คลังเก็บป้ายกำกับ: NETWORK_MONITORING__ANALYZER

Cisco เพิ่ม Integration ระหว่าง Cisco AppDynamics และ ThousandEyes เสริมความสามารถ Observability

Cisco เพิ่ม Integration ระหว่าง Cisco AppDynamics และ ThousandEyes เสริมความสามารถ Observability

Cisco ได้ทำการเพิ่มการ Integration ระหว่าง Cisco AppDynamics ระบบ Application Observability และ ThousandEyes โซลูชัน Network Intelligence โดยการผสานการทำงานนี้เป็นแบบ 2 ทิศทาง ทั้งสองระบบสามารถแชร์ข้อมูลได้แบบ Real time ผ่านทาง OpenTelemetry-based รองรับการสร้างระบบ Observability แบบ Full-stack ที่ตรวจสอบการทำงานได้ทั้งระดับแอพพลิเคชันและระดับเครือข่ายพร้อมกัน

ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบภาพรวมการทำงานของแอพพลิเคชันได้จากศูนย์กลาง ช่วยลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆของระบบที่อาจกระทบการทำงานในอนาคตได้ ตอบโจทย์ทีมดูแลระบบขององค์กรไม่ว่าจะเป็น Infrastucture, Operations, Application Developers, SecOps และ DevSecOps

นอกจากนี้ ระบบยังสามารถส่งต่อข้อมูลไปยัง Smartlook โซลูชัน Real User Monitoring (RUM) ของ Cisco ได้อีกด้วย ช่วยให้องค์กรที่ต้องการทำ Customer Digital Experience Monitoring เห็นข้อมูลแบบ End-to-end ได้อย่างชัดเจนขึ้น

ที่มา: https://newsroom.cisco.com/c/r/newsroom/en/us/a/y2023/m05/cisco-accelerates-full-stack-observability-strategy-with-customer-digital-experience-monitoring.html

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-integrates-between-cisco-appdynamics-and-thousandeyes-to-enhances-observability-capability/

เข้าใจปัญหา แก้ไขตรงจุด อย่างรวดเร็วและชาญฉลาดด้วย Splunk Observability (O11Y)

Splunk  เป็นผลิตภัณฑ์ผู้นำวงการด้านการเก็บข้อมูล (Log Management) และ SIEM (Security Information & Event Management) โดยใช้การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Machine Data และ Artificial Intelligence เพื่อให้ทุกๆ องค์กรสามารถสร้าง สำหรับจัดเก็บข้อมูลและระบบรักษาความปลอดภัย ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจหรือระบบ IT และนำไปวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ 

Welcome to Splunk Observability Cloud

โดยปัจจุบันทาง Splunk ได้พัฒนาเสนอ solution เกี่ยวกับ การเฝ้าติดตามและแก้ไขปัญหาเต็มรูปแบบ ทั้งในส่วนของ Infrastructure,   Application  และ user interfaces ในลักษณะ แบบ real-time ซึ่งจะใช้ชื่อว่า “Splunk Observability Cloud” ซึ่งสามารถเรียกย่อได้ว่า”O11y” (Only)

Traditional Monitoring VS Observability

  1. Traditional Monitoring จะทำตรวจสอบปัญหาหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว แต่ Observability สามารถคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์โดยสามารถตรวจสอบปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันทวงที และยังสามารถตรวจสอบว่าใครควรมีส่วนร่วมเมื่อเกิดปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. Observability สามารมองเห็น Log ทั้งในส่วน ของ Infrastructure และ Application รวมถึง Log ที่ส่งเชื่อมต่อกันระหว่างสองส่วน แต่ Traditional Monitoring จะมองเห็น Log ดังกล่าว แยกกัน
  3. ในส่วนของการแจ้งเตือน Traditional Monitoring จะต้องดำเนินการตั้งค่าการแจ้งเตือนเอง แต่ Observability มี AI เพื่อช่วยเหลือในส่วนของ Alert เพื่อคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งแยกแยะผลกระทบและวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงก่อนที่ลูกค้าจะได้รับผลกระทบ 
  4. Observability ไม่มีการผูกติดกับผลิตภัณฑ์ใดๆ ทำให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับได้อย่างเต็มที่

Observability เป็นผลิตภัณฑ์ Cloud ทำงานที่มีความสามารถในการสังเกตการณ์แบบ End-to-end โดยประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ดังนี้ 

Splunk Infrastructure Monitoring (IM)

Splunk IM ทำหน้าที่รับข้อมูลเชิงลึกและดำเนินการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถเกี่ยวกับInfrastructure และ Environment โดยรองรับในระบบ Hybrid และ Multi-cloud ซึ่งทั้งนี้ Splunk IM ยังสามารถทำงานร่วมข้อมูลทุกประเภท เช่น การตรวจสอบสถานะ Application ที่ทำงานอยู่บน Infrastructure ดังกล่าว เป็นต้น

Splunk Application Performance Monitoring (APM)

Splunk APM สามารรับข้อมูล Traces และ Spans ของ Application ผ่าน Open Telemetry เพื่อตรวจสอบการทำงานของ Application ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นการตรวจสอบแบบต่อเนื่องในการทำงานของ Application รวมถึงระยะเวลาที่เกิดขึ้นเพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ยังมีวิเคราะห์ทุกช่วงและการติดตามจากแต่ละการทำงาน (Services) เพื่อให้สามารถตรวจสอบการทำงานพร้อมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแม่นย

Splunk Real User Monitoring (RUM)

Splunk RUM ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของผู้ใช้งานจริง (User) บน Application โดย Splunk RUM ทำการรวบรวม Performance Metrics, Web Vitals, Errors และข้อมูลรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้คุณสามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาของ Application ตรวจวัดประสิทธิภาพของ Application โดยการประเมินประสิทธิภาพของผู้ใช้งานจริงทั้งในส่วนของ Web Application และ Mobile Application

Splunk Synthetic Monitoring

Splunk Synthetics Monitoring เป็นแพลตฟอร์มในการวัดประสิทธิภาพของคุณสมบัติบนเว็บแบบสังเคราะห์ มีคุณลักษณะที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพเวลาทำงานและประสิทธิภาพของ API จุดสิ้นสุดของบริการ และประสบการณ์ของผู้ใช้ปลายทาง และป้องกันปัญหาประสิทธิภาพการทำงานของเว็บ

Splunk On-Call

Splunk On-Call เป็น Incident Response ซอฟต์แวร์สำหรับ Mobile Application  ที่ทำหน้าที่ Aligns Log Management, Monitoring, Chat Tools และในส่วนอื่นๆ เพื่อทำการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ ไปยังบุคคลที่รับผิดชอบโดยตรง

Splunk IT Service Intelligence

Splunk IT Service Intelligence (ITSI) เป็นโซลูชันการดำเนินงานด้านไอทีระดับพรีเมียมที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเกี่ยวกับประสิทธิภาพและพฤติกรรมของบริการด้านไอที โดยการทำงานดังกล่าว สามารถรวบรวม Log ทั้งในส่วนของ Cloud และ On-prem เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั้งระบบที่ต้องการ

ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการติดตั้ง ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว Splunk ได้จัดเตรียม Prepackaged Content อย่างเช่น KPI-Based Searches, Service Templates, Saved Glass Tables เพื่อสามารถในไปใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

Diagram ดังกล่าวแสดงมุมมองแบบ High-Level ของแต่ละผลิตภัณฑ์ Splunk Observability Cloud แบบ Full Stack

สนใจโซลูชันติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่

MFEC Public Company Limited
Piamnatda Guntawong
Senior Presale Consultant
Email: piamnatda@mfec.co.th
Tel: 083-566-8798

หรือ

Westcon Group (Thailand) Co., Ltd. (Head Office)
Maysaya Wongvanichapun
Product Manager
Email: Splunk.th@westcon.com
Tel: 095-465-0954

from:https://www.techtalkthai.com/splunk-observability-cloud-o11y-introduction/

[สัมภาษณ์] Gigamon กับวิสัยทัศน์ Deep Observability ตอบโจทย์ Cybersecurity และ Monitoring บน Multi-Cloud สำหรับธุรกิจองค์กร

ที่ผ่านมาหลาย ๆ คนคงเคยมีโอกาสได้ยินชื่อของ Gigamon ในฐานะของผู้พัฒนาโซลูชัน Network Tapping และ Observability ชั้นนำ ที่สามารถตอบโจทย์การนำข้อมูล Traffic ภายในระบบเครือข่ายออกมาทำการวิเคราะห์ตรวจสอบได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย ช่วยให้ระบบเครือข่ายภายในองค์กรมีความโปร่งใส ง่ายต่อการตรวจสอบ และตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วพร้อมหลักฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน

อย่างไรก็ดี เมื่อ Cloud ได้เข้ามามีบทบาทภายในธุรกิจองค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับธุรกิจองค์กรหลายแห่งที่มุ่งเน้นความสำคัญด้าน Cybersecurity ก็คือการขาดความสามารถในการตรวจสอบวิเคราะห์ Traffic ที่เกิดขึ้นบนระบบ Cloud อย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็น Traffic ภายในระบบ Cloud หรือ Traffic ที่ถูกส่งออกไปยังผู้ใช้งานก็ตาม

Gigamon ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ และได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อคิดค้นวิจัยพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับตอบโจทย์ด้านการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล Network Traffic บน Cloud เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ สามารถเปิดรับต่อกลยุทธ์ด้าน Multi-Cloud ได้อย่างมั่นใจ

ในบทความนี้ ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณ Shane Buckley ผู้ดำรงตำแหน่ง President และ CEO แห่ง Gigamon ที่เดินทางมาเยี่ยมเยียนประเทศไทย พร้อมทีมงานผู้บริหารของ Gigamon ทั้งในไทยและในระดับภูมิภาค จึงขอนำสรุปประเด็นที่น่าสนใจจากการพูดคุยในครั้งนี้เอาไว้ดังนี้ครับ

