มาตามนัดจริง ๆ สำหรับ Google Bard แชตบอท AI สุดล้ำที่หลาย ๆ สื่อขนานนามว่าเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ ChatGPT Open AI ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก Microsoft โดย Google ได้ออกมาเผยรายละเอียดว่า Bard จะเปิดให้ใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ แต่ไม่ได้บอกว่าวันไหนนะ
Bard จะทำงานโดยใช้แบบจำลองภาษา (Language Model) ที่ทาง Google พัฒนาเองในชื่อ Language Model for Dialogue Applications เวอร์ชันที่ 2 (LaMDA 2) โดย Google จะเริ่มนำร่องใช้งานบน Search Engine ก่อน ซึ่งทางแบรนด์มีแผนที่จะทำให้ Bard ช่วยรวบรวมกลั่นกรองข้อมูลที่มีความซับซ้อนจากหลาย ๆ มุมมอง จากนั้นก็จะย่อยข้อมูลให้ผู้ใช้งานเข้าใจภาพรวมในสิ่งที่ตัวเองค้นหาได้ง่ายขึ้น และรวดเร็ว ก่อนที่จะเข้าไปดูหน้าเวบไซต์อื่น ๆ เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ละเอียดขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงแรก Google Bard จะเปิดให้นักทดลองที่เชื่อถือได้เข้าไปทดสอบใช้งานกันก่อน หลังจากนั้นถึงจะค่อย ๆ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้ใช้งานทีละนิด ก่อนที่จะเปิดให้ใช้งานแบบเต็มรูปแบบ (Public Release) แต่ทั้งนี้ Google ยังไม่ได้เผยรายละเอียดว่า Bard จะทำอะไรได้อีกบ้างนอกจากจะช่วยย่อยข้อมูลบน Search Engine โดยความสามารถลับทั้งหลายจะถูกเปิดเผยในงาน Google Presents Live from Paris วันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ เวลาไทยตอน 2 ทุ่มครึ่ง
Google เปิดตัวบริการแชท AI ที่มีชื่อเรียกว่า “Bard” เพื่อคัดเลือกผู้ใช้ทดสอบก่อนการเปิดตัวที่สู่สาธารณะ
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Google ได้ประกาศเปิดตัวบริการแชท AI รุ่นทดลองชื่อ “Bard”ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงกับ ChatGPT ของ OpenAI โดย Chatbot AI ของ Google จะได้รับการทดสอบโดยผู้ใช้จำนวนหนึ่งก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
“Bard” ขับเคลื่อนโดย Language Model for Dialogue Applications (LaMDA) ของ Google และจะดึงข้อมูลทั้งหมดจากเว็บมาใช้ในการตอบกลับ สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Bard มีความแตกต่างไปจาก ChatGPT ของ OpenAI ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ถึงปี 2021 เท่านั้น และไม่สามารถเข้าถึงเว็บได้
Bard เวอร์ชันเริ่มต้นจะใช้ LaMDA เวอร์ชัน lightweight model ที่มีน้ำหนักเบาเนื่องจากต้องการพลังการประมวลผลน้อยกว่าและสามารถปรับขนาดให้เหมาะกับผู้ใช้จำนวนมากขึ้นได้ Google จะใช้แนวทางนี้ โดยคงไว้ซึ่งบริการ AI ขั้นสูงจนกว่าจะมั่นใจว่าพร้อมสำหรับสาธารณะ
The industrial internet of things (IIoT) สำหรับอุตสาหกรรมเป็นองค์ประกอบหลักของ Industry 4.0 โดย IIoT จะผสานการทำงานระหว่างเซ็นเซอร์และเครื่องจักรที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในกระบวนการผลิตทั้งหมด เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีองค์กรสายการผลิตจำนวนเพียง 10% เท่านั้นที่มีการนำ IIoT ไปปรับใช้งาน
Airbus เป็นลูกค้ากลุ่มแรกๆ ที่ช่วยลูกค้าของสายการบินในการนำเทคนิคการคาดการณ์ขั้นสูงไปปรับใช้ โดยในปี 2022 Airbus ได้ร่วมมือกับ GE เพื่อปรับใช้ซอฟต์แวร์การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ที่อิงตาม AI และ ML ที่ซับซ้อน เพื่อคาดการณ์ความล้มเหลวของชิ้นส่วนในเครื่องบิน และดำเนินการซ่อมแซมและเปลี่ยนอะไหล่อย่างทันท่วงที เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและความสามารถในการทำกำไร
ตลาดสำหรับโซลูชันการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์มีมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2020 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 13,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2026 ทำให้เห็นถึงภาพการเติบโตของ IIoT, AI และ ML และยังได้สร้างอีกเทรนด์ย่อยที่สำคัญของวิวัฒนาการของโรงงานอัจฉริยะ นั่นคือ Digital Twin
การประยุกต์ใช้ Digital Twins มีตั้งแต่การทำนายอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ตามการออกแบบ (เช่นเดียวกับที่ GE ทำกับเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบิน) ไปจนถึงการจัดการโรงงานทั้งหมดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการจำลองและการวิเคราะห์แบบ What-if (ดังที่แสดงโดย Siemens)
A Siemens digital twin of a Jet Engine
จากคาดการณ์มองว่าเมื่อจบสิ้นปี 2021 เกือบครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งหมดจะนำ Digital Twins ไปปรับใช้ และคาดว่าธุรกิจต่างๆ จะประหยัดเงินได้มากถึง 1,00,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการใช้ Digital Twins
Mantle uses 3D printing to meet the extremely precise requirements regarding surface finish, temperature tolerance, and material durability in the tooling sector.
