คลังเก็บป้ายกำกับ: DIGITAL_BUSINESS

Digital Transformation ROI: กำหนดอย่างไร ประเมินอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

ปัจจุบันธุรกิจองค์กรไทยหลายแห่งนั้นก็ได้เริ่มดำเนินกลยุทธ์และโครงการด้านการทำ Digital Transformation กันไปไม่น้อยแล้ว แต่โจทย์หนึ่งซึ่งยังคงเป็นประเด็นสำคัญต่อธุรกิจหลายๆ แห่งอยู่นั้นก็คือคำถามด้านการวัดผลความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ว่าควรจะวัดผลอย่างไร?

ในบทความนี้ได้รวบรวมแนวทางการกำหนดและประเมิน ROI ของโครงการ Digital Transformation เอาไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถนำไปประยุกต์และใช้งานเอาไว้ได้ ดังนี้

ทำไมการกำหนดและประเมิน ROI ของการทำ Digital Transformation จึงเป็นเรื่องยาก?

โดยทั่วไปแล้วการทำ Digital Transformation มักมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่หากสังเกตถึงวัตถุประสงค์ในการทำ Digital Transformation แล้วมักจำแนกได้ออกเป็นไม่กี่รูปแบบ ได้แก่

  1. การปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. การลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง
  3. การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์, บริการ หรือกระบวนการรูปแบบใหม่
  4. การส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นหรือประสบการณ์รูปแบบใหม่แก่ลูกค้าหรือพนักงาน

ในแต่ละวัตถุประสงค์ของการทำ Digital Transformation นั้นก็มีกระบวนการ, เทคโนโลยี, การลงทุน, ระยะเวลาในการดำเนินงาน และผลลัพธ์ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก็มีทั้งผลลัพธ์ที่จับต้องหรือชี้วัดได้ง่าย ไปจนถึงผลลัพธ์ที่จับต้องหรือชี้วัดได้ยาก อีกทั้งยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างดำเนินโครงการได้จากหลายปัจจัย

ด้วยเหตุนี้ ในแต่ละโครงการจึงต้องมีการกำหนดวิธีการในการชี้วัดและประเมินที่เหมาะสม รวมถึงพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ได้อยู่เสมอ

6 ขั้นตอนการกำหนดและประเมินความสำเร็จของโครงการ Digital Transformation

ถึงแม้โครงการด้านการทำ Digital Transformation จะมีความซับซ้อนและอาจมีเป้าหมายที่ธุรกิจองค์กรไม่เคยทำมาก่อน แต่ไม่ว่าโครงการนั้นจะเป็นโครงการลักษณะใด การกำหนดและประเมิน Return on Investment (ROI) ของโครงการเหล่านี้ก็มักจะสามารถทำได้ด้วยกระบวนการ 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ทำความเข้าใจโครงการและเป้าหมายของโครงการ

ขั้นตอนแรกสุดและสำคัญที่สุดนี้ก็คือการทำความเข้าใจทั้งกับรูปแบบของโครงการและเป้าหมายของโครงการด้านการทำ Digital Transformation ให้มีความชัดเจน ว่าโครงการนี้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเป้าหมายใด, มีการวางแผนงานอย่างไร, มีใครในองค์กรที่เกี่ยวข้องบ้าง, มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หรือต้องพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในรูปแบบใดบ้าง ไปจนถึงปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้ผู้กำหนดและประเมิน ROI นั้นเห็นภาพรวมของโครงการ และสามารถกำหนด ROI รวมถึงประเมินได้อย่างเหมาะสม

แนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมในธุรกิจองค์กรไทยนั้น ก็คือการปรับนำ Business Model Canvas (1) มาใช้ในการเรียบเรียงรายละเอียดของโครงการด้านการทำ Digital Transformation โดยทำการเสริมกิจกรรมทางด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเข้าไปในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้การสรุป Input, Output และ Action ในโครงการนั้นอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจและอธิบายได้ง่าย

2. กำหนดตัวชี้วัดทางด้านการลงทุน

เมื่อผู้กำหนดและประเมิน ROI เข้าใจในโครงการเป็นอย่างดีแล้ว ลำดับถัดมาก็คือการกำหนดตัวชี้วัดด้านการลงทุน ว่าภายในโครงการ Digital Transformation นี้จะนับปัจจัยใดเป็นต้นทุนที่ต้องใช้บ้าง และปัจจัยใดบ้างที่จำเป็นต้องประเมินกลับมาเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อสะท้อนถึงความคุ้มค่าในเชิงการลงทุนได้ต่อไป

ในขั้นตอนนี้อาจจะมีความซับซ้อนไม่มากก็น้อย เพราะโดยทั่วไปโครงการ Digital Transformation มักไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดซื้อหรือจัดจ้างผู้ให้บริการมาแล้วจบ แต่มักเป็นโครงการระยะยาวที่มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่เดิมและบุคลากรภายในองค์กรมาร่วมในการดำเนินโครงการด้วย ซึ่งในการชี้วัดแต่ละส่วนก็ต้องมีการกำหนดกระบวนการในการวัดและรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อให้การประเมิน ROI นั้นมีข้อมูลที่แม่นยำ

3. กำหนดตัวชี้วัดทางด้านผลลัพธ์ของโครงการ

ลำดับถัดไปก็คือการกำหนดตัวชี้วัดทางด้านผลลัพธ์ของโครงการ ซึ่งถ้าหากเป็นโครงการในแง่ของการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์, บริการ หรือกระบวนการทำงาน หรือโครงการด้านการลดค่าใช้จ่ายนั้นก็อาจกำหนดตัวชี้วัดในเชิงผลลัพธ์ได้ง่าย แต่หากเป็นโครงการด้านการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าหรือพนักงาน การชี้วัดผลลัพธ์ของโครงการก็อาจทำได้ยากกว่า ดังนั้นการนำแนวคิดในการกำหนด Key Performance Indicator (KPI) ที่ไม่ได้อยู่ในรูปของรายรับหรือรายจ่ายมาใช้ร่วมประเมินด้วยจึงเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการชี้วัดในเชิงรายรับหรือการลดค่าใช้จ่ายแล้ว สำหรับประเด็นอื่นๆ แนวทางที่มักถูกใช้ก็คือการเปรียบเทียบก่อนและหลัง เช่น ในการทำงานสิ่งเดียวกัน หลังทำ Digital Transformation แล้วสามารถประหยัดเวลาได้มากน้อยเพียงใด หรือการสอบถามความพึงพอใจในเชิงประสบการณ์การใช้บริการ ก็อาจถามคำถามเปรียบเทียบก่อนและหลังเอาไว้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถถูกนำไปใช้เพื่อคำนวณกลับเป็นตัวเลขได้

PwC ได้สรุปถึง Framework และตัวอย่างของ Metrics ในการชี้วัด ROI โดยแบ่งแยกตามเป้าหมายในการดำเนินโครงการ Digital Transformation เอาไว้ดังนี้

  • โครงการที่มีลูกค้าเป็นเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์ ใช้ข้อมูลด้านความพึงพอใจของลูกค้าจาก Net Promoter Score, ความรู้สึกในการอยากแนะนำสินค้าหรือบริการต่อ, ตัวเลขตอบสนองใน Social Media, การรีวิวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากลูกค้า
  • โครงการที่มีพนักงานเป็นเป้าหมายในการเสริมสร้างส่วนร่วมและความสัมพันธ์ ใช้ข้อมูลจาก Engagement Score, ปริมาณการสื่อสารทำงานร่วมกับพนักงาน, ความรู้สึกในการอยากแนะนำงานต่อให้กับผู้อื่น, อัตราการลาออก และปริมาณการใช้งานเทคโนโลยีภายในการทำงาน
  • โครงการที่เน้นการปรับปรุงกระบวนและรูปแบบการทำงานมาสู่ Digital สามารถใช้ปริมาณการผลิต, ปริมาณวัตถุดิบและสินค้าในคลัง, ประสิทธิภาพของ Supply Chain, การตอบสนองต่อการสื่อสารด้านธุรกิจ และปริมาณการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าภายในการติดต่อครั้งแรก
  • โครงการที่เน้นด้านความปลอดภัยในการทำงาน สามารถใช้ข้อมูลปริมาณของเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นและสามารถป้องกันได้, ปริมาณการเกิดกรณีข้อมูลรั่วไหล, ปริมาณความเสียหายที่เกิดจากการทุจริต
  • โครงการด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี สามารถใช้ข้อมูลความเร็วในการติดตั้งใช้งานเทคโนโลยีใหม่, ระยะเวลาในการทำงานของระบบใดๆ อย่างต่อเนื่อง และการตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา
  • โครงการด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สามารถใช้ข้อมูลสัดส่วนงบประมาณการลงทุน, ปริมาณของไอเดียใหม่ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบแนวคิด และปริมาณของลูกค้าที่ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่

