คลังเก็บป้ายกำกับ: 5G

AIS Business เดินหน้าปี 2023 พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัลของทุกองค์กรไทย พลิกโฉมธุรกิจให้ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอาจถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับทุกองค์กรธุรกิจ มีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นทั้งเรื่องของสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ความไม่แน่นอนในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ จนกระทบมาถึงเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่อาจจะเกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ ทุกองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นไปในอนาคตอันใกล้

AIS Business ในฐานะ Digital Service Provider ชั้นนำของไทย ที่มีโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Ecosystem) ได้เปิดวิสัยทัศน์ปี 2023 เดินหน้าสู่การเป็นพาร์ตเนอร์ พันธมิตรของทุกองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” เพื่อทำให้ทุกองค์กรสามารถดำเนินธุรกิจท่ามกลางความไม่แน่นอนและความท้าทายต่อไปได้อย่างยั่งยืน แล้ว AIS Business มีแผนที่จะก้าวต่อไปอย่างไรบ้าง แนวคิดอะไรที่องค์กรธุรกิจสามารถเชื่อมโยงหรือนำไปประยุกต์ใช้ได้ ติดตามได้ในบทความนี้

AIS Transformation จาก Digital Service Provider สู่การเป็น Cognitive TechCo

ตั้งแต่สมัยอดีตกาล AIS ได้มีบทบาทสำคัญต่อประเทศในฐานะผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม (Telecom Service Provider) ชั้นนำที่ให้บริการโครงข่ายกับผู้ใช้อย่างแข็งแกร่งมาจวบจนถึงวันนี้ และด้วยแนวคิดที่ไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ของ AIS ด้วยความพยายามพลิกโฉมดิสรัป (Disrupt) องค์กรตัวเองอย่างต่อเนื่องจนนำพาองค์กรฝ่าฟันอุปสรรคหรือวิกฤตการณ์ใด ๆ มาแล้วมากมาย ทำให้ทุกวันนี้ AIS ได้กลายมาเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Service Provider) อย่างเต็มรูปแบบได้สำเร็จ และได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำระดับประเทศสูงสุดในปีที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อย

สำหรับปี 2023 และอนาคตอันใกล้ ทาง AIS ก็กำลังเดินก้าวถัดไปที่จะทรานส์ฟอร์มองค์กรใหม่อีกครั้ง ในฐานะ “องค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ” หรือ “Cognitive TechCo” ที่จะมีความชาญฉลาดในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น AI, Data Analytics หรือ Automation มาสนับสนุนประยุกต์ในบริการและโซลูชัน เพื่อให้การทำงานในทุกอุตสาหกรรมนั้นมีความฉลาดมากขึ้นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งวิสัยทัศน์นี้ได้ฉายภาพมายังฝั่งของ AIS Business ด้วยเช่นกันผ่าน 5 กลยุทธ์ของ AIS Business ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ประกอบกับเรื่องความเชื่อในการจับมือเดินไปด้วยกันเป็น Digital Business Ecosystem มากกว่าการเดินทำธุรกิจอย่างโดดเดี่ยว คือจุดสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถเติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้ 

AIS Business ปี 2022 ช่วยเร่งการพัฒนาดิจิทัลให้ธุรกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมาอาจยังเรียกได้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นยังคงส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอยู่พอสมควร หากแต่สถานการณ์ก็ยังดูดีกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งตัวเลขที่ทาง AIS Business เปิดเผยออกมานั้น สะท้อนให้เห็นว่าภาคธุรกิจยังคงนำเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนให้องค์กรเดินหน้าต่อไป โดยมีการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตขึ้นในระดับ 2 หลัก (Double Digits) ซึ่งตัวเลขที่โดดเด่นอย่างมาก คือจำนวนองค์กรที่มีการปรับใช้เทคโนโลยี Cloud จากทาง AIS Business ในปีที่แล้วนั้นมีจำนวนมากถึง 3 พันรายหรือเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกว่า 200% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (Year Over Year : YoY) และจำนวนการเชื่อมต่อ 5G เพื่อธุรกิจ ถึง 2 แสนอุปกรณ์ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 40% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเช่นกัน

อีกด้านหนึ่ง AIS Business ก็ยังคงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนทำให้มีพาร์ตเนอร์มากกว่า 200 องค์กรแล้วในปัจจุบัน ทั้งระดับประเทศที่เป็นภาครัฐและเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม  พร้อมทั้งได้รับรางวัลเป็น Partner of the Year จากพันธมิตรเทคโนโลยีระดับโลก นี่คือตัวบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงขีดความสามารถที่ทำให้ AIS Business เป็นผู้ให้บริการดิจิทัลที่สนับสนุนภาคธุรกิจให้สามารถเร่งการทรานสฟอร์มได้อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

พันธกิจส่งเสริมธุรกิจไทยให้เดินหน้าอย่างยั่งยืนผ่าน 3 แนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน”

สำหรับก้าวถัดไปหลังจากนี้ของ AIS Business ดูเหมือนจะไม่ได้เลือกใช้แนวทางให้องค์กรเติบโตแบบก้าวกระโดดเพียงลำพังเท่านั้น หากแต่จะเป็นการเติบโตที่สามารถเดินหน้าพร้อมพันธมิตรทุกธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน (Sustainability) ด้วย ตามที่ AIS Business ได้ประกาศแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” ซึ่งถือว่าเป็นคำพูดที่สะท้อน 3 สิ่งที่ AIS Business จะผลักดันให้มากขึ้นในปีนี้ได้อย่างนุ่มนวลแต่ครบถ้วน โดย 3 สิ่งที่ว่านั้น ได้แก่

Growing เร่งภาคธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ที่กำลังคลี่คลายลงเรื่อย ๆ องค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมเริ่มตั้งหลักได้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปีนี้จึงเชื่อว่าภาคธุรกิจจะสามารถฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติและจะกลับมาเร่งการเติบโตต่อไปได้แล้ว ดังนั้น AIS Business ร่วมกับพันธมิตรที่มีโซลูชันและนวัตกรรมอันหลากหลายจึงมีความพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนให้ทุกองค์กรธุรกิจเร่งการเติบโตหลังจากนี้ได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง 

ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันที่ช่วยเสริมความยืดหยุ่นและความฉลาดให้กับองค์กร อย่างเช่น 5G NEXTGen Platform, Cloud X Ecosystem, Data Analytics as a Service หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ Smart Manufacturing, IoT ฯลฯ โซลูชันทั้งหลายเหล่านี้ของ AIS Business นั้นมีความพร้อมที่จะเสริมให้ทุกองค์กรมีความคล่องตัว (Agility) ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยข้อมูล (Data-Driven) และเสริมประสิทธิภาพให้มีผลิตผล (Productivity) ที่ดีขึ้น ทั้งหมดเพื่อทำให้ธุรกิจเร่งเดินหน้าเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โลกได้อย่างทันท่วงที

Trusted เสริมความอุ่นใจในโครงสร้างพื้นฐาน

การทรานส์ฟอร์มธุรกิจใด ๆ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) คือส่วนสำคัญอย่างมากที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการพลิกโฉมธุรกิจให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ว่าองค์กรจะมีโจทย์ปัญหาหรือข้อจำกัดอะไรก็ตาม ในระบบนิเวศของ AIS Business นั้นมี Digital Infrastructure และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่พร้อมให้เลือกใช้งานได้อย่างมั่นใจในทุกจุด 

ตั้งแต่เรื่องของโครงข่าย (Network) สัญญาณ 5G ไปจนถึงระบบ Cloud ในระดับ Private Cloud, Edge Computing, Local Cloud และ Hyperscaler รวมถึงการทำ Cybersecurity ในทุกระดับ ทาง AIS Business พร้อมพาร์ตเนอร์มีโซลูชันที่สามารถสนับสนุนทุกความต้องการ เช่น Network Slicing, Software Defined Network, 5G Fixed Wireless Access (FWA), Multi-access EDGE Computing (MEC), Sovereign Cloud หรือ Cloud X, Cyber Secure ทุกโซลูชันนั้นพร้อมสนับสนุนให้ทุกองค์กรทรานส์ฟอร์มพลิกโฉมได้อย่างมั่นใจได้ในทุกจุดที่ต้องเชื่อมต่อกัน เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรมีทั้งเรื่องประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความมั่นคงปลอดภัย อุ่นใจได้ทุกที่ทุกเวลา

