คลังเก็บป้ายกำกับ: SERVICE_MESH

Google ยื่นเรื่องขอส่งต่อโปรเจ็ค Istio ให้ CNCF

โปรเจ็คที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes อย่าง Istio ของ Google กำลังถูกส่งต่อให้ทีมงาน CNCF รับไปพิจารณาแล้ว

Credit: Kubernetes

Istio เป็นโปรเจ็คสำหรับ Service Mesh ซึ่งช่วยจัดการการสื่อสารระดับเครือข่ายระหว่าง API Service ในแอปพลิเคชันภายใน Kubernetes ทั้งนี้ส่วนหลังถูกส่งต่อให้แก่ CNCF ตั้งแต่ปี 2015 แล้ว แต่ก่อนหน้านี้ปี 2019 Google ยังยืนกรานว่าไม่มีความคิดที่จะบริจาคส่วนประกอบใน Kubernetes อย่าง Istio หรือโปรเจ็ค Knative (Serverless Platform) แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนใจเสนอ Istio ให้ CNCF แล้ว ประกอบกับเมื่อเดินก่อน Knative ก็เพิ่งไปสู่มือ CNCF เพื่อให้ Community ช่วยกันดูแลต่อ

https://www.techtalkthai.com/what-really-is-a-service-mesh/

https://www.techtalkthai.com/cncf-embraced-knative-project-from-google/

Service Mesh ไม่ได้มีเพียงแค่ Istio เท่านั้นแต่ยังมีเจ้าอื่นอย่าง Linkerd, Consul หรือ Open Service Mesh จากไมโครซอฟ์ที่ส่งให้ CNCF ไปก่อนหน้า หากความต้องการนี้สำเร็จ Istio ก็จะกลายเป็นชิ้นส่วนหลักสุดท้ายของระบบ Kubernetes ที่เข้าสู่การดูแลของ CNCF 

ที่มา : https://www.infoworld.com/article/3658206/google-to-donate-istio-service-mesh-to-the-cncf.html

from:https://www.techtalkthai.com/google-offers-istio-to-cncf/

Istio 1.9 ออกแล้ว เน้นเพิ่มความสามารถใหม่สำหรับใช้งานใน Production

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทีมพัฒนา Istio ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Istio 1.9 แล้วอย่างเป็นทางการ โดยเน้นการเพิ่มความสามารถในส่วนของ Day 2 Operation เพื่อให้การใช้งานจริงในระดับ Production เป็นไปได้อย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้น โดยมีความสามารถใหม่ที่โดดเด่นดังนี้

Credit: Istio
  • Virtual Machine Integration (Beta) ทำให้ Workload ที่อยู่บน VM นั้นสามารถถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน Istio Service Mesh ได้
  • Request Classification (Beta) เพิ่มความสามารถในการปรับแต่ง Mesh Telemetry Collection ให้มากขึ้น โดยการเพิ่ม Request Classification เข้ามาจะทำให้ผู้ดูแลระบบเข้าใจทราฟฟิกที่เกิดขึ้นใน Service Mesh ได้ดีขึ้น
  • Kubernetes Service API Support (Alpha) เชื่อมต่อกับ Kubernetes เพื่อทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น
  • Integration with External Authorization Systems (Experimental) ผสานระบบภายนอกเพื่อควบคุมสิทธิ์ได้มากขึ้น เช่น ทำงานร่วมกับ OPA, OAuth 2 และอื่นๆ
  • Remote Fetch & Load of WebAssembly HTTP Filters (Experimental) สามารถ Fetch WebAssembly Module จาก Repository ภายนอกและทำการ Reload ได้โดยไม่ต้อง Restart ที่ Proxy ภายใน Mesh ทำให้สามารถเพิ่มโค้ด C++ เข้าไปใน Mesh เพื่อจัดการกรณีการใช้งานที่นอกเหนือเกินความสามารถของ Istio API ได้
  • Mirroring of Images on gcr.io มี Registry แยกที่ gcr.io/istio-release เพื่อแก้ปัญหากรณี Rate-Limiting Policy ของ Docker Hub ห
  • อัปเดตใหม่สำหรับ istioctl เช่น เพิ่มคำสั่ง verify-install ให้ระบบแจ้งเตือน Error ที่เกิดขึ้นในการตั้งค่าของการติดตั้งได้ และปรับปรุงคำสั่ง analyze ให้ทำงานได้ดีขึ้น

