คลังเก็บป้ายกำกับ: DEVOPS

HPE GreenLake ออกอัปเดตใหม่ ตอบโจทย์ Edge-to-Cloud ด้วยโซลูชันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ HPE GreenLake บริการระบบ Hybrid Cloud แบบ Consumption-based จาก HPE ได้เปิดตัวและทำตลาดทั่วโลกมาได้ระยะหนึ่ง ทุกวันนี้ HPE GreenLake นั้นก็มีธุรกิจองค์กรใช้งานมากกว่า 65,000 แห่งแล้ว โดยครอบคลุมการให้บริการอุปกรณ์มากกว่า 2 ล้านรายการ และมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บประมวลผลมากกว่า 1 Exabyte เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากความสำเร็จดังกล่าวนี้ HPE จึงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนา HPE GreenLake ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด HPE ก็ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ ให้กับ HPE GreenLake มากถึง 5 บริการ ดังนี้

1. เปิดตัว HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise สำหรับงาน DevOps และ CI/CD โดยเฉพาะ

HPE ได้จับมือกับ AWS เพื่อนำบริการ Amazon Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) Anywhere มารองรับบน HPE GreenLake ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถก้าวสู่การทำ Multi-Cloud ได้ด้วย Amazon EKS Anywhere ที่ติดตั้งและทำงานอยู่ภายใน Private Cloud ขององค์กรบน HPE GreenLake ช่วยให้การบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบ Kubernetes เป็นไปได้อย่างราบรื่นด้วยประสบการณ์เดียวกับการใช้งาน Amazon EKS บน Cloud โดยสามารถควบคุมการใช้งานทรัพยากรของระบบได้ตามต้องการ

แนวทางนี้จะช่วยให้เหล่า Software Developer ภายในองค์กรที่มีการใช้งาน Amazon EKS เป็นหลักนั้น สามารถวางระบบ CI/CD อย่างไร้รอยต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Software บน HPE GreenLake หรือ AWS และทำการ Deploy ระบบบนทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ขององค์กรได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถผสานนำเครื่องมือต่างๆ สำหรับเสริมการทำงานของ Kubernetes มาใช้งานบน HPE GreenLake ได้อย่างอิสระอีกด้วย

2. เพิ่ม Workload-Optimised Instance ใหม่ 6 รายการ รองรับการใช้งานที่สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น

เพื่อให้ HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise รองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ทาง HPE จึงได้ทำการออกแบบ Instance ใหม่สำหรับรองรับ General Workload เพิ่มเติมอีก 6 รายการ ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นในการสร้าง VM Instance ที่เป็นมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้งาน ภายใต้ราคากลางที่ประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ง่าย และคิดค่าใช้จ่ายการใช้งานแบบ Consumption-based

3. เปิดตัว HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform และ HPE GreenLake for VMware ตอบโจทย์ Container และ Kubernetes ในระดับธุรกิจองค์กร

สำหรับธุรกิจองค์กรจำนวนมากที่เริ่มมีการใช้งาน Red Hat OpenShift ภายในระบบ ทาง HPE GreenLake ก็ได้ตอบโจทย์นี้ด้วยการเปิดตัวโซลูชัน HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Private Cloud ของตนเองได้ในแบบ Consumption-based อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถก้าวสู่ภาพของ Hybrid Multi-Cloud ได้ทันทีที่ต้องการ

ข้อดีของการใช้ HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform นี้ก็คือการรองรับการเพิ่มขยายของระบบ Container บน Red Hat OpenShift ได้อย่างอิสระ ซึ่งมักจะเป็นธรรมชาติของการพัฒนา Cloud-Native Application ในระดับธุรกิจองค์กรที่ต้องการเพิ่มขยายหรือลดขนาดของระบบได้ตลอดเวลา ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมหรือบริการใหม่ๆ สำหรับลูกค้าของธุรกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว ทาง HPE ก็ยังได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for VMware ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้ธุรกิจองค์กรที่เดิมทีใช้งาน VMware Cloud เป็นระบบ Private Cloud ภายในองค์กรสามารถย้ายมาสู่การใช้งานแบบ Comsumption-based ได้อย่างเต็มตัวทั้งในระดับของ Software และ Hardware ซึ่งสามารถใช้งานได้บนทุกโซลูชันของ HPE GreenLake รวมถึง HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise ด้วย

4. การปรับปรุง Consumption Analytics ใหม่ รองรับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำหรับ Cloud หรือ Cloud Cost Management นั้นได้เริ่มกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจองค์กรให้ความสนใจ และ HPE GreenLake ก็ได้ทำการออกอัปเดตปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อเร่งตอบโจทย์ดังกล่าวให้กับธุรกิจองค์กรได้อย่างครบวงจรด้วยระบบ Cosumption Analytics ใหม่ที่ครอบคลุมไปถึงการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่าย พร้อมข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ 3 ราย ได้แก่ Microsoft Azure, AWS และ Google Cloud Platform (GCP) ส่งผลให้ธุรกิจองค์กรที่ใช้งาน HPE GreenLake นั้นสามารถทำการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้บนทั้ง HPE GreenLake เอง และบนผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำได้ภายในหน้าจอเดียว ช่วยให้กลยุทธ์ของการทำ Hybrid Multi-Cloud มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. เปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ในแบบ Early Access

สุดท้าย สำหรับตอบโจทย์การใช้งาน HPE GreenLake เพื่อรองรับระบบ AI, Big Data และ Analytics โดยเฉพาะ ทาง HPE จึงได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ซึ่งได้ผสานรวมโซลูชันในการทำ Data Management และ Data Analytics เอาไว้อย่างครบวงจร สามารถผสานรวมข้อมูลจาก Multi-Cloud, On-Premises และ Edge เอาไว้ในแบบรวมศูนย์ และสร้างคุณค่าใหม่ๆ จากข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยภายใน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ยังเปิดให้ธุรกิจองค์กรทำการติดตั้งใช้งานเครื่องมือจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในแบบ Open Source Software ได้ตามต้องการ ทำให้สามารถรองรับทั้งการทำ Data Engineering, Data Analytics และโครงการ Data Science หรือวาง DataOps ได้ในระบบเพียงหนึ่งเดียว