Sustainability ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

หลายคนมักจะนึกถึงเรื่อง Sustainability คือเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้วยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย ดังเช่นแนวคิด ESG ที่ประกอบไปด้วยสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งจะเห็นได้ว่า Sustainability นั้นไม่ได้มีแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเพียงเท่านั้นอย่างเดียว ยังมีเรื่องของสังคม ความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ความปลอดภัยของพนักงาน หรือการกำกับดูแลกิจการให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรม ฯลฯ อีกมากมาย 

สิ่งนี้คืออีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ AIS ได้ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด ทั้งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานน้อยลง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), การลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโครงการ AIS e-Waste และการสร้างความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชนด้วยโปรแกรม AIS Acadamy for Thai และ AIS Aunjai Cyber ที่ช่วยเหลือสังคมให้เข้ามีความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้อง มีประโยชน์ ปลอดภัยโดยเท่าเทียมมากขึ้น นอกจากนั้น AIS Business ยังนำโซลูชันสนับสนุนภาคธุรกิจและองค์กรอื่น ๆ ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนเช่นกันผ่านการใช้งานโซลูชันต่างๆ อาทิ ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศ (Air Quality Monitoring) หรือระบบตรวจสอบน้ำเน่าเสีย (Wastewater Monitoring) รวมไปถึงการสร้างศูนย์ AIS 5G NEXTGen Center เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Ecosystem) สร้างความร่วมมือใหม่ ๆ ร่วมหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) และสร้างนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาได้ตรงความต้องการให้มากขึ้น ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ AIS Business จะผลักดันต่อไปเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจไปด้วยกันในทุกภาคส่วน

Partnership ร่วมมือไปด้วยกันในอุตสาหกรรมที่หลากหลายขึ้น

ความร่วมมือยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับ AIS Business เสมอมา และสิ่งนี้จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อ ๆ ไป ซึ่งก่อนหน้าจะเห็นว่า AIS Business ได้สร้างความร่วมมือกับองค์กรมากมายในภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย 2 Use Case ที่ AIS Business ภาคภูมิใจนำเสนอคือ SCG และ Somboon Advance Technology ที่สามารถพลิกโฉมโรงงานเก่าให้กลายเป็นโรงงาน Smart Factory ได้สำเร็จ ด้วยการปรับใช้ 5G ร่วมกับเทคโนโลยี 3D Vision-Robot, AS/RS-Warehouse และหุ่นยนต์ขนส่งไร้คนขับ (Unmanned AGV) ทำให้สามารถปรับไลน์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมหาศาล

หลังจากนี้ AIS Business จึงเตรียมการขยายขอบเขตความร่วมมือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม อาทิ ค้าปลีก (Retail) ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) หรือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพราะ AIS Business เชื่อว่าการเชื่อมจุด (Connect the dots) ได้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้ทุกองค์กรในระบบนิเวศสามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ได้อย่างทวีคูณ และปีนี้เชื่อว่าทุกคนจะได้เห็นการเติบโตของ AIS Business และพันธมิตรไปอีกระดับขั้น ผ่านโซลูชันและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลให้ทุกองค์กรเติบโตไปพร้อม ๆ กันได้อย่างอุ่นใจและยั่งยืน

บทส่งท้าย

ด้วยแนวคิดที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ Disrupt และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแนวคิดที่จะก้าวต่อไปด้วยการเติบโตอย่างมั่นใจและยั่งยืนร่วมกัน จึงสรุปออกมาเป็นประโยคสั้น ๆ ที่ว่า “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” อันเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงแนวทางในปี 2023 ของ AIS Business ที่จะเดินหน้าสู่การเป็นพันธมิตรของทุกองค์กรได้อย่างนุ่มนวลและยั่งยืน ที่ทุกองค์กรสามารถให้ความเชื่อใจ และร่วมเดินทางเติบโตไปด้วยกันได้อย่างแน่นอน

สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันต่าง ๆ ของ AIS Business และพาร์ตเนอร์เพื่อนำไปทรานส์ฟอร์มธุรกิจของท่านได้ในทุกรูปแบบ สามารถติดต่อทาง AIS Business ได้ในทุกช่องทาง

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email: business@ais.co.th

Website: https://business.ais.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/ais-business-direction-for-year-2023-ready-to-become-the-digital-partner-of-all-thai-organization/

Advertisement

อีริคสันตอกย้ำประสิทธิภาพ 5G เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันในประเทศไทย

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ตอกย้ำความเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ระดับโลก พร้อมจัดแสดงโซลูชั่น 5G ล่าสุด ภายในงาน Digital Transformation World Asia (DTWA) 2023 ที่จัดขึ้นสามวันเต็มในกรุงเทพฯ เปิดเป็นเวทีให้พันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของเอเชียแปซิฟิกทั้งหมดได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจและแนวทางการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคฯ

นอกจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยทั้ง Advanced Info Service (AIS) และ True Corporation (true) แล้วยังมีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ Jio, Axiata, Telenor Asia และ Indosat Ooredoo Hutchinson มาร่วมงาน DTWA 2023 อีกด้วย

ERICSSON

มร.อิกอร์ มอเรล ประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “ในงาน DTWA 2023 อีริคสันได้จัดการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสาธิตนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยประสบการณ์การนำเครือข่าย 5G มาปรับใช้และสร้างรายได้ทั่วโลก รวมถึงเทคโนโลยีและโซลูชันของ 5G และแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล”

“อีริคสันได้สร้างความเป็นผู้นำในตลาดการสื่อสาร 5G ของโลกได้อย่างแท้จริง เรามุ่งมั่นลงทุนเพื่อสร้างความเป็นผู้นำในตลาด 5G มาโดยตลอด ทั้งในเรื่องต้นทุนและประสิทธิภาพการดำเนินงาน ทำให้เราสามารถนำเสนอโซลูชันที่เน้นความยั่งยืนแก่ลูกค้าได้ และเรายังทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรหลักเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบนิเวศของ 5G ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันที่ล้ำสมัยของอีริคสัน” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

อีริคสันตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาด โดยได้รับการยอมรับในรายงาน Gartner 5G Magic Quadrant 2023 (เป็นปีที่สามติดต่อกัน) และรายงาน Frost Radar Global 5G Infrastructure ทั้งนี้อีริคสันยังได้คะแนนอันดับ 1 ในรายงาน ABI Research ล่าสุด ด้านความยั่งยืนของผู้ให้บริการโทรคมนาคม

“เครือข่ายมือถือต้องยืดหยุ่น เปิดกว้าง ยั่งยืนและอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น พร้อมให้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าการลงทุนสูงสุด (Total Cost of Ownership) ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เราสร้างเครือข่ายที่มีความปลอดภัยและยั่งยืนที่สามารถไว้วางใจได้ในมาตรฐานสูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจ” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

แอปพลิเคชันยอดนิยมทั่วโลก โซเชียลมีเดียต่าง ๆ และบริการสตรีมมิ่งเพลงหรือวิดีโอจะใช้การเชื่อมต่อที่สามารถเปิดใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตบนมือถือถึง 108 เอกซะไบต์ (Exabyte) ต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 40% ต่อปี

จากผลการศึกษาของอีริคสันฉบับปรับปรุงล่าสุดเมื่อพฤศจิกายน ปี 2565 ด้านแพ็คเกจบริการมือถือของผู้บริโภค จากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 310 ราย ใน 139 ประเทศ แสดงให้เห็นว่า แม้แพ็คเกจบริการมือถือจะมีจำนวนมากและหลากหลายเหมือนกันทั่วโลก แต่ผู้บริโภคก็ยังได้รับข้อเสนอแพ็คเกจมือถือใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นในตลาดส่วนใหญ่

ในปี 2573 ผู้ให้บริการจะนำเสนอแพลตฟอร์มเทคโนโลยี 5G ที่รองรับการสร้างรายได้สะสมจากผู้บริโภคในอุตสาหกรรมไอซีที คิดเป็นมูลค่าเกือบ 31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2573 ผู้ให้บริการยังจะมีรายได้สะสมจากที่ผู้บริโภคเปิดใช้งาน 5G เพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

สำหรับในภาคองค์กร 5G ช่วยสร้างมูลค่าอย่างมีนัยสำคัญกับ Private 5G Network และ Wireless Wide Area Networks ที่สามารถนำมาปรับใช้กับภาคองค์กรและภาคอุตสาหกรรมได้ โดย 5G ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ก้าวข้ามขีดจำกัดที่มีในปัจจุบันและเปิดโอกาสการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นไปได้ และยังก่อให้เกิดวิธีการทำงานใหม่ ๆ กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหาความท้าทายทางธุรกิจแบบเดิม

ประโยชน์และคุณค่าของเครือข่าย 5G สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ เช่น:

  • ความสามารถในการทำงานใด ๆ จากระยะไกล ไม่ว่ากระบวนการดังกล่าวจะมีความสำคัญหรือวิกฤตระดับไหน
  • การควบคุมทุกกระบวนการทางธุรกิจแบบเรียลไทม์ได้ (Real-Time Control)
  • การปฏิบัติงานแบบอัตโนมัติ
  • การใช้ทรัพยากรการประมวลผลอย่างเหมาะสม เรียกใช้เฉพาะแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง
  • มีระดับความปลอดภัยที่สูงขึ้นโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพโดยรวม

อีริคสันเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ระดับโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ  เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้วจำนวน 143 เครือข่าย ใน 62 ประเทศ

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ericsson-reinforces-5g-performance/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ericsson-reinforces-5g-performance

จีนบอก “งง” หลังเยอรมันทำท่าจะแบน Huawei จากโครงข่าย 5G ของประเทศ

สถานทูตจีนในเยอรมันออกมากล่าวว่า ตัวเอง “กำลังสับสน และไม่พอใจเป็นอย่างมาก” หลังมีรายงานว่ารัฐบาลกรุงเบอร์ลินกำลังจะสั่งห้ามใช้อุปกรณ์บางตัวจากบริษัทจีนอย่าง Huaweiและ ZTE ในโครงข่ายโทรคมนาคมระดับ 5G ด้วยสาเหตุด้านความมั่นคง

โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่าอ้างแหล่งข่าวจากภาครัฐ ว่าทางการเยอรมันกำลังพิจารณาแบนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างจากบริษัทจีน ไม่ให้นำมาใช้บนโครงสร้างโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศ

จากเอกสารของกระทรวงกิจการภายในที่รอยเตอร์ได้มานาน เขียนไว้ว่าอาจจะต้องแบนรายชื่อซัพพลายเออร์บางเจ้าไม่ให้ขายชิ้นส่วนที่สำคัญ ถ้ามีความน่าจะเป็นว่าถูกควบคุมโดยทางการของประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

ถ้ากฎใหม่นี้บังคับใช้แล้ว ย่อมหมายความว่าต้องเอาอุปกรณ์ที่เคยติดตั้งบนโครงข่ายอยู่แล้วออก แล้วแทนที่ด้วยอุปกรณ์จากผู้จำหน่ายอื่นแทนเลยทีเดียว ทางฝั่ง Huawei เองก็ออกมาปฏิเสธซ้ำๆ ว่าไม่ได้มีเจตนาแฝงที่จะเป็นภับต่อความมั่นคงของชาติใด

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b8%87%e0%b8%87-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3/

ไม่ขึ้นราคาแน่นอน! CEO ทรู คอร์ปอเรชั่น ตอบคำถามที่ทุกคนอยากรู้ หลังควบรวม True-Dtac

หลังจากดีแทคและทรูได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัทใหม่เรียบร้อยแล้ว ในชื่อ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 และได้แถลงต่อสื่อมวลชน วันที่ 2 มีนาคม 2566 ถึงการควบรวมบริษัทของ true และ dtac ว่ามีที่มาที่ไปยังไง และมีแผนอะไรในอนาคต ซึ่งชูจุดแข็งมุ่งสู่ผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของไทย ชูแนวคิดชีวิตดีกว่า เมื่อมีกันและกัน (Better Together) ผสานพลังรวมกัน 1+1 เท่ากับ อินฟินิตี้ สร้างศักยภาพความเป็นไปได้ใหม่ที่ไม่รู้จบ ทั้งนี้ ทางผู้บริหารได้ตอบคำถามที่ทุกคนคาใจ ว่ารวมแล้วจะเปลี่ยนไปยังไง เรามาเริ่มกันเลย 

ทีมผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โดยในการตอบคำถามครั้งนี้ จะมี นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหารบริษัททรูคอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) เป็นผู้ตอบคำถาม

True-Dtac

เหตุผลที่เลือก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นชื่อบริษัทใหม่

เหตุผลแรกที่เลือกใช้ทรูคอร์ปอเรชั่นเป็นชื่อบริษัท ก็เพราะว่าเป็นบริษัทที่มีแบรนดิ้งด้านดิจิทัล นวัตกรรม แล้วก็พอร์ตฟอลิโอหลากหลาย ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับโมบาย เพราะงั้นแสดงให้เห็นภาพตรงนี้ มันก็จะทำให้บริษัทของเราสามารถเพิ่มมูลค่า เพิ่ม value ได้

หลังจากควบรวมแล้วจะดำเนินการอย่างไร และที่ กสทช.ให้แยกกันทำแบรนด์ภายใน 3 ปี มีแผนยังไง?

คือตอนนี้ เราก็ทำแบรนด์แยกกันไป แต่จะมีการร่วมมือระหว่างแบรนด์ เพื่อที่จะแบ่งปันให้สิทธิประโยชน์ในแต่ละแบรนด์ มีในแผนแล้ว ก็จะมีการคงแบรนด์ไว้ทั้ง 2 ไว้ อย่างน้อย 3 ปี ตามข้อตกลงขั้นต่ำ หลังจากนี้มันคงเป็นเรื่องของอนาคต ที่เราจะพิจารณาต่อครับ ด้าน Growth Engine ช่วงสองถึงสามปีข้างหน้า ในหลักการของเรา เราต้องการจะสร้างและเพิ่มคุณค่าให้ลูกค้า หมายถึงว่าเราจะมีสิ่งที่มอบให้กับลูกค้ามากเพิ่มขึ้น เราต้องการจะให้คุณค่าในสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทไลฟ์ หรือสิ่งที่เป็นคอนเทนต์ความรู้ ความสะดวกสบายมากขึ้น ก็จะทำให้ลูกค้ามี Value added ที่มากขึ้น แล้วถ้าลูกค้าพอใจ ลูกค้าก็เพิ่มการรับบริการกับเรา เพิ่มความพึงพอใจมากขึ้น 

จะไม่มีการรวมคลื่นกันตามที่ กสทช.กำหนดใช่ไหม เป็นเพียงการโรมมิ่งอย่างเดียว?  

ตอนนี้เราโรมมิ่งกัน ลูกค้าดีแทค ได้ใช้คลื่น 2600 MHz เน็ต 90 mb ลูกค้าดีแทคก็เอ็นจอยมาก ลูกค้าทรูตอนนี้ก็ได้ใช้คลื่น 700 MHz ของดีแทค ที่ปูพรมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ก็มีความสุขมากแล้วนะครับ 

จะมีการควบรวม TUC และ DTN  ไหม?

ส่วนบริษัท TUC และ DTN  เราขอติดไว้ก่อน เรายังไม่มีความคืบหน้าอะไร

การบริหารจัดการโครงข่ายแต่ละคลื่นที่มี จะมีวิธีการยังไง เพื่อจะใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ขัดมาตรการ

ตอนนี้ เราเริ่มเปิดการโรมมิ่งกันแล้ว สำหรับลูกค้าดีแทคกับทรู เรานำเอาคลื่น 2600 MHz แล้วก็ 700 MHz ที่เรามีโรมมิ่งหากัน เติมเต็มกันและกัน ให้ลูกค้า Dtac สามารถใช้บนคลื่นของทรูได้แล้ว แล้วลูกค้าทรู ก็สามารถเติมเต็มจากคลื่น 700 MHz ของ dtac ที่ปูพรมนำไปก่อนหน้าแล้ว ทำให้ไม่มีช่องว่างเลย ทำให้ 5G เข้าถึงประชากรคนไทยได้เยอะมากมหาศาลเลยครับ ซึ่งอาจจะมีบางพื้นที่บางจังหวัด ที่ dtac ทำ ทรูยังทำไม่ถึง ทรูก็โรมมิ่งไปหา dtac อย่างของดีแทคในกรุงเทพฯ ยังไม่มี 2600 MHz เราก็เปิด 2600 MHz ให้ลูกค้าดีแทคแล้ว ดูบนมือถือตรงคลื่น มันจะมีคำว่า Dtac-True ส่วนลูกค้าทรูจะขึ้นว่า True-Dtac เมื่อโรมมิ่ง ตรงนี้ก็จะทำให้ลูกค้ามีความสุขมากๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมก้าวแรกของเราครับ โดยจะขยายครบทั้ง 77 จังหวัด ประมาณกลางมีนาคมนี้

มีการขยายโครงข่ายไปจำนวนหนึ่งแล้ว ทั้งทรูและดีแทค จะหยุดการขยายโครงข่ายหรือเปล่า?