4. กำหนดระยะเวลาที่จะชี้วัดในโครงการ

โครงการด้าน Digital Transformation แต่ละโครงการนั้นมักจะมีระยะเวลาในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป เช่น โครงการด้านระบบสื่อสารประชุมงาน อาจวัดผลได้ในเวลาอันสั้นจากการที่ระบบที่ใช้นั้นเป็นบริการ Cloud จึงไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้ง เพียงแค่อบรมพนักงานก็สามารถใช้งานได้ทันที ในขณะที่โครงการด้านการพัฒนา Mobile Application สำหรับใช้งานเป็นช่องทางใหม่ในการให้บริการลูกค้านั้น ก็อาจต้องใช้เวลาในการพัฒนานานหลายเดือน และต้องใช้เวลาในการทำการตลาดเพื่อให้ลูกค้าเริ่มใช้งานจนเกิดความคุ้นเคย ทำให้กว่าจะวัดผลได้นั้นก็อาจใช้เวลานานเป็นปี

ขั้นตอนการกำหนดระยะเวลานี้จึงต้องทำให้เหมาะสมสำหรับโครงการแต่ละรูปแบบ และขั้นตอนนี้ก็จะเป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่ทำให้ผู้กำหนดและประเมิน ROI ได้ทบทวนถึงระยะเวลาในการดำเนินโครงการและทำความเข้าใจในแต่ละเฟสของการดำเนินโครงการอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

5. กำหนดโมเดลการคำนวณ ROI และสื่อสารภายในทีมงานให้ชัดเจน

เมื่อมีข้อมูลที่ครบถ้วนจาก 4 ขั้นตอนก่อนหน้าแล้ว การคำนวณ ROI ก็สามารถกำหนดได้ในรูปแบบของโมเดลทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในการคำนวณความคุ้มค่าเบื้องต้นสำหรับโครงการที่ไม่ได้มีความซับซ้อนสูงนั้น ก็อาจใช้อัตราส่วนระหว่างรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาหรือรายจ่ายที่สามารถประหยัดลงไปได้ หารด้วยค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับทั้งโครงการ

แต่สำหรับโครงการ Digital Transformation ที่มีความซับซ้อนสูง ก็อาจต้องมีการนำตัวเลข KPI มาแปลงเป็นค่าเงินด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ก่อนนำมาใช้คำนวณ หรืออาจคำนวณเป็นสัดส่วนในรูปแบบอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายต่อการได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่, ปริมาณลูกค้าที่ให้บริการได้ต่อวัน, โอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มจากลูกค้าในแต่ละวัน, ปริมาณความเสียหายที่ลดลงในแต่ละเดือน, ระดับความพึงพอใจของลูกค้าโดยเฉลี่ยต่อการลงทุน หรืออื่นๆ ให้สอดคล้องกับโครงการ ดังนั้นในโครงการ Digital Transformation หนึ่งๆ ก็อาจมีข้อมูลสำหรับใช้ในการชี้วัดได้หลากหลาย แต่โดยหลักการแล้วควรจะต้องทำให้ผู้ลงทุนเห็นได้ว่าโครงการนี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนจริงหรือไม่เมื่อถึงกรอบระยะเวลาที่ต้องประเมินผล

และเมื่อโมเดลเหล่านี้มีความชัดเจนแล้ว การสื่อสารออกไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบตรงกันก็จะทำให้การทำงานมีเป้าหมายที่ตรงกันมากยิ่งขึ้น และช่วยให้ภาพรวมของการดำเนินโครงการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. ทบทวนและปรับเปลี่ยนโมเดลการคำนวณ ROI ตามความเหมาะสม

ในหลายโครงการ Digital Transformation โดยเฉพาะโครงการที่เป็นการเรียนรู้หรือลองผิดลองถูกกับเทคโนโลยีหรือแนวทางใหม่ๆ นั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระหว่างดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน, การเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้ ไปจนถึงการปรับวัตถุประสงค์ในการดำเนินการไปในทิศทางใหม่

ด้วยเหตุนี้ หลายครั้งตัวชี้วัดในโครงการเหล่านี้จึงมักจะต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ เพื่อให้การชี้วัดยังคงสอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ของการทำ Digital Transformation อยู่นั่นเอง

สนใจการทำ Digital Transformation ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

ในการทำ Digital Transformation สำหรับภาคธุรกิจองค์กรนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการก็คือการมีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจที่ชัดเจน และมีพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีในองค์รวมและเทคโนโลยีเฉพาะอุตสาหกรรมที่จะสามารถดำเนินงานให้วิสัยทัศน์เหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมาได้

AIS Business ในฐานะของ Digital Enabler ที่จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรไทยสามารถประยุกต์นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปเสริมให้กับธุรกิจองค์กรได้อย่างเหมาะสม ด้วยบริการและโซลูชันที่ครบวงจร พร้อมพันธมิตรที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย พร้อมทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถดำเนินโครงการ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และพร้อมต่อยอดสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ในอนาคต

สำหรับผู้ที่สนใจด้านการวางกลยุทธ์ Digital Transformation ภายในธุรกิจองค์กร และกำลังมองหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสานภาพกลยุทธ์นี้ให้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที 

สนใจเทคโนโลยี 5G หรือ Cloud ติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ
“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th
Website : https://business.ais.co.th


แหล่งอ้างอิงข้อมูล

(1) Businessmodelsinc,” Business Model Canvas”, From: https://www.businessmodelsinc.com/about-bmi/tools/business-model-canvas/

(2) Nadir Hirji and Gale Geddes, “What’s your Digital ROI Realizing the

value of digital investments”, From: https://www.strategyand.pwc.com/ca/en/media/whats-your-digital-roi.pdf


ติดตาม Smart Digital Insights สรรสาระแห่งเทคโนโลยี จาก AIS Business ได้ที่ https://business.ais.co.th/smart-digital-insights/

from:https://www.techtalkthai.com/ais-business-6-steps-digital-transformation-roi/

Cisco เชิญร่วมงานสัมมนา Secure, Intelligent Platform for Digital Business Seminar

Cisco ผู้ให้บริการโซลูชันด้านเครือข่ายและ Data Center ชื่อดัง จัดงานสัมมนา Secure, Intelligent Platform for Digital Business Seminar โดยมุ่งเน้นการอัปเดตเทคโนโลยีทางด้าน Enterprise Networking และ Security ล่าสุดในยุคที่ Artificial Intelligence (AI) เข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกิจดิจิทัลมากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรี

รายละเอียดงานสัมมนา

หัวข้อ: Secure, Intelligent Platform for Digital Business Seminar
วัน: วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2018
เวลา: 08:30 – 16:50 น.
สถานที่: ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 4 Pullman Bangkok Grande Sukhumvit Hotel (BTS อโศก / MRT สุขุมวิท / แผนที่)
ลิงค์ลงทะเบียน: http://www.readyregister.com/form/w/display/873

** งานสัมมนานี้จัดขึ้นสำหรับลูกค้าองค์กรที่เป็น End Users เท่านั้น สำหรับบริษัทที่เป็น System Integrator (SI), Distributor, Corporate Reseller และ IT Consultant นั้น ทีมงานสงวนสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมงาน

Artificial Intelligence (AI) เริ่มเข้ามามีบทบาทในธุรกิจดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ หลายองค์กรทั่วโลกต่างมองหาวิธีการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าและปรับปรุงกระบวนการเชิงธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้นตามจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อหากันด้วย

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในยุคดิจิทัล Cisco จึงได้คิดค้นและพัฒนาโซลูชันซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถวางระบบ Advanced Intelligence เพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย ศักยภาพของระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัย และประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนการพลิกโฉมกระบวนการและโมเดลทางธุรกิจอย่างแท้จริง

กำหนดการงานสัมมนา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อคุณ Nopchanok โทร 02-678-8660 หรืออีเมล nopchanok@fdc.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/secure-intelligent-platform-for-digital-business-seminar-by-cisco/

เรียนเชิญร่วมสัมมนา TTT Digital Business Forum 2018 Presented by KBank: รู้จัก 6 เทคโนโลยีสำคัญสำหรับธุรกิจในสัมมนาเดียว

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับ TechTalkThai ขอเรียนเชิญผู้บริหาร, ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา TTT Digital Business Forum 2018 Presented by KBank: The Next Technologies for Thai Businesses in 2018 เพื่อทำความรู้จักกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และตัวอย่างการนำไปใช้จริงในธุรกิจประเทศไทยและทั่วโลก อาทิ Next-Generation ERP, Blockchain, Artificial Intelligence, Data Analytics, Internet of Things และ Security จากบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีชั้นนำจากทั่วโลก ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2017 นี้ พร้อมเตรียมก้าวเข้าสู่การทำ Digital Business สำหรับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม โดยมีรายละเอียดและวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีดังนี้

 

TTT Digital Business Forum 2018 Presented by KBank: The Next Technologies for Thai Businesses in 2018

มาพบกับเหล่าผู้บริหารและผู้ประกอบการนับพันราย เพื่ออัปเดตเทคโนโลยีล่าสุดไปด้วยกัน

วันที่: 30 พฤศจิกายน 2017
เวลา: 12.00น. – 18.30น.
สถานที่: โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (KBank Siam Pic-Ganesha) สยามสแควร์วัน ชั้น 7-8 (BTS สถานีสยาม)

 

งานสัมมนาเพื่อเหล่าผู้บริหารและผู้ประกอบการ ที่ต้องการรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมแนวทางการนำไปใช้จริงในธุรกิจโดยเฉพาะ!

