คลังเก็บป้ายกำกับ: ANALYSIS

Airbnb เผยจำนวนคืนการจองที่พักทั่วไทยเพิ่ม 240% เทียบกับช่วงโควิด พร้อมเผยเทรนด์ปีนี้ คนเที่ยวนานขึ้น เน้นเที่ยวแบบกลุ่ม

Airbnb เผยกรุงเทพฯ เตรียมรับนักท่องเที่ยวมหาศาล ติด 5 อันดับแรกเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมบน Airbnb ในปี 2023 นี้

อมันพรีท บาจาจ ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฮ่องกง และไต้หวันเผยว่า ในปี 2023 นี้ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก (Inbound) จะเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 11.5 ล้านคน ในขณะที่ปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าไทยจะรับนักท่องเที่ยว 25-30 ล้านคน

นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นในปีนี้ เทียบกับปี 2022 ที่การท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวมาก แต่การท่องเที่ยวของไทยและประเทศเอเชียอื่น ๆ ยังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ 

นอกจากนี้ ยังเผยว่าจำนวนคืนการจองที่พักบน Airbnb ทั่วประเทศไทยในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 240% หากเทียบกับปี 2020 ที่เป็นช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักและมีการปิดประเทศ โดยกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมอันดับ 1 ของนักเดินทาง Airbnb ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 และในปีนี้ กรุงเทพฯ ก็ติดอันดับ 5 เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลกบน Airbnb ด้วย 

เมื่อปีที่แล้วกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทยที่มีการจองที่พักมากที่สุดบน Airbnb ตามมาด้วยภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ และเกาะสมุย ส่วนกลุ่มนักเดินทางจากทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาในไทยมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ตามด้วยสหราชอาณาจักร ยุโรป เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และจีน

ส่วนจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว 5 อันดับแรก คือ โซล (เกาหลีใต้) ลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ปารีส (ฝรั่งเศส) เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)

เทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2023

  1. นักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มสำคัญที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรัฐบาลจีนประกาศลดระดับความเข้มงวดมาตรการป้องกันโควิด-19 ประเทศไทยก็ขึ้นอันดับ 1 ในการเป็นจุดหมายต่างประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนค้นหามากที่สุดบน Airbnb 

    จากการสำรวจของ Airbnb พบว่าที่พักในไทยกว่า 50% เตรียมความพร้อมเพื่อรับนักท่องเที่ยวจีนทั้งการทำไกด์ไลน์ภาษาจีน การหาไกด์ที่สามารถพูดจีน กรุงเทพยังเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ของคนจีนที่ต้องการเดินทางออกนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกด้วย

  2. การเดินทางแบบกลุ่มเติบโตสูงขึ้น ทำให้การท่องที่ยวแบบกลุ่มบน Airbnb เพิ่มขึ้นกว่า 300% เทียบกับปีที่แล้ว

     

  3. การเดินทางเพื่อมาพักในระยะยาวมากขึ้น เพราะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 บริษัทต่างประเทศใช้นโยบายทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้เส้นกั้นระหว่างการท่องเที่ยวและการทำงานน้อยลง เมื่อปีที่แล้ว ระยะเวลาการเข้าพักในประเทศไทยบน Airbnb โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คืน และการเข้าพักระยะยาวมากกว่า 28 วัน เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2021 
  4. หมุดหมายในการท่องที่ยวและความสนใจของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสนใจ เน้นไปที่ความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบ Airbnb เองก็เพิ่งจะปล่อยแคมเปญ Sabai Sabbatical ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ดวงขวัญ สินสัตยกูล ผู้จัดการประจำตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ได้กล่าวถึงเทรนด์การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ในปีนี้ว่า จังหวัดที่นักท่องเที่ยวสนใจที่จะเดินทางมาในช่วงสงกรานต์ คือ กรุงเทพ พัทยา เชียงใหม่ กระบี่ และภูเก็ต

ความสนใจที่จะเข้าพักบน Airbnb เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะจีนเนื่องจากช่วงสงกรานต์ตรงกับ Spring Travel ของชาวจีนที่สนใจมาเที่ยวในประเทศไทย

ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์จาก Airbnb

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Airbnb เผยจำนวนคืนการจองที่พักทั่วไทยเพิ่ม 240% เทียบกับช่วงโควิด พร้อมเผยเทรนด์ปีนี้ คนเที่ยวนานขึ้น เน้นเที่ยวแบบกลุ่ม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/airbnb-%e0%b9%80%e0%b8%9c%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%b3%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9e/

Advertisement

Airbnb เผยจำนวนคืนการจองที่พักทั่วไทยเพิ่ม 240% เทียบกับช่วงโควิด พร้อมเผยเทรนด์ปีนี้ คนเที่ยวนานขึ้น เน้นเที่ยวแบบกลุ่ม

Airbnb เผยกรุงเทพฯ เตรียมรับนักท่องเที่ยวมหาศาล ติด 5 อันดับแรกเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมบน Airbnb ในปี 2023 นี้

อมันพรีท บาจาจ ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ฮ่องกง และไต้หวันเผยว่า ในปี 2023 นี้ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก (Inbound) จะเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว โดยปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 11.5 ล้านคน ในขณะที่ปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าไทยจะรับนักท่องเที่ยว 25-30 ล้านคน

นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นในปีนี้ เทียบกับปี 2022 ที่การท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวมาก แต่การท่องเที่ยวของไทยและประเทศเอเชียอื่น ๆ ยังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ 

นอกจากนี้ ยังเผยว่าจำนวนคืนการจองที่พักบน Airbnb ทั่วประเทศไทยในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นถึง 240% หากเทียบกับปี 2020 ที่เป็นช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักและมีการปิดประเทศ โดยกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมอันดับ 1 ของนักเดินทาง Airbnb ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 และในปีนี้ กรุงเทพฯ ก็ติดอันดับ 5 เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลกบน Airbnb ด้วย 

เมื่อปีที่แล้วกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทยที่มีการจองที่พักมากที่สุดบน Airbnb ตามมาด้วยภูเก็ต พัทยา เชียงใหม่ และเกาะสมุย ส่วนกลุ่มนักเดินทางจากทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาในไทยมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ตามด้วยสหราชอาณาจักร ยุโรป เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และจีน

ส่วนจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่คนไทยนิยมไปท่องเที่ยว 5 อันดับแรก คือ โซล (เกาหลีใต้) ลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ปารีส (ฝรั่งเศส) เมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)

เทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2023

  1. นักท่องเที่ยวจีนเป็นกลุ่มสำคัญที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรัฐบาลจีนประกาศลดระดับความเข้มงวดมาตรการป้องกันโควิด-19 ประเทศไทยก็ขึ้นอันดับ 1 ในการเป็นจุดหมายต่างประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนค้นหามากที่สุดบน Airbnbจากการสำรวจของ Airbnb พบว่าที่พักในไทยกว่า 50% เตรียมความพร้อมเพื่อรับนักท่องเที่ยวจีนทั้งการทำไกด์ไลน์ภาษาจีน การหาไกด์ที่สามารถพูดจีน กรุงเทพยังเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ของคนจีนที่ต้องการเดินทางออกนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกด้วย
  2. การเดินทางแบบกลุ่มเติบโตสูงขึ้น ทำให้การท่องที่ยวแบบกลุ่มบน Airbnb เพิ่มขึ้นกว่า 300% เทียบกับปีที่แล้ว 
  3. การเดินทางเพื่อมาพักในระยะยาวมากขึ้น เพราะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 บริษัทต่างประเทศใช้นโยบายทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้เส้นกั้นระหว่างการท่องเที่ยวและการทำงานน้อยลง เมื่อปีที่แล้ว ระยะเวลาการเข้าพักในประเทศไทยบน Airbnb โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คืน และการเข้าพักระยะยาวมากกว่า 28 วัน เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2021
  4. หมุดหมายในการท่องที่ยวและความสนใจของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสนใจ เน้นไปที่ความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวที่สร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบ Airbnb เองก็เพิ่งจะปล่อยแคมเปญ Sabai Sabbatical ที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ดวงขวัญ สินสัตยกูล ผู้จัดการประจำตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ได้กล่าวถึงเทรนด์การท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ในปีนี้ว่า จังหวัดที่นักท่องเที่ยวสนใจที่จะเดินทางมาในช่วงสงกรานต์ คือ กรุงเทพ พัทยา เชียงใหม่ กระบี่ และภูเก็ต

ความสนใจที่จะเข้าพักบน Airbnb เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะจีนเนื่องจากช่วงสงกรานต์ตรงกับ Spring Travel ของชาวจีนที่สนใจมาเที่ยวในประเทศไทย

ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์จาก Airbnb

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Airbnb เผยจำนวนคืนการจองที่พักทั่วไทยเพิ่ม 240% เทียบกับช่วงโควิด พร้อมเผยเทรนด์ปีนี้ คนเที่ยวนานขึ้น เน้นเที่ยวแบบกลุ่ม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/airbnb-forecasts-strong-surge-in-inbound-tourists-thailand-2023/

เจาะอาณาจักร MBK ที่ไม่ได้มีแค่ห้าง และข้าว แต่มีทั้งสนามกอล์ฟ บริการสินเชื่อ และประมูลรถยนต์

เมื่อพูดถึงชื่อ มาบุญครอง หรือ MBK ธุรกิจแรก ๆ ที่คนนึกถึงคงไม่พ้นศูนย์การค้า และข้าวสารมาบุญครอง เพราะทั้งสองธุรกิจอยู่คู่คนไทยมาหลายสิบปี เป็นที่รู้จักในคนทุกเพศทุกวัย

แต่รู้หรือไม่ มาบุญครอง ทำธุรกิจอื่น ๆ ด้วย หากรวมศูนย์การค้า และข้าวสารเข้าไปด้วยจะมีทั้งหมด 8 ธุรกิจ เช่น ธุรกิจสนามกอล์ฟ, ธุรกิจสินเชื่อทางการเงิน และธุรกิจประมูลรถยนต์ เป็นต้น