โซลูชัน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ถือว่ามีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะโซลูชันดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรปรับกลยุทธ์ในการลงทุนด้าน AI และ Data มาสู่ Comsumption-based ภายใต้ Environment ที่ธุรกิจองค์กรต้องการได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกระบบ Storage ที่ต้องการ, การวาง Data Fabric ในรูปแบบที่เหมาะสม ไปจนถึงการกำหนด Computing Resource ทั้งในส่วนของ CPU และ GPU ได้ด้วยตนเอง โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบ Consumption-based และมีความยืดหยุ่นในการเพิ่มขยาย Workload เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของโครงการเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังสามารถประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ ต่างจากการใช้งานระบบรูปแบบเดียวกันนี้บน Public Cloud ที่ยากต่อการประเมินและวางแผน

สนใจ HPE GreenLake ติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน HPE GreenLake สามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางอีเมล์ mktmcc@metroconnect.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-greenlake-new-update-edge-to-cloud-more-use-cases/

Advertisement

NCSA Webinar Series EP.3 – ทำไม Observability ถึงมีส่วนสำคัญในการเกิด Digital Immunity

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ DPM (Thailand) ขอเรียนเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน Cybersecurity เข้าร่วมงานสัมมนา NCSA Webinar Series EP.3 เรื่อง “ทำไม Observability ถึงมีส่วนสำคัญในการเกิด Digital Immunity” ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์ด้าน Cybersecurity ที่สำคัญเมื่อโลกเข้าสู่ยุค Cloud Native ในวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2023 เวลา 14:00 – 15:30 น. ผ่านทาง LIVE Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: ทำไม Observability ถึงมีส่วนสำคัญในการเกิด Digital Immunity
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2023 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ภาษา: ไทย
ลิงก์ลงทะเบียน: https://us06web.zoom.us/webinar/register/3216739656461/WN_PsulRPHhQk6WrT_dj6aNSg

กำหนดการบรรยาย

14:00 – 14:15 กล่าวเปิดงานและแนะนำหน่วยงาน สกมช.
โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
14:15 – 15:15 ทำไม Observability ถึงมีส่วนสำคัญในการเกิด Digital Immunity
การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ส่งผลให้ Digital Immunity กลายเป็นเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่องค์กรธุรกิจต่างให้ความสนใจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน DevOps ต่างมองหาแนวทางปฏิบัติที่สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและแข็งแกร่งพอที่จะต้านรับภัยคุกคามไซเบอร์ได้ เข้าร่วมการบรรยายนี้เพื่อรู้จัก Observability และเรียนรู้ว่าทำไม Observability ถึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Immunity ได้
ผู้บรรยาย: คุณเดชอุดม ศรีเณร CEO จาก DPM (Thailand)
15:15 – 15:30 Q&A

from:https://www.techtalkthai.com/ncsa-webinar-series-ep-3-by-dpm/

ชวนคนสายเทคฯ มาเปิดโลกการทำงาน เสริมทักษะ เพิ่มอิสระทางความคิด กับโครงการ Tech Scoop Academy จาก G-Able

Road to Developer… โอกาสดี ๆ สำหรับนักพัฒนาซอฟแวร์รุ่นใหม่ ไฟแรง มีไอเดีย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ต้องห้ามพลาดกับโครงการ Tech Scoop Academy จาก G-Able (จีเอเบิล)

โดยโครงการนี้จะชวนคุณมาฝึกฝนบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและให้บริการระบบไอที ความรู้ด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน Cloud Native, Microservices, DevOps จากการสร้างแอปพลิเคชัน เพื่อใช้งานจริงและภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานจริง นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้นำเสนอ Project Pitching ไอเดียแสดงศักยภาพในการเข้าร่วมงานกับ G-Able บริษัทไอทีชั้นนำของไทยต่อไป โดยตลอดการเข้าร่วมโครงการ 4 เดือน ผู้เข้าร่วมจะได้รับค่าตอบแทนทุกเดือน พร้อมประกาศนียบัตรหลังจากจบโครงการอีกด้วย

ลงทะเบียนโครงการ คลิก!!

  • สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 พ.ย. 2022
  • สอบออนไลน์ 7 ธ.ค. 2022
  • สัมภาษณ์ 14 – 16 ธ.ค. 2022
  • ประกาศผล 19 ธ.ค. 2022 ผ่านทางอีเมลส่วนตัวต่อไป

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  • อายุ 22 – 26 ปี
  • สนใจงานด้านนักพัฒนาซอฟต์แวร์ / นักทดสอบระบบ
  • กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรี
  • มีทักษะด้านการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, การแก้ไขปัญหาเชิงตรรก, การศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ทางอินเทอร์เน็ต
  • สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดระยะเวลา 4 เดือน (1 ม.ค. – 30 เม.ย. 2023)

from:https://www.techtalkthai.com/g-able-tech-scoop-academy-2022/

ขอเชิญร่วมงามสัมมนา “iZeno Tech Talk – ITSM, DevOps และ Cloud Migration with Atlassian” [24 พ.ย. 2565 –10.00น.]

ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ “iZeno Tech Talk – ITSM, DevOps และ Cloud Migration with Atlassian” โดยงานครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00น. – 13.00น. ที่โรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ : iZeno Tech Talk – ITSM, DevOps และ Cloud Migration with Atlassian

ผู้บรรยาย

  • Robby Surya Winardhi ตำแหน่ง Senior Business Analyst จาก iZeno
  • Scott Goh-Davis ตำแหน่ง Head of SE, APAC จาก Atlassian
  • Napat Traikityanukul ตำแหน่ง Software Engineer จาก iZeno

วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00น. – 13.00น.

