คลังเก็บป้ายกำกับ: Digital_Advertising

“แบรนด์ต้องเข้าใจ Data ให้ดีกว่าเดิม” Data-driven Marketing ที่ต้องตอบโจทย์ธุรกิจได้

 

ย้อนกลับไป 3-4 ปีก่อนหน้านี้ Data ยังเป็นเรื่องใหม่ในโลกสินค้าและบริการ หลากหลายแบรนด์ตื่นตาตื่นใจกับการใช้ Data มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้โจทย์ Marketing การเข้าถึง Data ในอดีตมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่สูงจนเข้าถึงได้ยาก ผ่านมาถึงปัจจุบัน ความตื่นเต้นจางลง

ลองฟังคุณเต่า-ไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ Managing Director แห่ง Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group (Rabbit’s Tale DI) ที่จะมาอธิบายถึงการทำดาต้าให้แก่คนที่กำลังสนใจได้ลองปรับใช้งานให้เหมาะกับธุรกิจกันค่ะ

นักการตลาดและแบรนด์เข้าใจมากขึ้นว่าอะไรเป็นเพียง Buzz Word และอะไรที่จำเป็นจริงๆ “Data กลายเป็นเรื่องของทุกคน” ไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือใหญ่ งบร้อยล้านหรือหลักหมื่นก็มี Solutions เรียงแถวมาให้เลือกตามความต้องการ คล้ายว่า Data จะเข้าถึงง่ายขึ้น แต่การนำ Data มาใช้ง่ายขึ้นตามจริงไหม?

ท่ามกลางยุคที่ใครๆ ก็เข้าถึง Data ได้ง่ายแสนง่ายนี้ คนทำ Data ต้องทำอะไร? แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งไหน?

ความท้าทายแห่งโลก Data: เมื่อผู้บริโภคอยากได้ แต่ไม่ยอมให้ แบรนด์ทำอะไรต่อดี?

Data มา Privacy ก็ตามมาติดๆ เมื่อใครๆ ก็อยากมี Data ในครอบครองจึงไม่แปลกที่ User จะกังวลเรื่อง Personal Data และความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่คุณเต่าชี้ให้เห็นว่าความท้าทายก็อยู่ตรงนี้ เพราะทางหนึ่งแม้ผู้บริโภคจะต้องการความเป็นส่วนตัว แต่อีกทางผู้บริโภคต่างก็ตามหาแบรนด์ที่มอบ Relevancy และ Personalized Experience หรือสินค้าและบริการเฉพาะบุคคลให้พวกเขาได้เช่นกัน

นึกภาพการเข้าใช้บริการโรงแรมที่มีเค้กวางรออยู่แล้ว เพราะรู้ว่านี่คือวันเกิดเราพอดี หรือโปรโมชันพิเศษเที่เสนอให้แค่เราเมื่อรู้ว่าเราชอบลาพักร้อนในช่วงกลางปีเป็นประจำ ซึ่งประสบการณ์เฉพาะเหล่านี้เริ่มที่การอนุญาตให้แบรนด์นำ Data ไปใช้ โดยคุณเต่าเสนอว่าจุดสมดุลเป็นสิ่งที่ทั้งแบรนด์ ผู้บริโภค และความเข้าใจเรื่อง Data ต้องทำร่วมกัน

ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่าแบรนด์เอา Data ไปแล้วรุกล้ำความเป็นส่วนตัว หรือรู้สึกว่าไม่อนุญาตให้มีการเก็บข้อมูลแปลว่าจะไม่มีโฆษณากวนใจซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกเสียทีเดียว เนื่องจากโฆษณาออนไลน์เป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้ แต่การยอมให้ Data เท่าที่เรากำหนดขอบเขตได้ จะทำให้เราเห็นในสิ่งที่เราตามหาหรือตอบโจทย์ประสบการณ์ให้ดีขึ้น

นอกจากนั้นฟากผู้บริโภคเองต้องทำความเข้าใจเช่นกันว่าการยอมให้ข้อมูลส่วนตัวในขอบเขตที่เรายอมรับได้ จะทำให้ชีวิตสะดวกขึ้น ง่ายขึ้น มี Experience ที่ดีขึ้นจริง ถ้าไม่ยอมให้ Data อะไรเลย เราก็ไม่ได้สิ่งนี้ตอบแทนมา

ในขณะที่ฝั่งแบรนด์การสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือโดยระบุว่าเราจะใช้ Data ในขอบเขตไหนและเพื่ออะไรอย่างโปร่งใสก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นว่าเรานำ Data นั้นมาเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมอบคืนกลับไปได้จริง รวมถึงความปลอดภัยว่า Data เหล่านั้นจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นที่ผู้บริโภคไม่ยินยอม

คุณเต่ายกตัวอย่างการใช้บริการโปรโมชันมือถือ โดยค่ายมือถือที่เราอนุญาตให้ติดตามข้อมูลการใช้งานของเราสม่ำเสมอจะสามารถระบุได้ว่าแต่ละเดือนเราใช้บริการเท่าไร อย่างไร และเมื่อเราใช้งานเกินโปรโมชันจนมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างงอกออกมาผิดปกติ ค่ายมือถือจะนำเสนอโปรโมชันที่ใหม่ที่ตรงรูปแบบขึ้นเพื่อการใช้งานที่ราบรื่นและคุ้มค่ากว่ามาให้แทน จึงจะเห็นว่าการที่ผู้บริโภคยอมให้ข้อมูลในขอบเขตที่ยอมรับได้ และแบรนด์นำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นตอบโจทย์แบรนด์ได้และมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าต่อผู้บริโภคไปพร้อมกัน

ยิ่ง Data เข้าถึงง่าย แบรนด์ยิ่งต้องเข้าใจกว่าเดิม

การเอาชนะความท้าทาย การหาจุดสมดุลระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคเรื่อง Data นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว แต่การเข้าใจทั้งความท้าทาย และหาวิธีนำ Data มาแก้โจทย์การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นยิ่งยากขึ้นอีกระดับ ไม่แปลกที่ปัจจุบันแม้หลายๆ แบรนด์จะเข้าถึง Data ได้ แต่โจทย์สำคัญคือจะใช้ Data ในมืออย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด? แบรนด์จึงต้องตระหนักอยู่เสมอว่า

ยิ่ง Data เข้าถึงง่าย แบรนด์ต้องเข้าใจ Data ให้ครอบคลุมกว่าเดิม หากแบรนด์ยังใช้ Data เพียงผิวเผินอาจทำให้หลุดออกจากวงโคจรไปได้ ความเข้าใจบางอย่างที่เคยใช้ได้เมื่อ 3-4 ปีก่อน อาจต้องขยับขยายเพื่อปรับมุมมองไม่ให้ตกขบวน Data

