คลังเก็บป้ายกำกับ: IDC

IDC ประเมิน การใช้จ่ายด้าน AI ปีนี้แตะ 1.54 แสนล้านดอลลาร์ คาดโตถึง 3 แสนล้าน ในปี 2026

IDC ออกรายงานพยากรณ์การใช้จ่ายด้าน AI ขององค์กรทั่วโลก ซึ่งรวมทุกอย่างตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการต่าง ๆ ที่จะนำมาสร้างระบบที่มี AI เป็นศูนย์กลาง (AI-centric) คาดว่าปีนี้จะแตะ 1.54 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 26.9% จากปี 2022 และที่ค่าเฉลี่ยเติบโตระดับ 27% ต่อปี จะทำให้การใช้จ่ายด้าน AI นี้ สูงกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2026

Mike Glennon นักวิจัยอาวุโสของ IDC ให้ความเห็นว่า AI ถูกนำมาใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ทั้งสร้างบริการผู้ช่วยเสมือน งานอัตโนมัติที่สามารถทำซ้ำได้ ระบบแนะนำสำหรับลูกค้าแต่ละคน ไปจนถึงเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจด้วยข้อมูลภายในองค์กร

ข้อมูลของ IDC พบว่ามากกว่า 1 ใน 4 ของการใช้จ่ายด้าน AI จะเน้นไปที่การสร้างระบบผู้ช่วยบริการลูกค้า กับระบบแนะนำสินค้า ส่วนแนวโน้มในอนาคต รูปแบบ AI ที่จะมีการใช้งานมากขึ้น เช่น การปรับปรุงการทำงานของระบบไอที, ระบบตรวจจับและวิเคราะห์ความผิดปกติ กลุ่มธุรกิจที่มีการลงทุนด้าน AI สูงในปีที่ผ่านมาคือ การเงิน และค้าปลีก ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มใช้ AI มากขึ้น คือ บริการโดยผู้เชี่ยวชาญ (Professional Services) และกระบวนการการผลิต

ที่มา: IDC

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132937

Advertisement

IDC เปิดการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Future Enterprise Awards ครั้งที่ 7 สำหรับประเทศไทย

95% ขององค์กรเห็นถึงความสำคัญ ของการเป็นองค์กรที่ใช้ดิจิทัลเป็นหลัก (digital-first strategy) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของยุคธุรกิจดิจิทัลอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้
 

กรุงเทพฯ, 22 กุมภาพันธ์ 2566 – ในรายงานล่าสุด IDC คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรต่างๆ จะเติบโต 8 เท่าของเศรษฐกิจในปี 2566 ในขณะที่การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 684 ล้านล้านบาททั่วโลกภายในปี 2568 ซีอีโอของหลายบริษัทต่างมีมุมมองที่เป็นบวก โดยมองว่า 34.6% (ภายในปี 2568) และ 40.9% (ภายในปี 2570) ของรายได้จะมาจากผลิตภัณฑ์ บริการ และ/หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล
 
เพื่อประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบันนี้ องค์กรต่างๆ จะต้องดึงดูดผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลเข้ามาทำงานในองค์กร ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เหมาะสม มีการเชื่อมต่อได้อย่างไร้รอยต่อ พัฒนาระบบขององค์กรให้มีความอัจฉริยะ มุ่งเน้นการดำเนินงานที่ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐาน สร้างความไว้วางใจทั้งในองค์กรและกับลูกค้า พัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า พัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล เสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรม และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจรวมถึงผลลัพธ์ที่วัดผลได้
 
“หลังจากเหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกความไม่สงบในสังคมและปัญหาทางการเมือง รวมถึงผลกระทบที่ยาวนานจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลพัฒนาไปสู่ยุคของธุรกิจดิจิทัล องค์กรได้แก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นภายในแผนกต่างๆ ส่งผลให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมตลอดทั้งกระบวนการธุรกิจ (islands of innovations) และปิดช่องว่าง ROI ทางดิจิทัลองค์กรชั้นนำได้เตรียมพร้อมในการสร้างและปรับขนาดโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อดำเนินธุรกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนในระยะยาว” คุณ Sandra Ng รองประธานกลุ่มและผู้จัดการทั่วไปของ IDC Asia/Pacific กล่าว

เสนอชื่อตอนนี้ คลิกที่ลิงค์หรือสแกนรหัส QR เพื่อเสนอชื่อโครงการและผู้นำของคุณ

ในปีที่ 7 ของ IDC Future Enterprise Awards (FEA) ได้จัดหมวดหมู่รางวัลออกเป็น “Future of X” จำนวน 9 ประเภท รวมถึงประเภทผู้นำธุรกิจทั้งหมด 2 ประเภท และรางวัลพิเศษอีก 6 รางวัล รวมทั้งหมดเป็น 18 รางวัล ดังนี้:
  • Best in Future of Connectedness: ดีที่สุดในอนาคตด้านการเชื่อมต่อ
  • Best in Future of Customer Experience: ดีที่สุดในอนาคตด้านประสบการณ์ลูกค้า
  • Best in Future of Digital Infrastructure: ดีที่สุดในอนาคตด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล
  • Best in Future of Digital Innovation: ดีที่สุดในอนาคตด้านนวัตกรรมทางดิจิทัล
  • Best in Future of Industry Ecosystems: ดีที่สุดในอนาคตด้านระบบนิเวศอุตสาหกรรม
  • Best in Future of Intelligence: ดีที่สุดในอนาคตด้านความอัจฉริยะ
  • Best in Future of Operations: ดีที่สุดในอนาคตด้านการดำเนินงาน
  • Best in Future of Trust: ดีที่สุดในอนาคตด้านความน่าเชื่อถือ
  • Best in Future of Work: ดีที่สุดในอนาคตด้านการทำงาน
  • CEO of the Year: ประธานกรรมการบริหารแห่งปี
  • CIO/CDO of the Year: ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง/ผู้บริหารข้อมูลระดับสูงแห่งปี
  • Future Enterprise of the Year: องค์กรในอนาคตแห่งปี
  • Special Award for Digital Resiliency: รางวัลพิเศษสำหรับการปรับตัวและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล
  • Special Award for Sustainability: รางวัลพิเศษสำหรับความยั่งยืน
ซึ่งรวมถึง 4 รางวัลพิเศษใหม่สำหรับประเทศไทยในปี 2566:
 
