คลังเก็บป้ายกำกับ: CYBERSECURITY

Group-IB ประกาศแผนเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลขึ้นในประเทศไทย และลงนามสัญญาพันธมิตรกับ nForce ผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในประเทศไทย [Guest Post]

กรุงเทพมหานคร,วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2566 — Group-IB บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้จัดแถลงข่าวประกาศแผนการที่จะเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัล (Digital Crime Resistance Center) ขึ้นในประเทศไทย พร้อมทั้งการลงนามในสัญญาความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) ผู้แทนจำหน่ายและผู้เชี่ยวชาญทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity)

ภายใต้ความร่วมมือนี้ nForce จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดของ Group-IB ที่รวมกันอยู่ภายใต้ชื่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ Unified Risk Platform ของ Group-IB ซึ่งเป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)

nForce จะจัดตั้งทีมรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Incident Response : IR) ทีมแรกของตนขึ้นในประเทศไทย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Group-IB Digital Forensics & Incident Response ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สะสมยาวนานมากกว่า 70,000 ชั่วโมงในการดำเนินการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกที่ทาง Group-IB ดูแลอยู่

Group-IB จะให้การฝึกอบรมและการสนับสนุนช่วยเหลือโดยเฉพาะแก่ทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ของ nForce เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (IR) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและทำให้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำหรับการวิเคราะห์เชิงนิติวิทยา (Forensic Analysis) ง่ายขึ้น โดยทีมงานของ nFroce จะได้รับการติดตั้งโซลูชัน Managed Extended Detection and Response ของ Group-IB เพื่อการนี้

nForce เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและดำเนินธุรกิจอย่างแข็งแกร่งในประเทศไทย โดยเป็นผู้นำในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และ nForce ยังมีพันธมิตรมากกว่า 100 รายครอบคลุมทุกกลุ่มตลาด โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายที่มีสถานะที่แข็งแกร่งเป็นพิเศษในตลาดภาคการเงิน ส่วน Group-IB มีเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยและร่วมช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยให้สามารถจัดการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้นทุกวัน

จากรายงานแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูงประจำปี 2565/2566 (Hi-Tech Crime Trends Report 2022/2023) พบว่าบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยตกเป็นเป้าการคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยตกอยู่ในอันดับที่ 5 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีบริษัทถึง 27 แห่งที่เป็นเหยื่อถูกขโมยข้อมูลโดยแรนซั่มแวร์นำขึ้นไปโพสต์เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลรั่วไหลโดยเฉพาะ (dedicated leak sites) ระหว่างช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564 จนถึงครึ่งแรกของปี 2565 เนื่องจากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนจริงของการโจมตีโดยแรนซั่มแวร์นั้นน่าจะสูงกว่านี้มาก เนื่องจากหลายบริษัทเลือกที่จะจ่ายค่าไถ่ แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือความสนใจที่เพิ่มขึ้นของอาชญากรที่ทำตัวเป็นนายหน้าขายบริการเจาะการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Initial Access Brokers : IABs) ขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทย ตามข้อมูลการค้นพบจากทีมข่าวกรองภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence) ของ Group-IB พบว่า IABs มีความพยายามขายการเข้าถึงระบบเครือข่ายบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยถึง 28 แห่งในช่วงเวลาเดียวกัน

ในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลของ Group-IB ที่จะจัดตั้งขึ้นที่ประเทศไทยได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช่ำชองในด้าน Threat Intelligence, Digital Forensics & Incident Response, Cyber ​​Investigations, Digital Risk Protection รวมถึงนักวิเคราะห์จาก Computer Emergency Response Team  ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรซึ่งได้ถูกทดลองและทดสอบมาแล้วหลายครั้งในกว่า 60 ประเทศ พร้อมทั้งทีมงานของ Group-IB ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของ nForce จะผสานร่วมกันเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันทางดิจิทัลของบริษัทต่างๆ ในประเทศไทยด้วยการจัดตั้งทีมงานนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามไซเบอร์ (Digital Forensics and Incident Response : DFIR) ระดับแนวหน้าขึ้น

การรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางดิจิทัลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องจะทำให้เข้าใจขอบเขตของภัยคุกคามได้อย่างชัดเจนและสามารถพัฒนามาตรการที่เหมาะสมเพื่อยับยั้งภัยคุกคามนั้น รวมทั้งยังสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาดิจิทัลและการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ที่มีทักษะสูงของ Group-IB จะทำการฝึกอบรมบุคลากรของ nForce เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่หลากหลาย ทีมงานของ Group-IB ใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย Threat Intelligence อันล้ำสมัย และมีประวัติผลสำเร็จในการทำงานที่ถูกพิสูจน์แล้วในเรื่องของการสืบสวนและแก้ไขคดีอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น ตัวถอดรหัส (Decryptor) ของ Group-IB ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมงาน DFIR ของบริษัทเองสามารถทำการถอดรหัส Hive Ransomware รุ่น 4 ที่อื้อฉาว และสามารถช่วยถอดรหัสปลดล็อคระบบเครือข่ายขององค์กรทางการแพทย์ในประเทศไทยที่เคยถูกโจมตีจากแรนซั่มแวร์ตัวนี้ได้สำเร็จ

นายนักรบ เนียมนามธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“nForce ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Group-IB ซึ่งเป็นผู้นำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก สำหรับการจัดตั้งทีม Incident Response ในครั้งนี้ จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยสามารถยับยั้งและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันถ่วงที ด้วยทีมช่วยเหลือในการตอบโต้เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัยในยุคดิจิทัล ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB จะทำให้ nForce มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น ด้วยบริการจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพจาก nForce ร่วมกับ Group-IB รวมถึงโซลูชันต่างๆ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทางด้าน Cybersecurity สำหรับปี 2566 บริษัทคาดว่ารายได้จะเติบโตอยู่ที่ 15-20% จากการลงทุนโปรเจ็กต์ต่างๆ ของลูกค้าภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบกับการที่หลายธุรกิจเดินหน้าทำ Digital Transformation ทำให้ดีมานด์การใช้เทคโนโลยีมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน” 

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับ nForce ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในตลาดประเทศไทยและจะช่วยเราขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ การเปิดศูนย์ต่อต้านอาชญากรรมดิจิทัลและความร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายพันธกิจระดับโลกของเราในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ประเทศไทย เราเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันกับ nForce และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างทีมรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ประกอบด้วยมืออาชีพที่กระตือรือร้นซึ่งมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ไซเบอร์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” Dmitry Volkov ซีอีโอของ Group-IB กล่าว

