คลังเก็บป้ายกำกับ: DIGITAL_TWIN

Qualcomm และ Salesforce จับมือร่วมกันบนแพลตฟอร์ม Connected Car ใหม่

จะช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จากการประกาศของ Qualcomm ในงาน CES 2023 ว่ากำลังร่วมมือกับ Salesforce เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม connected car ใหม่ สำหรับผู้ผลิตรถยนต์
 

แพลตฟอร์มใหม่นี้ เป็นการผสมผสานโซลูชัน Automotive Cloud ของ Salesforce และแพลตฟอร์ม Snapdragon Digital Chassis ของ Qualcomm เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์ปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ จากนั้นจึงจะสามารถปรับใช้บริการใหม่เหล่านี้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทั้งยานพาหนะที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (SDVs)
 
ผู้ผลิตรถยนต์และซัพพลายเออร์จะได้ใช้ Snapdragon Digital Chassis เพื่อส่งมอบเทคโนโลยีช่วยเหลือการขับขี่อัตโนมัติ รวมถึงการเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์และระบบสาระบันเทิง ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าที่ใช้งานแล้ว ได้แก่ Cadillac, Mercedes, Stellantis และ Afeela กับ Honda ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เพิ่งประกาศจาก Sony
ประโยชน์ที่ได้จากการทำงานร่วมกันของ Qualcomm และ Salesforce สำหรับการใช้แชสซีดิจิทัลควบคู่กับ Automotive Cloud ของรุ่นถัดไป
  • สามารถสร้างรายได้ผ่านความเข้าใจที่ดีขึ้นจากผู้ใช้รถและพฤติกรรมของพวกเขาผ่านข้อมูลรถและคนขับที่ถูกเชื่อมต่อไว้
  • ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถกำหนดค่าคุณลักษณะของยานพาหนะแบบไดนามิกเพื่อรองรับบริการใหม่ๆ
  • ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นประจำและให้การอัปเกรดที่ราบรื่นสำหรับผู้บริโภค
  • ทำให้เห็นการสร้าง Digital Twin ของ Snapdragon Digital Chassis บนระบบคลาวด์ยานยนต์ ซึ่งให้มุมมองแบบ 360 องศาที่สมบูรณ์ของลูกค้าและยานพาหนะสำหรับหลายโดเมน
Snapdragon Digital Chassis ของ Qualcomm แสดงศักยภาพและแนวคิดในการออกแบบโดยโดยเน้นย้ำถึงนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI จำนวนมาก รวมถึงวิธีที่การผสานการจดจำใบหน้าและการยืนยันตัวตนด้วยไบโอเมตริกจะช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ซื้อฟีเจอร์และเนื้อหาใหม่ๆ ที่ทำให้ SDV มีชีวิตมากยิ่งขึ้น
 

from:https://www.techtalkthai.com/qualcomm-and-salesforce-partner-on-new-connected-car-platform/

[Guest Post] เปิดตัว Asset Activator ผู้นำ Digital Twin

เปิดตัว Asset Activator ผู้นำ Digital Twin ปั้นคู่เสมือนโลกดิจิทัล ปฏิวัติมาตรฐานใหม่งานบริหารอสังหาไทยทัดเทียมสากล ระดมกูรูชั้นนำลุยสัมมนาออนไลน์ Digital Twin Thailand Series By Asset Activator 

แอสเซ็ท แอคทิเวเตอร์ (Asset Activator) ผนึกพลัง 4 พันธมิตรชั้นนำระดับประเทศ ปักธงเป็น Property TechOps Company เนรมิตโซลูชั่นอัจฉริยะ Digital Twin เทคโนโลยีเมกาเทรนด์ระดับโลก ปั้นคู่เสมือนโลกดิจิทัล สู่การพลิกโฉมมิติใหม่งานบริหารจัดการข้อมูลสินทรัพย์ไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน มั่นใจช่วยเพิ่มศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มสินทรัพย์-อสังหาริมทรัพย์ยั่งยืน พร้อมจัดสัมมนาออนไลน์ให้ความรู้เปิดโลก Digital Twin หวังยกระดับมาตรฐานใหม่วงการอสังหาไทยทัดเทียมสากล 

ผศ.ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซ็ท แอคทิเวเตอร์ จำกัด (Asset Activator) เผยว่า “การสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจยุค Digital Disruption คือ ต้องมีข้อมูล โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากในอดีตที่เคยเป็น ‘ทรัพย์อยู่นิ่ง’ แต่ด้วยปัจจัยหลายประการ ทำให้ปัจจุบันสินทรัพย์มีการปรับปรุง-เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของผู้บริหารอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ คือ ‘ไม่มีข้อมูล’ หรือ ‘ไม่มีการจัดการข้อมูลสินทรัพย์’ นั้นๆ ยิ่งในอนาคตโลกจะขาดแคลนแรงงานมากยิ่งขึ้น ระบบ Autonomous (ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

ดังนั้นองค์กรจึงต้องพร้อม ‘ยืดหยุ่น’ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (Agility) โดยหนึ่งในอาวุธสำคัญที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลสินทรัพย์ คือ Digital Twin (ดิจิทัล ทวิน) หรือคู่เสมือนทางดิจิทัล อย่างที่ Gartner บริษัทวิจัยให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกจัดให้ Digital Twin เป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ตั้งแต่ปี 2019 และคาดการณ์ว่าภายในปี 2021 บริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ครึ่งหนึ่งของโลกจะใช้ Digital Twin เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและงานบริหารอาคาร-อสังหาริมทรัพย์

Asset Activator จึงได้ก่อตั้งขึ้นในฐานะเป็น Property TechOps Company ผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการข้อมูลสินทรัพย์ ด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Digital Twin มาสร้างโซลูชั่นอัจฉริยะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มศักยภาพการเติบโตทางธุรกิจ ภายใต้ปรัชญา EMPOWERING PROPERTY ASSET VALUE WITH DIGITAL TWIN (บริหารข้อมูลสินทรัพย์ของคุณอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยี Digital Twin) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์-อสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน

จากการรวมตัวของทีมงานชั้นนำระดับประเทศ ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมระดับประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในงานโครงสร้างและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่กว่า 2,500 โครงการ ทั้งในและต่างประเทศ, บริษัท มานูเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ที่ปรึกษาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แถวหน้าของไทย, บริษัท เบย์ คอมพิวติ้ง จำกัด บริษัทรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ครบวงจร และ บริษัท คอนส์ โรโบติกส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาซอฟต์แวร์

“Digital Twin นับเป็นเมกาเทรนด์ของโลกที่องค์กรชั้นนำต่างประเทศใช้ ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตระดับโรงงาน งานก่อสร้างสามมิติ การแพทย์ ไปจนถึงจุดที่ใช้ Digital Twin ในงานบริหารจัดการสินทรัพย์กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะธุรกิจอาคารและอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์”

“แต่ในประเทศไทยการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ยังเป็นเรื่องใหม่มาก ถือเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะทุกวันนี้ความทรงอานุภาพของ Digital Twin จะช่วยให้องค์กรรับมือกับการบริหารจัดการอาคารได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงใช้ช่วยลดต้นทุนอย่างที่คาดไม่ถึง แต่ยังช่วยในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจได้ (Profit Center) อีกด้วย ซึ่งเราพร้อมนำเทรนด์นี้มาใช้ในยกระดับวงการธุรกิจอสังหา ที่ผมมั่นใจว่าจะทำให้โลกอสังหาไทยพลิกโฉมหน้าเปลี่ยนแปลงจากเดิมไป” ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ กล่าว

เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างรู้ลึก-รู้จริงถึงความทรงพลังของการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงอย่าง Digital Twin มาใช้ในงานบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น Asset Activator จึงได้จัดสัมมนาออนไลน์ Digital Twin Thailand Series By Asset Activator : เปิดโลกใหม่เทคโนโลยีบริหารอาคาร-อสังหาริมทรัพย์ ด้วย Digital Twin ขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ Your Property Asset Information is as important as your property asset condition(ข้อมูลสินทรัพย์อาคารของคุณมีความสำคัญเช่นเดียวกับตัวสินทรัพย์อาคารของคุณ)

ระดมผู้เชี่ยวชาญชั้นนำหลากวงการที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนเทคโนโลยี Digital Twin รวมถึงนักธุรกิจชั้นแนวหน้าและผู้บริหารระดับสูง มาแชร์ปัญหาสุดคลาสสิคของงานบริหารอาณาจักรสินทรัพย์ และทางออกของปัญหาจากการใช้เทคโนโลยี โดยสลับสับเปลี่ยนแขกรับเชิญ ทุกวันพฤหัส (สัปดาห์เว้นสัดาห์) เวลา 18.30 น.เต็มอิ่ม 2 ชั่วโมงเต็ม ตลอด 3 เดือนตั้งแต่ 7 ตุลาคม – 23 ธันวาคม 2564 ผ่านโซเชียลมีเดีย ClubHouse

