คลังเก็บป้ายกำกับ: EEC

รัฐบาลอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใน EEC และลำพูน 2 โครงการ กว่า 6 พันล้านบาท

ครม. อนุมัติแล้ว! จัดซื้อที่ดินจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ระยอง และลำพูน รวม 2 โครงการกว่า 6
พันล้านบาท

Thailand Worker Construction แรงงาน ก่อสร้าง
ภาพจาก Shutterstock

1. โครงการแรก จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษตะวันออก (EEC) ที่ตำบลสำนักทอง อำเมืองระยอง จังหวัดระยอง มูลค่าการลงทุน 4,385 ล้านบาท

เป็นที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม มีเนื้อที่ประมาณ 1,482 ไร่ เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ การบินและโลจิสติกส์ หุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ รีไซเคิลกากอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการแพทย์

กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ ผู้ประกอบการญี่ปุ่น คาดว่าพื้นที่จะถูกขายหรือให้เช่าหมดภายใน 5 ปี หลังก่อสร้างเสร็จ คาดว่าจะเกิดกาารจ้างงานประมาณ 13,920 คน เกิดผลผลิตรวมให้ประเทศด้านต่างๆ มากถึง 1,542.34 ล้านบาท

2. โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ที่ตำบลมะเขือแจ้ และตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มูลค่าการลงทุนราว 2,160 ล้านบาท

เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและคลังสินค้า เนื้อที่ประมารถ 653 ไร่ ที่ดินถนนทางเข้าประมาณ 25 ไร่ เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม แปรรูปอาหาร และ Bio Technology

กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ประกอบการญี่ปุ่น คาดว่าพื้นที่จะถูกขายหรือให้เช่าหมดภายใน 5 ปีหลังก่อสร้างเสร็จ คาดว่าจะเกิดการจ้างงานประมาณ 8,415 คน และเกิดผลิตรวมให้กับประเทศในสาขาต่างๆ มากราว 277.85 ล้านบาท

ที่มา – รัฐบาลไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รัฐบาลอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใน EEC และลำพูน 2 โครงการ กว่า 6 พันล้านบาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/industrial-estate-in-rayong-and-lamphun-of-thailand/

ซิสโก้ร่วมผลักดันศูนย์ STP ตั้งเป้าดึงดูดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาทใน 5 ปี

ซิสโก้ ร่วมมือกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC), แพลนเน็ตคอม และ ซิลิคอนเทคพาร์ค (STP) สร้างการเชื่อมต่อดิจิทัลที่ปลอดภัยที่เป็นรากฐานให้กับ “ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง” ในพื้นที่โครงการ EEC Silicon Tech Park (EEC STP) เพื่อเปิดโอกาสให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ

นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า กล่าวว่า “อนาคตของสมาร์ทซิตี้ในประเทศไทยต้องอาศัยเครือข่ายที่ปลอดภัยเป็นแกนหลัก เนื่องจากอุปกรณ์ ข้อมูล และแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อกันเป็นรากฐานของบริการสมาร์ทซิตี้ ซิสโก้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอีโคซิสเต็มส์ภายใต้โครงการ Cisco’s Country Digital Acceleration (CDA) เพื่อนำอนาคตของการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยมายังผู้อาศัย และธุรกิจต่างๆ ใน EEC Silicon Tech Park และเปิดโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

EEC Silicon Tech Park ได้รับการขนานนามว่าเป็น “Silicon Valley of the East” แห่งต่อไป โดยคาดว่าจะเป็นย่านที่มีชีวิตชีวาและไม่หยุดนิ่งผ่านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และพื้นที่อยู่อาศัยในเมืองที่ยั่งยืน สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจแบบ value-based ที่สนับสนุนโดยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยคาดว่าจะดึงดูดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท (61.97 พันล้านดอลลาร์) ในเขตอุตสาหกรรมตะวันออกของประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า

Cisco Network Convergence System (NCS) 5500 Series นำเสนอ port density ที่มีแบนด์วิดธ์ความเร็วสูงถึง 100 GbE และ 400 GbE ซึ่งนับเป็นความเร็วระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม ช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถจัดการกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำลังขยายตัวทั่วโลก และรองรับทราฟฟิกการรับ-ส่งข้อมูลเครือข่ายคลาวด์ สาธารณะ/ส่วนตัว ที่มีปริมาณมากได้

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/cisco-eec-silicon-tech-park-news-release/

ซิสโก้ขับเคลื่อนการเชื่อมต่อดิจิทัลที่ปลอดภัยให้กับซิลิคอนเทคพาร์ค Innovation Hotspot แห่งต่อไปของประเทศไทย [Guest Post]

“Silicon Valley of the East” จะใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ปลอดภัย
ของซิสโก้ เพื่อทดสอบนวัตกรรมใหม่ ๆ และส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

กรุงเทพฯ – 16 ธันวาคม 2565 – ซิสโก้ ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนอินเทอร์เน็ตร่วมมือกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC), แพลนเน็ตคอม และ ซิลิคอนเทคพาร์ค (STP) สร้างการเชื่อมต่อดิจิทัลที่ปลอดภัยที่เป็นรากฐานให้กับ “ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง” ในพื้นที่โครงการ EEC Silicon Tech Park (EEC STP) ความร่วมมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัล” หรือ Cisco’s Country Digital Acceleration (CDA) ของซิสโก้ ในด้านการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ นอกจากจะให้บริการการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลาวด์ที่ปลอดภัยสำหรับพื้นที่โครงการ EEC Silicon Tech Park แล้ว ซิสโก้ยังสนับสนุนนวัตกรรมสำหรับอาคารอัจฉริยะ สมาร์ทซิตี้ การทำงานไฮบริดที่ปลอดภัย และสมาร์ทเวิร์คเพลส อีกด้วย

EEC Silicon Tech Park ได้รับการขนานนามว่าเป็น “Silicon Valley of the East” แห่งต่อไป โดยคาดว่าจะเป็นย่านที่มีชีวิตชีวาและไม่หยุดนิ่งผ่านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และพื้นที่อยู่อาศัยในเมืองที่ยั่งยืน สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจแบบ value-based ที่สนับสนุนโดยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยคาดว่าจะดึงดูดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท (61.97 พันล้านดอลลาร์) ในเขตอุตสาหกรรมตะวันออกของประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า ศูนย์กลางของ EEC Silicon Tech Park คือ “ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง” ซึ่งเป็น Next Frontier ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงที่ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายที่ปลอดภัยและสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความต้องการด้านต่างๆ มากที่สุด (most demanding environments) จึงต้องมีนวัตกรรมในอนาคต

