คลังเก็บป้ายกำกับ: SOFTWARE_DEVELOPMENT__DEVOPS

GitHub ประกาศเปิดตัว Copilot X ระบบ AI ช่วยเขียนโค้ด ใช้งาน GPT-4

GitHub ประกาศเปิดตัว Copilot X ระบบ AI ช่วยเขียนโค้ด ใช้งาน GPT-4

Credit: GitHub

GitHub ได้ประกาศเปิดตัว Copilot ระบบ AI ผู้ช่วยสำหรับนักพัฒนาในการเขียนโค้ดมาตั้งแต่กลางปี 2021 ส่วนในเวอร์ชันนี้ เป็นการต่อยอดความสามารถจากของเดิม โดย Copilot X จะถูกฝังเข้ากับ Interface ของ Microsoft VS Code และ Visual Studio ซึ่งจะมีช่อง Chat คอยรับคำสั่งต่างๆจากนักพัฒนา เช่น ให้ Copilot X ช่วยหาบั๊กภายในซอร์สโค้ด หรือสร้างโค้ดใหม่จากเริ่มต้น และยังมีฟีเจอร์ Copilot Voice สำหรับสั่งงานด้วยเสียงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่สำหรับการใช้งาน Pull Requests โดยนักพัฒนาสามารถใช้งาน AI ช่วยในการสร้างรายละเอียดของ Pull Request แต่ละครั้งได้แบบอัตโนมัติ มีฟีเจอร์ Copilot for the Command line interface (CLI) ช่วยแนะนำการใช้งาน CLI และ Copilot สำหรับ Documentation เพื่อช่วยตอบคำถามของนักพัฒนาเกี่ยวกับภาษาที่ใช้, Framework และเทคโนโลยี โดยในช่วงเริ่มต้นนี้จะรองรับ React, Azure Docs และ MDN

Copilot X ใช้งาน Open AI GPT-4 Model ช่วยเร่งความเร็วในการสร้างโค้ดและสร้างรายละเอียดของ Pull Request นอกจากนี้ GitHub ยังมีแผนเปิดตัวฟีเจอร์อื่นๆ เช่น Autocomplete Tool และ ความสามารถในการสร้างผลลัพท์ได้มากขึ้นในอนาคต

ที่มา: https://siliconangle.com/2023/03/22/github-debuts-ai-powered-copilot-x-coding-assistant/

from:https://www.techtalkthai.com/github-launches-copilot-x-ai-for-software-developer-using-gpt-4/

Advertisement

HPE GreenLake ออกอัปเดตใหม่ ตอบโจทย์ Edge-to-Cloud ด้วยโซลูชันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ HPE GreenLake บริการระบบ Hybrid Cloud แบบ Consumption-based จาก HPE ได้เปิดตัวและทำตลาดทั่วโลกมาได้ระยะหนึ่ง ทุกวันนี้ HPE GreenLake นั้นก็มีธุรกิจองค์กรใช้งานมากกว่า 65,000 แห่งแล้ว โดยครอบคลุมการให้บริการอุปกรณ์มากกว่า 2 ล้านรายการ และมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บประมวลผลมากกว่า 1 Exabyte เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากความสำเร็จดังกล่าวนี้ HPE จึงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนา HPE GreenLake ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด HPE ก็ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ ให้กับ HPE GreenLake มากถึง 5 บริการ ดังนี้

1. เปิดตัว HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise สำหรับงาน DevOps และ CI/CD โดยเฉพาะ

HPE ได้จับมือกับ AWS เพื่อนำบริการ Amazon Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) Anywhere มารองรับบน HPE GreenLake ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถก้าวสู่การทำ Multi-Cloud ได้ด้วย Amazon EKS Anywhere ที่ติดตั้งและทำงานอยู่ภายใน Private Cloud ขององค์กรบน HPE GreenLake ช่วยให้การบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบ Kubernetes เป็นไปได้อย่างราบรื่นด้วยประสบการณ์เดียวกับการใช้งาน Amazon EKS บน Cloud โดยสามารถควบคุมการใช้งานทรัพยากรของระบบได้ตามต้องการ

แนวทางนี้จะช่วยให้เหล่า Software Developer ภายในองค์กรที่มีการใช้งาน Amazon EKS เป็นหลักนั้น สามารถวางระบบ CI/CD อย่างไร้รอยต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Software บน HPE GreenLake หรือ AWS และทำการ Deploy ระบบบนทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ขององค์กรได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถผสานนำเครื่องมือต่างๆ สำหรับเสริมการทำงานของ Kubernetes มาใช้งานบน HPE GreenLake ได้อย่างอิสระอีกด้วย