ภายในงานสัมมนา จะได้พบกับ ดร.สรัสไชย องค์ประเสริฐ Vice-President BIM Service Leader จาก TEAM Group ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมระดับประเทศ การันตีความสำเร็จในงานโครงสร้างและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่กว่า 2,500 โครงการ ทั้งในและต่างประเทศ, จักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ หัวหน้าแผนกและผอ.ฝ่ายบริการบริหารจัดการอาคารและอสังหาริมทรัพย์ JLL ประเทศไทย, อวิรุทธ์ เลี้ยงศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบย์ คอมพิวติ้ง จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร, ลุงวิศวกรสอนคำนวณ Uncle Engineer เพจชื่อดัง แหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยียุคใหม่สไตล์ลงมือทำ, อิสรีย์ ปลื้มรุ่งเรือง Chief Finance Officer (CFO) ของ International Investment Firm ที่มีสาขาและคู่ค้าในหลายประเทศ

รายละเอียดและร่วมฟังสัมมนาฟรี! Digital Twin Thailand Series By Asset Activator พบกับแขกรับเชิญทุกพฤหัส สัปดาห์เว้นสัปดาห์ อัดแน่นความรู้ตลอด 3 เดือนเต็ม (7 ต.ค. – 23 ธ.ค.) คลิก www.terrabkk.com/news/200411

ติดตามข่าวสาร Asset Activator ได้ที่ www.assetactivator.co (อยู่ระหว่างการพัฒนา)

Facebook : AssetActivator

ข้อมูลจำเพาะ : Digital Twin (ดิจิทัล ทวิน)  คือ ฝาแฝดดิจิทัล หรือแบบจำลองเสมือนสามมิติของสินทรัพย์ เกิดจากการรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูลมหาศาลจากหลากหลายแหล่ง มาสร้างเป็นฐานข้อมูลในโลกดิจิทัลของอาคารหลังหนึ่ง หรือ อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์ใดๆ ที่จะสะท้อนข้อมูลที่ถูกต้อง-ตรงกัน-เหมือนกับของจริง ตลอดเวลา

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-asset-activator-digital-twin/

[Guest Post] เอ็นทีที สร้างสนามกีฬาที่เชื่อมต่อกันแห่งใหญ่ที่สุดในโลก ด้วย “Digital Twin”ในการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์

ด้วยแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร โดยจะรวบรวมผู้คน กระบวนการ และเทคโนโลยี บนระยะทางการแข่งขันกว่า 3,400 กม. เพื่อให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นของการแข่งขัน

เอ็นทีที (NTT Ltd.,) พันธมิตรด้านเทคโนโลยีอย่างเป็นทางการของ A.S.O ได้ประกาศในวันนี้ว่าจะสร้างสนามกีฬาที่เชื่อมต่อกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่เหมือนใครสำหรับการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France) ด้วยการสร้าง ‘Digital Twin โดยตำแหน่งของข้อมูลการแข่งขันในหลายล้านจุดจะถูกรวบรวมไว้และแสดงผลผ่านภาพอัจฉริยะรูปแบบดิจิทัล นำมาซึ่งความตื่นตาตื่นใจและมอบประสบการณ์ใหม่ๆให้กับแฟนๆ รองรับการจัดงานสำหรับการแข่งขันระยะยาวถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางและมาตรการด้านความปลอดภัยของโควิด-19 NTT ร่วมกับ A.S.O ได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลที่หลากหลายเพื่อดึงดูดแฟนๆ ทั่วโลกได้เข้าชม ซึ่งรวมไปถึง:

  • Race Center – เว็บไซต์ติดตามรับชมการแข่งขันแบบสดๆ อย่างเป็นทางการ ที่จะอัพเดตทุกการแข่งขันรวมถึงข้อมูลการติดตามสดของผู้ขับขี่บน fr และในแอพพลิเคชั่น Tour de France Mobile อย่างเป็นทางการ
  • LeTourData – ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการทำนายผลการแข่งขันด้วย AI บน Twitter, Instagram และรายการทีวี
  • 3D Tracker – แอพพลิเคชั่นที่จะเติมเต็มความสมจริงในทุกมุมมองแบบ 3 มิติ ของทุกๆ สเตจในการแข่งขัน
  • Tour de France Fantasy by Tissot – เกมกีฬาแฟนตาซีที่รวมข้อมูลเชิงลึกและแมชชีนเลิร์นนิง (คาดการณ์ผลโดย NTT) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่นักปั่นได้รับชม
  • NTT Media Wall – หน้าจอแสดงผลที่สมบูรณ์แบบติดตั้งที่หมู่บ้านที่มีการแข่งขันเพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการแสดงภาพจาก LeTourData พร้อมอัพเดตการแข่งขันสด

การสร้าง Digital Twin ด้วย IoT และ Edge Computing

การสร้าง Digital Twin ในการแข่งขันครั้งนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการสามารถมองเห็นได้แบบเรียลไทม์และปรับปรุงการปฏิบัติงานและในท้ายที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันจะดำเนินต่อไปอย่างราบรื่นและมีความยืดหยุ่นตลอดระยะเวลาการแข่งขัน  โดย NTT จะใช้เซ็นเซอร์ IoT ที่หลากหลายมาใช้ในการประมวลผลแบบการคำนวณและแบบเครือข่าย รวมเข้ากับแพลตฟอร์มอัจฉริยะของ NTT และจับคู่กันกับแบบจำลองตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละขั้นตอนของการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้มองเห็นตำแหน่งได้อย่างเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังเป็นการติดตามผู้สัมผัสเชื้อ โควิด-19 รวมถึงการอัพเดตกองคาราวานนักแข่งและเวลาที่มาถึงการแข่งขัน

และเป็นครั้งแรกสำหรับปี 2564 ที่ NTT จะใช้การวิเคราะห์ตามเวลาจริงจากสนามแข่งเพื่อให้ข้อมูลการแข่งขันไปยังรถแข่งอย่างเป็นทางการในทันที โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์การแข่งขันแบบสด แม้ในพื้นที่ห่างไกลหรือบนภูเขาสูง

ปีเตอร์ เกรย์ รองประธานอาวุโสกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงด้านกีฬาของ NTT Ltd. ให้ความเห็นว่า การแปลงระบบดิจิทัลของตูร์เดอฟรองซ์เริ่มขึ้นในปี 2558 โดยรวบรวมข้อมูลจากนักปั่นจักรยานเพื่อให้ข้อมูลอัพเดตแบบเรียลไทม์ ซึ่งในการแข่งขันทุกปีเราสามารถนำเทคโนโลยีก้าวไปสู่อีกระดับ และในปีนี้เรากำลังสร้างสิ่งที่เป็น Digital Twin ของกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งมันเป็นสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกสูงและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ซึ่งต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลในทันทีเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและราบรื่น ส่งผลให้แฟนๆ ได้รับข้อมูลการแข่งขันและมีส่วนร่วมมากขึ้น”

การเชื่อมต่อที่ศูนย์กลาง เปิดใช้งานอย่างปลอดภัยโดยคลาวด์

การแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันแบบไฮบริดอย่างแท้จริง ด้วยการแสดงผลทั้งแบบกายภาพ, เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริง, ข้อมูล และฟังก์ชั่นการประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ (serverless) ซึ่งจะรองรับการประมวลผลและเวิร์คโหลดที่แตกต่างกัน โดยทั้งหมดนี้จะถูกปรับใช้ผ่านรหัสโครงสร้างพื้นฐานอัตโนมัติ โดย NTT สามารถรองรับการเข้าชมจากแฟนๆ ได้หลากหลาย และการให้บริการในการดำเนินงานสำหรับ A.S.O ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกตรวจสอบโดย Services Portal ของ NTT และทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่เชื่อมต่อผ่านบริการ Managed Collaboration Service ของ NTT เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อที่ดีกว่า ไม่ว่าการแข่งขันจะจัดขึ้นที่ใด และไม่ว่าคอมพิวเตอร์ หรือแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้งานจะอยู่ที่ใดก็ตาม

การสร้าง Digital Twin ยังหมายถึงการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นของอุปกรณ์และยานพาหนะ ตลอดจนแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มที่เข้าถึงบริการทั้งในโฮสต์บนคลาวด์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์แบบสาธารณะ, คลาวด์ส่วนตัว หรือแบบไฮบริด ไม่ว่าโฮสต์จะเป็นอะไรก็ตาม สำหรับ A.S.O ข้อมูลจะเป็นหัวใจหลัก ไม่เพียงเท่านั้นยังรวมถึงการทำความเข้าใจข้อมูลในสถานะที่แตกต่างกัน รวมถึงวิธีการรวบรวมและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้สำหรับแฟนๆ สื่อมวลชน หรือแม้แต่ทีมนักปั่นจักรยาน

เกรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นซ้ำๆ สำหรับหลายองค์กร คือในขณะที่พวกเขาสำรวจการแพร่ระบาดของไวรัส คือการทำอย่างไรให้มั่นใจว่าลูกค้าจะตอบสนองความต้องการและข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งความสามารถในการปรับตัวเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นพันธมิตรกับ A.S.O โดยเรากำลังช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมตูร์เดอฟรองซ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แฟนๆ นับล้านจากทั่วโลกต่างรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ โดยในแต่ละปีเงินเดิมพันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราสร้างวิธีใหม่ๆ ในการเข้าถึงการแข่งขัน และมีส่วนร่วมกับผู้คนมากขึ้นในรูปแบบใหม่และน่าตื่นเต้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อคุณพิจารณาถึงความซับซ้อนของการแข่งขันนี้

ยานน์ เลอ โมนเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ A.S.O ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยความเร็วที่แฟนๆ คาดหวังจากแอพพลิเคชั่นบนมือถือและบนคลาวด์ ในขณะเดียวกันก็ให้ข้อมูลเชิงลึกของเหตุการณ์ระหว่างการแข่งขัน การวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ และดิจิทัลโซลูชั่นอัจฉริยะ  ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558 เราได้นำการปรับปรุงด้านดิจิทัลอย่างมากมายมาสู่การแข่งขัน เพื่อสร้างประสบการณ์ Connected Fanที่ดีที่สุด และในปีนี้ก็ไม่ต่างกัน โดยเราจะมอบประสบการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลบนทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในโลกใบนี้ก็ตาม

 

เกี่ยวกับเอ็นทีที

NTT Ltd. เป็นบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เราร่วมมือกับองค์กรต่างๆทั่วโลกเพื่อกำหนดและบรรลุผลผ่านโซลูชั่นเทคโนโลยีอัจฉริยะ สำหรับเราแล้วความชาญฉลาดหมายถึงการขับเคลื่อนข้อมูลการเชื่อมต่อดิจิทัลและความปลอดภัย ในฐานะผู้ให้บริการไอซีทีระดับโลกเรามีพนักงานมากกว่า 40,000 คนประจำอยู่ตามสำนักงานสาขาทั่วโลก ครอบคลุม 57ประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนทางการค้าใน 73 ประเทศ พร้อมทั้งให้บริการมากกว่า 200 ประเทศ และเมื่อร่วมมือกันเราสามารถสร้างสรรค์อนาคตที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกัน ข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมได้ที่ hello.global.ntt

  

เกี่ยวกับ A.S.O

Amaury Sport Organisation เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของ ออกแบบ และจัดงานกีฬาระดับนานาชาติชั้นนำ เชี่ยวชาญในกิจกรรมกลางแจ้ง “non-stadia” โดยมีความรู้ภายในเกี่ยวกับอาชีพที่เชื่อมโยงกับองค์กร สื่อ และการขายการแข่งขันกีฬา โดย A.S.O จัดการแข่งขัน 240 วันต่อปี โดยมี 90 งานใน 25 ประเทศ A.S.O มีส่วนร่วมในกีฬาสำคัญ 5 ประเภท ได้แก่ การปั่นจักรยานกับ Le Tour de France กีฬาแข่งรถกับ Dakar การแล่นเรือกับ Tour Voile งานด้านสื่อมวลชนกับ Schneider Electric Marathon de Paris และกอล์ฟกับ Lacoste Ladies Open de France Amaury Sport Organisation เป็นบริษัทในเครือ Amaury Group สื่อและกลุ่มกีฬาที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ L’Equipe

 

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ntt-digital-twin/

เอ็นทีที สร้างสนามกีฬาที่เชื่อมต่อกันแห่งใหญ่ที่สุดในโลก ด้วย “Digital Twin” ในการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์

เอ็นทีที (NTT Ltd.,) พันธมิตรด้านเทคโนโลยีอย่างเป็นทางการของ A.S.O ได้ประกาศในวันนี้ว่าจะสร้างสนามกีฬาที่เชื่อมต่อกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่เหมือนใครสำหรับการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France) ด้วยการสร้าง ‘Digital Twin’ 

โดยตำแหน่งของข้อมูลการแข่งขันในหลายล้านจุดจะถูกรวบรวมไว้และแสดงผลผ่านภาพอัจฉริยะรูปแบบดิจิทัล นำมาซึ่งความตื่นตาตื่นใจและมอบประสบการณ์ใหม่ๆให้กับแฟนๆ รองรับการจัดงานสำหรับการแข่งขันระยะยาวถึง 3 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

NTT

เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางและมาตรการด้านความปลอดภัยของโควิด-19 NTT ร่วมกับ A.S.O ได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลที่หลากหลายเพื่อดึงดูดแฟนๆ ทั่วโลกได้เข้าชม ซึ่งรวมไปถึง:

·        Race Center – เว็บไซต์ติดตามรับชมการแข่งขันแบบสดๆ อย่างเป็นทางการ ที่จะอัพเดตทุกการแข่งขันรวมถึงข้อมูลการติดตามสดของผู้ขับขี่บน letour.fr และในแอพพลิเคชั่น Tour de France Mobile อย่างเป็นทางการ

·        LeTourData – ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและการทำนายผลการแข่งขันด้วย AI บน Twitter, Instagram และรายการทีวี

·        3D Tracker – แอพพลิเคชั่นที่จะเติมเต็มความสมจริงในทุกมุมมองแบบ 3 มิติ ของทุกๆ สเตจในการแข่งขัน

·        Tour de France Fantasy by Tissot – เกมกีฬาแฟนตาซีที่รวมข้อมูลเชิงลึกและแมชชีนเลิร์นนิง (คาดการณ์ผลโดย NTT) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่นักปั่นได้รับชม

·        NTT Media Wall – หน้าจอแสดงผลที่สมบูรณ์แบบติดตั้งที่หมู่บ้านที่มีการแข่งขันเพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและการแสดงภาพจาก LeTourData พร้อมอัพเดตการแข่งขันสด

การสร้าง Digital Twin ด้วย IoT และ Edge Computing

ตูร์เดอฟรองซ์เป็นสนามกีฬาที่มีการขับเคลื่อนตลอดทุกวันด้วยระยะเวลา 21 วัน เป็นระยะทาง 3,400 กิโลเมตร เพื่อเยี่ยมชมสถานที่ห่างไกลบางแห่งในฝรั่งเศส ตั้งแต่ชนบทอันงดงามไปจนถึงภูมิประเทศอันโหดร้ายของเทือกเขาแอลป์ (Alpes) และเทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees)

การสร้าง Digital Twin ในการแข่งขันครั้งนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการสามารถมองเห็นได้แบบเรียลไทม์และปรับปรุงการปฏิบัติงานและในท้ายที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันจะดำเนินต่อไปอย่างราบรื่นและมีความยืดหยุ่นตลอดระยะเวลาการแข่งขัน  โดย NTT จะใช้เซ็นเซอร์ IoT ที่หลากหลายมาใช้ในการประมวลผลแบบการคำนวณและแบบเครือข่าย รวมเข้ากับแพลตฟอร์มอัจฉริยะของ NTT และจับคู่กันกับแบบจำลองตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละขั้นตอนของการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้มองเห็นตำแหน่งได้อย่างเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังเป็นการติดตามผู้สัมผัสเชื้อ โควิด-19 รวมถึงการอัพเดตกองคาราวานนักแข่งและเวลาที่มาถึงการแข่งขัน

และเป็นครั้งแรกสำหรับปี 2564 ที่ NTT จะใช้การวิเคราะห์ตามเวลาจริงจากสนามแข่งเพื่อให้ข้อมูลการแข่งขันไปยังรถแข่งอย่างเป็นทางการในทันที โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์การแข่งขันแบบสด แม้ในพื้นที่ห่างไกลหรือบนภูเขาสูง

ปีเตอร์ เกรย์ รองประธานอาวุโสกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงด้านกีฬาของ NTT Ltd. ให้ความเห็นว่า การแปลงระบบดิจิทัลของตูร์เดอฟรองซ์เริ่มขึ้นในปี 2558 โดยรวบรวมข้อมูลจากนักปั่นจักรยานเพื่อให้ข้อมูลอัพเดตแบบเรียลไทม์ ซึ่งในการแข่งขันทุกปีเราสามารถนำเทคโนโลยีก้าวไปสู่อีกระดับ และในปีนี้เรากำลังสร้างสิ่งที่เป็น Digital Twin ของกิจกรรมครั้งนี้  ซึ่งมันเป็นสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกสูงและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ซึ่งต้องอาศัยการเข้าถึงข้อมูลในทันทีเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและราบรื่น ส่งผลให้แฟนๆ ได้รับข้อมูลการแข่งขันและมีส่วนร่วมมากขึ้น”

