คลังเก็บป้ายกำกับ: GPU

NVIDIA เปิดตัวจีพียู RTX Ada Generation สำหรับโน้ตบุ๊กเวิร์คสเตชัน

NVIDIA เปิดตัวจีพียูเวิร์คสเตชันแบรนด์ RTX (Quadro เดิม) ที่ใช้สถาปัตยกรรม Ada Lovelace เพิ่มเติมอีก 6 รุ่น หลังจากเปิดตัวจีพียู RTX 6000 รุ่นท็อปมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2022

  • โน้ตบุ๊ก มี 5 รุ่นย่อยคือ RTX 5000, RTX 4000, RTX 3500, RTX 3000, RTX 2000
  • เดสก์ท็อป มี 1 รุ่นย่อยคือ RTX 4000 Small Form Factor (SFF) แรม 20GB DDR6 ECC

วิธีการเรียกชื่อรุ่นจีพียู RTX รอบนี้เปลี่ยนไปจากของเดิมที่มีตัวอักษรย่อตามโค้ดเนมสถาปัตยกรรมนำหน้า (เช่น RTX A5000 สำหรับ Ampere) คราวนี้ตัดตัวอักษรนำหน้าออก เหลือแต่ตัวเลข แต่ใช้คำว่า “Ada Generation” ต่อท้ายชื่อแทน

No Description

สเปกอย่างละเอียดของ RTX Ada Generation ดูได้จากตารางเปรียบเทียบ โดยรุ่นท็อปสุด RTX 5000 มี CUDA Core 9,782 คอร์, RT Core 76 คอร์, Tensor Core 304 คอร์, แรม 16GB GDDR6 EEC 256-bit, TDP 8–175W

No Description

ที่มา – NVIDIA

from:https://www.blognone.com/node/133114

Advertisement

NVIDIA เปิดตัว DGX Cloud เช่าเซิร์ฟเวอร์ฝึก AI เริ่มต้นเดือนละ 1.2 ล้านบาท

NVIDIA เปิดตัว NVIDIA DGX Cloud บริการเช่าเซิร์ฟเวอร์เหมาเครื่อง สำหรับองค์กรที่ต้องการฝึกปัญญาประดิษฐ์ โดยโครสร้างหลักอยู่บน Oracle Cloud ที่มีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก พร้อมให้บริการชิปกราฟิกถึง 32,000 ชุด

ความแตกต่างของ DGX Cloud คือเป็นการเช่าเครื่องทั้งเครื่องเป็นรายเดือน ซึ่งก็นับว่าราคาถูกกว่าซื้อเองทั้งเครื่องอยู่มาก แต่ละเครื่องมีการ์ด NVIDIA A100 อยู่ 8 ใบ รวมแรม 640GB และหากเช่าหลายเครื่องพร้อมกันก็จะเชื่อมต่อกันด้วยระบบเน็ตเวิร์คของ NVIDIA เอง

ทาง NVIDIA โชว์ว่ามีผู้ใช้ DGX Cloud แล้วเช่น Amgen ใช้โมเดล BioNeMo ของ NVIDIA เพื่อวิจัยยา ขณะที่ ServiceNow ใช้เพื่อวิจัยเรื่องการสร้างโมเดลภาษาขนาดใหญ่, ปัญญาประดิษฐ์ช่วยเขียนโค้ด, และการวิเคราะห์อื่นๆ

ราคาต่อเครื่องต่อเดือนอยู่ที่ 36,999 ดอลลาร์ หรือ 1.27 ล้านบาท และการใช้งานต้องติดต่อตัวแทน NVIDIA

ที่มา – NVIDIA

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133110

NVIDIA เปิดตัวโมดูลปัญญาประดิษฐ์ H100 NVL อัดแรม 188GB เพื่อรัน AI ขนาดใหญ่

NVIDIA เปิดตัวชิป H100 NVL หลังจากเปิดตัวรุ่นแรกในตระกูลเมื่อปีที่แล้ว โดยความพิเศษของโมดูลรุ่นใหม่นี้คือมันใส่แรมมาสูงถึง 188GB นับว่าสูงที่สุดจากเดิมที่ชิป H100 รองรับแรมเพียง 80GB เท่านั้น เหตุผลสำคัญคือโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม GPT ช่วงหลังมีขนาดใหญ่มากๆ ระดับแสนล้านพารามิเตอร์ การรันโมเดลระดับนี้ต้องการแรมขนาดใหญ่

นอกจาก H100 NVL แล้ว NVIDIA ยังเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นอื่นๆ มาอีก 3 รุ่น ได้แก่

  • NVIDIA L4 สำหรับงานวิดีโอเป็นหลัก ตัวการ์ด L4 มีแรม 24GB พลังประมวลผล 30 teraFLOPS ที่ FP32 สามารถใส่การ์ดสูงสุด 8 ใบ เหมาะสำหรับงานเรนเดอร์วิดีโอ, ภาพสามมิติ, บีบอัดวิดีโอ, หรือใช้ปัญญาประดิษฐ์ปรับปรุงคุณภาพภาพ
  • NVIDIA L40 ยังไม่เปิดเผยขนาดแรมบนการ์ดและความแรง แต่ระบุว่าเหมาะกับงานปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพ และงานสร้างโลกเสมือน
  • NVIDIA Grace Hopper เป็นเซิรฟเวอร์สำหรับงานฐานข้อมูลเพื่อการรันปัญญาประดิษฐ์แนะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ตอนนี้ Google Cloud เตรียมให้บริการเครื่อง L4 เป็นรายแรก และทั้ง L4/L40 นั้นจะมีผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ผลิตเครื่องขายหลายแบรนด์ ขณะที่ชิป H100 NVL นั้นต้องรอครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา – NVIDIA

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133109

ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังเครื่องที่ใช้เทรน ChatGPT ใช้จีพียู A100 เป็นหลักหมื่นตัว

ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บน Azure เพื่อให้บริการ OpenAI เทรนโมเดล AI ขนาดใหญ่จนกลายมาเป็น ChatGPT แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์กับ OpenAI ในปี 2019 ตอนนั้นไมโครซอฟท์มีระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรนโมเดล AI ของตัวเองอยู่แล้ว (เช่น โมเดลที่ใช้ใน Microsoft Translator หรือตัวตรวจสะกดใน Word) แต่ขีดความสามารถนั้นไม่พอกับที่โมเดลขนาดใหญ่มากๆ ของ OpenAI ต้องการใช้งาน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีออกแบบระบบใหม่

No Description

ระบบเบื้องหลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์ตัวนี้ใช้จีพียู NVIDIA A100 จำนวน “หลายหมื่นตัว” (tens of thousands) ซึ่งไมโครซอฟท์ประเมินคร่าวๆ ว่าต้นทุนของโครงการอยู่ในหลัก “หลายร้อยล้านดอลลาร์” (several hundred million dollars) แต่มีเงินซื้อจีพียูอย่างเดียวก็ไม่พอ ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีต่อเชื่อมจีพียูจำนวนเยอะขนาดนี้ที่กระจายตัวอยู่ตามศูนย์ข้อมูล 60 เขตทั่วโลกเข้าด้วยกัน

ตัวแกนของเทคโนโลยีเชื่อมต่อความเร็วสูงคือ InfiniBand ของ NVIDIA (จากการซื้อ Mellanox ในปี 2019) แต่ NVIDIA เองก็ไม่เคยนำจีพียูจำนวนเยอะขนาดนี้มาต่อกัน ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยีเชื่อมต่อเป็นไปได้แค่ไหน

No Description

ไมโครซอฟท์ใช้วิธีแบ่งส่วนงาน (partition) แล้วกระจายไปยังคลัสเตอร์ของจีพียูต่างๆ เป็นชุดๆ โดยมี InfiniBand เป็นตัวเชื่อม แต่ก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับกระจายงานทั้งจีพียูและระบบเครือข่ายเพิ่มอีกมาก (ผ่านซอฟต์แวร์ ONNX Runtime ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์ส) ซึ่งใช้เวลาหลายปีที่ผ่านมาทำเรื่องนี้ อีกวิธีที่ใช้คือค่อยๆ ขยายจำนวนจีพียูและเครือข่ายทีละน้อย เพื่อดูว่าระบบโดยรวมรองรับได้แค่ไหน รวมถึงมีเรื่องระบบระบายความร้อน ระบบไฟสำรอง ที่ต้องขยายตัวรองรับด้วย

เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นของ Azure เป้าหมายจึงเป็นการออกแบบเพื่อเปิดให้คนนอกใช้งานด้วย แม้จุดเริ่มต้นเกิดจากการคัสตอมระบบตามความต้องการของลูกค้าเพียงรายเดียว (OpenAI) แต่วิธีการสร้างเครื่องของ Azure คือสร้างโดยมีโจทย์ให้คนทั่วไปใช้งาน (generalized) ซึ่งตอนนี้เครื่องถูกนำมาให้บริการ Azure OpenAI ที่บุคคลทั่วไปสามารถเช่าเทรนโมเดล

No Description

ศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งของไมโครซอฟท์ที่รัฐวอชิงตัน ที่ให้บริการ OpenAI Service

ตอนนี้ไมโครซอฟท์กำลังสร้างเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ ซึ่งจะใช้เทรนโมเดลตัวใหม่ๆ ที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นไปอีก และตอนนี้เริ่มเปิดให้คนนอกเช่าเครื่อง H100 ใช้งานแล้ว

ที่มา – Microsoft, Bloomberg

from:https://www.blognone.com/node/133067

Azure เปิดทดสอบให้เช่า VM ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 Hopper รุ่นล่าสุดแล้ว

Microsoft Azure เปิดพรีวิวเครื่อง VM เวอร์ชันใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ล่าสุด สถาปัตยกรรม Hopper ที่พัฒนาขึ้นจากจีพียู NVIDIA A100 (Ampere) รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หากอิงจากตัวเลขของ NVIDIA เองคือเทรนโมเดลบางประเภทได้เร็วขึ้น 9 เท่า

VM รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า ND H100 v5 เลือกจีพียูได้ต่ำสุด 8 ตัว สเกลขึ้นไปได้เป็นหลักพันตัว (ต่อกันผ่าน InfiniBand) สเปกเครื่องมีดังนี้

  • 8x NVIDIA H100 Tensor Core GPUs interconnected via next gen NVSwitch and NVLink 4.0
  • 400 Gb/s NVIDIA Quantum-2 CX7 InfiniBand per GPU with 3.2Tb/s per VM in a non-blocking fat-tree network
  • NVSwitch and NVLink 4.0 with 3.6TB/s bisectional bandwidth between 8 local GPUs within each VM
  • 4th Gen Intel Xeon Scalable processors
  • PCIE Gen5 host to GPU interconnect with 64GB/s bandwidth per GPU
  • 16 Channels of 4800MHz DDR5 DIMMs

ตอนนี้ ND H100 v5 VM ยังเปิดให้บริการในวงจำกัด ผู้ที่สนใจจำเป็นต้องลงทะเบียนขอสิทธิการใช้งานก่อน

NVIDIA กับไมโครซอฟท์ยังมีข้อตกลงสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ที่ใช้สเปกแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าบริการ ND H100 v5 เป็นการตัดบางส่วนของเครื่องมาให้คนนอกเช่าให้งาน ซึ่งในอดีตไมโครซอฟท์เคยมีเครื่องที่ให้บริการ Azure ติด Top 10 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกเมื่อปี 2021 ด้วย

