คลังเก็บป้ายกำกับ: NETWORKING__WIRELESS

NTT ลงทุน 3,000 ล้านบาทสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ภายใต้ชื่อ “Bangkok 3 Data Center”

NTT Ltd., ประกาศการลงทุนมูลค่า 3 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยศูนย์ข้อมูล “Bangkok 3 Data Center” หรือ BKK3 แห่งใหม่จะพร้อมเปิดบริการเชิงพาณิชย์ช่วงครึ่งหลังของ พ.ศ. 2567 ด้วยขนาด 12 เมกะวัตต์ บนพื้นที่รวม 4,000 ตร.ม.

Bangkok 3 Data Center ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพ ห่างจากใจกลางเมืองกรุงเทพฯเพียง 57 กม. ภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งใหม่จะสามารถสนองต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมด้านดิจิทัลและองค์กรต่างๆ ด้วยการมอบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ บน ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหมาะสม และความคุ้มค่าที่รองรับความหนาแน่นสูงถึง 30kW ต่อแร็ค โดยมาตรฐานการรับรองสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์นี้ ได้แก่ ANSI/TIA-942, ISO 27001, ISO 50001, PCI DSS and ISAE 3402 และมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณกลางปี พ.ศ. 2566

นอกจากนี้ ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งใหม่ยังเป็นไปตามมวิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัท NTT Group ที่มุ่งเน้นการใช้งานนวัตกรรมสีเขียวตามแผนระยะยาวถึงปี 2040 (พ.ศ. 2583) กรอบวิสัยทัศน์ดังกล่าวจะช่วยให้ NTT บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ทั่วทั้งกลุ่มบริษัทภายใน พ.ศ. 2573 และทั่วทั้งห่วงโซ่ value chain ภายใน พ.ศ. 2583 สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2593 อีกด้วย

from:https://www.enterpriseitpro.net/ntt-bangkok-3-data-center/

Advertisement

บทความน่ารู้ : รู้ไหม Default Gateway คืออะไรกันแน่?

Default Gateway (ดีฟอลต์ เกตเวย์) เป็นโหนดที่เปิดการเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์ก เพื่อให้เครื่องทั้งหลายที่อยู่บนเครือข่ายอื่นเข้ามาสื่อสารกันได้ ซึ่งคำว่า “ดีฟอลต์” สื่อว่าอุปกรณ์หรือโหนดนี้เป็นเส้นทางเชื่อมต่ออันแรก หรือเส้นทางดีฟอลต์ที่เครื่องต่างๆ เลือกส่งไปหา

รูปแบบการใช้งานหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของดีฟอลต์เกตเวย์ก็คือ การใช้เพื่อเข้าถึงเว็บเพจ เมื่อมีคำร้องขอส่งออกมาก็จะวิ่งผ่านเกตเวย์ก่อนจะออกไปสู่อินเทอร์เน็ต อีกกรณีของการใช้ดีฟอลต์เกตเวย์ได้แก่ การใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์หลายเครื่องเข้ากับซับเน็ตหนึ่ง โดยมีดีฟอลต์เกตเวย์เป็นตัวกลาง

พูดให้ง่ายก็คือ ดีฟอลต์เกตเวย์เป็นระบบเราท์ติ้งที่เปิดให้คำร้องขอต่างๆ หาเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการวิ่งไปปลายทางที่ต้องการ แม้แต่ในกรณีที่โปรโตคอลเครือข่ายของผู้ส่งและผู้รับต่างกันก็ตาม

ทั้งหมดเริ่มจาก “อุปกรณ์ต้นกำเนิด” ที่เป็นตัวส่งคำร้องขอการเข้าถึงครั้งแรกตามตารางเราท์ติ้ง (Routing Table) ที่เป็นตัวกำหนดเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเส้นทางที่เราท์เตอร์ควรเลือกใช้ และแม้จะไม่มีข้อมูลเส้นทางที่เจาะจงระบุไว้ ดีฟอลต์เกตเวย์ก็ยังรับคำร้องขอข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวยังวิ่งต่อไปได้

ดีฟอลต์เกตเวย์บนเครือข่ายขนาดเล็ก เช่นในสำนักงานตามบ้านนั้น มักติดตั้งในฐานะเราเตอร์ตัวหลัก แต่ถ้ามีการขยายเครือข่ายเป็นหลายเน็ตเวิร์กที่ใช้งานพร้อมกัน ก็จะใช้ระบบแบบซับเน็ตที่สื่อสารระหว่างกันได้ด้วยดีฟอลต์เกตเวย์นั่นเอง

