คลังเก็บป้ายกำกับ: BLOCKCHAIN

พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบาย Blockchain Hub แห่งอาเซียน, กระเป๋าเงินดิจิทัลด้วยบล็อคเชน

พรรคเพื่อไทย ประกาศนโยบาย “ประเทศไทยเป็น Blockchain Hub แห่งอาเซียน” เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยระดมทุนจากทั่วโลกโดยไม่ต้องผ่านระบบธนาคารแบบเดิม ส่งเสริมให้ศิลปินไทยขายงานเป็น NFT ไปยังตลาดโลกได้

นโยบายเรื่องบล็อคเชนของพรรคเพื่อไทย เป็น 1 ใน 8 นโยบายใหม่ที่เปิดตัววันนี้ โดยขยายความต่อจากประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่จะสร้าง Blockchain ของประเทศไทยเอง เพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเกษตร และทำ NFT ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยยังมีนโยบายอีกข้อคือ ให้คนไทยทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปได้ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” (Digital Wallet) ที่สร้างด้วยบล็อคเชน ใช้เงินดิจิทัล (ที่เป็นเหรียญ) ที่ได้รับจากภาครัฐ (ยังไม่ระบุตัวเลข) เพื่อจับจ่ายกับร้านค้าชุมชนในรัศมี 4 กิโลเมตรรอบที่อยู่อาศัยตามบัตรประชาชน หากใช้ไม่หมดภายใน 6 เดือนจะหมดอายุจนไม่สามารถใช้งานได้

No Description

No Description

No Description

No Description

คลิปเต็ม ช่วงที่พูดถึง Blockchain Hub อยู่ราวชั่วโมงที่ 1:21 และช่วงที่พูดถึงกระเป๋าเงินดิจิทัล อยู่ราวชั่วโมงที่ 1:38

from:https://www.blognone.com/node/133062

Advertisement

เกมผจญบทใหม่ ก่อกำเนิดมหาสงคราม Eternal Paradox เปิดให้ทดลองเล่นแล้ววันนี้ ทั้ง Android และ iOS ,PC

สำหรับเกม Eternal Paradox เป็นเกมมมือถือในรูปแบบ 4X RPG เทิร์นเบส ให้เราร่วมมหากาพย์การสำรวจและการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ และต่อสู้เพื่อพัฒนาที่ดิน ฝึกฝนทหารรับจ้าง และท้าทายคู่ต่อสู้ที่เก่งกาจ เพื่อครอบครอง The Ring of Ruin

นอกจากนี้ ผู้เล่นที่ได้อันดับสูงสุดในแต่ละหมวดหมู่จะได้รับรางวัลเป็น ‘เจ็มส์’ (สกุลเงินในเกม) มูลค่ากว่า 5,000 ดอลลาร์ (หรือประมาณ 170,000 บาท) ซึ่งตัวเกมมีทั้งหมด 4 หมวดหมู่ ได้แก่ คอมแบท พาวเวอร์ (Combat Power), โหมดชาเลนจ์ (Challenge Mode), ทำลายล้างลีเจินส์ชะคราม (Destroy the Shakraam Legions) และเอาท์ลอว์ฮันทิ่ง (Outlaw Hunting) 

แต่ความพิเศษของเกมนี้คือ Eternal Paradox เป็นเกมบล็อกเชนแรกของ Gala Games ที่เล่นได้หลากหลายแพลตฟอร์มทั้งบน PC และมือถือ สามารถเข้าไปทดลองเล่นได้ตั้งแต่ 15 มีนาคม ถึงวันที่ 29 มีนาคมนี้ ถ้าใครสนใจอย่าลองไปเล่นกันล่ะ 

 

ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์

 

from:https://droidsans.com/eternal-paradox-games-playtest-android-ios/

Coinbase เปิดตัว Base เครือข่าย Layer-2 ที่สร้างบน Optimism

Coinbase ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเปิดตัว Base เครือข่าย Layer-2 ที่สร้างขึ้นจาก OP Stack ของเครือข่าย Optimism โดยชูจุดขายความปลอดภัยจากเครือข่ายที่พัฒนาบน Ethereum, ค่า Gas ที่ต่ำ และออกแบบมารองรับกับนักพัฒนาไปต่อยอด

จุดขายที่ Coinbase นำมาชู คือนักพัฒนาสามารถสร้างแอปหรือบริการบนเครือข่าย Base และสามารถเข้าถึงผู้ใช้งาน Coinbase ที่มีมากกว่า 110 ล้านคน รองรับการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่

