คลังเก็บป้ายกำกับ: SOFTWARE_AS_A_SERVICE

Salesforce เตรียมปลดพนักงานลง 10% คาดว่าอาจจะกระทบมากกว่า 7,000 คน

Salesforce ประกาศเมื่อวันพุธ ในจดหมายถึงพนักงานจากซีอีโอร่วมอย่าง Marc Benioff ว่า ได้เตรียมลดคน 10% ของพนักงานทั้งหมด (พนักงานทั้งหมดกว่า 79,000 คน) และลดพื้นที่สำนักงานตัวเองลงในฐานะส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างองค์กร

พร้อมเหตุผลว่าลูกค้ากำลัง “พิจารณามากขึ้น” เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ท้าทายแบบนี้ ซึ่งการเลือกจะเลย์ออฟพนักงานครั้งนี้ถือเป็น “การตัดสินใจที่ยากลำบากมาก” สำหรับ Salesforce

เขาระบุในจดหมายว่า “ผมนั่งคิดมาตลอดว่าทำไมเราถึงมาจุดนี้ได้ ทั้งๆ ที่รายรับของเราเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด แต่เราก็จ้างพนักงานมากเกินไปจนได้รับผลกระทบจากช่วงเศรษฐกิจถดถอยตอนนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของผมด้วย”

ทั้งนี้บริษัทจะบันทึกรายจ่ายประมาณ 1 – 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการเชิญพนักงานออก และกว่า 450 – 650 ล้านดอลลาร์ฯ สำหรับการลดพื้นที่สำนักงาน ซึ่งหลังประกาศดังกล่าวหุ้นของ Salesforce ก็ดีดขึ้นมากว่า 3%

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/salesforce-is-cutting-10-of-its-personnel-more-than-7000-employees/

IBM ประกาศเพิ่มซอฟต์แวร์ 4 รายการลงบน AWS Marketplace

IBM ประกาศเพิ่มซอฟต์แวร์ 4 รายการลงบน AWS Marketplace ได้แก่ IBM Envizi ESG Suite, IBM Planning Analytics with Watson, IBM Content Services และ IBM App Connect Enterprise

IBM ได้มีการประกาศเป็นพันธมิตรกับ AWS ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาโดยจะทยอยเพิ่มซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการลูกค้าในลักษณะ Software as a Service มากขึ้น ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ของ IBM มากกว่า 50 ตัวให้บริการอยู่บน AWS ล่าสุด IBM ได้ประกาศเพิ่มซอฟต์แวร์อีก 4 รายการลงบน AWS Marketplace ได้แก่

  1. IBM Envizi ESG ซอฟต์แวร์ช่วยในการวัดระดับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด Environmental, Social และ Governance (ESG) สามารถเก็บข้อมูล Data Type ได้มากกว่า 500 รูปแบบ พร้อมทำการวิเคราะห์และทำการแสดงผลผ่านทาง Dashboard ได้
  2. Planning Analytics with Watson ซอฟต์แวร์ Business Planning ช่วยในการติดตามตัวชี้วัดทางธุรกิจที่สำคัญ เช่น รายได้ หรือ คาดการณ์รายได้
  3. IBM Content Services เครื่องมือในการจัดการไฟล์ข้อมูลทางธุรกิจ โดยสามารถจัดเก็บไฟล์ได้แบบศูนย์กลาง พร้อมระบบ Data Governance ช่วยกำหนดสิทธิการเข้าถึงและใช้งานข้อมูล
  4. IBM App Connect Enterprise เครื่องมือช่วยในการเชื่อมต่อแอพพลิเคชัน Cloud Native หลายตัวเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

นอกจากนี้ IBM ยังเปิดตัว IBM Z และ Cloud Modernization Stack บน AWS Makertplace อีกด้วยโดยเป็นการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการย้ายระบบ Mainframe ขึ้นไปทำงานบน Cloud และยังมีการเปิดตัวบริการ IBM Consulting Platform Services on AWS สำหรับช่วยเหลือองค์กรในการบริหารจัดการ Cloud Application

ที่มา: https://siliconangle.com/2022/11/30/ibm-makes-software-products-available-via-aws-marketplace/

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-adds-4-more-software-as-a-services-on-aws-marketplace/

ปี 2022 คาดว่าจะมีเงินสะพัดในตลาดไอทีทั่วโลก 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

วงการ shopping เข้าแล้วออกยาก ยุคนี้การสั่งซื้อสิ้นค้าออนไลน์แพร่กระจายตัวเร็วยิ่งกว่าคลัสเตอร์เชื้อไวรัส COVID-19 วิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสส่งผลกระทบไปทั่วโลก ดาราตกงาน อุตสาหกรรมหยุดชะงัก และเกือบทุกธุรกิจต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน Work from Home ทุกการปรับตัวในวิถีชีวิตแบบ New Normal ต่างมองหาตัวช่วยเข้ามาอำนวยความสะดวกและความคล่องตัว เพื่อให้ระบบงานสามารถเดินหน้าต่อไปได้ IT Solution จึงเริ่มขยับตัวเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะ Cloud Service และ Enterprise Software เป็นสินค้าไอทีที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ลงตัวที่สุด และคาดว่าปี 2022 จะมีเม็ดเงินการสั่งซื้อหมุนเวียนในตลาดไอทีระดับองค์กรมากขึ้น
 

Gartner บริษัทวิจัย คาดการณ์ว่าในปี 2022 ทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายในตลาดไอทีสูงถึงเกือบ 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในกลุ่มสินค้า Enterprise Software, IT Service and Data Center ซึ่งตัวเลขนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติของปี 2021 จะเพิ่มขึ้นถึง 5.1% และตัวเลขของกลุ่มสินค้าที่น่าจะเติบโตขึ้นมากที่สุด คือ Enterprise Software คาดว่าจะสามารถเพิ่มขึ้นถึง 11% ในจำนวน 672 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Gartner ได้จัดหมวดหมู่กลุ่มสินค้าในการวิจัย ได้รวมตลาด Cloud มาไว้ในกลุ่มเดียวกับตลาด Enterprise Software จึงทำให้ตัวเลขดูว่ามีการเติบโตมากขึ้น       
 