เมื่อผู้บริโภคมองหา Relevancy และ Personalized Experience หรือประสบการณ์เฉพาะจากแบรนด์มากขึ้น ดังนั้น Data กว้างๆ ไม่อาจตอบคำถามสำคัญที่ว่าผู้บริโภคเราคือใคร? และเขากำลังต้องการอะไร? อย่างแท้จริงได้ Third-Party Data ซึ่งเป็น Data ที่รวบรวมและสรุปผลมาจากหลายแหล่งแบบกว้างๆ แล้วแบรนด์ไปซื้อมาใช้จึงอาจไม่ตอบโจทย์การมอบประสบการณ์เฉพาะต่อผู้บริโภคได้

“เขาอยู่ในขั้นรู้จักแบรนด์แต่ยังไม่ซื้อหรือเปล่า? หรือเขาซื้อของเราแล้ว และแบรนด์ต้องการให้เขาซื้ออีก? คำถามเหล่านี้ Data จะตอบให้แบรนด์ได้ทั้งหมด ดังนั้นถ้าเราสามารถเก็บ Data ของผู้บริโภคคนนี้ได้ เราก็จะสามารถเชื่อมโยงและดูแลผู้บริโภคในทุกๆ สเต็ปของ Customer Journey ได้” คุณเต่าชี้ให้เห็น

แค่มี Data ไม่ได้ แต่ต้องใช้ Data อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์หรือนักการตลาดบางคนอาจยังเข้าใจว่าแค่มี Data ก็เพียงพอแล้ว แต่การมี Data ในมือเป็นเพียงสับเซ็ตเดียวของโลก Data-driven Marketing การมี Data ว่าผู้บริโภคเราคือใครและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้การสื่อสารทางการตลาดเราประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

โดยจะทำให้เรารู้ว่าเราต้องให้ความสำคัญกับส่วนไหนเพื่อสร้าง Relevancy และ Personalized Experience กับผู้บริโภค ซึ่งจะนำไปสู่ทั้งการเพิ่มยอดขายและการช่วยลดต้นทุนให้แบรนด์ได้

กุญแจสำคัญของการทำ Data Activation ที่ Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group ใช้ไม่ใช่แค่มีข้อมูล แต่ต้องนำข้อมูลมาผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีและครีเอทีฟก่อนจะส่งออกไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างที่เขาต้องการ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ ทั้ง Data, Creative Idea, Strategy และ Technology ต้องมาพร้อมกัน กระบวนการตั้งต้นอย่างเป็นระบบผ่าน Strategy ว่าแบรนด์ต้องการอะไร จากนั้นจึงใช้ Data และ Technology เข้ามาหาว่าต้องทำอย่างไรเพื่อตอบโจทย์นั้น ก่อนจะใช้ครีเอทีฟมาทำให้สิ่งเหล่านี้สนุกและดึงดูดใจผู้บริโภคยิ่งขึ้น

Data ไม่ใช่แค่วิเคราะห์ ต้องเติมเต็มสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการด้วย

นอกจากการทำความเข้าใจจักรวาล Data ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ แล้ว การนำ Data มาใช้เพื่อสื่อสารการตลาดอย่างตรงจุดก็เป็นอีกสิ่งที่ Managing Director แห่ง Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group ให้ความสำคัญ ปัจจุบันหมดยุคที่ Agency จะเน้นไปที่ Awareness เพียงอย่างเดียวโดยทำเพียงให้คนรู้จักแบรนด์แล้วจบ

แต่การสร้าง Brand Experience หรือประสบการณ์ระยะยาวที่ครบวงจรให้กับแบรนด์และผู้บริโภคถือเป็นสิ่งจำเป็น แบรนด์หนึ่งจะเชื่อมโยงกับผู้บริโภคทั้ง Customer Journey จึงต้องมั่นใจว่าเราสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้บริโภคได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นสร้างการรับรู้ (Awareness) การตัดสินใจ (Consideration) จนถึงการกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ (Retention) โดยการที่แบรนด์จะดูแลผู้บริโภคให้ครบวงจรนี้ Data เป็นกุญแจสำคัญ แบรนด์ต้องบอกได้ว่าผู้บริโภคของตัวเองอยู่ ณ จุดไหนของ Customer Journey แล้ว

เมื่อแบรนด์สามารถรู้จักผู้บริโภคของตัวเองผ่าน Data แล้ว แบรนด์จะยิ่งตัดสินใจได้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าเมื่อผู้บริโภคกำลังอยู่สเต็ปนี้ แล้วแบรนด์ต้องเสนอสินค้า บริการ หรือโปรโมชันอะไรให้ ดังนั้นในแง่การทำงานของ Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group การสื่อสารการตลาดที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่การตัดสินใจขึ้นมาจากความว่างเปล่าว่าเราจะทำอะไร แต่เป็นการคิดขึ้นมาจากโจทย์ที่ว่า “Data กำลังบอกอะไรเราอยู่?” เป็นการใช้ Data เชื่อมโยงประสบการณ์ของแบรนด์และผู้บริโภค รวมถึงหาสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากแบรนด์จริงๆให้เจอ

เมื่อเชื่อว่า Data ต้องตอบแบรนด์ได้ว่าผู้บริโภคกำลังต้องการอะไร Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group จึงต้องใช้ Data อย่างครบวงจร ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์เท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของ Data Collection เมื่อแบรนด์ยังไม่มี Data ของผู้บริโภคก็ต้องหาวิธีเก็บให้ได้บนฐานความโปร่งใสและเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและบริการที่ดีกลับไป

จากนั้นเมื่อได้ Data ที่กระจัดกระจายมา Data Transformation คือการจัดระเบียบ ร้อยเรียงข้อมูลมหาศาลให้ออกมาเข้าถึงงาน หยิบจับไปใช้งานได้จริง และลำดับถัดมา Data Analysis วิเคราะห์ออกมาเป็นคำตอบที่แบรนด์ต้องการรู้ ก่อนจะจบลงที่ Data Activation การนำสิ่งที่ Data กำลังบอกมาลงมือสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพตอบโจทย์ได้ทั้งแบรนด์และผู้บริโภค

“Data อยู่ทุกหนทุกแห่ง” เชื่อมให้ Brand Experience ไร้รอยต่อตั้งแต่ต้นจนจบ

ในวงการสื่อสารการตลาดนั้นการสร้าง Brand Experience หรือประสบการณ์ระยะยาวที่ครบวงจรให้กับแบรนด์และผู้บริโภคถือเป็นสิ่งสำคัญ แม้ Data จะอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่โจทย์สำคัญคือจะนำ Data มาสร้าง Brand Experience อย่างไรให้ไร้รอยต่อตั้งแต่ต้นจนจบ? หลายครั้งที่แบรนด์อาจประสบปัญหาต้องการคนที่เข้าใจการทำ Data and Interactive แต่ก็ต้องหาคนทำ Creative Idea และ Strategy ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน

คุณไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ กรรมการผู้จัดการ Alchemist