นอกจากนี้ Coinbase ยังประกาศตั้ง Base Ecosystem Fund เพื่อให้เงินสนับสนุนเริ่มต้นสำหรับโครงการที่พัฒนาบน Base ซึ่งเข้าเกณฑ์เงื่อนไข ทั้งนี้ Coinbase บอกว่าไม่มีแผนการออกโทเค็นบนเชนใหม่นี้

ที่มา: Coinbase

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132753

การศึกษาล่าสุดเผยบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง ช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศไทยได้กว่า 75,800 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) [Guest Post]

ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน

กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2566 – อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน

การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง

ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย

หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต

“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้

จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว

“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์

AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”

AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล

“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”

“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว

AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565

ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million

ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce”  

from:https://www.techtalkthai.com/recent-study-reveals-aws-workforce-with-advanced-digital-skills/

บิทคับ อะคาเดมี ร่วมกับ โรงเรียน อัสสัมชัญ (บางรัก) เสริมทักษะด้านเทคโนโลยี [Guest Post]

ผ่านโครงการ “เปิดโลกกิจกรรมการเรียนรู้ Metaverse with Blockchain”

วันที่ 20 มกราคม 2566 ณ บิทคับ เอ็ม โซเชียล ชั้น 9 ศูนย์การค้าเอมควอเทียร์ บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด  หรือที่รู้จักกันในนาม บิทคับ อะคาเดมี ศูนย์การเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมสร้างคอมมูนิตี้และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ร่วมกับ โรงเรียนอัสสัมชัญ (บางรัก) จัดโครงการ “เปิดโลกกิจกรรมการเรียนรู้ Metaverse with Blockchain” เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สนใจ ให้มีความพร้อมเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลดิสรัปชัน

โครงการ “เปิดโลกกิจกรรมการเรียนรู้ Metaverse with Blockchain” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ได้แก่ การบรรยายในภาคทฤษฎี ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายปิติภูมิ รักษ์ชูชีพ หัวหน้างานพัฒนาธุรกิจ และ นายกันตณัฐ วุฒิธร นักพัฒนาธุรกิจ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก บิทคับ อะคาเดมี เพื่อให้ความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ หัวข้อ “เทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล” ประกอบด้วยประวัติศาสตร์การเงินโลก, การทำงานของบล็อกเชน, กรณีศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชนของ NFT และ เมตาเวิร์ส, การประยุกต์ใช้เมตาเวิร์สกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสหกรรมบันเทิง อุตสหกรรมการศึกษา อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น

หัวข้อ “เมตาเวิร์ส” ได้บรรยายเกี่ยวกับ “แซนด์บ็อกซ์” ตัวอย่างแพลตฟอร์มเกมในโลกเสมือนจริงบนบล็อกเชน ที่มีเหรียญ SAND เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม ผู้เล่นสามารถทำภารกิจต่าง ๆ อาทิ สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างตัวละคร หรือ สินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ และนำไปใช้ในเกม หรือขายผ่านตลาด NFTs รวมไปถึงการร่วมมือกันของบริษัท Epic Games และศิลปินระดับโลกอย่าง ทราวิส สกอตต์ ในปี 2020 เพื่อสร้างคอนเสิร์ตเสมือนในโลกของเกม Fortnite ให้เหล่าแฟนเพลงและเกมเมอร์ได้เข้าไปฟังกันมากถึง 12 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีการบรรยายในหัวข้อ “มหกรรมดิจิทัลในประเทศไทยที่น่าสนใจ” อาทิ “งาน Digital Thailand Big Bang”   ซึ่งเป็นงานที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลจากทั่วโลกมาแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับประสบการณ์ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้จริง และนำไปสู่การขับเคลื่อนประเทศเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน

ในช่วงท้ายของการบรรยาย บิทคับ อะคาเดมี ยังเปิดโอกาสให้น้อง ๆ สอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

หลังจากการบรรยายในภาคทฤษฎีเสร็จสิ้นแล้ว บิทคับ อะคาเดมี ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ โดยพานักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนเยื่ยมชมสถานที่ Bitkub M Social ซึ่งเป็นดิจิทัลคอมมิวนิตี้แห่งแรกของเมืองไทยที่เป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้การจัดสัมมนาและการประชุม ทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนในการสร้างองค์ความรู้ต่างๆให้กับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรุ่นใหม่  อีกทั้งยังสร้างประสบการณ์การชอปปิง โดยการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ร่วมกับวงการค้าปลีกเป็นแห่งแรก ๆ ของโลก ยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนและการท่องเที่ยว ในภูมิภาคเอเชียเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่ของ Bitkub M Social แบ่งออกเป็นหลายส่วน อาทิ พื้นที่สำหรับจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ, ส่วนจัดแสดงศิลปะ NFT และส่วนจำหน่ายของที่ระลึก เป็นต้น

นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด เปิดเผยว่า “บิทคับ อะคาเดมี มีวิสัยทัศน์และจุดหมุ่งหมาย คือ เป็นศูนย์การเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมสร้างคอมมูนิตี้และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน บิทคับ อะคาเดมี มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีโอกาสนำความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลไปเผยแพร่ให้กับน้อง ๆ ทุกคน บิทคับ อะคาเดมี จะเดินหน้าจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้ต่อไปเพื่อเสริมสร้างอนาคตของคนในประเทศให้แข็งแรง ยั่งยืน และก้าวตามทันยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน”

from:https://www.techtalkthai.com/bitkub-academy-joins-hands-with-assumption-school-bangrak-to-enhance-technology-skills/

ประธาน Square Enix พูดชัด แผนปี 2023 เน้นเกมบล็อกเชน ไม่หวั่นแม้ตลาดคริปโตขาลง

Yosuke Matsuda ประธานของ Square Enix เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2023 เล่าแนวทางของบริษัท ประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้

  • การขายสตูดิโอฝั่งอเมริกา 3 แห่งให้ Embracer Group เป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างบริษัทในระยะยาว การขายสตูดิโอกลุ่มนี้ออกไปจะทำพร้อมกับการเพิ่มกำลังคนฝั่งสตูดิโอหลัก ที่เป็นของ Square Enix มาแต่เดิม (สตูดิโอฝั่งอเมริกาซื้อกิจการมาอีกที)
  • บริษัทกำลังจะเลิกแยกช่องทางการจัดจำหน่าย-การตลาดที่เดิมแบ่งเป็นญี่ปุ่น-โลกตะวันตก ทำงานแยกขาดจากกัน เปลี่ยนมาเป็นองค์กรเดียวกันทำตลาดทั้งโลก (global publishing organization)
  • การลงทุนระยะกลาง จะยังเดินหน้าพัฒนาเกมบล็อกเชนที่ประกาศแผนไว้ตั้งแต่ต้นปี 2022 ซึ่ง Matsuda บอกว่ายังจะทำต่อแน่นอน แม้ปี 2022 เป็นขาลงของตลาดคริปโต, Web 3.0, NFT และปัญหาอื้อฉาวของ FTX ก็ตาม แต่เขามั่นใจว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะมีประโยชน์ในระยะยาว เขาบอกว่าบริษัทกำลังพัฒนาเกมใหม่ๆ ที่ใช้บล็อกเชนอยู่หลายโครงการ (ที่ประกาศไปแล้วคือ Shi-San-Sei Million Arthur) และหวังว่าจะเติบโตได้ในปี 2023

ที่มา – Square Enix, VentureBeat

No Description

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132079

โบรกเกอร์ไม่พอใจตลาดหุ้นออสเตรเลียทิ้งระบบบล็อกเชน หลังสัญญาหลายรอบว่าใกล้เสร็จ

หลังจากตลาดหุ้นออสเตรเลีย ASX ประกาศล้มโครงการพัฒนาระบบเทรดที่ตั้งใจใช้บล็อคเชนหลังพัฒนามา 7 ปี องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น โบรกเกอร์ต่างๆ ก็แสดงความไม่พอใจเพราะต้องลงทุนกับการเตรียมการอัพเกรดระบบไปมาก และก่อนหน้านี้ ASX ก็ยืนยันว่าจะเดินหน้าใช้ระบบใหม่

ASX ลงทุนในโครงการ CHESS Replacement ไปแล้วประมาณ 250 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่แหล่งข่าวก็ระบุกับรอยเตอร์สว่าโบรกเกอร์ก็เสียค่าใช้จ่ายรวมๆ กันเท่ากับตัวตลาดหลักทรัพย์เอง เพราะโบรกเกอร์แต่ละแห่งต้องอัพเกรดซอฟต์แวร์ของตัวเอง ส่งพนักงานไปอบรมตามโอกาสต่างๆ และจ้างที่ปรึกษามาเตรียมความพร้อม