ตั้งแต่การเชื่อมต่อแบบแยกส่วนในอุตสาหกรรมไปจนถึงการเพิ่มความสามารถใหม่ๆ ด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ การเชื่อมต่อเป็นพื้นฐานของนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ ภายใต้โครงการ CDA ซิสโก้ได้สร้างการเข้าถึงเครือข่ายแบบหลายชั้นด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงพิเศษ และการเข้าถึงไวไฟสาธารณะด้วยโซลูชันเชื่อมต่อที่ปลอดภัยรวมถึง Cisco Umbrella และ Ultra-Reliable Wireless Backhaul ในการเชื่อมต่อเสาอัจฉริยะทั่วทั้ง EEC Silicon Tech Park

ขับเคลื่อน Industry 4.0 ด้วยการเชื่อมต่อยุคใหม่

Cisco Network Convergence System (NCS) 5500 Series นำเสนอ port density ที่มีแบนด์วิดธ์ความเร็วสูงถึง 100 GbE และ 400 GbE ซึ่งนับเป็นความเร็วระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม ช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถจัดการกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่กำลังขยายตัวทั่วโลก และรองรับทราฟฟิกการรับ-ส่งข้อมูลเครือข่ายคลาวด์ สาธารณะ/ส่วนตัว ที่มีปริมาณมาก ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบง่าย และมีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อการปรับขนาดขององค์กรขนาดใหญ่ เว็บ และผู้ให้บริการ แพลตฟอร์ม NCS ยังสนับสนุน Segment Routing และ Ethernet VPN ซึ่งเป็นนวัตกรรมซอฟต์แวร์ชั้นนำของตลาดที่สำคัญเพื่อช่วยผู้ให้บริการลดความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมเครือข่าย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนวัตกรรมคลาวด์และเอดจ์ เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตหรือลอจิสติกส์ทั่วไปที่ต้องใช้แบนด์วิธเครือข่ายระดับสูง สิ่งนี้ได้นำความเร็วใหม่มาสู่ธุรกิจ และสนับสนุนประสบการณ์ดิจิทัลในการวางแผน ออกแบบ และทดลองด้วยการพิสูจน์แนวคิด ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับองค์กรต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต องค์กรภาครัฐ นักวางผังเมือง และผู้ให้บริการดิจิทัลจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้ที่ผนวกเข้ากับแอปพลิเคชันที่ใช้งานในชีวิตจริง โดยจะช่วยให้พวกเขาสามารถนำเทคโนโลยี 4.0 มาใช้ในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ได้เป็นอย่างดี

ในการนำแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานในชีวิตจริงจากเทคโนโลยีแบบ next-gen มาสู่ประชาชน ซิสโก้ได้นำเสนอพอร์ตโฟลิโอด้านอาคารอัจฉริยะ สมาร์ทซิตี้ การทำงานแบบไฮบริดที่ปลอดภัย และโซลูชันสำหรับที่ทำงานอัจฉริยะ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ด้านสิ่งแวดล้อม และไฟอัจฉริยะไปจนถึงเครื่องมือจัดการอาคารอัจฉริยะที่ใช้ประโยชน์จากไวไฟเพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเข้าใช้พื้นที่ และโซลูชันการรักษาความปลอดภัยแบบ end-to-end รวมถึงการใช้ปัจจัยหลายๆ อย่างในการตรวจสอบ และยืนยันตัวบุคคลเพื่อการใช้งานแอปพลิเคชันขององค์กรอย่างปลอดภัย

เตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้วยทักษะด้านดิจิทัล

เพื่อความสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัทในการขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคน ซิสโก้ยังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนและพัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านไอทีรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ใน EEC Silicon Tech Park ซิสโก้ได้พัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านดิจิทัลผ่านโปรแกรม Cisco Networking Academy มาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีโดยการเป็นพันธมิตรกับ PlanetComm, Mavenir Systems และ 5G Catalyst Technologies ในการพัฒนาหลักสูตรไอทีที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยทางไซเบอร์, เครื่องมือจำลองการเรียนรู้ และโอกาสในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถในพื้นที่ EEC Silicon Tech Park

นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี กล่าวว่า “อีอีซี ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนด้านนวัตกรรมชั้นนำ ได้แก่ ซิสโก้ แพลนเน็ตคอม และซิลิคอนเทคพาร์ค เตรียมความพร้อมการพัฒนา “ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง” ในพื้นที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 400 Gbps นับเป็นการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่อีอีซี เป็นที่ตั้งของคนทำงานยุคใหม่ผ่านนวัตกรรมขั้นสูง       ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้คุณภาพชีวิตที่ดี รองรับการลงทุนจากภาคเอกชน จูงใจบริษัทชั้นนำทั่วโลกเข้ามาลงทุนวิจัยพัฒนา (R&D) ต่อยอดธุรกิจด้านดิจิทัลในพื้นที่ในอีอีซี สร้างพื้นที่กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพให้เข้ามาทำงานในอีอีซีเพิ่มขึ้น และจะเป็นศูนย์ฝึกอบรม การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลในพื้นที่ อีอีซี โดยตั้งเป้าหมายให้พื้นที่ EEC SILICON TECH PARK เป็นเมืองต้นแบบดิจิทัล หรือ ซิลิคอนวอลเล่ย์แห่ง ภาคตะวันออก ดึงการลงทุนด้านดิจิทัล ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะ สร้างโอกาสลงทุนตามแผน   อีอีซี ระยะ 2 ให้ได้ตามเป้าหมาย 2.2 ล้านล้านบาท (61.97 พันล้านดอลลาร์) ภายในปี 2570 รวมทั้งช่วยพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ New S-Curve สร้างตำแหน่งงาน และรายได้ที่ดีขึ้นอย่างสมดุลและยั่งยืน”

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาบุคลากรฯ สกพอ.

