คลังเก็บป้ายกำกับ: Internet

ยกระดับการสื่อสารราบรื่นแก่องค์กรยุคใหม่ด้วย Operator Connect บน MS Teams Phone บริการยืนหนึ่งจาก AIS Business

เมื่อเทรนด์การทำงานยุคใหม่เปลี่ยนรูปแบบไปสู่ Hybrid Work หรือ Work from Home กันมากขึ้น การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ตั้งโต๊ะประจำออฟฟิศแบบดั้งเดิมอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ทั้งเรื่องความไม่ยืดหยุ่นคล่องตัว ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งและการบำรุงรักษา รวมไปถึงต้นทุนเวลาที่ต้องสูญไปกับการตั้งค่าที่ยุ่งยากซับซ้อน

วันนี้องค์กรยุคใหม่สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดการสื่อสารแบบเดิม ๆ ได้แล้ว ด้วย Operator Connect บริการใหม่บน Microsoft Teams Phone ที่เข้ามาพลิกโฉมการสื่อสารสำหรับธุรกิจของคุณให้ง่ายดายและฉับไว เพิ่มความคล่องตัวให้กับทีมผู้ปฏิบัติงานแม้ไม่อยู่ในออฟฟิศ พร้อมบริการครบครันจาก AIS Business ผู้ให้บริการ Operator Connect รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ช่วยให้การเริ่มต้นใช้งานการสื่อสารด้วยหมายเลขออฟฟิศผ่าน Microsoft Teams ง่ายและรวดเร็วกว่าที่เคย

จากข้อจำกัดของโทรศัพท์องค์กรดั้งเดิม

หากมองย้อนกลับไปถึงสถานที่ทำงานสมัยก่อนช่วงโควิด หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับภาพบรรยากาศที่มีพนักงานนั่งทำงานพร้อมโทรศัพท์ประจำโต๊ะหรือ IP Phone แต่กว่าจะมีการวางระบบโทรศัพท์ในลักษณะนั้นได้ย่อมต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน ตั้งแต่การติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ PBX การเดินสายโทรศัพท์ การตั้งค่าคู่สายและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ยิ่งในกรณีที่อุปกรณ์มีปัญหาระหว่างใช้งาน ก็ยิ่งทำให้การดำเนินงานหยุดชะงักในทันที เนื่องจากต้องรอทีม Support เข้ามาแก้ไขในภายหลัง

นอกจากความยุ่งยากในการติดตั้งและดูแลรักษาระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมแล้ว กระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง การจัดซื้ออุปกรณ์โทรศัพท์หรือ IP Phone การดูแลบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ กลับกลายเป็นว่าเงินที่ใช้จ่ายไปกับสินทรัพย์ถาวรของบริษัทหรือ CAPEX นั้นไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะบริษัทที่พึ่งเริ่มต้นทำธุรกิจอาจถึงขั้นประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินก็เป็นได้

การใช้งานโทรศัพท์ประจำโต๊ะทำงานแบบเดิมนั้นยังไม่เอื้อต่อความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการติดต่อสื่อสารทั้งระหว่างภายในและภายนอกองค์กร ในกรณีที่พนักงานไม่ได้เข้าออฟฟิศ ลูกค้าที่โทรเข้ามายังหมายเลของค์กรก็อาจจะไม่สามารถติดต่อกับบริษัทหรือพนักงานโดยตรงได้ ซึ่งทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปโดยใช่เหตุ 

ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดของการใช้ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ทั้งเรื่องความยุ่งยากของการติดตั้งและการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูง และการไม่รองรับความยืดหยุ่นและความคล่องตัวจากการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน จึงทำให้การเลือกใช้ระบบตู้สาขาโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์สื่อสารติดตั้งในที่ทำงานไม่ตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่อีกต่อไป

สู่การสื่อสารทุกที่ ไร้ขีดจำกัดผ่าน Microsoft Teams Phone

เมื่อการทำงานไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในสำนักงานอีกต่อไป การใช้งานเครื่องมือเพื่อการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนคลาวด์อย่าง Microsoft Teams จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะตอบโจทย์การทำงานร่วมกันได้ทุกที่ในทุกเวลาผ่านหลากหลายชนิดอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป PC/MAC หรือแล็ปท็อป รองรับการใช้งานได้บนทุกระบบปฏิบัติการ มั่นใจได้ทุกการเชื่อมต่อเพื่อให้พนักงานไม่พลาดทุกการสื่อสาร

สำหรับฟีเจอร์ Teams Phone ที่ผสานรวมมาใน Microsoft Teams ก็เข้ามาช่วยยกระดับการสื่อสารสำหรับพนักงานองค์กรให้สามารถรับสายโทรศัพท์ โทรออกติดต่อบุคคลภายนอกองค์กรผ่านแอปพลิเคชัน Microsoft Teams บนเดสก์ท็อปหรืออุปกรณ์โมบายล์ต่าง ๆ โดยไม่ต้องพึ่งโทรศัพท์ประจำโต๊ะหรือ IP Phone ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นคล่องตัวให้พนักงานสามารถติดต่อกับพนักงานคนอื่นในองค์กรและลูกค้าภายนอกได้ทุกที่ ปลดล็อกข้อจำกัดเรื่องการติดต่อนอกสถานที่แม้ไม่ได้อยู่ในสำนักงาน

เพื่อให้การสื่อสารของธุรกิจองค์กรราบรื่นโดยไม่สะดุด AIS Business ในฐานะพันธมิตรหลักของ Microsoft จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายร่วมกับ Microsoft และให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์สำหรับ SBC (Session Border Controller) เพื่อเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์ขององค์กรกับ Microsoft Teams Phone ให้สามารถติดต่อสื่อสารไปยังหมายเลขปลายทางต่าง ๆ ได้ ทั้งหมายเลข Fixed Line และหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม

Microsoft Teams Phone ที่ให้บริการโดย AIS Business จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่สำหรับองค์กรยุคนี้ที่กำลังมองหาโซลูชันเพื่อการสื่อสาร ด้วยคุณสมบัติการใช้งานเช่นเดียวกับโทรศัพท์สำนักงานในราคาที่ถูกกว่า ลดค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากซับซ้อนของการติดตั้งและดูแลระบบ สะดวกรวดเร็วในการเริ่มต้นและง่ายต่อการใช้งาน เสริมการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น เรียกได้ว่าประหยัดทั้งเงินและเวลาขององค์กรได้อย่างลงตัวและมีประสิทธิภาพ

ตารางแสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าง PBX และ Teams Phone

ยกระดับการสื่อสารอีกขั้นด้วย Operator Connect บน MS Teams

ล่าสุด AIS Business ร่วมกับ Microsoft ได้เปิดตัวบริการใหม่ชื่อว่า “Operator Connect” บน Microsoft Teams ที่ทำให้การใช้งาน Microsoft Teams Phone สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม ตอบรับเทรนด์ Hybrid Work สำหรับองค์กรยุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว ฉับไว พร้อมใช้งานระบบสื่อสารได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับการติดตั้งและการดูแลฮาร์ดแวร์ ด้วยราคาที่เป็นมิตรต่อองค์กร

Operator Connect เป็นโซลูชันระบบคลาวด์ที่ทำให้องค์กรสามารถใช้หมายเลขประจำองค์กรรับสายและโทรออกไปยังหมายเลขโทรศัพท์ภายนอกได้ผ่าน Microsoft Teams Phone บนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์โมบายล์ต่าง ๆ ทั้งมือถือและแท็บเล็ตในทุกระบบปฏิบัติการ เปรียบเสมือนการมีเบอร์ประจำที่ทำงานหรือโทรศัพท์สำนักงานพกติดตัวไปได้ทุกที่แม้ไม่ได้อยู่ในออฟฟิศ 

