คลังเก็บป้ายกำกับ: AMAZON_WEB_SERVICES_/_AWS

AWS ประกาศพร้อมใช้งาน Lightsail for Research

Amazon Lightsail เป็นบริการ Virtual Private Server (VPS) ที่เริ่มต้นได้ง่ายสำหรับนักพัฒนา ล่าสุดแพ็กเกจสำหรับนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย ได้เข้าสู่สถานะพร้อมใช้งานแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.) สามารถเลือก IDE ที่ติดตั้งมาให้เช่น Jupyter, RStudio, Scilab, VSCodium และระบบปฏิบัติการ Ubuntu
2.) มีให้เลือกสองรูปแบบคือการเน้นส่วนประมวลผลหรือหน่วยความจำ โดยมีสเป็คตามภาพด้านล่าง

3.) ราคาที่นำเสนอจ่ายเฉพาะช่วงเวลาที่มีการใช้งานเท่านั้น รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จทั้ง Compute, Storage และการใช้งานข้อมูล
4.) สามารถปิดเครื่องที่ไม่ได้ใช้งานออกไป หรือตั้ง Policy เพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่น มีอัตราใช้งาน CPU 1% ถึง 30 นาที
5.) สร้าง Snapshot ได้แบบ Point-in-time เพื่อกู้คืนกรณีฉุกเฉิน

สำหรับบริการ Lightsail for Research เปิดให้บริการแล้วที่ Region US East (Ohio), US West (Oregon), Asia Pacific (Mumbai), Asia Pacific (Seoul), Asia Pacific (Singapore), Asia Pacific (Sydney), Asia Pacific (Tokyo), Canada (Central), Europe (Frankfurt), Europe (Ireland), Europe (London), Europe (Paris) และ Europe (Stockholm)

ที่มา : https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-amazon-lightsail-for-research-with-all-in-one-research-environments/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-lightsail-for-research-is-ga/

Advertisement

การศึกษาล่าสุดเผยบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง ช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศไทยได้กว่า 75,800 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) [Guest Post]

ร้อยละ 80 ขององค์กรไทยที่ว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่สูงขึ้น แต่อีกร้อยละ 94 กำลังประสบกับปัญหาการจ้างงาน

กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2566 – อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ได้เผยแพร่การศึกษาล่าสุด ที่แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในประเทศไทยที่ใช้ทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูง รวมถึงทักษะด้านสถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ สร้างรายได้ประมาณ75,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือคิดเป็น 930,800 ล้านบาท) ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทย เป็นผลมาจากบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูงซึ่งมีรายได้มากกว่าร้อยละ 57 ต่อปี มากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ใช้ทักษะดิจิทัลในการทำงาน

การศึกษาเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Workforce) ของ AWS ที่ดำเนินการโดย Gallup ได้ศึกษาว่าการสร้างบุคลากรที่ใช้เทคโนโลยีมีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ทำงาน องค์กร และเศรษฐกิจอย่างไร มีการสํารวจผู้ทํางานมากกว่า 1,000 คน (1,296 คน) และนายจ้าง 359 รายในประเทศไทยในองค์กรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้จําแนกทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่พิจารณาความสามารถในการใช้อีเมล โปรแกรมประมวลผลคํา ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพในสำนักงาน และโซเชียลมีเดีย ทักษะดิจิทัลระดับกลาง ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์แบบลากและวาง (drag-and-drop website design) การแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชัน (troubleshooting applications) และการวิเคราะห์ข้อมูล ทักษะด้านดิจิทัลระดับสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรมคลาวด์หรือการบำรุงรักษาระบบคลาวด์ การพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง

ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ทำงานด้านดิจิทัลขั้นสูงในประเทศไทยได้รับประโยชน์มากกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ ร้อยละ 89 ของบุลากรที่ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูงมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับสูง เทียบกับร้อยละ 58 ของบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลยังได้รับผลประโยชน์ด้านอาชีพ โดยร้อยละ 93 ของบุคลากรในไทยที่สำเร็จการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลในปีที่ผ่านมา ได้รับประโยชน์เชิงบวกอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

นายจ้างที่ใช้บุลากรที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีคลาวด์ เห็นการเติบโตทางธุรกิจและนวัตกรรมที่สูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 74 ขององค์กรในประเทศไทยที่ใช้คลาวด์เป็นหลักรายงานการเติบโตของรายได้ต่อปีที่ร้อยละ 10 หรือมากกว่านั้น เทียบกับร้อยละ 56 ขององค์กรที่ใช้คลาวด์บางส่วนหรือไม่ใช้เลย

หลายองค์กรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการจ้างงานในอนาคต โดยการศึกษาของ Gallup ได้พิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ 10 อย่าง ได้แก่ AI, edge และ quantum computing, blockchain และสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ซึ่งร้อยละ 92 ของนายจ้างในประเทศไทยเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ 5G อยู่ในอันดับที่สูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 75 ของนายจ้างเชื่อว่าพวกเขาจะนําเทคโนโลยีนี้มาใช้ในอนาคต

“ผู้คนในประเทศไทยกําลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วิธีการทํางานไปจนถึงการใช้ชีวิต การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าทักษะดิจิทัลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในระดับบุคคล องค์กร และเศรษฐกิจมหภาคเป็นอย่างมาก” ดร.โจนาธาน รอธเวลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Gallup กล่าว “เมื่อองค์กรต่าง ๆ ย้ายระบบไอทีไปยังระบบคลาวด์มากขึ้นในทศวรรษหน้า และมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้น การแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัลจะช่วยเพิ่มตำแหน่งงานใหม่จํานวนมาก โอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ขึ้นอยู่กับการมีบุคลากรที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูงเพื่อรองรับนวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลขั้นสูงจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอีกหลายปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของนายจ้างในไทยที่ร่วมทำสำรวจพบว่าพวกเขากำลังมองหาบุคลากรที่ต้องใช้ทักษะดิจิทัล แต่ร้อยละ 94 ระบุว่าการหาบุคลากรที่ต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก ซึ่งอุปสรรคอาจเกิดจากการที่องค์กรไทยร้อยละ 56 กำหนดให้ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีแม้แต่ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในระดับเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ องค์กรเริ่มตระหนักว่าการยอมรับใบรับรองวิชาชีพสามารถช่วยลดปัญหาในการจ้างงานได้ ทั้งนี้ ร้อยละ 92 ของนายจ้างกล่าวว่ามีการยอมรับใบรับรองทักษะด้านดิจิทัลหรือหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อใช้แทนวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีได้

จากผลการศึกษาของ Gallup แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มหาศาลจากการสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านคลาวด์ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ AWS ทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) รวมถึงองค์กรชั้นนำอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารและกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมาเราได้ฝึกอบรมบุคลากรกว่า 700,000 คนด้วยทักษะด้านคลาวด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และงานของเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้” เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการฝึกอบรมและการรับรอง AWS ภูมิภาคอาเซียนกล่าว

“ทักษะดิจิทัลขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่บุคคล องค์กร และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ AWS มุ่งมั่นที่จะขยายโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลของเราสําหรับบุคลากรและนายจ้างทั่วประเทศไทย เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะสานต่อความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและเอกชนของไทย เพื่อช่วยเพิ่มและพัฒนาทักษะบุคลากรรวมถึงใช้ประโยชน์จากคลาวด์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจ ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และนวัตกรรม”

