คลังเก็บป้ายกำกับ: DIGITAL

แคสเปอร์สกี้ เผย ปี 2022 ตรวจพบไฟล์อันตรายทั่วโลก 4 แสนไฟล์/วัน เพิ่มขึ้น 20,000 ไฟล์จากปีก่อน

แคสเปอร์สกี้ เผย ปี 2022 ระบบตรวจจับของบริษัทค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 4 แสนไฟล์/วัน เพิ่มขึ้น 20,000 ไฟล์ เมื่อเทียบกับปี 2021 ส่วนในอาเซียนตัวระบบสามารถสกัดการโจมตีด้วยมัลแวร์ได้ 2.07 แสนครั้ง และทำได้ในประเทศไทย 14,050 ครั้ง

Kaspersky

การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นต่อเนื่อง

เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ เล่าให้ฟังว่า ในปี 2022 ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์/วัน ซึ่งแสดงถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้น 20,000 ไฟล์/วันเมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ยังบล็อกการโจมตีจากแหล่งออนไลน์ มากถึง 505,879,385 ครั้ง

สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้สกัดการโจมตีด้วยโมบายมัลแวร์ได้ 207,506 ครั้ง และสกัดการโจมตีในประเทศไทยจำนวน 14,050 ครั้ง โดยมีภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบใหม่เกิดขึ้นประกอบด้วย

  • สตีลเลอร์ (Stealer) ตัวขโมยขั้นสูงที่กำหนดเป้าหมายเป็นบัญชีของแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ยอดนิยม หรือกระเป๋าเงินคริปโต
  • สตอล์กเกอร์แวร์ (Stalkerware) ที่เปิดช่องให้ผู้กระทำความผิดแอบสอดแนมชีวิตส่วนตัวของบุคคลอื่นผ่านโมบายดีไวซ์

จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องมีคำตอบสำหรับทุกสถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ชีวิตดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม MMORPG ที่ชื่นชอบ การแนะนำเด็ก ๆ ให้รู้จักกับแท็บเล็ตเครื่องแรก การจัดสรรวิดีโอคอลล์ให้แก่สมาชิกอาวุโสของครอบครัว รวมถึงเรื่องบ้านอัจฉริยะ และเมตาเวิร์ส

เศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนสูงถึง 1.94 แสนล้านเหรียญ

ในปี 2023 มีการคาดการณ์ว่า มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนจะสูงถึง 1.94 แสนล้านเหรียญ เนื่องจากบริการดิจิทัลต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงบริการต่าง ๆ

“แม้ผู้บริโภคในอาเซียน 70% จะตระหนักรู้ว่าโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์จำเป็นต่อการใช้งานเพื่อป้องกันการโจมตีไปยังโทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ทุกวัน แต่มีเพียง 26% ของผู้ตอบแบบสำรวจมีโซลูชันความปลอดภัยในโทรศัพท์มือถือของตัวเองเท่านั้น”

แคสเปอร์สกี้ เดินหน้าผลิตภัณฑ์ใหม่ตอบโจทย์

แคสเปอร์สกี้ จึงเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคทั่วไปประกอบด้วย Kaspersky Standard, Kaspersky Plus และ Kaspersky Premium โดยแผนต่าง ๆ สามารถป้องกันอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง Windows, Mac, iOS และ Android อย่างไรก็ตามสัดส่วนลูกค้าของ แคสเปอร์สกี้ ยังมาจากลูกค้าองค์กร 70% และที่เหลือเป็นลูกค้าทั่วไป

ปัจจุบัน แคสเปอร์สกี้ มีผู้ใช้งานบริการต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 400 ล้านคน และลูกค้าองค์กรอีกกว่า 220,000 ราย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post แคสเปอร์สกี้ เผย ปี 2022 ตรวจพบไฟล์อันตรายทั่วโลก 4 แสนไฟล์/วัน เพิ่มขึ้น 20,000 ไฟล์จากปีก่อน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/kaspersky-2023-thailand-plan/

คนไทยยังต้องการประกัน! พรูเด็นเชียล เร่งเครื่องทำตลาด อวดไตรมาส 1 2023 เติบโต 36%

บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) เชื่อความต้องการประกันของคนไทยมีมากขึ้น เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์การใช้ชีวิตยุคใหม่ เสริมช่องทางจำหน่ายผ่านธนาคารที่กินส่วนแบ่งท็อป 3 เผยไตรมาส 1 ปี 2023 ภาพรวมธุรกิจเติบโต 36% กินส่วนแบ่งอันดับที่ 6 ของตลาด ผ่านส่วนแบ่ง 6.7%

Prudential

พรูเด็นเชียล เติบโตต่อเนื่องในไตรมาส 1 2023

บัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) เล่าให้ฟังว่า ในปี 2022 ภาพรวมตลาดประกันชีวิตค่อนข้างผันผวน เพราะการระบาดของโรคโควิดที่กลับมา แต่ด้วยการปรับตัวผ่านแผนประกันต่าง ๆ รวมถึงการให้ความสำคัญกับทุกช่องทางจำหน่าย ทำให้บริษัทยังเติบโต 20% ในแง่เบี้ยประกัน

“ในปี 2022 เราเติบโตกว่าตลาดประมาณ 2 เท่า และมีผลกำไรที่สูงกว่าตลาด โดยเฉพาะช่องทางดิจิทัลที่เติบโตถึง 445% มีส่วนแบ่งเป็นอันดับที่ 2 ของตลาด ซึ่งสัญญาณการเติบโตยังส่งต่อมาที่ปี 2023 เนื่องจากไตรมาส 1 ปี 2023 โดยเบี้ยประกันภัยรับปีแรกของไตรมาส 1 ปี 2023 อยู่ที่ 1,984 ล้านบาท”

ไตรมาส 1 ปี 2023 พรูเด็นเชียล มีการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกสูงสุดนับตั้งแต่ดำเนินธุรกิจ หรือเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าตลาดโดยรวมที่มีการเติบโตอยู่ที่ 17% ส่งผลให้บริษัทขึ้นมาเป็น 1 ใน 6 ของผู้นำธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย มีสัดส่วนการตลาดเพิ่มเป็น 6.7% จาก 5.7%

ครึ่งหลังเตรียมส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ตอบโจทย์

หากเจาะไปที่ช่องทางการจำหน่ายของ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ประจำไตรมาส 1 ปี 2023 จะแบ่งเป็น

  • ช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ (Bancassurance) เติบโตขึ้น 28% อยู่ในอันดับที่ 3 ของธุรกิจประกันชีวิต
  • ช่องทางดิจิทัล เติบโตขึ้น 1,366% อยู่ในอันดับที่ 1
  • ช่องทางการจัดจำหน่ายและแนะนำผลิตภัณฑ์ทางโทรศัพท์ (Telemarketing) เติบโตขึ้น 21% อยู่ในอันดับ 4
  • ช่องทางการขายผ่านตัวแทนที่เติบโตขึ้น 73% แต่ยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับช่องทางอื่น

ทั้งหมดนี้มาจากการมีลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่มราว 1.05 แสนราย มาจากประกันกลุ่ม และช่องทางจำหน่ายผ่านธนาคารเป็นหลัก จนปัจจุบัน พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มีจำนวนลูกค้ารวมกว่า 1.93 ล้านราย ซึ่งในไตรมาส 2 ปี 2023 แนวโน้มการเติบโตยังเกิดขึ้นเช่นเดิม

ส่วนในครึ่งหลังของปี 2023 พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า เช่น กลุ่มแซนด์วิชเจเนอเรชัน รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาคนในองค์กร รวมถึงสร้างฐานรายได้จากกลุ่มนายหน้าประกันภัยให้มีมากขึ้น เนื่องจากช่องทางนี้บริษัทยังทำได้ดีมากกว่านี้