  • The Special Award for Digital Native Business (DNB): รางวลัพิเศษสำหรับธุรกิจดิจิทัลเนทีฟ จะมอบให้แก่องค์กร DNB (สตาร์ทอัพสเกลอัพและยูนิคอร์น) ที่ได้สร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในตลาด และมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดและอุตสาหกรรมโดยผ่านการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโมเดลธุรกิจ ที่มีนวัตกรรมสูงและมีการแข่งขันสูงเพื่อแข่งขันในโลกดิจิทัลโลกที่หนึ่ง
  • Special Award for Smart Cities – Best in Citizen Wellbeing: รางวลัพิเศษสำหรับเมืองอจัฉริยะ – ดีที่สุดในด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง จะมอบให้แก่องค์กรที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่โดดเด่นในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งส่งผลให้เกิดการเข้าถึงที่มากขึ้นทั้งในด้าน บริการด้านสุขภาพ ระบบการศึกษาที่ไร้รอยต่อ และการเข้าถึงบริการของภาครัฐให้แก่ประชาชนโดยไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใด
  • Special Award for Smart Cities – Best in Connected City: รางวัลพิเศษสำหรับเมืองอัจฉริยะ – ดีที่สุดในด้านการเชื่อมต่อ จะมอบให้แก่องค์กรที่ดีที่สุดในการเชื่อมต่อบริการต่างๆ ให้กับประชาชนในสภาพแวดล้อมเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องและศักยภาพเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพในการให้บริการแก่ประชาชน
  • Special Award for Smart Cities – Best in Digital Policies: รางวัลพิเศษสำหรับเมืองอัจฉริยะ – ดีที่สุดในด้านนโยบายทางดิจิทัล นโยบายทางดิจิทัลในสภาพแวดล้อมเมืองอัจฉริยะ หมายถึง แง่มุมกฎระเบียบที่กำหนดและควบคุมการดำเนินการทางบริหารที่เปิดใช้บริการต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล รางวัลนี้จะมอบให้แก่องค์กรที่มีระบบแนวทางดังกล่าวที่ดีที่สุด โดยมีการยึดมั่นการปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด และมีการควบคุมการบริหารจัดการที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจที่ครอบคลุมมากขึ้น
การเสนอชื่อทั้งหมดจะต้องส่งภายในหรือก่อนวันที่ 16 มิถุนายน 2023 ส าหรับทุกประเภท การเสนอชื่อเปิดให้แก่องค์กรผู้ใช้ปลายทางทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การเสนอชื่อโดยบุคคลที่สามจะต้องมีรายละเอียดการติดต่อที่เกี่ยวข้องขององค์กรที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อให้การประเมินเสร็จสมบูรณ์ โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ ที่นี่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์การเสนอชื่อ
 
Future Enterprise Awards ของ IDC ดำเนินการตามแนวทางสองขั้นตอนเพื่อตัดสินผู้ชนะระดับประเทศและระดับภูมิภาค การเสนอชื่อแต่ละครั้งจะได้รับการประเมินโดยทีมนักวิเคราะห์ของ IDC ในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค โดยเทียบกับกรอบการประเมินมาตรฐานตามอนุกรมวิธาน Future Enterprise ของ IDC ผู้ชนะทุกประเทศจะมีคุณสมบัติเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาคโดยคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งประกอบด้วยนักวิเคราะห์ของ IDC ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม ผู้นำทางความคิด และนักวิชาการทั่วโลก
 
ปีที่แล้ว IDC Future Enterprise Awards มีผู้เสนอชื่อทั้งหมด 1,071 รายการ จากองค์กรผู้ใช้ปลายทาง 707 แห่งทั่วเอเชีย/แปซิฟิก โดยผู้ได้รับรางวัล IDC’s Future Enterprise Award สำหรับประเทศไทย ในปี 2565 ได้แก่: ยูโอบีประเทศไทย, เอไอเอ ประเทศไทย, โบลท์เทค, บริษัท มันนิกซ์จำกัด, บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด, บริษัท เดอะวันเซ็นทรัล จำกัด, บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), คุณ Piyasak Ukritnukun จาก บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน), คุณ Attapol Sinchalong จาก บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด, ธนาคารกสิกร
 
รางวัลผู้ชนะ IDC Future Enterprise Awards ระดับภูมิภาคจะประกาศที่ IDC DX Summit 2023 Asia/Pacific ณ ประเทศสิงคโปร์ และสตรีมสดผ่านเว็บไซต์ IDC Arena ศูนย์กลาง Virtual Events ของ IDC โดย IDC DX Summit Series จะเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงตุลาคม 2566 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idcdxawards.com

from:https://www.techtalkthai.com/idc-opens-nominations-for-the-7th-future-enterprise-awards-for-thailand/

[IDC] ตลาด Tablet ปี 2022 ลดลงเพียงเล็กน้อย แม้หมดช่วงโควิด ส่วน Chromebook ลดลงหนัก

บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานภาพรวมการส่งมอบแท็บเล็ตและ Chromebook ในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 โดยแท็บเล็ตมีจำนวนส่งมอบ 45.7 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ถ้าดูตัวเลขรวมตลอดปี 2022 จำนวนส่งมอบจะลดลง 3.3% ซึ่งเป็นตัวเลขลดลงหลังจาก 2020-2021 มีการเติบโตสูง เป็นผลจากโควิด 19