Limber Prosthetics and Orthotics ในซานดิเอโกจะสแกนแขนขาของผู้พิการทางดิจิทัล จากนั้นใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตแขนขาเทียมเองภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหนึ่งในสิบของต้นทุนของขาเทียมแบบดั้งเดิม
ก่อนหน้านี้เราพึ่งฮือฮากับระบบ AI ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพศิลปะจากตัวหนังสือที่เราพิมพ์บอกไป…และดูเหมือนการใช้ AI เพื่อสร้างสรรค์งานศิลป์จะไม่ได้หยุดอยู่แค่ภาพวาดแล้ว เพราะล่าสุด Google พัฒนาระบบ AI ที่สามารถแต่งเพลงจากข้อความบรรยายเป็นตัวหนังสือได้อีกด้วย
ทีม Google Research ได้ทำการฝึกฝนระบบ AI ให้ฟังเสียงเพลงต่าง ๆ เป็นเวลารวมกว่า 280,000 ชม. จนได้ออกมาเป็น MusicLM ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อความที่เราพิมพ์บอกไป แล้วประมวลผลออกมาเป็นเสียงเพลงที่มีโทนคล้ายกับคำบรรยายนั้นมากที่สุด ซึ่งทางทีมพัฒนาบอกว่ายิ่งบรรยายเจาะจงมากเท่าไหร่ ระบบก็จะยิ่งแต่งเพลงขึ้นมาได้ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่หากจะใช้แค่คำบรรยายสั้น ๆ ก็ทำได้เหมือนกัน
คำบรรยาย : The main soundtrack of an arcade game. It is fast-paced and upbeat, with a catchy electric guitar riff. The music is repetitive and easy to remember, but with unexpected sounds, like cymbal crashes or drum rolls.
คำบรรยาย : A fusion of reggaeton and electronic dance music, with a spacey, otherworldly sound. Induces the experience of being lost in space, and the music would be designed to evoke a sense of wonder and awe, while being danceable.
AI สามารถช่วยแบ่งเบาภาระงานได้ดีที่สุด นั่นคือเป้าหมายที่มนุษย์ต้องการสร้างปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอีเมล การเรียบเรียงบทความ การคำนวณตัวเลข และอื่นๆ
เราสามารถใช้ประโยชน์จากพลังของ AI ในชีวิตประจำวันของเราได้หลากหลายตามคำสั่งของเราได้มากขึ้น เหล่านักเขียน AI สามารถเขียนสิ่งที่ช่วยให้งานของเรามีความคล่องตัวมากกว่าเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ด การเขียนอีเมล หรือแม้แต่การสอบ MBA ก็ตาม และนี่คือ The Best 5 AI Writers ที่ดีที่สุดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้
ChatGPT – AI Writer ที่ดีที่สุด ณ เวลานี้
Jasper – AI Writer ที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจและนักการตลาด
YouChat – ทางเลือก ChatGPT ที่ดีที่สุด
Chatsonic by Writesonic – AI Writer ที่ดีที่สุดสำหรับผู้สร้างเนื้อหาข่าว
Socratic by Google – AI Writer ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กและนักเรียน
รายชื่อทั้ง 5 AI Writers ถูกจัดให้เป็น “The Best” จากการพิจารณาความสามารถเฉพาะตัวในด้านต่างๆ รวมถึงเรื่องความน่าเชื่อถือ ความพร้อมใช้งาน และการคิดค่าบริการ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ใช้งานจะตัดสินใจเลือกเป็น AI Writer ที่ทำงานได้ดีที่สุดและตรงกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด