คลังเก็บป้ายกำกับ: OTHER_TECHNOLOGY

จบที่ SDC ที่เดียว บริการต่อ MA อุปกรณ์ IT Hardware

ด้วยสถานการณ์โควิดที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ หลายๆ บริษัทคงกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ การเลือกทำ MA ให้กับอุปกรณ์ IT แทนที่จะ Upgrade อุปกรณ์เป็นรุ่นใหม่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเรามาดูกันว่าทำไม ลูกค้าส่วนใหญ่เลือกใช้บริการกับทาง Systems Dot Com (SDC)

โดยครอบคลุม การจำหน่าย บริการติดตั้ง บริการให้เช่า และบำรุงดูแลรักษาอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ หรือการให้บริการ MA (Maintenance Agreement Service) ภายใต้แบรนด์ชั้นนำทางด้าน IT อาทิ IBM, Dell, HP, Lenovo, Cisco และอื่นๆ ด้วยความพร้อมและความเชี่ยวชาญ SDC จึงมีธุรกิจองค์กรทั่วไทยตัดสินใจเลือกใช้บริการมากกว่า 300 แห่ง ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมในระยะเวลาเพียง 20 ปี 

SDC ให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการอะไหล่สำรองที่เพียงพอและเหมาะสมกับลูกค้า ตลอดอายุสัญญาการให้บริการ จึงสามารถมั่นใจได้ว่าในระยะเวลาที่ให้บริการ ทาง SDC จะสามารถจัดหาอะไหล่มาทดแทนอุปกรณ์ที่เสียหายได้อย่างแน่นอน และเพื่อความสะอาด ต้านภัยโควิด ทาง SDC มีการฆ่าเชื้อ Spare Part ทุกชิ้น ก่อนส่งมอบให้กับทางลูกค้า

การให้บริการของ SDC นี้ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันในแต่ละสัปดาห์ สามารถรับประกัน SLA ได้ถึง 4 ชั่วโมงและมี Response Time ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น และเพื่อให้การให้บริการมีความโปร่งใสสามารถติดตามได้ ทาง SDC จึงได้มีการจัดเตรียมช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย ทั้ง Call Center, LINE Official Account และ Facebook 

ไม่เพียงแต่การบริการที่ดีเท่านั้น แต่ SDC ยังได้ออกแบบให้รูปแบบการลงทุนใช้บริการมีความยืดหยุ่น ด้วยการเปิดให้ธุรกิจองค์กรสามารถกำหนด Payment Term ได้ด้วยตนเองให้เหมาะสมกับธุรกิจ และวางแผนการลงทุนใช้จ่ายได้ชัดเจนและง่ายดายยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ผู้ที่สนใจบริการ Hardware Maintenance Agreement Service หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ทางด้าน IT Infrastructure สามารถติดต่อทีมงาน SDC ได้ทันทีที่อีเมล์ marketing@systems.co.th หรือโทร 02-744-1600 หรือ line @sdc_executive และเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ SDC ได้ที่ http://www.systems.co.th/ma-service/special

from:https://www.techtalkthai.com/sdc-on-stop-service-of-ma-for-it-hardware-equipment/

Advertisement

[รีวิว] ติดขอบสนาม Technology Innovations ใน FIFA World Cup 2022 ที่กาตาร์

มหกรรมฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ได้เปิดฉากการแข่งขันนัดแรกของแต่ละกลุ่มแล้ว สิ่งที่ถูกกล่าวถึงกันมากที่สุดนอกเหนือจากสีสันของผลการแข่งขันนั่นก็คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา จะเห็นได้จากการยิงประตูที่ดีใจเก้อในหลายๆ ครั้ง ล้วนถูกปฏิเสธสกอร์จากการทำงานของเทคโนโลยีที่ถูกติดตัังไว้ภายในสนามฟุตบอลเพื่อรับบทบาทการเป็นผู้ช่วยให้กับผู้ตัดสินชี้ขาดได้รวดเร็วมากขึ้น ทำให้มีผลการแข่งขันที่ขาวสะอาด ไร้ซึ่งดราม่าหลังเกม ประจักษ์ชัดด้วยภาพเคลื่อนไหวแบบ 3D สู่สายตาผู้ชมทั่วทุกมุมโลก เบื้องหลังความล้ำสมัยเหล่านี้ ถูกขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมเทคโนโลยีซึ่งเข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง และเป็นการยกระดับให้กับวงการกีฬาสู่ความยั่งยืนที่ยอดเยี่ยม
 

Image Blackground : FIFA
นอกจากผลการแข่งขันที่มีทั้งการโชว์ฟอร์มสมกับราคาทีมเต็งแชมป์หรือการพลิกล็อกหักปากกาเซียนแบบช็อกโลก ยังมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขันมากมาย ทั้งการตัดสินให้ลูกจุดโทษย้อนหลังหรือการใช้เทคโนโลยีการตรวจจับล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ ประสิทธิภาพได้แสดงให้เห็นกันในทุกเกมการแข่งขันโดยเฉพาะแมตท์การแข่งขันระหว่างทีมอาร์เจนติน่า กับ ซาอุดีอาระเบีย ที่มีการปฏิเสธสกอร์แม้ว่าจะส่งลูกบอลเข้าสู่ก้นตาข่ายถึง 3 ครั้งโดยทีมฟ้าขาวจากทวีปอเมริกาใต้ที่มีสตาร์ดาวดังอย่าง “เมสซี่” ก็ติดกับดักเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน
 
 

Technology Innovations

FIFA World Cup 2022 ที่กาตาร์


 

 

เทคโนโลยี AI Rihla และ Multi-Camera ทั้ง 8 สนาม

Al Rihla แปลว่า “การเดินทาง” ในภาษาอาหรับ และได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม เรืออันเป็นเอกลักษณ์ และธงชาติกาตาร์

Image Credit : Adidas
Al Rihla เป็นหนึ่งในนวัตกรรมเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของทัวร์นาเมนต์นี้ ภายในลูกบอลคือระบบกันสะเทือนของ Adidas ซึ่งมีหน่วยวัดแรงเฉื่อย 500Hz เซ็นเซอร์ Inertial Measurement Unit (IMU) ตรวจจับการเคลื่อนไหวและส่งข้อมูลออกมา 500 ครั้งต่อวินาที เป็นข้อมูลเชิงลึกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในทุกองค์ประกอบของการเคลื่อนไหวของลูกฟุตบอลและใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในตัวแบบชาร์จไฟได้ เทคโนโลยีนี้เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นสำหรับผู้เล่นและไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของลูกบอล
 
ข้อมูลจากลูกฟุตบอลจะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลการสัมผัสที่ไม่ชัดเจนเพื่อปรับปรุงคุณภาพและความเร็วของการตัดสินใจในห้อง VAR (Video Assistant Referees) และเทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ ด้วยประสิทธิภาพของข้อมูลที่ได้รับจากลูกฟุตบอลแบบเรียลไทม์ที่มีความแม่นยำสูง จะช่วยยกระดับมาตรฐานให้กับวงการกีฬาฟุตบอลทั้งในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการถ่ายทอดประสบการณ์สู่แฟนบอล
 
เทคโนโลยี Multi-Camera ลูกฟุตบอลจะทำงานเชื่อมต่อผสานการทำงานร่วมกับกล้องแบบติดตามเฉพาะจำนวน 12 ตัวที่ถูกติดตั้งอยู่รอบขอบสนาม เพื่อรับข้อมูลที่ถูกติดตามตำแหน่งภายในสนามหญ้า ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปให้กับผู้จัดการทีมและผู้ตัดสินผ่านแอปของ FIFA เพื่อประเมินผลข้อมูลของผู้เล่นทั้งสองฝ่ายรวมไปถึงการบันทึกค่าสถิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน
 

เทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated offside) และการให้สกอร์ (scoring technology)

FIFA ได้ประกาศว่าเทคโนโลยีการล้ำหน้าแบบกึ่งอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้ที่ FIFA World Cup 2022 ในกาตาร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน โดยนำเสนอเครื่องมือสนับสนุนสำหรับเจ้าหน้าที่วิดีโอแมตช์และเจ้าหน้าที่ในสนาม เพื่อช่วยให้พวกเขาทำหน้าที่ออกมาได้อย่างรวดเร็วขึ้น แม่นยำยิ่งขึ้น และการตัดสินใจล้ำหน้าที่สามารถทำซ้ำได้มากขึ้น
 
โดยหลังจากประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยี VAR ในฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย ประธานฟีฟ่า จานนี อินฟานติโน ได้ประกาศใน The Vision 2020-23 ว่า FIFA จะพยายามใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีในฟุตบอลอย่างเต็มที่และปรับปรุง VAR ให้ดียิ่งขึ้น ในอีกสามปีถัดมา FIFA ยังคงเป็นผู้นำด้าน “technology in the game”
 
FIFA ทำงานร่วมกับ Adidas และพันธมิตรต่างๆ เพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและผู้ให้บริการเทคโนโลยี ฟีฟ่าได้ใช้เวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาในการปรับปรุงระบบ VAR ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีล้ำหน้าแบบกึ่งอัตโนมัติเข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานการแข่งขันให้ผลออกมาขาวสะอาดมากที่สุด
 
จุดเด่น: เทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ
    • ระบบแจ้งเตือนการล้ำหน้าอัตโนมัติแก่ทีมเจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขันในห้องวิดีโอ VAR
    • 3D animation ช่วยปรับปรุงการสื่อสารไปยังแฟนๆ ในสนามกีฬาและผู้ชมโทรทัศน์
    • เทคโนโลยีได้รับการทดสอบเรียบร้อยแล้วในการแข่งขัน FIFA ครั้งก่อน
ข้อมูลด้านเทคนิค
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีกล้องแบบติดตามเฉพาะ และเซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งไว้ภายในลูกฟุบอล
เทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัตินี้ ใช้กล้องแบบติดตามเฉพาะจำนวน 12 ตัวที่ติดตั้งอยู่ใต้หลังคาสนามกีฬาเพื่อติดตามลูกบอลและข้อมูล 29 data points ของผู้เล่นแต่ละคน 50 ครั้งต่อวินาที เพื่อคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำในสนาม ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้ง 29 data points ประกอบไปด้วยแขนขาและทุกส่วนของร่างกายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการล้ำหน้า โดยจะผสานการทำงานร่วมกับ Al Rihla ลูกฟุตบอลที่ใช้ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการของ Adidas ที่จะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญสำหรับการตรวจจับเหตุการณ์การล้ำหน้า ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซ็นเซอร์วัดแรงเฉื่อย (IMU) ที่อยู่ภายในลูกฟุตบอล เซ็นเซอร์นี้ถูกติดตั้งวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางลูกฟุตบอลและจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลของลูกฟุตบอลไปยังห้องควบคุมวิดีโอ 500 ครั้งต่อวินาที ทำให้สามารถตรวจจับ kick point ได้อย่างแม่นยำสูง
 
Image Credit : FIFA
การผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ากับการรวมข้อมูลการติดตามแขนขาและลูกบอล ทำให้สามารถแจ้งเตือนเหตุการณ์ล้ำหน้าได้โดยอัตโนมัติแก่เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขันในห้องวิดีโอ (VAR) ซึ่งมีหน้าที่ทำการตรวจสอบการตัดสินที่ระบบเสนอเข้ามาการตรวจจับตำแหน่ง Kick Point และแสดงแนวเส้นสิ้นสุดวัดตำแหน่งการล้ำหน้าที่ระบบสร้างขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติเช่นกัน ข้อมูลตำแหน่งเหล่านี้จะถูกคำนวณและแสดงออกมาในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่จะทำให้เห็นส่วนประกอบเสมือนจริงของแขนขาที่ผู้เล่นถูกตรวจจับได้ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที และหมายความว่าการตัดสินใจล้ำหน้าจะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำสูง
 
Image Credit : FIFA
data points ตำแหน่งเดียวกันที่ใช้ในการตัดสินจะถูกสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติที่ให้รายละเอียดตำแหน่งแขนขาของผู้เล่นได้อย่างสมบูรณ์ โดยจะแสดงมุมมองที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การล้ำหน้า และแสดงภาพขึ้นบนจอยักษ์ภายในสนามฟุตบอลซึ่งรวมถึงการถ่ายทอดสดทางทีวีด้วย
ตัวอย่างเหตุการณ์เกมการแข่งขันจริงที่เทคโนโลยี เทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติทำงานร่วมกับเทคโนโลยี AI Rihla
    • เหตุการณ์ล้ำหน้าซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่นัดแรกของการแข่งขันมีการใช้เทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติให้เห็นแล้วโดยเฉพาะเกมที่อาร์เจนตินาแพ้ซาอุฯ ด้วยสกอร์ 1-2 นัดนี้ทีมอาร์เจนตินาส่งลูกฟุตบอลเข้าสู่ก้นตาข่ายถึง 3 ลูก (ไม่นับลูกจุดโทษ) แต่ถูกเทคโนโลยีการล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติตรวจจับว่ามีล้ำหน้าและปฏิเสธการให้สกอร์ทั้งหมด
    • เหตุการณ์ทำฟาวล์ของผู้เล่นในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะภายในกรอบเขตโทษที่ชี้วัดการให้ลูกตั้งเตะที่จุดโทษที่ผู้ตัดสินในสนามมองไม่เห็นเหตุการณ์ ตัวอย่างที่ทีมอาร์เจนติน่า ได้จุดโทษย้อนหลังเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วและเป็นประตูขึ้นนำจากการสังหารของ เมสซี่ สตาร์ดาวดังของทีม โดยการแจ้งเตือนอัตโนมัติจากเทคโนโลยี VAR
scoring technology หรือ goal line technology อีกเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้ถูกกล่าวถึงนั่นก็คือ การตัดสินสกอร์ที่มีข้อกังขา ผู้ตัดสินจะมีหน้าจอที่ข้อมือเพื่อช่วยตัดสินว่าการยิงประตูนั้นเป็นสกอร์หรือไม่ อันที่จริงสิ่งนี้จะดีขึ้นด้วย VAR แต่เจ้าเซ็นเซอร์ในลูกฟุตบอลบอลของ Adidas จะผสานการทำงานร่วมกับกล้องเพื่อช่วยให้แน่ใจว่าจะไม่มีการโต้เถียงเกิดขึ้นแม้ว่าผู้รักษาประตูจะรับลูกฟุตบอลจากภายในประตูซึ่งล้ำเส้นสีขาวแล้วก็ตาม
 

FIFA Player App

เป็นครั้งแรกที่ผู้เล่นในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 จะสามารถเข้าถึง FIFA Player App ได้ แอปนี้พัฒนาขึ้นโดยอิงจากผู้เล่นระดับมืออาชีพ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของผู้เล่นในสนามและข้อมูลประสิทธิภาพทางร่างกายของผู้เล่นรายบุคคลหลังจบจากการแข่งขันทุกเกม
 
Image Credit : FIFA
FIFA Player App ประสบความสำเร็จในการทดลองใช้จริงกับผู้เล่นจากทีมต่างๆ ที่ FIFA Arab Cup 2021 และนำเสนอต่อทีมที่เข้าร่วม FIFA World Cup ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการของทีมล่าสุดในโดฮา FIFA Player App ได้รวบรวมข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงและเมตริกข่าวกรองที่รวบรวมโดยทีมนักวิเคราะห์ประสิทธิภาพจาก FIFA ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลการติดตาม ซึ่งจะพิจารณาว่าผู้เล่นเคลื่อนที่ไปรับบอลหรือไม่ เคลื่อนที่อย่างไร เทคติกเกมรุกที่กดดันคู่ต่อสู้มีรูปแบบใดบ้าง ตำแหน่งแนวรับป้องกันการถูกโจมตีอย่างไร และข้อมูลรูปแบบอื่นๆ ของเกมการแข่งขัน
 
FIFA Player App ประกอบด้วยเมตริกสมรรถภาพทางร่างกายที่รวบรวมผ่านการติดตามในสนามกีฬาผ่านกล้องแบบติดตามเฉพาะทั้ง 12 ตัว ตัวอย่างเช่น แอปจะแสดงระยะทางที่ครอบคลุมตามเกณฑ์ความเร็วต่างๆ จำนวนของการกระทำที่มากกว่า 25 กม.ต่อชม. (ประมาณ 15 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความเร็วสูงสุด แอปนี้จะช่วยประมวลผลข้อมูลให้ผู้เล่นได้เห็นผลงานของตนเองในทุกแมตท์การแข่งขันในฟุตบอลโลกที่กาตาร์ 2022 หนนี้ ซึ่งจะให้ข้อมูลส่วนตัวสำหรับผู้เล่นแต่ละคนเพื่อดูว่าพวกเขาทำผลงานในสนามเป็นอย่างไรบ้าง ผู้เล่นสามารถย้อนดูภายหลังการแข่งขันได้สะดวกและง่ายดาย นอกจากนี้ ภาพถ่ายแอคชันต่างๆ ที่ถูกถ่ายไว้ในช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขัน FIFA World Cup ในแต่ละนัดจะถูกบันทึกเก็บไว้และแชร์ไว้ในฐานข้อมูลของแอปเพื่อให้ผู้เล่นแต่ละคนเข้าถึงได้สะดวก ผู้เล่นจะสามารถบันทึกหรือแชร์รูปภาพต่อบนโซเชียลมีเดียพร้อมกับแนบข้อมูลค่าสถิติการแข่งขันที่พวกเขาชื่นชอบได้โดยตรงจากแอปได้เลย
 
หนึ่งในเป้าหมายของ Vision 2020-2023 ของ FIFA คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้บริการฟุตบอล ผู้เล่น และเกมการแข่งขันที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงวิธีที่ FIFA ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เล่นด้วย ทีมงาน FIFA ทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดให้ปลอดภัย ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ FIFA ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่พอร์ทัลการปกป้องข้อมูลของ FIFA และใน FIFA Data Protection Pocket Guide ซึ่งจะอธิบายถึงสิทธิ์ในการปกป้องข้อมูลโดยละเอียด
 
นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง FIFA และ FIFPRO ในการพัฒนามาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการรวบรวม การปกป้อง และการใช้ข้อมูลประสิทธิภาพของผู้เล่นส่วนบุคคล ทั้งสององค์กรทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนด “Charter of Player Data Rights” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานเหล่านี้ ในขณะเดียวกันก็แจ้งให้ผู้เล่นฟุตบอลทราบอย่างโปร่งใสเกี่ยวกับสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของนักกีฬาตามกฎหมายที่มีอยู่ เช่น European General Data Protection Regulation (GDPR) กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ สหภาพยุโรป
 
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GDPR กับ PDPA ต่างกันอย่างไร
 

เทคโนโลยี Bonocle และ Feelix Palm เพื่อเปิดโลกความบันเทิงให้กับผู้พิการทางสายตา

เพื่อให้แฟนๆ ที่เป็นผู้พิการทางสายตาสามารถเพลิดเพลินไปกับ FIFI World Cup 2022 ด้วยการนำเครื่องมือของ “Bonocle และ Feelix Palm” Bonocle เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงอักษรเบรลล์แห่งแรกของโลก ด้วยการใช้ฟังก์ชันการแปลงรหัสและเทคโนโลยีบลูทูธ บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถสัมผัสกับความตื่นเต้นของการแข่งขันฟุตบอลโลกได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆ

Image Credit : Bonocle
Bonocle ความบันเทิงอักษรเบรลล์ เป็นอุปกรณ์อักษรเบรลล์เซลล์เดียวแบบพกพาที่ทำหน้าที่เหมือนตัวควบคุมสำหรับสมาร์ทโฟน เป็นนวัตกรรมและออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์เพื่อให้ทำงานเหมือนกับจอแสดงผลอักษรเบรลล์แบบไม่มีบรรทัด โดยใช้แอปพลิเคชันที่พัฒนาและปรับให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถทำงาน เรียนรู้ หรือเล่น ผ่านเสียงตอบรับที่สัมผัสได้ เช่น อักษรเบรลล์ ระบบสัมผัส และตัวอ่านเสียงแบบ Scree Reader/Voice Over และโต้ตอบกับแอปพลิเคชันผ่านปุ่ม การเคลื่อนไหว และเสียงพูด
 
Bonocle จะเข้ามาช่วยให้ชุมชนกลุ่มผู้พิการทางสายตาทั่วโลกได้สัมผัสกับอรรถรสบรรยากาศของมหกรรมฟุตบอลโลกในปี 2022 ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นการขจัดข้อจำกัดให้แก่ผู้พิการทางสายตาและเป็นการเปิดประตูให้พวกเขาได้ทำการสำรวจโลกของเกมกีฬาด้วยความบันเทิง
 

Feelix Palm เป็นอุปกรณ์สื่อสารด้วยฝ่ามือที่มีคุณสมบัติ (tactile features) จะถูกใช้ในกาตาร์ครั้งนี้ ด้วยการใช้แรงกระตุ้นไฟฟ้า Feelix Palm นำเสนอข้อความคล้ายอักษรเบรลล์ให้กับผู้พิการทางสายตาโดยไม่จำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการได้ยิน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้คนสามารถรับข้อมูลแยกกันโดยไม่จำเป็นต้องเห็นหรือได้ยินข้อมูล Feelix Palm สื่อสารข้อมูลลวดลายสัมผัสด้วยไฟฟ้าไปยังฝ่ามือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดื่มด่ำกับสภาพแวดล้อมได้มากขึ้นโดยรับข้อเสนอแนะแบบสัมผัสบนฝ่ามือ

Image Credit : Feelix Palm

 

เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยภาคประชาชนด้วยกล้อง 15,000 ตัว

Image Credit : spfconsoles.com
Aspire Control and Command Centre เป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการจะทำหน้าที่คอยเฝ้าตรวจสอบสนามกีฬาทั้งหมดพร้อมกัน เพื่อจับตาดูผู้เข้าชมที่คาดว่าจะมีมากกว่าหนึ่งล้านคนตั้งแต่วินาทีที่พวกเขาลงจากเครื่องบินจนถึงตอนที่พวกเขาออกเดินทางจากไป ไขข้อกังวลด้านความปลอดภัยด้วยการรับประกันความปลอดภัยด้วยการติดตั้งกล้องที่มีคุณสมบัติการจดจำใบหน้าทั้งหมด 15,000 ตัวเพื่อส่งข้อมูลไปยังศูนย์ Aspire สำหรับค้นหาบุคคลจากกระทำผิดที่อาจเกิดขึ้นและเพื่อป้องกันการโจมตีของผู้ก่อการร้าย
 

นอกจากนี้ เรื่องของการถ่ายทอดสด FIFA ปรับปรุงด้านคุณภาพของการออกอากาศถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ จำนวน 64 แมทต์ จะถูกส่งสัญญาณภาพระดับ 4K เพื่อความคมชัดสูง สำหรับเครื่องรับที่รองรับเทคโนโลยี 4K เพื่อไม่ให้พลาดในทุกรายละเอียดตลอด 90 นาทีของเกมการแข่งขัน

 

เทคโนโลยีการระบายความร้อนสนามกีฬาขั้นสูง

กาตาร์ได้ปรับปรุงสนามฟุตบอล 7 ใน 8 แห่งที่ใช้แข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ครั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีระบายความร้อนขั้นสูงเพื่อให้สนามกีฬามีอุณหภูมิประมาณ 68 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 20 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับผู้เล่นและแฟนบอล คาดว่าจะยั่งยืนกว่าและประหยัดพลังงานกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเทคนิคการทำความเย็นทั่วไป ระบบทำความเย็นใช้การผสมผสานระหว่างฉนวนและการทำความเย็นแบบกำหนดเป้าหมายเพื่อทำให้เย็นลงเฉพาะในที่ที่มีผู้คนอยู่

ดร. ซาอูด อับดุลอาซิซ อับดุล กานี มีชื่อเล่นว่า ดร. คูล เป็นบุคคลสำคัญในภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ ได้อธิบายว่า “การทำสนามฟุตบอลให้มีอุณหภูมิเย็นลงก็เหมือนกับการทำให้ยานยนต์เย็นลงนั่นเอง การประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเดียวกันในการจัดการระบายความร้อนเหล่านี้ แต่มันมีขนาดที่ใหญ่กว่ามากแค่นั้นเอง” ดร. คูล เป็นวิศวกรที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีทำความเย็นกลางแจ้งสำหรับสนามฟุตบอล FIFA World Cup Qatar 2022 ครั้งนี้ ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาระดับปริญญาเอกเกี่ยวกับการปรับอากาศสำหรับรถยนต์
 
ดร. คูล กล่าวเสริมว่า สิ่งที่เขานำเสนอให้กับเจ้าภาพกาตาร์พิจารณานั้น แตกต่างจากผู้นำเสนอรายอื่นๆ ที่นำเสนอการออกแบบสนามฟุตบอลเป็นหลัก แต่ ดร. คูล ได้นำเสนอสิ่งที่เป็น “เทคโนโลยี” เพื่อการผสานรวมเข้ากับสเตเดี้ยมในรูปแบบใหม่
 
อากาศเย็นเข้ามาทางตะแกรงบนอัฒจรรย์และหัวฉีดขนาดใหญ่บนสนาม การใช้เทคนิคการหมุนเวียนอากาศ อากาศเย็นจะถูกดึงกลับ การระบายความร้อน การกรองและผลักออก และสูบออกอีกครั้งโดยเครื่องไอพ่น นอกจากนี้ เทคโนโลยีทำความเย็นของ ดร. คูล มีความยั่งยืนมากกว่าเทคนิคที่มีอยู่ประมาณ 40% วิธีการของเขาหมายความว่าสนามฟุตบอลจะต้องเย็นลงก่อนการแข่งขันเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานของสถานที่ได้อย่างมากเมื่อเทียบกับวิธีการที่มีอยู่เดิม นอกจากนี้ยังทำให้อากาศบริสุทธิ์ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะไม่มีปัญหาเมื่อนั่งอยู่ภายในสนามฟุตบอล
 
สิ่งที่ยากที่สุด คือ ทำให้สนามกีฬาเย็นลงโดยที่มีการเปิดหลังคาสนามฟุตบอล เพราะนั่นคือที่ที่อากาศร้อนจากภายนอกเข้ามา นั่นเป็นเหตุผลที่มีการศึกษาว่าอากาศสามารถออกทางใดและเราจะดันและดึงกลับได้อย่างไร อากาศจะแตกต่างกันไปในแต่ละสนาม ขึ้นอยู่กับรูปร่าง ความสูง และความกว้างของสนาม ยิ่งไปกว่านั้น ดิฟฟิวเซอร์ใต้ที่นั่งยังช่วยให้มั่นใจได้ถึงความสะดวกสบายของแฟนๆ ที่จะดันอากาศออกเพื่อให้อากาศถ่ายเทอย่างนุ่มนวล นอกจากนี้ เซ็นเซอร์โดยรอบสนามจะรักษาอุณหภูมิให้คงที่และปรับการไหลเวียนของอากาศสำหรับที่นั่งทั้งในที่ร่มหรือกลางแดด
 
“สิ่งที่สำคัญที่สุดในการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพคือคุณไม่ต้องการให้ลมจากภายนอกเข้าสู่สนามฟุตบอล เป็นเหตุผลให้การออกแบบของสนามกีฬาต้องได้รับการศึกษาและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศอุ่นเข้ามาภายในสนามฟุตบอลได้”
 
นอกจากการทำให้สนามกีฬาเย็นลงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำให้พื้นที่สาธารณะอื่นๆ ในกาตาร์เย็นลง Katara Plaza เพิ่งเปิดตัวเป็นพลาซ่าเชิงพาณิชย์แบบเปิดโล่งและปรับอากาศแห่งแรกของกาตาร์ อีกโครงการหนึ่งใน Aspire Park มีทางเดินเย็นซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงาน
 

บทสรุป

มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. – 18 ธ.ค. เป็นครั้งแรกที่ตารางปฏิทินการแข่งขันถูกเลื่อนมาอยู่ช่วงปลายปี เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพภูมิอากาศที่มีความร้อนค่อนข้างสูงของประเทศกาตาร์ ถึงแม้ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอุณหภูมิความร้อนน้อยที่สุดของปีก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้ทำให้นักเตะจากภูมิภาคที่มีอากาศแบบอบอุ่นถึงหนาวเย็นคุ้นชิน สังเกตได้จากภาพบรรยากาศการซ้อมก่อนเริ่มเกมการแข่งขันถึงขั้นต้องใช้ปล่องลมไอน้ำเป่าช่วยคลายความร้อนภายในร่างกาย และนั้นก็เป็นคำตอบว่าทำไมจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีการระบายความร้อนสนามกีฬาขั้นสูงของ ดร. คูล 
 
ตามที่ประธานฟีฟ่า จานนี อินฟานติโน ได้ประกาศใน The Vision 2020-23 ว่า FIFA จะพยายามใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีในฟุตบอลอย่างเต็มที่และปรับปรุง VAR ให้ดียิ่งขึ้น ในอีกสามปีถัดมา FIFA ยังคงเป็นผู้นำด้าน “technology in the game”
 
การประกาศครั้งนั้นหลังจากจบ FIFA World Cup 2018 ที่รัสเซีย และมาประจักษ์ให้เห็นกันที่กาตาร์ 2022 ครั้งนี้ โดยมีนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ได้ปรับปรุงให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น มีการนำระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาผสานทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งภายในลูกฟุตบอลของ Adidas และประมวลผลอัตโนมัติออกมาเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ ที่ผ่านมาในเกมการแข่งขันรอบแรกของแต่ละกลุ่มเทคโนโลยีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงเกมการแข่งขันที่ขาวสะอาดไม่มีข้อกังขา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความแม่นยำสูง แต่คำตัดสินที่เด็ดขาดยังเป็นของมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ตัดสินอยู่ดี จังหวะของเกมการแข่งขันเป็นรูปแบบข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่จะส่งไม้ต่อให้เทคโนโลยีควบรวมบริบททั้งหมดไปชี้ขาดได้ ส่วนอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้าของการจัดมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไปนั้น จะมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมอะไรเพิ่มเติมเข้ามาหรือพัฒนาให้ล้ำหน้าไปกว่าเดิมเราต้องติดตามดูกันต่อไป 
 
ที่มาของข้อมูล:
 

from:https://www.techtalkthai.com/review-technology-innovations-in-fifa-world-cup-2022-qatar/

ขอเชิญร่วมงาน Thailand Smart City Expo 2022 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น [Guest Post]

พบกับที่สุดแห่งงาน Hybrid Exhibition จัดร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่จะรวบรวมนวัตกรรมด้านเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗧𝗲𝗹𝗲𝗰𝗼𝗺 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗗𝗼𝗺𝗼𝘁𝗶𝗰𝘀 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝗲𝗿𝗴𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗜𝗻𝗱𝘂𝘀𝘁𝗿𝘆 𝗮𝗻𝗱 𝗥𝗲𝘁𝗮𝗶𝗹 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝘃𝗶𝗿𝗼𝗻𝗺𝗲𝗻𝘁 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗛𝗲𝗮𝗹𝘁𝗵𝗰𝗮𝗿𝗲 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น Thailand Smart City Expo 2022  ห้ามพลาด! 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2565 ณ ฮอลล์ 3-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พบกับกิจกรรมและสัมมนา สร้างเสริมเมืองอัจฉริยะ

☑SMART TECHNOLOGIES พบเทคโนโลยีและโซลูชันจากกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : พบกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสานต่อโครงการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ จังหวัด ชุมชน พร้อมเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการอสังหาฯ ชั้นนำในภาคเอกชน งานสำหรับผู้เขียนและผู้ประมูลโครงการที่ไม่ควรพลาด


☑𝗦MART CITY INSIGHTS สัมมนากว่า 20+ หัวข้อจากผู้นำเมืองและผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart City ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ : ไปฟังแนวคิดการบริหารพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับโลก กับสัมมนากว่า 20+ หัวข้อ โดยผู้นำเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกแนวคิด นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะและกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า


☑𝗦MART CITIES 𝗦HOWCASE การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการรับรองกว่า 30 เมืองของประเทศไทย : การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะกว่า 30 เมืองของประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษกิจดิจิทัล (depa) เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ยกระดับคุณภาพในด้านสาธารณูปโภค และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

☑𝗦MART 𝗖OMPETITION ชมการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ครั้งแรกในไทย จุดประกายแนวคิดด้านการขนส่งและความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต : ครั้งแรกในไทย! กับการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ที่จะจัดขึ้นในงาน Thailand Smart City Expo 2022 เพื่อจุดประกายแนวคิด ต่อยอดระบบขนส่งอัจฉริยะและการรักษาความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะได้ที่งาน Thailand Smart City Expo 2022
ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

วันที่ : 30 November – 02 December 2022
เวลา :10.00-18.00 Hrs.
สถานที่ : Hall 3-4, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)
สอบถามเพิ่มเติม :  02-229-3524-5

