คลังเก็บป้ายกำกับ: GUEST_POSTS

พลิกมุมคิดการจัดการคลาวด์ไอทีอย่างสมาร์ตฉบับวีเอ็มแวร์ [Guest Post]

แม้คลาวด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการพาองค์กรก้าวข้ามวิกฤตไปสู่การสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจหรือกลยุทธ์การแข่งขันใหม่ ด้วยคุณลักษณะที่คล่องตัว (Agility) ในการปรับความต้องการใช้งานโดยอัตโนมัติ (Auto-Scaling) ได้ด้วยตัวเอง (Self-Services) ทว่าหลายองค์กรซึ่งเลือกปฏิวัติระบบธุรกิจขึ้นสู่คลาวด์กลับประสบปัญหาการจัดการทรัพยากรที่ยิบย่อยบนคลาวด์ไม่ไหว แถมหัวจะปวดกับภัยคุกคามที่ยุ่งยากในการป้องกัน ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังต่อไอทีคลาวด์ยุคถัดไป คือ การปรับแต่งแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มคลาวด์ไอทีให้ทันสมัยตรงต่อความต้องการทางธุรกิจ ภายใต้ระบบการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมที่แข็งแกร่ง ทั่วถึง และเป็นอัตโนมัติกว่าเดิม

ปลายทางที่มัลติคลาวด์

Could Trust มูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) ซึ่งรวมกลุ่มโอเพ่นซอร์สในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์เนทีฟ ชี้เป้าให้ “มัลติคลาวด์” เป็นหนึ่งในเครื่องมือมาตรฐานกลางชิ้นสำคัญสำหรับพัฒนาอินฟราสตรัคเจอร์ หรือซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันยุคใหม่ให้สามารถทำงานกับคลาวด์ได้หลายประเภท อาทิ vSphere โดยวีเอ็มแวร์ ไมโครซอฟท์อาซัวร์ เอดับบลิวเอส กูเกิล คลาวด์ ตลอดจนคลาวด์เนทีฟอื่น ๆ ด้วยมุมมองเชิงกลยุทธ์การลงทุนที่เปลี่ยนจากการเลือกใช้งานคลาวด์เป็นอันดับแรก มาเป็นการจัดกลุ่มแอปพลิเคชันที่จำเป็นใช้งานในองค์กรเสียก่อน จากนั้น จึงพิจารณาว่าจะโยกย้ายขึ้นสู่คลาวด์ประเภทไหนตามความเหมาะสม เช่น แอปพลิเคชันตัวไหนควรเป็นออนเพรม ตัวไหนที่น่าจะย้ายขึ้นบริการคลาวด์สาธารณะ อย่างไหนควรเขียนใหม่ทั้งหมดให้ใช้งานบนคลาวด์แบบเต็มตัว หรือคงไว้เหมือนเดิมเพราะไม่กระทบต่อธุรกิจมากพอให้ต้องเปลี่ยน เป็นต้น เพราะถ้าองค์กรวางแผนการใช้งานคลาวด์ได้ไม่ดี จะกลับกลายเป็นทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น อีกทั้งมาตรฐานของเครื่องมือที่เลือกใช้ต่างกันจะทำให้การจัดการยิ่งยุ่งเหยิง

แพลตฟอร์ม เอ็นจิเนียริ่งกับการพัฒนาแอปฯ ยุคใหม่

ในอดีต กรอบการพัฒนาแอปพลิเคชันถูกเขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์งานหน้าบ้าน หลังบ้าน และการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในโลกของคลาวด์ แอปพลิเคชันถูกสร้างให้อยู่ในรูปแบบไมโครเซอร์วิส หรือแพลตฟอร์มให้ตรงโจทย์ทางธุรกิจมากขึ้น เกิดการใช้งานแบบไร้เซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์อินฟราสตรัคเจอร์รูปแบบต่าง ๆ เกิดการตั้งศูนย์ข้อมูลหลายจุดเพื่อกระจายการทำงาน เริ่มนำแอปพลิเคชันไปวางใกล้ ๆ กับแหล่งต้นทางของข้อมูล เช่น เทคโนโลยีเอดจ์ เป็นต้น ซึ่งคลาวด์แต่ละแบรนด์ก็มีแนวทางการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่ต่างกัน แพลตฟอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง (Platform Engineering) จึงเป็นสิ่งที่มาขยายมุมคิดของ DevOps หรือ DevSecOps ของการพัฒนาแอปฯ หรือแพลตฟอร์มที่เดิมเป็นแค่ทูลตัวหนึ่งให้กลายเป็นเสมือนผลิตภัณฑ์ที่ต้องพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมนักพัฒนา ทีมปฏิบัติงานด้านไอที ทีมเน็ตเวิร์ค และซีเคียวริตี้  ข้อดี คือ ลดการใช้เครื่องมือในการพัฒนาที่ต่างกันไปแต่ละทีมมาเป็นการมองหาแพลตฟอร์มกลางเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาจากทุกทีม มีทีมพัฒนากลางที่เดินไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้การออกแบบและสร้างแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มเพียงครั้งเดียวแต่สามารถรันบนอินฟราสตรัคเจอร์ได้ทุกที่เพื่อลดภาระงาน เกิดระบบล่มแต่น้อย ทั้งยังขยายระบบหรือเขียนบริการธุรกิจใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ถ้าเจอปัญหาเร็ว แก้ไขไวและถูกจุด ซึ่งนอกจากจะทำให้การบริหารงานด้านไอทีดีขึ้น ยังทำให้องค์กรสามารถแตะถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

ความปลอดภัยแบบซีโร่ทรัสต์

แม้การโจมตีในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปหลากหลายรูปแบบ แต่เป้าหมายยังเป็นเรื่องเดิมคือ การขโมยสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Credentials) เพื่อเจาะเข้าสู่ระบบและขโมยข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งแรนซั่มแวร์ที่เก่ง ๆ บางตัวอาจจะเข้า-ออก หรือฝังตัวในระบบไอทีนานนับปีก่อนแผลงฤทธิ์โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งวีเอ็มแวร์ได้ให้กรอบความปลอดภัยแบบซีโร่ทรัสต์ (Zero Trust) โดยมี “ข้อมูล” เป็นแกนกลาง และมองความเชื่อมโยงเรื่องความไว้วางใจลงไปสู่ระบบไอทีในลำดับชั้นต่าง ๆ อาทิ ผู้ใช้งานปลายทาง (User Trust) อุปกรณ์ (Device Trust) แอปพลิเคชัน (Application Trust) เน็ตเวิร์ค (Network Trust) ตัวอย่างเช่น

Endpoint Trust / Device Trust ในช่วงวิกฤตโควิด เราพบว่า หลายองค์กรประสบปัญหาอย่างมากจากการถูกขโมยครีเดนเชียลในการยืนยันตัวตนผ่านการใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง วีเอ็มแวร์บอกกับเราว่า ทุก 11 วินาทีจะมีองค์กรทั่วโลกตกเป็นเหยื่อของสแปมและฟิชชิ่ง 59% เจอภัยคุกคามแบบสองเด้ง (Double Extortion) คือ ไฟล์ถูกล็อครหัสให้เข้าถึงไม่ได้หนำซ้ำยังดึงข้อมูลออกไปปล่อยในเว็บมืด แถมปล่อยดี-ดอสตามมารบกวนให้ระบบไม่ปกติ และ 77% มาจากการโจมตีผ่านช่องทางเชื่อมต่อของแอปพลิเคชันต่าง ๆ (Application Programming Interface-API) ทั้งบนออนเพรม คลาวด์สาธารณะ หรือ ไฮบริดคลาวด์ ซึ่งตรงเข้าสู่ดาต้าเซ็นเตอร์ได้ไม่ต้องผ่านไอพีสาธารณะ (Public IP) และไม่ต้องยืนยันตัวตน ซึ่งทำให้อาชญากรไซเบอร์สามารถแทรกตัวผ่านรอยรั่วของข้อต่อนี้เข้าไปถึงซิสเต็มส์และข้อมูลเชิงลึกขององค์กรได้เลย

Application Trust เป็นจุดที่ควรแก่การวางระบบความปลอดภัยทั้งซัพพลายเชนลงถึงระดับโปรดักชัน เช่น การเขียนโค้ดดิ้ง การทำเฟรมเวิร์ค การสแกนโค้ด การเลือกใช้โค้ดโปรแกมต้นทางที่ควรมีเทมเพลตเรื่องความปลอดภัยติดมาด้วย เพราะ หนึ่ง แอปฯ ที่พัฒนาบนคลาวด์มีทั้งที่เขียนโค้ดขึ้นเองเป็นเนทีฟ และใช้โอเพ่นซอร์ส หากซัพพลายเออร์หรือโอเพ่นซอร์สที่หยิบมามีช่องโหว่ ก็จะสร้างความน่าสะพรึงยิ่งกว่าแอปพลิเคชันที่เขียนขึ้นเอง สอง นักพัฒนาไม่ควรมองข้ามช่องโหว่ความปลอดภัยที่เกิดขึ้นขณะเขียนโค้ด จังหวะโยนเข้าอิมเมจ นำไปทดลองปฏิบัติ หรือเชื่อมต่อกับคนอื่น ถ้าระบบความปลอดภัยถูกเจาะตั้งแต่ตรงนี้ก็จะกลายเป็นจุดบอดเล็ก ๆ ที่ซ่อนอยู่ในโค้ดโปรแกรมต้นทางหรือไลเบอรี่ต่าง ๆ ในระดับคอนเทนเนอร์ และกลายเป็นช่องโหว่ที่ใหญ่ขึ้นเมื่อคอนเทนเนอร์โตขึ้นเมื่อเกิดการใช้งานแอปพลิเคชันจากทั้งยูสเซอร์ไปคลาวด์ ลูกค้าไปคลาวด์ คลาวด์สู่คลาวด์ หรือคลาวด์ในตัวมันเอง เพราะต้องไม่ลืมว่าการใช้งานคลาวด์ จุดเชื่อมต่อไม่ได้อยู่แค่ช่องจราจรบนเน็ตเวิร์ค แต่ยังหมายถึงเอพีไอที่กล่าวถึงข้างต้น รวมถึงคูเบอร์เนเตสที่ต้องถูกอัพเดทแก้ไขเมื่อถูกส่งขึ้นไปดูแลคอนเทนเนอร์ต่าง ๆ