คุณ Shane Buckley, President และ CEO แห่ง Gigamon

18 ปี จากผู้นำด้าน Network Tapping สู่การเป็น Deep Observability ของ Gigamon

คุณ Shane ได้เริ่มต้นการพูดคุยด้วยการย้อนอดีตของ Gigamon ให้เราได้เห็นภาพของ Gigamon ในก้าวแรกตั้งแต่เมื่อปี 2004 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชัน Network Tapping สำหรับการนำข้อมูล Network Traffic ที่เกิดขึ้นภายในระบบเครือข่ายออกมาทำการวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัย โดยไม่กระทบกับประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญในสมัยนั้น

หลังจากนั้น Gigamon ก็ได้พัฒนาโซลูชันต่อยอดมาสู่การเป็น Network Packet Broker ที่ไม่ได้ทำได้เพียงแค่การ Mirror Traffic ออกมาจากระบบเครือข่ายเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความชาญฉลาดเข้าไปในโซลูชัน เพื่อให้สามารถจำแนกประเภทของ Traffic, จัดแบ่งหมวดหมู่ของ Traffic, จัดเรียงปรับแต่ง Format ของข้อมูล Traffic ก่อนจะนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังระบบวิเคราะห์ต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม

จวบจนปัจจุบัน Gigamon ได้ก้าวสู่ภาพของการเป็นผู้พัฒนาระบบ Deep Observability Pipeline อย่างเต็มตัว ด้วยโซลูชัน Gigamon Hawk ที่มีความสามารถครอบคลุมการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล Network Traffic ได้จากทั้ง Data Center ภายในองค์กร, บนบริการ Cloud ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการการตรวจสอบข้อมูล Network Traffic เหล่านี้ได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่า Traffic เหล่านั้นจะเกิดขึ้นบนสถาปัตยกรรมระบบในรูปแบบใดก็ตาม

ทุกวันนี้ Gigamon ได้กลายเป็นผู้พัฒนาโซลูชันด้านนี้อันดับหนึ่งของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาด 38% โดยมีสาขา 20 แห่งในประเทศต่าง ๆ และมีลูกค้ารวมกว่า 4,000 องค์กร ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มภาคการเงิน, พลังงาน, ภาครัฐ และผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งภายใน Fortune 100 นั้นก็เป็นลูกค้าของ Gigamon มากถึง 83 ราย

เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก ด้วยความสามารถที่ช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนเทคโนโลยีขององค์กร และประเมิน ROI ได้อย่างง่ายดาย

คุณ Shane ได้เล่าถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับ Gigamon โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการเติบโตมากกว่าเท่าตัว ว่าเกิดขึ้นจากการที่โซลูชันของ Gigamon นั้นมีการพัฒนาที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถประเมิน Return on Investment หรือ ROI ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ธุรกิจองค์กรหลายแห่งตัดสินใจได้ไม่ยากในการลงทุนใช้งาน Gigamon ภายในระบบ IT Infrastructure ของตนเอง

กรณีที่เกิดการใช้งาน Gigamon มากที่สุดในทุกวันนี้ ก็คือการวางระบบ Network Packet Broker เพื่อทำการสำเนาข้อมูล Network Traffic ที่เกิดขึ้นทั้งหมดออกมา ก่อนที่จะทำการคัดกรองแบ่งส่วนข้อมูลให้เหมาะสมกับระบบ Network & Security Analytics แต่ละระบบที่ธุรกิจองค์กรมีอย่างหลากหลาย และนำส่งเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งจำเป็นต่อการวิเคราะห์สำหรับแต่ละระบบไปเท่านั้น ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้จะสามารถสร้างความคุ้มค่าให้กับองค์กรได้อย่างชัดเจน ดังนี้

  • การลดค่า License ที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับแต่ละระบบ Network & Security Analytics ลงได้อย่างมหาศาล ด้วยการที่ Gigamon ทำการคัดกรองนำเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งต่อไปยังแต่ละระบบเท่านั้น
  • การลดค่าใช้จ่ายด้าน Hardware หรือ Cloud สำหรับแต่ละระบบ Network & Security Analytics จากการที่ระบบเหล่านี้เหลือ Traffic ที่ต้องทำการประมวลผลน้อยลง
  • ความยืดหยุ่นในการเลือกใช้โซลูชัน Network & Security Analytics ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้ตามต้องการ และสามารถติดตั้งใช้งานได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเครือข่าย และทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าในอดีต จากความสามารถของ Gigamon ที่เปลี่ยนให้ระบบ Network Infrastructure นั้นพร้อมต่อการถูกนำข้อมูล Traffic ไปตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น

ด้วยคุณค่าเหล่านี้ที่ Gigamon ได้สร้างให้กับธุรกิจองค์กร ทำให้การประเมิน ROI นั้นเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้าน License และ Hardware ของระบบที่มีอยู่เดิมซึ่งสามารถลดลงได้จากการใช้ Gigamon ไปจนถึงความรวดเร็วในการติดตั้งระบบใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนแปลงการตรวจสอบข้อมูล Traffic ในเครือข่ายได้อย่างทันท่วงทีตามความต้องการ ทั้งหมดนี้ทำให้เมื่อการลงทุนสามารถสะท้อนออกมาเป็นความคุ้มค่าได้อย่างชัดเจนแล้ว การตัดสินใจลงทุนใช้งาน Gigamon จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายดายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

วิเคราะห์ข้อมูล Network Traffic ของ Cloud และ OT: เทรนด์ใหญ่ของธุรกิจองค์กรในอนาคต

นอกจากนี้ คุณ Shane และทีมผู้บริหารของ Gigamon ก็ยังได้เล่าถึงอีกเทรนด์ใหญ่ในอนาคต ก็คือการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล Network Traffic บน Cloud และสำหรับระบบ OT และ IoT ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของธุรกิจองค์กรในการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสองกลุ่มนี้

การใช้งาน Cloud ที่ได้กลายเป็นมาตรฐานของธุรกิจองค์กรทุกแห่งนั้นได้ผ่านสถานะของการใช้งานเพื่อสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ มาสู่การบริหารจัดการ Cloud Infrastructure ให้มีความมั่นคงปลอดภัยสูงขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจแล้ว และ Gigamon ก็ได้ทุ่มงบในการวิจัยต่อปีมากกว่า 20% เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและจดสิทธิบัตรในการติดตาม Network Traffic บน Cloud อย่างจริงจัง ทำให้ทุกวันนี้ โซลูชันของ Gigamon สามารถใช้งานร่วมกับผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำทั่วโลกและผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้าน Virtualization / Private Cloud ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft Azure, Google Cloud, Kubernetes, Nutanix, OpenStack หรือแม้แต่ VMware ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ IT และ Cybersecurity สามารถติดตามและตรวจสอบ Network Traffic บน Cloud ได้ไม่ต่างจากระบบ IT อื่นๆ ในองค์กร

ทั้งนี้ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการติดตาม Network Traffic บน Cloud เพื่อนำไปวิเคราะห์บนระบบอื่นๆ นั้น มักมีข้อจำกัดด้านปริมาณ Traffic ที่เกิดขึ้นซึ่งจะถูกสะท้อนกลับมาเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ทาง Gigamon จึงได้พัฒนาเทคโนโลยีเสริมเพื่อคัดกรองเฉพาะ Metadata ที่จำเป็น นำมาสรุปเป็น Format ที่พร้อมนำไปใช้งานและมีขนาดเล็กลงอย่างมาก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้กับธุรกิจที่มุ่งเน้นการใช้ Cloud เป็นหลักได้

ส่วนทางด้านของระบบ OT และ IoT นั้น ทาง Gigamon ก็ได้เห็นถึงแนวโน้มของ Traffic จากอุปกรณ์เหล่านี้ที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่ง Gigamon ก็สามารถนำ Traffic ของอุปกรณ์เหล่านี้ที่ถูกแปลงมาให้อยู่ในระบบเครือข่ายเพื่อนำไปส่งต่อสำหรับทำการวิเคราะห์และตรวจสอบได้เช่นกัน ซึ่งแนวทางเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่อุปกรณ์ OT และ IoT นั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นในทุก ๆ ปี และอุปกรณ์เหล่านี้ก็ไม่ได้มีความสามารถด้าน Security ในตัวเพื่อปกป้องตัวเองกันมากนัก ดังนั้นการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามให้กับระบบ OT และ IoT ด้วยการตรวจสอบ Network Traffic อย่างเข้มข้นจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืดหยุ่นรองรับอุปกรณ์หลากหลายชนิดได้ในแนวทางเดียวกัน

เตรียมขยายตลาด SaaS มุ่งให้บริการ Cloud NDR สำหรับธุรกิจองค์กรทั่วโลก

สุดท้าย คุณ Shane ได้เล่าถึงโซลูชันใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวมาอย่าง Gigamon ThreatINSIGHT ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากธุรกิจองค์กรทั่วโลก ในฐานะของบริการ Cloud Network Detection & Response (Cloud NDR) ในรูปแบบ Software-as-a-Service (SaaS) ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ด้าน Cybersecurity ให้กับธุรกิจองค์กรได้หลากหลายแง่มุม เช่น

  • การตรวจสอบและวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยในระบบเครือข่ายภายในองค์กรและบน Cloud ได้แบบ Real-Time
  • การเริ่มต้นใช้งานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วผ่านบริการในรูปแบบ SaaS
  • การมีระบบ AI, Machine Learning สำหรับทำการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ พร้อมทีมงาน Gigamon ที่จะคอยทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยให้ ตอบโจทย์ธุรกิจที่เผชิญปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้าน Cybersecurity ในองค์กรได้เป็นอย่างดี

ในมุมของธุรกิจองค์กร การใช้งาน Gigamon ThreatINSIGHT นี้จะช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยในระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังสามารถเสริมความสามารถให้กับ Security Operations Center หรือ SOC ที่ใช้งานอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเพิ่ม Visibility ให้กับ Network Traffic ในทุกจุดสำคัญของธุรกิจ และการตรวจจับเฝ้าระวังภัยคุกคามได้อย่างสะดวกและง่ายดายนั่นเอง

from:https://www.techtalkthai.com/interview-gigamon-the-vision-of-deep-observability-to-meets-cybersecurity-needs-and-monitoring-on-multi-cloud-for-corporate-businesses/

