Need for Efficiencies – ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเกิดขึ้นของธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้บุคลากรฝ่าย IT จำนวนเท่าเดิมในการบริหารจัดการกับเทคโนโลยีที่มีการใช้งานมากขึ้นได้
HPE Aruba นั้นมีวิสัยทัศน์ที่นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่ Network Platform ไปสู่การเป็น IoT Platform ด้วย ทำให้ Access Point ของ Aruba นั้นสามารถให้บริการ BLE และ ZigBee เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ได้ รวมถึงยังสามารถติดตั้ง USB ที่เป็น Sensor เพิ่มเติมเข้าไปบน Access Point โดยตรงได้ด้วย
นอกจากนี้ Aruba ก็ยังเปิด API ให้ผู้ใช้งานสามารถทำการเชื่อมต่อนำ RFID Tag ใดๆ ก็ได้มาใช้งาน โดยใช้ Aruba Access Point ทำหน้าที่ในการอ่านค่าการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังระบบประมวลผลอื่นๆ ทำให้สามารถพัฒนา Application ได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของ Location Services
ปัจจุบันนี้ 3rd Generation Data Center ที่ใช้แนวคิดของ Data Center Fabric บนสถาปัตยกรรมแบบ Leaf-Spine เพื่อรองรับการรับส่งข้อมูลระหว่าง Server ภายใน Data Center ดว้ยกันเองให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ก็เริ่มเจอปัญหาในการใช้งานจริงแล้ว จากการที่เมื่อ Data Center มีขนาดใหญ่มากขึ้น แต่ Network Services และ Security Services บางส่วนกลับยังไม่ถูกผนวกรวมเข้าไปใน Fabric และกลายเป็นคอขวด
4th Generation Data Center จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อนำ Network Services และ Security Services เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์เครือข่ายโดยตรง โดย HPE Aruba ได้จับมือกับ Pensando เพื่อนำหน่วยประมวลผลเฉพาะทางด้าน Network และ Security มาใช้งานภายใน Aruba CX10000 ทำให้ภายใน Data Center Fabric มีความสามารถทุกอย่างที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และไม่เกิดคอขวดในแบบเดิมๆ อีกต่อไป
7. Unified SD-WAN Fabric
ด้วยกรณีการใช้งานของ SD-WAN ที่มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่ Application และ Data ถูกย้ายไปอยู่บน Cloud จำนวนมาก และผู้ใช้งานมีการใช้งานทั้งจากในแบบ Remote Work จากบ้านแต่ละหลังหรืออุปกรณ์แต่ละชิ้น, การมีออฟฟิศขนาดเล็กที่บ้าน, ออฟฟิศสาขาขนาดเล็ก ไปจนถึงธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้ SD-WAN ได้รับความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก
ช่วงที่ COVID-19 แพร่ระบาดอย่างหนักได้ทำให้พนักงานออฟฟิศจำเป็นต้องใช้ระบบประชุมออนไลน์แทน ซึ่ง MS Teams คือหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้งานกันมาก หากแต่เมื่อสถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น และพนักงานเริ่มกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแล้ว Alcatel-Lucent Enterprise จึงได้เข้าไปช่วยเชื่อมโยงระบบตู้โทรศัพท์แบบอะนาล็อกให้เข้ากับได้กับ MS Teams จนสามารถทำงานร่วมกันได้สำเร็จ
Operational Technology (OT) ในปัจจุบันเริ่มถูกหลอมรวมเข้าสู่ระบบ IT มากขึ้นเรื่อยๆ คุณณฐวัฒน์ ศิริพลับพลา Data Center Software Solutions Consultant (Thailand & APJ) จาก Schneider Electric ได้ออกมาแนะนำการหลอมรวม IT/OT สู่ระบบนิเวศทางไซเบอร์อย่างมั่นคงปลอดภัย พร้อมแนะนำมาตรฐาน IEC 62443 และแนวทางปฏิบัติในการออกแบบและวางกลยุทธ์ด้าน OT Security อย่างบูรณาการ เพื่อให้องค์กรมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติได้อย่างยั่งยืน โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
Digital Transformation นำมาซึ่งการหลอมรวม OT และ IT เข้าสู่ระบบนิเวศไซเบอร์
การทำ Digital Transformation เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมสู่การเป็น Industry 4.0 ก่อให้เกิดการหลอมรวมกันระหว่างระบบ OT และ IT เข้าด้วยกัน เครื่องจักรถูกเชื่อมต่อเข้ากับเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า และยกระดับการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการผลิตต่างๆ ถูกผสานรวมเข้ากับระบบ IT มากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำ Digital Transformation ก็ต่อเมื่อองค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคงปลอดภัย
Cybersecurity คือความท้าทายอันดับหนึ่งของการทำ Digital Transformation
จากรายงานการสำรวจ Morgan Stanley-Automation World Industrial Automation Survey โดย AlphaWise พบว่า ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์คือความท้าทายสำคัญอันดับหนึ่งของการทำ Digital Transformation องค์กรควรจัดสรรงบประมาณให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 10 – 14% ของงบประมาณด้าน IT ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จัดสรรงบประมาณด้าน IT ให้กับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพียง 2% เท่านั้น คำถามคือองค์กรที่ใช้ OT เช่น อุตสาหกรรมการผลิต ควรเริ่มต้นการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างไร?
เมื่อระบบ OT หลอมรวมเข้ากับระบบ IT การทำ OT Security จะไปขยายในส่วนของ Physical Security และ IT Security องค์กรสามารถใช้เครื่องมือด้าน IT Security ที่มีอยู่เพื่อประยุกต์ใช้ในการปกป้องระบบ OT ได้ อย่างไรก็ตาม ต้องตระหนักว่า OT ส่วนใหญ่จะไม่มี Mission Critical Data แต่การทำงานจะเป็นแบบ Mission Critical Tasks เนื่องจากอยู่ในส่วนของกระบวนการผลิตซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจ
เริ่มต้น OT Security ด้วยกรอบการทำงานตามมาตรฐาน IEC 62443
IEC 62443 คือกรอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานพื้นฐานทั่วไปด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับระบบ OT โดยเน้นที่ 3 ประเด็นหลัก คือ
หลอมรวม IT/OT สู่ระบบนิเวศทางไซเบอร์อย่างมั่นคงปลอดภัย คุณณฐวัฒน์ ศิริพลับพลา Data Center Software Solutions Consultant (Thailand & APJ), Schneider Electric
12:00 – 13:30
พักรับประทานอาหารกลางวันและเยี่ยมชมบูธ
งานสัมมนานี้เหมาะสำหรับ: CIO, CTO, CISO, DPO, IT Manager, Compliance Manager, Cloud Architect, Security Engineer, Security Analyst, Network Engineer, IT Admin, IT Auditor และผู้ที่สนใจด้าน Cloud, Data Center, Networking และ Cybersecurity
พิเศษ!! ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรับ MacBook Air (M2), AirPods Max และ Sandisk Extreme Portable SSD อย่างละ 2 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 130,000 บาท