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัวโปรแกรม AWS Training and Certification หลายหลักสูตรในประเทศไทย เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะที่เหมาะสมในการเติบโตต่อไปในโลกดิจิทัล ซึ่งรวมถึง AWS Skill Builder ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบดิจิทัลที่ให้การฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์ตามความต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายกว่า 600 หลักสูตร รวมถึง 62 หลักสูตรที่มีให้บริการเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ยังมี AWS Educate ที่ให้การฝึกอบรมหลายร้อยชั่วโมงแบบเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มใช้งานระบบคลาวด์ และ AWS Academy ที่ให้การฝึกอบรมแก่สถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรการประมวลผลบนระบบคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและเป็นที่ต้องการของสายงานด้านคลาวด์

AWS ให้การฝึกอบรมทักษะดิจิทัลแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในปี 2565 เราได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ของไทย เพื่อเร่งพัฒนาทักษะการทํางานของบุคลากรภาครัฐ ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาทักษะของ AWS เพื่อให้การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์แก่บุคลากรภาครัฐมากกว่า 1,200 คน เพื่อนําเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในวงกว้าง ช่วยให้การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดียิ่งขึ้น และสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ มี่มอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสําหรับประชาชนทั่วประเทศ

เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของไทยได้ประกาศความร่วมมือด้านทักษะดิจิทัลกับ AWS “MHESI และ AWS มีเป้าหมายร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทักษะดิจิทัลในประเทศไทย และพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศ” ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “การศึกษาของ Gallup ช่วยตอกย้ำถึงพันธกิจของ MHESI ในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะคลาวด์ที่จําเป็นให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS เราตั้งเป้าที่จะยกระดับทักษะให้กับบุคลากรในการใช้ AWS Cloud ในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่งและหน่วยงานวิจัยและการศึกษาที่อยู่ภายใต้ MHESI กว่า 20 แห่งทั่วประเทศไทยภายในต้นปี 2569”

AWS ได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เปิดสอนหลักสูตร AWS Educate และ AWS Academy เพื่อยกระดับบุคลากรของไทยในอนาคต และด้วยความร่วมมือกับสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย มหาวิทยาลัยได้จัดบูตแคมป์และงานแฟร์สําหรับนักศึกษากว่า 200 คนเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสําหรับการทำงานด้านดิจิทัล

“เมื่อประเทศไทยเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล” ผศ. ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) “การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรด้านคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นที่ต้องการสูงในทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งความต้องการบุคลากรยังมีมากกว่าจำนวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้านนี้ ดังนั้น สจล. จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการศึกษาของ AWS เพื่อมอบเนื้อหาด้านคลาวด์ที่เข้าถึงได้ง่ายและน่าสนใจสำหรับนักเรียนในการทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และพัฒนาโซลูชันที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้จริง เราหวังว่าจะทำให้ผู้สําเร็จการศึกษาสนใจที่จะพัฒนาทักษะด้านคลาวด์ต่อไปเพื่อเป็นบุคลากรในอนาคตของในประเทศไทย

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกําลังเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีทักษะสูงเป็นกุญแจสําคัญในการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนในทุก ๆ ประเทศ” รูปา จันดา ผู้อํานวยการฝ่ายการค้า การลงทุน และนวัตกรรมขององค์การสหประชาชาติ ESCAP กล่าว “โปรแกรมฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเท่าเทียมกันทางดิจิทัลในอนาคต ให้โอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียมแก่ผู้คนจากทุกภูมิหลัง และขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ”

“Asia Internet Coalition (สมาพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย) เห็นด้วยกับผลการศึกษาที่ยืนยันถึงคุณค่าและความสำคัญของทักษะด้านดิจิทัลที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เป็นการเน้นย้ำถึงความจําเป็นที่ภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ต้องทํางานร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มความรู้ด้านดิจิทัลและสนับสนุนการยกระดับทักษะทั่วทั้งภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาหลังจากสถานการณ์โควิด การเชื่อมช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลจะช่วยเร่งการรวมดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศ ที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวโดยรวมของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้” เจฟฟ์ พายน์ กรรมการผู้จัดการ Asia Internet Coalition กล่าว

AWS มีแผนการลงทุนโดยประมาณมากกว่า 190,000 ล้านบาท (5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 15 ปี ด้วยการเปิดตัว AWS Asia Pacific (Bangkok) Region ในเดือนตุลาคม 2565

ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกอบรมทักษะระบบคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้คน 29 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2568 ณ ปัจจุบัน AWS ได้ฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรไปแล้วมากกว่า 13 ล้านคน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านคลาวด์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายของ AWS สามารถดูได้ที่ AboutAmazon.com/29million

ดาวน์โหลด “Asia Pacific Digital Skills Study: The Economic Benefits of a Tech-Savvy Thai Workforce”  

from:https://www.techtalkthai.com/recent-study-reveals-aws-workforce-with-advanced-digital-skills/

AWS เปิดตัวบริการใหม่ Telco Network Builder

อุตสาหกรรมเทเลคอมถือเป็นเป้าหมายใหญ่ของบริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่มาหลายปี เนื่องจากผู้ประกอบการด้านเทเลคอมสามารถใช้ประโยชน์ของคลาวด์เพื่อเป็นแกนโครงสร้างพื้นฐานได้ ด้วยเหตุนี้เองล่าสุด AWS ได้ประกาศเปิดบริการใหม่สดๆร้อนๆที่เสริมศักยภาพในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เพิ่มไปอีกคือ Telco Network Builder และ Private Wireless Networks

credit : aws

ไอเดียของ Telco Network Builder ก็คือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านเทเลคอมสามารถสร้างและจัดการโครงสร้างระบบเครือข่ายของตนได้บน AWS ซึ่งทำให้การดำเนินงานเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์ด้านการใช้งานจริง และมาตรฐานต่างๆที่ครอบคลุมในอุตสาหกรรม โดยสิ่งที่จะได้จากการบริการเช่น Compute (EKS Cluster หรืออื่นๆ), เครือข่าย (VPC, Internet Gateway, Routing และอื่นๆ) ตลอดจนโจทย์ด้าน CI/CD ด้วย AWS CodeBuild 

จากบริการข้างต้นจะเล็งไปที่ผู้ให้บริการด้านเทเลคอมแต่บริการ Private Wireless Network จะก้าวไปสู่กลุ่มลูกค้าระดับองค์กร สำหรับการให้บริการเครือข่ายสัญญาณไร้สายแบบส่วนตัว ซึ่งโครงข่ายนี้ก็ถูกดูแลจากผู้ให้บริการด้านเทเลคอมนั่นเอง แต่โครงสร้างพื้นฐานเป็น AWS จุดเด่นคือประสิทธิภาพด้านราคาและความมั่นคงปลอดภัย

ที่มา : https://techcrunch.com/2023/02/21/amazons-aws-cozies-up-to-carriers-launches-2-services-to-build-and-operate-networks-in-the-cloud/ และ https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-aws-telco-network-builder-deploy-and-manage-telco-networks/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-launches-service-telco-network-builder/

การคาดการณ์ 5 เทคโนโลยีของภาครัฐในปี 2566 [Guest Post]

โดย อีริค คอนราด กรรมการผู้จัดการสำหรับกลุ่มลูกค้าภาครัฐของ AWS ในภูมิภาคอาเซียน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ลูกค้าภาครัฐทั่วโลกได้เปลี่ยนมาใช้ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งสร้างนวัตกรรมในภาครัฐ ภาคการศึกษา องค์กรไม่แสวงหากำไร หน่วยงานด้านอวกาศ และการดูแลสุขภาพ โดยเทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้ภาครัฐเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่มีความยืดหยุ่นและความปลอดภัย ก้าวเข้าสู่ปี 2566 เราจะมาดูกันว่าเทคโนโลยีของภาครัฐจะเป็นอย่างไรต่อไป และวิธีที่องค์กรภาครัฐสามารถปรับตัวและสร้างนวัตกรรมต่อไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไม่หยุดนิ่ง รวมถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ปลายทางและองค์ประกอบต่าง ๆ ได้สําเร็จ