TTT Digital Business Forum 2018 Presented by KBank นี้เป็นงานสัมมนาที่ถูกจัดขึ้นเพื่อให้เหล่าผู้บริหารและผู้ประกอบการไทยจากทุกอุตสาหกรรมได้อัปเดตกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมเป็นหลัก โดยในเวลา 6 ชั่วโมงนี้ท่านจะได้รับฟัง 6 ประเด็นด้านเทคโนโลยีจากเหล่าผู้บริหารชั้นนำขององค์กรผู้พัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมของเทคโนโลยีนั้นๆ และการนำมาใช้จริงในธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้ว พร้อมให้ทุกท่านสามารถนำไปคิดต่อยอดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมในธุรกิจของตน รวมไปถึงทำความรู้จักกับผู้พัฒนาเทคโนโลยีแต่ละราย เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้ในธุรกิจของท่านได้ทันที

 

ภายในงาน ท่านจะได้พบกับ:

 

13.30 รู้จักกับ Next-Generation ERP ระบบที่จะมาเป็นหัวใจของธุรกิจ ให้เปิดรับต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ แห่งอนาคตได้อย่างหลากหลาย ผสานข้อมูลและกระบวนการการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆ กับ SAP Thailand

 

14.10 รับฟังเรื่องราวของ Blockchain กับการนำมาใช้งานในภาพธุรกิจ พร้อมตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงแล้วในไทย และบริการด้านทางการเงินใหม่ๆ ที่ใช้ Blockchain เป็นศูนย์กลาง โดยธนาคารกสิกรไทย

 

14.50 อัปเดตเทคโนโลยีร้อนแรงอย่าง Artificial Intelligence (AI) โดยทีมงาน IBM Thailand ที่จะมาแชร์เรื่องราวของการนำ AI ไปใช้งานในภาคธุรกิจต่างๆ ทั้งในไทยและทั่วโลก และสิ่งที่เหล่าธุรกิจองค์กรต้องเตรียมพร้อม ก่อนจะนำ AI มาใช้งานจริง

 

16.00 เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจของธุรกิจ ประเด็นด้าน IT Security เองก็ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น มารู้จักกับเรื่องราวของภัยคุกคาม, การโจมตีระบบ IT และสิ่งที่เหล่าผู้บริหารและผู้ประกอบการควรต้องรู้กับทาง Cisco Thailand

 

16.40 การนำข้อมูลมาใช้ในธุรกิจนั้นกลายเป็นงานของทุกๆ คนในธุรกิจไปแล้ว และ Microsoft Thailand ก็จะมาเล่าถึงแนวโน้มใหม่ๆ ทางด้าน Self-Service Data Analytics ที่จะทำให้ทุกๆ คนในองค์กรสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจและวางแผนด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

 

17.20 ปิดท้ายงานด้วยเทคโนโลยีพลิกโลกอย่าง Industrial Internet of Things (IIoT) กับทาง Dell EMC Thailand ที่จะมาแชร์ภาพของการนำ IoT ไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย ให้เห็นภาพถึงการทำธุรกิจในอนาคตที่ข้อมูลจะเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้งานในแบบ Real-time ในทุกขั้นตอนสำคัญของธุรกิจ

 

นอกจากนี้ภายในงานยังมีบูธที่จัดแสดงทุกเทคโนโลยีที่นำเสนอภายในงานสัมมนาให้ทุกท่านได้มาสัมผัสกับมือ พูดคุยกับเจ้าของเทคโนโลยีโดยตรงได้ในงาน คลายทุกความสงสัย ซักถามได้ในทุกประเด็น แลกเปลี่ยนนามบัตรเพื่อพูดคุยต่อยอดกันได้อีกในอนาคต

 

กำหนดการ

12.30 – 13.15 Registration
13.15 – 13.30 Opening Speech by TechTalkThai
13.30 – 14.10 Next Generation SAP ERP by SAP Thailand
14.10 – 14.50 Blockchain – The Next Business Revolution by KBANK
14.50 – 15.30 AI in Real Business by IBM Thailand
15.30 – 16.00 Break
16.00 – 16.40 IT Security is a Must for Digital Business by Cisco Thailand
16.40 – 17.20 Self-service Business Intelligence by Microsoft Thailand
17.20 – 18.00 IoT for Enterprise by Dell EMC Thailand
18.00 – 18.15 Closing Speech by TechTalkThai
18.15 – 19.00 Networking

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีๆ ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://go.techtalkthai.com/2017/10/ttt-digital-business-forum-2018-presented-by-kbank/ และจะมีทีมงานทำการติดต่อกลับไปเพื่อยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมงานของท่าน โดยในวันลงทะเบียนให้ทำการแจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ลงทะเบียนเอาไว้ เพื่อความรวดเร็วในการยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ทีมงาน TechTalkThai ขอสงวนสิทธิ์ในการตอบรับการเข้าร่วมงานของแต่ละท่าน เนื่องจากที่นั่งในงานมีจำกัดครับ

from:https://www.techtalkthai.com/ttt-digital-business-forum-2018-presented-by-kbank-invitation/

Red Hat ชี้ หัวใจสำคัญของ Open Source คือการบริหารจัดการ Software เหล่านั้นให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในงาน Red Hat Forum Bangkok 2017 นี้ ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้เข้ารับฟังการนำเสนอของทาง Red Hat สำหรับสื่อ เกี่ยวกับประเด็นทางด้านการนำ Open Source Software มาใช้ในการทำ Digital Transformation และปัจจัยสำคัญทางด้านการบริหารจัดการ Open Source Software ที่ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของการนำ Open Source Software มาใช้งานได้อย่างประสบความสำเร็จภายในองค์กร จึงขอนำมาสรุปให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

 

Open Source กลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Digital Transformation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาตอบสนองต่อการทำ Digital Transformation เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Digital Business นั้น การใช้ Open Source Software ได้กลายเป็นทางเลือกหลักของเหล่าธุรกิจองค์กรทั่วโลกไปแล้ว ทั้งด้วยข้อดีในแง่ของการไม่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์การใช้งาน, อิสระในการปรับแต่แก้ไขที่ยืดหยุ่นกว่า Commercial Software, การเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนจากการซื้อเทคโนโลยี เป็นการซื้อบริการแทน และการรองรับความเร็วในการเพิ่มขยายระบบได้โดยที่ค่าใช้จ่ายไม่ได้เติบโตตามแบบ Linear

Open Source Software นี้ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างเทคโนโลยีที่ตนเองต้องการขึ้นมาเพื่อกลายมาเป็นหัวใจของธุรกิจตนเองได้ ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดในช่วงนี้ก็คือการที่เหล่าธุรกิจธนาคารนั้นผันตัวเองจากการเป็นธุรกิจการเงิน ไปสู่การเป็นธุรกิจเทคโนโลยีสำหรับบริการทางด้านการเงินแทน ซึ่งแนวโน้มนี้เกิดขึ้นจริงแล้วทั่วโลกในเวลานี้

Red Hat ในฐานะของผู้นำทางด้านเทคโนโลยี Open Source Software สำหรับองค์กรเองก็เติบโตมาอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะนี้ และมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี Open Source Software เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เหล่าองค์กรสามารถใช้งาน Open Source Software ไปใช้งานได้ทั้งในส่วนของ IT Infrastructure และ Business Application สำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ทั้ง Big Data, AI, Machine Learning, Blockchain, IoT และ Security ทั้งบน Cloud และ On-premises ตอบโจทย์ภาพของการก้าวไปสู่ Hybrid Cloud พร้อมๆ กับการตอบโจทย์ทางธุรกิจ

 

