คลังเก็บป้ายกำกับ: SMART_FACTORY

ก้าวสู่โลกแห่งโรงงานอัจฉริยะ Smart Factory ด้วยบริการแบบครบวงจรจาก KDDI

โลกของอุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเข้ามาของเทคโนโลยียุคใหม่กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญในฝั่งของอุตสาหกรรมเช่นกัน บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำว่าอุตสาหกรรมในยุคเจเนอเรชั่นที่ 4 กันอย่างหลากหลายมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากของเทคโนโลยีที่เข้ามาพัฒนาให้ธุรกิจอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนไปเป็นโรงงานแบบอัจฉริยะ หรือ Smart Factory

Smart Factory คืออะไร

Smart Factory หรือ โรงงานแบบอัจฉริยะ อาจจะถูกเรียกว่า Smart Manufacturing ในบริบทบางแห่ง แต่ในความหมายก็คือการที่เราได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานร่วม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมให้มากที่สุด โดยเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่ถูกนำมาผนวกรวมในการใช้งานอุตสาหกรรมนั้นก็ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), เทคโนโลยี Data Analytics, การใช้งาน Cloud Computing, การใช้ระบบ RFID, การใช้งานเทคโนโลยีกล้องและอุปกรณ์ตรวจจับ (IP Camera and Sensors) รวมไปถึงเทคโนโลยีด้าน Internet of Things (IoT)

โดยเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยให้การทำงานดีขึ้นก็จริงอยู่ แต่ในการอิมพลีเมนท์, การติดตั้งดูแลรักษานับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องประสบ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้จะต้องสัมพันธ์กับอุปกรณ์ Operation Technology ของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งบ่อยครั้งที่เราพบว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านั้นไม่สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาผนวกใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล

KDDI ช่วยเสริมศักยภาพด้านไอทีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

KDDI ผู้ให้บริหารโซลูชั่นไอทีชั้นนำระดับโลกได้ตระหนักถึงกรณีดังกล่าว จึงได้ออกแบบโซลูชั่นด้านเทคโนโลยีในหลายส่วน แบ่งออกด้วยกันเป็นส่วนงานต่างๆ ที่สำคัญอย่างเช่น

โซลูชั่นด้าน OT (Operational Technology) สำหรับด้าน Input

KDDI มีโซลูชั่นในการเข้ามาช่วยโรงงานอุตสาหกรรมค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้องที่มีตัวเซ็นเซอร์คอยตรวจตราการทำงานของบุคลากรหรือเครื่องจักร, เซ็นเซอร์สำหรับไลน์การผลิต, Work Analysis, AI Analysis, Inventory Management, อุปกรณ์ที่คอยเฝ้าระวังการทำงานของตัวแขนกลอุตสาหกรรม, ทีวีและหน้าจอ HMI ในการทำงานของการผลิต, แม้กระทั้งเซนเซอร์ในการตรวจจับสิ่งต่างๆ (เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, การรั่วไหลของของเหลว ของไหล ฯลฯ) ผ่านทางระบบ AI Recognition เข้าสู่การประมวลผลในระบบไอทีต่อไป

โซลูชั่นด้าน IT Infrastructure

ในฝั่งของอินฟราสตรัคเจอร์นั้น ในกรณีหากทางโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ มีโครงสร้างอินฟราสตรัคเจอร์เดิมอยู่แล้ว ทาง KDDI ก็พร้อมในการซัพพอร์ตการทำงานให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่หากองค์กรใดที่ต้องการเสริมหรือจัดทำอินฟราสตรัคเจอร์ด้านไอทีใหม่ KDDI ก็มีความพร้อมในการจัดหาโซลูชั่นแบบครบวงจรส่งมอบให้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย ระบบการจัดเก็บข้อมูล ระบบเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น อีกทั้งยังให้บริการผ่านทางระบบออนพรีมีส หรือ ระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง พร้อมทั้งนำเสนอผ่านช่องทางในรูปแบบไม่ว่าจะเป็น พีซี หรือ แท็บเล็ต เป็นต้น

บริการด้าน Smart Factory แบบครบวงจร จาก KDDI

KDDI ได้นำเอาระบบ IoT เข้ามาช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมก้าวสู่การเป็น Smart Factory ได้ผ่านทางโซลูชั่นในข้างต้น โดยมีจุดแข็งอยู่ด้วยกันอาทิ

การปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า

KDDI เข้าใจถึงความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงออกแบบโซลูชั่น IoT ที่สามารถปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของลูกค้านั้นได้อย่างยอดเยี่ยมพร้อมทั้งช่วยให้ลูกค้ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงทีเกิดขึ้นกับโรงงานของพวกเขาด้วยในแบบเรียลไทม์

ให้บริการแบบครบวงจรภายในหนึ่งเดียว

KDDI มาพร้อมกับโซลูชันที่ตอบโจทย์ในทุกมิติของเทคโนโลยี ไม่ว่าโรงงานต้องการโซลูชั่นในส่วนของ ระบบการปฏิบัติการด้าน Operation หรือต้องการโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอินฟราสตรัคเจอร์ โดยลูกค้าไม่่จำเป็นต้องวุ่นวายกับการที่จะหาโซลูชั่นมาประกอบกัน KDDI จัดเตรียมทั้งในส่วนของ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และบริการหลังการขาย เรียกได้ว่าให้บริการระบบ IoT แบบ All-in-One

ประสบการณ์ด้านการซัพพลายที่ยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมมากมาย

KDDI มีประสบการณ์ในการซัพพลายเกี่ยวกับโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานด้านคอสเมติก, ระบบออโตโมบิล, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานไฟฟ้า, โรงงานด้านแม่พิมพ์โมลด์ โรงงานด้านระบบเคมี เป็นต้น ทำให้ KDDI เป็นผู้ให้บริการด้าน IoT ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Smart Factory อย่างแท้จริง

บทสรุป

Smart Factory หรือ โรงงานแบบอัจฉริยะ เป็นอนาคตใหม่แห่งการดำเนินการด้านอุตสาหกรรม ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งาน อันประกอบด้วยเทคโนโลยีด้าน IoT และอื่นๆ โดยปัจจุบันโรงงานทั้งหลายเริ่มให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่ Smart Factory เป็นจำนวนมาก แต่ทว่าก็ยังติดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการและการอิมพลีเมนท์และการใช้งาน โดยที่ KDDI ได้เล็งเห็นถึงประเด็นนี้จึงได้พัฒนาโซลูชั่นด้าน OT, IT และ IoT แบบครบวงจร สำหรับงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ และเป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างมั่นใจว่าจะได้โซลูชั่นด้านไอทีที่ดีที่สุดและเหมาะกับโรงงานของตน พร้อมสร้างประสิทธิผลให้คืนกลับแก่โรงงานได้อย่างดีที่สุด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ bd@kddi.co.th
โทรศัพท์ 02 075 8888 หรือ https://www.linkedin.com/company/kddi-thailand

from:https://www.enterpriseitpro.net/kddi-provide-the-best-solutions-for-smart-factory/

10 อันดับ เทรนด์ Manufacturing (2023 & 2024)

ข้อมูลจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติระบุว่าอัตราการเติบโตทั่วโลกอยู่ที่ 18.2% ในปี 2022 อุตสาหกรรมกำลังฟื้นตัว ความยืดหยุ่นคือประเด็นหลักที่ก่อให้เกิดแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การผลิตทั่วโลก
 

Image Credit : blog.copadata.com
การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับ C-suite กว่า 200 รายในบริษัทผู้ผลิตระดับโลกพบว่า 68% ระบุว่าความยืดหยุ่นและความคล่องตัวที่ดีขึ้นเป็นลำดับความสำคัญสูงสุดทางธุรกิจในปีต่อๆ ไป
 

เทรนด์ #1 – Smart Factories หรือ โรงงานอัจฉริยะ

“โรงงานอัจฉริยะ” หรือ “อุตสาหกรรมอัจฉริยะ” อันที่จริงแนวคิดนี้มีมานานแล้ว แต่ด้วยขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจ จนกระทั้ง ณ ปัจจุบันได้มีนโยบาย “Industry 4.0” ขึ้นมา จึงทำให้เทคโนโลยีสำหรับภาคอุตสาหกรรมถูกพูดถึงกันมากขึ้น
 
โรงงานอัจฉริยะกลายเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อน “Industry 4.0” ในวงกว้างมากขึ้น เพื่อปรับปรุงสู่มาตรฐานระดับสากลทั้งในยุโรป อเมริกาเหนือ และจีน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเรื่องการดำเนินงาน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งภายในหรือนอกโรงงานที่ต่างฝ่ายมุ่งเน้นให้ความสำคัญมากกว่าเดิม เพราะคุณภาพของแรงงานที่เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนผลผลิตจากโรงงานสู่ตลาดผู้บริโภค
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกและครั้งที่สอง เราเห็นการนำเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำและการเพิ่มขึ้นของ assembly lines
  • การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม เราเห็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิต
Industry 4.0 ยังคงผลักดันไปสู่ระบบอัตโนมัติ ด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้งานร่วมกัน เช่น IIoT (อินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ ในอุตสาหกรรม) ข้อมูลขนาดใหญ่ การเรียนรู้ของเครื่องกล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ขั้นสูง
 
The industrial internet of things (IIoT) สำหรับอุตสาหกรรมเป็นองค์ประกอบหลักของ Industry 4.0 โดย IIoT จะผสานการทำงานระหว่างเซ็นเซอร์และเครื่องจักรที่ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในกระบวนการผลิตทั้งหมด เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีองค์กรสายการผลิตจำนวนเพียง 10% เท่านั้นที่มีการนำ IIoT ไปปรับใช้งาน
 
จากการคาดการณ์ ภายในปี 2025 จำนวนการบูรณาการ IIoT เพื่อปรับใช้งานภายในองค์กรสายการผลิตจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าตัวเลขสถิติปีที่ผ่านๆ มาถึง 50% คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มาดูข้อมูลด้านเทคนิคกันบ้าง ปัจจุบันพบว่า องค์กรที่มีการตั้งค่า IIoT ขั้นสูงพบว่าสายการประกอบชิ้นส่วนแห่งเดียวสามารถสร้างปริมาณข้อมูลได้มากถึง 70 เทราไบต์ต่อวัน จะเห็นว่าข้อมูลระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีการรับส่งที่มีประสิทธิภาพระดับสูงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความต่อเนื่องที่รวดเร็วให้กับข้อมูล
 
การรับส่งข้อมูลในปริมาณมากเช่นนี้เป็นปัจจัยช่วยกระตุ้นให้เทคโนโลยี 5G สำหรับอุตสาหกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว
 
ด้วยความเร็วที่เร็วกว่า Wi-Fi หรือ 4G (สูงสุด 10 Gbps) อย่างมีนัยสำคัญ เวลาแฝงใกล้ศูนย์ และการเชื่อมต่อไร้สาย 5G นำความยืดหยุ่นในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนสู่สภาพแวดล้อมการผลิตความเร็วสูง พร้อมศักยภาพในการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์แทบทุกชนิด
 
การคาดการณ์ล่าสุดคาดการณ์ว่าจะมีหน่วย 5G อย่างน้อย 22 ล้านหน่วยในภาคการผลิตภายในปี 2573 และมีมูลค่ากว่า 605,000 ล้านดอลลาร์
The manufacturing sector is expected to demand more 5G IoT devices than any other sector.
Audi เป็นตัวอย่างของผู้เริ่มนำ 5G มาใช้ โดยได้ทำสัญญากับ Ericsson เพื่อนำระบบอัตโนมัติขั้นสูงที่ขับเคลื่อนโดย 5G มาใช้ในห้องปฏิบัติการการผลิตของตน
 

เทรนด์ #2 – AI, การเรียนรู้ของเครื่องจักร และการวิเคราะห์ขั้นสูงช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด คือ แท่นขุดเจาะน้ำมันทั่วไปมีเซ็นเซอร์มากกว่า 80,000 ตัว ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับทุกอย่างตั้งแต่พารามิเตอร์กระบวนการ (อุณหภูมิ ความดัน และอัตราการไหล เป็นต้น) ไปจนถึงสถานะของเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งช่วยให้สามารถตรวจสอบจากระยะไกลและการผลิตที่มุ่งเน้น ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะถูกป้อนโดยข้อมูล
 
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว เซ็นเซอร์จำนวนมากจะส่งข้อมูลประมาณสองเทราไบต์ต่อวัน ซึ่งเกินกว่าขอบเขตของสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิม
 
ก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่าการลงทุนใน AI สำหรับสายการผลิตจะเพิ่มขึ้น 8 เท่าในช่วง 5 ปีไปจนถึงปี 2021 และเพิ่มขึ้น 3 เท่าใน IT ขั้นสูง เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์และการวิเคราะห์
 