ความท้าทายนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Experience Agency กลายมาเป็น Solution ให้กับแบรนด์ โดย Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group ในฐานะส่วนหนึ่งของ Rabbit’s Tale จึงสามารถประสานกับ Business Group ในเครือเพื่อตอบโจทย์ให้แบรนด์ได้ทั้ง Data, Creative Idea, Strategy และ Technology เพื่อวางกลยุทธ์ในการสร้างประสบการณ์ครบวงจรได้ในที่เดียว ช่วยย่นระยะเวลาและความสะดวกให้เชื่อมโยงกันได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

เพราะเรื่อง Data เต็มไปด้วยเลเยอร์ที่ซ้อนอยู่ไม่รู้จบ ตั้งแต่เรื่อง IT ซึ่งเลเยอร์ที่อาจดูลึกลับมากๆ สำหรับคนที่ไม่เข้าใจ ไปจนถึงเลเยอร์ทางการตลาดที่แบรนด์และนักการตลาดอาจคุ้นชินกว่า ดังนั้นในแต่ละเลเยอร์ที่แตกต่างนี้ต้องการคนทำงาน Data ที่เข้าใจทุกภาษา คุณเต่าย้ำว่า “คนที่ทำ Data ได้คือคนที่เข้าใจทุกภาษาที่อยู่ตรงนี้”

และความเป็น Experience Agency ช่วยถักทอให้ Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group สื่อสารทุกภาษาในจักรวาล Data ได้อย่างราบรื่น โดยอีกจุดแข็งที่สำคัญคือ Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group ได้ร่วมมือกับ Marketing Technology Tool หลายเจ้าจึงช่วยอุดช่องโหว่หากแบรนด์ไม่รู้ว่าสโคปที่ตัวเองต้องการนี้มีเวนเดอร์หรือพาร์ตเนอร์กี่เจ้าในตลาด เป็นอีกปัจจัยที่จะเสนอ Solution ที่ตอบโจทย์แบรนด์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

นายไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ กรรมการผู้จัดการบริษัท Alchemist

ท่ามกลางยุคที่ Data เข้ามามีบทบาทกับทุกช่วงเวลาของชีวิต ทั้งแบรนด์และคนทำ Data ยิ่งต้องเข้าใจจักรวาลแห่ง Data มากขึ้นกว่าเดิม หัวใจสำคัญที่แวดวง Data-driven Marketing ต้องตระหนักอยู่เสมออาจเป็นสิ่งที่ Managing Director แห่ง Rabbit’s Tale Data and Interactive Business Group กล่าวเอาไว้ว่า “จะดีแค่ไหน ถ้าแบรนด์ก็สามารถใช้ Data ดูแลทุก Touchpoint ให้ผู้บริโภคอย่างราบรื่นและผู้บริโภคเองได้รับในสิ่งที่เขาก็กำลังมองหา”

from:https://www.thumbsup.in.th/data-rabittale?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=data-rabittale

Advertisement

Rabbit’s Tale ดึง “จ๊อด-สงกรานต์ เศรษฐสมภพ” ร่วมทีม พร้อมกระโดดสู่ก้าวใหม่ในรูปแบบ Experience Agency ครบวงจร

Rabbit’s Tale เอเจนซี่ด้านการตลาดและสื่อสารมวลชน ประกาศแต่งตั้ง “พี่จ๊อด” สงกรานต์ เศรษฐสมภพ มาเสริมทัพในทีมคณะที่ปรึกษา Board of Advisory เพื่อมุ่งหน้าสร้างปรากฎการณ์ครั้งใหม่ในวงการโฆษณาไทย

“พวกเราตื่นเต้นที่ได้รับเกียรติจากพี่จ๊อด สงกรานต์ มาร่วมเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษา เราเชื่อว่าด้วยประสบการณ์กว่า 36 ปี ในสายงานแขนงต่างๆ ผ่านช่วงเวลาที่วงการถูก Disrupt และ Transform ในหลายๆยุค

พี่จ๊อดจะสามารถนำพาพวกเรา Break the Norm, Build the Tale. เพื่อเดินหน้าสู่การเป็น Experience Agency ได้อย่างเต็มตัว” นายสุนาถ ธนสารอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแรบบิทส์ เทล กล่าว

“ผมเชื่อในพลังของคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ คิดนอกกรอบและสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ” นายสงกรานต์กล่าวถึงการมาร่วมทัพในครั้งนี้ “ทีมงานของ Rabbit’s Tale คือกลุ่มคนที่มี Dynamic ของพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ เมื่อมองไปถึงอนาคตของวงการอันน่าตื่นเต้นที่รออยู่ข้างหน้า การได้มาร่วม Board of Advisory ของที่นี่ถือเป็นการเดินทางครั้งใหม่ที่สนุกแน่นอนครับ”

ก่อนเข้าร่วมกับ Rabbit’s Tale นายสงกรานต์ เศรษฐสมภพ เคยนั่งแท่นบริหารงานในเอเจนซี่โฆษณาและการตลาดหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Publicis Groupe Thailand, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BBDO Bangkok, หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Creative Juice/G1 เอเจนซี่ในเครือข่ายของ TBWA – OmniCom รวมถึงสายงาน Client Service ในเอเจนซี่ชั้นนำของเมืองไทยอีกมากมาย

from:https://www.thumbsup.in.th/rabbits-tale-new-board?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=rabbits-tale-new-board

เหตุผลที่แบรนด์ของคุณต้องลงมือทำ TikTok ทันที!!

อีคอมเมิร์ซของ TikTok คือการใช้แอปวิดีโอยอดนิยมเพื่อขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งตัวแอปมีเครื่องมือทางการค้าหลายตัวสำหรับผู้ขายที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูและซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายภายในเวลาไม่กี่วินาที ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ผู้ขายทุกคนสามารถใส่ลิงก์ผลิตภัณฑ์ลงในวิดีโอและประวัติได้โดยตรง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคลิกและซื้อจากเบราว์เซอร์ในแอปได้ นั่นหมายความว่าผู้คนสามารถซื้อสิ่งที่พวกเขาเพิ่งเห็นในฟีดได้ทันที

เหตุใดคุณจึงควรใช้ TikTok สำหรับอีคอมเมิร์ซ?

