คลังเก็บป้ายกำกับ: IFS

[Video Webinar] พลิกโฉมองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย IFS Cloud

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย IFS Webinar เรื่อง “พลิกโฉมองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย IFS Cloud” พร้อมเรียนรู้การปรับกระบวนการขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: คุณณัฐผลิน วิเศษ Senior Pre-sales Consultant จาก Raceku Thai

เมื่อ Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป หลายองค์กรเล็งเห็นความสำคัญและตื่นตัวในการทำ Digital Transformation เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน ระบบซอฟต์แวร์เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยพัฒนาองค์กรให้สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ลดต้นทุน ความซับซ้อน และความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน การบริหารสินทรัพย์ที่สำคัญ และการส่งมอบบริการ

หากคุณกำลังมองหาระบบซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ มีโซลูชันและฟังก์ชันในเชิงลึกที่ตอบโจทย์ IFS Cloud เป็นตัวเลือกที่สำคัญที่ช่วยผลักดันการพัฒนาองค์กรของคุณให้ก้าวเข้าสู่การทำ Digital Transformation อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มาร่วมเรียนรู้ว่าโซลูชัน IFS Cloud จะช่วยปรับกระบวนการทำงานของค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ใน Webinar นี้

from:https://www.techtalkthai.com/ifs-webinar-start-your-digital-journey-with-ifs-cloud-video/

IFS Webinar: พลิกโฉมองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย IFS Cloud

Raceku Thai รวมกับ IFS ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการธุรกิจและฝ่าย IT เข้าร่วมงานสัมมนา IFS Webinar เรื่อง “พลิกโฉมองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย IFS Cloud” พร้อมเรียนรู้การปรับกระบวนการขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2022 เวลา 14:00 น. ผ่านทาง Live Webinar

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: พลิกโฉมองค์กรเข้าสู่โลกดิจิทัลด้วย IFS Cloud
ผู้บรรยาย: คุณณัฐผลิน วิเศษ Senior Pre-sales Consultant จาก Raceku Thai
วันเวลา: วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2022 เวลา 14:00 – 15:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงก์ลงทะเบียน: https://us06web.zoom.us/webinar/register/5916597338438/WN_ryqua1dWRCe40S8nCtfv0w

เมื่อ Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป หลายองค์กรเล็งเห็นความสำคัญและตื่นตัวในการทำ Digital Transformation เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน ระบบซอฟต์แวร์เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยพัฒนาองค์กรให้สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น ลดต้นทุน ความซับซ้อน และความเสี่ยง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผน การบริหารสินทรัพย์ที่สำคัญ และการส่งมอบบริการ

หากคุณกำลังมองหาระบบซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ มีโซลูชันและฟังก์ชันในเชิงลึกที่ตอบโจทย์ IFS Cloud เป็นตัวเลือกที่สำคัญที่ช่วยผลักดันการพัฒนาองค์กรของคุณให้ก้าวเข้าสู่การทำ Digital Transformation อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน มาร่วมเรียนรู้ว่าโซลูชัน IFS Cloud จะช่วยปรับกระบวนการทำงานของค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ใน Webinar นี้

from:https://www.techtalkthai.com/ifs-webinar-start-your-digital-journey-with-ifs-cloud/

[Guest Post] เสริมความแกร่งในยุคบริการภิวัฒน์ ด้วยไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์

โดย นายพรเทพ ฤกษ์ศิริสุข  ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายพรี เซล บริษัท เรซคู ไทย จำกัด

นับตั้งแต่การเริ่มแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก เหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้องค์กรต่างๆจำเป็นที่จะต้องมองหาทางรอดใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยพยุงองค์กรให้พ้นจากวิกฤตใหญ่นี้ และหนึ่งในทางรอดที่ว่านั้นก็คือการเปลี่ยนธุรกิจสินค้าให้ขยายครอบคลุมไปถึงบริการภิวัฒน์ (Servitization) ที่ดูเหมือนว่าจะสามารถเข้ามาเติมเต็มความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันที่ไม่ได้มองหาแค่สินค้าคุณภาพดีแต่ยังมองไปถึงบริการชั้นเลิศที่พึงจะได้รับ บวกกับกระแสดิจิตัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราหลายๆคนไปแล้ว ยิ่งตอกย้ำพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ใหม่ๆที่ดีเยี่ยมซึ่งกำลังรอพวกเขาให้ไปลองสัมผัส

การปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจงานบริการ (Service is a new triumph card)

ผลสำรวจล่าสุดจาก อาเบอร์ดีน กรุ๊ป พบว่า องค์กรมากถึง 26% สามารถสร้างรายได้ใหม่จากการนำโมเดลบริการภิวัฒน์มาปรับใช้เข้ากับองค์กรตัวเอง บริการภิวัฒน์ หรือ Servitization คือการเปลี่ยนธุรกิจเดิมที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าหรือขายสินค้าให้สามารถขายมากกว่าแค่ตัวสินค้าเอง โดยการนำงานบริการรูปแบบต่างๆเข้ามาสนับสนุนตัวสินค้าหรืออาจจะเปลี่ยนโมเดลเป็นงานบริการด้วยเลยก็ได้ ในอดีตเราจะเห็นว่าธุรกิจเกือบทั้งหมดจะแข่งขันกันบนคุณภาพของตัวสินค้าหลัก ใครที่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าก็สามารถครองใจลูกค้ากลุ่มนั้นๆไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ความแตกต่างในเชิงของตัวสินค้าเริ่มลดลงไปจนไม่สามารถมองเห็นจุดเด่นของตัวสินค้าเอง ความต้องการของลูกค้าในโลกที่ไร้พรมแดนเฉกเช่นทุกวันนี้ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตต้องเรียนรู้และปรับตัวอย่างเร็วที่สุด ฉะนั้น เราลองมาดูกันว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันธุรกิจทุกภาคส่วนให้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งงานบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปี 2022 นี้