ในปี 2020 เป็นครั้งแรกที่ระบบ Cloud มีขนาดตลาดใหญ่กว่าระบบเดิมที่เป็นแบบ Non-Cloud และก็มีการเติบโตขึ้นมาตลอดทุกปี ซึ่งคาดว่าภายในปี 2025 การใช้บริการระบบ Cloud จะกินพื้นที่ในตลาดมากกว่า 2 เท่า ของตลาด Non-Cloud เห็นได้จากในปี 2022 ระบบการให้บริการ Cloud มีส่วนร่วมในการทำให้ยอดขายเกือบทั้งหมดของสินค้ากลุ่ม Enterprise Software เติบโตขึ้น เนื่องจากระดับองค์กรต่างให้ความสำคัญกับ software-as-a-service (SaaS) มากกว่าเดิม
  • Data Center System เป็นกลุ่มตลาดที่มีเม็ดเงินการใช้จ่ายน้อยสุด ที่จำนวน 226 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่กลับเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมามากถึง 4.7%
  • Communications Services เป็นกลุ่มตลาดที่มีเม็ดเงินมากที่สุดถึง 1.46 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่การเติบโตจากปีที่ผ่านมากลับมีตัวเลขเพียงแค่ 1.3% เท่านั้น
  • Managed and Consultancy IT Services เป็นตลาดด้านการให้คำปรึกษาด้านไอที มีเม็ดเงินการจับจ่ายใช้สอยมาเป็นอันดับที่ 2 คาดว่าในปี 2022 จะเติบโตขึ้น 1.28 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7.9% ถือว่าเป็นตัวเลขที่โตที่สุดของตลาดไอที 
จากตัวเลขเปอร์เซ็นต์การเติบโตในเม็ดเงินที่สะพัดในตลาดวงการไอที ตลาดด้านการให้คำปรึกษาและการจัดการด้านไอที มีตัวเลขการเติบโตสูงที่สุด มากถึง 7.9% อาจจะสืบเนื่องมาจากแต่ละองค์กรเจอกับผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ต้องมีแผนการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ให้สามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบ New Normal ให้เร็วที่สุด จึงจำเป็นต้องอาศัยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมากขึ้น เพื่อช่วยให้แนวทางการนำธุรกิจขึ้นไปดำเนินการบนระบบ Cloud ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และนั่นคือ บทบาทหน้าที่สำคัญของตำแหน่งงาน CIO : Chief Information officer ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ร่วมกับที่ปรึกษาภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-it-spending-2022/

AWS ประกาศ Open Source ให้กับ AWS SaaS Boost แล้ว

AWS ประกาศ Open Source ให้กับ AWS SaaS Boost เครื่องมือช่วยในการย้ายซอฟต์แวรไปยัง AWS Cloud แบบ Software-as-a-Service (SaaS) แล้ว
Credit: AWS

 
AWS SaaS Boost เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน re:Invent เมื่อปีที่แล้ว โดยเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในนักพัฒนาสามารถย้ายซอฟต์แวร์ของตนเองขึ้นไปทำงานบน AWS Cloud ในรูปแบบ Software-as-a-Service (SaaS) ได้อย่างง่ายดาย ช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ลงได้ มีความสามารถเชื่อมต่อกับบริการต่างๆที่อยู่บน AWS ได้ เช่น AWS CloudFormation, AWS Identity and Access Management (IAM), Amazon Route 53, Elastic Load Balancing, AWS Lambda และ Amazon Elastic Container Service
 
ในครั้งนี้ AWS ได้ประกาศ Open Source ภายใต้ Apache 2.0 เป็นที่เรียบร้อย โดยคาดว่าจะช่วยสร้าง Community เพื่อให้นักพัฒนาสามารถเข้ามาช่วยปรับปรุงโค้ดต่างๆ และเพิ่มความสามารถของเครื่องมือตัวนี้ได้มากขึ้น
 

from:https://www.techtalkthai.com/aws-%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8-open-source-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-aws-saas-boost-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%a7/

[Guest Post] การ์ทเนอร์คาดมูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ทั่วโลกปี 64 โตพุ่ง 23%

เผยเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่สร้างกระแสการใช้งานเป็นปัจจัยผลักดันการใช้จ่ายคลาวด์

นายซิด นาณ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์

 

การ์ทเนอร์ อิงค์คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ทั่วโลกในปีนี้โตขึ้น 23.1% คิดเป็นมูลค่าถึง 332.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 270 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่แล้ว

นายซิด นาณ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เหตุการณ์ในปีที่แล้วทำให้ซีอีโอสามารถเอาชนะความไม่มั่นใจในการย้ายภารกิจสำคัญ ๆ จากการเก็บข้อมูลภายในองค์กรไปไว้บนระบบคลาวด์ถึงแม้ไม่มีสถานการณ์การแพร่ระบาด ความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ก็ลดลงอยู่ดี”

เทคโนโลยีเกิดใหม่ อาทิ  Containerization, Virtualization และ Edge Computing จะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายและช่วยขับเคลื่อนมูลค่าการใช้จ่ายคลาวด์ให้เติบโตมากขึ้น หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การแพร่ระบาดกระตุ้นให้ซีไอโอหันมาใส่ใจบริการคลาวด์อย่างจริงจังนั่นเอง”

แม้มีความท้าทายด้านเศรษฐกิจระดับมหภาค แต่การให้บริการคลาวด์สาธารณะกลับกำลังเบ่งบานอย่างมาก โดยเฉพาะ Software as a Service (SaaS) ยังเป็นกลุ่มตลาดใหญ่ที่สุด คาดว่าในปี 2564 จะมีมูลค่าสูงถึง 122.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความต้องการแอพพลิเคชั่นแบบผสมผสานนั้นต้องใช้ประสบการณ์ SaaS รูปแบบต่าง ๆ มาประกอบ (ดูตารางที่ 1) ในปี 2564 ตลาด Infrastructure-as-a-Service (IaaS) และตลาด Desktop-as-a-Service (DaaS) จะเติบโตสูงสุดที่ 38.5% และ 67.7% ตามลำดับ เนื่องจากซีไอโอต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องในการปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับปริมาณงานที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไปสู่ระบบคลาวด์ รวมถึงความต้องการของทีมงานในการทำงานแบบไฮบริด

 

ตารางที่ 1 คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้งานทั่วโลก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

 

2563

2564

2565

Cloud Business Process Services (BPaaS)

46,131

50,165

53,121

Cloud Application Infrastructure Services (PaaS)