ที่มา – Microsoft

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133058

AMD ตั้งใจไม่ออกจีพียูรุ่นท็อปสู้ 4090 เพราะมองว่าไม่มีตลาด เอาเงินส่วนต่างไปทำอย่างอื่นดีกว่า

ผู้บริหารของ AMD สองคนคือ Rick Bergman (EVP) และ David Wang (SVP) ให้สัมภาษณ์กับสื่อไอทีญี่ปุ่น ITMedia เปิดเผยรายละเอียดที่น่าสนใจว่า AMD เลือกไม่ทำจีพียูระดับท็อปแข่งกับ NVIDIA GeForce RTX 4090 แม้ในทางเทคนิคนั้นเป็นไปได้ เพราะมองว่าไม่น่าจะมีตลาดมากพอ

จีพียูรุ่นสูงสุดของ AMD ในปัจจุบันคือ Radeon RX 7900 XTX ที่มีประสิทธิภาพระดับใกล้ๆ กับ GeForce RTX 4080 ซึ่งเป็นจีพียูตัวรองของ NVIDIA โดยฝั่ง AMD ตั้งราคาถูกกว่าที่ 999 ดอลลาร์ เทียบกับฝั่ง NVIDIA ที่ตั้ง 1,199 ดอลลาร์

Rick Bergman บอกว่าตลาดจีพียูที่ใช้พลังงาน TDP ระดับสูงสุดที่ 600W และราคา 1,599 ดอลลาร์ของ GeForce RTX 4090 นั้นไม่น่าจะได้การยอมรับจากกลุ่มผู้เล่นเกมพีซีทั่วๆ ไป (general PC gaming fan) เพราะนอกจากแพงแล้ว ยังต้องหาพาวเวอร์ซัพพลายที่ระดับเกินคอมมอนเซนส์ และเคสขนาดใหญ่พิเศษมาระบายความร้อนด้วย ทำให้ AMD เลือกยุทธศาสตร์ออกสินค้าที่สอดคล้องกับฮาร์ดแวร์ของกลุ่มคนเล่นเกมพีซีทั่วไป (PC enthusiast) แทน

เขายังบอกว่า AMD ทำการ์ดราคา 999 ดอลลาร์ก็พอแล้ว ส่วนต่าง 600 ดอลลาร์ (ที่ถูกกว่า RTX 4090) ให้เอาไปใช้ซื้อชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์อื่นดีกว่า

ส่วน David Wang ก็ย้ำว่า AMD มีศักยภาพออกการ์ดประสิทธิภาพสูงระดับนี้ได้อยู่แล้ว ตัวอย่างที่จับต้องได้คือการ์ด Instinct MI250X เพียงแต่มันไม่ใช่สินค้าสำหรับกลุ่มเกมมิ่งเท่านั้น และบริษัทไม่คิดว่าจีพียูระดับนี้เหมาะสำหรับคอนซูเมอร์

ที่มา – ITMedia (ภาษาญี่ปุ่น), Notebookcheck

from:https://www.blognone.com/node/132987

Microsoft Edge เริ่มเปิดใช้ Video Super Resolution ใช้ได้ทั้งจีพียู NVIDIA และ AMD

เราเห็นข่าว NVIDIA ประกาศฟีเจอร์ Video Super Resolution สำหรับการชมวิดีโอผ่านเบราว์เซอร์ที่เป็น Chromium ไปแล้ว

ฝั่งไมโครซอฟท์ออกมาประกาศฟีเจอร์ชื่อเดียวกันคือ Video Super Resolution ทำงานแบบเดียวกัน ที่เพิ่มเติมคือใช้ได้ทั้งจีพียูค่ายเขียว NVIDIA (GeForce 20/30/40) และค่ายแดง (Radeon RX5700-RX7800)

ฟีเจอร์นี้ใช้ได้บน Microsoft Edge Canary กับผู้ใช้บางกลุ่ม (ยังเปิดใช้แค่ 50% ของผู้ใช้ Canary) โดยต้องเปิดใช้ผ่าน flag edge://flags/#edge-video-super-resolution ก่อน เงื่อนไขคือคอมพิวเตอร์ต้องเสียบไฟด้วย วิดีโอต้องมีความละเอียดน้อยกว่า 720p ถึงจะอัพสเกลให้ และยังใช้ไม่ได้กับวิดีโอที่ติด DRM (PlayReady/Widevine)

ไมโครซอฟท์ยังบอกว่ากำลังพัฒนาฟีเจอร์นี้ให้รองรับจีพียูแบบไฮบริด (โน้ตบุ๊กที่มีทั้ง iGPU และ dGPU) ตอนนี้ยังใช้ได้เฉพาะ dGPU รุ่นที่ระบุเท่านั้น

No Description

เว็บไซต์ Videocardz ยังรายงานว่าค่ายอินเทลก็กำลังพัฒนา VSR ของตัวเองอยู่เช่นกัน (แม้อินเทลยังไม่แถลงอย่างเป็นทางการ แต่มีคนลองใช้กับ Chrome ได้แล้ว) ตอนนี้ใช้ได้แล้วกับจีพียู Intel Arc แต่ยังใช้ไม่ได้กับ iGPU ของอินเทล

ที่มา – Microsoft Edge, Videocardz, Videocardz (Intel)

from:https://www.blognone.com/node/132904

อินเทลยกเลิกการออกจีพียูศูนย์ข้อมูล Rialto Bridge, ข้ามไปออก Falcon Shores ปี 2025

อินเทลยกเลิกโครงการจีพียูศูนย์ข้อมูล Rialto Bridge ที่เปิดตัวในปี 2022 และมีกำหนดขายปี 2023+ โดยจะข้ามไปออกจีพียูรุ่นถัดไป Falcon Shores ในปี 2025 เลยทีเดียว