TikTok เปรียบเสมือนหน้าร้านฟรีในห้างสรรพสินค้าที่มีผู้คนพลุกพล่านมากมาย อันที่จริง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ TikTok 35% ซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์ม และ 44% ของผู้ใช้ค้นพบผลิตภัณฑ์ผ่านโฆษณาและเนื้อหาที่โพสต์โดยแบรนด์

เมื่อคุณพิจารณาว่า TikTok มีผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งพันล้านคนต่อเดือน คุณจะเห็นว่ามีโอกาสขายที่ยังไม่ได้ใช้งานมากน้อยเพียงใดบน ForYouPage (FYP)

1. เพิ่มยอดขาย

เมื่อแบรนด์กำลังมองหาวิธีใหม่ๆ ในการเพิ่มยอดขายทางออนไลน์  TikTok เป็นหนึ่งในสถานที่แรกๆ ที่แบรนด์ควรคิดถึง

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้คนมองว่า TikTok เป็น “ของแท้ ไม่มีการกรอง และเป็นเทรนด์” ซึ่งหมายความว่ามีเนื้อหาที่มีความสมบูรณ์ที่ผู้คนต้องการนั้นคือเนื้อหาที่มีรูปแบบน้อยกว่าและผ่านการกรองไม่มากเกินไปเหมือนกับโฆษณาบน Facebook และ Instagram

การขายด้วยความเป็นจริงนั้นทำให้ผู้ใช้ทราบว่าพวกเขาไม่ได้ขายสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ นั่นแปลว่ามีความไว้วางใจเกิดขึ้นต่อเนื้อหามากขึ้น และท้ายที่สุดก็จะมียอดขายเพิ่มขึ้น

2. สร้าง SEO ผ่านแพลตฟอร์มง่ายขึ้น

เมื่อต้นปีนี้ Prabhakar Raghavan รองประธานอาวุโสของ Google กล่าวว่า 40% ของคนหนุ่มสาวหันมาใช้ TikTok หรือ Instagram มากขึ้นไปอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ เสิร์ชเอ็นจิ้นจึงเริ่มแสดงวิดีโอ TikTok ในผลการค้นหาของ Google

ซึ่งหมายความว่า ตราบใดที่คุณเพิ่มประสิทธิภาพวิดีโอทั่วไปและโฆษณาที่ลงอย่างเหมาะสม คุณก็จะมีโอกาสที่วิดีโอเหล่านั้นจะแสดงขึ้นเมื่อมีผู้ค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ของคุณ

3. เปิดโอกาสการเข้าถึงฐานลูกค้ากลุ่มใหม่

หากคุณกำลังมองหาวิธีการโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณกับผู้ชมที่อายุน้อยลง การตลาดบน TikTok เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องทำเพราะ 63% ของ Gen Z ใช้ TikTok เป็นประจำทุกวัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Gen Z เป็นกลุ่มเดียวที่แสวงหาประสบการณ์การช็อปปิ้งในแอป คนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen X มีแนวโน้มมากขึ้นที่จะใช้งานแอปนี้ โดยผู้ใช้มากกว่า 30% อยู่ในช่วงอายุ 25 ถึง 44 ปี การโปรโมตผลิตภัณฑ์บน TikTok จะช่วยให้คุณส่งข้อความถึงผู้ชมที่อายุน้อยกว่าและเข้าถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้อยู่ในแพลตฟอร์มหลักของคุณ

เทรนด์การใช้งาน Tiktok นั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ช่วยเพิ่มยอดขายเข้าสู่ลูกค้ากลุ่มอายุน้อยลง และเป็นวัยรุ่นมากขึ้น หากแบรนด์ลองนำเสนอสินค้าเข้ามาน่าจะช่วยเพิ่มยอดขายได้ดี เพราะตอนนี้มีเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เข้าไปขายของกันมากขึ้นแล้ว

from:https://www.thumbsup.in.th/why-tiktok?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=why-tiktok

เหตุใดการตลาดดิจิทัลจึงยังคงมีความสำคัญ

กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลเป็นรากฐานของทุกแคมเปญของแบรนด์ที่มีคุณค่า เมื่อทำถูกต้องแล้ว ช่องต่างๆ จะรวมกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่คุ้มค่าและสอดคล้องกัน

แต่การตลาดดิจิทัลคืออะไร? ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เพิ่มพูนสิ่งที่สามารถอยู่ภายใต้คำที่กว้างมากนี้ได้แล้ว 

ความก้าวหน้าแบบเดียวกันนี้ได้สร้างประสบการณ์ที่น่าดึงดูดมากขึ้นสำหรับผู้ใช้ ซึ่งใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่าสองชั่วโมงต่อวันอยู่แล้ว

เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับชีวิตประจำวันของเรา คำถามที่แท้จริงก็คือ “อะไรคือการตลาดดิจิทัล”

การตลาดดิจิทัล (หรือที่เรียกว่าการตลาดออนไลน์) เป็นคำศัพท์ที่ครอบคลุมสำหรับความพยายามส่งเสริมการขายต่างๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตหรือผ่านวิธีการดิจิทัลอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วแคมเปญจะเกี่ยวข้องกับช่องทางต่างๆ รวมถึง:

  • สื่อสังคม
  • เว็บไซต์
  • เครื่องมือค้นหา
  • อีเมล
  • โฆษณาแบบชำระเงิน
  • ข้อความ
  • แอปพลิเคชั่นมือถือและเว็บ

โดยพื้นฐานแล้ว เมื่อคุณได้รับข้อความจากแบรนด์ที่ต้องใช้การเชื่อมต่อไวไฟนั้น นั่นคือคุณกำลังดูตัวอย่างการตลาดดิจิทัล

ข้อดีของการตลาดดิจิทัล

การตลาดดิจิทัลช่วยให้คุณควบคุมได้มากขึ้นว่าจะใช้จ่ายเงินเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไร หากคุณไม่เห็นผลตอบแทนจากช่องทางใดช่องทางหนึ่ง คุณเพียงแค่ลดการใช้จ่ายและจัดสรรใหม่เพื่อโอกาสที่ให้ผลมากขึ้น

เนื่องจากนักการตลาดถูกผลักดันให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน

อีกอย่างที่สำคัญคือนักการตลาดดิจิทัลนั้นทราบดีว่าไม่มีอะไรมีค่ามากไปกว่าความสามารถในการกำหนดและวัด ROI ของแต่ละจุดเฉพาะตลอดการเดินทางของลูกค้า คุณสามารถใช้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลเพื่อให้ IRL ของคุณติดตามได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใส่แฮชแท็กของแบรนด์ในแคมเปญโฆษณาตามบิลบอร์ดที่สามารถดึงดูดสายตาและเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลการเข้าถึงที่วัดได้

ความสามารถเหล่านี้ไม่เพียงแค่รองรับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในโครงการหรือแคมเปญเท่านั้น มันยังสามารถเข้าถึงข้อมูลในการการตัดสินใจในอนาคตของคุณได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์ของคุณเชื่อมโยงถึงกันกับวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน

from:https://www.thumbsup.in.th/importance-of-digital-media?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=importance-of-digital-media

สายกราฟิกต้องรู้! 10 เทรนด์ Graphic Design ปี 2023

เรื่องของการออกแบบยังคงเป็นเทรนด์สำคัญในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้สวยงามและดึงดูดผู้ใช้งานให้รู้สึกว่าแบรนด์ของเรามีความสนุกสนานและน่าสนใจ

วันนี้ thumbsup ได้รวบรวม 10 เทรนด์กราฟิกดีไซน์ที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

Motion Graphics & Animation

เรื่องของการทำ Motion Graphic หรือ Animation เป็นเทรนด์ที่สำคัญของการทำวิดีโอคอนเทนต์ เพราะทำให้งานกราฟิกดึงดูดและได้ผลงานที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการออกแบบเพื่อตอบสนอง User Experience ของลูกค้าให้อยากมีส่วนร่วมกับกราฟิกเหล่านั้น รวมทั้งอยากกดดูต่อจนจบและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ

 

Distorted Type

การใช้ฟอนต์หรือองค์ประกอบที่มีรูปร่างพริ้วไหวต่างไปจากความเป็นจริง จะช่วยให้ผลงานดูมี Movement ที่ไหลลื่นมากขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทรนด์ Metaverse ได้เป็นอย่างดี

 

Metaverse / Virtual Reality

“Metaverse” ยังคงเป็นเทรนด์ยอดนิยม รวมไปถึง Al, AR และ VR ด้วย ที่มีแนวโน้มว่าในปี 2023 เมื่อโลกก้าวเข้าสู่โลกเสมือนมากขึ้น สไตล์การออกแบบ Visual ที่สื่อถึงเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต ก็จะมีความสำคัญขึ้นมา ดังนั้น กราฟิกสไตล์นี้จะเน้นความ Futuristic ที่มีการใช้องค์ประกอบ 3D เข้ามาผสานกับการไล่สีแบบ Gradient รวมถึง Text ที่มีความ Sci-fi เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้ผู้ชมได้รู้สึกถึงความล้ำในเทคโนโลยีแห่งอนาคต

Liquid Gradients

เทรนด์สี Gradients มีมาค่อนข้างนาน แต่เทรนด์ที่กำลังจะมาแรงนี้ จะเป็น Liquid Gradients หรือการไล่สีที่ Texture ของกราฟิก จะดูไปทางสีเงามัน เหมือนกับการรวมสีกันของของเหลว ซึ่งงานประเภทนี้จะให้ความรู้สึกมี Movement เป็นอิสระอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเทียบกับการไล่สี Gradients แบบเดิม ถ้าลองวาง Text ทับไปบนพื้นหลังที่เป็น Liquid Gradients จะทำให้ตัวหนังสือมีความโดดเด่น รวมถึงดึงดูดให้คนมองได้ไม่เบื่ออีกด้วย

 

Retrofuturism

เทรนด์ Futuristic กำลังมาแรง เมื่อผู้คนโหยหาการย้อนสู่อดีต หรือคำว่า Nostalgia ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างสีสันของความย้อนยุคแบบ Retro ผสานเข้าไปกับความ Futuristic เกิดเป็นผลงานในอนาคตที่มีกลิ่นอายของความดั้งเดิมในยุคเก่าเข้าไป ด้วยสีที่ฉูดฉาดของความ Retro จะช่วยทำให้ผลงานดึงดูดสายตาให้ต้องหยุดดูได้ไม่ยาก เมื่อใส่ความล้ำเข้าไปแล้ว ยิ่งทำให้พูดงานดูทันสมัยและน่าจับตามองอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว

 

3D Elements

องค์ประกอบของกราฟิกประเภท 3D ช่วยทำให้ภาพล้อไปกับเทคโนโลยี และความ Futuristic มากขึ้น เข้ากับเทรนด์กราฟิกที่จะมาในปี 2023 เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการออกแบบเพื่องานดีไซน์ Metaverse แถมแนวโน้มของ Visual 3D ยังจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

นอกจากความสวยงาม และความทันสมัยแล้ว การมีองค์ประกอบ 3D ยังช่วยยกระดับให้ผลงานออกมาดูดี มีระดับมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นถึงหลายด้าน ทั้งแสง มุม และความตื้นลึกขององค์ประกอบอย่างชัดเจน จึงทำให้คอนเทนต์ประเภทมาร์เก็ตติ้งนำองค์ประกอบของ 3D มาใช้ในการช่วยอธิบายบทความเพิ่มเติมนั่นเอง

 

The Return of the Sans Serif

หากพูดถึงฟอนต์แห่งยุค เรียกได้ว่าเป็นการกลับมาของฟอนต์ตระกูล Sans Serif อย่างแท้จริง แทนที่จะใช้ฟอนต์ที่หวือหวาเหมือนยุคก่อน การเลือกใช้ฟอนต์ที่มีความ Minimalism ที่สื่อถึงความเรียบง่าย เรียบหรู แต่ยังคงสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์

ซึ่งฟอนต์ตระกูล Sans Serif มีหลากหลายแบบให้เลือกใช้ ทั้งแบบเรียบง่ายธรรมดา เน้นความกว้าง หรือใส่ Movement เข้าไปในฟอนต์ เรียกว่ามีหลายแบบแล้วแต่สไตล์ที่นักออกแบบต้องการ เหมาะกับการนำมาใช้ในการออกแบบโลโก้ หัวข้อบทความ บรรจุภัณฑ์ ทั้งยังยังเหมาะกับงานออนไลน์อย่างเว็บไซต์ และนิตยสาร ด้วยนะคะ

 

Surrealist Maximalism

การผสมผสานระหว่างความ Realism + Minimalism = Surrealist Maximalism หรือ Visual ที่สื่อถึงความเกินจริง ล้ำสมัย ตอบโจทย์หลังโควิดฟื้นตัว ทำให้ทุกคนไม่ต้องการที่จะถูกกักอยู่ในกรอบ หรือข้อกำหนดแบบเดิมๆ อีกต่อไป Visual ที่สื่อถึงจินตนาการอันล้ำลึกเหนือความเป็นจริง จึงเป็นนิยมมากขึ้น

เห็นได้จากแคมเปญของ Coca-Cola ที่นำเทคนิคนี้ไปใช้ในแคมเปญ “Taste a Dreamworld Limited Edition Flavour” ที่นำองค์ประกอบต่าง ๆ มารวมกัน ทำให้ภาพที่ออกมาดูเป็นโลกที่ล้ำสมัย และเหนือความเป็นจริง ซึ่งหลาย ๆ แบรนด์เองก็ใช้นำเสนอผลิตภัณฑ์ของตัวเองผ่านการออกแบบงานสไตล์นี้เช่นกัน

 

Chaotic Maximalism

การเปลี่ยนผ่านจาก Gen Y สู่ Gen Z ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการออกแบบ สำหรับ Gen Y อาจจะเน้นไปที่ความ Minimalism ในขณะที่ Gen Z เริ่มสนใจการออกแบบที่ดูยุ่งเหยิง และมีความ Maximalism มากขึ้น

ตามความเป็นจริงแล้ว Chaotic Maximalism เป็นประเภทกราฟิกที่เคยเป็นที่นิยมในอดีต จากเป็นการผสมผสานการออกแบบระหว่าง Folk Art และศิลปะในอดีตเข้ากับเทรนด์ในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นการย้อนยุคที่ดูทันสมัย

 