เกี่ยวกับ nForce Secure

บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยนำเสนอ สินค้าที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงในแต่ละหมวดสินค้า ซึ่งจำแนกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) End Point Security, (2) Network Security, (3) Network Performance and Monitoring และ (4) อื่นๆ เช่น Encryption Solution, Software ที่เกี่ยวข้องกับ Authentication และ Software ที่เกี่ยวข้องกับ Archiving เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย เช่น บริการด้านการติดตั้ง (Installation) บริการบำรุงรักษา (Maintenance) รวมไปถึงบริการปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานระบบ หรือซอฟต์แวร์ที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่าย และบริการฝึกอบรมการใช้งานระบบ (Training)

กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท คือ ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator หรือ SI) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของผู้ใช้งานโดยตรง (End User) และออกแบบติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ โดยนำเสนอในรูปแบบโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานโดยตรงในระดับองค์กร ซึ่งผู้ใช้งานโดยตรงประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยีจะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Distributor) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ โดยตัวแทนจำหน่ายจะทำหน้าที่จัดหาและจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ได้ตรงตามระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้รับเหมารวบรวมระบบออกแบบตามความต้องการ ทั้งนี้ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (SI) ที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทนั้น ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพทางธุรกิจ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการต่างๆ ขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

เราภาคภูมิใจที่ได้นำเข้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cybersecurity) ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ามาจัดจำหน่ายภายในประเทศ ด้วยอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องและตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ตลอดจนการสร้างความสำเร็จให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ (Vendor) รวมไปถึงลูกค้าที่เป็น ผู้รับเหมารวบรวมระบบและเทคโนโลยี (System Integrator) ผ่านการให้บริการแบบครบวงจร ด้วยบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระดับมาตรฐานสากล

เกี่ยวกับ Group-IB

Group-IB มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโซลูชั่นชั้นนำที่ทุ่มเทให้กับการตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง การระบุการฉ้อโกงทางออนไลน์ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีศูนย์ข่าวกรองและการวิจัยภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Intelligence and Research Centers) ของบริษัทตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง (ดูไบ) เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) และยุโรป (อัมสเตอร์ดัม)

Unified Risk Platform ของ Group-IB เป็นระบบนิเวศของโซลูชันที่เข้าใจโปรไฟล์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ของแต่ละองค์กรและสามารถปรับแต่งการป้องกันให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้แบบเรียลไทม์โดยผ่านการติดต่อกับผู้ใช้งานเพียงเพียงอินเทอร์เฟซรูปแบบเดียว (A Single Interface)  

Unified Risk Platform ให้ความคุ้มครองที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนตลอดห่วงโซ่การรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลิตภัณฑ์และบริการของ Group-IB ที่รวมอยู่ภายใต้ Unified Risk Platform ของ Group-IB ได้แก่ Threat Intelligence, Managed XDR, Digital Risk Protection, Fraud Protection, Attack, Surface Management, Business Email Protection, Audit & Consulting, Education & Training, Digital Forensics & Incident Response, Managed Detection & Response, and Cyber Investigations.

ระบบ Threat Intelligence ของ Group-IB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในประเภทเดียวกันโดย Gartner, Forrester และ IDC ส่วนผลิตภัณฑ์ Managed XDR ของ Group-IB ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับการค้นหาเชิงรุกและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนและไม่เคยรู้จักมาก่อน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดในประเภทผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network Detection and Response โดย KuppingerCole Analysts AG ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ชั้นแนวหน้าของยุโรป และในขณะเดียวกันก็ได้ให้การยอมรับ Group -IB ในฐานะเป็น Product Leader และ Innovation Leader  อีกด้วย

อีกทั้งผลิตภัณฑ์ Fraud Protection ของ Group-IB ยังได้รับการเสนอชื่อ (Representative Vendor) ให้อยู่ในรายงานผลิตภัณฑ์การตรวจจับการฉ้อโกงออนไลน์ของ Gartner นอกจากนี้ Group-IB ยังได้รับรางวัล Innovation Excellence Award จาก Frost & Sullivan สำหรับผลิตภัณฑ์ Digital Risk Protection (DRP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI-driven) สำหรับการระบุและบรรเทาความเสี่ยงทางดิจิทัล และต่อต้านการโจมตีการแอบอ้างแบรนด์ โดยใช้เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของบริษัทเป็นแกนหลัก ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของ Group-IB สร้างขึ้นจากประสบการณ์จริงถึง 19 ปีของบริษัทในการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก และมากกว่า 70,000 ชั่วโมงของการรับมือและตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สะสมอยู่ในห้องปฏิบัติการ DFIR ชั้นนำของบริษัท, รวมถึงแผนกสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง และทีมงาน CERT-GIB ของบริษัทที่บริการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินทางเทคนิคโดยสามารถให้การดูแลได้ตลอดเวลา

Group-IB เป็นพันธมิตรที่ทำงานอย่างแข็งขันในการสืบสวนสอบสวนระดับโลกที่นำโดยองค์กรบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น Europol และ INTERPOL นอกจากนั้น Group-IB ยังเป็นสมาชิกของ EuropolEuropean Cybercrime Centre’s (EC3) Advisory Group on Internet Security ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่าง Europol และพันธมิตรชั้นนำที่ไม่ใช่ผู้บังคับใช้กฎหมาย

ประสบการณ์ของ Group-IB ในการตามล่าภัยคุกคามและแสวงหาข่าวกรองทางไซเบอร์ได้หลอมรวมกันเป็นระบบนิเวศของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบ ระบุ และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ ภารกิจของ Group-IB คือการปกป้องลูกค้าในไซเบอร์สเปซให้มีความมั่นคงปลอดภัยทุกวัน ด้วยการสร้างและใช้ประโยชน์จากโซลูชันและบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ

from:https://www.techtalkthai.com/group-ib-announces-plan-to-open-anti-criminal-center-in-thailand-and-signed-a-partnership-agreement-with-nforce/

Advertisement

รัฐบาลสหรัฐออกแผนยุทธศาสตร์มั่นคงไซเบอร์ เสนอบริษัทซอฟต์แวร์ต้องรับผิดหากมีช่องโหว่

รัฐบาลสหรัฐ ออกแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ (National Cybersecurity Strategy) เป็นกรอบกว้างๆ กำหนดแนวทางป้องกันการโจมตีไซเบอร์ โดยเฉพาะกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ

แผนยุทธศาสตร์นี้พูดถึงการรับมือกับกลุ่มผู้ประสงค์ร้าย (threat actors), การแลกเปลี่ยนข้อมูลกลุ่มแฮ็กเกอร์-กลุ่มผู้สร้างมัลแวร์ระหว่างรัฐบาลชาติต่างๆ, การลงทุนด้านงานวิจัยความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นกว้างๆ ที่พูดถึงกันในวงการความปลอดภัยไซเบอร์อยู่แล้ว

ของใหม่ที่เป็นประเด็นจับตาคือ แผนฉบับนี้เสนอแนวคิดว่า ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หรือผู้ให้บริการควรต้อง “มีภาระรับผิด” ต่อการเกิดช่องโหว่ด้วย (ยังไม่ระบุลงไปชัดว่าเป็นความผิดอาญา หรือเสียค่าปรับอย่างเดียว) เพื่อกระตุ้นให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเร่งปรับตัว นำเทคนิคและมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อป้องกันการเกิดช่องโหว่ความปลอดภัย

