คลังเก็บป้ายกำกับ: IT_BUSINESS

เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ คว้ารางวัลใหญ่ระดับสากล “Innovation Leadership Achievement Awards in Thailand” จาก The Asian Banker [Guest Post]

บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX โดย คุณวรรณา นพอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ คว้ารางวัล Innovation Leadership Achievement Awards in Thailand จาก The Asian Banker วารสารเศรษฐกิจการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา หลังโชว์ผลงานยอดเยี่ยม ข้ามผ่านสถานการณ์ยากลำบากโควิด-19 และสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตก้าวหน้า ยืนหยัดในการเป็นผู้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการเงินของไทย เพื่อเชื่อมโยงการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลก  

คุณวรรณา นพอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ The Asian Banker ได้พิจารณามอบรางวัลดังกล่าวแก่ตนเอง และ NITMX นับเป็นรางวัลที่ยืนยันถึงการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งสมาคมธนาคารไทย ธนาคารสมาชิก และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน (กรช.) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกับคณะกรรมการบริหารที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับที่ช่วยกันขับเคลื่อนภาระกิจ และนโยบายระดับชาติไปสู่การดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ที่มุ่งสู่ดิจิทัลร่วมกันอย่างเต็มความสามารถ”   

คุณวรรณา นพอาภรณ์ มีประสบการณ์กว่า 30 ปีในแวดวงอุตสาหกรรมการชำระเงินและการธนาคาร และได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่ NITMX บริหารงานเป็นเวลากว่า 18 ปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯ และสามารถขับเคลื่อนให้เติบโตก้าวหน้า และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการคิดค้นและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินดิจิทัลที่สำคัญของไทยอย่างระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) และยังมีการพัฒนาระบบ PromptPay Cross- Border QR Payment ให้รองรับธุรกรรมการชำระเงินระหว่างประเทศที่เปิดให้บริการแล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และกำลังพัฒนาเพื่อขยายการให้บริการไปที่ ฮ่องกง อินเดีย ลาว และยังมีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดนวัตกรรมการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างไทยและมาเลเซีย DoitNow ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) นอกจากนี้ยังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจ หรือ PromptBiz ที่สนับสนุนการทำธุรกรรมการค้าให้เป็นดิจิทัลแบบครบวงจร เพื่อช่วยแก้ปัญหาการทำธุรกรรมแบบเดิมที่ยังใช้เอกสารกระดาษ และยังช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น

ในช่วงการแพร่ระบาดของวิกฤตโควิด ตั้งแต่ต้นปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกธุรกิจ แต่นับเป็นโอกาสดีที่คนไทยมีช่องทาง “การชำระเงินดิจิทัล (Digital Payment)” เป็นหนึ่งในทางเลือกหลักในการชำระเงิน ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากการสัมผัสและใช้เงินสด ซึ่งส่งผลให้การชำระเงินดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากข้อมูล Digital 2021 Global Overview Report ระบุว่าการทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ของคนไทยในปี 2563 ครองแชมป์อันดับ 1 ของโลก มีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นกว่า 70% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดย NITMX เป็นผู้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและบริการชำระเงินดิจิทัลอย่างระบบพร้อมเพย์ โดยได้มีการวางแผน เตรียมความพร้อมอยู่เสมอเพื่อทำให้ระบบมีความเสถียรและสามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลได้อย่างไม่สะดุด นอกจากนี้ NITMX ยังพัฒนาระบบ Digital SupplyChain Finance เพื่อให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น ให้มีโอกาสช่วยเหลือซัพพลายเออร์ของตนเองให้กลับมามีศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน

 สำหรับรางวัล Innovation Leadership Achievement Awards เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้บริหารสูงสุดของสถาบันการเงิน Non-Bank รวมถึงกลุ่ม Fintech ที่มีผลงานโดดเด่น ซึ่งเป็นรางวัลประเภทระดับบุคคล (Individual Award) ที่คณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติผู้ที่ได้รับรางวัลจากหลักเกณฑ์ การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน (Distinguished career) วิสัยทัศน์และความมุ่งมั่น (Vision and commitment) ผลงานการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ (Significant achievements) และความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจและการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ (Ability to inspire and build a team around innovation) ถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และนับเป็นหนึ่งในรางวัลที่มีหลักเกณฑ์เข้มงวดและตัดสินมอบรางวัลให้กับบุคคลที่มีความโดดเด่นที่สุดเท่านั้นในแต่ละประเทศ โดยในปี 2566 นี้ผู้บริหารที่ได้รับรางวัลมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาค ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน  อินเดีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศไทย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ผ่านทาง https://www.itmx.co.th 

from:https://www.techtalkthai.com/national-itmx-wins-a-major-international-award-from-the-asian-banker-guest-post/

เฟิร์ส ลอจิก เดินหน้าลุยธุรกิจจับมือ 2 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ DataStax และ Dedoco รับเมกะเทรนด์ดิจิทัล เติบโตไปด้วยกัน [Guest Post]

บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด (FLG) ในเครือบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Oracle Corporation และ Veritas Technologies LLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก  ประกาศติดอาวุธสร้างการเติบโต เดินหน้าขยายธุรกิจผนึกกำลัง 2 บริษัทชั้นนำ DataStax และ Dedoco ส่งมอบนวัตกรรมด้านไอที คัดสรรโซลูชั่นใหม่ๆ เพิ่มขีดความสามารถให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ รวมถึงการปรับตัวเพื่อแข่งขันในธุรกิจโลกอนาคต ตอบโจทย์การทำงานการใช้ชีวิตที่มากกว่าอย่างครบวงจร 

คุณภัทรภร ศุขสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด ในเครือบริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป้าหมายหลักในการดำเนินธุรกิจที่บริษัทให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ การสร้างประสิทธิภาพและความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งาน บริษัทฯ จึงเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ผ่านการจับมือกับ 2 พาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพและมีโอกาสในการเติบโตสูงอย่าง DataStax และ Dedoco เพื่อร่วมพัฒนาธุรกิจและส่งมอบโซลูชั่นใหม่ๆ และบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานความน่าเชื่อถือ และมีประโยชน์อย่างแท้จริง มานำเสนอต่อลูกค้ากลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรุกเข้าสู่ธุรกิจทุกภาคส่วน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค พร้อมศูนย์บริการหลังการขายครบวงจร  

โดยล่าสุด ได้คัดสรรโซลูชั่น เพื่อส่งมอบนวัตกรรมไอที ให้กับลูกค้าอีกทั้งยังเสริมประสิทธิภาพให้การทำงานอย่างมืออาชีพมากขึ้น โดยมี 2 นวัตกรรมดังนี้

  1. DataStax โซลูชั่นที่ช่วยทำให้การดำเนินธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับเวลามีความได้เปรียบ ด้วยคุณสมบัติการทำ Real-time process ทั้งเรื่อง AI Stack การนำเข้าข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบทั่วไปและการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อน ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าระบบจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว DataStax เป็นโซลูชั่นที่พัฒนาต่อยอดจาก open source project ที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับ เช่น Apache Cassandra, Apache Pulsar และ Kaskada ML และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กับบริษัทที่อยู่ใน 500 บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลก จัดอันดับโดยนิตยสาร Fortune เช่น Bank of America, Standard Chartered Bank, Macquarie Bank, Capital One และ Royal Bank of Canada สามารถมี Unified platform เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงที่สุดไม่ว่าจะเป็นการรองรับการทำ System Scaling โดยไม่ทำให้ต้นทุนสูง และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมในการใช้งานโซลูชั่นของ DataStax
  2. Dedoco เตรียมบอกลาการเซ็นเอกสารแบบเดิมๆ ด้วย Next-Gen Digital Document Signing Platform จาก Dedoco ที่จะช่วยให้การเซ็นเอกสารมีความรวดเร็ว ปลอดภัย และลดภาระความยุ่งยากจากการใช้งานเอกสารกระดาษด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่จะไม่สามารถแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเอกสารที่จัดส่งได้ ทำให้มีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของลายเซ็นและเอกสาร สามารถติดตาม ตรวจสอบเอกสารได้ทั้งในแบบ Real-Time และย้อนหลัง ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย Digital Signing Solution ที่หลากหลาย ทั้ง d-Sign, d-VideoSign, d-Cert และ d-Forms ที่สามารถเซ็นเอกสารได้ทั้ง การเซ็นเอกสารปกติ เอกสารที่มีการเซ็นตามลำดับขั้นตอน การเซ็นเอกสารผ่าน Video Call สร้างรูปแบบ Form ที่ใช้ประจำ รวมทั้งเอกสารที่ต้องการความน่าเชื่อถือ เช่น ใบ Cert. ต่างๆ สามารถ Integrate เข้ากับทุก Application ที่พัฒนาได้ด้วย API ที่มีพร้อมให้