Chromebook ตัวเลขมีการปรับลดลงที่รุนแรงกว่า เฉพาะไตรมาส 4/2022 จำนวนส่งมอบ 3.6 ล้านเครื่อง ลดลง 24.3% และตัวเลขตลอดปี 2022 ลดลง 48% ซึ่งลดลงมาก เมื่อเทียบกับปี 2021 ที่เติบโตถึง 180.5%

นักวิเคราะห์ของ IDC ให้ความเห็นว่าแม้สภาพตลาดจะปรับทิศทาง แต่แท็บเล็ตยังได้ประโยชน์จากราคาที่เข้าถึง และการใช้งานที่ง่ายกว่า จึงไม่ได้ปรับลดลงมากนะ ส่วน Chromebook นั้น ภาพตลาดชัดเจนมากขึ้นว่าอยู่ที่กลุ่มการศึกษา จึงต้องรอเข้าสู่ช่วงโรงเรียนเปิด

ส่วนแบ่งตลาดแท็บเล็ตตลอดปี 2022 แอปเปิลครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ที่ 61.8 ล้านเครื่อง (38.0%) ตามด้วยซัมซุง (18.6%), Amazon (9.8%), Lenovo (7.1%) และ Huawei (5.6%) ขณะที่ตลาด Chromebook นั้น Acer ครองตลาดมากที่สุด 4.2 ล้านเครื่อง (22.0%) ตามด้วย Dell (21.3%), Lenovo (19.5%), HP (18.4%) และ ASUS (6.8%)

ที่มา:

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132506

[IDC] ยอดขายสมาร์ทโฟนปี 2022 หดตัวหนัก 11.3% ทุกแบรนด์ยอดขายลดลงถ้วนหน้า

IDC ประกาศยอดขายสมาร์ทโฟนไตรมาส 4/2022 ภาพรวมยอดขายลดลง 18.3% จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อ ทุกแบรนด์ล้วนยอดขายลดกันถ้วนหน้า โดย Xiaomi เป็นบริษัทที่ยอดขายลดลงเป็นเปอร์เซนต์สูงที่สุด 26.3%

อันดับหนึ่งแอปเปิล ได้แรงช่วยจาก iPhone 14 ทำให้ขึ้นอันดับหนึ่งในไตรมาส 4 ตามธรรมเนียม ยอดขาย 72.3 ล้านเครื่อง ลดลง 14.9% จากยอดขายไตรมาส 4/2021 ที่ขายได้ 85 ล้านเครื่อง

อันดับสองซัมซุง 58.2 ล้านเครื่อง (-15.6%) อันดับสาม Xiaomi 33.2 ล้านเครื่อง (-26.3%) อันดับสี่ Oppo 25.3 ล้านเครื่อง (-18.9%) อันดับห้า Vivo 22.9 ล้านเครื่อง (-18.9%)

No Description

หากคิดยอดขายรวมตลอดปี 2022 ภาพรวมขายได้ 1.205 พันล้านเครื่อง ลดลง 11.3% ถือว่าลดระดับกลับลงไปอยู่เท่ากับยอดขายปี 2013 โน่นเลย

อันดับหนึ่งซัมซุง 260.9 ล้านเครื่อง (-4.1%) อันดับสองแอปเปิล 226.4 ล้านเครื่อง (-4%) อันดับสาม Xiaomi 153.1 ล้านเครื่อง (019.8%) อันดับสี่ Oppo 103.3 ล้านเครื่อง (-22.7%) อันดับห้า Vivo 99 ล้านเครื่อง (-22.8%)

No Description

IDC ประเมินว่ายอดขายปี 2023 จะยังแย่ต่อไป และน่าจะเริ่มฟื้นกลับมาได้ อาจต้องรอช่วงปลายปี 2023 เลย ปีนี้เราจะเห็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนปรับยุทธศาสตร์สินค้ากันใหม่ และปรับปรุงเรื่องสต๊อกสินค้าไม่ให้มีส่วนเกินมากเกินไป ฝั่งของผู้บริโภคน่าจะเห็นโปรโมชั่นจูงใจ รวมถึงแคมเปญเครื่องเก่ามาแลกซื้อเครื่องใหม่กันมากขึ้นด้วย

ที่มา – IDC

from:https://www.blognone.com/node/132410

[IDC] ตลาดสมาร์ทโฟนมือสองและ Refurbished แนวโน้มเติบโตสูง เฉลี่ย 10.3% ต่อปี

บริษัทวิจัยตลาด IDC รายงานและพยากรณ์ตลาดสมาร์ทโฟนมือสอง รวมถึงเครื่อง Refurbished (ใช้ฮาร์ดแวร์ใหม่บางส่วน) จากจำนวนเครื่องขายได้ 282.6 ล้านเครื่อง ในปี 2022 จะเพิ่มเป็น 413.3 ล้านเครื่อง ในปี 2026 คิดเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตปีละ 10.3%

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดสมาร์ทโฟนมือสองเติบโต คือโครงการนำเครื่องเก่ามาเป็นส่วนลดแลกซื้อเครื่องใหม่ (Trade-In) ของผู้ผลิตมือถือตลอดจนผู้ให้บริการ ซึ่งแนวทางนี้ทำมานานแล้วในอเมริกา แคนาดา และยุโรปตะวันตก เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอัพเกรดเครื่อง แต่ยังเป็นรูปแบบที่ใหม่ในหลายประเทศ ซึ่งตอนนี้มีแนวโน้มนิยมกันมากขึ้น

อีกปัจจัยคือราคาสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ที่มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ทำให้คนต้องการอัพเกรดก็มาโครงการ Trade-In เพื่อรับส่วนลด ขณะที่คนต้องการสมาร์ทโฟนใหม่ อาจมองหาแนวทางซื้อเครื่องมือสองแทน ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยเครื่องมือสองเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา: IDC ภาพ Samsung Trade-In

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132254

ตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเติบโต 9.7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในครึ่งแรกของปี 2565 โดยได้แรงหนุนจากการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจ IDC กล่าว