การเชื่อมต่อที่ศูนย์กลาง เปิดใช้งานอย่างปลอดภัยโดยคลาวด์

การแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันแบบไฮบริดอย่างแท้จริง ด้วยการแสดงผลทั้งแบบกายภาพ, เซิร์ฟเวอร์เสมือนจริง, ข้อมูล และฟังก์ชั่นการประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์ (serverless) ซึ่งจะรองรับการประมวลผลและเวิร์คโหลดที่แตกต่างกัน โดยทั้งหมดนี้จะถูกปรับใช้ผ่านรหัสโครงสร้างพื้นฐานอัตโนมัติ โดย NTT สามารถรองรับการเข้าชมจากแฟนๆ ได้หลากหลาย และการให้บริการในการดำเนินงานสำหรับ A.S.O ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกตรวจสอบโดย Services Portal ของ NTT และทีมผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่เชื่อมต่อผ่านบริการ Managed Collaboration Service ของ NTT เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อที่ดีกว่า ไม่ว่าการแข่งขันจะจัดขึ้นที่ใด และไม่ว่าคอมพิวเตอร์ หรือแอพพลิเคชั่น และผู้ใช้งานจะอยู่ที่ใดก็ตาม

การสร้าง Digital Twin ยังหมายถึงการเชื่อมต่อที่ดียิ่งขึ้นของอุปกรณ์และยานพาหนะ ตลอดจนแอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มที่เข้าถึงบริการทั้งในโฮสต์บนคลาวด์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์แบบสาธารณะ, คลาวด์ส่วนตัว หรือแบบไฮบริด ไม่ว่าโฮสต์จะเป็นอะไรก็ตาม สำหรับ A.S.O ข้อมูลจะเป็นหัวใจหลัก ไม่เพียงเท่านั้นยังรวมถึงการทำความเข้าใจข้อมูลในสถานะที่แตกต่างกัน รวมถึงวิธีการรวบรวมและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้สำหรับแฟนๆ สื่อมวลชน หรือแม้แต่ทีมนักปั่นจักรยาน

เกรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นซ้ำๆ สำหรับหลายองค์กร คือในขณะที่พวกเขาสำรวจการแพร่ระบาดของไวรัส คือการทำอย่างไรให้มั่นใจว่าลูกค้าจะตอบสนองความต้องการและข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งความสามารถในการปรับตัวเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นพันธมิตรกับ A.S.O โดยเรากำลังช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมตูร์เดอฟรองซ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แฟนๆ นับล้านจากทั่วโลกต่างรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ โดยในแต่ละปีเงินเดิมพันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเราสร้างวิธีใหม่ๆ ในการเข้าถึงการแข่งขัน และมีส่วนร่วมกับผู้คนมากขึ้นในรูปแบบใหม่และน่าตื่นเต้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อคุณพิจารณาถึงความซับซ้อนของการแข่งขันนี้

ยานน์ เลอ โมนเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ A.S.O ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยความเร็วที่แฟนๆ คาดหวังจากแอพพลิเคชั่นบนมือถือและบนคลาวด์ ในขณะเดียวกันก็ให้ข้อมูลเชิงลึกของเหตุการณ์ระหว่างการแข่งขัน การวิเคราะห์ที่สมบูรณ์ และดิจิทัลโซลูชั่นอัจฉริยะ  ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2558 เราได้นำการปรับปรุงด้านดิจิทัลอย่างมากมายมาสู่การแข่งขัน เพื่อสร้างประสบการณ์ Connected Fan‘ ที่ดีที่สุด และในปีนี้ก็ไม่ต่างกัน โดยเราจะมอบประสบการณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลบนทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในโลกใบนี้ก็ตาม

.fb-background-color {
background: #ffffff !important;
}
.fb_iframe_widget_fluid_desktop iframe {
width: 100% !important;
}

from:https://www.mobileocta.com/ntt-builds-worlds-largest-connected-stadium-with-digital-twin/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=ntt-builds-worlds-largest-connected-stadium-with-digital-twin

[Guest Post] ศูนย์ปฏิบัติการ Smart City มข. นำ Digital Twin แผนที่ 3 มิติ ความละเอียดสูง หนึ่งในระบบอัจฉริยะ การบริหารงานมหาวิทยาลัย ประยุกต์ใช้ช่วยตำรวจซ้อมรับมือเหตุร้าย เพิ่มความปลอดภัยประชาชน

หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีแนวโน้มเผชิญกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนครอบคลุมเชื่อมโยงหลายมิติ อาทิ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาความมั่นคงทางทะเล และปัญหาโรคอุบัติใหม่ หน่วยงานความมั่นคงในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักและรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง  จึงได้ทบทวนแผนให้มีความก้าวทันต่อสถานการณ์ กอปรกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติแผน โครงการสมาร์ทซิตี้จังหวัดขอนแก่น (Smart City)  ในปี 2559 ที่มีเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้อัจฉริยะตามมาตรฐานสากล 6 สาขา ได้แก่  การเดินทางและขนส่ง (Smart Mobility) พลเมือง (Smart People) ระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการ (Smart Economy) สิ่งแวดล้อม(Smart Environment)  การบริหารจัดการภาครัฐ (Smart Governance) และ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมือง (Smart Living)

 

รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการ Smart City หรือ SCOPC (Smart City Operation Center) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

โจทย์ของหน่วยงานความมั่นคง และ การนำพาเมืองไปสู่ความอัจฉริยะ ประชาชนมีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้ศูนย์ปฏิบัติการ Smart City หรือ SCOPC (Smart City Operation Center) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เกิดแนวคิดการนำเทคโนโลยี Digital Twin แผนที่ 3 มิติ มาใช้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงได้ฝึกฝน เพิ่มศักยภาพในการป้องกันให้มีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และ รับมือสถาการณ์ที่ไม่คาดคิดให้เกิดความแม่นยำมากที่สุด

รศ.ดร.รวี  หาญเผชิญ  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการ Smart City หรือ SCOPC (Smart City Operation Center) มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เปิดเผยว่า “Digital Twin เป็นแผนที่ 3 มิติ ที่มีความละเอียดสูงเหมือนกับคู่แฝดเสมือนจริงของพื้นที่จริง ตำรวจจะเป็นผู้ให้โจทย์มา ต่อจากนั้นนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์จำลองลงไปในพื้นที่ในโมเดล และ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำไปใช้ในการวางแผนระงับเหตุ ซึ่งตอนนี้ได้ทดลองนำไปใช้แล้วในหลายเหตุการณ์ เช่น ในกรณีที่มีการอารักขาผู้นำ รวมไปถึงบุคคลสำคัญระดับประเทศ จะใช้แผนที่ 3 มิติ ในการวางแผนกระจายกำลังและกำหนดจุดรักษาความปลอดภัย รวมไปถึงสามารถใช้ในการวางแผนสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ โดยจะมีการสร้าง simulation เหมือนเกมลงไปในโมเดลเพื่อเป็นการจำลองสถานการณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปวางแผนการปฏิบัติงานในแต่ละเหตุการณ์” รศ.ดร.รวี กล่าว

โดยหลักการการทำงานของเทคโนโลยี Digital Twin คือการทำสำเนาหรือแบบจำลองของสิ่งต่าง ๆ ทางกายภาพให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทั้งในรูปแบบของภาพ และข้อมูล มีกลไกเชื่อมต่อกับวัตถุของจริงผ่านระบบเซ็นเซอร์ที่คอยเก็บข้อมูลสถานะทางกายภาพของวัตถุแบบ Real-time ทำให้แบบจำลองนั้นเป็นเสมือนการย้ายวัตถุไปไว้ในโลกดิจิทัล  ซึ่ง Digital Twin นั้นเป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีหลายชนิด ได้แก่ เทคโนโลยีผลิตภาพ 3 มิติ หรือ VR และ AR ทำหน้าที่สร้างรูปร่างของวัตถุในโลกดิจิทัล เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และ Internet of Things (IoT) ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิทัล รวมทั้งการอัพเดตข้อมูลแบบ Real-time เข้ามาใน Digital Twin เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Machine Learning เพื่อทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และ Software Analytics เพื่อดูแลการทำงานของซอฟต์แวร์ในระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อสารเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกัน เช่น Cloud, Edge Computing, Automation, และ ระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้เทคโนโลยีทั้งหมดทำงานร่วมกันได้ด้วยดี

การผสานความอัจฉริยะเหล่านี้นำมาซึ่งความสามารถในการตรวจสอบสถานะของวัตถุอย่างละเอียด กระทั่งสามารถจำลองได้ว่า หากสภาพแวดล้อม หรือสถานะจุดใดจุดหนึ่งภายในตัววัตถุเปลี่ยนไป จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างกับวัตถุ กล่าวคือ ผู้ใช้งานสามารถจำลองสถานการณ์และทำนายความเป็นไปได้ในภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น

แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์การบริหารจัดการความเรียบร้อยของเมือง  แต่  Digital Twin กลับไม่ได้นำมาใช้งานกับภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นอย่างแรก เพราะจุดเริ่มต้นที่แท้จริงในการใช้งานเกิดจากความต้องการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มุ่งสร้างฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยในรูปแบบของแผนที่ 3 มิติ เพื่อที่จะได้ทราบทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างละเอียด