สำหรับปี 2021 นี้ ทีมพัฒนา Istio ก็จะยังคงยึดแนวทางการเน้นเสริม Day 2 Operation ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ที่มา: https://istio.io/latest/news/releases/1.9.x/announcing-1.9/

from:https://www.techtalkthai.com/istio-1-9-is-announced/

มารู้จักกับ Service Mesh กันเถอะ!

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘Service Mesh’ มาบ้างแล้ว แต่ความหมายจริงๆ และประโยชน์ของสิ่งนี้คืออะไรกันแน่ มาหาคำตอบกันในบทความนี้ได้เลยครับ

ในการทำงานของแอปพลิเคชันประเภท Microservices นั้นต้องการ Network Infrastructure ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ทีม DevOps เองก็ต้องการความคล่องตัวและไม่อย่างพึ่งพาทีม Network ของดาต้าเซนเตอร์ซึ่งจะขัดแย้งการทำงานของพวกเขา อย่างไรก็ดีคอนเซปต์ Microservices ยังพัวพันกับ Service มากมายแม้จากแอปพลิเคชันตัวเดียวหรือมีการเรียก Service ข้ามจากแอปอื่น ทั้งนี้แอปที่อยู่ใน Container ยังสามารถย้ายข้ามเซิร์ฟเวอร์ไปมาได้ตลอดเวลา ไม่เพียงเท่านั้นการสื่อสารผ่าน API ก็เกิดขึ้นบ่อยและสร้างแบนวิธด์ไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เองการสื่อสารของ Microservices จึงควรมี Latency ต่ำ, น่าเชื่อถือ, มั่นคงปลอดภัย และตอบสนองได้รวดเร็วนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองจึงนำไปสู่เรื่องราวของ Service Mesh

Service Mesh คืออะไรกันแน่?

Service Mesh เป็นเลเยอร์หนึ่งที่ช่วยจัดการการสื่อสารระดับเครือข่ายระหว่าง API Service ในแอปพลิเคชัน โดยเลเยอร์ตรงนี้ก็คือซอฟต์แวร์นั่นเอง สำหรับการ Implement เทคโนโลยี Service Mesh จะมีการใช้ Proxy Instance (Sidecar) มาคอยทำหน้าที่ Route หรือเป็น Proxy ให้ Container หรือกล่าวคือการมาคั่นเพื่อจัดการทราฟฟิคที่วิ่งเข้า/ออกจาก Instance หรือ Pod นั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งระดับเป็นส่วนตัวควบคุม (Controller) มาให้บริการ API, CLI และ GUI ในการบริหารจัดการแอปได้ ส่วน Data Plan จะคอยบริหารจัดการทราฟฟิคระหว่าง Instance ภายในตามรูปประกอบด้านล่าง

credit : nginx

ความสามารถของ Service Mesh และการนำไปใช้จริงในดาต้าเซนเตอร์

Service Mesh มักจะนำเสนอความสามารถหลักๆ ไว้ดังนี้

  • Load Balancing
  • Authentication
  • Authorization
  • Encryption
  • Service Discovery (ทำ DNS Lookup เพื่อดูสถานะของ Service)
  • Observability
  • Traceability

การประยุกต์ใช้งาน Service Mesh นั้นมีความสำคัญกับการทำ Microservices ไม่น้อย แต่ก็ค่อนข้างยุ่งยากเช่นกัน เพราะองค์กรจะต้องผนวกเทคโนโลยีนี้เข้ากับระบบ Automation ที่ช่วยบริหารจัดการ Infrastructure ให้ได้ อีกทั้งจะต้องพิจารณาก่อนว่ามีคลาวด์ใด Open Source ใด หรือสนใจเรื่อง Option อะไรของ Service Mesh อย่างไร เพราะผู้ใช้งานสามารถเลือกเอาแค่ที่สนใจไปใช้ได้