ภายในต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ธุรกิจการผลิตระดับชั้นนำเกือบหนึ่งในสี่ได้เริ่มนำโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาปรับใช้ และในปี 2021 มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 76% โดยเฉพาะในยุโรปมีการนำ AI มาใช้ในการดำเนินงานด้านการผลิตในแต่ละวันนั้นสูงมากเป็นพิเศษ
  • อิตาลี ร้อยละ 80%
  • เยอรมนี ร้อยละ 79%
  • สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 64%
  • ญี่ปุ่น ร้อยละ 50%
  • เกาหลีใต้ ร้อยละ 39%
AI use by manufacturers in different countries.
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรหนัก อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และโลหะ มีการปรับใช้งาน AI มากที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ ต้องการประสิทธิภาพจากการตัดสินใจมากขึ้น โดยใช้ AI ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ไปจนถึงกระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การตรวจสอบสายการผลิต และการจัดการสินค้าคงคลัง
 
จากรายงาน Harvard Business Review ประจำปี 2021 ประเมินว่ามูลค่ารวมที่สร้างขึ้นโดย AI นั้นใกล้เคียงกับ 13 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสองในสามของบริษัทผู้ผลิตชั้นนำสามารถเพิ่มรายได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการใช้แมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ขั้นสูง
 
ภายในปี 2026 ตลาดการวิเคราะห์การผลิตคาดว่าจะมีมูลค่า 28,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมากจากมูลค่าปัจจุบันที่ 8,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
 

เทรนด์ #3 – Predictive Maintenance และ Digital Twin Technology ช่วยลดข้อผิดพลาด

IIoT เมื่อรวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ทำให้สามารถใช้อัลกอริทึมที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อความสามารถในการคาดการณ์ความล้มเหลวในกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ “รู้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง”
 
ตัวอย่างเช่น ความล้มเหลวของคอมเพรสเซอร์ที่โรงงานปิโตรเลียมอาจมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 1 ถึง 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ในขณะที่การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนส่งผลเลวร้ายให้ผู้ผลิตต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
 
ข้อมูลบ่งชี้ว่าการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์สามารถลดเวลาหยุดทำงานได้ถึง 30% ถึง 50% เพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักรได้ 20% ถึง 40% และลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 30% โดย 35% ของผู้ผลิตขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาใช้เทคนิคการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์แล้ว
 
Airbus เป็นลูกค้ากลุ่มแรกๆ ที่ช่วยลูกค้าของสายการบินในการนำเทคนิคการคาดการณ์ขั้นสูงไปปรับใช้ โดยในปี 2022 Airbus ได้ร่วมมือกับ GE เพื่อปรับใช้ซอฟต์แวร์การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ที่อิงตาม AI และ ML ที่ซับซ้อน เพื่อคาดการณ์ความล้มเหลวของชิ้นส่วนในเครื่องบิน และดำเนินการซ่อมแซมและเปลี่ยนอะไหล่อย่างทันท่วงที เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและความสามารถในการทำกำไร
 
ตลาดสำหรับโซลูชันการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์มีมูลค่า 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2020 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 13,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2026 ทำให้เห็นถึงภาพการเติบโตของ IIoT, AI และ ML และยังได้สร้างอีกเทรนด์ย่อยที่สำคัญของวิวัฒนาการของโรงงานอัจฉริยะ นั่นคือ Digital Twin
 
การประยุกต์ใช้ Digital Twins มีตั้งแต่การทำนายอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ตามการออกแบบ (เช่นเดียวกับที่ GE ทำกับเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบิน) ไปจนถึงการจัดการโรงงานทั้งหมดและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการจำลองและการวิเคราะห์แบบ What-if (ดังที่แสดงโดย Siemens)
 
A Siemens digital twin of a Jet Engine
จากคาดการณ์มองว่าเมื่อจบสิ้นปี 2021 เกือบครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งหมดจะนำ Digital Twins ไปปรับใช้ และคาดว่าธุรกิจต่างๆ จะประหยัดเงินได้มากถึง 1,00,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการใช้ Digital Twins
 

เทรนด์ #4 – การปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานกำลังเปลี่ยนแปลงสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์

การหยุดชะงักเนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโดยตรง และคาดว่าการฟื้นฟูจะมีมูลค่าสูงถึง 443,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานไม่ได้จำกัดเฉพาะสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตเท่านั้น โดยในปี 2021 กว่า 83% ของบริษัทผู้ผลิตในสหรัฐฯ ยืนยันว่าพวกเขาจะย้ายฐานการผลิตใหม่ เมื่อเทียบกับในปี 2020 มีสัดส่วนเพียงแค่ 54% เท่านั้น
 
การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานไม่ได้จำกัดเฉพาะสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตเท่านั้น แหล่งที่มาของวัตถุดิบและส่วนประกอบ เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เช่น การจัดหาแบบใกล้แหล่ง การจัดหาแบบหลายแหล่ง การจัดหาในท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อต้นทุนที่จะเกิดขึ้นโดยตรง
Search interest in “Reshoring” over the last 10 years.
Just-in-time คือ ปรัชญาการจัดการสินค้าคงคลังที่มุ่งเน้นให้แน่ใจว่ามีชิ้นส่วนพร้อมใช้ในสายการผลิตเมื่อต้องการ ในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือไม่ล่าช้าจนเกินไป ยกตัวอย่างจากวิกฤติในอุตสาหกรรมกว่า 169 แห่งเข้าสู่ภาวะขาดแคลนชิปคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะคงอยู่เช่นนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย
 
จากข้อมูลบ่งชี้ว่า 50% ของผู้ผลิตกำลังมองหาซัพพลายเออร์ทางเลือกและซัพพลายเออร์สำรอง และคาดว่าสินค้าที่จะถูกผลิตขึ้นจะมีจำนวนมากถึง 25% ซึ่งจะถูกจัดสรรใหม่หรือย้ายฐานทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 4,500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
 

เทรนด์ #5 – โรงงานขนาดเล็กถือกำเนิดขึ้นเมื่อการค้าพัฒนาขึ้น

การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดนี้นำไปสู่การเติบโตของโรงงานขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโรงงานที่มีโมดูลสูงที่ปรับใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ วิทยาการหุ่นยนต์ และข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อเปิดใช้งานการผลิตแบบ hyper-autonomous
 
แนวโน้มของโรงงานขนาดเล็กเป็นการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของสองเมกะเทรนด์ (โรงงานอัจฉริยะและการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน) การแสวงหาความยืดหยุ่นทำให้ผู้ผลิตพยายามปรับปรุงความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการรันด์ชิ้นส่วนขนาดเล็ก และการปรับเปลี่ยนสายการผลิตเพื่อประกอบโมเดลใหม่อย่างรวดเร็ว
 
Arrival’s Microfactory
ในปี 2020 บริษัทสตาร์ทอัพด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อ Arrival สร้างกระแสอย่างมากเมื่อเซ็นสัญญาที่มีมูลค่ามากถึง 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กับ Hyundai และได้รับคำสั่งซื้อรถตู้ไฟฟ้าจำนวน 10,000 คันจาก UPS ซึ่ง Arrival กำลังสร้างรถตู้ในโรงงานขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาด (และต้นทุน) เพียงเศษเสี้ยวของโรงงานแบบดั้งเดิม และยังประกาศอีกว่าจะสร้างโรงงานขนาดเล็กเพิ่มมากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลกภายในปี 2026 ด้วยการควบคุมพลังขับเคลื่อนจาก IIOT, หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติขั้นสูงผ่าน AI ตลอดจนการอนุญาตให้ย้ายจุดผลิตใกล้กับจุดซื้อขาย โรงงานขนาดเล็กจึงสามารถลดเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ลดความไร้ประสิทธิภาพ และเปิดใช้งานความคล่องตัวเพื่อเปลี่ยนการผลิตที่ไม่เคยมีมาก่อน
 

เทรนด์ #6 – ผู้ผลิตขึ้นค่าแรงและปรับทักษะแรงงานเพื่อต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

  • จากการสำรวจของ Deloitte เมื่อเร็วๆ นี้ มีการประเมินว่าภาคการผลิตจะขาดแรงงานที่มีทักษะ 2,100,000 คนภายในปี 2573
  • การสำรวจแสดงให้เห็นว่า 38% ของผู้บริหารกล่าวว่าการสรรหาพนักงานใหม่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตในปี 2022
  • ผู้ผลิตกล่าวว่าการค้นหาผู้มีความสามารถนั้นยากกว่าปี 2018 ถึง 36%
  • การสำรวจในเดือนสิงหาคม 2022 จากสมาคมผู้ผลิตแห่งชาติรายงานว่าการสรรหาบุคลากรเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ 76% ของผู้ผลิตที่ทำการสำรวจ
  • การเพิ่มค่าจ้างเป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการดึงดูดผู้มีความสามารถ ผู้ผลิตเกือบสามในสี่กล่าวว่าพวกเขาจะขึ้นค่าจ้างมากกว่าค่าเฉลี่ย 3% ในปี 2022
  • ในปี 2564 เมื่อค่าจ้างสำหรับพนักงานใหม่มีการเติบโต 6.8% และอุตสาหกรรมโดยรวมขึ้นค่าจ้าง 3.2%
  • ผู้ผลิตยังเพิ่มการรักษาและเพิ่มทักษะให้กับพนักงานปัจจุบันเป็นสองเท่า
Wages in the manufacturing sector grew modestly in 2021 and additional increases are expected.
ในแบบสำรวจของ Deloitte ผู้ตอบแบบสำรวจ 31% กล่าวว่าการรักษาพนักงานไว้มีความสำคัญสูงสุด และ 13% กล่าวว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการปรับทักษะใหม่ เกือบ 70% ของพนักงานฝ่ายผลิตที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีกล่าวว่าพวกเขายังคงยึดมั่นกับนายจ้างเพราะพวกเขาเสนอโอกาสประเภทนี้
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อการใช้ความสามารถของ AI และหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น ชุดทักษะของพนักงานฝ่ายผลิตก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไป ซึ่งคาดการณ์ว่าความต้องการทักษะทางกายภาพและทักษะด้วยตนเองในงานที่ทำซ้ำๆ จะลดลงประมาณ 30% ในทศวรรษหน้า ในขณะเดียวกัน ความต้องการทักษะทางเทคโนโลยีจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% และความต้องการความเป็นผู้นำคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30%
 
เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆ ในการปรับทักษะพนักงาน MxD (Manufacturing x Digital) ได้เผยแพร่คู่มือการจ้างงานที่นำธุรกิจผ่านกระบวนการยกระดับทักษะ 247 ตำแหน่งงาน ซึ่งหลายบทบาทอยู่ในความปลอดภัยทางไซเบอร์
 
อีกตัวอย่างหนึ่ง สถาบันเพื่อนวัตกรรมการผลิตคอมโพสิตขั้นสูง (IACMI) ได้เปิดตัวโปรแกรม ACE: America’s Cutting Edge เป็นการฝึกอบรมฟรี
 
The IACMI has partnered with the DoD and the Office of Industrial Policy in offering the ACE program.

เทรนด์ #7 – การสรรหาผู้มีความสามารถใหม่

Manufacturing Institute ระบุว่า 64% ของผู้ผลิตกล่าวว่าความหลากหลายและความพยายามในการรวมเป็นหนึ่งเดียวคือจุดสนใจหลักสำหรับบริษัทของตน โดยมีคำมั่นสัญญาระบุว่าผู้ผลิตจะดำเนินการที่จับต้องได้ 50,000 รายการเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ และสร้างเส้นทางสู่โอกาสในการทำงานสำหรับกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสกว่า 300,000 แห่งภายในปี 2573
 
ผู้หญิงเป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีบทบาทน้อยกว่าในภาคการผลิต โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตน้อยกว่า 1 ใน 3 คนเป็นผู้หญิง นอกจากนี้ ผู้หญิงยังมีแนวโน้มที่จะออกจากงานในภาคการผลิตมากกว่าผู้ชายถึง 1.8 เท่า
Women are one population segment that’s not well represented in manufacturing.
ในขณะที่ 68% ของคนงานเป็นคนผิวขาว มีเพียง 11% เท่านั้นที่เป็นชาวฮิสแปนิก 10% เป็นคนผิวดำ และ 6% เป็นชาวเอเชีย
The percentage of minorities working in manufacturing did not see any substantial changes from 2010-2019.

