คลังเก็บป้ายกำกับ: DIGITAL_TRANSFORMATION

Group-IB ประกาศแผนเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลขึ้นในประเทศไทย และลงนามสัญญาพันธมิตรกับ nForce ผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในประเทศไทย [Guest Post]

กรุงเทพมหานคร,วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2566 — Group-IB บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้จัดแถลงข่าวประกาศแผนการที่จะเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัล (Digital Crime Resistance Center) ขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งการลงนามในสัญญาความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจำหน่ายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)

ภายใต้ความร่วมมือนี้ nForce จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของ Group-IB ที่รวมกันอยู่ภายใต้ชื่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ Unified Risk Platform ของ Group-IB ซึ่งเป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)

nForce จะจัดตั้งทีมรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Response : IR) ทีมแรกของตนขึ้นในประเทศไทย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Group-IB Digital Forensics & Incident Response ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สะสมยาวนานมากกว่า 70,000 ชั่วโมงในการดำเนินการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกที่ทาง Group-IB ดูแลอยู่

Group-IB จะให้การฝึกอบรมและการสนับสนุนช่วยเหลือโดยเฉพาะแก่ทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ของ nForce เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (IR) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและทำให้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำหรับการวิเคราะห์เชิงนิติวิทยา (Forensic Analysis) ง่ายขึ้น โดยทีมงานของ nFroce จะได้รับการติดตั้งโซลูชัน Managed Extended Detection and Response ของ Group-IB เพื่อการนี้

nForce เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย โดยเป็นผู้นำในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และ nForce ยังมีพันธมิตรมากกว่า 100 รายครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายที่มีสถานะที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษในตลาดภาคการเงิน ส่วน Group-IB มีเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยและร่วมช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยให้สามารถจัดการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้นทุกวัน

จากรายงานแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูงประจำปี 2565/2566 (Hi-Tech Crime Trends Report 2022/2023) พบว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยตกเป็นเป้าการคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยตกอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีบริษัทถึง 27 แห่งที่เป็นเหยื่อถูกขโมยข้อมูลโดยแรนซั่มแวร์นำขึ้นไปโพสต์เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลรั่วไหลโดยเฉพาะ (dedicated leak sites) ระหว่างช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จนถึงครึ่งแรกของปี 2565 เนื่องจากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนจริงของการโจมตีโดยแรนซั่มแวร์นั้นน่าจะสูงกว่านี้มาก เนื่องจากหลายบริษัทเลือกที่จะจ่ายค่าไถ่ แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือความสนใจที่เพิ่มขึ้นของอาชญากรที่ทำตัวเป็นนายหน้าขายบริการเจาะการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Initial Access Brokers : IABs) ขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ตามข้อมูลการค้นพบจากทีมข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence) ของ Group-IB พบว่า IABs มีความพยายามขายการเข้าถึงระบบเครือข่ายบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยถึง 28 แห่งในช่วงเวลาเดียวกัน

ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลของ Group-IB ที่จะจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่ำชองในด้าน Threat Intelligence, Digital Forensics & Incident Response, Cyber ​​Investigations, Digital Risk Protection รวมถึงนักวิเคราะห์จาก Computer Emergency Response Team  ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรซึ่งได้ถูกทดลองและทดสอบมาแล้วหลายครั้งในกว่า 60 ประเทศ พร้อมทั้งทีมงานของ Group-IB ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของ nForce จะผสานร่วมกันเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันทางดิจิทัลของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยด้วยการจัดตั้งทีมงานนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ (Digital Forensics and Incident Response : DFIR) ระดับแนวหน้าขึ้น

การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องจะทำให้เข้าใจขอบเขตของภัยคุกคามได้อย่างชัดเจนและสามารถพัฒนามาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งภัยคุกคามนั้น รวมทั้งยังสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีทักษะสูงของ Group-IB จะทำการฝึกอบรมบุคลากรของ nForce เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลากหลาย ทีมงานของ Group-IB ใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย Threat Intelligence อันล้ำสมัย และมีประวัติผลสำเร็จในการทำงานที่ถูกพิสูจน์แล้วในเรื่องของการสืบสวนและแก้ไขคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ตัวถอดรหัส (Decryptor) ของ Group-IB ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน DFIR ของบริษัทเองสามารถทำการถอดรหัส Hive Ransomware รุ่น 4 ที่อื้อฉาว และสามารถช่วยถอดรหัสปลดล็อคระบบเครือข่ายขององค์กรทางการแพทย์ในประเทศไทยที่เคยถูกโจมตีจากแรนซั่มแวร์ตัวนี้ได้สำเร็จ

นายนักรบ เนียมนามธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“nForce ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Group-IB ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก สำหรับการจัดตั้งทีม Incident Response ในครั้งนี้ จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยสามารถยับยั้งและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันถ่วงที ด้วยทีมช่วยเหลือในการตอบโต้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB จะทำให้ nForce มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น ด้วยบริการจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพจาก nForce ร่วมกับ Group-IB รวมถึงโซลูชันต่างๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทางด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2566 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตอยู่ที่ 15-20% จากการลงทุนโปรเจ็กต์ต่างๆ ของลูกค้าภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบกับการที่หลายธุรกิจเดินหน้าทำ Digital Transformation ทำให้ดีมานด์การใช้เทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน” 

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ nForce ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในตลาดประเทศไทยและจะช่วยเราขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ การเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลและความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายพันธกิจระดับโลกของเราในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทย เราเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันกับ nForce และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประกอบด้วยมืออาชีพที่กระตือรือร้นซึ่งมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ไซเบอร์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” Dmitry Volkov ซีอีโอของ Group-IB กล่าว

เกี่ยวกับ nForce Secure

บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยนำเสนอ สินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงในแต่ละหมวดสินค้า ซึ่งจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) End Point Security, (2) Network Security, (3) Network Performance and Monitoring และ (4) อื่นๆ เช่น Encryption Solution, Software ที่เกี่ยวข้องกับ Authentication และ Software ที่เกี่ยวข้องกับ Archiving เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย เช่น บริการด้านการติดตั้ง (Installation) บริการบำรุงรักษา (Maintenance) รวมไปถึงบริการปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานระบบ หรือซอฟต์แวร์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่าย และบริการฝึกอบรมการใช้งานระบบ (Training)

กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท คือ ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator หรือ SI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของผู้ใช้งานโดยตรง (End User) และออกแบบติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ โดยนำเสนอในรูปแบบโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยตรงในระดับองค์กร ซึ่งผู้ใช้งานโดยตรงประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยีจะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Distributor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยตัวแทนจำหน่ายจะทำหน้าที่จัดหาและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ได้ตรงตามระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้รับเหมารวบรวมระบบออกแบบตามความต้องการ ทั้งนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (SI) ที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทนั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพทางธุรกิจ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการต่างๆ ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

เราภาคภูมิใจที่ได้นำเข้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ามาจัดจำหน่ายภายในประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Vendor) รวมไปถึงลูกค้าที่เป็น ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator) ผ่านการให้บริการแบบครบวงจร ด้วยบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

เกี่ยวกับ Group-IB

Group-IB มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำที่ทุ่มเทให้กับการตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง การระบุการฉ้อโกงทางออนไลน์ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีศูนย์ข่าวกรองและการวิจัยภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence and Research Centers) ของบริษัทตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (ดูไบ) เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) และยุโรป (อัมสเตอร์ดัม)

Unified Risk Platform ของ Group-IB เป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)  

Unified Risk Platform ให้ความคุ้มครองที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนตลอดห่วงโซ่การรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB ที่รวมอยู่ภายใต้ Unified Risk Platform ของ Group-IB ได้แก่ Threat Intelligence, Managed XDR, Digital Risk Protection, Fraud Protection, Attack, Surface Management, Business Email Protection, Audit & Consulting, Education & Training, Digital Forensics & Incident Response, Managed Detection & Response, and Cyber Investigations.

ระบบ Threat Intelligence ของ Group-IB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในประเภทเดียวกันโดย Gartner, Forrester และ IDC ส่วนผลิตภัณฑ์ Managed XDR ของ Group-IB ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับการค้นหาเชิงรุกและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเภทผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Detection and Response โดย KuppingerCole Analysts AG ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ชั้นแนวหน้าของยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้ให้การยอมรับ Group -IB ในฐานะเป็น Product Leader และ Innovation Leader  อีกด้วย

อีกทั้งผลิตภัณฑ์ Fraud Protection ของ Group-IB ยังได้รับการเสนอชื่อ (Representative Vendor) ให้อยู่ในรายงานผลิตภัณฑ์การตรวจจับการฉ้อโกงออนไลน์ของ Gartner นอกจากนี้ Group-IB ยังได้รับรางวัล Innovation Excellence Award จาก Frost & Sullivan สำหรับผลิตภัณฑ์ Digital Risk Protection (DRP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI-driven) สำหรับการระบุและบรรเทาความเสี่ยงทางดิจิทัล และต่อต้านการโจมตีการแอบอ้างแบรนด์ โดยใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของบริษัทเป็นแกนหลัก ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Group-IB สร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงถึง 19 ปีของบริษัทในการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก และมากกว่า 70,000 ชั่วโมงของการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สะสมอยู่ในห้องปฏิบัติการ DFIR ชั้นนำของบริษัท, รวมถึงแผนกสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง และทีมงาน CERT-GIB ของบริษัทที่บริการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินทางเทคนิคโดยสามารถให้การดูแลได้ตลอดเวลา

Group-IB เป็นพันธมิตรที่ทำงานอย่างแข็งขันในการสืบสวนสอบสวนระดับโลกที่นำโดยองค์กรบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Europol และ INTERPOL นอกจากนั้น Group-IB ยังเป็นสมาชิกของ EuropolEuropean Cybercrime Centre’s (EC3) Advisory Group on Internet Security ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่าง Europol และพันธมิตรชั้นนำที่ไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย

ประสบการณ์ของ Group-IB ในการตามล่าภัยคุกคามและแสวงหาข่าวกรองทางไซเบอร์ได้หลอมรวมกันเป็นระบบนิเวศของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ ระบุ และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ภารกิจของ Group-IB คือการปกป้องลูกค้าในไซเบอร์สเปซให้มีความมั่นคงปลอดภัยทุกวัน ด้วยการสร้างและใช้ประโยชน์จากโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ

from:https://www.techtalkthai.com/group-ib-announces-plan-to-open-anti-criminal-center-in-thailand-and-signed-a-partnership-agreement-with-nforce/

Advertisement

AIS Business ขึ้นแท่นผู้นำไอซีที ช่วยพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืน ด้วยแนวคิด เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

ในปี 2022 ที่ผ่านมาถือว่าเป็นปีที่น่าสนใจมากของเอไอเอส โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ในส่วนธุรกิจลูกค้าองค์กร หรือ AIS Business ที่มุ่งมั่นในการผลักดันจาก Digital Life Service Provider ไปเป็น Cognitive Tech-Co พร้อมยังได้ช่วยยกระดับองค์กรหลายแห่งให้ก้าวสู่โลกแห่งดิจิทัลได้อย่างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็น SCG, Somboon Manufacturing, Easybuy รวมถึงเป็นพาร์ทเนอร์ผู้วางโครงสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในงาน APEC 2022 จนกระทั่งได้รับการยอมรับจากองค์กรที่เป็นสุดยอดองค์กรชั้นนำ ยกให้เป็นที่ 1 ที่ไว้วางใจจาการสำรวจของ GlobalData