คำว่า Service Mesh เป็นเพียงคำเรียกเทคโนโลยีเท่านั้นแต่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจริงในท้องตลาดที่มักได้ยินก็คือ Istio ซึ่งเป็น Open Source จากการสนับสนุนของ Google, IBM และ Lyft (ในมุมกลับคือ Istio รองรับ Container Orchestrator เพียงตัวเดียวก็คือ Kubernetes) แต่อันที่จริงแล้วก็มีโปรเจ็ค Open Source อื่นของ Service Mesh เช่น Linkerd, HAProxy, Envoy,Buoyant, HashiCorp, Solo.io และอีกมากมาย อย่าง Azure Service Fabric ก็มีการนำเสนอฟังก์ชันคล้ายกับ Service Mesh ใน Application Framework ด้วยเช่นกัน

ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3584758/what-is-a-service-mesh-what-it-means-to-data-center-networking.html และ https://www.nginx.com/blog/what-is-a-service-mesh/

from:https://www.techtalkthai.com/what-really-is-a-service-mesh/

Microsoft เปิดตัว Open Service Mesh, จะปล่อยให้เป็นโอเพ่นซอร์สกับ CNCF

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Service mesh แบบ Opensource ที่มีชื่อว่า Open Service Mesh (OSM) และประกาศถึงแผนการมอบโปรเจกต์นี้ให้กับ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) เร็วๆนี้

Credit: Ricardo Gomez Angel

Open Service Mesh นั้นเป็น Service mesh ที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยความตั้งใจให้เป็นตัวต้นแบบ (Reference Implementation) ของการพัฒนา Service mesh ตามมาตรฐาน Service Mesh Interface (SMI) ซึ่งเป็น Interface สำหรับ Service mesh ที่ทำงานบน Kubernetes

และเนื่องจาก OSM นี้สร้างขึ้นบน SMI เหมือนกัน ผู้ที่ต้องการใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงก็สามารถขยับจาก OSM ไปใช้ Envoy Proxy ได้โดยง่าย ในขณะที่ OSM จะถูกออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ในการใช้งานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาความซับซ้อนของ Service mesh ที่ไมโครซอฟท์ได้รับฟังมาจากลูกค้าบ่อยครั้ง

การประกาศเปิดตัว OSM และเปิดเป็นโอเพ่นซอร์สกับ CNCF ในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ Google ประกาศย้าย Istio จาก CNCF ไปยัง Open Usage Commons Foundation ซึ่งเป็นองค์กรของ Google เอง โดย Gabe Monroy ผู้อำนวยการฝ่าย Partner Management ของ Azure กล่าวกับ TechCrunch ว่าปัญหาของ Istio คือผู้คนโฟกัสกับการบริหารโปรเจคมากเกินไปจนละเลยความจริงที่ว่าลูกค้าไม่ได้มีช่วงเวลาที่ดีกับ Istio นัก

ประสบการณ์ในการใช้งาน และการจัดการแบบ Opensource โดย CNCF เป็นสองประเด็นที่ Microsoft พยายามสร้างความแตกต่างออกมาจาก Istio หากท่านใดสนใจ OSM สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ https://github.com/openservicemesh/osm/


ที่มา

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-open-service-mesh-cncf-opensource/

สรุป Red Hat Webinar: เปลี่ยน Microservices ให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเทคโนโลยี Service Mesh โดย Red Hat

เมื่อธุรกิจองค์กรมีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ในระบบ Application มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นลำดับถัดมาก็คือความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างแต่ละส่วนของ Application ผ่านระบบเครือข่าย และแนวคิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อแก้โจทย์นี้ก็คือ Service Mesh ทีมงาน Red Hat ได้มาถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Service Mesh ใน Webinar ที่ผ่านมา ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอนำสรุปเนื้อหาให้ทุกท่านที่สนใจดังนี้ครับ

