คลังเก็บป้ายกำกับ: SMART_BUILDING

[Guest Post] โคเน่ เปิดประสบการณ์แห่งโลกอนาคต เผยโฉม “โคเน่ ดีเอ็กซ์ คลาส” นวัตกรรมลิฟต์ซีรีส์แรกของโลกที่มี built-in connectivity ภายในตัวเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบสนองทุกความต้องการสู่อาคารอัจฉริยะ

โคเน่ บริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมลิฟต์และบันไดเลื่อน สร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการประกาศเปิดตัวลิฟต์โดยสารอัจฉริยะซีรีส์แรกของโลก โคเน่ ดีเอ็กซ์ คลาส (KONE DX Class)ที่ล้ำหน้าอีกขั้นโดยมี built-in connectivity ภายในตัว สามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ ให้ผู้ใช้ได้สัมผัสประสบการณ์แห่งโลกอนาคตของการใช้ลิฟต์ด้วยการผสมผสานระหว่างนวัตกรรมการออกแบบและเทคโนโลยีอันเป็นเลิศ รองรับการใช้งาน แอปพลิเคชัน และบริการเสริมต่างๆ ตอบสนองการใช้ชีวิตในช่วง COVID-19 และรองรับบริการสู่อนาคต ตอกย้ำความเป็นผู้นำอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังเลือกใช้วัสดุคุณภาพช่วยให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นายแอนโทนี่ ตัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเน่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา โคเน่ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้คนมากกว่าหนึ่งพันล้านคนต่อวันจากทั่วโลก เรามีปณิธานที่จะขับเคลื่อนการสัญจรของผู้คนทั้งในและระหว่างอาคารให้ราบรื่นที่สุด และสร้างประสบการณ์การสัญจรภายในอาคารให้ดียิ่งขึ้นในทุกๆ วัน โคเน่จึงไม่เคยหยุดยั้งที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จากอัตราการขยายตัวของชุมชนเมืองทั่วโลก การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้และพัฒนาร่วมกับอาคารเพื่อก้าวสู่การเป็นอาคารอัจฉริยะ (smart building) การคำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โคเน่จึงพัฒนาลิฟต์โดยสารรุ่นดีเอ็กซ์ (DX) ขึ้น ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมลิฟต์โดยสารให้ต่างออกไปกว่าเดิมเพื่อรองรับการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะแห่งโลกอนาคตและเมืองแห่งความยั่งยืน (smart and sustainable city) และตอบสนองความต้องการของอาคารอัจฉริยะและอาคารเขียว (smart & green building) ยกระดับการโดยสารลิฟต์ไปอีกขั้นให้เป็นมากกว่าแค่การสัญจรภายในอาคารหรือการเดินทางระหว่างชั้น แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างประสบการณ์การเดินทางภายในอาคารให้แตกต่างออกไปนับตั้งแต่การก้าวสู่ล็อบบี้อาคารไปจนถึงจุดหมายปลายทางแต่ละชั้น ด้วยการนำเทคโนโลยี IoT มาเชื่อมต่อลิฟต์โดยสาร ขณะเดียวกันก็ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอน และมีเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีในการโดยสารลิฟต์”

ลิฟต์โดยสารโคเน่ รุ่นดีเอ็กซ์ ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์และบริการเสริมต่างๆ สำหรับลิฟต์โดยสารได้ตลอดอายุการใช้งานของอาคารผ่านการเชื่อมต่อระหว่างระบบหรือ APIs (Application Programming Interfaces) ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อันหลากหลาย แอปพลิเคชัน และบริการต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ตอบสนองทุกประสาทสัมผัสของผู้ใช้ลิฟต์ผ่านการผสมผสานระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์กับบริการระบบดิจิทัลที่ให้ความพึงพอใจส่วนบุคคล ยกระดับประสบการณ์การใช้ลิฟต์พร้อมความสะดวกสบาย ปลอดภัยและมีความเป็นส่วนตัวสูงสุด และสามารถตรวจสอบระบบได้ตลอดเวลา

ความโดดเด่นที่เหนือกว่าของลิฟต์โดยสาร โคเน่ ดีเอ็กซ์ คลาส

  • เชื่อมต่อบริการเสริมหลากหลายผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างสะดวกง่ายดาย ทุกที่ ทุกเวลา ประกอบด้วย บริการ KONE 24/7 Connected Services การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์อัจฉริยะโดยนำข้อมูลจากระบบออนไลน์ที่ส่งจากลิฟต์มาใช้ประมวลผลการเกิดเหตุขัดข้องล่วงหน้าด้วย AI และ แอปพลิเคชั่นเรียกลิฟต์โดยสาร (KONE Elevator Call)
  • สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโซลูชันการใช้งานระหว่างระบบ (APIs) กับทั้งเจ้าของอาคารเองและผู้ให้บริการอื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่อันน่าตื่นเต้น และส่งมอบสุดยอดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน
  • ลิฟต์โดยสารรุ่นดีเอ็กซ์ได้รับรางวัลด้านการออกแบบจาก Red Dot Award: Product Design 2020 ถึงสี่รางวัลในด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมการออกแบบอันชาญฉลาด เพราะดีไซน์การออกแบบที่สวย ทันสมัย ควบคู่ไปกับการสร้างประสบการณ์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่โคเน่ให้ความสำคัญ
  • วัสดุทั้งภายในและภายนอกห้องโดยสารลิฟต์ ระบบแสง สี และแผงควบคุมหลากหลายตัวเลือก ผลิตขึ้นจากนวัตกรรมการออกแบบอันชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีพิเศษอันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะของโคเน่ อันได้แก่ วัสดุป้องกันสนิม ป้องกันรอยขีดข่วน ป้องกันรอยนิ้วมือและรอยเปื้อนต่างๆ และพื้นผิวที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ ช่วยสร้างสุขอนามัยในการโดยสารลิฟต์ที่ดี
  • ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยคาร์บอนในอาคาร ตอบโจทย์อาคารสีเขียวตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ BREEAM LEED และ TREES

“เราผสานเทคโนโลยีแห่งอนาคตเข้ากับอาคารในปัจจุบันเพื่อบูรณาการ “ลิฟต์อัจฉริยะ” เข้ากับ “อาคารอัจฉริยะ (Smart building)” ให้สามารถพัฒนาการใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ ของอาคารได้อย่างลงตัว อาทิ แอปพลิเคชันเรียกลิฟต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ และโปรแกรมเพื่อให้หุ่นยนต์ประเภทต่างๆ ทำงานร่วมกับลิฟต์โดยสารได้ เป็นต้น ความพยายามอย่างมุ่งมั่นเหล่านี้ของโคเน่กำลังเปลี่ยนไปสู่การเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจ อันหมายถึงการผสมผสานระหว่างผลิตภัณฑ์และการให้บริการตลอดอายุการใช้งานของอาคาร เกิดเป็นรูปแบบทางธุรกิจที่ทรงพลัง ลิฟต์โดยสารโคเน่รุ่นดีเอ็กซ์ จะช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกว่าการโดยสารในลิฟต์ผ่อนคลายยิ่งขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร และบริการอันหลากหลายในอนาคตได้” นายแอนโทนี่ ตัน กล่าวสรุป

ลิฟต์โดยสาร โคเน่ รุ่น ดีเอ็กซ์ พร้อมออกสู่ตลาดในประเทศไทยแล้วหลังประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมจากการบุกเบิกตลาดทวีปยุโรปในปีที่ผ่านมา ลิฟต์โดยสารรุ่นดีเอ็กซ์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังสร้างอาคารอัจฉริยะและยั่งยืน รวมไปถึงผู้ที่ต้องการอัปเกรดลิฟต์โดยสารที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างสุนทรียภาพในการใช้งาน

ชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลิฟต์โดยสารโคเน่ รุ่น ดีเอ็กซ์ ได้ที่ https://www.kone.co.th/th/new-buildings/elevators-lifts/

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-kone-one-dx-class-elevators/

Panduit Webinar: อัปเดตแนวโน้มเทคโนโลยีสาย LAN ปี 2021 พร้อมออกแบบระบบให้รองรับ Wi-Fi 6 และมาตรฐานอื่นในอนาคต [30 มี.ค. 2021 – 14.00น.]