“คนไทยยังมีความต้องการประกันชีวิตอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มประกันสุขภาพที่ตอนนี้ทุกคนมองคล้าย ๆ รถยนต์ที่เวลาป้ายแดงออกมาก็ต้องมีประกัน ซึ่งจุดนี้เองเป็นโอกาสสำคัญของเราในการทำตลาดด้วย ยิ่งคนไทยมีเงินเพิ่มขึ้น และ GDP เริ่มฟื้นตัวจากโรคโควิดระบาด ทำให้ใครสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ที่สุดย่อมมีโอกาสเติบโตได้สูง”

ธนาคารปิดสาขาไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่โต

อย่างไรก็ตาม พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มีรายได้จากช่องทางจำหน่ายผ่านธนาคารเป็นหลัก แต่ปัจจุบันหลายธนาคารอยู่ระหว่างปิดสาขา ซึ่งบริษัทไม่มองเรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการไม่เติบโต แต่เป็นความท้าทายในการเติบโตด้วยกันกับธนาคารผ่านการเข้าถึงลูกค้าด้วยช่องทางใหม่ แทนที่จะพึ่งพิงแต่สาขาเท่านั้น

“ตอนนี้ทุกธนาคารเดินหน้าดิจิทัลเต็มตัว เพราะถ้าใครยกธนาคารไปที่หน้าบ้านลูกค้าไม่ได้ โอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าก็มีสูง แต่ก็ยอมรับว่าการปิดสาขาก็มีผลกับการทำตลาดของเรา แต่ถ้าจะโทษเรื่องนี้อย่างเดียวคงไม่ได้ ทางที่ดีเราควรจะเติบโตผ่านช่องทางดิจิทัลไปกับธนาคารพาร์ตเนอร์มากกว่า”

สำหรับประกันที่จะเปิดตัวหลังจากนี้มีตัวอย่าง เช่น แผนประกันเพื่อการออม หรือ แผนประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิต ลิงค์) และในเดือน มิ.ย. 2023 บริษัทได้จับมือกับ ทีทีบี พันธมิตรธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ เปิดตัวแผนประกันสุขภาพล่าสุด “ประกันชีวิตและสุขภาพ ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส สำหรับครอบครัว” เพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post คนไทยยังต้องการประกัน! พรูเด็นเชียล เร่งเครื่องทำตลาด อวดไตรมาส 1 2023 เติบโต 36% first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/prudential-insurance-2023/

กรุงไทย ยกเลิกแผนคิดค่าธรรมเนียมกดเงินไม่ใช้บัตร เผย 4 ธนาคาร และแบงก์ชาติ กำลังพิจารณาเรื่องนี้

แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทย ยืนยันว่า ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 4 ราย และธนาคารแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างหารือเรื่องเก็บค่าธรรมเนียมบริการถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตร (Cardless ATM Withdrawal) แต่ด้วยทางธนาคารขยับตัวก่อน และมีผลตอบรับไม่ดีจึงขอยกเลิกแผนดังกล่าว

KTB Krungthai Bank ธนาคารกรุงไทย
ภาพจาก Shutterstock

กดเงินไม่ใช้บัตรเตรียมมีค่าธรรมเนียม

“ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ในประเทศไทยอีก 3 ราย มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมบริการถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตร เพียงแต่ธนาคารกรุงไทยมีการขยับตัวก่อน ซึ่งเรารับฟังเสียงจากผู้บริโภค และขอยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวออกไปอย่างไม่มีกำหนด” แหล่งข่าวกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2566 ธนาคารกรุงไทย มีการประกาศออกมาว่า ธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมบริการถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตรครั้งละ 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2566 เพราะต้องการให้ลูกค้าธนาคารใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจำนวนมากต่างแสดงความเห็นบนโซเชียลมีเดียไปในทิศทางลบ เนื่องจากหลายคนมีความจำเป็นในการนำเงินออกมาจากตู้ ATM ด้วยวิธีดังกล่าว จนสุดท้ายธนาคารกรุงไทยจึงยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวออกไปก่อน

สำหรับธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยหากเรียงตามมูลค่ากิจการในวันที่ 1 เม.ย. 2566 จะพบว่า 4 อันดับแรกประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ 3.45 แสนล้านบาท, ธนาคารกสิกรไทย 3.13 แสนล้านบาท, ธนาคารกรุงเทพ 2.89 แสนล้านบาท และ ธนาคารกรุงไทย 2.30 แสนล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post กรุงไทย ยกเลิกแผนคิดค่าธรรมเนียมกดเงินไม่ใช้บัตร เผย 4 ธนาคาร และแบงก์ชาติ กำลังพิจารณาเรื่องนี้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/krungthai-stop-cashless-atm-fee/

วิธีปรับกลยุทธ์แบรนด์เพื่อเพิ่ม Engagement ใน TikTok

TikTok มีการดาวน์โหลดมากกว่า 3 พันล้านครั้งทั่วโลก และเป็นแอปที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในปี 2021 ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้ทั่วไปเปิดแอปประมาณ 15 ครั้งต่อวัน นั่นเป็นเวลามากสำหรับพวกเขาที่จะดูและมีส่วนร่วมกับเนื้อหาของคุณได้

TikTok จึงเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับคุณในการแสดงสิ่งที่คุณขายเพราะแพลตฟอร์มนี้เหมาะทั้งการโปรโมตผลิตภัณฑ์ของคุณ ขยายฐานผู้ชมและดึงดูดลูกค้าใหม่ได้อีกด้วย อีกทั้งโซลูชันการโฆษณาของ TikTok ทำงานได้ดีมากเมื่อผสมผสานกับเนื้อหาของครีเอเตอร์

และนี่คำแนะนำของเราเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุง TikTok ของแบรนด์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

ใครคือกลุ่มเป้าหมายของคุณ และใครที่คุณหวังว่าจะให้เข้าถึงบน TikTok ของคุณ อย่างไรก็ตามอย่ากังวลหากแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณดึงดูดความสนใจเฉพาะกลุ่ม เพราะบนแพลตฟอร์มนี้มักเน้นความสนุกสนานเป็นหลัก ผู้คนที่ใช้จึงเฉพาะกลุ่มมากๆ นอกจากนี้แบรนด์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ติดตามการงานทั้งหมดของคุณ เพื่อค้นหาว่าเนื้อหาใดที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณ ซึ่งบน TikTok สามารถดูได้ทั้ง การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาและผู้ติดตาม แบรนด์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดลำดับความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และอย่ากลัวที่จะทดลองซ้ำ 

เมื่อแบรนด์กำลังทำงานเกี่ยวกับกลยุทธ์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้คำนึงถึงการโพสต์บนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องแล้วหรือยัง ซึ่งการโพสต์อย่างต่อเนื่องนั้นจะช่วยให้ถูกปรากฏบน For You Pages (FYPs) และจะเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ของคุณอีกด้วย และเช่นเดียวกับการโพสต์เป็นประจำ การใช้แฮชแท็กและการดูเทรนด์ก็จะช่วยให้เนื้อหาของคุณปรากฏบน FYP อีกทั้งแฮชแท็กยังช่วยในเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ชม เนื่องจาก TikTokers มักจะมีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่แชร์แฮชแท็ก ฉะนั้นควรตรวจสอบแนวโน้มและคิดว่าสิ่งใดที่สอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ 

ท้ายที่สุดการใช้อินฟลูเอนเซอรืเพื่อขยายฐานผู้ชม เพิ่มจำนวนผู้ติดตาม เพิ่มยอดขาย และเพิ่มการมีส่วนร่วมด้วยความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา

ที่มา : partner.studentbeans.com

from:https://www.thumbsup.in.th/strategy-tiktok-engagement?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=strategy-tiktok-engagement

Discord หนึ่งในช่องทางสื่อสารออนไลน์ที่แบรนด์ควรรู้จักไว้

Discord คืออนาคตของชุมชนออนไลน์ แม้โดยทั่วไปแล้ว แพลตฟอร์มดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับเกมเมอร์ซะส่วนใหญ่ แต่แพลตฟอร์มนี้มีผู้ใช้ในปัจจุบันมากถึง 300 ล้านคน แล้วยิ่งมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Gen Z ซึ่งส่วนใหญ่จะมีจุดหมายในการสื่อสารที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นและเป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถอเชื่อมต่อในชุมชนขนาดเล็กหรือประสบการณ์ร่วมกันที่ใหญ่กว่า

ดังนั้นคำถามที่เกิดขึ้นคือแบรนด์จะเริ่มต้นอย่างไรและ Discord ควรมีบทบาทอย่างไรในกลยุทธ์ของการมีส่วนร่วมกับผู้ชม?