Microservices Architecture คือ Distributed Architecture

เบื้องหลังระบบ Microservices Architecture นั้นก็คือการออกแบบระบบให้กลายเป็นส่วนย่อยจำนวนมากๆ และทำงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย ดังนั้นในการทำสิ่งใดๆ บน Application หนึ่งๆ นั้น เบื้องหลังก็อาจมีการเชื่อมต่อไปยังบริการต่างๆ จำนวนมากภายในก่อนจะนำผลลัพธ์สุดท้ายมานำเสนอต่อผู้ใช้งานก็เป็นได้

ด้วยเหตุนี้ เมื่อระบบมีขนาดใหญ่ การเชื่อมต่อภายในระบบจึงมีความซับซ้อนสูง ยิ่งมีการเพิ่มส่วนประกอบหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ภายในระบบมากแค่ไหน การจัดการก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นที่ผ่านมาจึงต้องมีการนำแนวคิดอย่างเช่นการใช้ Circuit Breaking, Bulkheading, Timeout/Retries, Service Discovery และอื่นๆ เพื่อให้ระบบนั้นสามารถทำงานต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเกิดปัญหากับระบบย่อยที่อยู่เบื้องหลัง

ถึงแม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Distributed Architecture ได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยขนาดของ container ที่มากขึ้นจากการเพิ่ม Library ต่างๆเข้าไป ยิ่งในระบบที่มีความหลากหลายของภาษาที่ใช้พัฒนายิ่งทำให้มีความท้าทายในการพัฒนาและบริหารจัดการให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน และนี่เองก็จึงเป็นที่มาของแนวคิด Service Mesh ที่จะช่วยลดภาระของ Developer ให้มีโอกาสได้มุ่งพัฒนา Application ตามความต้องการทางธุรกิจแทนที่จะต้องเสียเวลากับการเพิ่มความสามารถใน การเชื่อมต่อ (Connect) การรักษาความปลอดภัย (Secure) การควบคุม (Control) หรือแม้กระทั่งการสังเกตุพฤติกรรมการทำงาน (Observe) เข้าไปใน Application หรือ Service

Istio โครงการ Open Source สำหรับทำ Service Mesh เพื่อรองรับ Kubernetes

โครงการ Istio นี้เป็นโครงการ Open Source ที่ริเริ่มโดย Google และ IBM เพื่อตอบโจทย์การทำ Service Mesh ภายใน Microservices โดยเฉพาะ ซึ่งมีความสามารถหลักๆ ด้วยกัน 4 ส่วน ได้แก่

  • Connect สามารถควบคุม Traffic ของ Service ได้ และทำ Canary Deployment หรือ Service Breaking, Retries/Timeout ได้
  • Secure สามารถรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระดับเครือข่ายให้กับระบบ Container ได้ ให้การรับส่งข้อมูลระหว่างระบบย่อยเบื้องหลังมีความปลอดภัยเพียงพอ
  • Control ควบคุมการเชื่อมต่อทั้งหมดภายในให้เป็นไปได้ตามต้องการได้
  • Observe สามารถแสดงผลการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละบริการย่อยภายในระบบใหญ่ และติดตามประสิทธิภาพหรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้

โดยความสามารถเหล่านี้ต้องสามารถใช้งานได้ในระดับของระบบไม่ใช่ระดับของโค้ด และทำการตั้งค่า Configuration จากศูนย์กลางเพื่อจัดการระบบขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย

แนวทางที่ Istio ใช้นั้นก็คือการนำ Sidecar Pattern มาใช้ โดยมีการติดตั้ง Layer 7 Proxy มาติดตั้งภายใน Pod ของ Application เพื่อควบคุม Traffic ทั้งขาเข้าและออกทั้งหมด ทำให้สามารถกำหนดค่าการเชื่อมต่อต่างๆ และควบคุมระบบได้โดยไม่ต้องแก้ไขที่ระดับของ Application ซึ่ง Proxy นี้ก็ใช้โครงการ Envoy ซึ่งเป็นระบบ Proxy อัจฉริยะในส่วนของ Data Plane ส่วนใน Control Plane ก็มี Engine ที่หลากหลายเพื่อทำงานร่วมกับ Kubernetes หรือ Red Hat OpenShift เพื่อทำการตั้งค่าและควบคุมการทำงานของ Envoy อีกทีหนึ่ง