Operator Connect บน Microsoft Teams Phone เรียกได้ว่า สามารถทดแทนระบบโทรศัพท์ PABX แบบดั้งเดิมเลยก็เป็นได้ เพราะพนักงานสามารถรับสายจากลูกค้าและโทรออกด้วยเบอร์สำนักงานได้ตลอดเวลาบนอุปกรณ์ของตน ทำให้องค์กรของคุณไม่พลาดทุกการเชื่อมต่อ จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจทุกรูปแบบที่มีทีมพนักงานฝ่ายขาย ผู้ให้บริการดูแลลูกค้าหลังการขาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงผู้บริหารที่ต้องการความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานด้วย

Operator Connect กับจุดเด่นที่ตอบโจทย์ทุกองค์กร

คุณสมบัติของ Operator Connect คล้ายกับ Teams Direct Routing ในแง่ของความสามารถในการใช้เบอร์ของออฟฟิศโทรติดต่อไปยังภายนอกองค์กรได้ แต่จุดต่างที่ทำให้ Operator Connect โดดเด่นและเหมาะที่จะเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรยุคใหม่ คือ ความง่ายและรวดเร็วในการเริ่มต้นใช้งาน โดยองค์กรสามารถเปิดใช้งาน Operator Connect กับ AIS Business บนหน้า Microsoft Teams Admin Center และตั้งค่าการใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วยตัวเอง หมดกังวลเรื่องการตั้งค่าและการติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน พร้อมให้ลูกค้าองค์กรธุรกิจใช้งาน Operator Connect ได้ทันที

ในส่วนของการตั้งค่ากำหนดหมายเลขโทรศัพท์แก่พนักงานแต่ละคนนั้น บริษัทก็สามารถบริหารจัดการภายในองค์กรได้อย่างราบรื่นง่ายดายผ่านหน้า Microsoft Teams Admin Center ไม่ว่าจะเป็นการผูกหมายเลขโทรศัพท์ประจำโต๊ะกับบัญชี Teams ของพนักงาน การตั้งค่าลำดับการโทร หรือการสลับหมายเลขหมุนเวียนภายในองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนพนักงานเข้า-ออก โดยกระบวนการเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาดำเนินการผ่านผู้ให้บริการ แต่สามารถแก้ไขตั้งค่าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาและเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างมาก

นอกจากการเริ่มต้นใช้งานและการบริหารจัดการที่ง่ายและสะดวกรวดเร็วแล้ว จุดเด่นอีกอย่างของ Operator Connect บน Microsoft Teams Phone คือ การประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย เนื่องจาก Teams Phone ใช้งานได้ผ่านระบบคลาวด์ทั้งหมด องค์กรจึงไม่ต้องลงทุนติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์หรือโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ใด ๆ ที่หน้างาน รวมถึงอุปกรณ์โทรศัพท์ IP Phone ด้วย อีกทั้งไม่ต้องสำรองเงินเพื่อใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบหรือเปลี่ยนทรัพยากรทางด้าน IT ในกรณีที่อุปกรณ์เสื่อมเสียหายตามระยะเวลาการใช้งาน 

ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ถูกลงในการใช้งาน Operator Connect บน Microsoft Teams Phone นั้นจึงเป็นข้อได้เปรียบที่ต่างจากการใช้งานระบบโทรศัพท์ PBX แบบดั้งเดิมอย่างเห็นได้ชัด จากเดิมที่ต้องลงทุนจำนวนเงินมหาศาลนับหลายล้านไปกับฮาร์ดแวร์โครงสร้างพื้นฐานสำหรับติดตั้งระบบโทรศัพท์ แต่เมื่อองค์กรเลือกใช้ Operator Connect บน Microsoft Teams Phone ก็สามารถเปลี่ยนจากการลงทุนเงินก้อนไปกับสินทรัพย์ถาวรของบริษัท (CAPEX) แบบเดิม ๆ ไปสู่การลงทุนในรูปแบบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (OPEX) ต่อเดือนตามจำนวนผู้ใช้งานในองค์กร ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้มากถึง 48% พร้อมกับเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินและนำเงินทุนไปต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

AIS Business ผู้ให้บริการ Operator Connect หนึ่งเดียวในไทย

บริการ Operator Connect บน Microsoft Teams Phone ถือว่าเป็นความร่วมมือครั้งล่าสุดระหว่าง AIS Business กับ Microsoft โดย AIS Business เป็นผู้ให้บริการ Operator Connect รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย พร้อมให้บริการครบวงจรแบบ One-stop Service ตั้งแต่การให้คำปรึกษาแนะนำรูปแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร การให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์เชื่อมต่อระหว่าง Microsoft Teams และ SBC แบบองค์รวม การให้บริการ Microsoft Teams Phone พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line) สำหรับโทรติดต่อภายนอก ไปจนถึงการให้บริการหลังการขายและการดูแลสนับสนุนอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

ด้วยการให้บริการในรูปแบบ Subscription-based Model ของ Operator Connect จาก AIS Business นั้น ยิ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กรในเรื่องค่าใช้จ่ายตามปริมาณการใช้งาน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับความต้องการตามจำนวนผู้ใช้งานที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร (จำนวนผู้ใช้งานขั้นต่ำ 5 หมายเลข) โดยประกอบด้วย

  • ค่า License ของระบบ Microsoft Teams Phone
    (สำหรับลูกค้า Microsoft 365 E5 ไม่ต้องชำระค่า License เพิ่ม)
  • ค่าบริการรายเดือนต่อผู้ใช้งาน
  • ค่า Voice Airtime Pooling ตามการใช้งาน

ดังนั้น เมื่อเทียบกับการใช้งานระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมแล้ว Operator Connect จึงถือว่ามีความคุ้มค่าแก่การลงทุนในราคาย่อมเยา เพื่อเสริมการสื่อสารและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้มีความสะดวกรวดเร็ว ราบรื่นไร้รอยต่อ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม และวันนี้ AIS Business พร้อมแล้วที่จะเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวข้ามข้อจำกัดการสื่อสารแบบเดิม ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้า และเชื่อมต่อทุกฝ่ายให้เข้าถึงกันผ่านบริการ Operator Connect บน Microsoft Teams Phone

สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจใช้ระบบ Microsoft Teams Phone และบริการ Operator Connect กับองค์กรของตน พร้อมรับบริการคำแนะนำสำหรับองค์กรยุคใหม่จาก AIS Business สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือ E-mail: business@ais.co.th

————————————————

AIS Business พาร์ตเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th 

Website : Microsoft Teams Phone (ais.co.th)

from:https://www.techtalkthai.com/ais-operator-connect-on-ms-teams-phone/

Advertisement

รวมเว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ต ทดสอบความเร็วง่ายๆ ใน 1 คลิก อัปเดต 2023

แนะนำเว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ต ทดสอบความเร็วเน็ต อัปเดต 2023

เช็คความเร็วเน็ต

เชื่อว่าในปัจจุบันนั้น แทบทุกบ้านจะต้องติดตั้งอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง WiFi ที่สามารถปล่อยสัญญาณให้ใช้งานกันได้หลายอุปกรณ์ แถมยังมีโปรเน็ตบ้านจากผู้ให้บริการต่างๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ นั้นได้เลือกแพ็กเกจมาใช้งานกันตามความต้องการ แต่ก็เป็นที่น่าสงสัยว่าแพ็กเกจเน็ต หรือ WiFi ที่เราใช้อยู่นั้น เร็วอย่างที่ผู้ให้บริการได้แจ้งไว้หรือไม่ ทีมงาน NotebookSPEC ก็อยากจะมาแนะนำเว็บไซต์สำหรับเช็ค WiFi Speed Test เช็คความเร็วเน็ต เช็คได้ทั้งไวไฟและเน็ตมือถือว่าเร็วแค่ไหน เร็วแรงจริงตามโปรโมชันหรือไม่


เช็คความเร็วเน็ตต้องดูอะไรบ้าง

การตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบหรือวัดความเร็วอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เราได้ทราบว่าอินเทอร์เน็ตที่เรากำลังใช้งานอยู่มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยระบบจะทำการตรวจสอบ IPv4 (Internet Protocol Version 4), IPV6 (Internet Protocol Version 4) และ TCP (Transmission Control Protocol) แล้วจะแสดงค่าต่างๆ ออกมา โดยที่ออกมานั้นหลักๆ ก็จะมีดังนี้