46,335

59,451

71,525

Cloud Application Services (SaaS)

102,798

122,633

145,377

Cloud Management and Security Services

14,323

16,029

18,006

Cloud System Infrastructure Services (IaaS)

59,225

82,023

106,800

Desktop as a Service (DaaS)

1,220

2,046

2,667

มูลค่ารวมทั้งตลาด

270,033

332,349

397,496

BPaaS = business process as a service; IaaS = infrastructure as a service; PaaS = platform as a service; SaaS = software as a service
หมายเหตุ: ผลรวมอาจไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการปัดเศษ   ที่มา: การ์ทเนอร์ (เมษายน 2564)

 

ขณะที่หลายองค์กรทั่วโลกต่างระดมสรรพกำลังครั้งใหญ่เพื่อผลิตและแจกจ่ายการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้ทั่วถึง แอปพลิเคชันที่พัฒนาบนแพลตฟอร์ม SaaS เอื้อให้เราได้ทำงานที่มีความจำเป็นในรูปแบบใหม่ อาทิ ระบบอัตโนมัติและห่วงโซอุปทานที่กลายเป็นภารกิจสำคัญ แอปพลิเคชันต่าง ๆ ดังกล่าวแสดงถึงความน่าเชื่อถือของการปรับการบริหารจัดการวัคซีนที่ช่วยให้ซีไอโอตรวจสอบความถูกต้องเมื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์

“สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าการใช้งานและการนำระบบคลาวด์มาใช้ในองค์กรต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเกิดวิกฤตอยู่นั้นจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ การใช้งานจะวิวัฒน์ไปอีกขั้นจากการให้บริการตามรูปแบบการใช้งาน เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานและการสับเปลี่ยนแอปพลิเคชันไปสู่การผสานรวมระบบคลาวด์เข้ากับเทคโนโลยีจำพวก ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ (Internet of Things) เครือข่าย 5G และอื่น ๆ” นาย นาณ กล่าวเพิ่มเติมว่า

“ซึ่งคลาวด์ยังทำหน้าที่ผสานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมายที่ซีไอโอต้องการใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อผลักดันให้องค์กรเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปสู่ศตวรรษหน้าเมื่อผู้บริหารไอทีตระหนักถึงงานที่มีความซับซ้อนและงานในรูปแบบใหม่ ๆ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพลิกโฉมตลาด”

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรายงาน “Forecast: Public Cloud Services, Worldwide, 2019-2025, 1Q21 Update.” 

 

งานสัมมนาการเติบโตทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของการ์ทเนอร์ 

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์จะนำเสนอบทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกระตุ้นการเติบโตของผู้ให้บริการเทคโนโลยี รวมถึงการผลักดันนวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ในงาน Gartner Tech Growth & Innovation Conference 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 20-21 กรกฎาคม ศกนี้ ในทวีปอเมริกา ติดตามข่าวสารและอัปเดตจากการประชุมทาง Twitter โดยใช้ #GartnerTGI

 

เกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของการ์ทเนอร์

แนวทางการปฏิบัติด้านไอทีของการ์ทเนอร์ช่วยให้ซีไอโอและผู้นำด้านไอทีมีข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือต่าง ๆ ในการช่วยขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ คลิกชมข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.gartner.com/en/information-technology ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจากแนวปฏิบัติด้านไอทีของ Gartner บน Twitter และ LinkedIn ได้ที่ #GartnerIT

 

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต 

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด  การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-gartner-forecasts-worldwide-public-cloud-end-user-spending-grow-23-percentage-in-2021/

[Guest Post] ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services

โฮเวิร์ด โบวิลล์ Head of IBM Hybrid Cloud Platform

 

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM Cloud for Financial Services ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคลาวด์แรกในวงการที่มาพร้อมเครื่องมือและบริการสำคัญๆ ที่ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมการเงิน โดยรองรับ Red Hat OpenShift และบริการ cloud-native รูปแบบต่างๆ IBM Cloud for Financial Services เปิดตัวครั้งแรกในปี 2562 ภายใต้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งอเมริกาในการออกแบบระบบ โดยที่ผ่านมาไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับเวิร์คโหลด mission-critical ทั้งยังเสริมการปกป้องข้อมูลตามกรอบของกฎข้อบังคับ พร้อมด้วยระบบซิเคียวริตี้ที่แข็งแกร่ง [1] ซึ่งเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมบริการทางการเงินมองหา โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้กับสถาบันการเงิน ช่วยให้หน่วยงานเหล่านี้สามารถเดินหน้าสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วภายใต้ระบบควบคุมพาร์ทเนอร์และกลุ่มฟินเทคทุกรายที่อยู่ในอีโคซิสเต็มของแพลตฟอร์มนี้

นอกเหนือจากธนาคารแห่งอเมริกาแล้ว ไอบีเอ็มยังได้ทำงานร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำของโลก อาทิ ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์, ธนาคารลูมินอร์ และ MUFG เป็นต้น ในการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม ร่วมด้วยการสนับสนุนจากอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์กว่า 90 ราย อาทิ อีวาย, ทาทา คอนซัลแทนซี เซอร์วิสเซส, กลุ่ม ISV รวมถึงผู้ให้บริการ Software as a Service (SaaS) ต่างๆ โดยล่าสุด SAP เป็นพาร์ทเนอร์รายล่าสุดที่ได้เข้าร่วมแพลตฟอร์ม IBM Cloud for Financial Services

“วันนี้เรากำลังจับมือกับกลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกและผู้นำในด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ (regulatory compliance) เพื่อสร้างมิติใหม่ให้กับการใช้คลาวด์ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวด และร่วมพัฒนาแนวทางด้านซิเคียวริตี้และคอมไพลแอนซ์ของอุตสาหกรรมนี้” โฮเวิร์ด โบวิลล์ Head of IBM Hybrid Cloud Platform กล่าว “ด้วยโฟกัสในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ที่มีเทคโนโลยี confidential computing และการเข้ารหัสขั้นสูงของไอบีเอ็มรองรับ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงให้กับซัพพลายเชนของธนาคาร บริษัทประกัน และกลุ่มองค์กรในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินอื่นๆ พร้อมกับช่วยเร่งขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรม”  

 