Network Trust ที่แตกออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับการจัดการอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ  และระดับความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องเวอร์ช่วลไลเซชันบนเน็ตเวิร์คที่ต้องมีการกำหนดกรอบการทำงานให้ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่การป้องกันข้อมูลรั่วไหล ความปลอดภัยในการขนถ่ายข้อมูลบนเวอร์ช่วลแมชชีน คอนเทนเนอร์ การป้องกันการแฝงตัวเข้ามาทางเอพีไอ โดยมีเอไอมาช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมและรูปแบบของแอปพลิเคชันแต่ละตัว (App Behavior) และแยกแยะปัญหาให้แน่ใจว่า เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ หรือเน็ตเวิร์คล่มเพราะตั้งค่าการทำงานที่ผิดพลาด เป็นต้น ซึ่ง SD-Wan (Software-definded Wide-area Network) ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยการจัดการเน็ตเวิร์ค ขณะที่เทคโนโลยีพื้นฐานอย่างไฟร์วอลล์ หรือแอนตี้ไวรัสยังคงอยู่แต่ต้องปรับเปลี่ยนให้รองรับสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น สร้างระบบตรวจจับและตอบสนองการบุกรุกทั้งกับเครื่องเอนด์พอยต์ (EDR) และเน็ตเวิร์ค (NDR) ต่อทุกภาระงานที่วิ่งเข้ามาสู่รระบบผ่านไฟร์วอลล์หลายชั้นสักหน่อย หรือการคัดกรองเส้นทางจราจรที่ผิดปกติ (Network Traffic Analysis) เพื่อตรวจจับยูสเซอร์ที่มีการใช้งานและการเคลื่อนไหวแปลก ๆ  เช่น เครื่องตัวเองติดไวรัสแล้วพยายามแฮ็คไปหาเครื่องอื่นในระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจนเกินควบคุม หากโชคร้ายเจาะเข้าสู่ระบบได้ ก็ต้องมีการตอบสนองและแก้ไขอย่างรวดเร็ว

ครบทุกการจัดการจากวีเอ็มแวร์

วีเอ็มแวร์เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผันตัวจากการยกระดับจาก vSphere ฉบับเวอร์ช่วลไลเซชันในการจัดการงานออนเพรมหรือคลาวด์ส่วนตัว ไปสู่มัลติคลาวด์เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในมุมของการพัฒนาได้ทั้ง “แอปพลิเคชัน” และ “แพลตฟอร์ม”  โดย VMware Tanzu จะช่วยให้แอปพลิเคชันสมัยใหม่ (App Modernization) สามารถทำงานบนมัลติคลาวด์ หรือคลาวด์อินฟราตรัคเจอร์ได้หลายแบบ สามารถย่อ-ขยายหรือเพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ออกสู่ตลาดในเวลาที่รวดเร็ว ที่สำคัญคือ การทำ High Availability (HA) ที่ช่วยลดปัญหาการหยุดชะงักของระบบ รวมถึงเพิ่มระบบความปลอดภัยจากการใช้งานคลาวด์ที่กระจายออกไปหลายจุดให้อยู่ในมุมมองที่องค์กรจัดการ ทั้งการช่วยตรวจสอบและจัดหาโอเพ่นซอร์สที่ปลอดภัยมาใช้ในระบบ รวมถึงมีเครื่องมือช่วยสร้างมาตรฐานของการเขียนโค้ดและส่งโค้ดขึ้นสู่คอนเทนเนอร์ได้มีประสิทธิภาพโดยใช้ทีมงานน้อยที่สุด

VMware NSX ที่มาช่วยจัดการความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์คแบบครบเครื่องร่วมกับเทคโนโลยีเอไอในการตรวจจับคัดกรองพฤติกรรมน่าสงสัยที่เกิดกับอุปกรณ์ปลายทาง เวอร์ช่วลแมชชีน เน็ตเวิร์ค แอปพลิเคชัน คอนเทนเนอร์ หรือภาระงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและเสริมความปลอดภัยให้กับระบบเวอร์ช่วลไลเซชัน

VMware Carbon Black เพิ่มมุมมองความปลอดภัยเชิงลึกในระดับ XDR ให้กับเอนด์พอยต์และเน็ตเวิร์คอีกชั้นหนึ่ง เพื่อการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามที่รวดเร็ว โดยการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติตลอดเวลาแทนการสกัดภัยคุกคามเป็นช่วงเวลาเนื่องจากแรนซั่มแวร์ไม่มีรูปแบบการโจมตีที่แน่นอน การวิเคราะห์จุดเกิดเหตุ แยกแยะรูปพรรณสัณฐานของภัยคุกคามเพื่อกำหนดนิยาม ความเสี่ยง และช่องโหว่ที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูล ระบบปฏิบัติการ ปริมาณงาน แอปพลิเคชันจากอุปกรณ์ใช้งานปลายทาง ตลอดจนสอบทานว่า ไอพีเครื่องใดมีแอปพลิเคชันที่ไม่มีประโยชน์ก็สามารถสกัดการใช้งานได้ทันที ด้วยฟังก์ชัน Agent & Console รวมถึง Threat Intelligence ซึ่งช่วยให้เอไอฉลาดขึ้นในการป้องกันมัลแวร์ การวิเคราะห์พฤติกรรมของซิกเนเจอร์ต่าง ๆ ที่เข้ามาโดยที่ระบบไม่รู้จักมาก่อน เพื่อสกัดกั้นหรือหยุดยั้งได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์ Vmware เพิ่มเติมติดต่อ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด

เบอร์โทรศัพท์ : 02 353 8600 ต่อ 3210 หรือ 8432

e-mail: yitmkt@yipintsoi.com

#Yipintsoi #VMware #Tanzu #NSX #CarbonBlack #Cloud #Security

from:https://www.techtalkthai.com/smart-cloud-manage-with-vmware-by-yip-in-tsoi/

Advertisement

เสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยในที่ทำงานด้วยบริการไอทีฉลาดล้ำกว่าเคย

บทความโดย คุณธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคอินโดจีน เลอโนโว

ด้วยรูปแบบการทำงานแบบไฮบริดและยืดหยุ่นในองค์กรหลายแห่ง บริษัทหลายแห่งต่างกำลังพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังและลำดับความสำคัญของพนักงาน ฝั่งทีมไอทีเองก็ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการจากทางไกลในระดับสูงเพื่อสนับสนุนให้พนักงานยังคงสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง การทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น บริษัทจะต้องสร้างระบบไอทีที่แข็งแกร่งทนทานยิ่งขึ้นพร้อมกับคงไว้ซึ่งแนวทางใหม่ในการทำงาน 

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือ สภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดในทุกวันนี้ทำให้การจัดการจากระยะไกลนั้นซับซ้อนยุ่งยาก ระบบการจัดการทรัพยากรรุ่นเก่ายิ่งทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีจัดการงานและภัยคุกคามเชิงรุกได้ยากกว่าเดิม ข่าวดีคือ เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นพร้อมกับบริการด้านไอทีที่เข้ามารองรับด้วย โดยการนำกลยุทธ์บริการไอทีอันชาญฉลาดขึ้นมาใช้เพื่อช่วยทีมไอทีของคุณเปลี่ยนจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเชิงตั้งรับไปสู่การวางแผนและการจัดการงานเชิงรุกนั้น ควรดำเนินการตามแนวทาง 3 วิธี ดังนี้

1. เสริมความมั่นคงปลอดภัยเชิงรุกด้วยการแก้ปัญหาก่อนเกิดการละเมิดข้อมูล

ความมั่นคงปลอดภัยจัดเป็นความท้าทายที่ใช้เวลาจัดการนานสูงสุดเป็นอันดับ 1 สำหรับแผนกไอที และจะยังคงเป็นเรื่องที่ทีมไอทีคำนึงถึงเป็นอันดับต้น เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูลยังคงเป็นภัยสำหรับธุรกิจทุกขนาด จากผลสำรวจโดย Lenovo พบว่า CIO 66% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในผลสำรวจนี้ ระบุว่า ความเป็นส่วนตัว/ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์/แรนซัมแวร์เป็นความท้าทายสำคัญของการทำงาน หนึ่งในคำถามที่มักถูกถามบ่อยเมื่อบริษัทสั่งซื้อฮาร์ดแวร์ใหม่สำหรับพนักงานที่ทำงานจากทางไกลคือ “จำเป็นต้องทำอะไรบ้างเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยและจัดการกับฮาร์ดแวร์เหล่านั้น”

ความจริงคือความซับซ้อนของอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) เป็นความเสี่ยงที่รุนแรง เมื่อพนักงานหันมาทำงานแบบไฮบริดกันมากขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด จึงกลับกลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งสำหรับเหล่าผู้ดูแลระบบไอทีที่จะติดตามและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของทุกอุปกรณ์และแอปพลิเคชันที่เคยใช้ในที่ทำงานหรือจากทางไกลมายังเครือข่ายขององค์กร

แม้เป็นงานที่ยากเย็น แต่สิ่งหนึ่งที่ทีมไอทีสามารถพร้อมตั้งรับได้ทันทีคือการปกป้องอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint protection) และการมีเครื่องมือการจัดการที่อาศัยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่าง AI และระบบเรียนรู้ (Machine learning) ในการตรวจจับ ป้องกันโดยอัตโนมัติ และแม้แต่รักษาตัวเองจากการโจมตีแบบ Zero-day (Zero-day attack) ก่อนเกิดเหตุ อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ รวมถึงโซลูชันซอฟต์แวร์อันชาญฉลาดขึ้นที่สามารถวินิจฉัยปัญหาไอทีด้วยตัวเองและเตรียมการล่วงหน้าได้นั้น ยังสามารถช่วยธุรกิจขนาดเล็กที่โดยปกติแล้วไม่มีทีมสนับสนุนด้าน IT ที่แข็งแกร่ง ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในตัวบนห่วงโซอุปทานเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยก่อนเกิดเหตุ จึงควรศึกษาการใช้บริการไอทีและซอฟต์แวร์แบบผสมผสานกันที่เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนทุกอุปกรณ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตผ่านห่วงโซ่อุปทานไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง ตลอดจนสิ้นอายุการใช้งานเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนอุปกรณ์นั้น