กรุงเทพฯ 12 มกราคม 2566 – ตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเติบโต 20.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี (YoY) ในครึ่งแรกของปี 2565 เร่งขึ้นจาก 14.5% YoY ในครึ่งหลังของปี 2564 ตามข้อมูลของ International Data Corporation’s (IDC) Worldwide Semiannual Software Tracker องค์กรไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อให้ได้มาซึ่งโมเมนตัมหรือส่วนแบ่งการตลาด สิ่งนี้บังคับให้ธุรกิจต้องคิดใหม่เกี่ยวกับกระบวนการที่มีอยู่ มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแบบเฉพาะบุคคล “ธุรกิจต้องการเครื่องมือเพื่อเอาชนะความท้าทายและอยู่รอดในโลกที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ องค์กรธุรกิจไทยจึงหันมาพึ่งพาซอฟต์แวร์ที่มีราคาย่อมเยา ชาญฉลาด และเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ และบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน” Kavisara Korkong, Market Analyst at IDC Thailand กล่าว

IDC แบ่งตลาดซอฟต์แวร์ออกเป็น 3 ประเภทหลัก โดยรายได้สูงสุดในครึ่งแรกของปี 2565 มาจากแอพพลิเคชั่นที่ 1.34 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.3% YoY ตามด้วยซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานระบบที่ 10,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5% YoY และการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชันที่ 6,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.0% YoY

ตลาดแอปพลิเคชัน: เนื่องจากการสื่อสารเป็นรากฐานที่สำคัญของการทำงานที่มีประสิทธิผล และการทำงานจากระยะไกลกำลังแพร่หลายมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งธุรกิจจึงกลายเป็นความสำคัญสูงสุดในวาระการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรส่วนใหญ่ เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้จ่ายในแอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกันมีการเติบโตสูงสุด (43.0% YoY) ในครึ่งแรกของปี 2565 ในประเทศไทย เมื่อบรรทัดฐานใหม่เปลี่ยนการทำงานแบบเดิมๆ IDC คาดการณ์ว่าแอปพลิเคชันที่ทำงานร่วมกันจะเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเลขสองหลัก และช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานและการทำงานร่วมกัน การผลักดันการมีส่วนร่วมของพนักงานยังคงมีความสำคัญสูงสุด เช่นเดียวกับด้านความปลอดภัยเมื่อจัดเก็บเอกสาร แชร์ไฟล์ จัดการประชุม หรือส่งข้อความภายในและภายนอก

ตลาดซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานของระบบ: เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ พึ่งพาแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบความพร้อมใช้งานด้านไอที เพิ่มประสิทธิภาพด้านไอที รวมถึงการใช้ทรัพยากรการประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์อย่างเหมาะสม ด้วยจำนวนของ IT Objects ที่เพิ่มขึ้น การทำให้มั่นใจว่าระบบและบริการด้านไอทีไม่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นเรื่องยากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพด้านไอทีที่ต่ำส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า องค์กรต่างๆ จึงต้องการเครื่องมือในการจัดการระบบและบริการ ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ตลอดจนปรับราคาให้เหมาะสมสำหรับการจัดการบริการ ดังนั้นซอฟต์แวร์การจัดการระบบและบริการจึงเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบเป็นรายปีที่ 24.5% ในครึ่งแรกของปี 2565

จากการสำรวจซอฟต์แวร์ในเอเชีย/แปซิฟิกประจำปี 2565 ของ IDC พบว่า 90% ขององค์กรไทยได้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อย่างน้อยหนึ่งรายการ ซึ่งนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในขณะที่ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางดิจิทัลมากขึ้น ความเสี่ยงทางไซเบอร์ก็เพิ่มมากขึ้น ธุรกิจต่างๆ ตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ ตลาดเห็นการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น 22.5% YoY ในครึ่งแรกของปี 2565 ไอดีซีคาดว่าจะเห็นการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรูปแบบการโจมตีและภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีความซับซ้อนมากขึ้น

ตลาดการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชัน: เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลมากขึ้น องค์กรไทยเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ปรับแต่งได้ การใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อการใช้ข้อมูลที่ดีขึ้นได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรในการลดความซับซ้อนของการตัดสินใจ ลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน การใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม AI เติบโตสูงสุด (41.7% YoY) ในตลาดการพัฒนาแอปพลิเคชันและการปรับใช้ในครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งบ่งชี้ถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากองค์กรในไทย ไอดีซีคาดว่าจะเห็นการลงทุนด้านเอไอในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการสร้างสรรค์บริการและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่โดยใช้พลังของเอไอ

ที่มา : https://www.idc.com/getdoc.jsp?containerId=prAP50036723

from:https://www.techtalkthai.com/software-market-in-thailand-grows-9-7-percent-year-over-year-in-the-first-half-of-2022/

ตลาดพีซีไตรมาส 4/2022 ยอดขายรวมยังคงลดลงต่ออีกไตรมาส ที่ระดับ 28-29%

สามบริษัทวิจัยตลาด IDC, Canalys และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2022 โดยทั้งสามบริษัทให้ตัวเลขทิศทางเหมือนกัน นั่นคือยอดขายพีซีในไตรมาสยังคงลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2021 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 4

โดยยอดขายภาพรวม IDC ประเมินที่ 67.2 ล้านเครื่อง ลดลง 28.1%, Canalys 65.4 ล้านเครื่อง ลดลง 29%, Gartner 65.3 ล้านเครื่อง ลดลง 28.5%

Mikako Kitagawa นักวิเคราะห์จาก Gartner มองว่าลูกค้าส่วนใหญ่ได้ซื้อพีซีใหม่ไปแล้วตั้งแต่ช่วงโควิด 19 ระบาด รวมกับปัญหาเศรษฐกิจในภาพใหญ่ ตลอดจนเงินเฟ้อ จึงกระทบทำให้ความต้องการพีซีเครื่องใหม่ลดลง