ใช้ Open Source ให้ได้ดี ต้องบริหารจัดการให้ได้ 100%

หนึ่งในประเด็นที่ Red Hat มองเห็นว่าเป็นจุดแข็งที่สำคัญมากๆ ของการใช้งาน Open Source Software ภายในองค์กรนั้นก็คือปัจจัยด้านการ Scale ระบบได้อย่างอิสระและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการขยายระบบสำหรับการทำ Dev/Test, การขยายระบบเพื่อรองรับลูกค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการทำ Cloud-scale Application ภายในองค์กรที่ต่อไปจะกลายเป็นความท้าทายของหลายๆ ธุรกิจและองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการใช้เทคโนโลยี

ด้วยเหตุนี้เอง Red Hat จึงได้พัฒนาโซลูชันด้านการบริหารจัดการและการทำ Automation สำหรับระบบ IT Infrastructure และ Application Platform ที่ใช้เทคโนโลยี Open Source Software เป็นหลัก ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายและคล่องตัวบนทั้งระบบ On-premises และ Cloud ได้อย่างอิสระ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งให้การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหมๆ่ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องนั่นเอง

สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Red Hat ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การบริหารจัดการและการทำ Automation นั้นมีดังนี้

  • Red Hat Satellite ระบบบริหารจัดการ Red Hat Environment ที่ครอบคลุมถึง IT Infrastructure และ Enterprise Linux จากศูนย์กลาง ให้มีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย
  • Red Hat Insights ระบบ IT Infrastructure Analytics ที่นำแนวคิด Predictive Analytics มาใช้วิเคราะห์และทำนายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบทำงานป้องกันปัญหาที่มีความเสี่ยงว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • Red Hat Ansible ระบบ IT Autumation สำหรับช่วยในการ Deploy และ Manage ระบบต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ ตอบโจทย์ของการทำ DevOps และ Cloud-scale Application ภายในองค์กร
  • Red Hat CloudForms ระบบบริหารจัดการ Container, Virtualization, Private Cloud และ Public Cloud ได้จากศูนย์กลาง

 

Red Hat ช่วย Grab บริหารจัดการ 500 Node, ช่วย Intuit จัดการ 28,000 VM

Red Hat นั้นถูกนำไปใช้งานหลากหลายในธุรกิจที่มีเทคโนโลยีเป็นหัวใจ โดยมี 2 ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ Grab และ Intuit

Grab นั้นใช้ Red Hat Ansible Tower เพื่อทำ Configuration Management สำหรับ Server จำนวนกว่า 500 Node บน Amazon Web Services (AWS) ทำให้ในแต่ละสัปดาห์นั้นสามารถทำการ Deploy ระบบได้หลายร้อยครั้ง และลด Downtime ของระบบลงไปได้ถึง 40% รองรับผู้ใช้งานนับล้านคนทั่วโลกได้เป็นอย่างดี

ทางด้าน Intuit ผู้พัฒนา Software ทางด้านการเงินชื่อดังนั้น ก็ได้ใช้ Red Hat CloudForms และ Red Hat Gluster Storage เพื่อทำ Automation สำหรับบริหารจัดการ 28,000 VM และทำให้โครงการขนาดใหญ่ของ Intuit ประสบความสำเร็จได้ในเวลา 7 เดือน ด้วยการ Deploy ระบบด้วยความเร็ว 1,500 VM ต่อวัน และทำการ Provision ระบบได้สำเร็จ 95% ตอบสนองความต้องการของเหล่า Developer ได้อย่างทันท่วงที

 

Red Hat เปิดตัว Open Innovation Labs ในสิงคโปร์ ช่วยเร่งให้องค์กรสร้างนวัตกรรมใหม่ด้วย Open Source Software ให้ได้สำเร็จ

เพื่อเร่งให้เหล่าองค์กรสามารถนำ Open Source Software ไปใช้งานได้อย่างรวดเร็วยิ่งขั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทาง Red Hat จึงได้ทำการเปิด Red Hat Open Innovation Labs ขึ้นในสิงคโปร์ เพื่อให้เหล่าลูกค้าองค์กรต่างๆ เข้ามาศึกษาและเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีของ Red Hat เพื่อนำไปปรับใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรได้

 

MIMOTECH จาก AIS ได้รับรางวัล Red Hat Innovation Awards APAC 2017

MIMOTECH นี้เป็นบริษัทลูกของ AIS ที่ทำหน้าที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปตอบสนองความต้องการของ AIS โดยเฉพาะ และมองหาโซลูชันในการลดค่าใช้จ่ายทางด้าน IT Infrastructure ลง ทำให้ MIMOTECH ได้ใช้เทคโนโลยีของ Red Hat มาโดยตลอดเพื่อให้สามารถเพิ่มขยายได้ง่ายและปรับแต่งได้ตามความต้องการ โดยเลือกใช้ Red Hat Enterprise Linux, Red Hat JBoss Fuse และ Red Hat JBoss Enterprise Application Platform เป็นพื้นฐาน และในอนาคตก็กำลังมองหาเทคโนโลยีสำหรับตอบโจทย์เรื่อง Cloud เพื่อเร่งให้ Time to Market เร็วยิ่งขึ้น และมีแผนที่จะใช้ Red Hat CloudForms ต่อไปในอนาคต

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-says-open-source-software-success-depends-on-management-and-automation/

McKinsey เผยตัวชี้วัดความสำเร็จของ Cloud ในองค์กร พร้อมข้อแนะนำสำหรับธุรกิจไทยในการใช้ Cloud

ในงาน AIS Business Cloud 2017 ทางคุณ Harry Seip ผู้ดำรงตำแหน่ง Associate Partner แห่งบริษัท McKinsey & Company ได้ออกมาเผยถึงแนวทางการชี้วัดว่ากลยุทธ์ Cloud ขององค์กรประสบความสำเร็จหรือไม่ พร้อมทั้งยังให้คำแนะนำธุรกิจไทยสำหรับการใช้ Cloud ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ในระยะยาว ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอหยิบยกมาสรุปให้ได้อ่านกันดังนี้ครับ

 

Cloud ประสบความสำเร็จหรือไม่ ให้ดูที่ผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจ และกระบวนการการทำงานที่เปลี่ยนไป

ทางคุณ Harry Seip ได้สรุปประเด็นจากผลการสำรวจของธุรกิจที่ใช้ Cloud ถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกับเหล่าธุรกิจต่างๆ สำหรับให้ลองนำมาใช้เป็นเป้าหมายในการนำ Cloud มาใช้งานในแต่ละธุรกิจ ดังนี้

  • ระบบ Cloud ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยการทำ Automation จำนวนมากที่สามารถช่วยลดงานลงได้จริง, ลดปริมาณทรัพยากรที่ใช้งานบน Cloud ให้เหลือเท่าที่ใช้งานจริงได้ ไม่มีส่วนเกินที่สูญเปล่า และยังสามารถช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายลงได้ 30% – 40%
  • ระบบและงานที่ถูก Outsource ออกไปจะต้องช่วยลดค่าใช้จ่ายองค์กรลงได้ 40% – 50% แม้กระทั่งในระหว่างที่ทำ Cloud Transformation โดยในระยะยาวเมื่อใช้บริการ Cloud ไปต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายก็จะต้องลดลงไปเรื่อยๆ ด้วยจากการที่ผู้ให้บริการทำการลดราคาลงให้ทั้งในส่วนของ Compute และ Storage ในขณะที่ฟีเจอร์ต่างๆ บนบริการ Cloud ต้องมีให้ใช้เพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรสามารถทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้
  • การทำ Cloud Transformation ที่ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งที่องค์กรจะได้เปลี่ยนจริงๆ นั้นคือ Operation ภายในองค์กรที่ควรจะได้ทำ DevOps มากขึ้น และมีความ Agile มากขึ้น ไม่ใช่การเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก On-premises มาใช้ Cloud
  • องค์กรที่ใช้ Cloud ได้ประสบความสำเร็จนั้นจะสามารถทำสิ่งต่างๆ ในเชิงเทคนิคได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในขณะที่สามารถใช้เวลาในการทำงานน้อยลง และใช้พนักงานกลุ่ม Skill Worker ได้น้อยลง เนื่องจากงานทั้งหมดกลายเป็น Automation ที่ผู้ใช้งานสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเองในแบบ Self-Service แล้ว ทำให้พนักงานที่มีความสามารถสูงสามารถนำเวลาที่มีไปสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
  • การทำ Cloud Transformation ที่ดีนั้นจะไม่ได้มีผลลัพธ์เพียงแค่การลดค่าใช้จ่าย แต่จะต้องเปลี่ยนให้ธุรกิจนั้นกลายเป็น Digital Ready ที่รองรับการต่อยอดและการทำ Digital Transformation ได้เป็นอย่างดี ทำให้องค์กรก้าวไปสู่การทำงานแบบ Data-driven ได้จริง และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, Machine Learning, Blockchain มาใช้ได้อย่างรวดเร็วขึ้น
  • การใช้ Cloud ที่ประสบผลสำเร็จนั้น ผลลัพธ์จะสะท้อนมายังความคุ้มค่าของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ไม่ได้ชี้วัดที่ได้เปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้งานมากน้อยเพียงใด
  • มีการทำ Blueprint และ Container เพื่อรองรับกลยุทธ์ Multi-Cloud และใช้สถาปัตยกรรมระบบแบบ Microservices ทำให้สามารถย้ายระบบ Application ต่างๆ ข้ามระบบ Cloud จากผู้ให้บริการแต่ละรายได้อย่างอิสระ ทำให้ไม่ต้องติดกับปัญหา Vendor Lock-in อีกต่อไป
  • มีความเข้าใจทางด้าน Security บน Cloud ที่ผู้ให้บริการแต่ละรายมีมุมมองที่แตกต่างกัน และองค์กรสามารถเลือกระดับของ Security บน Cloud ให้เหมาะสมกับ Workload ที่ตนเองต้องการได้เป็นอย่างดี