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Istio สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของโครงการได้ที่ https://istio.io/ ครับ

Red Hat OpenShift พร้อมใช้ Istio ได้ทันที และมีระบบอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น

สำหรับ Red Hat OpenShift นี้ก็มีการผนวกรวม Istio สำหรับทำ Service Mesh ให้อยู่แล้ว และยังมีการเพิ่มเครื่องมืออื่นๆ เช่น Prometheus + Grafana สำหรับการแสดงผลให้ติดตามการทำงานและสถิติต่างๆ ของระบบได้ง่าย, Jaeger สำหรับเก็บข้อมูลการ Trace ระบบและติดตามประสิทธิภาพการทำงานของระบบได้ในเชิงลึก, Kiali สำหรับการบริหารจัดการ Istio ผ่านหน้าเว็บ เข้ามาเพื่อช่วยให้การทำ Service Mesh นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้งานได้ง่ายดายมากขึ้นไปด้วย

รับชม Webinar ย้อนหลัง

ใน Webinar นี้เนื้อหาเต็มมีความยาวและยังมีการ Demo โซลูชันของ Istio ในการใช้งานจริงและการทำงานร่วมกับ Red Hat OpenShift ให้เราได้รับชมกันด้วย ดังนั้นถ้าหากท่านใดสนใจก็สามารถรับชม Webinar ย้อนหลังโดยคุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์, Senior Solutions Architect, Red Hat และคุณเฟื่องวิชญ์ โสภารัตน์, Channel Solutions Architect, Red Hat กันได้ที่ https://redhat.lookbookhq.com/c/84-2?x=a0Db4d เลยนะครับ

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-webinar-summary-service-mesh-for-microservices-with-red-hat/

Red Hat Webinar: เปลี่ยน Microservices ให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเทคโนโลยี Service Mesh

TechTalkThai ขอเรียนเชิญ IT Manager, DevOps Engineer, Software Engineer, และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมฟัง Red Hat Webinar ในหัวข้อเรื่อง “เปลี่ยน Microservices ให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเทคโนโลยี Service Mesh โดย Red Hat” เพื่อทำความรู้จักกับการใช้ Istio เพื่อสร้าง Service Mesh เสริมความสามารถในการจัดการ Microservices ให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ในวันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: เปลี่ยน Microservices ให้กลายเป็นเรื่องง่ายด้วยเทคโนโลยี Service Mesh โดย Red Hat
ผู้บรรยาย: คุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์, Senior Solutions Architect, Thailand, Red Hat
วันเวลา: วันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ภาษา: ไทย

ความท้าทายจำนวนมากนั้นได้เกิดขึ้นมาท่ามกลางการใช้งาน Cloud-Native Application เนื่องจากการย้ายระบบมาสู่สถาปัตยกรรมแบบ Microservices ที่ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่คุณต้องเผชิญแทบจะทันทีนั้นก็คือการที่มีบริการจำนวนมหาศาลกว่าในอดีตเป็นเท่าตัวที่จะต้องตรวจสอบการทำงาน, มี API จำนวนมากที่จะต้องทำการจัดการให้มีความมั่นคงปลอดภัย และก็ยังมีทราฟฟิกปริมาณมหาศาลที่เกิดขึ้นในการสื่อสารกันระหว่าแต่ละบริการ คุณและทีมงานของคุณต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ยังคงก้าวนำคู่แข่งให้ได้อย่างรวดเร็ว