การปกป้องอุปกรณ์ปลายทางและเครื่องมือการจัดการที่ทันสมัยในทุกวันนี้สามารถกำหนดให้จำกัดการเชื่อมต่อได้ตามพื้นที่ (Geo fencing) เพื่อปิดการใช้งานอุปกรณ์ที่ออกไปนอกพื้นที่ที่กำหนด ล็อกอุปกรณ์ด้วยการเข้ารหัสที่มั่นคงปลอดภัย หรือแม้แต่ลบข้อมูลฮาร์ดไดรฟ์ที่ถูกโจมตีจากระยะไกล

2. อัปเดตการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยอัตโนมัติ เพื่อลดภาระพนักงานและรักษาความมั่นคงปลอดภัย

ด้วยข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์เชื่อมต่อบนเครือข่ายมากขึ้นและการใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่อย่าง AI และระบบเรียนรู้ ทำให้ทีมผู้ดูแลระบบไอทีสามารถเริ่มคาดการณ์ความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์ได้ล่วงหน้า ปิดช่องโหว่ความมั่นคงปลอดภัยบนซอฟต์แวร์รุ่นเก่า พร้อมตรวจจับและรับมือกับการโจมตีมัลแวร์

เครื่องมือการจัดการอุปกรณ์ปลายทางขั้นสูงมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมผู้ดูแลระบบไอทีในการจัดการชุดอุปกรณ์ และลดแรงงานคนด้วยการอัปเดตอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ ปัจจุบันนี้ชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถอัปเดตได้เพียงแค่กดปุ่มโดยแทบไม่ต้องคอยเฝ้าสังเกตการณ์ ช่วยให้ทีมไอทีมีเวลาผันตัวออกจากงานปฏิบัติการประจำซ้ำเดิม แล้วหันไปทุ่มเทความสนใจส่วนใหญ่กับแนวคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์อื่น ๆ ได้มากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า

3. เลือกบริการที่เสริมการทำงานของพนักงานไอทีให้ชาญฉลาดขึ้น ไม่ใช่หนักขึ้น

ปัจจุบันพนักงานไม่พึงพอใจกับการเข้าถึงแบบรวมศูนย์แบบเดิม ๆ เฉกเช่นที่เคยเข้าถึงทีมไอทีในสำนักงานได้อีกต่อไป ฝั่งทีมไอทีเองก็ไม่ได้รับประโยชน์จากประสิทธิภาพการทำงานหน้างานเหมือนแต่ก่อน พนักงานฝ่ายสนับสนุนก็ต้องทำงานอย่างหนักในการจัดการงานจากทางไกลควบคู่กับการปรับใช้แนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลรูปแบบใหม่ การมีทรัพยากรไอทีพร้อมใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาและสนับสนุนทีมผู้ดูแลระบบหลักให้มากขึ้นนั้นจึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันภาวะหมดไฟของพนักงาน

ดังนั้น จึงควรพิจารณาจ้างฝ่ายสนับสนุนด้านไอทีจากภายนอกและเลือกใช้บริการจัดการ (Managed services) เพื่อเพิ่มการใช้ทรัพยากรขององค์กรกับกิจกรรมที่เสริมคุณค่า เช่น การออกแบบเทคโนโลยีภายในองค์กรให้พร้อมรองรับอนาคต การรับมือภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยเชิงรุก และการขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้า ซึ่ง Lenovo TruScale พร้อมส่งมอบโซลูชันในรูปแบบ As-a-service ตั้งแต่อุปกรณ์พกพาจนถึงคลาวด์ ด้วยโมเดลธุรกิจที่ปรับขยายได้และยืดหยุ่นให้พร้อมรองรับองค์กรทุกขนาด และด้วยบริการอย่าง High Performance Computing (HPC) as-a-service ธุรกิจต่าง ๆ ก็สามารถใช้ทรัพยากรการประมวลผลเพื่อตอบสนองความต้องการตามปริมาณงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเปิดโอกาสให้พนักงานมีเวลาไปปฏิบัติงานที่สำคัญกว่า

ปัญหาด้านเทคนิคของพนักงานไม่เพียงแต่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วขึ้นด้วยการมีโครงสร้างการสนับสนุนทางเทคนิคที่เสริมเข้ามา แต่การจ้างบุคลากรภายนอกมาจัดการงานที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก อย่างการติดตั้งและการขึ้นระบบนั้น ยังเสริมประสบการณ์ของผู้ใช้ทางไกลด้วย เมื่อทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญบริการไอทีจากภายนอกแล้ว บริษัทก็ได้รับการบริการซ่อมแซมอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็วตามข้อตกลงการให้บริการ และสามารถคาดการณ์ค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้บริการและฮาร์ดแวร์ผ่านสัญญาข้อตกลงบริการ Device-as-a-Service (DaaS)

บทเรียนสำคัญ

ด้วยกลยุทธ์บริการด้านไอทีที่ครอบคลุมนี้เอง ทีมไอทีในองค์กรก็สามารถสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้การดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริการไอทีจากการจ้างภายนอกในทุกวันนี้มีการขยายขอบเขตออกไปนอกเหนือจากเพียงแค่การจัดการงานซ่อมแซมและการสนับสนุนเชิงเทคนิค การร่วมเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการด้านไอทีสามารถสร้างผลประโยชน์ได้อย่างแท้จริงในการช่วยแก้ปัญหาได้เร็วกว่าเดิมและสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นที่รองรับการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ขององค์กรคุณ

from:https://www.techtalkthai.com/shaping-stronger-workplace-security-with-smarter-it-services/

Adobe Summit 2023: ขับเคลื่อนการเติบโตด้วย “ประสบการณ์” [Guest Post]

• อะโดบีเปิดตัวนวัตกรรมมากมายสำหรับ Adobe Experience Cloud โดยเน้นบริการใหม่ด้าน generative AI, personalization, การจัดการด้านคอนเทนต์ และการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงโซลูชั่น Content Supply Chain ที่ครบวงจรเป็นครั้งแรกของโลก

• ปัจจุบันบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 ใช้ Adobe Experience Cloud ถึง 87% รวมถึงแบรนด์ B2B ชั้นนำและยังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงบริการด้านสุขภาพและบริการด้านการเงิน

• การประชุมสุดยอดประจำปีกลับมาอีกครั้งพร้อมกับผู้นำในอุตสาหกรรมและบุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆ ได้แก่ ดร. ลิซ่า ซู ประธานและซีอีโอของ AMD, เดฟ ริคส์ ซีอีโอของ Eli Lilly, มาร์คัส อีสต์ EVP และ CDO ของ T-Mobile, ซูซาน ซอเมอร์ซิล จอห์นสัน CMO ของ Prudential Financial, แอรอน ซอร์กิ้น นักเขียนบทและผู้กำกับ, ทิก โนทาโร นักแสดงและนักแสดงตลก, เพย์ตัน แมนนิงและดามาร์ แฮมลิน นักกีฬา NFL

Adobe President of Digital Experience Anil Chakravarthy welcomes 10,000 digital marketers to Adobe Summit, where the company unveiled innovations across Adobe Experience Cloud on Tuesday, March 21, 2023, in Las Vegas. (David Becker/AP Images for Adobe)

ลาสเวกัส — 23 มีนาคม 2023 — อะโดบี (Nasdaq:ADBE) ได้เปิดงาน Adobe Summit 2023- งานประชุมด้านประสบการณ์ดิจิทัล (Digital Experience) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้เปิดตัวนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Adobe Experience Cloud ซึ่งเป็นโซลูชั่นชั้นนำของโลกในด้านการจัดการประสบการณ์ลูกค้า และ Adobe Creative Cloud แพลตฟอร์มชั้นนำของโลกในด้านการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ พร้อมเสริมศักยภาพให้แบรนด์ต่างๆ ขับเคลื่อนการเติบโตด้วยการสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม

เมื่อคอนเทนต์กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของประสบการณ์ดิจิทัลแบบ next-generation นวัตกรรมของอะโดบีจึงได้เชื่อมต่อกับ Experience Cloud และ Creative Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง การส่งมอบและการวัดผลคอนเทนต์ ที่งานประชุมสุดยอดประจำปี Adobe Summit ครั้งนี้ อะโดบีได้เปิดตัวบริการใหม่ Adobe Sensei GenAI รวมถึง Adobe Firefly – บริการตระกูลใหม่ของโมเดลครีเอทีฟ generative AI ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างรูปภาพ และเอฟเฟกต์ข้อความ รวมถึงนวัตกรรม generative AI ใหม่ใน Adobe Experience Cloud เพื่อขับเคลื่อนเวิร์กโฟลว์การตลาดแบบ end-to-end นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปิดตัวเครื่องมือตัวใหม่ Adobe Product Analytics และโซลูชั่นด้านการจัดการคอนเทนต์ เพื่อช่วยให้นักการตลาดสามารถแก้ไขเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันบนมือถือได้ด้วยตนเอง

เพื่อเพิ่มความเร็วและทำให้ความคิดสร้างสรรค์กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ในองค์กรก็ทำได้ อะโดบีเปิดตัว Adobe Express for Enterprise ที่ช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงคอนเทนต์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะมีทักษะด้านครีเอทีฟมากหรือน้อยก็ตาม นอกจากนี้ อะโดบียังเปิดตัวโซลูชั่น Content Supply Chain ที่ครบวงจรเป็นครั้งแรกของโลก ผ่านนวัตกรรม Creative Cloud และ Experience Cloud ที่เชื่อมต่อเครื่องมือยอดนิยมในการวางแผน การสร้าง การตรวจสอบ และเผยแพร่งานสร้างสรรค์เพื่อให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการด้านคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง  

on Tuesday, March 21, 2023, in Las Vegas. (David Becker/AP Images for Adobe)