Advertisementavw
  • Connection Speed: เป็นค่าที่ใช้บอกความเร็วในการเชื่อมต่อ หรือ Connection Speed ระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ (ISP) นั่นเอง
  • Download Speed: เป็นค่าที่แสดงความเร็วของอินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลด หรือรับข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง วิดีโอ เว็บไซต์ หรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต โดยจะมีหน่วยวัดเป็น
    • Kbps หรือ Kilobit per second
    • Mbps หรือ Megabit per second
    • Gbps หรือ Gigabit per second
  • Upload Speed: เป็นค่าที่แสดงความเร็วของอินเทอร์เน็ตในการอัปโหลด หรือส่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรม ไฟล์ เป็นต้น โดยจะมีหน่วยวัดเช่นเดียวกันกับการดาวน์โหลด นั่นก็คือ Mbps หรือ Megabit per second
  • Ping: เป็นค่าที่บอกเกี่ยวกับความเร็วในการตอบสนอง ระหว่างการรับ – ส่งข้อมูลจากเซิฟเวอร์ ยิ่งตัวเลข Ping เยอะ การตอบสนองกับเซิฟเวอร์ก็จะช้าลงไป ดังนั้น ถ้าค่า Ping น้อย ก็หมายถึงมีความเร็วในการตอบสนองที่รวดเร็วนั่นเอง Ping มีหน่วยวัดเป็น ms หรือ msec หรือ Milliseconds
  • Jitter: เป็นค่าที่แสดงความล่าช้าในการรับข้อมูล (เช่นเดียวกับ Ping ยิ่งตัวเลขที่แสดงค่าต่ำมากเท่าไหร่ ก็แสดงว่าอินเทอร์เน็ตมีความเร็วมากเท่านั้น)

การเตรียมพร้อมก่อนการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต

  • ปิดเว็บไซต์, โปรแกรม, แอพพลิเคชัน ฯลฯ ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • ปิด หรือ หยุด การดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ หรือข้อมูลที่กำลังแชร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ในกรณีที่ใช้งาน WiFi อยู่ ให้นำอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ เสียบต่อกับสาย LAN โดยตรง เพื่อความแม่นยำของการทดสอบ

ปัยใจที่ส่งผลต่อความเร็วอินเทอร์เน็ต

  • เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตที่เราเชื่อมต่อ เช่น ADSL, VDSL, Fiber Optic ฯลฯ ก็จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป
  • ISP (Internet Service Provider) หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ ISP ปล่อยให้กับผู้ใช้บริการนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ จำนวนผู้ใช้งาน ความทั่วถึงของสัญญาณ ฯลฯ
  • สถานที่ตั้งและช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากนั้น ก็จะส่งผลให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ทั้งในแง่ของการดาวน์โหลด และอัปโหลด มีความเร็วที่ลดลง
  • Router หรือตัวรับสัยญาณก็มีผลกับความเร็วอินเทอร์เน็ตเช่นกัน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ เลยก็คือ เสมือนว่าเราใช้งานโทรศัพท์ที่มีการอัปเดตระบบใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งหากเรายังใช้งานเครื่องเดิมไปตลอด การอัปเดตระบบใหม่ๆ ก็อาจไม่รองรับกับตัวเครื่อง เราเตอร์เองก็เช่นกัน เมื่อใช้งานไปสักระยะ หากเริ่มรู้สึกว่าการใช้งานไวไฟนั้นเริ่มมีปัญหา หรือไม่เสถียร การเปลี่ยนเราเตอร์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สามารถรับสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น
  • นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน, เบราว์เซอร์ที่ใช้, ลักษณะของการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

แนะนำเว็บไซต์เช็คความเร็วของอินเทอร์เน็ต WiFi

1. Fast

เช็คความเร็วเน็ต

Fast เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ต WiFi ที่มาจาก Netflix โดยตรง มีจุดเด่นคือการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว เพียงแค่เข้าไปที่หน้าเว็บ ระบบก็จะตรวจสอบและวัดค่าความเร็วของอินเทอร์เน็ตมาให้เราเลยในทันทีโดยอัตโนมัติ แต่ก็ไม่ได้แสดงเพียงค่า Internet Speed เท่านั้น เรายังสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม โดยคลิกเลือกที่ Show more info หรือ แสดงข้อมูลเพิ่มเติม ได้ด้วย ในส่วนของรายละเอียดที่ตัวเว็บแสดงค่าออกมาให้เราจะประกอบไปด้วย

  • Internet Speed ในที่นี้คาดว่าจะเป็นค่าที่แสดงความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยรวม
  • Latency หรือค่า Ping เป็นค่าแสดงความเร็วในการตอบสนอง
  • Upload Speed ค่าแสดงความเร็วในการอัปโหลดข้อมูล
  • นอกจากนี้ยังมีการแสดงตำแหน่งที่ตั้ง, เครือข่ายผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, เซิร์ฟเวอร์ ฯลฯ ด้วย

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: Fast


2. Speedtest by Ookla

if2

เว็บไซต์ทดสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตจาก Ookla ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับทดสอบที่ได้รับการยอมรับและนิยมใช้งานเป็นอย่างมากจากทั่วโลก มีผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านครั้งต่อวัน การใช้งานเว็บไซต์ง่ายมากๆ เพียงแค่เราเข้าไปยังเว็บไซต์ Ookla เริ่มต้นตัวระบบก็จะตรวจสอบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของเราก่อน รวมไปถึงเซิร์ฟเวอร์ด้วย จากนั้น ในการทดสอบความเร็ว ให้เรากดเลือกที่คำว่า Go เพื่อเริ่มการเช็คความเร็ว จากนั้นตัวเว็บก็จะแสดงค่าความเร็วอินเทอร์เน็ตออกมาให้เรา ประกอบไปด้วย

  • Download Speed หรือความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล
  • Upload Speed หรือความเร็วในการอัปโหลดข้อมูล
  • ค่า Ping โดยจะแสดงเป็น Idle Latency, Download Latency และ Upload Latency
  • Server
  • เครือข่ายผู้ให้บริการ

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: Ookla


3. nPerf

if3

เว็บไซต์ต่อมาก็คือ nPert ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งานไม่แพ้กัน โดย nPerf นั้น เป็นเว็บไซต์จากทางฝรั่งเศส แต่ภายในเว็บไซต์ก็รองรับการใช้งานภาษาไทยด้วย สามารถตรวจสอบและวัดความเร็วอินเทอร์เน็ตได้อย่างแม่นยำ มีการแสดงค่าต่างๆ ออกมาได้อย่างละเอียด การใช้งานก็สามารถเข้าไปใช้ได้ง่ายๆ เพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซต์ nPerf จากนั้นกดคลิกเลือกที่ เริ่มทดสอบ หรือ Start test ระบบก็จะตรวจสอบและเช็คควมเร็วของอินเทอร์เน็ตให้เรา โดยจะแสดงค่าต่างๆ ออกมาดังนี้

  • ตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่ที่ทำการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต
  • กราฟแสดงค่าต่างๆ ทั้ง Upload, Download, Latency
  • ตัวเลขแสดง Download Speed
  • ตัวเลขแสดง Upload Speed
  • ตัวเลขแสดง Latency
  • ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ISP, Contention type, IPv4, IPv6, ASN, Browser และ System
  • เซิร์ฟเวอร์, แพ็กเกจอินเทอร์เน็ต รวจไปถึงเครือข่ายผู้ให้บริการ

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: nPerf


4. True Internet Speedtest

if4.1

เว็บไซต์เช็คความเร็วเน็ตจาก TRUE ซึ่งมีความละเอียดในการแสดงค่าต่างๆ ค่อนข้างมากพอสมควร เป็นอีกเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ที่น่าใช้งาน ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมากๆ เพียงแค่เราเข้าไปที่ True Internet Speedtest แล้วกดเลือกที่ Start test ระบบจะทำการตรวจสอบค่าต่างๆ เพื่อตรวจเช็คความเร็วของอินเทอร์เน็ต โดยจะมีค่าที่แสดง ดังนี้

  • ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ISP, Contention type, IPv4, IPv6, ASN, Browser และ System
  • Download Speed ทั้งค่า Peak และ Average
  • Upload Speed ทั้งค่า Peak และ Average
  • Latency มีทั้ง Minimum, Average, Litter
  • ตำแหน่งที่ตั้ง

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: True Internet Speedtest


5. TOT Speedtest

if5.1

สำหรับเว็บไซต์อีกเว็บไซต์หนึ่งที่อยากจะแนะนำในการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต นั่นก็คือ TOT Speedtest ซึ่งมีสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย แบ่งค่าต่างๆ ออกมาเป็นลักษณะของมาตรวัดที่ชัดเจน ทั้ง Download, Upload, Ping และ Jitter ในส่วนของการใช้งานก็ง่ายดายมาก เพียงแค่เข้าไปที่ TOT Speedtest จากนั้น กดคลิกที่ เริ่ม เพื่อเริ่มทำการตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ต แล้วระบบก็จะทำการประมวลผล จากนั้นจะแสดงค่าต่างๆ ออกมาดังนี้

  • ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล หรือ Download Speed (Mbps)
  • ความเร็วในการอัปโหลดข้อมูล หรือ Upload Speed (Mbps)
  • Ping (ms)
  • Jitter (ms)

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: TOT Speedtest


6. 3BB Speedtest

if6

สำหรับเว็บไซต์นี้ เป็นของผู้ให้บริการอย่าง 3BB ที่สามารถตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพียงแค่ไปที่ 3BB Speedtest แล้วจากนั้นกด Start เพื่อเริ่มการตรวจสอบ ระบบก็จะประมวลผลสักครู่แล้วแสดงค่าต่างๆ ออกมา โดยจะเป็นในลักษณะที่สามรถดูได้ง่าย เช่นเดียวกับของ TOT ในส่วนของค่าที่แสดงนั้น มีดังนี้

  • ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล
  • ความเร็วในการอัปโหลดข้อมูล
  • ค่า Ping
  • ตำแหน่งที่ตั้งและผู้ให้บริการ

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: 3BB Speedtest


Speed Test by Speedcheck

wf1

Speedcheck เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่น่าสนใจสำหรับการเช็คความเร็วเน็ต ที่สามารถเช็คได้ทั้งอินเทอร์เน็ต Wi-Fi และอินเทอร์เน็ตมือถือ สามารถเข้าไปใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยการกดปุ่มเพียงครั้งเดียว ค่าที่ได้ก็ค่อนข้างมีความละเอียด แต่ข้อสังเกตของเว็บไซต์นี้คือมีโฆษณาภายในเว็บไซต์ค่อนข้างเยอะ แต่ก็ไม่ได้ขึ้นมาเยอะจนบดบังสายตา สำหรับค่าต่างๆ ที่เว็บไซต์แสดงให้เราดูหลังจากที่กดตรวจสอบวัดความเร็วอินเทอร์เน็ตแล้วนั้น มีดังนี้

  • ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูล
  • ความเร็วในการอัปโหลดข้อมูล
  • ค่า Latency
  • IP-Address
  • ตำแหน่งที่ตั้งของเรา
  • ผู้ให้บริการเครือข่าย
  • ความปลอดภัย

สามารถเข้าไปตรวจสอบความเร็วของอินเทอร์เน็ตได้ที่: Speed Test by Speedcheck


และทั้งหมดนี้ก็คือเว็บไซต์สำหรับเช็คความเร็วเน็ต หรือ WiFi Speed Test เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเช็คความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ตัวเองใช้งานอยู่ ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีมากน้อยแค่ไหน มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงตามที่แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตหรือผู้ให้บริการได้กล่าวอ้างหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ความเร็วอินเทอร์เน็ตนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายปัจจัยด้วยกัน ใครที่อยากลองทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตดูก็สามารถเข้าไปลองเช็คความเร็วอินเทอร์เน็ตกันได้เลย


อ่านบทความเพิ่มเติม / เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เฟสบุ๊คเข้าไม่ได้, เข้าเฟสบุ๊คไม่ได้
แอพวัดขนาดน้องชาย, แอพวัดน้องชาย
RingSizeApp
นาฬิกาออกกำลังกาย ผู้ชาย
แอพหาคู่, แอพหาเพื่อน, แอพหาคนคุย, แอพหาเพื่อนคุย
แอพวัดที่ดิน
สมัครเน็ต AIS รายวัน, โปรเน็ต AIS รายวัน
นาฬิกาออกกำลังกาย 2023
โหลดคลิปจาก Facebook

from:https://notebookspec.com/web/691538-websites-for-internet-speed-test

รายงานภาพรวมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจาก Digital 2023: Thailand

We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ ออกรายงานเพิ่มเติมต่อจาก Digital 2023 โดยรายงานนี้โฟกัสเฉพาะข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Digital 2023: Thailand ซึ่งสะท้อนภาพรวมและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานในประเทศ

รายงานฉบับเต็มมี 125 หน้า ซึ่ง We Are Social เองก็ได้ทำสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจไว้ดังนี้

ภาพรวมทั่วไป

ประชากรอินเทอร์เน็ตของไทยมี 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งประเทศ (71.75 ล้านคน) เป็นข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2023 เพิ่มขึ้น 0.2% จากตัวเลขในปี 2022

No Description

ค่ากลางความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทย ซึ่งวัดโดย Ookla พบว่าค่ามัธยฐาน (Median) ของความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถืออยู่ที่ 37.85 Mbps ส่วนอินเทอร์เน็ตสายอยู่ที่ 205.63 Mbps เพิ่มขึ้น 18-20% จากปีก่อน

No Description

Social Media

ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในไทยมี 52.25 ล้านคน คิดเป็น 72.8% ของประชากรทั้งหมด อย่างไรก็ตาม We Are Social ให้ความเห็นว่าตัวเลขนี้มาจากเครื่องมือวัดอื่น ซึ่งอาจไม่ตรงกับตัวเลขจริง

No Description

Facebook มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ LINE ด้วยอัตราที่ใกล้กันมาก ตามด้วย Facebook Messenger, TikTok และ Instagram

No Description

อันดับมีการสลับเล็กน้อยเมื่อถามว่าโซเชียลมีเดียใด ที่ชอบใช้งาน เป็น Facebook, TikTok, LINE และ Instagram ตามลำดับ

No Description

ผู้ใช้งาน Facebook ในไทยมี 48.10 ล้านคน อัตราการเข้าถึงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม (Ad Reach) คิดเป็น 67.0% ของประชากรทั้งประเทศ

No Description

จำนวนผู้ใช้งาน YouTube ในไทยมี 43.90 ล้านคน ขณะที่อัตราการเข้าถึงโฆษณาอยู่ที่ 61.2% ของประชากรทั้งประเทศ

No Description

มาดูที่ Instagram ตัวเลขผู้ใช้งานอยู่ที่ 17.35 ล้านคน คิดเป็น 24.2% ของประชากรทั้งประเทศ รายงานของ Meta บอกว่าประชากร Instagram ในไทยเป็นเพศหญิง 60.9% และเพศชาย 39.1% ทั้งนี้การจำแนกเพศของรายงาน Meta มีเพียง 2 ค่าเท่านั้นคือหญิงและชาย ซึ่งอัตราส่วนนี้แตกต่างจาก Facebook ที่เพศหญิง 51.0% และเพศชาย 49.0%

No Description

ตัวเลขของ TikTok ในไทย มีผู้ใช้งาน 40.28 ล้านคน ซึ่ง ByteDance ระบุว่าเป็นตัวเลขเฉพาะผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนอายุมากกว่า 18 ปี

No Description

ตัวเลขผู้ใช้งานแพลตฟอร์มอื่นเป็นดังนี้ Facebook Messenger 35.05 ล้านคน, Twitter 14.60 ล้านคน และ LinkedIn 4.10 ล้านคน

No Description

การใช้ Internet

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 6 นาที ต่อวัน โดยประมาณ 5 ชั่วโมง อยู่บนสมาร์ทโฟน และ 3 ชั่วโมงอยู่บนคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต

No Description

การสำรวจคำถามว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่ออะไร 64.9% บอกว่าหาข้อมูล รองลงมา 58.1% ติดตามข่าวสาร-เหตุการณ์ และ 54.8% บอกดูวิดีโอ รายการทีวี หรือหนัง

No Description

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากกลุ่มที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต 95.3% ใช้โทรศัพท์ทุกประเภทรวมกัน ขณะที่แล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปมีอยู่ 47.6% แท็บเล็ตมี 25.6% เมื่อนำมาคิดเป็นส่วนแบ่งแล้ว คนเข้าอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์คิดเป็น 68.00%

No Description

No Description

ส่วนประเด็นนี้เป็นที่พูดถึงกันมากในออนไลน์วันนี้ นั่นคือเว็บไซต์ยอดนิยมที่คนไทยเข้าชม ซึ่งในรายงานมี 2 แหล่งข้อมูล เริ่มที่ Semrush โดยผลออกมา YouTube มาที่หนึ่งตามด้วย Google และ Facebook ส่วนอันดับรอง ๆ ก็ดูมีเว็บเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ติดมาหลายเว็บทีเดียว

No Description

ส่วนอีกข้อมูลมาจาก Similarweb สามอันดับแรกสลับเล็กน้อยคือ Google, YouTube, Facebook ตามลำดับ ขณะที่เว็บเนื้อหาผู้ใหญ่นั้นก็ยังคงคิด Top 20 มาด้วย แต่จำนวนน้อยกว่า

No Description

คีย์เวิร์ดค้นหายอดนิยมในกูเกิลของไทย แปล มีจำนวนมากที่สุด ตามด้วย หนัง และ ผล บอล

No Description

เมื่อสำรวจถึงวิธีการหาข้อมูลที่เฉพาะแนวทาง พบว่า 45.5% เคยเข้าโซเชียลเพื่อหาข้อมูลแบรนด์สินค้า 34.8% เคยเสิร์ชด้วยรูปภาพ 41.8% เคยใช้โปรแกรมแปลภาษา และ 18.4% เคยใช้งานผู้ช่วยแบบคำสั่งเสียง

No Description

คนไทย 94.3% ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเคยชมวิดีโอรวมกันทุกประเภท โดยเมื่อแยกย่อย 56.0% ดูมิวสิควิดีโอ 42.1% ดูคลิปตลกหรือไวรัล และ 33.1% ดูคลิปเล่นเกม

No Description

มาที่ข้อมูลการฟัง 36.9% ฟังเพลงผ่านบริการสตรีมมิ่ง และ 21.8% ฟังพอดคาสต์

No Description

มือถือและสมาร์ทโฟน

จำนวนอุปกรณ์โทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในไทยมีมากกว่าจำนวนประชากรคือ 101.2 ล้านเครื่อง

No Description

แอปมือถือยอดนิยม วัดจากจำนวนผู้ใช้งาน Facebook, LINE และ Facebook Messenger มาอันดับ 1-3 ส่วนฝั่งเกมเป็น RoV, Roblox และ Free Fire ตามลำดับ

No Description

แต่ถ้าวัดจำนวนดาวน์โหลด ตอนนี้ TikTok มาเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับการจ่ายเงิน YouTube มาในอันดับ 1 ฝั่งแอป ขณะที่เกมเป็น RoV

No Description

No Description

E-Commerce

ปัจจัยที่เสริมให้คนตัดสินใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์มากขึ้น 54.7% บอกว่าส่งฟรี รองลงมา 49.0% ให้คูปอง-ส่วนลด และ 36.1% บอกว่า COD หรือสามารถจ่ายเงินตอนรับสินค้า

No Description

ประเภทสินค้าที่มีการซื้อออนไลน์ตามมูลค่า กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด 5.77 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือของใช้ส่วนตัว-ของใช้ในบ้าน 4.10 พันล้านดอลลาร์

No Description

วิธีการชำระเงิน 37% โอนเงินไปยังบัญชีธนาคาร 23% ใช้โมบายล์วอลเลต และ 22% ใช้บัตรเครดิต

No Description

ตลาดการจ่ายเงินให้ดิจิทัลมีเดีย มากที่สุดมาจากเกม ตามด้วยวิดีโอสตรีมมิ่ง และอีบุ๊ก

No Description

ในรายงานยังมีข้อมูลอีกหลายหมวดธุรกิจ และรายละเอียดเพิ่มเติมของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง สามารถดูได้จากที่มา

ที่มา: We Are Social

from:https://www.blognone.com/node/132632

ZIPAIR ร่วมมือกับ Starlink ให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม เป็นสายการบินเอเชียรายแรก

สายการบิน ZIPAIR สายการบินโลว์คอสต์ที่เป็นบริษัทลูกของ Japan Airlines ประกาศความร่วมมือกับ SpaceX เพื่อนำบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูง Starlink มาให้บริการกับผู้โดยสารในเที่ยวบิน ซึ่งเป็นสายการบินจากเอเชียรายแรก

บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ Starlink สำหรับเครื่องบินโดยสาร เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว มีจุดขายคือความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงถึง 350Mbps และมี latency ที่ต่ำ จึงให้คุณภาพได้ใกล้เคียงกับการใช้อินเทอร์เน็ตในบ้าน

ประเด็นน่าสนใจคือ Shingo Nishida ประธานของ ZIPAIR บอกว่า สายการบินจะร่วมมือเพื่อผลักดันให้เกิดสิ่งใหม่ที่เป็นไปได้ ในการเดินทางทางอากาศ ความร่วมมือกับ SpaceX นี้ จะเป็นหนึ่งในมาตรฐานของอนาคตการบิน ทั้งนี้ ZIPAIR อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์และขอการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะให้บริการอินเทอร์เน็ตต่อไป

ที่มา: ZIPAIR ภาพ Twitter @ZIPAIRTokyo

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132495

สรุปประเด็นน่าสนใจ จากรายงานเทรนด์อินเทอร์เน็ตโลกปี 2023 ของ We Are Social

We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ เผยแพร่รายงานประจำปี Digital 2023 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โซเชียลมีเดีย สื่อโฆษณาออนไลน์ ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากการรวบรวมของ We Are Social เอง และผ่านพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ

รายงานฉบับเต็มมี 465 หน้า และเป็นการนำเสนอภาพรวมทั่วโลก ซึ่ง We Are Social ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจมาบางส่วนดังนี้

No Description

ประชากรโลกมี 8.01 พันล้านคน มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5.44 พันล้านคน (68.0%) เข้าถึงอินเทอร์เน็ต 5.16 พันล้านคน (64.4%) มีการใช้งานโซเชียลมีเดีย 4.76 พันล้านคน (59.4%)

No Description

เฉพาะประเทศไทย อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 85.3% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

No Description

ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันลดลงจากปีก่อน เป็น 6 ชั่วโมง 37 นาที ซึ่งหากดูจากกราฟเทียบปี 2019-2020-2021 คำอธิบายคือโควิด 19 ทำให้คนใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง เมื่อเข้าสู่ปลายปี 2022 ตัวเลขจึงกลับสู่ระดับที่ก่อนโควิด

No Description

คนไทยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตต่อวันเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 6 นาที

No Description

ส่วนแบ่งเวลาที่ใช้ดูทีวีสำหรับการชมรายการสตรีมมิ่ง เทียบกับการดูทีวีอื่นเช่น รายการโทรทัศน์ปกติ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่ 45.3% ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเวลาในการดูทีวีทั้งหมด

No Description

เมื่อสอบถามว่ารับชมรายการแบบสตรีมมิ่งบ้างไหมในแต่ละเดือน คนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต 95.4% ตอบว่าเคย

No Description

ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เพิ่มน้ำหนักมาที่ดิจิทัลมากขึ้นนับตั้งแต่มีโควิด ตัวเลขในปี 2022 อยู่ที่ 73.3% ของงบประมาณโฆษณารวมทั้งหมด และเพิ่มเป็น 6.67 แสนล้านดอลลาร์