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จีเอเบิล ในฐานะบริษัทแม่ของ เฟิร์ส ลอจิก มีความยินดีกับความร่วมมือระหว่าง เฟิร์ส ลอจิก กับ 2 บริษัทชั้นนำในครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นอีกก้าวสำคัญในการสร้างโอกาสและเสริมความแข็งแกร่งให้กับ เฟิร์ส ลอจิก เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศไทยให้สามารถเติบโตก้าวสู่ระดับโลกได้ในอนาคต ซึ่งความคาดหวังในอนาคตทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวของความร่วมมือนี้ จะสามารถช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด ผลักดันบริษัทให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ต่อยอดโอกาสและขยายธุรกิจตามความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย รวมถึงขยายศักยภาพการเติบโตของบริษัทสู่ระดับสากล

“อย่างไรก็ตาม เฟิร์ส ลอจิก พร้อมที่จะช่วยให้คำปรึกษา และมอบโซลูชั่นใหม่ๆ ให้กับทุกหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมถึงมีความพร้อมในเรื่องการให้บริการและความปลอดภัยภายใต้วิถีชีวิตใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหวังว่าโซลูชั่นที่ได้คัดสรรมาข้างต้นจะสามารถตอบโจทย์การทำงานให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” คุณภัทรภร กล่าวทิ้งท้าย 

เกี่ยวกับ  เฟิร์ส ลอจิก

บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด (FLG) เป็นบริษัทในเครือ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจาก Oracle Corporation และ Veritas Technologies LLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เฟิร์ส ลอจิก มีบริการอย่างครบครัน นับตั้งแต่การให้คำปรึกษา, ออกแบบระบบ, ติดตั้ง รวมไปถึงการให้บริการบำรุงรักษาหลังการติดตั้งแบบ 7×24 ทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจ ได้ว่าระบบงานที่ได้นำเสนอให้นั้น จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการและจะคงสภาพการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

from:https://www.techtalkthai.com/first-logic-joining-hands-with-2-leader-partner-to-embrace-the-digital-megatrend-guest-post/

Mambu ร่วมสนับสนุนทีมไทยพร้อมรับกระแสธนาคารเสมือนจริง ที่กำลังจะมาแทนที่ธนาคารในรูปแบบเดิม [Guest Post]

กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2566 Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ชั้นนำ เสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยด้วยการแต่งตั้งทีมงานใหม่ในประเทศ นำทีมโดยคุณวรเทพ ยรรยงกุล ผู้จัดการแมมบูประจำประเทศไทย และคุณวิวัฒน์ มาสุจันท์ ผู้จัดการพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคประจำประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ที่กว้างขวางทางด้านธนาคารและเทคโนโลยี ทีมแมมบู ประเทศไทย พร้อมที่จะสนับสนุนธนาคารและสถาบันการเงินของไทย ในเรื่องของผลประโยชน์จากการปฏิวัติการธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะมาแทนที่ธนาคารในรูปแบบเดิม หลังจากการออกใบอนุญาตธนาคารเสมือนจริงจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ผู้ร่วมทีมแมมบู ประเทศไทยกับคุณวรเทพและคุณวิวัฒน์ ได้แก่ คุณอภิสิทธิ์ สุขเปรม ในตำแหน่งของ Solution Engineer คุณเมลิสสา ลีลาเทพพิน ในตำแหน่งของ Customer Success Manager และคุณอธิป ปากบารา ในตำแหน่งของ Business Development Manager ASEAN

คุณวรเทพ ยรรยงกุล ผู้จัดการแมมบูประจำประเทศไทย

คุณวรเทพ ยรรยงกุล ผู้จัดการแมมบูประจำประเทศไทย เผยว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติและตื่นเต้นที่จะได้เป็นส่วนร่วมปฏิวัติอุตสาหกรรมการธนาคารและการเงินในประเทศไทย ด้วยเฟรมเวิร์กการออกใบอนุญาตธนาคารเสมือนจริงแบบใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในอุตสาหกรรมการธนาคาร ระบบการเงินและการธนาคารของไทยเป็นดั่งกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย และกำลังจะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อช่วยให้ประเทศไทย ก้าวไปสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทาง แมมบู ประเทศไทย พร้อมที่จะนำประสบการณ์จากการทำงานในประเทศอื่นๆ ที่เพิ่งให้ใบอนุญาตทางธนาคารดิจิทัล เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อมาพัฒนาให้ธนาคารและสถาบันการเงินของประเทศไทย ได้รับผลประโยชน์จากโอกาสที่รออยู่ข้างหน้าได้อย่างแท้จริง”

Mambu แพลตฟอร์มธนาคารบนคลาวด์ SaaS ได้ทำการเปิดตัวที่ยุโรปในปี 2554 และเติบโตขึ้นอย่างทวีคูณ ในปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 280 รายใน 65 ประเทศ โดยมีผู้ใช้บริการถึง 110 ล้านคน ประสบการณ์ที่กว้างขวางของ Mambu จะช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงิน ก้าวกระโดดไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบในระยะเวลาอันใกล้ ถึงแม้ว่าการใช้คลาวด์สาธารณะในด้านการบริการธนาคารและการเงินเพิ่งเริ่มมีการใช้งานได้ไม่นาน

คุณวิวัฒน์ มาสุจันท์ ผู้จัดการพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคประจำประเทศไทย

คุณวิวัฒน์ มาสุจันท์ ผู้จัดการพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคประจำประเทศไทย กล่าวว่า “แม้ว่า ธปท. จะเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับการใช้คลาวด์สาธารณะในด้านของการบริการทางการเงิน ธนาคารและ FSI ยังคงต้องขออนุมัติจาก ธปท. เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินใดๆ บนบริการคลาวด์สาธารณะ แม้ว่าขณะนี้ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อจะถูกให้บริการบนคลาวด์สาธารณะบ้างแล้วอย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่กรณีของผลิตภัณฑ์เงินฝาก แมมบู ประเทศไทย พร้อมแล้วที่จะทำงานร่วมกับ ธปท. เพื่อให้เห็นประโยชน์ของธนาคารบนคลาวด์ หรือ Cloud banking อย่างแท้จริง และช่วยให้ธนาคารและ FSI เข้าถึงนวัตกรรมของเทคโนโลยีแห่งอนาคต

แมมบู ร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบคลาวด์สาธารณะชั้นนำระดับโลก 3 ราย ได้แก่ Amazon Web Services (AWS), Google Cloud และ Microsoft Azure เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีความยืดหยุ่นในการวางแผนขยายธุรกิจได้อย่างไร้ขอบเขต นอกจากนี้แมมบูยังเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างไร้ขีดจำกัด ที่มาพร้อมกับมัลติคลาวด์ที่ สามารถช่วยให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย ตอบสนองพฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ

คุณวิลเลียม เดลล์ รองประธานแมมบูภาคพื้น APAC กล่าวว่า “ในขณะที่ทีมงานของ Mambu APAC ในประเทศสิงคโปร์ ทำงานร่วมกับลูกค้าในประเทศไทยในระยะหนึ่งแล้ว เราเชื่อว่า ณ เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่ทีมแมมบู ประเทศไทย จะเข้ามาช่วยผลักดันในการสร้างธนาคารเสมือนจริงในประเทศไทย และช่วยให้ธนาคารเหล่านี้เปิดรับโอกาสต่างๆ ที่จะมาถึง

แมมบูเผยถึง new Thai customer, Next Capital เปิดตัวชุดผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ผ่านแพลตฟอร์มธนาคารและการให้กู้ยืมบนคลาวด์ SaaS ที่ได้ปรับโฉม Next Capital ให้กลายเป็นสถาบันการกู้ยืมดิจิทัลยุคใหม่ระดับ full-service ในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ผู้ให้บริการทางการเงินจำนวนหนึ่งในประเทศไทยขับเคลื่อนโดย Mambu แล้ว และกำลังมีการเผยเรื่องของลูกค้าใหม่