Rialto Bridge เป็นจีพียูระดับสูงของอินเทลตัวที่สอง ถัดจาก Ponte Vecchio (ชื่อทางการคือ Data Center GPU Max) ที่เพิ่งออกขายเมื่อต้นปี 2023 จับตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC)

อินเทลให้เหตุผลของการยกเลิก Rialto Bridge ว่าเป็นเพราะต้องการออกจีพียูรุ่นใหม่ทุกสองปี แทนการออกทุกปี โดย Falcon Shores เป็นชิปลูกผสมที่รวมซีพียูและจีพียูเข้าด้วยกัน (อินเทลเรียก XPU) เดิมทีมีกำหนดออกปี 2024 ก็เลื่อนเล็กน้อยไปออกปี 2025

การเลื่อนออก Falcon Shores ทำให้อินเทลจะต้องตามหลังคู่แข่งเรื่อง XPU คือ AMD Instinct MI300 และ NVIDIA Grace Hopper ที่มีกำหนดออกปี 2023 ทั้งคู่

นอกจากนี้ อินเทลยังประกาศยกเลิกจีพียูศูนย์ข้อมูลตระกูล Data Center GPU Flex ที่เน้นเข้ารหัสวิดีโอ (รุ่นแรกโค้ดเนม Arctic Sound-M) โดยจีพียูรุ่นที่สอง Lancaster Sound ถูกข้ามไปยังตัวถัดไป Melville Sound แทน ซึ่งจะใช้รอบการออกจีพียูรุ่นใหม่ทุก 2 ปีเช่นเดียวกับจีพียูตระกูล Max

No Description

ที่มา – Intel, Tom’s Hardware

from:https://www.blognone.com/node/132889

NVIDIA ออกไดรเวอร์ รองรับ Video Super Resolution ใช้จีพียูอัพสเกลภาพวิดีโอในเบราว์เซอร์แล้ว

NVIDIA ออกอัพเดตไดรเวอร์ GeForce Game Ready Driver รอบเดือนมีนาคม 2023 (เลขเวอร์ชัน 531.18) มีของใหม่ที่สำคัญคือ RTX Video Super Resolution (VSR) ใช้พลัง AI ด้วยอัพสเกลวิดีโอที่รับชมผ่านเว็บเบราว์เซอร์ให้มีความละเอียดสูงขึ้น

ตอนนี้เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับแล้วคือ Chrome และ Edge โดยต้องใช้กับจีพียู GeForce RTX ซีรีส์ 30 หรือ 40 (ซีรีส์ 20 จะตามมาในอนาคต) และต้องเปิดใช้งานในหน้า Settings ของ NVIDIA Control Panel ด้วย ผู้ใช้สามารถเลือกระดับของการปรับคุณภาพวิดีโอได้ตั้งแต่ 1-4 ซึ่งคุณภาพยิ่งเยอะยิ่งกินแรงจีพียู

NVIDIA อธิบายว่าอัลกอริทึม VSR ปรับคุณภาพวิดีโอเป็นคนละตัวกับ DLSS ที่ใช้อัพสเกลภาพในเกม จุดต่างคือ VSR ใช้ข้อมูลจากเฟรมวิดีโอเท่านั้นในการคำนวณภาพเฟรมที่ละเอียดขึ้น ส่วน DLSS ใช้ข้อมูลจากเอนจินของเกมในการสร้างเฟรมด้วย ข้อจำกัดของ VSR คือไม่สามารถใช้กับวิดีโอแบบไลฟ์สตรีมได้ เพราะต้องบัฟเฟอร์วิดีโอมาคำนวณก่อน

วิดีโอที่รองรับการอัพสเกลครอบคลุมบริการสตรีมมิ่งต่างๆ ที่รับชมผ่านเบราว์เซอร์ เช่น Prime Video, HBO Max, Disney+ รวมถึง YouTube แต่ยังไม่รวม YouTube Shorts, วิดีโอที่เป็น HDR และวิดีโอที่ติด DRM บางประเภท รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านใน FAQ

No Description

No Description

No Description

ไดรเวอร์เวอร์ชันนี้ยังรองรับ DLSS 3 สำหรับเกม Atomic Hear, ซัพพอร์ตเกมใหม่ The Finals, ปรับปรุงการตั้งค่าแบบ optimal ให้เกม Hogwarts Legacy และ Company of Heroes 3 ด้วย

ที่มา – NVIDIA

from:https://www.blognone.com/node/132838

อินเทลโชว์ขุมพลัง โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 พร้อม Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ตอบโจทย์ผู้ใช้และองค์กรธุรกิจในไทย [Guest Post]

เตรียมสัมผัสศักยภาพเหนือชั้นของโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วแรงที่สุดในโลก
และโปรเซสเซอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล ได้แล้ววันนี้!

กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2566 — อินเทล ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์  Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ได้ผสานประสิทธิภาพและประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าเข้าไว้ด้วยกันในแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ พร้อมนำเสนอ Intel® Arc™ จีพียูแบบใช้งานแยก นอกจากนี้ ยังเปิดตัวโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 (โค้ดเนม Sapphire Rapids) ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) คลาวด์ เครือข่ายและเอดจ์ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ  

โปรเซสเซอร์ตระกูล Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13

 