TTT 2022 Reinforce: ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Network Modernization โดย HPE Aruba

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ต่างๆ ได้ทำให้ธุรกิจนั้นต้องเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการทำงานรูปแบบใหม่อย่าง Remote Working และ Hybrid Working ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลให้ธุรกิจนั้นต้องวางแผนใหม่สำหรับระบบเครือข่าย ให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอันไม่คาดฝันในอนาคตกันต่อไป

คุณประคุณ เลาหกิตติกุล Country Manager (Thailand) แห่ง HPE Aruba ได้มาเล่าถึงหัวข้อ “Accelerate Your Business with Network Modernization” ภายในงานสัมมนา TTT 2022 Reinforce ที่ผ่านมา ถึงความจำเป็นและแนวทางในการทำ Network Modernization อย่างเข้มข้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางระบบเครือข่ายซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในอนาคตเป็นอย่างน้อย 4-5 ปีนับถัดจากนี้

4 เป้าหมายหลักของการทำ Network Modernization

คุณประคุณได้เล่าว่าในการทำ Network Modernization นั้น ธุรกิจองค์กรมักมีเป้าหมายหลักด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่

  1. Hybrid Work – การทำงานแบบผสมผสานทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยประสบการณ์เดียวกัน และความมั่นคงปลอดภัยในระดับสูงที่ไว้วางใจได้
  2. Digital Transformation Acceleration – เร่งความเร็วในการปรับตัวของธุรกิจ รองรับการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้งานเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของธุรกิจได้
  3. Personalized Experiences – นำเสนอประสบการณ์เฉพาะบุคคลให้กับผู้ใช้งานได้ตั้งแต่ระดับของเครือข่าย, ข้อมูล และ Application อย่างครบถ้วน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  4. Need for Efficiencies – ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเกิดขึ้นของธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้บุคลากรฝ่าย IT จำนวนเท่าเดิมในการบริหารจัดการกับเทคโนโลยีที่มีการใช้งานมากขึ้นได้

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ประการนี้ได้ คุณสมบัติของระบบเครือข่ายแห่งอนาคตจึงต้องครอบคลุมถึงทั้งการทำ Automation เพื่อลดความผิดพลาดในการทำงาน และช่วยให้ทรัพยากรฝ่าย IT สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนได้ Security ซึ่งถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่าย เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้นไปอีกขั้น และ Agility มีความยืดหยุ่นรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นจากการมาของเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างทันท่วงที

ปรับระบบเครือข่ายให้ทันสมัยด้วย Aruba ESP Solutions

คุณประคุณได้สรุปถึงเทคโนโลยีทั้งหมดที่ HPE Aruba ได้ทำการคิดค้น พัฒนา และนำเสนอสู่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมานี้ ด้วยภาพของ Aruba ESP หรือ Edge Services Platform ที่จะเปลี่ยนให้ Network นั้นกลายเป็น Platform สำคัญทั้งสำหรับการทำงานและส่งมอบประสบการณ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ไปยังผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งมีแนวคิดหลักด้วยกัน 3 ประการ

1. Unified Infrastructure

ผสานรวมระบบ Wired, Wireless และ SD-WAN รวมถึงระบบเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT เข้าเป็นหนึ่งเดียวภายในระบบเครือข่าย โดยสามารถเลือกวิธีการบริหารจัดการได้ทั้งบน Cloud, Centralized หรือแม้แต่ Standalone

2. Security

HPE Aruba นั้นได้ผสานระบบ Security ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายตั้งแต่แรก และในทุกวันนี้ก็ได้เพิ่มเรื่องของการทำ Automation เข้าไปด้วย เพื่อให้ Security กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม

3. AIOps

ด้วยปริมาณของอุปกรณ์เครือข่ายที่มากยิ่งขึ้น ในขณะที่แต่ละองค์กรนั้นไม่ได้มีทีมผู้ดูแลระบบมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายต้องรับภาระในการดูแลรักษาระบบ IT ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำ AIOps เข้ามาช่วย เพื่อให้การบริหารจัดการระบบเหล่านี้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

คุณประคุณได้เล่าถึงกรณีของลูกค้ารายหนึ่ง ที่ย้ายการบริหารจัดการระบบเครือข่ายจากเดิมที่แยกส่วนอยู่ภายในองค์กร ไปอยู่บน Cloud ของ Aruba โดยตรง ทำให้ข้อมูลของระบบเครือข่ายทั้งหมดในส่วนของ Wired, Wireless และ SD-WAN ถูกรวมอยู่ที่เดียวบน Cloud และ AIOps ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ตรวจสอบปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ช่วยให้ลูกค้าของ HPE Aruba ในประเทศไทยสามารถจัดการกับปัญหาภายในระบบเครือข่ายได้อย่างทันท่วงที

ความสามารถใหม่ในระบบเครือข่ายที่น่าจับตามองจาก HPE Aruba

เมื่อมองไปถึงอนาคต คุณประคุณก็ได้เล่าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นภายใน HPE Aruba ที่หลายส่วนก็ได้กลายเป็นฟีเจอร์ใหม่ๆ ในโซลูชันให้พร้อมใช้งานได้แล้ว ได้แก่

1. Aruba CloudAuth

เมื่อธุรกิจองค์กรนั้นมีการใช้งาน Cloud มากขึ้นเรื่อยๆ แนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือการใช้ Cloud ให้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด และ HPE Aruba เองก็กำลังมุ่งไปทางนั้นด้วยเช่นกัน โดยความสามารถหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Aruba CloudAuth นั่นเอง

Aruba CloudAuth คือการยกระบบ Network Authentication ขึ้นไปอยู่บน Cloud ด้วยการทำงานร่วมกับ Microsoft Azure AD และ Google Workspace ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และทำหน้าที่เป็น Cloud Managed NAC ได้ทันที ซึ่งที่ผ่านมาก็มีลูกค้าในไทยใช้งานอยู่แล้วด้วยเช่นกัน

2. Wi-Fi 6E

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรรองรับต่อการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับ Workload ใหม่ๆ ในระบบเครือข่ายได้อย่างเพียงพอ Aruba จึงได้นำ Wi-Fi 6E มานำเสนอในการตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะ

Wi-Fi 6E นั้นได้ทำการพัฒนาต่อยอดจาก Wi-Fi 6 ที่รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ปริมาณมหาศาลได้โดยส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพน้อยกว่าในอดีตมาก โดย Wi-Fi 6E ได้เพิ่มย่านความถี่ 6GHz เข้ามาด้วยเพื่อให้การเชื่อมต่อเครือข่ายรองรับอุปกรณ์และ Bandwidth ได้มากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการใช้เพียงแค่ 2.4GHz และ 5GHz ที่ใช้กันอยู่เดิม

อย่างไรก็ดี สำหรับในประเทศไทยก็ยังคงต้องติดตามต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง จากกฎหมายที่ต้องรอให้ระบุชัดเจนว่าจะสามารถใช้ย่านความถี่ 6GHz ได้มากน้อยเพียงใด

3. IoT

HPE Aruba นั้นมีวิสัยทัศน์ที่นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ Network Platform ไปสู่การเป็น IoT Platform ด้วย ทำให้ Access Point ของ Aruba นั้นสามารถให้บริการ BLE และ ZigBee เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้ รวมถึงยังสามารถติดตั้ง USB ที่เป็น Sensor เพิ่มเติมเข้าไปบน Access Point โดยตรงได้ด้วย

นอกจากนี้ Aruba ก็ยังเปิด API ให้ผู้ใช้งานสามารถทำการเชื่อมต่อนำ RFID Tag ใดๆ ก็ได้มาใช้งาน โดยใช้ Aruba Access Point ทำหน้าที่ในการอ่านค่าการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังระบบประมวลผลอื่นๆ ทำให้สามารถพัฒนา Application ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของ Location Services

4. Open Locate

เมื่อ Aruba เปิดให้การทำ Location Services Application ง่ายดายมากยิ่งขึ้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ Aruba เสริมขึ้นมาก็คือการติดตั้ง GPS ลงไปใน Access Point โดยตรง ทำให้ Access Point ทั้งหมดมีข้อมูลพิกัดตำแหน่งที่แม่นยำ และนำข้อมูลพิกัดตำแหน่งนี้ไปใช้ใน Location Services ได้อย่างแม่นยำระดับความคลาดเคลื่อนเพียงแค่ 1 เมตรเท่านั้น

5. Zero Trust

จากเทรนด์ใหญ่ด้าน Zero Trust ที่กำลังกลายเป็นกระแสหลักของธุรกิจองค์กร HPE Aruba ก็ได้นำแนวคิดนี้มาพัฒนาเป็น Aruba Zero Trust Protection สามารถกำหนด Policy ให้กับทุกๆ การเชื่อมต่อและแบ่งหมวดหมู่นโยบายสำหรับอุปกรณ์แต่ละชนิด, ผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม ด้วยแนวคิด Aruba Dynamic Segmentation ที่สามารถจัดการ Security Policy ให้ระบบเครือข่ายทั้งหมดได้อย่างครอบคลุม

6. 4th Generation Data Center

ปัจจุบันนี้ 3rd Generation Data Center ที่ใช้แนวคิดของ Data Center Fabric บนสถาปัตยกรรมแบบ Leaf-Spine เพื่อรองรับการรับส่งข้อมูลระหว่าง Server ภายใน Data Center ดว้ยกันเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ก็เริ่มเจอปัญหาในการใช้งานจริงแล้ว จากการที่เมื่อ Data Center มีขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ Network Services และ Security Services บางส่วนกลับยังไม่ถูกผนวกรวมเข้าไปใน Fabric และกลายเป็นคอขวด