เทรนด์ #8 – ผู้ผลิตเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลผลักดันอุตสาหกรรมไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ทั่วโลก อุตสาหกรรมการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนถึง 1 ใน 5 ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด ท่ามกลางการผลักดันทั่วโลกสู่ความยั่งยืน บริษัทมหาชนขนาดใหญ่กว่า 20% ของโลกได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคตอันใกล้ บริษัทผู้ผลิตหลายแห่ง รวมถึงหน่วยงานของรัฐ กำลังร่วมมือกันผลักดันสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนบนเป้าหมายเดียวกัน
EPA data shows that industry and manufacturing is one of the major contributors of greenhouse gas emissions.
เป้าหมายของบริษัทต่างๆ คือ การบรรลุคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583 ใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 และเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ
 

เทรนด์ #9 – การโจมตีทางไซเบอร์ทำให้เกิดการหยุดทำงานและข้อมูลรั่วไหล

ในดัชนี X-Force Threat Intelligence ของ IBM ภาคส่วนการผลิตได้รับการจัดอันดับให้เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดในปี 2021 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่การถูกโจมตีในกลุ่มนี้พุ่งแซงหน้าสถาบันการเงินที่เคยเป็นเป้าหมายหลักของโจรไซเบอร์
IBM reports that manufacturing was the top-attacked industry of 2021.
PwC รายงานว่า 49% ของผู้ผลิตระบุความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ว่าเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทของพวกเขาจะต้องเผชิญในอีกสองปีข้างหน้า
 
Cybersecurity risks and supply chain management topped the list of top challenges for manufacturers in 2021.
องค์กรการผลิตเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูดใจเป็นพิเศษสำหรับแฮ็กเกอร์ เนื่องจากอุตสาหกรรมมีอดทนต่อการหยุดทำงานต่ำที่สุด ตามข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญด้านไอที จากปัญหาห่วงโซ่อุปทานของ COVID-19 อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้ประโยชน์จากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่เพื่อทำลายธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาอยู่แล้ว
 
เมื่อ Industrial 4.0 กำลังเข้ามาอย่างเต็มตัว ผู้ผลิตกลับมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีซอฟต์แวร์ เฟิร์มแวร์ หรือฮาร์ดแวร์ จากข้อมูลของ X-Force Threat Intelligence Index จาก IBM พบว่า 23% ของการโจมตีในปี 2021 มาในรูปแบบของแรนซัมแวร์
 
ในเดือนมีนาคม 2022 กลุ่มแรนซัมแวร์ได้โจมตี Denso Corporation ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ที่เป็นผู้จัดหาให้กับบริษัทต่างๆ เช่น Toyota, Mercedes-Benz และ Ford แฮ็กเกอร์ได้เผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญที่ถูกขโมยเกี่ยวกับโตโยต้า ซึ่งรวมถึงอีเมล การเขียนแบบทางเทคนิค ใบสั่งซื้อ และข้อมูลอื่นๆ จำนวน 14 เทราไบต์ของข้อมูล
Pandora, the ransomware group, announced the attack on their leak portal.
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 Nvidia ผู้ผลิตชิปและหน่วยประมวลผลกราฟิกรายใหญ่ถูกโจมตี
  • กลุ่มแรนซั่มแวร์ชื่อ Lapsus$ อ้างความรับผิดชอบในการโจมตีดังกล่าว ซึ่งได้รั่วไหลของแผนงาน Nvidia, ไดรเวอร์, เฟิร์มแวร์ และข้อมูลประจำตัวของพนักงาน
  • ในการเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ องค์กรมากกว่า 50 แห่งได้รวมตัวกันในปี 2020 เพื่อก่อตั้ง Cybersecurity Manufacturing Innovation Institute (CyManII)
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 องค์กรได้ประกาศการสร้าง Texas Manufacturing x Transformation Hub เป้าหมายของศูนย์กลางนี้คือการฝึกอบรมพนักงานฝ่ายผลิต 1 ล้านคนสำหรับการเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ภายในปี 2026
 

เทรนด์ #10 – Additive Manufacturing อุตสาหกรรมการผลิตแบบเติมเนื้อ กลายเป็นแนวโน้มที่สำคัญ

ผู้ผลิตสามารถใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อพิมพ์ชิ้นส่วนภายในบริษัท และก้าวนำหน้าความล่าช้าของซัพพลายเชน การพิมพ์ 3 มิติ หรือที่เรียกว่าการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ เคยเป็นการทดลองสำหรับผู้ผลิตส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันเป็นวิธีประหยัดต้นทุนที่ถูกกฎหมายซึ่งนำไปใช้กับงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะการผลิตอุปกรณ์จับยึดและฟิกซ์เจอร์มาใช้ภายในบริษัทได้ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและเงิน
 
ในตัวอย่างหนึ่ง Pankl Racing Systems ผู้ผลิตระบบกลไกสำหรับรถยนต์และเครื่องบิน ใช้การพิมพ์ 3 มิติสำหรับอุปกรณ์จับยึดแบบกำหนดเอง กระบวนการนี้เร็วขึ้น 48 เท่าและราคาถูกกว่าจิ๊กสำหรับเครื่องกลึง CNC ถึง 12 เท่า
 
การพิมพ์ 3 มิติกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมการผลิตโลหะ ตลาดการพิมพ์โลหะ 3 มิติคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 19.5% จนถึงปี 2028 ซึ่งมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 11,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
 
Mantle เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่ให้บริการเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อกำจัดหรือลดเวลาและเงินที่ใช้ไปกับการสร้างเครื่องมือเหล็กกล้าลงอย่างมาก โดยเทคโนโลยีของพวกเขาสามารถนำไปสู่การลดระยะเวลารอคอยสินค้าลง 80% และลดต้นทุนลง 50% อ้างอิงข้อมูลตามเว็บไซต์ของ Mantle
 
Mantle uses 3D printing to meet the extremely precise requirements regarding surface finish, temperature tolerance, and material durability in the tooling sector.
Limber Prosthetics and Orthotics ในซานดิเอโกจะสแกนแขนขาของผู้พิการทางดิจิทัล จากนั้นใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตแขนขาเทียมเองภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าหนึ่งในสิบของต้นทุนของขาเทียมแบบดั้งเดิม
 
3D printing of a prosthetic leg from Limber Prosthetics.
ผู้ผลิต Kav ได้รับรางวัลหมวกกันน็อคจักรยานที่ทนทานต่อแรงกระแทกมากกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในปัจจุบันถึง 25% หมวกกันน็อคจักรยานแบบสั่งทำพิเศษซึ่งผลิตขึ้นเพื่อให้พอดีกับศีรษะของนักขี่จักรยานผลิตด้วยการพิมพ์ 3 มิติเช่นกัน
 
Kav is able to print thousands of custom helmets per month with its 3D technology.
นอกเหนือจากความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นแล้ว หมวกกันน็อคเหล่านี้ยังผลิตด้วยโพลิเมอร์ที่เป็นเอกสิทธิ์ของเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน (TPU) และคาร์บอนไฟเบอร์ มีน้ำหนักเบากว่าวัสดุทั่วไปถึง 20% และคงความแข็งแรงไว้ได้ที่อุณหภูมิ -30°C และสูงถึง 70°C
 

บทสรุป

ทั้ง 10 เทรนด์ Manufacturing 2023 & 2024 ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการออกแบบห่วงโซ่อุปทาน การปฏิวัติด้านอุตสาหกรรม และกำเนิดรูปแบบการผลิตใหม่ๆ เพื่อก้าวที่สำคัญสู่ Smart Factories ใน Industrial 4.0 อย่างยั่งยืน
 

from:https://www.techtalkthai.com/top-10-manufacturing-trends-2023-2024/

AWS เปิดตัว AWS Private 5G ให้องค์กรตั้งเครือข่าย 5G ได้เองในสหรัฐ

AWS เปิดตัว AWS Private 5G ให้องค์กรตั้งเครือข่าย 5G ส่วนตัวได้เองในสหรัฐ

Credit: ShutterStock.com

AWS Private 5G ใช้ช่องสัญญาณ Citizens Broadband Radio Service (CBRS) spectrum ซึ่งได้รับอนุญาตในสหรัฐอเมริกา องค์กรที่ต้องการตั้งเครือข่าย 5G แบบ Private เพื่อใช้งานเองภายใน สามารถใช้บริการ AWS Private 5G สำหรับตั้งโครงข่ายขึ้นมาได้ทันที ทำให้นำไปต่อยอดได้ในหลายระบบ เช่น ระบบ Smart Factory เพื่อใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ Handheld, Scanner และ Tablet ที่ต้องการความเสถียรของสัญญาณและ Latency ต่ำ

ปัจจุบัน AWS Private 5G รองรับ 4G LTE (Long Term Evolution) และจะรองรับ 5G ในเร็วๆนี้ ระบบควบคุมทั้งหมดทำงานบน AWS-managed Infrastructure โดยสามารถบริหารจัดการการผ่านทาง AWS Private 5G Console และควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์และแอพพลิเคชันผ่านทาง AWS Identity and Access Management (IAM) ได้ อย่างไรก็ตาม ภายในองค์กรจะต้องทำการติดตั้ง Radio Unit สำหรับปล่อยคลื่นสัญญาณ โดยจะต้องมีผู้ผ่าน Certified Professional Installer (CPI) เป็นผู้ทำการติดตั้ง ซึ่งเปิดโอกาสใน Partner ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้ สามารถเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าได้

AWS Private 5G รองรับเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยเริ่มให้บริการใน US East (Ohio), US East (N. Virginia) และ US West (Oregon) และเตรียมจะเปิดให้บริการกับประเทศอื่นๆเพิ่มเติมภายหลัง ส่วนค่าบริการอยู่ที่ 10 เหรียญต่อชั่วโมงต่อ Radio Unit และจ่ายขั้นต่ำที่ 60 วัน

ที่มา: https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-aws-private-5g-build-your-own-private-mobile-network/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-launches-aws-private-5g-for-build-own-private-5g-network-in-united-states/

ใช้จริงแล้ว! Smart Factory ในโรงงาน Yawata ด้วยโซลูชัน จาก AIS Business x Lertvilai & Sons

ตามที่ได้เห็นในหน้าสื่อมากมายถึงความก้าวล้ำในการนำเอาเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่จะทำให้เกิด Thailand Industry 4.0 ได้จริงนั้น เราได้เห็นถึงความร่วมมือและโซลูชันต่าง ๆ จากทาง AIS Business กับพาร์ตเนอร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Mitsubishi Electric, OMRON,  Schneider Electric  หรือว่า TKK ที่ทำให้ได้เห็น Use Case ที่มีความเป็นไปได้มากมายในการทำให้เกิด Smart Manufacturing ในประเทศไทย

และในความร่วมมือล่าสุดนี้ระหว่าง AIS Business กับทางสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) นั้น จึงทำให้เกิดโซลูชันที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี 5G ที่สามารถใช้งานได้จริงแล้วในโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า Yawata ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่เรียกได้ว่าเป็นการใช้งานโซลูชันในเชิงพาณิชย์เจ้าแรกของประเทศที่พัฒนาจากเทคโนโลยีโดยผู้ประกอบการไทยบนโครงข่าย 5G Private Network ทำให้เกิดการเป็น Smart Factory แล้วในวันนี้

5G พร้อมทุกความต้องการสำหรับภาคอุตสาหกรรม

ถือได้ว่าเทคโนโลยี 5G จากทาง AIS Business ที่สามารถรองรับความต้องการการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้ในทุกรูปแบบนั้น ได้ทำให้การ Disrupt วงการอุตสาหกรรมการผลิตนั้นเริ่มต้นขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันการทำ Network Slicing ในหลากหลายรูปแบบ ที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายที่สามารถรองรับได้ทั้งแบบ eMBB, mMTC หรือ uRLLC ที่ทำให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน เช่น Low Latency ได้สูงสุด

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังพร้อมรองรับการทำเป็น 5G Private Network ทำให้เสมือนเป็นเครือข่ายส่วนตัว ทดแทนการใช้งานไฟเบอร์แบบลากสาย ทำให้องค์กรมั่นใจได้ทั้งในเรื่องความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ (Low Latency) และความปลอดภัย รวมทั้งการใช้งานได้จริงทั้ง Indoor และ Outdoor ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจาก Operation Technology (OT) มายังฝั่ง Information Technology (IT) ได้อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะต้องการเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในโรงงาน หรือว่าการเชื่อมข้อมูลจากหลายโรงงานเข้าไว้ในที่เดียวกัน ก็สามารถรองรับได้ทั้งหมด

โซลูชันไทยทำ ไทยใช้ ไทยกำไร

ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยี 5G ของไทยจาก AIS Business ที่ผนึกกำลังกับทาง TARA พร้อมกับ Lertvilai & Sons ผู้พัฒนาโซลูชันหุ่นยนต์ FACoBOT Autonomous Mobile Robot (AMR) ขับเคลื่อนอัตโนมัติภายในโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยไร้เส้นนำทาง ร่วมกับโซลูชันและแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ Quadra Technology ฝีมือคนไทยที่ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรในกระบวนการผลิตจากฝั่ง OT มายังฝั่ง IT ได้อย่างมีมาตรฐาน จึงทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเข้าใกล้การเป็น Thailand Industry 4.0 ในอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นรวมถึงโซลูชันนวัตกรรมทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหมือนการตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยที่มีความสามารถในการสร้างโซลูชันและนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากฝั่ง OT หรือเป็นฝั่งต้นน้ำให้มาถึงฝั่ง IT หรือฝั่งปลายน้ำได้อย่างไร้รอยต่อผ่านเครือข่าย 5G ความเร็วสูง ทำให้เกิดเป็นโซลูชันที่ล้วนเป็นฝืมือของคนไทยพัฒนาขึ้นมาทั้งหมดที่พร้อมใช้งานแล้ววันนี้