1. การนำ AI และ ML มาใช้มากขึ้นเพื่อพัฒนาผลลัพธ์ต่างๆ

เมื่อ AWS เริ่มต้นธุรกิจภาครัฐในปี 2553 ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจระบบคลาวด์ด้วยเหตุผลสองประการ คือเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการโฮสต์เว็บไซต์และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ลูกค้าภาครัฐของเรามีความเชี่ยวชาญมากขึ้นในการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ และตระหนักถึงประโยชน์และศักยภาพเพิ่มเติมที่มีความคล่องตัวและความสามารถในการปรับขนาดตามการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้ภาครัฐสร้างและแนะบริการใหม่ ๆ ให้แก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การสร้างแพลตฟอร์มด้านการฉีดวัคซีนทั่วประเทศภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ การเปิดตัวแอปเพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จในช่วงสถานการณ์โควิด นอกจากนี้ ภาครัฐยังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยเพื่อประหยัดเวลาและปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถประโยชน์ด้านทรัพยากรเพื่อมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้บริการ ปัจจุบัน ลูกค้าภาครัฐกำลังมองหาการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์สำหรับเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แมชชีนเลิร์นนิง (ML) และ Internet of Things เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมและประสิทธิภาพต่อไป

ตัวอย่างเช่น โครงการ Zero Waste Zero Hunger (ZWZH) ในเกาหลีใต้ที่ใช้ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดเศษอาหาร โดยหัวใจสำคัญของโปรแกรมคือเครื่องสแกนอาหารสามมิติ (3D) ที่ใช้ AI ในการวิเคราะห์การบริโภคอาหารและให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ทั้งผู้จัดการโรงอาหารและผู้ที่มารับประทาน ซึ่งเครื่องสแกนใช้ AI และ ML เพื่อวิเคราะห์อาหารที่เหลือ ระบุเศษอาหารตามประเภทและต้นทุน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณที่ช่วยให้ผู้จัดการโรงอาหารเพิ่มประสิทธิภาพรายการอาหาร ปริมาณ และตัวเลือกเมนู โรงอาหารในประเทศเกาหลีใต้เฉลี่ยร้อยละ 30 ที่ใช้ ZWZH ในการช่วยลดเศษอาหาร ในขณะที่ลดปริมาณอาหารเหลือบนจานลงได้มากถึงร้อยละ 42

เราคาดหวังว่าในที่สุดแทบทุกแอปพลิเคชันจะนำ AI และ ML มาใช้ เพื่อช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์ ลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาอันมีค่า และอื่น ๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการใช้ ML สิ่งสำคัญคือต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีคุณภาพสูงเพื่อฝึกโมเดล ML ด้วยเหตุนี้ เราจึงแนะนำให้หน่วยงานต่าง ๆ สร้างกลยุทธ์ในการบริหารจัดการข้อมูลที่จะช่วยพัฒนาความสมบูรณ์ การเข้าถึง และความปลอดภัยของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

2. การใช้คลาวด์เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานของประชาชน

ประชาชนในปัจจุบันคาดหวังประสบการณ์ที่ราบรื่นเมื่อใช้บริการที่หน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร ร้านค้า และโรงแรม ล้วนรู้จักลูกค้าของตน สามารถคาดการณ์ความต้องการ และตอบสนองความต้องการได้ของลูกค้าอย่างน่าประทับใจ ซึ่งประชาชนคาดหวังว่าหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐจะสามารถทำเช่นเดียวกันได้

หลายคนกำลังเผชิญกับความท้าทาย ภาครัฐและองค์กรภาครัฐจำนวนมากหันมาใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม ตั้งแต่การประกันการว่างงาน ไปจนถึงการให้บริการแก่ประชาชนโดยตรง

ผู้ให้บริการไปรษณีย์และจัดส่งพัสดุแห่งชาติในมาเลเซีย Pos Malaysia กำลังย้ายปริมาณงานมาอยู่บน AWS เพื่อทำให้การทำธุรกรรมนั้นราบรื่นยิ่งขึ้นด้วยโซลูชันดิจิทัลแบบใหม่ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ในขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีลงกว่าร้อยละ 50 ซึ่ง Pos Malaysia จะใช้ AWS เพื่อสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่ง และปรับปรุงการดําเนินงานทั่วประเทศได้ดียิ่งขึ้น ภาครัฐของรัฐเตลังคานาในประเทศอินเดียใช้ AWS เพื่อปรับปรุงการให้บริการประชาชนใน 33 แผนก 289 หน่วยงาน ตั้งแต่การดูแลในโรงพยาบาลไปจนถึงการชำระภาษีโรงเรือน ตัวอย่างเช่น การใช้ AWS ทำให้ Aarogyasri ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐในเตลังคานา สามารถอำนวยความสะดวกในการนำประกันสุขภาพไปใช้ ทำให้บริหารเวลาทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้โรงพยาบาลในรัฐเตลังคานากว่า 500 แห่งสามารถมุ่งเน้นไปที่การจัดลําดับความสําคัญของผู้ป่วย มากกว่าการแก้ปัญหาการหยุดงาน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ความมุ่งมั่นในการยกระดับและปรับปรุงประสบการณ์ของประชาชนให้เหมาะสมกับแต่ละคนจะแพร่หลายมากขึ้น ในขณะที่เรายังคงพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูล IoT และ ML ในขณะที่ภาครัฐคุ้นเคยกับการปรับใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากขึ้น

3. การทดลองกับการประมวลผลควอนตัม

คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถเพิ่มความเร็วให้กับงานคำนวณที่มากกว่าความสามารถของคอมพิวเตอร์ทั่วไป และด้วยระบบคลาวด์ องค์กรไม่จำเป็นต้องเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกหรือสถาบันวิจัยที่ก้าวหน้าที่สุดอีกต่อไปเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันทรงพลังนี้

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา AWS ได้เปิดตัว Amazon Braket ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถทดลองใช้ฮาร์ดแวร์ควอนตัมประเภทต่าง ๆ ได้ และนับเป็นครั้งแรกที่ Amazon Braket สามารถเปรียบเทียบเทคโนโลยีควอนตัมต่าง ๆ แบบเทียบเคียงกันและสลับกันได้ ด้วยการเปลี่ยนโค้ดเพียงบรรทัดเดียว และเมื่อเร็วๆ นี้ เรายังได้จัดตั้ง  AWS Center for Quantum Computing ที่ California Institute of Technology (Caltech) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกด้านการคำนวณควอนตัมและข้อมูลควอนตัม AWS Center for Quantum Networking มีเป้าหมายในการจัดการกับความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐานต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันใหม่ ๆ สำหรับเครือข่ายควอนตัม และเรามี Amazon Quantum Solutions Lab ที่ช่วยลูกค้าในการเร่งการพัฒนาโซลูชันควอนตัม