สำหรับในปี 2023 นี้ AIS Business ยังคงเดินหน้าสร้างการแนวคิด ที่เรียกว่า Growth, Trust, Partnership หรือ “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” กับลูกค้า ทั้งภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ SME เพื่อให้พวกเขาสามารถดำเนินการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้วยต้นทุนที่เหมาะสมได้ โดยวางเป้าหมายจะเป็น Coginitive Tech-Co เพื่อตอบสนองความต้องการด้วยโซลูชั่นที่ดียิ่งขึ้น

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS อธิบายเรื่องของการทำ Digital Transformation ขององค์กร และ SME ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ว่า การเกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ได้ปรับตัวรับผลกระทบเป็นอย่างมาก และเห็นว่า เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างโอกาสทางการแข่งขันและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเติบโตของธุรกิจมากขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้ ดิจิทัลโซลูชัน ได้กลายเป็นปัจจัยหลักที่จะเข้ามาช่วยองค์กรสร้างความพร้อมสู่การเติบโตควบคู่กับความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจได้”

ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS Business ประกอบกับความพร้อมในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายอัจฉริยะ 5G เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทยเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิด ระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Business โดยอาศัยกลไกลต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดย AIS Business อธิบายแนวคิด Sustainable Business ไว้ว่า เป็นวิธีการที่ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะสร้างระบบ นอกจากจะสามารถทำกำไรให้กับองค์แล้วก็ยังช่วยในการรักษ์สิ่งแวดล้อมและดูแลสังคมไปในตัว ผ่านวิธีการต่างๆ อาทิ

แนวคิด Growth : เป็นการเร่งการเติบโตของธุรกิจโดยการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล เพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจด้วยศักยภาพของ AIS 5G และ Cloud Platform, ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ Data Insight & Lifestyle as a Service, พร้อมการสร้างสรรค์โซลูชันใหม่ ๆ เฉพาะอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Smart Manufacturing, Smart Transportation & Logistics, Smart City & Building, และ Smart Retail

แนวคิด Trust : บริการโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเชื่อถือได้ ด้วยความพร้อมเต็มรูปแบบของ Intelligent Network, Cloud Platforms, และ Cyber Security สอดรับกับกฎระเบียบของการใช้งานที่ปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม ผ่านโซลูชันอย่างเช่น Sovereign Cloud, SD-WAN, Secured Connectivity เป็นต้น

แนวคิด Sustainability: สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อธุรกิจอย่างยั่งยืน AIS Business พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสร้างระบบนิเวศสำหรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรต่างๆ การสร้าง AIS 5G NEXTGen Platform เพื่อการสร้าง 5G โซลูชันได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ไปจนถึงโซลูชันที่เข้ามาช่วยในการบริการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยคาร์บอน การปล่อยน้ำเสียโดยใช้ข้อมูลแบบ real-time เป็นต้น

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS

จากเป้าหมายใหญ่ของเอไอเอสที่ต้องการเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ ในส่วนธุรกิจลูกค้าองค์กรอย่าง AIS Business ก็จะสร้างเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้ยั่งยืน ด้วยการเร่งขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของลูกค้า โดยเทคโนโลยีและการให้บริการดิจิทัลที่หลากหลายครบครัน จากด้วยทีมงานที่ไว้ใจได้ในความสามารถอย่างมืออาชีพของทาง AIS Business” นายธนพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-business-the-growth-trusted-partnership/

13 เทรนด์ Digital Transformation แห่งปี 2023

แม้ว่าปีที่ผ่าน ๆ มา Digital Transformation จะเป็นเทรนด์ยอดฮิตที่หลายองค์กรจำต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ในปี 2023 นี้ที่โลกดูเหมือนจะรับสถานการณ์ COVID-19 ได้แล้ว ก็ยังคงมีประเด็นอื่น ๆ มากมายที่ทำให้องค์กรจำต้องทรานส์ฟอร์มอย่างต่อเนื่อง 

ตามข้อมูลจาก Statista นั้นได้คาดการณ์ว่าธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายในเรื่อง Digital Transformation พุ่งไปถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 จากในปี 2022 อยู่ที่ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเรียกว่าเติบโตขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในเวลา 4 ปีเท่านั้น พูดอีกมุมหนึ่งก็คือ Digital Transformation จะยังคงเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 4 ปี

บทความนี้ คือ 13 เทรนด์การทำ Digital Transformation แห่งปี 2023 ที่เชื่อว่าจะมีผลกระทบกับทุกองค์กรซึ่งแม้ว่าจะเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่เชิงเทคนิค ก็ยังจำเป็นต้องเริ่มทรานส์ฟอร์มองค์กรแล้วด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เสริมศักยภาพ สร้างความยืดหยุ่น ให้ทันรับกับสถานการณ์โลกที่จะเปลี่ยนแปลงไปอีก และเพื่อยังคงสถานะการแข่งขันในตลาดได้ต่อไป

1. Automation เสริมประสิทธิภาพไปอีกขั้น

เทคโนโลยี Automation คือหนึ่งในสิ่งที่จะใคร ๆ จะมองหามากที่สุดในการทำ Digital Transformation ในปีนี้ ด้วยปัญหาความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทั้งหลายที่เกิดขึ้น อาทิ เงินเฟ้อ ราคาพลังงานที่แพงขึ้น ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ จึงทำให้เทคโนโลยี Automation คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพื่อช่วยให้องค์กรมีผลิตผล (Productivity) สูงขึ้น ใช้แรงงานมนุษย์น้อยลง รวมทั้งกระบวนงานที่ทำให้กลายเป็นแบบดิจิทัลแล้วนั้นจะเกิดความผิดพลาดน้อยลงอีกด้วย

ตามแบบสำรวจจาก Deloitte ยังชี้ให้เห็นว่า 53% ขององค์กรได้เริ่มพัฒนาระบบ Robotic Process Automation (RPA) แล้ว ส่วน Gartner นั้นทำนายไว้ว่าภายในปี 2024 ระบบ Hyper-automation จะทำให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงไปได้สูงถึง 30% และตลาดซอฟต์แวร์ Hyper-automation นั้นจะสูงถึง 860,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย หากองค์กรใดยังไม่ได้พิจารณาในเรื่อง Automation มาก่อน ควรเริ่มพิจารณาได้แล้วว่ามีกระบวนการหรือขั้นตอนใดที่สามารถทดแทนด้วยระบบ Automation ได้บ้าง

Ex. Smart Factory

2. เครื่องมือ Low Code/No Code สนับสนุนแรงงานขาดแคลน

อย่างที่รู้กันว่าปัญหาแรงงานขาดแคลน (Talent Shortage) ยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมไอทีจำต้องอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างมากเมื่อต้องทำเรื่อง Digital Transformation ให้กับองค์กร และหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยทำให้เกิดกระบวนงานอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วนั่นคือเครื่องมือแบบ Low Code/No Code ที่สามารถช่วยสนับสนุนการการพัฒนาระบบอย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมกับแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนได้อย่างมาก

ด้วยความสามารถของเครื่องมือที่ใช้การเขียนโค้ดที่น้อย (Low Code) หรือไม่ต้องเขียนเลย (No Code) จะทำให้องค์กรสามารถสร้าง “ทีมผสม (Fusion Team)” ที่รวมคนจากฝั่งธุรกิจกับฝั่งเทคโนโลยีมาไว้ในทีมเดียวกันได้มากขึ้น ซึ่งเครื่องมือ Low Code/No Code จะเป็นตัวกระตุ้นให้ทีมนี้สามารถสร้างสรรค์โครงการใหม่ ๆ ขึ้นมาได้เร็วกว่าในอดีตอย่างมาก เพราะการมีคนจากฝั่งธุรกิจที่เข้าใจความต้องการของผู้ที่ใช้งานจริง ๆ โดยตรง และสามารถใช้งานเครื่องมือ Low Code/No Code ได้ด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดเป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงอย่างรวดเร็ว ตรงโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น และถ้าหากจำเป็นต้องใช้ทำอะไรที่ซับซ้อน ทีมเทคนิคก็จะสามารถสนับสนุนได้ทันที 

3. AI/ML ปลดล็อกศักยภาพไปอีกขั้น

วิวัฒนาการของ AI/ML ที่เกิดขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดนั้น กำลังเปลี่ยนโลกของการทำงานไปโดยสิ้นเชิง ตามที่เห็นได้ว่าหลาย ๆ งานในปัจจุบันนั้นสามารถใช้ระบบ AI ทดแทนมนุษย์ได้แบบครบถ้วน เช่น ระบบแนะนำส่วนบุคคล ระบบรู้จำใบหน้า เอกสาร หรือป้ายทะเบียนรถยนต์ แชทบอท หรือว่าระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว ยังมีความแม่นยำมากกว่า แถมประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าอีกด้วย ซึ่งปี 2023 นี้ AI/ML ก็จะยังคงเติบโตและสามารถปลดล็อกศักยภาพใหม่ ๆ ไปอีกขั้นให้เห็นกันทั่วโลกอย่างแน่นอน 

ที่สำคัญ การกำเนิด ChatGPT ที่ได้ทำให้โลกเกิดความกังวลมากมายตั้งแต่ปลายที่ผ่านมานั้น ก็ดูเหมือนจะยิ่งปรับภูมิทัศน์การทำงานยุคใหม่ไปอีกขั้น ซึ่งไม่แน่ว่าโลกการทำงานในอนาคต องค์กรต่าง ๆ อาจต้องแข่งขันกันในเรื่องความสามารถในการปรับใช้ AI ต่าง ๆ ที่มีให้บริการทั่วโลก อย่าง ChatGPT, Midjourney หรือ Imagen แทน ซึ่งหากองค์กรใดที่ไม่ได้ใช้งาน AI ใด ๆ เลย ก็อาจจะตกขบวนและออกจากการแข่งขันไปได้อย่างง่ายดาย

4. Composability เสริมความคล่องตัว

แน่นอนว่าความคล่องตัว (Agility) คือสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในสถานการณ์ทุกวันนี้ แต่ทว่าองค์กรส่วนใหญ่จะไม่สามารถสร้าง Agility ขึ้นมาได้เพราะเทคโนโลยีที่ใช้งานยังล้าหลังเกินไป ผนวกกับเรื่องข้อมูลภายในองค์กรที่ยังเป็นไซโล (Silo) อยู่จำนวนมาก จึงทำให้ Mulesoft คาดว่าปี 2023 นี้ หลายองค์กรจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ถอดประกอบได้ (Composable) กันมากขึ้น คือการพัฒนาสิ่ง ๆ ให้สามารถ “ใช้ซ้ำ (Reuse)” เพื่อทำให้ทีมงานสามารถนำไปประยุกต์ (Adapt) ต่อยอดได้ทันกับตามความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ Gartner ยังได้คาดการณ์ไว้ด้วยว่า ภายในปี 2023 องค์กรใหญ่ ๆ กว่า 60% จะมีการใส่กลยุทธ์การเป็น “Composable Enterprise” เพิ่มเป็นอีกเป้าหมายขององค์กร เนื่องจากองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ Composable จะสามารถเร่งความเร็วในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ออกมาให้ผู้ใช้งานได้สูงถึง 80% เลยทีเดียว นี่จึงเป็นอีกเทรนด์ที่จะทำให้หลาย ๆ องค์กรทั่วโลกสามารถทรานส์ฟอร์มได้สำเร็จในปีนี้

5. Total Experience (TX) ประสบการณ์ทั้งฝั่งผู้บริโภคและพนักงาน

ก่อนหน้านี้องค์กรส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นในเรื่องการปรับปรุงประสบการณ์ผู้บริโภค (Customer Experience : CX) เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ต่อแบรนด์ หากแต่หลังจากนี้ องค์กรจะเริ่มกลับมาสนใจในประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience : EX) กันมากขึ้น เพราะสิ่งนี้คืออีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญของความสำเร็จองค์กรในอนาคต และทั้งสองส่วนนี้รวมกันเรียกว่า Total Experience (TX)