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-smart-city-expro-2022-hybrid-exhibition-guest-post/

ขอเชิญร่วมงาน Thailand Smart City Expo 2022 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น [Guest Post]

พบกับที่สุดแห่งงาน Hybrid Exhibition จัดร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่จะรวบรวมนวัตกรรมด้านเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก เช่น 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗧𝗲𝗹𝗲𝗰𝗼𝗺 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗗𝗼𝗺𝗼𝘁𝗶𝗰𝘀 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝗲𝗿𝗴𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗜𝗻𝗱𝘂𝘀𝘁𝗿𝘆 𝗮𝗻𝗱 𝗥𝗲𝘁𝗮𝗶𝗹 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗘𝗻𝘃𝗶𝗿𝗼𝗻𝗺𝗲𝗻𝘁 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗠𝗼𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 – 𝗦𝗺𝗮𝗿𝘁 𝗛𝗲𝗮𝗹𝘁𝗵𝗰𝗮𝗿𝗲 ภาพเมืองแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร มาดูได้ที่งานนี้เท่านั้น Thailand Smart City Expo 2022  ห้ามพลาด! 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2565 ณ ฮอลล์ 3-4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

พบกับกิจกรรมและสัมมนา สร้างเสริมเมืองอัจฉริยะ

☑SMART TECHNOLOGIES พบเทคโนโลยีและโซลูชันจากกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ : พบกว่า 150+ แบรนด์ที่จะมาจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อสานต่อโครงการพัฒนาทั้งในระดับประเทศ จังหวัด ชุมชน พร้อมเพิ่มศักยภาพให้กับโครงการอสังหาฯ ชั้นนำในภาคเอกชน งานสำหรับผู้เขียนและผู้ประมูลโครงการที่ไม่ควรพลาด


☑𝗦MART CITY INSIGHTS สัมมนากว่า 20+ หัวข้อจากผู้นำเมืองและผู้เชี่ยวชาญด้าน Smart City ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ : ไปฟังแนวคิดการบริหารพัฒนาเมืองอัจฉริยะระดับโลก กับสัมมนากว่า 20+ หัวข้อ โดยผู้นำเมืองในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่จะบรรยายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เจาะลึกแนวคิด นโยบายการส่งเสริมการลงทุนเมืองอัจฉริยะและกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า


☑𝗦MART CITIES 𝗦HOWCASE การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการรับรองกว่า 30 เมืองของประเทศไทย : การจัดแสดงโครงการเมืองอัจฉริยะกว่า 30 เมืองของประเทศไทย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษกิจดิจิทัล (depa) เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ยกระดับคุณภาพในด้านสาธารณูปโภค และชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง

☑𝗦MART 𝗖OMPETITION ชมการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ครั้งแรกในไทย จุดประกายแนวคิดด้านการขนส่งและความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต : ครั้งแรกในไทย! กับการแข่งขัน Drone Soccer 2022 ที่จะจัดขึ้นในงาน Thailand Smart City Expo 2022 เพื่อจุดประกายแนวคิด ต่อยอดระบบขนส่งอัจฉริยะและการรักษาความปลอดภัยสำหรับเมืองในอนาคต

ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะได้ที่งาน Thailand Smart City Expo 2022
ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

วันที่ : 30 November – 02 December 2022
เวลา :10.00-18.00 Hrs.
สถานที่ : Hall 3-4, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)
สอบถามเพิ่มเติม :  02-229-3524-5

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-smart-city-expo-2022-hybrid-exhibition-guest-post/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expro 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expro-2022/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expro 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expro-2022-guest-post/

“เมืองอัจฉริยะ” สร้างคุณภาพชีวิตให้คนเมือง Thailand Smart City Expo 2022 [Guest Post]

“เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City” เป็นหนึ่งในแนวทางที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในทุกเมือง ทุกจังหวัดของประเทศ เพื่อมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

คำว่า “เมืองอัจฉริยะ” ไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่หมายถึงความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิต  รายได้ ที่อยู่อาศัย สุขภาพ ความปลอดภัยของทุกคนในเมืองนั้น หรือประเทศนั้นต้องดีขึ้นด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย ปลอดภัยในรูปแบบการบริหารจัดการเมืองที่จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิตของผู้คน ความปลอดภัย ประเทศไทยได้มีการกำหนดพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัดเลือกเป็เมืองอัจฉริยะต้นเเบบในแต่ละปี

โดยปี 2561-2562 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 10 เมืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ต่อมา ปี 2562-2563 มีการกำหนดเป้าหมายเมืองอัจฉริยะเป็น 30 เมืองใน 24 จังหวัด ปี 2563-2564 กำหนดเมืองอัจฉริยะ 60 เมืองใน 30 จังหวัด และปี 2565 เมืองอัจฉริยะ 100 เมืองใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร  ภายใต้ความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น

ขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ”

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) กล่าวว่า การส่งเสริมเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) คือ การทำอย่างไรให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งคำว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นเมืองที่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม 100% แต่หมายถึงคนในพื้นที่นั้นๆ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพที่ดี มีรายได้ที่ดี มีความเป็นอยู่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

“เมืองอัจฉริยะเกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน จนปี 2562 ประเทศสิงคโปร์ได้มีการดำเนินการเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง และได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ หลังจากนั้นประเทศก็ได้มาขยายผลเกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นอย่างแท้จริง ซึ่งการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการตีความของคำว่าเมืองอัจฉริยะสามารถดำเนินการได้หลากหลาย  จึงได้มีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

5 หลักเกณฑ์ตั้ง “เมืองอัจฉริยะ” ในไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่าสำหรับหลักเกณฑ์ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จะประกอบด้วย 5 เกณฑ์สำคัญ คือ ดังนี้

1.ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายชัดเจน ว่าจะขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในรูปแบบไหน จะเป็นเมืองที่มีนวัตกรรมทั้งหมด 100% หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม Green หรือจะเป็นเมืองที่เน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก เป็นต้น
2.ต้องมีแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมือง จะต้องวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน มีสาธารณูปโภคที่จำเป็น มีระบบ และมีเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมด้วย  
3.ต้องมีระบบจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองที่ปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพียงข้อมูลด้านจำนวนคน จำนวนเศรษฐกิจ แต่เป็นชีวิตของคนในเมือง ต้องเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง  
4.ต้องมีบริการเมืองอัจฉริยะตามลักษณะ 7 ด้าน ได้แก่

  • สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  • พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
  • เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)  
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living )
  • การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
  • พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) 
  • ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)

5.ต้องมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน คือ ไม่ได้พึ่งพิงงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องให้คนภายนอกเข้ามาดำเนินการสนับสนุนได้

เปลี่ยน Mindset ขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

ผศ.ดร.ณัฐพล  กล่าวอีกว่า ในการสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น ดีป้าได้แบ่งเมืองเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีประมาณ 70 เมืองที่เข้าร่วม และกลุ่มเมืองที่ได้รับการประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ประมาณ 30 เมืองใน 23 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด

โดยการแบ่งเมืองออกเป็น 2 ประเภทนั้น เนื่องจากหากเป็นกลุ่มเมืองเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะแสดงว่าอาจจะยังไม่ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์และกำลังจัดทำแผนงานอยู่ ส่วนกลุ่มที่ประกาศเขตเป็นเมืองอัจฉริยะแล้วนั้น กลุ่มนี้ได้ดำเนินการครบทั้ง 5 หลักเกณฑ์แล้วเพียงแต่ในส่วนของการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะอาจจะไม่ได้ครบทั้ง 7 ด้าน

“อุปสรรคหลักของการสร้างเมืองอัจฉริยะ คือ Mindset แบบเดิมว่าเมืองอัจฉริยะต้องเป็นเรื่องที่ภาครัฐลงทุน ขาดความรู้ความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเมืองอัจฉริยะไม่ได้เป็นสิ่งที่ภาครัฐต้องลงทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ทางดีป้า ได้มีการสร้างคนรุ่นใหม่ และพยายามจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเมืองอัจฉริยะ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