 

แนะธุรกิจไทย ใช้ Cloud อย่ามองแค่การลดค่าใช้จ่ายระยะสั้น แต่ต้องมองถึงการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในระยะยาว

คุณ Harry Seip ได้สรุปถึงข้อแนะนำสำหรับเหล่าธุรกิจไทยในการใช้ Cloud ให้ประสบความสำเร็จเอาไว้ดังนี้

  • Cloud นั้นสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจลงได้จริง แต่สิ่งที่องค์กรควรมองคือการต่อยอดหลังจากการใช้ Cloud ที่ธุรกิจควรจะเปลี่ยนแปลงหรือเติบโตไปมากกว่า เพราะคุณค่าที่องค์กรจะได้จากการสร้างสรรค์และเพิ่มขยายจนเติบโตนี้ จะสร้างผลกำไรให้องค์กรมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ประหยัดไปได้เกินกว่า 10 เท่า
  • Security และประเด็นด้านกฎหมายในไทยนั้นยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องติดตามและจัดการให้ดี
  • การทำ Cloud Transformation ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องผลักดันลงมาจากผู้บริหารระดับสูงที่ต้องมีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ชัดเจน รวมถึงมีเป้าหมายที่แน่ชัด ในขณะที่เหล่าผู้บริหารระดับกลางและผู้จัดการจะต้องทำความเข้าใจกับภาพเหล่านั้นและถ่ายทอดสู่พนักงานให้ดี เพื่อให้ทั้งองค์กรขับเคลื่อนไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นศูนย์กลางให้ได้

 

ก็หวังว่าเนื้อหาตรงส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจไทยไม่มากก็น้อยครับ สำหรับผู้ที่สนใจบริการ AIS Cloud และบริการอื่นๆ สำหรับองค์กร สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://business.ais.co.th/ ทันทีครับ

from:https://www.techtalkthai.com/mckinsey-company-shares-cloud-performance-indicators-and-recommendation-for-thai-business-in-ais-business-cloud-2017/

[PR] เอสเอพี แต่งตั้ง เคลาส์ แอนเดอร์เซ่น เป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ ของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิงคโปร์ – 3 สิงหาคม 2560 – เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) ล่าสุด ได้ประกาศแต่งตั้ง นายเคลาส์ แอนเดอร์เซ่น เป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ (chief operating officer – COO) ของเอสเอพี อนุทวีปอินเดีย โดยเคลาส์ จะทำงานขึ้นตรงต่อ นายสก๊อต รัสเซล ประธานกรรมการ ของเอสเอพี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) เพื่อสร้างเสริมชื่อเสียงอันยาวนานถึง 28 ปี ของเอสเอพี ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคลาส์จะมีหน้าที่ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของเอสเอพีในภูมิภาคนี้ ทั้งในด้านกลยุทธ์ และการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งนี้ เคลาส์จะประจำการอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และดูแลภาพรวมการดำเนินธุรกิจของเอสเอพีในประเทศสิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทยและประเทศในกลุ่มอินโดจีน รวมถึงตลาดเกิดใหม่ต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายสก๊อต รัสเซล ประธานกรรมการของ เอสเอพี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเชื่อมต่อถึงกันเพิ่มมากขึ้นในระดับที่น่าพึงพอใจ และเราคาดการณ์ว่า จะมีจำนวนลูกค้าที่เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล และดำเนินธุรกิจบนคลาวด์มากขึ้นใน 2-3 ปีข้างหน้า ในขณะที่ระดับการเติบโตด้านดิจิตอลมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอสเอพีเองก็มีความสามารถในการช่วยให้ลูกค้าของเราประสบความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ เคลาส์มีความพร้อมทั้งในด้านประสบการณ์และวิสัยทัศน์ในการช่วยให้ลูกค้าต่อยอดกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ผมมั่นใจว่า เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเติบโตก้าวหน้าได้อย่างสวยงาม ภายใต้การนำของเขา”

ก่อนหน้านี้ เคลาส์เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของ เอสเอพี อนุทวีปอินเดีย โดยทำหน้าที่ดูแลการขายแบบ multi-functional ของแต่ละหน่วยงาน และการดำเนินงานของแต่ละองค์กรในตลาดต่างๆ ทั้งนี้ เคลาส์ยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้อินเดียเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตรวดเร็วที่สุดสำหรับเอสเอพี ก่อนหน้านั้น เขาเคยทำหน้าที่ดูแลฝ่าย Business Operations ให้กับ เอสเอพี เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งเขาเป็นผู้นำให้เกิดการพัฒนาของฝ่ายขาย และฝ่ายปฏิบัติการ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เคลาส์ยังสะสมประสบการณ์มากกว่าทศวรรษในฐานะผู้นำระดับอาวุโส ทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค ให้กับองค์กรด้าน Global Services & Support (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Digital Business Services) โดยให้ความสำคัญกับการช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจที่ง่ายขึ้น

นายเคลาส์ แอนเดอร์เซ่น ประธานกรรมการ ของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเอสเอพี ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะช่วยให้องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเข้าใจถึงคุณค่าที่นวัตกรรมดิจิตอลสามารถมอบให้กับการดำเนินธุรกิจขององค์กรเหล่านั้นได้ เรามองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ และเรามุ่งมั่นในการช่วยสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของเราสู่อนาคตการเป็นองค์กรดิจิตอล”

“เอสเอพี มีประสบการณ์กว่า 45 ปี ในฐานะผู้นำในด้านซอฟต์แวร์ระบบการจัดการองค์กร ซึ่งมอบอำนาจให้ลูกค้าสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ในยุคที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถปลดล็อคศักยภาพของตนเอง ผมตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับทีมงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยให้เอสเอพีเติบโตมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้ทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเดินตามวิสัยทัศน์สู่การเป็นประชาคมอาเซียนแบบดิจิตอลได้สำเร็จ” เคลาส์ กล่าวเสริม

#######

เกี่ยวกับ เอสเอพี

เอสเอพี  ผู้นำในด้านซอฟแวร์ระบบการจัดการองค์กร ซึ่งช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรในทุกขนาดมีประสิทธิภาพ จากทีมสำนักงานเบื้องหลังสู่ห้องประชุม จากคลังสินค้าสู่หน้าร้าน จากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสู่โทรศัพท์พกพา เอสเอพี ช่วยให้บุคลากรและองค์กรทำงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยให้เข้าถึงตลาดได้อย่างลึกซึ้ง นำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันและบทบาทผู้นำของตลาด แอพลิเคชั่นและบริการของเอสเอพีช่วยให้ผู้ใช้กว่า 355,000 ราย สามารถดำเนินธุรกิจอย่างก้าวหน้ามีผลกำไร ปรับตัวได้ฉับไว และเติบโตอย่างยั่งยืน หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเข้าชม www.sap.com

from:https://www.techtalkthai.com/sap-appoints-claus-andresen-as-president-and-managing-director-of-sap-southeast-asia/

Gartner เผย การลงทุนด้าน IT ทั่วโลกโต 2.4% ในปี 2017 นี้ Digital Business เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ

Gartner เผยผลการทำนายว่าในปี 2017 นี้ ยอดการลงทุนด้าน IT ทั่วโลกจะมีมูลค่ารวม 3.5 ล้านล้านเหรียญ หรือราวๆ 122.5 ล้านล้านบาท เติบโตจากปี 2016 ทั้งสิ้น 2.4%

Credit: ShutterStock.com

 