2. เพิ่ม Workload-Optimised Instance ใหม่ 6 รายการ รองรับการใช้งานที่สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น

เพื่อให้ HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise รองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ทาง HPE จึงได้ทำการออกแบบ Instance ใหม่สำหรับรองรับ General Workload เพิ่มเติมอีก 6 รายการ ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นในการสร้าง VM Instance ที่เป็นมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้งาน ภายใต้ราคากลางที่ประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ง่าย และคิดค่าใช้จ่ายการใช้งานแบบ Consumption-based

3. เปิดตัว HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform และ HPE GreenLake for VMware ตอบโจทย์ Container และ Kubernetes ในระดับธุรกิจองค์กร

สำหรับธุรกิจองค์กรจำนวนมากที่เริ่มมีการใช้งาน Red Hat OpenShift ภายในระบบ ทาง HPE GreenLake ก็ได้ตอบโจทย์นี้ด้วยการเปิดตัวโซลูชัน HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Private Cloud ของตนเองได้ในแบบ Consumption-based อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถก้าวสู่ภาพของ Hybrid Multi-Cloud ได้ทันทีที่ต้องการ

ข้อดีของการใช้ HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform นี้ก็คือการรองรับการเพิ่มขยายของระบบ Container บน Red Hat OpenShift ได้อย่างอิสระ ซึ่งมักจะเป็นธรรมชาติของการพัฒนา Cloud-Native Application ในระดับธุรกิจองค์กรที่ต้องการเพิ่มขยายหรือลดขนาดของระบบได้ตลอดเวลา ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมหรือบริการใหม่ๆ สำหรับลูกค้าของธุรกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว ทาง HPE ก็ยังได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for VMware ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้ธุรกิจองค์กรที่เดิมทีใช้งาน VMware Cloud เป็นระบบ Private Cloud ภายในองค์กรสามารถย้ายมาสู่การใช้งานแบบ Comsumption-based ได้อย่างเต็มตัวทั้งในระดับของ Software และ Hardware ซึ่งสามารถใช้งานได้บนทุกโซลูชันของ HPE GreenLake รวมถึง HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise ด้วย

4. การปรับปรุง Consumption Analytics ใหม่ รองรับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำหรับ Cloud หรือ Cloud Cost Management นั้นได้เริ่มกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจองค์กรให้ความสนใจ และ HPE GreenLake ก็ได้ทำการออกอัปเดตปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อเร่งตอบโจทย์ดังกล่าวให้กับธุรกิจองค์กรได้อย่างครบวงจรด้วยระบบ Cosumption Analytics ใหม่ที่ครอบคลุมไปถึงการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่าย พร้อมข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ 3 ราย ได้แก่ Microsoft Azure, AWS และ Google Cloud Platform (GCP) ส่งผลให้ธุรกิจองค์กรที่ใช้งาน HPE GreenLake นั้นสามารถทำการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้บนทั้ง HPE GreenLake เอง และบนผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำได้ภายในหน้าจอเดียว ช่วยให้กลยุทธ์ของการทำ Hybrid Multi-Cloud มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. เปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ในแบบ Early Access

สุดท้าย สำหรับตอบโจทย์การใช้งาน HPE GreenLake เพื่อรองรับระบบ AI, Big Data และ Analytics โดยเฉพาะ ทาง HPE จึงได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ซึ่งได้ผสานรวมโซลูชันในการทำ Data Management และ Data Analytics เอาไว้อย่างครบวงจร สามารถผสานรวมข้อมูลจาก Multi-Cloud, On-Premises และ Edge เอาไว้ในแบบรวมศูนย์ และสร้างคุณค่าใหม่ๆ จากข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยภายใน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ยังเปิดให้ธุรกิจองค์กรทำการติดตั้งใช้งานเครื่องมือจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในแบบ Open Source Software ได้ตามต้องการ ทำให้สามารถรองรับทั้งการทำ Data Engineering, Data Analytics และโครงการ Data Science หรือวาง DataOps ได้ในระบบเพียงหนึ่งเดียว