โดยมีการสร้างคนรุ่นใหม่ ลงไปทำงานกับคนในพื้นที่ ผ่านโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งรุ่นแรกดำเนินการ Youth Ambassador  หรือนักดิจิทัลพัฒนาเมืองไปแล้ว 30 คน ปีนี้จะเพิ่มเป็น 150 คน  เพื่อช่วยปรับมุมมอง เปลี่ยน Mindset ของคนในพื้นที่ ให้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มช่องทางลงทุนเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชนนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวด้วยว่าดีป้าพยายามผลักดันให้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ต้องทำให้ภาคเอกชนได้กำไรจากการทำร่วมด้วย เพราะรอการลงทุนจากภาครัฐอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ   

ภาครัฐต้องสร้างระบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยภาครัฐอาจต้องสร้างงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อขจัดข้อจำกัดในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และเพิ่มโอกาส ช่องทางการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  

“ตอนนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment) ได้เพิ่มสิทธิแก่ผู้ที่จะนำโซลูชั่นไปใช้ในเมืองที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเมืองอัจฉริยะสูงสุดถึง 8 ปี ซึ่งแสดงว่า ประชาชนจะรับการบริการที่ดี  โดยไม่ต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถหาช่องทางจากเอกชนไปทำงานร่วมกับภาครัฐในพื้นที่ และทางดีป้าได้จัดทำบัญชีบริการดิจิตอล เพื่อให้เอกชนเข้ามาลิสต์รายการที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เลือกใช้และผ่านกระบวนการพัสดุได้ง่ายขึ้น” ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าว

“เมืองอัจฉริยะ” ต้องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น เมืองอัจฉริยะจะต้องมีการกำหนดแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะเป็นGoGreen ได้อย่างไร รวมถึงการแก้ปัญหาด้านมลพิษ ด้านน้ำ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้วย

การดูแลสุขภาพของคนในเมือง ทำอย่างไรให้คนในเมืองเข้าถึงการบริการสาธารณสุข และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโจทย์ที่เมืองอัจฉริยะต้องดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเป็นโจทย์หลักหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัญหาหลักของแต่ละเมืองร่วมด้วย ซึ่งแต่ละเมืองก็มีโจทย์หลักและปัญหาหลักที่แตกต่างกัน

โดยในปี 2566 ดีป้าจะมีการสร้างความร่วมมือในส่วนของท้องถิ่น และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะมากขึ้น และพยายามทำให้เมืองอัจฉริยะมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนกัน เรียนรู้ ช่วยเหลือกัน รวมถึงพยายามหาโซลูชั่นใหม่ๆ เข้ามา ไม่ว่าจะเป็น 5G  หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาการเกษตร และอุตสาหกรรมมากขึ้น  

“การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกคนไม่ว่าจะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ และคนในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นในประเทศจะเป็นการเปลี่ยนแปลง Ecosystem หรือระบบนิเวศของไทย ที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคประชาชน ซึ่งเป็นพลัง มิติการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ เพราะถ้าอาศัยเพียงภาครัฐคงไม่สำเร็จ”ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

เปิดเวทีเมืองอัจฉริยะ Thailand Smart City Expo 2022

“Thailand Smart City Expo 2022” เป็นอีกหนึ่งงานของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของไทย ภายใต้ความร่วมมือของดีป้า  และบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เอ็น.ซี.ซี.) ร่วมจัดงานขึ้น ระหว่าง วันที่ 30 พ.ย.–2 ธ.ค. 65 ณ ฮอลล์ 3-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระหว่างผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ที่นำโซลูชั่นมาใช้ กับภาคประชาชน ชุมชนที่ถือเป็นผู้ใช้นวัตกรรม โซลูชั่นและร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งในส่วนของดีป้า จะนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะที่ได้ดำเนินการไป และแผนเป้าหมายต่างๆ

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบไฮบริด มีการจัดแสดงครอบคลุม 7 กลุ่มประเภทสินค้า รวมกว่า 300 บูธ ได้แก่ ระบบจัดการด้านพลังงาน ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ระบบโรงงานอุตสาหกรรมและร้านค้าปลีก ระบบด้านสุขภาพและโรงพยาบาล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบขนส่งและยานยนต์ และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

โดยภายในงานยังจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ สัมมนาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทุกด้านในการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ สร้างเครือข่าย แบ่งปันความรู้ จากผู้เชี่ยวชาญในหลายอุตสาหกรรม การจัดแสดงหุ่นยนต์อัจฉริยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับ Metaverse กับเทคโนโลยี AR และ 3D Interactive ผ่านแอปพลิเคชัน “Graffity Mappers”

ลงทะเบียนชมงานได้แล้วที่นี่ https://bit.ly/3M1DZ0z

 

from:https://www.techtalkthai.com/ncc-exhibition-thailand-smart-city-expo-2022-guest-post/

เงินเดือนเฉลี่ยใน 10 ตำแหน่งงาน “Blockchain Technology”

เทคโนโลยีบล็อคเชนกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และยังสร้างโอกาสทางอาชีพในตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่ยังต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเข้ามาขับเคลื่อนผลงาน บางตำแหน่งงานต้องการความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคระดับสูง ในขณะที่บางตำแหน่งงานอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านเทคนิคเลยก็ว่าได้

Credit: ShutterStock.com
แน่นอนว่าทุกอาชีพล้วนแต่มีตำแหน่งบทบาทหน้าที่และค่าตอบแทนที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตามในทุกตำแหน่งนั้นเป็นผู้เล่นที่สำคัญในการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญกลั่นกรองออกมาเป็นผลงานให้ประจักษ์ ความยากง่ายในศาสตร์ความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านผนวกเข้ากับประสบการณ์ที่สะสมชั่วโมงบินจนแข็งแกร่ง แต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน แต่ละตำแหน่งงานก็ต้องการคุณสมบัติความรู้ความสามารถของคนทำงานเฉพาะด้านที่แตกต่างกันไป เรามาดูตำแหน่งงาน บทบาทหน้าที่ และค่าตอบแทนเฉลี่ยที่นำเสนอโดย Glassdoor
 
1. Blockchain Full-stack Developer
 
Blockchain Full-stack Developer ตำแหน่งนักพัฒนา blockchain full-stack มีหน้าที่สร้างโครงสร้างพื้นฐานและโปรโตคอลทั้งหมดของแพลตฟอร์ม blockchain ซึ่งจะต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรมที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง เพื่อความเข้าใจทั้งการออกแบบและใช้งาน end-to-end software functions ใช้ประโยชน์จากหลายๆ เทคโนโลยี เพื่อดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลของ Glassdoor เงินเดือนประจำปีเฉลี่ยของนักพัฒนาบล็อคเชนอยู่ที่ 101,827 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
2. Blockchain Solution Architect
 
Blockchain Solution Architect มีบทบาทที่สำคัญและมีส่วนร่วมการวางแผน การออกแบบ และการพัฒนาเฟรมเวิร์กแบบ decentralized platform architecture ความรับผิดชอบหลักของสถาปนิกบล็อคเชนนั้นจะรวมถึงการพัฒนาความปลอดภัยและสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลสำหรับแพลตฟอร์มบล็อคเชน ทำงานร่วมกันกับนักพัฒนาบล็อกเชนและวิศวกรซอฟต์แวร์ เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุด ตำแหน่ง Blockchain Solution Architect เป็นหนึ่งในผู้เล่นระดับชั้นนำในอุตสาหกรรม ดังนั้นค่าตัวจึงค่อนข้างสูง จากข้อมูลของ Glassdoor เงินเดือนพื้นฐานเฉลี่ยของสถาปนิกโซลูชันบล็อคเชนอยู่ที่ 104,459 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
3. Blockchain Analyst
 
Blockchain Analyst ตำแหน่งนักวิเคราะห์บล็อคเชน มีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาว่าระบบบล็อคเชนมีประสิทธิภาพเพียงใด ค้นพบและจัดการกับประเด็นที่ต้องปรับปรุง และเสนอกลยุทธ์เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของแพลตฟอร์มบล็อคเชน ตำแหน่งนักวิเคราะห์บล็อคเชนค่อนข้างใหม่ จากข้อมูลของ Glassdoor ตำแหน่งนักวิเคราะห์บล็อคเชนสามารถทำเงินได้ถึง 82,083 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
4. Blockchain Project Manager
 