การเติบโตครั้งนี้นอกจากจะเป็นผลของความผันผวนในค่าเงินดอลลาร์แล้ว ส่วนสำคัญนั้นก็คือแนวโน้มของ Digital Business ที่ทำให้เกิดการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย และทำให้ IT จะกลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจในอนาคตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาของ Internet of Things (IoT) ในภาคการผลิต, Blockchain ในธุรกิจการเงินและธุรกิจอื่นๆ ไปจนถึง Smart Machine ในธุรกิจค้าปลีก

การเติบโตครั้งนี้จะเกิดขึ้นกับทั้ง Data Center Systems, Enterprise Software, Devices, IT Services และ Communication Services โดย Enterprise Software จะเป็นส่วนที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดที่ 7.6% จากการที่ทุกๆ องค์กรต้องเริ่มปรับไปหา Software หรือบริการ Software as a Service (SaaS) เพื่อเป็นก้าวแรกไปสู่การเป็น Digital Business ที่มีทั้งความคล่องตัวสูง และสามารถรองรับการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น และตอบโจทย์การทำ Data Analytics และ Business Analytics ได้ดียิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การทำ Automation และการเพิ่มฟังก์ชันใหม่ๆ ในการทำงานให้ได้อีกด้วย

สำหรับรายงานฉบับเต็ม สามารถศึกษาได้ที่ http://www.gartner.com/technology/research/it-spending-forecast/ ครับ

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3759763

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-says-worldwide-it-investment-grows-2-4-percent-by-2017-from-digital-business-trend/

[PR] ไอบีเอ็มชี้ผู้บริหารระดับสูงเริ่มนำบล็อคเชนเข้าพลิกโฉมธุรกิจ กว่าครึ่งเล็งผุดความร่วมมือและโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ

จับมือเอเวอร์เล็ดเจอร์นำบล็อคเชนพัฒนาระบบติดตามเพชร

พฤษภาคม 2560ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เผยผลสำรวจกลุ่มผู้บริหารระดับสูงครั้งใหญ่ที่สุด เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อบล็อคเชน พบหนึ่งในสามของผู้บริหารเกือบ 3,000 รายเริ่มนำบล็อคเชนมาใช้ในธุรกิจแล้ว หรือกำลังพิจารณาที่จะนำมาใช้ โดยผู้บริหารแปดในสิบลงทุนในบล็อคเชนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงทางการเงินของธุรกิจ หรือเพื่อคว้าโอกาสในการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ

การศึกษาวิจัยทั่วโลกครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย IBM Institute for Business Value หรือ IBV [1] จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารในหลากหลายธุรกิจเกี่ยวกับจุดประสงค์การใช้งาน การสร้างรายได้ รวมถึงการตอบสนองต่อลูกค้า พันธมิตร และคู่แข่งในวงการธุรกิจเดียวกันโดยใช้บล็อคเชน โดยศึกษาเปรียบเทียบหน่วยงานที่มีการทดลองหรือนำร่องการใช้งานบล็อคเชนแล้ว ซึ่งรวมเรียกว่า “กลุ่มผู้บุกเบิก” กับกลุ่มที่ยังไม่พิจารณาที่จะนำบล็อคเชนมาใช้ในขณะนี้

ในอดีต ความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญที่สุดคือการที่คู่แข่งมีสินค้าและบริการแบบใหม่ที่ก้าวล้ำ แต่ปัจจุบันคู่แข่งกลับเป็นผู้เล่นรายใหม่ที่มีโมเดลธุรกิจต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง และกำลังมองหาลู่ทางในการโค่นตำแหน่งผู้นำตลาด สิ่งนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารระดับสูงบางรายที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ เลือกใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันการทำธุรกรรมยุคใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความมั่นใจ ตรวจสอบได้ และโปร่งใสในกลุ่มอีโคซิสเต็มของพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

“บล็อคเชนช่วยให้ทุกฝ่ายมองเห็นความแต่ละเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน การทำธุรกรรมแบบใหม่ที่เชื่อถือได้นี้จะเป็นบ่อเกิดของรูปแบบ กระบวนการ และโมเดลการทำธุรกิจแบบใหม่ในลักษณะแพลตฟอร์มทางธุรกิจ ที่ทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็มจะสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ” นายสวัสดิ์ อัศดารณ กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจการเงิน ธนาคาร และประกันภัย บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด  กล่าว “กลุ่มความร่วมมือทางธุรกิจ หน่วยงานที่กำกับดูแลกฎข้อบังคับ และกลุ่มที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จะช่วยสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่วงการธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลก หน่วยงานกลุ่มแรกๆ ที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้จึงจำเป็นต้องเดินหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยกำหนดรูปแบบการพัฒนาของแพลตฟอร์มทางธุรกิจเหล่านี้”

หกในสิบของประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (CIO) ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้บุกเบิก และเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ยอมรับว่ายังไม่มีการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการสร้างแพลตฟอร์มบล็อคเชนที่เชื่อมโยงลูกค้าและพันธมิตรจากอีโคซิสเต็มต่างๆ 

ขณะเดียวกัน ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า:

  • จากจำนวนผู้บริหารระดับสูงเกือบ 3,000 รายที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ 33 % ได้เริ่มเดินหน้าในการนำบล็อคเชนมาใช้อย่างจริงจังหรือกำลังพิจารณาที่จะนำมาใช้
  • 100% ของกลุ่มผู้บุกเบิกคาดหวังที่จะนำบล็อคเชนมาช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง โดย 63% ตั้งเป้าที่จะใช้บล็อคเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม
  • 78% ของกลุ่มผู้บุกเบิกมีการลงทุนในบล็อคเชนเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเงินหรือเพื่อพัฒนาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ
  • ผู้บริหารในกลุ่มผู้บุกเบิกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ที่โมเดลทางธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกคุกคาม ต่างคาดหวังที่จะเปิดตัวโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ไม่ว่าจะภายในแวดวงธุรกิจเดิมหรือในอุตสาหกรรมอื่นๆ
  • 71% ของผู้ที่กำลังใช้งานบล็อคเชนอย่างจริงจังเชื่อว่ากลุ่มความร่วมมือทางธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าของความพยายามในการนำบล็อคเชนมาใช้
  • 78% ของผู้ที่กำลังใช้งานบล็อคเชนอย่างจริงจังเชื่อว่าลูกค้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าของความพยายามในการนำบล็อคเชนมาใช้

ผู้บริหารระดับสูงพึ่งบล็อคเชนช่วยสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ

จุดแข็งเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดของบล็อคเชนคือการก่อให้เกิดโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ ดังที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดจากสหราชอาณาจักรท่านหนึ่งกล่าวว่า “บล็อคเชนจะมาแทนที่โมเดลธุรกิจแบบรวมศูนย์ที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน” กลุ่มผู้บุกเบิกทุกคนที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้คาดหวังที่จะใช้บล็อคเชนเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร และเนื่องด้วยบล็อคเชนสามารถช่วยเพิ่มความไว้วางใจและความโปร่งใสในห่วงโซ่คุณค่า จึงจะนำสู่ความร่วมมือและการแข่งขันในลักษณะที่เราคาดไม่ถึง ตัวอย่างเช่น การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ในเรื่อง “ธุรกิจการดูแลสุขภาพขานรับบล็อคเชน: เน้นกำหนดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” ชี้ให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มบริการด้านการดูแลสุขภาพจะมีความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในการนำบล็อคเชนมาปรับใช้ เพราะหากสามารถจัดเก็บข้อมูลสัญญาณชีพหรือข้อมูลด้านสุขภาพทั้งหมดที่เก็บจากอุปกรณ์สวมใส่มาไว้บนบล็อคเชนได้ คุณภาพและความร่วมมือในการดูแลรักษาผู้ป่วยน่าจะเพิ่มสูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายลดลง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การดูแลสุขภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการบริการผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลอย่างแท้จริง

การเปิดประตูสู่มิติใหม่ของความร่วมมือ
เนื่องจากบล็อกเชนช่วยสร้างวิธีการทำงานใหม่ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้แก่หน่วยงานต่างๆ ในการออกตัวไปสู่ทิศทางใหม่ แม้ว่าแปดในสิบของกลุ่มผู้บุกเบิกจะยอมรับว่ายังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการร่วมมือกับคู่แข่งนัก แต่ 66% ยอมรับว่ากำลังทดลองหรือกำลังนำรูปแบบธุรกิจใหม่ที่อิงอยู่บนพื้นฐานของแพลตฟอร์มนี้มาใช้งาน การเชื่อมโยงคน ทรัพยากร และหน่วยงานที่อยู่ในอีโคซิสเต็ม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น หน่วยงานต่างๆ สามารถสนับสนุนการทำธุรกรรมการชำระเงินขนาดเล็ก (Micro-payments) และงดเว้นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากหน่วยงานกลาง หรือสามารถนำสื่อประเภทต่างๆ ที่แตกต่างกันมาอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของผู้จัดทำสื่อ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาท้าทายเกี่ยวกับการจ่ายค่าใบอนุญาตใช้งานหรือค่ารอยัลตี้ที่มีอยู่ทั่วโลกได้