เรื่องนี้ Mulesoft ได้คาดการณ์ว่าในปี 2023 นี้ จะมีองค์กรชั้นนำจำนวนมากเริ่มพิจารณาเรื่อง Total Experience มากขึ้น เพื่อปรับปรุงเส้นทาง (Journey) ในการเป็นลูกค้าหรือว่าพนักงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นทั้งพนักงานและผู้บริโภคในเวลาเดียวกันนั้นจะยิ่งทำให้เกิดประสบการณ์ร่วมที่เหนือไปอีกขั้น และนอกจากจะทำให้ประสบการณ์ของพนักงานดีขึ้นแล้ว ยังเสริมให้องค์กรมีมูลค่าทางธุรกิจมากขึ้นอีกด้วย แถมยังเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วจากฝั่งลูกค้ามาใช้ซ้ำในฝั่งพนักงานในทำนองเดียวกันได้เลย ดังนั้น ทุกองค์กรสามารถทำได้ทันที ซึ่ง Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2024 องค์กรที่มุ่งเน้นเรื่อง TX จะเหนือกว่าคู่แข่งในเรื่องความพึงพอใจทั้ง CX และ EX ถึง 25% 

6. Automated Data Intelligence ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง

ที่ผ่านมาจะเห็นว่าแทบทุกองค์กรกำลังพยายามขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven) กันทั้งสิ้น แต่ทว่าข้อมูลที่ถือว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่านี่เองนั้นกลับยังคงถูกจัดเก็บไว้เป็นไซโล (Silo) เสียส่วนใหญ่ จะเรียกใช้ก็มักจะเกิดความติดขัดอะไรมากมายภายในองค์กรอยู่เสมอ แต่ Mulesoft ได้ชี้ว่าหลาย ๆ องค์กรจะแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีการ Composable เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อดำเนินการได้สำเร็จจะทำให้เกิด “Data Fabric” ที่ข้อมูลจะเชื่อมโยงกันได้ทุกแพลตฟอร์มและกับผู้ใช้งานในภาคธุรกิจ เหมือนผ้าที่ถักร้อยไว้ด้วยกัน

นอกจากนี้ ถ้าองค์กรมีการลงทุนในระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real Time เพิ่มเติมใน Data Fabric แล้ว จะยิ่งเสริมทำให้องค์กรสามารถดำเนินการตัดสินใจได้อย่างอัตโนมัติ (Automate Decision-Making) และสามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทั้งสองสิ่งจะทำให้กลายเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้อย่างแท้จริง

7. Cybersecurity ที่เชื่อมโยงหลาย Layer มากขึ้น

เรื่อง Cybersecurity คือสิ่งที่คู่กันกับ Digital Transformation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเนื่องจากองค์กรมีการลงทุนในสถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Distributed Architecture) และเทคโนโลยีที่ขอบ (Edge Technology) กันมากขึ้น จึงส่งผลให้ปีนี้คาดว่าจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย (Security) มากขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น องค์กรควรต้องปรับใช้แนวทางการสร้าง “Cybersecurity Mesh” หรือสถาปัตยกรรมแบบ Composable ที่เชื่อมโยงบริการ Security ให้มีความหลากหลายและซ้อนกันไว้หลาย ๆ ชั้นกระจายไว้ในทุก ๆ จุด

ในเรื่องนี้ Gartner กล่าวว่าภายในปี 2024 องค์กรที่ได้ปรับใช้สถาปัตยกรรม Cybersecurity Mesh นั้นจะสามารถลดผลกระทบด้านการเงินจากเหตุการณ์โจมตี Security ลงไปได้โดยเฉลี่ยถึง 90% เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี การจะทำให้วิธีการนี้ได้สำเร็จ ก็อาจจำเป็นต้องมีระบบการบริหารสักตัวที่สามารถจัดการทุก Connection, API หรือพวก Component ต่าง ๆ อย่าง Automation Bot ที่ใช้งาน ได้จากหน้าจอ Administration ในที่เดียว เพื่อทำให้เห็นภาพรวมของทุกส่วนขององค์กร แล้วบริหารจัดการความเสี่ยงในทุก ๆ Attack Surface ที่อาจเหตุโจมตีขึ้นได้อย่างครอบคลุม

https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fs.yimg.com%2Fos%2Fcreatr-images%2F2020-04%2F64396da0-78f4-11ea-afff-833061cb28e1&client=amp-blogside-v2&signature=0d230e4b613954dcba74674423e4014cfefaeb47

8. Hybrid Workforce อยู่ที่ไหนก็ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 เกิดขึ้นและอาจจะกำลังผ่านพ้นไป ได้ทำให้แนวทางการทำงานในยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรก็ว่าได้ ซึ่งตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมานั้นได้พิสูจน์ให้เห็นส่วนหนึ่งแล้วว่าพนักงานหลาย ๆ ตำแหน่งสามารถทำงานจาก “ที่ไหนก็ได้” ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน นั่นแปลว่าหลาย ๆ องค์กร อาจไม่จำเป็นต้องให้พนักงานเข้ามาที่ออฟฟิศพร้อม ๆ กันทั้งหมดก็เป็นได้ 

สิ่งนี้เรียกว่า “Hybrid Workforce” ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจะเริ่มเกิดทีมทำงานที่ผสมผสานพนักงานจากหลายที่หลายแห่ง หลาย Time Zone ที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นจะต้องพึ่งพาเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ เครื่องมือประชุมทางไกล Collaboration Tool และอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนให้ทีมงาน Hybrid Workforce ให้ทำงานได้เหมือนกับช่วงยุคก่อนที่ COVID-19 จะแพร่ระบาดเกิดขึ้น 

9. Cloud Migration จะมีมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่คู่กับการทำ Digital Transformation นั่นคือเทคโนโลยี Cloud ซึ่งจะเห็นว่าองค์กรธุรกิจเริ่มทยอยหันมาใช้งาน Cloud กันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสิ่งนี้ได้พิสูจน์ให้หลาย ๆ แห่งเห็นแล้วว่าสามารถลดค่าใช้จ่าย เสริมประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งลดปัญหาการบำรุงรักษาที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หรือเรื่องการจ้างพนักงานเพื่อมาดูแลระบบหลังบ้านของตัวเอง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การใช้ Cloud เจ้าเดียวหรือที่เดียวนั้นก็เริ่มจะไม่เพียงพอในการให้บริการได้อย่างมีเสถียรภาพ จนทำให้เกิดการใช้งานแบบ Hybrid Cloud อันเป็นเทรนด์มาก่อนหน้านี้ และในปี 2023 จะเริ่มเห็นการปรับใช้สถาปัตยกรรม Multi Cloud มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทำให้บริการมีความเสถียรภาพสูง ลดความเสี่ยงต่าง  ๆ รวมทั้งเวลา Downtime ได้ หากแต่การปรับใช้ Cloud กันมากขึ้นก็ทำให้มีช่องโหว่ในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้เองคือส่วนที่ทั้งผู้ใช้งานและผู้ให้บริการทั้งหลายต้องคิดคำนึงถึงไปด้วยพร้อม ๆ กัน

10. Everything as a Service (XaaS) ทุกอย่างเป็นบริการได้หมด

เช่นเดียวกับเรื่อง Total Experience ในมุมของบริการหรือ Service ต่าง ๆ ก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าทุกอย่างสามารถให้บริการผ่าน Cloud ได้ทั้งหมด ซึ่งนั่นแปลว่าโลกกำลังจะเริ่มกลายเป็น Everything-as-a-Service (XaaS) ที่ไม่ว่าจะเป็นบริการหรือแอปพลิเคชันอะไร ก็จะกลายเป็นบริการที่เข้าถึงได้ง่าย เริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็วแทบจะทันที 

ปีนี้และถัด ๆ ไป จะได้เห็นบริการที่จะมาในรูปแบบลักษณะ Subscription มากขึ้น แทนที่จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อ License แทน ด้วยข้อดีที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเช่นเครื่อง Server รวมถึงค่าบำรุงรักษา รวมทั้งเรื่องความเร็วที่ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นใช้งานได้แทบจะทันที จึงทำให้ผู้ใช้งานเลือกที่จะไปใช้บริการ as-a-Service มากกว่า และนั่นคือสิ่งที่ทำให้ผู้ให้บริการต้องปรับตัว จนกลายเป็น Everything-as-a-Service นั่นเอง

Shot of a programmer connecting to a user interface while working in an office at night

11. Blockchain จะมีการลงทุนมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าตลาด Cryptocurrency จะดำดิ่งไปในช่วงปีที่ผ่านมา แต่เทคโนโลยี Blockchain นั้นคือส่วนแกน (Core) ที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่าหลาย ๆ องค์กรและอุตสาหกรรมยังคงนำเอาเทคโนโลยีไปปรับใช้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี มีบางอุตสาหกรรมที่ได้พิสูจน์แล้วว่า Blockchain ไม่ได้อาจช่วยแก้ไขปัญหาได้ทุกสิ่ง 

ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน Blockchain ก็ยังคงถือว่าเป็นเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) และยังคงมีโอกาสที่จะดิสรัป (Disrupt) เทคโนโลยีดั้งเดิมได้ ซึ่งปีนี้คงจะได้เห็นการลงทุนพัฒนาในเทคโนโลยี Blockchain อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าจะยังคงจะได้เห็น Blockchain ใหม่ ๆ กับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมา ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่าวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ และเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมกำลังจะขับเคลื่อนไปในทิศทางใดต่อไป

Source: ShutterStock.com

12. กำเนิด Customer Data Platform จำนวนมาก

Customer Data Platform (CDP) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงแอปพลิเคชันและฐานข้อมูลต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันเพื่อทำให้องค์กรมีข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ลูกค้าแต่ละคน เพื่อสร้างความเข้าใจลูกค้าแต่ละแห่งให้กับองค์กรได้มากที่สุด และสร้างโอกาสให้กับธุรกิจในการทำการตลาดหรือขายสินค้าในอนาคตได้อย่างตรงจุด และเป็นส่วนบุคคลที่มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น ปีนี้จะเห็นหลาย ๆ องค์กรเร่งพัฒนา CDP กันมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนเพราะโลก Cookieless World นั้นก็กำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ ส่งผลให้ข้อมูลลูกค้าที่องค์กรจัดเก็บเองจึงจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในการทำธุรกิจในอนาคตต่อไป

13. Sustainability คือทุกสิ่งที่ต้องคำนึง

วินาทีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือพนักงานทั่วไปก็ตาม จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) ที่จะมีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติกันทั้งสิ้น เพราะแม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้บริหารทั้งหลายจะออกมาพูดในเรื่องความยั่งยืนกันอย่างหนัก แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศหายไปจากโลกใบนี้ได้ในอนาคต

หลังจากนี้ องค์กรที่จะสามารถสร้างความแตกต่างทางธุรกิจในอนาคตได้นั้นจะต้องเป็นกลุ่มองค์กรมุ่งเน้นเรื่อง Sustainability ที่สามารถลดหรือไร้การปล่อยมลพิษต่าง ๆ ออกมาสู่โลกใบนี้ได้สำเร็จ ซึ่งจะเห็นภาพนี้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคตอันใกล้ โดย Mulesoft ชี้ว่าในปี 2023 นี้องค์กรจะแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนเรื่อง Sustainability ในการดำเนินงานต่าง ๆ ผ่านการใช้กลยุทธ์ Composable กันมากขึ้น เพื่อปลดล็อกการเชื่อมโยงข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ พร้อมกับปรับใช้ Automation และ Analytics เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่จะทำให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง ณ ตอนนี้ ผู้นำองค์กรบางส่วนก็ได้เริ่มนำเอาเรื่อง Sustainabiltiy เข้าไปอยู่ในหัวใจของธุรกิจแล้วและคาดว่าจะมีงบประมาณมาลงทุนในเรื่องนี้ราว 10-20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