Sci-Fi Logos

หลายแบรนด์ที่พยาพยามจะผสมผสานตัวเองเข้าไปกับความ Futuristic เพราะกระแสของ Metaverse ทำให้ฝ่ายออกแบบเริ่มมองหา Visual ที่สื่อถึงเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวให้เข้ากับเทรนด์ที่กำลังจะมาในอนาคต นอกจากการออกแบบบสไตล์ Futuristic ในการออกแบบโลโก้ที่มีความเข้าถึงเทคโนโลยี และความ Sci-Fi มากขึ้นแล้ว การออกแบบสำหรับแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เทรนด์ การตลาด ก็เหมาะกับการออกแบบแนวนี้เป็นอย่างมาก

ดูเทรนด์การออกแบบเหล่านี้แล้ว นึกถึงแบรนด์หรือโลโก้ของใครกันบ้าง สามารถแชร์กันได้เลยนะคะ

 

 

ที่มา :

RainMaker

Venngage

IndesignSkills

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

from:https://www.thumbsup.in.th/graphic-design-2023?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=graphic-design-2023

ครีเอเตอร์อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะเข้ามาช่วยแบรนด์ สร้างโอกาสทางการตลาดให้สำเร็จได้อย่างไร

ในยุคที่มีผู้คนบนโซเชียลมีเดียกว่า 50 ล้านคนที่เป็นคอนเท้นต์ ครีเอเตอร์ ในขณะที่เศรษฐกิจของครีเอเตอร์เติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงความหมายของการเป็นผู้พัฒนาและผลักดันแบรนด์ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในคู่มือการตลาดดิจิทัลเป็นอย่างมาก

ต่อไปนี้คือวิธีที่ผู้สร้างเนื้อหาดิจิทัลช่วยให้คุณบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้ 6 วิธี

1. สร้างการมีส่วนร่วมได้มากขึ้น

บ่อยครั้งที่ครีเอเตอร์มีอัตราการมีส่วนร่วมแบบออร์แกนิกที่สูงกว่าแบรนด์เนื่องจากความโด่งดังและความน่าเชื่อถือ ให้แบรนด์ค้นหาครีเอเตอร์ที่มีอัตราการมีส่วนร่วมโดยเฉลี่ยที่จะช่วยให้แบรนด์สามารถยกระดับตัวชี้วัดเหล่าตามแพลตฟอร์มต่างๆได้

2. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

โซเชียลมีเดียมีบางสิ่งสำหรับทุกคน คุณสามารถค้นหาวัฒนธรรมย่อยที่ไม่สิ้นสุดที่เชื่อมโยงผู้คนตามความสนใจเฉพาะกลุ่มและงานอดิเรกที่มีร่วมกัน หากต้องการเชื่อมต่อกับชุมชนใหม่ เพราะฉะนั้นแบรนด์ควรสร้างพันธมิตรครีเอเตอร์กับบุคคลที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้แล้วที่หลากหลายมากขึ้น 

3. ดึงคนเข้ามาในชุมชนบนโซเชียลของแบรนด์

ชุมชนแบรนด์ประกอบด้วยผู้ที่ติดตามเนื้อหาทั้งหมดของแบรนด์บนโซเชียล แบ่งปันผลิตภัณฑ์ บริการ และเนื้อหากับผู้อื่น และสนุกกับการเห็นทุกสิ่งที่แบรนด์ การทำงานร่วมกับครีเอเตอร์จะช่วยให้แบรนด์กระชับและขยายความเชื่อมโยงทางความรู้สึกที่ผู้คนเหล่านี้มีต่อแบรนด์ได้ ครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จไม่เพียงแต่สร้างเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชนอีกด้วย พวกเขานำผู้คนมารวมกันโดยมีความสนใจ งานอดิเรก และความชอบร่วมกัน

4. เพิ่มรายได้ใหม่ๆ

ประมาณ 98% ของผู้บริโภคทั้งหมดวางแผนที่จะซื้อของบนโซเชียลในปี 2022 แต่ผู้ใช้โซเชียลที่เชี่ยวชาญในปัจจุบันต่างมีความคิดที่ซับซ้อนกว่านั้น และพวกเขาจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจกับแบรนด์ก่อนที่จะซื้ออะไรซักอย่าง ซึ่งครีเอเตอร์มักจะได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคได้ง่ายกว่าแบรนด์ คอนเท้นต์ของครีเอเตอร์สามารถเป็นแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจซื้อของผู้คนได้

5. เพิ่มคุณค่าให้แบรนด์

แบรนด์จำเป็นต้องทำงานร่วมกับครีเอเตอร์ที่สอดคล้องกับค่านิยมของแบรนด์ ความชอบของผู้บริโภคเกิดจากค่านิยมร่วมกันในทุกด้าน รวมถึงครีเอเตอร์ที่แบรนด์ทำงานด้วย การทำงานร่วมกับผู้สร้างที่โชว์ถึงค่านิยมของคุณจะทำให้แบรนด์ของคุณดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นและเพิ่มภาพลักษณ์ของคุณ

6. เปลี่ยนการรับรู้ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์

หากคุณพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางวิกฤตโซเชียลมีเดียหรือกำลังต่อสู้กับภาพลักษณ์เชิงลบของแบรนด์ ให้สร้างแบรนด์ของคุณให้สอดคล้องกับครีเอเตอร์ที่เป็นตัวแทนของค่านิยมที่แบรนด์ควรจะเป็น สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งหากกำลังจะรีแบรนด์ เพื่อพยายามเข้าถึงกลุ่มประชากรใหม่ หรือพัฒนาเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคในปัจจุบัน

ที่มา : sproutsocial.com

from:https://www.thumbsup.in.th/brand-creator?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=brand-creator

16 กลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าทำตลอดทั้งปี

การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของนักการตลาดทุกรุ่นนั้น มักมองหาเทรนด์ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ สร้างความเชื่อมั่น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย สร้างโอกาสการสื่อสาร และเชื่อมโยงกับกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ

ดังนั้น เราจึงเห็นแนวทางการสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ทุกปี ไม่ว่าจะเป็น การใช้อินฟลูเอนเซอร์ การจ้างยาวแบรนด์แอมบาสเดอร์ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

วันนี้ thumbsup จึงได้รวบรวมแนวทางสร้างกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาฝากกัน

16 แนวทางการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด

  1. ทำคอนเทนต์ระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์
  2. สตรีมมิ่งและคอนเทนต์วิดีโอ
  3. คอนเทนต์ที่ลูกค้าสร้างขึ้น
  4. กำหนดกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ 
  5. การตลาดแบบอะไจล์
  6. แชร์ประสบการณ์ของลูกค้าขาประจำ
  7. ปรับปรุงประสบการณ์ใช้บริการทุกช่องทางอยู่เสมอ
  8. กลยุทธ์การค้นหาด้วยเสียงสำหรับ SEO
  9. การตลาดแบบสนทนา (แชท)
  10. คอนเทนต์แบบมีการโต้ตอบ
  11. ใช้งานแอปคู่กับเทคโนโลยี VR
  12. เลือกใช้ AI ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  13. ผสานอินเทอร์เน็ตกับ IoT
  14. เดินหน้าสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้สม่ำเสมอ
  15. เป็นตัวแทนและมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ
  16. มุ่งเน้นเรื่องความเป็นส่วนตัวต่อลูกค้าเป็นหลัก