ส่วนแบ่งยอดขายแยกตามผู้ผลิต ในอันดับที่ 1-5 เหมือนกันทั้งสามบริษัทวิจัยนั่นคือ Lenovo, HP, Dell, Apple และ ASUS ตามลำดับ โดยทุกรายมียอดขายที่ลดลงทั้งหมด โดยมีแอปเปิลที่ลดลงน้อยกว่ารายอื่นคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เลขหลักเดียว ส่วนรายอื่นเป็นจำนวนลดลงระดับสองหลัก

ที่มา: IDC, Canalys และ Gartner

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132230

เทคโนโลยีที่ต้องจับตาแห่งปี 2023 สำหรับทุกธุรกิจในภูมิภาค ASEANZK โดย IBM และ IDC

เรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องติดตามเทรน์เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบโลกอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และกระบวนการทำงานภายในองค์กรได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเรื่องความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่เกิดขึ้นมากมาย จนทำให้เกิดวิกฤตขึ้น อันส่งผลกระทบไปกับทุกคนบนโลกนี้เป็นที่เรียบร้อย

บทความนี้ คือเทรนด์จากงานสัมมนา “Top Tech Trends for ASEANZK Businesses in 2023” ที่จัดขึ้นโดยทาง IBM และ IDC โดยผู้บรรยายอันทรงคุณวุฒทั้งสามท่านอันได้แก่ นางซานดร้า อึ้ง Group Vice President and General Manager ของ IDC APJ Research, นายแดเนียล โซอี้ จิเมเนซ Vice President ของ IDC AP Research และนายพอล เบอร์ตัน ซีอีโอของไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค ที่ทั้งสามได้มาพูดคุยและชี้ให้เห็นถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจในภูมิภาค ASEANZK ต้องจับตาในปี 2023 จากมุมมองของ IBM และ IDC ที่เชื่อว่าพลาดไม่ได้เลยทีเดียว

ความเคลื่อนไหวและแนวโน้มสำคัญ

การสัมมนาเริ่มต้นด้วยภาพรวมความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อธุรกิจ โดยนางซานดร้า อึ้ง Group Vice President and General Manager ของ IDC APJ Research กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ อันเป็นผลพวงจากการเร่งเครื่องดิจิทัลทั่วโลก และในภูมิภาคของเรา ในช่วงเวลาสามปี [ที่ผ่านมา] และคุณลักษณะที่กำหนดยุคใหม่นี้คือ ‘Contextualization’ และ ‘Real Time at Scale’ และนี่เป็นสิ่งที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรในการขับเคลื่อนยุคดิจิทัลยุคใหม่นี้”

นางซานดร้าระบุว่า “มากกว่า 60% ของการใช้จ่ายทั้งหมดมาจากเทคโนโลยีที่สนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน หากเราคิดถึงโครงการต่าง ๆ ที่องค์กรชะลอไว้ ก็น่าจะมีเพียงโครงการที่สร้างอิทธิพลในมุมธุรกิจดิจิทัลได้น้อย”

 นางซานดร้า อึ้ง Group Vice President and General Manager ของ IDC APJ Research

ทั้งนี้ นางซานดร้าได้เผยถึงการคาดการณ์ทางธุรกิจ ประกอบด้วย

·   ภายในปี 2569 40% ของรายได้ทั้งหมดขององค์กร A2000 [หรือองค์กรชั้นนำ 2,000 แห่งในเอเชีย] จะมาจากผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ดิจิทัล

·   ภายในปี 2570 80% ขององค์กรจะสามารถระบุมูลค่าของขีดความสามารถ/สินทรัพย์ดิจิทัลของตนได้อย่างถูกต้อง (ข้อมูล อัลกอริธึม และโค้ดซอฟต์แวร์) และจะทำให้มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

·   ภายในปี 2567 30% ขององค์กรจะมีกลยุทธ์บริหารภาวะวิกฤติและความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ครอบคลุม Intelligence และช่วยรับมือวิกฤติเศรษฐกิจและดิสรัปชันในอนาคตได้อย่างคล่องตัวว่องไว

·   ในปี 2566 การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขององค์กรในเอเชียแปซิฟิคจะเติบโต 3.5 เท่าของเศรษฐกิจ วางรากฐานสู่การดำเนินการเป็นเลิศ ความแตกต่างทางการแข่งขัน และการเติบโตในระยะยาว

5 เทรนด์สำคัญที่ต้องจับตาในปี 2566

5 เทรนด์สำคัญจากงานสัมมนา “Top Tech Trends for ASEANZK Businesses in 2023” โดยไอบีเอ็ม ร่วมด้วยไอดีซี ผู้ให้บริการชั้นนำด้านการวิจัยและคำแนะนำด้านไอทีระดับโลก 

เทรนด์ที่ 1: Automation อัจฉริยะที่เชื่อมโยงระบบทั่วทั้งองค์กรจะเป็นกุญแจสำคัญของธุรกิจ

วันนี้องค์กรลงทุนมหาศาลในเทคโนโลยี Automaiton แต่โครงการ AI และ Automaiton จำนวนมากกลับไม่ประสบความสำเร็จ โดยนางซานดร้ามองว่าเพราะ “เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำไปใช้แบบไซโลเป็นส่วนใหญ่”

นายแดเนียล โซอี้ จิเมเนซ Vice President ของ IDC AP Research อธิบายว่าองค์กรจำเป็นต้องย้ายตัวเองจากการใช้ RPA และ Automation แบบ Rule-based ซึ่งมักจะถูกใช้เจาะจงเฉพาะกับแต่ละกระบวนการ ไปสู่การผสานความอัจฉริยะทั่วทั้งกระบวนการและภาระงาน ที่ครอบคลุมทีมต่าง ๆ หรือทั่วทั้งองค์กร