ยิ่งการระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย รายได้ปี 2565 ของ มาบุญครอง จึงเติบโต 10% และพลิกมีกำไรสุทธิ 332 ล้านบาท แล้วภาพรวมธุรกิจ มาบุญครอง ในปี 2566 จะเป็นอย่างไร Brand Inside รวบรวมข้อมูลมาให้ดังนี้

MBK
ภาพ Shutterstock

มาบุญครอง กับ 8 กลุ่มธุรกิจที่แข็งแกร่ง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น คนทั่วไปอาจรู้จัก มาบุญครอง ในแบรนด์ข้าวสาร และศูนย์การค้า แต่ยังไม่รู้จักธุรกิจอื่น ๆ ของ มาบุญครอง เท่าไรนัก เพราะปัจจุบัน มาบุญครอง หรือ บมจ. เอ็ม บี เค แบ่งการทำธุรกิจออกเป็น 8 กลุ่มประกอบด้วย

  • ธุรกิจศูนย์การค้า มีรายได้จากการขายพื้นที่เช่าให้รายย่อย กับองค์กรที่ศูนย์การค้า และอาคารมาบุญครอง
  • ธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยว มีโรงแรมหลักคือ ปทุมวันปริ๊นเซส
  • ธุรกิจกอล์ฟ มีสนามหลักคือ ริเวอร์เดล และเรด เมาท์เทิน
  • ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการบ้านหรูควาริทซ์ พระราม 9 และ ริเวอร์เดล เรสซิเดนซ์
  • ธุรกิจอาหาร หรือ ข้าวแบรนด์มาบุญครอง
  • ธุรกิจการเงิน เช่น ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อจักรยานยนต์ T Leasing
  • ธุรกิจการประมูล ที่ร่วมทุนกับธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่นให้บริการในช่ือ Apple Auto Auction
  • ธุรกิจสนับสนุนองค์กร และอื่น ๆ

แม้ มาบุญครอง จะเริ่มต้นจากธุรกิจอาหาร ผ่านการก่อตั้ง บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด เมื่อปี 2517 และเริ่มมาเปิดศูนย์การค้ามาบุญครองเมื่อปี 2528 แต่ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยนไป และด้วยบริษัทมีที่ดินจำนวนมาก จึงเริ่มนำที่ดินเหล่านั้นมาปรับใช้งานกับธุรกิจอื่น ๆ ไม่ได้ยึดติดแค่ธุรกิจศูนย์การค้า และอาหาร

สุเวทย์ ธีรวชิรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บมจ. เอ็ม บี เค เล่าให้ฟังว่า ที่ดินที่บริษัทเป็นเจ้าของถูกนำไปพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ เพื่อต่อยอดโอกาสทางธุรกิจ นอกจากนี้ทางบริษัทยังปรับตัวภายใต้วิกฤติตลอดเวลา จึงประคองกิจการให้แข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดในมือตลอดเวลา

เจาะรายได้แต่ละกลุ่มธุรกิจของมาบุญครอง

ส่วนงานธุรกิจ 2565 2564 เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
1) ศูนย์การค้า 1,703 1,480 223 15%
2) โรงแรม และการท่องเที่ยว 829 221 608 275%
3) กอล์ฟ 412 258 154 60%
4) อสังหาริมทรัพย์ 908 1,000 (92) (9%)
5) อาหาร 1,601 1,646 (45) (3%)
6) การเงิน 2,359 2,412 (53) (2%)
7) การประมูล 568 602 (34) (6%)
8) ศูนย์สนับสนุนองค์กร และอื่น ๆ 25 12 13 108%
รวม 8,405 7,631 774 10%

*หน่วยล้านบาท

ดังตารางด้านบนจะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมธุรกิจของ มาบุญครอง ที่ปัจจุบันไม่ได้พึ่งพิงแค่ศูนย์การค้า และอาหาร อย่างชัดเจน เพราะสัดส่วนรายได้ที่มากที่สุดคือ ธุรกิจการเงิน รองลงมาเป็นศูนย์การค้า และอาหาร ส่วนสนามกอล์ฟ กับโรงแรม และการท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัวกลับมาจากวิกฤติโรคโควิด-19 ระบาด

“มาบุญครอง พยายามทำตัวเป็นโฮลดิ้งผ่านการจัดกลุ่มธุรกิจให้ชัดเจน ถ้ามีคนเข้ามาร่วมทุนในอนาคต หรือจะเอาบางธุรกิจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ง่ายกว่าเดิม ซึ่งสิ้นปีนี้น่าจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ถือเป็นอีกหลักหมุดสำคัญของกลุ่มมาบุญครองที่ทำธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน”

แม้ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัว แต่ไม่ใช่กับธุรกิจอาหารที่จริง ๆ ควรจะเติบโตไปด้วยกัน เพราะธุรกิจขายข้าวมีรายได้ลดลง 10% เพราะโรงสีข้าวผลิตข้าว และจำหน่ายเอง ทำให้ร้านค้าปลีกหยุดำเนินกิจการ หรือลดปริมาณสั่งข้าว นอกจากนี้กำลังซื้อผู้บริโภคยังมีปัญหา จึงไปซื้อข้าวแบรนด์อื่นที่มีราคา และคุณภาพต่ำกว่าแทน

ปี 2566 กับการเติบโตเหมือนก่อนโควิด

สุเวทย์ ย้ำว่า ในปี 2566 มาบุญครอง จะเริ่มกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะฝั่งศูนย์การค้าที่ไม่พึ่งแต่นักท่องเที่ยวจีน ผ่านการเน้นลูกค้ากลุ่มตะวันออกกลาง และอินเดีย จึงไม่มีปัญหานักท่องเที่ยวจีนที่กว่าจะไหลเข้ามาในประเทศไทยอาจต้องรอถึงปลายปี นอกจากนี้การเพิ่มโซนใหม่ 24 ชม. ยังช่วยดึงลูกค้ากลุ่มใหม่เข้ามาใช้บริการด้วย

“การมีโซน 24 ชม. ช่วยให้เราเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นดองกิ หรือร้านอาหารที่ให้คนทำงานเข้ามาใช้บริการ จากเดิมที่คนกลุ่มนี้อาจไม่ใช้ลูกค้าที่มาใช้บริการเรา ซึ่งในเดือน ธ.ค. 2565 นั้น จำนวนผู้ใช้บริการศูนย์การค้ามาบุญครองเท่ากับช่วงก่อนโรคโควิด-19 ระบาด หรือราว 80,000 คน/วัน แล้ว”

อย่างไรก็ตาม จากกลุ่มธุรกิจทั้ง 8 ของมาบุญครอง เกือบทั้งหมดจะอิงกับกระแสการท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ทำให้ มาบุญครอง จะกลับมาเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย สุเวทย์ หวังว่า ปี 2566 จะกลับมามีรายได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโรคโควิด-19 ระบาด หรือราว 12,249 ล้านบาท

อ้างอิง // MBK

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เจาะอาณาจักร MBK ที่ไม่ได้มีแค่ห้าง และข้าว แต่มีทั้งสนามกอล์ฟ บริการสินเชื่อ และประมูลรถยนต์ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/mbk-business-plan-2023/

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปีที่ญี่ปุ่น

หากพูดถึงการพักผ่อนหย่อนใจยามค่ำคืน บาร์โฮสต์คงเป็นหนึ่งในหลาย ๆ สถานที่ที่คนเลือกไป โดยเฉพาะในญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อเรื่องนี้ 

ย่านคาบุกิโจที่มีบาร์โฮสต์กว่า 200 แห่ง บางร้านเน้นบรรยากาศสบาย ๆ เป็นกันเอง บางร้านเน้นความหรูหรา เรียกว่าตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกันได้ดี ส่งผลให้บาร์โฮสต์ในย่านนี้สามารถทำยอดขายรวมกันกว่า 3,000 ล้านเยน ถึง 30,000 ล้านเยนต่อปีเลยทีเดียว (ประมาณ 770 ล้านบาท ถึง 7,700 ล้านบาท)

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ที่ญี่ปุ่น
TOKYO, JAPAN – March 14, 2015 : Shinjyuku is the Japan’s largest red light district features countless shops, bars and nightclubs.

อะไรทำให้บาร์โฮสต์ในญี่ปุ่นได้รับความนิยมถึงขนาดนี้ Brand Inside จะพาไปไขข้อสงสัยและเปิดเคล็ดลับที่ทำให้ธุรกิจบาร์โฮสต์อยู่มาได้อย่างยาวนานกัน 

กว่าจะเป็นบาร์โฮสต์ในปัจจุบัน เคยเป็นธุรกิจสีเทามาก่อน

ย้อนกลับไปในอดีต บาร์โฮสต์ย่านคาบุกิโจนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของแกงค์อันธพาล หากใครอยากเข้ามาเปิดบาร์โฮสต์ในย่านนี้จะถูกบังคับให้จ่ายเงินส่วนหนึ่งก่อน แต่เมื่อถึงคราวต้องจ่ายภาษีอันธพาลกลุ่มนี้ก็หาทางหลบเลี่ยง ทั้ง ๆ ที่มีรายได้มากมายจากการรีดไถเงินลูกค้าอย่างไม่เป็นธรรม 

จนกระทั่งช่วงปี ค.ศ.2000 เริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านความรุนแรง อันธพาลกลุ่มนี้จึงถูกตำรวจจับกุมตัวไป ทำให้ไม่สามารถไล่รังแกคนอื่น ๆ ในย่านได้เหมือนเมื่อก่อน 

หลังจากนั้น 4 ปีสถานบันเทิงที่อยู่ภายใต้แกงค์อันธพาลก็ถูกสั่งให้ปิดตัวไปทีละแห่ง จนเหลือแค่บาร์โฮสต์ที่ให้บริการอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ที่ญี่ปุ่น
tokyo, japan, 05 07 2017 : view of host club in kabukicho at shinjuku