ข้อความในแผนเขียนว่า ผู้ขายซอฟต์แวร์ไม่มีแรงจูงใจด้านการทำซอฟต์แวร์ให้ปลอดภัย แม้มีมาตรฐานที่ปฏิบัติกันในวงการอยู่แล้วแต่ก็ไม่ค่อยสนใจทำตาม เช่น ออกสินค้าที่ตั้งค่าดีฟอลต์แบบง่ายๆ เลยทำให้โดนเจาะได้ง่ายตามไปด้วย ระบบทั้งหมดจึงมีความปลอดภัยรวมน้อยลง เมื่อการทำแบบนี้ไม่มีภาระรับผิดใดๆ ก็ทำให้ผู้ขายซอฟต์แวร์ทำแบบนี้กันต่อไปอีกเหมือนเดิม

หลังจากแผนยุทธศาสตร์นี้ออกมาแล้ว รัฐบาลสหรัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อลงรายละเอียดและพัฒนาเป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อไป

ที่มา – Whitehouse, Ars Technica

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132882

Trend Micro เข้าซื้อ Anlyz ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี SOC

ข้อตกลงนี้ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการเข้าซื้อ ซึ่งครอบคลุมทรัพย์สินทางปัญญา ความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และพนักงานด้านเทคนิคกว่า 40 คน ซึ่งทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนกลยุทธ์แพลตฟอร์มความปลอดภัยของ Trend Micro ประโยชน์จากดีลนี้จะช่วยสนับสนุนแผนการขยายทีมวิศวกรกว่า 3,000 คน เพื่อเพิ่มศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย

Trend Micro และ Anlyz เป็นพันธมิตรด้านเทคโนโลยีมาตั้งแต่ปี 2564 และมีลูกค้าร่วมกันมากกว่า 30 ราย ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่รออยู่ข้างหน้า
 
Trend Micro เป็นผู้นำด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก ได้ประกาศการลงนามในข้อตกลงขั้นสุดท้ายเพื่อซื้อกิจการ Anlyz ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านเทคโนโลยีศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (SOC)
 
Anlyz มุ่งเน้นที่การจัดการ Security Orchestration และ Case Management เป็นหลัก ซึ่งมอบความสามารถ SOAR อันทรงพลังสำหรับ MSSP เพื่อจัดการกระบวนการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในระดับไคลเอ็นต์ นอกจากนี้ยังมี Intelligent Log ที่ช่วยให้สามารถนำเข้าข้อมูลและเพิ่มความสมบูรณ์ในแหล่งข้อมูลและโซลูชันการรักษาความปลอดภัยต่างๆ โดยใช้สถาปัตยกรรมประสิทธิภาพสูงและปรับขนาดได้
 
Trend Micro จะใช้ประโยชน์จากโซลูชัน SOAR ของ Anlyz และชุดตัวเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อขยายแพลตฟอร์มและเปิดใช้ตัวเลือกการผสานรวมและการทำงานอัตโนมัติเพิ่มเติมในระบบนิเวศไอทีของลูกค้า การเข้าซื้อกิจการจะช่วยขยายความสามารถในการประสานการทำงาน ระบบอัตโนมัติ และการผสานรวมของ Trend Micro ซึ่งองค์กรและ Managed Security Service Providers (MSSPs) สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ความคุ้มทุน และได้ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยม สู่บริการ SOC เชิงกลยุทธ์ ในขณะเดียวกันก็สามารถลดความซับซ้อนของชุดความปลอดภัยพื้นฐานโดยการลดจำนวนผู้จำหน่ายเทคโนโลยีที่จำเป็น ทำให้ลูกค้าระดับองค์กรของ Trend Micro ได้รับประโยชน์จาก Extended Detection and Response (XDR) ที่ครอบคลุมและแพลตฟอร์มการประสานการตอบสนองเหตุการณ์ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักวิเคราะห์และช่วยลดข้อจำกัดด้านทรัพยากร
 
ผลการวิจัยของ Gartner ระบุว่า ผู้ซื้อจะแสวงหาโซลูชันที่ดีที่สุดและครบวงจรมากกว่าโซลูชันเฉพาะจุดที่ดีที่สุด ทั้งลูกค้าปลายทางและผู้ให้บริการยังคงรวมผู้ขาย/ผู้ให้บริการ บทบาทของผู้จำหน่ายเทคโนโลยีจะเป็นผู้ช่วยให้การผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีและเครื่องมือด้านไอทีและความปลอดภัยอื่นๆ ง่ายขึ้น ตามกรณีการใช้งานต่างๆ
 

from:https://www.techtalkthai.com/trend-micro-acquires-anlyz-soc-technology-specialist/

ฟอร์ติเน็ต เปิดแผน 2023 ย้ำภาพผู้นำเบอร์หนึ่ง [Guest Post]

กับบทบาทที่ปรึกษาที่ลูกค้ามั่นใจได้

ช่วยอุดช่องภัยคุกคามทุกมิติ ด้วยโซลูชันครบวงจรทั้งไอที-โอที

ฟอร์ติเน็ตผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร เผยการปฏิรูปทางดิจิทัล (Digital Transformation) ในองค์กรธุรกิจ และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลจะนำไปสู่การเปิดพื้นที่โจมตี (Attack Surface) ที่เพิ่มมากขึ้นในปีนี้และปีต่อๆ ไป พร้อมเปิดแผนดำเนินธุรกิจปี 2023 เตรียมมุ่งหน้าตอบโจทย์ความต้องการระบบการรักษาความปลอดภัยสำหรับ OT (Operational Technology)  กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้น ชู Fortinet Security Fabric ช่วยภาคธุรกิจและจัดการความเสี่ยงและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ดียิ่งขึ้น และเตรียมจับมือภาคการศึกษา หน่วยงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในการปั้นมืออาชีพรองรับความต้องการบุคลากรไซเบอร์ในประเทศไทย

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “เป็นที่คาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีส่วนใน GDP หรือผลิตภัณฑ์รวมในประเทศทั้งหมดของประเทศไทยถึง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งยิ่งเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโต การเฝ้าระวังและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ยิ่งทวีความสำคัญ ยิ่งการทรานส์ฟอร์มในธุรกิจและอุตสาหกรรมมีมากขึ้น เราก็จะยิ่งได้เห็นความถี่และความซับซ้อนของการโจมตีที่เพิ่มขึ้น”