4th Generation Data Center จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อนำ Network Services และ Security Services เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์เครือข่ายโดยตรง โดย HPE Aruba ได้จับมือกับ Pensando เพื่อนำหน่วยประมวลผลเฉพาะทางด้าน Network และ Security มาใช้งานภายใน Aruba CX10000 ทำให้ภายใน Data Center Fabric มีความสามารถทุกอย่างที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และไม่เกิดคอขวดในแบบเดิมๆ อีกต่อไป

7. Unified SD-WAN Fabric

ด้วยกรณีการใช้งานของ SD-WAN ที่มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ Application และ Data ถูกย้ายไปอยู่บน Cloud จำนวนมาก และผู้ใช้งานมีการใช้งานทั้งจากในแบบ Remote Work จากบ้านแต่ละหลังหรืออุปกรณ์แต่ละชิ้น, การมีออฟฟิศขนาดเล็กที่บ้าน, ออฟฟิศสาขาขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ SD-WAN ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก

HPE Aruba ได้เข้าซื้อกิจการของ Silver Peak มา และนำจุดเด่นของ Silver Peak อย่างเช่นการทำ WAN Optimization เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อไปยังบริการ Cloud ต่างๆ ที่ธุรกิจมีการใช้งาน อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาต่อยอดด้าน Security จนได้รับ ICSA Labs Secure SD-WAN Certification มาแล้วเป็นรายแรกของโลก

8. Network Assurance

เมื่อการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของทุกระบบ IT แน่นอนว่าระบบ Network เองก็ต้องตอบสนองในส่วนนี้ด้วย ซึ่ง Aruba UXI ก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้ด้วยการนำ UXI Agent/Sensor มาทำหน้าที่จำลองพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ในการเชื่อมต่อ Wi-Fi หรือ LAN แล้วทำการเชื่อมต่อไปยัง Cloud Application ที่ธุรกิจองค์กรใช้ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลด้านประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ และตรวจสอบแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

9. Network-as-a-Service (NaaS)

ด้วยวิสัยทัศน์ของ HPE ที่ต้องการเปลี่ยน CapEx ในการลงทุน Server และ Storage มาสู่การเช่าใช้งานแบบ OpEx ภายใต้บริการ HPE GreenLake ทำให้ HPE Aruba เองก็ปรับตัวไปสู่ทิศทางเดียวกัน ด้วยบริการ HPE GreenLake for Aruba ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกใช้งานระบบเครือข่ายในแบบ OpEx ได้แล้ว และรองรับกรณีการใช้งานดังนี้

  • Indoor Wireless aaS
  • Outdoor Wireless aaS
  • Remote Wireless aaS
  • Wired Access aaS
  • Wired Aggregation aaS
  • Wired Core aaS
  • SD-Branch aaS
  • UXI aaS

ทาง IDC นั้นได้มีผลสำรวจว่า 69% ของธุรกิจองค์กรนั้นได้เริ่มใช้งาน NaaS หรือมีแผนจะใช้งานภายในอีก 2 ปีนับถัดจากนี้แล้ว ก็ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ท่านใดสนใจโซลูชัน HPE Aruba หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ คุณนวรัตน์ จิตรตระการวงศ์ อีเมล nawarat.ch@hpe.com

from:https://www.techtalkthai.com/ttt-2022-reinforce-network-modernization-by-hpe-aruba/

SolarWinds เปิดตัว Observability Platform ทำงานแบบ Cloud-native

SolarWinds ประกาศเปิดตัว SolarWinds Observability ทำงานแบบ Cloud-native รองรับการตรวจสอบทั้ง Hybrid Cloud และ Multi-cloud

SolarWinds Observability ช่วยให้ทีม IT Ops และ DevOps ในองค์กรสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆที่อยู่ภายใน IT Environment ได้อย่างครอบคลุม โดยรองรับการตรวจสอบในด้านต่างๆ เช่น Network, Infrastructure, Systems, Application, Database, Digital Experience และ Log Monitoring ภายในโซลูชันเดียว และรองรับการตรวจสอบทั้งบน Private Cloud และ Public Cloud โดยโซลูชันนี้มีการใช้งาน AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยในด้านการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

SolarWinds Observability ออกแบบมาให้ทำงานบน Cloud เพื่อรองรับการใช้งานแบบ Hybrid IT หรือ Remote Workforce ปัจจุบันรองรับการใช้งานบน Microsoft Azure และ Amazon Web Services

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.solarwinds.com/solarwinds-observability

ที่มา: https://siliconangle.com/2022/10/19/solarwinds-launches-new-cloud-native-saas-visibility-platform/

from:https://www.techtalkthai.com/solarwinds-launches-new-observability-platform-runs-on-cloud-native/

[Guest Post] Aruba เผยเทคโนโลยีใหม่ Ultra Tri-Band Filtering แก้โจทย์การผสานช่องว่าง (ขนาดเล็ก) ระหว่างย่านความถี่ 5GHz และ 6GHz

มาตรฐาน Wi-Fi 6E ได้ช่วยเพิ่มการใช้งานย่านความถี่แบบ Unlicensed ให้เกิดการใช้งานได้ด้วยการนำความถี่ 6GHz มาเสริม ส่งผลให้ Wi-Fi สามารถรองรับการใช้งานเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ความท้าทายของ Wi-Fi 6E นั้นก็คือการที่ย่านความถี่ 6GHz และ 5GHz นั้นอยู่ติดกัน (โดยมีช่องว่างเพียงแค่ 50MHz เท่านั้น) เทคโนโลยีในการกรองสัญญาณย่านความถี่ในอดีตจึงไม่สามารถแยกย่านความถี่สองย่านนี้ออกจากกันได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นได้ถูกออกแบบมาโดยระบุว่าจะต้องมีช่องว่างระหว่างย่านความถี่ที่มากกว่านี้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมจึงอาจต้องสูญเสียความยืดหยุ่นในการใช้งานย่านความถี่ 6GHz ไปบางส่วน

ความท้าทายของ Wi-Fi 6E: การกรองแยกสัญญาณระหว่างย่านความถี่ 5GHz และ 6GHz

เทคโนโลยี Bandpass Filter แบบดั้งเดิมนั้นไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้เนื่องจากมีการคัดกรองที่หยาบเกินไป และอาจทำให้สูญเสียช่องสัญญาณบนย่านความถี่ 6GHz ไปถึง 1/3 ในภูมิภาค AMEA และ 10% ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ปัจจัยนี้เองจึงเป็นสาเหตุที่ชัดเจนว่าเทคโนโลยีการกรองสัญญาณความถี่วิทยุนั้นจึงต้องทำงานได้ละเอียดมากขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการรบกวนกันของสัญญาณให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ช่องความถี่เหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

เนื้อหาในบทความนี้จะครอบคลุมถึงการทบทวนว่า Bandpass Filter คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างที่พบจริงในการใช้งาน Aruba Access Point และปิดท้ายด้วยการเล่าถึงนวัตกรรม Bandpass Filtering Technology ใหม่จาก Aruba อย่าง Ultra Tri-Band (UTB) นอกจากนี้ คุณยังสามารถเรียนรู้เริ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน Wi-Fi 6E AP ล่าสุดอย่าง 650 Series Campus Access Point ที่เพิ่งประกาศเปิดตัวออกมาได้

Bandpass Filter คืออะไร?

Bandpass Filter คืออุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ และติดตั้งอยู่ระหว่างเสารับส่งสัญญาณกับระบบประมวลผลคลื่นวิทยุ เพื่อคัดกรองย่านความถี่ที่ต้องการและกำจัดสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการออกไป

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ลองจินตนาการถึงช่องว่างระหว่างกำแพงสองกำแพง เมื่อมีคลื่นน้ำกำลังมุ่งหน้าไปยังกำแพงเหล่านี้ น้ำส่วนใหญ่จะไม่สามารถผ่านกำแพงไปได้ยกเว้นว่าจะมีช่องว่างระหว่างกำแพง และนี่ก็คือสิ่งที่ Bandpass Filter ทำ ดังนั้นถ้าหากความถี่นั้นสูงหรือต่ำเกินกว่าที่เราต้องการ สัญญาณบนย่านความถี่เหล่านั้นก็จะไม่สามารถผ่านไปได้

นอกจากนี้ Bandpass Filter ก็ยังมีอีกบทบาทสำคัญ โดยเมื่อระบบประมวลผลคลื่นวิทยุทำการส่งสัญญาณ ก็จะมีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้น ดังนั้นระบบประมวลผลคลื่นวิทยุอื่นๆ สำหรับย่านความถี่อื่นใน Access Point เดียวกันก็จะต้องทำการกรองสัญญาณเหล่านี้ออกไป เพราะถ้าหากไม่มีการกรองใดๆ แล้ว สัญญาณเหล่านี้ก็จะส่งผลลบต่อประสิทธิภาพของระบบ

ปูพื้นประวัติศาสตร์: เทคนิคในการกรองสัญญาณที่ Aruba เคยใช้งาน

ภายใน Aruba Access Point นั้นจะมีตัวอย่างเทคนิคการกรองสัญญาณด้วยกัน 2 แบบที่สามารถป้องกันการรบกวนกันในย่านความถี่ที่อยู่ติดกันและภายในย่านความถี่เดียวกันได้ ซึ่งเทคนิคนี้ไม่ได้ถูกใช้ในการจัดการกับย่านความถี่ 6GHz แต่อย่างใด แต่ถูกใช้งานในย่านความถี่ 2.4GHz

Advanced IoT Coexistence (AIC) จะทำให้ Wi-Fi และสัญญาณจาก IoT สามารถทำงานได้พร้อมกันในย่านความถี่ 2.4GHz โดย AIC จะใช้การกรองสัญญาณเพื่อป้องกันการซ้อนทับจากสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นจาก Wi-Fi ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัญญาณของ IoT โดยสัญญาณวิทยุของ Internet of Things (IoT) จะให้บริการในส่วนของ BLE หรือ Zigbee นั่นเอง