Panduit ขอเรียนเชิญ CTO, CIO, IT Manager, Network Engineer, ผู้ดูแลระบบ IT และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมฟัง Webinar ในหัวข้อเรื่อง “อัปเดตแนวโน้มเทคโนโลยีสาย LAN ปี 2021 พร้อมออกแบบระบบให้รองรับ Wi-Fi 6 และมาตรฐานอื่นในอนาคต” เพื่อทำความรู้จักกับเทคโนโลยีล่าสุดของระบบสาย LAN ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างหลากหลาย พร้อมแนวทางการออกแบบระบบ LAN ภายในองค์กรเพื่อให้รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Wi-Fi 6, IoT และเทคโนโลยีอื่นๆ ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ในวันอังคารที่ 30 มีนาคม 2021 เวลา 14.00 – 15.30 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: อัปเดตแนวโน้มเทคโนโลยีสาย LAN ปี 2021 พร้อมออกแบบระบบให้รองรับ Wi-Fi 6 และมาตรฐานอื่นในอนาคต โดย Panduit
ผู้บรรยาย: ทีมงาน Panduit ประเทศไทย
วันเวลา: วันอังคารที่ 30 มีนาคม 2021 เวลา 14.00 – 15.30 น. 
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ภาษา: ไทย
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน: https://pages.panduit.com/TH-Wifi6SolutionWebinar-Registration.html

การออกแบบระบบเครือข่ายภายในอาคารที่ดีนั้นถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจองค์กรมีความคล่องตัวในการทำงานและการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์และการใช้งานเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างคุ้มค่า ด้วยการมาของแนวโน้มการทำงานแบบ Hybrid Work, การนำ IoT มาใช้ในธุรกิจเพื่อทำ Social Distancing ไปจนถึงการมาของ Smart Building และ Edge Computing นั้น ล้วนเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบ LAN  ภายในองค์กรต้องเร่งปรับตัว

Panduit ในฐานะของผู้นำทางด้านระบบสายรับส่งสัญญาณเครือข่ายที่มีนวัตกรรมของตนเองอย่างหลากหลาย เห็นว่าก้าวแรกในการปรับระบบ IT Infrastructure สำคัญขององค์กรนี้ ก็คือการออกแบบระบบสาย LAN ให้รองรับเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง Wi-Fi 6 และ IoT ให้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล ไปจนถึงการจ่ายพลังงานผ่าน PoE และการออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่น ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานมากที่สุด

ใน Webinar ครั้งนี้จะเจาะลึกถึงประเด็นดังต่อไปนี้

  • แนวโน้มและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ Wi-Fi 6 และ IoT
  • คำแนะนำในการวางระบบการเดินสาย LAN สำหรับรองรับ Wi-Fi 6 และมาตรฐานอื่นๆ ในอนาคต
  • ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ Wi-Fi 6 และ IoT
  • เจาะลึกกับสาย Category 6A และประเภทของสาย Category 6A ที่มีให้เลือกใช้งาน
  • การออกแบบระบบ PoE ภายในอาคาร รวมถึงประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดความปลอดภัยภายในอาคาร
  • ประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบจุดเชื่อมต่อต่างๆ ภายในการเดินสาย

การเข้าร่วมชม Webinar ครั้งนี้จะนำเสนอเป็นภาษาไทยโดยทีมงาน Panduit ที่พร้อมตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเข้าร่วม Webinar ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม Webinar ในหัวข้อนี้ได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://pages.panduit.com/TH-Wifi6SolutionWebinar-Registration.html โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/panduit-webinar-latest-lan-and-cabling-technology-in-2021-for-wi-fi-6/

ผู้เชี่ยวชาญเตือนพบการโจมตีช่องโหว่ระบบ Access Control ในอาคาร

SonicWall ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ออกมาเตือนถึงการค้นพบการโจมตีระบบ Access Control จาก Nortek Security&Control (NSC) เพื่อใช้เป็นฐานการโจมตี DDoS

credit : https://applied-risk.com/

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ตกเป็นเหยื่อของแฮ็กเกอร์ในครั้งนี้คือ Linear eMerge E3 จาก NSC หรือฮาร์ดแวร์ที่ป้องกันการเข้าถึงในอาคารโดยใช้ Credential หรือ Smart Card (เครื่องแตะบัตรที่เราใช้กันในออฟฟิศหรือโรงงานนั่นเอง) ประเด็นคือเมื่อปีก่อนผู้เชี่ยวชาญจาก Applied Risk ได้ออกมาเปิดเผยช่องโหว่ของ Linear eMerge E3 กว่า 10 รายการ (ตามรูปด้านบน) ซึ่ง 6 รายการมีความรุนแรงสูงแต่ NSC ล้มเหลวในการแก้ไขและต่อมาผู้เชี่ยวชาญจึงเผยโค้ด PoC

โดยช่องโหว่ที่ทีมงาน SonicWall รายงานคือ CVE-2019-7256 ที่มีความรุนแรง 10/10 ที่สามารถทำให้แฮ็กเกอร์จากทางไกลทำ Command Injection และ Execution ด้วยสิทธิระดับ Root ได้เพียงแค่สร้าง Http Request แบบพิเศษเข้ามาโจมตี

อย่างไรก็ตามแม้จะพบจำนวนของ Linear eMerge E3 ไม่มากนักหากค้นหาผ่าน Shodan เพียง 2,375 ตัวแต่ก็เป็นดัชนีที่บอกได้ว่าระบบ IoT นั้นมีความเสี่ยงจากการโจมตีเสมอ ดังนั้นถ้ามีใครใช้งาน Linear eMerge E3 ก็ควรอัปเดต (หากมีแพตช์) หรือปิดกั้นระบบที่คล้ายกันไม่ให้เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ตนะครับ

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/hackers-are-hijacking-smart-building-access-systems-to-launch-ddos-attacks/

from:https://www.techtalkthai.com/experts-warns-many-access-control-in-smart-building-are-hijacking/

ชมย้อนหลัง งาน Throughwave Smart Solution 2019

สำหรับผู้ที่พลาดงาน Throughwave Smart Solution 2019 เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา สามารถรับชมเซสชั่นทั้งหมดย้อนหลังได้ ดังนี้