No Description

ส่วนแบ่งงบโฆษณาแบบดิจิทัล เพื่อลงในโซเชียลมีเดียก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตัวเลขปีที่ผ่านมาคือ 33.9%

No Description

โซเชียลมีเดียที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ยังเป็น Facebook ตามด้วย YouTube และ WhatsApp ทั้งนี้ตัวเลขในกราฟ TikTok นับแยกกับ Douyin แอปเวอร์ชันจีน ถ้าหากรวมกัน จะเป็นอันดับที่ 5

No Description

อย่างไรก็ตาม เมื่อวัดระยะเวลาใช้งานแต่ละแอป เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า TikTok มีเวลาใช้งานมากที่สุดคือ 23 ชั่วโมง 28 นาที รองลงมาคือ YouTube ที่ 23 ชั่วโมง 9 นาที Facebook 19 ชั่วโมง 43 นาที ขณะที่ LINE แม้ตัวเลขจำนวนผู้ใช้ไม่ติดอันดับ แต่เวลาใช้งานก็สูงถึง 10 ชั่วโมง 59 นาที

No Description

มีข้อมูลเพิ่มเติมของ Instagram แม้เวลาใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนทั่วโลกอยู่ที่ 12 ชั่วโมง น้อยกว่า TikTok ครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อลงรายละเอียดรายประเทศ พบว่าประเทศตุรกี มีการใช้ Instagram สูงถึง 21.4 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเกาหลีใต้ ตัวเลขน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่มากเป็น 6.1 ชั่วโมง (รายงานนี้ไม่มีข้อมูลของไทย)

No Description

ต้นทุนค่าใช้จ่ายโฆษณาเฉลี่ย สำหรับการแสดงผลบนโซเชียลมีเดียต่อ 1,000 ครั้ง (CPM) ลดลงมาที่ 6.67 ดอลลาร์ เป็นผลตามภาวะเศรษฐกิจ เช่นเดียวกันโฆษณาบนเสิร์ช CPC ลดลงมาที่ 0.60 ดอลลาร์

No Description

No Description

ตัวเลขพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตแบ่งตามอุปกรณ์ พบว่าเฉลี่ยทั่วโลกใช้โทรศัพท์มือถือ 56.9% และคอมพิวเตอร์ 43.1% ขณะที่ประเทศไทย เป็นโทรศัพท์มือถือ 62.8% และคอมพิวเตอร์ 37.2%

No Description

ในรายงานฉบับเต็มยังมีรายละเอียดอื่นอีกมาก สามารถดูได้จากที่มา ส่วนข้อมูลลงลึกเฉพาะส่วนประเทศไทยยังไม่เผยแพร่ออกมา

ที่มา: We Are Social

We Are Social แถมท้ายด้วยสถิติ หมา-แมว บนโลกอินเทอร์เน็ต โดยแม้ปริมาณเนื้อหาเกี่ยวกับหมาจะเยอะกว่าแมว ในเกือบทุกแพลตฟอร์ม แต่มีจำนวนวิวหน้า Wikipedia ของแมว ที่มากกว่าหมาถึง 3 เท่าตัว

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132412

ราคา IPv4 อาจจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว หลังราคาเริ่มลงในปี 2022

เหตุการณ์ IPv4 หมดโลกไปตั้งแต่ช่วงปี 2017-2019 แต่ความต้องการตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการยังคงมีต่อเนื่องทำให้เกิดตลาดซื้อขาย IPv4 องค์กรที่ร่วมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรกๆ สามารถตัดแบ่งไอพีออกขายได้เงินเป็นกอบเป็นกำ และราคาไอพีก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าราคาไอพีจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว

รายงานของ APNIC ระบุว่าปริมาณการโอนย้ายไอพีในปี 2022 มีจำนวนครั้งลดลงแม้จะมีจำนวนไอพีสูงขึ้นก็ตาม ขณะที่ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนไอพีอย่าง Hilco Streambank แสดงประวัติราคาชัดเจนทำให้เห็นว่าราคาไอพีขึ้นไปถึง 40-60 ดอลลาร์ต่อไอพีในปี 2022 แต่ก็ค่อยๆ ปรับลดราคาลงมาในช่วงหลัง แม้ว่าโดยรวมราคาจะกระจายตัวมากขึ้น ยังคงมีการซื้อขายบางรายการซื้อกันค่อนข้างแพงอยู่

IPXO นายหน้าซื้อขายและเช่าหมายเลขไอพีก็ออกรายงานราคาค่าเช่าไอพีในปี 2022 ลดลงเหลือ 0.47 ดอลลาร์ต่อไอพี จากปี 2021 ที่สูงสุดที่ 0.50 ดอลลาร์ต่อไอพี

ที่มา – APNIC, IPXO

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132380

Windows 11 เพิ่มเครื่องมือแก้ปัญหาอินเทอร์เน็ต / Wi-Fi หลุด มี API ช่วยวิเคราะห์สาเหตุ สั่งแก้ไขได้หลายวิธีกว่าเดิม

ใครชินกับปัญหาเน็ตหลุดบ่อยมาตั้งแต่สมัย Windows 7-10 น่าจะคุ้นเคยกับหน้า Network Troubleshooting หรือหน้าต่างสุดคลาสสิกที่จะมีไอคอนรูปพีซีเชื่อมต่อกับลูกโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งตรงกลางหมายถึงสัญญาณเน็ตเรา หากขึ้นกากบาทก็แปลว่าเน็ตกำลังมีปัญหา เราสามารถกดคลิก (diagnose problems) เพื่อหาสาเหตุหรือแก้ไขอะไรเบื้องต้นได้

ก่อนหน้านี้หน้าดังกล่าวบน Windows 11 ได้ถูกตัดออกไป และถูกแทนที่ด้วยตัวเลือกย่อย ๆ ใน Settings แทน ซึ่งจริง ๆ ก็คือเครื่องมือเดิมที่ไม่ได้ใช้งานได้ดีขึ้นเท่าไหร่ ล่าสุด Microsoft ได้ตัดสินใจดึงหน้าคลาสสิกเหมือนของเก่านั้นกลับมาใช้บนอีกรอบ Windows 11 แต่ครั้งนี้ไม่ได้มาแค่หน้าโชว์ไอคอนธรรมดาอย่างเดียวแล้ว มาพร้อมกับเครื่องช่วยแก้ปัญหาเน็ตที่ดีขึ้นเยอะด้วย

เครื่องมือ troubleshoot ใหม่นี้ระบุว่าจะใช้พื้นฐาน API มาช่วยขับเคลื่อนเพื่อวิเคราะห์สาเหตุปัญหาอินเทอร์เน็ตและ Wi-Fi ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้บน Windows โดย Microsoft ตั้งเป้าไว้ประมาณ 30 รูปแบบ ที่คนเจอบ่อย หากตรวจสอบแล้วพบว่าเครื่องผู้ใช้มีปัญหาไหนอยู่ ระบบก็จะดึงฐานข้อมูลทางแก้ที่ตรงกันออกมาช่วยจัดการอย่างรวดเร็วทันที หรือให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตอนนั้น

หากสังเกตจากเมนูในรูปจะพบว่า กรณีระบบแก้ปัญหาให้เองแล้วยังไม่หาย (ตรวจไม่พบว่าเป็นที่ ISP) ตัวมันจะแนะนำทางแก้อื่นมาให้เลือกใช้เพิ่มเติม ทีเด็ดคือสั่งทำทุกอย่างได้จากหน้านี้เลย เช่น แนะนำให้เปิด-ปิด หรือรีสตาร์ทเราเตอร์เน็ตใหม่, สั่งรีสตาร์ทไดรเวอร์ของตัวอะแดปเตอร์เน็ตให้เอง (กรณีไดรเวอร์ Wi-Fi เพิ่งโดนอัปเดตใหม่แล้วอาจจะเอ๋อไม่ทำงาน), สั่งเช็คที่ตัวสาย Ethernet ว่าเสียหรือเกิดปัญหาอะไรอยู่ หรือกระทั่งสั่งรีสตาร์ท Windows ทั้งเครื่องใหม่เลย เรียกว่าครบเครื่องกว่าเดิมมาก