อย่างแรก discord เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆหรือสื่อสารผ่านชุมชนของผู้คน เพราะตัวแพลตฟอร์มมีจุดประสงค์ในการขับเคลื่อนข้อมูลผ่านการกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของผู้คน แบรนด์บนดิสคอร์ดควรโฟกัสอยู่ที่สองสิ่งคือ หนึ่งคือการมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและไม่สามารถทำซ้ำได้ในที่อื่น สองคือแบรนด์ต้องอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อและการสนทนาระหว่างสมาชิกในชุมชน 

ผู้คนกำลังมองหาการมีส่วนร่วมมากขึ้น, บทสนทนาที่มากขึ้น, การให้ข้อมูลที่มากขึ้น และ Discord เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่นำเสนอสิ่งนั้นได้ดี

เซิร์ฟเวอร์ Discord มีการแชทที่เกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันไม่เว้นวันหยุด และการสนทนาเกิดขึ้นใน Discord มักจะเร็วกว่าแพลตฟอร์มอื่นมาก ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสนทนา ทั้งรูปแบบวิดีโอและ/หรือโทรด้วยเสียง แชร์หน้าจอ และส่งข้อความโดยตรงถึงกัน และหัวข้อภายในเซิร์ฟเวอร์ Discord มีการจัดระเบียบตามรูปแบบ “ช่อง” ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าการสนทนาจะเน้นและไปในทางเดียวกัน

ทั้งหมดนี้ การจัดตั้งชุมชน Discord อาจต้องการความสนใจและการลงทุนมากขึ้นเพื่อเข้าถึงผู้คนกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม มีการแลกเปลี่ยนของชุมชนนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับแบรนด์ เพราะ Discord ช่วยให้ผู้คนสามารถสนทนาแบบสองทางระหว่างแบรนด์และชุมชนได้ ทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ไม่ใช่แค่ลูกค้าปลายทางเท่านั้น

ที่มา : hp.com

from:https://www.thumbsup.in.th/discord-brand-communication?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=discord-brand-communication

หากอยากให้ธุรกิจเติบโตและอยู่รอดในยุคดิจิทัล การเลือกใช้ ERP หรือ การอัปเกรด ERP คือสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา

มิสเตอร์ยาน บิซซิโพล กรรมการผู้จัดการคิวเอดี ภาคพื้นเอเชียใต้ บริษัทคิวเอดี ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า

การตัดสินใจอัปเกรดหรือเปลี่ยนระบบ ERP หรือระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจครั้งใหญ่ และถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งสำหรับองค์กร เพราะการเปลี่ยน ERP นั้นส่งผลทั้งด้านการเงิน บุคลากร และการดำเนินงานกับซัพพลายเออร์ ทั่วทั้งระบบ ซึ่งสิ่งที่รับประกันความคุ้มค่าในการอัปเกรดหรือเปลี่ยน ERP มีหลายปัจจัยที่ควรคำนึงถึง

1. คุณต้องการก้าวสู่ความสำเร็จและเติบโตในธุรกิจใช่หรือไม่

ซึ่งการเติบโตในธุรกิจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่พบบ่อยที่สุด ต่อการตัดสินใจอัปเกรด ERP ในธุรกิจที่กำลังเติบโต คุณอาจจะต้องพิจารณาระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถจัดการกับความเสี่ยงและความต้องการในอนาคตของธุรกิจได้ รวมไปถึงการรองรับ:

  • ธุรกรรมทางธุรกิจที่มากขึ้น (More Business Transactions) – เมื่อมีธุรกิจมากขึ้น จะมีข้อมูลมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตามข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และเรียกดูข้อมูลได้ทุกเมื่อ
  • ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ (New Products or Services) – เมื่อข้อเสนอหรือรูปแบบธุรกิจของคุณเปลี่ยนไป คุณอาจต้องการระบบที่ครอบคลุมมากขึ้น
  • ตลาดใหม่ (New Markets) – การขยายไปสู่ตลาดใหม่อาจหมายถึงข้อกำหนดทางธุรกิจใหม่ เช่น ข้อกำหนดด้านภาษีใหม่ ภาษา รูปแบบการจัดรูปแบบข้อมูล ฯลฯ ระบบ ERP ปัจจุบันของคุณอาจไม่สามารถรองรับได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก
  • รูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Venture) – หากธุรกิจของคุณมีการพัฒนาหรือเพิ่มแผนกใหม่ คุณต้องมีระบบ ERP ที่สามารถจัดการกับแง่มุมต่างๆ ได้ทั้งหมด

2. ต้องการให้ธุรกิจ ก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดใช่หรือไม่

เป็นเรื่องปกติสำหรับความคิดริเริ่มใหม่ๆ และต้องการทำให้การดำเนินธุรกิจไปสู่ขั้นต่อไป ซึ่งความต้องการในการมองเห็นข้อมูลและกระบวนการทำงานทั้งหมดแบบขั้นสูง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบ ERP เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ในการดำเนินธุรกิจ

3. ข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบระดับสากล

การต้องปฏิบัติตามข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบ ที่เป็นข้อบังคับสากล เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง หากระบบที่มีอยู่ไม่รองรับข้อกำหนดสากล นั่นหมายความว่าการเปลี่ยนหรืออัปเกรด ERP ใหม่ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เพื่อลดความเสี่ยงให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางธุรกิจ

4. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่ไม่หยุดนิ่ง

ระบบเดิมที่ใช้อยู่ ผ่านการปรับแต่งมากมาย และหากบริษัทของคุณใช้ระบบมานานหลายปีโดยอาศัยการปรับแต่งเหล่านั้น เมื่อถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ แน่นอนว่าระบบที่มีการปรับแต่งเยอะๆ อาจจะยากในการอัปเกรด เพราะระบบเดิมไม่ได้ทำงาน ตอบสนองในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการอย่างแท้จริง และยากที่จะอัปเกรดจากซอฟต์แวร์ที่มีการปรับแต่งเยอะๆ

เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทในระยะยาว การอัปเกรดหรือเปลี่ยนผู้ให้บริการ ERP จึงเป็นแนวคิดที่สำคัญและเหมาะสมที่สุด

มิสเตอร์ยาน บิซซิโพล กรรมการผู้จัดการบริษัทคิวเอดี ภาคพื้นเอเชียใต้

นอกจากนี้ มิสเตอร์ยาน ยังให้กล่าวถึง ประโยชน์ของการอัปเกรด ERP ไม่ว่าจะเป็น

1. การช่วยเพิ่มกำไรในระยะยาว (Profitability)

การมีระบบ ERP ที่ทันสมัยและปรับธุรกิจให้เหมาะสม รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ นำไปสู่การประหยัดต้นทุนและผลกำไรที่สูงขึ้นในระยะยาว

2. มีข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจมากขึ้น (Business Insight)

ระบบ ERP ที่ดีจะทำให้มองเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่แม่นยำ และสามารถทำการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น

3. การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ (Compliance)

แต่ละธุรกิจย่อมมีข้อปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านอุตสาหกรรมและการค้าระดับโลกอย่างเข้มงวด การอัปเกรด ERP เฉพาะสำหรับบริษัทผู้ผลิต สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้

4. การสื่อสาร (Communication)

การขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถก่อให้เกิดปัญหาในบริษัท และส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการตัดสินใจได้ ดังนั้นการเลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจจะสามารถเชื่อมต่อทุกส่วนของธุรกิจเข้าด้วยกัน พร้อมยกระดับการสื่อสารและการทำงานร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

5. ความน่าเชื่อถือของเครือข่ายซัพพลายเชนและการกระจายสินค้า (Supply Chain & Distribution Network Reliability)

ระบบ ERP ที่เหมาะสมจะสนับสนุนซัพพลายเชนและผสานรวมกับซัพพลายเออร์ได้อย่างแม่นยำ ทำให้กระบวนการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพ

6. ความสามารถในการปรับเปลี่ยน (Scalability)

ERP ที่มีคุณภาพจะทำให้บริษัทสามารถรองรับและป้องกันการหยุดชะงัก ในขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และ สร้างการเติบโตในตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันได้

7. การจัดการลูกค้าและซัพพลายเออร์ (Customer & Supplier Management)

การจัดการลูกค้าและซัพพลายเออร์มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่ง ERP สามารถช่วยจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลการจัดการลูกค้า คู่ค้า และซัพพลายเออร์ รวมถึงทำให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆได้ 

8. การย้ายระบบไปยังคลาวด์ (Cloud Migration)

ระบบคลาวด์ ERP มีประโยชน์หลายประการ หรือที่เรียกว่า Software as a Service (SaaS) โซลูชันบนคลาวด์ช่วยให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ช่วยปรับปรุงการใช้งาน การรวม การจัดเก็บ การอัปเดต และความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูลของบริษัท ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์ในงานแบบแมนนวล (Human error) ลดลง การเชื่อนต่อถึงกันในทุกแผนกง่ายดาย และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกทีทุกเวลาแบบเรียลไทม์

ด้วยปัจจุบันข้อมูลที่มากขึ้น จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบ ERP ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างกัน เข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์มากขึ้น สำหรับคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรอย่างเห็นได้ชัด 

QAD Dashboard

การอัปเกรด VS การเปลี่ยนระบบ ERP 

เมื่อถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยน ERP องคก์กรอาจมีเพียง 2 ตัวเลือก คือ อัปเกรดหรือเปลี่ยนทั้งระบบ ทั้งนี้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ให้มูลค่าทางธุรกิจมากที่สุด หากคุณพอใจกับระบบปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ และเพียงแค่ต้องการการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง การอัปเกรดอาจใช้เวลาไม่มากในการปรับปรุง ธุรกิจก็สามารถดำเนินงานตามเดิมได้ และสามารถลดอุปสรรคในการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากลองมองในแง่การเปลี่ยนแพลตฟอร์ม ERP ใหม่ อาจช่วยให้องค์กรคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเติบโตอย่างทวีคูณ แทนที่จะนำระบบหลายๆ อย่างที่ใช้ในองค์กรมาอัปเกรด หรือเชื่อมต่อกัน สู้การเปลี่ยนแพลตฟอร์มให้ทันสมัยขึ้น ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ ง่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการอีกด้วย นี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรใหญ่ ที่แนวโน้มข้อมูลจะมากขึ้นทุกวัน

สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการเลือกผู้ให้บริการ ERP คือความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจ เพราะ ERP แต่ละระบบ รองรับการทำงานในธุรกิจแตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ผลิต มีโรงงาน ก็ควรจะมองหา ERP ที่เหมาะสมกับ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตเป็นหลัก

เริ่มต้นการอัปเกรด ERP ของคุณ

บ่อยครั้งที่บริษัทต่างๆ เลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด หรือปลอดภัยที่สุด บนพื้นฐานของแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก นั่นอาจเป็น “ทางเลือกที่ปลอดภัย”  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเลือกใช้ ERP จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมของธุรกิจเป็นหลัก ว่า ERP นั้น มีความสามารถใช้งานเฉพาะธุรกิจจริงๆหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในอุตสาหกรรมผลิต หรือในโรงงาน ที่มีกระบวนการดำเนินงานที่ซับซ้อน ต่างจากธุรกิจทั่วไป ผู้ให้บริการ ERP หลายรายที่เป็นที่รู้จักในธุรกิจทั่วไป  อาจไม่ได้เข้าใจขั้นตอนในโรงงานอย่างถ่องแท้ ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องพิจารณาและเลือกระบบ ERP ขององค์กรให้เหมาะกับขั้นตอนการผลิตอย่างแท้จริง รวมทั้ง ERP นั้นควรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร อัปเกรดดี หรือ เปลี่ยนแพลตฟอร์มดี QAD มีผู้เชี่ยวชาญ ERP ที่สามารถให้คำปรึกษาช่วยคุณวิเคราะห์องค์กรภาพรวม (Discovery) การติดตั้ง ERP ของเราแตกต่างกันไปตามขอบเขตและความจำเป็นของแต่ละองค์กร แต่อยู่บนพื้นฐานของ ระบบปฎิบัติที่ดีที่สุดในการผลิต (Best Practice) ซึ่งเราพร้อมปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมขององค์กร จะดีกว่าหรือไม่ หากคุณคือธุรกิจการผลิต ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม หรือ โรงงาน ที่จำเป็นจะต้องมี ERP เฉพาะทางที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง QAD คือผู้ให้บริการ ERP ในอุตสาหกรรมผลิต มากว่า 40 ปี ในประเทศไทย เราพร้อมจะให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ สามารถติดต่อทีม QAD ได้ที่นี่ https://go.qad.com/AP-TH-FY22-AD-Advertorial-Article_LP-TechTalkThai.html

โซลูชัน ERP ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จะสามารถปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ ในแง่ของซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน การผลิต การจัดการลูกค้า การเงิน และวัตถุประสงค์อื่นๆ ให้ดีขึ้น

เราช่วยคุณได้ด้วย QAD Adaptive ERP สำหรับอุตสาหกรรมผลิต

โทร : 02-202 9363 / 02-2029369

เยี่ยมชมเวปโซด์ www.qad.com/th-TH

ติดตามข้อมูลอัพเดทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมผลิต และข้อมูลด้านซอฟแวร์ได้ที่ Facebook : QAD Thailand

from:https://www.techtalkthai.com/%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%95/

หากอยากให้ธุรกิจเติบโตและอยู่รอดในยุคดิจิทัล การเลือกใช้ ERP หรือ การอัปเกรด ERP คือสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา

มิสเตอร์ยาน บิซซิโพล กรรมการผู้จัดการคิวเอดี ภาคพื้นเอเชียใต้ บริษัทคิวเอดี ประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า

การตัดสินใจอัปเกรดหรือเปลี่ยนระบบ ERP หรือระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจครั้งใหญ่ และถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งสำหรับองค์กร เพราะการเปลี่ยน ERP นั้นส่งผลทั้งด้านการเงิน บุคลากร และการดำเนินงานกับซัพพลายเออร์ ทั่วทั้งระบบ ซึ่งสิ่งที่รับประกันความคุ้มค่าในการอัปเกรดหรือเปลี่ยน ERP มีหลายปัจจัยที่ควรคำนึงถึง

1. คุณต้องการก้าวสู่ความสำเร็จและเติบโตในธุรกิจใช่หรือไม่

ซึ่งการเติบโตในธุรกิจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่พบบ่อยที่สุด ต่อการตัดสินใจอัปเกรด ERP ในธุรกิจที่กำลังเติบโต คุณอาจจะต้องพิจารณาระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถจัดการกับความเสี่ยงและความต้องการในอนาคตของธุรกิจได้ รวมไปถึงการรองรับ:

  • ธุรกรรมทางธุรกิจที่มากขึ้น (More Business Transactions) – เมื่อมีธุรกิจมากขึ้น จะมีข้อมูลมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตามข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และเรียกดูข้อมูลได้ทุกเมื่อ
  • ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ (New Products or Services) – เมื่อข้อเสนอหรือรูปแบบธุรกิจของคุณเปลี่ยนไป คุณอาจต้องการระบบที่ครอบคลุมมากขึ้น
  • ตลาดใหม่ (New Markets) – การขยายไปสู่ตลาดใหม่อาจหมายถึงข้อกำหนดทางธุรกิจใหม่ เช่น ข้อกำหนดด้านภาษีใหม่ ภาษา รูปแบบการจัดรูปแบบข้อมูล ฯลฯ ระบบ ERP ปัจจุบันของคุณอาจไม่สามารถรองรับได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก
  • รูปแบบธุรกิจใหม่ (New Business Venture) – หากธุรกิจของคุณมีการพัฒนาหรือเพิ่มแผนกใหม่ คุณต้องมีระบบ ERP ที่สามารถจัดการกับแง่มุมต่างๆ ได้ทั้งหมด

2. ต้องการให้ธุรกิจ ก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดใช่หรือไม่

เป็นเรื่องปกติสำหรับความคิดริเริ่มใหม่ๆ และต้องการทำให้การดำเนินธุรกิจไปสู่ขั้นต่อไป ซึ่งความต้องการในการมองเห็นข้อมูลและกระบวนการทำงานทั้งหมดแบบขั้นสูง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบ ERP เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ในการดำเนินธุรกิจ

3. ข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบระดับสากล

การต้องปฏิบัติตามข้อพิจารณาด้านกฎระเบียบ ที่เป็นข้อบังคับสากล เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง หากระบบที่มีอยู่ไม่รองรับข้อกำหนดสากล นั่นหมายความว่าการเปลี่ยนหรืออัปเกรด ERP ใหม่ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เพื่อลดความเสี่ยงให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางธุรกิจ

4. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ที่ไม่หยุดนิ่ง

ระบบเดิมที่ใช้อยู่ ผ่านการปรับแต่งมากมาย และหากบริษัทของคุณใช้ระบบมานานหลายปีโดยอาศัยการปรับแต่งเหล่านั้น เมื่อถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ แน่นอนว่าระบบที่มีการปรับแต่งเยอะๆ อาจจะยากในการอัปเกรด เพราะระบบเดิมไม่ได้ทำงาน ตอบสนองในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการอย่างแท้จริง และยากที่จะอัปเกรดจากซอฟต์แวร์ที่มีการปรับแต่งเยอะๆ

เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทในระยะยาว การอัปเกรดหรือเปลี่ยนผู้ให้บริการ ERP จึงเป็นแนวคิดที่สำคัญและเหมาะสมที่สุด

มิสเตอร์ยาน บิซซิโพล กรรมการผู้จัดการบริษัทคิวเอดี ภาคพื้นเอเชียใต้

นอกจากนี้ มิสเตอร์ยาน ยังให้กล่าวถึง ประโยชน์ของการอัปเกรด ERP ไม่ว่าจะเป็น

1. การช่วยเพิ่มกำไรในระยะยาว (Profitability)

การมีระบบ ERP ที่ทันสมัยและปรับธุรกิจให้เหมาะสม รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ จะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ นำไปสู่การประหยัดต้นทุนและผลกำไรที่สูงขึ้นในระยะยาว

2. มีข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจมากขึ้น (Business Insight)

ระบบ ERP ที่ดีจะทำให้มองเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่แม่นยำ และสามารถทำการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น

3. การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ (Compliance)

แต่ละธุรกิจย่อมมีข้อปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านอุตสาหกรรมและการค้าระดับโลกอย่างเข้มงวด การอัปเกรด ERP เฉพาะสำหรับบริษัทผู้ผลิต สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้

4. การสื่อสาร (Communication)

การขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถก่อให้เกิดปัญหาในบริษัท และส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการตัดสินใจได้ ดังนั้นการเลือกใช้ระบบ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจจะสามารถเชื่อมต่อทุกส่วนของธุรกิจเข้าด้วยกัน พร้อมยกระดับการสื่อสารและการทำงานร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

5. ความน่าเชื่อถือของเครือข่ายซัพพลายเชนและการกระจายสินค้า (Supply Chain & Distribution Network Reliability)

ระบบ ERP ที่เหมาะสมจะสนับสนุนซัพพลายเชนและผสานรวมกับซัพพลายเออร์ได้อย่างแม่นยำ ทำให้กระบวนการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพ

6. ความสามารถในการปรับเปลี่ยน (Scalability)

ERP ที่มีคุณภาพจะทำให้บริษัทสามารถรองรับและป้องกันการหยุดชะงัก ในขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และ สร้างการเติบโตในตลาดเพื่อรองรับการแข่งขันได้

7. การจัดการลูกค้าและซัพพลายเออร์ (Customer & Supplier Management)

การจัดการลูกค้าและซัพพลายเออร์มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่ง ERP สามารถช่วยจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลการจัดการลูกค้า คู่ค้า และซัพพลายเออร์ รวมถึงทำให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นข้อมูลต่างๆได้ 

8. การย้ายระบบไปยังคลาวด์ (Cloud Migration)

ระบบคลาวด์ ERP มีประโยชน์หลายประการ หรือที่เรียกว่า Software as a Service (SaaS) โซลูชันบนคลาวด์ช่วยให้สามารถจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลบนอุปกรณ์ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สิ่งนี้ช่วยปรับปรุงการใช้งาน การรวม การจัดเก็บ การอัปเดต และความปลอดภัย ซึ่งช่วยให้เกิดความปลอดภัยในข้อมูลของบริษัท ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากมนุษย์ในงานแบบแมนนวล (Human error) ลดลง การเชื่อนต่อถึงกันในทุกแผนกง่ายดาย และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ทุกทีทุกเวลาแบบเรียลไทม์

ด้วยปัจจุบันข้อมูลที่มากขึ้น จำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบ ERP ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำการเชื่อมต่อระหว่างกัน เข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์มากขึ้น สำหรับคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรอย่างเห็นได้ชัด 

QAD Dashboard

การอัปเกรด VS การเปลี่ยนระบบ ERP 

เมื่อถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยน ERP องคก์กรอาจมีเพียง 2 ตัวเลือก คือ อัปเกรดหรือเปลี่ยนทั้งระบบ ทั้งนี้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ให้มูลค่าทางธุรกิจมากที่สุด หากคุณพอใจกับระบบปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ และเพียงแค่ต้องการการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง การอัปเกรดอาจใช้เวลาไม่มากในการปรับปรุง ธุรกิจก็สามารถดำเนินงานตามเดิมได้ และสามารถลดอุปสรรคในการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากลองมองในแง่การเปลี่ยนแพลตฟอร์ม ERP ใหม่ อาจช่วยให้องค์กรคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเติบโตอย่างทวีคูณ แทนที่จะนำระบบหลายๆ อย่างที่ใช้ในองค์กรมาอัปเกรด หรือเชื่อมต่อกัน สู้การเปลี่ยนแพลตฟอร์มให้ทันสมัยขึ้น ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ ง่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน และลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการอีกด้วย นี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับองค์กรใหญ่ ที่แนวโน้มข้อมูลจะมากขึ้นทุกวัน

สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการเลือกผู้ให้บริการ ERP คือความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในธุรกิจ เพราะ ERP แต่ละระบบ รองรับการทำงานในธุรกิจแตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ผลิต มีโรงงาน ก็ควรจะมองหา ERP ที่เหมาะสมกับ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตเป็นหลัก