แล้วเราจะหาไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์ได้อย่างไร?
การหาที่อยู่ไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์นั้นสำคัญมาก เนื่องจากสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาเครือข่ายตลอดเส้นทาง หรือใช้ในการจัดการการตั้งค่าของเราท์เตอร์ได้

เราสามารถหาที่อยู่ไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะใช้เครื่องวินโดวส์ macOS หรือลีนุกซ์ก็ตาม ดังนี้

วิธีหาที่อยู่ไอพีดีฟอลต์เกตเวย์บนวินโดวส์
1. เปิดหน้า Settings เลือก “Network & Internet”
2. เลือก “Advanced network settings” จากนั้นไปที่ “Hardware and connection properties”
3. ที่อยู่ไอพีที่ต้องการจะอยู่ในส่วนของ “IPv4 default gateway IP address”

หรือใช้วิธีที่ซับซ้อนกว่านี้ ที่เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการใช้งานผ่านคอมมานด์ไลน์ ด้วยการใช้ยูทิลิตี้ที่ทรงพลังในการหาที่อยู่ไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์ตามนี้

เพียงแค่เปิดตัว Command Prompt แล้วพิมพ์คำว่า “ipconfig” จากนั้นจะเห็นเอาต์พุตที่แสดงรายการข้อมูลการตั้งค่าเครือข่าย ที่มีที่อยู่ไอพีของอุปกรณ์ที่เป็นดีฟอลต์เกตเวย์อยู่ด้วย

วิธีหาที่อยู่ไอพีดีฟอลต์เกตเวย์บน macOS
1. เปิด System Preferences แล้วเลือก “Network”
2. เลือกเน็ตเวิร์กที่ต้องการ
3. ในส่วนของสถานการณ์เชื่อมต่อ จะมีที่อยู่ไอพีที่คุณต้องการ

สำหรับการใช้คอมมานด์ไลน์เพื่อหาที่อยู่ไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์บน macOS นั้น ให้เปิดแอพพลิเคชั่น Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง “netstat -nr | grep default” ซึ่งจะแสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์คุณขึ้นมา ที่รวมถึงที่อยู่ไอพีของอุปกรณ์ที่เป็นดีฟอลต์เกตเวย์ด้วย

วิธีหาที่อยู่ไอพีดีฟอลต์เกตเวย์บนลีนุกซ์
1. เปิดแอพพลิเคชั่น Terminal
2. พิมพ์คำสั่ง “netstat -nr | grep default”
3. จากนั้นจะเห็นเอาต์พุตที่แสดงรายละเอียดด้านเครือข่ายของอุปกรณ์คุณ ที่มีที่อยู่ไอพีของดีฟอลต์เกตเวย์

ที่มา : ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/what-is-a-default-gateway/

จีนบอก “งง” หลังเยอรมันทำท่าจะแบน Huawei จากโครงข่าย 5G ของประเทศ

สถานทูตจีนในเยอรมันออกมากล่าวว่า ตัวเอง “กำลังสับสน และไม่พอใจเป็นอย่างมาก” หลังมีรายงานว่ารัฐบาลกรุงเบอร์ลินกำลังจะสั่งห้ามใช้อุปกรณ์บางตัวจากบริษัทจีนอย่าง Huaweiและ ZTE ในโครงข่ายโทรคมนาคมระดับ 5G ด้วยสาเหตุด้านความมั่นคง

โดยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่าอ้างแหล่งข่าวจากภาครัฐ ว่าทางการเยอรมันกำลังพิจารณาแบนอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างจากบริษัทจีน ไม่ให้นำมาใช้บนโครงสร้างโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศ

จากเอกสารของกระทรวงกิจการภายในที่รอยเตอร์ได้มานาน เขียนไว้ว่าอาจจะต้องแบนรายชื่อซัพพลายเออร์บางเจ้าไม่ให้ขายชิ้นส่วนที่สำคัญ ถ้ามีความน่าจะเป็นว่าถูกควบคุมโดยทางการของประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

ถ้ากฎใหม่นี้บังคับใช้แล้ว ย่อมหมายความว่าต้องเอาอุปกรณ์ที่เคยติดตั้งบนโครงข่ายอยู่แล้วออก แล้วแทนที่ด้วยอุปกรณ์จากผู้จำหน่ายอื่นแทนเลยทีเดียว ทางฝั่ง Huawei เองก็ออกมาปฏิเสธซ้ำๆ ว่าไม่ได้มีเจตนาแฝงที่จะเป็นภับต่อความมั่นคงของชาติใด

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b8%87%e0%b8%87-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3/

Zoom ไล่ประธานออก ซึ่งเป็นคนที่เคยเป็นระดับ VP ของกูเกิ้ล หลังรับมาทำงานแค่ 9 เดือน

เรียกว่าฝุ่นยังไม่ทันหายตลบหลังประกาศเลย์ออฟพนักงานเหยียบพัน ล่าสุด Zoom Video Communications ออกมากลาาวว่า ได้ไล่ Greg Tomb ประธานบริษัทของตัวเองออกไปเรียบร้อย หลังรับเข้ามาทำงานได้ยังไม่ถึงปีดี

อ้างอิงจากเอกสารของ Zoom ที่ยื่นต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระบุว่าได้ทำการเลิกจ้าง Tomb ซึ่งมีผลวันที่ 3 มีนาคม โดยทางผู้บริหารไม่ได้ให้เหตุผลในการเลิกจ้างครั้งนี้

ระหว่างที่ทางสำนักข่าว CRN ติดต่อสัมภาษณ์ Tomb ในเรื่องดังกล่าว ทางโฆษกของ Zoom ก็ให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทไม่ได้มองหาคนที่จะเข้ามาทำงานแทน Tomb และไม่ขอให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในตอนนี้

ในเอกสารที่ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์ระบุด้วยว่า Tomb จะได้รับเงินชดเชยตามสัญญาจ้างงานในลักษณะ “การเลิกจ้างที่ไม่ระบุเหตุผล” ทั้งนี้ Tomb เข้ามาเป็นประธานของ Zoom ตั้งแต่มิถุนายนปีที่แล้ว รายงานโดยตรงต่อซีอีโอ คุณ Eric Yuan

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CRN

from:https://www.enterpriseitpro.net/zoom-fires-president-former-google-vp/

Ericsson ยอมจ่ายค่าปรับกว่า 206 ล้านดอลลาร์ฯ กรณีติดสินบนเจ้าพนักงานมาเป็นปี

ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมจากสวีเดน Ericsson ตกลงที่จะจ่ายเงินค่าปรับจำนวน 206 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยอมรับสารภาพว่าละเมิดข้อบังคับต่อต้านการติดสินบนตามกฎหมายคอรัปชั่นจากต่างประเทศ ตามประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ Ericsson เคยจ่ายค่าปรับมาแล้วถึง 520.6 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2019 ตอนที่อัยการประจำกรุงนิวยอร์กกล่าวว่าเป็น “การทุจริตมาเป็นปี” ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบทเจ้าหน้าที่รัฐ หรือการเม้กบัญชีทั้งใน Djibouti ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และคูเวต

ยังไม่พอ บริษัทยังต้องจ่ายค่าปรับกว่า 540 ล้านดอลลาร์ฯ แก่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งจากกรณีเหล่านี้ในปี 2019 ทำให้ต้องลงนามในข้อตอลงรอลงอาญา (DPA) กับสำนักอัยการสหรัฐฯ ประจำแขวงนิวยอร์กใต้

แต่ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมกล่าวว่า Ericsson ฝ่าฝืนข้อตกลงนี้ด้วยการไม่ได้เปิดเผย “ข้อมูลและหลักฐานที่เป็นจริงทั้งหมด” เกี่ยวกับการดำเนินงานในประเทศ Djibouti และประเทศจีน รวมทั้งไม่ได้แสดงหลักฐานที่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานในอิรัก

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – CNBC

from:https://www.enterpriseitpro.net/ericsson-to-plead-guilty-and-pay-over-206-million/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz รองรับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอนาคต

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต โดยรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ‘ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี พ.ศ. 2573’ (5G-Mid-Band-Spectrum-Needs-Vision-2030) ระบุว่าความถี่ 2GHz ในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2568 – พ.ศ. 2573 ในขณะที่ย่านความถี่สูงกว่า 6GHz ถือเป็นย่านความถี่กลางสำคัญที่จะช่วยรองรับความต้องการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 สหภาพยุโรปได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกผลักดันการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในอนาคต บนย่านความถี่สูงกว่า 6GHz

กระแสดังกล่าวส่งผลให้ความนิยมย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ความนิยมการใช้ความถี่ในย่านสูงกว่า 6 GHz ที่เพิ่มขึ้นในแผนความถี่การสื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ทำให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เข้ามาในแผนดังกล่าวในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในการประชุมระหว่างวันที่ 20-25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองปูซาน เพื่อหารือนโยบายคลื่นความถี่ระดับภูมิภาค และร่วมประกาศจุดยืนด้านนโยบายความถี่ 6GHz โดยหลายประเทศพร้อมสนับสนุนการใช้ย่านความถี่ 6GHz ของแผนความถี่สื่อสารวิทยุและโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ในการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุโทรคมนาคม (WRC-23) ซึ่งถือเป็นการลงมติที่ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างกว้างขวาง ต่อการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