References

from:https://www.techtalkthai.com/top-13-digital-transformation-trends-of-year-2023/

ฟูจิตสึ พลิกโฉม เปิดศักราชใหม่ เดินหน้าชู FUJITRA ผลักดันองค์กรเพื่อสังคมยั่งยืน ขับเคลื่อนด้วย Digital Transformation [Guest Post]

กรุงเทพฯ:  1 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ FTH เปิดศักราชใหม่ เดินหน้าชู FUJITRA (Fujitsu Transformation) ผลักดันองค์กรเพื่อสังคมยั่งยืน ขับเคลื่อนด้วยการนำดิจิทัล (Digital Transformation) มาช่วยปรับเปลี่ยน หน่วยงาน วัฒนธรรมองค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการ และโมเดลทางธุรกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลลัพธ์ที่ดีในการสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ฟูจิตสึ เป็นหนึ่งในองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกในปี 2022 ว่า เป็นหนึ่งในสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดในโลก (Best Places to Work)

นางสาวกนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด

นางสาวกนกกมล เลาหบูรณะกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารหญิงและคนไทยคนแรกของ ฟูจิตสึ รับผิดชอบธุรกิจในประเทศไทย กล่าวว่า “ฟูจิตสึ ประเทศไทย ปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 33 ผ่านการสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลได้เป็นอย่างดี โดย ฟูจิตสึ เล็งเห็นว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูง ในภูมิภาคเดียวกัน (Fastest Economic Growing Country) จากเดิมที่มีผู้นำเป็นชาวญี่ปุ่นและผู้ชายมาตลอด เปลี่ยนมาเป็นผู้หญิงและคนไทยคนแรก ที่มาบริหารองค์กรในประเทศไทย โดยการเปลี่ยนแปลงผู้นำในครั้งนี้นับเป็นปรากฏการณ์แรกสำหรับองค์กรญี่ปุ่นอย่างฟูจิตสึ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ฟูจิตสึให้ความสำคัญกับตลาดประเทศไทยและต้องการส่งเสริมศักยภาพของคนไทยรุ่นใหม่ และต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานยิ่งกว่าเดิม ตามนโยบายและกลยุทธ์หลักของบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ตอบรับความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันทุกองค์กรทั่วโลก ต้องการไปสู่จุดหมายของความยั่งยืน (Sustainability Transformation)

การนำ FUJITRA มาช่วยปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งนี้ ถือเป็นเวลาที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ฟูจิตสึ ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเต็มรูปแบบ เป็นแบบ Hybrid Working หรือ การทำงานรูปแบบผสมผสาน โดยพนักงานทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้าทำงานที่ออฟฟิศทุกวัน สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ในโลก นอกจากความยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงานแล้วยังได้เสริมความคล่องตัวด้วยการนำเครื่องมือทาง IT ต่างๆ มาใช้ในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร “ฟูจิตสึ มองว่า การเปลี่ยนแปลงองค์กรภายในเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมาก และพนักงานทุกคน เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้เกิดความคล่องตัว รวมทั้งสามารถช่วยลูกค้าขับเคลื่อนธุรกิจ และสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบยั่งยืน ได้ดียิ่งขึ้น” นางสาวกนกกมล กล่าว

ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร Fujitsu ใช้กรอบความคิด “FUJITRA” ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงซึ่งประกอบด้วย

  1. Leadership
  2. Culture
  3. Data-driven
  4. DX (Digital Transformation)

การริเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยใช้ “FUJITRA” ทำให้ฟูจิตสึ ซึ่งถือหลักการในการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อนที่จะไปช่วยเปลี่ยนแปลงให้ลูกค้า สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า การทำ Digital Transformation ให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่มากกว่าเทคโนโลยีและข้อมูล แต่ต้องอาศัยผู้นำองค์กรในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

ปัจจุบัน ฟูจิตสี มีความพร้อม สามารถช่วยองค์กรทั่วโลก สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย โซลูชัน Fujitsu Uvance ที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ 4 ด้าน คือ

  1. อุสาหกรรมการผลิตแบบยั่งยืน (Sustainable Manufacturing)
  2. ประสบการณ์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Experience)
  3. การใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี (Healthy Living)
  4. และสังคมที่เชื่อถือได้ (Trusted Society) 

โดยขับเคลื่อนผ่านกลุ่มเทคโนโลยีสำคัญ 3 กลุ่มคือ

  1. การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (Digital Shifts)
  2. แอปพลิเคชันทางธุรกิจ (Business Applications)
  3. ระบบไอทีแบบไฮบริด (Hybrid IT)

โดย ฟูจิตสึ ประเทศไทย มีกำหนดจัดงาน Fujitsu Day: Data and Automation for Sustainability เพื่อประกาศศักยภาพในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและความพร้อมในการสนับสนุน Digital Transformation ให้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 นี้

เกี่ยวกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึ เป็นบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำของญี่ปุ่น ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ พนักงานฟูจิตสึมีจำนวน 124,000 คน ช่วยสนับสนุนลูกค้าในกว่า 100 ประเทศ เราใช้ประสบการณ์และศักยภาพทางด้าน ICT มาช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ต่อสังคมในอนาคตร่วมกับลูกค้าของเรา Fujitsu Limited (TSE:6702) รายงานรายรับรวม 3.6 ล้านล้านเยน (32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับปีงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ http://www.fujitsu.com/th

เกี่ยวกับ บริษัท ฟูจิตสึ  (ประเทศไทย) จำกัด หรือ FTH   

บริษัท ฟูจิตสึ  (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Digital Transformation พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์โซลูชันและการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีอย่างครบถ้วน รวมไปถึง โซลูชันด้านดิจิทัล บริการด้านความปลอดภัย คลาวด์โซลูชัน ซอฟต์แวร์อีอาร์พี การบริหารจัดการโครงสร้างทางด้านไอที การจัดวางระบบ ที่ปรึกษาทางด้านไอที คอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์และสแกนเนอร์  โดย บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2533 และเติบโตอย่างต่อเนื่อง FTH มีบรรษัทภิบาลในการบริหารจัดการที่แข็งแกร่ง อิสระในการสร้างความสัมพันธ์และสนับสนุนความเข้าใจร่วมกันกับลูกค้าในประเทศ รวมถึงให้การตอบสนองและความรับผิดชอบในพื้นที่การทำธุรกิจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fujitsu.com/th

from:https://www.techtalkthai.com/fujitsu-internal-dx-fujitra-serve-customer-with-uvance/

AWS แถลงข่าวทิศทางธุรกิจในประเทศไทยในปี 2566 [Guest Post]

โดย คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ Country Manager, AWS ประจำประเทศไทย

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยเริ่มหันมาใช้ระบบคลาวด์และมุ่งสู่ digital transformation เพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจที่มากขึ้นและเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของตน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เรายังคงเห็นการเร่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากของการนำระบบคลาวด์มาใช้ในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ องค์กรรูปแบบใดขนาดไหนก็ตาม

จากข้อมูลของธนาคารโลก มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับการเติบโตที่ช้าลงในปี 2566 เนื่องจากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก และตามรายงานของบริษัทวิจัย Gartner แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์สาธารณะของประเทศไทย คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 31.8% ในปี 2566 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 20.7% ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการคลาวด์สาธารณะโดยผู้ใช้ในประเทศไทยคาดว่าจะสูงถึง 54.4 ล้านบาทในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 41.3 ล้านบาทในปี 2565

ก้าวเข้าสู่ปี 2566 AWS มองว่าเชื่อว่าระบบคลาวด์จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ในการช่วยให้องค์กรในอาเซียนและประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราใช้ประโยชน์จาก AWS Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อสร้างนวัตกรรม ลดค่าใช้จ่าย แบะช่วยเปิดตลาดให้กับหลาย ๆ ธุรกิจของไทยไปสู่ตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลก

นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี

ในงาน AWS re:Invent 2022 ที่จัดขึ้นที่เมืองเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 55,000 คน และผู้เข้าร่วมทางออนไลน์ถึง 300,000 คน แสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ โดยภายในงาน Adam Selipsky, CEO ของ AWS ได้เน้นย้ำว่าข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของทุกองค์กร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปริมาณข้อมูลจะมีมากขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิทัล ทำให้การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการเติบโตของข้อมูลนั้น เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับทุกองค์กร ภายในงาน AWS re:Invent 2022 ได้มีการประกาศนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น

  • Data and Analytics – Amazon Aurora: เป็นบริการที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ AWS และมีลูกค้า AWS หลายแสนรายที่ใช้ Amazon Aurora ที่เป็นการรวมประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของฐานข้อมูลแบบดั้งเดิม ผสมผสานเข้ากับความเรียบง่าย และความคุ้มค่าของฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์ส มีประสิทธิภาพมากกว่า MYSQL ถึงห้าเท่า และประสิทธิภาพมากกว่า PostgreSQL ถึงสามเท่า โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งในสิบของฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์
  • Data and Analytics – Redshift: สามารถนำข้อมูลที่หลากหลายจากแอปพลิเคชันมาจัดเก็บในที่ต่างๆ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่เหมาะสมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประเภทต่าง ๆ Redshift คือคลังข้อมูลขนาดเพตะไบต์ (petabyte) ที่มีการจัดการเต็มรูปแบบ ใช้โดยลูกค้า AWS หลายหมื่นรายเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเอกซะไบต์ (exabyte) มันให้ประสิทธิภาพด้านราคาที่ดีกว่าคลังข้อมูลคลาวด์อื่น ๆ ถึงห้าเท่า
  • AI/ML – SageMaker: เทคโนโลยี Machine Learning ช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และยังช่วยสร้างข้อมูลอัจฉริยะให้กับระบบและแอปพลิเคชันต่าง ๆ AWS มีเทคโนโลยี ML และ AI ที่สมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบัน ลูกค้าหลายหมื่นรายใช้ SageMaker เพื่อฝึกโมเดลที่มีพารามิเตอร์หลายพันล้านตัว เพื่อทำการคาดการณ์มากกว่าล้านล้านรายการทุกเดือน ซึ่ง AWS ได้ประกาศความสามารถของ Amazon SageMaker ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก 8 รายการในงาน AWS re:Invent อีกด้วย
  • Security: Amazon GuardDuty: ความปลอดภัยเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานและบริการของ AWS ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงสุดตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ ธนาคาร และหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น โดยโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ได้รับการตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
  • Security: Amazon Security Lake: AWS ประกาศเปิดตัว Amazon Security Lake แบบ preview ซึ่งเป็นบริการที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยในระดับเพตะไบต์ได้อัตโนมัติ ลูกค้าสามารถสร้างที่เก็บข้อมูลความปลอดภัยได้โดยอัตโนมัติด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง ทำให้มองเห็นข้อมูลความปลอดภัยทั้งหมดและสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของเวิร์กโหลด แอปพลิเคชัน และข้อมูล AWS Security Lake จะรวบรวมข้อมูลความปลอดภัยโดยอัตโนมัติจากโซลูชันของคู่ค้า เช่น Cisco, Crowdstrike และ Palo Alto Networks รวมถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยมากกว่า 50 รายการที่รวมอยู่ใน security hub