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาบุคลากรฯ สกพอ. กล่าวว่า “โครงการ EEC SILICON TECH PARK จะเป็นพื้นที่ศูนย์รวมงานวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงของอีอีซี ที่ส่งเสริมและยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี จะได้รับความรู้ และเกิดการใช้ระบบผลิตอัตโนมัติแบบดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตขั้นสูงในพื้นที่ พร้อมกันนี้จะสามารถฝึกอบรมทักษะใหม่ (New skill) เพื่อพัฒนาความชำนาญให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมทักษะด้าน Robotics & Automation โดยตรง ซึ่งเป็นบุคลากรพิเศษเฉพาะด้าน โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาให้ได้ประมาณ 5,000 คน ภายใน 5 ปี สร้างความพร้อมและจูงใจให้ผู้ประกอบการทั่วโลกสนใจลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัล ในพื้นที่อีอีซี ต่อไป”

มร. เอ็ดเวิร์ด แกรนท์, ที่ปรึกษาอาวุโสของ อีอีซี ซิลิคอนเทคพาร์ค

มร. เอ็ดเวิร์ด แกรนท์, ที่ปรึกษาอาวุโสของ อีอีซี ซิลิคอนเทคพาร์ค กล่าวว่า “EEC Silicon Tech Park (EEC STP) ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีเยี่ยมในอำเภอบ้านฉาง โดยภายในรัศมี 10 กิโลเมตรจากพื้นที่อีอีซี การพัฒนา EEC STP จะเป็นหัวใจสำคัญของแผนที่จะเป็น ultimate frontier ของศูนย์กลางของเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรม ด้วยความพร้อมของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนโดยซิสโก้ EEC STP Park สามารถให้บริการเชื่อมต่อดิจิทัลกับผู้พักอาศัย รวมถึงการวิจัยและพัฒนาในทุกอุตสาหกรรม เช่น การบิน การแพทย์ การเงิน เทคโนโลยี และอื่นๆ เรามุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีกรีนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน รองรับอนาคต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม EEC STP มุ่งมั่นสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้น และจุดประกายการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับผู้คน และเรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับซิสโก้ในโครงการนี้”

นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน)

นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แพลนเน็ตคอมร่วมมือกับซิสโก้ผ่านโครงการ Cisco CDA – Country Digital Acceleration ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในประเทศไทย นำนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง Internet Switch 400 Gbps มาให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่โครงการ EEC SILICON TECH PARK ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และเป็น 1 ใน 4 ส่วนสำคัญอันประกอบด้วย อินเทอร์เน็ตเร็วสูง ระบบไฟฟ้ามั่นคง น้ำสะอาดอากาศบริสุทธิ์ และ ที่พักอาศัยสำหรับคนทำงานยุคใหม่ (Health & Wellbeing) เพื่อให้เป็นเมืองต้นแบบ Smart Digital City สำหรับการบูรณาการและพัฒนาเมืองอื่นในประเทศไทย

นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า

นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า กล่าวว่า “อนาคตของสมาร์ทซิตี้ในประเทศไทยต้องอาศัยเครือข่ายที่ปลอดภัยเป็นแกนหลัก เนื่องจากอุปกรณ์ ข้อมูล และแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อกันเป็นรากฐานของบริการสมาร์ทซิตี้ ซิสโก้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรอีโคซิสเต็มส์ภายใต้โครงการ CDA เพื่อนำอนาคตของการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยมายังผู้อาศัย และธุรกิจต่างๆ ใน EEC Silicon Tech Park และเปิดโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย โดยเป็นพื้นที่ที่ธุรกิจสามารถนำร่องประสบการณ์การเชื่อมต่อยุคใหม่ และสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่มีความหมาย เช่น ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ และระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชากร”


เกี่ยวกับ อีอีซี

อีอีซี เป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 รองรับ ให้การพัฒนาพื้นที่มีความต่อเนื่อง มีองค์กรกำกับดูแลอย่างถาวร และมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนใน 12 อุตสาหหกรรมเป้าหมาย ต่อยอดและผลักดันนวัตกรรมขั้นสูงด้านดิจิทัล ยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และประเทศได้รับประโยชน์สูงสุด

เกี่ยวกับ ซิสโก้

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกที่ยกระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซิสโก้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากวิธีการใช้แอปพลิเคชันที่แตกต่างไปจากเดิม การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับทีมของคุณเพื่อโลกแห่งอนาคต เปิดประสบการณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ก และติดตามข่าวสารของซิสโก้บนทวิตเตอร์ที่ Twitter @Cisco.

เกี่ยวกับ บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน)

แพลนเน็ตคอม (mai: PLANET) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 และจดทะเบียนในตลาด mai เมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยปัจจุบันเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมแบบครบวงจร ให้บริการออกแบบ ติดตั้ง และบริการหลังการขาย สำหรับโครงสร้างพื้นฐานระบบโครงข่ายโทรคมนาคม ระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ ระบบส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิทัล ระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ ไอโอทีแพลทฟอร์ม การวิเคราะห์ภาพและข้อมูลอัจฉริยะ การแพทย์ทางไกล เทคโนโลยียานพาหนะไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และ เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับและพัฒนาประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero-Carbon) ยกระดับภาคการผลิตไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต (Increasing Productivity) รวมไปถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน (Improving a Quality of Life)

เกี่ยวกับ ซิลิคอน เทค พาร์ค (STP)

ซิลิคอน เทค พาร์ค (STP) บ้านฉาง จังหวัดระยอง ประเทศไทย เป็นบริษัทบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ และอุทยานเทคโนโลยีขั้นสูงที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งครอบคลุมแผนยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ของรัฐบาลไทย เพื่อสร้าง “มูลค่าใหม่ เศรษฐกิจฐานราก” มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นประเทศที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในอาเซียน เป็นเมืองน่าอยู่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม น่าอยู่อาศัย ประกอบอาชีพ และเจริญรุ่งเรือง ด้วยพื้นที่รวมกว่า 519 ไร่ (205 เอเคอร์) STP จะกลายเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนใครในไม่ช้า และ เป็นวิทยาเขตที่มุ่งเน้นในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการเป็นเจ้าของ หรือ การถือครอง ของบริษัทสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มต้น เฟสที่ 1 กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการพร้อมกับความสำเร็จของ EEC Global Cloud Data Center ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูล Tier-3 ที่ทันสมัย และครอบคลุมที่สุดในอาเซียน และ ไซต์นี้ยังให้บริการโดยเครือข่าย 5-G ที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย มีที่ดินสำหรับขาย หรือ ให้เช่า และเรามีพันธมิตรที่สามารถทำการสร้างให้เหมาะกับอาคาร หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ที่นักลงทุนและ/หรือผู้เช่าหลักหมายปองไว้ได้อย่างรวดเร็ว107