สถานที่ : โรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ

ลงทะเบียนได้ที่ https://www.izeno.com/izeno-tech-talk-itsm-and-cloud-migration-with-atlassian-bangkok-th/

กระบวนการในการทำ information technology service management (ITSM) เกี่ยวพันกับทั้ง คน กระบวนการ และเทคโนโลยี ซึ่ง Atlassian ได้นำเสนอในส่วนของเทคโนโลยีที่จะช่วยให้กระบวนการ ITSM ของท่านเกิดขึ้นได้จริง ในงานครั้งนี้ท่านจะได้รู้จักกับเครื่องมือจาก Atlassian เช่น Jira Services Management, Confluence, Statuspag และ Halp

นอกจากระบบบริหารจัดการไอทีแล้ว กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า CI/CD ก็เป็นเรื่องสำคัญในภาพของ DevOps ซึ่งภายในมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากมาย โดย Atlassian เป็น Vendor รายหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรได้ผ่านเครื่องมือ Jira Software, Jira Confluence, Bitbucket และ Bamboo โดยท่านจะได้รับทราบเหตุผลเบื้องลึกเกี่ยวโซลูชันข้างต้นไปพร้อมๆกับการทำ Cloud Migration ได้ในงานสัมมนาครั้งนี้

เนื้อหาที่ท่านจะได้รับจากงานในครั้งนี้

  1. เพื่อเรียนรู้ว่า ITSM, DevOps และ Cloud Migration คืออะไร
  2. เพื่อเรียนรู้วิธีเร่งความเร็วในการเดินทางของคุณด้วย ITSM, DevOps และ Cloud Migration
  3. เพื่อค้นหาวิธีวางกลยุทธ์สำหรับการริเริ่ม ITSM, DevOps และ Cloud Migration
  4. เพื่อค้นหาว่า ทำไมจึงควรใช้ ITSM, DevOps และ Cloud Migration

from:https://www.techtalkthai.com/izeno-seminar-itsm-devops-and-cloud-migration-with-atlassian-24112022/

SolarWinds เปิดตัว Observability Platform ทำงานแบบ Cloud-native

SolarWinds ประกาศเปิดตัว SolarWinds Observability ทำงานแบบ Cloud-native รองรับการตรวจสอบทั้ง Hybrid Cloud และ Multi-cloud

SolarWinds Observability ช่วยให้ทีม IT Ops และ DevOps ในองค์กรสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบต่างๆที่อยู่ภายใน IT Environment ได้อย่างครอบคลุม โดยรองรับการตรวจสอบในด้านต่างๆ เช่น Network, Infrastructure, Systems, Application, Database, Digital Experience และ Log Monitoring ภายในโซลูชันเดียว และรองรับการตรวจสอบทั้งบน Private Cloud และ Public Cloud โดยโซลูชันนี้มีการใช้งาน AI และ Machine Learning เข้ามาช่วยในด้านการวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

SolarWinds Observability ออกแบบมาให้ทำงานบน Cloud เพื่อรองรับการใช้งานแบบ Hybrid IT หรือ Remote Workforce ปัจจุบันรองรับการใช้งานบน Microsoft Azure และ Amazon Web Services

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.solarwinds.com/solarwinds-observability

ที่มา: https://siliconangle.com/2022/10/19/solarwinds-launches-new-cloud-native-saas-visibility-platform/

from:https://www.techtalkthai.com/solarwinds-launches-new-observability-platform-runs-on-cloud-native/

VMware Tanzu Application Platform เครื่องมือสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โฟกัสการเขียนโค้ดได้มากขึ้น ลดการยุ่งกับ Kubernetes Platform | Tangerine x VMware

ในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ปัจจุบัน ชัดเจนว่าเทรนด์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นกำลังไปในแนวทางแบบคอนเทนเนอร์ (Containerization) กันมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเครื่องมือยอดนิยมอย่าง Docker หรือ Kubernetes (K8s) เพราะด้วยความสะดวกสบาย บริหารจัดการได้ง่าย และสามารถรองรับการทำกระบวนการ DevSecOps ได้อย่างไร้รอยต่อ (Seamless)

แต่ถ้าหากองค์กรใดที่รู้สึกว่าคุ้นชินกับการใช้แพลตฟอร์ม Kubernetes อยู่แล้ว แต่รู้สึกติดขัดปัญหาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำได้ยังค่อนข้างช้าอยู่ ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นเพราะส่วนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Developer) นั้นยังไม่มีแพลตฟอร์มอะไรที่สนับสนุนการทำงานให้เร็วขึ้น และอาจจะต้องไปยุ่งกับ Kubernetes Platform มากจนเกินไปก็เป็นได้

บทความนี้ จึงอยากจะแนะนำให้รู้จักกับเครื่องมือ “Tanzu Application Platform (TAP)” ของทาง VMware ที่จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีเวลาไปสนใจในเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเต็มที่ ลดภาระในเรื่องการจัดการ Kubernetes Platform และช่วยทำให้สามารถทำกระบวนการ DevSecOps ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม

กระบวนการ DevSecOps ในมุมของ VMware

เชื่อว่าองค์กรหลาย ๆ แห่งในปัจจุบันจะมีการปรับใช้กระบวนการ DevSecOps กันไปอย่างแพร่หลายแล้ว โดยภาพรวมการทำงาน (Workflow) ทั่วไปของ DevSecOps นั้นจะมีการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

  • “Dev” หรือ Development – ดูแลเรื่องการพัฒนาหรือเขียนโค้ดตามความต้องการ พร้อมทดสอบ Debug ภายในเบื้องต้น
  • “Sec” หรือ Security – ดูแลรีวิวโค้ดที่ได้จาก Dev ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยภายในโค้ดว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
  • “Ops” หรือ Operations – ดูแลรีวิวโค้ดที่ได้จาก Dev ทดสอบ (Test) ว่าผ่านทุกกรณีทดสอบ (Test Case) ที่กำหนดไว้ไหม ก่อนนำโค้ดชุดใหม่ขึ้นสู่ระบบถัด ๆ ไป เช่น Staging, UAT และ Production ตามขั้นตอน

โดย VMware จะเรียกกระบวนการ DevSecOps ทั้งหมดนี้รวมกันว่า “Supply Chain” ซึ่งจะมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน (Separation of Concern) ระหว่างงานของ Dev กับ Sec และ Ops โดยกระบวนการที่ Dev ทำตั้งแต่เริ่มเขียนโค้ดจนถึงขั้นตอน Debug ก่อนที่จะ Commit ขึ้นไปนั้นจะเรียกว่า “Inner Loop” และตั้งแต่กระบวนการ Test & Build ที่ Sec กับ Ops ดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Container Image ใส่ Container Security การเชื่อมกับระบบ Continuous Integration and Continuous Delivery (CI/CD) จนถึงระบบ Production นั้นจะเรียกว่า “Outer Loop”