Advanced Cellular Coexistence (ACC) จะกรองสัญญาณที่เหนือกว่าและต่ำกว่าย่านความถี่ 2.4GHz สำหรับ Wi-Fi เพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่าง Access Point และอุปกรณ์จ่ายสัญญาณ Cellular ขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งอยู่ใกล้กัน ดังนั้น ACC จึงปกป้อง Wi-Fi จากการรบกวนกันที่เกิดขึ้นจากระบบ Cellular Distributed Antenna โดยเฉพาะ

ปัญหาของวิธีการกรองสัญญาณแบบดั้งเดิมในการใช้งานกับย่านความถี่ 6GHz

สัญญาณวิทยุย่านความถี่ 6GHz และ 5GHz ที่ถูกใช้งานร่วมกันภายใน Access Point ชุดเดียวกันนี้ทำให้การใช้ Bandpass Filter แบบดั้งเดิมไม่ตอบโจทย์ในการคัดกรองสัญญาณที่ไม่ต้องการอีกต่อไป โดยช่องว่างของความถี่ระหว่างช่องสัญญาณทั้งสองนี้เมื่อวัดจาก U-NII-4 (ที่ถูกใช้งานโดยย่านความถี่ 5GHz) ไปถึง U-NII-5 (ซึ่งถูกใช้งานโดยย่านความถี่ 6GHz) นั้นมีขนาดที่เล็กเกินไป ด้วยขนาดเพียงแค่ 50MHz

มีช่องว่างเพียงแค่ 50MHz เท่านั้นระหว่างย่านความถี่ 5GHz และ 6GHz ซึ่งทำให้เกิดการรบกวนกันของสัญญาณ

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ก็เนื่องมาจากการที่ Bandpass Filter แบบดั้งเดิมนั้นต้องการเว้นระยะช่องว่างระหว่างความถี่ประมาณ 200MHz สำหรับแต่ละช่องสัญญาณ ดังนั้นเมื่อมีช่องว่างที่น้อยเกินไป ตัวคัดกรองเหล่านี้จึงไม่สามารถคัดกรองความถี่ที่เกิดขึ้นจากแต่ละย่านความถี่ได้ นอกจากนี้ Bandpass Filter แบบดั้งเดิมเหล่านี้ก็ยังมีความชันที่สูงไม่พอ ดังนั้นถ้าหากนำมาใช้งานบนย่านความถี่ทั้งสองนี้ ก็จะต้องมีการห้ามใช้ความถี่ในบางช่วงอย่างแน่นอน

การคัดกรองสัญญาณแบบเดิมนั้นมีความชันที่น้อยเกินไป และทำให้ต้องห้ามใช้สัญญาณบางช่วงในย่านความถี่ 5GHz และ 6GHz

 

การห้ามใช้สัญญาณบางช่วงในย่านความถี่ทั้งสองนี้ไม่สมเหตุสมผล เพราะเราไม่จำเป็นต้องเสียย่านความถี่ช่วงใดๆ ในย่านความถี่ทั้งสอง ทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้นั้นก็คือการปรับให้ Bandpass Filter แบบดั้งเดิมนั้นเลื่อนการกรองสัญญาณ 6GHz ให้กรองเฉพาะสัญญาณที่มีความถี่สูงขึ้นเล็กน้อย และงดการใช้งานช่วงย่านความถี่ต่ำในช่อง 6GHz ไป ซึ่งในการใช้งานจริง 6E Access Point ของผู้ผลิตบางรายนั้นก็ใช้วิธีการดังกล่าวนี้และไม่สามารถปรับแต่งการแก้ไขได้

ทางเลือกหนึ่งสำหรับการคัดกรองสัญญาณแบบดั้งเดิมก็คือการงดการใช้งานย่านความถี่ต่ำในช่วง 6GHz เพื่อให้สามารถใช้งานย่านความถี่ 5GHz ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของย่านความถี่ 6GHz ลดลงอย่างชัดเจน

การห้ามใช้ย่านความถี่ต่ำในช่วง 6GHz บน Access Point ของบางยี่ห้อนี้ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงประเด็นข้อกฎหมายในประเทศที่ซึ่งการใช้งานย่านความถี่ทั้งหมด 1200MHz ในย่านความถี่ 6GHz นั้นยังไม่ได้รับอนุญาต ตัวอย่างเช่น ในบางภูมิภาคที่อนุญาตเฉพาะการใช้งานย่านความถี่ได้ต่ำกว่า 500MHz เท่านั้น (เช่นในสหภาพยุโรป) การที่ไม่สามารถใช้งานช่องความถี่ขนาด 20MHz ได้ถึง 8 ช่องในช่วงย่านความถี่ต่ำนั้น อาจหมายถึงการใช้งานย่านความถี่ 6GHz ไม่ได้มากถึงหนึ่งในสามของย่านความถี่ทั้งหมดที่กฎหมายอนุญาต

การใช้เทคนิคการคัดกรองสัญญาณแบบดั้งเดิมและจำกัดการใช้งานย่านความถี่ของ 6GHz ให้น้อยลง หมายถึงการที่ไม่สามารถใช้งานช่องความถี่ได้มากถึงหนึ่งในสามสำหรับการใช้งานในยุโรป

แนวทางที่เต็มเปี่ยมไปด้วยนวัตกรรมจาก Aruba: Ultra Tri-Band Filtering

Aruba ได้แก้ไขปัญหาของการคัดกรองสัญญาณในย่านความถี่ที่ติดกันนี้ด้วยเทคโนโลยีการคัดกรองสัญญาณที่กำลังจดสิทธิบัตรอยู่ภายใต้ชื่อว่า Ultra Tri-Band Filtering

เทคโนโลยีนี้ทำงานอย่างไร? Ultra Tri-Band Filtering นี้ได้ผสานรวมเอาทั้ง Hardware และ Software เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ Bandpass Filtering สำหรับย่านความถี่ 5GHz และ 6GHz ได้อย่างยืดหยุ่น และช่วยให้สามารถเลือกใช้ได้ทุกช่องความถี่ที่ Access Point หนึ่งๆ รองรับได้ทั้งหมด

แผนภาพแสดงสถาปัตยกรรมโดยรวมสำหรับ UTB

 

จากแผนภาพดังกล่าวจะเห็นได้ว่า Wi-Fi 6E AP ของ Aruba ที่มี Ultra Tri-Band Filtering จะสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในระดับสูงสุด (ทั้งในเชิงของระยะทางและปริมาณการรับส่งข้อมูล) และยังให้บริการหลากหลายได้พร้อมๆ กัน โดยไม่มีการกวนกันของสัญญาณที่มีย่านความถี่ที่ติดกันหรือใกล้เคียงกัน อย่างเช่น ย่านความถี่ช่วงต่ำสุดของ 6GHz กับย่านความถี่ช่วงสูงสุดของ 5GHz

Ultra Tri-Band Filtering จะช่วยให้คุณสามารถใช้ช่องความถี่ใหม่ที่มีในย่านความถี่ 6GHz ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของความต้องการในการใช้งานอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น, การใช้งาน Cloud ที่หลากหลายมากขึ้น, การใช้งานบริการใหม่ๆ ไปจนถึงการเร่งโครงการด้านการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

บทความโดย Josh Schmelzle วิศวกรด้านเทคนิคสนับสนุนฝ่ายการตลาด (Technical Marketing Engineer) แห่ง Aruba บริษัทในเครือฮิวเล็ตแพ็กการ์ดเอ็นเตอร์ไพรส์

สำหรับผู้ที่ต้องการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเครือข่ายและการพัฒนาโซลูชั่นของ Aruba สามารถติดตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญใน Aruba Blog ได้ที่ https://blogs.arubanetworks.com/

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wi-Fi 6E และ Ultra Tri-Band Filtering
เจาะลึกกับ Wi-Fi 6E
สาธิตเทคโนโลยี Ultra Tri-Band
Aruba 630 Series APs
Aruba 630 Series APs รุ่นใหม

หมายเหตุ U-NII-4 จะสามารถใช้งานได้ผ่านการอัปเกรด Software บน Hardware ที่รองรับในการ Software รุ่นใหม่ที่กำลังจะเปิดตัว กรุณาติดตามข่าวสารเพิ่มเติมภายในปีนี้

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-aruba-ultra-tri-band-filtering/

สรุปงาน Aruba Atmosphere 2022 SEATH : ก้าวสู่นวัตกรรมใหม่ Enterprise Networking & Security ด้วยอุปกรณ์เครือข่ายที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น

ในช่วงปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงที่เทคโนโลยีในวงการ Enterprise Networking และ Security มีการปรับตัวสู่ทิศทางใหม่ในหลายแง่มุม และ Aruba Networks ในฐานะของผู้นำนวัตกรรมด้าน Enterprise Networking และ Security เอง ก็ได้มีการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ภายในโซลูชันของตนเองมากมาย เพื่อให้ธุรกิจองค์กรได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ สำหรับเตรียมก้าวสู่การผลักดันสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อเร่งสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัลแล้ว

ทีมงาน TechTalkThai และ APDT.news มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Aruba Atmosphere 2022 SEATH & INDIA ในครั้งนี้ที่มาจัดในประเทศไทย จึงขอนำสรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนาครั้งนี้ พร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาจัดแสดงในบูธกันดังนี้ครับ

3 ปัจจัยสู่การทำ Networking Modernization

เทรนด์หลักที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในวงการ Network อยู่นี้ก็คือการทำ Network Modernization หรือการปรับปรุงระบบเครือข่ายให้มีความทันสมัย ตอบรับต่อโลกของการทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุค Hybrid Work ซึ่งมีทั้งโจทย์ของการรองรับการทำงานจากนอกสถานที่ได้อย่างอิสระ ไปจนถึงการใช้งาน Cloud เป็นหลักในการทำงาน ในขณะที่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็ต้องสูงยิ่งขึ้นตามความซับซ้อนของภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นในทุกวัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวงการ Enterprise Networking และ Security ในยามนี้ ได้ทำให้สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายนั้นพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ และทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายทั่วโลกต้องเร่งปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง และต้องปรับวิธีการดูแลรักษาระบบเครือข่ายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังในการได้รับประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน

ในมุมของ HPE Aruba สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ คือการปรับระบบเครือข่ายให้มีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้

1.Automation
การทำ Automation ได้กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญประการแรกของระบบเครือข่ายแห่งอนาคต เพราะด้วยระบบเครือข่ายที่มีการขยายตัวออกไปยังภายนอกองค์กร ทำให้มีองค์ประกอบภายในระบบเครือข่ายที่หลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังมีการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเด็นด้าน Cybersecurity เองก็ยังมีความสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ทำให้ภาระในการบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบเครือข่ายนั้นสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

ด้วยเหตุเหล่านี้ การบริหารจัดการระบบเครือข่ายด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมจึงไม่อาจเพียงพออีกต่อไป และหลายองค์กรเองก็ยังต้องเผชิญความกดดันจากการขาดแคลนบุคลากรที่จะมาดูแลรักษาระบบ IT Infrastructure สำคัญเหล่านี้ด้วย ดังนั้นการมีเทคโนโลยีที่สามารถติดตั้งใช้งานบริหารจัดการได้ง่าย ทำงานได้แบบอัตโนมัติ และมี AI เป็นตัวช่วยจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้ธุรกิจองค์กรยังคงสามารถจัดการและควบคุมการใช้ระบบเครือข่ายของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.Security
จากความต้องการในการใช้งานระบบเครือข่ายในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทำให้การปกป้องดูแลผู้ใช้งานและอุปกรณ์ขององค์กรนั้นต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย ดังนั้นสถาปัตยกรรมด้าน Network Security อย่างในอดีตที่มีการแยกส่วนของการปกป้องผู้ใช้งานภายในองค์กรนั้นจึงไม่เพียงพออีกต่อไป

เพื่อตอบโจทย์นี้เทคโนโลยีด้าน Network และ Security ต้องถูกผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และทำงานได้ตามหลักการของ Zero Trust เพื่อควบคุมทุกการยืนยันตัวตนและเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน ไปยังส่วนอื่นๆ ของระบบเครือข่ายหรือ Internet ให้เป็นไปตามนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงที่ระบบ IT จะถูกโจมตีต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ และจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

3.Agility
ความคล่องตัวนั้นได้กลายมาเป็นอีกคุณสมบัติสำคัญของระบบเครือข่ายในทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้การเพิ่มเติมบริการหรือการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบเครือข่ายนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว ตอบสนองต่อกลยุทธ์ของธุรกิจและการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการมาของ COVID-19 ได้ทำให้ความสำคัญของประเด็นนี้ยิ่งทวีคูณขึ้น จากการที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกต่างต้องรีบเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายเพื่อปรับตัวไปสู่การทำงานแบบ Remote Working อย่างเต็มตัวก่อนที่จะปรับมาสู่ Hybrid Working ในปัจจุบัน

นอกจากความคล่องตัวในเชิงเทคนิคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ธุรกิจองค์กรต้องคำนึงถึงก็คือความคล่องตัวในแง่ของการลงทุนเพิ่มขยายระบบ IT ภายในองค์กร ซึ่งเทรนด์ของการใช้งานระบบ IT ในแบบ as-a-Service นั้นก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี และ Aruba ก็จะตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจองค์กรทั่วโลกนี้ ด้วยบริการ Network-as-a-Service หรือ NaaS นั่นเอง

ในการช่วยให้ธุรกิจองค์กรทั่วโลกก้าวไปสู่การทำ Network Modernization ได้อย่างสำเร็จนี้ ทาง Aruba ได้นำเสนอ Aruba ESP Solutions เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทั้ง 3 ประการดังกล่าวภายในโซลูชันเดียว โดยภายในโซลูชันดังกล่าวนี้จะมีการแบ่งระบบออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้

  1. Connect โดยมี Switch, AP, Gateway สำหรับรองรับการเชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงยังรองรับการทำงานจากภายนอกองค์กรได้อย่างสะดวกสบาย เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาได้ง่ายด้วย SD-WAN
  2. Protect ปกป้องทุกการเชื่อมต่อสื่อสาร โดยผสานระบบ Security เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายโดยตรง เพื่อปกป้องทั้งอุปกรณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ IoT ด้วยการทำ Zero Trust และเสริม Security เข้าไปในระบบ SD-WAN ให้ธุรกิจสามารถก้าวสู่การทำ SASE ด้วยเทคโนโลยี Cloud Security ได้ทันที
  3. Automation การติดตั้งใช้งานและการดูแลรักษาระบบทั้งหมดจะต้องเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายและเป็นอัตโนมัติ เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อระบบเครือข่ายที่ต้องขยายและเปลี่ยนแปลงตามระบบ IT ได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น โดย Aruba มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาเสริมในการทำ Automation
  4. Adapt เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางระบบเครือข่ายให้สูงยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการลงทุนที่มีทางเลือกใหม่อย่าง NaaS และการบริหารจัดการที่สามารถเลือกได้ว่าจะดูแลรักษาระบบเครือข่ายด้วยตนเอง หรือ Outsource ออกไปให้กับผู้ให้บริการ Managed Services

อัปเดตเทคโนโลยีและโซลูชันล่าสุดจาก Aruba ในปี 2022

นอกจากการนำเสนอในเชิงวิสัยทัศน์แล้ว งานสัมมนาครั้งนี้ก็ได้มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ จาก HPE Aruba มาเปิดตัวในภูมิภาค APAC กันอย่างหลากหลาย ดังนี้ครับ

โซลูชันแรกคือ Aruba Central NetConductor ที่จะช่วยให้การวางระบบ Network และ Security ภายในองค์กรกลายเป็นรูปแบบ Overlay ได้ ด้วยการตั้งค่าในแบบ Intent-based และบังคับใช้งานนโยบายเหล่านี้ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้การบริหารจัดการเครือข่ายในภาพรวมทั้งในส่วนของ Network และ Security ถูกผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการตั้งค่าทั้งหมดนี้จะอาศัยการผสมผสานกันระหว่าง Protocol มาตรฐานของอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการทำงานนั้นจะเป็นไปอย่างมีแบบแผน และปรับเปลี่ยนได้ในอนาคตเมื่อมีมาตรฐานใหม่ๆ ออกมาให้ใช้งาน

ถัดมาที่ถูกเน้นย้ำเป็นอย่างมากในงานสัมมนาครั้งนี้ ก็คือ Aruba EdgeConnect SD-WAN Fabric ที่มีทั้ง EdgeConnect Mobile, Mibrobranch, SD-Branch และ Enterprise ให้เลือกใช้งานได้ตามรูปแบบของสาขาที่ธุรกิจองค์กรต้องการ เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายและรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าโครงสร้างของธุรกิจและนโยบายในการทำงานจะเป็นอย่างไร และปกป้องผู้ใช้งานได้ในทุกการเข้าถึงทุก Application ทั้งภายใน Data Center และบน Cloud

ในส่วนของ Aruba EdgeConnect Microbranch ที่ Aruba ระบุว่าได้รับความนิยมสูงมากนั้น ก็คือการเสริมความสามารถ SD-WAN Gateway เข้าไปยัง Access Point รุ่น Remote ของ Aruba โดยตรง ทำให้การวางระบบเครือข่ายสำหรับสาขาขนาดเล็กมากๆ ที่มีผู้ใช้งานเพียงแค่ 1 คน แต่อาจมีหลายอุปกรณ์ที่ต้องใช้งาน และต้องการส่งมอบประสบการณ์ในการทำงานให้กับพนักงานหรือผู้บริหารที่ทำงานจากที่บ้านนั้นเป็นไปได้เสมือนการมาทำงานที่ออฟฟิศ เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดายภายในอุปกรณ์เพียงแค่ชุดเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งสำหรับสาขาของร้านค้าขนาดเล็ก หรือการวางระบบให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ตอบโจทย์การเพิ่มขยายสาขาจำนวนหลายสิบหรือหลายร้อยแห่งในระยะเวลาอันสั้นได้เป็นอย่างดี

ทางด้าน Aruba EdgeConnect Enterprise ก็มีประกาศอัปเดตครั้งใหญ่ในฐานะของโซลูชัน SD-WAN แรกที่ได้รับ ICSA Secure SD-WAN Certification ที่รับรองถึงความสามารถในการทำ Next-Generation Firewall และ Cybersecurity อื่นๆ สามารถทำงานได้อย่างมีมาตรฐาน ตรวจจับและยับยั้งป้องกันภัยคุกคามในหลากหลายรูปแบบได้อย่างแม่นยำ เพื่อปกป้องการเชื่อมต่อของระบบ SD-WAN และควบคุมการเข้าถึงใช้งานระบบเครือข่ายของผู้ใช้งานได้อย่างมั่นใจ

อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจนั้นก็คือ Open Locate ที่ทาง Aruba ได้ทำการใส่ GPS ลงไปใน AP รุ่น Wi-Fi 6E และรองรับมาตรฐาน 802.11mc / Fine Time Measurement (FTM) ทำให้การระบุจุดติดตั้ง Access Point มีความแม่นยำสูงยิ่งขึ้นกว่าในอดีต และนำตำแหน่งจุดติดตั้งไปใช้อ้างอิงกับระบบแผนที่อื่นๆ ได้อย่างเป็นสากล ในขณะที่ยังสามารถให้บริการข้อมูลพื้นที่ตำแหน่งให้กับ Mobile Application ได้ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนา Location-based Application ที่ต้องใช้ข้อมูลตำแหน่งภายในอาคารได้อย่างง่ายดาย ตอบโจทย์ได้ดีทั้งในแง่ของการติดตั้งใช้งาน และการต่อยอดสร้างคุณค่าเพิ่มเติมจากระบบเครือข่ายไร้สายที่ธุรกิจมีการใช้งานอยู่