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-powers-secure-digital-connectivity-for-thailands-next-silicon-tech-park-innovation-hotspot/

ยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจการผลิตไทย ด้วย 5G และแนวคิด Smart Manufacturing

อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากการปฏิรูปดิจิทัลและการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ในเซสชัน “Adaptability to Digital Manufacturing Transformation” ในงาน AIS – 5G for BUSINESS is NOW รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้มาเล่าให้เราฟังถึงการสนับสนุนธุรกิจไทยเข้าสู่ ยุค Industry 4.0 และโครงการเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆที่ภาครัฐได้วางแผนไว้ จะมีประเด็นใดน่าสนใจบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้ 

ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยด้วย EEC 

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ประเทศไทยได้วางเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นนโยบายสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมให้ธุรกิจไทยดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และในระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โครงการ EEC ก็ยังคงมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2020 ที่ผ่านมา เป็นปีของการวางแผนและผลักดันกฎหมาย เพื่อสนับสนุนและเพิ่มความคล่องตัวให้กับโครงการของ EEC และในปี 2021 นี้ เป็นปีแห่งการวางโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีงบประมาณกว่า 1.7 ล้านล้านบาท และมีเป้าหมายในการเร่งรัดและส่งเสริมการลงทุน เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาจากรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ซบเซาลงในช่วงวิกฤตโรคระบาด

ในการนี้ รัฐบาลได้วางแผนส่งเสริมและดึงดูดนักลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ EV อุตสาหรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการแพทย์ เป็นต้น โดยมีการเปิดพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้โดยเฉพาะภายในพื้นที่ EEC

5G คือโครงสร้างพื้นฐาน เร่งรัดธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจทัล

ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่แล้วที่ขาดไปไม่ได้เลยคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าด้วยการเปิดประมูลคลื่นเครือข่าย 5G พร้อมกำหนดให้ผู้ที่ชนะการประมูลติดตั้งเครือข่าย 5G ภายในพื้นที่ EEC ภายใน 1 ปี ซึ่งได้แล้วเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ธุรกิจในพื้นที่ EEC สามารถนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเต็มที่

เทคโนโลยี 5G สำคัญอย่างไร? 5G นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล เพราะ 5G จะมอบความสามารถในการสื่อสารที่รวดเร็วฉับไว ความสามารถในการรับและส่งข้อมูลในปริมาณมาก และรองรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์จำนวนมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่จำเป็นของเทคโนโลยีสมัยใหม่หลายประเภท เช่น Big Data Analytics, Internet of Things และ AI

นอกจากนี้ ดร.ชิตยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมโครงสร้างทางเทคโนโลยีให้พร้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกับธุรกิจต่างประเทศภายใต้เทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่ Supply Chain นั้นเชื่อมต่อกันทั่วโลก

Smart Manufacturing และ Industry 4.0 

อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดในการเข้ามาของ 5G ด้วยคุณสมบัติความเร็วที่สูงขึ้น ความหน่วง (Latency) ที่ต่ำลง และเครือข่ายที่รองรับอุปกรณ์จำนวนมากได้เป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญของแนวคิด Industry 4.0 ที่มีใจความสำคัญคือการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และเครื่องจักร และการนำข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์และการดำเนินการไปวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่างๆต่อไป 

Industry 4.0 นั้นได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยให้การรับส่งข้อมูลปริมาณมากเข้าไปใช้งานในเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Automation, Machine Learning, Big Data Analytics, และ Internet of Things ได้รวดเร็วแบบ Real-time ซึ่งจะเป็นการขยายขีดความสามารถแบบที่เครือข่ายในอดีตไม่สามารถทำได้

การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นถึงภาพรวมและสถานะของการทำงานในสายการผลิตและฝ่ายงานต่างๆ สามารถชี้ได้ถึงข้อผิดพลาด และทำนายถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้ และในอนาคต ดร.ชิตกล่าวว่าเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลจะถูกพัฒนาขึ้นถึงระดับ Prescriptive Analytics ซึ่งผลของการวิเคราะห์จะช่วยบอกธุรกิจว่าธุรกิจควรทำอะไร หรือปรับปรุงกระบวนการไปในทิศทางใด

ในส่วนของการใช้งาน โครงการ EEC ได้มีการร่วมมือกับภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น Mitsubishi ซึ่งได้พัฒนาโซลูชัน e-F@ctory สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ และได้แบ่งระดับของ Smart Manufacturing สำหรับธุรกิจไว้ 3 ระดับขั้น ได้แก่ 

  1. การติดตั้งระบบอัตโนมัติที่ Production Floor
  2. การนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตและฝ่ายอื่นๆไปวิเคราะห์และใช้งาน เช่น การทำ Business Intelligence และการใช้แพลตฟอร์ม ERP 
  3. การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างโรงงาน หรือระหว่างธุรกิจภายใน Supply Chain 

โดยภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมและจูงใจให้ธุรกิจการผลิตนำแนวคิด Industry 4.0 ไปใช้งานภายในพื้นที่ EEC ได้แก่ ธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ตามเกณฑ์ลำดับขั้นข้างต้น จะสามารถยื่นคำขอพิจารณาไปยังคณะกรรมการ Industry 4.0 เพื่อรับการยกเว้นภาษีได้ 3 ปี สำหรับธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์ระดับที่ 2 และ 3 หรือ 1 ปี สำหรับธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์ระดับที่ 1

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เศรษฐกิจ EEC และสิทธิประโยชน์ในการลงทุนเพิ่มเติม สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ https://eeco.or.th/th

ข้อมูลต้องใช้ได้จริง แบ่งปันได้ และปลอดภัย

อีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจภายใต้โครงการ EEC คือโครงการ Data Lake กลาง ที่จะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยแนวคิดของการสร้าง Data Lake นี้ คือการแบ่งปันข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ที่นิติบุคคลใดๆสามารถยื่นคำร้องเข้ามาขอใช้งาน และนำไปพัฒนาธุรกิจ หรือศึกษาวิจัยสร้างประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