AWS ร่วมมือกับกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (MeitY) ในอินเดีย เพื่อจัดตั้ง Quantum Computing Applications Lab (QCAL) เพื่อให้ชุมชนวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักพัฒนาสามารถเข้าถึงการพัฒนาการประมวลผลควอนตัม ที่สอดคล้องกับลําดับความสําคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลอินเดียได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ เมื่อปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียใช้ AWS เพื่อเปิดตัวเครื่องสร้างตัวเลขที่สร้างตัวเลขสุ่มโดยไม่ได้รับผลกระทบจากความคิดของมนุษย์ด้วยความเร็วสูงและแบบเรียลไทม์

แม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่เราเชื่อว่าควอนตัมคอมพิวติ้งมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่และเป็นสิ่งที่เราจะลงทุนต่อไป เมื่อองค์กรต่าง ๆ สามารถทดลองใช้ควอนตัมคอมพิวติ้งได้ง่ายขึ้น เราจึงส่งเสริมให้ลูกค้าภาครัฐลองพิจารณาดูว่าควอนตัมสามารถทำอะไรเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของพวกเขาได้บ้าง

4. การใช้งานการสร้างแบบจำลองวัตถุขึ้นในโลกดิจิทัลที่มากขึ้นและการจำลองขนาดใหญ่

Digital Twin คือการสร้างแบบจำลองวัตถุขึ้นในโลกดิจิทัล มีการอัปเดตข้อมูลแบบไดนามิกเพื่อเลียนแบบโครงสร้าง สถานะ และพฤติกรรมที่แท้จริงของระบบ

แม้ว่าแนวคิดของ digital twins จะไม่ใช่เรื่องใหม่และย้อนไปถึงยุคแรก ๆ ของโครงการอวกาศ แต่ระบบคลาวด์กำลังทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ดังนั้นลูกค้าของเราทุกคนจึงสามารถสร้างและเรียกใช้การจำลองได้ในวงกว้าง องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้โดยไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์พิเศษหรือความเชี่ยวชาญอีกต่อไป

ตัวอย่างเช่น AWS IoT TwinMaker เป็นบริการที่ช่วยให้ลูกค้าสร้างแบบจำลองวัตถุขึ้นในโลกดิจิทัลที่ใช้งานได้จริงของระบบจริงและระบบดิจิทัล บริการนี้สร้างภาพดิจิทัลโดยใช้การวัดและการวิเคราะห์จากเซ็นเซอร์ กล้อง และแอปพลิเคชันระดับองค์กรที่หลากหลาย และเมื่อไม่นานมานี้ที่งาน re:Invent 2022 AWS ได้ประกาศ AWS SimSpace Weaver ซึ่งเป็นบริการประมวลผลที่จัดการโดย AWS แบบเต็มรูปแบบ ที่จะช่วยให้ลูกค้าสร้าง ดำเนินการ และเรียกใช้การจำลองขนาดใหญ่ได้

เราเห็นลูกค้าภาครัฐใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น University of Miami Miller School of Medicine ที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางโรงเรียนได้ประกาศโครงการวิจัยที่ออกแบบมาเพื่อสร้าง “Digital Twin” ของแต่ละคน โดยใช้ข้อมูลด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมจากเซ็นเซอร์ในบ้านและบนร่างกาย เมื่อสร้างแล้วผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพจะใช้ Digital Twin ในการทดสอบและประเมินตัวเลือกการรักษาต่าง ๆ และผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้จริง นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ช่วยให้สามารถจ่ายยาเฉพาะบุคคลได้อย่างแม่นยำตามข้อมูลที่รวบรวมโดยตรงจากแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมของพวกเขา

เมื่ออุปสรรคในการเริ่มต้นลดลงอย่างต่อเนื่อง เราคาดการณ์ว่าหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จะใช้ digital twin เพื่อแก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ

5. อวกาศเชิงพาณิชย์

การเติบโตที่สูงกว่าปกติในอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลกกำลังสร้างโอกาสมากมายสำหรับนวัตกรรม ในปี 2564 อุตสาหกรรมอวกาศเติบโตเร็วที่สุดในรอบหลายปี และจากยานอวกาศทั้งหมด 1,022 ลำที่อยู่ในวงโคจรในช่วงหกเดือนแรกของปี 2565 ส่วนใหญ่หรือ 958 ลำมาจากภาคการค้า

AWS ช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงที่องค์กรในอุตสาหกรรมอวกาศมักเผชิญ ซึ่งรวมถึงเวลาแฝงสูง เครือข่ายแบนด์วิดท์ที่จำกัด และโครงสร้างพื้นฐาน เราเห็นองค์กรทุกขนาดสามารถมีส่วนร่วมได้ เนื่องจาก AWS ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ความเร็ว และความปลอดภัยที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จ แม้แต่องค์กรขนาดเล็กก็สามารถสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้โดยการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์เพื่อเป้าหมายด้านอวกาศในอนาคต

ตัวอย่างเช่น บริษัท Lunar Outpost ที่ใช้เครื่องมือวิศวกรรมดิจิทัลของ AWS เช่น AWS RoboMaker เพื่อพัฒนาและทดสอบยานสำรวจใหม่ที่จะนำทางพื้นผิวดวงจันทร์โดยอัตโนมัติ และช่วยนักวิทยาศาสตร์สำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก เครื่องมือวิศวกรรมดิจิทัลของ AWS เป็นส่วนสำคัญสำหรับการทดสอบหุ่นยนต์ในสภาวะการทำงานที่สมบุกสมบัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดตัวยานสำรวจใหม่คันแรกที่กำลังจะมาถึง

นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนภาครัฐให้บรรลุเป้าหมายด้านอวกาศและเร่งสร้างนวัตกรรมด้านอวกาศ ตัวอย่างเช่น AWS ได้ร่วมมือกับ Office for Space Technology and Industry ในสิงคโปร์ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในด้านอวกาศ ในฐานะอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเทคโนโลยี

นวัตกรรมอวกาศสามารถเกิดขึ้นได้จากทุกที่ และเราจะยังคงเห็นลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจคิดค้นแนวทางใหม่ ๆ เพื่อภารกิจด้านอวกาศ

มองไปข้างหน้า

องค์กรที่มีรากฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งได้พิสูจน์แล้วว่าอยู่ในจุดที่ดีกว่า สามารถให้บริการได้เร็วและรักษาความต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี การมีเครื่องมือที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เตรียมพร้อมและตอบสนองต่อสถานการณ์ใด ๆ ที่ยังมาไม่ถึง ในขณะเดียวกันก็ช่วยขับเคลื่อนคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรม ที่ AWS เรามุ่งเน้นที่การสนับสนุนลูกค้าภาครัฐของเราทั่วโลก ในการปลดล็อกศักยภาพของคลาวด์และเร่งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายและให้บริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

from:https://www.techtalkthai.com/5-government-technology-forecasts-in-2023/

Unlocking the Data Dividend ทำไมข้อมูลจึงควรมีความสำคัญสูงสุดในปี 2023

โดย…เวย์น ดูโซ

Vice President of Storage, Hybrid Edge, and Data Services Amazon Web Services

ในขณะที่ธุรกิจในอาเซียนยังคงเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางอุปสรรคทางเศรษฐกิจ หลายคนกำลังมองหาระบบคลาวด์เพื่อมอบวิธีที่ง่าย ประหยัดต้นทุน และยั่งยืนในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และวางรากฐานสำหรับพวกเขาเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังของการวิเคราะห์ขั้นสูง ซึ่งเป็นผลมาจากผลการวิจัยที่เพิ่งเปิดตัวจากรายงานการวิจัยที่จัดทำโดย Deloitte Access Economics และว่าจ้างโดย AWS เผยให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกที่ควบคุมพลังของข้อมูลสามารถเพิ่มรายได้ทางธุรกิจต่อปีได้มากถึง 8.7%