จากรายงานล่าสุดของฟอร์ติการ์ด แล็บ (FortiGuard Labs) ทีมงานศึกษาและวิจัยภัยคุกคามไซเบอร์ระดับโลก ชี้ให้เห็นว่าในปี 2022 ที่ผ่าน มัลแวร์และแรนซัมแวร์ยังคงเป็นภัยคุกคามหลักที่องค์กรทั้งหลายต้องเตรียมรับมือ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือรูปแบบการโจมตีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ตัวมัลแวร์และแรนซัมแวร์เท่านั้น แต่วิธีการในการส่งมัลแวร์ไปยังเป้าหมายก็ยังมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของประเทศไทยช่วงไตรมาส 4 ของปี 2022 ทางฟอร์ติการ์ด แล็บ ได้ ตรวจพบว่ามีเหตุการณ์ (Incident) ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากถึง 1.5 ล้านครั้งในทุกๆ วัน หรือประมาณ 132 ล้านครั้งตลอดทั้งไตรมาส ซึ่งนับเป็น 2.25% การเกิดขึ้นของมัลแวร์ที่ตรวจพบทั่วโลก ในขณะที่กลุ่มบอทเน็ตนั้นมีจำนวนตรวจพบมากกว่า 224 ล้านครั้ง นับเป็น 2.45% ที่ตรวจพบทั่วโลก ส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือช่องโหว่ที่ถูกตรวจพบทั้งซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่างๆ นั้นพบมากถึง 57,651 ล้านครั้ง ซึ่งนับเป็น 1.94% จากที่ตรวจพบทั่วโลก โดยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเนื่องและจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย

ความซับซ้อนของการโจมตีที่ต้องรับมือ

  • การโจมตีที่เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น – ทั้งในรูปของแรนซัมแวร์ การละเมิดการทำงานของระบบไอที (IT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน หรือ OT (Operational Technology) ด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI การโจมตีการทำงานของ IoT ตลอดจน Crypto-Jacking ภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบใหม่เพื่อการขโมยทรัพยากรคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง Deepfake ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สร้างสื่อสังเคราะห์เพื่อปลอมแปลงลักษณะบุคคลต่าง ๆ ผ่านสื่อวิดีโอ รวมถึงภาพถ่าย และการบันทึกเสียง โดยใช้ประโยชน์จาก AI ที่ถูกพัฒนาด้วย Deep Learning เป็นต้น
  • ความเสี่ยงที่หลากหลาย – ทั้งบนคลาวด์ เน็ตเวิร์ก อุปกรณ์ปลายทาง (End Point) แอปพลิเคชัน การทำงานของ OT และอื่นๆ ที่นำไปสู่การใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากเวนเดอร์ต่างๆ กัน
  • ความท้าทายในการแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วน (Network Segmentation) – เนื่องเพราะการปรับตัวของบริษัทต่างๆ ในการทำงานในรูปแบบของไฮบริด ทำให้เกิดความยากลำบากในการแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วนๆ (Segments) เพื่อป้องกันการเชื่อมต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ภัยคุกคามของ OT และซัพพลายเชน – เกิดขึ้นจากการพึ่งพาบริการและเครื่องมือดิจิทัลที่มากขึ้น ทำให้เผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ ผ่านทางเวนเดอร์และพันธมิตรที่ใช้บริการ
  • ความซับซ้อนของระบบ IT – มากับจำนวนดีไวซ์ที่มากขึ้น การใช้งานแอปพลิเคชันและบริการในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด ก่อให้เกิดความท้าทายในการจัดการและรักษาความปลอดภัยทั้งหมดโดยรวม
  • การมองเห็นที่จำกัด (Limited Visibility) – ด้วยปริมาณของดีไวซ์และบริการที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ห่างไกล เป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรธุรกิจในการเฝ้าระวังและตรวจสอบภัยคุกคามความปลอดภัย

ภัคธภา กล่าวว่า ในปีนี้ นอกเหนือจากการรุกเพื่อให้บริการด้านความปลอดภัยทางไอทีแก่องค์กรธุรกิจต่างๆ แล้ว ฟอร์ติเน็ตยังเล็งในการขยายการทำธุรกิจเข้าสู่ตลาดด้าน OT มากยิ่งขึ้นเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปทางดิจิทัล เพื่อปรับกระบวนการทำงานทั้งในส่วน IT และ OT เข้าด้วยกันทำให้องค์กรมีพื้นที่เสี่ยงต่อการโดนโจมตีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

จากรายงานของ สถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานทั่วโลกประจำปี 2022 (Global 2022 State of Operational Technology and Cybersecurity Report) ระบุว่า 88% ของสภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยี OT ต่างเคยมีประสบการณ์กับการบุกรุก โดยผลการศึกษาได้ชี้ถึงปัญหาที่ก่อเกิดจากการโจมตี OT ซึ่งรวมถึงการขาดความสามารถในการมองเห็นกิจกรรมด้าน OT แบบรวมศูนย์ ทำให้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

“การบุกรุกความปลอดภัย OT ส่งผลกระทบสำคัญต่อประสิทธิผลขององค์กรและส่งผลถึงกำไร โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮ็กเกอร์ ส่งผลต่อการสูญเสียรายได้ การสูญหายของข้อมูล และยังได้รับผลกระทบในเรื่องของการกำกับดูแล ไปจนถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์อันเป็นผลมาจากการบุกรุกด้านความปลอดภัย ฟอร์ติเน็ตในฐานะผู้นำอันดับ 1 และผู้ให้คำปรึกษาด้านซีเคียวริตี้ที่ลูกค้ามั่นใจได้ (Trusted Advisor) พร้อมในการให้คำปรึกษา และในการทำงานงานร่วมกับพันธมิตรที่เรามีในการมอบการปกป้องระบบควบคุมอุตสาหกรรม รวมถึงระบบควบคุมกำกับดูแลและเก็บข้อมูลให้กับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ” ภัคธภา กล่าว

Fortinet Security Fabric เพื่อการรักษาความปลอดภัยที่สมบูรณ์

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการระบบการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพทั้งสำหรับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ฟอร์ติเน็ตมุ่งเน้นในการรวมเวนเดอร์ต่างๆ และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำงานในแต่ละจุด (Point Products) ทั้งในส่วนของการรักษาความปลอดภัยและระบบเครือข่ายเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้สามารถลดความซับซ้อนเพื่อปิดช่องว่างด้านความปลอดภัย (Security Gap) ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับประสบการณ์ผู้ใช้ให้เหมาะสม และเร่งผลลัพธ์ในการทำงาน แนวคิดของฟอร์ติเน็ตคือการรวมกันของ 1) ระบบเครือข่ายและความปลอดภัย 2) การบูรณาการ Point Products เข้ากับแพลตฟอร์มความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบบูรณาการ และ 3) การนำระบบข่าวกรองภัยคุกคามไซเบอร์และบริการด้านความปลอดภัยมาใช้กับทุกภาคส่วนอย่างสม่ำเสมอ และการผสานรวมทั้งหมดนี้มีอยู่ใน Fortinet Security Fabric แล้ว