CHESS Replacement เริ่มต้นในปี 2015 โดย ASX เข้าซื้อหุ้น ​5% ของบริษัท Digital Asset ที่ไม่เคยมีประวัติพัฒนาระบบตลาดหลักทรัพย์มาก่อน แต่หลังจากนั้นโครงการก็ขยายสโคปออกไปใหญ่มาก จากเดิมเชื่อมต่อข้อมูล 12 ชุดต่อการซื้อขาย กลายเป็นการย้ายการเชื่อมต่อ 400 รายการไปยังระบบใหม่ทั้งหมด เฉพาะคนของ ASX เองทำงานกับโครงการนี้ 300 คน

รายงานของ ASX เมื่อปี 2021 เคยระบุว่าระบบใหม่นี้ก้าวจากช่วงพัฒนาไปยังช่วงทดสอบและเตรียมการใช้งานแล้ว แต่ Damian Roche ประธาน ASX ก็แก้ตัวว่ารายงานนี้นับเฉพาะส่วน functional เท่านั้น แต่ส่วน non-functional เช่นความปลอดภัยและความสามารถในการรับโหลดของระบบนั้นไม่ได้นับไว้ด้วย และปัญหาหลายอย่างมาเห็นชัดตอนหลังแล้ว

ที่มา – IT News

from:https://www.blognone.com/node/132016

ATCI ฉลองความสำเร็จของอุตสาหกรรมไอทีไทยในเวทีนานาชาติ [Guest Post]

8 องค์กรใหญ่ของไทย คว้ารางวัลอันทรงเกียรติจาก ASOCIO

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ATCI (The Association of Thai ICT Industry) เป็นสมาคมของผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมแรกของประเทศไทย โดยมีวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย ให้เติบโต และแข็งแรง  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

ในปี 2022 นี้ องค์กรของไทยได้ประสบความสำเร็จในการใช้ IT อย่างโดดเด่น และได้รับรางวัลจาก สมาพันธ์ ASOCIO (Asian-Oceanian Computing Industry Organization) ซึ่งเป็นองค์กรภูมิภาค ประกอบด้วยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการจาก 24 ประเทศในภาคพื้นเอเซีย-โอเชียเนีย

ความสำเร็จขององค์กรไทยใน ASOCIO

8 องค์กรของไทย ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจาก ASOCIO ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาองค์กรได้อย่างอย่างโดดเด่น และประสบผลสำเร็จ โดยได้มีการมอบรางวัล ASOCIO Awards ให้กับองค์กรของประเทศสมาชิกที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเทคโนโลยี เช่น Blockchain, IoT, AI, Robotics, Big Data, Cyber Security & Cloud based solutions มาใช้ในการพัฒนาการให้บริการด้านต่าง ๆ และการบริหารขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพจนประสบผลสำเร็จ  คณะกรรมการตัดสินรางวัลของสมาพันธ์ ASOCIO ได้เห็นชอบให้องค์กรของประเทศไทยได้รับรางวัล ASOCIO Awards ในแต่ละสาขาดังนี้

หมวด

องค์กร

1) Outstanding Tech Company Award

บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)

2) Outstanding User Organization Award

บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด

3) Digital Government Award

กรมสรรพสามิต

4) EdTech Award

บริษัท โคนิเคิล จำกัด

5) HealthTech Award

กระทรวงสาธารณสุข

6) Cybersecurity Award

บริษัท ที-เน็ต จำกัด

7) Environmental, Social & Governance Award

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

8) Start-Up Award

บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด

การมอบรางวัลในปีนี้ได้จัดให้มีขึ้น ในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 เวลา 19.00 น. ณ Resorts World Sentosa Convention Centre ประเทศสิงคโปร์ ในการประชุม ASOCIO Digital Summit 2022 ระหว่างวันที่ 26 – 28 ตุลาคม 2565

นายสุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย

นายสุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย กล่าวว่า  “เป็นเรื่องที่น่ายินดี และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  จากความสำเร็จขององค์กรไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในเวที ASOCIO ที่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพกับการบริหารองค์กรและการให้บริการลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลจากองค์กรระดับนานาชาติซึ่งรางวัลในครั้งนี้ถือเป็นแรงผลักดันให้องค์กรทั้งภาครัฐฯ และภาคเอกชนในประเทศไทย ได้มีการเติบโตในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำมาปรับใช้เพื่อพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง 

รายละเอียดผู้ได้รับรางวัล ASOCIO 2022

  1. บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลประเภท Outstanding Tech Company Award