เกี่ยวกับ Mambu

Mambu เป็นระบบธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS ที่เข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์เงินฝากและเงินกู้แบบเดิมๆ Mambu เปิดตัวในปี 2554 และปัจจุบันได้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างวิวัฒนาการและการเติบโตในยุคดิจิทัลให้กับสถาบันการเงิน ต่างๆ ตั้งแต่องค์กรฟินเทคไปจนถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมและธุรกิจอื่นๆ โมเดล Composable Banking ของ Mambu มีความแตกต่าง โดยส่วนประกอบ ระบบ และตัวเชื่อมต่อต่างๆ สามารถนำมาประกอบและปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นพร้อมช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้  Mambu มีพนักงานกว่า 900 คน ให้บริการและดูแลลูกค้า 280 รายใน 65 ประเทศ

https://www.mambu.com

คุณวรเทพ ยรรยงกุล ผู้จัดการแมมบูประจำประเทศไทย

คุณวรเทพจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้าน MBA และ MS in IT จาก University of North Carolina ในสหรัฐอเมริกา ด้วยประสบการณ์ที่มากกว่า 20 ปีในด้านการพัฒนาธุรกิจและการขายในภาคการธนาคาร และ Fintech ก่อนที่คุณวรเทพจะมาร่วมงานกับทาง Mambu คุณวรเทพได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Insight informatics ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย ML และการให้บริการทางด้าน Alternative Credit Scoring นอกจากนี้เขายังเคยมีประสบการณ์ทำงานที่สำนักงานใหญ่ของ Bank of America ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ Bank of Asia ในประเทศไทย

คุณวิวัฒน์ มาสุจันท์ ผู้จัดการพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคประจำประเทศไทยและอินโดจีน

คุณวิวัฒน์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์จาก Golden Gate University ในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในด้านซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร เขาได้มีโอกาสทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการธนาคาร FSI การค้าปลีก โทรคมนาคม และภาครัฐ ก่อนหน้านี้ เขาเคยทำงานให้กับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่าง SAP, Oracle, IBM และล่าสุดคือ Kofax เขาได้ทำการพิสูจน์ตัวเองแล้วว่าสามารถพัฒนา สร้างโอกาส และการทำตลาดร่วมกับพาร์ทเนอร์ พื่อส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจผ่านโซลูชั่นที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก ที่ Mambu คุณวิวัฒน์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ทุกประเภท รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์ SI ระดับโลกและระดับท้องถิ่น และ ISV เพื่อทำให้ระบบนิเวศของพาร์ทเนอร์แบบครบวงจรในประเทศไทยและอินโดจีนสมบูรณ์

from:https://www.techtalkthai.com/mambu-to-support-virtual-bank-in-thailand/

แอดไวซ์เผยเบื้องหลังขุมพลังสำคัญผู้นำค้าปลีกไอที เปิดกลยุทธ์ฝ่ายบริการสนับสนุน เตรียมขยายศูนย์บริการปีนี้เพิ่มแน่ 100 สาขา พร้อมพัฒนาบริการสร้างความประทับใจตลอดการซื้อ [Guest Post]

13 มิถุนายน 2566 – บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) ต่อยอดธุรกิจไอทีมุ่งสู่ศูนย์บริการครบวงจรที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 100 สาขา ด้วยบริการสนับสนุนก่อนและหลังการขายที่ครบถ้วน พร้อมพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ แก่พนักงาน เพื่อต่อยอดและส่งต่อโอกาสด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับลูกค้า และรองรับการเติบโตของตลาดสินค้าไอทีในอนาคต

ประเด็นนำเสนอ

  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าทั่วประเทศ เสริมแกร่งด้านศูนย์บริการต่อยอดการขยายเครือข่ายพันธมิตรในรูปแบบศูนย์บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 100 สาขา
  • ตอบโจทย์ด้านบริการทุกขั้นตอน พร้อมรับฟัง ให้คำแนะนำ และแก้ไขทุกปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ไอทีให้กับลูกค้าทั่วประเทศ
  • ตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำค้าปลีกไอทีอย่างยั่งยืน เสริมศักยภาพความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้กับพนักงานในองค์กรรองรับการเติบโตอุตสาหกรรมไอทีในอนาคต

ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมค้าปลีกไอทีมีการเติบโตอย่างมาก เนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคทั้งในเชิงชีวิตส่วนตัวและในการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ด้านไอทีเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งจากความนิยมด้านนวัตกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมด้านบริการได้รับอานิสงค์ควบคู่ไปด้วย “การบริการ” เป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญอย่างมากในทุก ๆ ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความคิดเห็น การให้ข้อมูลหรือคำแนะนำ การตอบข้อสงสัย รวมไปถึงการซ่อมหรือเปลี่ยนในอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์เป็นตัวดำเนินธุรกิจ ซึ่งแอดไวซ์ที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกไอทีก็ย่อมไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน ด้วยผลิตภัณฑ์ไอทีเป็นธุรกิจที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความพึงพอใจในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้บริโภค

ในปี 2566 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ลดน้อยลง จนผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านไอทีและนวัตกรรมมีการชะลอการเติบโต จากช่วงก่อนหน้านี้ที่ดีมานต์ถูกเร่งให้โตสูงขึ้นจากความจำเป็นในการใช้งานกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทั้งการเรียนและการทำงาน ส่งผลให้ในปี 2566 การขยายตัวของตลาดมีสัดส่วนที่น้อยลง ในทางกลับกันลูกค้ากลับมองหาช่องทางการให้บริการหลังการขายมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการใช้งานของอุปกรณ์ไอทีที่สะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง สอดคล้องกับผลสำรวจของ การ์ทเนอร์ ที่คาดการณ์ว่าในปี 2566 กลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และบริการไอที จะเติบโตสูงสุดที่ 9.3% และ 5.5% ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มอุปกรณ์ไอทีถูกคาดการณ์ว่าการเติบโตจะลดลงอยู่ที่ 5.1%

แอดไวซ์ ในฐานะที่เป็นบริษัทค้าปลีกอุปกรณ์ไอทีชั้นนำ ตระหนักดีถึงความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้น ดังนั้น กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจปี 2566 จึงมุ่งเน้นในด้านการขยายการบริการผ่านการเปิดศูนย์บริการเพิ่มเติมกว่า 100 สาขา โดยเป็นการจับมือร่วมกับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ด้านไอทีชั้นนำ ให้บริการตรวจเช็ค ซ่อม-เคลมสินค้า พร้อมการให้คำแนะนำการใช้งานและดูแลรักษาสินค้าไอที เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า อีกทั้งมุ่งเน้นการสร้างความสะดวกและการเข้าถึงในการให้บริการให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 

โดยแอดไวซ์คาดหวังว่าการขยายศูนย์บริการจะเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของแอดไวซ์ในหลาย ๆ ด้านซึ่งเรามุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและเทคโนโลยี รวมถึงการเพิ่มจำนวนช่างผู้ชำนาญในการให้บริการ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการที่มากยิ่งขึ้น 

นายทศพล เปรมประสพโชค ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจงานบริการ บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า

“ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมค้าปลีกผลิตภัณฑ์ไอทีมีการเติบโตขึ้นอย่างมาก แอดไวซ์ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมค้าปลีกไอทีตระหนักดีว่าการเติบโตที่เกิดขึ้นนี้จะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตอย่างแน่นอนหากยังไม่พัฒนาด้านการบริการให้สามารถทัดเทียมกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ภายในปี 2566 เราได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ด้านไอทีชั้นนำเพื่อขยายศูนย์บริการกว่า 100 สาขาครอบคลุมทั่วประเทศ รวมไปถึงการเพิ่มและพัฒนาบุคลากรด้านบริการ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าแอดไวซ์ทั่วประเทศ ทั้งในด้านการให้คำแนะนำ เสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และการเคลมสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากจะมุ่งเน้นการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าของแอดไวซ์แล้ว ในอีกทางหนึ่งก็ยังให้ความสำคัญกับการเสริมทักษะ พัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับบุคลากร ผ่านการเทรนนิ่งในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สามารถก้าวตามทันอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยมอบโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ปัจจุบัน แอดไวซ์มีทั้งหมด 338 สาขา ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงใน สปป.ลาว ถือเป็นผู้จำหน่ายสินค้าไอทีที่มีหน้าร้านครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ แอดไวซ์ยังคงปรับปรุงและพัฒนาในทุกภาคส่วนผ่านความร่วมมือของพนักงานภายในองค์กรที่เป็นดั่งฟันเฟืองชิ้นสำคัญในการนำพาแอดไวซ์ก้าวไปข้างหน้า และมองหาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าไอทีรุ่นล่าสุดให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ผู้บริโภคสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาทักษะความสามารถในอนาคต

เกี่ยวกับ Advice 

บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) ผู้นำศูนย์รวมอุปกรณ์ไอทีครบวงจรที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมเป็นที่ปรึกษาทางด้านไอที “นึกถึงไอที นึกถึงแอดไวซ์ จำหน่ายและซ่อม | ครบ | จบในที่เดียว” สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook, Youtube, Line, IG, Twitter และ Tiktok : AdviceClub, Call Center 02-908-8888 หรือคลิก www.advice.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/advice-reveals-the-key-power-behind-it-retail-leaders-open-support-strategy-preparing-to-expand-service-centers-this-year-adding-100-branches-for-sure/

งานประชุมเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 กลับมาอีกครั้ง พร้อมบริษัทสตาร์ทอัพ 100 อันดับแรกในเอเชียแปซิฟิก [Guest Post]

  • งานเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2566 ที่ศูนย์จัดงานสิงคโปร์เอ็กซ์โป
  • ธีมของงานประชุมปี 2566 นี้ เกี่ยวข้องกับวิธีที่ระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้สร้างธุรกิจจำนวนมากที่มีความสามารถในแก้ปัญหาได้จริง และมุ่งเน้นเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันด้วย
  • การประชุมครั้งนี้จะนำเอาโปรแกรมบริษัท 100 อันดับแรกกลับมาอีกครั้ง โดยโปรแกรมได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตและที่กำลังจะจัดตั้งเพิ่มเติมในอนาคตในภูมิภาคนี้ เอคีลอนจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 รายจากบริษัทสตาร์ทอัพรายใหญ่รวมถึง มันนี่สมาร์ท (MoneySmart) ด็อกเตอร์เอนี่แวร์ (Doctor Anywhere) 500 โกลบอล (500 Global) เบนแอนด์คอมพานี (Bain & Company) มังค์สฮิลเวนเจอร์  (Monk’s Hill Ventures)

e27 บริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพด้านแพลตฟอร์มสื่อ ประกาศเปิดตัวงานเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 (Echelon Asia Summit 2023) ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์จัดงานสิงคโปร์เอ็กซ์โป ในระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2566 ในการจัดงาน 2 วันจะมีผู้เข้าร่วมงาน 5,000 รายจากทั่วทั้งเอเชีย เป็นตัวแทนจากบริษัทกว่า 200 แห่ง และมีผู้บรรยายระดับเวิลด์คลาสกว่า 100 คน เอคีลอนเป็นอีเวนท์ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยบริษัทสตาร์ทอัพในการสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายใหม่ หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และสร้างสรรค์กระแสการลงทุนใหม่ๆ จากทั่วทั้งอีโคซิสเต็มส์อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีนี้ ภายในอีเวนท์จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตที่บริษัทในอีโคซิสเต็มส์ด้านเทคและสตาร์ทอัพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญ ทั้งในเรื่องการลงทุนและแนวโน้มเรื่องการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) การที่ธุรกิจในเซกเตอร์ที่มีการเติบโตสูงจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในงาน 2 วันนี้ผู้บรรยายที่เชี่ยวชาญกว่า 100 คนจากเอคีลอนจะนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ Web3.0 ซูนิคอร์น (Soonicorns สตาร์อัพที่กำลังจะได้เป็นยูนิคอร์น) และนักสร้างความเปลี่ยนแปลง (Changemakers) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซ็กเตอร์ใหม่ในอนาคตและทิศทางการลงทุน การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ  ความยั่งยืน การเติบโตและการขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโต และส่วนที่เหลือของงานจะมีเวิร์คช็อป การสนทนาโต๊ะกลม ส่วนงานแสดงสินค้า และกิจกรรมสร้างเครือข่าย เอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 เป็นงานที่สตาร์ทอัพและนักลงทุน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้มีโอกาสในการก้าวสู่ตลาดโลก 

ในครั้งที่ผ่านมางานเอคีลอนเอเชียซัมมิทได้นำเสนอเรื่องราวของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูง จากสตาร์ทอัพและนักลงทุน เช่น แกร็บ (Grab)  คาร์โร (Carro) นินจาแวน (Ninja Van) วีเวิร์ค (WeWork) ลาซาด้า (Lazada) ช้อปแบ็ค (Shopback) ลาล่ามูฟ (Lalamove) อัลทาร่า เวนเจอร์ส (Altara Ventures) เวอร์เท็กซ์ เวนเจอร์ส (Vertex Ventures) จัสโค (JustCo) มังค์สฮิลล์เวนเจอร์ส (Monk’s Hill Ventures) โกลเด้นเกตเวนเจอร์ส (Golden Gate Ventures) และ จังเกิลเวนเจอร์ส (Jungle Ventures)

สำหรับงานผู้เข้าร่วมงานจะได้เห็นการกลับมาของโปรแกรมท็อป100 ซึ่งเป็นโปรแกรมสตาร์ทอัพกลุ่มที่ดีที่สุด (Best-in-class) โดยนำเสนอโครงการของแต่ละแห่งเพื่อชิงรางวัลโปรแกรมแชมเปี้ยนชิพ ท็อป 100 เป็นโปรแกรมรวบรวม จัดหมวดหมู่ และจัดอันดับ  ที่ออกแบบมาเพื่อค้นหา แสดงตัวอย่างและเร่งรัดให้บริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังจะก้าวขึ้นมาสู่ความสำเร็จ ผู้เข้ารอบสุดท้ายถูกเลือกมาจากผู้สมัครกว่า 500 ราย และปัจจุบันนี้เป็นตัวแทนจากกว่า 10 ประเทศ ซึ่งจะนำเสนอโครงการต่อตัวแทนนักลงทุน 5,000 รายรวมถึงนักลงทุน 25 อันดับแรก (ท็อป 25) ด้วย สมาชิกในโปรแกรมท็อป 100 ที่ผ่านมารวมถึงบริษัทที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปแล้ว เช่น ทูกิทากิ (Tookitaki) ไนตี้ไนน์ดอตโค (99.co) พิกอัพ (Pickupp) แอสไพร์ (Aspire) เอชทรี ไดนามิกส์ (H3 Dynamics) กลินท์ส (Glints)

ในปีนี้โปรแกรมท็อป 100 เป็นพาร์ทเนอร์กับรางวัลเดอะเซฟสเต็ปดีเทค หรือดิสแอสเตอร์เทค (The SAFE STEPS D-Tech  /Disaster Tech) ซึ่งจัดตั้งโดยมูลนิธิพรูเด็นซ์ (Prudence Foundation) มีเป้าหมายเพื่อที่จะค้นหา ให้ทุนและสนับสนุนโซลูชันนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ในการช่วยรักษาชีวิตผู้คนในช่วงระหว่างและหลังจากเกิดภัยธรรมชาติ ในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรม ท็อป 100 รางวัลเซฟสเต็ปดีเทคจะเลือกผู้สมัคร 5 รายจากทั้งหมด 100 กว่ารายทั่วโลกเพื่อที่จะแสดงผลงานโครงการบนเวที

ในช่วงเริ่มต้นการจัดงาน อี 27 ได้จัดงานพบปะสังสรรค์ขึ้น 5 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพื่อพูดคุยถึงสถานการณ์ธุรกิจสตาร์ทอัพในแต่ละประเทศ ธุรกิจสตาร์ทอัพและอีโคซิสเต็มส์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยังคงอยู่ในระยะฟื้นตัวจากภัยพิบัติโรคระบาด โดยมีการคาดการณ์การเติบโตที่คาดการณ์ 4.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566 หลังการเปิดประเทศ และเศรษฐกิจกลับมาพลิกฟื้นอีกครั้ง แม้ตัวเลขคาดการณ์จะเป็นตัวเลขที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ความท้าทายต่างๆ เช่นเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์การลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน

โมฮาน เบลานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง อี 27 (e27) ได้แสดงความเห็นว่า “อีโคซิสเต็มส์ด้านเทคโนโลยีเติบโตขึ้นตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณบรรดานักลงทุนจำนวนมาก และแรงผลักดันสู่รอบการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้น ในช่วงที่ผ่านมามุ่งเน้นในเรื่องพื้นฐานของธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่มากนัก ปีที่ผ่านมานับเป็นการเริ่มต้นใหม่และกำหนดจุดมุ่งหมายใหม่สำหรับผู้ก่อตั้งและนักลงทุน และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการสร้างอีโคซิสเต็มส์ใหม่อีกครั้ง และการวางแผนวิวัฒนาการของระบบ เอคีลอนมุ่งหมายที่จะสร้างให้เกิดการอภิปรายร่วมกันว่า ควรจะทำอย่างไรให้อีโคซิสเต็มส์ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ส่งผลกระทบจริงๆ และเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนด้วย” 

#########

เกี่ยวกับ e27 

e27 ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 มีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นอย่างมากให้ดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยจัดเตรียมเครื่องมือและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างและขยายบริษัทในอีโคซิสเต็มส์ทางธุรกิจเทคโนโลยีในเอเชีย e27 ได้พัฒนาแพลตฟอร์มโก-ทู (go-to platform) สำหรับการเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงลึกด้านตลาด เงินทุนและอื่นๆ อีกมาก – ทรัพยากรทุกอย่างที่กลุ่มสตาร์อัพต้องการเพื่อพัฒนาสตาร์อัพสู่บริษัทมูลค่าพันล้านดอลลาร์

เกี่ยวกับเอคีลอนเอเชียซัมมิท

เอคีลอนเอเชียซัมมิท เป็นการประชุมด้านเทคโนโลยีระดับเรือธงของ e27 โดยนำเอาอีโคซิสเต็มส์ของธุรกิจสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิกมารวมกันเพื่อสร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์, ข้อมูลเชิงลึก  และการได้พบปะกันของผู้เชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่น จากทั่วทั้งเอเชีย ทำการสำรวจว่าบริษัทสตาร์ทอัพ นักลงทุน บริษัทและรัฐบาลทำงานร่วมกันข้ามพรมแดนของแต่ละรายได้อย่างไร เพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน จัดการประเด็นเร่งด่วน และขยายกำลังให้กับระบบนิเวศน์ธุรกิจให้เติบโตขึ้นเพื่อที่จะสร้างอนาคตแห่งเอเชียให้เกิดขึ้น  รวบรวมข้อมูลความเข้าใจเชิงลึกจากผู้นำของอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการอภิปรายบนเวที สร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในอุตสาหกรรมด้วยสมาชิกที่มาออกบูธกว่า 300 ราย เอคีลอนเอเชียซัมมิทในฐานะของแพลตฟอร์มชั้นนำสำหรับเทคสตาร์ทอัพและการลงทุนที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 13 ปีแล้วในวันนี้ จะสร้างการผูกพันข้ามพรมแดนการเติบโตของผู้เชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่น (talent) และนำเสนอบริษัทชั้นนำและบริษัทเกิดใหม่ที่โดดเด่นของเอเชียแปซิฟิกที่ใจกลางมหานครเศรษฐกิจแห่งประเทศสิงคโปร์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ https://e27.co/echelon/asia

from:https://www.techtalkthai.com/%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%8a%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%b5%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a2/

งานประชุมเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 กลับมาอีกครั้ง พร้อมบริษัทสตาร์ทอัพ 100 อันดับแรกในเอเชียแปซิฟิก [Guest Post]

  • งานเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2566 ที่ศูนย์จัดงานสิงคโปร์เอ็กซ์โป
  • ธีมของงานประชุมปี 2566 นี้ เกี่ยวข้องกับวิธีที่ระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้สร้างธุรกิจจำนวนมากที่มีความสามารถในแก้ปัญหาได้จริง และมุ่งเน้นเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันด้วย
  • การประชุมครั้งนี้จะนำเอาโปรแกรมบริษัท 100 อันดับแรกกลับมาอีกครั้ง โดยโปรแกรมได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเร่งการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตและที่กำลังจะจัดตั้งเพิ่มเติมในอนาคตในภูมิภาคนี้ เอคีลอนจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 รายจากบริษัทสตาร์ทอัพรายใหญ่รวมถึง มันนี่สมาร์ท (MoneySmart) ด็อกเตอร์เอนี่แวร์ (Doctor Anywhere) 500 โกลบอล (500 Global) เบนแอนด์คอมพานี (Bain & Company) มังค์สฮิลเวนเจอร์  (Monk’s Hill Ventures)

e27 บริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพด้านแพลตฟอร์มสื่อ ประกาศเปิดตัวงานเอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 (Echelon Asia Summit 2023) ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์จัดงานสิงคโปร์เอ็กซ์โป ในระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2566 ในการจัดงาน 2 วันจะมีผู้เข้าร่วมงาน 5,000 รายจากทั่วทั้งเอเชีย เป็นตัวแทนจากบริษัทกว่า 200 แห่ง และมีผู้บรรยายระดับเวิลด์คลาสกว่า 100 คน เอคีลอนเป็นอีเวนท์ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยบริษัทสตาร์ทอัพในการสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายใหม่ หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และสร้างสรรค์กระแสการลงทุนใหม่ๆ จากทั่วทั้งอีโคซิสเต็มส์อุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีนี้ ภายในอีเวนท์จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตที่บริษัทในอีโคซิสเต็มส์ด้านเทคและสตาร์ทอัพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญ ทั้งในเรื่องการลงทุนและแนวโน้มเรื่องการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ (M&A) การที่ธุรกิจในเซกเตอร์ที่มีการเติบโตสูงจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในงาน 2 วันนี้ผู้บรรยายที่เชี่ยวชาญกว่า 100 คนจากเอคีลอนจะนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ Web3.0 ซูนิคอร์น (Soonicorns สตาร์อัพที่กำลังจะได้เป็นยูนิคอร์น) และนักสร้างความเปลี่ยนแปลง (Changemakers) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เซ็กเตอร์ใหม่ในอนาคตและทิศทางการลงทุน การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ  ความยั่งยืน การเติบโตและการขยายตัวเพื่อรองรับการเติบโต และส่วนที่เหลือของงานจะมีเวิร์คช็อป การสนทนาโต๊ะกลม ส่วนงานแสดงสินค้า และกิจกรรมสร้างเครือข่าย เอคีลอนเอเชียซัมมิท 2023 เป็นงานที่สตาร์ทอัพและนักลงทุน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้มีโอกาสในการก้าวสู่ตลาดโลก 

ในครั้งที่ผ่านมางานเอคีลอนเอเชียซัมมิทได้นำเสนอเรื่องราวของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารระดับสูง จากสตาร์ทอัพและนักลงทุน เช่น แกร็บ (Grab)  คาร์โร (Carro) นินจาแวน (Ninja Van) วีเวิร์ค (WeWork) ลาซาด้า (Lazada) ช้อปแบ็ค (Shopback) ลาล่ามูฟ (Lalamove) อัลทาร่า เวนเจอร์ส (Altara Ventures) เวอร์เท็กซ์ เวนเจอร์ส (Vertex Ventures) จัสโค (JustCo) มังค์สฮิลล์เวนเจอร์ส (Monk’s Hill Ventures) โกลเด้นเกตเวนเจอร์ส (Golden Gate Ventures) และ จังเกิลเวนเจอร์ส (Jungle Ventures)