โดยที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2023 ซึ่ง รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ได้ประกาศระยะเวลาการทดสอบย่านความถี่ 6 GHz แบบใช้งานในสถานที่จริง เพื่อใช้วิจัยเครือข่าย 5G ขั้นสูงในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ณ งานสัมมนาหัวข้อ ‘เครือข่าย 5G สำหรับทุกสิ่งและทุกคน บทบาทของย่านความถี่ 6 GHz และย่านความถี่สูงพิเศษ’ (5G Connectivity for Everything and Everyone, The Role of 6 GHz and UHF) ภายในงานประชุมระดับโลกด้านเทคโนโลยีไร้สาย โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยการใช้ย่านความถี่ 6 GHz สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายแห่งโลกอนาคต เช่น เทคโนโลยี 5G และ 6G โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้ทดสอบย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz (6425 – 7125MHz) ในสถานที่จริง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยการทดสอบจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผลการทดสอบดังกล่าวจะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศไทยและนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายแก่การใช้งานย่านความถี่ 6 GHz ในอนาคต

from:https://www.enterpriseitpro.net/chula-university-test-the-6ghz-frequency/

Cisco ซื้อ Valtix เสริมทัพระบบความปลอดภัยแบบมัลติคลาวด์

ยักษ์ใหญ่ด้านเน็ตเวิร์กอย่าง Cisco ได้ประกาศแผนที่เตรียมจะเข้าซื้อสตาร์ทอัพด้านความปลอดภัยเครือข่ายแบบคลาวด์นาทีฟชื่อ Valtix ที่จะสามารถยกระดับกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยของทางซิสโก้เองได้

คาดว่าน่าจะปิดดีลได้ภายในสิ้นไตรมาสที่ 3 ซึ่งทีม Valtix จะเข้ามาร่วมในกลุ่มธุรกิจความปลอดภัยของซิสโก้ ผสานแพลตฟอร์มมัลติคลาวด์นี้เข้ากับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Security Cloud ของซิสโก้ในที่สุด โดยยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดตัวเลข

รองประธานอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของซิสโก้ Raj Chopra ได้ย้ำถึงความท้าทายด้านความสามารถในการมองเห็นระบบคลาวด์องค์กรในยุคปัจจุบันไว้ว่า “เมื่อนึกถึงระบบตอนนี้ มักประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ”

“ตั้งแต่พับลิกคลาวด์หลายๆ เจ้า (เช่นเจ้าใหญ่อย่าง AWS, Microsoft Azure, Google Cloud, และ Oracle Cloud Infrastructure) รวมถึงกลุ่มไพรเวทคลาวด์ต่างๆ ซึ่งระบบคลาวด์ปลอดภัยในแต่ละคลาวด์ต่างทำงานแยกจากกันหมด”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/cisco-to-bolster-multi-cloud-security-with-valtix-acquisition/

ดีแทค-ทรูควบรวมเสร็จสมบูรณ์จดทะเบียนบริษัทใหม่ในนาม “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”

ดีแทคและทรูได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัทใหม่ร่วมกันเสร็จสมบูรณ์ โดยได้หนังสือรับรองบริษัทใหม่ตามที่ยื่นจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในชื่อ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)”

ตามที่คณะกรรมการของทั้งสอง คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู ได้มีมติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วม เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อพิจารณาและอนุมัติเรื่องเกี่ยวกับการตั้งบริษัท อาทิ ทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้น และทุนชำระแล้วของบริษัทใหม่ โดยวันนี้ (1 มีนาคม 2566) บริษัทใหม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนบริษัทจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเรียบร้อย

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทใหม่ได้มีมติแต่งตั้งนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช เป็น ประธานคณะผู้บริหาร และนายชารัด เมห์โรทรา เป็นรองประธานคณะผู้บริหาร อย่างเป็นทางการเรียบร้อยในวันที่ 1 มีนาคม 2566

ที่มา : ข่าวพีอาร์

from:https://www.enterpriseitpro.net/true-corporation-news-release/

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก้าวสู่ Smart University ด้วยบริการจาก AIS Business

ท่ามกลางภูมิประเทศอันสวยงามกว่า 5,000 ไร่ ในจังหวัดเชียงราย คือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันอุดมศึกษาชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อันพิสูจน์ได้จากการเป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับอันดับสูงที่สุดจากการจัดลำดับ THE World University Rankings 2023 โดย Times Higher Education (THE) องค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