ใน Webinar นี้ คุณจะได้เจาะลึกกับ Istio เครื่องมือ Open Source ที่เชื่อมต่อและบริหารจัดการ Microservices ที่ได้กลายเป็นระบบ Service-Mesh ชั้นนำของวงการสำหรับ Kubernetes โดยคุณจะได้ลงลึกว่า Istio จะช่วยให้ผสานการทำงานร่วมกันในแต่ละบริการอย่างเช่น Load Balancing, Mutual Service-to-Service Authentication, Transport Layer Encryption และการทำ Application Telemetry โดยเปลี่ยนแปลงโค้ดของคุณในแต่ละบริการให้น้อยที่สุดได้อย่างไร

การเข้าร่วมฟัง Webinar ครั้งนี้จะนำเสนอเป็นภาษาไทยโดยทีมงาน Red Hat ที่พร้อมตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเข้าร่วม Webinar ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม Webinar ในหัวข้อนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://events.redhat.com/profile/form/index.cfm?PKformID=0x162850abcd&sc_cid=7013a000002DgQgAAK#SessionAbstract โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-webinar-service-mesh-for-microservices-with-istio/

เปิดตัว Red Hat OpenShift 4.2 รองรับ Service Mesh, Serverless และ CI/CD ได้แล้ว

Red Hat ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Red Hat OpenShift 4.2 ที่มาพร้อมกับความสามารถใหม่ๆ มากมาย ดังนี้

Credit: Red Hat
  • Red Hat OpenShift Service Mesh ที่ต่อยอดจาก Istio, Kiali และ Jaeger สำหรับใช้ทำ Service Mesh ให้กับ Microservices-based Application บน OpenShift
  • Red Hat OpenShift Serverless ที่ต่อยอดจาก Knative เปิดให้ใช้งานได้แล้วเป็น Technology Preview
  • Red Hat OpenShift Pipelines ที่เปิดให้ใช้งานได้แล้วแบบ Developer Preview สำหรับใช้ทำ CI/CD ได้ในระบบ
  • Red Hat CodeReady Containers สำหรับช่วยให้นักพัฒนาติดตั้ง Pre-built OpenShift Environment บนเครื่องของตนเองสำหรับใช้ในการพัฒนาโปรแกรมได้
  • ปรับให้สามารถติดตั้ง OpenShift Container Platform บน AWS, Azure, GCP และ OpenStack ได้ง่ายขึ้น
  • มีเครื่องมือ Migrate สำหรับย้ายระบบจาก OpenShift 3 มายัง OpenShift 4
  • มี OpenShift Container Storage 4 ให้ใช้งานได้แบบ Beta แล้ว

Red Hat OpenShift 4.2 นี้จะเปิดให้ใช้งานได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และเปิดให้ทดสอบใช้งานก่อนได้ที่ https://try.openshift.com/ แล้ว

ที่มา: https://www.redhat.com/en/about/press-releases/red-hat-expands-kubernetes-developer-experience-newest-version-red-hat-openshift-4

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-openshift-4-2-is-announced/

Red Hat แจกฟรี E-Book แนะนำพื้นฐานเทคโนโลยี Service Mesh ด้วย Istio

Red Hat ได้ออกมาประกาศแจก E-Book ฟรีที่เล่าถึงพื้นฐานของแนวคิดด้าน Service Mesh ด้วยการใช้ Istio เพื่อให้เหล่านักพัฒนา Software, DevOps และเหล่าผู้ดูแลระบบได้นำไปศึกษา เตรียมก้าวเข้าสู่โลกของ Cloud-Native Application อย่างเต็มตัวกันในปี 2019

Credit: Red Hat

E-Book ฉบับนี้มีชื่อว่า Introducing Istio Service Mesh for Microservices โดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษความยาวประมาณ 60 หน้า เน้นเล่าถึงส่วนประกอบต่างๆ และการทำงานของ Istio พร้อมมีโค้ดตัวอย่างประกอบสำหรับการติดตั้งใช้งานร่วมกับ Kubernetes และอธิบายหลักการทำงานของแต่ละส่วนหรือการออกแบบในแต่ละรูปแบบ ทำให้เห็นภาพในการออกแบบและการใช้งานจริงมากขึ้น