Fortinet Security Fabric ช่วยให้ธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางที่มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดการหยุดชะงัก โดยช่วยให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมทั้ง IT และ OT จะได้รับการปกป้องและดำเนินการภายใต้ข้อกำหนด ซึ่งการผสานรวมการทำงานได้อย่างเต็มรูปแบบรวมถึงการแบ่งปันความรู้เท่าทันเกี่ยวกับภัยคุกคาม จะช่วยให้องค์กรด้านอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนสามารถดำเนินการตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Fortinet Security Fabric จะครอบคลุมเครือข่ายควบรวมทั้ง IT-OT ทั้งหมดเพื่อปิดช่องว่างด้านความปลอดภัย OT โดยให้ความสามารถด้านการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์อีกทั้งให้การบริหารจัดการที่เรียบง่ายยิ่งขึ้น

“เราเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของ Fortinet Security Fabric ด้วยการนำข้อมูลภัยคุกคามเข้ามาผสานกับระบบนิเวศแบบเปิด (Open Ecosystem) ที่มีโซลูชันมากกว่า 500 รายการจากผู้จำหน่ายกว่า 350 ราย เพื่อสร้างการมองเห็น (Visibility) ที่ครอบคลุมอีกทั้งสามารถป้องกันการโจมตีทางดิจิทัลทั้งหมดเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และโซลูชันในแบบบูรณาการนี้ยังช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการและการแบ่งปันข่าวกรองด้านภัยคุกคาม และระบบเครือข่ายสามารถรักษาตัวเอง (Self-Healing) ได้อัตโนมัติพร้อมการรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ” ภัคธภา กล่าว

นอกจากโซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ฟอร์ติเน็ตเล็งเห็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กันคือการสร้างบุคลากรด้านความปลอดภัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ที่จะสามารถมองเหตุถึงปัญหาหรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ อีกทั้งสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเพื่อรองรับทั้งความต้องการ เพื่อรับมือกับการขยายตัวของภัยคุกคามและการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นในปีนี้ ฟอร์ติเน็ตจะเพิ่มการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และองค์กรด้านซีเคียวริตี้ของภาครัฐเพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมสร้างมืออาชีพที่มีทักษะและความรอบรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ อีกทั้งเพื่อช่วยลดช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Skills Gap) อีกด้วย

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-announces-2023-plan-reiterates-leadership-image/

“Thailand National Cyber Week 2023” ครั้งแรกของไทย

เร่งพัฒนาขับเคลื่อนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพิ่มศักยภาพหนุนปกป้องประชาชนและประเทศ

(17 กุมภาพันธ์ 2566) ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์  กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดพิธีเปิดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” กำหนดจัดระหว่างวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 – 17.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร เร่งพัฒนาขับเคลื่อนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ พร้อมด้วย พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และ พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
เพื่อพัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการและสร้างมาตรการและกลไกเพื่อพัฒนาศักยภาพหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ ตื่นตัว เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ สร้างเครือข่ายและศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในการป้องกัน รับมือ ลดความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ รวมถึงปกป้องเศรษฐกิจของประเทศไทย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กล่าวว่า

“ในโลกปัจจุบันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก จากผลสำรวจของ National Cyber Security Index หรือ NCSI ได้จัดอันดับความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศไทย อยู่อันดับที่ 41 จากทั้งหมด 161 ประเทศ และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน วัดจากความสามารถในการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยได้คะแนนการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ 100 % ในส่วนการดำเนินงานที่ผ่านมา สกมช. ได้ให้ความสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศเป็นอย่างมาก เห็นได้จากมีการกำหนดนโยบายในการเตรียมความพร้อมและการขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การจัดทำกฎหมายลำดับรอง การส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากที่กล่าวมานี้ ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้คำขวัญที่ว่า Secure your cyber, Secure your future” การปกป้องโลกไซเบอร์ ก็เป็นการปกป้องอนาคตของคุณด้วยเช่นกัน  อีกทั้ง  ยังจะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับ”

ดูแล  หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยี และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนในการป้องกันและรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการในการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันกับต่างประเทศ และสร้างโอกาสในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังเผยแพร่และสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงจะได้ร่วมกันบูรณาการความรู้และใช้ประโยชน์จากงานในครั้งนี้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องตนเองและต่อยอดธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ทุกภาคส่วนในการแข่งขันกับต่างประเทศและภัยคุกคามในอนาคตต่อไป

(ซ้าย) พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ
(ขวา) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และประธานกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า

“ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานที่มุ่งขับเคลื่อนการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศที่มีประสิทธิภาพ พร้อมตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ทุกมิติ รวมไปถึงนโยบายในการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) ให้มีประสิทธิภาพ และผลักดันให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศ เพื่อให้ประเทศและประชาชนมีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็ง จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัย   ไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ซึ่งเดือนพฤศจิกายน 2565  ถึงต้นกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สกมช. ได้จัดให้มีการเสวนาด้านความมั่นคงปลอดภัยผ่าน Webinar จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 การเสวนา “NCSA Virtual Summit:  Cybersecurity & Privacy Trends” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้กับผู้ที่สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและแนวโน้มของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต,  ครั้งที่ 2 การเสวนา NCSA Virtual Summit: แนวโน้มและแผนการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ของไทยปี 2566 (Cybersecurity Certificates & Careers) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และครั้งที่ 3 การประชุมออนไลน์ (Virtual Conference) NCSA Thailand National Cyber Week 2023 ซึ่งรวมหัวข้อการบรรยายเกี่ยวกับแนวทางและนวัตกรรมล่าสุดด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลกว่า 10 หัวข้อ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยภายในงานนี้จะมีการแสดงนิทรรศการผลงานงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยบริษัทสตาร์ตอัป นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาของไทย การให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมกับการประชุม-สัมมนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งในและต่างประเทศ พร้อมด้วยการนำเสนอความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัทและหน่วยงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 80 บริษัท มาร่วมกัน อับเดตภัยคุกคาม”

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Cybersecurity & Privacy Trends ในปี 2023 และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลล่าสุดที่หน่วยงานรัฐและองค์กรธุรกิจควรตระหนักรู้ รวมถึงประเด็นด้านไซเบอร์ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 เช่น กฎหมายด้านไซเบอร์ การเปลี่ยนผ่านสู่ Cyber Resilience, Cyber Risk VS. Digital Risk และ Digital Divide VS. Digital Inequality Enter รวมถึงการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์/บริการและบริษัทที่สนใจนำผลิตภัณฑ์/บริการมาจัดจำหน่ายให้แก่ธุรกิจและบุคคลทั่วไป