  1. ไลฟ์สไตล์จากกายภาพ (Physical) สู่ดิจิทัล (Digital) – ไม่เพียงแต่การทำงานที่หลายองค์กรเริ่มปรับมาเป็นเวิร์ค ฟร์อม โฮม (Work From Home) แบบเต็มเวลาเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 โดยอาศัยการทำงานร่วมกันภายในทีมผ่านเวอร์ชวล เวิร์คเพลส (Virtual Workplace) หรือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ (Online Meeting Platform) ต่างๆ แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่เวลาส่วนใหญ่จะอยู่ในโลกออนไลน์แทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การจับจ่ายซื้อของบนเว็บ สโตร์ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม ทั้งการเลือกสินค้า การชำระเงิน และการจัดส่งสินค้าซึ่งผู้บริโภคสามารถรอรับสินค้าอยู่ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปรับเอง ในขณะเดียวกัน เมื่อสินค้าเสียหาย ชำรุด แทนที่จะต้องขับรถฝ่าจราจรเพื่อไปซ่อมที่ร้านและเอาตัวเข้าไปเสี่ยงกับโรคติดต่อภายนอก ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ช่างมารับตัวสินค้าเพื่อนำกลับไปซ่อมต่อไป และเมื่อเสร็จแล้วก็นำกลับมาส่งที่บ้านเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่าแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าเริ่มหันเหออกจากโลกกายภาพ (Physical) แล้วเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital) มากขึ้นเรื่อยๆ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดอุปทานใหม่ๆที่งานบริการสามารถเข้ามาเติมเต็มได้เป็นอย่างดี
  2. ประสบการณ์ใหม่กับสินค้าเดิม – เราอยู่ในยุคที่สินค้าจากต่างผู้ผลิตมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนากว่าแต่ก่อนมาก และราคาที่ถูกลงง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับผู้ผลิตทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่คุณภาพ ทว่าจุดเด่นในเรื่องคุณภาพก็ถูกบั่นทอนลงไปเช่นกันเนื่องจากไม่มีข้อแตกต่างมากนักในแต่ละแบรนด์ ฉะนั้นผู้ผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง และความแตกต่างนั้นก็คือการสร้างธุรกิจที่เน้นงานบริการมากขึ้น ผู้ผลิตสามารถนำเสนอข้อเสนอที่น่าสนใจมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าไปพร้อมกัน อย่างเช่น การรวมงานบริการเพิ่มเติมตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือสิทธิพิเศษในการดูแลลูกค้าแบบวีไอพี ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนผู้ซื้อแบบครั้งเดียว (One-Time Buyer) ให้กลายเป็นสมาชิกระยะยาว (Subscriber) ได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตยังสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงการออกแบบงานบริการให้ตรงใจกับลูกค้าต่อไป
  3. คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จากผลกระทบของภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศที่เห็นได้ทั่วไป งานบริการนอกจากจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆแล้วนั้นยังกลายมาเป็นอีกช่องทางที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในเชิงสิ่งแวดล้อมเช่นกัน อย่างเช่น ฟิลลิปส์ (Phillips) ผู้ผลิตหลอดไฟยักษ์ใหญ่ เสนอบริการในการดูแลหลอดไฟให้กับสำนักงานรวมไปถึงสนามบินต่างๆ (Light-as-a-service) แทนที่ลูกค้าจะต้องจ้างช่างเองเพื่อมาติดตั้งหลอดไฟและจัดการกับหลอดไฟเก่าๆที่ไม่ใช้แล้ว ฟิลลิปส์รับผิดชอบจัดการงานส่วนนี้ทั้งหมด รวมไปถึงเสนอแนวทางการรีไซเคิล (Recycle) และรียูส (Reuse) หลอดไฟเก่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถประหยัดไฟได้มากกว่าเดิมภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

มุ่งหน้าสู่โลกแห่งงานบริการ (Accelerate towards everything-as-a-service)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ของงานบริการได้มาถึงแล้ว เราเห็นธุรกิจต่างๆเริ่มขยับขยายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะมองในมุมของผู้ประกอบการหรือผู้บริโภค ประโยชน์เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายอย่างไม่ต้องสงสัย การมาของบริการภิวัฒน์ (Servitization) เปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่เข้ามาปลดล็อคขีดจำกัดของธุรกิจให้มองหาโอกาสใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถเรียนรู้และเสริมสร้างความชำนาญเพื่อสร้างเป็นทรัพย์สินพิเศษ (Unique Asset) ที่มีมูลค่ามากขึ้นไปกว่าเดิม จนกลายเป็นจุดเด่นเฉพาะที่เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เป็นคุณค่าที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น และช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ต่อไป

และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการงานบริการ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่จะต้องมาพร้อมกับเครื่องมือทางเทคโนโลยอันทันสมัย หนึ่งในเทคโนโลยีนั้นคือ ไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ (IFS Field Service Management) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์การจัดการงานบริการภาคสนามที่จะเข้ามายกระดับงานบริการในธุรกิจ สามารถติดตาม บันทึก และวางแผนงานในทุกระดับ ระบบมาพร้อมสถาปัตยกรรมใหม่ผนวกเข้ากับฟังก์ชั่นฟีเจอร์จำนวนมากที่พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ

Credit: iStock

ไอเอฟเอส ฟีลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ จะสามารถช่วย

  • เปลี่ยนธุรกิจจากเดิมที่เน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ไปสู่ฟังก์ชันที่มุ่งเน้นบริการภิวัฒน์ (Transition your business to servitization)
  • บันทึก จัดการ และปรับตารางเวลาของช่างเทคนิคบริการและพนักงานภาคสนามให้เหมาะสมที่สุด (Scheduling and optimizing your business resources)
  • พัฒนาแผนงานที่ละเอียดและซับซ้อนสำหรับการจัดการชิ้นส่วนบริการ (Service part management planning)
  • เริ่มต้นการสร้างแผนธุรกิจงานบริการตามผลลัพธ์ที่ได้ (Building business around outcome-based service)

นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นอีกมากมาย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์  สามารถเข้าไปดูได้ที่ What is Field Service Management Software? – RACEKU

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ifs-field-service-management/

TTT Virtual Summit: Enterprise Tech & Innovation 2022 | 22 – 24 ก.พ. 2022

ซีรีส์งานสัมมนาออนไลน์ของ TechTalkThai ที่มีคนเข้าร่วมแล้วมากกว่า 8,000 คนในปีที่ผ่านมา โดยครั้งแรกของปี 2022 นี้ TechTalkThai ได้รวบรวมเทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลล่าสุดที่องค์กรควรจับตามองในปี 2022 ภายใต้ธีม “Enterprise Tech & Innovation” โดยท่านจะได้รับชมเนื้อหาทั้งทางด้าน Business Software, Data Analytics, Process Automation, Low-code/No-code Platform, Cloud & Data Center Trends, Cybersecurity Trends, CSA & PDPA ไปจนถึงนวัตกรรมแห่งอนาคตอย่าง Metaverse, Smart Farming และ Humanoid Robot รวม 20 หัวข้อ

รายละเอียดงานสัมมนา

ธีมงาน: Enterprise Tech & Innovation 2022
วัน: 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2022
เวลา: 13:15 – 17:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Conference ผ่าน Zoom
ลิงก์ลงทะเบียน: https://conf.techtalkthai.com/ti22/

งานสัมมนา TTT Virtual Summit: Enterprise Tech & Innovation 2022 จัดต่อเนื่อง 3 วัน 3 ธีม ดังนี้

  • Business Innovation – แนะนำนวัตกรรมเชิงธุรกิจ ได้แก่ Business Software, Cloud, Web 3.0 และการประยุกต์ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง Metaverse ทั้งมุมธุรกิจและความมั่นคงปลอดภัย
  • Infrastructure Tech Updates – อัปเดตแนวโน้มและเทคโนโลยีด้าน Data Center, IT Infrastructure, Cybersecurity รวมถึงกลยุทธ์และเครื่องมือให้พร้อมรับ พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำลังบังคับใช้เร็วๆ นี้
  • Business Transformation – รวมกลยุทธ์ เครื่องมือ และแนวทางปฏิบัติเพื่อพลิกโฉมกระบวนการเชิงธุรกิจให้มีความคล่องตัว ดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ พร้อมการทำ Innovative Analytics เพื่อสร้างการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

งานสัมมนานี้เหมาะสำหรับ: ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้บริหารทุกระดับ ผู้ที่อยู่ในสายงาน IT และบุคคลทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศ

** ทุกเซสชันบรรยายเป็นภาษาไทย **

from:https://www.techtalkthai.com/ttt-virtual-summit-enterprise-tech-and-innovation-2022/

TechTalk Webinar: วิดีโอย้อนหลังเรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0”

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าชมการบรรยาย TechTalk Webinar เรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0” โดย IFS ประเทศไทย ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถดูวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: KITTISUK TEERATUNSIRIGUL, General Manager I Services จาก IFS Solutions Thai Limited

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งหลายองค์กรทั่วไทยต่างนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนการทำงานและสร้างมูลค่าให้แก่บริการของตน ภายใน Webinar นี้ IFS Solutions Thai Limited ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชื่อดังสำหรับองค์กรทางด้าน ERP, EAM และ FSM จะมาอัปเดต 10 เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็น Smart Factory, IoT, AI, Machine Learning, AR/VR, Blockchain และอื่นๆ รวมไปถึงแชร์ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้งานจริง เพื่อจุดประกายให้แต่อุตสาหกรรมในประเทศไทยสามารถนำไปปรับกับองค์กรของตนได้

Webinar นี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการอัปเดตแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-10-manufacturing-buzzwords-video-playback/

TechTalk Webinar: 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0

IFS Solutions Thai Limited ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0” โดย IFS Solutions Thai Limited ในวันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2018 ผ่านช่องทาง TechTalk Webinar ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: 10 MANUFACTURING BUZZWORDS THAT YOU NEED TO PAY ATTENTION TO TODAY AND TOMORROW!
ผู้บรรยาย: KITTISUK TEERATUNSIRIGUL, General Manager I Services จาก IFS Solutions Thai Limited
วันเวลา: วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2018 เวลา 14.00 – 15.30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 100 คน
ภาษา: ไทย
ลิงค์ลงทะเบียน: https://zoom.us/webinar/register/WN_NY6wlZZjR0i791sFdoAJDA

หัวข้อและกำหนดการ

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งหลายองค์กรทั่วไทยต่างนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุนการทำงานและสร้างมูลค่าให้แก่บริการของตน ภายใน Webinar นี้ IFS Solutions Thai Limited ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ชื่อดังสำหรับองค์กรทางด้าน ERP, EAM และ FSM จะมาอัปเดต 10 เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็น Smart Factory, IoT, AI, Machine Learning, AR/VR, Blockchain และอื่นๆ รวมไปถึงแชร์ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นไปใช้งานจริง เพื่อจุดประกายให้แต่อุตสาหกรรมในประเทศไทยสามารถนำไปปรับกับองค์กรของตนได้

Webinar นี้เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการอัปเดตแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วม TechTalk Webinar: 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0 ได้ฟรี โดยทีมงาน TechTalkThai ขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้เข้าร่วม TechTalk Webinar 100 ท่านแรกเข้าฟังบรรยายโดยไม่คำนึงถึงอันดับการลงทะเบียนก่อนหลัง

กด Interested หรือ Going เพื่อติดตามอัปเดต TechTalk Webinar: 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในอุตสาหกรรม 4.0 บน Facebook Event: https://www.facebook.com/events/984485721726802/

ลงทะเบียนคลิก: https://zoom.us/webinar/register/WN_NY6wlZZjR0i791sFdoAJDA

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-10-manufacturing-buzzwords-by-ifs/