นายพอล เบอร์ตัน ซีอีโอของไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค

นายพอล เบอร์ตัน ซีอีโอของไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค มองว่า “Automation จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุก็เพราะในแง่ประชากร จะมีคนในตลาดงานน้อยลง คนทำงานน้อยลง และคนที่อยู่ในตลาดงานก็อาจไม่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ automation จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก”

“เพราะเหตุใดโครงการ Automation ถึงไม่ประสบผล คำตอบคือองค์กรใช้ Automation ในลักษณะไซโลไม่เชื่อมต่อกัน องค์กรต้องมองกว้างขึ้น ต้องเริ่มที่กระบวนการ และวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่หาได้ในวันนี้”

เทรนด์ที่ 2: การเชื่อถือข้อมูลที่มีอยู่และความจำเป็นสูงสุดในการสามารถ Integrate ข้อมูลได้จากทุกแหล่ง

​นางซานดร้ากล่าวว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับ AI, Analytics และ Big Data ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเติบโตถึง 20% เมื่อเทียบปีต่อปี

นายพอลมองว่า “ถ้าองค์กรไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ องค์กรก็จะไปได้ไม่ไกล หากองค์กรไม่มีสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ดี ไม่มี data fabric ที่ดี ไม่มีความสามารถในการดึงข้อมูลเพื่ออนุมาน และทำการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ก็เท่ากับองค์กรนั้นไม่ได้เรียนรู้อะไร”

วันนี้ “องค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เร็วที่สุด เรียนรู้และวิวัฒนาการได้เร็วที่สุด และเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการแปลข้อมูล 100% และการเรียนรู้จากข้อมูล ดังนั้นองค์กรไม่ว่าในอุตสาหกรรมใดก็ตามต้องมีสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ดี ใช้ Data Fabric เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในทุกแหล่งได้”

ทั้งนี้ นายพอลมองว่าทางเดียวที่องค์กรจะสามารถรับมือกับข้อมูลที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วคือการนำ AI มาใช้ อย่างเช่น Cloud Pak for Data โดยปัจจัยที่องค์กรควรพิจารณาถึง ประกอบด้วย

  • ความน่าเชื่อถือของข้อมูล นางซานดร้าระบุว่า “เมื่อถึงระดับหนึ่ง องค์กรต้องจัดการข้อมูลและ (วิธีการที่องค์กร) เทรนชุดข้อมูล ต้องมั่นใจว่าครอบคลุมสังคมและกลุ่มคนอย่างเหมาะสม” ทั้งนี้ หาก “ข้อมูลที่ API เทรนมีชุดข้อมูลของประชากรเพียงบางกลุ่ม อัลกอริธึมก็จะได้รับการเทรนเฉพาะสิ่งที่แสดงในชุดข้อมูลนั้น”
  • Integration และ Workflow เชื่อมโยงทั่วทั้งองค์กร ซึ่งนางซานดร้าระบุว่า “Data Flow กลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ หากองค์กรต้องการ Scale”​ โดยนายพอลอธิบายเพิ่มเติมว่าองค์กรต้องการพื้นฐานทางข้อมูลที่ดี ข้อมูลที่ถูกต้อง สถาปัตยกรรมที่ใช่ รวมถึง “Data Fabric” ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถอินทิเกรทข้อมูลจากทั่วทั้งองค์กรเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจด้านการดำเนินการได้ โดย Data Fabric คือเครื่องมือที่จะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้ผ่าน API เดียวและแหล่งข้อมูลเดียว”

เทรนด์ที่ 3: Cybersecurity ที่ฝังตัวและเชื่อมต่อทั่วทั้ง Ecosystem

นางซานดร้ากล่าวว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมา จำนวนออนไลน์และ Mobile Scam เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค ธนาคารต่าง ๆ ได้ลงทุนจำนวนมากในแง่กระบวนการ เทคโนโลยี และคน เพื่อบริหารจัดการ Security และช่วยให้เป็นไปตามกฎของหน่วยงานกำกับดูแลทั่วทั้งภูมิภาค ยิ่งเมื่อภาครัฐและรัฐบาลเพิ่มการนำออนไลน์และ Mobile มาใช้มากขึ้นในบริการที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ยิ่งเป็นจุดที่อาจเพิ่มโอกาสในการถูกโจมตี โดยในช่วงสามปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพถูกจับตาเป็นอย่างมาก เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2563 ผลิตภัณฑ์ Healthcare ปลอมซึ่งรวมถึงวัคซีนโควิด สร้างความสูญเสียถึง 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 การสัมมนายังดังกล่าวได้ชูแนวทางที่องค์กรควรให้ความสำคัญในปี 2566 ประกอบด้วย

  • ความจำเป็นในการให้ความรู้เรื่อง Cybersecurity แก่พนักงานทั่วทั้งองค์กร ที่จะต้องเป็นกระบวนการที่องค์กรทำอย่างต่อเนื่อง
  • การประเมินจุดอ่อนหรือช่องโหว่ โดยนายพอลกล่าวว่า “ทางเดียวที่ [องค์กร] จะสามารถรับมือกับ (ภัยคุกคามไซเบอร์ที่เติบโตขึ้นได้) คือการนำ AI หรือ Automation มาใช้” เพื่อช่วยตรวจจับและช่วยให้เข้าใจเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะ “องค์กรไม่สามารถหยุดการโจมตีของอาชญากรได้ แต่สามารถตรวจจับและคาดการณ์ได้ว่าเหตุข้อมูลรั่วหรือการโจมตีจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เมื่อทราบแล้วก็สามารถดำเนินการเพื่อแก้ไข”
  • ระบบ Security ที่เชื่อมต่อกัน: นางซานดร้ากล่าวว่า “เมื่อผนวก Analytics เข้ากับระบบแล้ว (องค์กร) จะมีชั้นแรกของการป้องกัน ต่อจากนั้น (องค์กร) ต้องร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีในการเพิ่มความสามารถที่ตนเองไม่มี”
  • กลยุทธ์ Security Zero trust ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่ม Cyber Resiliency และบริหารความเสี่ยงอันเกิดจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เชื่อมต่อกันได้ ในช่วงต้นปี รัฐบาลสหรัฐได้กำหนดการใช้สถาปัตยกรรม Zero Trust โดยทุกหน่วยงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานด้าน Security นี้ภายในปี 2567 แน่นอนว่าระเบียบข้อบังคับที่กำหนดใช้ที่สหรัฐอเมริกาย่อมส่งผลให้องค์กรและเวนเดอร์ต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวไปด้วย