หากใครหรือองค์กรใดได้มีการใช้งาน Kubernetes Platform กันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น VMware Tanzu for Kubernetes Operation หรือว่าค่ายอื่น ๆ จนคุ้นชิน แต่ยังรู้สึกได้ว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมานั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน มีประเด็นติดขัดในเรื่องของ Outer Loop ที่มักจะทำได้ช้า เป็นไปได้ว่าท่านอาจจะยังขาดเครื่องมือที่สนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์และ “Tanzu Application Platform” นี้เอง คือเครื่องมือที่จะแก้ไข Pain Point นี้ได้

รู้จัก VMware Tanzu Application Platform

Tanzu Application Platform หรือเรียกสั้น ๆ กันว่า “TAP” นั้นคือแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เครื่องมือสนับสนุนอยู่ภายในอย่างครบครัน ที่จะช่วยทำให้การนำโค้ดหรือแอปพลิเคชันที่พัฒนาเสร็จสิ้นแล้วไป Deploy สู่ Kubernetes Cluster ในส่วนที่เป็น Staging หรือว่า Production ได้อัตโนมัติ ไม่ว่า Kubernetes Platform นั้นจะอยู่ที่ Public Cloud หรือว่า On-Premises ก็ตาม

หลักการภาพรวมของ TAP นั้นคือภายในแพลตฟอร์มจะมี Default Supply Chain ที่มีการกำหนดเส้นทางและกระบวนการที่ต้องทำไว้ โดยฝั่ง Sec และ Ops นั้นจะสามารถปรับแต่งขั้นตอนที่ต้องทำได้ทั้งหมด อย่างเช่น การเชื่อมต่อ CI/CD หรือระบบสแกน Security ที่ต้องการใช้งาน เป็นต้น และเมื่อ Dev ได้ทำการ Commit โค้ดขึ้นไปบนแพลตฟอร์ม TAP ไม่ว่าจะผ่าน IDE ยอดนิยมอย่าง VS Code หรือผ่าน CLI แพลตฟอร์ม TAP ก็จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนในเส้นทางดังกล่าวอย่างอัตโนมัติ จนทำให้โค้ดที่พัฒนาขึ้นมานั้นไปถึงระบบ Production ได้สำเร็จ

ชัดเจนว่า แพลตฟอร์ม TAP ได้ช่วยสนับสนุนการทำงานของทั้งฝั่ง Inner Loop และ Outer Loop ให้มีความสะดวกขึ้นมาก โดยเฉพาะในฝั่งของ Dev ที่จะสามารถมุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าหาก Dev ในองค์กรนั้นต้องดูแลทั้งฝั่ง Sec และ Ops ในคนเดียวกันด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้กระบวนการนำขึ้นโค้ดขึ้น Production ทำได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ภายใน TAP นั้นยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ อีกมากที่ช่วยให้สามารถเริ่มต้นการพัฒนาได้เร็วขึ้นอีกด้วย 

ส่วนประกอบ Component ภายใน TAP

ภายใน Tanzu Application Platform นั้นมีส่วนประกอบ (Component) อยู่ภายในแพลตฟอร์มมากมาย ซึ่งแล้วแต่จะเลือกใช้ว่าจะต้องการใช้ส่วนไหนบ้าง โดยหลัก ๆ ส่วนที่สำคัญจะมีดังต่อไปนี้

  • API Portal – แหล่ง API ที่สามารถใช้งานภายในแอปพลิเคชันที่จะพัฒนาขึ้นมา ซึ่งส่วนนี้จะมีเอกสาร (Documentation) รายละเอียดของ API ที่สามารถใช้งานได้ พร้อมทดลองใช้ API ได้ก่อนด้วย
  • Application Accelerator – แคตตาล็อกของ Template ไฟล์ YAML (สกุลไฟล์ .yaml) สำหรับเริ่มต้นเขียนโค้ดที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ทันที โดยภายในไฟล์ YAML นั้นจะมีการตั้งค่า Structure และ Configuration ไว้ให้แบบ Best Practices แล้ว เพื่อให้สามารถนำไป Deploy ได้ทันที
  • Application Live View – ส่วนแสดงข้อมูลและการแก้ไขปัญหา (Troubleshooting) ที่ช่วยให้ Dev และ Ops เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในหลังแอปพลิเคชันรันขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ตามหลักการของ Spring Boot Acuator 
  • Supply Chain Security Tools – เครื่องมือความมั่นคงปลอดภัยต่าง ๆ ที่จะช่วยตรวจสอบให้ Container ให้มีความมั่นใจ และลดความเสี่ยงในเรื่อง Security 
  • Tanzu Learning Center – แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่สามารถทดลองสร้างและลองทำ Workshop ได้ด้วยตัวเองเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ TAP ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะผ่าน Console, Shell หรือว่า IDE 

ภายใต้ Tanzu Applications Platform นั้นยังคงมี Component อื่น ๆ อีกมากมายให้เลือกใช้งาน โดยสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดของแต่ละส่วนได้ในเอกสารจากทาง VMware 

Application Accelerator แบบ UI สามารถค้นหา Template ได้อย่างรวดเร็ว
Application Accelerator สำหรับผู้ที่ถนัด CLI
Application Live View

TAP ยกระดับการพัฒนาแบบ DevSecOps ไปอีกขั้น

ปัจจุบัน Tanzu Application Platform ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงเวอร์ชัน 1.2 แล้ว ซึ่งภายในเวอร์ชันนี้ได้มีฟีเจอร์เพิ่มเติมเข้ามามากมาย ตัวอย่างเช่น

Application Single Sign-On (App SSO)

App SSO คือส่วนที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ Log In ไปที่ Identity Provider (IdP) หรือผู้ที่มีหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้ในการเข้าถึงแอปพลิเคชันที่มีการ Deploy บน Kubernetes เพียงแค่ครั้งเดียว ซึ่งในเวอร์ชัน 1.2 นี้จะทำให้ Dev และ Ops นั้นมีวิธีการที่จะทำให้การทำ Single Sign-On นั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ง่าย และไร้รอยต่อได้ทันที 

TAP บน Amazon Elastic Kubernetes Services (EKS)