ในวัฏจักรการพัฒนาบล็อคเชน ตำแหน่ง Blockchain Project Manager หรือ ผู้จัดการโครงการบล็อคเชน จะดูแลภาพรวมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนไปจนถึงขั้นตอนการดำเนินการและการเปิดตัวโครงการ ดังนั้น ตำแหน่ง Blockchain Project Manager จึงจำเป็นต้องมีทักษะความรู้ทางเทคนิครอบด้าน โดยมีบทบาทหน้าที่หลักในการเป็นตัวเชื่อมรอยต่อระหว่างผู้พัฒนาโครงการและลูกค้า เพื่อให้มีข้อมูลของขอบเขตโครงการเป็นหนึ่งเดียวกัน รวมถึงการสรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับแต่ละบทบาทตำแหน่งผู้เล่นภายในโครงการ จากข้อมูลของ Glassdoor ตำแหน่ง Blockchain Project Manager สามารถสร้างรายได้สูงถึง 112,177 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
5. Legal Consultant
 
Legal Consultant ตำแหน่งที่ปรึกษาทางกฎหมายบล็อกเชน เป็นผู้เล่นที่มีบทบาทความสำคัญของการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบกฎหมายที่ชี้นำทางอุตสาหกรรม เนื่องจากเทคโนโลยีบล็อคเชนเป็นอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการบล็อคเชนนั้นๆ เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายและนโยบายอุตสาหกรรมทุกประการตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มและเปิดตัว
 
นอกจากนี้ ตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมายบล็อกเชนยังให้คำแนะนำในการสร้างและจัดโครงสร้างข้อเสนอสกุลเงินดิจิทัลตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับบล็อกเชนของประเทศด้วย จากข้อมูลของ Glassdoor ตำแหน่ง Legal Consultant ที่ปรึกษากฎหมายสามารถสร้างรายได้สูงถึง 84,448 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
6. Community Manager
 
Community Manager ตำแหน่งผู้จัดการชุมชนบล็อกเชน มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างและจัดการผู้ชมที่สนใจในโครงการบล็อคเชนบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัท ช่วยผสานให้บริษัทบล็อคเชนสามารถติดต่อกับนักลงทุน ผู้ขาย และสมาชิกผ่านทางแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ดังนั้น ผู้จัดการชุมชนบล็อกเชนจะเป็นคนที่ตอบทุกคำถามของลูกค้าเสมือนตัวแทนบริษัท ซึ่งต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ Blockchain อย่างละเอียดอ่อน จากข้อมูลของ Glassdoor ตำแหน่ง Community Manager สามารถสร้างรายได้สูงถึง 75,506 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
7. Blockchain Software Engineer
 
Blockchain Software Engineer ตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์บล็อคเชน มีบทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกับทีมของผู้พัฒนาที่เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนา blockchain-based decentralized application สำหรับใช้งานในระดับองค์กร ดังนั้น ตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์บล็อคเชน จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเป็นสำคัญ เช่น ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากข้อมูลของ Glassdoor ประมาณการเงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์บล็อคเชนอยู่ที่ 105,803 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
8. Blockchain Quality Engineer
 
Blockchain Quality Engineer ตำแหน่งวิศวกรคุณภาพของบล็อคเชน มีหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานข้อผิดพลาดใดๆ ที่พบในระบบไปยังแผนกที่เกี่ยวข้อง โดยทำงานบนพื้นฐานการรับประกันคุณภาพเป็นสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าแพลตฟอร์มบล็อกเชนได้รับการทดสอบ การรับรอง และพร้อมที่จะเปิดตัวแล้ว จากข้อมูลของ Glassdoor เงินเดือนเฉลี่ยของวิศวกรคุณภาพบล็อคเชนอยู่ที่ 84,150 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
9. Blockchain UI/UX Designer
 
Blockchain UI/UX Designer ตำแหน่งนักออกแบบ UI/UX ของบล็อกเชน มีบทบาทหน้าที่ในการออกแบบอินเทอร์เฟซที่มีเอกลักษณ์เฉาะตัว น่าดึงดูดความสนใจ ใช้งานง่าย และเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานที่ยอดเยี่ยม จากข้อมูลของ Glassdoor เงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่งนักออกแบบ UI/UX ของบล็อกเชนอยู่ที่ 80,764 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 
10. Blockchain Writer
 
Blockchain Writer ตำแหน่งนักเขียนบล็อกเชน มีหน้าที่สร้างเนื้อหาในรูปแบบบทความที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้รับชมเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนผ่านทางแพลตฟอร์มต่างๆ จากข้อมูลของ Glassdoor เงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่งนักเขียนบล็อกเชนอยู่ที่ 45,000 ถึง 60,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
 

from:https://www.techtalkthai.com/average-salary-in-10-jobs-for-blockchain-technology/

[Guest Post] เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการปฏิวัติธุรกิจ 5G ผ่านงาน BYOND MOBILE วันที่ 28-29 กันยายน 2565 กรุงเทพฯ

ธุรกิจในปัจจุบันต่างหันมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการนำธุรกิจ 5G และเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงเข้ามาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ ปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ IoT เช่นกับการรุกของระบบอินเทอร์เน็ตของภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน คุณค่าของ 5G เป็นมากกว่าอินเทอร์เน็ตที่เร็วกว่าเดิม เมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เครือข่ายไร้สายนี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญใหม่ในการอำนวยความสะดวกของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นใหม่ในทุกอุตสาหกรรม

จากผลการวิจัยของ  Component (Equipment Platform) เผยให้เห็นว่า ตลาด 5G ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโต 38.7% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวม 129.9 พันล้านดอลลาร์ในปีพ.ศ. 2565-2574 โดยมีปี 2564 เป็นพื้นฐาน

จากความสำคัญดังกล่าว วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค พร้อมเปิดตัวงานแสดงสินค้าใหม่ล่าสุด BYOND MOBILE (บิยอน โมบาย) มีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์ กรุงเทพฯ เพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจเครือข่ายแห่งอนาคต การประชุมและนิทรรศการสองวันจะรวบรวมผู้นำธุรกิจจากกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ เกษตรกรรม การผลิต เมืองอัจฉริยะ และการขับเคลื่อนธุรกิจสู่อนาคต พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ทางอินเทอร์เน็ต การสื่อสารเคลื่อนที่ และไอที

แบรนด์ผู้บุกเบิก 5G ชั้นนำและสตาร์ทอัพภายใต้การจัดงานเดียวกัน

งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยี 5G จะมีการนำเสนอบริษัทชั้นนำของ blue-chip ตลอดจนสตาร์ทอัพที่มาจากสายเทคโนโลยีทั้งหมด บนพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม. งาน BYOND MOBILE จะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชั่น 5G จากแบรนด์ชั้นนำกว่า 50 แบรนด์ อาทิ Nokia, RV Connex, True Corporation และ BD Group ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพาวิลเลียนนานาชาติจากประเทศสหราชอาณาจักร พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีเครือข่ายมือถือและโซลูชันระบบคลาวด์ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และหุ่นยนต์ ตลอดจน AR/VR แมชชีนเลิร์นนิง และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence)

ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ อย่าง Nokia กล่าวว่า ในบูธของ Nokia เราจะจัดแสดงการสาธิตการใช้งาน 5G และโซลูชันเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับเครือข่ายมือถือ บริการคลาวด์และเครือข่าย ตลอดจนโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐาน  นอกจากนี้ เรายังมองหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับการนำ 5G สู่ภาคอุตสาหกรรมระดับองค์กรในด้านโลจิสติกส์ การผลิต การขนส่ง และพลังงาน พร้อมด้วยนวัตกรรมเครือข่ายที่สำคัญมากมาย และใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงจากเครือข่ายไร้สายส่วนตัวมากกว่า 485 เครือข่ายของ Nokia

2 ประเทศไฮไลท์ : ประเทศสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย

พาวิลเลียนนานาชาติจากประเทศสหราชอาณาจักร จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ในนามของกรมการค้าระหว่างประเทศของรัฐบาลสหราชอาณาจักร พร้อมนำผู้ประกอบการชั้นนำมาจัดแสดงภายในงาน ไม่ว่าจะเป็น Astrazeneca (โซลูชั่นสุขภาพแบบดิจิทัล), British Telecom (โทรคมนาคม), Air for Life (เทคโนโลยีด้านสุขภาพ), Albeego (โซลูชันบรอดแบนด์), Awen Collective (ความปลอดภัยทางไซเบอร์), British Telecoms (โทรคมนาคม), Electronic Media Services (โซลูชั่นการเชื่อมต่อ) และ Graphcore (เซมิคอนดักเตอร์) จะแสดงผลิตภัณฑ์และบริการ 5G ล่าสุดของพวกเขาภายในงาน