บวกกับการเข้ามาของโซเชียลมีเดียที่ทำให้คนทั่วไปช่วยกันสอดส่องดูความปลอดภัยของสถานบันเทิงต่าง ๆ ได้ทั่วถึงมากขึ้น ถ้าบาร์โฮสต์แห่งไหนปฏิบัติกับลูกค้าไม่ดีก็จะมีคนโพสต์ลงในโซเชียลมีเดียเพื่อกระจายข่าว ถือเป็นการช่วยควบคุมธุรกิจไปในตัว

ก้าวแรกสำหรับการเป็นโฮสต์ที่ญี่ปุ่น

สำหรับใครที่อยากทำอาชีพโฮสต์มีแนวทางเข้าวงการนี้ 2 วิธี วิธีแรกคือสมัครกับเว็บไซต์จัดหาโฮสต์ และวิธีที่สองคือรอแมวมองมาทาบทาม 

ในหลาย ๆ ครั้งแมวมองมักโน้มน้าวใจโดยใช้เหตุผลว่าจะช่วยจ่ายค่าทำศัลยกรรมให้ พอเป็นแบบนี้ไปนาน ๆ เข้า จึงเกิดแฟชันและเทรนด์การศัลยกรรมตามสไตล์ใบหน้าของโฮสต์ชื่อดังย่านคาบุกิโจ

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ที่ญี่ปุ่น
Very cool young Japanese host

หลังจากนั้นเมื่อรับเข้าทำงานจะมีการตกลงเรื่องเงินเดือนกัน โดยเงินเดือนพื้นฐานจะอยู่ที่ 180,000 เยน ถึง 200,000 เยน (ประมาณ 46,000 บาท ถึง 51,000 บาท) 

ถ้าโฮสต์คนไหนมีความสามารถมากจะได้รับค่าจ้างเพิ่มเติมตามผลงาน และมีโอกาสเลื่อนขั้นขึ้นเรื่อย ๆ โดยเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 250,000 เยน ถึง 300,000 เยน (ประมาณ 64,000 บาท ถึง 77,000 บาท)

ศิลปะการฟังและการสังเกตคือเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าติดใจบาร์โฮสต์

ไม่ว่าใครก็ย่อมอยากได้คนรับฟังความทุกข์และความสุขใจต่าง ๆ  ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว บาร์โฮสต์จึงตอบโจทย์ความต้องการนี้ เพราะนอกจากจะถูกเทรนให้เป็นผู้ฟังที่ดีแล้ว โฮสต์หลาย ๆ คนยังมีแนวทางการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาคาใจให้ลูกค้าด้วย จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมสาว ๆ ส่วนหนึ่งถึงชื่นชอบการมาบาร์โฮสต์ 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ที่ญี่ปุ่น
Male host and lady having alcohol and fun

นอกจากหน้าที่ที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดีแล้ว ยังมีเคล็ดลับอีกมากมายที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจได้ด้วยหลักการทางจิตวิทยา เช่น 

  • อย่าเริ่มต้นบทสนทนาด้วยการถามว่าทำไมถึงมาที่บาร์โฮสต์ เพราะลูกค้าจะรู้สึกเหมือนโดนสอบสวน แต่ให้เริ่มทักทายจากสิ่งที่สังเกตได้จากภายนอกก่อน เช่น ชมการแต่งหน้า การแต่งกาย หรือเครื่องประดับที่ใช้
  • ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเข้าใจโดยใช้วิธีพูดทวน เช่น ถ้าลูกค้าเล่าว่าเมื่อเช้าเจอเรื่องเศร้ามา โฮสต์ก็อาจพูดทวนว่า “เจอเรื่องเศร้ามาเหรอครับ”
  • ถ้าโฮสต์อยากทราบข้อมูลส่วนตัวเรื่องไหน ให้ลองเล่าเรื่องของตัวเองในประเด็นนั้นให้ลูกค้าฟังก่อน เช่น ถ้าอยากทราบว่าลูกค้ารู้สึกไม่มั่นใจในเรื่องอะไร ทางโฮสต์จะเล่าความไม่มั่นใจของตัวเองให้ฟังก่อน 
  • ใช้ประโยคที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองสำคัญ เช่น “เรื่องนี้ผมบอกคุณคนแรกเลยนะครับ” หรือ “เรื่องนี้ผมบอกคุณคนเดียวนะครับ”

ต่อมาคือศิลปะการสังเกต ซึ่งจะเน้นไปที่การสังเกตสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวของลูกค้าระหว่างสนทนากัน ตัวอย่างเช่น

  • ถ้าลูกค้าใช้มือแตะจมูกบ่อย ๆ อาจแปลว่าเธอกำลังรู้สึกเขินอาย ให้โฮสต์ลองพูดเสียงเบาลง เพื่อไม่ให้โต๊ะอื่นได้ยินบทสนทนา 
  • ถ้าลูกค้าเอามือขึ้นมาวางบนโต๊ะ (จากเดิมที่ซ่อนมือไว้ใต้โต๊ะ) และถ้าลูกค้าขยับกระเป๋าออกจากตัก (จากเดิมที่วางกระเป๋าไว้บนตัก) นั่นแปลว่าลูกค้าเริ่มรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายขึ้นแล้ว 
  • หากคิ้วของลูกค้าขยับไปมาระหว่างสนทนา นั่นแปลว่าเธอกำลังสนใจในสิ่งที่คุยกัน โฮสต์จึงสามารถพูดคุยเรื่องนั้นต่อ
  • ในทางกลับกัน ถ้าลูกค้านั่งงอขาข้างหนึ่งและเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง หรือนั่งไขว่ห้างและยกปลายเท้าชี้ขึ้นตลอดเวลา นั่นเป็นสัญญานว่าบทสนทนาเริ่มน่าเบื่อ โฮสต์จึงควรหาจังหวะเปลี่ยนเรื่องคุย

นอกจากนี้ โฮสต์บางคนอาจถูกเทรนให้ใส่ใจรายละเอียดถึงขั้นที่ต้องสังเกตสิ่งเหล่านี้ของลูกค้า เช่น วิธีการหายใจ การเคลื่อนไหวของดวงตา การพูดเร็วช้า น้ำเสียงสูงต่ำ เพื่อที่โฮสต์จะจับจังหวะได้ว่าควรให้บทสนทนาดำเนินไปในทิศทางไหน 

เรียกได้ว่ากว่าจะเป็นโฮสต์ที่เชี่ยวชาญได้ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ไม่น้อยเลย ด้วยเหตุนี้จึงมี ‘โรงเรียนฝึกสอนโฮสต์’ ถือกำเนิดขึ้นมา 

กว่าจะเป็นโฮสต์ฝีมือดีย่อมมีครูที่เก่งอยู่เบื้องหลัง 

คุณทาคายูกิ มาคิตะ ผู้บริหารโรงเรียนฝึกอบรบโฮสต์ในเครือ ‘Group Dandy’ ซึ่งเป็นบริษัทโฮสต์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์ว่า ก่อนจะเป็นอย่างทุกวันนี้ เขาเคยทำงานเป็นโฮสต์เช่นเดียวกัน ในช่วงเวลานั้น เขาพยายามเก็บเกี่ยวเคล็ดลับต่าง ๆ จากรุ่นพี่โฮสต์ผู้เป็นที่นิยมในหมู่ลูกค้า เพื่อศึกษาว่าพวกเขาทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ 

เมื่อสะสมประสบการณ์จากการลงสนามจริงได้ในระดับหนึ่งเขาจึงตัดสินใจเปิดโรงเรียนโฮสต์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่สนใจทำหน้าที่โฮสต์ได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านคอร์สเรียนจิตวิทยาเกี่ยวกับการสื่อสาร รวมทั้งการบริหารธุรกิจบาร์โฮสต์ ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ เช่น เทคนิคการดึงดูดลูกค้าและหลักการดูแลพนักงาน 

โดยความฝันสูงสุดของเขาคืออยากช่วยให้คนทั่วไปสามารถประสบความสำเร็จได้ แม้จะไม่ได้มาจากครอบครัวที่ฐานะดี หรือได้รับการศึกษาที่สูงก็ตาม ปัจจุบัน ‘Group Dandy’ มีพนักงานในเครือกว่า 1,300 คนและมีร้านค้าในการดูแลกว่า 40 แห่ง หลังจากเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2012

เทคนิคการบริหารบาร์โฮสต์ชื่อดัง

คุณฮิคารุ อิจิโจ ประธานบริษัท BJ ONE’S CREATION ผู้บริหารโฮสต์คลับหลายแห่งในย่านคาบุกิโจให้คำแนะนำว่า ถ้าอยากให้โฮสต์คลับมีรายได้ดี โฮสต์ต้องให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่แข่งกันฉายเดี่ยว 

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ที่ญี่ปุ่น
A fun look at the host club at night

ทำไมการทำงานเป็นทีมถึงสำคัญ ?