สำหรับงานผู้เข้าร่วมงานจะได้เห็นการกลับมาของโปรแกรมท็อป100 ซึ่งเป็นโปรแกรมสตาร์ทอัพกลุ่มที่ดีที่สุด (Best-in-class) โดยนำเสนอโครงการของแต่ละแห่งเพื่อชิงรางวัลโปรแกรมแชมเปี้ยนชิพ ท็อป 100 เป็นโปรแกรมรวบรวม จัดหมวดหมู่ และจัดอันดับ  ที่ออกแบบมาเพื่อค้นหา แสดงตัวอย่างและเร่งรัดให้บริษัทสตาร์ทอัพที่กำลังจะก้าวขึ้นมาสู่ความสำเร็จ ผู้เข้ารอบสุดท้ายถูกเลือกมาจากผู้สมัครกว่า 500 ราย และปัจจุบันนี้เป็นตัวแทนจากกว่า 10 ประเทศ ซึ่งจะนำเสนอโครงการต่อตัวแทนนักลงทุน 5,000 รายรวมถึงนักลงทุน 25 อันดับแรก (ท็อป 25) ด้วย สมาชิกในโปรแกรมท็อป 100 ที่ผ่านมารวมถึงบริษัทที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปแล้ว เช่น ทูกิทากิ (Tookitaki) ไนตี้ไนน์ดอตโค (99.co) พิกอัพ (Pickupp) แอสไพร์ (Aspire) เอชทรี ไดนามิกส์ (H3 Dynamics) กลินท์ส (Glints)

ในปีนี้โปรแกรมท็อป 100 เป็นพาร์ทเนอร์กับรางวัลเดอะเซฟสเต็ปดีเทค หรือดิสแอสเตอร์เทค (The SAFE STEPS D-Tech  /Disaster Tech) ซึ่งจัดตั้งโดยมูลนิธิพรูเด็นซ์ (Prudence Foundation) มีเป้าหมายเพื่อที่จะค้นหา ให้ทุนและสนับสนุนโซลูชันนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ในการช่วยรักษาชีวิตผู้คนในช่วงระหว่างและหลังจากเกิดภัยธรรมชาติ ในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรม ท็อป 100 รางวัลเซฟสเต็ปดีเทคจะเลือกผู้สมัคร 5 รายจากทั้งหมด 100 กว่ารายทั่วโลกเพื่อที่จะแสดงผลงานโครงการบนเวที

ในช่วงเริ่มต้นการจัดงาน อี 27 ได้จัดงานพบปะสังสรรค์ขึ้น 5 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพื่อพูดคุยถึงสถานการณ์ธุรกิจสตาร์ทอัพในแต่ละประเทศ ธุรกิจสตาร์ทอัพและอีโคซิสเต็มส์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยังคงอยู่ในระยะฟื้นตัวจากภัยพิบัติโรคระบาด โดยมีการคาดการณ์การเติบโตที่คาดการณ์ 4.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566 หลังการเปิดประเทศ และเศรษฐกิจกลับมาพลิกฟื้นอีกครั้ง แม้ตัวเลขคาดการณ์จะเป็นตัวเลขที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ความท้าทายต่างๆ เช่นเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยและสถานการณ์การลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปก็ยังคงมีอยู่เช่นกัน

โมฮาน เบลานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง อี 27 (e27) ได้แสดงความเห็นว่า “อีโคซิสเต็มส์ด้านเทคโนโลยีเติบโตขึ้นตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณบรรดานักลงทุนจำนวนมาก และแรงผลักดันสู่รอบการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้น ในช่วงที่ผ่านมามุ่งเน้นในเรื่องพื้นฐานของธุรกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่มากนัก ปีที่ผ่านมานับเป็นการเริ่มต้นใหม่และกำหนดจุดมุ่งหมายใหม่สำหรับผู้ก่อตั้งและนักลงทุน และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการสร้างอีโคซิสเต็มส์ใหม่อีกครั้ง และการวางแผนวิวัฒนาการของระบบ เอคีลอนมุ่งหมายที่จะสร้างให้เกิดการอภิปรายร่วมกันว่า ควรจะทำอย่างไรให้อีโคซิสเต็มส์ธุรกิจสามารถมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ส่งผลกระทบจริงๆ และเติบโตไปได้อย่างยั่งยืนด้วย” 

#########

เกี่ยวกับ e27 

e27 ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 มีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นอย่างมากให้ดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยจัดเตรียมเครื่องมือและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างและขยายบริษัทในอีโคซิสเต็มส์ทางธุรกิจเทคโนโลยีในเอเชีย e27 ได้พัฒนาแพลตฟอร์มโก-ทู (go-to platform) สำหรับการเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์ ข้อมูลเชิงลึกด้านตลาด เงินทุนและอื่นๆ อีกมาก – ทรัพยากรทุกอย่างที่กลุ่มสตาร์อัพต้องการเพื่อพัฒนาสตาร์อัพสู่บริษัทมูลค่าพันล้านดอลลาร์

เกี่ยวกับเอคีลอนเอเชียซัมมิท

เอคีลอนเอเชียซัมมิท เป็นการประชุมด้านเทคโนโลยีระดับเรือธงของ e27 โดยนำเอาอีโคซิสเต็มส์ของธุรกิจสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิกมารวมกันเพื่อสร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์, ข้อมูลเชิงลึก  และการได้พบปะกันของผู้เชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่น จากทั่วทั้งเอเชีย ทำการสำรวจว่าบริษัทสตาร์ทอัพ นักลงทุน บริษัทและรัฐบาลทำงานร่วมกันข้ามพรมแดนของแต่ละรายได้อย่างไร เพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน จัดการประเด็นเร่งด่วน และขยายกำลังให้กับระบบนิเวศน์ธุรกิจให้เติบโตขึ้นเพื่อที่จะสร้างอนาคตแห่งเอเชียให้เกิดขึ้น  รวบรวมข้อมูลความเข้าใจเชิงลึกจากผู้นำของอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการอภิปรายบนเวที สร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในอุตสาหกรรมด้วยสมาชิกที่มาออกบูธกว่า 300 ราย เอคีลอนเอเชียซัมมิทในฐานะของแพลตฟอร์มชั้นนำสำหรับเทคสตาร์ทอัพและการลงทุนที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 13 ปีแล้วในวันนี้ จะสร้างการผูกพันข้ามพรมแดนการเติบโตของผู้เชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่น (talent) และนำเสนอบริษัทชั้นนำและบริษัทเกิดใหม่ที่โดดเด่นของเอเชียแปซิฟิกที่ใจกลางมหานครเศรษฐกิจแห่งประเทศสิงคโปร์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ https://e27.co/echelon/asia

from:https://www.techtalkthai.com/echelon-asia-summit-2023-return-with-startups-companies-guest-post/

ดีป้าและอีริคสันร่วมเดินหน้าขับเคลื่อน Thailand Digital Valley [Guest Post]

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ประเดิมขับเคลื่อนความร่วมมือในโครงการ Thailand Digital Valley ของดีป้า เพื่อมุ่งพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์เวอร์ชั่นประเทศไทย

  • ความร่วมมือกันครั้งนี้จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในประเทศไทยสอดรับกับวิสัยทัศน์ Thailand 4.0
  • โซลูชัน 5G ชั้นนำของอีริคสันจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ทดสอบสำหรับการทดลองเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายใหม่ ๆ อาทิ การจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ การพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ของประเทศไทย

ภายในงานเปิดตัว มีการนำเสนอข้อมูลจากเหล่าพันธมิตรหลัก ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและโซลูชันระดับโลก และสตาร์ทอัพ

Thailand Digital Valley ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกระยะทาง 50 ไมล์ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรองรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันทั้งในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค โดยคาดว่าจะเกิดการจ้างงานใหม่ในพื้นที่ประมาณ 20,000 ราย และดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5 พันล้านบาทต่อปี  

เมื่อไม่นานมานี้ อีริคสันและดีป้ายังได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อขับเคลื่อนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันผ่านการใช้เครือข่าย 5G ในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะประกอบด้วยการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ความรู้ความเข้าใจขั้นสูง และเทคโนโลยีล้ำสมัยของอีริคสันเพื่อเร่งเดินหน้าประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

ส่วนหนึ่งในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ยังระบุว่า อีริคสันและดีป้าจะจัดตั้งห้องปฏิบัติการด้านนวัตกรรม (Innolab) ขึ้นใน Thailand Digital Valley ของดีป้าในจังหวัดชลบุรี เพื่อใช้เป็นศูนย์ทดสอบเครือข่าย 5G และศูนย์บริการสำหรับการทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายและเครือข่ายใหม่ ๆ อาทิ การแบ่งปันคลื่นความถี่ (Spectrum Sharing) ตลอดจนการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการดิจิทัลใหม่ ๆ ในประเทศไทย