  • โปรเซสเซอร์เดสก์ท็อป Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ตอกย้ำความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในตระกูล: อินเทลได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ไปเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเปิดตัวโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อป K-ซีรีส์ ที่งาน Thailand Game Show ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อปที่เร็วแรงที่สุดในโลกในตอนนี้[1] อย่าง Intel®Core™ i9-13900K เจนเนอเรชั่น 13 โดยโปรเซสเซอร์เดสก์ท็อปตัวใหม่นี้ใช้พลังงานระดับ 35 วัตต์ และ 65 วัตต์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้อุปกรณ์พีซีทั่วไปมีทางเลือกในการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงส่งมอบประสิทธิภาพที่น่าทึ่งสำหรับการเล่นเกม การสร้างสรรค์เนื้อหา และการทำงานทั่วไปได้อย่างลงตัว
  • โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ H-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 โดดเด่นด้วยประสิทธิภาพเทคโนโลยีโมบายล์ชั้นนำในอุตสาหกรรม: อินเทลยังคงเดินหน้าก้าวข้ามขีดจำกัด พร้อมขยายขุมพลังประสิทธิภาพและศักยภาพแห่งการประมวลผลเพื่อเหล่าเกมเมอร์และนักสร้างสรรค์เนื้อหาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ H-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 รวมถึงโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่มีจำนวนคอร์ถึง 24 คอร์สำหรับการใช้งานกับแล็ปท็อป ซึ่งถือเป็นโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วแรงที่สุดในโลกในตอนนี้[2] เมื่อผสานเข้ากับฟีเจอร์ที่โดดเด่นอย่างเครื่องมือรองรับหน่วยความจำ DDR4 และ DDR5 ฟังก์ชันการเชื่อมต่อที่เหนือชั้นและรองรับการใช้งาน PCIe Gen 5 จึงทำให้โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ HX เจนเนอเรชั่น 13 กลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโมบายล์เกมที่ดีที่สุดในโลกในตอนนี้[3] ด้วยขุมพลังประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ที่ให้ความเร็วแรงมากกว่าเจนเนอเรชั่น 12 ถึง 5 เท่า ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้แล็ปท็อปที่ใช้โปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ HX กว่า 60 รุ่น ในการสตรีม สร้างสรรค์ผลงาน หรือเล่นเกมได้เป็นอย่างดีและราบรื่นตามกำลังสูงสุด
  • โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ P-ซีรีส์ และ U-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้แล็ปท็อปดีไซน์บาง-น้ำหนักเบา: อินเทลยังเปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ P-ซีรีส์ และ U-ซีรีส์ เจนเนอเรชั่น 13 ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ที่มองหาแล็ปท็อปที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูงพร้อมดีไซน์บางเฉียบให้สร้างสรรค์งานหรือเล่นเกมได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แล็ปท็อปที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 จะมาพร้อมกับฟีเจอร์อย่างหน่วยประมวลผลวิสัยทัศน์ Intel® Movidius vision processing unit (VPU) ซึ่งเป็นผลจากการประสานงานด้านวิศวกรรมร่วมกับบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ในโหมด Window Studio Effects ใหม่ล่าสุด หน่วย VPU ใหม่นี้สามารถช่วยในการประมวลผลที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการทำงานร่วมกันของระบบและการสตรีมระดับมืออาชีพโดยเฉพาะ ทำให้หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) และหน่วยประมวลผลภาพกราฟิก (Graphics Processing Unit: GPU) มีพื้นที่ว่างสำหรับเวิร์กโหลดอื่นๆ หรือการทำงานแบบมัลติทาสกิ้งอื่น ๆ

โปรเซสเซอร์โมบายล์  Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ใหม่ล่าสุดนี้ช่วยยกระดับประสิทธิภาพของแล็ปท็อปรุ่นใหม่ให้ทำงานได้ราบรื่นกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปที่มีดีไซน์บางเฉียบและน้ำหนักเบาแต่ประสิทธิภาพสูง หรืออุปกรณ์ 2-in-1 แบบพับได้ และฟอร์มแฟคเตอร์อื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับ IoT edge นั้น โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 มีฟีเจอร์รูปแบบใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย รวมถึงระบบปฏิบัติการที่ควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์ให้ทำงานได้ต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น และ CPU ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมความสามารถด้านกราฟิกและประสิทธิภาพ AI ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมค้าปลีก การศึกษา การดูแลสุขภาพ การบินและอวกาศ อุตสาหกรรม และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยโปรเซสเซอร์ตัวใหม่นี้จะเพิ่มประสิทธิภาพการผสานรวมเวิร์กโหลดที่ดีขึ้นด้วยคอร์และเธรดที่มากขึ้น ส่งผลให้แอปพลิเคชันสามารถทำงานบนอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในเครื่องเดียว     

แล็ปท็อปรุ่นใหม่ที่ผสานพลัง Intel Evo มาพร้อมแบตเตอรี่ใช้งานได้นานขึ้น และประสบการณ์การใช้งานที่เหนือชั้น

อินเทลยังคงเดินหน้าในการยกระดับมาตรฐานแล็ปท็อปและอุปกรณ์แบบพกพาอื่น ๆ ตามมาตรฐานสัญลักษณ์ Intel® Evo™ ภายใต้ข้อกำหนดใหม่นี้ แล็ปท็อปมาตรฐาน Intel Evo ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 จะมอบประสบการณ์การใช้งานที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

  • ประสิทธิภาพการทำงานที่เหนือชั้นและราบรื่นไม่มีสะดุด: ได้รับการรับรองถึงประสิทธิภาพความรวดเร็วในการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอแม้ในขณะที่ไม่ได้เสียบปลั๊ก อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานขึ้น รวมไปถึงการเปิดเครื่องแล้วใช้งานได้ทันที และการชาร์จเร็ว
  • การทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาด: ด้วยการยกระดับการประชุมทางวิดีโอ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เช่น Intel® Connectivity Performance Suite และ Intel® Bluetooth® LE Audio[4]
  • Intel® Unison™ ที่พร้อมใช้งานบนแล็ปท็อป: เต็มอิ่มไปกับอิสระแห่งการทำงานบนหลากหลายอุปกรณ์ได้อย่างลื่นไหล ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ การคุยโทรศัพท์ การแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ และการถ่ายโอนไฟล์จากพีซีไปยังโทรศัพท์ที่เปิดใช้งานในระบบบนอุปกรณ์ Android หรือ iOS[5]
นายอยุช บาทรา (Ayush Batra) ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น
นางสาวฉันทนา สุวรรณวงษ์ ผู้อำนายการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