โซลูชัน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ถือว่ามีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะโซลูชันดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรปรับกลยุทธ์ในการลงทุนด้าน AI และ Data มาสู่ Comsumption-based ภายใต้ Environment ที่ธุรกิจองค์กรต้องการได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกระบบ Storage ที่ต้องการ, การวาง Data Fabric ในรูปแบบที่เหมาะสม ไปจนถึงการกำหนด Computing Resource ทั้งในส่วนของ CPU และ GPU ได้ด้วยตนเอง โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบ Consumption-based และมีความยืดหยุ่นในการเพิ่มขยาย Workload เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของโครงการเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังสามารถประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ ต่างจากการใช้งานระบบรูปแบบเดียวกันนี้บน Public Cloud ที่ยากต่อการประเมินและวางแผน

สนใจ HPE GreenLake ติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน HPE GreenLake สามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางอีเมล์ mktmcc@metroconnect.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-greenlake-new-update-edge-to-cloud-more-use-cases/

กลับมาอีกครั้ง! G-Able พร้อมปั้นคนเทคฯ สายงาน Data กับโครงการ “Tech Scoop Academy” รุ่นที่ 2 เฟ้นหาคนรุ่นใหม่สู่อุตสาหกรรม IT

ปัจจุบันความต้องการของคนทำงานที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพิ่มสูงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้องค์กรทั่วโลกต่างต้องปรับตัว เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กร ให้เข้ามาทำงาน รวมทั้งต้องสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ติดอาวุธ และเพิ่มพูนทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีให้พนักงานได้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ G-Able ผู้นำด้าน “Tech Enabler” ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ มุ่งให้ความสำคัญกับพลังของคนรุ่นใหม่ (People Power) จึงเดินหน้าจัดโครงการ “Tech Scoop Academy” รุ่นที่ 2 ต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจงานด้าน Data ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ทักษะเฉพาะด้านของสายงานเทคโนโลยีและโซลูชัน IT เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม IT และเทคโนโลยี ที่จะมอบประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ในการทำงาน ผ่านบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญที่มีมาตรฐานและประสบการณ์การทำงานกับลูกค้าระดับแนวหน้าของไทย 

โดยโครงการ “Tech Scoop Academy” รุ่นที่ 2 นี้ G-Able ได้คัดสรรหลักสูตรการเรียนรู้เฉพาะด้านเพื่อพัฒนาผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้ก้าวเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงาน Data และสร้างองค์ความรู้ที่ก้าวทันโลก ผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น SQL, Shell Script, Python Databrick (Azure / AWS), Power BI, Oracle ฯลฯ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้และลองลงมือทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานจริงและได้นำเสนอ Project Pitching เพื่อแสดงความสามารถและคว้าโอกาสในการเข้าร่วมงานกับบริษัทฯ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 4 เดือนเต็ม (1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2023)  พร้อมประกาศนียบัตรหลังจากจบโครงการอีกด้วย สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2023 ได้ที่ bit.ly/3EFqjWz

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

  • ต้องมีอายุ 22 – 26 ปี
  • มีความสนใจงานด้าน Data
  • กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี หรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสาขาต่างๆ ที่อยากเปลี่ยนสายอาชีพมาทำงานด้าน Database & Data Operation
  • สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดระยะเวลา 4 เดือนเต็ม (1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2023)  

from:https://www.techtalkthai.com/tech-scoop-academy-season-2-by-g-able/

GitHub เตรียมเริ่มบังคับใช้งาน 2FA กับผู้ใช้งาน

แผนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ Software Supply Chain จาก GitHub กำลังเริ่มขยายตัวสู่ผู้ใช้งานทุกคน หลังจากที่ในช่วงพฤศจิกายนมีก่อนได้เริ่มบังคับใช้กับแพ็กเกจที่ได้รับความนิยม 100 อันดับแรก เช่น ที่มียอดดาวน์โหลดต่อสัปดาห์เกิน 1 ล้านครั้งหรือที่มีการสืบต่อไปใช้มากกว่า 500 โปรเจ็ค ล่าสุดในวันที่ 13 มีนาคมศกนี้ GitHub จะเริ่มแผนการเสนอให้นักพัฒนาบางกลุ่มเริ่มเปิดใช้ 2FA ภายใน 45 วัน