โดยทั่วไปย่อมมีโฮสต์หลาย ๆ คนวนเข้าไปพูดคุยกับลูกค้าอยู่แล้ว ถ้าโฮสต์ทุกคนช่วยกันสร้างบรรยากาศแห่งความสบายใจ ลูกค้าก็จะอยากกลับมาอีก แต่ถ้าโฮสต์แต่ละคนแย่งกันทำคะแนน ลูกค้าจะสัมผัสได้ถึงการแข่งขัน ส่งผลให้ไม่อยากกลับมาที่บาร์โฮสต์แห่งนั้นอีก

ในทางกลับกัน ถ้าโฮสต์ทุกคนในโต๊ะช่วยกันสร้างบรรยากาศดี ๆ ลูกค้าก็มีโอกาสที่จะประทับใจโฮสต์หลาย ๆ คน และอยากกลับมาใหม่ ไม่ใช่ปักใจชอบแค่โฮสต์คนใดคนหนึ่ง เพราะถ้าวันใดโฮสต์คนนั้นหายไปทางร้านก็จะเสียลูกค้าไปด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก bunshunjp, tvtokyo1, 2, note, diamondjp, hostdanwork

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เปิดเบื้องหลังความสำเร็จธุรกิจบาร์โฮสต์ สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปีที่ญี่ปุ่น first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/japan-host-bar-history-and-business-strategy/

เบอร์ 2 ไม่ใช่ปัญหา! ทำไม PTG ถึงภูมิใจสื่อสารแบรนด์ให้ลูกค้ารู้ว่าเป็นปั๊มน้ำมันอันดับที่ 2

น้อยนักที่บริษัทจะเลือกสื่อสารแบรนด์ว่าตัวเองคือเบอร์ 2 ของตลาด เพราะเป็นห่วงภาพลักษณ์ หรือไม่ภูมิใจส่วนแบ่งตลาดที่ตัวเองทำได้ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ PTG หรือ บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี เจ้าของสถานีบริการน้ำมันพีที ทำอยู่ตอนนี้

เพราะ PTG คิดต่างด้วยการภูมิใจที่จะสื่อสารแบรนด์ว่าตัวเองคือเบอร์ 2 ของธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง และเตรียมพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ เช่น ร้านกาแฟพันธุ์ไทย ให้ขึ้นเป็นเบอร์ 2 ของตลาดอย่างยั่งยืนให้ได้

ทำไม PTG ถึงเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดในลักษณะนี้ และนอกจากความเป็นเบอร์ 2 PTG มีกลยุทธ์การตลาดเด่น ๆ อีกหรือไม่ พิทักษ์ รัชกิจประการ CEO และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTG ได้ให้คำตอบไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

PTG

PTG กับการยอมรับว่าเป็นเบอร์รอง

พิทักษ์ เล่าให้ฟังว่า PTG เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี 2535 ในชื่อ บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด เพื่อทำธุรกิจคลังน้ำมัน และจำหน่ายเชื้อเพลิงให้กับชุมชน รวมถึงชาวประมง และโรงงานอุตสาหกรรมในภาคใต้ ซึ่งเวลานั้นธุรกิจค่อย ๆ เติบโตแต่สุดท้ายมาเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งจนเป็นหนี้กว่า 3,500 ล้านบาท

“เวลานั้น PTG ถูกมองเป็นปั๊มน้ำมันภูธร และไม่ค่อยมีใครสนใจเรามากนัก เต็มที่ก็รู้ว่าเราแข็งแกร่งในภาคใต้ ยิ่ง PTG ต้องฟื้นฟูธุรกิจจากการเป็นหนี้ในวิกฤติต้มยำกุ้ง และกว่าจะออกจากไอซียูได้ก็ปี 2550 ทำให้ PTG อยู่นอกสายตา และถูกมองเป็นเบอร์รองมาโดยตลอด”

อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นเบอร์รอง ทำให้ PTG เลือกใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองด้วยการสร้างเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันในต่างจังหวัด และพัฒนาจนแข็งแกร่ง ก่อนเข้ามาขยายสาขาในเขตเมือง และเมื่อเวลาผ่านไปส่วนแบ่งในตลาดค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนปัจจุบันเป็นเบอร์ 2 ของตลาดนี้ผ่านส่วนแบ่ง 17% ในสิ้นปี 2022

PTG

ปั๊มเป็นเบอร์ 2 อย่างอื่นก็เบอร์ 2 ได้

เมื่อธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นเบอร์ 2 PTG มีการส่งแคมเปญสื่อสารการตลาดเกี่ยวกับความเป็นเบอร์ 2 ของตลาดนี้ เช่น ป้ายโฆษณาที่บอกว่าตัวเองเป็นเบอร์ 2 อย่างชัดเจน รวมถึงการพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ ให้ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 เหมือนกับที่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทำได้

ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟพันธุ์ไทยที่เตรียมขึ้นเป็นเบอร์ 2 ของตลาดนี้ด้วยการเพิ่มสาขาจาก 511 แห่งในปี 2565 เป็น 1,500 แห่งในปี 2566 และปี 2570 จะมีกว่า 5,000 สาขา รวมถึงปี 2568 จะนำธุรกิจดังกล่าวเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน

อีกเป้าหมายที่อยู่ระหว่างขึ้นเป็นเบอร์ 2 ของตลาดคือ ก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ผ่านการอาศัยจุดแข็งเรื่องบริการสมาชิก และสาขาในการจำหน่าย จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งอยู่ที่อันดับ 6 และ ก๊าซหุงต้มที่ใช้ในรถยนต์ (LPG) PTG มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 มาก่อนแล้ว

PTG

เสริมความแข็งแกร่งด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังไม่มีส่วนแบ่งในตลาดมากนัก เช่น สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า, ร้านสะดวกซื้อ และร้านซ่อมบำรุงรถยนต์ Autobacs ยังอยู่ระหว่างปรับปรุงการทำตลาด รวมถึงแผนการขยายสาขา เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับภาพรวมธุรกิจ โดยทั้งหมดจะอยู่บนฐานสมาชิก Max Card 19 ล้านรายในสิ้นปี 2565

“เราตั้งเป้าฐานบัตรสมาชิก Max Card ในปี 2570 ไว้ที่ 30 ล้านราย และการมีฐานสมาชิกมากขนาดนี้ช่วยให้เรามีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง และช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ในเครือเติบโตอย่างยั่งยืนได้ เมื่อผสานกับ Touch Point ในธุรกิจ Non-Oil ที่มี 1,526 แห่ง ก็ช่วยให้ PTG แข็งแกร่งในฝั่งธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับค้าปลีกน้ำมันเช่นกัน”

ในทางกลับกัน PTG ยังปรับแนวคิดการทำตลาดจากที่ทุกอย่างรวมศูนย์การตอบโจทย์รถยนต์ เป็นตอบโจทย์ลูกค้าหลังพวงมาลัยแทน และย้ำว่า หากไปถึงเป้าหมายฐานสมาชิก 30 ล้านราย แต่สมาชิกนั้นจะคิดเป็น 20 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 70% ของครัวเรือนในประเทศไทย

PTG

ลงทุน พร้อมจับมือพาร์ตเนอร์รายใหม่

PTG ตั้งงบลงทุนในปี 2566 ที่ 5,000-6,000 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้ในธุรกิจน้ำมัน 1,000-1,500 ล้านบาท, ใช้กับธุรกิจ Non-Oil 2,000-2,500 ล้านบาท และใช้ลงทุนกับธุรกิจใหม่ 1,500-2,000 ล้านบาท ปัจจุบัน PTG มีการลงทุนในสตาร์ตอัพเกี่ยวกับสุขภาพ Arincare รวมถึงมีการร่วมลงทุนในธุรกิจอาหาร สถานีเหนียวไก่ เป็นต้น

“ในปี 2566 เราต้องการขยายแพลตฟอร์ม PTG ออกไปให้มากกว่าแค่ค้าปลีกน้ำมันที่เป็นอันดับ 2 ผ่านการทำตลาดค้าปลีกเชื้อเพลิงทางเลือกเพิ่มขึ้น, เพิ่มความแข็งแกร่งในธุรกิจ Non-Oil พร้อมกับลงทุนในสตาร์ตอัพรวมถึงธุรกิจที่น่าสนใจที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แพลตฟอร์มของเรา”

ทั้งนี้การชูความเป็นอันดับที่ 2 ของตลาดไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก เพราะเมื่อปี 2505 มีกรณีศึกษาด้านการตลาดของบริษัทเช่ารถยนต์ Avis ที่โปรโมทตัวเองว่าเป็นเบอร์ 2 ของตลาด ตามหลัง Hertz ที่เป็นเบอร์ 1 โดยตัว Avis เลือกสื่อสารว่าทำไมถึงเป็นเบอร์ 2 และเบอร์ 2 ทำหน้าที่อะไร รวมถึงมีอะไรที่เบอร์ 1 ทำไม่ได้

PTG

สรุป

ความเป็นเบอร์ 2 ของ PTG ทำให้เบอร์ 1 ของตลาด รวมถึงคู่แข่งแบรนด์ไทย และต่างประเทศไม่สามารถประมาทแบรนด์รองรายนี้ได้ เพราะ PTG เริ่มขยายเครือข่ายธุรกิจออกไปได้มากกว่าแค่ค้าปลีกน้ำมัน และกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ จนบางธุรกิจแข่งขันกับเบอร์ 1 ได้อย่างสูสี

อ้างอิง // PTG

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เบอร์ 2 ไม่ใช่ปัญหา! ทำไม PTG ถึงภูมิใจสื่อสารแบรนด์ให้ลูกค้ารู้ว่าเป็นปั๊มน้ำมันอันดับที่ 2 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/ptg-2023-business-plan/

ถอดเคล็ดลับโรงแรม 1,000 ปี ผ่านมาแล้วทั้งภัยพิบัติและโรคระบาด

โรงแรมพันปีไม่ได้อยู่แค่ในซีรีส์ แต่มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่นด้วย… 

‘นิชิยามา ออนเซ็น เคอุนคัง’ คือโรงแรมอายุ 1,318 ปีที่ซ่อนตัวอยู่ในจังหวัดยามานาชิ ความพิเศษคือโรงแรมแห่งนี้มีบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติที่ถูกขุดพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 705 และใช้เยียวยารักษาสุขภาพของผู้คนมาอย่างยาวนานจนได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงแรมเก่าแก่ที่สุดในโลกโดย Guinness World Records

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

โรงแรม ‘เคอุนคัง’ มีความเป็นมาอย่างไร เคยผ่านวิกฤตอะไร และทำไมถึงเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ตามไปดูเคล็ดลับกันได้ในบทความนี้ 

ตำนานโรงแรมพันปีมีที่มาจากภิกษุไม่ใช่นักธุรกิจ 

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 705 พระภิกษุฟูจิวาระ โนะ มาซาโตะ ได้ออกล่าสัตว์แถวแม่น้ำยูกาวะ และสังเกตเห็นว่ามีน้ำร้อนพุ่งขึ้นมาระหว่างโขดหิน ด้วยความสงสัยเขาจึงลองสัมผัสและชิม เลยพบว่าน้ำพุร้อนตรงนี้ช่วยให้ร่างกายเบาสบายเหลือเกิน 