เวย์น ดูโซ ได้ช่วยเหลือลูกค้าทั่วโลกในการสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลที่ทันสมัยและยอมรับความสามารถของระบบคลาวด์ ด้วยประสบการณ์กว่าทศวรรษที่ AWS ขับเคลื่อนการเติบโตของข้อมูล พื้นที่จัดเก็บ และบริการเอดจ์แบบไฮบริด Wayne ได้เห็นความก้าวหน้าของนวัตกรรมข้อมูลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีเป้าหมายที่แน่วแน่เกี่ยวกับสิ่งที่องค์กรต้องการเพื่อเอาชนะความท้าทายด้านข้อมูล
 
เหตุใดปี 2023 จึงเป็นปีสำหรับองค์กรต่างๆ ใน APAC ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพค่าใช้จ่าย ค้นหาแหล่งรายได้ใหม่ และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า คลื่นลูกต่อไปของการประดิษฐ์คิดค้นจะถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จากรายงาน IDC ประจำปี 2022 เกี่ยวกับมูลค่าธุรกิจของ AWS สรุปให้เข้าใจได้ดังนี้
  • 50% lower five-year cost of operations – AWS ให้โครงสร้างพื้นฐานที่คล่องตัว ปรับขยายได้ และยืดหยุ่นกว่าที่สถาปัตยกรรมในองค์กรสามารถส่งมอบได้อย่างมีนัยสำคัญ ความเร็วที่ดีขึ้นอย่างมากในการส่งมอบทรัพยากรการประมวลผลและการจัดเก็บให้กับทีมพัฒนา ธุรกิจ และทีมปฏิบัติการ โดยการปรับปรุงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในสถิติที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ให้กับการดำเนินธุรกิจ
  • 25% lower costs of infrastructure – เพิ่มศักยภาพให้กับทีมไอที ทีมไอทีต้องต่อสู้กับความคาดหวังขององค์กรที่เพิ่มขึ้นในด้านคุณภาพ ความทันเวลา และนวัตกรรมการให้บริการด้านไอที สามารถได้รับประสิทธิภาพที่สำคัญโดยการลดหรือกำจัดทรัพยากรที่จัดการและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในองค์กร วิธีนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไอทีมีเวลามุ่งเน้นมากขึ้นในการตอบสนองความต้องการที่ก่อนหน้านี้อาจถูกละเลย ซึ่งองค์กรที่เข้าร่วมในการศึกษาระบุว่าไดนามิกนี้มาจากฟีเจอร์ของ AWS และฟังก์ชันการทำงานพร้อมกับการสนับสนุนโดยตรงจาก AWS โดยมีขั้นตอนและการบำรุงรักษาน้อยลง “ด้วย AWS ตอนนี้ทีมไอทีของเราสามารถมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ที่เราสามารถเพิ่มมูลค่าได้ เมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เราใช้เวลาทั้งหมดไปกับการปรับปรุงและบำรุงรักษาสิ่งต่างๆ”
  • 47% more efficient IT infrastructure teams – การเพิ่มประสิทธิภาพที่เปิดใช้งานโดย AWS สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที/ทีมดูแลระบบส่งผลกระทบอย่างมากต่อความต้องการในแต่ละวันสำหรับกิจกรรมของพนักงานเหล่านี้ ผลการวิเคราะห์ของ IDC แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่สัมภาษณ์ต้องการ FTE น้อยกว่า 71 รายการเพื่อเรียกใช้และจัดการปริมาณงานที่เทียบเท่ากับ AWS ซึ่งมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 47% ผู้ให้สัมภาษณ์ยังสังเกตเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากประสิทธิภาพเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงระดับพนักงานที่คล่องตัวขึ้น ใช้เวลาในการจัดการเหตุการณ์น้อยลง และลำดับเวลาการปรับใช้แอปพลิเคชันเร็วขึ้น
  • 2.3x new features delivered per year – ผลกระทบเชิงบวกของ AWS ในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับผู้เข้าร่วมการศึกษา นอกเหนือจากปริมาณแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้เข้าร่วมการศึกษารายงานว่ามีการเผยแพร่มากขึ้นอย่างชัดเจน (เพิ่มขึ้น 85%) ซึ่งสะท้อนถึงความถี่ที่เพิ่มขึ้นในการมอบฟังก์ชันการทำงานที่ได้รับการปรับปรุงให้กับลูกค้าและพนักงาน พวกเขายังอ้างถึงคุณภาพของการเปิดตัวที่เพิ่มขึ้น โดยมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องในการเผยแพร่น้อยลง 27% และต้องการเวลาของพนักงานน้อยลงหนึ่งในสาม (33%) เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น การเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานที่เปิดใช้งานโดย AWS ยังสะท้อนให้เห็นในเวลาที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและอัปเดตแอปพลิเคชัน ซึ่งปรับปรุงโดยเฉลี่ย 37% ด้วย AWS
ประโยชน์และอุปสรรคในการเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลขององค์กรใน APAC ด้วยข้อมูลเชิงลึกในท้องถิ่นจากรายงานข้อมูล Demystifying Data ใหม่ของ AWS และ Deloitte Access Economics ช่วยสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีกว่าด้วยข้อมูล ตัดสินใจได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น, ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน, เพิ่มยอดขายและรายรับ และปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า
 
“ด้วยการใช้ประโยชน์จากความกว้างและความลึกของ AWS และเทคโนโลยีคลาวด์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เราสามารถนำแฟนๆ เข้าใกล้การตัดสินใจในเสี้ยววินาทีในสนามแข่งมากขึ้น ออกแบบรถ F1 ในอนาคตของเราใหม่ ช่วยให้เราเข้าใจความมั่งคั่งของข้อมูล F1 ได้ดียิ่งขึ้น และเรียกใช้การวิเคราะห์และแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว และอื่นๆ อีกมากมาย เราตื่นเต้นกับสิ่งที่เราทำสำเร็จ และตื่นเต้นที่จะได้เห็นว่าเราสามารถทำอะไรร่วมกันได้มากขึ้น” Ross Brawn กรรมการผู้จัดการของ Motor Sports, F1 กล่าว
 
“เราเพิ่งเปิดตัวคุณลักษณะใหม่ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับงานนำเสนอและวิดีโอ ซึ่งนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับพลังการประมวลผลและพื้นที่เก็บข้อมูล เราจะไม่มีทางปรับขนาดโซลูชันนี้ได้เลยหากไม่มี AWS”  Jim Tyrell หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน Canva
 
Data Maturity เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีที่องค์กรดำเนินการผ่าน strategy, people, technology, process, data และ machine learning 8.7% ของศักยภาพในการเติบโตของรายได้ต่อปีสำหรับแต่ละขั้นของ Data Maturity
 
นวัตกรรมล่าสุดของ AWS รวมถึงข้อมูลใหม่ ไฮบริดเอดจ์ และบริการพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งจะทำให้ลูกค้าใน APAC ส่งมอบข้อมูลเชิงลึกและขับเคลื่อนประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรได้ง่ายยิ่งขึ้น ความท้าทายด้านข้อมูลอันดับต้น ๆ สำหรับองค์กรในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
  • การขาดเงินทุน – 43% ขององค์กรต่างๆ กล่าวว่า การขาดเงินทุนเป็นอุปสรรคต่อการใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
  • ข้อมูลคุณภาพต่ำ – 40% ขององค์กรต่างๆ เชื่อว่าข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำจะขัดขวางความสามารถในการใช้การวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้ข้อมูล – 38% ขององค์กรรายงานว่าการเข้าถึงทรัพยากรที่มีทักษะนั้นเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีที่องค์กรต่างๆ สามารถปกป้องและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของตนในระบบคลาวด์ “Unlocking the data dividend requires a modern data strategy”
 