อนิล จักราวาธี ประธานฝ่ายธุรกิจด้านประสบการณ์ดิจิทัลของอะโดบี กล่าวว่า “ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเติบโตอย่างมีกำไรจะมาจากการเชื่อมโยงประสบการณ์ลูกค้าที่สมบูรณ์ นวัตกรรม Adobe Experience Cloud ล่าสุดของเราเชื่อมต่อการสร้างและการจัดการประสบการณ์ของลูกค้าแบบไม่เหมือนใคร ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถปรับสเกล รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และทำ personalize ประสบการณ์ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุก surface รวมถึงทำให้ธุรกิจเติบโตด้วยประสบการณ์อย่างยั่งยืน”

โมเมนตัมของอุตสาหกรรม

Adobe Experience Cloud เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำของวงการในด้านการส่งมอบ วัดผล และ personalize ประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งขณะนี้มีลูกค้ากว่า 12,000 ราย รวมถึงบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 100 ถึง 87% และบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ถึง 74% ด้วยการสนับสนุนจากสมาชิกในอีโคซิสเต็มทั่วโลก 4,000 ราย และพาร์ทเนอร์ของแพลตฟอร์ม Adobe Experience 450 ราย โดย Adobe Experience Cloud ได้สร้างโซลูชั่นเพื่อช่วยแก้ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรม ทำให้มีการตอบรับและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากหลากหลายอุตสาหกรรม

ในอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์, CVS Health, Elevance Health และ UnitedHealth Group เป็นบริษัทกลุ่มล่าสุดที่นำ Adobe Experience Cloud for Healthcare มาใช้เพื่อมอบประสบการณ์ที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และช่วยให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง

อะโดบียังได้ช่วยธุรกิจ B2B มากขึ้น โดยการทำการตลาดแบบ personalization ในอุตสาหกรรม B2B ชั้นนำเช่น Amazon Web Services, Cisco, IBM, Microsoft, Qualcomm และ Splunk

ในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้ Adobe Experience Cloud มากขึ้นเพื่อสนับสนุนประสบการณ์ personalization Adobe’s Real-Time Customer Data Platform (Real-Time CDP) ของอะโดบี ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เช่น Bank of America, Fidelity Investments, Morgan Stanley, U.S. Bank และ Wells Fargo มั่นใจได้ว่าลูกค้าของพวกเขาสามารถบริหารจัดการเป้าหมายการเงินของตนเองได้อย่างเหมาะสมโดยได้รับข้อมูลและข้อเสนอที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และทันเวลา

นวัตกรรม Generative AI

บริการใหม่ Adobe Sensei GenAI ใน Adobe Experience Cloud จะนิยามวิธีที่องค์กรนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าในแบบใหม่ บริการนี้จะรวมอยู่ใน Adobe Experience Cloud ในฐานะคู่หูคู่คิด (co-pilot) ของนักการตลาดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมการควบคุมเชิงสร้างสรรค์เต็มรูปแบบและความสามารถด้านการกำกับดูแลที่เชื่อถือได้  Sensei GenAI จะใช้ประโยชน์จากโมเดลภาษาขนาดใหญ่หลายตัว (LLM) รวมถึง Microsoft Azure, OpenAI และ FLAN-T5 ภายใน Adobe Experience Platform ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจ

นอกจากนี้ อะโดบียังเปิดตัว Adobe Firefly ซึ่งเป็นบริการตระกูลใหม่ของอะโดบีที่เป็นโมเดล creative generative AI โดยจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างภาพและเอฟเฟกต์ข้อความก่อน ซึ่งจะรวมเข้ากับ Adobe Experience Cloud สำหรับธุรกิจเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ออกแบบมาให้ปลอดภัยสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ Firefly รุ่นแรกของอะโดบีได้รับการเทรนด์เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพ Adobe Stock หลายร้อยล้านภาพระดับมืออาชีพ, เนื้อหาคอนเทนต์ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผย และโดเมนคอนเทนต์สาธารณะเมื่อลิขสิทธิ์หมดอายุ เอาต์พุตที่สร้างโดย Firefly จะมีมูลค่าทางธุรกิจจริงในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากไม่ได้สร้างเนื้อหาตาม IP ของแบรนด์ หรือของผู้อื่น

Sensei GenAI และ Firefly จะทำหน้าที่เป็น co-pilot ของฝ่ายครีเอทีฟและฝ่ายการตลาด โดยจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างประสบการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างสรรค์ตามทันจินตนาการได้อย่างแม่นยำ ทรงพลังและสะดวกสบายมากขึ้นใน Adobe Creative Cloud, Adobe Experience Cloud, แอปพลิเคชันใน Adobe Document Cloud และเวิร์กโฟลว์ต่างๆ

นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เปิดตัวในการประชุม Adobe Summit ครั้งนี้

  • Adobe Product Analytics ใหม่ใน Adobe Experience Cloud กำหนดหมวดหมู่การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ customer journey ทั้งในด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์ เป็นครั้งแรกที่ทีมมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ของลูกค้าที่จะได้รับประโยชน์จากมุมมอง และการทำงานร่วมกันที่ราบรื่นทั่วทั้งองค์กร
  • อะโดบีปฏิวัติวงการด้วยการเปิดตัว Adobe Experience Manager (AEM) รุ่นใหม่ กำหนดความหมายใหม่ให้กับ Content Management System ช่วยให้ทีมสามารถอัปเดตเว็บไซต์บริษัทและโมล์บายแอปได้อย่างง่ายดายโดยใช้เครื่องมือยอดนิยมที่ช่วยสร้างคำหรือสเปรดชีต เมื่ออุปสรรคทางเทคนิคลดลง Next-Gen AEM จะช่วยทำให้ enterprise content management ทำงานได้เร็ว AEM ใหม่นี้ยังใช้ Adobe Sensei AI ในการวิเคราะห์ว่าคุณลักษณะต่างๆ ของคอนเทนต์ส่งผลต่อ performance ของ audiences กลุ่มต่างๆอย่างไร และให้คำแนะนำที่ตอบโจทย์มากขึ้น
  • อะโดบีเปิดตัวโซลูชั่น Content Supply Chain ที่ครบวงจรเป็นครั้งแรกของวงการ ช่วยให้ทีมพัฒนาคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเวลาที่น้อยลงผ่านการเชื่อมต่อกับการวางแผน การผลิต การส่งมอบและการวิเคราะห์ โซลูชั่นแบบครบวงจร Content Supply Chain ของอะโดบีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดต้นทุน และยังส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น โดยได้รวมแอพพลิเคชั่น บริการและการผสานระหว่าง Adobe Creative Cloud และ Adobe Experience Cloud เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับแบรนด์ชั้นนำ รวมถึง Xfinity Creative
  • Adobe Express for Enterprise รุ่นใหม่ ได้นำหนึ่งในเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมใหม่และเข้าถึงได้มากที่สุดของ Creative Cloud มาไว้ในโซลูชั่นสร้างสรรค์ที่เป็นสากล สำหรับนักการตลาดและผู้นำองค์กร ช่วยให้ทุกคนไม่ว่าจะมีทักษะด้านการสร้างสรรค์มากหรือน้อยก็สามารถสร้าง ทำงานร่วมกัน และแชร์คอนเทนต์ของแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย การผสานกันระหว่าง Adobe Express และ Adobe Experience Manager Assets ช่วยปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ด้านคอนเทนต์แบบ end-to-end ช่วยให้การพัฒนาคอนเทนต์และกระบวนการทางการตลาดเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น

Adobe Summit ได้กลับมาจัดที่ลาสเวกัสเป็นครั้งแรกหลังจากปี 2019 ในรูปแบบไฮบริด ทั้งออนไซต์และออนไลน์ที่ขับเคลื่อนโดย Adobe Experience Cloud โดยวิทยากรทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียง และผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ แอรอน ซอร์กิ้น นักเขียนบทและผู้กำกับ, ทิก โนทาโร นักแสดงและนักแสดงตลก,เพย์ตัน แมนนิงและดามาร์ แฮมลิน นักกีฬา NFL, เดฟ ริคส์ ซีอีโอของ Eli Lilly, ซูซาน ซอเมอร์ซิล จอห์นสัน CMO ของ Prudential Financial, มาร์คัส อีสต์ EVP และ CDO ของ T-Mobile, ดร. ลิซ่า ซู ประธานและซีอีโอของ AMD  ผู้เข้าร่วมงานจะได้เพลิดเพลินกับการแสดงสดของเหล่านักดนตรี Macklemore และ Rev. Run

Adobe ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้า Experience Cloud ชั้นนำ ได้แก่ Chipotle, The Coca-Cola Company, General Motors, PGA TOUR, Prada, Prudential Financial, Qualcomm, T-Mobile และ Warner Bros. Discovery นอกจากนี้อะโดบียังประกาศความร่วมมือใหม่กับ Accenture, Amazon Ads, IBM, LinkedIn, Publicis และ TikTok เพื่อช่วยให้แบรนด์ระดับโลก personalize ประสบการณ์ดิจิทัลให้มีความเฉพาะบุคคล ปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ด้านการตลาด และจัดการ consent ของผู้ใช้งาน

หากท่านต้องการรับชม Adobe Summit ทางออนไลน์ หรือต้องการชมเซสชั่นต่างๆ ที่มีมากกว่า 200 เซสชั่นและเข้า hands-on labs ทั้ง 11 แทร็ค รวมถึงสร้างเครือข่ายกับเพื่อนๆ หรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของอะโดบี เชิญเยี่ยมชมที่ Summit web experience.