เริ่มต้นการอัปเกรด ERP ของคุณ

บ่อยครั้งที่บริษัทต่างๆ เลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด หรือปลอดภัยที่สุด บนพื้นฐานของแบรนด์ที่เป็นที่รู้จัก นั่นอาจเป็น “ทางเลือกที่ปลอดภัย”  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเลือกใช้ ERP จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมของธุรกิจเป็นหลัก ว่า ERP นั้น มีความสามารถใช้งานเฉพาะธุรกิจจริงๆหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานในอุตสาหกรรมผลิต หรือในโรงงาน ที่มีกระบวนการดำเนินงานที่ซับซ้อน ต่างจากธุรกิจทั่วไป ผู้ให้บริการ ERP หลายรายที่เป็นที่รู้จักในธุรกิจทั่วไป  อาจไม่ได้เข้าใจขั้นตอนในโรงงานอย่างถ่องแท้ ที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตจะต้องพิจารณาและเลือกระบบ ERP ขององค์กรให้เหมาะกับขั้นตอนการผลิตอย่างแท้จริง รวมทั้ง ERP นั้นควรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไร อัปเกรดดี หรือ เปลี่ยนแพลตฟอร์มดี QAD มีผู้เชี่ยวชาญ ERP ที่สามารถให้คำปรึกษาช่วยคุณวิเคราะห์องค์กรภาพรวม (Discovery) การติดตั้ง ERP ของเราแตกต่างกันไปตามขอบเขตและความจำเป็นของแต่ละองค์กร แต่อยู่บนพื้นฐานของ ระบบปฎิบัติที่ดีที่สุดในการผลิต (Best Practice) ซึ่งเราพร้อมปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมขององค์กร จะดีกว่าหรือไม่ หากคุณคือธุรกิจการผลิต ผู้ผลิตในอุตสาหกรรม หรือ โรงงาน ที่จำเป็นจะต้องมี ERP เฉพาะทางที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตอย่างแท้จริง QAD คือผู้ให้บริการ ERP ในอุตสาหกรรมผลิต มากว่า 40 ปี ในประเทศไทย เราพร้อมจะให้คำปรึกษาด้วยทีมงานมืออาชีพ สามารถติดต่อทีม QAD ได้ที่นี่ https://go.qad.com/AP-TH-FY22-AD-Advertorial-Article_LP-TechTalkThai.html

โซลูชัน ERP ที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ จะสามารถปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ ในแง่ของซัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน การผลิต การจัดการลูกค้า การเงิน และวัตถุประสงค์อื่นๆ ให้ดีขึ้น

เราช่วยคุณได้ด้วย QAD Adaptive ERP สำหรับอุตสาหกรรมผลิต

โทร : 02-202 9363 / 02-2029369

เยี่ยมชมเวปโซด์ www.qad.com/th-TH

ติดตามข้อมูลอัพเดทเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมผลิต และข้อมูลด้านซอฟแวร์ได้ที่ Facebook : QAD Thailand

from:https://www.techtalkthai.com/to-survive-in-digital-era-choosing-and-upgrading-erp-are-the-important-things-to-consider/

SCB ชี้ หยวนดิจิทัลเป็นนวัตกรรมการเงินครั้งสำคัญที่สุด แนะธุรกิจไทยต้องจับตามองในระยะยาว

มุมมองจากธนาคารไทยพาณิชย์เกี่ยวกับการทดสอบหยวนดิจิทัล โดย SCB มองว่าเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่สำคัญหลังจากนี้ และแนะนำให้ภาคธุรกิจไทยต้องจับตามองในระยะยาว

China Payment QR Code
ภาพจาก Shutterstock

มาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน China Business ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การประกาศเริ่มใช้เงินหยวนดิจิทัลน่าจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่สำคัญที่สุดหลังจากเหตุการณ์โรค COVID-19 โดยเงินหยวนดิจิทัลนี้ไม่ใช่สกุลใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของเงินหยวนปกติ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายการเงิน ตลอดจนมีส่วนช่วยในการปราบปรามการทุจริต ในระยะยาวอาจเป็นตัวเสริมความเป็นสากลของเงินหยวน

สำหรับหยวนดิจิทัลนั้น ธนาคารกลางจีน หรือ PBoC ได้ศึกษาแนวทางมาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว การนำเงินหยวนดิจิทัลออกมาใช้ในช่วงเวลานี้ ส่วนหนึ่งเพื่อการป้องกันการติดโรคระบาดผ่านธนบัตร ถึงแม้ประเทศจีนเป็นสังคมไร้เงินสดเกือบทั้งหมด แต่เบื้องหลังของกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย ยังมีส่วนที่เป็นธนบัตรกระดาษอยู่ อาทิ การจัดเก็บธนบัตรที่ธนาคารพาณิชย์ ส่วนเงินหยวนดิจิทัลจะไม่มีขั้นตอนของธนบัตรกระดาษแต่อย่างใด

มาณพ ยังชี้ว่า เงินหยวนดิจิทัลมีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ที่ตรงกันข้ามกับ Cryptocurrency โดยสิ้นเชิง และรัฐบาลจีนไม่ได้มีสัญญาณที่จะส่งเสริมการใช้ Cryptocurrency แต่อย่างใด และธนาคารกลางจีน น่าจะสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินได้แบบคล่องตัวและตรงจุดมากขึ้นในระยะต่อไปเมื่อมีการใช้เงินหยวนดิจิทัลในวงกว้าง เนื่องจากคุณสมบัติด้านการรวมศูนย์ที่ทำให้ติดตามสถานะของผู้ถือเงินได้

แนวคิดของเงินหยวนดิจิทัลนั้นอยู่ตรงกันข้ามกับ Cryptocurrency เช่น Bitcoin และโดยนัยยะของหยวนดิจิทัลนั้นยังเป็นการสกัดกั้น Cryptocurrency เนื่องจากเงินหยวนดิจิทัลมีลักษณะ 3 ประการ

  1. มีกฎหมายรองรับและไม่ใช่เงินสกุลใหม่ เงินหยวนดิจิทัลเป็นเงินที่มีกฎหมายและความน่าเชื่อถือของประเทศรองรับ ไม่ใช่เงินสกุลใหม่ หากแต่เป็นเงินหยวนในรูปแบบดิจิทัล (แทนที่จะเป็นกระดาษ) ดังนั้น ไม่ต้องมีการอิงราคากับสกุลเงินหรือสินทรัพย์ใด ๆ ไม่ต้องมีการกำหนดราคาเป็นของตัวเองเพิ่มขึ้น เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินหยวนที่มีใช้อยู่แล้ว
  2. มีลักษณะรวมศูนย์ เงินหยวนดิจิทัลไม่อิงกับเทคโนโลยี Blockchain มีลักษณะการจัดเก็บแบบรวมศูนย์มาที่ธนาคารกลาง คือธนาคารกลางสามารถรู้ข้อมูลการเคลื่อนไหวตลอดจนสถานะของผู้ถือว่าเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัท SME หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น โดยแนวคิดเรื่องการรวมศูนย์นั้นตรงข้ามกับ Cryptocurrency ที่เน้นการกระจายการจัดเก็บข้อมูลโดยไม่มีตัวกลาง
  3. มีดอกเบี้ย ธนาคารกลางสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กับเงินหยวนดิจิทัลได้โดยตรง คุณสมบัติข้อนี้เป็นจุดแตกต่างจากเงิน Cryptocurrency โดยทั่วไป แต่ในขั้นทดลองนี้ยังไม่มีการกำหนดดอกเบี้ย

มาณพ ยังได้กล่าวเสริมว่า ธนาคารกลางจีน อาจกำหนดหรือปรับอัตราดอกเบี้ยในระดับที่ต่างกันสำหรับกลุ่มผู้ถือเงินแต่ละกลุ่มโดยตรง ไม่ต้องผ่านกลไกของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารกลางสามารถบริหารสภาพคล่องในแต่ละภาคเศรษฐกิจโดยตรงได้มากขึ้น นอกจากนี้ประโยชน์อื่น ๆ ของเงินดิจิทัล ได้แก่ ต้นทุนการผลิตเงินที่ต่ำกว่า การป้องกันการคดโกงและการฟอกเงินที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า หรือแม้กระทั่งการจ่ายเงินอุดหนุนในเหตุวิกฤติที่ทำได้แบบตรงตัวกว่า เป็นต้น