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

หลังจากนั้นเขาเดินทางมาที่น้ำพุร้อนแห่งนี้บ่อยขึ้น จึงตัดสินใจปรับปรุงถนนบางส่วนเพื่อให้คนจากหมู่บ้านโดยรอบเดินทางมาใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนตรงนี้ได้สะดวกสบายมากขึ้น จนคนจากแหล่งต่าง ๆ พากันมาให้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นการขอบคุณเขา 

เมื่อเวลาล่วงเลยไปชื่อเสียงของน้ำพุร้อนแห่งนี้ดังไกลถึงในวัง จักรพรรดิโคเก็งซึ่งประชวรอยู่ในช่วงเวลานั้นจึงเดินทางมาเยียวยารักษาอาการป่วยที่น้ำพุร้อนแห่งนี้ ผลปรากฏว่าท่านสามารถหายป่วยในเวลาเพียง 20 วัน

บ่อน้ำพุร้อนบริเวณนี้จึงกลายเป็นที่รู้จักมากกว่าเดิม ตระกูลฟุคาซาวาที่เล็งเห็นโอกาสนี้จึงเข้ามาพัฒนาที่ดิน จากเดิมที่บริเวณใกล้ ๆ บ่อน้ำพุร้อนมีลักษณะคล้ายสปาที่ผู้คนมาบริการตนเองก็เปลี่ยนเป็นเรียวกังสำหรับผู้เดินทางมาไกล พร้อมเสิร์ฟอาหารที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติแท้ ๆ จากริมน้ำและบนภูเขา 

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

แต่กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ โรงแรมเคอุนคังต้องผ่านวิกฤตต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ หลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิดที่ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมชื่อดังแห่งไหนก็หนักใจไปตาม ๆ กัน

“วิกฤตเป็นเรื่องปกติ” แนวคิดที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ทุกยุคสมัย

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

ตั้งแต่สมัยหลายร้อยปีที่แล้ว ทางเคอุนคังต้องประสบปัญหาภัยธรรมชาติมากมายซึ่งสร้างความเสียหายให้กับโรงแรมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น… 

  • ปัญหาไฟไหม้ใหญ่ถึง 2 ครั้ง ทำให้อาคารเสียหาย
  • ปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้อาคารถูกน้ำพัดไป ด้วยความที่โรงแรมตั้งอยู่ใกล้กับสองแม่น้ำ ได้แก่ แม่น้ำยูกาวะและแม่น้ำฮายะกาวะ
  • ปัญหาหินถล่ม ทำให้เส้นทางหลักถูกปิดการจราจร ทางโรงแรมจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ถนนในป่าที่สูงชัน และนำรถธรรมดามารับส่งลูกค้าแทนรสบัสที่จุคนได้มากกว่า 

ซึ่ง เคอุนคังจะหาทางพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ อย่างจากเหตุการณ์หินถล่ม ทางผู้บริหารได้แนะนำให้พนักงานทุ่มเทใส่ใจอำนวยความสะดวกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ แม้จะต้องเปลี่ยนมาใช้วิธีการเดินทางที่ลำบากขึ้นก็ตาม ลูกค้าที่สัมผัสได้ถึงความตั้งใจจึงกลับมาใช้บริการซ้ำโดยปริยาย

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

รวมไปถึงช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ผู้คนหลีกเลี่ยงการไปพื้นที่ปิดและสถานที่แออัด ทางโรงแรมจึงถือโอกาสนี้ชูจุดขายของโรงแรมที่อยู่แยกตัวจากโรงแรมอื่น ๆ ทำให้สงบ และปรับลดจำนวนห้องที่ให้บริการ 

จากเดิมที่มีห้องพัก 35 ห้อง ทางโรงแรมได้ปรับลดให้เหลือ 27 ห้อง และใช้ 8 ห้องที่เหลือเป็นสถานที่รับประทานอาหารแทน เพื่อให้สอดรับกับนโยบาย Social Distancing 

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

ผลลัพธ์ของการปรับใช้กลยุทธ์นี้คือในปี 2020 ทางโรงแรมเคอุนคังมีรายได้ลดลงประมาณ 40% เท่านั้น ต่างจากโรงแรมแห่งอื่น ๆ ที่มียอดขายตกลงกว่า 50% ขึ้นไป อ้างอิงจากผลการสำรวจของ Japan Finance Corporation 

ถอดรหัสความสำเร็จของโรงแรมเคอุนคัง 

1. คิดล้ำหน้ากว่าคู่แข่งเสมอ 

ก่อนเกิดวิกฤตโควิดชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เมื่อเห็นโอกาสนี้ทางผู้บริหารจึงสั่งทำรองเท้าสำหรับใช้ภายในออนเซ็นและสั่งทำฟูกญี่ปุ่นที่มีขนาดยาวมากขึ้น เพื่อรองรับสรีระของชาวต่างชาติที่ต่างจากญี่ปุ่น เรียกว่าใส่ใจทุกรายละเอียด 

ชาวต่างชาติที่มาพักเลยถึงกับทักว่ารู้สึกแปลกใจ เพราะตอนไปโรงแรมแห่งอื่นในญี่ปุ่นเจอแต่รองเท้าที่คับเกินไป และฟูกยาวไม่พอทำให้นอนลำบาก

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

2. ไม่ชะล่าใจในความสำเร็จเดิม 

คุณเคนจิโร่ คาวาโนะ ผู้บริหารรุ่นที่ 53 ของโรงแรมเคอุนคังเคยกล่าวถึงปรัชญาที่ใช้ในการทำงานว่า ต่อให้โรงแรมนี้จะมีประวัติยาวนานแค่ไหน เขาก็ยังคิดทุกวันว่าจะพัฒนาส่วนใดได้อีกบ้าง 

เป็นการสานต่อปณิธานของบรรพบุรุษที่อยากทำให้เคอุนคังเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในจังหวัดยามานาชิ หรือหากเป็นไปได้ก็อยากให้ดีที่สุดในญี่ปุ่นเลยทีเดียว 

เปิดตำนานความสำเร็จของโรงแรม 1,318 ปี มีอยู่จริงที่ญี่ปุ่น

3. มองว่าวิกฤตคือทางผ่านไม่ใช่ทางตัน 

จากหลายวิกฤตที่ผ่านมา มีหลายครั้งที่คนภายนอกมองว่าเคอุนคังคงไปต่อไม่ได้แล้ว แต่ทายาททุกรุ่นกลับเชื่อว่าธุรกิจจะไปต่อได้ โดยท่องไว้ในใจเสมอว่า “ถ้าเป็นบรรพบุรุษจะแก้ปัญหาอย่างไรในสถานการณ์นี้”

ส่วนคุณคาวาโนะซึ่งเป็นผู้บริหารคนปัจจุบันก็มีแนวคิดการรับมือกับวิกฤตที่น่าสนใจ คือเขาจะเตรียมใจไว้เสมอว่าวิกฤตเข้ามาได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ถ้าเกิดวิกฤตเมื่อไรเขาและคนในทีมจะไม่ตกใจจนเกินไป ทำให้คิดหาทางออกและตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว 

หรือแม้ต้องเจอกับปัญหาที่ยาก คุณคาวาโนะก็จะให้พนักงานแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิน ๆ และแม้จะเจอความผิดพลาดระหว่างทางบ้างก็ไม่เป็นไร ทางทีมงานจึงมีความมั่นใจไม่ว่าจะเจอวิกฤตใดก็ตาม 

รับชมบรรยากาศของโรงแรมแบบเต็ม ๆ ได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก businessnikkei, toyokeizai, keiunkan

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ถอดเคล็ดลับโรงแรม 1,000 ปี ผ่านมาแล้วทั้งภัยพิบัติและโรคระบาด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/nishiyama-onsen-keiunkan-1000-year-hotel-history/

ค้าปลีกเวียดนาม การขับเคลื่อนโดยโชห่วย กับเค้กก้อนโตของกลุ่มเซ็นทรัล และทุนต่างชาติ

ปี 2022 ประเทศเวียดนามมีประชากมากกว่า 97 ล้านคน และคนเหล่านี้จับจ่ายใช้สอยจนตลาดค้าปลีกเวียดนามมีมูลค่ากว่า 49,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.73 ล้านล้านบาท อ้างอิงข้อมูลจาก Euromonitor

จุดที่น่าสนใจคือ มูลค่าดังกล่าวมาจากการค้าปลีกแบบดั้งเดิมหรือ Traditional Trade ถึง 44,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 90% ของมูลค่านี้ และมีสัดส่วนจากค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ Modern Trade เพียง 5,700 ล้านดอลลาร์

ทำให้กลุ่มทุนที่เชี่ยวชาญในค้าปลีกสมัยใหม่ต่างเข้าไปลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่องเพื่อชิงส่วนแบ่งจากค้าปลีกดั้งเดิม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มเซ็นทรัลที่เตรียมลงทุนกว่า 50,000 ล้านบาท เพื่อขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดนี้

CRC

นำความเจริญเข้าช่วงชิงตลาดเวียดนาม

แม้เศรษฐกิจกำลังเติบโต และมีประชากรมากกว่า แต่เวียดนามยังตามหลังในตลาดค้าปลีกอยู่มากเมื่อเทียบกับไทย เพราะไทยที่มีประชากรมากกว่า 70 ล้านคน แต่มูลค่าตลาดค้าปลีกอยู่ที่ 3.45 ล้านล้านบาท และมาจากค้าปลีกสมัยใหม่เกือบ 70% ส่วนที่เหลือมาจากค้าปลีกดั้งเดิม

การเติบโตไปเป็นสัดส่วนเกือบ 70% เมื่อปี 2001 สัดส่วนค้าปลีกสมัยใหม่ของไทยยังอยู่ที่ 25% ของตลาดค้าปลีกทั้งหมด แสดงให้เห็นว่า เวลาราว 20 ปี ความสะดวกสบายของโมเดิร์นเทรดเข้ามามีอิทธิพลในการจับจ่ายสินค้าของคนไทย ในทางกลับกันก็ส่งผลให้ค้าปลีกดั้งเดิมต้องดิ้นรนเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด เพราะคนมาจับจ่ายน้อยลง