ในฝั่งของ Data Center Networking ทาง Aruba ได้พูดคุยถึงเทรนด์ Distributed Services Switch ด้วย Aruba CX 10000 Series Switch with Pensando ที่ใช้เทคโนโลยีชิป DPU และ Software จาก AMD Pensando เข้ามาเสริมให้กับ Data Center Switch ทำให้ Top-of-Rack Switch มีความสามารถด้าน Security ในตัวในระดับประสิทธิภาพเดียวกับการทำ Switching ได้ทันที อย่างเช่น การทำ Firewall เพิ่มเติมภายในอุปกรณ์ Switch ช่วยเสริม Data Center Network Security ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพด้านระบบเครือข่าย และไม่มีความซับซ้อนของการรับส่งข้อมูลภายในระบบเครือข่ายอย่างในอดีตอีกต่อไป ตอบโจทย์ของธุรกิจที่ต้องการทำ Security ให้กับ Network Traffic ในแบบ East-West ซึ่งมีปริมาณมหาศาล และยากต่อการดูแลรักษาในอดีตได้ทันที

สุดท้ายก็คือการพูดคุยถึง NaaS – Network as a Service ที่ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกใช้งานระบบ IT Infrastructure ในฝั่งของ Network และ Security จาก Aruba ทั้งหมดได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายในแบบ Subscription-based ซึ่งจะมีทั้ง Hardware และ Software รวมอยู่ภายในบริการ พร้อมระบบ Data Analytics สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานและการปรับแต่งระบบเครือข่าย เปิดให้สามารถบริหารจัดการได้ทั้งโดยฝ่าย IT ขององค์กร และผู้ให้บริการ Managed Services ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีด้าน Network และ Security ขององค์กรสามารถถูกใช้งานได้โดยตลาดที่มีขนาดกว้างมากยิ่งขึ้น ในขณะที่มีความสามารถเทียบเท่าได้กับโซลูชันในระดับธุรกิจองค์กร

Aruba ระบุว่าเทรนด์ของการปรับไปใช้งาน NaaS นั้นโตเร็วมากจากการมาของ Hybrid Work ที่ธุรกิจต้องการระบบเครือข่ายใหม่ที่มีความซับซ้อนสูง บนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างออกไป ดูแลง่าย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นไม่สูงมาก

ในการใช้งาน NaaS นั้น ธุรกิจองค์กรจะสามารถใช้งานผ่านบริการ HPE GreenLake for Aruba Service Packs รองรับ 8 Use Case ได้แก่ Outdoor Wireless, Indoor Wireless, Remote Wireless, Wired Core, Wired Aggregation, Wired Access, SD-Branch และ UXI โดยสามารถเสริมความสามารถในส่วนของ Network Management และ Network Security จากโซลูชันของ Aruba ที่ต้องการได้ทั้งหมด ซึ่งสัญญาในการใช้บริการดังกล่าวนี้จะอยู่ที่ระยะเวลา 3-5 ปี

และทั้งหมดนี้ก็คือประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา Aruba Atmosphere 2022 SEATH & INDIA ในครั้งนี้ครับ ถ้าหากท่านใดมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ เพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อทีมงาน HPE Aruba สามารถติดต่อ HPE Aruba ได้ที่อีเมล: nawarat.ch@hpe.com หรือติดต่อพาร์ทเนอร์รายต่างๆ ของ Aruba ทั่วประเทศ เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดทดสอบเทคโนโลยีหรือโซลูชันต่างๆ ที่ต้องการได้ทันทีครับ

 

from:https://www.techtalkthai.com/aruba-atmosphere-2022-seath/

[Guest Post] เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการปฏิวัติธุรกิจ 5G ผ่านงาน BYOND MOBILE วันที่ 28-29 กันยายน 2565 กรุงเทพฯ

ธุรกิจในปัจจุบันต่างหันมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำธุรกิจ 5G และเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงเข้ามาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ IoT เช่นกับการรุกของระบบอินเทอร์เน็ตของภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน คุณค่าของ 5G เป็นมากกว่าอินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่าเดิม เมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เครือข่ายไร้สายนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญใหม่ในการอำนวยความสะดวกของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นใหม่ในทุกอุตสาหกรรม

จากผลการวิจัยของ  Component (Equipment Platform) เผยให้เห็นว่า ตลาด 5G ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโต 38.7% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวม 129.9 พันล้านดอลลาร์ในปีพ.ศ. 2565-2574 โดยมีปี 2564 เป็นพื้นฐาน

จากความสำคัญดังกล่าว วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค พร้อมเปิดตัวงานแสดงสินค้าใหม่ล่าสุด BYOND MOBILE (บิยอน โมบาย) มีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์ กรุงเทพฯ เพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจเครือข่ายแห่งอนาคต การประชุมและนิทรรศการสองวันจะรวบรวมผู้นำธุรกิจจากกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ เกษตรกรรม การผลิต เมืองอัจฉริยะ และการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคต พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ทางอินเทอร์เน็ต การสื่อสารเคลื่อนที่ และไอที

แบรนด์ผู้บุกเบิก 5G ชั้นนำและสตาร์ทอัพภายใต้การจัดงานเดียวกัน

งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยี 5G จะมีการนำเสนอบริษัทชั้นนำของ blue-chip ตลอดจนสตาร์ทอัพที่มาจากสายเทคโนโลยีทั้งหมด บนพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม. งาน BYOND MOBILE จะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น 5G จากแบรนด์ชั้นนำกว่า 50 แบรนด์ อาทิ Nokia, RV Connex, True Corporation และ BD Group ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพาวิลเลียนนานาชาติจากประเทศสหราชอาณาจักร พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีเครือข่ายมือถือและโซลูชันระบบคลาวด์ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และหุ่นยนต์ ตลอดจน AR/VR แมชชีนเลิร์นนิง และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ อย่าง Nokia กล่าวว่า ในบูธของ Nokia เราจะจัดแสดงการสาธิตการใช้งาน 5G และโซลูชันเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับเครือข่ายมือถือ บริการคลาวด์และเครือข่าย ตลอดจนโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน  นอกจากนี้ เรายังมองหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับการนำ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรมระดับองค์กรในด้านโลจิสติกส์ การผลิต การขนส่ง และพลังงาน พร้อมด้วยนวัตกรรมเครือข่ายที่สำคัญมากมาย และใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงจากเครือข่ายไร้สายส่วนตัวมากกว่า 485 เครือข่ายของ Nokia

2 ประเทศไฮไลท์ : ประเทศสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย

พาวิลเลียนนานาชาติจากประเทศสหราชอาณาจักร จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ในนามของกรมการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักร พร้อมนำผู้ประกอบการชั้นนำมาจัดแสดงภายในงาน ไม่ว่าจะเป็น Astrazeneca (โซลูชั่นสุขภาพแบบดิจิทัล), British Telecom (โทรคมนาคม), Air for Life (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ), Albeego (โซลูชันบรอดแบนด์), Awen Collective (ความปลอดภัยทางไซเบอร์), British Telecoms (โทรคมนาคม), Electronic Media Services (โซลูชั่นการเชื่อมต่อ) และ Graphcore (เซมิคอนดักเตอร์) จะแสดงผลิตภัณฑ์และบริการ 5G ล่าสุดของพวกเขาภายในงาน

พบที่ปรึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายใหม่กับสมาคมและสถาบันการศึกษาในอุตสาหกรรม 5G

ขยายความรู้ของคุณและค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในตลาดผ่านการเชื่อมต่อกับสมาคมที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนภายในงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย (DITP), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT), สมาคมการค้าและสถาบันการศึกษา โดยสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIEAT), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (Atsi), สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT), สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA), สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไฮไลท์หัวข้องานสัมมนา 5G ที่น่าสนใจ

ในส่วนของงานสัมมนาเวทีหลักภายในฮอลล์นั้น มีผู้นำทางความคิดมากกว่า 40 ท่านร่วมกล่าวถึงบรรยาย เสวนา และอภิปรายในหัวข้อที่น่าสนใจ เมื่อสิ้นสุดวันแรกของการจัดงาน สตาร์ทอัพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะผ่านการคัดเลือกให้มานำเสนอนวัตกรรมต่อหน้าผู้ตัดสินระดับแนวหน้าในวงการ ผ่านการแข่งขัน Start-Up Challenge ผู้เข้าชมงานจะได้รับความรู้เชิงลึกผ่านชั้นเรียนรู้และการสาธิตผลิตภัณฑ์จากบริษัท และหน่วยงานต่างๆ โดยมีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ดังนี้

Status of the 5G Economy in Thailand

Dr. Supakorn Siddhichai. EVP of DEPA

5G the Game Changer

Tawatchai Lerksumrand, Deputy Director, Mobile

Business and 5G Service Innovation, True Corporation

How Urban Data Platforms revolutionize Smart

Cities

Shannon Kalayanamitr, CEO & Founder,

5G Catalyst Technologies

Connected world: An evolution in connectivity

beyond the 5G revolution

Igor Maurell, President, Ericsson Thailand

5G vision: Life in 2030

Dr Mike Short CBE, DIT Chief Scientific Adviser

5G Connectivity and the Future of Mobility

Roland Bock, Global Director Advanced Development – Enabling Technologies, Continental

A playbook for Accelerating 5G in SEA

Thomas Sennhauser, CT and Business LEAD APJ, Intel Corporation

The Status of Tech in SEA

Amarit (Aim) Charoenphan, Angel Investor | Advisor | VC | Techstars Community All-Stars

5G NR device testing: R&S®ATS1800C Compact 3GPP-compliant OTA chamber for 5G NR

mmWave signals

Günter Pfeifer, Product Manager Mobile Radio Test

Signaling, Rohde & Schwarz

 

Future Frontiers: Unlocking the Power of 5G

Technologies

Lalita Linhavetss, Department for International Trade, British Embassy Bangkok

Dr. Mike Short, Chief Scientific Adviser, Department for International Trade, UK

Feat. representatives of British Telecom, Graphcore,

and AstraZeneca

5G, Next-gen mobile networks, AR/VR and the

Metaverse

Terence Mccabe, Chief Technology Officer, Asia Pacific and Japan, Nokia

Obodroid: Service Robot and IT adoption

Obotrons: Building Transformation

Lertluck Leela-amornsin (Senior Engineer)

Sisilpa Srisukson (Innovation Project Manager)

5G & Automation & Robotics

Kanlayanee Kongsomjit, President at TKK Corporation, a MARA member GreetBot, LuckiBot, Robot X, Autonomous Vehicle

BYOND MOBILE (บิยอน โมบาย) เป็นเวทีเจรจาการค้าผ่านงานแสดงสินค้าอันเป็นสะพานที่เชื่อมระดับโลกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่ให้บริการกลุ่มประเทศ 11 ประเทศเพื่อเชื่อมต่อกับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก แล้วพบกัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน 2565 ณ สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์ กรุงเทพฯ เปิดโลกการเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเครือข่ายไร้สายแห่งอนาคต!