โดย รศ.ดร.รวี ได้เผยว่าจุดเริ่มต้นของการนำ Digital Twin มาใช้ เกิดจากการที่ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ขานรับนโยบายโครงการสมาร์ทซิตี้จังหวัดขอนแก่น นำไปสู่การมีคณะกรรมการ Smart City รวมไปถึงการตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการ Smart City หรือ SCOPC (Smart City Operation Center) ขอนแก่น โดยศูนย์นี้มีท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธาน พร้อมด้วย รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ และ คณาจารย์จากหลากหลายคณะที่ทำงานร่วมกัน มีคณะกรรมการผู้ดูแลโครงการวิจัยต่าง ๆ มากมายเพื่อขับเคลื่อนให้ขอนแก่นเป็นเมืองอัจฉริยะตามวัตถุประสงค์

ซึ่งการนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้เป็นความต้องการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการสร้างฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยในรูปแบบของแผนที่ 3 มิติ และ ต้องการเปลี่ยนแผนที่ 3 มิติให้กลายเป็นข้อมูล ทำให้เห็นทรัพยากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นทั้งหมด ตั้งแต่ตัวตึก อาคารเรียน ไปจนถึงถนน เสาไฟฟ้า ถังขยะ โดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นเข้าไปทำงานควบคู่กับหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงสามารถจำลองพื้นที่ในการวางแผนสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทำให้มองเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น” รศ.ดร.รวี กล่าว

รศ.ดร.รวี กล่าวต่อไปว่า “เราตั้งเป้าหมายไว้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีระบบดูแลทรัพยากรของตัวเอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อคณะผู้บริหาร คณะอาจารย์ และนักศึกษา ร่วมไปถึงผู้ปกครองโดยเฉพาะผู้ปกครอง ควรที่จะได้รับรู้ว่ามหาวิทยาลัยมีอะไรบ้าง เขาสามารถดูได้ผ่านมือถือ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าบุตรหลานที่เข้ามาเรียนจะมีชีวิตที่สะดวกสบายและปลอดภัย ความคืบหน้าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการสแกนพื้นที่ของทางมหาวิทยาลัยคาดว่าจะสามารถนำไปใช้ได้จริงในปีหน้า” นักวิจัยศูนย์ SCOPC กล่าว

การเดินทางของ digital twin  จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้เทคโนโลยีตอบโจทย์การบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย  และ ได้ขยายผลในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในระดับเมือง  แนวทางที่เกิดขึ้นนับเป็นผลดีอย่างยิ่งที่การใช้เทคโนโลยีไม่ได้ขับเคลื่อนความก้าวหน้าเพียงแค่องค์กร แต่ยังขยายไปสู่ภาพกว้างอย่างการตอบสนองนโยบายเมือง นอกจากนี้การพัฒนาที่ขยายเป็นวงกว้างยังเป็นไปตาม นิยามเมืองอัจริยะ   ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง มีการบริหารจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตของประชาชนในเมืองดีขึ้นอย่างยั่งยืนภายใต้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ชาญฉลาดทันสมัย..//

 

เรื่องโดย  รวิพร สายแสนทอง

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-kku-smart-city-digital-twin/

รู้จักกับ Digital Twin – เมื่อวัตถุต่างๆมีฝาแฝดอยู่ในโลกดิจิทัล

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ CAT datacom News & promotion

Credit: CAT datacom

จะเป็นอย่างไร หากเราสามารถจำลองโลกทั้งใบขึ้นมาได้อย่างแม่นยำและเฝ้ารอดูได้ว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เป็นโลกจำลองที่เราสามารถทดลองได้ตามใจ ต้องเปลี่ยนที่ใด ปรับตรงไหน จึงจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและป้องกันสิ่งไม่พึงประสงค์ได้ คงจะดีไม่น้อย หากเรารู้ว่าในหนึ่งนาทีนี้ควรทำอะไรเพื่ออนาคตที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทุกวันนี้ แม้อาจไม่ใช่ทั้งโลก แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถจำลองสิ่งต่างๆขึ้นมาในลักษณะนี้ได้แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Digital Twin

Digital Twin เป็นชื่อเรียกของแนวคิดการทำสำเนาหรือแบบจำลองของสิ่งต่างๆทางกายภาพให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทว่า Digital Twin เหล่านี้ไม่เพียงเป็นภาพจำลองที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังมีกลไกเชื่อมต่อกับวัตถุของจริงผ่านระบบเซ็นเซอร์ที่คอยเก็บข้อมูลสถานะทางกายภาพของวัตถุแบบ Real-time ทำให้แบบจำลองนั้นเป็นเสมือนการย้ายวัตถุไปไว้ในโลกดิจิทัลนั่นเอง

เมื่อมีแบบจำลองวัตถุที่สมจริง สิ่งที่ตามมาคือความสามารถในการตรวจสอบสถานะของวัตถุอย่างละเอียดโดยมีสื่อที่เป็นภาพคอยนำทาง และความสามารถในการจำลองสถานการณ์ขึ้นว่าหากสภาพแวดล้อม หรือสถานะจุดใดจุดหนึ่งภายในตัววัตถุเปลี่ยนไป จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างกับวัตถุ โดยที่มากไปกว่านั้นคือ Digital Twin ของวัตถุแต่ละชิ้นนั้นเราย่อมสามารถนำมาเชื่อมต่อกันให้กลายเป็นระบบจำลองขนาดย่อมๆได้ ทำให้เราสามารถจำลองสถานการณ์และทำนายความเป็นไปได้ในภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น

สำหรับธุรกิจ ความสามารถเช่นนี้ของ Digital Twin หมายความว่าพวกเขาจะสามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำลองเหตุการณ์และวางแผนการดำเนินการ เช่น การกะเวลาที่ควรซ่อมบำรุง การสร้างสถานการณ์สมมติ การตรวจสอบการทำงานร่วมกันของเครื่องจักรหลายชิ้น เป็นต้น นอกจากนี้ Digital Twin อาจสามารถช่วยแจ้งเตือน และเริ่มดำเนินขั้นตอนในการทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อสถานะของวัตถุบ่งบอกว่าต้องการ Action อะไรบางอย่างต่อระบบ

เราใช้เทคโนโลยีอะไรสร้าง Digital Twin?

แนวคิดหลักของ Digital Twin นั้นคือการสร้างแบบจำลองวัตถุขึ้นในโลกดิจิทัล ทั้งในรูปแบบของภาพ และข้อมูล แล้วจากนั้นในการใช้งานจะมีการดึงข้อมูลไปวิเคราะห์ สร้างสถานการณ์จำลอง ดังนั้นน่าจะพอเห็นภาพได้ว่า Digital Twin นั้นเป็นการผสมผสานของเทคโนโลยีหลายชนิด อันได้แก่

  • เทคโนโลยีผลิตภาพ 3 มิติ หรือ VR และ AR ทำหน้าที่สร้างรูปร่างของวัตถุในโลกดิจิทัล
  • เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และ Internet of Things (IoT) รับผิดชอบการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกดิจิทัล รวมทั้งการอัปเดตข้อมูลใหม่ๆเข้ามาใน Digital Twin อยู่เสมอแบบ Real-time
  • เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจประกอบไปด้วยหลายเทคโนโลยี เช่น Machine Learning เพื่อทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และ Software Analytics เพื่อดูแลการทำงานของซอฟต์แวร์ในระบบ
  • เทคโนโลยีสำหรับสร้างโมเดลจำลอง เช่น Artificial Intelligence และ Spatial Graph เพื่อจำลองภาพโดยรวมของระบบและจำลองเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น
  • เทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อสารเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกัน เช่น Cloud, Edge Computing, Automation, และระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้เทคโนโลยีทั้งหมดทำงานร่วมกันได้ด้วยดี
Credit: ShutterStock.com

ตัวอย่างการใช้งานจริงของ Digital Twin ในอุตสาหกรรม

Digital Twin นั้นเป็นแนวคิดเทคโนโลยีที่มาในคลื่นเดียวกับ Industry 4.0 โดยในปี 2017 Gartner บริษัทวิเคราะห์เทคโนโลยีระดับโลกได้จัดให้ Digital Twin เป็น 1 ใน 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง และปัจจุบัน ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆก็มีการนำแนวคิด Digital Twin ไปใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆ

NASA นั้นเป็นองค์กรที่ได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจากความสามารถในการยกวัตถุเข้ามาไว้ในโลกดิจิทัลไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ที่ใด พวกเขาเริ่มจากการใช้งานเทคโนโลยีซึ่งเรียกว่า Pairing Technology ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นตระกูลของ Digital Twin มาช่วยดำเนินการในอวกาศ โดยมีผลงานสำคัญคือการกู้ภัยในภารกิจ Apollo 13 และทุกวันนี้พวกเขาใช้ประโยชน์จากการที่ Digital Twin กำจัดความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบอุปกรณ์ในสถานที่จริงมาใช้ในการเฝ้าระวังและวางแผนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ไกลถึงในอวกาศ