Credit: GitHub

นักพัฒนาผู้โชคดีจะเริ่มได้รับอีเมลและแบนเนอร์แจ้งเตือนในแดชบอร์ดให้พวกเขาเปิดใาช้งาน 2FA ภายใน 45 วัน หากไม่ได้ปฏิบัติในคาบเวลาครั้งต่อไปที่เข้าถึงบัญชี ระบบจะเริ่มบังคับให้เปิดใช้งาน อย่างไรก็ดีผู้ใช้งานยังพอจะเลื่อนเวลาได้อีกสักสัปดาห์ผ่านตัวเลือก ‘Snooze’ ก่อน หลังจากนั้นเมื่อต้องการเข้ามาใช้บัญชีเช่น เผยแพร่โค้ด ก็จะไร้ทางเลือกที่ต้องเปิดใช้ 2FA

GitHub ยังแนะนำผู้ใช้ให้เปิดการใช้ Factor มากกว่า 1 รูปแบบเพื่อความปลอดภัย โดยมีให้เลือกทั้ง Physical Key, Authenticator Apps, SMS และแอปมือถือของ GitHub เอง สำหรับท่านใดที่เปิดใช้แล้วจะมีการเตือนหลัง 28 วันให้ตรวจสอบรูปแบบ 2FA เพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยยังมีทางรอดให้รีเซ็ตวิธีการ 2FA ได้อยู่โดยไม่สูญเสียการเข้าถึงบัญชี ทั้งนี้ทาง GitHub จะค่อยๆพิจารณาเสนอการเปิดใช้ 2FA ไปเรื่อยๆตลอดปีนี้จนครอบคลุมผู้ใช้งาน

ที่มา : https://techcrunch.com/2023/03/09/github-to-require-2fa-for-all-contributors-starting-from-march-13-to-secure-the-software-supply-chain/

from:https://www.techtalkthai.com/github-will-begin-2fa-enforcement-this-13-mar-2023/

Amity ผนึกกำลัง True Digital Park จัด “Amity Hackathon 2023: ChatGPT and Beyond” เฟ้นหาสุดยอดทีมนวัตกร ครั้งแรกในไทย กับเวทีประลองไอเดียสร้างสรรค์ด้วยพลังเทคโนโลยีของ ChatGPT [Guest Post]

แอมิตี (Amity) ผู้ให้บริการโซลูชันด้านการสื่อสาร หรือ โซเชียลฟีเจอร์ (social features) แบบบูรณาการสำหรับองค์กร ร่วมกับ ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park: TDPK) ศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ขอเชิญนิสิตนักศึกษา และนักพัฒนาด้านเทคผู้มีความสามารถเข้าร่วมโครงการ “Amity Hackathon 2023: ChatGPT and Beyond” กิจกรรมแฮกกาธอนแข่งขันประลองไอเดียสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด “AI for Positive Social Impact”

โครงการนี้เป็นการส่งเสริมนวัตกรประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Generative AI ที่ใช้พัฒนาแชตจีพีที (ChatGPT) อันเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่ล้ำสมัยเข้ามาใช้กับการรังสรรค์และนำเสนอผลงานเป็นครั้งแรกในประเทศไทยระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2566 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ (True Digital Park West) พื้นที่ใหม่สำหรับ LIVE, LEARN, WORK และ PLAY พร้อมชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 50,000 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป และการันตีโปรแกรมฝึกงานที่ Amity สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ชนะเลิศการแข่งขัน สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2566 ได้ทางเว็บไซต์ www.amity.co/hackathon

นับเป็นครั้งแรกสำหรับโครงการ “Amity Hackathon 2023: ChatGPT and Beyond” ที่ Amity จัดขึ้น ภายใต้โจทย์แนวคิด “AI for Positive Social Impact” การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อผลักดันและจุดประกายให้ผู้มีความสามารถเกิดการพัฒนารังสรรค์นวัตกรรมโซลูชันโดยนำเทคโนโลยี Generative AI ขั้นสูงซึ่งสามารถสร้างข้อความและการตอบสนองได้เหมือนมนุษย์ในแบบเรียลไทม์ มาสร้างให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อสังคม การแข่งขันแฮกกาธอนนี้ถือได้ว่าเป็นเวทีสำหรับนักพัฒนาเพื่อค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี AI ขั้นสูง และสามารถนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมารับมือกับความท้าทายทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง

กิจกรรมแฮกกาธอนในครั้งนี้แบ่งทีมผู้สมัครออกเป็น 2 ประเภทการแข่งขัน (tracks) โดยทั้งสองประเภทจะมีจำนวนทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายรวมทั้งหมด 16 ทีม แบ่งออกเป็นประเภทละ 8 ทีม ได้แก่ ประเภทที่ 1 ประเภทบุคคลทั่วไป รางวัลสำหรับผู้ชนะในรอบสุดท้าย ได้แก่ เงินรางวัลรวมมูลค่า 50,000 บาท โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัล 30,000 บาท ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จะได้รับ 15,000 บาท และทีมรองชนะเลิศอันดับสอง จะได้รับ 5,000 บาท ตามลำดับ  ส่วนประเภทที่ 2 ประเภทนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยรางวัลสำหรับผู้ชนะในรอบสุดท้าย ได้แก่ ทีมที่ชนะเลิศจะได้รับการันตีโปรแกรมฝึกงานที่ Amity (โอกาสอันดีสู่ตำแหน่งพนักงานประจำที่ Amity หลังจบการศึกษา) ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่งและอันดับสองจะได้รับใบประกาศนียบัตร ตามลำดับ และนอกจากนี้ ทีมที่ชนะเลิศทั้ง 2 ประเภทยังจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการพื้นที่ Co-working space ชั้น 6 ทรู ดิจิทัล พาร์ค อีสต์ ของ TDPK ได้ฟรี เป็นเวลา 3 เดือน รวมมูลค่า 225,000 บาท

ไม่ว่าผู้เข้าแข่งขัน (หรือที่เรียกว่า “แฮกเกอร์”) ต้องการใช้ AI เพื่อไปพัฒนาด้านการสื่อสาร ปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการทางธุรกิจ (workflow) หรือสร้างแอปพลิเคชันใหม่ทั้งหมดก็ตาม โครงการนี้มอบโอกาสให้ทุกคนได้แสดงทักษะความสามารถและค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี AI ขั้นสูงเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ การแข่งขันรอบสุดท้ายจะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน คือ วันที่ 18 และ 19 มีนาคม 2566 เวลา 10.00-18.00 น. คลาสรูม 1, 2  ชั้น 2 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ พื้นที่สำหรับ LIVE, LEARN, WORK และ PLAY เพื่อปลุกคนรุ่นใหม่ให้พร้อมสำหรับอนาคต สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครเพื่อเข้าแข่งขัน รวมถึงกฎกติกาสำคัญมีดังต่อไปนี้

Amity Hackathon 2023: ChatGPT and Beyond เปิดโอกาสให้เหล่าแฮกเกอร์ได้ทำงานกลุ่มร่วมกัน แบ่งปันความรู้ ใช้เครื่องมือและทรัพยากรที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์โซลูชันที่จะสามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงทางสังคม “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแข่งขันแฮกกาธอนครั้งนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนนักพัฒนารุ่นใหม่ที่มุ่งมั่นในการใช้ทักษะของตนได้อย่างดีเยี่ยมเพื่อประโยชน์และอนาคตที่ดีของสังคมมนุษย์” ทัชพล ไกรสิงขร ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Amity กล่าว

Amity Hackathon 2023: ChatGPT and Beyond เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 12 มีนาคม 2566 โปรดติดตามรายละเอียด และกฎกติกาเพิ่มเติมผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ www.amity.co/hackathon รวมถึงการประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายในวันที่ 15 มีนาคม 2566

เกี่ยวกับ Amity

แอมิตี (Amity) เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำที่ขับเคลื่อนประสบการณ์และชุมชนดิจิทัล ซึ่งมีแอมิตีโซเชียลคลาวด์ (Amity Social Cloud: ASC) เป็นแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์เรือธงของ Amity ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ รวมถึงนักพัฒนาสามารถเพิ่มโซเชียลฟีเจอร์แบบ plug-and-play ลงในแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มดิจิทัลใด ๆ ก็ตามได้อย่างง่ายดาย ในตลาดแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือที่ทั้งเฟื่องฟูและพลุกพล่าน สิ่งนี้ช่วยให้ทีมผลิตภัณฑ์และการตลาดสามารถสร้างชุมชน ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม สนับสนุนการรักษาลูกค้า ไปจนถึงสร้างรายได้

หากต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันของ Amity ที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของตนให้กลายเป็นชุมชนดิจิทัลที่มีชีวิตชีวาผ่านโซเชียลฟีเจอร์แบบสำเร็จรูป โปรดติดต่อที่นี่

from:https://www.techtalkthai.com/amity-true-digital-park-amity-hackathon-2023-chatgpt-and-beyond-guest-post/