ปัจจุบัน ธนาคารกลางจีน กำลังทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลที่มีชื่อทางการว่า Digital Currency/Electronic Payment (DCEP) โดยกำหนดทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลนี้ใน 4 เมือง ได้แก่ เซิ่นเจิ้น ซูโจว เฉิงตู และสงอัน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในเมืองซูโจว รัฐบาลจะจ่ายค่าเดินทางให้กับข้าราชการครึ่งหนึ่งเป็นเงินหยวนดิจิทัล

ขณะที่การทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลในเมืองสงอัน จะเน้นทดลองใช้กับธุรกิจค้าปลีกและการจัดเลี้ยง เช่น ฟิตเนส ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น โดยมีบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆ เช่น Starbucks McDonald’s และ Subway เข้าร่วมโครงการทดลองในครั้งนี้ด้วย

มาณพยังได้แนะนำภาคธุรกิจไทยควรจับตาแนวโน้มระยะยาวว่าความคล่องตัวของเงินหยวนดิจิทัลจะมีส่วนผลักดันให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากขึ้นหรือไม่เพียงใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขั้นตอนการโอนเงินเข้าออกประเทศจีนเพื่อชำระสินค้าค่าบริการและการลงทุน การเพิ่มน้ำหนักของเงินหยวนในทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ
ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ดี มาณพ ชี้ว่า เงินหยวนดิจิทัลนี้คงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพรวมการปฏิรูปเงินหยวนให้มีความเสรีมากขึ้น จึงต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการเปิดเสรีบัญชีทุนของประเทศจีนด้วย สำหรับในระยะสั้นเขาไม่คิดว่าการใช้เงินหยวนดิจิทัลจะมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจไทยแต่อย่างใด

Digital Yuan หยวนดิจิทัล SCB

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/scb-view-about-digital-yuan-is-innovative-and-th-business-should-follow-up/

ธนาคารกลางจีนกำลังพัฒนาและทดสอบ “หยวนดิจิทัล” ในบางเมืองของประเทศแล้ว

ธนาคารกลางจีน (PBoC) ได้เริ่มมีการทดสอบหยวนดิจิทัลแล้วใน 4 เมืองหลัก นอกจากนี้อดีตประธานธนาคารกลางจีนยังเชื่อว่าหยวนดิจิทัลจะสามารถทดแทนเงินหยวนได้

Chinese Payment Mobile Payment
ภาพจาก Shutterstock

ธนาคารกลางจีน ได้เริ่มพัฒนาและล่าสุดนั้นเริ่มมีการทดสอบ “หยวนดิจิทัล” ในบางเมืองของประเทศจีน โดยมี 1 ใน 4 สถาบันการเงินรัฐวิสาหกิจของจีน อย่าง Agricultural Bank of China เข้าร่วมการทดสอบนี้ด้วย และการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การจ่ายเงินผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มีการเร่งพัฒนาโครงการนี้ไวกว่าเดิม

สำหรับ 4 เมืองที่มีการทดสอบได้แก่ สงอัน ซูโจว เฉิงตู รวมไปถึง เชินเจิ้น ซึ่งจะมีผู้ใช้งานบางส่วนได้รับการเชิญให้ทดสอบระบบครั้งนี้ เป้าหมายของธนาคารกลางจีนที่ทดสอบแยกเป็นการใช้ชำระเงินสำหรับร้านค้าปลีก และร้านอาหาร ส่วนอีกการทดสอบเพื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ

โดย Application ไว้ทดสอบหยวนดิจิทัลของธนาคาร Agricultural Bank of China ที่เป็นข่าวฮือฮานั้น มีบนทั้งแพลตฟอร์ม iOS และ Android ฟังก์ชั่นในการทำงานคือจ่ายเงินผ่าน QR Code สามารถรับเงินและส่งเงินให้ผู้ใช้รายอื่นๆ นอกจากนี้ในการรับและโอนเงินยังมีเลขของธนบัตรเหมือนกับธนบัตรจริงๆ ด้วย

ความพยายามของจีนในการผลักดันสกุลเงินดิจิทัลเกิดขึ้นเมื่อช่วงราวๆ ปี 2014 เมื่อรัฐบาลจีนต้องการที่จะลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ และก่อนหน้านี้มีการทดสอบภายในมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ส่วนใหญ่เป็นการทดสอบภายในเท่านั้น ก่อนที่รัฐบาลจีนจะออกมาประกาศอย่างไม่เป็นทางการในเดือนตุลาคมปี 2019 ว่าจะเริ่มมีการทดลองใช้งานในปี 2020

Zhou Xuedong โฆษกของธนาคารกลางจีนได้กล่าวว่า “ปัจจุบันมากกว่า 95% ของธุรกรรมในชีวิตประจำวันนั้นชาวจีนทำผ่าน Mobile Payment หรือไม่ก็ผ่าน Internet Payment และถ้าหากสังคมเข้าสู่โลกของดิจิทัลมากขึ้นสกุลเงินดิจิทัลก็ย่อมเป็นที่ย่อมรับสูงมากขึ้นตามลำดับ”

Li Lihui อดีตประธานธนาคารกลางจีน กล่าวว่า หยวนดิจิทัล จะสามารถใช้ทดแทนเงินหยวนได้เต็มรูปแบบ โดย 4 ข้อที่เขาเชื่อว่าสามารถทดแทนได้คือ ประชาชนเชื่อถือ มีประสิทธิภาพในการใช้จ่าย ต้นทุนทางธุรกรรมที่ถูก รวมไปถึงสามารถมีขนาดใหญ่พอที่รองรับกับการเติบโตของเศรษฐกิจได้

ในบทวิเคราะห์ของ Deutsche Bank เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามองว่า ขณะที่จีนรวมไปถึงประเทศอย่างอินเดียกำลังสนใจพัฒนาสกุลเงินท้องถิ่นแบบดิจิทัล มีการพัฒนาเทคโนโลยีเบื้องหลัง เช่น Peer-to-Peer หรือ Blockchain ฯลฯ รวมไปถึงธนาคารกลางจีนกำลังพัฒนาหยวนดิจิทัลอยู่ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถจะเป็นการใช้อำนาจในด้าน Soft Power รวมไปถึง Hard Power ทางเศรษฐกิจ และถ้าหากบริษัทต่างประเทศที่ทำธุรกิจในจีนใช้หยวนดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งทำให้ดอลลาร์สหรัฐโดนลดบทบาททางการเงินระหว่างประเทศลง

ถ้าหากการทดสอบของธนาคารกลางจีนและ 4 สถาบันการเงินเป็นที่น่าพอใจ ก็อาจทำให้การผลักดันของรัฐบาลจีนที่ต้องการใช้หยวนดิจิทัลนั้นรวดเร็วมากกว่าเดิม และเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลรวมถึงธนาคารกลางต่างๆ ต้องรีบพัฒนาสกุลเงินท้องถิ่นให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น

ที่มา – Bitcoin.com, Asia Times, Coindesk

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/china-pboc-now-testing-digital-yuan-ex-pboc-chief-believe-its-can-replace-rmb/

สรุป 10 ข้อ ภาพรวมสื่อโฆษณาดิจิทัลแห่งปี จากงาน DAAT Day 2019

สมาคมโฆษณาดิจิทัล หรือ DAAT ได้จัดงาน DAAT Day 2019 พร้อมประเมินภาพรวมสื่อโฆษณาดิจิทัลของปี 2019 ว่าจะพุ่งถึง 20,000 ล้านบาท

สรุป 10 ข้อ สื่อดิจิทัลในปีนี้จะเป็นอย่างไร

เป็นธรรมเนียมของสมาคมโฆษณาดิจิทัลหรือ DAAT ที่จะจัดงาน DAAT Day 2019 เพื่อให้คนในวงการสื่อโฆษณาทั้งเอเยนซี่ และนักการตลาดได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ในโลกดิจิทัลกัน