เกี่ยวกับอะโดบี

อะโดบีกำลังเปลี่ยนแปลงโลกผ่านประสบการณ์ดิจิทัล ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com.

from:https://www.techtalkthai.com/adobe-summit-2023-driving-growth-through-experiences/

IBM Business Automation โซลูชั่นเพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจด้วยการผสมผสานระบบ BPM, ECM และ Case Manager [Guest Post]

บทความนี้จะแนะนำการใช้ IBM Business Automation เพื่อปรับปรุงกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร โดยเน้นไปที่ระบบ Business Process Management (BPM) Enterprise Content Management (ECM) และ Case Manager ที่ทำงานผสมผสานกัน โดยเนื้อหาของบทความจะยกตัวอย่างการใช้งานสำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ (PR/PO) ในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์กับโรงงาน โดยระบบ ERP ขององค์กรอาจจะเป็น SAP หรือ Oracle Financial หรืออื่นๆ ก็ได้

บทนำ

ในยุคปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ IBM Business Automation

IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ธุรกิจที่ช่วยองค์กรในการเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงกระบวนการธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีความสามารถในการจัดการกระบวนการธุรกิจที่ซับซ้อน โดยสามารถช่วยในการทำงานและการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ IBM Business Automation ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกระบวนการธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

การผสมผสานระบบ BPM (Business Process Management) ECM (Enterprise Content Management) และ Case Manager สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้อย่างไร โดยเชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า Intelligent Automation ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีและอัลกอริทึมเพื่อปรับปรุงและทำให้กระบวนการธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย IBM Business Automation เป็นโซลูชั่นที่ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการธุรกิจ และช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การผสมผสานระบบ BPM, ECM และ Case Manager

การนำระบบ BPM (Business Process Management), ECM (Enterprise Content Management) และ Case Manager มาใช้ในองค์กรสามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการธุรกิจได้หลากหลายด้าน อย่างเช่นในกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ จัดการเอกสารต่างๆ ขอราคาจากคู่ค้า และออกใบสั่งซื้อให้กับคู่ค้า โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

  1. กำหนดกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ: การกำหนดกระบวนการเป็นหลักเพื่อให้มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและมีความสอดคล้องกับนโยบายและกฎระเบียบขององค์กร
  2. สร้างและจัดการเอกสาร: การใช้ ECM เพื่อจัดเก็บและจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ เช่น ใบเสนอราคาจากคู่ค้า ใบเสนอราคาตอบกลับ ใบสั่งซื้อ ฯลฯ
  3. ติดตามกระบวนการ: การใช้ BPM เพื่อติดตามกระบวนการที่กำลังดำเนินการ โดยการกำหนดขั้นตอนการทำงาน และติดตามสถานะของงาน
  4. จัดการและตรวจสอบรายการสั่งซื้อ: การใช้ Case Manager เพื่อจัดการและตรวจสอบรายการสั่งซื้อ รวมถึงตรวจสอบสถานะการชำระเงิน และติดตามสถานะการจัดส่งสินค้า
  5. ออกใบสั่งซื้อ: การใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น การอนุมัติการสั่งซื้อ ที่ถูกผสมผสานกับระบบ Case Manager และ ECM เพื่อทำให้กระบวนการนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและเร็วขึ้น นอกจากนี้ BPM ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามสถานะการสั่งซื้อและอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับราคาและสินค้าได้ง่ายขึ้น

กระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในองค์กรที่ต่างกัน

การใช้งาน IBM Business Automation ในการปรับปรุงกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในองค์กรต่างๆ จะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะการดำเนินงานของแต่ละองค์กร โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบระบบ IBM Business Automation สำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อ ระหว่างโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์กับระบบ IBM Business Automation สำหรับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อของโรงงาน อาจจะมีความแตกต่างกันได้ดังนี้

การใช้งาน IBM Business Automation ในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ การดำเนินการในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์มักเกี่ยวข้องกับการจัดการสินค้าและบริการทางการแพทย์ เช่น การสั่งซื้อเวชภัณฑ์ ยา และอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ระบบ IBM Business Automation สามารถช่วยลดเวลาในการดำเนินการต่างๆ เช่น การขออนุมัติและพิมพ์ใบสั่งซื้อ การตรวจสอบสถานะของการสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้า การใช้งานระบบ IBM Business Automation ยังช่วยเพิ่มความเป็นมืออาชีพของผู้ใช้บริการและรองรับการทำงานซึ่งเป็นภาระหน้าที่ทางด้านการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้งาน IBM Business Automation ในโรงงาน การดำเนินการในโรงงานมีลักษณะการดำเนินงานที่เน้นการผลิตสินค้า และการจัดการสินค้าสำเร็จรูป เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบ การจัดส่งสินค้า และการควบคุมคุณภาพสินค้า ระบบ IBM Business Automation สำหรับการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงงานมีลักษณะการใช้งานที่ต้องการการปรับแต่งสูงสุดเพื่อให้ตรงกับกระบวนการการผลิตที่แตกต่างกันไป โดยระบบจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้อย่างตรงเวลา รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและจัดการความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ ช่วยเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการดำเนินงาน และสามารถจัดการความเสี่ยงและการควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสถานะของการสั่งซื้อและการจัดส่งได้อย่างง่ายดาย โดยระบบ IBM Business Automation สำหรับโรงงานนั้นยังสามารถปรับแต่งได้เพื่อตรงกับความต้องการของแต่ละองค์กรและกลุ่มผู้ใช้งานโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างดีที่สุด

สรุป

IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้ในการจัดการกระบวนการธุรกิจต่างๆ ในหลากหลายธุรกิจ อย่างที่ได้ยกตัวอย่าง กระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ กับกระบวนการขอซื้อและสั่งซื้อในโรงงาน มากไปกว่านั้น ยังนำไปใช้จัดการเอกสารในกระบวนการ QA ในการผลิต การจัดการงบประมาณ การขอสินเชื่อ และอื่นๆ โดยการนำเทคโนโลยีที่มีใน IBM Business Automation มาช่วยในการทำงานทั้งหมด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการทำงาน และช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานด้วยการทำงานอัตโนมัติ สรุปได้ว่า IBM Business Automation เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถนำไปใช้งานได้ในหลากหลายธุรกิจและกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

หากสนใจสอบถามข้อมูล หรือกำลังมองหาผู้ช่วยพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโต บริษัท C-Level Co., Ltd. ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมค้นหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ

เราเป็น IBM Certified Gold Business Partner และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริการเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร IBM Business Automation และมีพื้นฐานความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้ารวมถึงโซลูชั่นเป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถให้คำปรึกษา หรือให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ติดต่อเรา

● Email: clv_sales@the-c-level.com

● Website:  https://www.the-c-level.com

● Facebook: https://www.facebook.com/theclevel

● The C-Level YouTube Channel: https://bit.ly/3nPNPrF 

หรือติดต่อ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

Email : cu_mkt@cu.co.th หรือ โทร 02 3116881 #7156, 7158

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-business-automation-bpm-ecm-and-case-manager-solution/

Protected: PwC ออสเตรเลีย สร้างประสบการณ์การสื่อสารผ่านวิดีโอให้พนักงานและลูกค้าทั่วโลก อย่างไร้รอยต่อและปลอดภัยได้อย่างไร

This content is password protected. To view it please enter your password below:

Password:

from:https://www.techtalkthai.com/how-pwc-australia-securely-sustainably-connects-global-clients-via-vdoconference/

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2566 ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ [Guest Post]

บทความโดย เทอร์รี สมา, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น, บริษัทอินฟอร์

เมื่อย่างเข้าสู่ปีใหม่ ผู้จำหน่ายโซลูชันคลาวด์ระดับองค์กรก็ต่างพากันมองหาลู่ทางขยายฐานลูกค้าเพิ่ม โดยไม่เน้นที่ทีมพัฒนาหรือทีมไอทีเท่านั้นอีกต่อไป

ข้อมูลจาก Top Strategic Technology Trends for 2023[1] ที่นักวิเคราะห์ของ Gartner® ได้นำเสนอในงานระดับโลก IT Symposia 2022 ระบุว่า “ผู้นำด้านไอทีและธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับขยายหรือเป็นผู้ริเริ่ม ในประเด็นต่อไปนี้:

  • เพิ่มประสิทธิภาพด้านความยืดหยุ่น การดำเนินงาน หรือความไว้วางใจให้เหมาะสมที่สุด
  • ปรับขยายโซลูชันซอฟต์แวร์แบบครบวงจรที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเฉพาะ (vertical solutions) ตลอดจนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้จากทุกที่
  • เป็นผู้นำในการมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการ และสร้างโอกาสในการปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าอย่างรวดเร็ว”

จากมุมมองของ Infor เราสังเกตเห็นถึงความต้องการการผสานรวมเทคโนโลยีหลากหลายที่เพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ 

4 เทคโนโลยีที่ Infor คาดการณ์ โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในตลาดเหล่านี้ มีดังนี้:

1. ความเป็นจริงที่ประกอบได้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ตลาดชั้นนำหลายแห่งต่างระบุถึงความต้องการและให้คำแนะนำในการซื้อแอปพลิเคชันที่ดีที่สุด และ “จัดองค์ประกอบ” ของแอปพลิเคชันเหล่านี้เข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อที่รู้จักกันในนาม “composable ERP” ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับแต่งระบบ ERP ได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะทางธุรกิจ

วิธีแบบนี้ขัดกับแนวคิดที่ว่าระบบ ERP เป็นระบบหลักที่สำคัญขององค์กร  แต่วิธีการที่จะทำให้องค์ประกอบนี้สำเร็จยังไม่ได้รับการกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ  ในขณะที่ผู้ให้บริการแบบ Pure-Play ที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะจำนวนมากในตลาดจะมี iPaaS (แพลตฟอร์มบริการโครงสร้างพื้นฐาน) เฟรมเวิร์กการพัฒนาแบบไม่ใช้โค้ด ตลอดจนแพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิงและอื่น ๆ ที่เป็นเวอร์ชันเฉพาะของตนเองก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีบริษัทใดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมนวัตกรรมแบบครบวงจรได้ทั้งหมด  ซึ่งเป็นจุดที่เดิม GSIs (ผู้รวมระบบทั่วโลก) เข้ามามีบทบาทสำคัญมาโดยตลอด แต่ผู้ซื้อก็มักจะต้องการกระบวนการจัดซื้อ การปรับแต่ง และการปรับใช้ที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น  

ที่จริง บริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่หลายแห่งได้เพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถผสานรวมเข้ากับบริการคลาวด์ที่มีอยู่ได้โดยตรง  ดังนั้น ปีนี้จึงเป็นปีที่จะทำให้การจัดซื้อ การปรับแต่งและการปรับใช้ที่ง่ายดาย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นจริงขึ้นมาได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่แท้จริง ที่กำลังกลายเป็นเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานที่เชื่อมต่อ ตลอดจนรวมบริการคลาวด์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ สำหรับทุกองค์กร  

2. ไฮเปอร์ออโตเมชันกระแสหลัก – แนวคิดในการทำให้การทำงานทุกอย่างภายในองค์กรเป็นอัตโนมัติ