เราจะไม่หยุดพัฒนาคุณภาพ คือสิ่งที่เราจะไม่ยอมแน่นอน คือเรื่องของคุณภาพ และบริการ พอสองโครงข่ายรวมกัน ผมก็เชื่อว่าคนไทยมีความภาคภูมิใจนะครับ ว่าเราเป็นโครงข่ายระดับต้นๆ ของโลก สิ่งนี้นอกจากเราจะทำให้ลูกค้าคนไทยแล้ว เรายังทำให้เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยอีกด้วย ดังนั้น สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่เราจะไม่ลดคุณภาพ และจะขยายอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีการบริหารจัดการใหม่ เพิ่มหรือลดบางส่วนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อลูกค้าเลยครับ 

5G จะแรงขึ้น เร็วขึ้นไหม?

5G เนี่ย โดยแผนของเรา เราจะมีความครอบคลุมถึง 98% ของประชากร ในปี 2569 คลื่น 5G มีคุณสมบัติที่ต่างจาก 4G หนึ่งเรื่องเลย ทั้งคลื่น 700 MHz และ 2600 MHz คุณสมบัติที่แตกต่างก็คือ เขาเรียกว่ามี  Latency ที่ต่ำ การที่คลื่นมี Latency ที่ต่ำเนี่ย เป็นคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถรับ Super computing ได้ การรองรับ Super computing ได้เนี่ย มันเลยเป็นสิ่งที่เราพูดกันเยอะในเรื่องของการ transformation ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Digital transformation, Cloud Data Center เพื่อที่จะรองรับ Digital Cloud Structure เหล่านี้ ธุรกิจหรือสิ่งที่เราเข้าไปสร้าง iot ไปสร้างที่เก็บข้อมูลขึ้นมาประมวลผลแล้วก็ดูแลเหล่านี้ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้คุณสมบัติของคลื่น 5G ที่มี Latency ที่ต่ำ เราก็มีการขยายแล้วก็ครอบคลุม ไม่ว่าจะ 2600MHz หรือ 5G เนี่ยให้มากที่สุด 

แพ็คเกจอินเทอร์เน็ตจะมีการปรับเปลี่ยนไหม เมื่อการแข่งขันน้อยลง แล้วจะเชื่อมั่นได้ยังไง ว่าลูกค้าจะได้สิ่งที่ดีที่สุด?

อันนี้ต้องบอกเลยนะครับว่า เรื่องของค่าใช้จ่าย ผู้บริโภควางใจได้ ว่าเราคงไม่มีทำกระทบกระเทือนกับผู้บริโภค เรามุ่งจะสร้างคุณค่าให้กับแพ็คเกจมากกว่า มุ่งสรรค์สร้าง Value ต่างๆ ให้กับแพ็คเกจที่ลูกค้าจ่าย แล้วก็สร้างประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์พริวิเลจ อะไรต่างๆ แล้วก็ยังมีเรื่อง Smart Home, Smart Device, iot มันยังมีที่เขาเรียกว่า New Ocean อีกเยอะ มันจะมีไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่จะทำให้ลูกค้าของเราเนี่ย อยากเจอความสะดวกสบาย อยากมีไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ มีชีวิตอัจฉริยะ มี Smart Life นะครับ เหล่านี้เป็นปณิธานแล้วก็สิ่งที่เรามุ่งมั่น เรามีภารกิจที่จะสร้างบริษัทเทเลคอมเทคโนโลยีขึ้นมาด้วยเหตุผลประการนี้

หลายคนกังวลว่าพอควบรวมค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น ให้คำยืนยันได้ไหมว่าจะไม่ขึ้นราคา?

ได้ครับ ไม่สูงขึ้นหรอกครับ ตอนนี้เราแยกกันบริหาร แต่ค่าบริการจะไม่สูงขึ้น

หลังจากควบรวมกัน จะมีโปรโมชั่นพิเศษให้กับลูกค้าไหม จะมีการปรับลดราคาหรือไม่ 

เรามีฉลองควบรวมให้ เรามีให้เน็ต 7GB ใช้ไม่เกิน 7 วัน ให้กับลูกค้าทุกคนเลย เรื่องของแพ็คเกจต่างๆ เนี่ย ผมคิดว่ามันมีความหลากหลายนะครับ แล้วก็ผมคิดว่า เรามีสิ่งที่มันมากกว่าราคา ไม่จะว่าเป็น Better Gift ให้กาแฟชานมไข่มุก 1 ล้านแก้ว เราจะเป็นมากกว่าการแข่งขันในตรงนั้น แต่ต้องบอกตรงๆ ว่า เราคงไม่ทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ แล้วเราก็มีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด

จะมีการแย่งลูกค้ากันเองไหม 

เราจะเสนอบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า แต่สุดท้ายแล้ว ลูกค้าจะเป็นคนเลือก

ความรู้สึกผู้บริโภค มุมมองของผู้บริโภคเปลี่ยนไปไหม? 

สิทธิพิเศษของลูกค้าเดิมก็จะยังจะได้รับอยู่เช่นเดิม แต่จะมีการแบ่งปันคอนเทนต์กันมากขึ้น ได้รับหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มมากขึ้น เช่น ลูกค้าดีแทค ก็จะได้ใช้บริการจากทรู

จำนวนสาขาให้บริการจะลดน้อยลงไหม จะรวมกันไหม แล้วลูกค้าทรูและดีแทคเข้าไปใช้บริการพร้อมกัน จะได้บริการเหมือนกันไหม? 

ต้องเรียนว่า มันมีปัจจัยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโลเคชั่น ของใครอาจจะเหมาะสมกว่ากัน สัญญาเช่าหมด บางที่ก็มีรีโนเวท แต่โดยรวมๆ แล้ว เราจะไม่บกพร่องต่อการบริการลูกค้า เรื่องที่สองที่สำคัญมากๆ เลย ชีวิตของพวกเราทุกคนวันนี้ มันเปลี่ยนไปเยอะ ชีวิตเราอยู่บนปลายนิ้วมือ ส่วนใหญ่บริการชอบจะขึ้นบนมือถือกันละ สิ่งนี้คือเราต้องการให้การให้บริการไปอยู่ในความสะดวกบนมือด้วยนะครับ หมายความว่าเราจะได้รับบริการได้แค่ปลายนิ้ว ไม่ต้องไปสาขาแล้วก็ได้ มีมือถือเครื่องนึง สมัคร e-SIM สามารถลงทะเบียนได้เอง 

ส่วนจะลดลงไหม มันอยู่ที่ดีมานด์ซัพพลาย แต่ให้คำสัญญาว่า เราจะไม่ทำให้บริการลดลงอย่างแน่นอน ไม่แย่ลงแน่นอน เราให้บริการลูกค้ากว่า 50 ล้านคน ทุกจุดเราจะตรึงไว้ หากว่าผู้มารับบริการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงก็จะสนองให้ตามที่ต้องการ

แอปพลิเคชั่นการให้บริการจะแยกหรือรวม?

ตัวแอปพลิเคชั่น ยังแยกใช้ของแต่ละแบรนด์เช่นเดิม ลูกค้าทรูใช้แอป true ID ลูกค้าดีแทคให้แอป dtac  

การรักษาส่วนบุคคลของลูกค้า ทั้งสองบริษัทจะมีการจัดการยังไง?

มั่นใจได้ว่า เราบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าได้ดีแน่นอน 

ความรู้สึกของพนักงานทั้งสองฝั่งเป็นอย่างไรบ้าง?

แบรนด์ไม่ได้หายไปไหน แบรนด์ของทรูและดีแทคยังอยู่ในตลาด และถึงแม้ว่าชื่อบริษัทเปลี่ยน แต่แบรนด์ยังคงอยู่ อันนี้ก็คือยังคิดว่าสบายใจได้นะครับ แล้วเราก็เชื่อมั่นว่า พวกเราจะเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อที่จะสร้างทั้งสองแบรนด์ให้แข็งแกร่งไปด้วยกัน

พนักงานเหลืออยู่เท่าไร จะมีการโยกย้ายหรือปลดพนักงานไหม บริษัทแม่อยู่ตรงไหน?

เราไม่มีนโยบายปลดพนักงานครับ แต่ว่าเราจะทำให้องค์กรของเราเนี่ยน่าอยู่ขึ้น เราจะทำให้พนักงานของเราประสบความสำเร็จ เรามีสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน ให้เขาคิดให้เขาร่วมทำ บริษัทสำเร็จเขาก็สำเร็จ เป็นความสำเร็จร่วมกัน ส่วนการทำงานของพนักงาน ยังใช้เป็นสองที่อยู่ ทรูอยู่ที่ทรู ทาวเวอร์ ดีแทค อยู่ที่จามจุรีสแควร์ รับนองว่าไม่มีการปลดพนักงานแน่นอน 

หลังจากควบรวมแล้ว มีหนี้สะสม 3 แสนล้าน จะมีวิธีลดหนี้ยังไง จะกลับมาจะเติบโตด้านไหน?