เป็นบริษัทที่สร้างสรรค์นวัตกรรม และพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มสําหรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (บริการธุรกิจดิจิทัล) และนําเสนอผลิตภัณฑ์นั้นแก่ผู้ใช้ในรูปแบบของบริการที่ครอบคลุม (SaaS: ซอฟต์แวร์เป็นบริการ) ระหว่างธุรกิจและรัฐบาล (B2G) ระหว่างธุรกิจและธุรกิจ (B2B) และระหว่างเอกชนและสาธารณะ หรือผู้บริโภค (B2C) เพื่อประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการของบริษัทด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ดีกว่าเร็วกว่าที่
ถูกกว่า

  1. บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด (NDID) ได้รับรางวัลประเภท Outstanding User Organization Award

เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม NDID ซึ่งเป็นระบบนิเวศในการเชื่อมต่อสมาชิกเพื่อส่งและรับคําขอการรับรองความถูกต้อง และข้อมูล เช่น e – KYC, e – ความยินยอม และ e – ลายเซ็น เพื่อเป็นการส่งเสริม
ให้เกิดการยอมรับ และใช้งานสาธารณะ

  1. กรมสรรพสามิต ได้รับรางวัลประเภท Digital Government Award

กรมสรรพสามิตมุ่งเน้นการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยแนวคิดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) รวมถึงการสร้างมาตรฐาน และใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ไม่เพียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บแต่ยังมุ่งหวังที่จะช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับทั้งผู้ประกอบการในด้านความสะดวก รวดเร็ว มีมาตรฐาน อีกทั้งบุคลากรของกรมสรรพสามิตยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ภารกิจของกรมสรรพสามิตประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความยั่งยืนของประชาชน และประเทศชาติ

  1. บริษัท โคนิเคิล จำกัด ได้รับรางวัลประเภท EdTech Award

โคนิเคิล เป็นผู้บริการโซลูชันด้าน การพัฒนาบุคลากรและองค์กร ด้วยแนวคิด Everyday Learning Experience ทำให้องค์กรเป็น Learning Organization หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มที่สร้างด้วยทีมงานของตนเอง เนื้อหาคอนเทนต์ที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในแวดวงต่าง ๆ และบริการให้ปรึกษาด้านการเรียนทุกรูปแบบ

  1. กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรางวัลประเภท HealthTech Award

“Mor Prom” Digital Health Platform สำหรับคนไทย สำหรับบริหารจัดการข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด 19 แสดงประวัติและรายละเอียดการฉีดวัคซีน รองรับการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติการรักษา การตรวจสอบสิทธิรักษา การนัดหมายแพทย์ Telemedicine การให้บริการใบรับรองสุขภาพแบบดิจิทัล พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้านสุขภาพและการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)

  1. บริษัท ที-เน็ต จำกัด ได้รับรางวัลประเภท Cybersecurity Award

เป็นผู้นำในการให้บริการด้าน IT Security สัญชาติไทย มีทีมวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นตัวแทนของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในระดับอาเซียน และได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นทางด้านนวัตกรรมจากนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่มีเครื่องหมายธรรมาภิบาล มีการเผยแพร่ความรู้ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยให้แก่หน่วยงาน และแจ้งเตือนภัยทางด้านเทคโนโลยีแก่สาธรรณะ อย่างสม่ำเสมอ มีผลงานเด่นคือ การเผยแพร่มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยฉบับภาษาไทย วิจัย พัฒนา Drone Jammer และ Drone Detector เป็นต้น

  1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลประเภท Environmental, Social & Governance Award

          การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  ได้นำโซลูชั่น การจัดการสินทรัพย์ระดับองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า กฟผ. ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันได้ขยายการใช้โซลูชันการจัดการสินทรัพย์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไปยังโรงไฟฟ้า และเขื่อน ทุกแห่งแล้ว โดยเทคโนโลยี AI นี้ จะช่วยในเชิงคาดการณ์ พยากรณ์ ด้านพลังงานให้มีความรวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดอย่างราบรื่นตามนโยบาย Carbon Neutrality ของประเทศไทย ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ส่งผลดีต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

  1. บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด ได้รับรางวัลประเภท Start-Up Award