ทิศทางธุรกิจของ AWS ในประเทศไทยในปี 2566

สำหรับทิศทางธุรกิจของ AWS ในประเทศไทยในปีนี้ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าในธุรกิจการเงิน ธุรกิจค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต ที่คาดการณ์ว่ามีอัตราการเติบโตสูงในด้านการใช้คลาวด์ โดย AWS กำลังเพิ่มจำนวน AWS Partner และทีมงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2564 AWS ได้แต่งตั้งบริษัทเอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น ประเทศไทย จำกัด มหาชน (SiS) ดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งมีลูกค้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าไอทีมากกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ ให้เป็นดิสทริบิวเตอร์อย่างเป็นทางการ โดย SiS จะเป็นเป็นดิสทริบิวเตอร์ของ AWS รายแรกในประเทศไทยสำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการเติบโตด้านดิจิทัลโดยการขยายฐานคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย AWS ในประเทศไทย โดยในปี 2566 นี้ SiS จะสนับสนุน reseller ในการสร้าง Solution Packages สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (small to medium-sized business: SMB) รวมถึงเว็บไซต์ การสำรองข้อมูล การย้ายข้อมูล และ VDI และสนับสนุน reseller ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการเข้าสู่ตลาดผ่านการสัมมนาผ่านเว็บและการมีส่วนร่วมกับลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มลูกค้าใหม่ในกลุ่ม SMB

ด้านการลงทุนของ AWS ในประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ AWS ได้ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในประเทศไทย AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ AWS ในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2565 AWS ได้ประกาศแผนเตรียมเพิ่มบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์มายังประเทศไทยด้วย AWS Local Zone แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว Local Zones ใหม่ 10 แห่งทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น (APJ) เพื่อทำให้ลูกค้าของ AWS ในประเทศไทยสามารถมอบประสิทธิภาพความเร็วในหลักหน่วยของมิลลิวินาที (single-digit millisecond) แก่ผู้ใช้ปลายทางของพวกเขาได้

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีส่วนทำให้เกิดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลที่กว้างขึ้น ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในปี 2566 ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้การฝึกอบรมทักษะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย ภาครัฐและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วอาเซียนกำลังเผชิญกับการขาดแคลนผู้มีความสามารถและทักษะด้านดิจิทัล ซึ่ง AWS กำลังแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล โดยได้เริ่มฝึกอบรมบุคลากรมาแล้วกว่า 700,000 คนทั่วอาเซียนด้วยทักษะด้านระบบคลาวด์ตั้งแต่ปี 2560

from:https://www.techtalkthai.com/aws-announces-business-direction-in-thailand-in-2023/

Commvault Intelligent Data Service เป็นมากกว่า Backup

จุดมุ่งหวังของการทำ Digital Transformation ท้ายที่สุดแล้วก็คือความคล่องตัว ว่องไว รองรับกับการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีใหม่ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือวิถีการทำงานแบบไฮบริด ที่งานเกิดขึ้นจากภายนอกองค์กร หากองค์กรขาดความพร้อมในการเตรียมตัวด้านข้อมูลที่ดี ก็คงจะไม่สามารถกลายเป็นผู้เล่นกลุ่มแรกของตลาดได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องหากลยุทธ์การบริหารจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมกับ Workload สมัยใหม่ให้ได้ และ Commvault ได้เตรียมแพลตฟอร์มนั้นไว้แล้ว ที่พร้อมรองรับทุกแผน Digital Transformation ที่ท่านเลือกไป

หนึ่งในกลยุทธ์ของ Digital Transformation คือท่านต้องมีโซลูชันที่รองรับข้อมูลที่ถือกำเนิดจากแหล่งต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็น SaaS, Container, Cloud, และอื่นๆ รวมทั้งโซลูชันยังยืดหยุ่นกับทุก Infrastructure ไม่ว่าจะเป็น On-premise, hybrid cloud หรือ public cloud รวมถึงยังไม่ผูกขาดกับฮาร์ดแวร์ Storage อีกด้วย ทำให้ท่านมีทางเลือกได้อย่างหลากหลาย อีกหนึ่งจุดสำคัญคือไม่ว่าท่านจะอยู่ในรูปแบบ Multi-Cloud หรือ Hybrid Cloud ก็สามารถเลือกรูปแบบการใช้งานที่ตอบโจทย์ของท่านได้อย่างลงตัว

Commvault Intelligent Data Service จะช่วยให้ท่านตอบโจทย์วัตถุประสงค์ด้านข้อมูลได้อย่างลงตัว ได้แก่

  • Data Management & Protection – การสำรองและกู้คืนข้อมูลในระดับ Enterprise ที่รองรับ workload และ Storage ได้ทุกประเภท ผ่าน Platform เดียว ยืดหยุ่นทุก Environment
  • Data Security– สำรองและพร้อมกู้คืนข้อมูลจากการคุกคามของภัยร้ายทางไซเบอร์และแรนซัมแวร์ด้วยโซลูชันการปกป้องแบบหลายชั้น สามารถตรวจจับ(Monitoring), ป้องกัน(prevent) และกู้คืน(recovery)ข้อมูลจากการโจมตีจากแรนซัมแวร์ โดยไม่มี license เพิ่มเติม เช่น Air Gap solution, Encryption Data เป็นต้น
  • Data Compliance & Governance – องค์กรที่กังวลในเรื่องของการจัดการข้อมูลให้สอดคล้องกับกฏหมายและข้อบังคับ เครื่องมือจาก Commvault จะช่วยให้ท่านสามารถควบคุมการเข้าถึงและลดความเสี่ยงในการเปิดเผยข้อมูลได้ตามข้อกำหนดทางกฏหมายเช่น GDPR เป็นต้น
  • Data Transformation – เนื่องจาก DX ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลหลายทาง กล่าวคือข้อมูลชุดเดียวกันอาจนำไปใช้ทดสอบทางการตลาด ความมั่นคงปลอดภัย หรือฟีเจอร์ใหม่ ดังนั้นการนำข้อมูลที่มีและย้ายไปได้ทุกแพลตฟอร์มจึงเป็นการสนับสนุนให้ข้อมูลถูกใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าได้
  • Data Insights – มีลูกค้าหลายแห่งที่นำ AI/ML เข้ามาใช้กับข้อมูล ซึ่ง Commvault เองเป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลอำนวยความสะดวกให้การปฏิบัติการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ หรือการทำ Storage Tier ให้สอดคล้องกับ SLA อย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Storage และลด ROT Data ในองค์กร

จะเห็นได้ว่า Commvault มีโซลูชันการให้บริการการบริหารจัดการข้อมูลในองค์กรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ยุค Digital Transformation ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Commvault Intelligent Data Services ที่สามารถใช้งานได้ง่ายผ่าน Platform เดียว

ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงไม่จำเป็นต้องหาโซลูชันเสริมในการดูแลข้อมูลให้เกิดความซับซ้อนหรือต้นทุนค่าใช้จ่ายและการดูแลหลายระบบเพิ่มเติมอีกต่อไป

ท่านใดสนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน Commvault ได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด โทร. 02-311-6881 #7151, 7158 หรือ Email : cu_mkt@cu.co.th

ทั้งนี้ทางคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยนมีทีม CU as-a-Service ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถให้คำแนะนำและปรึกษาด้านการออกแบบและดีไซน์โซลูชัน รวมถึงการให้บริการ POC และติดตั้งใช้งาน โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cu.co.th/distributor/service/ หรือแสกน QR Code

from:https://www.techtalkthai.com/commvault-intelligent-data-service-is-more-than-backup/

การลงทุนเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ SMB หลังยุคโควิด

โดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว

เทคโนโลยีเคยเป็นหัวใจสำคัญสำหรับธุรกิจ SMB ก่อนยุคโควิด โดยมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ แล็ปท็อป เดสก์ท็อป โทรศัพท์มือถือและเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงอุปกรณ์เครือข่าย ความมั่นคงปลอดภัย ซอฟต์แวร์และบริการต่าง ๆ 

และหลาย ๆ ธุรกิจ SMB ต่างก็ย้ายขึ้นคลาวด์เพิ่มมากขึ้น

เมื่อธุรกิจ SMB ทั่วโลกจำนวนมากถึง 86% เร่งหันมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นการทำงานทางไกล (Remote work) อันเนื่องมาจากโควิด ผมคิดว่า ปัจจุบันความสนใจจึงมุ่งเน้นไปที่การพลิกโฉมธุรกิจด้วยเทคโนโลยี (Digital transformation) และเปลี่ยนไปจากแค่การจัดซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับพนักงานที่ทำงานที่บ้านเพียงเท่านั้น

จากการวัดประเมินอัตราการเปิดใช้งาน (Activation rate) หรือ การที่ผู้ใช้เปิดการใช้งานอุปกรณ์ที่พึ่งซื้อมาใหม่เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับแต่งซอฟต์แวร์นั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามีอุปกรณ์จัดจำหน่ายไปยังผู้ใช้ปลายทางมากขึ้นราว 20% ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่ต่อยอดจากเดิม ดังที่ธุรกิจ SMB หลายรายต่างเร่งเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด

ด้วยขนาดของธุรกิจ SMB ที่ต่างกันออกไป วิธีการที่ธุรกิจเหล่านั้นใช้เทคโนโลยี สถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนไปตามแต่ละส่วนของโลก และความต้องการของตลาดบางแห่งในการใช้งานไอทีเฉพาะทาง ทั้งหมดนี้ สิ่งใดจะกลายเป็นทางเลือกต่อไปในด้านเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจ SMB

สร้างทีมใหม่

หากกลุ่มพนักงานไม่ร่วมมือกัน องค์กรก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ดังที่ดีลอยท์ได้อธิบายถึงการทำงานร่วมกันว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถพิสูจน์และเห็นจากการดำเนินธุรกิจต่อไปด้วยแนวคิดใหม่ ๆ และสร้างประสิทธิภาพได้จากการทำงานร่วมกันเป็นทีม

การทำงานร่วมกันนั้นมีความสำคัญมาก่อนยุคโควิดเสียอีก แต่เมื่อการทำงานจากต่างที่กลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป ดังนั้น จึงชัดเจนว่าประเด็นนี้ยิ่งสำคัญกว่าที่เคย

เราต่างได้เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ของตนในรูปแบบใหม่ ๆ ในช่วงการแพร่ระบาด และเราไม่คิดที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นในขณะนี้

สิ่งที่จะเปลี่ยนไปคือ ระบบนิเวศของอุปกรณ์ (Device ecosystem) ทั้งจอมอนิเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับแท็บเล็ตหรือเครื่อง PC เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วงและอุปกรณ์จ่ายพลังงาน กล้องอัจฉริยะและระบบเสียง และสิ่งที่นอกเหนือจาก PC เพื่อใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันเฉพาะงานและซอฟต์แวร์ใหม่ระบบคลาวด์เพื่อเสริมประสบการณ์การทำงานร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูล ซึ่งทำงานได้อย่างมั่นคงปลอดภัยทั้งหมด

นอกจากนี้ การที่คนมักใช้เวลาจ้องหน้าจออุปกรณ์มากถึงวันละ 13 ชั่วโมงในแต่ละวัน ทำให้มีงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นที่ศึกษาว่า ผู้ใช้ควรได้รับแสง โดยเฉพาะแสงสีฟ้ามากน้อยเพียงใด และควรเปลี่ยนหน้าจออย่างไรเพื่อลดความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นได้จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน

จากการเริ่มต้นใหม่สู่ความก้าวหน้า

การยกระดับเทคโนโลยีในหลาย ๆ ครั้งอันเป็นผลกระทบจากโควิดนั้น เคยเป็นเรื่องของการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ธุรกิจ SMB ขนาดย่อมได้อัปเกรดเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ส่วนธุรกิจ SMB ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องจัดหาคอมพิวเตอร์สำหรับพนักงานให้ทำงานที่บ้านได้ และต้องปรับปรุงเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยขององค์กร การทำงานทางไกลและความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกันผ่านวิดีโอก็ได้เพิ่มความต้องการของกล้องเว็บแคมสูงถึง 4 เท่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

การพลิกโฉมครั้งใหม่นี้ส่งสัญญาณถึงการเริ่มต้นแนวทางสู่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและวัดผลได้มากขึ้นสำหรับหลายธุรกิจ SMB เมื่อถูกบีบบังคับให้ยกระดับ หลาย ๆ องค์กรต่างพบว่า เทคโนโลยีและการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นได้เปลี่ยนไปจากจุดที่ตนเคยรู้มาก่อน