การที่เรารวมกัน เราก็มั่นใจนะครับว่า จะมีคุณค่าที่มากขึ้น มีศักยภาพในการแข่งขันที่มากขึ้น เราจะมีขีดความสามารถในการลงทุนที่มากขึ้น เรามีความเชื่อว่า การที่เราสร้างคุณค่าบริการต่างๆ ได้ดีขึ้นเนี่ย ลูกค้าก็จะมีความพึงพอใจที่สูงขึ้น ใช้บริการมากขึ้น เราก็จะมีศักยภาพในการบริหารหนี้ได้ดีขึ้น

มีเป้ารายได้ กำไร การเติบโตฐานลูกค้า หลังจากควบรวมยังไงบ้าง

OK คืออย่างนี้นะครับ เรื่องที่หนึ่ง เราจะไม่มีการลดคุณภาพและบริการ 2.ผมก็คิดว่าความเชื่อมั่นของลูกค้าเราเนี่ย ดีขึ้นแน่นอน เรื่องต่อมา เราจะมี Digital transformation ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart Life, Smart Home หลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่าง ที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน เราจะเป็นคนหนึ่งที่นำเสนอสิ่งเหล่านี้ เป็นเทคโนโลยีเหล่านี้ให้กับคนไทยในทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว ตรงนี้ผมคิดว่าเราไม่เรียกว่าเป็น Blue Ocean เราเรียกว่าเป็น New Ocean สำหรับเรานะครับ เราก็เชื่อว่าเราจะนำเสนอเพื่อที่จะให้ลูกค้าเนี่ยได้มีชีวิตที่สะดวกขึ้นสบายขึ้น กับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนิดๆ หน่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรามีแอปหมอดีนะครับ หาหมอเดี๋ยวนี้หาหมอได้แค่ปลายนิ้วแล้ว คนไทยทั่วประเทศไทยเนี่ยมีสิทธิ์เข้าถึงสาธารณสุขได้ทุกที่  ไม่ว่าคุณจะอยู่อำเภอไหนจังหวัดไหน คุณกดนิ้วเดียวคุณก็หาหมอได้ละ เหล่านี้เป็นต้น นี่คือสิ่งที่ Value ที่เราจะเพิ่มให้กับให้กับลูกค้า ลูกค้าทรูและดีแทคจะได้ใช้บริการทั้งหมด ยิ่งกว่าเท่าเทียมกัน

และจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัลในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับดิจิทัลสตาร์ทอัพ บริษัทใหม่จะร่วมกับพันธมิตรระดมทุนจำนวน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท จัดตั้งกองทุน Venture Capital (VC) รวมทั้งจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมที่สนับสนุนผู้ประกอบการดิจิทัล เพื่อวางรากฐานสำหรับผลักดันสู่อนาคตของสตาร์ทอัพไทยในระดับยูนิคอร์น

ในส่วนของ ลิซ่า BLACKPINK พรีเซ็นเตอร์ ของทรูไอดี จะมีการแบ่งให้ทางดีแทคด้วยไหม

Lisa True ID

ตอนนี้ส่วนของคุณลิซ่า เราสแตนด์ไว้สำหรับขับเคลื่อนเรื่องของความบันเทิงไม่สิ้นสุดของ true ID ซึ่งจริงๆ ต้องบอกว่า ลิซ่าหยิบอะไรคนเขาก็จะชอบ ก็จะรัก ลูกค้าดีแทคเนี่ย ผมก็คิดว่าเราคงจะให้สิทธิประโยช์ ทั้งบรอดแบนด์ กล่องทรูไอดี ทั้งความบันเทิง ให้กับลูกค้าดีแทคได้ใช้ แต่ไม่มีการใช้ลิซ่าร่วมกับดีแทค

True-Dtac

ทั้งนี้ ได้ชู 7 กลยุทธ์หลัก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร เพื่อนำประเทศไทยสู่อนาคตดิจิทัล  ดังนี้ 

true dtac

1. ผู้นำด้านโครงข่ายโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอย่างแท้จริง (Be the Undisputed Network and Digital Infrastructure Leader )การผสานศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทใหม่ ทั้งโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล อาทิ ดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานสากล ระบบคลาวด์ ไม่เพียงแต่จะสร้างประสบการณ์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ยอดเยี่ยม  แต่จะมุ่งสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดนวัตกรรมบริการดิจิทัลต่างๆเพื่อคนไทย ทั้ง IoT, AI Analytic, Machine Learning, Cyber Security ที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนวิถีดิจิทัล (Digital Transformation) ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

2. เติบโตเป็นผู้นำนอกเหนือจากบริการหลัก เพื่อส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์ที่เหนือกว่า (Champion Growth Beyond the Core)นอกจากการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานแล้ว บริษัทใหม่จะเดินหน้าขยายธุรกิจพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยจะมุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล โซลูชัน รวมถึงระบบนิเวศดิจิทัลที่ครบวงจร  พร้อมร่วมขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัลในทุกภาคส่วน (Digital Inclusion ) สร้างประสบการณ์ใหม่ไร้รอยต่อให้กับลูกค้า  รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมสนับสนุนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้น

3. สร้างมาตรฐานประสบการณ์ใหม่เพื่อลูกค้าในประเทศไทย (Set the Bar for Customer Experience in Thailand)ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยในการวิเคราะห์ เติมเต็มไลฟ์สไตล์ลูกค้าได้ตรงใจมากขึ้น  ทั้งการนำเสนอสินค้าบริการ การมอบสิทธิพิเศษ ตลอดจนช่องทางการเข้าถึง O2O ผ่านการผนึกพลังทั้งออฟไลน์ในเครือทั่วประเทศและออนไลน์แบบ 24 ชม.ทำให้ลูกค้าจะได้สัมผัสสุดยอดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง และไร้รอยต่อในทุกจุดบริการ รวมทั้งยกระดับบริการหลังการขายที่นำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ทำให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น

4. เติมเต็มชีวิตอัจฉริยะยิ่งขึ้นเพื่อทุกสไตล์ลูกค้าชาวไทย (Enhance Smart Life for Customers)ทรู คอร์ปอเรชั่น จะส่งมอบประสบการณ์ชีวิตอัจฉริยะเพื่อคนไทย ยกระดับวิถีชีวิต และไลฟ์สไตล์ทั้งความสะดวกสบาย การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะไม่จำกัดเฉพาะชีวิตคนเมืองเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมคนไทยทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ผ่านเครือข่ายสื่อสารดิจิทัลที่กว้างไกลและครอบคลุมยิ่งขึ้น

5. ยกระดับมาตรฐานสำหรับลูกค้าองค์กร (Raise Standards for Enterprise Customers) บริษัทใหม่จะเร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคธุรกิจทั้งลูกค้า SME ธุรกิจองค์กรและภาคอุตสาหกรรม  นำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ IoT, Robotics, AI Analytics และ Blockchain  พร้อมทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สู่การพัฒนานวัตกรรมโซลูชันครอบคลุมทุกมิติ เพื่อสร้างความต่างและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน  ลดค่าใช้จ่าย ทุกภาคส่วนทั้งอุตสาหกรรม การเกษตร สาธารณสุข และค้าปลีก

6. สร้างสุดยอดองค์กรที่น่าทำงาน (Build the Best Place to Work)บริษัทใหม่จะเป็นองค์กรแนวหน้าที่ขับเคลื่อนด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน ดึงดูดคนเก่งที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลก เป็นองค์กรที่สนับสนุนกลุ่มคนหลากหลาย ผสานความแตกต่าง ควบคู่กับการสร้างคนให้มีจิตวิญญาณเป็นเจ้าของกิจการ เป็นที่ทำงานที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้มีความสามารถ (Talent) ทุกเจเนอเรชัน พร้อมกับมีสวัสดิการและสุขภาวะที่ดี (Well Being)    

7. การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มคุณค่าขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาว (ESG Best in class: Sustainable organization to Create Long Term Value) มุ่งเน้นการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม มาร่วมสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับทุกชีวิต นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

from:https://droidsans.com/true-dtac-better-together/

จุฬาฯ ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6GHz พร้อมขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G และ 6G

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต โดยรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ‘ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี พ.ศ. 2573’ (5G-Mid-Band-Spectrum-Needs-Vision-2030)