          เป็นบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลที่ให้บริการโซลูชั่น AI สําหรับการตรวจสอบคุณภาพข้าวและพันธุ์ข้าว ด้วยความมุ่งมั่นที่จะผลักดันเทคโนโลยีให้เป็นส่วนหนึ่งของการเกษตร โดยการนําปัญญาประดิษฐ์มาใช้ และนําแพลตฟอร์มดิจิทัลมาสู่อุตสาหกรรมการเกษตรไทย เพื่อเพิ่มมูลค่า ประสิทธิภาพ และยกระดับภาคส่วนนี้ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล  และมุ่งหวังให้ AI โซลูชั่นเป็นตัวกลางระดับโลกในการซื้อขายสินค้าเกษตร ซึ่งจะมีความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

นายสุภัค ลายเลิศ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ที่ 3 จากซ้าย)  ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ Chief  Executive Officer บริษัท ที-เน็ต จำกัด (ซ้ายสุด) นายนพพล พันธ์เงิน ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ที่ 2 จากซ้าย) นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (ที่ 4 จากซ้าย) นายบุญสันต์ ประสิทธิ์สัมฤทธิ์  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (ที่ 5 จากซ้าย) นายภูวินทร์ คงสวัสดิ์  Chief  Executive Officer บริษัท อีซีไรช์ ดิจิทัล เทคโนโลยี จำกัด (ที่ 2 จากขวา) และนายนภสินธุ์  เสือดี Product  Excellence Lead บริษัท โคนิเคิล จำกัด (ขวาสุด)

from:https://www.techtalkthai.com/atci-celebrates-the-success-of-the-thai-it-industry-on-an-international-stage/

NTT DATA แนะสร้าง Loyalty Program ด้วย Blockchain ลดต้นทุน ปลอดภัยสูง สร้างฐานลูกค้าอย่างยั่งยืน

บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้เครือ บริษัท เอ็นทีที เดต้า คอร์ปอเรชัน จำกัด ชี้หลายองค์กรกำลังติดกับดักพัฒนา Loyalty Program แนะใช้เทคโนโลยี Blockchain ลดกระบวนการซับซ้อน และต้นทุนการดำเนินงาน ยกระดับความปลอดภัยขั้นสูง ผูกใจผู้บริโภคไว้กับแบรนด์อย่างยั่งยืน

NTT Data

ฮิโรนาริ โทมิโอกะ ประธานกรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า Loyalty Program ที่จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ และลูกค้าอย่างยั่งยืน กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของแบรนด์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าจนนำไปสู่การสร้าง ความจงรักภัคดีต่อแบรนด์ และต่อยอดทางการตลาด

จากรายงาน Global Loyalty Programs Market Intelligence Report 2022 ในไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่าตลาด Loyalty Program มีแนวโน้มเติบโต 12.6% และมีมูลค่า 142,636.8 ล้านเหรียญสหรัฐในสิ้นปี 2022 และคาดการณ์ว่าตลาดทั่วโลกจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ปีละ 12.2% ในช่วงปี 2022-2026 โดยจะมีมูลค่าถึง 225,907.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2026

ทั้งนี้ เอ็นทีที เดต้า ได้พัฒนา Blockchain Ecosystem อย่างกว้างขวางเพื่อผสานการทำงานระหว่าง ธุรกิจ เทคโนโลยี และความปลอดภัย พร้อมา Loyalty Program ที่สามารถผสานระบบ Back-end จากหลายพันธมิตร ในหลายอุตสาหกรรม ด้วยการเชื่อมต่อบล็อกเชนผ่านระบบ API ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงระบบ Loyalty Program ผ่านแพลทฟอร์มที่ลงทะเบียนไว้ และสามารถสะสม และใช้งานคะแนนจากพันธมิตรที่หลากหลายได้ผ่านแพลทฟอร์มเดียว

“จากประสบการณ์การให้บริการ Loyalty Program กับองค์กรทั่วโลก พบว่าแบรนด์ต่าง ๆ จะมองเห็นถึงความสำคัญของการนำ Loyalty Program เข้ามาให้บริการลูกค้า แต่หลายองค์กรยังมีข้อจำกัดด้านการพัฒนาระบบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความซับซ้อนในขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วม Loyalty Program ทำให้ผู้ใช้งานยกเลิกการเข้าร่วมระบบสมาชิก โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มีพันธมิตร และคู่ค้าที่หลากหลาย ทำให้ไม่สามารถรับรู้ถึงที่มาของข้อมูล และธุรกรรมของข้อมูล”