ข้อมูลภายใน Common Data Lake นี้ จะประกอบไปด้วยข้อมูลจากภาครัฐแบบ Open Data และสถิติตัวเลข ข้อมูลจากภาคเอกชนที่สามารถเปิดเผยได้โดยไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลทั่วไป โดยดร.ชิตเล่าว่าโครงการนี้วางแผนจะเปิดให้ใช้งานแบบคิดค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม และจะมีการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลด้วยมาตรฐานสูงสุด 

นอกจากนี้ โครงการยังมีแผนในการจัดตั้ง Data Bureau ขึ้นมาเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการบริหารและการใช้งาน Data Lake เพื่อให้แน่ใจว่า Data Lake แห่งนี้จะดำเนินการไปอย่างโปร่งใส และป้องกันการใช้งานข้อมูลอย่างผิดวัตถุประสงค์ด้วย

อนาคตคือดิจิทัล

การเติบโตด้านความสามารถของเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นส่งผลให้การดำเนินธุรกิจนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การแข่งขันในปัจจุบันไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนทางกายภาพ อีกทั้งยังมีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามอบความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ตลอดเวลา

ประเทศไทยที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมและมีภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องเร่งปรับตัวนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ เพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ และลดต้นทุน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ธุรกิจไทยมีข้อได้เปรียบ และมีมาตรฐานที่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ 

โครงการ EEC นับว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ที่มีศักยภาพในการกำหนดอนาคตของประเทศไทยและธุรกิจไทยในเวทีโลก ซึ่งจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไทยสืบไป หวังว่าในบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านจะได้เห็นทิศทางและแผนการของประเทศได้เป็นอย่างดี 

สำหรับท่านใดที่มีความสนใจนำเทคโนโลยี 5G เข้าไปพัฒนาประสิทธิภาพของธุรกิจ และต่อยอดไปสู่การใช้เทคโนโลยีอื่นๆ AIS Business ก็มีแพลตฟอร์มและโซลูชันพร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจหลากหลายประเภท สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/5g/  หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่

from:https://www.techtalkthai.com/ais-5g-for-business-is-now-thailand-smart-manufacturing-adaptability/

เจาะลึก ธุรกิจอสังหาฯ รอบ EEC ยังมีอนาคตอยู่หรือไม่? เมื่อดีมานด์ไม่ได้มาจากคนทำงาน

จากจุดเร่ิมต้นโครงการ EEC หรือพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทำให้หลายธุรกิจดูคึกคักขึ้น รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังไม่ทันไรก็ดูเหมือนจะกลายเป็นขาลง หรือที่เรียกว่า “Sunset” ซะแล้ว ยิ่งมาเจอโควิดเข้าไปยิ่งหนักหนากว่าเดิม

real estate

ช่วงแรกของการเปิดตัวโครงการ EEC นั้น ก่อให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC จำนวนมาก โดยเฉพาะโครงการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮ้าส์ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นทำเลใกล้นิคมอุตสาหกรรม โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ประกอบการอสังหาฯ คือ กลุ่มคนทำงานในนิคมอุตสาหกรรม และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง รวมไปถึงกลุ่มนักลงทุนซื้อและปล่อยเช่าระยะยาว และกลุ่มนักเก็งกำไร

การแห่เปิดตัวโครงการใหม่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยองนั้นส่งผลให้ราคาที่ดิน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับตัวสูงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ แม้ว่าก่อนหน้านั้นราคาที่ดินจะมีการปรับตัวไปแล้วรอบใหญ่หลังการประกาศเปิดตัวโครงการ EEC จนถึงปัจจุบันนี้ราคาที่ดินก็ยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าตลาดอสังหาฯ จะชะลอตัวลงอย่างมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินยังพุ่งไม่หยุด คือ การเข้าซื้อที่ดินสะสมของกลุ่มผู้มีเงินเย็น และกลุ่มผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจที่ซื้อที่ดินไว้ทำกำไรจากขายต่อ 

real estate

ราคาที่ดิน 3 จังหวัด EEC ยังพุ่งไม่หยุด!!

โดยกลุ่มนี้ตั้งราคาขายสูงกว่าราคาซื้อ 5-8 เท่าตัว และไม่รีบร้อนที่จะขายที่ดินออกเพราะมั่นใจว่าหลังการชะลอตัวในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตลาดจะกลับมาขยายตัวได้ดีเหมือนช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด และเมื่อโครงการ EEC เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น ราคาที่ดินในพื้นที่ก็จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมก็ไม่รีบร้อนจะขายเพราะมองว่าราคายังไปได้อีกไกล นอกจากนี้ เจ้าของที่ดินยังมีแนวคิดจะร่วมทุนพัฒนาโครงการ แทนการขายให้ผู้ประกอบการ โดยเจ้าของที่ดินพร้อมจะออกที่ดิน และให้บริษัทอสังหาฯเข้ามาบริหารการขายและพัฒนาโครงการ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวกำลังเป็น เทรนด์สำหรับบริษัทอสังหาฯ ที่มีกระแสเงินสดจำกัด ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมราคาที่ดินใน EEC ณ ปัจจุบันนี้จึงยังพุ่งไม่หยุด แม้ตลาดอสังหาฯจะอยู่ในช่วงขาลงก็ตาม 

eec

สถานการณ์ไม่เป็นใจ โอเวอร์ซัพพลายจึงเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม การโหมเปิดโครงการของบริษัทอสังหาฯพร้อมกันจำนวนมาก เริ่มส่งผลให้ซับพลายในพื้นที่สูงกว่าดีมานด์ที่มี ขณะเดียวกันการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร และการปรับตัวสูงขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคในประเทศลดลง ประกอบกับกลุ่มนักลงทุนทยอยทิ้งเงินดาวน์ในโครงการต่างๆ เพราะมองว่าไม่สามารถทำกำไรจากการขายได้ หลังจากการการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทวีความรุนแรงขึ้นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 จนทำให้กลุ่มนักลงทุนต่างชาติ และนักท่องเที่ยวหลักจากจีนหายไปจากตลาด ซึ่งปัจจัยที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ทำให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลายขึ้นในพื้นที่ EEC 