ในปีนี้ได้มีการคาดการณ์สื่อดิจิทัลไว้ มองว่าจะมีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท กลุ่มที่มีการใช่สื่อสูงสุดยังคงเป็นรถยนต์ และสื่อยอดนิยมก็หนีไม่พ้น Facebook รายละเอียดจะเป็นอย่างไร Brand Inside ได้สรุปมาให้ใน 10 ข้อนี้แล้ว

1. ภาพรวมสื่อดิจิทัลจะมีมูลค่าแตะ 20,000 ล้านบาท มีการเติบโต 19% โดยที่ครี่งปีแรกมีมูลค่า 9,019 ล้าน และคาดการณ์ปีหลังมีมูลค่า 11,144 ล้าน บาท ถ้าดูในแง่การเติบโตอาจจะลดลง เพราะปีที่แล้วเติบโต 36% แต่ถ้าดูในแง่ของเม็ดเงินเติบโตเฉลี่ย 3,000 ล้านบาทเท่าๆ กัน เป็นการเติบโตจากฐานมูลค่าที่สูง ไม่ได้โตก้าวกระโดเหมือนปีก่อนๆ

2. อุตสาหกรรมที่มีการใช้สื่อดิจิทัลมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ 2,500 ล้านบาท รองลงมาเป็น สกินแคร์ 1,900 ล้านบาท และการสื่อสาร 1,500 ล้านบาท เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ 1,436 ล้านบาท และธนาคาร 1,197 ล้านบาท

3. รถยนต์เป็นกลุ่มธุรกิจที่ครองแชมป์การใช้สื่อดิจิทัลอันดับ 1 มาตลอด 3 ปีตั้งแต่ปี 2017-2019 โดยที่ปี 2017 มีมูลค่า 1,289 ล้านบาท ปี 2018 มูลค่า 2,361 ล้านบาท และในปี 2019 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 2,596 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะธุรกิจรถยนต์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ High Involvement หรือต้องใช้การตัดสินใจสูง มีการหาข้อมูลจากหลายที่หารีวิว หรือข้อมูลใน Community บนโลกออนไลน์ อีกทั้งยังมีเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้แต่ละแบรนด์อัดงบโฆษณาดิจิทัลค่อนข้างสูง

4. ธุรกิจธนาคารเป็นกลุ่มที่มาแรงมากช่วงปี 2017 มีการใช้สื่อดิจิทัลมูลค่า 847 ล้านบาท อยู่อันดับ 3 เพราะปีนั้นเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านมาสู่ Digital Banking ทำให้ธนาคารใช้สื่อโฆษณาในการสื่อสาร ส่วนในปี 2018 และ 2019 ก็ยังใช้สื่ดิจิทัลเยอะอยู่ในระดับพันล้านบาท ติดอันดับ 5

5. ส่วนธุรกิจสกินแคร์ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นธุรกจิที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อปี 2017 มีการใช้สื่อในอันดับ 4 มูลค่า 723 ล้านบาท ในปี 2018 ขยับขึ้นมาอันดับ 3 มูลค่า 1,454 ล้านบาท และคาดการณ์ในปี 2019 จะขึ้นไปอันดับ 2 มีมูลค่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งแบรนด์สกินแคร์มีการใช้เงินไปกับสื่อออนไลน์ และออฟไลน์อันดับต้นๆ อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับกลุ่ม Influencer ซึ่งไม่สามาถวัดมูลค่าได้ชัดเจน แต่ที่เห็นได้ชัดคือการมาใช้วิดีโอ ออนไลน์มากขึ้น

6. ถ้าดูในแง่ของการเติบโต กลุ่มธุรกิจขนมมีการเติบโตสูงที่ 109% โดยที่ปีที่แล้วมีการใช้สื่อดิจิทัลเพียง 329 ล้านบาท ในปี 2019 คาดการณ์ว่าจะมีการใช้ถึงมูลค่า 690 ล้านบาท เป็นการเติบโตจากฐานตัวเลขที่น้อย ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนมาใช้สื่อดิจิทัลจากการใช้สื่อหลัก ลักษณะเหมือนกับธุรกิจ FMCG ที่เปลี่ยนมาใช้วิดีโอ ออนไลน์มากขึ้น เพื่อสื่อสารกับกลุ่มวัยรุ่น มีแคมเปญแปลกๆ หรือมีแคมเปญที่ใช้ศัพท์แปลกๆ ในช่วงปีนี้ก็มีแพลตฟอร์มสำหรับวัยรุ่นแจ้งเกิดอย่าง TikTok และจอยลดาด้วย

ภาพจาก shutterstock

7. สำหรับกลุ่มธุรกจิที่มีการใช้สื่อดิจิทัลลดลงมีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ การสื่อสารลดลง 18% กลุ่มนี้ได้แก่ โอเปอเรเตอร์ค่ายมือถือ และสมาร์ทโฟน ปัจจัยหลักมากจากกลุ่มโอเปอเรเตอร์ใช้งบโฆษณาลดลง และถือช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G ไปยัง 3G แต่ละค่ายต้องการดึงผู้ใช้ 2G ให้ไปใช้ 3G ซึ่งกลุ่มผู้ใช้หลักเป็นกลุ่ม Gen X ที่ไม่ได้อยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้ไม่ได้ใช้สื่อดิจิทัลมากเท่าที่ควร อีกทั้งยังไม่ได้เปิด 5G จึงไม่ได้มีการทำตลาดด้านนี้มาก ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องบริการอื่นๆ ต้องจับมามองช่วงการมาของ 5G น่าจะกระตุ้นการใช้สื่อดิจิทัลอีกมากแน่นอน

8. ส่วนอีกกลุ่มที่มีการใช้สื่อดิจิทัลลดลงก็คือ อสังหาริมทรัพย์ ลดลง 1% ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจ โครงการต่างๆ ที่ Over Supply รวมถึงการชะลอตัวของการลงทุนจากต่างชาติ จากที่แต่ก่อนมีการลงทุนจากฮ่องกง สิงคโปร์ และยังมีเรื่องของการเพิ่มดอกเบี้ยของอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย

Technology Company Apple Facebook Google iPhone Screen
ภาพจาก Shutterstock

9. สื่อดิจิทัลที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดสูงสุด 5  อันดับแรกยังคงเป็น Facebook มูลค่า 5,762 ล้านบาท YouTube มูลค่า 4,120 ล้านบาท Creative มูลค่า 2,108 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 4 ในปีก่อน) Display มูลค่า 1,731 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากอันดับ 6 ในปีก่อน) และ Search มูลค่า 1,643 ล้านบาท (ลดลงจากอันดับ 3 ในปีก่อน)

10. เหตุผลที่สื่อรูปแบบ Creative และ Display ได้รับความนิยมมากขึ้น มาจากการที่หลายๆ แบรนด์มีการใช้วิดีโอออนไลน์มากขึ้น แล้วมีการทำวิดีโอหลายๆ เวอร์ชั่น ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ ไม่ใช่แค่ลงโฆษณาบน YouTube เพียงอย่างเดียว

ส่วน Display สามารถช่วยเรื่องการสร้างแบรนด์ได้ และยังเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของแบรนด์ได้ด้วย พบว่ากลุ่มธุรกิจยานยนต์มีการใช้สื่อ Display เยอะ เพื่อต้องการดึงลูกค้าเข้าเว็บไซต์แล้วไปดูข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าต่อ เพราะสินค้ากลุ่มรถยนต์ต้องอาศัยการตัดสินใจซื้อนานมากๆ ต้องอ่านรีวิว อ่านคอมมูนิตี้รถยนต์ ไม่ใช่แค่ดูวิดีโอแล้วจบ Display ต้องการให้คนเห็นเยอะๆ แล้วคลิ๊กเข้าไปในเว็บไซต์ ทำให้แบรนด์รู้ว่าแต่ละคนมีพฤติกรรมซื้ออย่างไรได้ด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/10-things-digital-ads-daat-day-2019/