ด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง VMware กับ Amazon ทั้งสองจึงร่วมมือกันทำให้ผู้ที่ใช้งาน Amazon EKS อยู่แล้วนั้นสามารถรัน TAP ใช้งานบน EKS ได้แล้ววันนี้ ซึ่งทั้งสองได้ร่วมกันทำ Quick Start ออกมาให้กับผู้ที่สนใจอยากใช้งานสามารถติดตั้งและเริ่มใช้งาน TAP พัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น

ปลั๊กอิน TAP บน IntelliJ IDEA

ตามที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว TAP นั้นสามารถใช้งานได้ภายใน IDE ยอดนิยมอย่าง Visual Studio Code เป็นที่ เรียบร้อย ซึ่งหลังจากนี้ ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.2 เป็นต้นไป นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะสามารถติดตั้งปลั๊กอินเพื่อใช้งาน TAP ใน “IntelliJ IDEA” อีกหนึ่ง IDE ยอดนิยมที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายได้แล้ว

มาถึงจุดนี้ หากใครรู้สึกอยากลองใช้งาน Tanzu Application Platform เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกับการใช้งาน Kubernetes Platform แล้ว สามารถเข้าไปเรียนรู้รายละเอียดอื่น ๆ ในเอกสารของทาง VMware เพิ่มเติมได้ที่นี่ อย่างไรก็ดี ทาง VMware เพิ่งประกาศเปิดตัว TAP เวอร์ชัน 1.3 เมื่อไม่นานมานี้อีกด้วย ซึ่งในเวอร์ชันถัดไปก็ยังมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาเพิ่มเติมอีกมากมายที่จะมาช่วยสนับสนุนให้การทำ DevSecOps นั้นสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก

เริ่มต้นใช้งาน TAP ได้แล้ววันนี้

ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า Tanzu Application Platform นั้นคือเครื่องมือสนับสนุนสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้เส้นทางของ Supply Chain หรือการนำโค้ดที่พัฒนาขึ้นมาให้สามารถดำเนินไปตามกระบวนการ DevSecOps ขึ้นสู่ระบบ Production บน Kubernetes Cluster ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงปลอดภัย ซึ่งจะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถโฟกัสกับการเขียนโค้ดได้อย่างเต็มที่ ลดการยุ่งกับ Kubernetes Platform ลงไป และทำให้การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ไปจนถึงการส่งมอบให้กับผู้ใช้งานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

สุดท้ายนี้ ข่าวดีสำหรับคนที่สนใจอยากเรียนรู้การใช้งาน Tanzu Application Platform ทาง “Tangerine” ผู้นำด้านโซลูชันไอที และเป็นพาร์ตเนอร์ระดับสูงสุดกับทาง VMware ผู้มี Certificate ระดับ Professional  และประสบการณ์มากมายในการให้บริการ VMware Tanzu นั้น กำลังจะจัด Webinar ที่จะมาเจาะลึกรายละเอียดของ Tanzu Application Platform พร้อมเปิดประสบการณ์พัฒนาแอปพลิเคชันให้ไวยิ่งขึ้น ลดต้นทุน ลดเวลาการพัฒนาจากหลักเดือนเหลือเพียงหลักวัน พร้อมทริกในการแก้ปัญหาใด ๆ ในซอฟต์แวร์ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หมดห่วงปัญหา Downtime เสริมความคล่องตัวให้ธุรกิจ กับหัวข้อ “VMware Tanzu Application Platform (TAP) เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่า พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ End-to-end” ซึ่งหากใครเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วรู้สึกสนใจอยากใช้งาน TAP แล้ว ห้ามพลาด Webinar นี้โดยเด็ดขาด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

from:https://www.techtalkthai.com/simplify-your-software-development-with-vmware-tanzu-application-platform-by-tangerine/

ยกระดับ Development Pipeline สู่ยุคใหม่ด้วย VMware Tanzu พัฒนาแอปพลิเคชันได้เร็ว มั่นคงปลอดภัย พร้อมประสบการณ์ทำงานที่ดีขึ้นสำหรับองค์กร | Tangerine x VMware

การพัฒนาแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรในปัจจุบันนั้นนอกจากผลลัพธ์แล้ว องค์กรยังต้องพิจารณาถึงขั้นตอนในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีความรวดเร็วมากเพียงพอที่จะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ องค์กรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้เครื่องมือสมัยใหม่มากมายเข้ามาช่วยทั้งในขั้นตอนการพัฒนา จัดเตรียมทรัพยากร ตรวจสอบ และนำระบบขึ้นไปใช้งานจริงบนคลาวด์

ในบทความนี้ ทีมงานมีโอกาสได้พูดคุยกับทีมงาน Tangerine ถึงแพลตฟอร์ม Tanzu จาก VMware ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการพัฒนาแอปพลิเคชันขององค์กร ทั้งในแง่ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและ Operation ที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร จึงขอสรุปมาให้ผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักและศึกษากัน

รู้จักกับ VMware Tanzu – เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ จาก Development สู่ Delivery

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในสมัยใหม่ในองค์กรทั่วไปนั้นมักมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ฝ่ายพัฒนา (Development) ที่ทำหน้าที่สร้างและแก้ไขซอฟต์แวร์ให้ตรงตามโจทย์ที่ได้รับ ฝ่ายความปลอดภัย ที่คอยตรวจสอบความปลอดภัยและดูแลให้ซอฟต์แวร์เป็นไปตามมาตรฐานกำกับดูแล และฝ่าย Operation ที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานและการนำซอฟต์แวร์ขึ้นไปใช้งานในระดับโปรดักชั่น ทั้ง 3 ส่วนนี้ทำงานเกี่ยวเนื่องกัน และเป็นปัจจัยที่กำหนดประสิทธิภาพ ความเร็ว และคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ออกสู่ผู้ใช้

Tanzu เป็นแพลตฟอร์มจัดการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบ Cloud-native โดยถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทั้งฝ่าย Dev, Sec, และ Ops ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายในตัวแพลตฟอร์มประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆสำหรับขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์และ Operation ดังนี้

  • Tanzu Application Platform (TAP) – แพลตฟอร์มสำหรับจัดการกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันบน Kubernetes และจัดการกับขั้นตอน Operation ต่างๆเพื่อนำซอฟต์แวร์ไปสู่ผู้ใช้งาน
  • Tanzu for Kubernetes Operations – โซลูชันจัดการ Operation บนคลาวด์อย่างครบวงจร
  • เครื่องมือสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์และจัดการข้อมูล
  • เครื่องมือสำหรับการใช้งาน Kubernetes สำหรับองค์กร