ดร.เจษฎา ศิวารักษ์ หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำ 5G ที่ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทยมายาวนาน 117 ปี เราจะดึงศักยภาพและใช้ประโยชน์จากโซลูชันชั้นนำที่ไว้วางใจได้รวมถึงระบบนิเวศของพันธมิตรระดับโลกมาขับเคลื่อนการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชันของประเทศ เราพร้อมทำงานร่วมกับดีป้า ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารของไทย องค์กรธุรกิจ และสตาร์ทอัพเพื่อปลดล็อกศักยภาพของ 5G ผ่านการสร้างยูสเคส 5G ใหม่ ๆ ร่วมกัน”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า “Thailand Digital Valley จะมีบทบาทสำคัญช่วยยกระดับระบบนิเวศดิจิทัลของประเทศไทยและเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัล กระตุ้นบรรยากาศการลงทุน การค้า และความร่วมมือระดับโลก”

จากข้อมูลของดีป้าระบุว่า Thailand Digital Valley จะกลายเป็นระบบนิเวศดิจิทัลสำคัญ และเป็นฐานรากของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ โดยจะสนับสนุนการร่วมกันคิดค้นและพัฒนาฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะใหม่ ๆ (Hardware and Smart Devices) รวมถึงเทคโนโลยีด้านการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (BigData) เทคโนโลยี IoT, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ซอฟต์แวร์คอนเวอร์เจนซ์ (Software Convergence), นวัตกรรมคลาวด์ (Cloud Innovation) และบริการเนื้อหาดิจิทัล รวมถึงบริการดิจิทัลในด้านอื่น ๆ ครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมแอนิเมชัน เกม และอีสปอร์ต

อีริคสันเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ระดับโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้วจำนวน 147 เครือข่าย ใน 63 ประเทศ พร้อมยังเปิดให้บริการเครือข่าย 5G Standalone 24 เครือข่ายทั่วโลก

from:https://www.techtalkthai.com/depa-and-ericsson-join-forces-to-drive-the-thailand-digital-valley/

ไซเบอร์จีนิคส์ ชูแนวคิด ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อ Business & Cyber Resilience ที่มีส่วนร่วมทั้งองค์กร ในงาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023 [Guest Post]

ไซเบอร์จีนิคส์ (CyberGenics) เข้าร่วมงาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023 นำทีมโดยนายสุธี อัศวสุนทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด (ที่ 2 จากขวา) นายปราโมทย์ ผ่องสุวรรณ์ (ที่ 1 จากขวา) Head of Corporate Marketing&Branding ซึ่งทางเจ้าภาพจัดงานได้แก่ คุณนุชรินทร์ ภารดีวิสุทธิ์ (ที่ 1 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด และคุณแอนดี้ คิวานูก้า (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ เอเชียแปซิฟิก บริษัท โคลสเซอร์สติลมีเดีย คุณโดมินิค พินโฟล์ด (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการการจัดงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในเอเชีย บริษัท โคลสเตอร์สติลมีเดียร์

งาน Smart Cybersecurity Summit Thailand 2023 เป็นงานประชุมระดับประเทศที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แถวหน้าทั้งในและต่างประเทศ โดยมีผู้บริหารและผู้ที่ทำงานสายไอทีมาร่วมฟังสัมมนากันคับคั่ง​

โดยครั้งนี้ จีเอเบิล (G-Able) และ ไซเบอร์จีนิคส์ ได้ร่วมเปิดบูทและอภิปรายให้ความรู้บนเวที เพื่อแนะนำบริการต่าง ๆ ของบริษัทฯ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการความมั่นคงและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านภัยไซเบอร์แบบครบวงจรจากทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง​

โดยในช่วงเช้าของงาน มีการอภิปรายเนื้อหาจาก Security Expert จากทีมผู้เชี่ยวชาญจากไซเบอร์จีนิคส์ ในหัวข้อ Evolve Your Cybersecurity Strategy : Work Anywhere, Secure Anytime โดยนายธนพล ประสิทธิ์ไพฑูรย์ เป็นการเล่าถึงแนวทางในการเปลี่ยนถ่ายแนวคิดในการออกแบบระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคใหม่ เมื่อนโยบายและรูปแบบการทำงาน การเข้าถึงและบริหารจัดการแอปพลิเคชันภายในขององค์กรเปลี่ยนไป ส่งผลให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security) มีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนและทลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับรูปแบบการทำงานขององค์กรในรูปแบบใหม่ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการขยายขีดความสามารถในการควบคุมและตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้มีความรวดเร็ว ปลอดภัยและทันสมัยไม่ว่าผู้ใช้งานจะอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ การพัฒนารูปแบบในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน ภายใน ภายใต้คอนเซ็ปต์ Zero Trust ที่สามารถกำหนดขอบเขตให้เข้าถึงเฉพาะเท่าที่จำเป็นและปรับเปลี่ยนตามความเสี่ยงของผู้ใช้งาน (Dynamic User access Profile) การลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบการเข้าถึงจากภายนอก (Remote Access) การป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในจากการเชื่อมต่อจากผู้ใช้งานที่อยู่นอกองค์กร และการตรวจสอบความเสี่ยงของอุปกรณ์และผู้ใช้งานทุกๆการร้องขอการเชื่อมต่อ ทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยมีขีดความสามารถในการดูแลและป้องกันการใช้งานขององค์กรให้ปลอดภัยและสอดรับกับนโยบายและรูปแบบการทำงานใหม่ขององค์กร ที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น

นอกจากนี้ ยังได้ร่วมงานเสวนาในหัวข้อSmart cybersecurity ในหลากหลายประเด็นที่อยู่ในกระแสปัจจุบัน เช่น ChatGPT, Cyberinsurance, Security Transformation เป็นต้น โดยมี คุณอลงกรณ์ หงส์สวัสดิ์ Senior consultant จาก ไซเบอร์จีนิคส์ มาร่วมให้ข้อมูลใน Session นี้ ในประเด็นของ Cyber Resilience ซึ่งในมุมมองของคุณอลงกรณ์ ได้กล่าวถึงว่า ในปัจจุบัน Cyber Resilience เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่หลากหลายรูปแบบและมักจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บางครั้งเราก็ไม่อาจป้องกันได้ทั้งหมด ดังนั้นทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการ มีการวางแผนการรับมือ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยรวมอยากมุ่งเน้นไปที่ตัวบุคคลในองค์กรให้มี Cybersecurity Awareness เพิ่มขึ้น เนื่องจากในการพัฒนาในส่วนของแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน มีการใส่ซีเคียวริตี้ไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ภัยคุกคามไซเบอร์ก็ยังเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ส่วนใหญ่เกิดจากการไปกดลิงก์ต้องสงสัย ทั้งเจตนาและไม่เจตนานั่นเอง ซึ่งในประเด็นนี้ ชี้ให้เห็นว่าการสอดส่องและเฝ้าระวังไม่ได้จำกัดอยู่ในกลุ่มของพนักงานด้านไอทีเท่านั้น แต่คือทุกคนในองค์กรหมั่นสังเกตและเฝ้าระวัง จะช่วยให้เกิด tolerance และ resilience ขึ้นได้เอง

from:https://www.techtalkthai.com/cybersecurity-for-business-cyber-resilience-with-participation-throughout-the-organization-at-the-smart-cybersecurity-summit-thailand-2023/

G-ABLE เปิดบ้านต้อนรับนักวิเคราะห์ โชว์กำไร Q1/66 โตแกร่ง ย้ำศักยภาพผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น [Guest Post]

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ G-ABLE ผู้นำ “Tech Enabler” ที่ให้บริการด้าน Digital Transformation แบบครบวงจร นำทีมผู้บริหาร จัดงานประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) เพื่อนำเสนอภาพรวมผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1/2566 และแผนธุรกิจในปีนี้ ย้ำความมั่นใจ พร้อมต่อจิ๊กซอว์ทันทีหลังได้เงินจากการระดมทุนสนับสนุนโอกาสการเติบโต เดินหน้านำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นอย่างครบวงจร ครอบคลุมถึงการอัพเดทธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่เป็น Growth Engine ของบริษัท ตลอดจนความคืบหน้าการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพรองรับการขยายธุรกิจในหลากหลายมิติและสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง  

สำหรับความสำเร็จของผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2566 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 24.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% และคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 19.41% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตรากำไรขั้นต้น 16.47%

