คลังเก็บป้ายกำกับ: EDGECORE_NETWORKS

สรุปงาน Aruba Atmosphere 2022 SEATH : ก้าวสู่นวัตกรรมใหม่ Enterprise Networking & Security ด้วยอุปกรณ์เครือข่ายที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น

ในช่วงปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงที่เทคโนโลยีในวงการ Enterprise Networking และ Security มีการปรับตัวสู่ทิศทางใหม่ในหลายแง่มุม และ Aruba Networks ในฐานะของผู้นำนวัตกรรมด้าน Enterprise Networking และ Security เอง ก็ได้มีการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ภายในโซลูชันของตนเองมากมาย เพื่อให้ธุรกิจองค์กรได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ สำหรับเตรียมก้าวสู่การผลักดันสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อเร่งสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัลแล้ว

ทีมงาน TechTalkThai และ APDT.news มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Aruba Atmosphere 2022 SEATH & INDIA ในครั้งนี้ที่มาจัดในประเทศไทย จึงขอนำสรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนาครั้งนี้ พร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาจัดแสดงในบูธกันดังนี้ครับ

3 ปัจจัยสู่การทำ Networking Modernization

เทรนด์หลักที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในวงการ Network อยู่นี้ก็คือการทำ Network Modernization หรือการปรับปรุงระบบเครือข่ายให้มีความทันสมัย ตอบรับต่อโลกของการทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุค Hybrid Work ซึ่งมีทั้งโจทย์ของการรองรับการทำงานจากนอกสถานที่ได้อย่างอิสระ ไปจนถึงการใช้งาน Cloud เป็นหลักในการทำงาน ในขณะที่การรักษาความมั่นคงปลอดภัยก็ต้องสูงยิ่งขึ้นตามความซับซ้อนของภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นในทุกวัน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวงการ Enterprise Networking และ Security ในยามนี้ ได้ทำให้สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายนั้นพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ และทำให้เหล่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายทั่วโลกต้องเร่งปรับตัวกันอย่างรวดเร็ว ต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง และต้องปรับวิธีการดูแลรักษาระบบเครือข่ายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังในการได้รับประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน

ในมุมของ HPE Aruba สิ่งที่จะสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ คือการปรับระบบเครือข่ายให้มีคุณสมบัติ 3 ประการ ดังนี้

1.Automation
การทำ Automation ได้กลายเป็นคุณสมบัติสำคัญประการแรกของระบบเครือข่ายแห่งอนาคต เพราะด้วยระบบเครือข่ายที่มีการขยายตัวออกไปยังภายนอกองค์กร ทำให้มีองค์ประกอบภายในระบบเครือข่ายที่หลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น รวมถึงยังมีการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่หลากหลายยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเด็นด้าน Cybersecurity เองก็ยังมีความสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ทำให้ภาระในการบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบเครือข่ายนั้นสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว

ด้วยเหตุเหล่านี้ การบริหารจัดการระบบเครือข่ายด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมจึงไม่อาจเพียงพออีกต่อไป และหลายองค์กรเองก็ยังต้องเผชิญความกดดันจากการขาดแคลนบุคลากรที่จะมาดูแลรักษาระบบ IT Infrastructure สำคัญเหล่านี้ด้วย ดังนั้นการมีเทคโนโลยีที่สามารถติดตั้งใช้งานบริหารจัดการได้ง่าย ทำงานได้แบบอัตโนมัติ และมี AI เป็นตัวช่วยจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้ธุรกิจองค์กรยังคงสามารถจัดการและควบคุมการใช้ระบบเครือข่ายของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.Security
จากความต้องการในการใช้งานระบบเครือข่ายในรูปแบบที่เปลี่ยนไป ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทำให้การปกป้องดูแลผู้ใช้งานและอุปกรณ์ขององค์กรนั้นต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย ดังนั้นสถาปัตยกรรมด้าน Network Security อย่างในอดีตที่มีการแยกส่วนของการปกป้องผู้ใช้งานภายในองค์กรนั้นจึงไม่เพียงพออีกต่อไป

เพื่อตอบโจทย์นี้เทคโนโลยีด้าน Network และ Security ต้องถูกผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และทำงานได้ตามหลักการของ Zero Trust เพื่อควบคุมทุกการยืนยันตัวตนและเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน ไปยังส่วนอื่นๆ ของระบบเครือข่ายหรือ Internet ให้เป็นไปตามนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงที่ระบบ IT จะถูกโจมตีต่อเนื่องด้วยวิธีการต่างๆ และจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

3.Agility
ความคล่องตัวนั้นได้กลายมาเป็นอีกคุณสมบัติสำคัญของระบบเครือข่ายในทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้การเพิ่มเติมบริการหรือการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบเครือข่ายนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว ตอบสนองต่อกลยุทธ์ของธุรกิจและการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการมาของ COVID-19 ได้ทำให้ความสำคัญของประเด็นนี้ยิ่งทวีคูณขึ้น จากการที่ธุรกิจองค์กรทั่วโลกต่างต้องรีบเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายเพื่อปรับตัวไปสู่การทำงานแบบ Remote Working อย่างเต็มตัวก่อนที่จะปรับมาสู่ Hybrid Working ในปัจจุบัน

นอกจากความคล่องตัวในเชิงเทคนิคแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ธุรกิจองค์กรต้องคำนึงถึงก็คือความคล่องตัวในแง่ของการลงทุนเพิ่มขยายระบบ IT ภายในองค์กร ซึ่งเทรนด์ของการใช้งานระบบ IT ในแบบ as-a-Service นั้นก็สามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี และ Aruba ก็จะตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจองค์กรทั่วโลกนี้ ด้วยบริการ Network-as-a-Service หรือ NaaS นั่นเอง

ในการช่วยให้ธุรกิจองค์กรทั่วโลกก้าวไปสู่การทำ Network Modernization ได้อย่างสำเร็จนี้ ทาง Aruba ได้นำเสนอ Aruba ESP Solutions เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทั้ง 3 ประการดังกล่าวภายในโซลูชันเดียว โดยภายในโซลูชันดังกล่าวนี้จะมีการแบ่งระบบออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้

  1. Connect โดยมี Switch, AP, Gateway สำหรับรองรับการเชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงยังรองรับการทำงานจากภายนอกองค์กรได้อย่างสะดวกสบาย เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาได้ง่ายด้วย SD-WAN
  2. Protect ปกป้องทุกการเชื่อมต่อสื่อสาร โดยผสานระบบ Security เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายโดยตรง เพื่อปกป้องทั้งอุปกรณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ IoT ด้วยการทำ Zero Trust และเสริม Security เข้าไปในระบบ SD-WAN ให้ธุรกิจสามารถก้าวสู่การทำ SASE ด้วยเทคโนโลยี Cloud Security ได้ทันที
  3. Automation การติดตั้งใช้งานและการดูแลรักษาระบบทั้งหมดจะต้องเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายและเป็นอัตโนมัติ เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อระบบเครือข่ายที่ต้องขยายและเปลี่ยนแปลงตามระบบ IT ได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น โดย Aruba มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาเสริมในการทำ Automation
  4. Adapt เพิ่มความยืดหยุ่นในการวางระบบเครือข่ายให้สูงยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการลงทุนที่มีทางเลือกใหม่อย่าง NaaS และการบริหารจัดการที่สามารถเลือกได้ว่าจะดูแลรักษาระบบเครือข่ายด้วยตนเอง หรือ Outsource ออกไปให้กับผู้ให้บริการ Managed Services

อัปเดตเทคโนโลยีและโซลูชันล่าสุดจาก Aruba ในปี 2022

นอกจากการนำเสนอในเชิงวิสัยทัศน์แล้ว งานสัมมนาครั้งนี้ก็ได้มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ จาก HPE Aruba มาเปิดตัวในภูมิภาค APAC กันอย่างหลากหลาย ดังนี้ครับ

โซลูชันแรกคือ Aruba Central NetConductor ที่จะช่วยให้การวางระบบ Network และ Security ภายในองค์กรกลายเป็นรูปแบบ Overlay ได้ ด้วยการตั้งค่าในแบบ Intent-based และบังคับใช้งานนโยบายเหล่านี้ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้การบริหารจัดการเครือข่ายในภาพรวมทั้งในส่วนของ Network และ Security ถูกผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการตั้งค่าทั้งหมดนี้จะอาศัยการผสมผสานกันระหว่าง Protocol มาตรฐานของอุตสาหกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าทุกการทำงานนั้นจะเป็นไปอย่างมีแบบแผน และปรับเปลี่ยนได้ในอนาคตเมื่อมีมาตรฐานใหม่ๆ ออกมาให้ใช้งาน

ถัดมาที่ถูกเน้นย้ำเป็นอย่างมากในงานสัมมนาครั้งนี้ ก็คือ Aruba EdgeConnect SD-WAN Fabric ที่มีทั้ง EdgeConnect Mobile, Mibrobranch, SD-Branch และ Enterprise ให้เลือกใช้งานได้ตามรูปแบบของสาขาที่ธุรกิจองค์กรต้องการ เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายและรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าโครงสร้างของธุรกิจและนโยบายในการทำงานจะเป็นอย่างไร และปกป้องผู้ใช้งานได้ในทุกการเข้าถึงทุก Application ทั้งภายใน Data Center และบน Cloud

ในส่วนของ Aruba EdgeConnect Microbranch ที่ Aruba ระบุว่าได้รับความนิยมสูงมากนั้น ก็คือการเสริมความสามารถ SD-WAN Gateway เข้าไปยัง Access Point รุ่น Remote ของ Aruba โดยตรง ทำให้การวางระบบเครือข่ายสำหรับสาขาขนาดเล็กมากๆ ที่มีผู้ใช้งานเพียงแค่ 1 คน แต่อาจมีหลายอุปกรณ์ที่ต้องใช้งาน และต้องการส่งมอบประสบการณ์ในการทำงานให้กับพนักงานหรือผู้บริหารที่ทำงานจากที่บ้านนั้นเป็นไปได้เสมือนการมาทำงานที่ออฟฟิศ เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดายภายในอุปกรณ์เพียงแค่ชุดเดียว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งสำหรับสาขาของร้านค้าขนาดเล็ก หรือการวางระบบให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ตอบโจทย์การเพิ่มขยายสาขาจำนวนหลายสิบหรือหลายร้อยแห่งในระยะเวลาอันสั้นได้เป็นอย่างดี

ทางด้าน Aruba EdgeConnect Enterprise ก็มีประกาศอัปเดตครั้งใหญ่ในฐานะของโซลูชัน SD-WAN แรกที่ได้รับ ICSA Secure SD-WAN Certification ที่รับรองถึงความสามารถในการทำ Next-Generation Firewall และ Cybersecurity อื่นๆ สามารถทำงานได้อย่างมีมาตรฐาน ตรวจจับและยับยั้งป้องกันภัยคุกคามในหลากหลายรูปแบบได้อย่างแม่นยำ เพื่อปกป้องการเชื่อมต่อของระบบ SD-WAN และควบคุมการเข้าถึงใช้งานระบบเครือข่ายของผู้ใช้งานได้อย่างมั่นใจ

อีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจนั้นก็คือ Open Locate ที่ทาง Aruba ได้ทำการใส่ GPS ลงไปใน AP รุ่น Wi-Fi 6E และรองรับมาตรฐาน 802.11mc / Fine Time Measurement (FTM) ทำให้การระบุจุดติดตั้ง Access Point มีความแม่นยำสูงยิ่งขึ้นกว่าในอดีต และนำตำแหน่งจุดติดตั้งไปใช้อ้างอิงกับระบบแผนที่อื่นๆ ได้อย่างเป็นสากล ในขณะที่ยังสามารถให้บริการข้อมูลพื้นที่ตำแหน่งให้กับ Mobile Application ได้ สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนา Location-based Application ที่ต้องใช้ข้อมูลตำแหน่งภายในอาคารได้อย่างง่ายดาย ตอบโจทย์ได้ดีทั้งในแง่ของการติดตั้งใช้งาน และการต่อยอดสร้างคุณค่าเพิ่มเติมจากระบบเครือข่ายไร้สายที่ธุรกิจมีการใช้งานอยู่

ในฝั่งของ Data Center Networking ทาง Aruba ได้พูดคุยถึงเทรนด์ Distributed Services Switch ด้วย Aruba CX 10000 Series Switch with Pensando ที่ใช้เทคโนโลยีชิป DPU และ Software จาก AMD Pensando เข้ามาเสริมให้กับ Data Center Switch ทำให้ Top-of-Rack Switch มีความสามารถด้าน Security ในตัวในระดับประสิทธิภาพเดียวกับการทำ Switching ได้ทันที อย่างเช่น การทำ Firewall เพิ่มเติมภายในอุปกรณ์ Switch ช่วยเสริม Data Center Network Security ได้โดยไม่เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพด้านระบบเครือข่าย และไม่มีความซับซ้อนของการรับส่งข้อมูลภายในระบบเครือข่ายอย่างในอดีตอีกต่อไป ตอบโจทย์ของธุรกิจที่ต้องการทำ Security ให้กับ Network Traffic ในแบบ East-West ซึ่งมีปริมาณมหาศาล และยากต่อการดูแลรักษาในอดีตได้ทันที

สุดท้ายก็คือการพูดคุยถึง NaaS – Network as a Service ที่ธุรกิจองค์กรสามารถเลือกใช้งานระบบ IT Infrastructure ในฝั่งของ Network และ Security จาก Aruba ทั้งหมดได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายในแบบ Subscription-based ซึ่งจะมีทั้ง Hardware และ Software รวมอยู่ภายในบริการ พร้อมระบบ Data Analytics สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานและการปรับแต่งระบบเครือข่าย เปิดให้สามารถบริหารจัดการได้ทั้งโดยฝ่าย IT ขององค์กร และผู้ให้บริการ Managed Services ซึ่งจะช่วยให้เทคโนโลยีด้าน Network และ Security ขององค์กรสามารถถูกใช้งานได้โดยตลาดที่มีขนาดกว้างมากยิ่งขึ้น ในขณะที่มีความสามารถเทียบเท่าได้กับโซลูชันในระดับธุรกิจองค์กร

Aruba ระบุว่าเทรนด์ของการปรับไปใช้งาน NaaS นั้นโตเร็วมากจากการมาของ Hybrid Work ที่ธุรกิจต้องการระบบเครือข่ายใหม่ที่มีความซับซ้อนสูง บนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างออกไป ดูแลง่าย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นไม่สูงมาก

ในการใช้งาน NaaS นั้น ธุรกิจองค์กรจะสามารถใช้งานผ่านบริการ HPE GreenLake for Aruba Service Packs รองรับ 8 Use Case ได้แก่ Outdoor Wireless, Indoor Wireless, Remote Wireless, Wired Core, Wired Aggregation, Wired Access, SD-Branch และ UXI โดยสามารถเสริมความสามารถในส่วนของ Network Management และ Network Security จากโซลูชันของ Aruba ที่ต้องการได้ทั้งหมด ซึ่งสัญญาในการใช้บริการดังกล่าวนี้จะอยู่ที่ระยะเวลา 3-5 ปี

และทั้งหมดนี้ก็คือประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา Aruba Atmosphere 2022 SEATH & INDIA ในครั้งนี้ครับ ถ้าหากท่านใดมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ เพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อทีมงาน HPE Aruba สามารถติดต่อ HPE Aruba ได้ที่อีเมล: nawarat.ch@hpe.com หรือติดต่อพาร์ทเนอร์รายต่างๆ ของ Aruba ทั่วประเทศ เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดทดสอบเทคโนโลยีหรือโซลูชันต่างๆ ที่ต้องการได้ทันทีครับ

 

from:https://www.techtalkthai.com/aruba-atmosphere-2022-seath/

Advertisement

[Guest Post] การใช้ Edge automation กับ 7 อุตสาหกรรมหลัก

บทความโดย เด็บ ริชาร์ดสัน, Contribution Editor, เร้ดแฮท

คำอธิบายง่าย ๆ ของ edge computing คือการประมวลผลที่เกิดขึ้น ณ ตำแหน่ง หรือใกล้กับตำแหน่งทางกายภาพของผู้ใช้ หรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่กำลังประมวลผล เช่น อุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์

การวางบริการด้านการประมวลผลต่าง ๆ ไว้ใกล้กับตำแหน่งเหล่านี้ ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากบริการที่รวดเร็วและเชื่อถือได้มากขึ้น และองค์กรจะได้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นและความคล่องตัวของโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ด้วย

ความท้าทายของ Edge computing

เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่ edge แพร่หลายมากขึ้น ทำให้การบริหารจัดการนอกพื้นที่การทำงานแบบเดิม ๆ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย มีการนำแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไปใช้นอกดาต้าเซ็นเตอร์ อุปกรณ์หลากหลายเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณและกระจายไปอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนออน-ดีมานด์แอปพลิเคชันและบริการต่าง ๆ ก็ทำงานอยู่บนโลเคชันที่ห่างไกล หลากหลาย และแตกต่างกันอย่างมาก

สภาพแวดล้อมของการใช้งานไอทีที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ทำให้องค์กรต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ เช่น

  • ความท้าทายด้านบุคลากรที่จะต้องมั่นใจได้ว่ามีทักษะในการจัดการกับความต้องการต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ edge ที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
  • การสร้างความสามารถในการโต้ตอบและตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ ด้วยการใช้มนุษย์ให้น้อยที่สุด แต่ต้องปลอดภัยและเชื่อถือได้มากขึ้น
  • ทำให้การทำงานที่ edge สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพในขณะที่ต้องพิจารณาจำนวนอุปกรณ์และอุปกรณ์ปลายทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตามความท้าทายที่ยากจะขจัดได้ดังกล่าวสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติที่ edge (edge automation)

คุณประโยชน์ของ Edge automation

การทำงานต่าง ๆ ที่ edge ได้แบบอัตโนมัติจะช่วยลดความยุ่งยากที่เกิดจากการใช้โครงสร้างพื้นฐานไฮบริดคลาวด์ได้มาก องค์กรจึงสามารถใช้ประโยชน์จาก edge computing ได้มากขึ้น

Edge automation สามารถช่วยองค์กรได้ดังนี้

  • เพิ่มความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน ด้วยการใช้การกำหนดค่าที่ช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดขององค์กรมีความเสถียรมากขึ้น และบริหารจัดการอุปกรณ์ edge ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • เพิ่มความคล่องตัว โดยปรับการทำงานให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และใช้ทรัพยากร edge เท่าที่จำเป็น
  • ให้ความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัยของการทำงานจากระยะไกล ด้วยการอัปเดต การแพตช์ และการบำรุงรักษาที่จำเป็นแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องส่งช่างเทคนิคไปที่หน้างาน
  • ลดดาวน์ไทม์ จากการบริหารจัดการเครือข่ายที่ง่ายขึ้น และลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยการวิเคราะห์ การตรวจสอบ และการแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ

ตัวอย่างการใช้ edge automation ในอุตสาหกรรม 7 ประเภท

1.  การขนส่ง
ธุรกิจขนส่งสามารถทำให้กระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยทำแบบแมลนวลและมีความซับซ้อนกลายเป็นอัตโนมัติได้ ด้วยการอัปเดทซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ให้กับรถไฟ เครื่องบิน และยานพาหนะขับเคลื่อนอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดการทำงานด้วยพนักงานได้อย่างมาก ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและขจัดความผิดพลาดจากการตั้งค่าต่าง ๆ แบบแมนนวล ช่วยให้ทีมงานสามารถทำงานอื่น ๆ ที่เป็นงานในเชิงกลยุทธ์ สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีความสำคัญมากกว่าได้

การติดตั้งและบริหารจัดการอุปกรณ์ได้แบบอัตโนมัติ มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้มากกว่าการทำงานเหล่านี้แบบแมนนวล

2.  ค้าปลีก
การก่อตั้งร้านค้าปลีกสักหนึ่งแห่งที่มีระบบการให้บริการแบบดิจิทัลผ่านออนไลน์อาจเป็นเรื่องซับซ้อน ตั้งแต่เรื่องของการจัดการตั้งค่าอุปกรณ์เน็ตเวิร์ก การตรวจสอบการกำหนดค่าต่าง ๆ และตั้งค่าทรัพยากรด้านการประมวลผลทั่วทุกส่วนของร้าน และเมื่อร้านพร้อมเปิดให้บริการ งานด้านไอทีจะเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับความเสถียร ความสม่ำเสมอ และความเชื่อถือได้แทนเรื่องของความเร็วและการปรับขนาด

Edge automation ช่วยให้ร้านค้าปลีกพึ่งพาตัวเองและดูแลอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น พร้อม ๆ กับช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการตั้งค่าและการอัปเดตแบบแมนนวลลงได้อย่างมาก

3.  อุตสาหกรรม 4.0

สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 เราเห็นกันอยู่ว่ามีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT), คลาวด์คอมพิวติ้ง, การวิเคราะห์ และปัญญาประดิษฐ์/แมชชีนเลิร์นนิง (AI/ML) มาผสมผสานใช้ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรงกลั่นน้ำมันและก๊าซไปจนถึงโรงงานอัจฉริยะ และระบบซัพพลายเชน 

ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของ edge automation ในอุตสาหกรรม 4.0 คือในส่วนของการผลิตที่ใช้เวอร์ชวลไลเซชัน อัลกอริธึม โดย edge automation สามารถช่วยตรวจจับความบกพร่องต่าง ๆ ของส่วนประกอบที่ผลิตขึ้นบนสายงานด้านการประกอบผลิตภัณฑ์ ทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำงานต่าง ๆ ในโรงงาน ด้วยการระบุและแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัจจัยแวดล้อมที่เป็นอันตรายหรือการกระทำใด ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต

4. โทรคมนาคม สื่อ และความบันเทิง

Edge automation เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ให้บริการ รวมถึงการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เช่น edge automation สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์ edge ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ เช่น การแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อได้แบบอัตโนมัติ

Edge automation ยังช่วยให้ส่งมอบบริการใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้บริการสามารถส่งอุปกรณ์ไปยังบ้านหรือสำนักงานของลูกค้า และลูกค้าก็สามารถเสียบปลั๊กใช้งานได้เลย โดยไม่ต้องมีช่างเทคนิคมาติดตั้งให้ การให้บริการได้แบบอัตโนมัติไม่เพียงช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า แต่ยังสร้างกระบวนการดูแลรักษาเน็ตเวิร์กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีศักยภาพในการลดค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วย

5. บริการด้านการเงินและประกันภัย

ลูกค้าของภาคการเงินต้องการบริการและเครื่องมือด้านการเงินที่เฉพาะตัวมากขึ้น และต้องสามารถเข้าใช้งานได้จากทุกที่ รวมถึงจากอุปกรณ์โมบายของลูกค้า

เช่น edge automation สามารถช่วยให้ธนาคารที่ต้องการเปิดตัวเครื่องมือทางการเงินแบบที่ลูกค้าสามารถหาข้อเสนอที่ต้องการได้ด้วยตนเอง (self-service tool) ไม่ว่าจะเป็นแพ็คเกจประกันภัยใหม่ ข้อเสนอในการจดจำนอง หรือบัตรเครดิต สามารถขยายบริการเหล่านี้ได้ในขณะที่ยังคงมาตรฐานความปลอดภัยของอุตสาหกรรมไว้อย่างเข้มงวดโดยอัตโนมัติ และไม่กระทบต่อประสบการณ์ลูกค้า

Edge automation ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้งานได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ และมีสิ่งที่ผู้ให้บริการทางการเงินต้องการ นั่นคือ ความเชื่อถือได้และการปรับขยายขนาดการให้บริการได้ตามต้องการ

6.  เมืองอัจฉริยะ

เมืองหลายแห่งใช้เทคโนโลยี edge ที่ทันสมัยหลายอย่างผสมผสานกัน เพื่อปรับปรุงการให้บริการและเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ เช่น ใช้  IoT และ AI/ML เพื่อติดตามและตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่กระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ ความพึงพอใจของประชาชน และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม

โครงการเมืองอัจฉริยะในช่วงแรก ๆ มีข้อจำกัดด้วยเทคโนโลยีในสมัยนั้น แต่เมื่อเกิด 5G networks (และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารใหม่ ๆ ที่กำลังตามมา) ที่ส่งผลให้ไม่เพียงเข้ามาเพิ่มความเร็วของการรับส่งข้อมูล แต่ยังทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ด้วย เมืองอัจฉริยะจึงต้องขยายขีดความสามารถต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจำเป็นต้องทำให้การทำงานที่ edge เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การติดตามและการแจ้งเตือน

7.  ภาคสาธารณสุข

ภาคสาธารณสุขได้เริ่มเปลี่ยนจากการให้บริการภายในโรงพยาบาลไปสู่ทางเลือกในการให้บริการทางไกลมานานแล้ว เช่น ศูนย์ผู้ป่วยนอก, คลินิก และห้องฉุกเฉินอิสระ (freestanding emergency rooms) และได้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้อย่างแพร่หลายต่อเนื่อง เพื่อให้การสนับสนุนสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์สวมใส่และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่น ๆ ที่หลากหลาย ยังช่วยให้การตัดสินใจด้านการรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงกับผู้รับบริการแต่ละรายมากขึ้น

การใช้ระบบอัตโนมัติ, edge computing และการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถแปลงข้อมูลใหม่จำนวนมากมายเหล่านี้ ให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ทรงคุณค่า เพื่อช่วยให้การรักษาผู้ป่วยมีผลลัพธ์ดีขึ้น และมอบคุณประโยชน์ด้านการเงินและการดำเนินงานไปพร้อม ๆ กัน

Red Hat Edge

แพลตฟอร์มประมวลผลอันทันสมัยที่ขับเคลื่อนโดย Red Hat Edge สามารถช่วยองค์กรขยาย การใช้โอเพ่นไฮบริดคลาวด์ไปยัง edge ได้ Red Hat Edge แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันร่วมกันของ เร้ดแฮทในการรวม edge computing ไว้ในโอเพ่นไฮบริดคลาวด์ ระบบนิเวศของพันธมิตรที่มีขนาดใหญ่และกำลังขยายตัวตลอดจนวิธีการทำงานแบบโอเพ่นของเร้ดแฮท ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นที่จำเป็นต่อการสร้างแพลตฟอร์มที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสร้างข้อเสนอที่โดดเด่นให้กับลูกค้า

Red Hat Edge ประกอบด้วยพอร์ตโฟลิโอของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สระดับองค์กรที่เชื่อถือได้ เช่น Red Hat Enterprise Linux, Red Hat Ansible Automation Platform และอื่น ๆ สามารถช่วยให้ลูกค้าใช้แนวทางรักษาความปลอดภัยแบบเลเยอร์สำหรับบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในองค์กร, ในคลาวด์และที่ edge ให้ดีขึ้น  

ลูกค้าสามารถใช้พอร์ตโฟลิโอแพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์ส และระบบนิเวศพันธมิตรที่ครอบคลุมของเร้ดแฮท เพื่อทำให้เกิดโซลูชันที่ยืดหยุ่นสำหรับ

  • การมอบโครงสร้างพื้นอันทันสมัยที่เน้นความปลอดภัยและปรับขนาดได้มากขึ้น ตั้งแต่ edge ไปสู่แกนกลางจนถึงระบบคลาวด์
  • การใช้ edge computing แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และส่งเสริมกรณีการใช้งานที่เป็นนวัตกรรม
  • หลีกเลี่ยงการถูกล็อกอินจากผู้ขายเทคโนโลยี และสร้างแพลตฟอร์มที่ยั่งยืนมากขึ้น
  • การสร้างแพลตฟอร์ม edge ที่คล่องตัว ที่สามารถปรับใช้เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
  • การปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลาด และสร้างความโดดเด่นในการแข่งขัน

from:https://www.techtalkthai.com/applying-edge-automation-to-7-key-industries/

[Review] Edgecore Networks ecCLOUD: บริหารจัดการ Switch และ Access Point ได้ง่ายๆ ผ่าน Cloud ใช้งานฟรี 50 อุปกรณ์

Cloud Networking ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหลักในการออกแบบระบบเครือข่ายสำหรับภาคธุรกิจในทุกวันนี้ไปแล้ว ด้วยความง่ายดายในการติดตั้งใช้งานและการดูแลรักษา รวมถึงการรองรับธุรกิจที่มีหลายสาขาได้เป็นอย่างดี

ในบทความนี้ ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสทดสอบการใช้งาน ecCLOUD ระบบบริหารจัดการ Cloud Networking ของ Edgecore Networks หนึ่งใน Vendor ทางด้าน Enterprise Network ที่กำลังมาเปิดตลาดในประเทศไทย ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่มากมาย จึงขอสรุปเป็นบทความรีวิวการใช้งานจริงดังนี้ครับ

รู้จัก ecCLOUD ระบบบริหารจัดการเครือข่ายผ่าน Cloud จาก Edgecore Networks

Edgecore Networks นั้นคือผู้ผลิตโซลูชันระบบ Network สำหรับธุรกิจองค์กร, Data Center และผู้ให้บริการโครงข่าย ที่มีเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายหลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่การใช้งานในส่วนของ Data Center, Campus ไปจนถึงธุรกิจโทรคมนาคม

หนึ่งในโซลูชันเด่นของ Edgecore Networks นั้นก็คือ Cloud Networking ภายใต้ชื่อ ecCLOUD ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาระบบ Cloud Networking เป็นรายแรกๆ ของโลกมาอย่างยาวนานนั่นเอง

Credit : Edgecore Networks

ecCLOUD นั้นเป็นบริการ Cloud สำหรับการบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่าย ที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ทั้งสำหรับธุรกิจองค์กรที่มีหลายสาขา และธุรกิจ SI ที่ต้องการเป็น Managed Service Provider โดยสามารถบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายได้ทั้ง Switch, Wireless Access Point และโซลูชัน SD-WAN สำหรับการใช้งานในบริษัทสาขา รวมถึง Terragraph เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายที่ย่านความถี่ 60 GHz ด้วยมาตรฐาน 802.11ay สำหรับสร้าง Mesh Network ในระดับเมืองหรือระดับนิคมอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี สำหรับในประเทศไทย ecCLOUD จะมุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการ Switch และ Wireless Access Point สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางไปจนถึงธุรกิจองค์กรเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบเครือข่ายจาก Edgecore Networks สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย

โดย ecCLOUD เปิดให้ใช้งานได้ฟรีสำหรับการบริหารจัดการระบบเครือข่ายที่มีอุปกรณ์จาก Edgecore Networks จำนวนไม่เกิน 50 ชุด โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้งานและสาขาของธุรกิจ ทำให้สามารถตอบโจทย์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็กและขนาดกลางได้อย่างคุ้มค่า ไม่ว่าท่านจะเป็นธุรกิจประเภท โรงแรม ร้านค้าปลึกที่มีสาขา โรงเรียน โรงพยาบาล อุปกรณ์กว่า 50 ตัวก็น่าจะเพียงพอแล้วกับการใช้งานภายใน

มากไปกว่านั้นด้วยความสามารถในการแบ่งไซต์ของ ecCLOUD ยังทำให้ Manage Service Provider หรือ Internet Service Provider นำไปต่อยอดในการจัดการลูกค้าของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ธุรกิจโรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาลที่มีสาขาต่างๆ ที่ต้องการซื้อบริการเพื่อดูแลอุปกรณ์ AP และ Switch อย่างครบวงจร สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่การให้บริการของตนได้อีกต่อ

เริ่มต้นทดสอบใช้งาน ecCLOUD

ในการใช้งาน ecCLOUD นั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่เปิด Web Browser แล้วเข้าไปที่ URL https://cloud.ignitenet.com จากนั้นก็กรอก Username/Password เข้าไปก็เป็นอันใช้ได้แล้ว จากนั้นระบบก็จะพาเราเข้าไปสู่หน้าบริหารจัดการระบบ Network บน ecCLOUD ให้เราทันที

1. ตั้งค่าครั้งแรก เตรียมระบบให้พร้อมใช้งาน

ถึงแม้ว่าในการทดสอบใช้งาน ecCLOUD ครั้งนี้ ทาง SWS Group ได้ทำการเตรียมระบบ Cloud ให้เราได้ทำการทดสอบพร้อมมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Switch และ Access Point เอาไว้อยู่แล้ว แต่เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นภาพของการตั้งค่าเริ่มต้นกันมากขึ้น ทางเราจึงขอสรุปขั้นตอนในส่วนนี้เอาไว้ดังนี้ครับ

ขั้นตอนแรกเลยนั้นก็คือ “การสร้าง Site” ซึ่งตรงนี้ถือเป็นความสามารถที่ระบบ Cloud Networking มักจะต้องรองรับกันเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพื่อให้เราสามารถกำหนดได้ว่าเราจะมีระบบเครือข่ายในออฟฟิศสาขาใดบ้าง หรือมีหน้าร้านที่ใดบ้าง และทำการบริหารจัดการระบบเครือข่ายในแต่ละพื้นที่แยกจากกันได้นั่นเอง

ในการสร้าง Site นี้ เราสามารถเข้าไปจัดการได้ที่หน้า Site Management แล้วเลือกที่ปุ่ม Add Site เพื่อสร้าง Site ใหม่ขึ้นมาได้ทันที โดยระบบจะเปิดให้เราเลือกตำแหน่งของ Site ที่สร้างใหม่นี้บน Google Map ได้ จากนั้นก็สามารถกดปุ่ม Create เพื่อสร้าง Site ขึ้นมาได้ทันที

เมื่อสร้าง Site เสร็จแล้ว ระบบจะพาเราไปยังหน้า Configuration ของ Site นั้นๆ และให้เราสามารถสร้าง Login สำหรับผู้ดูแลระบบประจำ Site นั้นๆ เพิ่มเติมได้

ถ้าสังเกตมุมขวาบนของจอ จะเห็นได้ว่าระบบมีการแจ้งเตือนว่าใน Site นี้เรายังไม่มีอุปกรณ์เครือข่ายใดๆ อยู่เลย ซึ่งก็คือขั้นตอนถัดไปที่เราจะต้องทำ “การเพิ่มอุปกรณ์ในระบบ” และเลือกให้อุปกรณ์นี้อยู่ภายใต้ Site นี้ ด้วยการกดที่ปุ่ม Add Devices พร้อมทำการใส่ Serial Number / MAC Address และตั้งชื่ออุปกรณ์เข้าไปได้ทันที หรือจะทำการอัปโหลดไฟล์แทนก็ได้ในกรณีที่มีเรามีอุปกรณ์หลายชิ้น

จุดสังเกตหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ecCLOUD นั้นรองรับการบริหารจัดการได้ทั้ง Switch และ Access Point ในระบบเดียว ซึ่งการตั้งค่าของอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้ในระบบมีเมนูสำหรับบริหารจัดการอุปกรณ์แต่ละประเภทในแต่ละ Site แยกขาดจากกันนั่นเองครับ

เมื่อเราทำการเพิ่มอุปกรณ์เครือข่ายที่เรามีอยู่เข้าไปในระบบเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าในหน้าจอ Devices จะมีรายการอุปกรณ์ของเราทั้งหมดพร้อมสถานะการทำงานแสดงอยู่ ซึ่งลำดับถัดไปก็คือ “การกำหนดจุดติดตั้ง” ของอุปกรณ์เหล่านี้ในแผนที่นั่นเองครับ

ในขั้นตอนนี้ให้เราไปที่เมนู Maps > Google Map แล้วเลือกตำแหน่งของแผนที่ใน Google Map ที่เราต้องการ จากนั้นก็ทำการลากไอคอนหน้าชื่ออุปกรณ์ของเราไปวางบนตำแหน่งในแผนที่ได้เลย

ทั้งนี้ถ้าหากเรามีข้อมูล Floor Plan ของอาคารอยู่ในมือด้วย เราก็สามารถทำการอัปโหลดข้อมูลและกำหนดจุดติดตั้งเพิ่มเข้าไปได้ครับ โดยเข้าไปที่เมนู Maps > Floor Maps จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Add New Map ตั้งชื่อให้เรียบร้อย และอัปโหลดไฟล์ภาพของ Floor Plan นั้นๆ เข้าไปได้เลย

เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเห็นได้ว่า Floor Plan ใหม่ของเราจะปรากฎขึ้นมา ซึ่งเราสามารถกำหนดสัดส่วนได้ด้วยว่าความยาวกี่ Pixel ในภาพนั้นจะคิดเป็นขนาดพื้นที่จริงเท่าไหร่ เพื่อนำไปใช้ในการแสดง Coverage Area ของทั้ง Switch และ Access Point ของเราได้ครับว่าระยะทางที่เป็นไปได้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายจากอุปกรณ์นั้นๆ จะยาวแค่ไหน โดยคลิกที่ปุ่ม Set Scale ด้านขวาของแผนที่ที่เราต้องการ แล้วทำการลากเส้นระหว่าง 2 จุดในแผนที่ พร้อมระบุว่าความยาวของเส้นนั้นในพื้นที่จริงเป็นกี่เมตร

เพียงเท่านี้เมื่อเรากดเข้าไปดูใน Floor Plan แล้วทำการลากวางอุปกรณ์ Switch และ Access Point ของเราลงไปในตำแหน่งต่างๆ ของพื้นที่ติดตั้ง และทำการคลิกที่ปุ่ม Show Coverage Area เราก็จะเห็นระยะทางการเชื่อมต่อคร่าวๆ ทันทีครับ แต่ต้องแจ้งตรงนี้ว่าระบบไม่สามารถใส่ข้อมูลสิ่งกีดขวางอย่างเช่น กำแพง เสา หรืออื่นๆ เพื่อทำการคำนวณ Coverage Area แบบละเอียดได้ แต่เท่านี้จริงๆ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ในการวางแผนภาพรวมสำหรับเครือข่ายแล้วครับ

นอกจากนี้ เมนูอื่นๆ ที่ควรรู้เอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน ก็ได้แก่

  • Dashboard สำหรับการตรวจสอบภาพรวมของระบบใน Site ของเรา
  • Activity สำหรับติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในระบบของเรา
  • Notifications สำหรับตั้งค่าว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น จะให้ระบบทำการแจ้งเตือนไปยัง Email ในช่องทางใด และมีออปชันเสริมคือให้ทำการแจ้งเตือนไปทาง Slack ได้จากการติดตั้งผ่าน Add-ons ครับ
  • Role-based Access Control  การทำงานในระบบองค์กร ทีมไอทีอาจประกอบด้วยหลายบริษัทและสาขา ดังนั้นคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ก็คือความสามารถในการกำหนดสิทธิ์การทำงานตามบทบาทหน้าที่ โดย ecCLOUD สามารถกำหนดการใช้งานได้ 4 ระดับคือ
  1. Owner – เป็นสิทธิ์ใหญ่ที่สุดสำหรับคลาวด์
  2. Administrator – เป็นสิทธิ์สำหรับจัดการทุกอย่างในไซต์ภายใต้คลาวด์ โดยปกติแล้วสิทธิ์นี้ไม่สามารถบริหารจัดการเรื่องบิลและ license ได้แต่ก็สามารถเปิดเพิ่มได้จาก Owner
  3. Guest – มองเห็นทุกไซต์และทุกอุปกรณ์ในคลาวด์แต่แก้ไขอะไรไม่ได้ ดูรหัสผ่านของอุปกรณ์และการคอนฟิคของไซต์ได้เท่านั้น
  4. Site User – ผู้ใช้งานนี้มีอำนาจจำกัดในระดับไซต์ โดยมองเป็นผู้จัดการไซต์คนหนึ่งหรือ Guest ก็ได้ แล้วแต่สิทธิ์ที่จะให้ ความน่าสนใจคือในเมนู Custom สามารถปรับเลือกสิทธิ์ย่อยลงไปได้อย่างละเอียดมากมายครอบคลุมแทบทุกความต้องการ

จากขั้นตอนข้างต้นที่ผ่านมานี้ เราก็จะสามารถทำการบริหารจัดการ Site ภายในระบบให้แยกตามสาขา พร้อมกำหนดอุปกรณ์เครือข่ายในแต่ละสาขา และทำการวางจุดติดตั้งกันได้เรียบร้อยแล้ว ลำดับถัดไปก็จะเป็นเรื่องของการตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่าย 2 ส่วน ได้แก่การตั้งค่า Switch และ Access Point กันแล้วครับ

2. ลงทะเบียนอุปกรณ์ได้ง่ายแค่ไม่กี่ขั้นตอน

ecCLOUD ช่วยให้การทำงานของผู้ดูแลระบบง่ายขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะหากเราต้องจัดการอุปกรณ์จำนวนมาก หรือในกรณีที่มีไซต์สาขาอยู่ไกลออกไปเดิมที่คงต้องเข้าไปคอนฟิคที่หน้างานเอง เรามาลองชมวิธีการทำงานจริงกันเลยดีกว่า ซึ่งเราได้ Access Point ระดับองค์กรหรือ EAP101 (WiFi 6 2:2×2 Indoor Access Point) จริงมาทดสอบกัน 1 ตัว วิธีการก็ง่ายมากๆเพียงแค่ท่านกรอกลิสต์ของ Serial Number และ Mac Address ที่ระบุอยู่หน้าเครื่องผ่านคลาวด์ และเชื่อมต่อ Access Point เข้ากับสัญญานอินเทอร์เน็ตแค่นี้ก็เรียบร้อย 

ข้อสังเกตคือหากเลือก Inherit Site-level เมื่ออุปกรณ์ผ่านการลงทะเบียนแล้วก็จะมีการรับคอนฟิคจากคลาวด์

ช่วงแรกที่ลงทะเบียนแล้วระหว่างที่อุปกรณ์ยังคุยกับคลาวด์ไม่ได้จะมีการแสดงสถานะ (Pending) แต่หากมีลงทะเบียนรับ Credential เพื่อใช้ในการสื่อสารกันเรียบร้อยแล้วก็จะขึ้นว่า Registered ซึ่งสามารถดูภาพรวมได้จากเมนู Activity หรือหน้ารวมอุปกรณ์ที่ Devices 

หากตอนกรอกข้อมูลช่วงแรกเปิด Inherit Site-Level เอาไว้ หลังจากที่อุปกรณ์สื่อสารกับ ecCLOUD ได้ก็จะมีการอัปเดตคอนฟิคไปสู่อุปกรณ์นั่นเอง จากรูปเมนู Activity จะเห็นสถานะรับคอนฟิค

ในที่นี้เราได้มีการตั้งค่า WiFi SSID 2 ตัว จากเมนูระดับไซต์ คือ ttt demot Site 2 (Guest) และ TTT Demo Site 2 