ประเด็นหนึ่งที่เน้นเป็นพิเศษคือในแง่ของการบริการ

ก่อนยุคโควิด บริษัทหลาย ๆ แห่งใช้เพียงแค่บริการซ่อมบำรุงแก้ไขปัญหาหน้างาน แต่ปัจจุบันนี้บริการต่าง ๆ ที่เพิ่มคุณค่าสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านประสิทธิภาพและโอกาสทางธุรกิจ เพราะเทคโนโลยีใหม่นั้นเข้าถึงได้มากขึ้น และเงินทุนสามารถนำไปจัดการลงทุนในพื้นที่การเติบโตแขนงใหม่และผู้มีทักษะหน้าใหม่ ยกตัวอย่างเช่น Device-as-a-service (DaaS) ที่สามารถดูแลโซลูชันไอทีที่ปรับแต่งแบบครบวงจร สำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือนที่บริหารจัดการได้

เรายังคงพัฒนาการให้บริการไอทีสำหรับธุรกิจ SMB ให้ครอบคลุมทุกอย่างอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การติดตั้งสภาพแวดล้อมการดำเนินงานแบบมาตรฐาน (Standard operating environment) จากทางไกล บริการจัดการเครือข่าย (Network managed service) ไปจนถึงการสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์และโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัย

ตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจ SMB ที่ใช้บริการที่ออกแบบเฉพาะองค์กร คือ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งด้านการจัดเรียง DNA ซึ่งเป็นลูกค้าของ Lenovo โดยบริษัทแห่งนี้เป็นบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความต้องการโดยเฉพาะในด้านความมั่นคงปลอดภัย การแบ่งปันข้อมูลละเอียดอ่อนอย่างทันท่วงที และความสามารถในการประมวลผลขนาดใหญ่

เนื่องจากลักษณะข้อมูลที่บริษัทจัดการนั้นมีความละเอียดอ่อนและเป็นความลับ ดังนั้น Lenovo จึงพัฒนาบริการคลาวด์ส่วนบุคคล (Private cloud) ที่อยู่ภายในคลาวด์สาธารณะ (Public cloud) เพื่อให้บริษัทสามารถควบคุมและจัดการข้อมูลที่วางไว้ที่นั่นได้ อีกทั้งยังสร้างระบบการจัดการ ID และการควบคุมสิทธิ์ให้กับองค์กรอีกด้วย เพื่อให้บริษัทสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงต่างระดับแก่พนักงานแต่ละคนได้

ธุรกิจ SMB ควรลงทุนเทคโนโลยีใหม่หรือไม่

จากที่กล่าวไปข้างต้น การลงทุนเทคโนโลยีใหม่ขึ้นอยู่กับธุรกิจ SMB เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ของการดำเนินงานในแต่ละอุตสาหกรรมและตลาดที่ต่างกันออกไป ผมคิดว่ามีความเสี่ยงที่จะล้าหลังเทคโนโลยี ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงยิ่งกว่าการไม่ลงทุนในระบบและบริการใหม่ ๆ ทั้งนี้ มีงานวิจัยที่รองรับคำกล่าวที่ว่า ก่อนยุคโควิด ธุรกิจ SMB รู้สึกว่า บริษัทของตนล้าหลังในด้านไอทีและจำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม

ธุรกิจ SMB ขนาดเล็กอาจสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยอุปกรณ์ไอทีพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัย แต่มีความเสี่ยงที่จะตามไม่ทันคู่แข่งที่เปิดรับโลกไฮบริดดิจิทัล

ส่วนธุรกิจ SMB ขนาดใหญ่อาจเผชิญหน้ากับความเสี่ยงระดับใหญ่กว่าหากองค์กรไม่ดำเนินการลงทุนเทคโนโลยีต่อไปในการช่วยส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น (ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจ SMB กว่า 1 ใน 4 ต่างเห็นตรงกันว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุดสำหรับไอทีขององค์กร)

โลกกำลังเปลี่ยนไป

วิธีการการดำเนินธุรกิจกำลังเปลี่ยนไป

ภูมิทัศน์เทคโนโลยีทางธุรกิจกำลังเปลี่ยนไป

ในฐานะพาร์ตเนอร์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์และผู้ให้บริการโซลูชันครบวงจร สิ่งที่ Lenovo กำลังทำร่วมกับลูกค้า SMB ของเรา คือการช่วยสนับสนุนให้ SMB ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แทนที่จะมากังวลด้านไอที

คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว

from:https://www.techtalkthai.com/technology-investment-for-smbs-post-covid/

5G Intelligent Connectivity: โอกาสใหม่เพื่อพลิกโฉมการทำ Digital Transformation ด้วย 5G สำหรับธุรกิจองค์กร

ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความพร้อมด้านระบบโครงข่าย 5G สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการสนับสนุนจากภาครัฐ, หน่วยงานกำกับดูแล, กลยุทธ์การลงทุนและการแข่งขันที่เข้มข้นระหว่างเหล่า Mobile Operator ภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยนี้เองได้ทำให้เกิดโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรไทยที่จะได้คว้าโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือบริการในรูปแบบใหม่ๆ บน 5G ได้ก่อนธุรกิจอื่นทั่วโลก และก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านนี้ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ดี การนำ 5G มาใช้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งสำหรับการสร้างสรรค์เทคโนโลยีนั้น ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงแนวโน้มของ Application และ Network Infrastructure ในอนาคตเสียก่อน ว่าจะมีรูปแบบอย่างไร มีคุณสมบัติใด และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพื่อทำลายข้อจำกัดที่มีอยู่เดิมได้บ้าง

ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับสถาปัตยกรรมของ Application แห่งอนาคต ด้วยการผสาน 5G กับการประมวลผล Cloud ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้ระบบเครือข่ายของธุรกิจนั้นกว้างขวางและครอบคลุมได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

Application แห่งอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?

ทุกวันนี้เราอาจคุ้นเคยกับสถาปัตยกรรมของระบบ Application ที่อยู่บน Cloud ซึ่งกำลังกระจายตัวไปอยู่บนบริการที่หลากหลาย ก้าวสู่การเป็น Multi-Cloud กันเป็นหลัก

แต่ในอนาคต Application นั้นจะยิ่งมีการกระจายตัวมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ 5G นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบโครงข่ายที่ให้บริการสัญญาณเชื่อมต่อ Internet เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมด้านการประมวลผลภายในโครงข่ายโดยตรง ซึ่งจะทำให้การรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลนั้นเกิดขึ้นได้แบบกระจายตัวยิ่งขึ้น ด้วย Latency ที่ต่ำลง และสามารถสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากกว่าการใช้งานเพียงแค่ Cloud เช่น

  • Autonomous Vehicle ระบบยานยนต์ไร้คนขับ ที่ต้องการการรับส่งข้อมูลความเร็ว 50Mbps โดยมีการตอบสนองภายใน 1ms เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
  • Public Safety ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 10Mbps สำหรับวิดีโอ และการตอบสนองภายใน 20ms เพื่อให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ
  • AR/VR ระบบความจริงเสมือนที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 1Gbps เพื่อส่ง 3D Content ไปยังผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และมีการตอบสนองภายใน 20ms เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้แก่ผู้ใช้งาน
  • Robot/Automation ระบบหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 1-10Mbps เพื่อส่งข้อมูลจาก Sensor ไปประมวลผล และต้องการการตอบสนองภายใน 1ms เพื่อให้การควบคุมหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรเป็นไปได้อย่าง Real-Time และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยรอบ
  • Telemedicine ระบบพบแพทย์ทางไกล ที่ต้องการการรับส่งข้อมูล 50Mbps สำหรับส่งข้อมูลวิดีโอและเสียงคุณภาพสูงสำหรับการตรวจรักษา และต้องการการตอบสนองภายใน 10ms เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างราบรื่น

จะเห็นได้ว่าจุดร่วมของ Application เหล่านี้ คือการที่มีการใช้งานข้อมูลปริมาณมหาศาลภายในระบบ และต้องการการตอบสนองในแบบ Real-Time ซึ่งที่ผ่านมาถึงแม้ Cloud จะตอบโจทย์ในประเด็นแรกได้ดี แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นหลังได้ครอบคลุมทุกกรณีนัก โดยเฉพาะกรณีที่ต้องมีการตอบสนองไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลจาก Cloud หรือ Data Center

ตัวอย่างเหล่านี้สอดคล้องกับแนวโน้มของ Application แห่งอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่ 3 ทิศทางด้วยกัน ได้แก่

  1. Application Localization การพัฒนา Application เพื่อตอบสนองแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกจริงแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มักจะมีรูปแบบของปัญหาที่เฉพาะตัว ทำให้การพัฒนา Application ในอนาคตนั้นอาจต้องมีการรวบรวมประมวลผลข้อมูลสำหรับแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป และมีการตอบสนองต่อโลกความเป็นจริงที่เหมาะสมต่อแต่ละพื้นที่ด้วย
  2. Distributed Content การสร้าง รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ Content นั้นจะต้องเกิดขึ้นอย่างกระจายตัวยิ่งกว่าเดิม เพราะข้อมูลจาก Sensor, กล้อง และอุปกรณ์อื่นๆ นั้นจะมีปริมาณมหาศาลมากยิ่งขึ้นและมีการติดตั้งใช้งานกระจายตัวในหลายพื้นที่มากยิ่งขึ้น ในขณะที่การตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือความต้องการต่างๆ ด้วยข้อมูลเองก็จะเกิดมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
  3. Critical Data Processing จากเดิมที่ Application มักถูกใช้เพื่อบริหารจัดการหรือตอบสนองต่องานด้านข้อมูลเป็นหลัก ในอนาคตจะเริ่มเกิด Application ที่ต้องการความแม่นยำในการควบคุมมากขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตหรือทรัพย์สินโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นระบบผ่าตัดทางไกล, ยานยนต์ไร้คนขับ

แนวโน้มเหล่านี้ได้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า Cloud เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ต่อ Application แห่งอนาคตได้ และการเติมเต็มให้ Cloud สามารถตอบโจทย์ด้านการกระจายตัวของข้อมูลและการประมวลผลให้ดียิ่งขึ้นได้นั้น ระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่และ 5G คือกุญแจสำคัญ

ระบบเครือข่ายแห่งอนาคต เพื่อรองรับ Application รูปแบบใหม่

หากพิจารณาในมุมของวัตถุประสงค์ในการวางระบบเครือข่ายนั้น สิ่งที่ธุรกิจองค์กรต้องให้ความสำคัญจะแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่

  1. Service การให้บริการระบบเครือข่ายเพื่อรองรับ Application หรือบริการรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยต้องมีทั้งความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนใช้งาน, ความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้โดยยังคงเชื่อมต่อเครือข่ายได้, มีความมั่นคงทนทานและความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย
  2. Data มีการปกป้องข้อมูลให้มั่นคงปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน รวมถึงมีการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน
  3. Environment คำนึงถึงการใช้พลังงานในการเชื่อมต่อเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตอุปกรณ์ที่จะต้องเชื่อมต่อเครือข่ายนั้นจะมีปริมาณมหาศาลกว่าอดีตหรือปัจจุบันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังต้องมีการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำให้ระบบเครือข่ายสามารถใช้งานได้
  4. Social & Economic การวางเครือข่ายให้บริการต่างๆ สามารถถูกเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเป็นสากล และการสร้างผลกระทบเชิงสังคมและเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีที่มากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ในข้อ 1. และ 2. นั้นเป็นสิ่งที่เหล่า IT Manager, Network Engineer และผู้ดูแลระบบ IT นั้นมักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับข้อ 3. และ 4. นั้นถือเป็นวัตถุประสงค์ใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามา ซึ่งการออกแบบระบบเครือข่ายในอนาคตก็ต้องมีการพิจารณาถึงประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติมกันให้ดีด้วย

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ข้างต้น รวมกับความต้องการของระบบ Application ในอนาคตแล้ว ระบบเครือข่ายในอนาคตจึงสามารถจำแนกบทบาทให้กับแต่ละเทคโนโลยีเครือข่ายได้ดังนี้

  • Fixed Network ใช้ Fiber และ LAN เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency ต่ำ สำหรับอุปกรณ์หรือระบบที่ไม่ได้ต้องการเคลื่อนย้ายตำแหน่ง เช่น Data Center, Server, อุปกรณ์ Network/Security
  • Wi-Fi เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency สูงขึ้นกว่า Fixed Network เพื่อแลกกับความง่ายในการเคลื่อนย้ายตำแหน่งของอุปกรณ์ เช่น PC, Notebook, Smartphone, Tablet และอุปกรณ์ IoT บางส่วนในองค์กร
  • 5G Private Network เชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงที่มี Latency ต่ำสำหรับพื้นที่ครอบคลุมขนาดใหญ่ ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร ไปจนถึงพื้นที่บริเวณกว้างระดับเขต จังหวัด หรือภูมิภาค เพื่อรองรับการใช้งาน Smartphone, Tablet, IoT, Robot และระบบอื่นๆ รวมถึงเสริมการประมวลผลภายในเครือข่ายโดยตรงด้วยการใช้ 5G MEC เข้ามาเติมเต็มความสามารถของ Cloud

จากมุมมองดังกล่าว จึงอาจสรุปได้ว่า ภาพรวมของระบบเครือข่ายในอีก 10 ปีนับถัดจากนี้ เทคโนโลยีอย่าง LAN และ Wireless LAN นั้นก็จะยังคงมีบทบาทที่สำคัญอยู่ในฐานะของเทคโนโลยีเครือข่ายหลักสำหรับการวางระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานในภาคธุรกิจองค์กร แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ 5G จะกลายมาเป็นอีกส่วนสำคัญที่เติมเต็มให้กับระบบเครือข่าย เสริมความสามารถใหม่ๆ ที่ระบบเครือข่ายแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้มาก่อน เพื่อรองรับ Application ในรูปแบบใหม่ๆ นั่นเอง

AIS Cloud X: บริการ Sovereign Cloud ที่ครอบคลุมถึง 5G และ Edge อย่างครบวงจร

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการก้าวสู่การพัฒนา Application รูปแบบใหม่แห่งอนาคตนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายส่วน และเป็นการยากที่ธุรกิจองค์กรแต่ละแห่งจะสามารถรวบรวมองค์ประกอบเหล่านี้เข้ามาใช้งานด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้ AIS Business จึงได้ทำการพัฒนาต่อยอดบริการ Cloud ที่มีอยู่เดิมสู่การเป็น AIS Cloud X บริการ Cloud สำหรับธุรกิจองค์กรไทยที่มาพร้อมกับคุณสมบัติที่โดดเด่น ได้แก่

  • การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทั้งหมดในประเทศไทยแบบ 100% เป็น Sovereign Cloud อย่างสมบูรณ์ ช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของธุรกิจจะถูกจัดเก็บดูแลรักษาในประเทศไทย ให้บริการโดยผู้ให้บริการที่อยู่ภายใต้กฏหมายของประเทศไทยและสอดคล้องต่อข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศไทยเป็นอย่างดี
  • การรองรับการใช้งานได้ในแบบ Omni Cloud ที่ผสานรวมทั้ง Multi-Cloud ที่เชื่อมต่อไปยัง Public Cloud ต่างประเทศได้, Sovereign Cloud ของ AIS ในประเทศไทย, MEC และ Edge ในระบบ ทำให้สามารถรองรับการกระจายตัวของข้อมูลและการประมวลผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องการได้ สอดคล้องต่อความต้องการของระบบ Application ในอนาคต
  • การทำงานร่วมกับ AIS 5G และ AIS 5G Private Network ได้เป็นอย่างดี รองรับการออกแบบระบบสำหรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย พัฒนา 5G Application เพื่อการใช้งานภายในองค์กร และการเปิด Digital Service รองรับลูกค้าทั่วประเทศได้ทันที

ทั้งหมดนี้ทำให้ AIS Cloud X เป็นบริการ Cloud ที่กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งกว่า Cloud ในอดีตที่ผ่านมา และสามารถรองรับต่อความต้องการของธุรกิจในการทำ Digital Transformation สำหรับอนาคตได้

AIS 5G NEXTGen Platform: บริหารจัดการ 5G, Edge และ Cloud ได้จากศูนย์กลาง ตอบโจทย์การทำ Digital Transformation แห่งอนาคตได้อย่างครอบคลุม

เพื่อให้การใช้งาน 5G สำหรับภาคธุรกิจองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน AIS Business จึงได้เปิดบริการ AIS 5G NEXTGen Platform ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ธุรกิจจะสามารถเข้าไปทำการบริหารจัดการทรัพยากรของโครงข่าย 5G, Edge Computing และ Multi-Cloud ได้ด้วยตนเองจากศูนย์กลาง

ในการใช้งาน AIS 5G NEXTGen Platform นี้ ธุรกิจองค์กรจะสามารถเลือกจัดสรรการใช้งานทรัพยากรของระบบโครงข่าย 5G เพื่อนำมาสร้างเป็น 5G Private Network ของตนเอง และกำหนดค่าการทำงานต่างๆ อย่างเช่น Bandwidth, Network Latency และคุณสมบัติอื่นๆ ให้สอดคล้องต่อการใช้งานที่ต้องการได้เอง

นอกจากนี้ การเลือกจัดสรรทรัพยากรของ Edge Computing ที่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของเครือข่าย 5G เองก็สามารถทำได้จากระบบนี้เช่นเดียวกัน โดยธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะใช้งาน AIS 5G MEC, Azure Edge หรือ AWS Outpost ที่ AIS Business ให้บริการอยู่ในแต่ละพื้นที่ได้ เพื่อให้สอดคล้องต่อสถาปัตยกรรมของระบบ Cloud ที่มีการใช้งานอยู่เดิมหรือออกแบบขึ้นใหม่

ทั้งนี้เพื่อให้บริการมีความครอบคลุมครบถ้วนมากยิ่งขึ้น AIS 5G NEXTGen Platform ก็ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังบริการ AIS Cloud X และบริการ Public Cloud ชั้นนำอย่างเช่น Microsoft Azure หรือ AWS ได้ เพื่อให้การจัดการสถาปัตยกรรมทั้งหมดสำหรับ Application แห่งอนาคตเกิดขึ้นได้จากศูนย์กลาง ทั้ง 5G, Edge และ Cloud ครบจบในระบบเดียว

นอกเหนือไปจากการให้บริการระบบเพื่อให้ธุรกิจใช้งานเองแล้ว ภายใน AIS 5G NEXTGen Platform นี้ก็จะมีส่วนของ Marketplace และ Ecosystem ด้วย เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนาบริการ cloud ในรูปแบบ SaaS หรือ 5G Application เพื่อมาเปิดให้จำหน่ายบนระบบดังกล่าวทั้งในไทยและในต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน

สนใจใช้งาน AIS 5G NEXTGen Platform, AIS Cloud X และ Solution เพื่อการ Transform องค์กรธุรกิจของท่านสามารถ ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

AIS Business และ CSL พาร์ตเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th

Web : https://business.ais.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/ais-5g-intelligent-connectivity-for-digital-transformation/

Telco Cloud กับบทบาทการยกระดับนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมไทย

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Telco Cloud ซึ่งเทคโนโลยี Cloud สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกันมาบ้างแล้ว แต่ในทุกวันนี้เมื่อเทคโนโลยี Cloud ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว นิยามและขอบเขตความสามารถของ Telco Cloud เองก็ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย 

ในทุกวันนี้ Telco Cloud ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Cloud สำหรับธุรกิจโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่กำลังก้าวสู่การเป็น Cloud Infrastructure สำคัญสำหรับภาคธุรกิจองค์กรในหลากหลายแง่มุม และในบทความนี้เราก็จะพาทุกท่านไปเจาะลึกกับนิยามและความสามารถของ Telco Cloud  

Telco Cloud คืออะไร? 

แรกเริ่มเดิมทีนั้น Telco Cloud หมายถึง สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม ที่จะต้องเปลี่ยนจากการใช้งานอุปกรณ์ในแบบ Appliance-based มาสู่การใช้เทคโนโลยี Virtualization, Container ร่วมกับ Software-Defined Networking (SDN), Virtual Network Function (VNF) และ Network Function Virtualization (NFV) เพื่อปรับสู่ความเป็น Cloud อย่างเต็มตัว เสริมความยืดหยุ่นในการให้บริการ, การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาระบบโครงข่ายในภาพรวมให้กลายเป็นอัตโนมัติ ลดค่าใช้จ่ายของระบบโครงข่ายขนาดใหญ่ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1] [2] 

อย่างไรก็ดี เมื่อ Cloud ได้เข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจองค์กรอย่างรวดเร็ว เหล่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้เริ่มให้บริการ Cloud สำหรับภาคธุรกิจเพิ่มเติมเข้ามาด้วย รวมถึงยังมีการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่เพื่อนำบริการเหล่านั้นเข้ามาให้บริการแก่ลูกค้าของตนเองในแต่ละประเทศ พร้อมเสริมบริการ, ความสามารถและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ต่อยอดจากโครงข่ายที่ตนเองมีอยู่เดิม อย่างเช่นบริการ Internet และระบบสื่อสาร จนกลายเป็น Telco Cloud อีกหนึ่งรูปแบบ 

จนมาในปัจจุบันนี้ เมื่อ Edge Computing กำลังกลายเป็นวาระสำคัญที่จะทำให้ภาคธุรกิจองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมในรูปแบบใหม่ได้ และสามารถปรับนำ 5G มาใช้เสริมศักยภาพของธุรกิจได้อย่างเต็มตัว Telco Cloud จึงได้มีการผสานรวมในส่วนของการให้บริการ Edge Computing เป็นส่วนหนึ่งของ Cloud ด้วยเช่นกัน 

วิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้ถือเป็นแนวทางที่เหล่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลกต่างกำลังปรับตัวและมุ่งไป เพราะในแต่ละประเทศนั้น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็ง มีระบบโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ พร้อมต่อยอดไปให้บริการ Cloud ได้ รวมถึงการมีเสาสัญญาณและจุดกระจายสัญญาณที่กระจายอยู่ทั่วประเทศนั้น ก็เอื้อต่อการให้บริการ Edge Computing ได้เป็นอย่างดี 

ทั้งหมดนี้จะทำให้เห็นได้ว่านิยามของ Telco Cloud นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากเดิมที่เป็นศัพท์เฉพาะทางสำหรับวงการโทรคมนาคม มาสู่การให้บริการ Cloud ในรูปแบบหนึ่งซึ่งธุรกิจองค์กรสามารถจับต้องได้แล้ว 

Telco Cloud จะทำให้เกิดนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ อย่างไร? 