Modernize – ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลให้ทันสมัยจากโซลูชันเดิมไปสู่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่ปรับขนาดได้ เชื่อถือได้ และปลอดภัย
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์ที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์
  • ปรับปรุงเครื่องมือวิเคราะห์ให้ทันสมัยเพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และสตรีมมิงตามขนาด
  • สร้างมาตรฐานบนโครงสร้างพื้นฐาน ML ที่ทันสมัยเพื่อใช้ประโยชน์จาก ML ในวงกว้าง
Unify – BREAK DOWN SILOS เพื่อให้ข้อมูลสามารถทำงานข้ามฐานข้อมูล DATA LAKES, ANALYTICS และ ML SERVICES
  • รวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียวและทำให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้และแบ่งปันด้วยวิธีที่ปลอดภัย
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดายในทุกที่ที่ต้องการ ด้วยการควบคุมที่เหมาะสม
  • เปิดใช้การวิเคราะห์และข้อมูลเชิงลึกผ่านการวิเคราะห์ การแสดงข้อมูล และเครื่องมือ ML
Innovate – คิดค้นประสบการณ์ใหม่และปรับเปลี่ยนกระบวนการตามวัตถุประสงค์ – สร้างฐานข้อมูล การวิเคราะห์ขั้นสูง และ ML
  • เนื่องจากประเภทของข้อมูลและปริมาณงานเปลี่ยนแปลงไป ฐานข้อมูล เครื่องมือวิเคราะห์ และบริการ ML จึงจำเป็นต้องพัฒนาตามไปด้วย
  • ML กำลังขับเคลื่อนนวัตกรรมในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • สร้างประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้นด้วยข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ที่เปิดใช้งานโดย ML

วิสัยทัศน์ของ AWS สำหรับอนาคตของระบบคลาวด์

“เรามาพร้อมกับไอเดีย มาพร้อมกับวิธีแก้ปัญหา”

“AWS Data Lab นำเสนอการมีส่วนร่วมทางวิศวกรรมร่วมกันอย่างรวดเร็วระหว่างลูกค้าและทรัพยากรทางเทคนิคของ AWS เพื่อสร้างการส่งมอบที่จับต้องได้ซึ่งเร่งความเร็วข้อมูล การวิเคราะห์ ปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง (AI/ML) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์ และการริเริ่มปรับปรุงคอนเทนเนอร์ให้ทันสมัย”
 
AWS Data Lab ในสิงคโปร์เข้าร่วมกับเครือข่ายทั่วโลกของ AWS Data Lab ในออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลี นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และบราซิล
 

เกี่ยวกับ เวย์น ดูโซ

เวย์นเป็นผู้ประกอบการที่มีความกระตือรือล้นและหลงใหลในการสร้างทีมนวัตกรรมและธุรกิจที่มอบคุณค่าและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เวย์นชอบมีส่วนร่วมกับผู้ที่สร้างและนำเสนอโซลูชันด้วยความมุ่งมุ่นให้แก่ลูกค้า และลูกค้าเองก็ตระหนักถึงคุณค่าจากโซลูชันเหล่านั้นเช่นกัน
 
เวย์น เป็นรองประธานของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเขาเป็นผู้นำธุรกิจที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ เมื่อปี 2565 เวย์นได้ก่อตั้งและเป็นผู้นำศูนย์การพัฒนาระดับภูมิภาคของ AWS ประจำกรุงบอสตัน
 
ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งปัจจุบัน เวย์นเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำระดับสูงมาหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมการจัดเก็บข้อมูลที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ระบบจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรและระดับกลาง การจัดการทรัพยากรเครือข่าย มัลติมีเดียและเครือข่ายข้อมูล โดยเวย์นยังทำหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณบดีวิทยาลัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ที่มหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์นและมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ รัฐแอมเฮิร์สต์ อีกทั้งยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการ และที่ปรึกษาผู้บริหารของ Advancing Woman in Product (AWIP) และเป็นผู้บริหารในส่วนที่พักของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์เพนซิลเวเนียอีกด้วย
 
เวย์น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิชาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์  ที่แอมเฮิร์สต์ อีกทั้งยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมระบบคอมพิวเตอร จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และเคยเข้าร่วมโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้บริหารที่ MIT และ Babson College ทำให้เวย์น ได้ถือสิทธิบัตรมากกว่า 40 ฉบับ เกี่ยวกับระบบการประมวลผลแบบกระจายที่พร้อมใช้งาน  การประมวลผลวิดีโอดิจิทัล และระบบไฟล์

from:https://www.techtalkthai.com/unlocking-the-data-dividend-why-data-should-be-a-top-priority-in-2023/

AWS เปิดตัว EC2 instance ใหม่ m7g และ r7g

สำหรับผู้ใช้ที่มองหา EC2 instance เพื่อการใช้งานทั่วไปหรืออาจจะเป็นลูกค้าเดิมตั้งแต่ M1 จนถึง M6 หรือแม้กระทั่งเน้นการใช้งานแรม ล่าสุด AWS ได้เปิดตัว instance รุ่นใหม่ด้วยขุมพลัง Gravition 3 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่า M1 หรือ R6 ไปกว่า 25%

สเป็คของ M7g และ R7g เป็นไปตามด้านล่าง โดยรุ่น R จะเน้นงานที่ใช้แรมมากกว่าเช่น in-memory cache และการประมวลผลที่ฉับไวทันที โดยทั้งสองรุ่นใช้ DDR5 ซึ่งมีแบนวิธด์สูงกว่า DDR4 ถึง 50% และแน่นอนว่าครอบคลุมไปจนถึงเรื่องประสิทธิภาพการคำนวน อัตราความคุ้มค่าของพลังงานต่อประสิทธิภาพและการรับส่งทราฟฟิคระดับเครือข่ายด้วย ปัจจุบัน M7g และ R7g พร้อมใช้งานแล้วที่ US East (N. Virginia), US East (Ohio), US West (Oregon) และ Europe (Ireland)

credit : aws
credit : aws

ที่มา : https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-graviton3-based-general-purpose-m7g-and-memory-optimized-r7g-amazon-ec2-instances/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-announces-ec2-instance-m7g-and-r7g/

แกร็บเตรียมให้บริการข้อมูลแผนที่จาก GrabMaps สำหรับลูกค้า AWS ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Guest Post]

Grab พร้อมให้บริการข้อมูลแผนที่ ระบบค้นหาและการกำหนดเส้นทางครอบคลุม 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่าน Amazon Location Service

กรุงเทพฯ 9 กุมภาพันธ์ 2566 – Grab ผู้นำซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศตัวเป็นผู้ให้บริการข้อมูลแผนที่ GrabMaps สำหรับ Amazon Location Service ซึ่งเป็นบริการตามตำแหน่งของ Amazon Web Services (AWS) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มแผนที่ จุดหมายปลายทางหรือจุดสนใจ (POI) การแปลงที่อยู่จริงให้เป็นพิกัด การกำหนดเส้นทาง การติดตามและการกำหนดขอบเขตตำแหน่งบนแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย โดยลูกค้าของ AWS ที่ใช้ประโยชน์จาก Amazon Location Service สามารถเข้าถึงข้อมูลแผนที่ระดับภูมิภาคที่มีคุณภาพสูง ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงที่อยู่หรือ POI มากกว่า 50 ล้านแห่งจาก GrabMaps ครอบคลุมทั้งสิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา รวมถึงไทย ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการค้นหาและการกําหนดเส้นทางแบบไฮเปอร์โลคอลของ GrabMaps ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับคุณลักษณะเฉพาะของภูมิภาค ตั้งแต่ตรอกซอกซอยเล็ก ๆ ไปจนถึงสถานที่ที่ยากต่อการค้นหา