อัพเดตเทรน Smart Building โดย MellowMatic

เพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบเครือข่ายด้วย Unified Device Visibility and Control Platform

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftechtalkthai%2Fvideos%2F276882369879059%2F&show_text=0&width=560

เทคนิคการเลือก Infrastructure สำหรับองค์กรเพื่อตอบโจทย์ Smart Corporate 

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftechtalkthai%2Fvideos%2F1216353438533980%2F&show_text=0&width=560

ตัวอย่างจริงการนำ Neatbox – Hybrid Cloud Storage เข้ามาแก้ปัญหาและใช้งานในด้านต่างๆ

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftechtalkthai%2Fvideos%2F268678814065250%2F&show_text=0&width=560

เสริมความปลอดภัยให้แอพพลิเคชันด้วย Intelligent Adaptive Authentication

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftechtalkthai%2Fvideos%2F266172674258914%2F&show_text=0&width=560

แนะนำ BoostLabs Consulting Service จาก Throughwave

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftechtalkthai%2Fvideos%2F670082006739895%2F&show_text=0&width=560

from:https://www.techtalkthai.com/throughwave-smart-solution-vdos/

นักวิจัยสร้างมัลแวร์เพื่อทดสอบเจาะระบบ Smart Building

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก ForeScout ได้สร้างมัลแวร์เพื่อแสดงให้เห็นว่าแฮ็กเกอร์จะสามารถเจาะระบบของ Smart Building ได้อย่างไร

credit : SecurityWeek

Smart Building เริ่มใกล้ตัวมากขึ้นทุกขณะซึ่งภายในระบบประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น ระบบควบคุมความร้อน ระบบไฟ ระบบฟอกอากาศ กล้องวงจรปิด ลิฟต์ และระบบป้องกันการเข้าถึง เป็นต้น อันที่จริงแล้วระบบอัตโนมัติของ Smart Building มีความคล้ายกันกับระบบควบคุมของโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Control System) แต่ที่น่าสนใจคือค่อนข้างเข้าถึงได้ง่ายกว่า เช่นกันหากจำเป็นต้องเข้าถึงในทางกายภาพก็ทำได้ง่ายกว่าในโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับ ForeScout ได้ทำมากกว่าการออกมาหาช่องโหว่คือทีมงานได้ทดลองสร้างมัลแวร์ใช้งานช่องโหว่ที่ค้นพบ 8 รายการ โดย 6 รายการทางผู้ผลิตอุปกรณ์ยังไม่รู้มาก่อน ส่วนอีก 2 รายการได้แพตช์เรียบร้อยแล้วแต่ไม่เคยเผยต่อสาธารณะ ช่องโหว่มีดังนี้

  • พบช่องโหว่ XSS, Path Traversal และบั้กที่ทำให้ลบไฟล์ได้ตามต้องการบนผลิตภัณฑ์ของ Loytec
  • พบช่องโหว่ XSS และช่องโหว่บายพาสการพิสูจน์ตัวตนบนผลิตภัณฑ์ของ EasyIO
  • ช่องโหว่ที่ทางผู้ผลิตรายหนึ่ง (ในรายงาน ForeScout ไม่เปิดเผยชื่อ) ทราบก่อนหน้านี้และแพตช์ไปแล้วคือช่องโหว่ Hardcoded Secret เพื่อเก็บ Credentials ของผู้ใช้งาน รวมถึงช่องโหว่ Buffer Overflow ที่นำไปสู่การลบรันโค้ดจากทางไกลบน PLC (ทั้ง 2 รายการถูกใช้ในมัลแวร์ทดสอบที่สร้างขึ้น)

อย่างไรก็ตามในรายงานของบริษัทเผยถึงช่องทางที่แฮ็กเกอร์จะสามารถเข้าแทรกแซงระบบได้ 4 ช่องทางด้วยกัน (ตามรูปด้านบน)

1.เข้าถึงโดยตรงที่ PLC (Programmable Logic Controller) ที่เชื่อมต่อโดยตรงได้จากอินเทอร์เน็ต

2.เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบก่อนแล้วค่อยขยายวงไปยัง PLC

3.เข้าถึงอุปกรณ์ IoT ในระบบก่อน เช่น กล้องวงจรปิด หรือ เราเตอร์ แล้วค่อยขยายวงไปยังส่วนอื่นๆ (ศรสีแดงในรูป)

4.เข้าถึงระบบกายภาพให้ได้จากนั้นค่อยยกระดับไปยังส่วนอื่นจนถึง PLC (ศรสีม่วง)

โดยผลลัพธ์ของการทดลองในขั้นสุดท้ายแฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล สร้างผู้ใช้หรือบัตรผ่านการเข้าถึงอาคาร แม้กระทั่งลบไฟล์หรือขัดขวางการทำงานของระบบได้เลยทีเดียว นอกจากนี้เมื่อใช้แพลต์ฟอร์มอย่าง Shodan และ Censys เพื่อค้นหาระบบอัตโนมัติที่เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตจะพบอุปกรณ์กว่า 23,000 ตัวซึ่ง 9,000 ตัวมีช่องโหว่ ทั้งหมดนี้นักวิจัยจะเตือนให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้อาจเกิดภัยเช่นนี้ขึ้นมาจริงก็เป็นได้

ที่มา : https://www.securityweek.com/researchers-create-poc-malware-hacking-smart-buildings และ https://www.bleepingcomputer.com/news/security/zero-day-vulnerabilities-leave-smart-buildings-open-to-cyber-attacks/

from:https://www.techtalkthai.com/forescout-create-poc-malware-for-smart-building/

18 เทคโนโลยี IoT สำหรับภาครัฐและธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงแล้วในประเทศจีน

หากจะพูดถึงกรณีศึกษาด้านการนำ Internet of Things (IoT) มาประยุกต์ใช้งานในภาครัฐและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว จีนนั้นก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าจับตามองไม่น้อย ด้วยความพร้อมทั้งด้านผู้ผลิตเทคโนโลยีทั้งในส่วนของระบบเครือข่ายและ Hardware ไปจนถึงนโยบายการส่งเสริมที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันเบื้องต้นครับว่าโซลูชันด้าน IoT นั้นต้องมีส่วนประกอบอะไร และจีนนำไปใช้ทำอะไรกันแล้วบ้าง ด้วยการหยิบยกเทคโนโลยีและกรณีศึกษาจาก Huawei มาเล่าสู่กันฟังครับ

 

องค์ประกอบของ IoT: Cloud, Network, Sensor และ Software

 

 

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ 18 กรณีศึกษา เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนครับว่าระบบ IoT ที่มีการใช้งานจริงกันอยู่ในทุกวันนี้ ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีเบื้องหลังอะไรบ้าง เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของระบบและเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้งานได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ครับ

1. Huawei OceanConnect IoT Platform

 

Credit: Huawei

 

เป็นบริการ Cloud IoT Platform ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ และทำการรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์เหล่านั้นมาเพื่อทำการประมวลผล โดยบริการ Cloud เหล่านี้นอกจากจะสามารถจัดการข้อมูลจากเหล่า Sensor ได้แล้ว ก็ยังสามารถทำการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT เพื่อปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ หรืออัปเดต Firmware เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยเพิ่มเติมได้ อีกทั้งยังมี API เพื่อให้ระบบ Application อื่นๆ สามารถทำการเชื่อมต่อเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางด้าน IoT หรือส่งคำสั่งต่างๆ ไปยังอุปกรณ์ IoT ได้ด้วย