IFS Whitepaper: การเลือกซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

IFS ผู้ให้บริการโซลูชัน ERP, ESM และ EAM ชั้นนำของโลก ออกเอกสาร White Paper หัวข้อ “การเลือกซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น” ฉบับภาษาไทย ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาได้ฟรี

ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่พบได้ตลอดและสำคัญยิ่งในแวดวงการค้า เป็นความท้าทายที่ต้องรับมืออย่างฉับไวหากธุรกิจต้อง “ก้าวให้ทัน”และรักษาแนวทางในขณะที่โลกมักเปลี่ยนแปลงในแบบที่คาดไม่ถึง

ใน IFS Whitepaper ฉบับนี้จะช่วยตอบคำถามต่างๆเหล่านี้:

  • อะไรคือความท้าทายทั่วไปทางธุรกิจทุกวันนี้ที่บริษัทต่างๆ ต้องเผชิญ
  • ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมจะช่วยคุณระบุความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างไร
  • อะไรคือปัจจัยสำคัญ 10 ประการที่ต้องพิจารณาขณะเลือกซอฟต์แวร์ ERP และเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ดาวน์โหลด White Paper ฟรีได้ที่: http://www.ifsworld.com/th/sitecore/media-library/assets/2018/03/13/ifs-whitepaper/

from:https://www.techtalkthai.com/ifs-whitepaper-how-to-choose-erp-solutions/

[PR] 3 นวัตกรรมผู้เปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมการผลิตปี 2561

โดย นาย แอนโทนี บอร์น

ผู้อำนวยการอุตสาหกรรมส่วนกลาง ฝ่ายการผลิตและเทคโนโลยีระดับสูง (ไฮเทค)  บริษัท ไอเอฟเอส

ไอโอที ( IOT ) จะถูกสร้างรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบ บรรดาผู้ผลิตจะนำโมเดลธุรกิจที่มีบริการเป็นศูนย์กลางเข้ามาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น และการพิมพ์สามมิติ (3D) จะก้าวสู่จุดพลิกผันที่สามารถให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ในวงกว้าง ทั้งหมดนี้ เป็นการคาดการณ์ ของไอเอฟเอสที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2561

1.) ในปลายปี 2561 ผู้ผลิตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะนำเทคโนโลยี ไอโอที ไปรวมไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ 

เมื่อพูดถึงไอโอทีสิ่งแรกที่คุณคิดถึงน่าจะเป็นเซ็นเซอร์แบบใหม่ที่สามารถหาซื้อได้ในราคาไม่แพงซึ่งกำลังถูกนำมาใส่ไว้ผลิตภัณฑ์  สำหรับผมแล้ว มุมมองดังกล่าวจะเปลี่ยนไปในปี 2561 เนื่องจาก ไอโอที  กำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด หากเราคิดว่า ไอโอที  เป็นเหมือนระบบประสาทของผลิตภัณฑ์ ในปี 2561 เราจะเห็นเส้นประสาท (สัญญาณ) ต่างๆ ที่โยงใยและเติบโตจนเกิดเป็นสมองของผลิตภัณฑ์ขึ้นมา สิ่งนี้ครอบคลุมถึงการรับ การส่ง การขยายตัว และการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่องตลอดชั่วอายุขัยของผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลให้เกิดบริการและกระแสรายได้ใหม่ๆ โดยอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบจาก ไอโอที  มากที่สุดในปัจจุบัน จากข้อมูลของโกลบอล มาร์เก็ต อินไซด์ (Global Market Insights) พบว่า ไอโอที  ในตลาดการผลิต มีมูลค่ามากกว่า 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2559 และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ (CAGR โดยประมาณ) ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2567 การลงทุน ไอโอที  ในปัจจุบันในสภาพแวดล้อมของการผลิตจะก่อให้เกิด 3 โครงการหลักดังนี้

  • การผลิตอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลผลิต คุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือการดำเนินงานและความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่ลดลง
  • ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในภาคสนาม การวิเคราะห์จากระยะไกล และการบำรุงรักษาจากระยะไกล
  • ซัพพลายเชนที่มีระบบเชื่อมต่อระหว่างกันจะเพิ่มความสามารถในการมองเห็นภาพรวมทั้งระบบและการทำงานร่วมกันในซัพพลายเชน การติดตามสินทรัพย์ หรือสินค้าคงคลังเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

เราจะเห็น ไอโอที  ถูกนำมารวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกแบบของโครงการด้าน ไอโอที  ดังกล่าว บริษัทผู้ผลิตกำลังตระหนักว่าการสร้างเทคโนโลยี ไอโอที  ใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ในขั้นตอนของการออกแบบนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เพื่อคาดการณ์เวลาที่ต้องดำเนินการซ่อมแซมได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนเกมในตลาดด้วย!

ภายในสิ้นปี 2561 ผู้ผลิตมากกว่า 50% จะนำเทคโนโลยี ไอโอที  มาใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นการคิดไว้แล้วล่วงหน้าในขั้นตอนการออกแบบ และจะเริ่มทบทวนตัวเองว่าบริการและรายได้ในลักษณะใดบ้างที่จะได้รับจากผลิตภัณฑ์นี้ตลอดอายุการใช้งาน

Woman in protective clothing using touchpad in factory

จริงๆ แล้ว รายได้ของเราจะมาจากที่ใดบ้างในช่วงห้าปีนับจากนี้ ถือว่าเป็นคำถามที่ดีทีเดียว เพราะสิ่งนี้จะนำเราไปสู่การคาดการณ์ที่สำคัญของผมในลำดับต่อไป

2.) ความก้าวหน้าของบริการภิวัฒน์จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว: ในปี 2563 รายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของบรรดาผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมาจากบริการ

เมื่ออุตสาหกรรมการผลิตเริ่มกลายเป็นตลาดเปิดเสรีที่ตัวสินค้าเริ่มไม่มีความแตกต่างกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดและการสร้างผลกำไรให้กับบริษัท ในตอนนี้เราเริ่มเห็นแล้วว่าบรรดาผู้ผลิตจำนวนมากกำลังเปลี่ยนไปใช้โมเดลธุรกิจที่เน้นการให้บริการเป็นหลัก หรือที่เรียกว่าบริการภิวัฒน์” (servitization)