หากสังเกตุให้ดีจะพบว่าการโอเวอร์ซับพลายไม่ได้มีผลโดยตรงมาจากการหยุดชะงักหรือชะลอตัวในการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม แต่ปัจจัยหลักๆ เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้ดีมานด์ต่างชาติหายไป โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวอย่างพัทยา บางแสน จนส่งผลให้กลุ่มนักลงทุนและเก็งกำไรทยอยทิ้งดาวน์โครงการห้องชุดในพื้นที่ EEC จำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าจริงๆ แล้วการขยายตัวของดีมานด์ในโครงการที่อยู่อาศัยพื้นที่ EEC เกิดจากดีมานด์นักท่องเที่ยวเป็นหลัก        

หากพิจารณาถึงศักยภาพและแนวโน้มการลงทุน การแข่งขันที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างจีน และเวียดนาม จากเม็ดเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศในไทย พบว่าตัวเลขการลงทุนลดต่ำลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 55 ถึงปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการลงทุนตรงจากต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเวียดนาม และจีน

eec

การลงทุนจากต่างประเทศ-ส่งออก ของไทย ลดลงต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ตัวเลขการส่งออกของไทยในช่วงก่อนโควิด–19 แพร่ระบาดในปี 63 ตัวเลขส่งออกของไทยอยู่ที่ 19,300 ล้านดอลลาร์ หรือ -6.71% จากปีก่อนหน้า ขณะที่เวียดนาม มีตัวเลขการส่งออก +12.2% และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63 ไทยมีตัวเลขส่งออกที่ 19,200 ล้านดอลล่าร์ หรือ -7.26% ขณะที่เวียดนามมีตัวเลขส่งออก +4.9%  ขณะที่สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยในกลุ่มประเทศอาเซียนประเทศไทยมีสัดส่วนการลงทุนในปี 53 ที่ 29% และทยอยลดลงมาอยู่ที่ 10% ในปี 62 ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคอาเซียน 

จากปัจจัยข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่ตัวขับเคลื่อนและสร้างดีมานด์หลักของตลาดอสังหาฯ ในพื้นที่ EEC เพราะแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลยังทยอยลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบรถไฟฟ้า สนามบินอู่ตะเภาแต่ก็ไม่ได้สร้างให้เกิดดีมานด์ในตลาดอาคารชุดและทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สังเกตุได้จากตัวเลขการลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยครึ่งแรกของปี 64 ซึ่งมีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ 5,752 หน่วย ลดลง -17.1% คิดเป็นมูลค่า 14,227 ล้านบาท หรือ ลดลง -35.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 ทำให้มีซัพพลายระหว่างขายสะสมอยู่ 72,120 หน่วย หรือ ลดลง -7.5% และมีมูลค่า 240,722 ล้านบาท หรือ ลดลง -7.9% โดยมีหน่วยขายได้ใหม่ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า หรือมีหน่วยขายได้ใหม่เพียง 8,841 หน่วย หรือ ลดลง -25.9% และมีมูลค่า 26,198 ล้านบาท หรือ ลดลง-31.0% ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขายอยู่ในตลาด63,279 หน่วย และมีมูลค่า214,525 ล้านบาท ซึ่งลดลงทั้งจำนวนหน่วย 

ดีมานด์อยู่ตลาดกลางบน ไม่ใช่กลุ่มคนทำงาน

ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าที่ขายได้ใหม่กว่า 80% เป็นกลุ่มสินค้าในตลาดระดับบน โดยคอนโดในกลุ่มราคา 3-5 ล้านบาท ขณะที่บ้านแนวราบที่ขยายได้ดีคือกลุ่มบ้านเดี่ยวระดับราคา 4 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนกลุ่มทาวน์เฮ้าส์ที่ขายได้ใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มราคา 3-5 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการในพื้นที่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยว หรือเป็นบ้านและคอนโดตากอากาศ ซึ่งสังเกตุว่าสินค้าที่ขายได้อยู่ในตลาดระดับกลางบน ขณะที่คอนโดและทาวน์เฮ้าส์ในตลาดกลางล่างยังมีซัพพลายสะสมเหลือขายอยู่จำนวนมาก 

สรุป

จากสถานการณ์ต่างๆ ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของราคาที่ดิน เป็นต้นทุนหลักของโครงการอสังหาฯ ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการในตลาดล่าง ซึ่งรองรับกลุ่มคนทำงานในนิคมอุตสาหกรรมได้ยาก เพราะต้นทุนที่ดินที่พุ่งสูงต่อเนื่องทำให้ราคาขายโครงการใหม่ขยับขึ้น ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากหนี้สินคัวเรือนที่ปรับตัวเพิ่ม และการลดเวลาในการจ้างงานของโรงงานที่ทำให้รายได้ของกลุ่มลูกค้าในตลาดล่างลดลง ซึ่งมีผลต่อการขอสินเชื่อได้ยากขึ้น ภาวะดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการมองว่าธุรกิจอสังหาฯ กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจ Sunset ในพื้นที่ EEC เพราะการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมไม่ได้เป็นตัวขับเคลื่อนดีมานด์ที่อยู่อาศัยมากอย่างที่หลายๆ คนคาดการณ์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เจาะลึก ธุรกิจอสังหาฯ รอบ EEC ยังมีอนาคตอยู่หรือไม่? เมื่อดีมานด์ไม่ได้มาจากคนทำงาน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/real-estate-in-eec/

พบข้อมูล MacBook Pro, Apple Watch โมเดลใหม่ ลงทะเบียนในฐานข้อมูล EEC

มีรายงานการพบข้อมูลลงทะเบียน Mac, Apple Watch โมเดลใหม่ […] More

from:https://www.iphonemod.net/new-macbook-pro-and-apple-watch-eec-register-2021-report.html

จีนครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐ 7.5 เท่า แล้ว EEC ไทยจะทำอย่างไรดี

ไทยควรกังวลไหม เมื่อจีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ครอบครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐ 7.5 เท่า เพราะตอนนี้ EEC จะให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ 99 ปี

china land grabbing

จีนครอบครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก

บริษัทจีนกำลังคืบหน้าในครอบครองซื้อที่ดินใน เอเชียใต้ เอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกามากขึ้นในช่วง 10 ที่ที่ผ่านมา Land Matrix องค์กรในยุโรปที่รวบรวมข้อมูลเรื่องที่ดิน ระบุว่า ที่ดินที่อยู่ภายใต้การถือครองของบริษัทจีนผ่านการเช่าหรือซื้อมีขนาดโดยรวมกว่า 64,800 ตารางกิโลเมตร