ระบบเหล่านี้มีความจำเป็นมากในระบบ IoT ใดๆ เนื่องจากจะเป็นศูนย์กลางที่ทำให้ระบบ IoT สามารถเริ่มต้นใช้งานและเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็วในแบบกระจายตัวตามสาขาหรือพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงประเด็นด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนตัวภายในองค์กรมากนัก อีกทั้งด้วยคุณสมบัติของความเป็น Cloud ก็ทำให้สามารถเพิ่มขยายพลังประมวลผลและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ด้วยอย่างต่อเนื่อง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanConnect IoT Platform ได้ที่ http://carrier.huawei.com/en/products/core-network/iot-platform-solution/iot-platform-solution

 

2. Huawei Smart Home Gateway

ระบบ Internet Gateway ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Internet ความเร็วสูง และผสานบริการต่างๆ ทางด้าน IoT เข้าไปด้วยในตัวเพื่อให้บ้านพักอาศัยหรือออฟฟิศขนาดเล็กกลายเป็น Smart Home หรือ Smart Office ได้อย่างง่ายดายด้วยความสามารถในการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT และข้อมูลที่ได้รับจาก Sensor เพื่อนำมาแสดงผล, โต้ตอบ หรือควบคุมได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei Smart Home Gateway ได้ที่ http://carrier.huawei.com/en/products/fixed-network/sub-solution-access/smart-home

 

3. Huawei EC-IoT Gateway

เทคโนโลยี Open Edge Computing IoT Gateway ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Protocol และ Interface ต่างๆ ได้มากกว่า 17 รูปแบบ และบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้ผ่านระบบ Cloud เพื่อให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมนำไปใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ เข้ากับ Cloud โดยเฉพาะ พร้อมทั้งยังสามารถประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นได้ในตัว ทำให้เกิดการประมวลผลในพื้นที่หน้างานได้ทันที ไม่ต้องมีความล่าช้าจากการส่งข้อมูลขึ้น Cloud แต่อย่างใดสำหรับงานที่มีความสำคัญสูง เช่น การประมวลผลเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei EC-IoT Gateway ได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/technical/sdn/agile-iot

 

4. Huawei NB-IoT Network

 

Credit: Huawei

 

Huawei Narrow Band IoT (NB-IoT) Network นี้เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายไร้สายภายใต้ 4.5G ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการรองรับอุปกรณ์ IoT ซึ่งสามารถครอบคลุมพื้นที่ให้บริการได้กว้างขวาง, รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมากได้พร้อมๆ กัน, ประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ IoT ที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนภาพรวม โดยถึงแม้ปริมาณข้อมูลที่รับส่งได้สำหรับแต่ละอุปกรณ์จะไม่มากนัก แต่ในภาพรวมก็สามารถตอบโจทย์การใช้งาน IoT ได้เป็นอย่างดี

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei NB-IoT Network ได้ที่ http://www.huawei.com/minisite/4-5g/en/connection-4-5-g.html

 

5. Huawei eLTE Private Wireless Networks

ระบบเครือข่าย eLTE แบบ Private จาก Huawei เพื่อรองรับ IoT Application ที่ต้องการ Bandwidth จำนวนมากโดยเฉพาะ และมีความสามารถที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ด้านการติดต่อสื่อสารได้ในรูปแบบที่ต้องการ เหมาะสำหรับระบบ Video Surveillance, Multimedia Conferencing, Image Processing และอื่นๆ

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei eLTE Private Wireless Networks ได้ที่ http://e.huawei.com/en/solutions/business-needs/wireless-private-network

 

6. Huawei LiteOS

Huawei LiteOS นี้เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Lightweight สำหรับรองรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ โดยนอกจากจะใช้พื้นที่ติดตั้งขนาดเล็กแล้ว Huawei LiteOS ก็ยังถูกออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน, เริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว, ตอบสนองคำสั่งต่างๆ ได้ภายในเวลาระดับ Microsecond ถึง Millisecond และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Sensor และอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ภาคธุรกิจนำไปใช้ประยุกต์ต่อยอดพัฒนาเป็นอุปกรณ์ IoT ที่มีความสามารถตามที่ต้องการได้ด้วยตนเอง

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei LiteOS ได้ที่ http://www.huawei.com/minisite/liteos/en/

 

องค์ประกอบทั้ง 6 นี้เองที่ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างระบบ IoT ใดๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยในแต่ละโครงการด้าน IoT ก็อาจจะสามารถเลือกใช้เฉพาะเทคโนโลยีบางส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการได้ เช่น หากเป็นระบบ Video Analytics ที่ต้องการ Sensor จับภาพและส่งภาพคุณภาพสูงขึ้นมาประมวลผล ก็อาจไม่ต้องใช้เครือข่าย NB-IoT แต่ใช้ eLTE ที่มี Bandwidth สูงกว่าได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี องค์ประกอบข้างต้นนั้นเป็นเพียงแค่ประเด็นทางด้านเทคนิคเท่านั้น ในการทำให้ระบบ IoT เกิดขึ้นมาได้จริงปัจจัยทางด้านธุรกิจและพันธมิตรในแง่มุมต่างๆ ก็ถือว่าสำคัญไม่น้อย ซึ่ง Huawei เองก็มีโครงการ Huawei IoT Solution Partnership Program เพื่อสนับสนุน Partner ทางด้านเทคโนโลยีและธุรกิจรายต่างๆ ให้มาร่วมมือกันสร้างระบบ IoT ที่ตอบโจทย์เฉพาะทาง, มาเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมกันเพื่อนำไปใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรมต่างๆ และยังลงทุนอีก 1,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 35,000 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนให้เหล่า Developer ได้มีโอกาสมาเรียนรู้เทคโนโลยีในฝั่งนี้ด้วย

 

18 กรณีศึกษาการนำ IoT มาใช้งานจริงในภาครัฐและภาคธุรกิจจีน

เมื่อเข้าใจภาพรวมคร่าวๆ ของระบบ IoT แล้วว่ามีส่วนประกอบอะไรกันบ้าง ก็มาถึงส่วนของตัวอย่างเทคโนโลยี IoT ที่มีการประยุกต์ใช้งานจริงแล้วในประเทศจีนจากทาง Huawei ดังต่อไปนี้ครับ

 

1. โครงการ Smart Water

 

Credit: Huawei

 

โครงการระบบน้ำประปาอัจฉริยะที่ได้ใช้งานจริงในเมือง Shenzhen ที่ติดตั้ง Sensor เพื่อวัดปริมาณและคุณภาพของน้ำตามท่อส่งน้ำต่างๆ เพื่อตรวจหาการรั่วของน้ำในแต่ละจุดและทำการซ่อมแซมแก้ไขได้ทันท่วงที อีกทั้งยังมีการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ, ความดันน้ำ และอุณหภูมิเพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ปรับปรุงระบบโครงสร้างการจ่ายน้ำประปา พร้อมทั้งมีระบบ Smart Meter คอยจัดเก็บข้อมูลการใช้งานตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ได้อย่างแม่นยำโดยอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีการติดตั้ง Smart Meter ไปแล้ว 50,000 จุดในปี 2017 และมีแผนจะขยายให้มีจำนวนมากถึง 500,000 จุดให้ได้ภายในปี 2020 http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-water.html