เทรนด์ที่ 4: ความยั่งยืนคือเรื่องที่ทุกองค์กรต้องทำ

นายพอลระบุว่า เทคโนโลยีอย่าง Automation ช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการเลือกผลิตเฉพาะสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ และเมื่อผลิตน้อยลง ก็ลดการใช้วัตถุดิบ นี่เป็นสิ่งที่จะมีแรงกระเพื่อมไปทั่วทั้งซัพพลายเชน เพราะเมื่อผลิตน้อยลง ก็ใช้พลังงานน้อยลง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง

นายแดเนียลกล่าวว่า Data Center ใช้พลังงานไฟฟ้า 2% ทั่วโลก และก่อให้เกิด Carbon Footprint ทั่วโลก 6-7% เฉพาะในสิงคโปร์ นำสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าราว 7%

กุญแจสำคัญในก้าวต่อไปของความยั่งยืน คือการที่องค์กรสามารถวัด Carbon Footprint จากการดำเนินงานของตนได้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้องควบคุมหรือมีมาตรการอย่างไร

นายพอลกล่าวว่า องค์กรไม่มีทางที่จะรู้ว่าตนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใดหากไม่มีการวัดที่เป็นมาตรฐาน โดยวันนี้ไอบีเอ็มได้นำโซลูชันอย่าง Envizi เข้าช่วยองค์กร Automate การรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลายร้อยประเภท โดยอิงตามเฟรมเวิร์คการรายงาน ESG ตามหลักสากล

“วันนี้องค์กรที่ไม่มีรากฐานข้อมูลที่ดี ไม่มีสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ดี ไม่มี Data Fabric และไม่สามารถ Integrate ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์สกอร์การ์ด ESG ของตนได้ ถือว่าองค์กรนั้นเสียเปรียบ”

เทรนด์ที่ 5: พนักงานดิจิทัลและบุคลากรแห่งอนาคต

นายพอลกล่าวว่า “วันนี้บุคลากรมีน้อยลง และเมื่อพิจารณาจากจำนวนที่มีอยู่ คนที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันยิ่งน้อยลงไปอีก เรื่องนี้เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา” ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม Automation จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยเป็นตัวช่วยให้องค์กรสามารถออโตเมทภาระงานซ้ำๆ ได้

ในการสัมมนา ยังได้มีการพูดถึงสิ่งที่ต้องทำสามเรื่อง ประกอบด้วย

  • องค์กรต้องจริงจังกับการเพิ่มทักษะให้กับพนักงานที่มีอยู่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าใจวัฒนธรรมและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์กรอยู่แล้ว
  • Automation จะเป็นตัวช่วยปิดช่องว่างเรื่อง Talent โดยนางซานดร้าระบุว่า “ในปี 2566 Automation จะเป็นแนวทางที่องค์กรเลือกใช้เพื่อผลักดันและก้าวข้าม หรือลดช่องว่างเรื่องทาเลนท์ในองค์กร”
  • พนักงานดิจิทัลและบทบาทของเทคโนโลยีในการสนับสนุนบุคลากร เราจะเริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นของ ‘พนักงานดิจิทัล’ ที่นำ AI และ Automation มาช่วย Automate ภาระงานซ้ำ ๆ และเป็นที่ปรึกษาที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ

นายพอลมองว่า “เราต้องมองความเป็นจริงในทางบวก ว่า Automation ไม่ได้นำสู่การลดจำนวนงาน แต่เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยเสริมขีดความสามารถของมนุษย์ งานในอนาคตจะตกเป็นของคนที่เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกันในแง่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น ปริมาณและการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลกำลังเพิ่มขึ้น ข้อมูลจะเติบโตอย่างรวดเร็วเท่าทวี และคนจะไม่สามารถก้าวทันได้ ทางเดียวที่จะช่วยรับมือข้อมูลได้คือการใช้ AI”

ทิ้งท้ายเรื่องที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปี 2566

นายพอลได้ทิ้งท้ายถึงสามเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องให้ความสำคัญในปี 2566

  • การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจ (Business Velocity) ซีอีโอมองถึงการที่ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายถึงทำให้การดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น และมีความคลาดเคลื่อนน้อยลง และ Automation คือตัวช่วยหนึ่งเดียวที่จะทำสิ่งนี้ให้เป็นจริง
  • การลดต้นทุน วันนี้มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้ออย่างรุนแรง การที่มีแรงงานน้อยลงแปลว่าค่าแรงเพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงภาวะเงินเฟ้อก็จะเพิ่มขึ้น และนี่คือสิ่งที่ซีอีโอต้องเผชิญ แนวทางเดียวที่จะช่วยลดปัญหาจากภาวะเงินเฟ้อ (ตามที่คุณซานดร้าชี้ประเด็นไว้) คือการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย และการใช้ Automation ก็นำสู่การลดต้นทุนได้ด้วยเช่นกัน
  • การยืดหยุ่นฟื้นตัวไว (Resilience) องค์กรธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐต้องคิดในภาพใหญ่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทางเทคโนโลยี และไม่จำกัดตัวเองอยู่ในกล่องที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนตามโลกได้ทัน เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าโลกกำลังเปลี่ยนไป

from:https://www.techtalkthai.com/top-tech-trends-to-watch-in-2023-for-all-businesses-in-the-aseanzk-by-ibm-and-idc/