นางสาวฉันทนา สุวรรณวงษ์ ผู้อำนายการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวโปรเซสเซอร์โมบายล์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 รุ่นใหม่ล่าสุดที่ประเทศไทยในครั้งนี้ โดยโปรเซสเซอร์โมบายล์ใหม่ล่าสุดของอินเทลออกแบบมาเพื่อให้เหล่าเกมเมอร์ นักสร้างสรรค์เนื้อหา และเหล่าสาวกผู้ใช้อินเทลได้สัมผัสสุดยอดขุมพลังประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างเหนือชั้นบนอุปกรณ์แล็ปท็อปทุกรุ่น ซึ่งนี่ถือเป็นการเปิดตัวไลน์ผลิตภัณฑ์ครบทั้งตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 ในตลาดไทยด้วย”  

กราฟิก Intel® Arc™ ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การเล่มเกมที่คุ้มค่ามากกว่าที่เคย

กราฟิก Intel® Arc™ แบบใช้งานแยก เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอินเทล ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ สู่การแข่งขันในตลาดเกมมิ่ง และนำเสนอกราฟิกการ์ดประสิทธิภาพสูงที่มาพร้อมราคาคุ้มค่าให้กับผู้ใช้ โดยนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา อินเทลได้เปิดตัวไดรเวอร์ใหม่จำนวน 8 ตัวเพื่อตอบสนองประสบการณ์การใช้งานกับเกมใหม่ ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกมที่พึ่งอัปเดตใหม่ในวันเปิดตัวมากกว่า 21 เกม  ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสิทธิภาพการทำงานที่เร็วแรงไปอีกขั้น ทำให้การเล่นเกมมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความเสถียรระหว่างการเล่นเกมได้ดียิ่งขึ้นด้วย

กราฟิกการ์ด Intel® Arc™ ทุก ๆ รุ่น ประกอบด้วยฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้

  • Xe High Performance Graphics Microarchitecture: ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีกราฟิก Intel® Arc™ A-ซีรีส์ สร้างขึ้นจากสถาปัตยกรรมไมโคร Xe High Performance Graphics ใหม่ของอินเทล ซึ่งได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อเหล่าเกมเมอร์และนักสร้างสรรค์เนื้อหาโดยเฉพาะ นอกจากนี้เทคโนโลยี Xe HPG ยังช่วยให้กราฟิก Intel® Arc™ สามารถส่งมอบประสิทธิภาพที่ล้ำสมัย เปี่ยมด้วยศักยภาพที่เหนือกว่า และสามารถปรับขยายขนาดได้
  • AI-enhanced XeSS upscaling: เทคโนโลยีการอัปสเกลที่เสริมประสิทธิภาพด้วย AI ของอินเทลอย่าง XeSS ยังช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้มากขึ้นไปอีกขั้น ยกตัวอย่างเช่น ให้คุณสามารถเล่นเกมที่ความละเอียด 4K แต่ยังคงประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับการเล่นเกมแบบเนทีฟที่ความละเอียด 1080p  
  • DirectX 12 Ultimate ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยยกระดับเกมสู่มิติใหม่แห่งความสมจริงด้วยเทคโนโลยีกราฟิกล่าสุดอย่าง Hardware Accelerated Ray Tracing, Variable Rate Shading, Mesh Shading และ Sampler Feedback

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ใหม่ล่าสุด พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานชั้นนำด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในตัวและให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่ซีพียูเครื่องไหนในโลกเคยมีมา เพื่อช่วยลูกค้าแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ด้านการประมวลผลที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็น AI, เครื่องมือวิเคราะห์, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย, การจัดเก็บข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computing: HPC)  นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4  ยังเป็นโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ผ่านการผลิตที่ยั่งยืนมากที่สุดของอินเทล โดดเด่นด้วยฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลายเพื่อเสริมขุมพลังและประสิทธิภาพการทำงานขั้นสุดด้วยการใช้งานทรัพยากรของซีพียูอย่างคุ้มค่าเพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 แตกต่างจากโปรเซสเซอร์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อื่น ๆ  ในตลาดที่ลูกค้ากำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยได้ขยายไปสู่แนวทางและกลยุทธ์เพื่อรองรับเวิร์กโหลดเป็นหลักและออกแบบมาโดยคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานโดยเฉพาะ

เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นกว่า 2.9 เท่า[6] จากประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยต่อวัตต์สำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะเมื่อใช้ชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์ ประหยัดพลังงานมากถึง 70 วัตต์[7] สำหรับซีพียูหนึ่งเครื่องที่ใช้โหมดพลังงานสูงสุดและแทบไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงานลงเลยสำหรับเวิร์กโหลดเฉพาะ พร้อมช่วยลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (total cost of ownership: TCO)[8] ลงถึง 52-66%

  • ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน: ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นจากชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถประหยัดพลังงานในระดับแพลตฟอร์ม ลดความต้องการเร่งการประมวลผลเพิ่มเติม และช่วยให้ลูกค้าอินเทลบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI): โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 สามารถอนุมานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ PyTorch ได้สูงถึง 10 เท่า[9], [10] อีกทั้งยังส่งมอบศักยภาพการฝึกฝนการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ด้วยชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาอย่าง Intel® Advanced Matrix Extension (Intel® AMX) นอกจากนี้การส่งมอบชุดซอฟต์แวร์ AI ของอินเทลช่วยให้เหล่านักพัฒนาสามารถเลือกใช้เครื่องมือ AI ได้ตามความต้องการและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วเพื่อการพัฒนา AI ซึ่งชุดเครื่องมือ AI นี้สามารถพกพาและใช้งานแยกจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานหลัก การันตีประสิทธิภาพการใช้งานจากการทดสอบโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ของ AI กว่า 400 รูปแบบตามยูสเคสการใช้งาน AI ทั่วไปในทุกเซกเมนต์ของตลาด
  • เครือข่าย: โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 นำเสนอตระกูลโปรเซสเซอร์ที่ได้รับการปรับแต่งโดยเฉพาะสำหรับการรองรับเวิร์กโหลดหลายประเภทที่มีประสิทธิภาพสูงบนเครือข่ายและเอดจ์ที่มีความหน่วงต่ำ โดยโปรเซสเซอร์เหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการขับเคลื่อนอนาคตที่ีซอฟแวร์จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่โทรคมนาคมและการค้าปลีก ไปจนถึงอุตสาหกรรมการผลิตและเมืองอัจฉริยะ นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ยังมอบความจุของเครือข่ายการเข้าถึงวิทยุแบบจำลองเสมือน (virtualized radio access network: vRAN) ได้ถึงสองเท่าโดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถเพิ่มประสิทธิภาพต่อวัตต์เป็นสองเท่าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญ การปรับขนาด และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • แพลตฟอร์ม Xeon มาพร้อมฟีเจอร์สุดหลากหลายและความปลอดภัยขั้นสูงสุด: โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ใหม่นี้มาพร้อมคุณสมบัติใหม่ล่าสุด อาทิ แบนด์วิธหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นด้วย DDR5, แบนด์วิธ I/O ที่เพิ่มขึ้นด้วย PCIe0 และการเชื่อมต่อระหว่าง Compute Express Link (CXL) 1.1 นอกจากนี้ อินเทลยังได้นำเสนอพอร์ตโฟลิโอการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ซิลิคอนในอุตสาหกรรม  นอกจากนี้ อินเทลยังคงเป็นผู้นำด้านการให้บริการซิลิคอนเพียงรายเดียวที่นำเสนอการป้องกันความเป็นส่วนตัวผ่านการแยกแอปพลิเคชันในหน่วยความจำสำหรับการประมวลผลในดาต้าเซ็นเตอร์ด้วย Intel® Software Guard Extensions (Intel® SGX)  และที่สำคัญสถาปัตยกรรมโมดูลาร์ของโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ช่วยให้อินเทลสามารถนำเสนอโปรเซสเซอร์ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลายด้านการใช้งานผ่านอุปกรณ์ตามเลข SKUs ราว 50 รายการ เพื่อยูสเคสการใช้งานหรือแอปพลิเคชันของลูกค้า

นอกจากนี้ อินเทลยังได้เปิดตัวโซลูชันของพันธมิตรในอุตสาหกรรมอย่าง Altos, Cisco, Dell, HPE และ Lenovo ที่นำโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ไปปรับใช้ด้วย  

นายอยุช บาทรา (Ayush Batra) ผู้อำนวยการฝ่าย Technology Enablement ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของไทยให้เติบโตก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยตอบสนองความต้องการด้านการประมวลผลให้แก่องค์กรธุรกิจในไทยด้วยผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่างโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ที่ช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและศักยภาพการใช้งาน ไปจนถึงยกระดับความปลอดภัยและส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนให้แก่องค์กรธุรกิจ สอดคล้องกับที่ประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาการเปิดรับนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อตอบรับปริมาณความต้องการบริการคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นในตลาด”

การวางจำหน่าย

โปรเซสเซอร์โมบายล์และเดสก์ท็อป Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 13 และกราฟิก Intel® Arc™ A-ซีรีส์ วางจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ร้านค้าไอทีชั้นนำทั่วประเทศ

ส่วนโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ก็มีวางจำหน่ายแก่ลูกค้าองค์กรธุรกิจในไทยแล้วเช่นกัน โดยสามารถสอบถามตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีและคลาวด์ได้แล้ววันนี้


[1] อ้างอิงจาก Intel Core i9-13900K ซึ่งเป็นเดสก์ท็อปโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลกที่ความถี่ 5.8 GHz ณ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565

[2] Intel Core i9-13980HX เจนเนอเรชั่น 13 เป็นโปรเซสเซอร์โมบายล์ที่เร็วที่สุดที่ความเร็ว 5.6GHz จากข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2565

[3] เมื่อวัดจากคุณสมบัติเฉพาะด้านและประสิทธิภาพการทำงานในโหมดเปรียบเทียบสมรรถนะในขณะเล่นเกมระหว่าง Intel® Core™ i9-13950HX เจนเนอเรชั่น 13 ที่ใช้ร่วมกับ GPU ของ NVIDIA RTX 3080 Ti เทียบกับ Intel® Core™ i9-12900HX เจนเนอเรชั่น 12 ที่ใช้ GPU รุ่นเดียวกัน และเมื่อเทียบกับ AMD R9-6900HX ที่ใช้ GPU รุ่นเดียวกัน จากข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565

[4] Intel® Connectivity Performance Suite ใช้งานได้เฉพาะบน Windows เท่านั้น

[5] โซลูชัน Intel® Unison™ ใช้ได้เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แล็ปท็อป Intel® Evo™ ที่ใช้งานได้กับพีซี Windows ขับเคลื่อนด้วยขุมพลัง Intel Core เจนเนอเรชั่น 12 หรือใหม่กว่า และจับคู่กับโทรศัพท์ที่ใช้ Android หรือ iOS เท่านั้น อุปกรณ์ทั้งหมดต้องใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นที่รองรับเท่านั้น ดูรายละเอียดและข้อกำหนดในการตั้งค่า ได้ที่ intel.com/performance-evo ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