บริการภิวัฒน์เป็นแนวทางเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ผลิตเพื่อยกระดับข้อเสนอโดยรวมนอกเหนือจากตัวผลิตภัณฑ์แต่เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ แอปเปิ้ล ที่ได้นำแนวทางนี้มาใช้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลังจากที่ ไอพอดสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดสูงสุดมาได้ จากนั้น แอปเปิ้ล จึงได้เปิดตัวบริการ ไอทูนส์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม และสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองในตลาด รวมถึงสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นด้วย คุณอาจคิดว่าสิ่งนี้ใช้ไม่ได้กับธุรกิจของคุณ แต่โปรดทราบว่าบริษัทต่างๆ กำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากบริการภิวัฒน์ในภาคส่วนต่างๆ เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ฟิลิปส์ ซึ่งให้บริการแสงสว่างในรูปของบริการ, สำหรับสนามบิน สคิปโฮล (Schiphol) ที่อยู่นอกกรุงอัมสเตอร์ดัม กล่าวคือสนามบิน สคิปโฮล จะต้องจ่ายเงินค่าแสงสว่างที่ใช้ไป ขณะที่ ฟิลิปส์ ยังคงเป็นมีกรรมสิทธิ์ในระบบและอุปกรณ์ติดตั้งทั้งหมด ทั้งนี้ ฟิลิปส์  และ คอฟลี่ (Cofely) ซึ่งเป็นบริษัทคู่ค้าจะร่วมกันดูแลด้านประสิทธิภาพการทำงานและความมีเสถียรภาพของระบบ ครอบคลุมถึงการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิลเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน การดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้บริษัทลดค่าไฟลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องซื้อโคมไฟส่องสว่างเพิ่ม!

ผมมองเห็นการพัฒนาในรูปแบบนี้ในกลุ่มลูกค้าของไอเอฟเอสด้วยเช่นกัน อย่างเช่น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ระดับโลกที่ชื่อว่า โนวี่ สไตล์ กรุ๊ป (Nowy Styl Group) ที่มองว่าบริการภิวัฒน์เป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตของบริษัท ในปี 2560 บริษัทได้ประกาศว่าการผลิตเก้าอี้คงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วสำหรับเราและได้เริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงบริษัทจากผู้ผลิตเฉพาะอย่างก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกด้านการตกแต่งภายในสำหรับสำนักงานต่างๆ อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดซึ่งได้เริ่มนำเสนอระบบการจัดส่งและการให้บริการเพิ่มเติม บริษัทเข้าใจดีว่าการเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์หลักของลูกค้าเท่านั้น นั่นคือการรักษาสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ การใช้ผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การเลือกอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม การสร้างขั้นตอนที่ถูกต้อง ทั้งหมดนี้ล้วนมีความสำคัญต่อการรักษาสถานที่ทำงานให้มีความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองบริษัทตระหนักดีว่าเทคโนโลยีจะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเก้าอี้ที่สวยงามหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าผลิตภัณฑ์หรูหราในปัจจุบันกำลังจะกลายเป็นสิ่งของที่หาซื้อได้ทั่วไปในเวลาอันสั้น ซึ่งนั่นย่อมส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างมาก แต่ด้วยบริการภิวัฒน์ บรรดาผู้ผลิตจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม เพราะบริการจาก

ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สั่งสมมาเป็นเวลาหลายปี จะทำให้ลูกค้ายังคงต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทตลอดไป ไม่ว่าแนวโน้มเทคโนโลยีจะเป็นเช่นไรก็ตาม

จากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของไอเอฟเอส ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทวิจัยที่ชื่อว่า ราคอนเตอร์ (Raconteur) พบว่า 68 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทผู้ผลิตอ้างว่าบริการภิวัฒน์ได้รับการจัดตั้งมาเป็นอย่างดีและให้ผลตอบแทนที่ดีและอยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากผู้บริหารแต่ก็มีเพียงสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของบริษัทผู้ผลิตเท่านั้นที่ได้รับผลตอบแทนจากบริการภิวัฒน์ผู้ผลิตที่ยังไม่ได้ใช้โมเดลที่มีบริการเป็นศูนย์กลางกำลังสูญเสียรายได้และแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาข้อเสนอสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ดังนั้นเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและความต้องการที่กำลังเพิ่มมากขึ้น บรรดาผู้ผลิตจะต้องมองหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อร่นระยะเวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ครอบคลุมตั้งแต่การนำความคิดจากการออกแบบไปผลิตเป็นสินค้าและนำออกขายในตลาดให้ได้โดยเร็วที่สุด

เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ไอโอที  จะเข้ามาเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับบริการภิวัฒน์ โดยเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับได้ว่าผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ต้องเข้ารับบริการซ่อมบำรุงเมื่อใด จะช่วยให้ระบบสามารถเรียกใช้บริการซ่อมบำรุงโดยอัตโนมัติ ซึ่งสร้างประโยชน์และทำให้องค์กรบริการของคุณมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์แบบอัตโนมัติในลักษณะนี้จะกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสิ่งนี้เป็นก้าวต่อไปหลังจากมีการนำ ไอโอที  มาปรับประสิทธิภาพในการให้บริการ

3) ในปี 2562 ความตื่นเต้นเกี่ยวกับการพิมพ์สามมิติ (3D) จะหมดไป แต่ผลประโยชน์ที่แท้จริงจะเห็นอย่างเด่นชัด

คำพยากรณ์ลำดับที่สามของผมก็คือ การพิมพ์ 3D เช่นเดียวกับ ไอโอที  กำลังจะก้าวสู่ระดับใหม่ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากเรื่องของขนาดการพิมพ์ที่ต้องร้องว้าวเมื่อได้เห็นในครั้งแรก ซึ่งครอบคลุมถึงการผลิตในระดับที่เล็กลง เช่น เครื่องช่วยฟังและเครื่องประดับแล้ว การพิมพ์ 3D ยังสามารถก้าวไปได้อีกไกลมาก และเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ในปี 2561