 

2. โครงการ Smart Gas

โครงการนี้คล้ายคลึงกับระบบ Smart Water แต่เปลี่ยนเป็นการติดตามการจ่ายก๊าซและการใช้งานก๊าซแทน และมีการเพิ่ม Mobile Application เพื่อให้ประชาชนแต่ละคนสามารถติดตามการใช้งานก๊าซของตนเองและทำการจ่ายเงินได้อย่างสะดวกและง่ายดาย และโครงการนี้ก็ถูกเริ่มต้นใช้งานที่เมือง Shenzhen กับ Beijing แล้วอย่างเป็นทางการด้วยความร่วมมือระหว่าง Huawei และ China Telecom http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-gas.html

 

3. โครงการ AMI Smart Meter Reading

 

Credit: Huawei

 

ปัญหาด้านการอ่าน Meter สำหรับบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ในภาครัฐนั้นดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องเผชิญ และจีนเองที่มีทั้งพื้นที่และประชากรจำนวนมากนั้นก็ยิ่งทำให้ปัญหานี้มีความคุ้มค่าที่จะแก้ไขมากขึ้น ทาง Huawei จึงได้พัฒนาระบบ Huawei PLC-IoT Advanced Metering Infrastructure (AMI) Smart Meter Reading เพื่อให้บริการแก่เหล่าประชาชนที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ Prepaid ให้สามารถซื้อไฟฟ้าได้ผ่านช่องทางต่างๆ และยังสามารถช่วยลดปัญหาการลักลอบใช้ไฟฟ้าอย่างผิดกฎหมายได้อีกด้วย http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-ami.html

 

4. โครงการ Smart Parking

 

Credit: Huawei

 

เป็นระบบ IoT สำหรับใช้ Sensor เพื่อตรวจสอบว่าที่จอดรถในช่องใดยังว่างอยู่บ้าง เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานเฝ้าที่จอดรถ ซึ่งการนำ NB-IoT มาใช้นี้ก็ช่วยให้ระบบลักษณะนี้มีราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมากเพราะไม่ต้องม่ีค่าใช้จ่ายลงทุนด้านระบบเครือข่ายภายในบริเวณลานจอดรถเลย ทำให้ผู้ที่ต้องการจอดรถทราบได้ทันทีว่ามีที่จอดว่างในตำแหน่งใดบ้าง และเจ้าของที่จอดรถก็สามารถเก็บเงินค่าจอดรถได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-parking.html

 

5. โครงการ Smart Shared Bicycle Lock

 

Credit: Huawei

 

โครงการ IoT สำหรับรองรับธุรกิจ Bicycle Sharing ที่มีการใช้งานโดยผู้ใช้งานมากถึง 32 ล้านรายในแต่ละเดือนที่ประเทศจีน โดยระบบนี้จะนำ NB-IoT เข้ามาใช้แทน GPRS ที่เป็นเทคโนโลยีเดิม ทำให้ความเร็วในการใช้งานและการคืนจักรยานสูงขึ้น, ประหยัดแบตเตอรี่สำหรับอุปกรณ์เชื่อมต่อบนจักรยานมากขึ้น ทำให้ระบบโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการดูลรักษาลงได้เป็นอย่างดี ซึ่ง ofo บริษัท Startup ชื่อดังนั้นก็เป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้นั่นเอง และมีความคาดหวังว่าปริมาณจักรยานในระบบจะสูงเกินกว่า 1 ล้านคัน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-bike-sharing.html

 

6. โครงการ Smart Street Lamps

เป็นโครงการที่ใช้เวลาพัฒนายาวนานกว่า 7 ปีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ท้องถนน และการประหยัดพลังงาน โดยการใช้ NB-IoT, EC-IoT และ RF เพื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไปยังระบบ Smart Lighting เหล่านี้จากระยะไกล ทำให้การบริหารจัดการระบบไฟและการดูแลรักษาทำได้อย่างง่ายดาย และครอบคลุมไปยังถนนหรือพื้นที่ห่างไกลได้ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-lighting.html

 

7. โครงการ Smart Smoke Detection

ทำการเชื่อมต่อระบบ Smoke Detection ภายในอาคารด้วยเครือข่าย NB-IoT แทน ทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมถึงใช้พลังงานน้อยลงทำให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปติดตั้งในจุดต่างๆ ของอาคารได้ถี่ขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลการแจ้งเตือนไปตรวจสอบเทียบกับข้อมูลจากระบบ Smart Building หรือภาพจากกล้องวงจรปิดได้ทันที ทำให้การตรวจสอบและตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ทำได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-smoke-detector.html

 

8. โครงการ Smart Cold Chain

สำหรับการขนส่งสิ่งของหรือวัสดุพิเศษที่ต้องมีการรักษาอุณหภูมิในระดับที่กำหนด อย่างเช่นเลือดหรือยาสำหรับใช้ในโรงพยาบาล โซลูชันนี้จะช่วยให้สามารถมั่นใจได้ในคุณภาพของการขนส่งว่าสภาพแวดล้อมจะเป็นไปตามที่กำหนดอยู่เสมอตลอดทั้งเส้นทางแบบ Real-time ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับเครือข่าย NB-IoT และเกิดการแจ้งเตือนได้ทันทีที่เกิดปัญหาใดๆ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-cold-chain.html

 

9. โครงการ Smart Building

ด้วยการใช้ EC-IoT Gateway จาก Huawei ที่มีโซลูชัน Niagara Framwork สำหรับทำหน้าที่เป็น IoT Middleware อยู่ภายใน ก็ทำให้การรวบรวมข้อมูลและควบคุมอุปกรณ์ IoT ที่หลากหลายภายในและภายนอกอาคารทั้ง HVAC Controller, Liminance Sensor, Energy Meter, Electrical Controller และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำมาประมวลผลทำ Automation ต่างๆ ทั้งในแง่มุมการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้คนในอาคาร, การประหยัดพลังงาน และการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-buildings.html

 

10. โครงการ Smart Locks

หนึ่งในเทคโนโลยีที่เรียกว่าแทบจะมีกันทุกโครงการคอนโดไปแล้วกับระบบ Smart Lock เพื่อใช้ล็อคห้องพักอาศัย โดยการนำ NB-IoT มาใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ Smart Lock เข้ากับ Cloud นี้ก็จะช่วยให้อาคารไม่ต้องทำการเดินสายหรือวางระบบเครือข่ายไร้สายมากอย่างแต่ก่อน ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบอาคารโดยรวม อีกทั้งด้วยการประหยัดพลังงานก็ยังทำให้อุปกรณ์ Smart Lock ที่ใช้ถ่าน AA 4 ก้อนนั้นสามารถปลดล็อคประตูได้มากถึง 8,000 ครั้งเลยทีเดียว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-lock.html

 

11. โครงการ eLTE Port AGV Communications

 

Credit: Huawei

 