แต่แน่นอนว่าในบางกรณีอุปกรณ์ในไซต์ของเราอาจต้องการคอนฟิคที่แตกต่างออกไปเพิ่มเติมจากคอนฟิคมาตรฐานของไซต์ อาจจะด้วยสภาพแวดล้อมอย่างเช่นการจูนคลื่น หรือฟีเจอร์บางอย่างของอุปกรณ์เป็นพิเศษ เราจำเป็นต้องเข้าไปทำเพิ่มเติมที่หน้าเมนูของอุปกรณ์ โดยในกรณีนี้เราได้มีการเปิดใช้ WPA3 ให้แก่ Guest ที่ตัวของอุปกรณ์โดยตรงใน ecCLOUD ซึ่งท่านจะเห็นได้ว่ามีการแสดงคอนฟิคเป็นแถมสีม่วงที่แสดงว่าเป็นคอนฟิคระดับอุปกรณ์

เพียงเท่านี้หลังจากที่เราอุปกรณ์ได้รับคอนฟิคผ่านอินเทอร์เน็ต ฝั่งผู้ใช้งานปลายทาง ณ Access Point ก็จะมองเห็นวงของ WiFi ที่ได้มาจาก Site Config 2 วงแต่ติดการป้องกัน WPA3 ผ่านของ Guest ได้มาจากการเพิ่มเติมที่ระดับอุปกรณ์ พร้อมใช้งานได้ทันทีโดยที่แอดมินไม่ต้องทำอะไรเลย นั่นหมายความว่าเราสามารถส่งอุปกรณ์ออกไปและขอให้ผู้ใช้ปลายทางเสียบอุปกรณ์กับสายแลนที่สามารถออกอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างก็พร้อมแล้ว

ท่านสามารถดูรายละเอียดการใช้งานที่เกิดขึ้นกับ Access Point ของเราได้จากหน้า Devices และคลิกเข้าไปที่ชื่อของอุปกรณ์ที่สนใจ เช่น ในหน้า Dashboard จะบ่งบอกข้อมูลของอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆเกี่ยวกับ Serial Number, Firmware Version, รุ่นอุปกรณ์, ช่วงเวลาที่เข้ามาลงทะเบียน, WAN IP, ประสิทธิภาพของ CPU และ Memory และอื่นๆ รวมถึงสถานะกราฟที่แสดงการใช้งานของพอร์ตหรือ WiFi

ไม่เพียงเท่านั้นในด้านขวาบนของรูปด้านล่างท่านจะเห็นได้ว่ามีเมนูสำหรับปฏิบัติการกับอุปกรณ์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการสั่ง รีบูต สแกนWiFi จับแพ็กเกจเพื่อนำมาวิเคราะห์ เปลี่ยนแปลงชื่อ ลบ/กีดกัน/ปิดกั้น หรือย้ายไปสังกัดไซต์อื่น(นั่นหมายความว่าส่งของกันอย่างเดียวเรื่องการจัดการ ecCLOUD ทำได้)

หากต้องดูสถานะการใช้งานในมุมอื่นๆก็ทำได้ในเมนู Statistics ที่แสดงถึง WiFi, Network, System ถัดมาจะเป็น Client ที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้และ Activity เสมือนเป็นข้อมูล Log การกระทำที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่ออุปกรณ์

3. ตั้งค่าอุปกรณ์ Switch

ในการตั้งค่าการทำงานของ Edgecore Switch ผ่านทาง ecCLOUD นั้นจะมีแนวคิดที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย คือแบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารจัดการในระดับอุปกรณ์ และการบริหารจัดการในระดับระบบนั่นเอง

สำหรับ “การบริหารจัดการในระดับอุปกรณ์” เราสามารถเข้าไปจัดการได้ที่เมนู Devices แล้วเลือกอุปกรณ์ Switch ตัวที่เราต้องการทำการตั้งค่าได้ทันที โดยจะมีเมนูย่อยดังนี้สำหรับการจัดการอุปกรณ์ Switch

  • Dashboard สรุปภาพรวมของอุปกรณ์ พร้อมแสดงสถานะการทำงานของ Port, PoE และสถิติการใช้งานได้แก่ปริมาณการ Upload/Download ราย Port และสถิติการใช้งาน CPU, Memory, Power Consumption และอุณหภูมิของอุปกรณ์
  • Ports สรุปสถิติการรับส่งข้อมูลและสถานะของแต่ละ Port
  • Activity รวมเหตุการณ์และการแจ้งเตือนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์
  • Configuration ตั้งค่าการทำงานของ Switch โดยครอบคลุมถึงการตั้งค่าที่ Port, Trunk, VLAN, Name Servers, IP Routes, QoS, STP และ Port Security

โดยรวมแล้วในส่วนของการตั้งค่า Switch บน ecCLOUD นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการบริหารจัดการผ่านหน้า WebUI รายอุปกรณ์มากนัก แต่สะดวกกว่ามากเพราะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์แต่ละชุดได้ผ่าน Cloud ทันทีที

ส่วน “การบริหารจัดการในระดับระบบ” เราสามารถเข้าไปจัดการได้ที่ Configuration ของ Site แล้วเลือกเมนูย่อย Switch ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถจัดการเรื่อง Security ได้อย่างน่าสนใจมาก เพราะเราสามารถเลือกทำ Site Port Security กำหนด Whitelisted/Blacklisted MAC Address ของอุปกรณ์เครือข่ายของเราและบังคับใช้งานได้สำหรับ Switch ทั้งหมดใน Site เลย ทำให้เฉพาะอุปกรณ์ที่มี MAC Address ดังที่กำหนดเท่านั้นที่จะสามารถเชื่อมต่อกับ Port ของ Switch ได้ หรือจะบล็อคเฉพาะอุปกรณ์ที่มี MAC Address ดังที่กำหนดเท่านั้นก็ได้เช่นกัน

เมื่อเราตั้งค่า Switch เรียบร้อยแล้ว ก็ไปสู่ส่วนสำคัญถัดไปก็คือการตั้งค่า Wi-Fi กันเลยครับ

4. ตั้งค่าอุปกรณ์ Access Point และ Wi-Fi SSID

สำหรับการบริหารจัดการอุปกรณ์ Access Point เพื่อสร้าง Wi-Fi SSID นั้น แนวคิดของ ecCLOUD จะแบ่งการตั้งค่าออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือการตั้งค่าสำหรับ Wi-Fi 5 และการตั้งค่าสำหรับ Wi-Fi 6 เนื่องจากทั้งสองมาตรฐานนี้มีประเด็นปลีกย่อยที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก และ Edgecore Networks ก็ยังคงต้องการให้เราตั้งค่าเชิงลึกสำหรับ Wi-Fi ในแต่ละมาตรฐานได้อย่างครบถ้วนอยู่ จึงทำให้ต้องมีการแยกเมนูของทั้ง 2 มาตรฐานออกจากกัน โดยในการทดสอบครั้งนี้เราจะลองตั้งค่าของ Wi-Fi 6 เป็นหลักนะครับ

ใน “การตั้งค่า Wi-Fi 6” นี้ เราจะต้องเข้าไปที่เมนู Configuration > WiFi6 แล้วคลิกที่ปุ่ม Add SSID ซึ่งหน้าต่างสำหรับการตั้งค่า SSID ก็จะปรากฎขึ้นมาให้เราสามารถตั้งค่าได้ดังนี้

  • Enable SSID เลือกว่าจะเปิดให้ SSID นี้ถูกใช้งานหรือไม่
  • SSID ตั้งชื่อ SSID ตามที่ต้องการ
  • Broadcast SSID เลือกว่าจะให้ SSID นี้ถูก Broadcast ให้คนเห็นและเชื่อมต่อได้หรือไม่ ถ้าเลือกปิดไป SSID นี้จะทำงานแบบ Hidden ต้องไปตั้งค่าใส่ชื่อเองที่เครื่อง Client
  • Client Isolation เลือกว่าจะให้ผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อ SSID เดียวกันนี้สามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันเองได้หรือไม่
  • Multicast-to-Unicast Conversion เลือกว่าจะเปลี่ยน Packet แบบ Multicast ให้กลายเป็น Unicast ไปหาปลายทางอย่างเดียวแทนหรือไม่ เพื่อลดปริมาณ Traffic ในเครือข่ายลง
  • Max Client Count เลือกว่าจะให้มีผู้เชื่อมต่อ SSID ได้สูงสุดกี่อุปกรณ์ โดยสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1-254
  • Minimum Allowed Signal สามารถเลือกได้ว่าผู้ใช้งานควรจะต้องมีค่า SNR มากน้อยเพียงใดในการเชื่อมต่อ Wi-Fi ใน AP แต่ละชุด ซึ่งถ้าหากผู้ใช้งานมีค่า SNR น้อยกว่าที่กำหนด AP จะทำการตัดการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานคนนั้นโดยอัตโนมัติ และห้ามไม่ให้ผู้ใช้งานที่มี SNR ต่ำกว่าที่กำหนดไว้เชื่อมต่อ SSID เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่ผู้ใช้งานเชื่อมต่อ Wi-Fi จาก AP ที่ได้รับความแรงของสัญญาณต่ำเกินไป และเกิดปัญหาในการใช้งาน รวมถึงช่วยทำ Assisted Roaming ไปด้วยในตัว
  • Activate on Radio เลือกได้ว่า SSID นี้จะทำงานบนย่านความถี่ใดบ้างระหว่าง 2.4GHz และ 5GHz
  • Security เลือกการตั้งค่าด้านความมั่นคงปลอดภัยในการเชื่อมต่อ โดยสามารถตั้งค่าได้ดังต่อไปนี้
    • Method เลือกวิธีการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย โดยเลือกใช้ได้ทั้งแบบ Open, WPA-PSK, WPA2-PSK, WPA-EAP, WPA2-EAP, WPA3 Personal, WPA3 Personal Transition, WPA3 Enterprise, WPA3 Enterprise Transition โดยเมื่อเลือกแต่ละ Method แล้ว ระบบจะเพิ่ม Parameter ที่จำเป็นสำหรับแต่ละวิธีการให้ใส่ข้อมูลเพิ่ม
    • RADIUS MAC Auth ทำการตรวจสอบ MAC Address ของอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อกับ RADIUS Server เพื่อยืนยันตัวตนอีกชั้นหนึ่ง
    • Access Control List สามารถระบุได้ว่าจะทำการ Allow หรือ Deny การเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ที่มี MAC Address ดังที่กำหนด
    • 802.11k เลือกเปิดใช้งานมาตรฐาน 802.11k
  • Network Settings ทำการตั้งค่าด้านการรับส่ง Traffic ระหว่าง AP ไปยังระบบเครือข่าย โดยสามารถตั้งค่าได้ดังต่อไปนี้
    • Network Behavior เลือกวิธีการในการรับส่ง Traffic ไปยังเครือข่าย ได้แก่
      • Bridge to Internet เชื่อมต่อเครือข่ายให้ผู้ใช้งานอยู่ใน L2 Network เดียวกับขา Uplink ของ AP
      • Route to Internet เชื่อมต่อเครือข่ายให้ผู้ใช้งานอยู่ใน Local Network ภายใน AP
      • Add to Guest network เชื่อมต่อเครือข่ายให้ผู้ใช้งานอยู่ใน Guest Network ภายใน AP
      • Hotspot-controlled เชื่อมต่อเครือข่ายให้ผู้ใช้งานถูกควบคุมการเชื่อมต่อโดยระบบ Hotspot ที่สามารถบังคับยืนยันตัวตนด้วย Captive Portal หรือ Splash Page และควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายให้จำกัดได้
      • VLAN tag traffic เชื่อมต่อเครือข่ายให้ Traffic ของผู้ใช้งานถูก Tag VLAN ออกไปยังเครือข่ายภายนอกวง VLAN นั้นๆ
    • Limit Upload/Download Rate กำหนดปริมาณ Traffic ขา Upload และ Download ใน SSID