มีรายได้รวมเติบโตขึ้นอยู่ที่ 1,137.74 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการเดิบโตของรายได้จากกลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร (Digital Transformation) ขณะที่ไฮไลท์การเติบโตอยู่ที่กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform) เติบโตสูงถึง 102.99% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูง พร้อมด้วยจุดเด่นด้านอัตราส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง (Recurring Income) อยู่ในระดับ 51.3%  

from:https://www.techtalkthai.com/gable-opens-house-to-welcome-analyst-showing-strong-profit-guest-posst/

Opensignal เผยรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทย พฤษภาคม 2566 [Guest Post]

โดย โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal

ประเทศไทย, 25 พฤษภาคม 2566 – Opensignal ผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือและกำหนดมาตรฐานระดับโลกเผยรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทย เดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า AIS ครองตำแหน่งผู้ให้บริการที่ได้รับรางวัลมากที่สุดอีกครั้ง โดยเป็นรางวัลที่ชนะแต่เพียงผู้เดียว 9 รางวัลและรางวัลร่วมอีก 2 รางวัล แม้ว่าจะได้รับรางวัลร่วมหนนี้น้อยกว่าเดิมเมื่อเทียบกับ รายงานในครั้งที่แล้ว เราพบว่าผู้ใช้งานในประเทศไทยเพลิดเพลินกับความเร็วที่สูงที่สุดบนเครือข่ายของ AIS พร้อมยังได้รับประสบการณ์การเล่นเกมและแอปสื่อสารด้วยเสียงที่ดีที่สุดทั้งจากการใช้งานเครือข่ายโดยรวมและการใช้งานเครือข่าย 5G ขณะที่ AIS ยังคงรักษาคุณภาพความเสถียรขั้นสูงและนำหน้า TrueMove H ในด้านประสบการณ์ความเร็วการอัปโหลด แต่ก็หลุดจากตำแหน่งผู้ชนะในด้านความพร้อมใช้งาน 5G

DTAC ได้รับรางวัลเพิ่มในรอบนี้ โดยคว้ารางวัลประสบการณ์วิดีโอมาจาก TrueMove H และขึ้นเป็นผู้ชนะร่วมในด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G และยังคงเป็นผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวในด้านคุณภาพความเสถียรหลัก โดย TrueMove H หลุดจากรางวัลประสบการณ์วิดีโอและประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดให้กับคู่แข่ง อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ TrueMove H สามารถทำลายสถิติที่เคยเสมอกับ AIS กลายเป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียวในรางวัลความพร้อมใช้งาน 5G

สรุปข้อมูลสำคัญ:

TrueMove H แซงหน้า AIS คว้ารางวัลความพร้อมใช้งาน 5G แต่เพียงผู้เดียว

ในรายงานก่อนหน้านี้ AIS และ TrueMove H เคยคว้ารางวัลความพร้อมใช้งาน 5G ร่วมกัน ก่อนที่ครั้งนี้ TrueMove H จะขึ้นแท่นผู้ชนะรางวัลนี้แต่เพียงผู้เดียว โดยเป็นผลมาจากการพัฒนาครั้งใหญ่ในตัวชี้วัดนี้ ผู้ใช้ TrueMove H 5G ของเราใช้เวลา 28.7% เชื่อมต่อ 5G ซึ่งมากกว่า AIS 3.5%

AIS ชนะรางวัลประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดอย่างเด็ดขาด และทิ้งห่างคู่แข่งสำหรับรางวัลด้านความเร็วอื่น ๆ

AIS ครองตำแหน่งผู้นำในทุกหมวดความเร็ว ทั้งความเร็วโดยรวมและความเร็ว 5G โดย AIS ยังเป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียวด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ความเร็วในการอัปโหลด 5G และประสบการณ์ความเร็วดาวน์โหลด และขยายความเป็นผู้นำเหนือ TrueMove H ที่ตามมาเป็นอันดับสองสำหรับรางวัลทั้งหมดนี้ ยิ่งไปกว่านั้น AIS ยังทำลายสถิติที่เทียบเท่ากับ TrueMove H ในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดและคว้ารางวัลไปด้วยความเร็ว 9.6Mbps ที่น่าสังเกตคือความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้นสองเท่าจากการเข้าถึงย่านความถี่ 2.6GHz

DTAC ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งกับทั้งสองรางวัลด้านวิดีโอ

TrueMove H เคยเป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียวด้านประสบการณ์วิดีโอในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ DTAC กลับคว้ารางวัลนี้ไปครองแทนและยังได้รับรางวัลแต่เพียงผู้เดียวด้วยคะแนน 60.7 คะแนนจาก 100 คะแนน ซึ่งมากกว่า TrueMove H หนึ่งคะแนน สำหรับในด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G นั้น DTAC สามารถเอาชนะ AIS แชมป์เก่า ด้วยคะแนน 73.2-73.6 คะแนน สำหรับบริการวิดีโอ 5G ผู้ให้บริการทุกรายในประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในระดับดีมาก (68-78)

AIS ยังเป็นผู้ชนะรางวัลเกมและแอปสื่อสารด้วยเสียงแต่เพียงผู้เดียว

AIS คว้ารางวัลประสบการณ์การเล่นเกม 5G และประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง 5G เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน และยังรักษารางวัลประสบการณ์โดยรวมไว้ได้ ได้แก่ รางวัลประสบการณ์การเล่นเกมและรางวัลประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งผู้ให้บริการทุกรายในประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในระดับดี (75-85) สำหรับประสบการณ์การเล่นเกม 5G และอยู่ในระดับดี (80-87) สำหรับประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง 5G

AIS และ DTAC ยังได้รับรางวัลด้านความเสถียร

AIS ชนะรางวัลคุณภาพความเสถียรขั้นสูงติดต่อกันเป็นครั้งที่สามในรายงานของ Opensignal ด้วยคะแนน 66% ส่วน DTAC ได้อันดับสอง ตามหลัง AIS 6.1 % อย่างไรก็ตาม DTAC ยังคงไม่แพ้ใครสำหรับรางวัลความเสถียรอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ คุณภาพความเสถียรหลัก และคว้ารางวัลนี้เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน ด้วยคะแนน 88% มากกว่า TrueMove H อยู่ 1.7 %

AIS เป็นเลิศในรางวัลความเร็วระดับภูมิภาค แต่ TrueMove H ครองตำแหน่งผู้นำความพร้อมใช้งาน 5G ระดับภูมิภาค

AIS คว้ารางวัลด้านประสบการณ์โดยรวมมากมายในระดับภูมิภาค โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นประสบการณ์ด้านความเร็วในการดาวน์โหลด ประสบการณ์ด้านความเร็วในการอัปโหลด และประสบการณ์การเล่นเกม ขณะที่ DTAC ครองแชมป์ด้านประสบการณ์วิดีโอระดับภูมิภาค โดยได้รางวัลชนะขาดถึง 5 ใน 7 ภูมิภาค ในส่วนของรางวัล 5G ระดับภูมิภาค AIS ประสบความสำเร็จทั้งประเภทความเร็วในการดาวน์โหลด 5G และความเร็วในการอัปโหลด 5G โดยเป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาดในทั้งหกภูมิภาค อย่างไรก็ตาม TrueMove H คว้ารางวัลความพร้อมใช้งาน 5G ระดับภูมิภาคเช่นกัน

การวิเคราะห์ระดับภูมิภาค

AIS เป็นผู้นำรางวัลประสบการณ์โดยรวมในระดับภูมิภาคโดยชนะแต่เพียงรายเดียวทั้งหมด 20 รางวัล และเป็นผู้ชนะร่วมใน 7 รางวัลจากทั้งหมด 35 รางวัล ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด ประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด และประสบการณ์การเล่นเกม ทั้งนี้ DTAC และ TrueMove H ได้รางวัลน้อยกว่า โดย DTAC เป็นผู้ชนะในห้ารางวัลระดับภูมิภาค และทั้งหมดเป็นรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอและได้รับรางวัลร่วมอีกสามรางวัล ขณะที่ TrueMove H เป็นผู้ชนะเพียงผู้เดียวสองรางวัลและได้รางวัลร่วมทั้งหมด 7 รางวัล

ผู้สนใจสามารถอ่านและดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มนี้ได้ที่ https://www.opensignal.com/th/reports/2023/05/thailand/mobile-network-experience

from:https://www.techtalkthai.com/opensignal-releases-thailand-mobile-network-experience-report-may-2023/