Telco Cloud นั้นจะกลายเป็นรากฐานสำคัญของบริการ Cloud ในรูปแบบใหม่ๆ สำหรับอนาคต ตัวอย่างเช่น 

1. Omnicloud 

Omnicloud คือแนวคิดของการใช้งาน Cloud ที่ผสานรวมทั้ง Public Cloud, Private Cloud, Edge Computing, Local Zone และ MEC โดยมี SD-WAN และ 5G เป็นเทคโนโลยีหลักในการเชื่อมต่อระบบทั้งหมดเหล่านี้เข้าด้วยกัน ทำให้ธุรกิจองค์กรมีอิสระในการเลือกใช้งาน Cloud Infrastructure ที่ต้องการให้เหมาะสมกับ Workload ได้อยู่เสมอ [3] [4] 

Telco Cloud จะสามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะภายใน Telco Cloud เองนั้นมีทุกเทคโนโลยีที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับการก้าวไปสู่วิสัยทัศน์ Omnicloud อยู่แล้ว เหลือเพียงแค่การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ Cloud ภายนอกเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายรายก็มีบริการส่วนนี้ด้วยแล้วเช่นกัน 

2. Industry Cloud 

Industry Cloud คือบริการ Cloud สำหรับอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักมีความสามารถในเชิงลึก และทำงานร่วมกับอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีเฉพาะในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ 

Telco Cloud สามารถถูกนำไปใช้ต่อยอดเพื่อให้บริการ Industry Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในส่วนของการรองรับ Edge Computing และ MEC ในตัวได้เป็นอย่างดี พร้อมบริการเสริมในส่วนของ 5G ทำให้ธุรกิจต่างๆ อย่างเช่น โรงงาน โรงพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้า สามารถใช้ Industry Cloud ที่ทำงานอยู่บนทั้ง Public Cloud, Private Cloud, Edge และ MEC สำหรับรองรับระบบที่แตกต่างกัน โดยระบบที่มีขนาดใหญ่และมีความสามารถโดยทั่วไปนั้นอาจทำงานอยู่บน Public Cloud หรือ Private Cloud ในขณะที่ระบบที่ต้องทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT หรือต้องการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลเพื่อวิเคราะห์ตอบสนองอย่างรวดเร็วเช่น AI นั้นก็อาจถูกนำมาใช้งานอยู่บน Edge หรือ MEC แทน [5] 

ธุรกิจองค์กรไทยจะใช้ประโยชน์จาก Telco Cloud ได้อย่างไรบ้าง? 

ธุรกิจองค์กรไทยนั้นจะได้รับประโยชน์จาก Telco Cloud อย่างเต็มที่ในฐานะของระบบ Cloud Infrastructure ใหม่ที่รองรับ Workload ได้หลากหลายยิ่งขึ้นกว่า Cloud ทั่วไป จากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมไทยอย่างเช่น AIS Business มีโครงข่ายที่เชื่อมโยงทั่วประเทศไทยอยู่แล้ว ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ด้วย Telco Cloud ร่วมกับ 5G หรือการใช้งาน MEC แทนบริการ Cloud ในบางส่วน เป็นต้น 

นอกจากนี้ในการก้าวไปสู่ภาพของ Hybrid Multicloud หรือ Omnicloud การใช้งาน Telco Cloud ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่มักจะมีทั้งบริการ Cloud ของตนเอง และการนำบริการ Cloud ชั้นนำจากทั่วโลกมาเปิดให้บริการในไทย ดังนั้นการใช้ Telco Cloud เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ Cloud อื่นๆ พร้อมการใช้ Edge Computing, MEC และ 5G ร่วมกันไปเลยนั้น ก็อาจตอบโจทย์ของวิสัยทัศน์แห่งอนาคตได้อย่างครบถ้วน 

AIS Cloud X – Cloud Platform อัจฉริยะเพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล 

ระบบนิเวศคลาวด์อัจฉริยะ (Intelligent Cloud Ecosystem) ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการคลาวด์ได้อย่างยืดหยุ่น รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบอย่างไร้รอยต่อ (Flexible Cloud Deployment) ผสานการทำงานกับเครือข่าย 5G, Edge Computing, Multi-Cloud พร้อมแพลตฟอร์ม Cloud Native ที่จะรองรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน ภายใต้แนวคิดการเขียนโค้ดอย่างรวดเร็วตามกฏความปลอดภัย (DevSecOps) และคอนเทนเนอร์ (Container) พร้อมบริการที่ช่วยจัดการข้อมูล ทั้งการจัดเก็บ การประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัย และการใช้งานข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Data Driven Business) ตลอดจนระบบสำรองกู้คืนข้อมูลที่รองรับระบบคลาวด์ที่กระจายตัว (Hybrid Cloud Environment) และข้อมูลแอปพลิเคชันที่อยู่ในรูปแบบ Cloud Native หรือ Container รวมถึงการทำงานร่วมกับ VMware ในการเป็นพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการเก็บข้อมูลในประเทศ 

ภายใน AIS Cloud X จะมี Solutions ที่เปิดให้บริการแล้วดังนี้ 

  • VMware Container as a Service: ให้บริการ VMWare Tanzu เพื่อใช้ Kubernetes สำหรับรองรับ Container และ Opsta Opstella สำหรับให้บริการ DevSecOps เพื่อการพัฒนา Application อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ 
  • Microsoft Azure Arc: ตอบโจทย์การทำ Hybrid Multi-Cloud เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถใช้ Service ของ Azure ได้บน Local Cloud ภายในประเทศไทยได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • Veeam: บริการ Backup & Recovery ที่รองรับการสำรองข้อมูลได้จากหลายแพลตฟอร์ม และหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็น Local หรือ Multi-Cloud รวมถึงยังรองรับการ Backup ระบบ Kubernetes ได้อีกด้วย 

สนใจใช้บริการ AIS Cloud X ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที 

AIS Business พาร์ตเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ 

“Your Trusted Smart Digital Partner” 

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่ 

Email: business@ais.co.th 

Website: https://business.ais.co.th 

ข้อมูลอ้างอิง 

[1] VMware,”What is Telco Cloud?”, From : https://www.vmware.com/topics/glossary/content/telco-cloud.html 

[2] Redhat, “What is telco cloud?”, From: https://www.redhat.com/en/topics/cloud-computing/what-is-telco-cloud 

[3] Nattakon, เชื่อมผสานเครือข่าย ก้าวสู่โลกยุค Omnicloud ด้วยบริการ VMware SD-WAN จาก AIS Business”, From: https://www.techtalkthai.com/go-to-omnicloud-era-with-vmware-sdwan-by-ais-business/ 

[4] Thoughtworks, “Omnicloud”, From: https://www.thoughtworks.com/en-th/insights/decoder/o/omnicloud 

[5] Telco Cloud Services (Asia), 2022, GlobalData 

from:https://www.techtalkthai.com/telco-cloud-and-innovation-upgrades-for-thai-industry/

ทำงานที่บ้านอาจเป็นหมัน! ซิสโก้ เผยพนักงานใช้อุปกรณ์ไม่ลงทะเบียนเสี่ยงโดนมัลแวร์-ข้อมูลรั่วไหล

แม้การทำงานแบบไฮบริดช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่ และช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง แต่การที่พนักงานใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์มการทำงานกลับเพิ่มปัญหาด้านความปลอดภัยให้แก่องค์กรในไทย อ้างอิงผลการศึกษาด้านซีเคียวริตี้ฉบับล่าสุดของซิสโก้

Cisco

จากรายงาน “My Location, My Device: Hybrid work’s new cybersecurity challenge” สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย 6,700 คน จาก 27 ประเทศ รวมถึงบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย 150 คนจากประเทศไทย รายงานดังกล่าวมุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับข้อกังวลใจต่าง ๆ ของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนและเครือข่ายที่อาจไม่ปลอดภัยเพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์มการทำงาน รวมถึงความเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมดังกล่าว

ฮวน ฮวด คู ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ประจำภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า การทำงานแบบไฮบริดกลายเป็นวิถีปฏิบัติที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยบริษัทต่าง ๆ อนุญาตให้พนักงานทำงานได้จากทุกที่ แม้ว่าการทำงานรูปแบบดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่ขณะเดียวกันก็นำไปสู่ปัญหาท้าทายใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพราะแฮกเกอร์จะสามารถพุ่งเป้าโจมตีพนักงานที่อยู่นอกขอบเขตเครือข่ายองค์กร

ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้การทำงานแบบไฮบริดประสบผลสำเร็จในระยะยาว องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องธุรกิจของตน รวมถึงการสร้างระบบตรวจสอบเครือข่าย ผู้ใช้งาน อุปกรณ์ปลายทาง และแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าใช้งานระบบ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกดังกล่าวเพื่อตรวจจับภัยคุกคาม รวมทั้งใช้ข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคามเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายในเครือข่ายองค์กรหรือในระบบคลาวด์

Cisco

การใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนก่อให้เกิดเลเยอร์ใหม่ของปัญหาท้าทายสำหรับบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยจะต้องรับมือกับความยุ่งยากซับซ้อนในสภาพแวดล้อมด้านภัยคุกคามในปัจจุบัน ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยกว่า 6 ใน 10 ระบุว่า ตนเองเคยพบเจอเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และการโจมตี 3 แบบที่พบเจอมากที่สุดได้แก่ มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) และการรั่วไหลของข้อมูล

ในบรรดาองค์กรที่พบเจอเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ 86% ระบุว่า กรณีดังกล่าวสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรอย่างน้อย 100,000 ดอลลาร์ ขณะที่ 50% ระบุมูลค่าความเสียหายอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังพบว่า 89% ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยในไทยระบุว่า เหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีแนวโน้มที่จะทำให้ธุรกิจของตนหยุดชะงักใน 12-24 เดือนข้างหน้า แต่ข่าวดีก็คือ ผู้บริหารเหล่านี้กำลังดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อปกป้ององค์กรให้รอดพ้นจากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ขณะที่องค์กรต่างๆ ตระหนักเป็นอย่างดีถึงปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้น 93% ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยในประเทศไทยคาดว่าองค์กรของตนจะเพิ่มงบประมาณด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้กว่า 10% ในปีหน้า และเกือบทั้งหมด (98%) คาดหมายว่าจะมีการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานไอทีภายในช่วง 12-24 เดือนข้างหน้า

Cisco

สำหรับในประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 9 ใน 10 (92%) ระบุว่า พนักงานของตนใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อล็อกอินเข้าสู่แพลตฟอร์มการทำงาน และราว 68% ระบุว่า พนักงานใช้เวลามากกว่า 10% ต่อวันในการทำงานจากอุปกรณ์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน

ผู้บริหารฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว โดยผู้ตอบแบบสอบถามในไทย 94% กล่าวว่า การล็อกอินผ่านระบบรีโมทสำหรับการทำงานแบบไฮบริดทำให้มีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นที่จะเกิดเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

สถานการณ์นี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อพนักงานล็อกอินเข้าสู่ระบบการทำงานจากหลาย ๆ เครือข่าย เช่น ที่บ้าน ร้านกาแฟใกล้บ้าน และแม้กระทั่งซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยประมาณ 91% กล่าวว่า พนักงานของตนใช้อย่างน้อย 2 เครือข่ายสำหรับการล็อกอินเข้าทำงาน ขณะที่ 28% ระบุว่า พนักงานของตนใช้มากกว่า 5 เครือข่าย

ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและเมียนมาร์ กล่าวว่า ในโลกของ Digital-first ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อระบบไอทีแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน การดำเนินงาน องค์กร และซัพพลายเชนอีกด้วย เนื่องจากการทำงานแบบไฮบริดจะยังคงอยู่ต่อไป ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ของไทยจะต้องทบทวนกลยุทธ์โดยรวมทางด้านไอทีและการรักษาความปลอดภัย เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับทุกส่วนของธุรกิจ ตั้งแต่เครือข่ายไปจนถึงอุปกรณ์ปลายทางและระบบคลาวด์ แนวทาง 5 ด้านของซิสโก้ในการสร้างความยืดหยุ่นด้านความปลอดภัยจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ในไทยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันก็มอบความยืดหยุ่นและทางเลือกให้กับพนักงานในการทำงานและเชื่อมต่อได้จากทุกที่

Cisco

from:https://www.thumbsup.in.th/work-from-home-cisco?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=work-from-home-cisco