เมื่อตั้งค่าเหล่านี้เรียบร้อยแล้วเราก็จะสามารถสร้าง SSID ขึ้นมาได้ โดยระบบยังเปิดให้เราสามารถตั้ง Wireless Scheduling ว่า SSID เหล่านี้จะเปิดหรือปิดการใช้งานในช่วงเวลาใดของวันใดบ้าง

ลำดับถัดไปคือ “การตั้งค่าสัญญาณ” ในแท็บ Radio Settings ที่จะเปิดให้เราตั้งค่าพฤติกรรมการกระจายสัญญาณในแต่ละย่านความถี่ได้ตามต้องการ และสามารถตั้งค่าให้ทำ Band Steering เพื่อกระจายการเชื่อมต่อระหว่าง 2.4GHz และ 5GHz ให้เหมาะสมได้

นอกจากนั้นก็จะเป็นการตั้งค่าทั่วๆ ไปด้านระบบเครือข่าย ได้แก่

  • General Networking ตั้งค่า IP Address, DHCP, DHCP Relay, IPv6, Ethernet และ VLAN
  • Local Networks ตั้งค่าของ Network วงภายในสำหรับแต่ละ AP และ SSID รวมถึงการตั้งค่าสำหรับ Guest Network
  • Firewall กำหนด Firewall Rule, Port Forwarding Rule, ARP Inspection, DHCP Snooping และ Trused DHCP Server MAC
  • Hotspot กำหนดค่า Hotspot Mode ว่าจะเลือกใช้ Captive Portal, Splash Page, Open หรือยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่านกลาง พร้อมตั้งค่าด้านเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  • System Settings กำหนดค่าการทำงานทั่วไป เช่น การเปิดไฟ LED, SSH, NTP, SNMP, Telnet, Web Server, Remote Syslog, Multicast DNS, LLDP, iBeacon และ Network Discovery

จุดสังเกตที่น่าสนใจของการตั้งค่า Wi-Fi ใน ecCLOUD นี้ คือการที่การตั้งค่าทั้งหมดจะถูกบังคับใช้กับ Access Point ทั้งหมดใน Site ทำให้ AP ทุกๆ ชุดทำงานเหมือนกันทั้งหมด ไม่สามารถเลือกให้แตกต่างกันได้ เช่น หากต้องการให้ AP ในห้องประชุมจ่ายสัญญาณ SSID สำหรับ Guest Network แต่ไม่ต้องการให้ AP ในพื้นที่ทำงานให้บริการ Guest Network ก็จะไม่สามารถทำการตั้งค่าในรูปแบบนี้ได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวนี้ก็ถือเป็นแนวทางที่สะดวกและตอบโจทย์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหลายๆ แห่ง รวมไปถึงธุรกิจที่มีสาขาหน้าร้านหลากหลาย และไม่ต้องการให้ระบบเครือข่าย Wi-Fi มีความซับซ้อนสูงนัก อีกทั้งยังสามารถรองรับ Guest Network ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

5. สร้างคุณค่าให้ธุรกิจเพิ่มเติม เสริมความสามารถให้ระบบด้วย Add-ons

อีกหนึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจของ ecCLOUD นั้นก็คือ Add-ons ที่เป็นระบบส่วนเสริมสำหรับเติมความสามารถให้กับระบบเครือข่ายของเราได้อย่างง่ายๆ โดยจะมีทั้ง Add-on ที่เป็นของ ecCLOUD เอง และ Add-on ที่เป็นของพันธมิตรของ Edgecore Networks โดยบางรายการอาจมีค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้งาน และบางรายการก็อาจเปิดใช้งานได้ฟรี

สำหรับ Add-on เด่นๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์นั้นก็เช่น

1.) AuthPort

AuthPort นี้คือบริการ Authentication Server ที่มีให้ใช้งานได้บน ecCLOUD สำหรับทำหน้าที่ยืนยันตัวตน, กำหนดสิทธิ์ และบันทึกการใช้งานของผู้ใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย รองรับการใช้งานสำหรับ Guest User และการออกแผนการเช่าใช้ Wi-Fi ชั่วคราวแบบมีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้งาน ซึ่งจะมีความสามารถหลักๆ ด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่

  • การสร้างหน้า Captive Portal โดยระบบจะมี Editor สำหรับปรับแต่งความสวยงามและข้อความของหน้า Splash Page เพื่อให้ผู้ใช้งานทำการยืนยันตัวตนผ่านหน้า Web Portal เหล่านี้ได้
  • การสร้างผู้ใช้งานและรหัสผ่านในระบบ โดยรองรับทั้งการป้อนชื่อและรหัสเอง หรือให้ระบบ Generate ข้อมูลเหล่านี้โดยอัตโนมัติก็ได้
  • การสร้าง Billing Plan โดยสามารถกำหนดชื่อแผน, ระยะเวลาในการใช้งาน, Bandwidth Quota และการ Reset Bandwidth Quota ได้

AuthPort นี้ถือว่ามีความยืดหยุ่นเป็นอย่างมากในการสร้าง Billing Plan และใช้งานได้ง่าย จึงเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการเปิดให้ลูกค้าสามารถใช้งาน Wi-Fi ฟรีเป็นระยะเวลาชั่วคราว หรือซื้อ Wi-Fi ความเร็วสูงขึ้นเพื่อใช้งานชั่วคราวได้ อย่างเช่นธุรกิจโรงแรม เป็นต้น

2.) Extended Storage

โดยทั่วไปแล้ว ecCLOUD จะเก็บข้อมูลสถิติการใช้งานเครือข่ายและเหตุการณ์ต่างๆ ย้อนหลังเอาไว้เพียง 30 วันเท่านั้น แต่ Add-on ที่มีชื่อว่า Extended Storage นี้จะทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้ถึง 1 ปี 

3.) Smart Indoor Location

อีกหนึ่ง Add-on สำหรับผู้ให้บริการ WiFi ที่พลาดไม่ได้เพราะจะทำให้ท่านสามารถใช้ติดตามข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเช่น

  • ใช้เพื่อติดตามความปลอดภัย – ควบคุมการเข้าถึงสถานที่ กระชับพื้นที่ให้เหมาะกับผู้เข้าไซต์ หรือกรณีบริหารจัดการเช่าอสังหาริมทรัพย์
  • ใช้เพื่อรับมือกับความเสี่ยง – กรณีของโรคระบาดป้องกันการแพร่เชื้อ อพยบผู้คนเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเพราะรู้ว่าใครอยู่ที่ไหน
  • ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ – วางแผนให้อุปกรณ์ตอบโจทย์กับปริมาณการใช้งาน และยังอ้างอิงไปถึงการจัดการแอร์ ลม และลิฟต์ได้ด้วย

ข้อดีของ Smart Indoor Location คือพร้อมใช้งานได้ทันทีเป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์เพิ่ม ทำให้เห็นภาพการเข้าใช้และพฤติกรรมของ Client ในพิกัดนั้นๆ โดยเมื่อผสานเข้ากับพลังของ ecCLOUD ที่สามารถควบคุมจัดการการทำงานของ Access Point หมายถึงผู้ใช้งานจะปรับแต่งคอนฟิคให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือความต้องการที่แท้จริงนั่นเอง

สรุป

โดยสรุปแล้ว ecCLOUD ก็ถือเป็นระบบ Cloud Network Management ที่มีความสามารถรอบด้านและน่าสนใจไม่น้อย ด้วยความง่ายในการใช้งาน, การใช้งานได้ฟรีสำหรับ 50 อุปกรณ์ และการรองรับได้ทั้งการบริหารจัดการ Switch และ Access Point ในตัว หากยังไม่จุใจกับบริการฟรีจำนวนนี้ ecCLOUD มีแพ็กเกจสำหรับการบริหารจัดการไซต์ได้ถึง 500 แห่งและแต่ละแห่งมีอุปกรณ์ได้ 500 ตัว กล่าวคือจัดไปแบบจุกๆจัดการอุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 250,000 ตัว

จุดเด่นที่ทำให้ ecCLOUD โดดเด่นนั้นก็คือสมดุลระหว่างความง่ายดายในการใช้งาน และการตั้งค่าในเชิงลึกได้ตามความจำเป็น ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สูง ตอบโจทย์ได้ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่ต้องการระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนสูงนัก อีกทั้งยังมีระบบ Add-on ที่ช่วยให้การใช้งานระบบเครือข่ายรองรับกรณีการใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้เมื่อนำความสามารถของ ecCLOUD ไปผสานรวมกับ Hardware ที่มีให้เลือกได้อย่างหลากหลายของ Edgecore Networks ทั้งในส่วนของ Switch และ Access Point แล้ว ก็ทำให้ภาพรวมโซลูชันด้าน Cloud Networking ของ Edgecore Networks นั้นกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการพิจารณาเลือกใช้สำหรับโครงการวางระบบ Network ให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี

สนใจ ecCLOUD และโซลูชันจาก Edgecore Networks ติดต่อ SWS Group และ Easy Network ได้ทันที

บริษัท เอส ดับบลิว เอส กรุ๊ป จำกัด

ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
 
LINE: @swsgroup  
Call: 02-016-3006-9 หรือ 061-990-2255

D

บริษัท อีซี่ เน็ต จำกัด

LINE: EASYNETWORK, EASYNETWORK2, EASYNETWORK3 
Call: 02-057-2996

from:https://www.techtalkthai.com/review-edgecore-networks-eccloud-free-50-devices-management/

ขอเชิญร่วมงาน สัมมนาออนไลน์ Driving and Securing Business Data to Cloud with SD-WAN ในวันพุธที่ 5 ต.ค.2565 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

Fusion Advantec ขอนำเสนอ SASE : Secure Access Service Edge ในอีกมุมมองหนึ่ง ที่จะมาทำให้ชีวิตของชาวไอที และ User ผู้ใช้งาน สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ทุกท่านกลับไม่มีเวลาหาข้อมูล Fusion Advantec เข้าใจท่านดีเป็นที่สุด ทั้งทำงาน WFH ที่ไม่มีเวลาเลิกงานที่แท้จริง