นอกจากนี้ พบกับมิติใหม่ของมหกรรมรับสมัครงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Job Fair) เปิดโอกาสในการสมัครงานแบบไร้ข้อจำกัดกับองค์กรที่มีคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนชั้นนำที่จะเปิดบูธรับสมัครงานรวมกว่า  10  ราย และพบกับชหัวข้อสัมมนาเพื่ออัปเดตแนวโน้มตลาดแรงงานด้าน Cybersecurity ของไทย ไขข้อข้องใจว่าสายงานด้านไหนที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งนักศึกษาที่จบใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ใบรับรอง และทักษะสำคัญใดที่ควรมีเพื่อให้เป็นที่สนใจของเหล่า HR รวมถึงร่วมฟังการเสวนาและแชร์ประสบการณ์กับเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำ และสถาบันฝึกอบรมและออกใบรับรองระดับโลก อีกทั้งการเสวนาด้านความมั่นคงปลอดภัยโดย สกมช. และผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานความมั่นคงภาครัฐ บริการสำคัญภาครัฐ สาธารณสุข การเงินการธนาคาร พลังงาน และขนส่งโลจิสติกส์
ที่มาร่วมให้ความรู้ในการรับมือด้านความมั่นคงปลอดภัย

ภาพบรรยากาศพิธีเปิด

กิจกรรมที่สำคัญที่พลาดไม่ได้จริง ๆ กับการสาธิตวิธีการ “รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์”  พร้อมเทคนิควิธีการทางการตลาดของเหล่ามิจฉาชีพที่ใช้หลอกลวงประชาชนบนโลกออนไลน์ ในเวทีของ สกมช. Live Hacking Demo: “แอปดูดเงิน VS เจาะระบบองค์กรขนาดใหญ่” ชม Live Hacking Demo: “ลองเป็นเหยื่อแอปดูดเงินเพื่อถอดรหัสโจร” เพื่อจะได้รู้เท่าทันป้องกันเงินในกระเป๋าของเรา และ “เจาะช่องโหว่ระบบ Active Directory ขององค์กรขนาดใหญ่” สัมผัสประสบการณ์พร้อมเรียนรู้พื้นฐานการเจาะระบบและการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย (Ethical Hacking & Security) เบื้องต้น จากหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญอันดับต้น ๆ ของไทย เปิดโอกาสสำหรับก้าวแรกสู่สาย Offensive Security และร่วมสนุกในเกมการแข่งขันทำโจทย์ตะลุยด่านด้าน Cybersecurity ชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมรับประกาศนียบัตรจาก สกมช. และเปิดเวทีให้บริษัทสตาร์ตอัปและสถาบันการศึกษานำผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์มานำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย ซึ่งทุกหน่วยงานจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนัก รู้ตื่นตัว  เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์   เพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกภาคส่วนในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ และส่งเสริมผู้ประกอบการในการแข่งขันและสร้างโอกาสในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อีกด้วย

ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ http://www.thncw.com หรือ Facebook THNCW และ Facebook NCSA Thailand

from:https://www.techtalkthai.com/thailand-national-cyber-week-2023-first-time-in-thailand/

พาไปดู IBM X-Force Command Center ณ บอสตัน ห้องปฏิบัติการรับมือภัยไซเบอร์สำหรับองค์กร

ภัยไซเบอร์สำหรับองค์กรในปัจจุบัน ไปไกลมากกว่าแค่เป็นเรื่องของฝ่าย security หรือไอทีแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พนักงานทั้งองค์กรก็ต้องรับรู้ถึงนโยบาย แนวทาง วิธีการป้องกันไปจนถึงการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุ ยิ่งองค์กรที่ใหญ่มากขึ้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะคนในองค์กรหรือลูกค้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

IBM ได้เปิดศูนย์ X-Force Command Center เอาไว้สำหรับพนักงานขององค์กรได้เรียนรู้การป้องกันและรับมือเมื่อเกิดเหตุจากภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยทาง IBM ประเทศไทยได้เชิญ Blognone ไปเยี่ยมชมศูนย์นี้ที่เมืองบอสตัน และได้ทดลองเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติจาก IBM เลยขอเก็บภาพบรรยากาศนำมาเล่าครับ

No Description

เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองและ role-play

ศูนย์ X-Force Command Center เป็นเหมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ สำหรับเรียนรู้และฝึกภาคปฏิบัติสำหรับองค์กร โดย IBM จะมีผู้เชี่ยวชาญมาค่อยไกด์ ชี้แนะและอธิบายการรับมือภัยไซเบอร์ในสถานการณ์จำลอง ผ่านการ role-play โดยผู้ที่เข้าร่วม จะถูกแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ HR, Finance, Legal, IT, PR, Marketing ฯลฯ

ภายในห้องจะเป็นเหมือนห้อง warroom เมื่อเกิดเหตุ โดยบริษัทที่ถูกหยิบยกมาเล่นคือธนาคารขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องเผชิญกับเหตุทั้งข้อมูลหลุด, อีเมลหลอกโอนเงินจากซีอีโอ (email hijacking) ไปจนถึง ransomware

No Description

การ role-play จะใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง ไล่ลำดับเหตุการณ์ไปเสมือนเกิดขึ้นจริง ตั้งแต่การได้รับโทรศัพท์จากสื่อ เรื่องข้อมูลหลุด (ใช้ voice actor โทรมาคุยจริงๆ), จากโอเปอเรเตอร์ที่ต้องรับมือลูกค้า ไปจนถึงการรายงานข่าวและขอสัมภาษณ์ผู้บริหารจากสื่อ ไปจนถึงกระแสลบในโซเชียลมีเดียและราคาหุ้นที่ดิ่ง

ในภาพรวมคือองค์กรจะต้องมีแนวทางหรือ rule book สำหรับรับมือเหตุการณ์วิกฤติเหล่านี้เอาไว้ ให้แต่ละฝ่ายนำไปบังคับใช้ในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะการรับมือกับสื่อ ลูกค้า หรือกระทั่งแฮกเกอร์ และหน้าที่ของแต่ละฝ่ายเวลาเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ จะต้องทำอะไรบ้าง

No Description

ในแง่หนึ่ง การมีอยู่ของ IBM X-Force Command Center ก็ค่อนข้างมีประโยชน์กับองค์กรอย่างมาก ที่จะช่วยให้องค์กรตระหนักว่า ภัยไซเบอร์เป็นเรื่องของทั้งองค์กร องค์ความรู้ตั้งแต่การป้องกันไปจนถึงการรับมือ ไม่ใช่แค่เรื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องฝังอยู่ในวัฒนธรรมขององค์กรเลย

ขณะที่การฝึกสอนจากการจำลองเหตุการณ์ที่นี่ จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรที่เข้ามารับการฝึก เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของธุรกิจของแต่ละองค์กรให้ได้มากที่สุด

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132678

IBM ออกรายงาน ต้นทุนการทำข้อมูลหลุดขององค์กรสูงขึ้นเรื่อยๆ และกระทบลูกค้าจากการขึ้นค่าบริการ

IBM เปิดเผยรายงานการศึกษาและสำรวจประเด็นด้านความปลอดภัยไซเบอร์พบว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนเฉลี่ยขององค์กรที่เผชิญกับปัญหาข้อมูลหลุด (data breach) สูงมากขึ้นราว 13% อยู่ที่ประมาณ 4.35 ล้านดอลลาร์ ซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นขององค์กรเหล่านี้ นำไปสู่การขึ้นราคาสินค้าบริการด้วย โดย IBM พบว่าองค์กรราว 60% จากที่สำรวจ ขึ้นราคาสินค้าบริการ จากสาเหตุของข้อมูลหลุดโดยตรง