การใช้ Automated Guided Vehicle (AGV) หรือที่เรียกชื่อเป็นภาษาไทยว่ารถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติในท่าเรือเพื่อขนส่ง Containter ที่ลำเลียงมานั้นถือเป็นหนึ่งในแนวทางปฏิบัติสากลไปแล้ว และก้าวถัดไปของเทคโนโลยีนี้คือการสร้าง Automated Port หรือท่าเรือที่ลำเลียงสินค้าได้โดยอัตโนมัติด้วยการควบคุม AGV ผ่านอัลกอริธึมเพื่อให้ทำการลำเลียงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบ eLTE ที่สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมากในพื้นที่เดียวกันด้วย Latency ที่ต่ำจึงกลายเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับโครงการนี้ โดย Huawei ได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงท่าเรือ Yangshan Port ใน Shanghai เพื่อรองรับการควบคุม AGV 130 คัน และ Container Crane 26 ชุดได้พร้อมๆ กัน http://www.huawei.com/minisite/iot/en/elte-port-agv-communications.html

 

12. โครงการ Elevators Connection

จากการสำรวจเมื่อปี 2015 ทั่วโลกนั้นมีการใช้งานลิฟต์จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 15 ล้านชุด การบริหารจัดการและการดูแลรักษาอุปกรณ์เหล่านี้จึงกลายเป็นงานที่มีมูลค่าสูงมาก อีกทั้งอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากลิฟต์นั้นก็อาจส่งผลเสียหายต่อทั้งทรัพย์สินหรือชีวิตได้ ในโครงการนี้จึงได้มีการผสานระบบ Software Defined Networking (SDN) เพื่อเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่กระจายอยู่ตามอาคารจำนวนมากเข้าด้วยกัน และปรับปรุง Security ทั้งในส่วนของระบบปฏิบัติการ, ชิป, การเชื่อมต่อผ่าน VPN และ Platform เอาไว้เป็นอย่างดี พร้อมมีระบบ Edge Computing สำหรับเอาไว้ตรวจสอบ วิเคราะห์ และแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุผิดปกติเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที รวมถึงมีระบบ AI และ Big Data บน Cloud เพื่อช่วยตรวจสอบปัญหาต่างๆ และทำ Preventive Maintenance ได้จากข้อมูลที่มีอยู่ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/elevators-connection.html

 

13. โครงการ eLTE Smart Factory

 

Credit: Huawei

 

การปรับปรุงโรงงานเพื่อก้าวเข้าสู่การทำ Manufaturing 4.0 นั้นถือเป็นเป้าหมายที่เหล่าธุรกิจการผลิตและโรงงานต้องเร่งเดินไปให้ถึง และเทคโนโลยี Huawei eLTE ที่รองรับทั้งการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Broadband และ Narrowband พร้อมรองรับการทำ Multi-service Wireless Network ได้นี้ก็ช่วยให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่หลากหลายภายในโรงงานสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว พร้อมให้ควบคุมและบริหารจัดการได้จากศูนย์กลางทั้งหมด รองรับทั้งการควบคุมเครื่องจักร, หุ่นยนต์, AGV, กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์ IoT ได้หลากหลายในหนึ่งเดียว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-factor-elte.html

 

14. โครงการ eLTE Gas Detecion

 

Credit: Huawei

 

โครงการนี้ถูกออกแบบขึ้นมาสำหรับธุรกิจปิโตรเคมีโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซต่างๆ จากท่อส่งที่ซับซ้อนภายในโรงงานและโรงกลั่นขนาดใหญ่ด้วยการเชื่อมต่อ IoT Sensor เข้ากับระบบเครือข่าย eLTE ที่ครอบคลุมรัศมีได้ 2-6 กิโลเมตร ทำให้สามารถตรวจสอบท่อส่งและเครื่องจักรทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน ติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ใช้งานได้ทั้งในเชิง Production Management, Device Management, HSE Management ไปจนถึง Energy Management ในธุรกิจ http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-gas-detector-elte.html

 

15. โครงการ Smart White Goods

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่บรรดาผู้ผลิตต่างต้องการปรับปรุงให้กลายเป็นสินค้าที่มีความชาญฉลาดในตัว โดยสามารถส่งข้อมูลการใช้งานและปัญหาต่างๆ กลับมายังผู้ผลิตเพื่อให้สามารถให้บริการทำการดูแลรักษาหรือเปลี่ยนสินค้าก่อนชำรุดได้นั้น ที่ผ่านมามักอาศัยระบบเครือข่ายแบบ Wi-Fi ซึ่งนอกจากจะไม่ครอบคลุมอาคารบ้านเรือนแล้ว ก็ยังมีประเด็นปัญหาด้านความปลอดภัย ทาง Huawei จึงได้นำเสนอระบบเครือข่าย NB-IoT เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้ให้สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้ให้บริการได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทาง Huawei ก็ได้จับมือกับ Haier และ Little Swan เพื่อทดสอบการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรือนกว่า 50,000 แล้ว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smart-appliances.html

 

16. โครงการ Smart Home

Huawei Smart Home Solution นี้จะช่วยให้เหล่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สามารถนำเสนอระบบบ้านอัจฉริยะที่มีระบบเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยสูง พร้อมให้สามารถบริหารจัดการจากศูนย์กลางได้อย่างง่ายดายผ่านเทคโนโลยี Network Functions Virtualization (NFV) และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างหลากหลายด้วย Partner มากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก พร้อมระบบ Smart Home Gateway สำหรับทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการสื่อสารในอาคารบ้านเรือนแต่ละหลังได้ทันที http://www.huawei.com/minisite/iot/en/smarthome.html

 

17. โครงการ Connected Vehicle

 

Credit: Huawei

 

ระบบ Connected Vehicle ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหญ่ที่จะมาพลิกโฉมธุรกิจยานยนต์ทั่วโลก ซึ่ง Huawei นั้นก็มีบริการต่างๆ พร้อมให้เหล่าธุรกิจยานยนต์นำไปเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเสริมระบบ Mobility Service, การเพิ่มระบบซ่อมบำรุงอัจฉริยะ, การทำ Fleet Management, การทำระบบเช่ารถยนต์, การเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจประกัน, การพัฒนาระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่, การเสริมระบบ AI ให้กับยานยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการจับมือกับทั้ง FAW Qiming จากจีน และ Groupe PSA จากฝรั่งเศสเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันมาแล้ว http://www.huawei.com/minisite/iot/en/vehicle-networking.html

 

18. โครงการ Connected Cow

 

Credit: Huawei

 

ปิดท้ายบทความด้วยโครงการปศุสัตว์อัจฉริยะที่ใช้ NB-IoT ที่มีระยะไกลถึง 5 กิโลเมตรเชื่อมต่อเข้ากับ Sensor ที่ติดเอาไว้บนวัว พร้อมอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานถึง 5 ปี สำหรับรวบรวมข้อมูลสุขภาพของวัวแต่ละตัว ทำให้สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ดีขึ้นด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้ทราบได้ทันท่วงทีเมื่อวัวมีอาการตกมัน และช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตนมของโคนมได้มากขึ้นจากเดิมถึง 20% http://www.huawei.com/minisite/iot/en/connected-cows.html

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

 