Fusion Advantec จึงได้จัดสัมมนา Webinar งาน “Driving and Securing Business Data to Cloud with SD-WAN” ในวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565  เวลา 10:00 – 12:00 น. เพื่อให้ท่านได้รับข้อมูลแบบครบถ้วนภายใน 3 ชั่วโมง

ภายในงานจะได้พบกับ Topics Hi-light ที่น่าสนใจ อาทิเช่น
1.We are Fusion Advantec as an expert I VMWare’s EUC solution
2.SASE and Use case
3.SASE and Solution and Mini Demo

โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จาก VMWare และ Engineer ผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการติดตั้งและแก้ปัญหาให้ลูกค้ามาแล้วหลายองค์กร

นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีกิจกรรมชิงรางวัลมากมายและปิดท้ายด้วยลุ้นรางวัลใหญ่กับ Big Lucky draw Central Gift Voucher มูลค่า 3,000 บาท

พิเศษ ร่วมลงทะเบียนวันนี้ 30 ท่านแรก รับฟรี E-Voucher มูลค่า 100 บาท*

แล้วมาพบกันในงาน Webinar ที่ Fusion Advantec  จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรของท่านปลอดภัยมากขึ้นได้อย่างไร

สนใจลงทะเบียนสัมมนาวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ได้ที่ https://form.jotform.com/fusioneventth/driving-and-securing-business-data-  ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย 

     หรือสแกน QR Code 

 

from:https://www.techtalkthai.com/webinar-fusion-advantec-driving-and-securing-business-data-to-cloud-with-sd-wan/

Facebook เผยเทคโนโลยีล่าสุดที่ออกแบบและใช้งานใน Data Center Network ของตนเองปี 2019

ตามธรรมเนียม Facebook จะออกมาอัปเดตเรื่อยๆ ถึงเทคโนโลยีที่ตนเองสร้างและพัฒนาขึ้นมาใช้งานภายใน Data Center ของตนเอง รวมถึงผลักดัน Open Compute Project หรือ OCP ไปด้วยในเวลาเดียวกัน และในครั้งนี้ Facebook ก็ออกมาเล่าถึงการออกแบบเทคโนโลยี, สถาปัตยกรรม, Hardware และ Software ที่กำลังใช้งานอยู่ภายใน Data Center ปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาเต็มๆ นั้นยาวมาก ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอนำมาสรุปอย่างย่นย่อดังนี้

Credit: Facebook

ปัญหาที่ Facebook เจอ

ด้วยความที่ Facebook นั้นเปิดบริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และเปิด Data Center ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับต่อปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในแต่ละบริการสำหรับแต่ละภูมิภาค การเลือกลงทุน Hardware และเดินสายสำหรับใช้งานในระยะยาวนั้นจึงเป็นประเด็นสำคัญ โดยโจทย์หลักๆ ที่ Facebook ต้องเผชิญนั้นมีดังนี้

  • การรับส่งข้อมูลระหว่าง Rack มีปริมาณมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องการ Bandwidth ที่สูงขึ้นในขณะที่มี Hop ในการรับส่งข้อมูลที่น้อยลง
  • มี Data Center ใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการอัปเกรดขยายระบบ Data Center เดิมให้มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ใช้ Hardware เดิมที่มีอยู่ให้ได้ยืนยาวที่สุด
  • Data Center แต่ละแห่งใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ทำให้พลังงานมีจำกัด ดังนั้นการออกแบบระบบใหม่ๆ จะต้องคำนึงถึงเรื่องของการใช้พลังงานให้เพียงพอต่อพลังงานที่มีอยู่ด้วย
  • การเดินสายที่มีอยู่เดิมต้องใช้ซ้ำให้ได้โดยไม่ต้องเดินสายใหม่ ดังนั้นการเปิดรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่จึงต้องคำนึงถึง Physical Layer ที่มีอยู่เดิมให้มาก
  • การนำ Hardware รุ่นใหม่ๆ มาใช้ จะต้องเข้ากับ Fabric เดิมที่มีอยู่ได้ และมีผู้ผลิต Hardware มากกว่า 1 รายเพื่อให้เกิดความมั่นคงในเชิงของ Supplier และเป็นการผลักดัน OCP ไปด้วย

การออกแบบและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับแก้ไขปัญหา

สำหรับแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ Facebook นำมาใช้นั้นมีดังนี้

  • เปิดตัว F16 Fabric Topology ใหม่ โดยแต่ละ Rack จะใช้ Wedge 100S ซึ่งมี Uplink ขนาด 100GbE จำนวน 16 เส้นไปยัง 16 Plane และมี Bandwidth ขนาด 1.6Tbps เชื่อมต่อไปยัง Server ภายใน Rack ส่วน Plane เหนือจาก Top-of-Rack จะใช้ 128-Port 100GbE Switch มาเป็นตัวรับ ตรงนี้เองที่ Facebook ต้องออกแบบ Switch ใหม่ของตนเองที่ชื่อว่า Minipack ซึ่งใช้ ASIC เดียวสำหรับประหยัดพลังงานและลดจำนวน Hop ลง ทำให้ใช้พลังงานและพื้นที่ติดตั้งน้อยลงกว่า Backpack เดิมถึงครึ่งหนึ่ง ปรับจากเดิมที่ใช้ 400GbE เป็นหลัก
    Credit: Facebook

    การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ทำให้เดิมทีที่การรับส่งข้อมูลต้องกินจำนวน Hop ระหว่าง ASIC หลาย Hop เพราะมีเส้นทางที่น้อยและมีจำนวน ASIC ที่มาก เหลือจำนวน Hop ที่น้อยลง 2-3 เท่าเลยทีเดียว โดยตัว Minipack ที่ใช้นี้ได้ทำการออกแบบร่วมกับ Edgecore และยังมีสถาปัตยกรรมภายในแบบ Modular รองรับ Port Interface Module (PIM) ได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงยังได้ออกแบบ 400G PIM อย่าง PIM-4DD ที่รองรับ 4x400G QSFP-DD ขึ้นมาด้วย

    Credit: Facebook
    Credit: Facebook

    ภายใน Minipack นี้ยังมีการเลือกใช้ Reverse Gearbox เพื่อแปลงให้การรับส่งข้อมูลในแต่ละ Lane ที่แตกต่างกันเกิดขึ้นได้ และมีการพัฒนา MiniLake ซึ่งเป็น Control Plane ของ Minipack ขึ้นมาใน Form Factor แบบ COM Express และใช้ Type-7 Pinout

    Credit: Facebook

    ทั้งนี้ Facebook ได้มอบทั้ง Minipack และ MiniLake นี้ให้กับโครงการ OCP แล้ว

  • Facebook ได้จับมือกับ Arista พัฒนา Arista 7368X4 ขึ้นมาเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ Minipack ด้วย โดยรองรับทั้งการใช้งาน FBOSS และ Arista EOS ได้ในตัว ซึ่ง Facebook เองก็ได้มีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกับ Arista ในครั้งนี้ และ Arista เองก็ได้ส่งมอบการออกแบบของ Switch รุ่นนี้ให้กับ OCP ด้วย
    Credit: Facebook
  • เปิดตัว HGRID ระบบ Fabric Aggregation ใหม่ เชื่อม F16 จำนวนมากเข้าด้วยกันโดยให้ Fabric Spine Switch นั้นเชื่อมต่อเข้ากับ HGRID โดยตรง เพิ่ม Bandwidth สำหรับทั้ง East-West และ Regional Uplink ได้ดีขึ้น และลดจำนวน Hop ที่ต้องใช้ลงได้
    Credit: Facebook
  • พัฒนา FBOSS เพิ่มเติม โดยรองรับ OpenBMC รุ่นใหม่ที่รองรับ Hardware ใหม่ที่ออกแบบขึ้นมาทั้งสองชุด และรองรับการทำ Modularity แบบใหม่ๆ ทั้ง PIM, Port Programming, Microserver รุ่นใหม่, I2C ใหม่, MDIO, FPGA และรองรับ External PHY Chip ได้ด้วย
    Credit: Facebook

    FBOSS นี้ใช้ CentOS เป็นระบบปฏิบัติการเบื้องหลังทั้งหมด และ FBOSS เพียงชุดเดียวนี้ก็ต้องรองรับ Hardware ทั้งหมดที่ Facebook ใช้และบริหารจัดการจากศูนย์กลางร่วมกันทั้งหมดได้ ในขณะที่ต้องทำงานร่วมกับทั้ง BMC SoC และ OpenBMC ได้ในเวลาเดียวกัน

    นอกจากนี้ Facebook ยังได้มีการพัฒนา FPGA เฉพาะขึ้นมาเพื่อยุบขนาดของ I2C ลงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ทำให้สามารถรองรับ 128 Transceiver ได้ภายในขนาดของ Minipack เพียงแค่ 4U เท่านั้น และยังสามารถรองรับ External PHY รวมถึงเขียนโปรแกรมเข้าไปควบคุม External PHY ได้ด้วย

  • ในแง่ของการทดสอบ ทาง Facebook ได้เพิ่มการทดสอบเครือข่ายในระดับ ASIC โดยมีเป้าหมายเพื่อทำ Automated ASIC-Level Testing และการทำ On-diff เพื่อลดความซับซ้อนในการทดสอบสำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากเกิดขึ้นก่อนการทดสอบนั้นๆ ขึ้นมา
    Credit: Facebook

ใครที่อยากอ่านการออกแบบ Hardware ใน OCP สามารถศึกษาเพิ้่มเติมได้ที่ https://www.opencompute.org/ ครับ

ที่มา: https://code.fb.com/data-center-engineering/f16-minipack/

from:https://www.techtalkthai.com/facebook-data-center-networking-in-2019/

TechTalk Webinar: รู้จักกับโซลูชัน Edgecore Open Networking และ Enterprise Networking โดย Throughwave Thailand

ขอเรียนเชิญเหล่า IT Manager, Network Engineer, IT Admin และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระบบเครือข่ายภายในองค์กรทุกท่าน เข้าร่วมฟัง TechTalk Webinar ในหัวข้อเรื่อง “รู้จักกับโซลูชัน Edgecore Open Networking และ Enterprise Networking โดย Throughwave Thailand” เพื่อรู้จักกับผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายทั้งสำหรับ Data Center และ Campus ใหม่อย่าง Edgecore Networks พร้อมเรียนรู้แนวคิดด้าน Open Networking ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2019 เวลา 14.00 – 15.30 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: รู้จักกับโซลูชัน Edgecore Open Networking และ Enterprise Networking โดย Throughwave Thailand
ผู้บรรยาย: คุณพัชร ไม้จันทร์ดี Presales Engineer, Throughwave (Thailand)
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2019 เวลา 14.00 – 15.30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 100 คน
ภาษา: ไทย