Chevron ก็เป็นหนึ่งบริษัทใหญ่ที่นำ Digital Twin มาใช้งาน โดยเน้นไปที่การตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ในบ่อเจาะน้ำมันและโรงกลั่นแบบ Real-time ทำนายเวลาที่ต้องซ่อมบำรุงและวางแผนเพื่อกำหนดเวลาในการซ่อมบำรุงให้น้อยที่สุดโดยไม่เบียดเบียนการดำเนินงาน โดยในปี 2024 พวกเขาวางแผนจะนำ Digital Twin เข้ามาใช้ในอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจช่วยลดต้นทุนได้หลายล้านเหรียญสหรัฐฯ

ด้านสิงคโปร์ก็ได้กลายเป็นประเทศที่มี Digital Twin ของทั้งประเทศเป็นที่แรกของโลกในปี 2018 ด้วยการจับมือกับ Dassault Systèmes ในการพัฒนาโมเดลจำลองของทั้งเมืองที่จะช่วยเฝ้าระวังภัยพิบัติ วางผังเมืองและจัดการพื้นที่ในเมือง เช่น วางแผนสร้างที่จอดรถตามจำนวนผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียง และวางแผนการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา รวมไปถึงการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

Digital Twin ในสิ่งมีชีวิต

ในทำนองเดียวกัน แนวคิดของ Digital Twin นี้สามารถปรับใช้กับสิ่งมีชีวิตและอวัยวะในร่างกายของคนเราได้ด้วย อุตสาหกรรมแรกที่หลายคนอาจนึกถึงคืออุตสาหกรรมการแพทย์ ซึ่งเมื่อจำลองร่างกายของมนุษย์ออกมาในรูปแบบ Digital Twin แล้ว แพทย์ก็จะสามารถวิเคราะห์ค่าต่างๆในร่างกาย นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลอื่นๆ และจำลองการรักษาเพื่อดูถึงผลลัพธ์ได้

นอกจากนี้ ในการจำลอง Digital Twin นั้นอาจจำลองแยกเป็นอวัยวะแต่ละส่วนไป เช่นโครงการ Blue Brain Project (BBP) ซึ่งมีเป้าหมาย ในการสร้างแบบจำลองสมองโดยละเอียดตามลักษณะทางชีววิทยาที่สามารถจำลองสถานการณ์ได้หลากหลาย โดยในเบื้องต้น BBP ได้ทำการพัฒนาสมองจำลองของสัตว์ฟันแทะ และในอนาคตจะมีการขยายผลไปพัฒนา Digital Twin ของสมองมนุษย์ต่อไป

อีกทางหนึ่งเทคโนโลยี Digital Twin ในสิ่งมีชีวิตหรือมนุษย์ก็ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในวงการบันเทิงเช่นกัน โดยในเทศกาลตรุษจีนในปี 2019 รายการโทรทัศน์ Spring Festival Gala ทางช่อง China Central Television ของจีน พิธีกรในรายการทั้ง 4 รายได้ดำเนินรายการร่วมกับ Digital Twin ของตัวเอง ซึ่งสามารถสื่อสารโต้ตอบได้อย่างเป็นธรรมชาติ และในอนาคต OBEN ผู้พัฒนาโซลูชันนี้ก็หวังว่าจะสามารถนำ Digital Twin ไปใช้จำลองมนุษย์ในอาชีพอื่นๆ เช่น ครู และแพทย์

Credit: ShutterStock.com

อนาคตของ Digital Twin

นับตั้งแต่แนวคิด Digital Twin เริ่มได้รับความสนใจ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องนั้นมีต้นทุนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และความพร้อมในการเปิดรับเทคโนโลยีของธุรกิจต่างๆก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ด้วยแนวโน้มดังกล่าว จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตเราจะได้เห็น Digital Twin ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายในธุรกิจต่างๆ มีการประยุกต์สร้างคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆ และอาจเข้าถึงได้ในระดับที่ผู้บริโภคเริ่มนำมาใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น Digital Twin ของรถยนต์ หรือระบบเครือข่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเลยทีเดียว

ความสามารถในการเฝ้าระวังสถานะ วิเคราะห์ข้อมูล และจำลองเหตุการณ์ของ Digital Twin นั้นเปรียบเสมือนการอัพเกรดการวิเคราะห์ข้อมูลไปอีกขั้น ที่จะช่วยให้ธุรกิจ หน่วยงาน และบุคคลทั่วไปที่ได้งานมีภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในการตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยข้อมูล ทำให้การตัดสินใจนั้นแม่นยำและชาญฉลาดยิ่งขึ้น Digital Twin มีประโยชน์หลากหลายและสามารถนำไปใช้ได้กับงานหลายรูปแบบ เป็นที่น่าติดตามต่อไปว่าเมื่อมีการใช้ Digital Twin อย่างแพร่หลายขึ้นแล้ว จะมีการต่อยอดการใช้งานอย่างไรต่อไปบ้าง

Sources

from:https://www.techtalkthai.com/introduction-to-digital-twin-by-cat-datacom/

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาฟรี SIEMENS Simcenter for Electronics Workshop 30 พ.ค. 2019

SIEMENS ขอเชิญเหล่าวิศวกรผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ภายในโรงงานทุกกประเภท รวมถึงผู้ดูแลด้านระบบ Software สำหรับใช้งานภายในโรงงาน เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี “SIEMENS Simcenter for Electronics Workshop” เพื่อเรียนรู้และทดลองใช้งาน SIEMENS Simcenter สำหรับการนำไปใช้สร้างโมเดลออกแบบผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถจำลองการทดสอบได้ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงทำความรู้จักกับแนวคิด Digital Twin ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2019 โดยมีรายละเอียด กำหนดการ และวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานดังต่อไปนี้

SIEMENS Simcenter for Electronics Workshop

วันที่ 30 พฤษภาคม 2019
เวลา 8.30 – 17.00
สถานที่ Marriott Hotel Sukhumvit 57

ก้าวสู่โลกของ Digital Twin ในงานสัมมนาฟรี SIEMENS Simcenter for Electronics Workshop เพื่อเรียนรู้การใช้งานโซลูชันด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ จาก SIEMENS ให้คุณสามารถทำการออกแบบได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทำนายผลลัพธ์การออกแบบและการใช้งานได้ล่วงหน้า ช่วยให้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่คุณทำการออกแบบนั้นมีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น ลดต้นทุนให้ต่ำลง และสามารถทราบถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการออกแบบได้ล่วงหน้า

ในสัมมนาครั้งนี้จะเป็นรูปแบบของ Workshop เต็มวัน ที่จะนำเสนอโซลูชันอันหลากหลายของ SIEMENS ในการออกแบบและทดสอบด้าน Thermal Engineering, Mechanical Engineering ไปจนถึง Multiphysics พร้อมแนวคิด Digital Twin ก้าวสู่โลกของการทำ Digital Transformation อย่างเต็มตัว

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีทันที

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://www.powerplusfb.com/home/siemens-simcenter-for-electronics-workshop/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Siemens-simcenter@powerplus.co.th หรือโทร 02-157-9550

from:https://www.techtalkthai.com/siemens-simcenter-for-electronics-workshop-2019-invitation/

Gartner เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีประจำปี 2019: Blockchain, Quantum, Augmented Things, AI

Gartner ได้ออกมาเผยถึง 10 เทรนด์ทางด้านเทคโนโลยีประจำปี 2019 ในงาน Gartner Symposium/ITxpt ที่จัดขึ้นในเมือง Orlando เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปเนื้อหาเอาไว้เป็นภาษาไทยดังนี้

 

Credit: ShutterStock.com

 

1. Autonomous Things

หุ่นยนต์, Drone และรถยนต์ไร้คนขับจะเริ่มนำ AI ไปใช้เพื่อให้สามารถทำในสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์เคยต้องทำด้วยตนเองได้มากขึ้น เปลี่ยนจากการใช้ Rigid Programming มาใช้ AI แทน เช่น หาก Drone บินสำรวจในฟาร์มแล้วพบว่าพืชผลในนั้นพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวแล้ว Drone ก็จะส่งสัญญาณไปยังหุ่นยนต์เก็บเกี่ยวหรือรถเก็บเกี่ยวให้ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ มีความเป็นโซลูชันมากขึ้น เป็นต้น

 

2. Augmented Analytics

หัวใจของการทำ Augmented Analytics หรือการทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Automated Analytics หรือ Automated Machine Learning นั้นจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจได้มีองค์ความรู้ในแง่มุมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้เกิดกลุ่ม Citizen Data Scientist มากขึ้นไปด้วย โดย Gartner ได้ทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 จะมีกลุ่ม Citizen Data Scientist เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

 

3. AI-Driven Development

แนวโน้มเดิมที่ Data Scientist เคยต้องทำงานร่วมกับ Software Developer เพื่อพัฒนาโซลูชันที่นำ AI เข้าไปเสริมนั้นจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่จะทำให้เหล่า Software Developer สามารถนำ AI ไปเสริมใน Application ของตนได้นั้นจะมีหลากหลายและใช้งานง่ายมากขึ้น ทำให้การนำ AI ไปใช้งานจริงนั้นจะมีความแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และ AI เองก็จะเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการต่างๆ เช่น การพัฒนา Software หรือระหว่างกระบวนการทำงานของ Data Scientist มากขึ้นด้วย โดย Gartner ทำนายว่าภายในปี 2020 นั้น ใน 40% ของการพัฒนา Software จะต้องมี AI Co-developer เข้าไปร่วมงานด้วย