CISA ออกเครื่องมือช่วยองค์กรจับคู่หลักฐานกับเทคนิคการโจมตีใน MITRE ATT&CK

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐร่วมกับ MITRE ออกเครื่องมือที่ชื่อว่า ‘Decider’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยจับคู่สิ่งที่องค์กรพบเห็นเข้ากับเทคนิคการโจมตตีบน MITRE ATT&CK

credit : CISA

ไอเดียของเรื่องก็คือ MITRE ATT&CK เป็นเหมือนฐานข้อมูลที่รวบรวมเทคนิคการโจมตีเอาไว้ แต่ประเด็นคือหากใครคนหนึ่งพบเหตุการณ์หรือกิจกรรมของการโจมตีแล้ว ย้อนกลับไปค้นหาในฐานข้อมูลได้อย่างไร เพื่อจะได้คำแนะนำกลับมาแก้ไขการป้องกันอย่างถูกต้อง จึงนำมาสู่เครื่องมือช่วยเหลือที่ชื่อว่า Decider โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://github.com/cisagov/Decider/ 

ผู้ใช้งานจะถูกถามถึงเหตุการณ์ว่าพบเห็นกิจกรรมอะไร ซึ่งเริ่มจากการตอบคำถามกว้างๆ และค่อยๆแคบลงจนนำไปสู่ทุกเทคนิคหรืออย่างน้อยเทคนิคหนึ่งจากคลังข้อมูลทั้งหมด โดย CISA ชี้ว่าเครื่องมือจะช่วยให้ท่านเห็นภาพไล่ไปตามเทคนิค หาวิธีการตรวจจับและป้องกันการโจมตี รวมถึงแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันได้

ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/cisa-releases-free-decider-tool-to-help-with-mitre-attandck-mapping/

from:https://www.techtalkthai.com/cisa-lauches-tool-for-mitre-attck-mapping/

GitHub เปิดให้ใช้งาน Secret Scanning แบบ GA ได้ฟรีบน Public Repository แล้ว

GitHub ได้เปิดให้บริการ Secret Scanning แบบ Public Beta มาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ล่าสุดได้เปิดให้บริการนี้แบบ Generally Available (GA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถใช้งานได้ฟรีบน Public Repository

Credit: GitHub

บริการนี้จะช่วยค้นหา Secret Key ต่างๆที่นักพัฒนาอาจเผลอทำหลุดรั่วออกมาใน Repository ได้ ปัจจุบันรองรับรูปแบบของ Secret Key มากกว่า 200 แบบ และทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์มากกว่า 100 ราย โดยจะทำการค้นหาทั้ง Code, Issue, Description และ Comment และทำการแจ้งเตือนให้นักพัฒนาได้รับทราบและแก้ไขได้ทันท่วงที ผู้ที่สนใจสามารถเปิดใช้งานได้ฟรีบน Public Repository ในเมนู Settings > Code security and analysis และเลือก Enable ‘Secret Scanning”

GitHub ได้ยกตัวอย่างเคสที่ผ่านมาของ @rajbos DevOps Consultant ที่ทำการแสกน GitHub Action repositories กว่า 14,000 แห่ง ซึ่งพบ Secret Key รั่วไหลมากกว่า 1,100 แห่ง

ที่มา: https://github.blog/2023-02-28-secret-scanning-alerts-are-now-available-and-free-for-all-public-repositories/

from:https://www.techtalkthai.com/github-launches-secret-scanning-as-generally-available-free-for-public-repository/

10 อันดับความเสี่ยงการใช้งานโอเพ่นซอร์ส

Endor Labs ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยได้จัดทำอันดับความเสี่ยง 10 รายการในด้านการใช้งานโอเพ่นซอร์ส (ไอเดียรูปแบบคล้ายกับ OWASP Top 10) 

ทีมวิจัย Station 9 ของ Endor Labs ได้เผย 10 อันดับความเสี่ยงไว้ดังนี้

1.) Know Vulnerabilities – เป็นความเสี่ยงที่โค้ดอาจมีช่องโหว่อยู่แล้วจากนักพัฒนาเอง และอาจมีบันทึกใน CVE หรือการใช้โจมตี ทั้งนี้ยังไม่การันตีการอัปเดตแพตช์ด้วย

2.) Compromise – แพ็กเกจอาจถูกแทรกแซงโดยคนร้ายอาจจะแฝงโค้ดอันตรายไว้ภายใน

3.) name confusion – คนร้ายสร้างชื่อให้คล้ายๆกันกับของจริง ทำให้คนสับสนแล้วนำไปใช้