เชิญร่วมงาน Fuelling Innovation with Opensource Database Transformation (10 พ.ย.นี้)

องค์กรต่างๆ ในแถบ APAC กำลังปฏิบัติการด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วยการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และผู้ใช้งานเองก็ต้องการให้บริษัทจัดหาแนวทางด้านดิจิทับในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และเซอร์วิสให้ง่ายขึ้น บริษัทวิจัย IDC ได้เปิดเผยว่าหนึ่งในความสำเร็จของการทำธุรกิจด้านดิจิทัลก็คือการใช้กลยุทธ์ด้านข้อมูลแบบอัจฉริยะเพื่อสร้างการประสบการณ์ดีกว่า

และในการนี้ทาง IDC จึงได้ร่วมมือกับทาง EDB เพื่อจัดงาน Webinar โดยจะมีผู้บริหารระดับสูงของทาง IDC และ EDB ไม่ว่าจะเป็นคุณ Byron Connolly, คุณ Linus Lai, คุณ Willam McDonald จาก EDB และคุณ Ajit Gadge จากทาง EDB มาร่วมแบ่งปันข้อมูล

กำหนดการ

วัน : พฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565
เวลา : 09:30 – 10:30 น. (เวลาประเทศไทย)
ช่องทางการบรรยาย : Webcast (GotoWebinar)
ภาษาในการบรรยาย : ภาษาอังกฤษ
วิทยากรผู้บรรยาย : วิทยากรจากทาง IDC และ EDB

สิ่งที่ท่านจะได้ทราบเกี่ยวกับงานสัมมนาครั้งนี้

– ปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
– เทคโนโลยีด้านโอเพ่นซอร์ส สำหรับการกรุยทางสู่โลกดิจิทัล
– กลยุทธ์ในการจัดการข้อมูลยุคใหม่
– คุณลักษณะของนักนวัตกรรมดิจิทัล

ท่านที่สนใจ สามารถลงทะเบียนได้ที่ Link ข้างล่างนี้

https://bit.ly/3E7NzfS

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/fuelling-innovation-with-opensource-database-transformation/

IDC : การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เนื่องจากองค์กรต่างๆ เปิดรับ Digital-First Era และความกังวลเรื่อง Digital Sovereignty ที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาค – IDC กล่าว

กัวลาลัมเปอร์ 27 ตุลาคม 2565 – ในขณะที่องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปิดรับแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังคงเป็นพื้นที่การลงทุนที่มีลำดับความสำคัญสูงสำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค ผลการสำรวจจาก IDC Asia/Pacific Security Sourcing Survey 2022 ล่าสุดระบุว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นพื้นที่การลงทุนที่สำคัญสำหรับองค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพวกเขาต้องการจัดหาจากผู้ให้บริการบุคคลที่สาม

“การนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้และความทันสมัยของแอปพลิเคชันทางธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายเป็นจุดเด่นของยุคดิจิทัลที่หนึ่ง ซึ่งยังเพิ่มพื้นผิวการโจมตีอย่างมีนัยสำคัญสำหรับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนั้นธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะหันไปหาพันธมิตรด้านความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เพื่อขอคำแนะนำ การใช้งานและการจัดการการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเพื่อปรับปรุงท่าทางการรักษาความปลอดภัยของพวกเขา” James Sivalingam ผู้จัดการโครงการอาวุโสของ IDC Asia/Pacific กล่าว

จากการสำรวจเดียวกันนี้ การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายกลายเป็นจุดสนใจด้านความปลอดภัยสูงสุดในกลุ่มธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากองค์กรต่างๆ ปรับใช้การตั้งค่า IT แบบกระจายและหลากหลายมากขึ้น การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ตามมาด้วยการดำเนินการด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ ซึ่งบ่งชี้ว่าองค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความก้าวหน้าไปตามเส้นทางการเปลี่ยนแปลงระบบคลาวด์ และขณะนี้กำลังมุ่งเน้นไปที่การรักษาความปลอดภัยข้อมูลและปริมาณงานบนคลาวด์

ในปี พ.ศ. 2564 องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้จ่ายไปกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ (บริการ ซอฟต์แวร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า) มีมูลค่าถึง 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ CAGR ห้าปี 13.6% เป็น 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569

ในขณะเดียวกัน จากผลสำรวจ Future Enterprise Resiliency and Spending Survey 2022, Wave 4 (พฤษภาคม 2022) ระบุว่า 67% ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าพวกเขากำลังทำการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยในกลยุทธ์ด้านไอทีเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอธิปไตยทางดิจิทัล IDC กำหนดอำนาจอธิปไตยดิจิทัลเป็นความสามารถในการกำหนดตนเองทางดิจิทัลโดยรัฐ บริษัท หรือบุคคล

จากการหยุดชะงักของธุรกิจและการดำเนินงานที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลก องค์กรต่าง ๆ มีความกังวลเกี่ยวกับอธิปไตยทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

“ด้วยการควบคุมเทคโนโลยีพื้นฐานที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานและสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน และซอฟต์แวร์มากขึ้น องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงพยายามปกป้องความต่อเนื่องทางธุรกิจ” Sivalingam กล่าวเสริม

กฎระเบียบเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของข้อมูลและการควบคุมถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะมีอิทธิพลต่อการลงทุนด้านเทคโนโลยีขององค์กรและการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจอันเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับอธิปไตยทางดิจิทัล นอกจากนี้ เนื่องจากข้อกังวลเดียวกัน ธุรกิจในภูมิภาคได้ระบุความต้องการผู้ขายในท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ซึ่งอาจให้โอกาสใหม่แก่ผู้ขายในท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ผู้จำหน่ายเหล่านี้จึงอาจจำเป็นต้องขยายและขยายขีดความสามารถอย่างมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น

from:https://www.techtalkthai.com/idc-asean-cybersecurity-shifting-mindset-in-southeast-asia/