เรากำลังเห็นพัฒนาการสองอย่างที่กำลังก้าวไปในทิศทางนั้น ประการแรกคือความสามารถในการปรับขยายของโซลูชั่นการพิมพ์ 3D ที่ดียิ่งขึ้น ยุคใหม่ของบริษัทด้านการพิมพ์สามมิติกำลังก้าวเข้าสู่การผลิตที่แต่เดิมมีผู้ผลิตแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปครองตลาดอยู่ มาเป็นระบบอัตโนมัติที่เชื่อมโยงระหว่างกันได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้ลดขั้นตอนการทำงานทั้งก่อนและหลังที่ต้องใช้เวลามาก อันเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิต ทั้งนี้มีบริษัทแห่งหนึ่ง นั่นคือสตราตาซิส (Stratasys) ได้สร้างเครื่องพิมพ์ใหม่ภายใต้ชื่อ ดีมอนสเตรเตอร์ (Demonstrator) ซึ่งเป็นการรวมเครื่องพิมพ์สามเครื่องไว้ในระบบสแตก (Stack) โดยที่เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ในแบบเรียลไทม์ เครื่องพิมพ์ใหม่นี้มีความสามารถในการปรับขยายได้สูง ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตสามารถเพิ่มกำลังการผลิตของการพิมพ์ได้มากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ 1,500-2,000 ชิ้นต่อวัน ส่งผลให้คุณสามารถประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3D

จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมการบินได้เริ่มนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเข้ามาใช้งานแล้วในปัจจุบัน ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตสามารถเรียนรู้จากอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ ตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จคือเครื่องยนต์ GE turboprop ATP Engine ซึ่งใช้การพิมพ์สามมิติ 35 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลดจำนวนชิ้นส่วนจากจำนวน 855 ชิ้นเหนือเพียง 12 ชิ้น และยังมีส่วนช่วยให้เครื่องยนต์มีน้ำหนักเบา มีขนาดกะทัดรัด ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงลงได้ถึง 15% เมื่อเทียบกับข้อเสนอของคู่แข่ง

ความสามารถในการปรับขยายและการลดขั้นตอนการดำเนินงานทั้งก่อนและหลังที่บริษัทด้านงานพิมพ์ 3D ขนาดกลางที่มีนวัตกรรมขั้นสูงกำลังนำออกสู่ตลาดนั้น หมายความว่าในปี 2561 เราจะได้เห็นบริษัทผู้ผลิตเข้าร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอากาศยานและยุทโธปกรณ์การรบ (Aerospace and Defense :A&D) เพิ่มมากขึ้นและก้าวสู่ระดับที่สูงกว่าที่เคยเป็นมาด้วยขีดความสามารถด้านการพิมพ์ 3D แบบใหม่

###

from:https://www.techtalkthai.com/3-innovations-that-will-change-2018-industry/

[PR] ผลการศึกษาของไอเอฟเอส พบว่า ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ต้องการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ที่ดี

Business hand holding chart in crystal ball

ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น จะยุ่งยากเมื่อบริษัททั้งหลายไม่สามารถปรับใช้ซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้

ไอเอฟเอส บริษัทผู้พัฒนาแอพพลิเคชันการจัดการองค์กรระดับโลก เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างชัดเจนระหว่างการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรของบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ กับความพร้อมในดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น การศึกษาวิจัยได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์การวางแผนจัดการทรัพยากรทางธุรกิจในองค์กร (enterprise resource planning – ERP) ซอฟต์แวร์การจัดการบริการภาคสนาม (field service management-FSM) ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการสินทรัพย์องค์กร (enterprise asset management-EAM) และซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรอื่น ในทวีปอเมริกาเหนือ

พบข้อสำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย

  • ในหลาย บริษัทจำนวนมาก พบว่า ระบบอีอาร์พียังคงหมายถึงการใช้โปรแกรมเอ็กเซลในงานด้านการผลิต เมื่อต้องเผชิญกับการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ที่ด้อยประสิทธิภาพ ทำให้ 88% ของผู้ตอบแบบสอบถามอาจเลิกใช้ซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรจากการใช้งานสเปรดชีตที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ทำให้เป้าหมายการใช้งานแอพพลิเคชันด้านการจัดการองค์กรนั้นล้มเหลว
  • พบค่าความสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างการใช้ประโยชน์กับดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ดังตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามที่กล่าวว่า ซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรของตนพร้อมสำหรับดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น  มีความเป็นไปได้สูงที่จะกล่าวว่า ซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรของตัวเองใช้งานได้ง่ายมาก ถึง 400%
  • การใช้งานซอฟต์แวร์มีผลต่อการจดจำของพนักงานในกลุ่มที่ผ่านประสบการณ์การใช้งานมาแล้ว จากการสำรวจแยกตามลักษณะประชากรเฉพาะในช่วงวัยกลางคนเป็นสำคัญ พบว่า เกือบ 46% อาจพิจารณาเปลี่ยนงานเหตุเพราะการใช้งานซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ

นายริค เวจ  หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค  ประจำทวีปอเมริกาเหนือ  บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวว่าการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ได้ลงลึกไปกว่าการใช้งานกราฟิก ยูสเซอร์ อินเทอร์เฟส สถาปัตยกรรมภายใต้แอพพลิเคชันต้องทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้งาน การใส่อินเทอร์เฟสที่มีลูกเล่นให้กับซอฟต์แวร์การจัดการธุรกิจซึ่งโดยพื้นฐานไม่สามารถส่งต่อกระบวนการทำงานที่คล่องตัว ย่อมไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานได้จริง ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าซอฟต์แวร์ของเขายังให้ผลลัพธ์ของงานที่ด้อยประสิทธิภาพในการเตรียมพร้อมสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น  โดยพบว่า มีถึง 28%  ที่มีแนวโน้มอยากให้ผู้ขายซอฟต์แวร์ทำทุกอย่างให้ง่ายขึ้น ด้วยการจัดหาซอฟต์แวร์ที่สอดคล้องกับธุรกิจของพวกเขา  ดังนั้น ในกระบวนการพิจารณาเลือกใช้ซอฟต์แวร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องขอให้ผู้ขายซอฟต์แวร์แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการการสนับสนุนทั้งเรื่องกระบวนการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน วิธีการผลิตในหลายรูปแบบ และรวมเอาการทำงานของไซต์งานต่าง ซึ่งผลิตงานที่แตกต่างกันออกไปทั้งหมดมาไว้ภายใต้โซลูชันธุรกิจเดียวกัน

นายสตีฟ แอนดรูว์ รองประธานฝ่ายการตลาด ประจำทวีปอเมริกาเหนือ  บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวว่าก่อนที่คนอื่นจะเข้าใจเรา เราต้องเข้าใจพวกเขาก่อนเป็นอันดับแรก การทำงานวิจัยในลักษณะนี้ คือ หนทางหนึ่งที่ทำให้พวกเราชาวไอเอฟเอสมั่นใจได้ว่า จะจัดการกับความต้องการขององค์กรภาคอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนซึ่ง

เราให้บริการอยู่ได้สำเร็จ การแบ่งปันงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้เราเหมือนยิ่งให้ก็ยิ่งได้ในการช่วยเหลือบริษัทต่าง ที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้เข้าใจถึงสถานการณ์ทางการตลาดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

###

เกี่ยวกับ ไอเอฟเอส

ไอเอฟเอส™ พร้อมพัฒนาและส่งต่อซอฟต์แวร์การจัดการองค์กรให้กับลูกค้าทั่วโลกที่เป็นทั้งผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า ดูแลและเก็บรักษาสินทรัพย์ และบริหารการปฏิบัติงานที่เน้นด้านการบริการ จากความเชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมของพนักงานและโซลูชันของเรา ตลอดจนการยึดมั่นพันธสัญญาที่ให้กับลูกค้า ทำให้ไอเอฟเอสกลายเป็นผู้นำที่ได้รับการจดจำ และเป็นซัพพลายเออร์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในภาคส่วนที่เราทำธุรกิจ พนักงานราว 3,500 คน ในทีมของเราพร้อมให้การสนับสนุนลูกค้าได้มากกว่า 1 ล้านรายทั่วโลก ทั้งจากการให้บริการโดยเครือข่ายสำนักงานภายในประเทศ และบริการในรูปแบบอีโคซิสเต็มส์ซึ่งกำลังเติบโตต่อเนื่องโดยคู่ค้าของเรา ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมเว็บไซต์ IFSworld.com 

ติดตามเราที่ทวิตเตอร์: @ifsworld

เยี่ยมชม ไอเอฟเอส บล็อก เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ที่ http://blog.ifsworld.com/

from:https://www.techtalkthai.com/ifs-digital-transformation-quality-software/

[PR] การวิจัยของไอเอฟเอสพบผู้ผลิตกำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันการเติบโตด้วยแนวทางการบริการภิวัฒน์

จากการศึกษาทั่วโลกยังพบด้วยว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่กำลังเริ่มใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล   เพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมออกสู่ตลาดให้เร็วกว่าเดิม

Woman in protective clothing using touchpad in factory

ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กร เปิดเผยผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Change Survey) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้กำลังใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตในเชิงพาณิชย์ด้วยแนวทางด้านการบริการภิวัฒน์ แต่กระนั้นปัญหาด้านการขาดแคลนทักษะ การกลัวและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง และการไม่ค่อยเต็มใจให้ความร่วมมือกับบริษัทภายนอกถือเป็นความท้าทายที่มีความสำคัญอย่างมาก

การบริการภิวัตน์ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากการผลิตสินค้าไปสู่การสร้างบริการใหม่ๆ ผ่านบริการภิวัฒน์” (Servitization) เป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแนวทางดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) โดย 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าบริการภิวัฒน์เป็นที่ยอมรับและให้ผลตอบแทนที่ดีและอยู่ระหว่างการดำเนินการและกำลังได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากผู้บริหารแต่ก็มีเกือบ 1 ใน 3 ของบริษัทผู้ผลิตที่ได้รับประโยชน์จากบริการภิวัฒน์

บริการภิวัฒน์ของภาคการผลิตกำลังได้รับการผลักดันบางส่วนจากแรงกดดันด้านการแข่งขัน และจากลูกค้าที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและต้องการได้รับทุกสิ่งทุกอย่างให้เร็วยิ่งกว่าเดิมนายแอนโทนี บอร์น รองประธานฝ่ายโซลูชั่นอุตสาหกรรมทั่วโลก บริษัท ไอเอฟเอส กล่าวและว่าผู้ผลิตที่ยังไม่ได้ใช้โมเดลที่มีบริการเป็นศูนย์กลางกำลังสูญเสียรายได้และแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาข้อเสนอสำหรับผลิตภัณฑ์ของตน ดังนั้นเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและความต้องการที่กำลังเพิ่มมากขึ้น บรรดาผู้ผลิตจะต้องร่นระยะเวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ครอบคลุมตั้งแต่การนำความคิดจากการออกแบบไปผลิตเป็นสินค้าและนำออกขายในตลาดให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ สามารถตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าวได้

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นว่าการการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นแนวทางหลักที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากอุตสาหกรรมการผลิตที่มองว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกการเติบโตทางการค้าได้อย่างเห็นผล โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 37 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าการกระตุ้นนวัตกรรมให้เกิดเร็วขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (ในสัดส่วนที่มากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ) ขณะที่การสร้างความแตกต่างด้านการแข่งขัน (32 เปอร์เซ็นต์) ก็ยังติดปัจจัยห้าอันดับแรกของอุตสาหกรรมแห่งนี้ด้วย แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองประเด็นนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับปัจจัยทั่วไปที่ช่วยในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต นั่นคือประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานภายใน” (40 เปอร์เซ็นต์) และการประหยัดค่าใช้จ่าย” (33 เปอร์เซ็นต์)

อุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาทางดิจิทัลอย่างเต็มที่

อุตสาหกรรมการผลิตกำลังใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ จำนวนมากเพื่อเร่งการเติบโต โดย 83 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุสถานะการปรับใช้เทคโนโลยีของตนว่าใช้งานแล้ว” (enabled), “กำลังสำรวจตรวจสอบ” (exploratory) หรือเพิ่มระดับการใช้แล้ว” (enhanced) และไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งไข่บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคอเมริกาเหนืออยู่แถวหน้าของการปรับใช้เทคโนโลยี โดย 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าสถานะของตนว่าเพิ่มระดับการใช้แล้ว” (enhanced) หรือได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้ว” (optimized) ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) (29 เปอร์เซ็นต์) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) (21 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต 84 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพวกเขาคิดว่าได้ลงทุนเพียงพอหรือได้ประโยชน์แล้วซึ่งมีสัดส่วนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับทุกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ 12 เปอร์เซ็นต์ยังระบุด้วยว่าเงินลงทุนมากเกินไปซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พบในในอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่าบริษัทผู้ผลิตไม่ได้จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพหรือคุ้มค่ากับเงินที่ลงไป 

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

รายงานยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายทางวัฒนธรรมที่อาจขัดขวางความพยายามด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดกว้างและความเต็มใจที่จะแบ่งปันกับบริษัทภายนอกองค์กร โดยเกือบ 1 ใน 3 (31 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าต้องการเพิ่มความร่วมมือในการทำงาน และระบุด้วยว่าการบริหารหลังการขาย/การประมาณการ“, “ซัพพลายเชนและการบริหารจัดการด้านการขาย/การประมูลเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ 57 เปอร์เซ็นต์ยังแจ้งด้วยว่าองค์กรของตนมีการบูรณาการทำงานภายในและสามารถทำงานข้ามแผนกได้อย่างแข็งแกร่งมาก ขณะที่การทำงานร่วมกับบริษัทภายนอกดูเหมือนว่าจะเป็นส่วนที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพิ่มมากขึ้น

การขาดแคลนทักษะความสามารถ

บริการภิวัฒน์นำเสนอโอกาสใหม่ๆ ของงานสำหรับพนักงานภาคการผลิตที่ปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นงานเฉพาะด้านการผลิตเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 4 (23 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการขาดทักษะและความสามารถเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเทคโนโลยี เอไอ หรือหุ่นยนต์ และระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BI) ถือเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น องค์กรด้านการผลิตมีโอกาสอย่างมากที่จะนำบริการภิวัฒน์และการเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรในที่ทำงานมาสร้างงานใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ โดย 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานระบุว่าการกลัวหรือไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงถือเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

อย่างไรก็ตาม 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อเพิ่มความสามารถที่มีอยู่เดิม ขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ก็กำลังมองหาการจ้างงานจากภายนอกด้วย

การขาดข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล

ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ได้รับการระบุว่าเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลอันดับหนึ่งที่ผู้ตอบแบบสอบถามต้องลงทุน แต่มีเพียง 1 ใน 4 (26 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้นที่กำลังใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกซึ่งขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อช่วยให้เกิดนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ทราบวิธีหาสร้างมูลค่าจากข้อมูลที่ตนมีอยู่ โดย 58 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาเพิ่งเริ่มต้นใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูล และพบว่าสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เปรียบในด้านการแข่งขัน

การเดินหน้าผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้เร็วขึ้น

ทั้งนี้มีสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าบริษัทผู้ผลิตกำลังนำเอาระบบการทำงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้ชื่อว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมได้สูงสุด และยังพบแนวทางใหม่ๆ ในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อีกด้วย กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (55 เปอร์เซ็นต์) ได้เปลี่ยนไปใช้การผลิตระบบอัจฉริยะแล้ว และยังมีอีก 26 เปอร์เซ็นต์ที่คาดว่าจะดำเนินการดังกล่าวภายในสองปี หากต้องการนำหน้าในการแข่งขัน บริษัทต่างๆ จะต้องเร่งการปรับใช้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และบริษัทภายนอกสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ด้วยการเติมเต็มทักษะและทรัพยาการที่มีความจำเป็นอย่างมาก ผู้ตอบแบบสอบถามในอุตสาหกรรมการผลิต 81 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าผู้จำหน่ายที่เป็นบริษัทภายนอกที่ตนใช้บริการอยู่ในปัจจุบันพร้อมตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลในอนาคตแล้วโดยรายงานแสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตเห็นว่าบริษัทภายนอกมีบทบาทสำคัญในด้านการปรับเปลี่ยนหน่วยงานและองค์กรให้เป็นดิจิทัล“, “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและการรายงานและกลยุทธ์ทางดิจิทัล

###

เกี่ยวกับการสำรวจการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของไอเอฟเอส

การสำรวจในครั้งนี้จัดทำโดยบริษัท ไอเอฟเอส เพื่อประเมินความพร้อมด้านการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ดาวน์โหลดรายงานได้ที่นี่ โดยบริษัท Raconteur ได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับมุมมองของบุคคลที่มีอำนาจการตัดสินใจจำนวน 750 คนใน 16 ประเทศ ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ การบิน การก่อสร้างและการรับเหมา การผลิต และการบริการ ซึ่งเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตนั้นก็มีผู้เข้าร่วมทำแบบสำรวจมากถึง 150 คน สำหรับประเทศที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สวีเดน เยอรมนี ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน โปแลนด์ ตะวันออกลาง (ภูมิภาค) และอินเดีย

from:https://www.techtalkthai.com/ifs-survey-manufacturing-media-alert/