ใช้จริงที่โรงงาน Yawata

สำหรับบริษัท Yawata นั้นเป็นโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้ารายใหญ่ที่เกิดจากกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างทาง Lertvilai & Sons กับ Nippon Steel โดยลวดเชื่อมไฟฟ้าจากทาง Yawata นั้นได้เคยสนับสนุนการก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญของไทยมากมาย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ สะพานพระราม 9 เป็นต้น

ด้วยความร่วมมือที่อาจเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดเป็นความร่วมมือครบทุกภาคส่วนของธุรกิจ อันได้แก่ ฝั่ง Mobile Network Operator คือ AIS Business ฝั่งนโยบายร่วมสนับสนุนคือ TARA ฝั่ง Supply คือ Lertvilai & Sons และฝั่ง Demand คือ Yawata จึงทำให้เกิดใช้งานโซลูชันเชิงพาณิชย์ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงพลิกโฉม (Transform) องค์กรที่มีอายุกว่า 50 ปีนี้ให้กลายเป็น Smart Factory ได้จริง

โดย Use Case ที่เริ่มใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ภายในโรงงาน Yawata ณ วันนี้แล้ว คือการใช้หุ่นยนต์แขนกลที่สามารถช่วยหยิบยกกล่องสินค้าที่แพ็คสินค้าเสร็จแล้วมาวางไว้บนแท่นวางได้อย่างปลอดภัย และใช้หุ่นยนต์ AMR FACoBOT ในการขนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างอิสระผ่านเครือข่าย 5G ที่ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกโรงงาน ซึ่งสามารถทดแทนแรงงานมนุษย์ที่จะต้องใช้รถยก (Forklift) ในการเคลื่อนย้ายไปได้อย่างปลอดภัยด้วย Latency ที่น้อยกว่า 10 มิลลิวินาทีไปได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

บทสรุป

ถือว่าเป็นอีกก้าวความสำเร็จในความร่วมมือของทาง AIS Business กับทาง TARA ที่ร่วมกันส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ให้เพิ่มศักยภาพการแข่งขันและพัฒนาโซลูชันบนแพลตฟอร์มเครือข่าย 5G โดยมี Case Study จาก Lertvilai & Sons และทาง Yawata ที่ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นว่า “ประเทศไทยเรานี้มีศักยภาพไม่แพ้ชาติใดในโลก” ซึ่งพร้อมแล้วที่จะก้าวเข้าไปสู่ยุค Smart Manufacturing และ Thailand Industry 4.0 ในอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านผู้อ่านคงจะได้เห็นการประยุกต์ใช้โซลูชันแบบใหม่ในอีกหลาย ๆ แห่งตามมาอย่างรวดเร็วแน่นอน

สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจจะนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปใช้ในธุรกิจเช่นกัน สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางและผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน โดยสามารถดูรายละเอียดช่องทางการติดต่อได้ทางเว็บไซต์ https://business.ais.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/yawata-real-use-case-of-smart-factory-solution-by-ais-business-x-lertvilai-and-sons/

เสริมแกร่งภาคการผลิตอัจฉริยะด้วย Autonomous Mobile Robots (AMRs) ไปกับ AIS 5G

นับตั้งแต่มีการผลักดันอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยให้เตรียมพร้อมเดินหน้าเข้าสู่ Thailand Industry 4.0 หลาย ๆ องค์กรต่างเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้นด้วยโซลูชันการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing Solutions) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการผลิต

5G ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีน่าจับตามองจาก AIS Business ที่เข้ามามีบทบาทในการเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมการผลิตร่วมกับการใช้งาน Autonomous Mobile Robots (AMRs) ด้วยความร่วมมือกับบริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

Autonomous Mobile Robots จะพาอุตสาหกรรมไทยไปสู่ภาคการผลิตอัจฉริยะได้อย่างไร? AIS 5G ร่วมกับบริษัทซอฟต์แวร์ของคนไทยมีโซลูชันใดบ้างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อก้าวไปสู่ Thailand Industry 4.0? ร่วมค้นหาคำตอบได้ในบทความนี้

รู้จักกับ AMRs 

Autonomous Mobile Robots หรือ AMRs เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ ในรูปแบบหุ่นยนต์ฐานเคลื่อนที่ได้, แขนจักรกลที่อยู่บนฐานเคลื่อนที่, หรือการใช้งานผ่าน Mobile application ที่มาพร้อมกับ User Interface แบบปรับแต่ง สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบผ่านการสั่งงานผ่านเครือข่าย Wi-Fi หรือ 5G

ตามข้อมูลของ International Federation of Robotics (IFR) ได้เผยถึงแนวโน้มคาดการณ์ว่า ในปี 2023 ตลาด AMRs จะเติบโตขึ้นสูงถึง 30% ต่อปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ความต้องการการใช้งาน AMRs มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ โดยในปัจจุบันนี้มีการใช้งาน AMRs ในหลายภาคส่วน อาทิ โลจิสติกส์ การดูแลสุขภาพ การค้าปลีก สถานที่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต

เชื่อมต่อ AMRs สู่ Thailand Industry 4.0

ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ นายกสมาคม Thai Automation and Robotics Association (TARA) ได้อธิบายถึงแนวคิด Thailand Industry 4.0 ที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงถึงกัน (Everything Connected) ด้วย Quadra Technology ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย ซึ่งเป็นตัวกลางที่ทำให้ระบบทุกอย่างภายในโรงงานสื่อสารและทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ

หากมองภาพรวมของโรงงานที่ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ จะสามารถแบ่งการทำงานได้ออกเป็นสองส่วน คือ 

  • Operational Technology (OT) เป็นส่วนของเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ เซ็นเซอร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง
  • Information Technology (IT) เป็นส่วนของข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการ ระบบอัตโนมัติที่ใช้ประมวลผลธุรกิจและ AI รวมไปถึงคลาวด์

การเชื่อมต่อข้อมูลของระบบทุกอย่างทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในส่วน OT และ IT เข้าด้วยกัน ต้องมีมาตรฐานเชื่อมต่อ Interoperability for Industrie 4.0 ซึ่งหนึ่งในมาตรฐานที่มีอยู่ขณะนี้คือ IEC 62541 ที่รับมาจาก OPC Unified Architecture (OPC UA) เพื่อให้เครื่องจักรสื่อสารและส่งต่อข้อมูลถึงกันโดยไม่ติดปัญหาเรื่องอุปกรณ์ต่างชนิด ต่าง PLC ต่างแพลตฟอร์ม และทำให้เกิดเป็นระบบ IIoT ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานคือ หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรในหมวด OT จะทำหน้าที่หลักในการผลิต การรับรู้ข้อมูลสถานะการผลิตผ่านเซ็นเซอร์ การส่งข้อมูลขึ้นไปประมวลผลต่อบนคลาวด์ และการรับคำสั่งตอบสนองจากคลาวด์กลับมาควบคุมสายการผลิตแบบอัตโนมัติ

เมื่อคลาวด์ได้รับข้อมูลจากเครื่องจักรมาแล้ว ก็จะรวมข้อมูลต่าง ๆ นำมาแสดงผลให้เห็นถึงสถานะและภาพรวมของการผลิตหรือการทำงานของหุ่นยนต์และเครื่องจักรที่เกิดขึ้น ก่อนที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปประมวลผลในรูปแบบอื่น ๆ ต่อ ทั้งการใช้ Machine Learning สำหรับคาดการณ์แนวโน้มต่าง ๆ หรือการใช้ AI สำหรับการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบที่ต้องการโดยอัตโนมัติ

หากผลการวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลพบว่า ควรปรับเปลี่ยนการทำงานของสายการผลิต หยุดสายการผลิต หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของหุ่นยนต์ คลาวด์ก็จะสามารถส่งข้อมูลกลับไปยังหุ่นยนต์และเครื่องจักรเหล่านี้ให้ทำตามคำสั่งได้ทันที ส่งผลให้การจัดการกับเครื่องจักรและหุ่นยนต์ในโรงงานเป็นอัตโนมัติมากขึ้นโดยมีการใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางของทุกการตัดสินใจแบบอัตโนมัติ

Quadra Technology: ซอฟต์แวร์ฝีมือคนไทย

เมื่อกล่าวถึง AMRs สำหรับ Thailand Industry 4.0 แล้ว หลาย ๆ ท่านอาจเข้าใจว่า เป็นการนำเข้าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย ทว่าบริษัทในประเทศไทยเองก็มีศักยภาพที่สามารถเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ และหนึ่งในโซลูชันที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand Industry 4.0 ก็คือ Quadra Technology นั่นเอง

แกนหลักของ Quadra Technology ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  • Q-ERP: ระบบโปรแกรมบริหารจัดการและวางแผนสำหรับธุรกิจและการผลิต ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ ERP ที่รองรับการจัดทำและนำส่งข้อมูลระบบ E-Tax Invoice & Receipt ตามมาตรฐานกรมสรรพากร
  • Q-IIoT (Industrial Internet of Things): ระบบโปรแกรมเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องจักรในกระบวนการผลิตแบบ Real-time พัฒนาตามมาตรฐาน IEC-62541 (Interoperability) โดยแสดงข้อมูลบน Dashboard ได้แก่ Equipment Status, Overall Equipment Effectiveness (OEE) และ Energy Status & Usage

หุ่นยนต์และเครื่องจักรทุกยี่ห้อในโรงงาน แม้จะมี PLC ต่างกัน ก็สามารถใช้งานร่วมกับ Q-IIoT ที่พัฒนาตามมาตราฐาน IEC-62541 เพื่อดึงข้อมูลออกมาแล้วส่งต่อไปยังระบบผลิตที่เป็น IT ผ่าน Q-ERP ไปยังคลาวด์หรือระบบส่วนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Servers, Web Apps หรือ Mobile Apps

ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลของ Lertvilai FACoBOT Autonomous Mobile Robot (AMR) for Industry 4.0 นั้น สามารถควบคุมผ่านแท็บเล็ตได้โดยตรงผ่าน Wi-Fi และมี Q-IIoT Server ที่วิ่งอยู่บนคลาวด์ ทำให้ FACoBOT AMR สามารถส่งข้อมูลผ่านเน็ตเวิร์กขึ้นไปบนคลาวด์ โดยมี FACoBOT AMR Manager เชื่อมต่อกับ Global Cloud หรือ Local Cloud ของโรงงานผลิต เพื่อดึงข้อมูลจากคลาวด์มาประมวลผลสั่งการกลับมายัง AMR ต่อไป

การเชื่อมต่อ AMRs กับเครือข่ายภายในโรงงานก็สามารถทำได้หลากหลายเช่นกัน ทั้งการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ Land Line, WiFi, 4G และ 5G ซึ่งสำหรับ 5G นั้นมีลักษณะการใช้งานสำหรับ Industry 4.0 หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ General Public Network, Public Network with SLAs, Mobile Operator Network Slicing, Dedicated Radio Equipment (ติดตั้งและจัดการโดยเครือข่ายผู้ให้บริการ) และ Standalone Private Network (ผ่านคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการ) 

AIS x Lertvilai ผนึกกำลังพันธมิตรเสริมพลังการผลิต

AIS Business ร่วมกับบริษัท เลิศวิลัย แอนด์ ซันส์ จำกัด ได้ร่วมกันสร้างโซลูชันโมเดลที่ใช้จริงในโรงงาน Yawata โดยนำเทคโนโลยี 5G SA มาใช้รับส่งข้อมูลภายในโรงงาน ด้วยความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 926.73 Mbps และความเร็วในการอัปโหลดอยู่ที่ 98.98 Mbps บนคลื่นความถี่ 2.6 GHz มี Latency เฉลี่ยอยู่ที่ 9.7 millisecond ซึ่งน้อยกว่า 10 millisecond ใน Live Network ทำให้กระบวนการอัตโนมัติต่าง ๆ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ยังมีการนำ AMRs ไปใช้งานใน EEC Automation Park โดยความร่วมมือกับ Mitsubishi, Lertvilai และ DAIFUKU โดย Mitsubishi มี Physical Model Line อยู่ แล้วใช้ Lertvilai FACoBOT AMR เป็นหุ่นยนต์วิ่งรับของที่ผลิตเสร็จเรียบร้อยจาก Mitsubishi Model Line มาส่งที่ DAIFUKU Automated Storage & Retrieval System (ASRS) เพื่อเก็บเข้าชั้นหรือนำสินค้าที่เก็บไว้ไปวางบนสายพานลำเลียงต่อไป