[6] ฟังก์ชัน Geoman ของเวิร์กโหลดต่อไปนี้: RocksDB (IAA vs ZTD), ClickHouse (IAA vs ZTD), SPDK สื่อขนาดใหญ่และพร็อกซีคำขอฐานข้อมูล (DSA vs out of box), การจัดประเภทของรูปภาพ ResNet-50 (AMX vs VNNI), Object Detection SSD- ResNet-34 (AMX เทียบกับ VNNI),QATzip(QAT vszlib)

[7] แพลตฟอร์ม Intel Reference Validation แบบ 1 โหนด, Intel® Xeon 8480+ (56C,2GHz, 350W TDP) เร็วขึ้น 2 เท่า, HT On, Turbo ON, มีหน่วยความจำทั้งหมด: 1TB (16 ช่อง/ 64GB/ 4800 MHz), 1x P4510 3.84TB NVMe PCIe Gen4 drive, BIOS: 0091.D05, (ucode:0x2b0000c0), CentOS Stream 8, 5.15.0-spr.bkc.pc.10.4.11.x86_64, Java Perf/Watt w/ openjdk-11+28_linux-x64_bin, 112 อินสแตนซ์, ขนาดฮีปเริ่มต้น/สูงสุด 1550MB ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนตุลาคม 2565

[8] การจัดประเภทของรูปภาพ ResNet50

การกำหนดค่าใหม่:  โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® Scalable 8490H เจนเนอเรชั่น 4 (60 คอร์) รุ่นก่อนผลิตจริง แบบ 1 โหนด เร็วขึ้น 2 เท่า พร้อม Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel AMX), ในรุ่นก่อนผลิตจริง SuperMicroSYS-221H-TNR พร้อมหน่วยความจำถึง 1024GB DDR5 (16×64 GB), microcode  0x2b0000c0, HT On, Turbo On, SNC Off, CentOS Stream 8, 5.19.16-301.fc37.x86_64, 1×3.84TB P5510 NVMe, 10GbE x540-AT2, Intel TF 2.10, AI Model=Resnet 50 v1_5, คะแนนสูงสุดที่ได้รับ: BS1 AMX 1 คอร์/อินสแตนซ์ (สูงสุด 15ms SLA) โดยใช้ physical core ซึ่งได้ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ข้อมูลพื้นฐาน:  โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable 8380 เจนเนอเรชั่น 3 รุ่นผลิตจริง  (40 คอร์) แบบ 1 โหนด เร็วขึ้น 2 เท่า บน SuperMicroSYS-220U-TNR, หน่วยความจำ DDR4 รวม 1024GB (16×64 GB), microcode 0xd000375, HT On, Turbo On, SNC Off, CentOS Stream 8, 5.19.16-301.fc37.x86_64, 1×3.84TB P5510NVMe, 10GbE x540-AT2, Intel TF2.10, AI Model=Resnet 50 v1_5 คะแนนสูงสุดีที่ได้รับ: BS1 INT8 2 คอร์/อินสแตนซ์ (สูงสุด 15ms SLA) โดยใช้คอร์จริง ทดสอบโดยอินเทล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565

สำหรับชุดเซิร์ฟเวอร์ 50 เครื่อง ของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon 8380 (RN50 w/DLBoost) เจนเนอเรชั่น 3 ประมาณการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565:

ค่าใช้จ่ายด้านทุน (CapEx) อยู่ที่ 1.64 ล้านดอลลาร์

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) (4 ปี รวมค่าไฟและระบบทำความเย็น โครงสร้างพื้นฐานและค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์) อยู่ที่ 7.399 แสนดอลลาร์

การใช้พลังงานเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) (4 ปีต่อเซิร์ฟเวอร์): 44627, PUE 1.6

สมมติฐานอื่นๆ: ค่าสาธารณูปโภคอยู่ที่ 0.1 ดอลลาร์/kWh, kWh ถึง kg CO2 จำนวน 0.42394

สำหรับชุดเซิร์ฟเวอร์ 17 เครื่องที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon 8490H (RN50 w/AMX) เจนเนอเรชั่น 4 ประมาณการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565:

ค่าใช้จ่ายด้านทุน (CapEx) อยู่ที่ 7.994 แสนดอลลาร์

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) (4 ปี รวมค่าไฟและระบบทำความเย็น โครงสร้างพื้นฐานและค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์) อยู่ที่ 2.753 แสนดอลลาร์

การใช้พลังงานเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) (4 ปีต่อเซิร์ฟเวอร์): 58581, PUE 1.6

AI — ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ลดลง 55% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะได้ในระดับเดิม ดู [E7] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

ฐานข้อมูล — TCO ลดลง 52% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะได้ในระดับเดิม ดู [E8] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไป

ระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (HPC) — TCO ลดลง 66% เมื่อใช้เซิร์ฟเวอร์ ขุมพลังโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® CPU Max ในจำนวนที่น้อยลง โดยยังสามารถตอบสนองความต้องการด้านสมรรถนะในระดับเดิม ดู [E9] intel.com/processorclaims: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 4 ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไ

[9] ประสิทธิภาพการอนุมานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของ PyTorch สูงขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อใช้ Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel® AMX) (BF16) ในตัว เทียบกับรุ่นก่อนหน้า (FP32)ฟังก์ชัน Geomean ใน PyTorch ของ ResNet50, Bert-Large, MaskRCNN, SSD-ResNet34, RNN-T, Resnext101

[10] สมรรถนะในการฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ PyTorch สูงขึ้นถึง 10 เท่า เมื่อใช้ Intel® Advanced Matrix Extensions (Intel® AMX) (BF16) ในตัว เทียบกับรุ่นก่อนหน้า (FP32) ฟังก์ชัน Geomean ใน PyTorch ของ ResNet50, Bert-Large, DLRM, MaskRCNN, SSD-ResNet34, RNN-T

from:https://www.techtalkthai.com/intel-shows-power-13th-gen-intel-core-mobile-processors-and-4th-gen-intel-xeon-mobile-processors-meet-the-needs-of-thai-users-and-businesses/