ปัญหาหลักๆ ของความปลอดภัยในองค์กรส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ที่เรื่องการใช้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ยังค่อนข้างต่ำ อย่างเช่นไม่มีการใช้ zero-trust policy นอกจากนี้ IBM พบว่าองค์กรราว 40% แทบยังไม่ใช้หรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้นโยบายและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยไซเบอร์

ขณะที่แง่ของเป้าหมายการโจมตี องค์กรในกลุ่มการผลิตในเอเชียก็ตกเป็นเป้าหมายสูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะจากการโจมตีผ่านอีเมล (email hijacking) หรือการเจาะเข้าหลังบ้าน สาเหตุหนึ่งก็คือองค์กรในอุตสาหกรรมการผลิตไม่มีการแชร์องค์ความรู้ด้านนี้กันมากนัก

ผู้ที่สนใจสามารถอ่าน Cost of Data Breach Report 2022 ได้ที่นี่

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132677

นัดคุย สกมช. และเจรจาธุรกิจกับเหล่า Vendor/Service Provider ได้ในงาน NCSA Thailand National Cyber Week 2023 วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ ณ สามย่านมิตรทาวน์

บริษัท IT Consult, System Integrator และ Distributor ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้าน Cybersecurity จากเหล่า Vendor และ Service Provider มาขายหรือให้บริการในไทย สามารถลงทะเบียนเพื่อนัดเจรจาธุรกิจผ่านการทำ Business Matching ได้ในงาน “Thailand National Cyber Week 2023” วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ ณ สามย่านมิตรทาวน์ รวมถึงสามารถนัดพูดคุย ทำความรู้จักกับเหล่าผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) แบบ Exclusive ได้อีกด้วย

📆 วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2023
⏰ เวลา 10:30 – 16:30 น.
🏢 สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ (แผนที่, MRT สามย่าน)
📍 รายละเอียด https://www.thncw.com/matching/

Vendor และ Service Provider ที่เปิดเจรจา Business Matching เพื่อค้นหา Partner ในการทำธุรกิจร่วมกันมี 8 บริษัท ได้แก่ Bangkok MSP, Bangkok Systems, CDNetworks, DBR Systems – Thailand, Exclusive Networks, G-Able, Imperva และ Softnix Technology สามารถดูข้อมูลบริษัทและรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่นำเสนอได้ที่ https://www.thncw.com/matching/

หน่วยงาน/องค์กร CII, บริษัท IT Consult, System Integrator, Distributor, Service Provider และ Vendor ที่สนใจนัดพูดคุยกับเหล่าผู้บริหารของ สกมช. และเจรจาธุรกิจผ่านทาง Business Matching สามารถลงทะเบียนเพื่อยื่นเรื่องขอนัดหมายได้ทันที โดยทีมงานจะติดต่อกลับเพื่อยืนยันวันและเวลานัดหมายผ่านทางอีเมลและโทรศัพท์ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้

** Business Matching ไม่ใช่บริการสำหรับการค้นหาพ่อค้าหรือลูกค้าสำหรับซื้อขายผลิตภัณฑ์/บริการ

from:https://www.techtalkthai.com/ncsa-thailand-national-cyber-week-2023-business-matching/

ร่วมเสวนาด้าน Cybersecurity สำหรับหน่วยงาน CII ทั้ง 8 กลุ่ม ในงาน NCSA Thailand National Cyber Week 2023 วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ ณ สามย่านมิตรทาวน์

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขอเชิญเหล่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน Cybersecurity ของหน่วยงาน/องค์กรโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) ทั้ง 8 กลุ่ม รวมถึงนักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมการเสวนาด้าน Cybersecurity สำหรับหน่วยงาน/องค์กรด้าน CII ในงาน “Thailand National Cyber Week 2023” วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ ณ สามย่านมิตรทาวน์ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี

📆 วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2023
⏰ เวลา 10:00 – 17:00 น.
🏢 สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ (แผนที่, MRT สามย่าน)
🇹🇭 เสวนาภาษาไทยทุกเซสชัน
📍 ลงทะเบียนที่ www.thncw.com

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ CII ทั้ง 8 กลุ่ม จัดเสวนากลุ่มย่อยบนเวที NCSA Stage เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านภัยคุกคามไซเบอร์ ปัญหาและอุปสรรค การออกกฎหมาย นโยบาย และการกำกับดูแล รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อรักษาหน่วยงาน/องค์กรด้าน CII ของไทยให้มีความมั่นคงปลอดภัย โดยแบ่งการเสวนาออกเป็น 8 เซสชัน ตาม CII ทั้ง 8 กลุ่มของ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีกำหนดการเสวนาดังนี้

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2023

11:00 – 11:45 ความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้านความมั่นคงของรัฐ กับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
• คุณธาดา กิจมาตรสุวรรณ President Engineering, GenT Solution
13:30 – 14:15 บริการภาครัฐกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนบุคคลของข้อมูลประชาชน
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
• คุณกฤษณา เขมากรณ์ Country Manager, M-Solutions Technology (Thailand)
14:30 – 15:15 เสริมความมั่นคงให้กับการบริการด้านสุขภาพ กับการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุข
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
• คุณณัฐพงษ์ ฟองสินธุ์ Senior Solution Architecture SEA, Infoblox
15:30 – 16:15 Manufacturing 4.0 กับการเสริมความมั่นคงให้ธุรกิจโรงงานและการผลิตด้วย Cybersecurity
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• คุณนรินทร์​ฤทธิ์​ เปรม​อภิ​วัฒโน​กุล ​อุปนายก​ TISA
• ดร. ธัชพล โปษยานนท์ Country Director, Palo Alto Networks

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2023

11:00 – 11:45 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร เพื่อปกป้องชาวไทยจากการตกเป็นเหยื่อแก๊งอาชญากรไซเบอร์
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• ธนาคารแห่งประเทศไทย
• สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
13:30 – 14:15 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
• True Internet
• คุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ Country Cyber Security & Privacy Officer, Huawei
14:30 – 15:15 ความมั่นคงทางพลังงานและสาธารณูปโภคกับการเสริมแกร่งความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
• การไฟฟ้านครหลวง
• คุณปิยธิดา ตันตระกูล Country Manager (Thailand), Trend Micro
15:30 – 16:15 ผลกระทบของภัยคุกคามไซเบอร์ต่อการคมนาคมขนส่งทั่วไทย และการรับมือของประเทศไทย
วิทยากร
• สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
• สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
• สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

* กำหนดการและรายชื่อวิทยากรอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

🎉 พิเศษ!! ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานเพื่อลุ้นรับ iPhone 14, iPad (Gen 10), Apple Watch รวม 20 รางวัล และทองแท่ง 2 บาท 5 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาท

from:https://www.techtalkthai.com/ncsa-thailand-national-cyber-week-2023-panel-discussion/

สกมช. จัดงานเปิดตัว “Thailand National Cyber Week 2023” เสริมความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมสร้างเครือข่ายป้องกัน รับมือ ลดความเสียหายให้กับประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) นำทัพแถลงข่าวเปิดตัวการจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023)” ในวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 – 17.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร สร้างความ แข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีพลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นประธานในพิธีเปิด และ พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติกล่าวรายงาน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการและสร้างมาตรการและกลไกเพื่อพัฒนา ศักยภาพหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษา  นักวิชาการ นักวิจัย คณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ ตื่นตัว เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ สร้าง เครือข่ายและศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในการป้องกัน รับมือ และลดความเสียหายให้กับโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศไทย 

พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  (สกมช.)

พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  (สกมช.) กล่าวว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีสภาพและลักษณะของภัยคุกคามที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมี รูปแบบการโจมตีที่หลากหลาย และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปในหลายภาคส่วน จึงได้มีแนวคิดในการจัดงาน “นิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week  2023)” เพื่อตอบสนองนโยบายและแผนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มีเป้าหมายและแนวทางใน การบูรณาการ การจัดการ สร้างมาตรการและกลไกในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ โดยมี นโยบายให้ สกมช. เน้นให้มีความแตกต่างจากการจัดงานที่ผ่านมาทุกครั้ง ด้วยคำขวัญ “Secure your cyber,  Secure your future” การปกป้องโลกไซเบอร์ ก็เป็นการปกป้องอนาคตของคุณด้วยเช่นกัน อีกทั้งให้หน่วยงาน สก มช. เผยแพร่และสื่อสารเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจด้วยภาษาที่ง่าย และตรงประเด็น สำหรับทุกกลุ่มเป้าหมายไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ถึงภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มี การโจมตีในทุกรูปแบบและมีผลกระทบกับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ รวมถึงจะได้ร่วมกันบูรณาการ ความรู้และใช้ประโยชน์จากงานในครั้งนี้ให้มากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องตนเองและต่อยอดธุรกิจด้านความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์พร้อมทั้งสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการและหน่วยงานต่าง ๆ ทุกภาคส่วนในการแข่งขันกับ ต่างประเทศและภัยคุกคามในอนาคตต่อไป 

โดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จับมือกับหน่วยงาน พันธมิตร จัดให้มีการแสดงนิทรรศการผลงานงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยบริษัท สตาร์ตอัป นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาของไทย การให้คำปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ พร้อมกับการประชุม-สัมมนา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งในและต่างประเทศ และนำเสนอความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัทและหน่วยงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 80 บริษัท รวมถึง การเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์/บริการและบริษัทที่สนใจนำผลิตภัณฑ์/บริการมาจัด จำหน่ายให้แก่ธุรกิจและบุคคลทั่วไป พบกับมิติใหม่ของมหกรรมรับสมัครงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Job Fair) เปิดโอกาสอันดีสำหรับการสมัครงานแบบไร้ข้อจำกัดกับองค์กรที่มีคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐ และ บริษัทเอกชนชั้นนำที่จะเปิดบูธรับสมัครงานรวมกว่า 10 ราย และพบกับหัวข้อสัมมนาเพื่ออัปเดตแนวโน้มตลาดแรงงาน ด้าน Cybersecurity ของไทย ไขข้อข้องใจว่าสายงานด้านไหนที่กำลังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้ง นักศึกษาที่จบใหม่และผู้ที่มีประสบการณ์ใบรับรอง และทักษะสำคัญใดที่ควรมีเพื่อให้เป็นที่สนใจของเหล่า HR รวมถึง ร่วมฟังการเสวนาและแชร์ประสบการณ์กับเหล่าบริษัทไอทีชั้นนำ และสถาบันฝึกอบรมและออกใบรับรองระดับโลก  กิจกรรมสำคัญที่ไม่ควรพลาด Live Hacking Demo: “แอปดูดเงิน VS เจาะระบบองค์กรขนาดใหญ่” ชม Live Hacking Demo: “ลองเป็นเหยื่อแอปดูดเงินเพื่อถอดรหัสโจร” และ “เจาะช่องโหว่ระบบ Active Directory ของ องค์กรขนาดใหญ่” สัมผัสประสบการณ์พร้อมเรียนรู้พื้นฐานการเจาะระบบและการตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัย  (Ethical Hacking & Security) เบื้องต้น จากหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญอันดับต้นๆ ของไทย เปิดโอกาสสำหรับก้าวแรกสู่สาย Offensive Security และร่วมสนุกในเกมการแข่งขันทำโจทย์ตะลุยด่านด้าน Cybersecurity ชิงรางวัล รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมรับประกาศนียบัตรจาก สกมช. และเปิดเวทีให้บริษัทสตาร์ตอัปและ สถาบันการศึกษานำผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์มานำเสนอโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย ซึ่งทุกหน่วยจะได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงส่งเสริม การสร้างความตระหนัก รู้ตื่นตัว เห็นความสำคัญในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มขีดความสามารถ ให้กับทุกภาคส่วนในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามไซเบอร์ และส่งเสริมผู้ประกอบการในการแข่งขันและสร้างโอกาส ในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อีกด้วย 

คุณกฤษณา เขมากรณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd. กล่าวว่า บริษัท M.TECH มาพร้อมกับแนวคิด SecureTogether StrongerTogether will Secure Everything ซึ่งใน งานนี้บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีการป้องกัน และรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำ มาจัดแสดง ซึ่งภายใต้ความมุ่งมั่นที่ จะทำงาน เรารวบรวมเทคโนโลยีของผู้นำ CyberSecurity Vendor พร้อมทั้งบูรณาการสร้างสถาปัตยกรรมให้ เทคโนโลยีทำงานประสานกัน เพื่อให้สามารถตรวจพบและตอบสนองต่อภัยไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที 

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด : ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม  ต่าง ๆ อาทิ5G และ AI ได้ส่งผลให้โลกไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น และทำให้เกิดภัยทางไซเบอร์ใหม่ ๆ ในหลาย รูปแบบ ซึ่งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในการส่งเสริมบุคลากรด้าน ICT  ในไทย และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะบุคลากรให้กลายเป็นขุมพลังสำคัญด้านบุคลากรไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของประเทศ  จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)  ผ่านโครงการฝึกอบรมที่ยั่งยืน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนทางไซเบอร์ในตลาดแรงงานไทย และขับเคลื่อน ประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคอัจฉริยะที่ทุกคนมีบทบาทและเชื่อมถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ 

ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ www.thncw.com หรือ Facebook THNCW

from:https://www.techtalkthai.com/ncsa-unveils-thailand-national-cyber-week-2023/