สิ่งเหล่านี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไม่มีพื้นฐานด้านวิชาการ การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวรับกับทุกความเปลี่ยนแปลง

“ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อก้าวสู่ Smart University เราให้ความสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ที่พร้อมต่อยอดสู่การศึกษาที่พัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด “ รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าว

รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ระบบไอทีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ดิจิทัล

การจะเดินตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ดิจิทัล เพื่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การรองรับการเติบโตของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) และภาคเหนือตอนบน

การอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตแบบ Digital Life Style มอบประสบการณ์การเรียนการสอนที่ไม่มีขีดจำกัด สนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบ Blended Learning ที่รองรับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการให้บริการการแพทย์ด้วยเทคโนโลยี Telemedicine

รวมถึงการใช้บุคลากรที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถให้การบริการที่รวดเร็วต่อความต้องการ พร้อมใช้งานได้ทันท่วงที รวมถึงปรับตัวเพื่อรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง ท้ายสุดคือการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

นั่นทำให้ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยกระดับการเรียนการสอนด้าน การดำเนินงาน และที่สำคัญคือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ถึงที่พร้อมทั้งประสิทธิภาพ ความสเถียร และมีความยืดหยุ่นสูง

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครั้งสำคัญ

นี่จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายทั้งแบบใช้สาย และไร้สาย รวมถึงเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ครั้งสำคัญ ด้วยการเลือกใช้โซลูชันจากซิสโก้ โดยมี AIS Business (เอไอเอสบิสสิเนส) พันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยให้ความไว้วางใจ

เอไอเอสบิสสิเนส ช่วยวางแผน ออกแบบ จัดหา และติดตั้งโซลูชันต่าง ๆ ด้วยแนวคิด Intelligent Network ประกอบด้วย

1) Intelligent Connectivity โครงข่ายการเชื่อมต่ออัจฉริยะ
– การขยายแบนวิดธ์ระบบเครือข่ายจาก 1 Gbps เป็น 10 Gbps ครอบคลุมทั้งการปรับปรุงเครือข่าย Fiber ทั่วมหาวิทยาลัย และอัปเกรดสวิตช์ทั้ง Core, Distributed และ Access เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งความเร็ว และความเสถียร

– การอัปเกรดเครือข่ายไร้สายด้วยมาตรฐาน Wi-Fi 6 ด้วยอุปกรณ์แอคเซสพอยต์จากซิสโก้มากกว่า 2000 จุด โดยใช้อุปกรณ์มาตรฐานสูงอย่าง Cisco Catalyst 9800 Wireless Controller และ Catalyst 9120AX Access Point

ที่ไม่เพียงขยายพื้นที่การใช้งานมากขึ้น แต่ยังรองรับสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ และ Blended Learning ซึ่งมีการใช้งานจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งโน๊ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์แท๊ปเล็ต ที่จำเป็นต้องมีระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพ

2) Intelligent Security ระบบความปลอดภัยไซเบอร์อัจฉริยะ
การเสริมความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบัน และอนาคต พร้อมปกป้องเครือข่าย รวมถึงผู้ใช้จากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ด้วย Cisco Firepower อุปกรณ์ Next Generation Firewall ที่สามารถให้บริการ Advanced Malware Protection (AMP) และ Next-generation IPS (NGIPS) เพิ่มเติมได้ในเครื่องเดียว

3) Intelligent Managed Service บริการช่วยจัดการอัจฉริยะ
สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยด้วยบริการ Managed Services ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอส เพื่อช่วยดูแลระบบไอทีต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างราบรื่น รวมถึงช่วยแบ่งภาระของหน่วยงานหลักด้านไอทีอย่างศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถทุ่มเทกับการพัฒนาบริการดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

ความเป็นมืออาชีพ และประสบการณ์ในการวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ด้วยประสบการณ์ในการออกแบบ ติดตั้งดิจิทัลโซลูชัน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันการศึกษา และองค์กรขนาดใหญ่มากมาย ทำให้เอไอเอสบิสสิเนสมีความเข้าใจความต้องการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นอย่างดี จึงสามารถจัดหาโซลูชันที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกันก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน เพื่อเพิ่มความเสถียร และป้องกันความเสียหายแก่อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้งานที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 5,000 ไร่ มีทั้งภูเขา และป่าไม้ เอไอเอสบิสซิเนสจึงเลือกใช้สายไฟเบอร์ออปติกชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันการกัดแทะจากกระรอก รวมถึงมีการป้องกันมด หรือแมลง เข้าไปสร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์แอคเซสพอยต์ เป็นต้น

“ ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลโซลูชัน เราทำงานอย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการสร้าง Smart Education Solution ที่จะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่ Smart University เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา, บุคคลากรของมหาวิทยาลัย และรูปแบบการศึกษาในยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS กล่าว

คุณพรสิทธิ์ ปาลิไลยก์ Solution Sales and Partner Management Manager, AIS

พร้อมต่อยอดความก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด

ด้วยความพร้อมของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ด้วยโซลูชันจากซิสโก้ และการให้บริการโดยเอไอเอสบิสสิเนส ทำให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พร้อมรับมือกับทุกความท้าทาย และพัฒนาตามวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่การเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (A Leading University in ASEAN with International Recognition) ได้อย่างยั่งยืน

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-x-mfu-go-to-smart-university/

AIS Business ผลักดันองค์กรสู่ Cognitive Tech-Co ด้วยเทคโนโลยีแบบอัจฉริยะ ช่วยสร้างธุรกิจไทยให้เติบโตแบบยั่งยืน

เอไอเอส มุ่งสร้างการเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาเพิ่มเติมมากขึ้นจากการที่เป็นผู้ให้บริการในรูปแบบการสื่อสารทั่วไปให้เปลี่ยนมาเป็น Digital Life Service Provider อย่างยาวนานมากกว่า 7-8 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เอไอเอส เองยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และมองไปถึงอนาคตที่จะให้บริการแก่ลูกค้า โดยวางเป้าหมายจะเป็น Cognitive Tech-Co เพื่อตอบสนองความต้องการด้วยโซลูชันที่ดียิ่งขึ้น

Cognitive Tech-Co คืออะไร?

เอไอเอส อธิบายว่า การก้าวสู่ผู้ให้บริการในลักษณะการเป็น Cognitive Tech-Co นั้น ก็คือการเติมความอัจฉริยะลงไปในบริการหรือลงไปในโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความอัจฉริยะดังกล่าวจะช่วยให้ AIS Business สามารถรับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น การรับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า, รับรู้ถึงบริการที่ทางลูกค้าใช้อยู่ว่ามีปัญหาหรือต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในจุดใด โดยระบบที่เป็นแบบ Cognitive จะสามารถจัดการและแก้ไขในจุดนี้ได้


ความอัจฉริยะที่จะใส่ลงไปในโซลูชันใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจะหมายรวมถึงเทคโนโลยีด้าน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics), เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Intelligent IT), ระบบเครือข่ายอัตโนมัติ (Autonomous Network) โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นเอ็นจิ้นหลักเพื่อทำให้ เอไอเอส ก้าวสู่การเป็น Cognitive Tech-Co อย่างแท้จริง เพื่อสร้างประสบการณ์และคุณค่าที่ยอดเยี่ยมในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านทางกลุ่มการให้บริการใน 4 กลุ่มหลักๆ ประกอบด้วย

– กลุ่ม Mobile ที่จะมุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์ด้านการใช้งานเครือข่าย 5G ให้มีประสิทธิภาพที่ยิ่งขึ้น
– กลุ่ม Fixed Broadband เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ Hi-Speed Home Internet ให้เร็วขึ้น
– กลุ่ม Enterprise Business ช่วยเร่งให้ธุรกิจและองค์กร ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
– กลุ่ม Digital Service เพิ่มนวัตกรรมโซลูชันใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าได้ใช้งาน เช่น ธุรกิจประกันภัย, ธุรกิจด้านการเงินใหม่ๆ เป็นต้น

AIS Business ช่วยธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

AIS Business คือส่วนบริการธุรกิจขององค์กรของเอไอเอส ที่มุ่งเน้นในการนำเสนอโซลูชัน ในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ด้วยการช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับธุรกิจในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยบริการและเซอร์วิส ตลอดจนความเป็นมืออาชีพที่องค์กรต่างๆ สามารถไว้วางใจได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรในเมืองไทยสามารถที่จะใช้งานเทคโนโลยีในระดับเอ็นเทอร์ไพรส์ได้อย่างเต็มขีดความสามารถนั่นเอง


กลุ่มบริการและเซอร์วิสหลักๆ ของ AIS Business ที่กล่าวไว้ในข้างต้น ประกอบด้วย บริการด้านระบบ 5G Ecosystem, เทคโนโลยี Intelligent Network, แพลตฟอร์ม Digital Infrastructure and Platform เช่น Cloud หรือเทคโนโลยี IoT, ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Data-Driven Business และกลุ่มบริการที่เกี่ยวข้องกับ Trusted Professionals ซึ่งในปี 2022 ที่ผ่านมา AIS Business สามารถสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการด้านไอซีทีในเมืองไทยได้อย่างน่าทึ่ง จนได้รับการันตีจาก GlobalData ในการสำรวจองค์กรระดับ Top 200 ของในประเทศไทย โดยทั้งหมดเห็นพ้องว่า AIS Business คือผู้นำในการให้บริการด้าน ICT อันดับหนึ่งจากการสำรวจในปีที่ผ่านมา