ด้วยแรงกดดันด้านประสิทธิภาพของต้นทุนและอิทธิพลของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจเกิดความต้องการที่ขัดแย้งระหว่างรูปแบบธุรกิจใหม่กับการสร้างความแตกต่างที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วยในเวลาเดียวกัน  ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ให้เร็วขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่มีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและผู้คน

ดังนั้น ธุรกิจควรคำนึงไว้เสมอว่าการทำให้งานหนึ่งงานเป็นอัตโนมัตินั้นไม่พอ มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะระบบอัตโนมัตินั้นจะต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ข้อเรียกร้องต่อทีมไอทีให้ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ รวมไปถึงการทำให้กระบวนการต่าง ๆ เร็วขึ้น แม่นยำขึ้น เป็นเชิงรุกมากขึ้น ชาญฉลาดขึ้น สามารถทำได้โดยขยายความสามารถด้านการทำงานระบบอัตโนมัตินี้ไปยังระบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระบบดั้งเดิมและความรู้ในองค์กรที่ไม่ได้บูรณาการหรือทำงานอัตโนมัติในปัจจุบัน  

3. โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์และทดสอบสถานการณ์ทางธุรกิจในสภาพแวดล้อมจำลอง

ธุรกิจต้องการวิธีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับสินค้าคงคลังเร็วขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น ลดของเสีย ย้ายไปตลาดใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งประเมินวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดใหม่ ซึ่งคล้าย ๆ กับเทรนด์ด้านไฮเปอร์ออโตเมชันที่เป็นการผสานรวมเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และเครื่องมือต่างๆ สำหรับระบบงานอัตโนมัติเข้าไว้ด้วยกัน  อนึ่ง การจำลองงานสเกลใหญ่ขนาดนี้จะสามารถทำได้อย่างแน่นอนในสภาพแวดล้อมเพื่อการทดสอบ แต่นั่นก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการย้ายหรือรีเฟรชข้อมูล การปรับแต่งกระบวนการ และการถ่ายโอนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตในตอนท้าย   

สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าถึงการจำลองในบริบทของการทำงานประจำ เช่น หากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อจัดจ้างรายหนึ่งกำลังทำคำสั่งซื้อ และคิดว่านี่อาจเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมงานกับเวนเดอร์รายใหม่ ก็อาจใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยจำลองการตัดสินใจได้ โดยอิงจากโปรไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก แมชชีนเลิร์นนิงและโมเดลเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ  ซึ่งหากผู้ใช้พอใจในผลลัพธ์ก็จะทำให้มั่นใจและตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญในท้ายที่สุด โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาติดขัดในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้นอีกต่อไป

4. องค์กรธุรกิจจะกลายเป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์

ในฐานะที่ Infor เป็นผู้รวบรวมเทรนด์ต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ เราพบว่าความเคลื่อนไหวโดยรวมคือ เมื่อพนักงานมีการเปลี่ยนแปลง และธุรกิจต้องเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่พิจารณาจากผลตอบแทนการลงทุนเป็นหลัก สิ่งนี้จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต้องการโซลูชันเทคโนโลยีที่ช่วยให้พนักงานรังสรรค์งานด้วยวิธีที่ปลอดภัยและวัดผลได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกทุกคนในทุกแผนก โดยไม่ต้องจัดหาเครื่องมือมากมายหรือสร้างแรงกดดันให้กับฝ่ายไอทีในการจัดหาพื้นที่สำหรับโครงการต่าง ๆ  และควรใช้ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรส่งเสริมการกระทำดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานบริหารจัดการซัพพลายเชน แก้ไขปัญหาและยกระดับการทำงาน พร้อมปรับปรุงการวางแผนและสินค้าคงคลังและอื่น ๆ ได้ดีขึ้น  ทั้งนี้ ธุรกิจจะต้องมองหาพันธมิตรที่เชื่อถือได้จากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพและน้อมรับแนวทางและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อสร้างโซลูชันที่ไม่เหมือนใครและเป็นนวัตกรรม ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมและยังคงแข่งขันได้


[1] Gartner® “Top Strategic Technology Trends for 2023” presentation, Gilbert van der Heiden, David Groombridge and others, October 2022; given by Gartner analysts at its 2022 IT Symposia globally.

from:https://www.techtalkthai.com/technology-trends-in-2023-that-businesses-need-to-focus-on/

ระบบการจัดการบน EnGenius Fit…เลือกแบบไหนดี [Guest Post]

EnGenius Fit โซลูชันที่มาพร้อมระบบการจัดการอุปกรณ์แบบใหม่

ลูกค้าสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของงาน ซึ่งวันนี้ทางทีม NVK จะทำการเทียบระบบ พร้อมแนวทางในการออกแบบ สำหรับท่านที่ยังคงสงสัยว่าควรเลือกแบบไหน บทความนี้มีคำตอบแน่นอน

ภาพตัวอย่าง Dashboard และการตั้งค่าต่างๆ

FitXpress : ระบบจัดการผ่าน Cloud จาก EnGenius ให้บริการบน AWS (Cloud Computing Services ของ Amazon) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมจากทั่วโลก รองรับจัดการผ่าน Web Service และ Mobile Application ใช้งานได้ฟรี พร้อม GUI ที่ใช้งานง่าย สามารถตั้งค่าได้ แม้ไม่มีความรู้ด้าน IT

FitController : Hardware Controller On-Premise สำหรับติดตั้งใน Local Site มาพร้อม GUI และการตั้งค่าในเชิงลึก เหมาะกับองค์กรที่มี เจ้าหน้าที่ IT ในการดูแลระบบ

ภาพตัวอย่าง การลงทะเบียนอุปกรณ์

FitXpress : ลงทะเบียนอุปกรณ์ง่าย ผ่าน Mobile Application ด้วยการ Scan QR Code หรือผ่าน Web โดยใช้หมายเลข Serial Number

FitController : ค้นหาอุปกรณ์ภายใน Network อัตโนมัติเมื่อมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ หรือใช้หมายเลข Serial Number ในการลงทะเบียนอุปกรณ์

ภาพตัวอย่าง การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน

FitXpress : รองรับการจัดการแบบข้ามเครื่อข่าย เหมาะกับธุรกิจที่มีหลายสาขา และสามารถกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานได้ 2 แบบคือ admin (full access) และ Viewer (read only)

FitController : สามารถเลือกการจัดการโดยแบ่งกลุ่มของการตั้งค่าผ่าน Network สามารถกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานได้ 2 แบบคือ admin (full access) และ Viewer (read only) 

สรุปกลุ่มเป้าหมาย (Target User)

FitXpress : ธุรกิจขนาดเล็ก (SMBs) เจ้าของกิจการ ที่มีหลายสาขา ไม่มีความรู้ด้าน IT หรือเจ้าหน้าประจำบริษัท สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยการแสดงผลแบบกราฟฟิกข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญและครบถ้วน พร้อมเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้อย่างง่าย

FitController : กลุ่มธุรกิจที่ออกแบบและวางแผนการเพิ่มอุปกรณ์ในอนาคต มีเจ้าหน้าที่ IT ในการดูแลระบบ กราฟฟิกแสดงผลข้อมูลในเชิงลึก ไม่ต้องการ Server ในการดูแลเพิ่มเติม และง่ายในการติดตั้ง

รายละเอียดอื่นๆ และความแตกต่างของระบบแบบตาราง

การเลือกใช้งานและการออกแบบ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท ลูกค้าสามารถนำข้อมูลนำไปใช้เป็นไอเดียในการออกแบบ และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาในออกแบบโซลูชั่นได้ที่ sale@nvk.co.th, 0 2940 2070 # 1

from:https://www.techtalkthai.com/management-system-on-engenius-fit-which-one-to-choose/

บริษัทในเอเชีย-แปซิฟิกเสี่ยงต่อความเสียหายทางธุรกิจในระยะยาวเพราะการพึ่งพา Third-Party Cookies [Guest Post]

  • แบรนด์ส่วนใหญ่ (76%) ในเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) ยังคงพึ่งพา Third-Party Cookies เป็นอย่างมาก
  • ผู้บริหารที่ใช้คุกกี้จำนวนมาก (56%) มองว่าคุกกี้เป็น evil จำเป็น (necessary evil) แม้จะรู้ดีว่าการพึ่งพาอย่างต่อเนื่องมากเกินไปจะก่อให้เกิดความเสียหายในระยะยาว
  • ผู้บริหารใน APAC กว่าครึ่ง (51%) ที่ใช้ CDP ระบุว่าองค์กรของตนสามารถสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้ามากขึ้น ได้รับความภักดีจากลูกค้าเพิ่มขึ้น (41%) โดยจำนวนและมูลค่าของการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น (37%)

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย — 16 มีนาคม 2566 — อะโดบีเปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ต่างๆ ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อพัฒนากลยุทธ์ด้านข้อมูล แม้ว่าจะทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อธุรกิจก็ตาม การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดและประสบการณ์สำหรับผู้บริโภคกว่า 2,600 คนทั่วโลก (รวมถึง 1,057 คนในเอเชีย-แปซิฟิก) ได้สำรวจการลงทุนด้านการตลาดและกลยุทธ์ที่ทำให้ผู้นำอุตสาหกรรมมีความโดดเด่นแตกต่างเหนือคู่แข่ง

แบรนด์ส่วนใหญ่ (76%) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกยังคงพึ่งพา third-party cookies เป็นอย่างมาก โดยผู้บริหารกว่าครึ่ง (48%) คาดว่าการยุติการใช้งาน third-party cookies จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของตน  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความคลุมเครือเกี่ยวกับการเลิกใช้คุกกี้ทำให้เกิดความสับสน และในบางกรณีอาจนำไปสู่การเพิกเฉย โดยไม่ยอมดำเนินการใดๆ  ทั้งนี้ผู้บริหารหนึ่งในสาม (33 %) ใน APAC ระบุว่าพวกเขาไม่ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดเพราะมองว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแต่อย่างใด ขณะที่คนอื่นๆ วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ แต่ก็ยังชะลอการเตรียมการในการเลิกใช้คุกกี้