ระบุว่าความถี่ 2GHzในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2568 – พ.ศ. 2573 

ในขณะที่ย่านความถี่สูงกว่า 6GHz ถือเป็นย่านความถี่กลางสำคัญที่จะช่วยรองรับความต้องการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สหภาพยุโรปได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกผลักดันการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในอนาคต บนย่านความถี่สูงกว่า 6GHz

6GHz

กระแสดังกล่าวส่งผลให้ความนิยมย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ความนิยมการใช้ความถี่ในย่านสูงกว่า 6 GHz ที่เพิ่มขึ้นในแผนความถี่การสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ทำให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เข้ามาในแผนดังกล่าวในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองปูซาน เพื่อหารือนโยบายคลื่นความถี่ระดับภูมิภาค และร่วมประกาศจุดยืนด้านนโยบายความถี่ 6GHz 

โดยหลายประเทศพร้อมสนับสนุนการใช้ย่านความถี่ 6GHz ของแผนความถี่สื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ในการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคม (WRC-23) ซึ่งถือเป็นการลงมติที่ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ต่อการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2023

รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ได้ประกาศระยะเวลาการทดสอบย่านความถี่ 6 GHz แบบใช้งานในสถานที่จริง เพื่อใช้วิจัยเครือข่าย 5G ขั้นสูงในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ณ งานสัมมนาหัวข้อ ‘เครือข่าย 5G สำหรับทุกสิ่งและทุกคน บทบาทของย่านความถี่ 6 GHz และย่านความถี่สูงพิเศษ’ (5G Connectivity for Everything and Everyone, The Role of 6 GHz and UHF) ภายในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยการใช้ย่านความถี่ 6 GHz สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายแห่งโลกอนาคต เช่น เทคโนโลยี 5G และ 6G โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้ทดสอบย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz (6425 – 7125MHz) ในสถานที่จริง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 

โดยการทดสอบจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผลการทดสอบดังกล่าวจะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศไทยและนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายแก่การใช้งานย่านความถี่ 6 GHz ในอนาคต

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/chula-announced-the-6ghz-frequency-band-test/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=chula-announced-the-6ghz-frequency-band-test

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz รองรับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต โดยรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ‘ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี พ.ศ. 2573’ (5G-Mid-Band-Spectrum-Needs-Vision-2030) ระบุว่าความถี่ 2GHz ในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2568 – พ.ศ. 2573 ในขณะที่ย่านความถี่สูงกว่า 6GHz ถือเป็นย่านความถี่กลางสำคัญที่จะช่วยรองรับความต้องการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สหภาพยุโรปได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกผลักดันการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในอนาคต บนย่านความถี่สูงกว่า 6GHz

กระแสดังกล่าวส่งผลให้ความนิยมย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ความนิยมการใช้ความถี่ในย่านสูงกว่า 6 GHz ที่เพิ่มขึ้นในแผนความถี่การสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ทำให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เข้ามาในแผนดังกล่าวในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองปูซาน เพื่อหารือนโยบายคลื่นความถี่ระดับภูมิภาค และร่วมประกาศจุดยืนด้านนโยบายความถี่ 6GHz โดยหลายประเทศพร้อมสนับสนุนการใช้ย่านความถี่ 6GHz ของแผนความถี่สื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ในการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคม (WRC-23) ซึ่งถือเป็นการลงมติที่ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ต่อการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

โดยที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2023 ซึ่ง รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ได้ประกาศระยะเวลาการทดสอบย่านความถี่ 6 GHz แบบใช้งานในสถานที่จริง เพื่อใช้วิจัยเครือข่าย 5G ขั้นสูงในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ณ งานสัมมนาหัวข้อ ‘เครือข่าย 5G สำหรับทุกสิ่งและทุกคน บทบาทของย่านความถี่ 6 GHz และย่านความถี่สูงพิเศษ’ (5G Connectivity for Everything and Everyone, The Role of 6 GHz and UHF) ภายในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยการใช้ย่านความถี่ 6 GHz สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายแห่งโลกอนาคต เช่น เทคโนโลยี 5G และ 6G โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้ทดสอบย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz (6425 – 7125MHz) ในสถานที่จริง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการทดสอบจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผลการทดสอบดังกล่าวจะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศไทยและนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายแก่การใช้งานย่านความถี่ 6 GHz ในอนาคต

from:https://www.enterpriseitpro.net/chula-university-test-the-6ghz-frequency/

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก้าวสู่ Smart University ด้วยบริการจาก AIS Business

ท่ามกลางภูมิประเทศอันสวยงามกว่า 5,000 ไร่ ในจังหวัดเชียงราย คือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันอุดมศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อันพิสูจน์ได้จากการเป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับอันดับสูงที่สุดจากการจัดลำดับ THE World University Rankings 2023 โดย Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไม่มีพื้นฐานด้านวิชาการ การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวรับกับทุกความเปลี่ยนแปลง

“ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อก้าวสู่ Smart University เราให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่พร้อมต่อยอดสู่การศึกษาที่พัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด “ รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าว

รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ระบบไอทีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดิจิทัล

การจะเดินตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การรองรับการเติบโตของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) และภาคเหนือตอนบน

การอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตแบบ Digital Life Style มอบประสบการณ์การเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด สนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบ Blended Learning ที่รองรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการให้บริการการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Telemedicine

รวมถึงการใช้บุคลากรที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถให้การบริการที่รวดเร็วต่อความต้องการ พร้อมใช้งานได้ทันท่วงที รวมถึงปรับตัวเพื่อรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง ท้ายสุดคือการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

นั่นทำให้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยกระดับการเรียนการสอนด้าน การดำเนินงาน และที่สำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ถึงที่พร้อมทั้งประสิทธิภาพ ความสเถียร และมีความยืดหยุ่นสูง

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครั้งสำคัญ

นี่จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สาย และไร้สาย รวมถึงเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครั้งสำคัญ ด้วยการเลือกใช้โซลูชันจากซิสโก้ โดยมี AIS Business (เอไอเอสบิสสิเนส) พันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยให้ความไว้วางใจ

เอไอเอสบิสสิเนส ช่วยวางแผน ออกแบบ จัดหา และติดตั้งโซลูชันต่าง ๆ ด้วยแนวคิด Intelligent Network ประกอบด้วย

1) Intelligent Connectivity โครงข่ายการเชื่อมต่ออัจฉริยะ
– การขยายแบนวิดธ์ระบบเครือข่ายจาก 1 Gbps เป็น 10 Gbps ครอบคลุมทั้งการปรับปรุงเครือข่าย Fiber ทั่วมหาวิทยาลัย และอัปเกรดสวิตช์ทั้ง Core, Distributed และ Access เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งความเร็ว และความเสถียร

– การอัปเกรดเครือข่ายไร้สายด้วยมาตรฐาน Wi-Fi 6 ด้วยอุปกรณ์แอคเซสพอยต์จากซิสโก้มากกว่า 2000 จุด โดยใช้อุปกรณ์มาตรฐานสูงอย่าง Cisco Catalyst 9800 Wireless Controller และ Catalyst 9120AX Access Point

ที่ไม่เพียงขยายพื้นที่การใช้งานมากขึ้น แต่ยังรองรับสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ และ Blended Learning ซึ่งมีการใช้งานจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งโน๊ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์แท๊ปเล็ต ที่จำเป็นต้องมีระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพ

2) Intelligent Security ระบบความปลอดภัยไซเบอร์อัจฉริยะ
การเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบัน และอนาคต พร้อมปกป้องเครือข่าย รวมถึงผู้ใช้จากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ด้วย Cisco Firepower อุปกรณ์ Next Generation Firewall ที่สามารถให้บริการ Advanced Malware Protection (AMP) และ Next-generation IPS (NGIPS) เพิ่มเติมได้ในเครื่องเดียว

3) Intelligent Managed Service บริการช่วยจัดการอัจฉริยะ
สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้วยบริการ Managed Services ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอส เพื่อช่วยดูแลระบบไอทีต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างราบรื่น รวมถึงช่วยแบ่งภาระของหน่วยงานหลักด้านไอทีอย่างศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถทุ่มเทกับการพัฒนาบริการดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