ในภาพรวม กระบวนการอัตโนมัติที่เกิดขึ้นในโรงงาน e-F@ctory ก็มีการนำ Q-IIoT เชื่อมต่อกับ Q-ERP เข้ามาผนวกรวมกับ Mitsubishi Electric Factory Automation ในแต่ละขั้นตอนตั้งแต่การนำสินค้าจาก PLC/AMR ที่ Shop Floor ซึ่งอยู่ในระดับ OT ไปสู่ระบบ IT

ดังนั้น การประยุกต์ใช้งานดังกล่าวจึงนับว่าเป็นต้นแบบของ Digital Manufacturing (4.0) ที่มีการใช้งานจริงแล้วใน EEC Automation Park และสามารถนำโซลูชันดังกล่าวไปปรับใช้ต่อยอดในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการผลิต พร้อมนำพาประเทศไทยไปยัง Thailand Industry 4.0

สำหรับลูกค้าองค์กรที่สนใจโซลูชันของ AIS สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของคุณ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล business@ais.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/autonomous-mobile-robots-with-ais-5g/

โรงงาน WD ในประเทศไทย เข้าสู่โกลบอล ไลท์เฮ้าส์ เน็ตเวิร์ค

บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล แถลงในวันนี้ว่า เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum: WEF) ได้คัดเลือกให้โรงงานของเวสเทิร์น ดิจิตอล ที่เป็นโรงงานอัจฉริยะในประเทศไทยเข้าสู่โกลบอล ไลท์เฮ้าส์ เน็ตเวิร์ค (Global Lighthouse Network) ซึ่งเป็นประชาคมของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีในกลุ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) มาใช้

โรงงานเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตแห่งแรกในประเทศจากโรงงานทั้ง 90 แห่งทั่วโลกที่อยู่ในเครือข่าย Lighthouse ของ World Economic Forum ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่มีกิจกรรมในฐานการผลิตและการเชื่อมต่อของห่วงโซ่การผลิตแบบ E2E (End-to-End) เพื่อเร่งการนำเอาเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐานในการดำเนินธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพของมนุษย์ในวงกว้าง

เดวิด เกอเคเลอร์ (David Goekeler) ซีอีโอของเวสเทิร์น ดิจิตอล กล่าวว่า “การที่ WEF คัดเลือกให้เวสเทิร์น ดิจิตอลเป็นเครือข่าย Lighthouse ในวันนี้นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง และยังเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความพยายามในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร” และกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในยุคที่โลกใช้เทคโนโลยีและพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลชั้นนำของโลก และเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาให้โรงงานผลิตของเราที่ดำเนินงานอยู่ในทั่วโลกเกิดการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า พนักงาน และพันธมิตรของเรา ดังนั้น เราเข้าใจดีว่าไม่มีอะไรที่สำคัญมากไปกว่าเรื่องความรับผิดชอบต่ออนาคตของอุตสาหกรรม”

เวสเทิร์น ดิจิตอล นำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้ได้ในแต่ละวัน เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ขั้นสูง และระบบอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) มาใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โรงงานของเวสเทิร์น ดิจิตอล ในจังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย

ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด และความเข้มข้นในเรื่องของต้นทุนการผลิตของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ที่โรงงานเวสเทิร์น ดิจิตอล ในปราจีนบุรี ได้มีการนำเอาการเชื่อมต่อและเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงมาใช้ประโยชน์ เพื่อเปลี่ยนให้โรงงานที่กำลังการผลิตมีความอิ่มตัวให้กลายเป็นระบบปฏิบัติการแบบดิจิทัลที่สามารถมองเห็นได้แบบเรียลไทม์ตั้งแต่ ซัพพลายเออร์ การผลิต ลอจิสติกส์ และลูกค้า รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและการคาดการณ์ตามข้อมูล ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสามารถเพิ่มผลผลิตของโรงงานได้ถึง 123 เปอร์เซ็นต์ สามารถเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและการผลิตลงได้ 30 เปอร์เซ็นต์ และลดอัตราการคืนสินค้าลงได้ 43 เปอร์เซ็นต์

การพัฒนาบุคลากรก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับโรงงานเวสเทิร์น ดิจิตอล ปราจีนบุรี ที่นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยี โรงงานที่ปราจีนได้เปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Center of Excellence: CoE) เป็นโครงการเพื่อให้ความรู้และบ่มเพาะความสามารถเพื่อปลูกฝังวิธีคิดรูปแบบใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยี 4IR ยิ่งไปกว่านั้น โรงงานแห่งนี้ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะขับเคลื่อนโครงการวิจัยเชิงลึก และมีส่วนร่วมในความพยายามเรื่องการประหยัดพลังงานและความยั่งยืน

ฟรานซิสโก เบตติ (Francisco Betti) หัวหน้าฝ่ายสร้างการผลิตขั้นสูงและห่วงโซ่คุณค่าของ World Economic Forum กล่าว “ความกังวลของทั่วโลกในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยรักษาความสามารถในการดำเนินธุรกิจ” และเสริมอีกว่า “Lighthouse เรื่องความยั่งยืนนี้ได้รับการคัดเลือกเพื่อทำให้เห็นชัดเจนในเรื่องความสามารถในการตระหนักเทคโนโลยี 4IR ในการผลิต บริษัทต่าง ๆ สามารถก้าวขึ้นไปสู่ความยั่งยืนในการปฏิบัติการและโซลูชั่นการดำเนินการแบบ win-win ความสามารถในการแข่งขันในการดำเนินงานที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความรับผิดชอบต่อการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่อนาคตที่สะอาดขึ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้น”

from:https://www.enterpriseitpro.net/world-economic-forum-wd/

Fujitsu Smart Factory โซลูชันเสริมพลังจากนวัตกรรมเพื่อโรงงานอัจฉริยะ

ด้วยความมุ่งมั่นของภาครัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ ในการก้าวไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 เพื่อบรรลุถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจยุคใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตจึงได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเข้าสู่โลกดิจิทัลภายใต้ Industrial 4.0 ด้วยการอาศัยแนวทางการดำเนินงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มองเห็นภาพรวมของทั้งกระบวนการผลิต เชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าหากัน สามารถคาดการณ์และปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

Fujitsu Smart Factory เป็นการทำงานร่วมกันของหลากหลายโซลูชัน เพื่อให้การปรับใช้และยอมรับนวัตกรรมใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น เส้นทางสู่การเป็น ‘โรงงานอัจฉริยะ’ จึงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว หรือมีโซลูชันสำเร็จรูปเพื่อการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะได้แบบทันที หากแต่สามารถเลือกและนำไปปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการที่ต่างกันของแต่ละอุตสาหกรรม บางธุรกิจต้องการเปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระดาษที่จดด้วยมือไปสู่โซลูชันดิจิทัล หรือต้องการนำข้อมูลจากตัวควบคุม PLC (Programmable Logic Controller) มาแสดงในแดชบอร์ดเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของโรงงานได้

ก็อาจจะเพียงพอ ขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ อาจต้องการระบบอัตโนมัติ เครือข่ายระบบควบคุมอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงเครื่องจักรเข้าหากัน ใช้เทคโนโลยีการทำนายผล (Predictive Technology) และเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (Machine Learning) เป็นต้น

โดยหัวใจหลักของโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่การขับเคลื่อนสู่โรงงานอัจฉริยะก็คือ

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลด้วยข้อมูล เพื่อทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งการให้ผู้ประกอบการรู้ว่า
ในระบบของตนเองมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง สามารถนำมาวิเคราะห์ และนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้

เพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสาร เพราะการทำงานของอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน อาจไม่ได้อยู่แต่ที่หน้างาน
หรือภายในโรงงานอีกต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีโซลูชันที่ช่วยให้ทำงานและสื่อสารกันได้จากทุกเวลาทุกสถานที่

โซลูชัน Fujitsu Smart Factory ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตยุคดิจิทัล ด้วยแนวคิดด้านประสบการณ์ใช้งาน (Experiences) อันน่าประทับใจ ซึ่งครอบคลุมถึงความสามารถในการรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดจึงเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงระบุวิธีการแก้ไขปัญหา ได้แก่ Worker Experience, Factory Operation Experience และ Ecosystem Experience เพื่อให้การพัฒนาไปสู่โรงงานอัจฉริยะสามารถบรรลุผลลัพธ์ ได้แก่

1) ความพร้อมใช้งานและความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น: เพราะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานในสายการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ผู้ผลิตวางแผนการใช้ทรัพยากร และลดเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนได้

2) ประสิทธิภาพการทำงาน: ผู้ผลิตสามารถมองเห็นภาพรวมของปริมาณงานและผลผลิตได้ดีขึ้น ลดเวลาหยุดทำงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม

3) การประกันคุณภาพ: การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำและประสิทธิผล โดยลดความจำเป็นในการตรวจสอบด้วยสายตาตนเอง

Worker Experience
เป็นแกนหลักด้านหนึ่งในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เต็มรูปแบบ ซึ่งมุ่งเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานด้วยความเป็นเลิศในการดำเนินงาน (Operational Excellence) โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

a. Smart Digitalization Operation จากการทำงานแบบเดิมที่ผู้ใช้จะบันทึกข้อมูลการตรวจสอบหรือข้อมูลต่าง ๆ
ลงในกระดาษ ดังนั้นขั้นตอนแรกของการนำไปสู่ Smart Factory คือ การแปลงข้อมูล (Convert Data)
จากกระดาษไปเป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้หัวหน้างานสามารถยืนยันคำสั่ง ตรวจสอบ หรือช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ทันที หรืออีกกรณีคือ วิศวกรสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือคู่มือเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขั้นตอนต่อมาคือการทำ Centralize Apps Platform เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ในเวลาจริง (Real-Time) และผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลชุดเดียวกันโดยทั่วถึงและทันท่วงที ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น
b. Collaborative Field Inspection การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการแบ่งช่วงเวลาทำงานเป็นกะ
ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงที่ผู้เชี่ยวชาญหรือหัวหน้างานไม่ได้ทำงานอยู่ ก็จะยังคงแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์นั้นได้ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลจากปัญหาที่ได้เคยถูกบันทึกไว้ รวมถึงคำแนะนำในการแก้ไข และการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote) เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากเป็นการบันทึกข้อมูลด้วยกระดาษจะมีข้อจำกัดเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
c. Advance Digital Simulation การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงาน โดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) ความจริงเสมือน (Virtual Reality) และความจริงผสม (Mixed Reality) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ รวมถึงการจำลองสถานการณ์ให้เกิดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

Factory Operation Experience
แกนหลักด้านที่ 2 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการภายในโรงงานที่ระดับของแผนก โดยมีความแตกต่างจากด้าน Worker Experience ซึ่งมุ่งพัฒนาในระดับรายบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงของกระบวนการผลิต (Production Improvement) โดยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุน ได้แก่


a. Collaborative Development (สำหรับแผนกออกแบบ) เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือการออกแบบสายการผลิต (Production Line) ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยียุคใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันบนแบบร่างเดียวกันได้ (Collaborative Design) รวมไปถึงการจำลองผลิตภัณฑ์ (Product Simulation) และการจำลองสายการผลิต (Production Line Simulation) เพื่อให้งานต่าง ๆ ดำเนินต่อไปได้ โดยพนักงานยังคงสามารถทำงานอยู่ที่บ้านของตนเอง
b. Manufacturing Intelligence (สำหรับแผนกการผลิต) การนำข้อมูลของเครื่องจักรในการผลิตที่ได้ มาแสดงเป็นข้อมูลสำคัญ (KPIs) บนแผงควบคุม (Dashboard) เพื่อให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างตรงจุด
c. Asset Tracking and Optimization (สำหรับแผนกซ่อมบำรุง) เป็นระบบรายงานแสดงจำนวนของอุปกรณ์ สถานะของทรัพยากรที่อยู่ในคลังทั้งที่เป็นสินทรัพย์ชั่วคราวและถาวร การบริหารจัดการทั้งในด้านการใช้งาน สถานที่จัดเก็บ การซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายงานผลิตต่อไป
d. Real-Time Quality and Conformance (สำหรับแผนกควบคุมคุณภาพ) การยกระดับด้วยการใช้ AI รวมถึงการใช้ข้อมูลดิจิทัล โดยการเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ (Sensors) ของกล้องวิดีโอ เพื่อให้สามารถควบคุมประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและเกิดความพึงพอใจจากลูกค้า