แก๊บบี้ สตับส์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของอะโดบี กล่าวว่า “บริษัทที่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในตอนนี้จะกลายเป็นผู้สูญเสีย ทั้งยังทำลายโอกาสที่จะสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในอนาคต  แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ครั้งใหญ่นี้จะต้องใช้ความมุ่งมั่นและการลงทุนระยะยาว แต่ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ ตั้งแต่ความภักดีของลูกค้า ความพึงพอใจของลูกค้า ไปจนถึงผลกำไรที่ดีขึ้น”

แบรนด์ต่าง ๆ ยังคงพึ่งพา third-party cookies เป็นอย่างมาก
แม้ว่าการเลิกใช้งานคุกกี้จะเกิดขึ้นในไม่ช้า แต่ผู้บริหาร 47% ใน APAC ยังคงใช้งบประมาณด้านการตลาดอย่างน้อยครึ่งหนึ่งไปกับการดำเนินการที่ต้องอาศัยคุกกี้ และ 70% มีแผนที่จะเพิ่มการใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต้องพึ่งพาคุกกี้ในปีนี้  ผู้บริหารส่วนใหญ่ (65%) ใน APAC ยังคงพึ่งพา third-party cookies เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขารู้สึกว่าข้อมูลคุกกี้ดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง ขณะที่หนึ่งในห้า (20%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า third-party cookies จะไม่หายไปไหน

ผู้บริหารใน APAC ราวครึ่งหนึ่ง (53%) ของบริษัทที่พึ่งพาคุกกี้กล่าวว่าอย่างน้อย 30% ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ third-party cookies ไม่สามารถใช้การได้ เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และอุปกรณ์ Apple และ 48% กล่าวว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ใน cookieless environments  นอกเหนือจากผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายถึง 30-50% และยังมีผลกระทบที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกไตรมาส เพราะ cookieless frontier ยังคงมีการขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การพึ่งพา third-party cookies มากเกินไปทำให้ส่งผลเสียต่อแบรนด์

ผู้บริหารใน APAC หลายคนคาดว่าการเลิกใช้งาน third-party cookies จะส่งผลเสียต่อธุรกิจของพวกเขา และในบางกรณีอาจสร้างความเสียหายในระดับลึก โดย 22% กล่าวว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะ “ทำลาย” ธุรกิจของพวกเขา ขณะที่ 25% คาดว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก และ 25% คาดการณ์ถึงผลกระทบเชิงลบในระดับปานกลาง  ในบางประเทศตัวเลขอาจดูน่ากังวลมากกว่านี้ เช่น 54% ของผู้บริหารในออสเตรเลียคาดว่าจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงอย่างมาก (31%) หรืออย่างมีนัยสำคัญ (23%) จากการเลิกใช้งานคุกกี้  ผู้ใช้ third-party cookies จำนวนมากเชื่อว่าพวกเขาไม่มีทางเลือก โดยผู้บริหารที่ใช้คุกกี้มากกว่าครึ่ง (56%) มองว่าคุกกี้เป็น “evil ที่จำเป็น” แม้ว่าหลายคนจะตระหนักว่าการพึ่งพาคุกกี้มากเกินไปอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดความสูญเสียในระยะยาว  นอกจากนี้ หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (39%) กล่าวว่าพวกเขาไม่สามารถหาทรัพยากรเพื่อพัฒนากลยุทธ์ของตน โดยผู้บริหารในประเทศญี่ปุ่นเห็นด้วยกับสิ่งนี้มากกว่าครึ่ง (66%)

ในขณะที่หลายบริษัทกำลังเตรียมที่จะละทิ้งคุกกี้ แต่หนึ่งในสาม (41%) กลับไม่ได้ทำเช่นนั้น โดยบางบริษัทระบุว่าพวกเขาไม่ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนเพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ส่วนองค์กรอื่นๆ มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังคงชะลอไปก่อน

แพลตฟอร์มข้อมูลลูกค้า (Customer Data PlatformCDP) ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่ไม่มี cookies (Cookieless Future) ตั้งแต่ตอนนี้
จากผลการศึกษา พบว่าผู้บริหารในเอเชีย-แปซิฟิกมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ที่ใช้ CDP กล่าวว่าพวกเขาสามารถสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งยังได้รับความภักดีจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้น (41%) โดยจำนวนและมูลค่าของการทำธุรกรรมก็เพิ่มสูงขึ้น (37%)  นอกจากนี้ CDP ยังช่วยปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ภายในองค์กร โดย 44% กล่าวว่า CDP ช่วยการทำงานให้ดีขึ้นและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งในฝ่ายการตลาดและไอที และการผลิต ROI ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น (32%)

ปัจจุบัน Adobe Real-Time Customer Data Platform (Real-Time CDP) นำเสนอข้อมูลคาดการณ์เชิงลึกหลายพันล้านรายการต่อปี โดยอ้างอิงจากโปรไฟล์ลูกค้าในแบบเรียลไทม์  ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยให้ทีมงานสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีแนวโน้มจะซื้อ หรือลูกค้าที่อาจพิจารณาเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทคู่แข่ง  แพลตฟอร์มดังกล่าวได้กลายเป็นเครื่องมือสร้างประสบการณ์สำหรับลูกค้าที่แบรนด์ชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ เลือกใช้ รวมถึง Coles, SBS และ Suncorp

from:https://www.techtalkthai.com/companies-in-asia-pacific-risk-long-term-business-damage-due-to-reliance-on-third-party-cookies/

ไซเบอร์ อีลีทและไอบีเอ็มแนะทางออกจัดการไซเบอร์ด้วย SOC Modernization

หลายองค์กรเริ่มต้นปี 2023 ด้วยความหวาดหวั่นจากรายงานของสถาบันต่าง ๆ ด้านแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่าสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปีนี้ อ้างอิงจากการรายงานผลสำรวจของ IBM X-Force Threat Intelligence Index 2023 พบว่าในทวีปเอเชียแปซิฟิกครองอันดับหนึ่งในด้านอัตราการเกิดเหตุการณ์การโจมตี โดยคิดเป็น 31% ของเหตุการณ์ภัยคุกคามทั่วโลก และเพิ่มสูงขึ้นถึง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  ในขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ก็ยังคงเป็นปัญหาหนักอกที่ยังคงแก้กันไม่ตกในหลายองค์กร องค์กรขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมก็จะสามารถดึงดูดบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญได้มากกว่าบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง จึงส่งผลให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้านที่องค์กรได้มีการลงทุนไปแล้วด้วยเม็ดเงินมหาศาลไม่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตามที่คาดหวัง ซึ่งความท้าทายนี้เป็นปัจจัยปัญหาหลักที่องค์กรต้องกำหนดกลยุทธ์ในการรับมือความท้าทายดังกล่าวอย่างจริงจังและต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ

ไอบีเอ็ม (IBM) ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยระดับองค์กรนำเสนอสถาปัตยกรรมแบบเปิด (Open Architecture) โดยใช้โซลูชั่น QRadar XDR ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะสนับสนุนการทำงานในศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือศูนย์ CSOC ที่จะเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างโซลูชั่นต่าง ๆ อาทิ เช่น SIEM, SOAR, NDR, EDR อย่างครบถ้วน ประกอบกับเทคโนโลยี QRadar XDR Connect ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาที่ใช้ในการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของโซลูชั่นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มความแข็งแกร่ง การป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามภายใต้การทำงานของศูนย์ CSOC ได้อย่างแม่นยำ ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และองค์กรขนาดใหญ่หลายองค์กรหยิบยกขึ้นมาให้ผู้บริหารพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือการใช้บริการงานด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากผู้ให้บริการภายนอก หรือ MSSP ซึ่งแนวโน้มการใช้บริการเป็นแบบครบวงจร (Turn key) กล่าวคือองค์กรส่งมอบงานด้านความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ผู้ให้บริการภายนอกบริหารจัดการงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมดโดยที่องค์กรเองทำหน้าที่กำกับดูแลประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการทำงานของผู้ให้บริการเท่านั้น ด้วยแนวทางนี้องค์กรสามารถมุ่งเป้าให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กรโดยการสนับสนุนจากผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ได้ความไว้วางใจจากองค์กร

บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ชูเป้าหมายทางธุรกิจ “Managed Everything” ซึ่งยึดมั่นในแนวทางที่จะแบ่งเบาภาระงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กรให้ได้แบบครบวงจร โดยมีบริการเฝ้าระวังและตอบสนองเหตุการณ์ภัยคุกคามตลอด 24 ชั่วโมงเป็นบริการพื้นฐานสำคัญ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถของศูนย์เฝ้าระวัง ฯ แบบดั้งเดิมให้มีความทันสมัยหรือที่เรียกว่า SOC Modernization ซึ่งสนับสนุนโดยเทคโนโลยีจาก IBM ที่จะต้องเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและมีความแม่นยำในการวิเคราะห์ตรวจจับภัยคุกคามประเภทต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเชื่อมโยงการบริการบริหารจัดการโซลูชั่นเข้าด้วยกัน อาทิเช่น Managed Cloud Security, Managed Network Security, Managed Detection and Response, Managed Endpoint Detection & Response, Managed Web Application Firewall, Managed DDoS และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย การให้บริการผู้เชี่ยวชาญในการรวมศูนย์การบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน (Managed Security Program) ยังส่งผลให้การรายงานสถานะความเสี่ยงขององค์กรแก่ผู้บริหารระดับสูงสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถติดตามสถานะความเสี่ยงด้านไซเบอร์ผ่านทาง CISO Dashboard ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะสามกับแต่ละองค์กรอีกด้วย

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด

คุณณัฐพล อาภาแสงเพชร โทร 094-480-4838 หรือ email : mkt@cyberelite.co

หรือติดต่อ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด

โทร 02 3116881 #7151,7158 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/cu-x-cyber-elite-soc-modernization/

Group-IB ประกาศแผนเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลขึ้นในประเทศไทย และลงนามสัญญาพันธมิตรกับ nForce ผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในประเทศไทย [Guest Post]

กรุงเทพมหานคร,วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2566 — Group-IB บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้จัดแถลงข่าวประกาศแผนการที่จะเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัล (Digital Crime Resistance Center) ขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งการลงนามในสัญญาความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจำหน่ายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)