 

ที่มา : Asana

from:https://www.thumbsup.in.th/16-stategy-marketing?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=16-stategy-marketing

นีลเส็น เปิดข้อมูลเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์มชุดแรก ดึงสื่อหลัก-ออนไลน์เข้าร่วม มั่นใจช่วยอัปเดตข้อมูลการรับชมได้แม่นยำ

ด้วยพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ทั้งระบบสตรีมมิ่งและแพลตฟอร์มแบบเดิมนั้น กลายเป็นเรื่องที่วงการสื่อให้ความสนใจ เพราะอยากทราบตัวเลขพฤติกรรมที่ชัดเจนและสามารถนำมาใช้อ้างอิงสำหรับการลงโฆษณาของเหล่าเอเจนซี่ ทางสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) จึงได้ร่วมมือกับ นีลเส็น ประเทศไทย เปิดตัวระบบการวัดเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-Platform Ratings)

ซึ่งได้ทำงานร่วมกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และไทยถือว่าเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีการวัดผลในรูปแบบข้ามแพลตฟอร์มนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและเพื่อยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมนี้ ให้ทัดเทียมระดับสากล

อย่างไรก็ตาม การส่งมอบข้อมูลเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์มแบบเต็มรูปแบบนั้น จะเป็นการวัดผลที่ครอบคลุมข้อมูลจากทั้งกลุ่มตัวอย่างและการขยายกลุ่มตัวอย่างจำลองจากเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล Census จะส่งมอบในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ซึ่งในขณะนี้ได้เริ่มส่งมอบข้อมูลการรับชมจากกลุ่มตัวอย่างรับชมผ่านโทรทัศน์และอุปกรณ์ดิจิทัล (คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน) ในส่วนของรายการสดผ่านทีวีและสตรีมมิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 นี้ และจะครอบคลุมเพิ่มเติมการรับชมเนื้อหารายการย้อนหลัง

การวัดผลเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์ม (Cross-platform)

แนวทางดังกล่าวได้พัฒนามาจากเรตติ้งการรับชมโทรทัศน์และต่อยอดการวัดผลเพื่อให้ครอบคลุมการรับชมที่นอกเหนือไปจากการรับชมรายการสดผ่านทางโทรทัศน์ อาศัยการใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลผสานกับการใช้ Big Data จากการ tagging บนเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น และเทคโนโลยี Data Science ที่ใช้ในระดับสากลและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยข้อมูลเรตติ้งจะครอบคลุมทั้งเนื้อหารายการและเนื้อหาโฆษณา

จากทั้งรายการสดและย้อนหลังจากทุกหน้าจอและอุปกรณ์ของผู้ชม ทั้งโทรทัศน์และดิจิทัลโดยมีมาตรวัดเดียวกันในการรับชมทุกแพลตฟอร์มรวมถึงมีกระบวนการตัดผู้ชมซ้ำข้ามแพลตฟอร์มเพื่อสะท้อนภาพการรับชมที่แท้จริงของผู้ชมอย่างครอบคลุมและเที่ยงตรง และอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ จากข้อมูลเรตติ้งเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า ผู้ชมอายุ 4 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศไทย มีภาพรวมเรตติ้งอยู่ที่ 11.086% โดยคิดเป็นเป็นเรตติ้งจากการรับชมผ่านโทรทัศน์แบบดั้งเดิมอยู่ที่ 7.483% และการรับชมผ่านช่องทางสตรีมมิ่งที่เข้ามาเพิ่มเติมเรตติ้งดังกล่าวอยู่ที่ 3.604%

โดยช่องทางสตรีมมิ่งที่รับชมมากที่สุดคือ Youtube (1.467%) รองลงมาคือ Tiktok (0.692%) และ Facebook (0.682%) ตามลำดับ รวมถึงมีการรับชมผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ของช่องสถานีด้วยเช่นกัน

เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเดือนก่อนหน้า พบว่าจำนวนผู้ชมโตขึ้นจากเดือนสิงหาคม โดยเฉลี่ยโตขึ้น 2% ทั้งจากการรับชมผ่านช่องทางโทรทัศน์แบบดั้งเดิมและผ่านสตรีมมิ่ง

โดยเรตติ้งเมื่อแยกเฉพาะช่องสถานี วัดจากผู้ชมทั่วประเทศ ผู้ชมอายุ 4 ปีขึ้นไป พบว่า สถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD เป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่การรับชมผ่านเครื่องเล่นทีวี ในขณะเดียวกันช่อง 3HD ได้รับความนิยมสูงสุดในช่องทางสตรีมมิ่ง โดยในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา รายการที่ได้รับเรตติ้งสูงสุด คือถ่ายทอดสด การแข่งขันวอลเล่ย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ 2022 (ไทย+เกาหลีใต้) จากช่อง WORKPOINT TV ด้วยเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์มสูงสุดอยู่ที่ 9.447 %

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับชมของเจนต่างๆ นั้น พบว่า กลุ่มเบบี้บูมเมอร์และ Gen Z มีตัวเลขการรับชมแบบสตรีมมิ่งในตัวเลขที่สูงเท่ากัน นั่นแสดงให้เห็นว่าชาวเบบี้บูมเมอร์เปิดใจรับชมคอนเทนต์แบบสตรีมมิ่งกันมากขึ้น ขณะที่ชาว Gen Z เรียนรู้การรับชมผ่านคอนเทนต์ทันที และนักการตลาดควรวางแผนโฆษณาให้เหมาะสมกับคนทั้งสองกลุ่มนี้

คุณสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า “จากข้อมูลชุดแรกที่ได้มีการส่งมอบในเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมา ทางสมาคมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นว่าคนไทยยังรับชมโทรทัศน์เป็นหลัก และเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ช่องทางสตรีมมิ่งก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริโภคสื่อของผู้ชมคนไทยอย่างมากด้วย สมาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลเรตติ้งแบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจ และเป็นการวางรากฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับชมสื่อในปัจจุบัน ที่ผนวกโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดในการวางกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยสมาคมจะมีการส่งออกข้อมูลเรตติ้งรายเดือนให้กับสาธารณะเป็นประจำทุกเดือน”

คุณวรรณี รัตนพล ประธานคณะทำงานตรวจสอบการสำรวจความนิยมเรตติ้ง Cross Platform กล่าวว่า “ข้อมูลเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์มทำให้เห็นภาพรวมของผู้บริโภคชัดเจนยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อวงการมีเดียเอเยนซีในการนำข้อมูลไปใช้ทำการตัดสินใจและวางกลยุทธ์ด้านเนื้อหาและโฆษณาได้ดีขึ้น โดยสามารถรับรู้พฤติกรรมทั้งคนที่ดูทีวีผ่านจอแก้วและดิจิทัลในเวลาเดียวกันซึ่งข้อมูลชุดนี้จะช่วยในการวางแผนว่าเราควรจะมิกซ์ในแง่ของ Traditional กับออนไลน์อย่างไร เพื่อใช้งบให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น”