หรือเทียบให้เห็นง่ายๆ คือ เกือบ 1 ใน 8 ของขนาดประเทศไทย (513,120 ตารางกิโลเมตร) โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการเกษตร การป่าไม้ และเหมืองแร่

จีนถือครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐอเมริกาเกิน 7.5 เท่า หากลองมองโดยเปรียบเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักประเทศหลักจะเห็นความแตกต่างชัดเจน 

  • สหราชอาณาจักร ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 15,600 ตารางกิโลเมตร
  • สหรัฐอเมริกา ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 8,600 ตารางกิโลเมตร
  • ญี่ปุ่น ถือครองที่ดินในต่างประเทศ 4,200 ตารางกิโลเมตร
Uniqlo Shanghai, China Photo: Fast Retailing

ทั้งนี้ เพราะการบริโภคภายในที่เติบโตตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้จีนต้องเร่งเข้าครอบครองที่ดินในต่างประเทศเพื่อทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจจีนจะมีเสถียรภาพจากการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มากเพียงพอ ในขณะที่สินค้าวัตถุดิบเริ่มขาดแคลนประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองกับสหรัฐคุกรุ่นขึ้นอีกครั้ง 

Belt Road Initiative ช่วยเร่งการเข้าครอบครองที่ดินของจีน

มีหลายกรณีที่แสดงให้เห็นว่าการตอบรับความช่วยเหลือการลงทุนของจีนผ่านโครงการ Belt Road Initiative ผลักให้ประเทศผู้รับต้องตกอยู่ในสภาวะกับดักหนี้ (debt trap) ต้องยอมยกสัมปทานหรือมอบใบอนุญาตในโครงการต่างๆ เช่น ทางด่วน ท่าเรือ ไปจนถึงหุ้นโรงไฟฟ้า แลกกับการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

ตัวอย่างเช่นในกรณีคลาสสิคของศรีลังกาที่ตกลงให้ บริษัทวิศวกรรมท่าเรือแห่งประเทศจีน (CHEC) เข้ามาพัฒนาท่าเรือในกรุงโคลัมโบ ที่ในท้ายที่สุดไม่สามารถจะจ่ายหนี้คืนได้สำเร็จจึงต้องยอมมอบสัญญาเช่าท่าเรือดังกล่าวเป็นระยะเวลา 99 ปี ให้กับ CHEC 

แถมยังมีโครงการสร้างทางด่วนที่ในท้ายที่สุดก็ตกเป็นหนี้จนต้องยอมส่งมอบให้จีนถือครองเป็นเวลา 18 ปี ในลักษณะเดียวกัน

Vientiane Laos เวียงจันทน์ ประเทศลาว
ภาพจาก Shutterstock

ในลาวก็มีกรณีในลักษณะเดียวกัน คือ ตกเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในโครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อมจีนที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการ BRI จนถึงขนาดที่รัฐบาลลาวต้องยอมขายหุ้นในธุรกิจที่สำคัญต่อประเทศอย่างกิจการสายส่งไฟฟ้าส่วนใหญ่ให้กับ China Southern Power Grid เพื่อหารายได้มาจ่ายหนี้คืน

ในกรณีของเวียดนามเห็นได้ชัดว่ามีความพยายามของบริษัทเอกชนจีนในการเข้าครอบครองที่ดินโดยตรง เดิมทีจังหวัด Binh Phuoc ทางตอนใต้ของเวียดนามเคยเป็นพื้นที่ปลูกยางที่สำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันทุนจีนอย่าง New Hope Liuhe บริษัทปศุสัตว์ชั้นนำของจีนกว้างซื้อที่ดินในจังหวัดดังกล่าว และตอนนี้ก็เริ่มขยายการเข้าครองที่ดินไปยังตอนกลางและตอนเหนือของประเทศโดยใช้โมเดลเดียวกันอีกด้วย 

ไทยภายใต้การขยายอำนาจในภูมิภาคของจีน

[opinion] คำถามก็คือ แล้วการอนุญาตให้ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินได้ถึง 99 ปี ผ่านพระราชบัญญัติอีอีซี (EEC) เป็นสิ่งที่ยังเหมาะสมหรือไม่เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทระดับภูมิภาคและระดับโลกที่เราเห็นได้ชัดว่า กลุ่มทุนจีนเริ่มเข้าครอบครองที่ดินในต่างประเทศโดยไม่สนใจผลกระทบที่ผู้คนในประเทศปลายทางจะได้รับ

ปัจจุบันนี้เอกชนจีนจำนวนมากเข้ามาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไทย นั่นอาจเป็นเรื่องดีต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ แต่ข่าวร้ายคือการเข้ามาลงทุนแบบเก็งกำไรทำให้ค่าใช้จ่ายในปัจจัยการยังชีพพื้นฐานอย่างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้คนโดยเฉพาะในกรุงเทพแพงขึ้น และยังต้องแบกรับผลเสียของการดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยไม่มีการเจรจาต่อรองกับต่างชาติเพื่อต่อรองผลประโยชน์เพื่อสงวนผลประโยชน์ของประชาชนที่ดีเพียงพอ

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จีนครองที่ดินในต่างประเทศมากที่สุดในโลก มากกว่าสหรัฐ 7.5 เท่า แล้ว EEC ไทยจะทำอย่างไรดี first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-is-biggest-foreign-land-buyer/

พบข้อมูลลงทะเบียนโมเดล iPhone 13 ทั้งหมด 7 โมเดล ที่ฐานข้อมูล EEC

พบข้อมูล Apple ลงทะเบียนโมเดล iPhone รุ่นใหม่ (คาดว่าเป […] More

from:https://www.iphonemod.net/info-apple-register-iphone-13-model-eec-db.html

ประยุทธ์ดีใจ วันนี้ประเทศมีข่าวดี โคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส เตรียมให้บริการตุลา’นี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุ facebook ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ว่า วันนี้ ประเทศไทยมีข่าวดีที่ประเทศเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ได้ริเริ่มและผลักดันให้เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี

Prayuth Chan O Cha

โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ร่วมกับบริษัทอเมซอน ฟอลส์ จำกัด ประกาศความร่วมมือนำสวนสนุกและสวนน้ำในธีมภาพยนตร์ของ Columbia Picture’s มาเปิดในไทยเป็นแห่งแรกในโลกบนพื้นที่กว่า 35 ไร่ ณ ชายทะเลบางเสร่ ใช้เวลาเดินทาง 20 นาทีจากพัทยา และ 90 นาที จากกรุงเทพ ภายใต้ชื่อ Columbia Picture’s Aquaverse 