พบที่ปรึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายใหม่กับสมาคมและสถาบันการศึกษาในอุตสาหกรรม 5G

ขยายความรู้ของคุณและค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในตลาดผ่านการเชื่อมต่อกับสมาคมที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนภายในงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย (DITP), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT), สมาคมการค้าและสถาบันการศึกษา โดยสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย (AIEAT), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (Atsi), สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT), สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA), สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไฮไลท์หัวข้องานสัมมนา 5G ที่น่าสนใจ

ในส่วนของงานสัมมนาเวทีหลักภายในฮอลล์นั้น มีผู้นำทางความคิดมากกว่า 40 ท่านร่วมกล่าวถึงบรรยาย เสวนา และอภิปรายในหัวข้อที่น่าสนใจ เมื่อสิ้นสุดวันแรกของการจัดงาน สตาร์ทอัพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจะผ่านการคัดเลือกให้มานำเสนอนวัตกรรมต่อหน้าผู้ตัดสินระดับแนวหน้าในวงการ ผ่านการแข่งขัน Start-Up Challenge ผู้เข้าชมงานจะได้รับความรู้เชิงลึกผ่านชั้นเรียนรู้และการสาธิตผลิตภัณฑ์จากบริษัท และหน่วยงานต่างๆ โดยมีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ ดังนี้

Status of the 5G Economy in Thailand

Dr. Supakorn Siddhichai. EVP of DEPA

5G the Game Changer

Tawatchai Lerksumrand, Deputy Director, Mobile

Business and 5G Service Innovation, True Corporation

How Urban Data Platforms revolutionize Smart

Cities

Shannon Kalayanamitr, CEO & Founder,

5G Catalyst Technologies

Connected world: An evolution in connectivity

beyond the 5G revolution

Igor Maurell, President, Ericsson Thailand

5G vision: Life in 2030

Dr Mike Short CBE, DIT Chief Scientific Adviser

5G Connectivity and the Future of Mobility

Roland Bock, Global Director Advanced Development – Enabling Technologies, Continental

A playbook for Accelerating 5G in SEA

Thomas Sennhauser, CT and Business LEAD APJ, Intel Corporation

The Status of Tech in SEA

Amarit (Aim) Charoenphan, Angel Investor | Advisor | VC | Techstars Community All-Stars

5G NR device testing: R&S®ATS1800C Compact 3GPP-compliant OTA chamber for 5G NR

mmWave signals

Günter Pfeifer, Product Manager Mobile Radio Test

Signaling, Rohde & Schwarz

 

Future Frontiers: Unlocking the Power of 5G

Technologies

Lalita Linhavetss, Department for International Trade, British Embassy Bangkok

Dr. Mike Short, Chief Scientific Adviser, Department for International Trade, UK

Feat. representatives of British Telecom, Graphcore,

and AstraZeneca

5G, Next-gen mobile networks, AR/VR and the

Metaverse

Terence Mccabe, Chief Technology Officer, Asia Pacific and Japan, Nokia

Obodroid: Service Robot and IT adoption

Obotrons: Building Transformation

Lertluck Leela-amornsin (Senior Engineer)

Sisilpa Srisukson (Innovation Project Manager)

5G & Automation & Robotics

Kanlayanee Kongsomjit, President at TKK Corporation, a MARA member GreetBot, LuckiBot, Robot X, Autonomous Vehicle

BYOND MOBILE (บิยอน โมบาย) เป็นเวทีเจรจาการค้าผ่านงานแสดงสินค้าอันเป็นสะพานที่เชื่อมระดับโลกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่ให้บริการกลุ่มประเทศ 11 ประเทศเพื่อเชื่อมต่อกับตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก แล้วพบกัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน 2565 ณ สามย่าน มิตรทาวน์ ฮอลล์ กรุงเทพฯ เปิดโลกการเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเครือข่ายไร้สายแห่งอนาคต!

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ทาง https://byondmobile.asia/
ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://eventpassinsight.co/el/to/T98EF  [ไม่มีค่าใช้จ่าย]

ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค อีเมล communications@vnuasiapacific.com
โทร. 02-1116611 ต่อ 330, 335

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-byond-mobile-28-29-sep-22-bkk/

[Guest Post] มิว สเปซ เผยแผนรุกธุรกิจในช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าสร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด [mu Space Corp] ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม เผยแนวทางรุกธุรกิจช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าลงทุนสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งเป็นผู้นำรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างเครือข่ายด้านวัสดุอุปกรณ์และสินค้าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจรดปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาวัสดุผลิตดาวเทียม การจัดหาชิ้นส่วนอวกาศ การสร้างอุปกรณ์ ไปจนถึงประกอบออกมาเป็นสินค้า ยิ่งไปกว่านั้น  ยังเตรียมรุกธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หลายด้าน  ทั้งนี้ ได้รับความสนใจทั้งจากสื่อมวลชน และองค์กรต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ เปิดเผยว่า “ มิว สเปซ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการพัฒนาดาวเทียมและระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง (High Power System) โดยทำให้เล็งเห็นความสำคัญในลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่ Human Capital Knowledge (องค์ความรู้), Equipment & Machinery (เครื่องมือและเครื่องจักร) และ Raw Material (วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี) อีกทั้ง ยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก่อนให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ มิว สเปซ จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม Start Up รุ่นใหม่ ให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดี เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนช่วยในการขยายตลาดในอุตสาหกรรมอวกาศได้เติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง CEO และ CTO บริษัท มิว สเปซ

 

จากรายงานเศรษฐกิจเกี่ยวกับธุรกิจด้านอวกาศ ได้มีสื่อมวลชนรายใหญ่และกลุ่มนักวิเคราะห์ระดับชั้นนำ ประเมินมูลค่าอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลก มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2569 จะเติบโตจากมูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มไปถึง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อันเป็นปัจจัยบวกทั้ง ด้านเศรษฐกิจ, ด้านการศึกษา, ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการสร้างอาชีพและการจ้างงาน อีกทั้ง ขยายผลลัพธ์เชิงบวกให้กระจายขยายเป็นวงกว้าง ครอบคลุมไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Mr. Olivier Chalvet, Head of South East Asia (North) Defence and Space activities, AIRBUS

 

สำหรับการแถลงข่าว “Thailand Space Supply Chain 10 ปี กับแผนเดินหน้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ” ที่จัดขึ้นครั้งนี้ ได้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กรระดับชั้นนำ ได้แก่  AIRBUS  บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินระดับโลก โดยยินดีสนับสนุนและมีบทบาทร่วมสร้าง Space Supply Chain ให้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้กล่าวถึง “New Space Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศว่า ขณะนี้ บทบาทได้พลิกจากเดิมที่มีเพียง “ภาครัฐบาล” หรือ “ประเทศมหาอำนาจ” เป็นผู้ดำเนินการหลักเท่านั้น มาสู่กลุ่มภาคเอกชน ซึ่งเข้ามามีบทบาทมากยิ่ง ขึ้น โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. นับได้ว่าเป็นองค์กรหลักที่มีส่วนในการสนับสนุนและผลักดัน New Space Economy ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ  พร้อมทั้งผลักดันนโยบายรัฐบาลผ่าน (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2580) ซึ่งนำเสนอแนวทางในการสร้าง Thailand Space Supply Chain สู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ”

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ Executive Director of GISTDA

 

สำหรับ การสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรอย่างแท้จริง ปกติต้องใช้ระยะเวลากว่า 30 – 40 ปี ในขณะที่ มิว สเปซ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นในจุดยืน ที่จะสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศอย่างจริงจัง ประกอบกับได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มนักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ นักลงทุนชั้นนำอย่างบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ – อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทย รวมถึงบริษัท Majuven Fund พร้อมกลุ่มนักธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น ผู้บริหารจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) รวมทั้งนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกมากมายทั้งในและต่างประเทศ ส่งผล มิว สเปซ สามารถสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

ผู้สนใจ  สามารถรับชมภายในโรงงานบริษัท มิว สเปซ ได้ที่ https://www.facebook.com/muSpaceTech/videos/1272137476855975/

 

 

 

 

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-muspace-thailand-space-supply-chain/