 

นักการตลาดที่สนใจสามารถดาวน์โหลดรายงานข้อมูลฉบับเต็มเพิ่มเติมที่ https://www.adteb.or.th

from:https://www.thumbsup.in.th/nielsen-rating-update-platform?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=nielsen-rating-update-platform

สกิลที่ต้องมี เมื่อทำงานด้านโซเชียลมีเดีย

อาชีพที่เกี่ยวกับโซเชียลมีเดียกำลังเริ่มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยคุณนำทางอาชีพที่กำลังพัฒนานี้ เราได้รวบรวมคู่มือนี้เกี่ยวกับงานในโซเชียลมีเดียว่าทักษะใดที่คุณต้องมี ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

โซเชียลได้กลายเป็นช่องทางสำหรับทุกสิ่งตั้งแต่การค้นพบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการแชร์รีวิว ในการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่กำลังเติบโตนี้ นักการตลาดส่วนมากกำลังทบทวนโครงสร้างทีมโซเชียลของตน เพราะจากลักษณะการทำงานร่วมกันของงานโซเชียลมีเดียที่มีมากขึ้น ช่องทางนี้ถูกใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานทางธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงทรัพยากรบุคคล การบริการลูกค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตอบสนองความต้องการภายในและภายนอกองค์กร เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีทีมผู้เชี่ยวชาญ นักยุทธศาสตร์ และผู้จัดการที่มีความหลากหลายและความเชี่ยวชาญทางด้านนี้อย่างจริงจัง

1. ทักษะเฉพาะทาง

“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณรู้จักตัวคุณ” การรู้จักสิ่งที่ตัวเองมีถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาต่อไปได้ ประมาณตัวเองแล้วรู็จักในการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพราะงานในด้านโซเชียลมีเดียนี้ต้องมีการตามเทรนด์อยู่เสมอ หาว่ารูปแบบใดที่เป็นตัวขับเคลือ่อนรูปแบบการมีส่วนร่วม

2.การกำหนดทิศทางของแบรนด์

ในบทบาทของโซเชียลมีเดีย คุณจะต้องสามารถตัดสินใจว่าได้ว่าจะกำหนดลักษณะบุคลิกของแบรนด์ให้ออกมาเป็นอย่างไร อาจต้องทำให้เชื่อมโยงเข้ากับที่ที่สังคมหรือกลุ่มลูกค้าที่คุณสนใจต้องการ

3. การวิเคราะห์ข้อมูล

องค์กรมากกว่าครึ่งใช้ข้อมูลโซเชียลทุกวัน การวิเคราะห์ทางสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงรุกให้กับแบรนด์ ทางที่ดีก็ครต้องวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางโซเชียลและสื่อสารมันออกมาได้อย่างดีด้วย

4. ทิศทางที่สร้างสรรค์

บนโซเชียล แคมเปญที่จัดการได้รับผลตอบรับที่ดี มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือทิศทางที่สร้างสรรค์อย่างชัดเจน สิ่งนี้ขยายได้ดีกว่าคอนเท้นต์ธรรมดาทั่วไป อาจเป็นเรื่องของระยะของแคมเปญ หรือ mood and tone เป็นต้น

5. บริการลูกค้า

ในไม่ช้าโซเชียลมีเดียจะกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการบริการลูกค้าและการสนับสนุนต่างๆ ผู้บริโภคหันไปใช้โปรไฟล์สาธารณะของแบรนด์เพื่อขอความช่วยเหลือหรือเมื่อมีสิ่งที่ต้องการ ซึ่งคุณควรจะต้องเข้าถึงการบริการลูกค้าเพื่อจัดการกับคำขอเหล่านี้ได้

from:https://www.thumbsup.in.th/skills-must-have-socialmedia?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=skills-must-have-socialmedia

ลักษณะของคอนเทนต์ที่มีคุณค่า แนวทางในการปรับตัวของแบรนด์

เนื้อหาที่มีคุณภาพเป็นเรื่องที่ไม่มีตัวชี้วัดออกมาเป็นรูปธรรม บางแบรนด์ต้องการบทสรุประดับง่ายเพื่อการเข้าถึงที่มาก ในขณะที่บางแบรนด์ต้องการข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเจาะลึกขึ้นกว่าเดิม เนื้อหาที่มีคุณภาพจะมีจุดที่แตกต่างจากเนื้อหาที่มีอยู่ทั่วไปคือผู้อ่านจะพบว่ามีประโยชน์ น่าจดจำ และมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันเนื้อหาเหล่านั้น

เมื่อพูดถึงการใช้ SEO เรามักจะเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหา สิ่งนี้ทำให้เนื้อหามีประโยชน์ แต่ถ้าคุณอ่านเว็บไซต์ที่ขึ้นมาลำดับต้น ๆ หลายแห่ง พวกเขามักจะพูดในสิ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณต้องทำจริงๆ ก็คือสร้างสิ่งที่ดีกว่าที่มีอยู่ เมื่อเขียนเนื้อหาใหม่ คุณจะได้เปรียบเพราะคุณสามารถดูเนื้อหาตามลำดับเหล่านั้นแล้วสามารถทำให้คอนเทนต์แตกต่างออกไปจากคอนเทนต์เหล่านั้นได้

การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพต้องใช้ความทุ่มเทและความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก เช่นการใช้เนื้อหาส่วนใหญ่ที่สร้างโดย SEO ซึ่งมีการจัดอันดับในเครื่องมือค้นหา คีย์เวิร์ดที่ผู้คนใช้ และ SEO ก็มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้เช่นกัน เรามักจะครอบคลุมสิ่งที่ผู้ใช้ค้นหาและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนี้ ซึ่งสำหรับผู้ใช้จำนวนมาก เนื้อหาประเภทนี้เป็นการมักจะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับพวกเขา เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกสิ่งที่ผู้คนค้นหาด้วยคียเวิร์ดสำคัญ ทุกเนื้อหาที่อยู่ในอันดับต้น ๆของหน้าเพจ และทุกสิ่งที่เนื้อหาที่มีอยู่ถูกพูดถึง คุณสามารถแยกความแตกต่างของเนื้อหาของคุณออกจากเนื้อหาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้โดยคิดในเรื่องของ:

  • การแบ่งปันประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลเชิงลึกของคุณ
  • ข้อมูลที่คุณสร้างเอง
  • มีความคิดเห็น ทัศนคติที่แตกต่าง หรือมีมุมมองที่ต่างออกไป

และคุณสามารถปรับปรุงเนื้อหาปัจจุบันของคุณได้เสมอเมื่อคุณมีทรัพยากรมากขึ้นและต้องการได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ที่มา : yoast.com

from:https://www.thumbsup.in.th/value-brand-content?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=value-brand-content