่าเบื่อ (ในวงการนี้เรียกว่า bark เช่น คำพูดของตัวละคร NPC คุยกันเอง, คำพูดของศัตรูตอนต่อสู้กับเรา) ง่ายขึ้น เพื่อให้นักเขียนมีเวลาไปขัดเกลาบทสนทนาส่วนอื่นๆ ของเกม โดยเฉพาะพล็อตหลักของเรื่องให้ดีขึ้นแทน

Ghostwriter จะเข้ามาช่วยเขียน “ร่างแรก” ของบทสนทนาเหล่านี้ให้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของบทสนทนา ไม่เปลืองแรงของนักเขียนบทมากเกินไป แล้วนักเขียนค่อยมาปรับแก้ข้อความตัวอย่างในภายหลัง

วิธีการทำงานของ Ghostwriter คือให้นักเขียนสร้างตัวละครขึ้นมาก่อน กำหนดแนวทางการพูดคุยของตัวละครตัวนั้นเพื่อให้ AI สร้างข้อความขึ้นมาให้ จากนั้น Ghostwriter จะสร้างข้อความ 2 แบบขึ้นมาให้เลือก โดย AI จะเรียนรู้จากข้อความที่นักเขียนเลือกไปเรื่อยๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้สร้าง

No Description

ที่มา – Ubisoft

from:https://www.blognone.com/node/133115

Adobe เปิดตัว Firefly เครื่องมือ Generative AI สำหรับสร้างสรรค์รูปภาพ

Adobe เปิดตัว Firefly ชุดเครื่องมือใหม่สำหรับงานสร้างสรรค์เนื้อหาด้วย AI หรือ Generative AI ผ่านโมเดลหลากหลายรูปแบบ โดยโมเดลชุดแรกคือการสร้างรูปภาพ แบบเดียวกับ Midjourney และการใส่เอฟเฟกต์ให้ข้อความตัวหนังสือ

Firefly ตอนนี้ยังมีสถานะเบต้า โดยจะส่วนหนึ่งของ Adobe Sensei เครื่องมือสร้างสรรค์ด้วย AI ที่อยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ของ Adobe ตอนนี้รองรับเฉพาะการใช้งานผ่านเว็บเท่านั้น

Adobe ยังตอบประเด็นเรื่องรูปภาพที่ใช้เทรนซึ่งมีปัญหามาก่อนหน้านี้ ยืนยันว่าชุดข้อมูลที่นำมาเทรนเพื่อใช้สร้างรูปภาพ เป็นภาพจาก Adobe Stock ซึ่งได้ไลเซนส์มาถูกต้อง ภาพที่สร้างขึ้นจึงสามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้

ทั้งสองเครื่องมือนี้เปิดให้ทดลองใช้งานแล้วตั้งแต่วันนี้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก Creative Cloud แต่จะจำกัดจำนวนการใช้งานในตอนนี้

ที่มา: The Verge และ Adobe

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133111

Google เปิดให้สมัครทดสอบใช้งานแชทบ็อท Bard แล้ว – เฉพาะอเมริกาและอังกฤษก่อน

กูเกิลประกาศว่า Bard แชทบ็อท AI แบบเดียวกับ ChatGPT ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนก่อน ตอนนี้เปิดให้ใช้งานแบบจำกัดแล้ว โดยสามารถสมัครเพื่อรอใช้งานได้ทาง bard.google.com แต่ตอนนี้จำกัดเฉพาะในอเมริกาและอังกฤษก่อน ส่วนประเทศอื่น กูเกิลบอกว่าจะตามมาในอนาคต

กูเกิลบอกว่า Bard จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยออกความคิดสร้างสรรค์ และเติมเต็มทุกข้อสงสัย ซึ่งหลังจาก Bard ได้ทดสอบการใช้งานแบบจำกัดมาแล้วระยะหนึ่ง ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ Bard จะเปิดให้ใช้งานกับผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้นแล้ว

ในหน้าการใช้งาน Bard ก็แสดงข้อความกำกับแบบเดียวกับแชทบ็อทค่ายอื่นว่า Bard อาจให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นข้อมูลที่ไม่เหมาะสม ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นไม่ได้สะท้อนจากมุมมองของกูเกิลเอง อย่างไรก็ตาม Bard ยังรองรับการช่วยออกไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งสามารถกดเลือกรูปแบบที่ต้องการ และเชื่อมต่อไปยังเสิร์ชของกูเกิล เพื่อค้นหาข้อมูลต่อเนื่องได้อีกด้วย

ที่มา: กูเกิล

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133107