องค์กรจำนวนมากจากหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น บริษัทด้านเทคโนโลยี โลจิสติกส์ โทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐ ต้องการบริการตามตำแหน่งสำหรับแอปพลิเคชัน ด้วยความร่วมมือนี้ทำให้นักพัฒนาและทีมที่ใช้ Amazon Location Service สามารถปรับปรุงหรือสร้างแอปพลิเคชันที่เปิดใช้งานตำแหน่งของตนเองได้โดยใช้ GrabMaps โดยลูกค้าของ AWS สามารถแสดงข้อมูลที่ต้องการบนแผนที่ในประเทศที่เป็นปัจจุบัน และใช้ช่องค้นหาที่ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้ปลายทางและ POI ได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังสามารถวางแผนเส้นทางและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์แผนที่ให้กับแอปพลิเคชันของตนได้ ด้วยการดึงข้อมูลเส้นทางและข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบันของ GrabMaps ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถคำนวณเส้นทางที่เร็วที่สุดและระบุเวลาถึงที่หมายโดยประมาณได้อย่างแม่นยำโดยพิจารณาจากตัวแปรต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะที่ใช้ สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ เวลาออกเดินทาง และอื่น ๆ รวมถึงมีตัวเลือกในการหลีกเลี่ยงการใช้ทางด่วน เส้นทางเรือข้ามฟาก หรือถนนไฮเวย์

ฟิลิปป์ คันดัล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Grab กล่าวว่า “GrabMaps นำเสนอมุมมองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานที่ยอดเยี่ยม ทั่งความสดใหม่ของข้อมูล ความครอบคลุม และความแม่นยํา เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ AWS ซึ่งมีมาตรฐานระดับโลก นำเสนอจุดแข็งของเราให้กับบริษัทอื่น ๆ เพื่อพัฒนาบริการและแอปพลิเคชันที่ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ดียิ่งขึ้น”

คอเนอร์ แมคนามารา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียนของ AWS กล่าวว่า “เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงข้อมูลแผนที่ที่แม่นยําและคุ้มค่าเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ การขนส่ง และโลจิสติกส์ การผนวกข้อมูลจาก GrabMaps เข้ากับ Amazon Location Service ช่วยให้ลูกค้าของ AWS และผู้ใช้งานปลายทางสามารถเข้าถึงข้อมูลแผนที่ที่อัปเดตและแม่นยำในระดับท้องถิ่นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ด้วยข้อมูลแผนที่และฟังก์ชันการทำงานของ GrabMaps ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและบริหารจัดการต้นทุน ทำให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่ใช้บริการ Amazon Location Service เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาแพลตฟอร์มได้สูงสุด ตัวอย่างเช่น Luce SG แพลตฟอร์มออนดีมานด์ที่ให้บริการเรื่องบ้านแบบครบวงจรในสิงคโปร์ ซึ่งลูกค้าสามารถจองใช้บริการทำความสะอาดไปจนถึงบริการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ ทั้งที่บ้านหรือที่สำนักงานได้อย่างง่ายดาย

เจสัน จาง ผู้อำนวยการของ Luce SG กล่าวว่า “ในขณะที่เราขยายธุรกิจไปยังอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มันเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเราที่จะได้รับข้อมูลแผนที่และเส้นทางที่เชื่อถือได้ เพื่อให้เราสามารถส่งเจ้าหน้าที่ของเราออกไปให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีเส้นทางหรือถนนซึ่งไม่อยู่ในระบบเป็นจำนวนมากในภูมิภาคนี้ Amazon Location Service ที่มีฐานข้อมูลของ GrabMaps มีแผนที่และข้อมูลเส้นทางที่แม่นยำที่สุดในประเทศเหล่านี้ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ผู้ใช้บริการมีประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น ด้วยบริการของ Amazon Location Service และ GrabMaps ที่ช่วยขับเคลื่อนการจัดส่งและกำหนดเส้นทาง เรามั่นใจว่าเราจะสามารถส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพและตรงเวลาให้กับลูกค้าในทุกประเทศที่เราดำเนินธุรกิจ”

Amazon Location Service เป็นบริการตามตำแหน่งที่ตั้งที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มแผนที่ จุดสนใจ การแปลงที่อยู่จริงให้เป็นพิกัด การกำหนดเส้นทาง การติดตามและการกำหนดขอบเขตตำแหน่งบนแอปพลิเคชันได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของข้อมูล ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ หรือค่าใช้จ่าย

GrabMaps เป็นบริการระดับองค์กรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกสําหรับการใช้งานภายในบริษัท และได้เติบโตขึ้นเพื่อรองรับบริการของ Grab ทั่วทั้งภูมิภาค GrabMaps สร้างขึ้นจากหลักการของการทำแผนที่ตามชุมชน ทำให้บริการนี้นำเสนอข้อมูลแผนที่คุณภาพสูงที่มีความคุ้มค่า โดยใช้ประโยชน์จากเครือข่ายผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านค้า และพาร์ทเนอร์คนขับที่มีอยู่อย่างครอบคลุม ด้วยการดึงข้อมูลแผนที่จากคำสั่งซื้อและการเดินทางนับหลายล้านครั้งในแต่ละวัน  ที่มาพร้อมการรีวิวแบบเรียลไทม์จากพาร์ทเนอร์ของ Grab ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ การปิดถนน หรือข้อมูลอื่น ๆ เป็นต้น GrabMaps รองรับ API (Application Programming Interface) มากกว่า 8 แสนล้านครั้งต่อเดือนสำหรับการให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาสถานที่ การจัดส่ง การคํานวณ ETA การกําหนดเส้นทาง การนําทาง และอื่น ๆ ซึ่งได้ช่วยเพิ่มข้อมูลของถนนเป็นระยะทางกว่า 8 แสนกิโลเมตรใน OpenStreetMap ซึ่งถนนเหล่านี้ไม่เคยอยู่ในระบบแผนที่มาก่อน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ GrabMaps ได้ที่นี่

 

from:https://www.techtalkthai.com/grab-to-provide-grabmaps-map-data-for-aws-customers-in-southeast-asia/

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จับมือ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ยกระดับการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ [Guest Post]

กรุงเทพฯ 1 กุมภาพันธ์ 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ที่ครอบคลุมและได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านเทคโนโลยีคลาวด์ของกระทรวงฯ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทย

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่าพันธกิจของ อว. คือการพัฒนากำลังคน สร้างความรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้ความรู้และหล่อหลอมผู้นำในอนาคต อว. ได้สร้างระบบนิเวศเพื่อเตรียมคนไทยให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ในด้านดิจิทัล ซึ่งกำหนดให้ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจสร้างรากฐานดิจิทัลเพื่อให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม

ซึ่งภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ AWS จะให้การสนับสนุน อว. โดยทำการทดลองเพื่อทดสอบความเป็นไปได้และการย้ายปริมาณงานมายังระบบคลาวด์ รวมถึงใช้การฝึกอบรมของ AWS เพื่อเพิ่มทักษะด้านระบบคลาวด์ให้กับบุคลากรในสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่ง และหน่วยงานวิจัยในสังกัด อว. อีก 20 แห่งทั่วประเทศภายในต้นปี 2569

การเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยและนักศึกษาใช้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็น Smart Nation ได้อย่างเต็มที่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “AWS ในฐานะผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่เราเลือกใช้ จะนำเทคโนโลยีระบบคลาวด์เข้ามาเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาการศึกษาและการวิจัย สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาและก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เทคโนโลยีคลาวด์จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ อว. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถประหยัดต้นทุนและมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนสถาบันอุดมศึกษาไทยให้เป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลประสิทธิภาพสูง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML)

มีสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ได้ใช้ประโยชน์จากคลาวด์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแล้ว ตัวอย่างเช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่มีความจำเป็นต้องลดช่องว่างและสร้างทักษะด้านคลาวด์ให้กับนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความพร้อมในด้านดิจิทัล โดย สจล. ได้ร่วมมือกับ AWS เพื่อนำเนื้อหาระบบคลาวด์ของ AWS Educate และ AWS Academy มาใช้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ทำให้นักศึกษาที่ผ่านการอบรมได้รับใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมคลาวด์ทั่วโลก และเข้าสู่ตลาดงานในด้านที่เป็นที่ต้องการสูงได้อย่างง่ายดาย

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ที่ย้ายปริมาณงานทั้งหมดมาอยู่บนระบบคลาวด์ของ AWS เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลและขับเคลื่อนการเรียนรู้ไปทั่วโลก ก่อนหน้านี้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ตั้งอยู่ภายในองค์กรของ มสธ. ไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานที่มีมากกว่า 7,000 คนที่เข้ามาใช้งานพร้อมกันได้ ซึ่งจํากัดความสามารถของมหาวิทยาลัยในการปรับขนาด จัดหลักสูตรและการสอบออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อย้ายมายังระบบคลาวด์ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถรองรับการเรียนออนไลน์และการสอบออนไลน์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงที่มีสถานการณ์โรคระบาด ไม่เพียงเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังได้วางรากฐานที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และแนะนำซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนรู้และแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ให้แก่ผู้เรียน 200,000 คนใน 64 ประเทศทั่วโลกในช่วงสองปีที่ผ่านมา

“AWS รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้สนับสนุน อว. ในการเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ด้วยบริการนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่คุ้มค่าและปลอดภัย รวมถึงการยกระดับบุคลากรให้มีทักษะด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาและการวิจัยในประเทศไทย จูเลี่ยน เลา ผู้จัดการฝ่ายขาย กลุ่มลูกค้าภาครัฐ ภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของ AWS กล่าวว่า อว. มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการใช้ประโยชน์จากคลาวด์และทำให้ทุกห้องเรียน สำนักงาน และหน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์ของคลาวด์ได้ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

from:https://www.techtalkthai.com/ministry-of-higher-education-science-research-and-innovation-joins-forces-with-amazon-web-services-to-elevate-thai-education-with-cloud-technology/

Amazon เปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับ Reverse Logistics ใหม่

นโยบายใหม่นี้เพิ่งมีผลบังคับใช้ โดยเปลี่ยนวิธีการจัดการต้นทุนการส่งคืนสินค้า

Reverse Logistics ในห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม” โดย:
 
ก่อนหน้านี้ หากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้นจากการคืนสินค้า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกซัพพอร์ตโดย Amazon
 
ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2023 เป็นต้นไป นโยบายเกี่ยวกับ Reverse Logistics ได้ถูกบังคับใช้ โดยหากมีการส่งคืนสินค้าในลักษณะที่มีค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการขนส่ง ผู้ขายจะเป็นผู้ชำระเงิน นโยบายใหม่นี้ถูกบังคับใช้กับคำสั่งซื้อที่ดำเนินการจัดส่งโดยผู้ขายเองเท่านั้น และจะไม่สามารถใช้ได้กับผู้ขายที่ใช้บริการแบบ Fulfillment by Amazon (FBA)
 
  • Fulfilled by Merchant แบบที่ไม่ใช้ FBA เป็นรูปแบบที่สินค้าจะจัดเก็บ (Stock) อยู่ที่ผู้ขายเอง เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ผู้ขายจะดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางด้วยตนเอง
  • Fulfilled by Amazon (FBA) สินค้าจะถูกนำจัดเก็บ (Stock) ณ คลังสินค้าของทาง Amazon เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา ทาง Amazon จะดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางแทน ซึ่งรวมไปถึงระบบติดตามสินค้าระหว่างทางให้ผู้ขายและลูกค้า นั่นหมายถึงผู้ขายจะไม่ต้องดำเนินการใดๆ เลย
การเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่เกี่ยวกับ Reverse Logistics ของ Amazon ทำให้ FBA มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ขายจะไม่ต้องเสี่ยงกับการเผชิญหน้ากับต้นทุนที่ไม่คาดคิดที่เกิดจากการคืนสินค้า ทำให้ผู้ขายสามารถลดต้นทุนของตนได้ หรือสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น ด้วยต้นทุนด้านลอจิสติกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ต้นทุนเชื้อเพลิงและพลังงานที่เพิ่มขึ้น ผู้ขายอาจจะต้องการวางแผนควบคุมต้นทุนสำหรับการจัดส่งและการคืนสินค้าให้เหมาะสมที่สุด
 
David Jinks หัวหน้าฝ่ายวิจัยผู้บริโภคของ ParcelHero กล่าวว่า “มีการส่งคืนคำสั่งซื้อในช่วงคริสต์มาสประมาณ 1.5 พันล้านปอนด์” ซึ่งเพิ่มขึ้น 25% จากปีก่อนหน้า
 

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-changes-policy-about-reverse-logistics/

AWS เปิดโซนให้บริการใน Melbourne หลังจากรอคอยกันมานาน

AWS ได้ประกาศแผนการสำหรับเมลเบิร์นเป็นครั้งแรกในปี 2020 โดยคาดว่าจะเริ่มใช้งานในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 และจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานแห่งที่สองในระดับภูมิภาค AWS Asia Pacific (Melbourne) ในออสเตรเลียที่รอคอยกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งแห่งแรกเปิดตัวในซิดนีย์เมื่อปี 2012

AWS กล่าวว่า มีแผนจะลงทุนประมาณ 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเมลเบิร์นภายในปี 2037 ซึ่งนำไปสู่ตำแหน่งงานประจำ 2,500 ตำแหน่งต่อปี
 
ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยโซนความพร้อมใช้งานสามแห่ง โครงสร้างพื้นฐานในตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันซึ่งอยู่ห่างจากกันมากพอที่จะทำให้ธุรกิจมีความต่อเนื่องได้ในขณะที่ให้เวลาแฝงต่ำแก่ลูกค้าที่ใช้หลายโซน สำหรับบริการจากภูมิภาคเมลเบิร์นประกอบด้วย
  • compute, storage
  • networking
  • business applications
  • developer tools
  • data analytics
  • security
  • machine learning
  • artificial intelligence (AI)
นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนมกราคม 2023 AWS ได้ประกาศเพิ่มเติมกับสิ่งที่เรียกว่าตำแหน่งโซนท้องถิ่น (Local Zones) ในเมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย เพื่อส่งมอบการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการ AWS อื่นๆ ที่เลือกได้จากที่ตั้งทางกายภาพเดียว
 
“โซนที่พร้อมให้บริการแล้วในแต่ละแห่งจะมีพลังงาน การระบายความร้อน และการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่แยกจากกัน และเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสำรองที่มีความหน่วงแฝงต่ำเป็นพิเศษ” AWS กล่าวในแถลงการณ์

from:https://www.techtalkthai.com/aws-launches-service-zone-in-melbourne/