ตั้งเป้าวางรากฐานธุรกิจไทยให้มั่นคงและยั่งยืน

จากความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ทำให้ AIS Business ตระหนักได้ว่า องค์กรธุรกิจในเมืองไทยยังมีโอกาสอีกมากที่จะเร่งประสิทธิภาพด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานและมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง จึงได้สร้างแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” (Growth, Trust and Sustainable) เพื่อให้ทั้ง AIS Business, คู่ค้า รวมทั้งลูกค้า เติบโตไปอย่างมั่นใจไปพร้อมๆ กัน ผ่านทางโซลูชันและโครงข่ายที่เชื่อถือได้ของเอไอเอส ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจในแบบ Sustainable Business ได้ในอนาคต


จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ AIS Business ได้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของปี 2023 ไว้ตามประเด็นต่างๆ ดังนี้

เร่งการเติบโตของธุรกิจโดยการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ
ด้วยเครื่องมือทางดิจิทัล (Growing)
AIS Business พุ่งเป้าไปที่ประเด็นของการเติบโต ด้วยการเพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจ โดยอาศัยเครื่องมือในการสร้างธุรกิจ ทั้งหลายให้ตอบโจทย โดยแบ่งออกเป็นแนวทางต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีโซลูชันที่น่าสนใจ อาทิ

– สร้าง Enable Unmanned and Automation ด้วย 5G High Speed and Low Latency, Network Slicing, นิเวศคลาวด์ที่ครบวงจร เป็นต้น
– สร้าง Increasing Business Agility ด้วย DC/DR Network, Multi-Cloud Backup & Recovery เป็นต้น
– สร้าง Accelerate Time to Market ด้วย AIS 5G NextGen Platform, Cloud and Container เป็นต้น
– สร้าง Optimize Operation Efficiency ด้วย Workflow Management
– สร้าง Better Data Intelligence ด้วย Data Analytics, Data Insight, เป็นต้น
– สร้าง Enable New Industry Solutions เช่น Smart Manufacturing, Smart Retail, Smart City เป็นต้น

บริการโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ
ปลอดภัย และเชื่อถือได้ (Trusted)
AIS Business สร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจที่จำเป็นต้องดำเนินธุรกิจอยู่บนความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยไม่ว่าจะเป็นทั้งโครงข่ายหรือเซอร์วิส ตลอดจนโซลูชันต่างๆ ที่วางใจได้ ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้

– การสร้าง Modernize Network ให้ทันสมัยด้วย SD-WAN, 5G FWA Hybrid MPLS, Centralized Management เป็นต้น
– การสร้าง Modernize Cloud and Platform ด้วย 5G Edge Computing, AIS Cloud X, Sovereign Cloud, เป็นต้น
– การสร้าง Ensure Cybersecurity Protection ด้วย Secured Network and Cloud, Endpoint Protection, Data Sovereignty เป็นต้น
– การสร้าง High Availability เช่น DC/DR Network, Multi-Cloud Backup & Recovery เป็นต้น

สร้างระบบนิเวศนวัตกรรม เพื่อธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability)
AIS Business พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การสร้างระบบนิเวศสำหรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรต่างๆ มาพร้อมกับโซลูชันหลากหลายโซลูชัน อาทิเช่น โซลูชันที่เข้ามาช่วยในการบริการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยคาร์บอน การปล่อยน้ำเสียโดยใช้ข้อมูลแบบ real-time จากอุปกรณ์ IoT ดังตัวอย่างบริการต่อไปนี้

– การทำ Drive Sustainable Business ด้วยโปรแกรม AIS Academy for Thai, AIS Aunjai Cyber, e-Waste, Lower Energy เป็นต้น
– การทำ ESG-Friendly ด้วย Energy & Emission Management, Air Quality & Wastewater Monitoring เป็นต้น
– การทำ Digital Innovation Ecosystem ด้วย AIS 5G NEXTGen Platform, Experience Center, Business Application Marketplace เป็นต้น

การสร้างสรรค์ Intelligent Digital Infrastructure

สิ่งที่ AIS Business กำลังมุ่งเน้นในปี 2023 ตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” พวกเขาได้ยกตัวอย่างไดอะแกรมที่น่าสนใจและนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมหลายแห่งเขาเรียกมันว่า Intelligent Digital Infrastructure หรือโครงสร้างดิจิทัลแบบอัจฉริยะ