Ecosystem Experience
แกนหลักด้านที่ 3 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือส่วนที่มุ่งเน้นด้านการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร โดยเน้นเรื่องของการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนให้ได้ดีที่สุด (Cost Optimization) โดยแบ่งตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

a. Data Factory Platform โซลูชันสำหรับการรวบรวมข้อมูลของโรงงานมาไว้ในจุดเดียว ให้ความสามารถในการจัดการกับปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับข้อมูลหลากหลายประเภท ทั้งแบบที่เป็นข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) และข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ
มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต โดยคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดการใช้งานข้อมูลที่สะดวกและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
b. Edge Intelligence โซลูชันการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลไปยัง Data Factory Platform รวมถึงการส่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์ไปยังผู้ดูแลระบบผ่านทางอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดเก็บและนำมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป เช่น ล็อก (Log) การใช้งานระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบ IoT อื่น ๆ ซึ่งนอกจากเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผนก IT และแผนก OT (Operation Technology) แล้ว โซลูชันยังครอบคลุมถึงความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ด้วยเช่นกัน
c. Predictive Monitoring and Diagnostics เมื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ Data Factory Platform เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ถึงการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงสามารถประเมินวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถบรรลุถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด (Cost Optimization) นั่นเอง

การขับเคลื่อน Smart Factory ให้อุตสาหกรรมต่างๆ
ที่ผ่านมาฟูจิตสึได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา Smart Factory ให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ด้วยโซลูชันย่อยหลายรูปแบบ ตามแต่ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันตามอุตสาหกรรม

ตัวอย่างเช่น ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) ได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการสร้าง “โรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ” (Digital Connected Plant) แห่งแรกในประเทศไทยให้เกิดขึ้นจริง เพื่อขยายระบบดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมการผลิต ในธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนระบบงานแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก รวมถึงเอกสารที่เป็นกระดาษ
พร้อมปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล (Remote Expert Collaboration) และเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)

ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผน ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในแต่ละปี ลดระดับสินค้า
คงคลัง เพิ่มระบบความปลอดภัยการทำงาน ลดระยะเวลาการทำงานพนักงานใหม่ เนื่องจากมีมาตรฐานและกระบวนการทำงานที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในการจ่ายเงิน และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมา

ขณะที่ในต่างประเทศโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ของอินเทล ในเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดของ
อินเทลภายนอกสหรัฐฯ ได้มีการติดตั้งและใช้งานโซลูชัน Fujitsu Smart Factory และอุปกรณ์ IoT เพื่อบันทึกสถานะการทำงานของสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านระบบคลาวด์ของฟูจิตสึ ทั้งจากมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมไปถึงเซ็นเซอร์สภาพแวดล้อมที่ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น และข้อมูลสถานะการปฏิบัติงานจากสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

ระบบจะแสดงผลตัวบ่งชี้สำคัญ ๆ ด้านการจัดการ เช่น พลังงานที่ใช้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักร ผ่านทางแดชบอร์ดอัจฉริยะ (Intelligent Dashboard) ซึ่งแสดงผลข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ส่วนข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตในสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ จากที่เคยถูกเก็บรวบรวมและใช้งานเป็นรายกรณี โซลูชันนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ทั่วทุกพื้นที่ภายในโรงงานในแบบเรียลไทม์ ผู้บริหารสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาในสายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว

ออมรอน คอร์ปอเรชัน หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมในอุตสาหกรรมระดับโลก ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ โดยร่วมมือกับฟูจิตสึในการนำโซลูชันเพื่อการมองเห็น การเคลื่อนไหวของสายการผลิตแบบเรียลไทม์ ด้วย Big Data ด้านอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมผลิตแผงวงจรเข้ากับประเภทข้อมูลแต่ละประเภท ที่มีการบันทึก
ในระบบการผลิตแต่ละระบบในสายการผลิตเพื่อระบุจุดที่ต้องมีการปรับปรุง ซึ่งเป็นจุดที่หาได้ไม่ง่ายนัก แม้แต่พนักงานโรงงานที่มีประสบการณ์แล้วก็ตาม

โดยมีการพัฒนาระบบที่สร้างรายงาน “Timeline Data Visualization (การมองภาพข้อมูลตามแนวเวลา)” เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามจริง ที่ง่ายต่อการเข้าใจได้อย่างรวดเร็วภายในพริบตาเดียว ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึง
6 เท่า

ก้าวต่อไปของผู้ผลิตไทย
การสร้างสภาพแวดล้อมโรงงานอัจฉริยะที่รวมเอาเทคโนโลยีคลาวด์และ IoT ไว้ด้วยกัน สามารถช่วยขับเคลื่อนโรงงานการผลิตของคุณไปสู่วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 หรือเกินกว่านั้นได้ เนื่องจากโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
ความปลอดภัยและคุณภาพที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้โรงงานผลิตของคุณแตกต่างไปจากคู่แข่ง

หนึ่งในประเด็นสำคัญจากข้อมูลข้างต้น คุณจะเห็นว่า การก้าวสู่เส้นทางของโรงงานอัจฉริยะ อาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม หรือต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมากอย่างที่หลายคนคิด เพราะสามารถเริ่มต้นได้ด้วยจุดเล็ก ๆ เมื่อมีความพร้อมหรือเห็นว่าได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจึงค่อยต่อยอดไปสู่โซลูชันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้

ซึ่งสิ่งที่คุณต้องการคือมืออาชีพที่มีความเข้าใจธุรกิจ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโซลูชันอย่างรอบด้าน พร้อมเป็นที่ปรึกษาและสร้าง Smart Factory ในแบบที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งทั้งหมดนั้นจะพบได้จาก “ฟูจิตสึ”

ร่วมสร้างสรรค์ความสำเร็จกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโรงงานไปสู่ยุคดิจิทัล เพราะฟูจิตสึได้ศึกษาและพัฒนาโซลูชันโรงงานอัจฉริยะส่วนหนึ่งขึ้นมาจากสายการผลิตของทางบริษัทฯ เอง จึงมีความรู้ในเชิงลึก รวมทั้งยังดำเนินธุรกิจในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบ (System Integrator) อีกด้วย

มาร่วมสัมผัสบริการและเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของฟูจิตสึได้ที่ Fujitsu ActivateNow 2021

ดูข้อมูลและลงทะเบียนได้ที่นี่

หากคุณต้องการทราบว่า ฟูจิตสึสามารถช่วยพัฒนาให้ธุรกิจการผลิตของคุณกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะได้อย่างไร สามารถติดต่อเราที่

from:https://www.enterpriseitpro.net/fujitsu-smart-factory/

[Guest Post] Fujitsu Smart Factory โซลูชันเสริมพลังจากนวัตกรรมเพื่อโรงงานอัจฉริยะ

ด้วยความมุ่งมั่นของภาครัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ ในการก้าวไปสู่เป้าหมาย Thailand 4.0 เพื่อบรรลุถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจยุคใหม่ อุตสาหกรรมการผลิตจึงได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเข้าสู่โลกดิจิทัลภายใต้ Industrial 4.0 ด้วยการอาศัยแนวทางการดำเนินงานที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มองเห็นภาพรวมของทั้งกระบวนการผลิต เชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าหากัน สามารถคาดการณ์และปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

Fujitsu Smart Factory เป็นการทำงานร่วมกันของหลากหลายโซลูชัน เพื่อให้การปรับใช้และยอมรับนวัตกรรมใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้น เส้นทางสู่การเป็น ‘โรงงานอัจฉริยะ’ จึงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งหมดในครั้งเดียว หรือมีโซลูชันสำเร็จรูปเพื่อการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะได้แบบทันที หากแต่สามารถเลือกและนำไปปรับใช้ให้เข้ากับความต้องการที่ต่างกันของแต่ละอุตสาหกรรม บางธุรกิจต้องการเปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระดาษที่จดด้วยมือไปสู่โซลูชันดิจิทัล หรือต้องการนำข้อมูลจากตัวควบคุม PLC (Programmable Logic Controller)  มาแสดงในแดชบอร์ดเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของโรงงานได้ก็อาจจะเพียงพอ ขณะที่ธุรกิจอื่น ๆ อาจต้องการระบบอัตโนมัติ เครือข่ายระบบควบคุมอุตสาหกรรม เพื่อเชื่อมโยงเครื่องจักรเข้าหากัน ใช้เทคโนโลยีการทำนายผล (Predictive Technology) และเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (Machine Learning) เป็นต้น

โดยหัวใจหลักของโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่การขับเคลื่อนสู่โรงงานอัจฉริยะก็คือ 

การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลด้วยข้อมูล เพื่อทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งการให้ผู้ประกอบการรู้ว่า
ในระบบของตนเองมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง สามารถนำมาวิเคราะห์ และนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจได้

เพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสาร เพราะการทำงานของอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน อาจไม่ได้อยู่แต่ที่หน้างาน
หรือภายในโรงงานอีกต่อไป ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีโซลูชันที่ช่วยให้ทำงานและสื่อสารกันได้จากทุกเวลาทุกสถานที่

โซลูชัน Fujitsu Smart Factory ช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตยุคดิจิทัล ด้วยแนวคิดด้านประสบการณ์ใช้งาน (Experiences) อันน่าประทับใจ ซึ่งครอบคลุมถึงความสามารถในการรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เหตุใดจึงเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงระบุวิธีการแก้ไขปัญหา ได้แก่ Worker Experience, Factory Operation Experience และ Ecosystem Experience เพื่อให้การพัฒนาไปสู่โรงงานอัจฉริยะสามารถบรรลุผลลัพธ์ ได้แก่

  1. ความพร้อมใช้งานและความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น: เพราะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานในสายการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ผู้ผลิตวางแผนการใช้ทรัพยากร และลดเวลาหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนได้
  2. ประสิทธิภาพการทำงาน: ผู้ผลิตสามารถมองเห็นภาพรวมของปริมาณงานและผลผลิตได้ดีขึ้น ลดเวลาหยุดทำงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม
  3. การประกันคุณภาพ: การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้กระบวนการตรวจสอบเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำและประสิทธิผล โดยลดความจำเป็นในการตรวจสอบด้วยสายตาตนเอง

Worker Experience

เป็นแกนหลักด้านหนึ่งในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory เต็มรูปแบบ ซึ่งมุ่งเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานด้วยความเป็นเลิศในการดำเนินงาน (Operational Excellence) โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

  1. Smart Digitalization Operation จากการทำงานแบบเดิมที่ผู้ใช้จะบันทึกข้อมูลการตรวจสอบหรือข้อมูลต่าง ๆ
    ลงในกระดาษ ดังนั้นขั้นตอนแรกของการนำไปสู่ Smart Factory คือ การแปลงข้อมูล (Convert Data)
    จากกระดาษไปเป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้หัวหน้างานสามารถยืนยันคำสั่ง ตรวจสอบ หรือช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ทันที หรืออีกกรณีคือ วิศวกรสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือคู่มือเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น ขั้นตอนต่อมาคือการทำ Centralize Apps Platform เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ในเวลาจริง (Real-Time) และผู้ปฏิบัติงานได้รับข้อมูลชุดเดียวกันโดยทั่วถึงและทันท่วงที ส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น
  2. Collaborative Field Inspection การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีการแบ่งช่วงเวลาทำงานเป็นกะทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงที่ผู้เชี่ยวชาญหรือหัวหน้างานไม่ได้ทำงานอยู่ ก็จะยังคงแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์นั้นได้ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลจากปัญหาที่ได้เคยถูกบันทึกไว้ รวมถึงคำแนะนำในการแก้ไข และการเข้าถึงจากระยะไกล (Remote) เพื่อแก้ไขปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากเป็นการบันทึกข้อมูลด้วยกระดาษจะมีข้อจำกัดเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
  3. Advance Digital Simulation การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงาน โดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) ความจริงเสมือน (Virtual Reality) และความจริงผสม (Mixed Reality) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ รวมถึงการจำลองสถานการณ์ให้เกิดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริง เป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน

Factory Operation Experience

แกนหลักด้านที่ 2 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการภายในโรงงานที่ระดับของแผนก โดยมีความแตกต่างจากด้าน Worker Experience ซึ่งมุ่งพัฒนาในระดับรายบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับปรุงของกระบวนการผลิต (Production Improvement) โดยการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุน ได้แก่