4.) Unmaintained Software – โปรเจ็คที่ถูกทิ้งร้างเอาไว้ ไม่มีการพัฒนาหรือความเคลื่อนไหวต่อ ดังนั้นก็อาจจะไม่มีแพตช์ตามมา

5.) Outdated Software – ใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันเก่าแม้จะมีเวอร์ชันล่าสุดกว่าออกมาก็ตาม

6.) Untracked dependencies –  ผู้พัฒนาไม่ได้รับรู้ถึงส่วนประกอบย่อย เนื่องจากว่าอาจจะไม่ปรากฏใน Software Bill of Material (SBOM

7.) License and Regulatory Risk – การใช้งานอาจไม่อยู่ในเงื่อนไขของ License ที่อนุญาตในการนำไปใช้ต่อ

8.) Immature Software – เจ้าของโปรเจ็คอาจจะไม่ได้ปฏิบัติตาม Best Practice เช่น ไร้การทดสอบที่ดี เป็นต้น

9.) Unapproved Change – ส่วนประกอบถูกเปลี่ยนแปลงโดยนักพัฒนาอาจไม่รับรู้ เช่น ลิงก์ที่ดาวน์โหลดชี้ไปยังทรัพยากรที่ไม่ถูกต้อง หรือทรัพยากรอาจถูกแก้ไขจากการถ่ายโอนที่ไม่ปลอดภัย

10.) Under or Over-sized dependency – ส่วนประกอบเหล่านั้นอาจมีฟังก์ชันมากหรือน้อย (เช่น npm micro package)เกินที่จะใช้

ผู้สนใจสามารถติตตามเนื้อหาจริงได้ที่ https://22601473.fs1.hubspotusercontent-na1.net/hubfs/22601473/EndorLabs_Top10_OSS_Risks.pdf โดยอาจมีการอัปเดตรายปีหากมีความเสี่ยงใหม่เกิดขึ้นในอนาคต

ที่มา : https://www.securityweek.com/top-10-security-operational-risks-from-open-source-code/

from:https://www.techtalkthai.com/top-10-open-source-software-risks/

Kintone ได้รับรางวัล LCAP จาก Gartner ปีที่ 6 ติดต่อกัน

Kintone ได้รับการยอมรับใน Gartner Magic Quadrant ล่าสุดสำหรับ Enterprise Low-Code Application Platforms (LCAP) เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน โดย Gartner วางตำแหน่ง Kintone ในรายงานผู้จำหน่าย LCAP ซึ่งใช้งานโดยแอปพลิเคชันและผู้นำด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์เพื่อเปรียบเทียบกับผู้จำหน่ายชั้นนำในตลาดโลก และ Kintone ยังเป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายเพียง 17 รายที่จะเปิดตัวในปีนี้ด้วย

ปี 2022 ที่ผ่านมา Kintone ได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องด้วยฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ๆ ปัจจุบันแพลตฟอร์มดังกล่าวมีการใช้งานโดยลูกค้ามากกว่า 25,000 รายทั่วโลก ตั้งแต่ SMB ไปจนถึงองค์กรข้ามชาติ ด้วยระบบนิเวศของพันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และนักพัฒนาพลเมืองได้ร่วมกันสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชันมากกว่าสองล้านรายการ
 
Gartner ให้คำจำกัดความของ LCAP ว่า: “เป็นแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันที่ใช้เพื่อพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชันที่กำหนดเองอย่างรวดเร็วโดยการสรุปและลดขนาดหรือแทนที่รหัสที่จำเป็นในการพัฒนา”
 
เงื่อนไขขั้นต่ำที่จำเป็นที่ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาการรับรองในฐานะ LCAP ประกอบด้วย:
  • ความสามารถด้าน Low-Code เช่น แนวทางการเขียนโปรแกรมแบบโมเดลหรือแบบกราฟิกพร้อมสคริปต์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่สมบูรณ์
  • ความสามารถการสนับสนุนสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ประกอบด้วย user interfaces, business logic, workflow และ data services
  • ความสามารถการทดสอบแอปพลิเคชัน การปรับใช้ และการจัดการที่ง่ายขึ้น
ตลาด LCAP สำหรับองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เทคโนโลยีการพัฒนาโค้ดต่ำโดยรวม ซึ่งรายงานคาดการณ์ว่าจะมีรายได้ถึง 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่ม LCAP คาดว่าจะขยายตัวเป็น 14.38 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปี 26.4%
 
องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จาก LCAP เพื่อย้ายไปยังระบบคลาวด์ เปิดประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน จัดการกับทักษะและการขาดแคลนทรัพยากร รวมถึงใช้เวลาในการปรับใช้ได้เร็วขึ้น
 

from:https://www.techtalkthai.com/kintone-receives-a-gartner-lcap-award-for-the-sixth-consecutive-year/

เตรียมพบกับ National Coding Day : 2023 18 – 19 ก.พ. นี้ ณ ไบเทคบางนา

กลับมาอีกครั้งในรูปแบบออฟไลน์หลังจากหายไปนาน สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยจัดงาน “National Coding Day : 2023” 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ไบเทคบางนา รวมตัวชาวโปรแกรมเมอร์ไว้มากที่สุดในไทย รวบรวม Community ที่หลากหลายมากันครบ ทั้ง Low Code, No Code, AI Marketing, Agile, DevOps, Frontend, Data Science, Flutter, Security, Tester, UX, Serverless, Software Delivery, RPA, Golang, VueJS

พบกับเวที Speaker ตัวท็อปจัดเต็ม 70 ชีวิต จะมาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์มากมายที่ไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน เช่น




ส่วนใครที่อยากหางานใหม่ หรือสนใจเปลี่ยนสายงาน งานนี้จะพาคุณไปพบกับตำแหน่งงานมากมายที่เปิดรอรับ Candidate จำนวนมาก ทั้งบริษัทชั้นนำระดับโลกที่จะมาตั้งบูธโชว์ Product และ service กันเต็มที่ และ จะมาพร้อมตำแหน่งว่าง อาทิ Huawei,  Amazon Web Service (AWS) และ บริษัทชั้นนำในประเทศ ทั้ง Krungsri, KBTG, ODDS, TBN Coporation และ อีกมากมายที่พร้อมจะมาเปิดรับสมัครกันในงานนี้ ได้ทั้งชม Product, service และได้สมัครงานจบในที่เดียว และยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเย็นของวันงานเราเปิดโอกาสให้บริษัทขึ้นมาขายตัวเองกันเต็มที่พร้อมสวัสดิการปังๆ เตรียม Resume ให้พร้อมแล้วมางานที่ชอบกันได้ในงานนี้

นอกจากนี้ยังมีอีก 3 การแข่งขันสุดเร้าใจได้แก่

Bangkok Opensource Hackathon – รวมพลังชาวโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาสร้างความแตกต่างให้สังคมกรุงเทพมหานครพร้อมกัน เพื่อสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วยมือเราเอง

National Whitehat Challenge 2023 – การแข่งขันของชาว Hacker สายคุณธรรมที่จะรวมเอาผู้เก่งกาจในแวดวง Security มาแข่งขันชิงชัยกันในโซน Red Team อยากรู้ว่า Hacker ตัวจริงเค้า Hack กันยังไงลองแวะไปเยี่ยมเยียนได้

National Coding Challenge 2023 – การแข่งขันของนักเรียนตั้งแต่อายุ 5 ปี (Unplugged Coding) ไปจนถึงอายุ 18 ปี ซึ่งมีทั้งการแข่งขันเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ และการแข่งขันเขียนโปรแกรม Python จะมาชิงชัยกันเพื่อชิงถ้วยรางวัลจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เด็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป

มีของรางวัญใหญ่แจกจริงในงาน 

และตั๋ว 1 ใบสามารถเข้างาน DevOps BKK, FrontEnd BKK, National Whitehat Challenge 2023 และ National Coding Challenge ในกลุ่ม 15-18 ปีได้อีกด้วย

DevOps BKK

  • DevOps, Cloud, Backend สำคัญกับกิจการคุณอย่างไร ลดเวลาการทำงานได้แค่ไหน 

Front-end BKK

  • ในยุคที่ไอทีมาบริการลูกค้าท่าน คุณรู้ Backend แล้วมารู้ Frontend ด้วย ออกแบบหน้าตาแอปและเว็บอย่างไรให้น่าใช้และได้ประสบการณ์ที่ดีเหนือกว่าคู่แข่ง

ซื้อบัตรเข้างานได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/National-Coding-Day

นักเรียน/นักศึกษาเข้างานฟรี กดบัตร “Student” 


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

นายวิศณุ กองจันทร์ดี (คุณเติ้ล)
Email: wissanu@thaiprogrammer.org
เบอร์โทร: 085 541 1474
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

from:https://www.techtalkthai.com/national-coding-day-2023-pr/