จุดเด่นอย่างหนึ่งของ Tanzu คือการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้มีตัวเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้บริการเพียงบางส่วนของแพลตฟอร์มหรือนำแพลตฟอร์มไปปรับแต่งทำงานร่วมกับเครื่องมือหรือระบบที่องค์กรมีการใช้งานอยู่แล้วได้อย่างเต็มที่ รองรับการทำงานทำงานทั้งในระบบแบบ On-premise, บนคลาวด์สาธารณะอย่าง AWS, Google Cloud, Microsoft Azure, และคลาวด์ของ VMware อีกทั้งรองรับการใช้งานแบบ Multi-cloud อีกด้วย

ลำดับต่อไป เราจะมาเจาะลึกกันถึง Tanzu for Kubernetes Operations และ Tanzu Application Platform ซึ่งเป็นสองบริการหลักจาก Tanzu

Tanzu for Kubernetes Operations – จัดการและดูแล Kubernetes ของทั้งองค์กรได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่า Container จะอยู่ที่ใด

ในองค์กรที่มีการใช้งาน Kubernetes มากขึ้นเรื่อยๆคงทราบดีถึงความซับซ้อนในการดูแล Container ทั้งหมดที่มี และเฝ้าระวังปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนในด้านของกระบวนการ การรักษาความปลอดภัย และการ Monitor ระบบ และความซับซ้อนนี้ก็ยิ่งทวีมากขึ้นเมื่อองค์กรมีการใช้งานคลาวด์ที่หลากหลายในรูปแบบของ Hybrid Cloud, Multi-cloud, และ Edge

Tanzu for Kubernetes Operations เป็นโซลูชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามาตอบโจทย์การจัดการ Kubernetes ขององค์กรโดยตรง จากประสบการณ์ความเข้าใจในการดำเนินการ Operation ที่ VMware มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การจัดการ Kubernetes ง่ายขึ้นแล้ว ยังมีระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของ Kubernetes เพื่อแจ้งเตือนถึงความเสี่ยงและแนะนำจุดที่น่าปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย

Tanzu for Kubernetes Operations สามารถเข้ามาช่วยทีม Operation จัดการกับแง่มุมต่างๆของกระบวนการดำเนินการตั้งแต่การจัดการ Container ทั้งในแบบ Manual และอัตโนมัติ การเชื่อมต่อและเครือข่าย ความปลอดภัย ข้อมูลในระบบ รวมไปถึงตรวจสอบสถานะการทำงานและเฝ้าระวังการดำเนินการอย่างละเอียด เรียกได้ว่าจบครบทุกอย่างของงาน Operation ได้ในแพลตฟอร์มเดียว

โดยจากการพูดคุยกับทีมงาน Tangerine นอกจากการจัดการ Kubernetes ในองค์กรอย่างเป็นระบบแล้ว องค์กรยังสามารถนำแพลตฟอร์มดังกล่าวเข้าไปช่วยในด้านอื่นๆ เช่น

  • ดูแลและเฝ้าระวังระบบ Kubernetes แบบ Real-time และอัตโนมัติในคลาวด์ทุกที่ที่องค์กรใช้งานอยู่
  • จัดการการเข้าใช้งาน Kubernetes แบบ Self-service ให้กับนักพัฒนาในองค์กร
  • ปรับปรุงระบบและทำ Optimization สำหรับทั้ง Performance และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
  • วิเคราะห์และย้ายระบบจาก Legacy ใน Virtual Machine เดิมที่มีเข้าสู่การทำงานแบบ Container และเปลี่ยนการดำเนินการไปสู่ Hybrid และ Multi-cloud
  • สร้างระบบรักษาความปลอดภัย สำรองข้อมูล และปรับระบบให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อกฎหมายที่กำหนด

Tanzu Application Platform (TAP) – ประสบการณ์การทำงานที่เหนือกว่า สำหรับทีม Development, Security, และ Operation

ดังที่ได้กล่าวไปตอนต้นว่าในการดำเนินการขององค์กรสมัยใหม่นั้นต้องอาศัยการร่วมงานกันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างทีม Dev, Sec, และ Ops บ่อยครั้งที่การประสานงานอันจำเป็นนี้ได้กลายมาเป็นคอขวดในการพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าสู่ตลาด ทำให้กระบวนการทั้งหมดช้าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

แนวคิดของ Tanzu Application Platform (TAP) คือการลดขอบเขตงานให้แต่ละฝ่ายงานสามารถโฟกัสกับสิ่งที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญได้เต็มที่ นักพัฒนาสามารถเริ่มขั้นตอนการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลถึงการจัดการกับ Container หรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes ฝ่ายความปลอดภัยมีกลไกในการตรวจสอบความเสี่ยงและรักษาความปลอดภัยในแอปพลิเคชันและเครือข่ายในทุกเวอร์ชั่นของการพัฒนา และในขณะเดียวกันฝ่าย Operation ก็มีเครื่องมือที่จะช่วยในการดำเนินแอปพลิเคชันที่ได้รับมาจากฝ่ายพัฒนา นำขึ้นไป Deploy ตลอดจนดูแลแอปพลิเคชันและ Pipeline ของการพัฒนาทั้งหมด

TAP ได้รวบรวมเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายงานทำงานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการพัฒนา นักพัฒนาสามารถเลือก Template แอปพลิเคชันแบบ Cloud-native ที่มีให้เลือกใช้ และเริ่มการเขียนโค้ดผ่าน IDE ที่ชื่นชอบแล้วทดสอบระบบผ่านคลัสเตอร์ Kubenetes ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงมือ Config ทุกอย่างด้วยตัวเอง และเมื่อการพัฒนาเสร็จสิ้น ก็สามารถส่งต่อแอปพลิเคชันไปยังทีม Operation เพื่อผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัย และดำเนินการ Deploy ขึ้นระบบ Production ได้อย่างรวดเร็ว