เทคโนโลยีระบบเครือข่ายกำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2018 – 2019 ทาง Throughwave Thailand จึงขอนำเสนอ Edgecore Networks เป็นทางเลือกใหม่สำหรับระบบเครือข่ายภายในองค์กร ที่จะทำให้องค์กรสามารถมีระบบเครือข่ายความเร็วสูงระดับ 10/25/40/100GbE ไว้ใช้งานได้ภายในราคาที่คุ้มค่า อีกทั้งยังเปิดรับต่อแนวทางใหม่อย่าง Open Networking ได้อย่างเต็มตัว

Edgecore Networks เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีล่าสุดมากมาย และมีผลิตภัณฑ์ที่รองรับได้ทั้งการใช้งานภายในธุรกิจองค์กร, Data Center, Cloud, ISP ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่ภายนอกอาคาร เพื่อรองรับการเชื่อมต่อเครือข่ายให้ได้ในทุกรูปแบบความต้องการ และทุกระดับความเร็ว

นอกจากนี้ Edgecore Networks ยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกตลาด Open Networking ด้วยการรองรับ Network Operating System จากผู้ผลิตชั้นนำหลากหลายราย ทำให้องค์กรต่างๆ มีอิสระที่จะเลือกใช้ Networking Software ที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตนเองได้มากขึ้น ไม่ต้องยึดติดกับความสามารถที่จำกัดของผู้ผลิตแต่ละรายอีกต่อไป

ใน Webinar ครั้งนี้ Throughwave Thailand จะพาทุกท่านไปรู้จักกับเทคโนโลยีของ Edgecore Network และแนวคิดด้าน Open Networking โดยเฉพาะ

ลงทะเบียนเข้าร่วม TechTalk Webinar ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม TechTalk Webinar ในหัวข้อนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://zoom.us/webinar/register/WN_SmYQSg1VQ-2C79L3QdAfPw

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-edgecore-open-networking-and-enterprise-networking-by-throughwave-thailand/

Edgecore Networks เปิดตัว Switch รุ่นทนความร้อนสูง ตอบโจทย์ ISP และ MSO โดยเฉพาะ

Edgecore Networks ผู้พัฒนาอุปกรณ์ Switch สำหรับ ISP และองค์กร ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Switch รุ่นล่าสุดที่สามารถทนความร้อนได้สูงเป็นพิเศษ เพื่อตอบโจทย์สำหรับเหล่าธุรกิจ Internet Service Provider (ISP) และ Multiple System Operator (MSO) โดยเฉพาะ

Credit: Edgecore Networks

Switch รุ่นนี้มีชื่อรุ่นว่า Edgecore Networks ECS4120-28Fv2-l Switch ซึ่งเป็น 1/10GbE Switch ที่สามารถทนอุณหภูมิได้ที่ -10 ถึง 65 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถติดตั้งใช้งานภายในตู้นอกอาคารโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ระบายความร้อนเพิ่มเติมได้ โดยอุปกรณ์รุ่นนี้จะมาพร้อมกับ SFP+ ให้พร้อมใช้งานได้ถึง 4 ช่อง รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้ง Fiber และ Copper ทำให้สามารถเชื่อมเครือข่าย 1/10GbE ระยะไกลภายนอกอาคารได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ Edgecore Networks ECS4120-28Fv2-l Switch ยังมาพร้อมกับความสามารถอื่นๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  • Network Security รองรับการทำ Sticky MAC, SFTP, Multiple TACACS Server, SSH Attack Prevention
  • รองรับ ZTP, NTP, LLDP ใน IPv6 ได้
  • รองรับการทำ Ethernet Ring Protection Switching (ERPS) เชื่อมต่อแบบ Ring Topology ได้โดยไม่เกิด Loop เพื่อทำงานทดแทนกันได้
  • สนับสนุน DHCP DUID สำหรับ DHCPv6 Client ได้ ช่วยป้องกัน Rogue DHCPv6 Server ในระบบได้
  • รองรับการกำหนดค่า Domain Name, Default Gateway, DNS, WINS และอื่นๆ ใน DHCP Server ได้
  • มีระบบ Dying Gasp ส่ง Trap โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดปัญหาร้ายแรง
  • สามารถทำ Smart Pair สร้าง Layer 2 Link Redundancy ได้

ผู้ที่สนใจโซลูชันของ Edgecore Networks หรือกำลังมองหาระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจ, องค์กร และ ISP ในราคาคุ้มค่า สามารถติดต่อทีมงาน Throughwave Thailand เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอใบเสนอราคาได้ทันที

เกี่ยวกับ Throughwave Thailand

Throughwave Thailand เป็นตัวแทนจำหน่าย (Distributor) สำหรับผลิตภัณฑ์ Enterprise IT ครบวงจรทั้ง Server, Storage, Network และ Security พร้อมโซลูชัน VMware และ Microsoft ที่มีลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำระดับหลายหมื่นผู้ใช้งานมากมาย โดยทีมงาน Throughwave Thailand ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจากทีมงาน Engineer มากประสบการณ์ ที่คอยสนับสนุนการใช้งานของลูกค้าตลอด 24×7 ร่วมกับ Partner ต่างๆ ทั่วประเทศไทยนั่นเอง https://www.throughwave.co.th

ที่มา: https://www.edge-core.com/news-inquiry.php?cls=1&id=344

from:https://www.techtalkthai.com/edgecore-networks-announces-temperature-hardened-switch/

Edgecore Networks เปิดตัว TOR Open Switch รุ่นใหม่ มาพร้อม Buffer ขนาดใหญ่

Edgecore Networks ผู้นำทางด้านอุปกรณ์เครือข่ายและ Open Network สำหรับองค์กร ประกาศเปิดตัว Top-of-rack Open Switch รุ่นใหม่ มาพร้อม Buffer ขนาดใหญ่

AS5912-54X เป็น Open Switch ที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้เป็น Top-of-rack Switch โดยเฉพาะ โดยมี Downlinks ขนาด 10G ถึง 48 Ports สำหรับเชื่อมต่อไปยัง Server ภายใน Rack นอกจากนี้ยังมี Port Uplinks ขนาด 100G จำนวน 6 Ports เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อไปยัง Spine Switch และภายในตัวยังมี Buffer ขนาดใหญ่ถึง 6 GB ทำให้สามารถใช้งานเครือข่ายแบบ Nonblocking Folded-Clos ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สำหรับ AS5912-54X มีคุณสมบัติดังนี้

  • รองรับทั้ง Layer 2 และ Layer 3
  • 800 Gbps Switching Capacity
  • 48 x SFP+ switch ports รองรับทั้ง 10GbE (DAC, AOC, 10GBASE-SR/LR) และ 1 GbE (1000BASE-T/SX/LX)
  • Uplinks แบบ 100G QSFP28 จำนวน 6 Ports
  • Packet Buffer สูงสุด 6GB
  • Hot-swappable, Redundant Power Supply รองรับไฟ AC และ DC
  • ติดตั้ง Open Network Install Environment (ONIE) มาให้ โดยรองรับการติดตั้ง OS อื่นๆ ทั้ง Open Source และ Commercial OS เช่น SnapRoute FlexSwitch และ OcNOS IP Infusion

เกี่ยวกับ Throughwave Thailand

Throughwave Thailand เป็นตัวแทนจำหน่าย (Distributor) สำหรับผลิตภัณฑ์ Enterprise IT ครบวงจรทั้ง Server, Storage, Network และ Security พร้อมโซลูชัน VMware และ Microsoft ที่มีลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำระดับหลายหมื่นผู้ใช้งานมากมาย โดยทีมงาน Throughwave Thailand ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจากทีมงาน Engineer มากประสบการณ์ ที่คอยสนับสนุนการใช้งานของลูกค้าตลอด 24×7 ร่วมกับ Partner ต่างๆ ทั่วประเทศไทยนั่นเอง https://www.throughwave.co.th

ที่มา : http://www.edge-core.com/news-inquiry.php?cls=1&id=245

from:https://www.techtalkthai.com/edgecore-networks-announces-new-top-of-rack-open-switch-with-large-buffer/

Edgecore Networks เปิดตัว Switch รุ่นใหม่ ออกแบบสำหรับ ISP โดยเฉพาะ

Edgecore Networks ผู้นำทางด้านอุปกรณ์ระบบเครือข่ายและโซลูชัน Open Networking สำหรับองค์กร เปิดตัว Switch รุ่นใหม่ ECS4120-28F-I ออกแบบมาสำหรับ ISP โดยเฉพาะ

ECS4120-28F-I ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทนอุณหภูมิห้องได้ตั้งแต่ -10 จนถึง 65 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสำหรับ Internet Service Providers (ISPs) และ Multiple System Operators (MSOs) ที่ให้บริการระบบต่างๆสำหรับองค์กรขนาดกลางหรือขนาดเล็ก และผู้ใช้งานตามบ้าน เช่น FTTH Triple-play Services โดยคุณสมบัติของ ECS4120-28F-I มีดังนี้

  • มี Switching Capacity 128 Gbps ทำงานในระดับ L2+
  • มี Uplink ความเร็ว 10G แบบ SFP+ จำนวน 4 พอร์ต
  • มีพอร์ตแบบ 100/1000 SFP Ports จำนวน 20 พอร์ต
  • มีพอร์ตแบบ GE Combo Ports (RJ-45/SFP) จำนวน 4 พอร์ต
  • รองรับการเชื่อมต่อ Power ทั้งแบบ AC และ DC โดยสามารถทำงานแบบ Redundancy ได้
  • รองรับ IEEE 802.1ag และ ITU-T Y.1731 ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบการใช้งานแบบ End-to-end ได้
  • รองรับฟีเจอร์ครบครัน เช่น Rapid Spanning Tree Protocol, Port Security, QoS, IGMP Snooping, SNMP, Layer 2 VPN และอื่นๆ
  • รองรับ IPv6 Management, IPv6 Security และ IPv6 Multicast Control
  • ทนอุหภูมิได้ตั้งแต่ -10 ถึง 65 องศาเซลเซียส

เกี่ยวกับ Throughwave Thailand

Throughwave Thailand เป็นตัวแทนจำหน่าย (Distributor) สำหรับผลิตภัณฑ์ Enterprise IT ครบวงจรทั้ง Server, Storage, Network และ Security พร้อมโซลูชัน VMware และ Microsoft ที่มีลูกค้าเป็นองค์กรชั้นนำระดับหลายหมื่นผู้ใช้งานมากมาย โดยทีมงาน Throughwave Thailand ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจากทีมงาน Engineer มากประสบการณ์ ที่คอยสนับสนุนการใช้งานของลูกค้าตลอด 24×7 ร่วมกับ Partner ต่างๆ ทั่วประเทศไทยนั่นเอง https://www.throughwave.co.th

ที่มา : http://www.edge-core.com/news-inquiry.php?cls=1&id=239

from:https://www.techtalkthai.com/edgecore-networks-announces-new-switch-for-isp/