เอ็นทีที เดต้า มองว่า หนทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนา Blockchain Ecosystem เพื่อช่วยในการรวมศูนย์ และสามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่านแพลทฟอร์มเดียว นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดต้นทุนการจัดการระบบด้วย Smart Contract ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย สามารถติดตามการรับส่งข้อมูลภายใต้ Blockchain Ecosystem เดียวกัน โดยสามารตรวจสอบเวลาเข้าใช้งานข้อมูลในทุก ๆ ธุรกรรม ป้องกันข้อมูลซ้ำซ้อน การฉ้อโกง และการละเมิดที่อาจเกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน การพัฒนา Loyalty Program ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าจนนำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์อย่างยั่งยืน ผ่านแพลทฟอร์มที่เป็น Key Touchpoint ในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ช่วยให้พันธมิตร และคู่ค้าที่อยู่ภายใต้ Blockchain Ecosystem เดียวกัน สามารถวิเคราะห์ และทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า สามารถต่อยอดพัฒนาสินค้า และบริการได้อย่างตรงจุด และเพิ่มประสิทธิภาพของประสบการณ์โดยรวม

from:https://www.thumbsup.in.th/ntt-blockchain-loyalty-program?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ntt-blockchain-loyalty-program

อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+
Noppinij

AIS องค์กรที่ไม่ได้วัดความสำเร็จของตัวเองจากผลกำไรของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่รายนี้จัดหนักมากครับเรื่องการมีส่วนร่วมกับชุมชน, สังคม และแน่นอนกับโครงการต่อยอด “เพื่อสิ่งแวดล้อม” ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste”

เมื่อ AIS เป็นบริษัที่ทำอะไรทำจริง ที่ผ่านมาเป็นแค่การเริ่มต้น จนเกิดเป็น E-Waste+ แพลตฟอร์มจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ที่จะทำให้ทุกคนได้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม สนุกมากขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้น และช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ไปได้พร้อมๆ กัน

DSC04168 | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+
DSC04165 | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

E-Waste+ คืออะไร?

E-Waste+ คือแพลตฟอร์มที่ออกแบบใหม่หมด เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการ E-Waste (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) ได้อย่างถูกต้อง และเกิดผลลัพท์กลับมายังผู้ทิ้งอย่างพวกเราไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อมาจากโครงการจัดการขยะ E-Waste เดิมของ AIS แต่สนุกมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ

เมื่อผู้ทิ้งนำขยะอีเล็คทรอนิคไปทิ้งยังจุดรับที่กำหนด จะสามารถเห็นผลลัพธ์ของการมีส่วนร่วมกลับมาได้ทันทีหลังการทิ้ง ว่าตัวเองได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซ ช่วยลดการใช้คาร์บอนให้โลกไปมากเท่าไหร่ โดยจะตีค่ากลับมาเป็นคะแนนให้เรารู้ผ่านแอปพลิเคชั่น E-Waste+ และจะสะสมไว้เป็นคะแนนส่วนตัวของเรา ซึ่งเป็นแรงจูงใจใหม่ที่แต่เดิมไม่เคยมีมาก่อนให้กับผู้ทิ้ง

โดยคะแนนตัวนี้จะถูกคำนวนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เข้ามาสนับสนุนแนวทางการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการรีไซเคิลขยะ E-Waste โดยจะเป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล และตัวคะแนนที่เราได้รับมาจะถูกจัดเก็บไว้อย่างโปร่งใสผ่านระบบ Blockchain เพื่อให้มันมีมูลค่านำไปต่อยอดทางเศรษฐกิจได้ในภายหลังนั้นเองครับ

Pic E Waste Blockchain 02 | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

แพลตฟอร์มนี้จะเริ่มใช้งานจริงกับ 6 องค์กรนำร่อง ที่เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปด้วยกัน ประกอบด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย

โดยมีส่วนสำคัญคือประชาชนทั่วไปเช่นพวกเรา ที่จะรับหน้าที่เป็น “ผู้ทิ้ง” ที่จะได้เข้าร่วมด้วยการทิ้งให้ถูกที่ ถูกทาง และถูกวิธี รวมพลังกันเป็นวงจรเพื่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญคือผลตอบกลับที่มาในรูปแบบคะแนน มันสามารถต่อยอดจากไอเดียตรงนี้ไปได้อีกมากมายเลยครับ เพราะมีความปลอดภัยโปร่งใสและชัดเจนด้วยระบบ Blockchain ที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานนั้นเอง