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน IoT และ 5G Networking จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่
Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/huaweiENT
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com

from:https://www.techtalkthai.com/18-real-iot-use-cases-in-china-by-huawei/

[PR] เทคโนโลยีจัดการพลังงาน เปลี่ยนอาคารธรรมดาให้เป็นอาคารอัจฉริยะ

‘กุญแจสำคัญที่ทำให้อาคารมีความฉลาดขึ้น มี 3 สิ่ง เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และนวัตกรรม’

Germany, Berlin, young woman with mini tablet in the evening at Potsdam Square

การพิสูจน์ว่าอาคารนั้นเป็นอัจฉริยะหรือไม่ สามารถดูได้ว่าอาคารสามารถปรับอุณหภูมิ และอากาศหมุนเวียนในแต่ละชั่วโมงได้โดยอัตโนมัติ ตามจำนวนผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในแต่ละห้องหรือสำหรับอาคารทั้งหมดก็ตาม วิธีการนี้จะช่วยประหยัดพลังงานได้ และทำให้ทั้ง โรงเรียน อาคารสำนักงานและอาคารต่างๆ ไม่เพียงแต่ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ต่อมาที่ได้คือการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ บางครั้งลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก  โดยตามรายงานจากการสำรวจผู้พักอาศัยในอาคาร มีความพึงพอใจมากขึ้นถึง 27% จากประสิทธิภาพที่ได้รับจากการระบายอากาศ การควบคุมความร้อน และแสงสว่างของอาคารที่ช่วยให้ผู้อาศัยอยู่ในอาคารทำงานได้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

สิ่งที่ทำให้อาคารมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น คือ ระบบจัดการพลังงานสำหรับอาคาร หรือ BEMS (Building energy management systems) โดยสถาบันวิจัย Navigant Research ได้ให้นิยามเรื่องดังกล่าวไว้ในรายงานว่า  “เป็นโซลูชันที่ใช้ฐานไอทีมาขยายความสามารถในเรื่องของการตรวจจับ (Sensing) การควบคุม รวมถึงฮาร์ดแวร์ในระบบอัตโนมัติ (Automation Hardware) มาควบคุมการดำเนินงานของระบบ และ/หรือปรับปรุงงานที่ต้องทำเองให้ดำเนินไปได้ในแบบอัตโนมัติด้วยการนำข้อมูลที่มาจากหลายทางมาช่วยในเรื่องดังกล่าว”

มีการคาดการณ์ถึงตลาดระบบจัดการอาคารในส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์และการบริการทั่วโลกว่า จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จาก 2.7 พันล้านในปัจจุบันเป็น 12.8 พันล้าน ในปี 2025 คิดเป็นอัตราการเติบโตประจำปีที่ 18.2 เปอร์เซ็นต์  โดย Navigant Research กล่าวว่ารายได้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มาจากการขายซอฟต์แวร์ และบริการ ซึ่งเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากกิจกรรมทั้งหมด จะเป็นเรื่องของการปรับปรุงและอัพเกรดอาคารเดิม รวมถึงระบบการจัดการอาคาร ซึ่งถ้าตัวเซ็นเซอร์ แอคทูเอเตอร์ (actuator) และวาล์ว ยังคงใช้งานได้อยู่ ก็ไม่ต้องทำอะไรกับมันแค่เปลี่ยนซอฟต์แวร์อย่างเดียวก็พอ

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีการบริหารจัดการพลังงานสำหรับอาคาร หรือโซลูชัน BEMS ก็จะมีอยู่หลากหลายโซลูชัน แต่องค์ประกอบทั่วไปไม่ทิ้งห่างจากสิ่งเหล่านี้

  • การผสานรวมการทำงานผ่าน BACnet
  • การเก็บข้อมูลโดยอาศัยการสื่อสารผ่านระบบไร้สาย และโมบายอินเทอร์เน็ต
  • มีซอฟต์แวร์วิเคราะห์ที่ทำงานบนคลาวด์ ที่สามารถเข้าถึงผ่านเว็บหรืออุปกรณ์สื่อสารได้
  • มีศูนย์กลางปฏิบัติการเครือข่าย

ผู้ให้บริการรายใหญ่บางรายมีการนำเสนอโซลูชันครบวงจรที่สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้ ส่วนบางบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่า อาจจับมือกับพาร์ทเนอร์ หรือซัพพลายเออร์ เพื่อสร้างโซลูชันครบวงจร หนึ่งในความท้าทายที่ผู้ผลิตต้องพบคือทั้งเทคโนโลยีและกรณีการใช้งานที่ต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอด

การใช้งานสิ่งเหล่านี้มีอะไรบ้าง ซึ่งโดยธรรมชาติสิ่งเหล่านี้จะรวมเรื่องของการจัดการพลังงานเข้ามาด้วย (ซึ่งก็คือระบบบริหารจัดการพลังงาน ที่อยู่ในโซลูชั่นการบริหารจัดการพลังงานในอาคาร) การลงทุนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านระบบสาธาณูปโภค เป็นการวัดที่เห็นได้ง่ายเรื่องประสิทธิภาพที่ดีขึ้น  กรณีการใช้งานอื่นๆ คือการเพิ่มความคล่องตัวในเรื่องการซ่อมและบำรุงรักษา รวมถึงการปรับปรุงด้านการจัดการสินทรัพย์ได้ดีขึ้น  ผลที่ตามมาคือการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและลดช่วงดาวน์ไทม์ลงได้

นอกจากนี้ อาจมีกรณีการใช้งานอื่นๆ ได้อย่างเช่น การเน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดูจากข้อมูลติดตามเรื่องพื้นที่ว่าง เมื่อพบพื้นที่ซึ่งถูกปล่อยว่างและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เรื่องนี้จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ธุรกิจสำนักงาน และหน่วยงานรัฐบาลซึ่งอาจเป็นพื้นที่ที่มีราคาแพง

แนวโน้มสุดท้ายที่เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ จะเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้เช่าในอาคาร  เนื่องจากกลุ่ม Gen M ปัจจุบันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาคนทำงาน คนเหล่านี้รู้สึกสะดวกสบายกับการใช้สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง คนเหล่านี้ คาดหวังพฤติกรรมบางอย่างจากระบบอัตโนมัติ รวมถึงระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคาร  การจะให้ความสามารถเหล่านี้แก่อาคารได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในการจัดการระบบบริหารจัดการอาคารนั่นเอง

และที่กล่าวมาทั้งหมด ก็คือภาพรวมของระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารในวันนี้ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการขยายตัวและมีพัฒนาการในเรื่องฟีเจอร์หลัก รวมถึงปัจจัยขับเคลื่อนทั่วไป โดยพื้นฐานแล้วอาคารจะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นตามเหตุและผลในเชิงเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ของการประหยัดเงินและเพิ่มผลิตผลในการทำงาน  #IoT together #SchneiderElectricThailand

###

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน โดยมีรายได้ประจำปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นมูลค่า 25 พันล้านยูโร บริษัทฯ มีพนักงาน 144,000 คน ไว้คอยให้บริการลูกค้าในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการพลังงาน และกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัย มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ นับตั้งแต่สวิตช์ไฟที่เรียบง่ายที่สุด ไปจนถึงระบบการทำงานที่ซับซ้อน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังเป็นเจ้าของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และการบริการ ที่ช่วยให้ลูกค้ายกระดับประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ และการดำเนินงานได้แบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อของเรา จะช่วยปรับโฉมอุตสาหกรรม เปลี่ยนเมือง และช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเรียกสิ่งนี้ว่า “Life is On” www.schneider-electric.co.th/th

from:https://www.techtalkthai.com/building-energy-management-system-for-smart-buildings/