แพลตฟอร์มปลอดภัยที่ได้รับการออกแบบสำหรับนวัตกรรมแบบเปิด

การเปิดให้บริการแพลตฟอร์ม IBM Cloud for Financial Services จะทำให้องค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน รวมถึงกลุ่มเทคโนโลยีพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Red Hat OpenShift และย้ายเวิร์คโหลดเวอร์ชวลแมชชีน โดยมั่นใจว่าเวิร์คโหลดที่มีทั้งหมดจะสอดคล้องกับข้อบังคับที่กำกับดูแลอยู่ ด้วยระบบซิเคียวริตี้และการควบคุมด้านคอมไพลแอนซ์แบบบิวท์อิน ทั้งสำหรับเวิร์คโหลด cloud-native และเวิร์คโหลดวีเอ็มแวร์

“เรามีความยินดีที่ได้สานต่อการเป็นพันธมิตรร่วมกับไอบีเอ็มเพื่อช่วยให้สถาบันการเงินและอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ สามารถนำแอพและเวิร์คโหลดต่างๆ ขึ้นไปไว้บน IBM Cloud for Financial Services ได้อย่างมั่นใจ ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานวีเอ็มแวร์” ฟิเดลมา รุสโซ SVP และ GM ของกลุ่มธุรกิจ Cloud Services ของวีเอ็มแวร์ กล่าว “แพลตฟอร์มนี้มอบความปลอดภัยและเพิ่มความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะสร้างคุณค่าเป็นอย่างมากให้กับซัพพลายเชนของธุรกิจบริการทางการเงิน”

IBM Cloud for Financial Services สร้างขึ้นบน IBM Cloud ซึ่งเป็นคลาวด์สำหรับธุรกิจที่โอเพนและปลอดภัยที่สุดในอุตสาหกรรม โดยใช้ Red Hat OpenShift เป็นสภาพแวดล้อม Kubernetes หลัก เพื่อช่วยบริหารจัดการซอฟต์แวร์ที่อยู่บนคอนเทนเนอร์ของทั้งองค์กร พร้อมบริการ PaaS ที่เป็น cloud-native ในรูปแบบของ API กว่า 200 รายการ ช่วยให้นักพัฒนาและอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์สามารถสร้างและทำ modernization ได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย

 

ปกป้องข้อมูลด้วย Confidential Computing

IBM Cloud for Financial Services ใช้เทคโนโลยี confidential computing เจเนอเรชัน 4 และการเข้ารหัสแบบ Keep Your Own Key ผ่านบริการ IBM Hyper Protect ที่ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยระดับสูงที่สุดเท่าที่มี [1] ช่วยให้องค์กรสามารถควบคุมกุญแจการเข้ารหัสแต่เพียงผู้เดียว และสามารถกำหนดได้ว่าใครบ้างที่จะเข้าถึงข้อมูลขององค์กรได้ โดย confidential computing ยังช่วยให้สถาบันการเงินสามารถประมวลผลข้อมูลที่มีความสำคัญสูงของตนเองในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย ภายใต้สภาพแวดล้อมคลาวด์ที่มีการใช้งานร่วมกัน

ศูนย์กลางของแพลตฟอร์ม IBM Cloud for Financial Services คือ IBM Cloud Framework for Financial Services ที่มีชุดซิเคียวริตี้และการควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับต่างๆ ตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรม ช่วยให้สามารถทำงานกับข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวบนพับลิคคลาวด์ได้อย่างปลอดภัย โดยส่วนนี้ได้รับการพัฒนาโดยธนาคารแห่งอเมริกาและโพรมอนทอรี ซึ่งเป็นหน่วยงานคอนซัลท์ด้านคอมไพลแอนซ์ชั้นนำของโลกที่เชี่ยวชาญธุรกิจบริการทางการเงิน และจะได้รับการดูแลต่อโดย Financial Services Cloud Council ที่นำโดยโฮเวิร์ด โบวิลล์ Head of IBM Hybrid Cloud Platform

 

SAP เข้าร่วมอีโคซิสเต็ม IBM Cloud for Financial Services

วันนี้ IBM Cloud for Financial Services มีอีโคซิสเต็มของ ISV และผู้ให้บริการ SaaS กว่า 90 ราย พร้อมด้วย SAP ที่เข้าร่วมล่าสุด ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานแอพองค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ทั้งนี้ ในการ onboard ทั้ง ISV และผู้ให้บริการ SaaS จะมีขั้นตอนที่ครอบคลุมถึงการประเมินด้านเทคนิคและด้านซิเคียวริตี้ การประเมินการไมเกรทเวิร์คโหลด และการทดสอบความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงของบุคคลที่สามและสี่ โดย IBM Cloud for Financial Services มาพร้อมกับเฟรมเวิร์คสำหรับการควบคุม เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถลดค่าใช้จ่ายและเดินหน้าสร้างการเติบโต ไปพร้อมๆ กับการมีอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ที่มีความปลอดภัยและมีคุณสมบัติสอดคล้องกับกฎข้อบังคับที่กำกับดูแลอยู่ โดยกระบวนการ onboard จะเป็นไปอย่างเป็นระบบ ภายใต้การสนับสนุนโดยทีมเทคนิคัล ซิเคียวริตี้ และทีมงานที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของไอบีเอ็ม (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่)

 

บีเอ็นพี พารีบาส์ เข้าร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมกับอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ จะเริ่ม on board ทั้งเวิร์คโหลดและอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์ของธนาคาร จากศูนย์ข้อมูล Multi-Zone Region (MZR) ของธนาคารที่ตั้งอยู่ที่ปารีส สู่ IBM Cloud for Financial Services ภายใต้เทคโนโลยีความปลอดภัยและระบบควบคุมของ IBM Cloud โดยที่ผ่านมาบีเอ็นพี พารีบาส์ ได้ไมเกรทแอพธุรกิจกว่า 40 รายการมาสู่ IBM Cloud for Financial Services แล้ว และวางแผนที่จะเร่งการไมเกรทขึ้นอีกในปีที่จะถึง เทคโนโลยีพาร์ทเนอร์ของบีเอ็นพี พารีบาส์ เอง ก็กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการเพื่อเริ่ม onboard เข้ามาอยู่ยนแพลตฟอร์ม IBM Cloud for Financial Services เช่นกัน เพื่อให้สามารถพัฒนาโซลูชันและดำเนินการต่างๆ ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย

“ไอบีเอ็มเป็นพาร์ทเนอร์ของเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งหลักๆ แล้วเป็นเพราะความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีคลาวด์ ซิเคียวริตี้ ที่ครอบคลุมถึงการเข้ารหัสข้อมูล รวมถึงความเชี่ยวชาญเชิงลึกในอุตสาหกรรมธฯคารและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เรากำลังร่วมมือกับไอบีเอ็มในการสร้าง dedicated cloud ของบีเอ็นพี พารีบาส์ ที่สอดคล้องกับข้อบังคับของหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆ ทั่วโลก” แบร์นาร์ด กาฟกานี Global CIO ของบีเอ็นพี พารีบาส์ กล่าว

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBM Cloud for Financial Services ได้ที่  www.ibm.com/cloud/financial-services 

ลูกค้าของ IBM Cloud for Financial Services จะสามารถเข้าถึงโปรแกรมการอบรมแบบ on demand และการสอบรับรองเพื่อรับประกาศนียบัตรจาก IBM Center for Cloud Training ได้ภายในเดือนนี้ โดยโปรแกรมดังกล่าวจะให้ความรู้เกี่ยวกับคอนเซ็ปต์หลักของ IBM Cloud for Financial Services รวมทั้งคอมโพเนนท์หลัก แอพพลิเคชันต่างๆ และสถาปัตยกรรมของโซลูชันต่างๆ  

 

ข้อมูลอ้างอิง

[1] Based on IBM Hyper Protect Crypto Service, the only service in the industry built on FIPS 140-2 Level 4-certified hardware. FIPS 140-2 Security Level 4 provides the highest level of security defined in this standard. At this security level, the physical security mechanisms provide a comprehensive envelope of protection around the cryptographic module with the intent of detecting and responding to all unauthorized attempts at physical access.

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ibm-cloud-for-financial-services/

มิติใหม่แห่งความปลอดภัย : บริการ SOC As A Service จากค่าย ดาต้าโปรฯ

การไขว่คว้าโอกาสของธุรกิจในยุคดิจิทัล นอกเหนือจากการสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และรับมือคู่แข่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เป็นหัวใจในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย การสื่อสารไร้สาย เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล การประสานการทำงาน ซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ โซลูชันวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล และอื่นๆ อีกมากมายมาประยุกต์ใช้งาน

ภัยไซเบอร์ ตัวการสั่นคลอนธุรกิจ

แต่ประสิทธิภาพเหล่านี้คงไร้ประโยชน์ หากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ เพราะโลกไซเบอร์เต็มไปด้วยภัยคุกคามทั้งมัลแวร์, ไวรัส, แฮกเกอร์, แรนซั่มแวร์, การฉ้อโกง, การรั่วไหลและขโมยข้อมูล ซึ่งสร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นของลูกค้า ชื่อเสียงขององค์กร ข้อมูลอันทรงคุณค่า เวลาและกำลังคนในการกู้คืนระบบ รวมถึงตัวเงินอีกด้วย

ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการลงทุนจัดหาระบบรักษาความปลอดภัยหลากหลายรูปแบบมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Firewall, NAC, VPN, IPS, IDS, Internet Security, Email Security, Web Security, DDos Protection, Cloud Security, Malware Protection แต่นั่นหมายถึง การที่เราต้องจัดหาอุปกรณ์จำนวนมากจากหลายผู้ผลิต สิ่งที่ตามมาก็คือการดูแลและการบริหารจัดการก็จะยิ่งยุ่งยากขึ้น

การปฏิบัติตามกฏหมายดิจิทัล

นอกจากการรับมือกับภัยคุกคามและความยุ่งยากในการบริหารจัดการอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแล้ว หนึ่งในประเด็นที่สร้างความกังวลและปวดหัวให้กับองค์กรในปัจจุบันก็คือ การต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับกฎหมายดิจิทัลทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่

– พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
– พ.ร.บ. การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์
– พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล

ซึ่งต่าง ๆ ก็มีบทลงโทษทั้งการปรับเป็นตัวเงินและโทษจำคุก ยิ่งทำให้องค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่หลากหลายและเป็นไปตามมาตรฐานยิ่งขึ้น

ต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรและเวลา

การจะรับมือความท้าทายเหล่านี้ ฝ่ายไอทีขององค์กรต้องรับบทหนักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณอาจต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และด้วยการจู่โจมของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นแบบไม่มีวันหยุด ฝ่ายไอทีขององค์กรยังต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่ จนอาจไม่มีเวลาในการคิดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่

การสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ องค์กรควรมีศูนย์ SOC หรือ Security Operation Center ทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยระบบเครือข่ายและระบบไอทีที่เกี่ยวข้อง เพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบและแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น ป้องกันภัยคุกคามแบบ Real time ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

แต่การสร้างศูนย์ SOC ที่สมูรณ์แบบ คุณต้องลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์ความปลอดภัย ตรวจตรา เฝ้าดู วิเคราะห์ log จากอุปกรณ์มากมายในองค์กร ตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปรกติที่เกิดขึ้น รวมถึงกู้คืนระบบจากความเสียหาย ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนก้อนโต จะดีกว่าไหมถ้ามีผู้เชี่ยวชาญมาทำหน้าที่เหล่านี้แทนคุณ

DCS มืออาชีพด้าน Cyber Security

นี่จึงเป็นที่มาของ DCS SOC as a Service บริการศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือของบริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (DCS) และบริษัท Acer Cyber Security (ACSI) โดยบริการ SOC as a Service พร้อมที่จะช่วยดูแลความปลอดภัย เพื่อป้องกันภัยคุกคามแบบ Real time ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกระบวนการทำงานที่ได้มาตรฐาน และทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์

ประกอบด้วยบริการระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจรต่าง ๆ ได้แก่

Security Monitoring การเฝ้าระวัง ตรวจจับ และจัดการกับภัยคุกคามแบบ Real time
Log Management บริการจัดการข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทั้งหมดในองค์กร
Incident Respond การสนองตอบและสืบหาที่มาของเหตุการณ์ผิดปรกติที่เกิดขึ้นในระบบ รวมถึงหาโซลูชันแก้ไข
Pentest การตรวจหาช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัย
VA (Vulnerability Assessment) การประเมินความเสี่ยงจากช่องโหว่ที่พบ
Recovery การกู้คืนระบบจากความเสียหาย
Consult บริการให้คำปรึกษาด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