ความเป็นมืออาชีพ และประสบการณ์ในการวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ด้วยประสบการณ์ในการออกแบบ ติดตั้งดิจิทัลโซลูชัน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษา และองค์กรขนาดใหญ่มากมาย ทำให้เอไอเอสบิสสิเนสมีความเข้าใจความต้องการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นอย่างดี จึงสามารถจัดหาโซลูชันที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน เพื่อเพิ่มความเสถียร และป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้งานที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 5,000 ไร่ มีทั้งภูเขา และป่าไม้ เอไอเอสบิสซิเนสจึงเลือกใช้สายไฟเบอร์ออปติกชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันการกัดแทะจากกระรอก รวมถึงมีการป้องกันมด หรือแมลง เข้าไปสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์แอคเซสพอยต์ เป็นต้น

“ ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลโซลูชัน เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการสร้าง Smart Education Solution ที่จะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ Smart University เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา, บุคคลากรของมหาวิทยาลัย และรูปแบบการศึกษาในยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS กล่าว

คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS

พร้อมต่อยอดความก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด

ด้วยความพร้อมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ด้วยโซลูชันจากซิสโก้ และการให้บริการโดยเอไอเอสบิสสิเนส ทำให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทาย และพัฒนาตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (A Leading University in ASEAN with International Recognition) ได้อย่างยั่งยืน

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-x-mfu-go-to-smart-university/

AIS Business ผลักดันองค์กรสู่ Cognitive Tech-Co ด้วยเทคโนโลยีแบบอัจฉริยะ ช่วยสร้างธุรกิจไทยให้เติบโตแบบยั่งยืน

เอไอเอส มุ่งสร้างการเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาเพิ่มเติมมากขึ้นจากการที่เป็นผู้ให้บริการในรูปแบบการสื่อสารทั่วไปให้เปลี่ยนมาเป็น Digital Life Service Provider อย่างยาวนานมากกว่า 7-8 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เอไอเอส เองยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และมองไปถึงอนาคตที่จะให้บริการแก่ลูกค้า โดยวางเป้าหมายจะเป็น Cognitive Tech-Co เพื่อตอบสนองความต้องการด้วยโซลูชันที่ดียิ่งขึ้น

Cognitive Tech-Co คืออะไร?

เอไอเอส อธิบายว่า การก้าวสู่ผู้ให้บริการในลักษณะการเป็น Cognitive Tech-Co นั้น ก็คือการเติมความอัจฉริยะลงไปในบริการหรือลงไปในโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความอัจฉริยะดังกล่าวจะช่วยให้ AIS Business สามารถรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า, รับรู้ถึงบริการที่ทางลูกค้าใช้อยู่ว่ามีปัญหาหรือต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในจุดใด โดยระบบที่เป็นแบบ Cognitive จะสามารถจัดการและแก้ไขในจุดนี้ได้


ความอัจฉริยะที่จะใส่ลงไปในโซลูชันใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะหมายรวมถึงเทคโนโลยีด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics), เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Intelligent IT), ระบบเครือข่ายอัตโนมัติ (Autonomous Network) โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นเอ็นจิ้นหลักเพื่อทำให้ เอไอเอส ก้าวสู่การเป็น Cognitive Tech-Co อย่างแท้จริง เพื่อสร้างประสบการณ์และคุณค่าที่ยอดเยี่ยมในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านทางกลุ่มการให้บริการใน 4 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย

– กลุ่ม Mobile ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์ด้านการใช้งานเครือข่าย 5G ให้มีประสิทธิภาพที่ยิ่งขึ้น
– กลุ่ม Fixed Broadband เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ Hi-Speed Home Internet ให้เร็วขึ้น
– กลุ่ม Enterprise Business ช่วยเร่งให้ธุรกิจและองค์กร ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
– กลุ่ม Digital Service เพิ่มนวัตกรรมโซลูชันใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าได้ใช้งาน เช่น ธุรกิจประกันภัย, ธุรกิจด้านการเงินใหม่ๆ เป็นต้น

AIS Business ช่วยธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

AIS Business คือส่วนบริการธุรกิจขององค์กรของเอไอเอส ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอโซลูชัน ในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ด้วยการช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับธุรกิจในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยบริการและเซอร์วิส ตลอดจนความเป็นมืออาชีพที่องค์กรต่างๆ สามารถไว้วางใจได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรในเมืองไทยสามารถที่จะใช้งานเทคโนโลยีในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ได้อย่างเต็มขีดความสามารถนั่นเอง


กลุ่มบริการและเซอร์วิสหลักๆ ของ AIS Business ที่กล่าวไว้ในข้างต้น ประกอบด้วย บริการด้านระบบ 5G Ecosystem, เทคโนโลยี Intelligent Network, แพลตฟอร์ม Digital Infrastructure and Platform เช่น Cloud หรือเทคโนโลยี IoT, ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Data-Driven Business และกลุ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับ Trusted Professionals ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา AIS Business สามารถสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการด้านไอซีทีในเมืองไทยได้อย่างน่าทึ่ง จนได้รับการันตีจาก GlobalData ในการสำรวจองค์กรระดับ Top 200 ของในประเทศไทย โดยทั้งหมดเห็นพ้องว่า AIS Business คือผู้นำในการให้บริการด้าน ICT อันดับหนึ่งจากการสำรวจในปีที่ผ่านมา

ตั้งเป้าวางรากฐานธุรกิจไทยให้มั่นคงและยั่งยืน

จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ AIS Business ตระหนักได้ว่า องค์กรธุรกิจในเมืองไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเร่งประสิทธิภาพด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงได้สร้างแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” (Growth, Trust and Sustainable) เพื่อให้ทั้ง AIS Business, คู่ค้า รวมทั้งลูกค้า เติบโตไปอย่างมั่นใจไปพร้อมๆ กัน ผ่านทางโซลูชันและโครงข่ายที่เชื่อถือได้ของเอไอเอส ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจในแบบ Sustainable Business ได้ในอนาคต


จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ AIS Business ได้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของปี 2023 ไว้ตามประเด็นต่างๆ ดังนี้

เร่งการเติบโตของธุรกิจโดยการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ
ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล (Growing)
AIS Business พุ่งเป้าไปที่ประเด็นของการเติบโต ด้วยการเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยอาศัยเครื่องมือในการสร้างธุรกิจ ทั้งหลายให้ตอบโจทย โดยแบ่งออกเป็นแนวทางต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีโซลูชันที่น่าสนใจ อาทิ

– สร้าง Enable Unmanned and Automation ด้วย 5G High Speed and Low Latency, Network Slicing, นิเวศคลาวด์ที่ครบวงจร เป็นต้น
– สร้าง Increasing Business Agility ด้วย DC/DR Network, Multi-Cloud Backup & Recovery เป็นต้น
– สร้าง Accelerate Time to Market ด้วย AIS 5G NextGen Platform, Cloud and Container เป็นต้น
– สร้าง Optimize Operation Efficiency ด้วย Workflow Management
– สร้าง Better Data Intelligence ด้วย Data Analytics, Data Insight, เป็นต้น
– สร้าง Enable New Industry Solutions เช่น Smart Manufacturing, Smart Retail, Smart City เป็นต้น

บริการโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ
ปลอดภัย และเชื่อถือได้ (Trusted)
AIS Business สร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจที่จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจอยู่บนความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยไม่ว่าจะเป็นทั้งโครงข่ายหรือเซอร์วิส ตลอดจนโซลูชันต่างๆ ที่วางใจได้ ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้

– การสร้าง Modernize Network ให้ทันสมัยด้วย SD-WAN, 5G FWA Hybrid MPLS, Centralized Management เป็นต้น
– การสร้าง Modernize Cloud and Platform ด้วย 5G Edge Computing, AIS Cloud X, Sovereign Cloud, เป็นต้น
– การสร้าง Ensure Cybersecurity Protection ด้วย Secured Network and Cloud, Endpoint Protection, Data Sovereignty เป็นต้น
– การสร้าง High Availability เช่น DC/DR Network, Multi-Cloud Backup & Recovery เป็นต้น

สร้างระบบนิเวศนวัตกรรม เพื่อธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)
AIS Business พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสร้างระบบนิเวศสำหรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรต่างๆ มาพร้อมกับโซลูชันหลากหลายโซลูชัน อาทิเช่น โซลูชันที่เข้ามาช่วยในการบริการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยคาร์บอน การปล่อยน้ำเสียโดยใช้ข้อมูลแบบ real-time จากอุปกรณ์ IoT ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้

– การทำ Drive Sustainable Business ด้วยโปรแกรม AIS Academy for Thai, AIS Aunjai Cyber, e-Waste, Lower Energy เป็นต้น
– การทำ ESG-Friendly ด้วย Energy & Emission Management, Air Quality & Wastewater Monitoring เป็นต้น
– การทำ Digital Innovation Ecosystem ด้วย AIS 5G NEXTGen Platform, Experience Center, Business Application Marketplace เป็นต้น