  1. Collaborative Development (สำหรับแผนกออกแบบ) เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือการออกแบบสายการผลิต (Production Line) ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยียุคใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันบนแบบร่างเดียวกันได้ (Collaborative Design) รวมไปถึงการจำลองผลิตภัณฑ์ (Product Simulation) และการจำลองสายการผลิต (Production Line Simulation) เพื่อให้งานต่าง ๆ ดำเนินต่อไปได้ โดยพนักงานยังคงสามารถทำงานอยู่ที่บ้านของตนเอง
  2. Manufacturing Intelligence (สำหรับแผนกการผลิต) การนำข้อมูลของเครื่องจักรในการผลิตที่ได้ มาแสดงเป็นข้อมูลสำคัญ (KPIs) บนแผงควบคุม (Dashboard) เพื่อให้สามารถพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและแก้ไขข้อผิดพลาดได้อย่างตรงจุด
  3. Asset Tracking and Optimization (สำหรับแผนกซ่อมบำรุง) เป็นระบบรายงานแสดงจำนวนของอุปกรณ์ สถานะของทรัพยากรที่อยู่ในคลังทั้งที่เป็นสินทรัพย์ชั่วคราวและถาวร การบริหารจัดการทั้งในด้านการใช้งาน สถานที่จัดเก็บ การซ่อมบำรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายงานผลิตต่อไป
  4. Real-Time Quality and Conformance (สำหรับแผนกควบคุมคุณภาพ) การยกระดับด้วยการใช้ AI รวมถึงการใช้ข้อมูลดิจิทัล โดยการเก็บข้อมูลจากเซ็นเซอร์ (Sensors) ของกล้องวิดีโอ เพื่อให้สามารถควบคุมประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างทันท่วงที ทำให้สามารถควบคุมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและเกิดความพึงพอใจจากลูกค้า

Ecosystem Experience 

แกนหลักด้านที่ 3 ในชุดโซลูชัน Fujitsu Smart Factory คือส่วนที่มุ่งเน้นด้านการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร โดยเน้นเรื่องของการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนให้ได้ดีที่สุด (Cost Optimization) โดยแบ่งตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

  1. Data Factory Platform โซลูชันสำหรับการรวบรวมข้อมูลของโรงงานมาไว้ในจุดเดียว ให้ความสามารถในการจัดการกับปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับข้อมูลหลากหลายประเภท ทั้งแบบที่เป็นข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (Structured Data) และข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ
    มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต โดยคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดการใช้งานข้อมูลที่สะดวกและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  2. Edge Intelligence โซลูชันการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถส่งข้อมูลไปยัง Data Factory Platform รวมถึงการส่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์ไปยังผู้ดูแลระบบผ่านทางอุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices) ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดเก็บและนำมาใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป เช่น ล็อก (Log) การใช้งานระบบไฟฟ้า รวมถึงระบบ IoT อื่น ๆ ซึ่งนอกจากเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผนก IT และแผนก OT (Operation Technology) แล้ว โซลูชันยังครอบคลุมถึงความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ด้วยเช่นกัน
  3. Predictive Monitoring and Diagnostics เมื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ Data Factory Platform เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ถึงการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงสามารถประเมินวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์และงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถบรรลุถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงสุด (Cost Optimization) นั่นเอง

การขับเคลื่อน Smart Factory ให้อุตสาหกรรมต่างๆ

ที่ผ่านมาฟูจิตสึได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา Smart Factory ให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ด้วยโซลูชันย่อยหลายรูปแบบ ตามแต่ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันตามอุตสาหกรรม

ตัวอย่างเช่น ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) ได้เข้าไปมีส่วนช่วยในการสร้าง “โรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ” (Digital Connected Plant) แห่งแรกในประเทศไทยให้เกิดขึ้นจริง เพื่อขยายระบบดิจิทัลสู่อุตสาหกรรมการผลิต ในธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนระบบงานแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก รวมถึงเอกสารที่เป็นกระดาษ
พร้อมปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล (Remote Expert Collaboration) และเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning)

ลดการสูญเสียจากการหยุดเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผน ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในแต่ละปี ลดระดับสินค้า
คงคลัง เพิ่มระบบความปลอดภัยการทำงาน ลดระยะเวลาการทำงานพนักงานใหม่ เนื่องจากมีมาตรฐานและกระบวนการทำงานที่เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เพิ่มความโปร่งใสในการจ่ายเงิน และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้รับเหมา

ขณะที่ในต่างประเทศโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ของอินเทล ในเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่สุดของ
อินเทลภายนอกสหรัฐฯ  ได้มีการติดตั้งและใช้งานโซลูชัน Fujitsu Smart Factory และอุปกรณ์ IoT เพื่อบันทึกสถานะการทำงานของสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านระบบคลาวด์ของฟูจิตสึ ทั้งจากมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมไปถึงเซ็นเซอร์สภาพแวดล้อมที่ตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น และข้อมูลสถานะการปฏิบัติงานจากสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

ระบบจะแสดงผลตัวบ่งชี้สำคัญ ๆ ด้านการจัดการ เช่น พลังงานที่ใช้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักร ผ่านทางแดชบอร์ดอัจฉริยะ (Intelligent Dashboard) ซึ่งแสดงผลข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ส่วนข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตในสายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ จากที่เคยถูกเก็บรวบรวมและใช้งานเป็นรายกรณี โซลูชันนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ทั่วทุกพื้นที่ภายในโรงงานในแบบเรียลไทม์ ผู้บริหารสามารถกำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขปัญหาในสายการผลิตได้อย่างรวดเร็ว

ออมรอน คอร์ปอเรชัน หนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมในอุตสาหกรรมระดับโลก ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ  โดยร่วมมือกับฟูจิตสึในการนำโซลูชันเพื่อการมองเห็น การเคลื่อนไหวของสายการผลิตแบบเรียลไทม์ ด้วย Big Data ด้านอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมผลิตแผงวงจรเข้ากับประเภทข้อมูลแต่ละประเภท ที่มีการบันทึก
ในระบบการผลิตแต่ละระบบในสายการผลิตเพื่อระบุจุดที่ต้องมีการปรับปรุง ซึ่งเป็นจุดที่หาได้ไม่ง่ายนัก แม้แต่พนักงานโรงงานที่มีประสบการณ์แล้วก็ตาม

โดยมีการพัฒนาระบบที่สร้างรายงาน “Timeline Data Visualization (การมองภาพข้อมูลตามแนวเวลา)” เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตามจริง ที่ง่ายต่อการเข้าใจได้อย่างรวดเร็วภายในพริบตาเดียว ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึง
6 เท่า

ก้าวต่อไปของผู้ผลิตไทย

การสร้างสภาพแวดล้อมโรงงานอัจฉริยะที่รวมเอาเทคโนโลยีคลาวด์และ IoT ไว้ด้วยกัน สามารถช่วยขับเคลื่อนโรงงานการผลิตของคุณไปสู่วิสัยทัศน์ Thailand 4.0 หรือเกินกว่านั้นได้ เนื่องจากโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
ความปลอดภัยและคุณภาพที่มีเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้โรงงานผลิตของคุณแตกต่างไปจากคู่แข่ง

หนึ่งในประเด็นสำคัญจากข้อมูลข้างต้น คุณจะเห็นว่า การก้าวสู่เส้นทางของโรงงานอัจฉริยะ อาจไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม หรือต้องลงทุนด้วยเงินเป็นจำนวนมากอย่างที่หลายคนคิด เพราะสามารถเริ่มต้นได้ด้วยจุดเล็ก ๆ เมื่อมีความพร้อมหรือเห็นว่าได้ประโยชน์อย่างชัดเจนจึงค่อยต่อยอดไปสู่โซลูชันที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้

ซึ่งสิ่งที่คุณต้องการคือมืออาชีพที่มีความเข้าใจธุรกิจ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโซลูชันอย่างรอบด้าน พร้อมเป็นที่ปรึกษาและสร้าง Smart Factory ในแบบที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งทั้งหมดนั้นจะพบได้จาก “ฟูจิตสึ”  

ร่วมสร้างสรรค์ความสำเร็จกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจโรงงานไปสู่ยุคดิจิทัล เพราะฟูจิตสึได้ศึกษาและพัฒนาโซลูชันโรงงานอัจฉริยะส่วนหนึ่งขึ้นมาจากสายการผลิตของทางบริษัทฯ เอง จึงมีความรู้ในเชิงลึก รวมทั้งยังดำเนินธุรกิจในการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบ (System Integrator) อีกด้วย

มาร่วมสัมผัสบริการและเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของฟูจิตสึได้ที่ Fujitsu ActivateNow 2021

ดูข้อมูลและลงทะเบียนได้ที่นี่

หากคุณต้องการทราบว่า ฟูจิตสึสามารถช่วยพัฒนาให้ธุรกิจการผลิตของคุณกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะได้อย่างไร สามารถติดต่อเราที่

บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด

อาคาร เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 22-23
เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. + 66 (0) 2302 1500 แฟ็กซ์ + 66 (0) 2302 1555
http://th.fujitsu.com
www.facebook.com/FujitsuThailand

 

from:https://www.techtalkthai.com/fujitsu-smart-factory/

เจาะลึก Smart Manufacturing โซลูชันพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 จาก AIS x OMRON

ภาคอุตสาหกรรมเป็นกำลังสำคัญหลักในการฟื้นฟูประเทศ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อันส่งผลให้เกิดการชะลอตัวในทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาประเทศถึงขั้นต้องหยุดชะงักไป ซึ่งแน่นอนว่าการพัฒนาไม่ควรหยุดนิ่งแม้ต้องเผชิญกับสภาวะคับขัน 

จุดนี้เองที่ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย โดยทาง AIS Business 5G ได้เล็งเห็นถึงทางออกสำหรับภาคการผลิต จึงได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด หรือ ออมรอน (OMRON) ผู้นำด้าน Smart Manufacturing – Autonomous Mobile Robot เพื่อผนึกกำลังนำ 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ายกระดับภาคการผลิตในอุตสาหกรรม ด้วยการส่งโซลูชัน Smart Manufacturing ที่พร้อมตอบโจทย์ภาคการผลิตอัจฉริยะได้อย่างสมบูรณ์

AIS x OMRON สู่ Industry 4.0

AIS เป็นผู้นำด้าน 5G ที่มีสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมคลื่นความถี่หลากหลายที่รองรับการใช้งานในทุกระดับตั้งแต่ 5G Mobile, 5G Infrastructure และ Platform, 5G Horizontal Solutions ไปจนถึง 5G Vertical Solutions ดังนั้น AIS จึงมีความมุ่งมั่นในการเชื่อมต่อ ช่วยเหลือเพื่อคนไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกรวมเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงภาคการผลิต เพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ขับเคลื่อน Digital Transformation ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยด้วยบริการเทคโนโลยีดิจิทัลและโซลูชันร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลาย พร้อมให้บริการด้วยทีมงานที่มั่นใจได้ในความสามารถระดับมืออาชีพ

ด้านบริษัท OMRON เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตทั้งสินค้า บริการ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ให้กับภาคอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนานกว่า 88 ปี ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน กลุ่มอีเลคทรอนิคส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนและเซมิคอนดัคเตอร์ ตลอดจนอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภค และยา อีกทั้งยังเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีประกอบกับการให้บริการทางวิศวกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุมในการนำเสนอ Smart Manufacturing อันประกอบด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลการผลิตในระบบ IoT การพัฒนางานหุ่นยนต์ และการประยุกต์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกระบวนการผลิต ภายใต้ทิศทางการพัฒนาไปสู่ Industry 4.0

ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของทั้งสองบริษัทนี้เอง AIS จึงได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับ OMRON ในการนำเสนอโซลูชัน Smart Manufacturing ที่ผสานรวมเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์การเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีการผลิต เชื่อมโยง Information Technology (IT) ในด้าน IoT, Network & Connectivity, Cloud และ Cyber Security ให้ทำงานร่วมกันกับ Operation Technology (OT) ในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Real-time Monitoring, Machine Control, Automation, Robotics และ Machine Vision โดยทั้งหมดนี้จะนำพาไปสู่การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 อย่างยั่งยืน

Smart Manufacturing สู่ Smart Factory

Industry 4.0 และ Smart Manufacturing บนเครือข่าย AIS 5G และแพลตฟอร์มดิจิทัล อาทิ Cloud, IoT, Cyber Security  สามารถออกแบบเฉพาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม  (5G Private Network) ที่เพิ่มความปลอดภัย เชื่อถือได้สำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล โดยการเชื่อมต่อข้อมูลที่มาจากเครื่องจักรและสายการผลิตกับระบบงานบริหาร ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการผลิต การจัดการทรัพยากรการผลิตด้วยเทคโนโลยี IoT ซึ่งระบบ Smart Factory ยังรวมถึงการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ช่วยในการผลิตอีกด้วย

สำหรับเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในโซลูชัน Smart Manufacturing นั้น มีการนำเทคโนโลยีควบคุมระยะไกลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Machine Vision, IoT Smart Sensor, การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงเกิดเป็นโซลูชันต้นแบบของภาคการผลิตแบบอัจฉริยะ อาทิ

  • หุ่นยนต์รถลำเลียงอัจฉริยะ Autonomous Mobile Robot (AMR) อาศัยแผนที่ในการกำหนดเส้นทาง โดยไม่ต้องตีเส้น ซึ่งการสร้างแผนที่เป็นการมอบความสามารถให้หุ่นยนต์ทำงานได้รวดเร็วและง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งตัวอุปกรณ์จะมีเซนเซอร์สแกนพื้นที่โดยรอบบริเวณ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแผนที่ในการลำเลียงสิ่งของ บนเครือข่าย 5G Private Network
A picture containing text, indoor, floor, airport