ทางด้านฝ่ายความปลอดภัยและ Operation ก็สามารถปรับแต่งการตั้งค่า Container และ Kubernetes ตามเงื่อนไขขององค์กร และกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ต้องการทดสอบลงไปในแพลตฟอร์ม TAP ได้ เมื่อมีแอปพลิเคชันเวอร์ชันใหม่เข้ามาก็สามารถนำโค้ดไปตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติ หากมีปัญหา แพลตฟอร์มก็จะทำการแจ้งเตือนให้ทราบทันที จึงช่วยลดภาระด้านการประสานงานและลดข้อผิดพลาดในการทำงานให้น้อยลง

TAP สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์และการจัดการ Operation ที่องค์กรมีการใช้งานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Framework ในการพัฒนาต่างๆ เช่น .NET หรือ Spring, IDE เช่น VSCode, Git, kpack, Jenkins, K8S, และเครื่องมืออื่นๆทั้งบริการเชิงพาณิชย์และ Opensource โดยสามารถใช้งาน TAP ได้ผ่านทาง Command Line และหน้า GUI บนเว็บไซต์

ทีมงาน Tangerine เล่าว่าแม้ TAP จะเป็นบริการที่ค่อนข้างใหม่จาก VMware แต่ในปัจจุบันก็มีองค์กรนำแพลตฟอร์มนี้ไปใช้ช่วยในงานต่างๆ เช่น

  • การทำ Automation ให้กับขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์และ Operation
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์ตามหลัก Agile ที่ต้องการความรวดเร็วสูง และการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservice
  • การสร้างบริการ Platform-as-a-Service ภายให้องค์กร ให้นักพัฒนาสามารถเข้ามาใช้ Kubernetes ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  • การปรับระบบขององค์กรให้ทันสมัยยิ่งขึ้น กำจัดแอปพลิเคชัน Legacy และเพิ่มระบบ Automation ในกระบวนการพัฒนา
  • การสร้างระบบตรวจสอบและ Log การทำงานของระบบโดยละเอียดเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมาย

เปลี่ยนความซับซ้อนให้เรียบง่ายด้วย VMware Tanzu โดย Tangerine

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน กระบวนการพัฒนาและนำซอฟต์แวร์ออกสู่ผู้ใช้งานนั้นมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ด้วยเครื่องมือที่มีให้เลือกใช้มากมายและเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา การใช้คลาวด์ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น และปัจจัยและความเสี่ยงต่างๆทางด้านไอที ธุรกิจ และกฎหมายที่องค์กรต้องคำนึงถึง แพลตฟอร์ม VMware Tanzu จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการจัดการกระบวนการให้กระชับ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากการสำรวจการใช้งานจริงของลูกค้า VMware พบว่า Tanzu นั้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาและนำซอฟต์แวร์ออกสู่ผู้ใช้ได้มาก โดยเฉลี่ยอาจเพิ่มอัตราการนำซอฟต์แวร์ขึ้นระบบโปรดักชั่นได้สูงถึง 82% เพิ่ม Productivity ของทีมพัฒนาได้ 37% และเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับนักพัฒนาของทีม Operation ได้มากถึง 78% ในโลกที่แอปพลิเคชันต้องอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนว่าผลลัพธ์เหล่านี้จะสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก

แพลตฟอร์ม Tanzu นั้นเปิดให้บริการทั้งในรูปแบบไม่มีค่าใช้จ่าย (Community Edition) และมีค่าใช้จ่าย โดยความสามารถจะแตกต่างออกไปตามแพลนที่เลือกใช้ หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแพลตฟอร์มนี้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ VMware Tanzu Community Edition หรือตรวจสอบแพลนการใช้งานได้ที่นี่

และหากท่านใดที่สนใจอยากเริ่มต้นใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว หรือพูดคุยกับทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการจัดกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงการจัดการและวางโครงสร้างพื้นฐาน IT บนคลาวด์ในรูปแบบต่างๆ สามารถติดต่อไปทางทีมงาน Tangerine ได้ทันทีที่ marketing@tangerine.co.th หรือโทร 02-285-5511

ห้ามพลาด! Tangerine ร่วมจัดสัมมนาออนไลน์กับ VMware ถ้าอยากรู้จัก Vmware Tanzu Application Platform มากขึ้น ลงทะเบียนเลย!

ร่วมเปิดประสบการณ์พัฒนาแอปพลิเคชันให้ไวยิ่งขึ้น ลดต้นทุน ลดเวลาการพัฒนาจากหลักเดือนเหลือเพียงหลักวัน พร้อมทริกในการแก้ปัญหาใดๆ ในซอฟต์แวร์ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หมดห่วงปัญหา Downtime เสริมความคล่องตัวให้ธุรกิจ เชิญร่วมฟังบรรยายออนไลน์ “VMware Tanzu Application Platform (TAP) เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่า พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ End-to-end” โดยวิทยากรจาก VMware (Thailand) และ Tangerine ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2022 เวลา 14:00 – 15:30 น. ลงทะเบียนฟรีได้ที่นี่ คลิก

from:https://www.techtalkthai.com/improve-your-development-pipeline-with-vmware-tanzu-by-tangerine/

Tangerine x VMware Webinar: VMware Tanzu Application Platform (TAP) เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่า พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ End-to-end

Tangerine ร่วมกับ VMware (Thailand) ขอเชิญเหล่านักพัฒนาเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์เรื่อง “VMware Tanzu Application Platform (TAP) เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่า พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ End-to-end” พร้อมเคล็ดลับการพัฒนาแอปฯ ให้ไว ลดต้นทุน และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว หมดห่วงเรื่อง Downtime ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม เวลา 14:00 น. ลงทะเบียนเข้าฟังบรรยายได้ฟรี

รายละเอียดงานสัมมนา

หัวข้อ: VMware Tanzu Application Platform (TAP) เปิดประสบการณ์ที่เหนือกว่า พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ End-to-end
วัน: วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2022
เวลา: 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Live Webinar
ลิงก์ลงทะเบียน: https://forms.gle/j4gJmKNANpra9DqWA

ยุค Digital 4.0 ทำให้ Software กลายเป็นหัวใจสำคัญธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์, บริการ หรือช่องทางหลักในการดำเนินธุรกิจของหลายองค์กร ความได้เปรียบในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ แข่งขันกันอยู่ที่ความเร็ว และความเสถียรของ Application เพื่อให้ตอบสนองได้ทันใจลูกค้า