IDC ชี้ ธุรกิจ IoT ทั่วโลกจะมีมูลค่า 47.5 ล้านล้านบาท ภายในปี 2021

International Data Corporation (IDC) เผยตัวเลขคาดการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ Internet of Things (IoT) ทั่วโลก ว่าจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในปี 2021 นี้จะมีตัวเลขการลงทุนในตลาดนี้ถึง 47.5 ล้านล้านบาท ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT

Credit: a-image/ShutterStock

ระบบ IoT ได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในองค์กรใหญ่หลายแห่ง เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้จริง โดยในปี 2017 นี้ ระบบ IoT ที่คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ IoT สำหรับระบบอุตสาหกรรม (3.5 ล้านล้านบาท), ระบบติดตามการขนส่ง (1.7 ล้านล้านบาท), Production Asset Management (1.5 ล้านล้านบาท) และระบบ Smart Building (1.35 ล้านล้านบาท) โดยระบบ IoT เหล่านี้จะเป็นกลุ่มหลักที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2021 ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนทั่วโลกอยู่ที่ 47.5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

 

Source: IDC

 

ภาคธุรกิจที่จะมีการลงทุนระบบ IoT สูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม (6.2 ล้านล้านบาท), ภาคการขนส่ง (2.88 ล้านล้านบาท) และสาธารณูปโภค (2.2 ล้านล้านบาท) ส่วนตลาด IoT สำหรับ Consumer จะอยู่ในอันดับที่ 4 ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท หากมองในมุมทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ฮาร์ดแวร์เป็นส่วนหลักที่มีการลงทุนมากที่สุด ตามมาด้วยซอฟต์แวร์ และการบริการ ตามลำดับ ส่วนตลาด Security สำหรับ IoT คาดว่าจะมีการเติบโตอยู่ที่ 15.1% ในแต่ละปี

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมญี่ปุ่น) มีการลงทุนในระบบ IoT มาเป็นอันดับ 1 โดยจะมีมูลค่าการลงทุนจนถึงปี 2021 อยู่ที่ 15.4 ล้านล้านบาท รองลงมาเป็นสหรัฐและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาทและ 9.3 ล้านล้านบาท ตามลำดับ

ที่มา : http://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prUS42799917

from:https://www.techtalkthai.com/idc-forcast-iot-market-will-reach-47-trillion-baht-in-2021/

Extreme Networks เผย 5 การนำ Internet of Things ไปใช้ ที่รับความนิยมสูงสุด

Extreme Networks ได้ทำการสำรวจเหล่าธุรกิจองค์กรต่างๆ ว่าเริ่มมีการนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ไปใช้ทำอะไรกันบ้างจากเหล่าผู้ตอบแบบสอบถามในระดับ CIO, VP of Technology และ Architectural Engineer จำนวน 300 คน และมีตัวเลขที่น่าสนใจซึ่งน่าจะเป็นแนวทางให้มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ดังนี้

extreme_networks_iot_survey_2016_01

  • 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้งาน IoT หรือมีแผนจะใช้ IoT อยู่ภายในแผนธุรกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Whiteboard อัจฉริยะ, BYOD หรือระบบลงทะเบียนผู้ป่วยในโรงพยาบาลก็ตาม
  • สำหรับองค์กรที่มีการใช้งาน Smart Device นั้น เกินกว่าครึ่งนั้นเป็นระบบสำหรับ Smart Building/Automated Building โดย 5 รูปแบบการนำ IoT ไปใช้งานที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่
    • 50% – Smart/Automated Building Implementation
    • 48% – Video Surveillance
    • 45% – Data Collection for Better Business Decisions
    • 40% – Ease-of-Use for Customers and Employees
    • 40% – Physical Building Security
  • สำหรับองค์กรที่มีการทำ Smart Buidling ไปแล้วนั้น 64% มีความเห็นว่าระบบ Video Surveillance นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญสูงสุด ตามมาด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน และระบบรักษาความปลอดภัยอาคาร

extreme_networks_iot_survey_2016_02

จะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยี IoT ไปใช้ในองค์กรนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และแน่นอนว่าต่อไปการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ IoT นั้นก็จะเป็นประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้นระบบเครือข่ายที่ออกแบบมาสำหรับ IoT นี้ก็ต้องมีความรัดกุมปลอดภัย และพร้อมที่จะเสริมความปลอดภัยเพิ่มเติมในอนาคตให้ได้ด้วยนั่นเอง

ที่มา: http://www.extremenetworks.com/extreme-networks-survey-reveals-top-uses-iot-smart-buildings-video-surveillance-security/

from:https://www.techtalkthai.com/extreme-networks-reveals-top-5-use-cases-of-iot-in-enterprise/

Intel เปิดตัวบริการ Building Management Platform เปลี่ยนอาคารให้กลายเป็น Smart Building

บริการ Platform-as-a-Service จาก Intel เพื่อช่วยผสานอาคารเข้ากับ Internet of Things

intel_bmp_diagram

Intel ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชัน Intel Building Management Platform (Intel BMP) บริการ Platform-as-a-Service (PaaS) เพื่อเปลี่ยนให้อาคารขนาดเล็กและขนาดกลางสามารถปรับปรุงให้กลายเป็น Smart Building ได้โดยไม่ต้องลงทุนกับระบบ Building Management Systems (BMS) ซึ่งมักมีราคาสูงและคุ้มทุนสำหรับอาคารขนาดใหญ่เท่านั้น

Intel BMP นี้ประกอบไปด้วย CANDI PowerTools ซึ่งเป็นบริการบริหารจัดการอาคารผ่านระบบ Cloud ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้หลากหลาย และสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาจาก Sensor ต่างๆ มาวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลบนระบบ Business Intelligence (BI), Analytics, Dashboard และเชื่อมต่อได้กับ Application อื่นๆ อีกด้วย โดยมีความสามารถดังต่อไปนี้

  • มี CANDI PowerTools ที่มีระบบค้นหาอุปกรณ์ภายในและสามารถใช้งานได้แบบ Drag-and-Drop เพื่อจัดการข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดภายในระบบ โดยรองรับข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ กว่าร้อยชนิด https://candicontrols.com/the-candi-advantage/device-data-management
  • สามารถอัปเดต Software ของระบบได้แบบ Over-the-Air และจะมีฟีเจอร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยโดย McAfee Embedded Control
  • รองรับ IoT Gateway, Software, Cloud Application ต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมี Library สำหรับใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ มากมายก
  • ใช้ระบบปฏิบัติการ Commercial Embedded Linux จาก Wind River ทำให้รองรับ Hardware ต่างๆ มากมายและมีความปลอดภัยสูง
  • รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ได้ทาง BACnet, ZigBee, Insteon, IP, UPnP และอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www-ssl.intel.com/content/www/us/en/smart-buildings/building-management-platform/overview.html ทันที

ที่มา: https://newsroom.intel.com/news/intel-building-management-platform-paves-way-smart-connected-buildings/

from:https://www.techtalkthai.com/intel-announces-building-management-platform-service/