การสร้างสรรค์ Intelligent Digital Infrastructure

สิ่งที่ AIS Business กำลังมุ่งเน้นในปี 2023 ตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” พวกเขาได้ยกตัวอย่างไดอะแกรมที่น่าสนใจและนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมหลายแห่งเขาเรียกมันว่า Intelligent Digital Infrastructure หรือโครงสร้างดิจิทัลแบบอัจฉริยะ

โครงสร้างอัจฉริยะ Intelligent Digital Infrastructure ของ AIS Business

จากภาพไดอะแกรมเบื้องต้นนั้น AIS Business มีโซลูชันที่ครอบคลุมโดยองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการและใช้งานโครงสร้างดิจิทัลนี้ตั้งแต่การสร้างระบบเครือข่ายแบบ 5G ที่เป็นส่วนตัว (5G Private Network) เชื่อมโยงกับดีไวซ์และอุปกรณ์ IoT ในองค์กรของตน

ในกรณีทีต้องการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายไปยัง Cloud นั้น AIS Business ก็ได้จัดเตรียมโครงข่ายการเชื่อมโยงเชื่อมได้ทั้งแบบ 5G Wireless หรือแบบ Fixed Fiber Optics วิ่งไปบนเครือข่าย Intelligent Core Network ที่มีความอัจฉริยะ รวมถึงยังมีบริการการประมวลผลแบบ EDGE Computing รองรับในกรณีต้องการประมวลผลในระยะใกล้ๆ เป็นการตอบสนองด้านความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ

และเมื่อองค์กรต้องการเก็บข้อมูลไปไว้บน Cloud ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Cloud ที่เป็นแบบ Sovereign Cloud ซึ่ง Cloud รูปแบบนี้ AIS Business ได้รับการการรับรองมาตรฐานจาก VMware ในการเป็น VMware Cloud Verified Sovereign Cloud แล้ว ส่วนในกรณีที่บางองค์กรอาจจะวางข้อมูลไว้ระบบในดาต้าเซ็นเตอร์ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Multi-Location Data Centers อยู่ในหลายๆ แห่งทั่วประเทศ ก็สามารถทำได้เช่นกัน และสุดท้ายหากองค์กรต้องการวางระบบไปที่ระบบ Hyperscale Cloud ก็มีให้เลือกใช้ทั้ง Microsoft, AWS หรือ Huawei Cloud เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองด้านความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ Cloud นั่นเอง

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจากลูกค้าองค์กร

แนวคิด Intelligent Digital Infrastructure นั้นถูกนำมาใช้จริงกับลูกค้าของ AIS Business ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นในกรณีของ Easy Buy ก็นำเอาโซลูชันของ AIS Business ไปใช้งานผ่านทาง โซลูชันเช่น 5G FWA and SD-WAN เป็นต้น


ถัดมาเป็นกรณีศึกษาของกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น SCG โดย AIS Business ได้นำเอาโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับระบบ Autonomous (เช่น Autonomous EV Truck) และใช้ระบบอุปกรณ์ด้าน IoT เข้ามาร่วมในการทำงาน (สามาถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 35%) รวมถึงการดึงเอาข้อมูลผ่านทางดีไวซ์นั้นๆ และส่งผ่านโครงข่ายอัจฉริยะที่วางไว้ ทั้งนี้ช่วยในเรื่องของการสร้างธุรกิจที่เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น

และส่วนของกรณีศึกษาจากทาง Somboon Manufacturing จะนำเอาระบบเช่น AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV เข้ามาช่วยในการจัดการและคำนวณด้านพื้นที่ทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มการใช้งานพื้นที่ได้สูงถึง 60% รวมถึงลดค่าใช้จ่าย OPEX ได้มากถึง 30% อีกด้วย!

สร้าง Ecosystem และ Partnership ได้แบบยั่งยืน

สิ่งที่ AIS Business มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานในปี 2023 นี้ ก็เพื่อจะเป็นการสร้างระบบที่มีความยั่งยืนไม่ว่าจะในส่วนของการสร้าง Ecosystem หรือการให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ โดยการผสานกันทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม โดย AIS Business มีโซลูชันที่มีความอัจฉริยะในหลากหลายส่วน พร้อมกับยังร่วมมือกับองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมความอัจฉริยะในธุรกิจนั้นๆ ดังตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นให้เห็นแล้วในช่วงที่ผ่านมา และก็จะขยายเพิ่มเติมให้เห็นกันมากขึ้นตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” นั่นเอง

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย

“Your Trusted Smart Digital Partner”

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

==========================

สนใจปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

E-mail : business@ais.co.th

Website : https://business.ais.co.th

Line : https://lin.ee/VrXDoF4

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-business-growth-trusted-and-sustainable/

Dell ประกาศความร่วมมือใหม่กับ Nokia, Qualcomm, Amdocs และ Juniper Networks

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกาศภายในงาน MWC ที่ บาร์เซโลนา ประเทศสเปน อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยความร่วมมือใหม่ทางอุตสาหกรรมกับทั้งสี่พันธมิตรระดับชั้นนำ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศด้านโทรคมนาคมแบบเปิด

  • Nokia – เดลล์ กำลังมุ่งเน้นไปที่การเร่งความเร็ว 5G บนคลาวด์เนทีฟ ด้วยการผสานรวมและการตรวจสอบความถูกต้องของโซลูชันที่รวมซอฟต์แวร์ 5G Cloud RAN ของ Nokia และ Cloud RAN SmartNIC in-line Layer 1 Accelerator Card ร่วมกับโครงสร้างพื้นฐานแบบเปิดของเดลล์
  • Qualcomm – เดลล์ กำลังทำงานร่วมกับ Qualcomm ในการเร่งความเร็ว 5G บนคลาวด์เนทีฟเช่นเดียวกับ Nokia โดยการผสานรวมเซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge XR8000 และ XR5610 เข้ากับ Qualcomm X100 5G RAN Accelerator Card เพื่อพัฒนา 5G virtualized distribution unit (vDU)
  • Amdocs – เดลล์ กำลังผสานรวมเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge R760 เข้ากับนโยบายและขีดความสามารถในการชาร์จของ Amdocs เพื่อรองรับการย้ายไปยัง 5G Standalone (SA)
  • Juniper Networks – เดลล์ กำลังทำงานบนโซลูชันที่ได้รับการรับรองเพื่อมอบเส้นทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในการรวมเซิร์ฟเวอร์และการลดพลังงานที่ cell sites เนื่องจาก CSP ยังคงให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ก่อนหน้านี้ เดลล์ ได้เคยประกาศความร่วมมือกับ Marvell และ Fujitsu ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดความร่วมมือใหม่ทั้ง 4 พันธมิตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Dell Open Telecom Ecosystem Community ซึ่งจะใช้ประโยชน์จาก Open Telecom Ecosystem Lab (OTEL) ของเดลล์ เพื่อการส่งมอบโซลูชันด้านโทรคมนาคมแบบเปิดที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
 

from:https://www.techtalkthai.com/dell-announces-new-partnerships-with-nokia-qualcomm-amdocs-and-juniper-networks/

HPE เตรียมรุกตลาด Private 5G ด้วยการซื้อ Athonet

HPE ประกาศว่าได้ซื้อกิจการของผู้ให้บริการเครือข่ายโมบายล์แกนหลักอย่าง Athonet แล้ว ถือเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อการขยายความครอบคลุมเครือข่ายระดับองค์กร และเสริมแกร่งให้แพลตฟอร์ม Greenlake ของตัวเองด้วย

คาดว่าการได้ Athonet มานี้จะช่วยเสริมทัพผลิตภัณฑ์ด้าน Edge โดยเฉพาะ ยกระดับบริการเครือข่าย 5G ส่วนบุคคลระดับองค์กร และช่วยในการวางระบบสำหรับลูกค้าแบบ B2B ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์

เนื่องจากเหล่าผู้ให้บริการคลาวด์นี้จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโครงข่าย 4G และ 5G ส่วนตัวนี้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการโครงข่ายแบบอัตโนมัตินี้ HPE เองคาดว่าจะสามารถปิดดีลซื้อ Athonet ได้ภายในไตรมาสที่ 3

เทคโนโลยีของ Athonet น่าจะเข้ามาผนวกกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Aruba ของ HPE ทำให้ลูกค้าสามารถควบคุมระบบ 5G ส่วนตัวผ่านคอนโซลยูนิฟายด์ของ HP และใช้ประโยชน์ผ่านแพลตฟอร์ม AIOps ได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-eyes-private-5g-expansion-with-athonet-acquisition/