เหตุการณ์ดังกล่าวกำลังเกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม เพราะเวลานี้ บมจ. เซ็นทรัล รีเทล หรือ CRC รวมถึงกลุ่มทุน Lotte จากเกาหลี และ Aeon จากญี่ปุ่น กำลังนำความเจริญของค้าปลีกสมัยใหม่มาแย่งชิงเค้กค้าปลีกก้อนโตนี้ไปจากค้าปลีกดั้งเดิม

CRC

CRC

CRC เดินเกมบุกเวียดนามเต็มรูปแบบ

เริ่มต้นที่ CRC กันก่อน ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร CRC เล่าให้ฟังว่า บริษัทเข้าไปในตลาดเวียดนามผ่านการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแฟชั่นต่าง ๆ ในปี 2012 จากนั้นเริ่มเป็นพาร์ตเนอร์กับค้าปลีกท้องถิ่น Nguyen Kim และ Lan Chi ก่อนปี 2016 เข้าซื้อกิจการ Big C เวียดนาม กว่า 36,800 ล้านบาท

หลังจากนั้น CRC เพิ่มความเข้มข้นในตลาดเวียดนามมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับ Big C เป็น GO! วางตำแหน่งเป็น Hypermarket ครบวงจร เสริมด้วย Mini go! ร้าน Supermarket ที่มีสินค้าครบครัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีร้านค้าที่มีสินค้าครบเท่า รวมถึงดึง Tops Market เข้ามาให้บริการที่เวียดนามโดยอาศัยความสำเร็จในไทย

ผ่านมา 10 ปี CRC มีค้าปลีกในเครือข่ายในเวียดนาม 40 จังหวัด ผ่านหน้าร้านต่าง ๆ มากกว่า 300 แห่ง ในปี 2021 กินพื้นที่ขาย 1.2 ล้าน ตร.ม. และเป็นค้าปลีกต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ผ่านการเป็นเบอร์ 1 ในตลาด Hypermarket และเบอร์ 2 ในส่วน Lifestyle Mall

CRC

ทุ่ม 50,000 ล้านบาท ดันรายได้ 1.5 แสนล้านบาท

เพื่อต่อยอดการเติบโตดังกล่าว CRC ประกาศลงทุนอีก 50,000 ล้านบาท เพื่อขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของผู้จำหน่ายอาหารในช่องทางต่าง ๆ (Food Omnichannel) และเป็นเบอร์ 2 ของผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีก (Retial Property) ในประเทศเวียดนาม

พร้อมตั้งเป้าหมายภายในปี 2027 ต้องมีสาขาเพิ่มเป็น 600 แห่งในทุกค้าปลีกที่ถืออยู่ และทำรายได้กว่า 1.5 แสนล้านบาท จากปี 2021 ปิดที่ 38,592 ล้านบาท โดยปัจจุบัน CRC ที่ประเทศเวียดนามมีพนักงานกว่า 15,000 คน และมียอดขายจับจ่าย (Transaction) ถึง 66 ล้านครั้ง

เบื้องต้น CRC จะเปิดสาขาขนาดใหญ่ใหม่ในเวียดนามอีก 5-7 แห่ง และเตรียมหาพื้นที่อีก 5-8 แห่ง และหาโอกาสการลงทุนในอนาคตอีก 20 โครงการเพิ่มเติม โดยในปี 2023 จะมีการลงทุนราว 6,000 ล้านบาทก่อน หนึ่งในนั้นคือการประยุกต์ระบบสมาชิกในประเทศไทยมาปรับใช้กับลูกค้าในประเทศเวียดนาม

CRC

CRC

ส่งร้านพรีเมียมเข้าจูงใจลูกค้าท้องถิ่น

ขณะเดียวกัน CRC มีแผนนำร้านค้ากลุ่มพรีเมียมเข้ามาทำตลาดในประเทศเวียดนาม แต่ยังต้องรอความพร้อม เพราะภาพรวมค้าปลีกเวียดนามยังตามหลังไทยอยู่มาก ทำให้การเติบโตที่เวียดนามต้องเน้นที่สินค้าทั่วไป เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ และอาหารสด ผ่านการวางตัวเป็น Good Brand for Money

รวมถึงช่วงปลายปี 2023 CRC จะมีธุรกิจใหม่ในประเทศเวียดนาม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ ส่วนปัญหาในการทำตลาดที่เวียดนามคือ การก่อสร้างสาขาต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลา 2-3 ปี นานกว่าประเทศไทยที่ใช้เวลาเพียง 1 ปี และการหาพื้นที่ รวมถึงการเดินหน้าเรื่องกฎหมายยังทำได้ช้ากว่าเช่นกัน

ปัจจุบัน CRC นอกจากแข็งแกร่งในประเทศไทย และเวียดนาม บริษัทยังมีการทำตลาดห้างหรูในกลุ่มประเทศยุโรป เช่น การร่วมมือกับกลุ่ม Signa เพื่อลงเงินกว่า 1.8 แสนล้านบาทเข้าซื้อกิจการกลุ่ม Selfridges ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นต้น

CRC

ค้าปลีกเวียดนามกับการรุกโดยต่างชาติ

สำหรับภาพรวมค้าปลีกสมัยใหม่ในปัจจุบันของเวียดนาม ปัจจุบันมี Mason Group เป็นผู้นำตลาด มีค้าปลีกในชื่อ Win Commerce ครอบคลุมการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ โดยมีสาขาทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง รวมถึง Vincom ธุรกิจค้าปลีกของ Vin Group กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ของเวียดนาม

แต่ถึงอย่างไรยังมีทุนจากต่างชาติเข้ามาหาโอกาสทางธุรกิจทั้ง Aeon จากญี่ปุ่น และ Lotte จากเกาหลี ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างนำความเจริญในด้านค้าปลีกเข้ามาให้บริการเพื่อจูงใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในเวียดนามให้เปลี่ยนการซื้อสินค้าจากร้านค้าทั่วไปมาซื้อสินค้าในค้าปลีกสมัยใหม่

ยิ่งเศรษฐกิจเวียดนามกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้บริโภคที่นั่นยังเติบโตตามไม่ทัน สังเกตจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ยังไม่เปลี่ยนจากในอดีตมาก ทำให้กลุ่มทุนท้องถิ่น และทุนต่างชาติต่างแข่งขันการด้วยความเจริญเพื่อจูงใจผู้บริโภค และใครประสบความสำเร็จในตลาดนี้ก่อนย่อมมีโอกาสเติบโตในระยะยาวได้สูง

อ้างอิง // Krungsri

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ค้าปลีกเวียดนาม การขับเคลื่อนโดยโชห่วย กับเค้กก้อนโตของกลุ่มเซ็นทรัล และทุนต่างชาติ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/crc-vietnam-market/

เจาะลึกที่มาของทาโร ทำรายได้ต่อปีกว่า 5 พันล้านบาท: ปลาเส้นแบรนด์ไทย ที่ใครๆ ก็เข้าใจผิดว่ามาจากญี่ปุ่น

ถ้าพูดถึงขนมทานเล่นประเภทปลาเส้น หลายคนคงนึกถึง ‘ทาโร’ เป็นอันดับแรก ๆ เพราะแบรนด์นี้อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 40 ปี ไม่ว่าจะไปที่ร้านสะดวกซื้อ โชห่วย หรือซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งไหนก็สามารถซื้อทาโร่ติดไม้ติดมือกลับไปได้เสมอ

แต่ทราบไหมว่าบริษัทไหนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์นี้ ?

บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด คือบริษัทที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ โดยมีบริษัทในเครืออีก 5 แห่ง แต่ Brand Inside จะขอโฟกัสบริษัทในเครือที่ชื่อ บริษัท พี.เอม.ฟูด จำกัด (PMF) ซึ่งผลิตและจำหน่ายปลาเส้นแบรนด์ทาโรเป็นหลัก

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร

โดยในปี 2526 ทางพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ได้ร่วมทุนกับผู้ผลิตปลาเส้นที่มีชื่อเสียงอันดับ 1 ของไต้หวัน และตั้งโรงงานผลิตปลาสวรรค์ตราทาโร หลังจากนั้นแบรนด์ทาโรก็ค่อย ๆ เติบโตอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่นิยมในประเทศไทย และมีร้านค้ากว่า 120,000 แห่งทั่วประเทศที่ติดต่อค้าขายกันโดยตรง

ต่อมาปี 2564 ทางแบรนด์ตั้งเป้าหมายขยายฐานลูกค้าไปในต่างประเทศจึงได้จัดตั้งบริษัท Shenzhen Premier Marketing Company Limited (SZPM) ขึ้นมาเพื่อขยายช่องทางการขายสินค้าทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ในประเทศจีน 

จุดแข็งของแบรนด์ปลาเส้นทาโร

จุดแข็งที่ทำให้แบรนด์ทาโรอยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานและขยายไปต่างประเทศได้คือตัวผลิตภัณฑ์ที่ชูจุดเด่นของเนื้อปลา ซึ่งได้รับ การพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์หลากหลาย ครอบคลุมและตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกันไป 

ตัวอย่างเช่น

ทาโรโรล ปลาเส้นความยาว 2 เมตรที่ขดตัวเป็นวงกลมอยู่ภายในซอง ซึ่งความยาวเท่านี้ที่แตกต่างจากขนมทั่วไปนั้นช่วยกระตุ้นความสนใจของลูกค้าได้พอสมควร

ทาโรอบกรอบ ต่างจากขนมอบกรอบทั่วไปตรงที่แม้จะผ่านการปรุงรสแล้วก็ยังคงหยิบทานได้ไม่เลอะมือ สะดวกสำหรับผู้ที่ชอบทานขนมไปด้วยและทำอย่างอื่นไปด้วย

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร

ทาโรเส้นชุบน้ำจิ้ม เอาใจผู้ที่ชอบทานของรสชาติเข้มข้น จัดจ้าน เป็นได้ทั้งขนมและอาหารในซองเดียว

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร

ทาโรก๋วยเตี๋ยวเส้นปลา มาในรสชาติเย็นตาโฟหม้อไฟ และต้มยำกุ้งน้ำข้น ตอบโจทย์ผู้ที่ชอบลองทานอะไรใหม่ ๆ

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร ทาโรอลาสก้าพอลล็อค เส้นเล็กกว่าปกติ เคี้ยวง่าย และยังลดโซเดียม 35% และ 40% เหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร

ปลาเส้นทาโรมีที่มาจากปลาอะไร 

จากตัวอย่างข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเมนูไหนวัตถุดิบสำคัญที่ใส่ลงไปก็คือเนื้อปลา นำไปสู่คำถามต่อไปที่หลายคนสงสัยว่าทางแบรนด์ “ใช้ปลาอะไรในการทำปลาเส้นทาโร” ?