 

4. Digital Twins

Digital Twin หรือการนำข้อมูลจากวัถตุหรือระบบในโลกจริงไปนำเสนอแบบครบถ้วนทุกมิติในโลก Digital นั้นจะได้รับความนิยมมากขึ้น และ Gartner ก็ได้ทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 อุปกรณ์ Connected Device กว่า 20,000 ล้านชิ้นทั่วโลกจะมีตัวตนแบบ Digital Twin ควบคู่ไปด้วย

 

5. Empowered Edge

การทำ Edge Computing หรือการย้ายระบบจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลไปไว้ใกล้ๆ กับ Sensor หรือ Endpoint ให้มากขึ้นและทำงานต่างๆ ได้ก่อนส่งข้อมูลขึ้น Cloud นั้นจะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยภายใน 5 ปีนับถัดจากนี้ เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทตรงนี้เป็นอย่างมากก็คือชิปประมวลผลสำหรับงานทางด้าน AI โดยเฉพาะ และระบบโครงข่าย 5G

 

6. Immersive Experience

เทคโนโลยี Conversational Platform ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อหรือควบคุมระบบต่างๆ ได้ด้วยภาษามนุษย์ผ่านทาง Chat หรือการพูดนั้น จะถูกนำมาผสานรวมเข้ากับ Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) ทำให้เกิดวิธีการสื่อสารและโต้ตอบรูปแบบใหม่ระหว่างผู้ใช้งานกับเทคโนโลยีขึ้น

 

7. Blockchain

Gartner ระบุว่าการใช้งาน Blockchain ในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ดึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีออกมาใช้อย่างเต็มที่ โดยนอกเหนือจากการนำ Blockchain มาใช้เพื่อทำการแปลงกระบวนการทางธุรกิจให้มีความเป็นอัตโนมัติ หรือบันทึกสิ่งต่างๆ อย่างน่าเชื่อถือในรูปแบบ Digital แล้ว การนำ Blockchain มาใช้เพื่อแบ่งปันข้อมูล. ติดตามวัตถุสิ่งของ และสร้าง Digital Twin รวมถึงการลดปัญหา Vendor Lock-In ก็จะเกิดมามากขึ้นในอนาคค

 

8. Smart Spaces

พื้นที่อัจฉริยะที่เกิดขึ้นจากการผสานผู้คน, กระบวนการ, บริการ และสิ่งของอัจฉริยะจะเกิดมากขึ้นทั้งในโลกจริงและในโลก Digital เพื่อสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ๆ ทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน ต่อยอดจากเทคโนโลยี Smart City, Digital Workplace, Smart Home และ Connected Factory ขึ้นไปอีกขั้น ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเรามากขึ้นไปด้วย

 

9. Digital Ethics and Privacy

ประเด็นด้านจริยธรรมและความเป็นส่วนตัวนั้นได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับบุคคล, องค์กร และภาครัฐ ซึ่งผู้คนนั้นก็ให้ความสำคัญกับการที่เหล่าองค์กรและภาครัฐจะนำข้อมูลของตนเองไปใช้ ในขณะที่องค์กรและภาครัฐเองก็ต้องออกมาดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อป้องกันกรณีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่รอให้เกิดขึ้นแล้วมาตามแก้ไขภายหลัง ดังนั้นข้อตกลงในประเด็นด้านจริยธรรมในการใช้งานข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานนั้นจึงจะถูกยกระดับขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำในฐานะสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกบังคับให้ต้องทำ

 

10. Quantum Computing

การนำ Quantum Computing มาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมเริ่มมีความเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมา และเหล่า CIO หรือผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรเองก็ต้องเริ่มทำความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีและมองหาวิธีการนำ Quantum Computing มาใช้งานกันมากขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อเทคโนโลยีพร้อมแล้วจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดย Gartner คาดว่า Quantum Computing นั้นจะเริ่มใช้งานได้อย่างแพร่หลายภายในปี 2023 ถึง 2025

 

สำหรับรายงานฉบับเต็มสามารถศึกษาได้ที่ https://www.gartner.com/user/registration/prospect?resId=3891569 ส่วนวิดีโอบทวิเคราะห์สามารถดูได้ด้านล่างนี้ครับ

 

ที่มา: https://www.gartner.com/en/newsroom/press-releases/2018-10-15-gartner-identifies-the-top-10-strategic-technology-trends-for-2019

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-10-technology-trends-for-2019/

การใช้ IoT เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้องค์กร

ทุกวันนี้เราอาจจะมองว่าอุปกรณ์ IoT เป็นช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยเสียมากกว่าแต่อย่างไรก็ตามมีความเห็นต่างจาก นาย Tim Lang หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและประธานอวุโสจาก MicroStrategy บริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้าน BI และ Data Analytics ได้มีความเห็นว่าอุปกรณ์ IoT สำหรับการใช้ในองค์กร (Enterprise IoT) จะสามารถนำไปใช้เพื่อติดตามและป้องกันก่อนจะเกิดเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลได้

Credit: ShutterStock.com

มีการคาดการณ์จาก McKinsey  อ้างถึงว่า 10 ปีข้างหน้า 70% ของคุณค่าที่เกิดจาก IoT จะเกิดจากใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันประเภท Business-to-Business (B2B) โดยสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ IoT ในด้านความมั่นคงปลอดภัยได้ เช่น ลดความเสี่ยงความมั่นคงปลอดภัยภายใน

Lang กล่าวว่า “IoT สามารถนำไปใช้ ติดตามบุคคล หรือ การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าในระบบที่ลับสุดยอดโดยข้อมูลนี้มีคุณค่ามากกับทีมงานเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของฐานข้อมูล” ซึ่ง EIoT นี้ให้ผลดีกว่าการใช้เพียงแค่รหัสผ่านแบบเดิมๆ ที่ต้องคอยอัปเดตและเสี่ยงต่อการสูญหายและรั่วไหลอีกด้วย นอกจากนี้  Lang ยังเสริมว่า “ในโลกทุกวันนี้องค์กรไม่สามารถรอตั้งรับเพียงอย่างเดียวแต่ต้องรุกกลับไปบ้าง นอกจากนี้การใช้ EIoT จะช่วยให้องค์กรสามารถลดภัยคุกคามก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เช่น หากได้รับข้อมูลแจ้งเตือนถึงกิจกรรมในระบบที่เกิดขึ้นนอกองค์กร คุณจะสามารถเห็นได้ทันทีว่าบุคคลนั้นเป็นใครและทำอะไรอยู่ เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป

การใช้งาน EIoT เช่น การนำเซนเซอร์และตัวเชื่อมต่อไปติดที่อุปกรณ์ต่างๆ นำมาสู่คอนเซปต์ที่เรียกว่า ‘Digital Twins’ หมายถึงตัวแทนของอุปกรณ์จริงในโลกเสมือน ซึ่งทาง MicroStrategy ได้ประยุกต์ใช้งานคอนเซปต์นี้กับคนทั่วไปจนเกิดเป็น ‘Digital Badge’ หรือที่เรียกว่า Usher คือพนักงานพกเซนเซอร์เพื่อติดตามตัวได้โดย Digital Badge ถูกใช้เพื่อยืนยันตัวตนกับระบบ ว่าพนักงานเดินไปที่ไหนทำอะไรอยู่แบบ Real Time ซึ่งข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงปลอดภัยรวมถึงการวิเคราะห์อื่นๆ เช่น นายจ้างสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของลูกจ้างและกิจกรรมที่ทำ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจได้

ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3243687/internet-of-things/can-iot-help-make-the-enterprise-more-secure.html

from:https://www.techtalkthai.com/%e0%b9%89how-to-use-iot-increse-security-for-enterprise/

Gartner เผย 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2018 สำหรับเหล่าองค์กร

ทุกๆ ปี Gartner จะออกมาสรุปเทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับเหล่าองค์กร และในครั้งนี้ Gartner ก็ได้ออกมาสรุปถึง 10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2018 กันแล้วทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปมาให้อ่านกันดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com

 

1. AI Foundation

คงปฏิเสธไม่ได้กับความร้อนแรงของ AI ในยามนี้ โดย Gartner ชี้ว่า AI ที่สามารถเรียนรู้, โต้ตอบ และปรับตัวได้โดยนอัตโนมัตินี้จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้แข่งขันกันระหว่างเหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีภายในปี 2020 ในขณะที่การใช้ AI เพื่อช่วยเสริมการตัดสินใจ, การปรับปรุงรูปแบบการทำธุรกิจ และการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้านั้นจะยังคงกลายเป็นประเด็นหลักที่เหล่าองค์กรให้ความสำคัญต่อไปจนถึงปี 2025

ด้วยเหตุนี้ การลงทุนด้าน AI ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร, เครื่องมือ หรือระบบที่เกี่ยวข้องอย่างเช่นการจัดการข้อมูลนั้นก็จะยังคงเติบโต่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสิ่งที่เหล่าองค์กรจะขาดไปไม่ได้แล้วสำหรับการแข่งขันในอนาคต

 

2. Intelligent Apps and Analytics

Application ในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้จะมีการใช้งาน AI หรือ Machine Learning อยู่ภายในแทบทั้งหมด โดยที่บางครั้งผู้ใช้งานอาจไม่รู้ตัวว่า AI นั้นทำงานอยู่ในส่วนใดของระบบก็เป็นได้ ซึ่งการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และ AI นี้ก็จะทำให้รูปแบบของการทำงานและสถานที่ทำงานในอนาคตเปลี่ยนไป โดย AI จะไม่ได้มาแทนมนุษย์ แต่จะมาช่วยให้มนุษย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในอนาคต การแข่งขันในตลาด Software และ Service โดยเฉพาะ ERP นั้นจะกลายเป็นการมุ่งเน้นไปที่เรื่องของ AI เป็นหลักว่า AI จะมาช่วยให้การทำงานหรือประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีขึ้นได้อย่างไรแทน

 

3. Intelligent Things

สิ่งของต่างๆ ที่เคยเป็น Internet of Things (IoT) ในปัจจุบันจะวิวัฒนาการกลายไปเป็น Intelligent Things ที่ไม่ได้ทำงานตามคำสั่งของโค้ดที่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงการทำงานไปตาม AI ที่ใช้และข้อมูลที่ได้เรียนรู้แทน เช่น รถยนต์ไร้คนขับ, หุ่นยนต์, Drone และทำให้ขีดความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ สูงขึ้นอย่างชัดเจน

อุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัตินี้จะใช้แรงงานคนน้อยลง และในอีก 5 ปีถัดจากนี้ เราก็จะเห็นระบบที่ยังคงใช้มนุษย์ทำงานร่วมกับ AI เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก แต่ในฉากหลังนั้นเหล่าผู้ผลิตนั้นต่างจะซุ่มพัฒนาระบบที่ไม่ต้องใช้คนเพื่อเตรียมแข่งขันกัน และประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากเทคโนโลยีอย่าเงช่นกฎหมายก็จะต้องถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับโลกแห่งอนาคตนี้

 

4. Digital Twin

ทรัพย์สินต่างๆ ในโลกจริงขององค์กรนั้นจะถูกสร้างข้อมูลขึ้นมากลายเป็นทรัพย์สินเสมือนในโลก Digital มากขึ้นเรื่อย เพื่อให้เหล่าองค์กรได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปทำการวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจได้ในแบบ Real-time และทำการตอบโต้ต่อทุกสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

Digital Twin จะช่วยให้การนำ AI มาใช้ผสานและการทำ Simulation มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น การวางแผนในภาพใหญ่นั้นจะสามารถเจาะลึกลงรายละเอียดได้ดีขึ้นในทุกๆ ธุรกิจ และส่งประโยชน์ต่อธุรกิจ องค์กร หรือประเทศชาติได้ในระยะยาว

 

5. Cloud to the Edge

Edge Computing จะกลายเป็นส่วนต่อขยายจากระบบ Cloud อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยการย้ายการประมวลผลไปใกล้แหล่งข้อมูลมากขึ้นก็ทำให้ Latency ต่ำลง, Bandwidth ที่ต้องใช้น้อยลง และการโต้ตอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ สามารถทำได้แบบกระจายตัว องค์กรจึงควรเริ่มออกแบบ Infrastructure ให้รองรับต่อสถาปัตยกรรมแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้งาน IoT

ในอนาคต Edge Computing จะผสานรวมกับ Cloud อย่างแนบเนียนยิ่งขึ้นและแบ่งหน้าที่การทำงานกันได้เป็นอย่างดี โดย Cloud นั้นจะรับบทบาทของระบบแบบ Service-oriented Model ที่บริหารจัดการได้จากศูนย์กลาง และทำหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างระบบต่างๆ ในขณะที่ Edge Computing จะทำงานแบบ Delivery Style ที่ช่วยให้ระบบต่างๆ ซึ่งกระจายตัวอยู่นั้นทำงานได้ตามที่ Cloud สั่งการ

 

6. Conversational Platforms

Conversational Platforms จะเป็นสิ่งใหญ่ที่มาเปลี่ยนวิธีการใช้งานเทคโนโลยีและการเข้าถึงข้อมูลของมนุษย์ในอนาคต การแปลภาษานั้นจะกลายเป็นงานของคอมพิวเตอร์แทนมนุษย์ โดยระบบต่างๆ จะรับคำถามหรือคำสั่งจากผู้ใช้งานโดยตรง และแปลงเป็นชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานโดยอัตโนมัติแทน โดยหากขาด Input ใดๆ ไประบบก็จะทำการถามกลับมายังมนุษย์ได้เอง ในอนาคตอันใกล้นี้ Gartner ทำนายเอาไว้ว่าระบบ Conversational Interface จะกลายเป็นช่องทางหลักที่ผู้ใช้งานเลือกใช้ และต้องมี Hardware เฉพาะ, ระบบปฏิบัติการเฉพาะ, Platform เฉพาะ ไปจนถึง Application เฉพาะมารองรับ

 

7. Immersive Experience

ท่ามกลางโลก Digital นี้ เทคโนโลยี Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) จะกลายมาเป็นช่องทางในการแสดงผลข้อมูลและเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ผู้คนรับรู้สิ่งต่างๆ ในโลกของ Digital แทน โดยปัจจุบันนี้เริ่มมี Application ที่หลากหลายมาให้เลือกใช้งานนอกเหนือจาก Application เพื่อความบันเทิงกันแล้ว และต่อไปเทคโนโลยี AR และ VR เหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นเทคโนโลยีที่พนักงานสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสะท้อนความคุ้มค่าสู่องค์กรได้

ส่วน MR นั้นจะมาสร้างโลกที่ผสานระหว่างโลกเสมือนและโลกจริงเข้าด้วยกัน เป็นก้าวถัดไปจาก AR และ VR และทำให้การโต้ตอบกับโลก Digital และข้อมูลต่างๆ เปลี่ยนแปลงต่อไปอีกในอนาคต

 

8. Blockchain

Blockchain จะเริ่มถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมธุรกิจอื่นๆ นอกจากภาคการเงินมากขึ้น และเกิด Application ที่หลากหลายรูปแบบขึ้นมา อย่างไรก็ดีถึงแม้ Blockchain นี้จะมาเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างแน่นอน แต่ก็อาจต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีเพื่อให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องนั้นมีความเข้มแข็งมั่นคงขึ้นมาเสียก่อน

 

9. Event Driven

Digital Business ในอนาคตนั้นจะเปลี่ยนแปลงการทำงานไปเป็นแบบ Event Driven ที่ธุรกิจจะตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการทำงานเป็นหลัก ด้วยการรับข้อมูลจากเทคโนโลยีที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Event Broker, IoT, Cloud, Blockchain, In-memory Data Management และ AI ทำให้การตรวจพบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจสามารถทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และปรับตัวโต้ตอบตามได้เร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย

แต่การจะก้าวสู่การทำธุรกิจแบบ Event Driven ได้นี้ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ และฝ่าย IT เองก็ต้องมีระบบที่เอื้อต่อธุรกิจให้รับมือกับการทำ Event Driven ให้ได้ด้วย

 

10. Continuous Adaptive Risk and Trust

ประเด็นด้าน Security เองก็ยังสำคัญ และเหล่าองค์กรเองก็ต้องนำหลักการของ Continuous Adaptive Risk and Trust Assessment (CARTA) ไปใช้เพื่อรับมือและโต้ตอบกับภัยคุยคามและการโจมตีรูปแบบต่างๆ ให้ได้ในแบบ Real-time มากยิ่งขึ้น โดย Security Infrastructure นั้นจะต้องเอื้อให้เกิดการปรับตัวได้ในทุกๆ สถานการณ์ และเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วตามภาคธุรกิจให้ทัน

องค์นั้นต้องหลอมรวมทีมพัฒนา Application และทีม Security เข้าด้วยกันให้ได้ เพื่อก้าวจากการทำ DevOps ในปัจจุบันไปสู่การทำ DevSecOps ตามหลักของว CARTA ในขณะที่เทคโนโลยี Virtualization และ SDN นั้นก็จะส่งผลให้การสร้างระบบ Adaptive Honeypots เป็นจริงขึ้นมาได้ง่าย และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญอัีนหนึ่งในการตรวจจับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นภายในระบบเครือข่ายขององค์กร

 

ลูกค้าของ Gartner สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.gartner.com/technology/research/top-10-technology-trends/ ครับ

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3812063

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-reveals-10-enterprise-technology-trends-for-2018/