เครื่องมือใหม่นี้จะได้รับการอัปเดตให้กับ Windows 11 Build 25276 เป็นต้นไป โดยจะอยู่ในหน้า Settings > System > Troubleshoot > Other troubleshooters > กดปุ่ม Run ที่ Internet Connections ระบบจะเปิดเครื่องมือนี้ผ่านแอป Get Help หรือหากเน็ตเรามีปัญหาอยู่ก็จะมีปุ่ม Get Help ให้ขึ้นมากดผ่านตรงนั้นเลยได้เช่นกัน ใครเจอเมื่อไหร่ก็ลองใช้งานดูได้ครับ แล้วมาบอกต่อหน่อยว่าเวิร์คกว่าเดิมรึเปล่า

 

 

ที่มา : Windows Latest

from:https://droidsans.com/windows-11-api-powered-feature-to-troubleshoot-network-issues/

9 วิธีแก้ไขอินเทอร์เน็ตโหลดไม่ไปสำหรับผู้ใช้งาน Windows

อินเทอร์เน็ตของคุณโหลดไม่ไป ความเร็วไม่ขึ้นรึเปล่า หากคุณมีปัญหานี้อยู่ล่ะก็นี่คือ 9 วิธีเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหานั้น จะมีอะไรบ้างไปติดตามกันได้เลย

อินเทอร์เน็ต
9 วิธีแก้ปัญหาอินเทอร์เน็ตโหลดไม่ขึ้น

เคยไหมที่ในบางครั้งอินเทอร์เน็ตของคุณก็เชื่อมต่ออยู่แบบปกติ การใช้งานผ่าน Wi-Fi สามารถใช้งานได้ดีแต่พอจะโหลดอะไรผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊คแล้วกลับกลายเป็นว่าไม่สามารถโหลดไม่ได้เลยสักอย่างซะงั้น

หากคุณมีปัญหาดังกล่าวนี้อยู่ล่ะก็ ในวันนี้เราขอนำเสนอ 9 วิธีการง่ายๆ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้คุณได้ลองใช้งานกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันได้เลย

Advertisementavw


เริ่มการดาวน์โหลดใหม่

บางครั้งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของคุณแต่มันอยู่ที่ผู้ให้บริการไฟล์ที่คุณต้องการโหลดนั้นๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือโน๊ตบุ๊คที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows วิธีที่ง่ายที่สุดคือการลองยกเลิกไฟล์ที่คุณต้องการโหลดนั้นไปแล้วทำการโหลดไฟล์ใหม่โดยทำกระบวนการก่อนการโหลดทุกครั้ง(หรือที่ดีกว่านั้นก็คือคุณอาจจะลองรีสตาร์ทเครื่องของคุณดูสักครั้งเพื่อดูว่าปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่หรือไม่ก็ได้)


ตรวจสอบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคุณ

หากคุณเชื่อมต่อกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่อ่อนแอและไม่เสถียร คุณสามารถตรวจสอบความเสถียรและความเร็วอินเทอร์เน็ตได้โดยไปที่เว็บไซต์ตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต หากคุณสังเกตเห็นว่าคุณได้รับความเร็วที่ลดลงหรือโหลดไม่ไปเลย ให้ลองรีบูตเราเตอร์ของคุณดู(โดยการรีบูตนี้อย่างน้อยคุณควรที่จะทิ้งระยะเวลาให้เราเตอร์ได้พักผ่อนก่อนสักระยะประมาณ 5 นาที)


ปิดบริการที่ไม่ลงรอยกันทั้งหมดจากเบื้องหลัง

ความเร็วในการดาวน์โหลดของอินเทอร์เน็ตอาจลดลงเหลือแค่การรวบรวมข้อมูล หาก Discord หรือบริการที่เกี่ยวข้องทำงานอยู่เบื้องหลัง ปรากฎว่า Discord เป็นที่รู้จักกันดีว่าใช้แบนด์วิดท์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่และส่งผลเสียต่อการดาวน์โหลดของแอปพลิเคชันอื่นๆ ดังนั้นให้ปิด Discord จากพื้นหลังและตรวจสอบว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ และนี่คือวิธีการทำ

end task option
  1. เปิดตัวจัดการงาน(Task Manager) โดยใช้ปุ่มลัด Ctrl + Shift + Esc
  2. คลิกขวาที่ Discord และเลือก End Task จากเมนูบริบท

นอกจาก Discord แล้ว คุณยังสามารถพิจารณาปิดแอปพลิเคชันที่ใช้เครือข่ายอื่นๆ ทั้งหมด เช่น Chrome และ Spotify จากพื้นหลัง


เปลี่ยนเป็นเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Google

หากเซิร์ฟเวอร์ DNS ปัจจุบันของคุณไม่เสถียร คุณสามารถลองเปลี่ยนไปใช้เซิร์ฟเวอร์ DNS อื่นเพื่อขจัดปัญหา 

แม้ว่าจะมีเซิร์ฟเวอร์ DNS สาธารณะมากมายที่คุณสามารถสลับไปใช้ได้ แต่เซิร์ฟเวอร์ของ Google ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดนิยม ดังนั้น คำแนะนำของเราจะกล่าวถึงการเชื่อมต่อกับ DNS ของ Google หากคุณต้องการเซิร์ฟเวอร์อื่น โปรดตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ DNS ที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยทางออนไลน์ที่ดีขึ้น และแทนที่ที่อยู่ IP ในคำแนะนำด้านล่างด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่คุณเลือก

DNS server
  1. เปิดการตั้งค่า(Settings) โดยใช้ปุ่มลัด Win + I
  2. เลือก เครือข่ายและอินเทอร์เน็ต(Network & internet) จากบานหน้าต่างด้านซ้าย
  3. คลิกที่ Wi-Fi > Hardware Properties
  4. คลิกที่ Edit ถัดจาก DNS server assignment
  5. คลิกที่ไอคอนแบบเลื่อนลงใต้ข้อความ Edit DNS settings และเลือก Manual จากเมนูบริบท
  6. ผู้ให้บริการ DNS ของคุณ ให้เลือก IPv4 หรือ IPv6(ขึ้นกับผู้ให้บริการเครือข่าย)
  7. หากคุณเลือก IPv4 ให้ป้อน 8.8.8.8 และ 8.8.4.4 ในเซิร์ฟเวอร์ DNS ที่ต้องการ(Preferred) และสำรอง(Alternate DNS servers) ตามลำดับ
  8. หากคุณเลือก IPv6 ให้ป้อน 2001:4860:4860::8888 และ 2001:4860:4860::8844 ในเซิร์ฟเวอร์ DNS ที่ต้องการและสำรองตามลำดับ
  9. คลิกที่บันทึก(Save)
IPv6 settings

ตรวจสอบว่าคุณยังคงประสบปัญหาอยู่หรือไม่


อนุญาตให้โปรแกรมสื่อสารผ่านไฟร์วอลล์ Windows Defender ได้

ปัญหาอาจปรากฏขึ้นหากแอปพลิเคชันที่คุณใช้ในการดาวน์โหลดถูกบล็อกภายใต้การตั้งค่าของ Windows Defender ด้วยเหตุนี้ คุณสามารถลองเพิ่มแอปพลิเคชันที่คุณใช้ในรายการที่อนุญาตพิเศษในการตั้งค่าไฟร์วอลล์เพื่อกำจัดปัญหา

Riot Client

ตัวอย่างที่ยกเป็น Riot Client โดยให้คุณเลือกตัวเลือกเป็นแอปพลิเคชันที่มีปัญหาอื่นๆ แทนในการแก้ไขปัญหาในวิธีการนี้

  1. เปิด Start Menu พิมพ์ Firewall and Network protection แล้วกด Enter
  2. คลิกที่อนุญาตแอปผ่านไฟร์วอลล์(Allow an app through the firewall)
  3. ทำเครื่องหมายในช่องส่วนตัวและสาธารณะถัดจาก Riot Client(หรือแอปพลิเคชันที่มีปัญหาโหลดข้อมูลไม่ขึ้น)
  4. คลิกที่ตกลงเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง

ถอนการติดตั้ง Avast Antivirus

สำหรับผู้ใช้หลายคนแอปพลิเคชันที่ต้องการจะโหลดจะมีการเริ่มดาวน์โหลดด้วยความเร็วปกติหลังจากถอนการติดตั้งโปรแกรมป้องกัน Avast antivirus ดังนั้นคุณสามารถลองทำสิ่งนี้บนคอมพิวเตอร์ของคุณได้เช่นกันและตรวจสอบว่ามีความแตกต่างหรือไม่ ต่อไปนี้เป็นวิธีถอนการติดตั้ง Avast บนคอมพิวเตอร์ของคุณ

  1. เปิด Windows Search พิมพ์ Control Panel ในแถบค้นหาแล้วกด Enter
  2. เลือกถอนการติดตั้งโปรแกรม(Uninstall a program)
  3. คลิกขวาที่ Avast และเลือกถอนการติดตั้งจากเมนูบริบท

หลังจากนั้น ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอเพื่อสิ้นสุดกระบวนการถอนการติดตั้ง


ล้างแคช DNS

flushdns command

แคช DNS เก็บข้อมูลการสืบค้น DNS ทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อใช้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากแคช DNS เสียหายด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อได้ ในการแก้ปัญหา คุณจะต้องล้างข้อมูลแคช DNS การล้างแคช DNS จะล้างที่อยู่ IP และบันทึก DNS ทั้งหมด ต่อไปนี้เป็นวิธีล้างแคช DNS ใน Windows 11

  1. เปิด Command Prompt
  2. พิมพ์ ipconfig /flushdns แล้วกด Enter

รอจนกว่าคุณจะเห็นข้อความ “Successfully flushed the DNS Resolver Cache” หลังจากนั้นให้รีบูตระบบและตรวจสอบปัญหา


อัปเดตไดรเวอร์เครือข่ายของคุณ

update network drivers win 11

ไดรเวอร์เครือข่ายที่ล้าสมัยหรือเสียหายอาจทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อได้เช่นกัน เมื่อคุณประสบปัญหาเกี่ยวกับเครือข่าย บางครั้งการอัปเดตไดรเวอร์เครือข่ายของคุณอาจแก้ไขปัญหาได้

  1. เปิด Device Manager โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการเปิด Device Manager
  2. คลิกสองครั้งที่ Network adapters
  3. คลิกขวาที่ไดรเวอร์เครือข่ายที่ติดตั้งแล้วเลือกตัวเลือก Update driver
  4. คลิกที่ Search automatically for drivers

Windows จะค้นหาและติดตั้งไดรเวอร์เครือข่ายที่ดีที่สุดสำหรับระบบ เมื่อกระบวนการอัปเดตเสร็จสิ้น ให้รีบูตระบบและตรวจสอบว่าปัญหาได้รับการแก้ไขหรือไม่


รีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย

reset now button 1

บางครั้งการตั้งค่าเครือข่ายปัจจุบันของคุณอาจเป็นสาเหตุของการดาวน์โหลดช้าในแอปพลิเคชันต่างๆ ในการแก้ไขปัญหานี้ คุณจะต้องรีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย ซึ่งจะติดตั้งอะแดปเตอร์เครือข่ายใหม่ และกำหนดค่าบริการเครือข่ายอื่นๆ กลับเป็นค่าเริ่มต้น

  1. เปิดเมนูการตั้งค่า(Settings) และไปที่เครือข่ายและอินเทอร์เน็ต > การตั้งค่าเครือข่ายขั้นสูง > รีเซ็ตเครือข่าย(Network & internet > Advanced network settings > Network reset)
  2. คลิกปุ่มรีเซ็ตทันที(Reset now) ถัดจากการรีเซ็ตเครือข่าย(Network reset)
  3. คลิก ใช่ เมื่อ UAC เด้งขึ้นมา

ที่มา : makeuseof

from:https://notebookspec.com/web/683857-how-to-fix-internet-download-speed-stuck-on-windows

Amazon เตรียมเปิดตัวและทดสอบระบบ Kuiper

Project Kuiper ของ Amazon มีเป้าหมายที่จะให้บริการสื่อสารบรอดแบนด์ high-capacity และ low-latency ด้วยดาวเทียม 3,236 ดวง
 

Image credit : aboutamazon.com
Amazon กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบระบบการสื่อสารบรอดแบนด์ Kuiper LEO รุ่นต้นแบบ โดยอ้างอิงจากการยื่นคำขอของ Special Temporary Authority (STA) ที่ได้รับอนุญาตจาก Federal Communications Commission (FCC) เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
 
Amazon ได้ระบุไว้ในการยื่นคำขอกับ STA ว่า “จะขอเวลา 6 ดือนเพื่อดำเนินการทดสอบผ่านการดำเนินงานของสถานีภาคพื้นดินใน Kapolei รัฐฮาวาย ซึ่งจะให้การตรวจวัดทางไกล การติดตาม และการควบคุมแก่ KuiperSat-1 และ KuiperSat-2 รุ่นทดลอง โดยใช้สเปกตรัมที่ 19.3-19.4 GHz (การส่งสัญญาณจากอวกาศสู่โลก) และ 27.5-27.6 GHz (การส่งสัญญาณจากโลกสู่อวกาศ) สถานีภาคพื้นดินจะอยู่ร่วมกับ Gateway Earth Station ที่วางแผนไว้ซึ่งจะสนับสนุนระบบ Kuiper เชิงพาณิชย์”
 
Amazon ต้องการ “ให้บริการสื่อสารบรอดแบนด์ high-capacity และ low-latency แก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจหลายสิบล้านคนที่ไม่ได้รับการบริการ” ด้วยระบบ Kuiper LEO ซึ่ง FCC เป็นผู้ดำเนินการในปี 2020 สำหรับดาวเทียม 3,236 ดวง ที่โคจรอยู่ในระดับความสูงต่างๆ ซึ่ง Kuiper จะเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Starlink
 

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-to-launch-and-test-kuiper/

มาตรฐาน HTTP ที่น่าจะเห็นความคืบหน้าในปี 2023: HTTP QUERY, อัพโหลดไฟล์ต่อหลังตัดการเชื่อมต่อ

Mark Nottingham วิศวกร Cloudflare ที่ทำงานด้านมาตรฐานโปรโจตอล HTTP เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงของ HTTP ในช่วงปีที่ผ่านมามา ว่าประเด็นใหญ่ที่สุดคือการออกมาตรฐาน HTTP/3 แต่ปีหน้า HTTP Working Group ก็ยังทำมาตรฐานใหม่ๆ อีกหลายตัว ที่น่าจะมีความคืบหน้าหรือออกเป็นมาตรฐานได้ในปี 2023 มาตรฐานที่ถูกพูดถึง เช่น

  • มาตรฐาน Cookie ฉบับใหม่: ปรับปรุงการทำงาน กำหนดค่าความปลอดภัย Cookie แยกรายตัว
  • Variant: มาตรฐานใหม่เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์เลือกตอบจากแคชได้ละเอียดขึ้น ปรับปรุงจากฟิลด์ Vary ใน HTTP เดิม
  • HTTP QUERY: วิธีการเรียกเซิร์ฟเวอร์แบบใหม่ ที่ทำงานเหมือน GET แต่สามารถใส่คิวรีเข้าไปใน body ได้ ทำให้การเรียก API ต่างๆ (โดยเฉพาะกลุ่มฐานข้อมูล) ไม่ต้องใช้ argument ยาวๆ เหมือนเดิม
  • Resumable Upload: มาตรฐานเปิดทางให้ไคลเอนต์ส่งไฟล์ต่อไปได้ ในกรณีที่การเชื่อมต่อถูกตัดก่อนอัพโหลดสำเร็จ

Nottingham ระบุว่ามาตรฐาน HTTP ยังคงเป็นมาตรฐานที่มีพัฒนาการต่อไป และถูกใช้งานในแนวทางใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ และยังใช้ทำงานร่วมกับระบบ World Wide Web ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1989 ได้

ที่มา – Cloudflare Blog

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132063