คำตอบคือส่วนใหญ่ทางทาโรจะใช้ ‘ปลาเอโสะ’ หรือ ‘ปลาปากคม’ ซึ่งจับได้ตามน่านน้ำต่างๆ ทั่วโลก เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก อ่าวเบงกอล อ่าวไทย 

Fish, Taro

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีปริมาณมากพอจะหล่อเลี้ยงผู้คนบนโลกได้ยาวนานหากมีการจับถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจับปลาประเภทนี้นำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อยู่ในข่ายคุกคามต่ำ ตาม IUCN Red List 

เทคนิคการผลิตปลาเส้นขวัญใจคนไทย

เมื่อพูดถึงชื่อทาโรแล้วอาจจะมีผู้ที่เข้าใจว่าแบรนด์นี้นำเข้ามาจากญี่ปุ่น แต่ที่จริงทาโรเป็นแบรนด์ของคนไทย ซึ่งอาศัยกรรมวิธีการผลิตบางอย่างตามสไตล์ญี่ปุ่นเท่านั้นเอง 

กรรมวิธีนั้นเรียกว่า ‘ซูริมิ’ หรือการนำเนื้อปลามาบด > แยกส่วนประกอบที่ไม่ต้องการออกไป > นำไปแช่แข็ง (Freezing) เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่เหนียว ยืดหยุ่น และมีกลิ่นคาวน้อยลง ซึ่งตามปกติเราจะใช้วิธีซูริมิในการทำปูอัดหรือลูกชิ้นประเภทต่าง ๆ 

เปิดเบื้องหลังแบรนด์ปลาเส้นทาโร

คำว่าซูริมิมีที่มาจากภาษาญี่ปุ่นคือซูริ (擂り) หมายถึง ‘การบด’ และ มิ (身) หมายถึง ‘ส่วนที่เป็นเนื้อ’ ในที่นี้หมายถึงเนื้อปลานั่นเอง

ซึ่งทาโรแต่ละซองทำมาจากเนื้อปลากว่า 80% ทำให้มีสารอาหาร เช่น โอเมก้า 3,6,9  ดีเอชเอ และคอลลาเจนรวมอยู่ด้วย

ก้าวต่อไปของบริษัทที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 40 ปี

หากย้อนดูรายได้และผลกำไรตลอด 5 ปีจะพบว่าที่ผ่านมาทางบริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์ทาโรมีรายได้และผลกำไรดังต่อไปนี้ 

  • ปี 2561 รายได้ 4,472 ล้านบาท กำไร 365 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 4,123 ล้านบาท กำไร 361 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 4,183 ล้านบาท กำไร 485 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 4,386 ล้านบาท กำไร 437 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 5,050 ล้านบาท กำไร 363 ล้านบาท

ซึ่งที่ผ่านมาแบรนด์ทาโรครองส่วนแบ่งตลาดขนมปลาเส้นกว่า 80% แบ่งเป็นรายได้จากประเทศไทย 80% ต่างประเทศ 20%

แม้จะมีคู่แข่งเป็นแบรนด์เล็กใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นปลาเส้นปรุงรส เบนโตะ, ปลาเส้นปรุงรส ฟิชโช,  ปลาเส้นปรุงรส จัมโบ้ฟิช, ปลาเส้นปรุงรส เฟรชฟิช เป็นต้น

เราคงต้องติดตามต่อไปว่าแบรนด์ทาโรจะเติบโตไปในทิศทางไหน และจะมีกลยุทธ์การตลาดอะไรมาดึงดูดความสนใจของลูกค้าในอนาคต

ขอบคุณข้อมูลจาก set, premiermarketing, longtunman 1, 2, foodnetworksolution, brandthink, bestreview

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เจาะลึกที่มาของทาโร ทำรายได้ต่อปีกว่า 5 พันล้านบาท: ปลาเส้นแบรนด์ไทย ที่ใครๆ ก็เข้าใจผิดว่ามาจากญี่ปุ่น first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/taro-history-and-product-development/

รายงานภาพรวมการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจาก Digital 2023: Thailand

We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ ออกรายงานเพิ่มเติมต่อจาก Digital 2023 โดยรายงานนี้โฟกัสเฉพาะข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Digital 2023: Thailand ซึ่งสะท้อนภาพรวมและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานในประเทศ

รายงานฉบับเต็มมี 125 หน้า ซึ่ง We Are Social เองก็ได้ทำสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจไว้ดังนี้

ภาพรวมทั่วไป

ประชากรอินเทอร์เน็ตของไทยมี 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งประเทศ (71.75 ล้านคน) เป็นข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2023 เพิ่มขึ้น 0.2% จากตัวเลขในปี 2022

No Description

ค่ากลางความเร็วอินเทอร์เน็ตของไทย ซึ่งวัดโดย Ookla พบว่าค่ามัธยฐาน (Median) ของความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถืออยู่ที่ 37.85 Mbps ส่วนอินเทอร์เน็ตสายอยู่ที่ 205.63 Mbps เพิ่มขึ้น 18-20% จากปีก่อน

No Description

Social Media

ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในไทยมี 52.25 ล้านคน คิดเป็น 72.8% ของประชากรทั้งหมด อย่างไรก็ตาม We Are Social ให้ความเห็นว่าตัวเลขนี้มาจากเครื่องมือวัดอื่น ซึ่งอาจไม่ตรงกับตัวเลขจริง

No Description

Facebook มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ LINE ด้วยอัตราที่ใกล้กันมาก ตามด้วย Facebook Messenger, TikTok และ Instagram

No Description

อันดับมีการสลับเล็กน้อยเมื่อถามว่าโซเชียลมีเดียใด ที่ชอบใช้งาน เป็น Facebook, TikTok, LINE และ Instagram ตามลำดับ

No Description

ผู้ใช้งาน Facebook ในไทยมี 48.10 ล้านคน อัตราการเข้าถึงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม (Ad Reach) คิดเป็น 67.0% ของประชากรทั้งประเทศ

No Description

จำนวนผู้ใช้งาน YouTube ในไทยมี 43.90 ล้านคน ขณะที่อัตราการเข้าถึงโฆษณาอยู่ที่ 61.2% ของประชากรทั้งประเทศ

No Description

มาดูที่ Instagram ตัวเลขผู้ใช้งานอยู่ที่ 17.35 ล้านคน คิดเป็น 24.2% ของประชากรทั้งประเทศ รายงานของ Meta บอกว่าประชากร Instagram ในไทยเป็นเพศหญิง 60.9% และเพศชาย 39.1% ทั้งนี้การจำแนกเพศของรายงาน Meta มีเพียง 2 ค่าเท่านั้นคือหญิงและชาย ซึ่งอัตราส่วนนี้แตกต่างจาก Facebook ที่เพศหญิง 51.0% และเพศชาย 49.0%

No Description

ตัวเลขของ TikTok ในไทย มีผู้ใช้งาน 40.28 ล้านคน ซึ่ง ByteDance ระบุว่าเป็นตัวเลขเฉพาะผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนอายุมากกว่า 18 ปี

No Description

ตัวเลขผู้ใช้งานแพลตฟอร์มอื่นเป็นดังนี้ Facebook Messenger 35.05 ล้านคน, Twitter 14.60 ล้านคน และ LinkedIn 4.10 ล้านคน

No Description

การใช้ Internet

คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 6 นาที ต่อวัน โดยประมาณ 5 ชั่วโมง อยู่บนสมาร์ทโฟน และ 3 ชั่วโมงอยู่บนคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต

No Description

การสำรวจคำถามว่าคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพื่ออะไร 64.9% บอกว่าหาข้อมูล รองลงมา 58.1% ติดตามข่าวสาร-เหตุการณ์ และ 54.8% บอกดูวิดีโอ รายการทีวี หรือหนัง

No Description

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากกลุ่มที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต 95.3% ใช้โทรศัพท์ทุกประเภทรวมกัน ขณะที่แล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปมีอยู่ 47.6% แท็บเล็ตมี 25.6% เมื่อนำมาคิดเป็นส่วนแบ่งแล้ว คนเข้าอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์คิดเป็น 68.00%

No Description

No Description

ส่วนประเด็นนี้เป็นที่พูดถึงกันมากในออนไลน์วันนี้ นั่นคือเว็บไซต์ยอดนิยมที่คนไทยเข้าชม ซึ่งในรายงานมี 2 แหล่งข้อมูล เริ่มที่ Semrush โดยผลออกมา YouTube มาที่หนึ่งตามด้วย Google และ Facebook ส่วนอันดับรอง ๆ ก็ดูมีเว็บเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ติดมาหลายเว็บทีเดียว

No Description

ส่วนอีกข้อมูลมาจาก Similarweb สามอันดับแรกสลับเล็กน้อยคือ Google, YouTube, Facebook ตามลำดับ ขณะที่เว็บเนื้อหาผู้ใหญ่นั้นก็ยังคงคิด Top 20 มาด้วย แต่จำนวนน้อยกว่า

No Description

คีย์เวิร์ดค้นหายอดนิยมในกูเกิลของไทย แปล มีจำนวนมากที่สุด ตามด้วย หนัง และ ผล บอล