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ทาง https://byondmobile.asia/
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://eventpassinsight.co/el/to/T98EF  [ไม่มีค่าใช้จ่าย]

ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค อีเมล communications@vnuasiapacific.com
โทร. 02-1116611 ต่อ 330, 335

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-byond-mobile-28-29-sep-22-bkk/

ทำความรู้จัก Cisco Predictive Networks

ทำความรู้จัก Cisco Predictive Networks เทคโนโลยีใหม่จาก Cisco ที่จะช่วยในการตรวจสอบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ

Cisco Predictive Networks

Cisco ได้เผยโฉมเทคโนโลยีใหม่ในชื่อ Cisco Predictive Networks ที่จะมาเป็นต้นแบบของการดูแลระบบเครือข่ายในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ทีมผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถตรวจสอบ, ทำนาย และวางแผนการใช้งานระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Cisco Predictive Networks คืออะไร?

Cisco Predictive Networks คือเทคโนโลยีในการตรวจสอบและทำนายการทำงานของระบบเครือข่ายที่ Cisco พัฒนาขึ้นมาใหม่ มีความสามารถในการสอดส่องระบบเครือข่ายและทำนายความน่าจะเป็นในระบบ เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลที่นำมาช่วยปรับปรุงความเสถียรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่ายได้แบบอัตโนมัติ

Cisco ใช้เวลากว่า 2 ปีในการสร้างระบบ AI พิเศษที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ โดยมีการปรับแต่งและทดสอบร่วมกับลูกค้าหลายราย ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้ได้ระบบ Analytic และ Machine Learning ที่มีความแม่นยำและนำไปใช้งานได้กับทุกประเภทธุรกิจ

ทำไมระบบลักษณะนี้ถึงสำคัญ?

ปัจจุบันผู้ดูแลระบบเครือข่ายประสบปัญหาหลายอย่างในการดูแลระบบเครือข่าย และจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจจะต้องดูแลเรื่อง Cyber Security, Hybrid Work, Hybrid Cloud และเรื่องต่างๆอีกมากมาย โดยหนึ่งเป้าหมายหลักที่สำคัญคือการทำให้ระบบเครือข่ายมีการทำงานอย่างราบรื่นตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบเหล่านี้อาจประสบปัญหามี Downtime เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ สอดคล้องกับผลการสำรวจในปี 2021 ที่พบว่า กว่า 45% ของผู้ดูแลระบบยังคงพบเจอกับปัญหา Downtime ของระบบเครือข่ายอย่างไม่คาดคิด นั่นแสดงให้เห็นว่า การดูแลรักษาระบบเครือข่ายแบบเดิมยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผู้ดูแลระบบจึงจำเป็นต้องหาโซลูชันที่มีความสามารถในการตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายเพิ่มเติม และระบบนั้นๆจะต้องมีความรวดเร็วในการทำงาน ในขณะที่มีผลลัพธ์ที่แม่นยำ เพื่อช่วยลดภาระงานของผู้ดูแลระบบ

ระบบทำงานอย่างไร?

Cisco Predictive Networks จะทำการรวบรวมข้อมูล Telemetry จากหลายแหล่งมาเก็บไว้ที่ส่วนกลางเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยจะใช้โมเดลหลายแบบมาช่วยในการวิเคราะห์ เช่น การทำนายปัญหา User Experience ที่อาจเกิดในอนาคต นอกจากนี้ระบบจะช่วยแนะนำวิธีในการแก้ไขปัญหานั้นๆอีกด้วย โดยลูกค้าสามารถกำหนดขอบเขตของระบบเครือข่ายที่ต้องการนำมาวิเคราะห์ได้

นายนายชัคก์ โรบิ้น CEO ของ Cisco ได้เสริมว่า ระบบเครือข่ายที่ทำงานในลักษณะ Self-healing ได้ คือรูปแบบของระบบเครือข่ายในอนาคต เนื่องจากระบบมีความสามารถที่จะเรียนรู้, ทำนาย และวางแผนได้เอง และที่ผ่านมา Cisco เองก็ได้พิสูจน์สิ่งนี้ร่วมกับลูกค้าหลายรายมาก่อนแล้ว

ที่มา: https://investor.cisco.com/news/news-details/2022/New-Cisco-Technology-Can-Predict-Network-Issues-Before-They-Happen/default.aspx

from:https://www.techtalkthai.com/what-is-cisco-predictive-networks/

Network Monitoring, Visibility และ Observability แตกต่างกันอย่างไร

หลายปีที่ผ่านมาหลายท่านคงเคยพบปะหรือได้ยินคำว่า ‘Observability’ มากมาย แต่ก็ยังสับสนอยู่ว่าแล้วคำๆนี้ เป็นเพียงแค่คำสวยหรูหรือมีความต่างอย่างแท้จริงกับระบบ Monitoring และ Visibility ที่ทุกท่านรู้จัก

Credit: Viappy/ShutterStock

Network Monitoring เป็นเรื่องที่เราทำกันมานานมากแล้วเพียงแค่สามารถติดตามข้อมูล SNMP, NetFlow หรือข้อมูลแพ็กเก็ต เพื่อนำมาใช้ติดตามสุขภาพของอุปกรณ์ ให้สามารถตอบคำถามเบื้องต้นได้ว่าอุปกรณ์ตัวนี้ทำงานหนักไปไหม อย่างไรก็ได้ Network Monitoring เป็นปฏิบัติการที่ต้องพิจารณาโดยไอทีว่าจะติดตามเก็บข้อมูลส่วนใดของเครือข่าย ถ้าเกิดไม่เคยวางแผนไว้ก่อนก็ติดตามไม่ได้ ทำให้มีจุดบอดที่ทีมอาจจะไม่ทราบความเคลื่อนไหว (Blind Spot) นอกจากนี้องค์กรยังต้องเผชิญกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นจาก SaaS และ Cloud ในรูปแบบต่างๆ ความมืดบอดนี้จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยทีมไอทีอาจได้รับข้อมูลจาก Dashboard ของตัวเองอย่างสวยงาม ในขณะที่ผู้ใช้งานกลับโวยวายว่าตนมีปัญหา

Network Visibility พูดถึงความสำเร็จของการทำ Network Monitoring ที่ไร้จุดบอดเห็นภาพได้ทั่วองค์กร และเพื่อความเข้าใจรายละเอียดอย่างแท้จริง Network Visibility ต้องการเรื่องของ Packet Capture และความสามารถด้าน Storage เพิ่มเติมจากการเก็บแค่ NetFlow และข้อมูล Log ซึ่งผลิตภัณฑ์ Monitoring อย่าง Packet Broker คือหัวใจสำคัญของการได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้ Network Visibility ยังต้องสามารถได้ข้อมูลเครือข่ายจาก Public Cloud และ SaaS ด้วย เพื่อเติมเต็มภาพให้ครบทั้งหมด ทั้งนี้โซลูชัน NDR หรือทีม Security ต่างต้องการความสามารถของ Network Visibility เพื่อให้จัดการกับภัยคุกคามต่างๆ

Network Observability กล่าวถึงการที่ไอทีสามารถเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายได้ง่าย ว่าเครือข่ายแต่ละส่งผลกระทบอย่างไรกับการให้บริการหรือคุณภาพของระบบ กล่าวคือ Observability โฟกัสไปในเรื่องภาพรวมของการเชื่อมต่อและประสบการณ์ของ End-user มากกว่าเรื่องของอุปกรณ์แต่ละตัวในเส้นทาง โดย Network Observability จะช่วยให้ไอทีสามารถจัดการปัญหาได้ในเชิงรุกหรือก่อนผลกระทบเกิดขึ้นกับผู้ใช้ ทำให้ไอทีสามารถใช้กลไกของ Visibility เจาะจงในรายละเอียดต่อไปได้ นอกจากนี้ Observability ยังอาจถูกเสริมในเรื่องของ Automate ด้วย Machine Learning และ Analytics เข้ามากรุยทางสู่ AIOps

ด้วยความที่ Observability พรีเซ็นต์ตัวเรื่องของความอัตโนมัติในการเปิดเผยปัญหาที่ Network Monitoring มีข้อจำกัด CIO หรือ CISO จึงให้ความสนใจมากกับเรื่องนี้ เพราะการเพิ่มขึ้นของคลาวด์หรือ SaaS สร้างความซับซ้อนอย่างยิ่ง โดยกล่าวได้ว่าเครือข่ายสมัยปัจจุบันที่ซับซ้อนและกระจายกัน ทำให้ทีมไอทีต้องยกระดับตัวเองให้สามารถตรวจสอบต้นตอของปัญหาได้ไวและแม่นยำไม่ว่าปัญหาจะอยู่ภายในหรือภายนอกวงขององค์กร ซึ่ง Observability ได้ช่วยทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องง่ายขึ้น

ที่มา : https://www.networkcomputing.com/networking/network-observability-different-visibility-and-monitoring

from:https://www.techtalkthai.com/network-monitoring-vs-visibility-vs-observability-how-it-different/