E-Waste+ จึงเป็นโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เราอยากจะให้ทุกคนได้เข้าร่วมด้วยช่วยกัน และงานนี้เราได้ AIS เป็นแม่งานอีกครั้ง ที่จัดการวางระบบและโครงข่ายมาให้เสร็จสรรพ พร้อมใช้ได้ทันทีแค่ทุกคนโหลดแอป E-Waste+ เป็นการสร้างกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ครบวงจรตั้งแต่การทิ้งไปจนถึงผู้รับขยะ และตรงไปสู่โรงงานรีไซเคิล

AIS ใช้ศักยภาพและเทคโนโลยีของตัวเองเพื่อสร้างวิธีการที่ง่ายและเกิดประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งมันได้เกิดขี้นในบ้านเราเป็นที่แรกในภูมิภาค SEA นี้ ฉะนั้นอยากให้คนไทยสนใจ และช่วยกันทิ้งขยะ E-Waste กันให้ถูกต้องด้วยกันครับ

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น E-Waste+ ได้ ทั้งระบบ Android และ iOS สามารถลงทะเบียนใช้งานด้วยเบอร์โทรศัพท์ได้ทุกค่ายทุกระบบ

สกรีนช็อต 2022 12 09 201021 | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

ภายในแอปจะสามารถตรวจสอบจุดทิ้งขยะซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ประเมินคะแนนตรวจรับขยะ และเราสามารถตรวจสอบขยะ E-Waste ที่เราเคยทิ้งย้อนหลังได้ด้วยนะครับ มีการแจ้งสถานะชัดเจนและโปร่งใส ว่าเราทิ้งอะไร ขยะถูกนำไปที่ไหน และเราได้คะแนนกลับมาเท่าไหร่?

Pic E Waste Blockchain | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

ในหน้าแอปพลิเคชั่นนอกจากจะระบุคะแนนสะสมของเราแล้ว ยังคำนวนให้เราทราบด้วยว่าได้มีส่วนช่วยลดโลกร้อนไปมากแค่ไหน โดยคำนวนออกมาเป็นค่าคาร์บอนที่เทียบเท่าการปลูกต้นไม้เป็นจำนวนกี่ต้น เรียกได้ว่าน่าใช้และน่ารักครับ ^^ ช่วยโลกช่วยเรา “เราได้ โลกได้ เศรษฐกิจได้ และสิ่งแวดล้อมก็ได้” มีแต่ได้กับได้แบบนี้ ก็ต้องขอบคุณโครงการนี้จาก AIS ครับ

Pic01 E Waste Blockchain | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+

  • โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
  • อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ต เช่น หูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
  • ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น

***ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท

*สำหรับองค์กรใดที่สนใจใช้งานแพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://ewastethailand.com/ewasteplus


นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวในงานเปิดโครงการ

“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

Pic H PR AIS 02 | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”

“โดยเบื้องต้น เราได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรที่จะเดินหน้าสร้างมาตรฐานการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสผ่าน Blockchain  ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคมในวงกว้างต่อไป”

Pic E Waste Blockchain ภาพคู่ | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริม

“AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ทำให้เรามองโอกาสและเห็นขีดความสามารถของ Blockchain ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางธุรกิจ ซึ่งแพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม

โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งจะสามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้  โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้ Carbon Scores ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย”

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อธิบายเพิ่มเติมว่า

“ในฐานะองค์กรหลักที่มีภารกิจในการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero GHG Emission และเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านก๊าซเรือนกระจก ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ในระดับภาคประชาชนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน การทำงานร่วมกับ AIS ในครั้งนี้ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถเชื่อมต่อระบบการทำงานและพฤติกรรมของทุกคนให้เห็นถึงปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันได้ เรารู้สึกดีใจที่จะมีความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูล/กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับแพลตฟอร์มการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล อีเว้นท์ และกิจกรรมประเภทต่างๆ เช่น การคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ได้จากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาใช้เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน | AIS | อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+นางสายชล กล่าวทิ้งท้ายว่า

“จากความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS ที่ลุกขึ้นมาเป็นแกนกลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 2019 ทำให้วันนี้เราได้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการใช้ความสามารถของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการสร้างระบบการจัดการ E-Waste ใหม่ด้วย Blockchain ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมและโลกนี้ให้ดีขึ้น”

 

ข่าว: อีกหนึ่งผลงานเพื่อโลก! AIS เป็นรายแรกของ SEA พลิกโฉมระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ มีที่มาจาก: แอพดิสคัส.

from:https://www.appdisqus.com/ais-e-waste-plus-blockchain-frist-sea/