จับมือเอเวอร์เล็ดเจอร์นำบล็อคเชนพัฒนาระบบติดตามเพชร

ไอบีเอ็มกำลังทำงานร่วมกับเอเวอร์เล็ดเจอร์ (Everledger) เพื่อพัฒนาบริการแบบใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อคเชน ภายใต้แนวทางการทำงานแบบอิโคซิสเต็ม ปัจจุบันเอเวอร์เล็ดเจอร์สามารถติดตามเพชรแต่ละเม็ดในขั้นตอนต่างๆ ของซัพพลายเชน ตั้งแต่ยังเป็นเพชรดิบที่ผ่านการรับรองไปจนถึงขั้นตอนที่เพชรเม็ดเดียวกันนั้นได้รับการเจียระไน ขัดเงา และจำหน่าย พันธมิตรในบล็อคเชนของเอเวอร์เล็ดเจอร์ประกอบด้วยบริษัทประกันภัย สถาบันการเงิน และสถาบันรับรองเพชร โดยพันธมิตรแต่ละรายสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลเพื่อช่วยติดตามเพชรแต่ละเม็ดได้ตลอดช่วงอายุโดยผ่านเอพีไอ (Application Programming Interfaces) ของเอเวอร์เล็ดเจอร์ ขณะที่รายงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัย และข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่นๆ จะได้รับการจัดเก็บแบบส่วนตัวและต้องได้รับอนุญาตเพื่อเข้าถึง

โมเดลธุรกิจลักษณะนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมทุกรายสามารถลดความเสี่ยง อีกทั้งยังนำสู่โมเดลของรายได้และบริการทางการเงินแบบใหม่ กล่าวคือ ธนาคารจะสามารถให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ซัพพลายเชนของเพชรดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนบริษัทประกันภัยก็สามารถเลือกให้ความคุ้มครองตลอดช่วงอายุของเพชร แทนที่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะแค่เจ้าของรายปัจจุบัน เอเวอร์เล็ดเจอร์แสดงถึง “พลังของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มความร่วมมือทางธุรกิจมาผนึกกำลังร่วมกัน” จวบจนถึงปัจจุบัน มีเพชรมากกว่าหนึ่งล้านเม็ดที่ได้รับการติดตามตรวจสอบผ่านเอเวอร์เล็ดเจอร์ และยังมีโครงการระยะเบต้าสำหรับการติดตามที่มาในอุตสาหกรรมไวน์คุณภาพสูงที่จะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

“เราไม่ใช่ผู้พลิกโฉมธุรกิจ แต่เราเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรม” ลีแอนน์ เคมป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งเอเวอร์เล็ดเจอร์ กล่าว


ดูข้อมูลงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่:
ibm.biz/csuiteblockchain

###

แหล่งอ้างอิง

[1] IBM Institute for Business Value หรือสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ibm.com/iibv หรือดาวน์โหลดแอพ IBV บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ หรือแท็บเล็ต iOS

###

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม

ไอบีเอ็มคือผู้นำในโซลูชันบล็อคเชนแบบโอเพ่นซอร์สสำหรับองค์กร ไอบีเอ็มเป็นสมาชิกรุ่นแรกของโครงการไฮเปอร์เล็ดเจอร์ (Hyperledger) ซึ่งเป็นความพยายามในการร่วมมือกันแบบโอเพ่นซอร์สเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีบล็อคเชนในธุรกิจด้านต่างๆ โดยบริษัทได้ทุ่มเทอย่างจริงจังในการส่งเสริมการพัฒนาบล็อคเชนที่สามารถควบคุมได้แบบเปิดกว้าง ไอบีเอ็มทำงานร่วมกับลูกค้ามากกว่า 400 รายในแวดวงบริการทางการเงิน ซัพพลายเชน อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ การบริหารจัดการความเสี่ยง การบริหารจัดการสิทธิ์เชิงดิจิทัล และการดูแลสุขภาพ เพื่อนำแอพพลิเคชันบล็อคเชนมาปรับใช้งาน

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อคเชนของไอบีเอ็มได้ที่ http://www.ibm.com/blockchain

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-study-c-suite-executives-exploring-blockchain-aim-to-disrupt-not-defend-one-third-of-surveyed-cxos-have-blockchain-on-their-mind/

[PR] ฟูจิตสึเผย “วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและบริการ” ปี 2560 มุ่งเน้นแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสรรค์คุณประโยชน์ร่วมกัน

กรุงเทพ, 12 พฤษภาคม 2560 – ฟูจิตสึประกาศวิสัยทัศน์ล่าสุดทางด้านเทคโนโลยีและบริการ (Fujitsu Technology and Service Vision) สำหรับปี 2560 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีผู้บริหารและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ 1,614 คนจากหลากหลายบริษัทร่วมตอบแบบสอบถามในครั้งนี้  การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการปรับปรุงธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)  ฟูจิตสึได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวในการกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับปีนี้ โดยนำเสนอแนวทางที่แปลกใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกันโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Co-creation) ซึ่งฟูจิตสีเชื่อว่าจะกลายเป็นแนวทางมาตรฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจในสังคมดิจิทัลแห่งอนาคต  นอกจากนี้ ฟูจิตสียังได้นำเสนอขั้นตอนในทางปฏิบัติที่ผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีควรจะดำเนินการเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจ สังคม และวิถีชีวิตของเราทุกคน  บริษัทและองค์กรหลายแห่งได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อปรับปรุงส่วนงานต่างๆ เช่น การตลาด รูปแบบการทำงาน การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา  ยิ่งไปกว่านั้น โครงการปรับปรุงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม เช่น รายได้เพิ่มขึ้น สัมพันธภาพกับลูกค้าดีขึ้นกว่าเดิม  Digital Co-creation เป็นแนวทางที่ผสมผสานความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างสรรค์คุณประโยชน์ใหม่ๆ ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อสร้างอนาคตที่แตกต่างจากเดิม

ฟูจิตสึได้เผยแพร่วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและบริการเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 เป็นต้นมา โดยแนวคิดหลักในวิสัยทัศน์ของฟูจิตสึก็คือ การเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญสำหรับธุรกิจและสังคม  ฟูจิตสึเรียกแนวคิดนี้ว่า Human Centric Innovation ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Transformation

4 ประเด็นหลักในวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและบริการของฟูจิตสึสำหรับปี 2560 ประกอบด้วย

1) บุคลากรในยุคดิจิทัล: Digital Business Workforce ผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) และหุ่นยนต์อัตโนมัติจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคู่ไปกับการทำงานหลายๆ อย่างโดยอัตโนมัติ  นอกจากนี้ ระบบอัจฉริยะจะใช้ AI เพื่อเรียนรู้จากข้อมูล และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกและช่วยให้บุคลากรทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ทั้งหมดนี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใหม่ๆ ในระดับที่สูงกว่า และด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านการประสานงานร่วมกันของบุคลากรและ AI ก็จะก่อให้เกิดบุคลากรในธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Workforce) ในรูปแบบใหม่ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาต่อยอดและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคต  ในยุคดิจิทัล แนวทางที่มุ่งเน้นบุคคลจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าในเทคโนโลยี AI มนุษย์จะต้องมีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

2) การสร้างธุรกิจดิจิทัลร่วมกัน: สร้างสรรค์คุณประโยชน์ในโลกดิจิทัล

ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ ปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับกระบวนการต่างๆ ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น งานขายและการตลาด การวิจัยและพัฒนา การผลิตและโลจิสติกส์ เพื่อดำเนินการปฏิรูปองค์กร โดย แรงขับเคลื่อนหลัก 3  ด้านของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้:

  • ระบบอัจฉริยะ (Intelligence): ใช้ AI เพื่อเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาลและกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก
  • การเชื่อมต่อ (Connectivity): ปรับปรุงธุรกิจด้วยการเชื่อมต่อการดำเนินงานภายในองค์กร และเชื่อมต่อกับคู่ค้าในระบบนิเวศน์
  • การมุ่งเน้นลูกค้า (Customer-orientation): สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษสำหรับลูกค้าแต่ละราย