โครงสร้างอัจฉริยะ Intelligent Digital Infrastructure ของ AIS Business

จากภาพไดอะแกรมเบื้องต้นนั้น AIS Business มีโซลูชันที่ครอบคลุมโดยองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการและใช้งานโครงสร้างดิจิทัลนี้ตั้งแต่การสร้างระบบเครือข่ายแบบ 5G ที่เป็นส่วนตัว (5G Private Network) เชื่อมโยงกับดีไวซ์และอุปกรณ์ IoT ในองค์กรของตน

ในกรณีทีต้องการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายไปยัง Cloud นั้น AIS Business ก็ได้จัดเตรียมโครงข่ายการเชื่อมโยงเชื่อมได้ทั้งแบบ 5G Wireless หรือแบบ Fixed Fiber Optics วิ่งไปบนเครือข่าย Intelligent Core Network ที่มีความอัจฉริยะ รวมถึงยังมีบริการการประมวลผลแบบ EDGE Computing รองรับในกรณีต้องการประมวลผลในระยะใกล้ๆ เป็นการตอบสนองด้านความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ

และเมื่อองค์กรต้องการเก็บข้อมูลไปไว้บน Cloud ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Cloud ที่เป็นแบบ Sovereign Cloud ซึ่ง Cloud รูปแบบนี้ AIS Business ได้รับการการรับรองมาตรฐานจาก VMware ในการเป็น VMware Cloud Verified Sovereign Cloud แล้ว ส่วนในกรณีที่บางองค์กรอาจจะวางข้อมูลไว้ระบบในดาต้าเซ็นเตอร์ทาง AIS Business ก็พร้อมให้บริการ Multi-Location Data Centers อยู่ในหลายๆ แห่งทั่วประเทศ ก็สามารถทำได้เช่นกัน และสุดท้ายหากองค์กรต้องการวางระบบไปที่ระบบ Hyperscale Cloud ก็มีให้เลือกใช้ทั้ง Microsoft, AWS หรือ Huawei Cloud เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตอบสนองด้านความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ Cloud นั่นเอง

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจากลูกค้าองค์กร

แนวคิด Intelligent Digital Infrastructure นั้นถูกนำมาใช้จริงกับลูกค้าของ AIS Business ไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่นในกรณีของ Easy Buy ก็นำเอาโซลูชันของ AIS Business ไปใช้งานผ่านทาง โซลูชันเช่น 5G FWA and SD-WAN เป็นต้น


ถัดมาเป็นกรณีศึกษาของกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น SCG โดย AIS Business ได้นำเอาโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับระบบ Autonomous (เช่น Autonomous EV Truck) และใช้ระบบอุปกรณ์ด้าน IoT เข้ามาร่วมในการทำงาน (สามาถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 35%) รวมถึงการดึงเอาข้อมูลผ่านทางดีไวซ์นั้นๆ และส่งผ่านโครงข่ายอัจฉริยะที่วางไว้ ทั้งนี้ช่วยในเรื่องของการสร้างธุรกิจที่เป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้น

และส่วนของกรณีศึกษาจากทาง Somboon Manufacturing จะนำเอาระบบเช่น AS/RS-Warehouse และ Unmanned AGV เข้ามาช่วยในการจัดการและคำนวณด้านพื้นที่ทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มการใช้งานพื้นที่ได้สูงถึง 60% รวมถึงลดค่าใช้จ่าย OPEX ได้มากถึง 30% อีกด้วย!

สร้าง Ecosystem และ Partnership ได้แบบยั่งยืน

สิ่งที่ AIS Business มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานในปี 2023 นี้ ก็เพื่อจะเป็นการสร้างระบบที่มีความยั่งยืนไม่ว่าจะในส่วนของการสร้าง Ecosystem หรือการให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ โดยการผสานกันทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม โดย AIS Business มีโซลูชันที่มีความอัจฉริยะในหลากหลายส่วน พร้อมกับยังร่วมมือกับองค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างนวัตกรรมความอัจฉริยะในธุรกิจนั้นๆ ดังตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นให้เห็นแล้วในช่วงที่ผ่านมา และก็จะขยายเพิ่มเติมให้เห็นกันมากขึ้นตามแนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” นั่นเอง

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย

“Your Trusted Smart Digital Partner”

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

==========================

สนใจปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

E-mail : business@ais.co.th

Website : https://business.ais.co.th

Line : https://lin.ee/VrXDoF4

 

from:https://www.enterpriseitpro.net/ais-business-growth-trusted-and-sustainable/