ร่วมเปิดประสบการณ์พัฒนาแอปพลิเคชันได้ไวยิ่งขึ้น ลดต้นทุน ลดเวลาการพัฒนาแอปฯ จากหลักเดือนเหลือเพียงหลักวัน พร้อมทริกในการแก้ปัญหาใดๆ ในซอฟต์แวร์ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง หมดห่วงปัญหา Downtime เสริมความคล่องตัวให้ธุรกิจ

สนใจเข้าร่วมงาน สามารถสแกน QR Code หรือกดปุ่มลงทะเบียนด้านล่าง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 02-678-8660 ต่อ 106

from:https://www.techtalkthai.com/tangerine-x-vmware-webinar-vmware-tanzu-application-platform/

Dell และ Red Hat ขยายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อเร่งความเร็ว DevOps ใน Multi-Cloud

Dell และ RedHat สร้างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนานโดยร่วมกันพัฒนา DevOps ใน Multi-Cloud เพื่อเพิ่มความคล่องตัวภายในองค์กร และเร่งการคิดค้นสิ่งใหม่บนระบบ Cloud

Picture Credit : Dell Technologies

ในการทำงานร่วมกันระหว่าง Dell Technologies และ Red Hat จะช่วยลดความซับซ้อนเพื่อให้วิธีการที่ใช้ในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของระบบไอทีระดับองค์กรได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ทีมไอทีสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้เพียงครั้งเดียวสำหรับการปรับใช้ภายในองค์กร

โซลูชันใหม่ประกอบไปด้วย:
  • Dell APEX Containers สำหรับ Red Hat OpenShift นำเสนอประสบการณ์ระบบคลาวด์แบบ on-premise สำหรับนักพัฒนาด้วยโซลูชัน Container-as-a-Service ที่จัดการโดย Dell – พร้อมให้ใช้งานช่วงต้นปี 2023 โดยเริ่มวางจำหน่ายในสหรัฐฯ และขยายพื้นที่ให้บริการในลำดับต่อไป
  • Dell Validated Platform สำหรับ Red Hat OpenShift ขับเคลื่อนโดย Intel ซึ่งช่วยให้คล่องตัวและนำเสนอคำแนะนำที่เป็นเอกสารสำหรับทีม DevOps เพื่อช่วยเร่งความเร็วในการปรับใช้ไอทีภายในองค์กรสำหรับการจัดการคอนเทนเนอร์ – พร้อมให้ใช้งานทั่วโลกในวันที่ 30 ก.ย. 2022
  • hybrid cloud solution Dell และ Red Hat กำลังร่วมกันออกแบบโซลูชันไฮบริดคลาวด์โดยใช้ซอฟต์แวร์ของ Dell เพื่อผสานรวม Red Hat OpenShift กับ Dell infrastructure นอกจากนี้ IBM และ Dell ยังวางแผนที่จะนำเสนอปัญญาประดิษฐ์สำหรับการดำเนินงานด้านไอที (AIOps) และเพิ่มซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะเข้ามาช่วยสำหรับการตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้มีความพร้อมใช้งานในระดับสูง – พร้อมให้ใช้งานและแผนวางจำหน่ายภายในปี 2023
 
ที่มา :
 
 

from:https://www.techtalkthai.com/dell-and-red-hat-expand-strategic-partnership-to-accelerate-devops-on-multi-cloud/

ขอเชิญร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ในหัวข้อ “SUSE Rancher”

SUSE ขอเรียนเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานประชุมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ โดยท่านจะได้เรียนรู้ไปกับเครื่องมือบริหารจัดการ Kubernetes ที่ชื่อว่า Rancher

โดย Rancher Virtual Rodeos เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเชิงลึก ออนไลน์ ไม่มีค่าใช้จ่าย ถูกออกแบบมาเพื่อให้ DevOps และทีมไอที ได้มีโอกาสทดลองติดตั้งและบริหารจัดการ Kubernetes ด้วยตนเอง ทั้งหมดนี้เป็นภาษาไทย จากผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของ Rancher โดยมีเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นหรือมีประสบการณ์มาบ้าง โดยมุ่งหวังที่จะให้ความรู้แก่ทุกคนที่สนใจเรียนรู้วิธีใช้ Container technology หรือ Kubernetes

งานจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/3dPiP8S

รายละเอียดการประชุมเชิงปฏิบัติการ

หัวข้อ : SUSE Rancher

ผู้บรรยาย :

  • คุณ Borisuth Opasanont ตำแหน่ง Country Manager, Thailand SUSE
  • คุณ Pihan Jantarasaard ตำแหน่ง Solution Architect, Thailand SUSE

วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ภาษา : ไทย

ลิงก์เข้าร่วม : https://bit.ly/3dPiP8S

สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อม
ผู้เข้าร่วมประชุมควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของ Docker การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะใช้เครื่องมือบน web ที่เรียกว่า HobbyFarm เครื่องมือนี้ช่วยให้คุณเข้าถึงการทำงานของระบบผ่านทาง web browser

หัวข้อในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ :
• แนวคิดและสถาปัตยกรรมของ Docker และ Kubernetes
• การติดตั้งและกำหนดค่าของเซิร์ฟเวอร์
• การปรับใช้ Kubernetes cluster
• การปรับใช้แอปพลิเคชันและการเข้าใช้งาน

กำหนดการ

แนะนำโรดิโอ (15 นาที)
• วัตถุประสงค์ของโรดิโอ
• ภาพรวม Docker และ Kubernetes

การปรับใช้เซิร์ฟเวอร์ (30 นาที)
• การจัดเตรียมเซิร์ฟเวอร์
• การติดตั้ง Rancher เซิร์ฟเวอร์
• คำแนะนำของ Rancher UI

พัก (15 นาที)

การปรับใช้ Kubernetes (1 ชั่วโมง 45 นาที)
• การติดตั้ง Kubernetes
• สำรวจ Rancher cluster และ CLI
• การติดตั้งแอพพลิเคชั่นจากแคตตาล็อก

ถาม & ตอบ (15 นาที)

from:https://www.techtalkthai.com/rancher-rodeo-thailand-27102022/