ภายใต้ความร่วมมือนี้ nForce จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของ Group-IB ที่รวมกันอยู่ภายใต้ชื่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ Unified Risk Platform ของ Group-IB ซึ่งเป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)

nForce จะจัดตั้งทีมรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Response : IR) ทีมแรกของตนขึ้นในประเทศไทย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Group-IB Digital Forensics & Incident Response ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สะสมยาวนานมากกว่า 70,000 ชั่วโมงในการดำเนินการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกที่ทาง Group-IB ดูแลอยู่

Group-IB จะให้การฝึกอบรมและการสนับสนุนช่วยเหลือโดยเฉพาะแก่ทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ของ nForce เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (IR) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและทำให้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำหรับการวิเคราะห์เชิงนิติวิทยา (Forensic Analysis) ง่ายขึ้น โดยทีมงานของ nFroce จะได้รับการติดตั้งโซลูชัน Managed Extended Detection and Response ของ Group-IB เพื่อการนี้

nForce เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย โดยเป็นผู้นำในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และ nForce ยังมีพันธมิตรมากกว่า 100 รายครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายที่มีสถานะที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษในตลาดภาคการเงิน ส่วน Group-IB มีเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยและร่วมช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยให้สามารถจัดการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้นทุกวัน

จากรายงานแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูงประจำปี 2565/2566 (Hi-Tech Crime Trends Report 2022/2023) พบว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยตกเป็นเป้าการคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยตกอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีบริษัทถึง 27 แห่งที่เป็นเหยื่อถูกขโมยข้อมูลโดยแรนซั่มแวร์นำขึ้นไปโพสต์เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลรั่วไหลโดยเฉพาะ (dedicated leak sites) ระหว่างช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จนถึงครึ่งแรกของปี 2565 เนื่องจากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนจริงของการโจมตีโดยแรนซั่มแวร์นั้นน่าจะสูงกว่านี้มาก เนื่องจากหลายบริษัทเลือกที่จะจ่ายค่าไถ่ แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือความสนใจที่เพิ่มขึ้นของอาชญากรที่ทำตัวเป็นนายหน้าขายบริการเจาะการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Initial Access Brokers : IABs) ขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ตามข้อมูลการค้นพบจากทีมข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence) ของ Group-IB พบว่า IABs มีความพยายามขายการเข้าถึงระบบเครือข่ายบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยถึง 28 แห่งในช่วงเวลาเดียวกัน

ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลของ Group-IB ที่จะจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่ำชองในด้าน Threat Intelligence, Digital Forensics & Incident Response, Cyber ​​Investigations, Digital Risk Protection รวมถึงนักวิเคราะห์จาก Computer Emergency Response Team  ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรซึ่งได้ถูกทดลองและทดสอบมาแล้วหลายครั้งในกว่า 60 ประเทศ พร้อมทั้งทีมงานของ Group-IB ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของ nForce จะผสานร่วมกันเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันทางดิจิทัลของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยด้วยการจัดตั้งทีมงานนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ (Digital Forensics and Incident Response : DFIR) ระดับแนวหน้าขึ้น

การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องจะทำให้เข้าใจขอบเขตของภัยคุกคามได้อย่างชัดเจนและสามารถพัฒนามาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งภัยคุกคามนั้น รวมทั้งยังสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีทักษะสูงของ Group-IB จะทำการฝึกอบรมบุคลากรของ nForce เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลากหลาย ทีมงานของ Group-IB ใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย Threat Intelligence อันล้ำสมัย และมีประวัติผลสำเร็จในการทำงานที่ถูกพิสูจน์แล้วในเรื่องของการสืบสวนและแก้ไขคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ตัวถอดรหัส (Decryptor) ของ Group-IB ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน DFIR ของบริษัทเองสามารถทำการถอดรหัส Hive Ransomware รุ่น 4 ที่อื้อฉาว และสามารถช่วยถอดรหัสปลดล็อคระบบเครือข่ายขององค์กรทางการแพทย์ในประเทศไทยที่เคยถูกโจมตีจากแรนซั่มแวร์ตัวนี้ได้สำเร็จ

นายนักรบ เนียมนามธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“nForce ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Group-IB ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก สำหรับการจัดตั้งทีม Incident Response ในครั้งนี้ จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยสามารถยับยั้งและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันถ่วงที ด้วยทีมช่วยเหลือในการตอบโต้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB จะทำให้ nForce มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น ด้วยบริการจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพจาก nForce ร่วมกับ Group-IB รวมถึงโซลูชันต่างๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทางด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2566 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตอยู่ที่ 15-20% จากการลงทุนโปรเจ็กต์ต่างๆ ของลูกค้าภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบกับการที่หลายธุรกิจเดินหน้าทำ Digital Transformation ทำให้ดีมานด์การใช้เทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน” 

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ nForce ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในตลาดประเทศไทยและจะช่วยเราขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ การเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลและความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายพันธกิจระดับโลกของเราในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทย เราเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันกับ nForce และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประกอบด้วยมืออาชีพที่กระตือรือร้นซึ่งมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ไซเบอร์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” Dmitry Volkov ซีอีโอของ Group-IB กล่าว

เกี่ยวกับ nForce Secure

บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยนำเสนอ สินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงในแต่ละหมวดสินค้า ซึ่งจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) End Point Security, (2) Network Security, (3) Network Performance and Monitoring และ (4) อื่นๆ เช่น Encryption Solution, Software ที่เกี่ยวข้องกับ Authentication และ Software ที่เกี่ยวข้องกับ Archiving เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย เช่น บริการด้านการติดตั้ง (Installation) บริการบำรุงรักษา (Maintenance) รวมไปถึงบริการปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานระบบ หรือซอฟต์แวร์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่าย และบริการฝึกอบรมการใช้งานระบบ (Training)

กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท คือ ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator หรือ SI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของผู้ใช้งานโดยตรง (End User) และออกแบบติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ โดยนำเสนอในรูปแบบโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยตรงในระดับองค์กร ซึ่งผู้ใช้งานโดยตรงประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยีจะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Distributor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยตัวแทนจำหน่ายจะทำหน้าที่จัดหาและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ได้ตรงตามระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้รับเหมารวบรวมระบบออกแบบตามความต้องการ ทั้งนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (SI) ที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทนั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพทางธุรกิจ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการต่างๆ ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

เราภาคภูมิใจที่ได้นำเข้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ามาจัดจำหน่ายภายในประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Vendor) รวมไปถึงลูกค้าที่เป็น ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator) ผ่านการให้บริการแบบครบวงจร ด้วยบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

เกี่ยวกับ Group-IB

Group-IB มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำที่ทุ่มเทให้กับการตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง การระบุการฉ้อโกงทางออนไลน์ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีศูนย์ข่าวกรองและการวิจัยภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence and Research Centers) ของบริษัทตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (ดูไบ) เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) และยุโรป (อัมสเตอร์ดัม)

Unified Risk Platform ของ Group-IB เป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)  

Unified Risk Platform ให้ความคุ้มครองที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนตลอดห่วงโซ่การรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB ที่รวมอยู่ภายใต้ Unified Risk Platform ของ Group-IB ได้แก่ Threat Intelligence, Managed XDR, Digital Risk Protection, Fraud Protection, Attack, Surface Management, Business Email Protection, Audit & Consulting, Education & Training, Digital Forensics & Incident Response, Managed Detection & Response, and Cyber Investigations.

ระบบ Threat Intelligence ของ Group-IB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในประเภทเดียวกันโดย Gartner, Forrester และ IDC ส่วนผลิตภัณฑ์ Managed XDR ของ Group-IB ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับการค้นหาเชิงรุกและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเภทผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Detection and Response โดย KuppingerCole Analysts AG ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ชั้นแนวหน้าของยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้ให้การยอมรับ Group -IB ในฐานะเป็น Product Leader และ Innovation Leader  อีกด้วย

อีกทั้งผลิตภัณฑ์ Fraud Protection ของ Group-IB ยังได้รับการเสนอชื่อ (Representative Vendor) ให้อยู่ในรายงานผลิตภัณฑ์การตรวจจับการฉ้อโกงออนไลน์ของ Gartner นอกจากนี้ Group-IB ยังได้รับรางวัล Innovation Excellence Award จาก Frost & Sullivan สำหรับผลิตภัณฑ์ Digital Risk Protection (DRP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI-driven) สำหรับการระบุและบรรเทาความเสี่ยงทางดิจิทัล และต่อต้านการโจมตีการแอบอ้างแบรนด์ โดยใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของบริษัทเป็นแกนหลัก ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Group-IB สร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงถึง 19 ปีของบริษัทในการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก และมากกว่า 70,000 ชั่วโมงของการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สะสมอยู่ในห้องปฏิบัติการ DFIR ชั้นนำของบริษัท, รวมถึงแผนกสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง และทีมงาน CERT-GIB ของบริษัทที่บริการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินทางเทคนิคโดยสามารถให้การดูแลได้ตลอดเวลา

Group-IB เป็นพันธมิตรที่ทำงานอย่างแข็งขันในการสืบสวนสอบสวนระดับโลกที่นำโดยองค์กรบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Europol และ INTERPOL นอกจากนั้น Group-IB ยังเป็นสมาชิกของ EuropolEuropean Cybercrime Centre’s (EC3) Advisory Group on Internet Security ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่าง Europol และพันธมิตรชั้นนำที่ไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย

ประสบการณ์ของ Group-IB ในการตามล่าภัยคุกคามและแสวงหาข่าวกรองทางไซเบอร์ได้หลอมรวมกันเป็นระบบนิเวศของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ ระบุ และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ภารกิจของ Group-IB คือการปกป้องลูกค้าในไซเบอร์สเปซให้มีความมั่นคงปลอดภัยทุกวัน ด้วยการสร้างและใช้ประโยชน์จากโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ

from:https://www.techtalkthai.com/group-ib-announces-plan-to-open-anti-criminal-center-in-thailand-and-signed-a-partnership-agreement-with-nforce/