เพื่อให้ธุรกิจในยุคดิจิทัลดำเนินไปอย่างราบรื่น เพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบและแจ้งเตือนได้เร็วขึ้น และช่วยลดภาระให้องค์กร

ติดต่อสอบถาม : บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (DCS)
คุณสุวณี วงศ์เกษมสมบัติ โทร. 094-952-6566 หรือ suwanee.w@dcs.premier.co.th, http://www.datapro.co.th

from:https://www.enterpriseitpro.net/soc-as-a-service/

True IDC เปิด ISV On-boarding Program หนุนผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาด Cloud

True IDC ผู้นำธุรกิจ Data Center และ Cloud Computing ในประเทศไทย เริ่มให้บริการ ISV On-boarding Program ผลักดันให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ หรือ Startups ขยายตลาดสู่ระบบ Cloud ในรูปแบบบริการ Software as a Services (SaaS) พร้อมเปิด True IDC Marketplace เพื่อกระจายซอฟต์แวร์ไทยสู่ผู้ใช้ทุกภูมิภาคทั่วโลก

ขยายตลาดซอฟต์แวร์สู่สากลด้วยบริการแบบ Software as a Service

การขยายบริการซอฟต์แวร์สู่สากลและพร้อมรองรับการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วโลกนับว่าเป็นก้าวใหญ่ของการผลิตซอฟต์แวร์ นักพัฒนาจำต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและอุปสรรคนานับประการ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ต้องขยายจำนวนเซิร์ฟเวอร์ให้พร้อมรองรับต่อความต้องการของผู้ใช้ การขาดแคลนบุคลากรที่ช่วยดูแลโครงข่ายพื้นฐานและระบบฐานข้อมูล หรือแนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่การส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายรายต้องชะงักอยู่กับที่ ไม่สามารถขยายบริการออกไปได้ตามความต้องการ

แต่เมื่อมาถึงยุคของระบบ Cloud ทำให้เหล่าผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น การใช้ระบบ Cloud เป็นโครงข่ายพื้นฐานแทนการขยายระบบผ่านการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ช่วยประหยัดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถขยายระบบได้อย่างรวดเร็ว พร้อมตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ที่สำคัญคือเมื่อซอฟต์แวร์อยู่บนระบบ Cloud ย่อมช่วยลดภาระงานของผู้ดูแลระบบเครือข่ายและฐานข้อมูลลงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ระบบ Cloud ยังช่วยให้สามารถทดสอบฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย ส่งผลให้การให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบ Cloud หรือ Software as a Service กลายเป็นทางออกสำหรับการขยายตลาดสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

Credit: ShutterStock.com

True IDC เปิด ISV On-boading Program สนับสนุนผู้ผลิตซอฟต์แวร์สู่ตลาด Cloud

เพื่อให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประสบความสำเร็จในการขยายบริการเข้าสู่ระบบ Cloud ทาง True IDC จึงได้เปิดบริการ ISV On-boarding Program ให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางปฏิบัติโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาและต่อยอดซอฟต์แวร์ของตนพร้อมให้บริการในรูปของ Software as a Service ได้

ISV On-boarding Program ครอบคลุมการให้คำปรึกษา แนะนำแนวทาง และให้การสนับสนุน 4 ประการหลัก ดังนี้

1. Solution Assessment

บริการประเมินซอฟต์แวร์ของผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของการให้บริการแบบ as a Service ความคุ้มค่า ความเสี่ยง และเงินลงทุน รวมไปถึงช่วยวาง Roadmap พร้อมแนะนำแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถขยายการให้บริการไปสู่ระบบ Cloud ในรูปของ Software as a Service ได้

2. Cloud Architecture Design Support

True IDC มีทีมวิศวกรระบบ Cloud ผู้เชี่ยวชาญซึ่งพร้อมช่วยเหลือผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในการให้คำปรึกษา ปรับแต่ง และรีวิวการออกแบบโครงข่ายระบบ Cloud ให้พร้อมรองรับต่อการให้บริการ Software as a Service รวมไปถึงให้คำแนะนำด้านการเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่รันมีประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าเดิม

3. Migration Support

บริการให้คำปรึกษาและแนะนำวิธีการย้ายระบบซอฟต์แวร์และโอนถ่ายข้อมูลจาก Data Center ไปยังระบบ Cloud ครอบคลุมไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่านระบบ Cloud สามารถทำงานได้อย่างไร้ปัญหา

4. AWS Business Support-led

อัปเกรดสถานะการสนับสนุนจาก AWS จากระดับ Basic หรือ Developer ไปเป็นระดับ Business โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ช่วยให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากทีมงาน AWS ได้แบบ 24×7 รวมไปถึงรับสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลสนับสนุนบางส่วนที่ระดับ Basic และ Developer ไม่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ทีมซัพพอร์ตของ True IDC ยังช่วยดูแลและติดตามเคสที่เปิดอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ด้วยการสนับสนุนทั้ง 4 ประการนี้ ทำให้มั่นใจว่าผู้ผลิตซอฟต์แวร์มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการปรับการให้บริการซอฟต์แวร์ของตนไปเป็นแบบ Software as a Service และมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา แนะนำ และดูแลอย่างใกล้ชิด

Credit: ShutterStock.com

เตรียมให้บริการ Marketplace สำหรับกระจายซอฟต์แวร์สู่ผู้ใช้ทั่วโลก

นอกจากการเปิดบริการ ISV On-boarding Program สำหรับผลักดันให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์หันมาให้บริการในรูปของ Software as a Service แล้ว True IDC ยังเตรียมเปิด True IDC Marketplace สำหรับเป็นศูนย์วางจำหน่ายซอฟต์แวร์และบริการต่างๆ บนระบบ Cloud อีกด้วย เป็นการเพิ่มช่องทางการกระจายซอฟต์แวร์ไปยังผู้ใช้ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย และหลายๆ ภูมิภาคทั่วโลก

ทีมงานของ True IDC พร้อมที่จะสนับสนุนและแนะนำแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สามารถดำเนินการผ่านเงื่อนไขต่างๆ ของ AWS ได้อย่างครบถ้วน รวมไปถึงช่วยลดภาระและความยุ่งยากในการลงทะเบียนร้านค้า ให้เหลือแต่การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ ของ AWS Marketplace