แรงขับเคลื่อนดิจิทัล 3 ด้านนี้จะช่วยปรับปรุงอุตสาหกรรมที่หลากหลายเพื่อก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันในโลกดิจิทัล (Digital Arena) ที่ซึ่งผู้จัดหาสินค้าและบริการ พันธมิตร และผู้ใช้จะร่วมกันสร้างสรรค์คุณประโยชน์และประสบการณ์  ใน Digital Arena การสร้างสรรค์นวัตกรรมจะต้องอาศัยการประสานงานร่วมกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ

3) สังคมดิจิทัล: ปรับเป้าหมายของธุรกิจและสังคมให้สอดคล้องกัน

เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาท้าทายทั่วโลก  เพื่อพัฒนาโลกของเราให้เจริญก้าวหน้า ปลอดภัย และยั่งยืน  แรงขับเคลื่อน 3 ด้านของเทคโนโลยีดิจิทัล (ระบบอัจฉริยะ การเชื่อมต่อ และการมุ่งเน้นลูกค้า) จะรองรับการสร้างสังคมใหม่ที่มีการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย และ Digital Area ก็จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ฟูจิตสึเรียกสังคมรูปแบบใหม่นี้ว่า Human Centric Intelligent Society  ด้วยการสร้างคุณค่าใหม่ๆ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประชาชน บริษัท และหน่วยงานภาครัฐ ฟูจิตสึเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายได้อย่างแน่นอน

4) บริการ Connected Services: รองรับการสร้างสรรค์ร่วมกันตามแนวทาง Digital Transformation

เพื่อให้องค์กรธุรกิจและสังคมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุงสิ่งต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลแบบใหม่สำหรับการเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ทุกประเภท และเรียนรู้จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมเพื่อกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนตัดสินใจได้ดีขึ้นและบรรลุผลลัพธ์ที่ดีกว่า  นั่นคือเหตุผลที่ฟูจิตสึมุ่งเน้น 4 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ AI, Internet of Things (IoT), คลาวด์ (Cloud) และระบบรักษาความปลอดภัย (Security)  ฟูจิตสึจะผสานรวม 4 เทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ เพื่อนำเสนอบริการ Connected Services 

โดยฟูจิตสึจะจัดหาบริการ Connected Services บนแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัล MetaArc ของบริษัทฯ เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างแท้จริง และปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกด้วยการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล บวกกับประสบการณ์ในการสร้างและควบคุมระบบต่างๆ ของลูกค้าในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ฟูจิตสึตั้งเป้าที่จะเป็นพันธมิตรธุรกิจที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างสรรค์คุณประโยชน์ร่วมกันตามแนวทาง Digital Transformation

###

เกี่ยวกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึเป็นบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีผลิตภัณฑ์ โซลูชันและบริการทางเทคโนโลยีครบวงจร ปัจจุบันฟูจิตสึมีบุคลากรให้บริการลูกค้าประมาณ 156,000 คนในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เราใช้ประสบการณ์และศักยภาพของ ICT เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามให้กับลูกค้าของเรา ฟูจิตสึ (TSE: 6702) มียอดขายรวมทั้งกลุ่มบริษัทที่ 4.7 ล้านล้านเยน (ประมาณ 4 หมื่น 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์) ในปีงบประมาณเมื่อสิ้น 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ http://www.fujitsu.com

from:https://www.techtalkthai.com/fujitsu-sets-out-2017-service-vision/

[PR] ไพรซ์ซ่าเผยพฤติกรรมผู้บริโภคไตรมาสแรกปี 60 ชี้กลุ่มมิลเลนเนียลคือกลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนตลาดออนไลน์ แนะแบรนด์ปรับกลยุทธ์ให้ตรงจุดเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

กรุงเทพฯ – 4 พฤษภาคม 2560  จากกระแสการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดตั้งแต่ต้นปี 2560ส่งผลให้ผู้บริโภคให้ความสนใจและหันมาซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น โดยบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา Priceza.com ได้รวบรวมข้อมูลยอดผู้เข้าใช้งาน Shopping Search Engine ในไทย พบว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 มีผู้สนใจเข้ามาค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคาผ่าน Priceza.com เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145 เมื่อเทียบกับปี 2559 หรือมีผู้เข้ามาใช้งานค้นหาสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาถึงเดือนละกว่า 9 ล้านราย

จากยอดการค้นหากว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือน ไพรซ์ซ่าพบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ ประเภทสินค้าที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 ได้แก่ ของสะสมและของเก่า 16.3%เสื้อผ้าและแฟชั่น 8.1% เครื่องใช้ไฟฟ้า 6.1% โทรศัพท์ – อุปกรณ์สื่อสาร 5.9% และ อาหารและสุขภาพ 5.5% ตามลำดับ โดยร้านค้าที่มีการค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ Lazada.co.th, 11STREET.co.th, thainitashop.com, Cmart.co.th และ Central.co.th ตามลำดับ

Print

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และหนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Priceza.com กล่าวถึงข้อมูลการใช้งานที่ไพรซ์ซ่าพบว่า “จากจำนวนผู้เข้าใช้บริการเว็บไซต์ Priceza.com กว่า 9 ล้านครั้งต่อเดือน มีการกระจายไปยัง Marketplace ทั้งกลุ่ม Cooperate seller และ SME seller ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าเขาอยากเลือกซื้อสินค้าจากใคร ทุกวันนี้รูปแบบการขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นมีความหลากหลายมากขึ้น มีผู้เล่นหน้าใหม่จำนวนมากกระโดดเข้ามาในการแข่งขันนี้อย่างดุเดือด และส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาพรวมของตลาดในแง่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคดิจิทัล ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตามควรให้ความสำคัญในการอยู่ร่วมกันของสังคมอีคอมเมิร์ซ (Ecosystem) ที่ต่างต้องช่วยผลักดันซึ่งกันและกัน เพื่อมอบผลประโยชน์สูงสุดให้กับผู้บริโภค”

Priceza.com ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า กลุ่มนักช้อปที่ขับเคลื่อนธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่ม Gen M หรือคนยุคมิลเลนเนียล (Millennials) (อายุ 18-34 ปี) ซึ่งทำการซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุดถึง 61.92% รองลงมาคือ กลุ่ม Gen X (อายุ 35-54 ปี) 32.69% และ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) 5.39% ตามลำดับ ดังนั้นแบรนด์ควรปรับกลยุทธ์เพื่อให้เข้าถึงและครองใจผู้บริโภคมากขึ้น

Print

“เมื่อแบรนด์รู้ว่าลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียล คือกลุ่มที่เป็นลูกค้าหลักของตลาดอีคอมเมิร์ซ เพื่อให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในการทำการตลาดเพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้มากขึ้น ควรทำการศึกษาพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ เพื่อวางแผนและปรับกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขา ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าเป็นการทำการตลาดเฉพาะบุคคล ที่นอกเหนือจากการระบุชื่อลูกค้าแล้ว ยังรวมถึงการแนะนำสินค้าหรือบริการสำหรับที่เหมาะสำหรับลูกค้าแต่ละบุคคล การมอบประสบการณ์ที่ดีและแตกต่างจากคู่แข่งหรือแบรนด์อื่นๆในท้องตลาด รวมถึงการใช้ช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ภายใต้แนวคิดลูกค้าอยู่ที่ไหนไปที่นั่น เมื่อแบรนด์สามารถทำความเข้าใจและปรับตัวได้ตามพฤติกรรมและตามความต้องการของผู้บริโภค ก็จะมีความสามารถในการแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดและเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่งในยุคอีคอมเมิร์ซได้อย่างแน่นอน” นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผากล่าวสรุป

###

เกี่ยวกับ ไพรซ์ซ่า

ไพรซ์ซ่า (Priceza) คือ เว็บไซต์ค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา อันดับ 1 ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานไพร์ซซ่ากว่า 5.4 ล้านคนต่อเดือน (update Q1/2017) และได้ขยายธุรกิจไปยังอีก 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ไพรซ์ซ่ารวบรวมข้อมูลสินค้าจากร้านค้าชั้นนำที่หลากหลายที่สุด ไม่แบ่งแยกค่าย เราดึงดูดผู้บริโภคหลายๆล้านคนเข้ามาค้นหาสินค้า เปรียบเทียบราคาและความน่าเชื่อถือ และไพรซ์ซ่าส่งลูกค้าตัวจริงไปที่ร้านค้าโดยตรง และสามารถช่วยเพิ่มยอดขายจำนวนมากให้กับร้านค้า ภารกิจของเราคือ เรามุ่งนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับการช้อปปิ้งให้กับผู้ใช้ทั่วภูมิภาคเอเชียวันออกเฉียงใต้นี้ เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ ช่วยให้ค้นหา เปรียบเทียบ และเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด

from:https://www.techtalkthai.com/priceza-reveals-customer-behavior-in-first-quarter-of-2017/