Columbia Picture's Aquaverse
Columbia Picture’s Aquaverse

เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดย Columbia Picture’s Aquaverse จะจัด 8 ธีมโซนด้วยกัน ดังนี้

  • โซนเครื่องเล่น เม็น อินแบล็ค หน่วยจารชนพิทักษ์จักรวาล สุดยอดเครื่องเล่นโลดโผนของ Aquaverse จะรวมไว้ที่นี่
  • โซนประสบการณ์เหนือธรรมชาติ โกสต์บัสเตอร์ส บริษัทกำจัดผี จับมือเพื่อนลงแพพุ่งทะยานเข้าสู่ถังดักผี
  • โซนสนามแข่งรถแบดบอยส์ คู่หูขวางนรก ท้าทายความเร็วบนสนามโกคาร์ทกลางแจ้งแห่งใหม่ในเมืองไมอามี่ ประดับไฟนีออน
  • โซนจูแมนจี้ เกมดูดโลกบุกป่ามหัศจรรย์ ชวนคนมาผจญภัยในส่วนน้ำกลางป่าดงดิบ
  • โซนสุดประทับใจสำหรับเด็กๆ โฮเทล ทรานซิลเวเนีย เครื่องเล่นน้ำโซนใหญ่ที่สุดของ Aquaverse
  • โซนเซิร์ฟอัพ สวรรค์นักเซิร์ฟบนคลื่นยักษ์ โชว์ลีลาโต้คลื่น
  • โซนผจญภัยในแม่น้ำสวอลโลว์กับลูกชิ้นตกทะลุมิติ ด้วยการท่อง Aquaverse ตามสายน้ำ
  • โซนสระคลื่นยักษ์วีโว ผ่อนคลายในสระที่จะซัดสาดลูกคลื่นขนาดยักษ์เข้าใส่ตัว

“นี่เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยจุดเด่นที่แตกต่างของเครื่องเล่นของเรา หวังว่าจะสามารถประสานความร่วมมือในวงกว้างขึ้นทั้งกับผู้ประกอบการ โรงแรมที่พัก พันธมิตรธุรกิจด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและอาหารเครื่องดื่มระดับแนวหน้าเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร” มร. เลียแคท แดนจี ประธานกรรมการบริหารและประธานกรรมการบริษัท อเมซอน ฟอลล์ จำกัด เจ้าของและผู้ประกอบการ Columbia Picture’s Aquaverse

ด้าน ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกล่าวว่า Columbia Picture’s Aquaverse จะเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับความบันเทิงแบบ Immersive Entertainment ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของไทย เชื่อว่า โครงการนี้จะเป็นจุดสำคัญในการพลิกโฉมและกระตุ้นการเติบโตอย่างรวดเร็วใน EEC

โครงการนี้จะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักในแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะใน EEC และเราพร้อมจะสนับสนุนอย่างเต็มที่ทั้งในส่วนการให้บริการ 5G และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เทคโนโลยีดิจิทัล การเชื่อมโยงคมนาคมขนส่ง การเป็นพันธมิตรกันด้านการใช้พลังงานสะอาดและสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์ในการลงทุนต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการนี้จะสำเร็จและช่วยสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนระยะยาวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ที่มา – ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-O-Cha, Columbia Auaverse

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ประยุทธ์ดีใจ วันนี้ประเทศมีข่าวดี โคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส เตรียมให้บริการตุลา’นี้  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/columbia-pictures-aquaverse-launch-in-thailand-in-october-2021/

ลงนาม MOU เปิด Huawei ASEAN Academy แห่งแรกของไทยในพื้นที่อีอีซี

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานใน พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การสร้างทรัพยากรมนุษย์ และระบบนิเวศ (Talent ecosystem) รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT สำหรับโลกยุค 5G” ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมได้รับเกียรติจาก นายหยาง ซิน อุปทูตรักษาราชการแทนเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีและร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นายอาเบล เติ้ง  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ลงนามในครั้งนี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า การลงนาม MOU ร่วมกับ หัวเว่ย และการเปิด Huawei ASEAN Academy ในพื้นที่อีอีซี ครั้งนี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และถือเป็นหนึ่งในต้นแบบสำคัญ สร้างความร่วมมือ 3 แกนหลักได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรรองรับเทคโนโลยี 5G ยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลของประเทศไทย

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

นายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า “มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสกพอ. ผ่าน MOU ครั้งนี้ และการเปิด Huawei ASEAN Academy หัวเว่ย มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐานความรู้ด้านดิจิทัลให้กับเยาวชนไทย โดยทำงานร่วมกับอีอีซี และ มหาวิทยาลัยบูรพา ตลอดจนพันธมิตรทุกภาคส่วน หัวเว่ยพร้อมเดินหน้าทำงานภายใต้พันธกิจ Grow in Thailand, Contribute to Thailand ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี พาร์ทเนอร์ด้านไอซีทีที่ได้รับความไว้วางใจ และผู้ขับเคลื่อนการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล บริษัทจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างเต็มรูปแบบ”

การลงนาม MOU ครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาบุคลากรรองรับเทคโนโลยี 5G .ในอีอีซี ที่ได้รับความร่วมมือจาก หัวเว่ย ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ระดับโลก โดยประเทศไทยได้เปิด Huawei ASEAN Academy ต่อจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่ของไทยได้ให้ความสำคัญถึงการพัฒนาบุคลากรตรงความต้องการ (Demand Driven) คู่ไปกับการเพิ่มทักษะ 5G ในอีอีซี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งในอนาคตจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ โดยใช้ Huawei Academy ที่อีอีซี เป็นต้นแบบ อีกทั้ง หัวเว่ย มีประสบการณ์จัดฝึกอบรมด้านดิจิทัล ให้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน SMEs และกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วกว่า 16,000 คน

อย่างไรก็ดี ความร่วมมือกันครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกับบริษัทระดับโลก ในการยกระดับสร้างบุคลากรดิจิทัลของไทย รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ให้ไทยก้าวสู่ ศูนย์กลางดิจิทัล (Digital Hub) แห่งภูมิภาค เพิ่มความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1-mou-%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94-huawei-asean-academy-%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87/