ISV On-boarding Program ของ True IDC เปิดรับสมัครอย่างเป็นทางการแล้ว ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ aws_service@trueidc.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/true-idc-releases-isv-on-boarding-program/

CS LOXINFO พลิกโฉมระบบ HR ด้วย MATRIX HRM สุดยอดซอฟต์แวร์ออนไลน์สำหรับบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

ทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านความขาดแคลนทรัพยากรบุคคลในการทำงาน จากสถิติปี 2016 ที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการลาออกของพนักงานสูงถึง 12% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการลาออกสูงสุด โดยเพิ่มจาก 12% ในปี 2015 เป็น 16% ในปี 2016 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องการทักษะการทำงานที่สูงจึงทำให้เกิดแข่งขันและแย่งชิงบุคลากรกันระหว่างแต่ละองค์กร การจัดทรัพยากรบุคคลเพื่อให้พนักงานเหล่านี้ยังร่วมงานกับเราอย่างต่อเนื่องจึงกลายเป็นสิ่งท้าทายสำคัญอย่างยิ่ง

ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันมีความซับซ้อนและไม่ตอบโจทย์

การจัดการทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลเริ่มกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นเรื่อยๆ พนักงานมีแนวโน้มทำงานจากภายนอกองค์กร ทำงานไม่ตรงเวลา และมีการทำงานหลายกะ ส่งผลให้การขออนุมัติเพื่อลางานหรือตรวจสอบบันทึกการทำงานเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก นอกจากนี้เมื่อการขอ OT มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การคำนวณเงินเดือนของพนักงานแต่ละคนในองค์กรให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่จำกัดจึงกลายเป็นภาระสำหรับฝ่าย HR เป็นอย่างมาก

เพื่อลดภาระของฝ่าย HR ลง จึงมีการนำระบบจัดการข้อมูลบุคลากร ระบบลงบันทึกการลงเวลา และระบบบัญชีเงินเดือนเข้ามาให้งานเพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลพนักงาน ตรวจสอบเวลาทำงาน และคำนวณเงินเดือนพร้อม OT ได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม พบระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่มักทำงานแยกขาดจากกัน ทำให้ฝ่าย HR ยังคงต้องเข้าใช้งานทีละระบบแล้วดึงข้อมูลออกมาเพื่อใส่เข้าไปยังระบบบัญชีเงินเดือนและระบบประเมินผลของพนักงานด้วยตนเอง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการใช้งานและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย

จัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กรอย่างครบวงจรด้วย MATRIX HRM

CS LOXINFO ตระหนักถึงความสำคัญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร จึงได้พัฒนา MATRIX HRM ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ออนไลน์สำหรับบริหารจัดการทรัพยาการบุคคลแบบครบวงจรที่ถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรในประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยผสานการทำงานของระบบจัดการข้อมูลบุคลากร ระบบบันทึกการลงเวลา ระบบบัญชีเงินเดือน และระบบประเมินผลงานไว้ในแพลตฟอร์มเดียว พร้อมให้บริการในรูปแบบ Software as a Service ภายใต้โครงข่าย Cloud Computing มาตรฐานสูงของ CS LOXINFO ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ICT Services แบบครบวงจรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

MATRIX HRM ประกอบด้วยบริการหลัก 4 ระบบ และบริการเสริมอีก 2 ระบบ ซึ่งเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันได้อย่างครบวงจร ดังนี้

  • ระบบจัดการข้อมูลบุคลากร – ระบบบันทึก/แก้ไขข้อมูลผู้สมัครงานและประวัติพนักงาน สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องอ่านบัตรประชาชนเพื่อดึงข้อมูลจากสมาร์ตการ์ดมาใช้ได้ทันที ช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยจริง
  • ระบบบันทึกการลงเวลา – เชื่อมต่อกับเครื่องรูดบัตรหรือสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลาเข้า/ออกงาน พร้อมคำนวณการมาสาย กลับก่อน ขาดงาน หรือลืมรูดบัตรได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • ระบบบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทน – ระบบคำนวณเงินเดือนและค่าตอบแทนซึ่งสามารถดึงข้อมูลจากระบบบันทึกการลงเวลามาใช้ได้ทันที รองรับการออกรายงานสรุปรายละเอียดค่าจ้างและรายละเอียดเงินได้-รายการหักในรายงานใบแจ้งยอด (Slip) พร้อมนำส่งข้อมูลกับธนาคารและหน่วยงานต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
  • ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน – ประเมินพนักงานสำหรับปรับเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งอย่างยุติธรรม โดยอาศัยข้อมูลอ้างอิงจาก 3 ระบบแรก ทั้งยังรองรับการประเมินผลด้วยตัวพนักงานเองอีกด้วย

บริการเสริมอีก 2 บริการ ได้แก่

  • Mobile Application – ระบบจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานผ่านอุปกรณ์สมาร์ตโฟน
  • HR Self Services – ระบบการให้บริการตนเองบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อินเตอร์เฟส 2 ภาษา รองรับมาตรฐานของหน่วยงานต่างๆ ในไทย

MATRIX HRM เป็นซอฟต์แวร์ระบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กรที่รองรับการใช้งานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอบรับการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เหมาะสำหรับบริษัทระดับ SME ตั้งแต่ไซส์ S ถึง L หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีจำนวนคน 100 คนขึ้นไป MATRIX HRM มาพร้อมกับหน้าจออินเตอร์เฟสที่เข้าใจได้ง่าย พร้อมเชื่อมต่อกับเครื่องอ่านบัตรประชาชนเพื่อดึงข้อมูลของพนักงานจากบัตรประชาชนประเภทสมาร์ตการ์ดออกมาใช้งานได้ทันที ช่วยร่นระยะเวลาและลดความผิดพลาดในการจัดการกับข้อมูลของบุคลากร

นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ระบบบัญชีเงินเดือนและค่าตอบแทนยังถูกออกแบบมาให้รองรับกับมาตรฐานของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย เช่น แบบฟอร์มการยื่นภาษีของกรมสรรพากร แบบฟอร์มการจ่ายเงินเพือนพนักงานให้กับธนาคาร หรือแบบฟอร์มการนำส่งข้อมูลประกันสังคม ซึ่งช่วยขจัดปัญหาความไม่ครบถ้วนของข้อมูลและความไม่ถูกต้องของเอกสาร โดยที่ฝ่าย HR ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด

เพิ่มความสะดวกแก่พนักงานด้วยบริการเสริม พร้อมลดภาระฝ่าย HR

จุดเด่นสำคัญอีกประการของ MATRIX HRM คือเป็นบริการบนระบบ Cloud ซึ่งฝ่าย HR สามารถใช้งานผ่านทางเว็บเบราเซอร์จากที่ไหน เวลาใดก็ได้ทันที แม้ไม่ได้อยู่ในออฟฟิสก็ตาม โดยรองรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการยอดนิยมทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น Windows, macOS, Linux ช่วยลดการใช้กระดาษและทำให้การดำเนินงานของฝ่าย HR มีความอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือสามารถจัดทำรายงานจากระบบต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น รายงานสรุปรายละเอียดค่าจ้างและรายละเอียดเงินได้-รายการหักในสลิปเงินเดือน หรือรายงานสรุปการประเมินผลงานรายบุคคลหรือรายแผนกเพื่อให้ผู้บริหารพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับฝั่งพนักงานเอง บริการเสริมบนสมาร์ตโฟนสามารถใช้งานได้ทั้งบน Apple iOS และ Android ซึ่งช่วยให้พนักงานสามารถบันทึกการมาทำงาน ขอลางาน หรือเรียกดูสลิปเงินเดือนผ่าน Mobile Application ได้ทันที ในขณะที่ธุรกิจประเภทโรงงานที่พนักงานไม่ได้มีสมาร์ตโฟนใช้ทุกคน ก็สามารถเลือกติดตั้งเครื่อง Kiosk เพื่อให้พนักงานเข้ามาจัดการข้อมูลประวัติส่วนตัว ดูรายละเอียดการทำงาน หรือขอ OT ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องเขียนเอกสารและตามล่าลายเซ็นต์จากหัวหน้างานของตนอีกต่อไป ช่วยลดภาระการขออนุมัติทั้งฝั่งพนักงานและหัวหน้างาน ในขณะที่ฝ่าย HR สามารถติดตามการขออนุมัติและสถานะการทำงานต่างๆ แบบออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์

Software as a Service บนระบบ Cloud Computing มาตรฐานสูงของ CS LOXINFO

MATRIX HRM เป็นบริการบนระบบ Cloud ในรูปแบบ Software as a Service ซึ่งถูกติดตั้งอยู่ภายใน Data Center มาตรฐานสูงของ CS LOXINFO ถึง 3 แห่ง ได้แก่ อาคารซีดับเบิลยู อาคารเดอะคลาวด์ และอาคาร กสท.โทรคมนาคม พร้อมรับประกันความเชื่อมั่นด้านคุณภาพและความมั่นคงปลอดภัยในการให้บริการด้วยมาตรฐาน ISO 9001, ISO 20000 และ ISO 27001 ที่สำคัญมีระบบสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติทุกวัน ส่งผลให้ Data Center ทั้ง 3 แห่งสามารถทำงานทดแทนกันได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง

นอกจากนี้ CS LOXINFO ยังจัดให้มีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยเฝ้าระวัง Data Center ตลอดเวลาแบบ 7/24 เมื่อพบเหตุการณ์ผิดปกติหรือช่องโหว่บนซอฟต์แวร์ ก็สามารถแจ้งทีมนักพัฒนาเพื่อออกแพตช์แก้ไขได้ทันที โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องดำเนินการอัปเกรดซอฟต์แวร์หรืออัปเดตด้วยตนเองแต่อย่างใด ลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของ CapEx และ OpEx เหล่านี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่า MATRIX HRM และบริการอื่นๆ ของ CS LOXINFO มีคุณภาพ มั่นคงปลอดภัย และพร้อมให้บริการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีหยุดชะงัก

ผู้ที่สนใจใช้บริการ MATRIX HRM ของ CS LOXINFO สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล matrixhrm@csloxinfo.net หรือโทร 02-263-8229 กด 2

from:https://www.techtalkthai.com/cs-loxinfo-introduces-matrix-hrm/

[PDF] ฟรี ! รายงานบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอนาคตคลาวด์ XaaS โดย ZDNet

จากปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการบริโภค จากการซื้อแอพและระบบแบบซื้อขาดมาตั้งไว้ภายในองค์กร ย้ายมาเป็นการใช้บริการบนคลาวด์ที่คิดเงินตามปริมาณการใช้จริงแทน ซึ่งคุ้มทั้งเงินและเวลามากกว่า จึงนำมาสู่ยุคความรุ่งเรืองของสารพัด XaaS ทั้งหลาย และนำมาสู่ความร่วมมือกันของสำนักข่าวไอทีชื่อดัง ZDNet และ TechRepublic ในการรวมรวบบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอนาคตของคลาวด์ที่ครอบคลุมมากที่สุดขณะนี้

รายงานฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ รู้จักทั้งบริการบนคลาวด์แต่ละแบบ และรู้จักตัวเองว่าควรเลือกใช้บริการแบบไหนอย่างไรให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด ตั้งแต่ขั้นตอนการโยกระบบขึ้นไปใช้คลาวด์ โดยเฉพาะการเลือกเฟ้นบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ ในการย้ายตัวเองไปอยู่บนคลาวด์ พร้อมกับเคล็ดลับสำหรับผู้ที่ทำงานด้านไอทีที่ต้องการยกระดับทักษะตัวเองให้ทันยุคคลาวด์นี้ด้วย อีกทั้งยังมีงานวิจัยต้นฉบับจาก Tech Pro Research ที่วิเคราะห์หาบริการด้านธุรกิจและไอทีบนคลาวด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และผลที่ได้ของบริษัทต่างๆ ที่เลือกใช้บริการดังกล่าว

ที่เด็ดคือ มีการวิเคราะห์กระบวนการย้ายระบบของผู้จำหน่ายกระดานโต้คลื่นสัญชาติออสเตรเลีย GSI ที่เปลี่ยนตัวเองมาใช้ SaaS จนทำให้ตนเองกลายเป็น “บริษัทขนาดเล็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” ในโลก ด้วยพนักงานแค่ 18 คนแต่ทำรายได้ต่อปีสูงถึง 20 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดรายงานในรูปไฟล์ PDF ได้จาก https://www.techrepublic.com/resource-library/whitepapers/special-report-the-future-of-everything-as-a-service-free-pdf

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/archives/8607