No Description

เมื่อสำรวจถึงวิธีการหาข้อมูลที่เฉพาะแนวทาง พบว่า 45.5% เคยเข้าโซเชียลเพื่อหาข้อมูลแบรนด์สินค้า 34.8% เคยเสิร์ชด้วยรูปภาพ 41.8% เคยใช้โปรแกรมแปลภาษา และ 18.4% เคยใช้งานผู้ช่วยแบบคำสั่งเสียง

No Description

คนไทย 94.3% ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเคยชมวิดีโอรวมกันทุกประเภท โดยเมื่อแยกย่อย 56.0% ดูมิวสิควิดีโอ 42.1% ดูคลิปตลกหรือไวรัล และ 33.1% ดูคลิปเล่นเกม

No Description

มาที่ข้อมูลการฟัง 36.9% ฟังเพลงผ่านบริการสตรีมมิ่ง และ 21.8% ฟังพอดคาสต์

No Description

มือถือและสมาร์ทโฟน

จำนวนอุปกรณ์โทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในไทยมีมากกว่าจำนวนประชากรคือ 101.2 ล้านเครื่อง

No Description

แอปมือถือยอดนิยม วัดจากจำนวนผู้ใช้งาน Facebook, LINE และ Facebook Messenger มาอันดับ 1-3 ส่วนฝั่งเกมเป็น RoV, Roblox และ Free Fire ตามลำดับ

No Description

แต่ถ้าวัดจำนวนดาวน์โหลด ตอนนี้ TikTok มาเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับการจ่ายเงิน YouTube มาในอันดับ 1 ฝั่งแอป ขณะที่เกมเป็น RoV

No Description

No Description

E-Commerce

ปัจจัยที่เสริมให้คนตัดสินใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์มากขึ้น 54.7% บอกว่าส่งฟรี รองลงมา 49.0% ให้คูปอง-ส่วนลด และ 36.1% บอกว่า COD หรือสามารถจ่ายเงินตอนรับสินค้า

No Description

ประเภทสินค้าที่มีการซื้อออนไลน์ตามมูลค่า กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด 5.77 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือของใช้ส่วนตัว-ของใช้ในบ้าน 4.10 พันล้านดอลลาร์

No Description

วิธีการชำระเงิน 37% โอนเงินไปยังบัญชีธนาคาร 23% ใช้โมบายล์วอลเลต และ 22% ใช้บัตรเครดิต

No Description

ตลาดการจ่ายเงินให้ดิจิทัลมีเดีย มากที่สุดมาจากเกม ตามด้วยวิดีโอสตรีมมิ่ง และอีบุ๊ก

No Description

ในรายงานยังมีข้อมูลอีกหลายหมวดธุรกิจ และรายละเอียดเพิ่มเติมของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง สามารถดูได้จากที่มา

ที่มา: We Are Social

from:https://www.blognone.com/node/132632

สรุป 6 แนวทางธุรกิจปีนี้จาก Adobe คอนเทนต์ขับเคลื่อนธุรกิจบริษัทเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ น้อย

Adobe จัดงาน Adobe Digital Trends 2023 เผยแนวทางธุรกิจสำคัญในปีนี้ พร้อมเสนอแนวทางใช้ข้อมูลดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า (CX)

Adobe ได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกด้านเทรนด์ดิจิทัลที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ทั่วโลกเพื่อเสนอแนวทางการทำการตลาดและการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้กับธุรกิจต่าง ๆ โดยสรุปได้เป็น 6 ข้อหลัก ดังนี้

ความคาดหวังของลูกค้าสูงขึ้นและความไม่แน่นอนในอนาคตเพิ่มมากขึ้น 

86% ของผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่าลูกค้าตั้งความคาดหวังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รับประสบการณ์จากหลายช่องทาง (Omnichannel) ที่ดีที่สุด 

นอกจากนี้ แบรนด์ส่วนใหญ่ (42%) ยังมองว่าประสบการณ์ด้านดิจิทัลของธุรกิจตนเองในบางครั้งยังช้ากว่าความต้องการของลูกค้า ขณะที่มีเพียง 7% ที่มองว่าประสบการณ์ด้านดิจิทัลของธุรกิจตนเองยอดเยี่ยมและสามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้

สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะหลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ทำให้การแข่งขันกันระหว่างบริษัทมีมากขึ้น และลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ 

มองภาพรวมความคาดหวังของธุรกิจในระยะยาว

ผู้บริหาร 76% กล่าวว่า ลูกค้ามักจะใช้ Vanity Metrics ที่เป็นการวัดเป้าหมายระยะสั้นอย่างยอดคลิก ยอดไลค์ หรือวัดจากรายได้ในช่วงสั้น ๆ (รายไตรมาส) เพื่อวัดความสำเร็จแทนที่จะใช้ตัวชี้วัดระยะยาวอย่างการวัดอัตราการกลับมาใช้บริการซ้ำอีก (Conversion) ขณะที่ผู้บริหาร 73% มองว่าการมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาเร่งด่วยต้องแลกมาด้วยต้นทุนของการวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว

นอกจากนี้ บุคคลากรด้านเอเจนซี่ 49% กล่าวว่าบริษัทลูกค้ามีเทคโนโลยี Machine Learning และ AI แต่ก็ไม่ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ หรือไม่ก็นำมาใช้โดยไม่รู้ตัว

คอนเทนต์มีความสำคัญต่อธุรกิจ

ถือว่าเป็นข้อที่สำคัญมากที่สุดเพราะในปี 2023 คอนเทนต์จะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ โดยผู้บริหาร 89% เชื่อว่าความต้องการคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แรงกดดันในการสร้างคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้นไปด้วยและจะกลายเป็นเป้าหมายหลักของธุรกิจหลายองค์กร

ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางความสามารถในการนำเสนอคอนเทนต์ต่อลูกค้าในวงกว้าง คือ การจัดการ Workflow ภายในองค์กรเอง ผู้ให้บริการด้านการตลาดและนักการตลาดที่มีประสบการณ์ 43% มองว่าปัญหาเรื่อง Workflow เป็นอุปสรรคและฉุดรั้งการทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูง 41% ยังมองว่าเทคโนโลยีการบริหารจัดการงานไม่ว่าจะเป็น Workflow การติดตามปัญหาและหาแนวทางแก้ไข เป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญสูงสุด

ดังนั้น การผลิตคอนเทนต์และการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้เพื่อสร้าง Workflow จึงเป็น 2 สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญไปพร้อมกัน

จัดสรรเวลาให้กับการสร้างสรรค์มากขึ้นเพื่อต่อยอดธุรกิจ

เมื่อความต้องการของคอนเทนต์มีมากขึ้นและคอนเทนต์มีความสำคัญกับธุรกิจ ช่องทางที่เผยแพร่คอนเทนต์ก็มีมากขึ้น แต่บุคลากรที่เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์มีจำนวนเท่าเดิม การจัดสรรเวลาในการสร้างคอนเทนต์ให้มากขึ้นจะเป็นแนวทางของการทำธุรกิจในปีนี้

ทำความรู้จักลูกค้าด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์

การได้รับข้อมูลแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ดีและตรงจุดขึ้น ทว่าปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่าหลายองค์กรมีข้อมูลแบบเรียลไทม์จริง แต่ข้อมูลที่มีอาจไม่สามารถทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นบริษัทจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถและทักษะที่จะนำข้อมูลมาใช้ได้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคในการเทคโนโลยีที่ล้าสมัยเกินไปทำให้ไม่สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การขาดเทคโนโลยีทำให้บริษัท 50% ต้องใช้เทคโนโลยีหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีหลายรายเพื่อจัดการกับประสบการณ์ลูกค้า โดยไม่สามารถใช้แพลตฟอร์มเดียวที่ทำงานได้อย่างครบถ้วนได้ ขณะที่มีบริษทเพียง 12% ที่ใช้แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์บนคลาวด์ ที่คิดค้นขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าโดยเฉพาะ

สร้างความสมดุลระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทน (Risk VS Reward)

ผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่ยังลังเลกับการใช้งานเทคโนโลยีรุ่นใหม่ในการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AR/VR, NFTs, การทำการตลาดแบบ Metaverse และการสร้างประสบการณ์ลูกค้าใน Metaverse เอง

มีผู้บริหารเพียง 22% ที่กล่าวว่าองค์กรยังเรียนรู้ที่จะทำการตลาดใน Metaverse และผู้บริหารส่วนใหญ่เพิ่มเริ่มเข้าใจและปรับกลยุทธ์เข้ากับเทคโนโลยีรุ่นใหม่

ทั้งนี้ Adobe มองว่าเทคโนโลยีอย่าง Metaverse จะเป็นที่นิยมในองค์กรเมื่อสามารถปรับปรุงคุณภาพไปอยู่จุดที่ผู้ใช้พอใจไปพร้อมกับการลดต้นทุน

นอกจากเทรนด์ดิจิทัลในปี 2023 Simon Dale ผู้อำนวยการด้านการจัดการในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีใต้ยังได้แสดงความเห็นถึงธุรกิจของ Adobe ในประเทศไทย ว่าแอป Adobe Lightroom ได้รับความนิยมและเติบโตมากในประเทศไทย พร้อมเผยว่าไทยเป็นตลาดรูปภาพที่ใหญ่และมีลักษณะเดียวกันกับตลาดของเกาหลีใต้ ทำให้ไทยมีศักยภาพที่จะส่งออกคอนเทนต์ภายในประเทศออกไปสู่ระดับนานาชาติได้แบบที่เกาหลีใต้ทำ 

ไทยเป็นประเทศที่บุคลากรมีความสามารถในด้าน Hard Skill แต่ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่เป็น Soft Skill และไทยมีอยู่แล้วเช่นกันแต่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยการใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีมาช่วย

ที่มา – Adobe

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สรุป 6 แนวทางธุรกิจปีนี้จาก Adobe คอนเทนต์ขับเคลื่อนธุรกิจบริษัทเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ น้อย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/adobe-digital-trends-2023/