Description automatically generated OMRON SOMRON Smart Factory (Robot + IoT + AI)mart Factory (Robot + IoT + AI)
  • สายการผลิตแบบยืดหยุ่น Layout-free Production Line การนำเสนอโซลูชันที่เปลี่ยนจาก Fixed Line ในสายงานการผลิตที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง มาสู่การสร้างสายการผลิตแบบยืดหยุ่นที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการการผลิตและสภาพแวดล้อมของพื้นที่รวมถึงข้อจำกัดอื่น ๆ รองรับความต้องการของการจัดสายงานการผลิตที่หลากหลาย สามารถออกแบบให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันนำพาไปสู่การลดต้นทุน เสริมความคล่องตัวในการดำเนินงานและการส่งออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
  • การตรวจจับด้วย Sensors ด้วยอุปกรณ์หรือกล้องความละเอียดสูง เก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เครื่องจักรในพื้นที่โรงงาน และนำไปประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้คาดการณ์ความผิดปกติ เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและแก้ไขก่อนเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ทันที   

นอกจากนี้ OMRON ยังได้นำเสนอโซลูชัน ชูจุดเด่น “3 I” ของนวัตกรรม Smart Factory ซึ่งประกอบด้วย

  • Integrated: การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาเชื่อมโยงการทำงานเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็วและแม่นยำ
  • Intelligent: ระบบการผลิตที่เรียนรู้และพัฒนาด้วยระบบ Big Data ของข้อมูลการผลิต
  • Interactive: ระบบการผลิตที่พนักงานสามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ

เมื่อนำ “3 I” ของ Smart Factory มาผนวกรวมกับ AIS 5G ก็จะเกิดการเชื่อมโยงของกระบวนการผลิตไปยังระบบโลจิสติกส์ และการบริหารจากส่วนกลางไปยังพื้นที่หน้างานตามโรงงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลที่รวดเร็วและมีเสถียรภาพภายใต้การทำงานของ AIS 5G ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในแง่พื้นที่หรือความครอบคลุมของสัญญาน หรือความหลากหลายของอุปกรณ์ตั้งแต่เซนเซอร์ไปจนถึงหุ่นยนต์ ซึ่งทุกหน่วยการผลิตจะสามารถเชื่อมโยงกับระบบการจัดการได้ด้วยความปลอดภัยภายใต้โครงสร้างพื้นฐาน 5G Private Network

การพัฒนา Smart Manufacturing บนระบบ 5G สามารถตอบโจทย์ต่อความท้าทายของผู้ประกอบการได้หลายประการ อาทิ

  • การบริหารการผลิตและทรัพยากรที่มีความหลากหลาย ทั้งในแง่ผลิตภัณฑ์และโรงงานผลิต 
  • การลดต้นทุนด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนแบบเรียลไทม์ เช่น ของเสีย การหยุดรอของการผลิต 
  • การเพิ่มประสิทธิภาพจากข้อมูลการจัดการวัตถุดิบ การจัดการกระบวนการผลิต ด้วยระบบเรียลไทม์ OEE (Overall Equipment Efficiency)
  • การลดต้นทุนแรงงานด้วยหุ่นยนต์ในงานบางประเภท เช่น การประกอบ การตรวจสอบ
  • ความปลอดภัยในการทำงานของคน การทำงานร่วมกันระหว่างคนและหุ่นยนต์
  • การจัดการวัตถุดิบและคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • การประหยัดและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • การรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน 

นอกเหนือจากนี้ การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสู่ระบบ Smart Factory ยังเปิดขีดความสามารถใหม่ที่สร้างความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้ อาทิ ความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นต่อข้อกำหนด (Flexible Manufacturing) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าจำนวนน้อย (Small Lot Size Production) การสอบย้อนกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม (Traceability) และระบบซ่อมบำรุงเชิงรุก (Predictive Maintenance)

ความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่าง AIS และ OMRON จึงนับเป็นการเสริมขีดความสามารถซึ่งกันและกัน โดย AIS ในฐานะผู้นำเครือข่าย 5G ในประเทศไทย และ OMRON ในฐานะผู้นำด้าน Smart Manufacturing – Autonomous Mobile Robot พร้อมแล้วที่จะให้บริการโซลูชัน Smart Manufacturing กับภาคอุตสาหกรรมไทย 

ผู้ที่สนใจบริการธุรกิจจาก AIS เพิ่มเติม  สามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ https://business.ais.co.th/ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่

from:https://www.techtalkthai.com/ais-x-omron-smart-manufacturing/

ผสาน Industrial IoT เข้ากับ Augmented Reality สู่โรงงานอัจฉริยะยุค Industry 4.0 กับ ISID

ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดในปัจจุบันนี้ การเร่งปรับตัวของธุรกิจโรงงานและการผลิตเพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคและการขนส่งในยุคใหม่เป็นภาพที่เราเห็นกันทั่วทั้งอุตสาหกรรม และในปี 2021 ที่กำลังจะถึงนี้ การปรับธุรกิจโรงงานและการผลิตให้ก้าวสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะหรือ Smart Factory เพื่อให้สามารถทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ, มีคุณภาพ และปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นนี้ก็คือภาพที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา

Smart Factory ผสานเทคโนโลยี IIoT Platform เชื่อมต่อเครื่องจักรอัจฉริยะ เข้ากับ Augmented Reality การแสดงผลที่เหมาะสมกับสายการผลิต

ISID ในฐานะของผู้นำด้าน Manufacturing Solutions ได้นำเสนอแนวคิดของโรงงานอัจฉริยะหรือ Smart Factory เอาไว้ในอนาคตว่า นอกเหนือไปจากเทคโนโลยีด้านระบบ ERP หรือการทำเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและความชาญฉลาดเข้ามาใช้แล้ว การนำเทคโนโลยี Industrial IoT (IIoT) Platform เข้ามาใช้รวมกับ Augmented Reality (AR) นั้นถือเป็นภาพที่จะขาดไปไม่ได้

IIoT Platform นั้นจะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในฐานะของตัวกลางที่จะทำให้เครื่องจักรอัจฉริยะและเซ็นเซอร์ต่างๆ ในสายการผลิตสามารถเชื่อมผสานเข้ากับระบบบริหารจัดการและ ERP เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวิเคราะห์, ทำนาย หรือตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ สำหรับทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้สายการผลิตนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยพลังของข้อมูล และการตัดสินใจในระดับของการบริหารจัดการสายการผลิตไปจนถึงผู้จัดการโรงงานและบอร์ดบริหารนั้นมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นในระยะยาว

ข้อมูลจาก IIoT Platrform นี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตมีข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ได้รับข้อมูลที่รวดเร็วแบบ Real-Time สำหรับใช้ในการตัดสินใจเชิงธุรกิจอีกด้วย ซึ่งในเชิงการผลิตนั้น ตัวเลขหรือข้อมูลเหล่านี้ในแบบ Real-Time ก็จะทำให้ผู้จัดการสายการผลิตเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และทำการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที่ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เองที่จะช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจโรงงานและการผลิตได้อย่างคุ้มค่า

ในขณะเดียวกัน AR นั้นก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีสำหรับการแสดงผลในสายการผลิตอย่างชาญฉลาดที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากที่สุด โดยในสายการผลิตนั้น วิศวกรและเจ้าหน้าที่สามารถใช้ Smartphone หรือ Tablet เป็นอุปกรณ์หลักในการแสดงผลข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องมีการป้อนข้อมูลใดๆ รวมถึงยังสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรเหล่านั้นได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์, สถานะการทำงาน, การเปิดไฟล์ CAD ของเครื่องจักร, สัญญาการดูแลรักษา, ข้อมูลติดต่อเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผู้ให้บริการหลังการขาย, การกรอกแบบฟอร์มเพื่อร้องขอการบริการหลังการขาย ไปจนถึงการเชื่อมต่อกับระบบ MES หรือ ERP ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรนั้นๆ

นอกเหนือไปจากการใช้ AR ในสายการผลิตแล้ว อีกแนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากนั้นก็คือการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับเครื่องจักรด้วยเทคโนโลยี AR ผ่านแว่นตา AR ที่จะทำให้พนักงานแต่ละคนได้สัมผัสกับเครื่องจักรเสมือนในโลก AR และเปิดดูชิ้นส่วนหรือการประกอบภายใน เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้การทำงานของเครื่องจักรในเชิงลึกได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้การฝึกอบรมวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเครื่องจักรนั้นเป็นไปได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

เมื่อนำเทคโนโลยี IIoT Platform มาผสานการทำงานรวมกับ AR แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็การรวมกันระหว่างข้อมูลของสายการผลิตในแบบ Real-Time และการแสดงผลในสายการผลิตด้วยอุปกรณ์ Smartphone หรือ Tablet ทำให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตนั้นก้าวสู่การเป็น Smart Factory อย่างเต็มตัวโดยที่มีแนวทางการทำงานในแบบ Data-Driven ตั้งแต่ระดับของผู้บริหารมาจนถึงระดับปฏิบัติการหน้าสายการผลิตอย่างแท้จริง ในขณะที่เทคโนโลยีทั้งสองเองต่างก็มีบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพ, คุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายได้ในตัวเอง ทำให้ธุรกิจมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นท่ามกลางยุคของการผลิตแบบโลกาภิวัตน์นี้

สร้างสายการผลิตอัจฉริยะด้วย IIoT Platform จาก Siemens และ Thingworx

ISID ได้คัดสรรโซลูชัน IIoT Platform ที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจโรงงานและการผลิตซึ่งมีการใช้เครื่องจักรชั้นนำเอาไว้ด้วยกัน 2 แนวทาง ได้แก่

  • Siemens MindSphere ระบบปฏิบัติการ IIoT ที่มีความมั่นคงปลอดภัย ปรับแต่งและเสริมความสามารถได้ง่าย สามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP, MES ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในโรงงานที่มีการใช้อุปกรณ์ PLC หรือเครื่องจักรของ Siemens ภายในโรงงาน
  • Thingworx ระบบ IIoT Platform ที่มีจุดเด่นด้านความยืดหยุ่น สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้มากกว่า 150 ชนิด และมี Application ให้พร้อมใช้งานได้ทันที รองรับการทำ AR Application ได้ในตัว เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการใช้เครื่องจักรจากผู้ผลิตที่หลากหลาย

ในแง่ของการลงทุน ทั้งสองโซลูชันนี้ต่างคิดค่าใช้จ่ายในแบบ Subscription รายปีทั้งคู่ ทำให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตไม่ต้องทำการลงทุนจัดซื้อระบบขนาดใหญ่ล่วงหน้ามาก่อนเหมือนการจัดซื้อ Software ในอดีต และยังได้รับการอัปเดตจากผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

พัฒนา Augmented Reality Mobile Application สำหรับใช้งานในธุรกิจได้ง่ายๆ ไม่ต้องเขียนโค้ดเองด้วย Vuforia

นอกเหนือจากเทคโนโลยี AR ที่มีให้ใช้งานได้ใน Thingworx แล้ว ISID ก็ยังได้นำโซลูชัน Vuforia Studio Drag and Drop AR ซึ่งเป็นระบบ Low-Code Development Platform ที่จะทำให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตสามารถสร้าง AR Application ที่เชื่อมต่อดึงข้อมูลที่ตนเองต้องการให้สัมพันธ์กับเครื่องจักรหรือวัตถุภายในสายการผลิตได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องลงมือเขียนโค้ด แต่ทำการสร้าง AR Application แบบง่ายๆ ด้วยการลากวาง และกำหนดเงื่อนไขการแสดงผลหรือโต้ตอบได้

Vuforia Studio Drag and Drop AR นี้จะช่วยให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมในการผลิตของตนเองขึ้นมาได้ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งให้ Application นี้เหมาะสมกับรูปแบบการผลิต, เครื่องจักร, ระบบ ERP/MES ที่ใช้งาน และบทบาทของพนักงานแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไปได้ ช่วยให้การทำ Digital Transformation นี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกับผู้บริหารและผู้จัดการสายการผลิตเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พนักงานระดับปฏิบัติการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ดี

สนใจติดต่อ ISID Thailand ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชันข้างต้น สามารถติดต่อทีมงาน ISID Thailand ได้ทันทีที่ sales_th@isidsea.com หรือติดต่อมาที่ ISID South East Asia Thailand ที่เบอร์ 02-632-9112-3 ได้ตลอดเวลาทำการ 9:00-18:00 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ ISID Thailand ได้ที่ http://www.isidsea.com/ และ Facebook Fan Page ได้ที่ https://www.facebook.com/isidthailand ทันที

from:https://www.techtalkthai.com/integrate-your-iiot-and-ar-for-industry-4-0-by-isid-thailand/