ผู้ที่สนใจสามารถโหลด E-Book ฉบับนี้ไปอ่านได้ฟรีๆ ที่ https://developers.redhat.com/books/introducing-istio-service-mesh-microservices/ โดยมีทั้ง .pdf, .mobi และ .epub ให้เลือกโหลดได้ตามต้องการ แต่ต้องทำการสมัคร Red Hat Account ฟรีๆ กันก่อน (สามารถใช้ Email ส่วนตัวสมัครได้ครับ)

ความเห็นส่วนตัว: เท่าที่ลองอ่านดูเนื้อหาเขียนอธิบายเข้าใจง่ายดี พอมีโค้ดประกอบด้วยก็ยิ่งทำให้อ่านจับภาพรวมได้เร็วขึ้นไปอีก เนื้อหาไม่ลงลึกมากเท่าไหร่ ก็ถือเป็นการปูพื้นฐานที่ดีครับ

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-free-istio-service-mesh-e-book/

Kong 1.0 ออกแล้ว รองรับการทำ Service Mesh, mTLS และ gRPC ได้

ทีมพัฒนา Kong ระบบ Open Source Microservice API Gateway ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Kong 1.0 แบบ Generally Available ในฐานะ Stable Release ล่าสุด ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ และแก้ไขบั๊กเก่าๆ ไปมากกว่า 100 รายการ โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

Credit: Kong
  • มี Plugin เสริม สามารถให้บริการเป็น Service Mesh Proxy แบบ Standalone ได้แล้ว และรองรับการทำงานร่วมกับ Prometheus, Zipkin, Health Checks, Canary, Blue-Green และอื่นๆ ได้
  • สามารถสร้าง Certificate Authority ภายใน Kong Cluster เพื่อใช้ใานการทำ Mutual TLS (mTLS) Authentication ระหว่างกันได้ และยังสามารถกำหนดเส้นทางสำหรับ TCP Traffic ทำให้รองรับบริการได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
  • สนับสนุนการจัดการกับ gRPC Traffic แบบเบื้องต้นได้ เพิ่มเติมจากเดิมที่สนับสนุนแค่ REST เท่านั้น
  • ใช้ Database Abstraction Object (DAO) แบบใหม่ที่ง่ายต่อการย้ายจาก Database Schema หนึ่งไปสู่อีก Schema โดยแทบไม่มี Downtime เกิดขึ้นเลย และยังช่วยให้การอัปเกรด Kong Cluster เป็นไปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
  • รองรับ Plugin Development Kit (PDK) อย่างเต็มตัว

ผู้ที่สนใจรายละเอียดฉบับเต็มเกี่ยวกับอัปเดตนี้สามารถศึกษา Changelog ฉบับเต็มได้ที่ https://github.com/Kong/kong/blob/master/CHANGELOG.md#100 รวมถึงสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือใช้งาน Kong ได้ที่ https://github.com/Kong/kong/releases/tag/1.0.0 ด้วยครับ

ที่มา: https://konghq.com/blog/kong-1-0-ga/

from:https://www.techtalkthai.com/kong-1-0-is-released/

CNCF ประกาศให้ Envoy จบการศึกษา ตามรุ่นพี่อย่าง Kubernetes และ Prometheus ไปแล้ว

Cloud Native Computing Foundation หรือ CNCF ได้ออกมาประกาศจบการศึกษาให้กับ Envoy Proxy โครงการ Open Source Proxy นับเป็นโครงการที่ 3 ถัดจาก Kubernetes และ Prometheus ที่เป็นรุ่นพี่ก่อนหน้า

 

Credit: Envoy

 

Envoy นี้ถูกเริ่มต้นพัฒนาโดย Lyft ในฐานะของระบบ Open Source Edge, Middle, Service Proxy ประสิทธิภาพสูง โดยมุ่งเน้นที่การช่วยทำให้การย้ายไปสู่สถาปัตยกรรมแบบ Cloud Native นั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น และดูแลรักษาได้ง่ายตามไปด้วย

ตัวสถาปัตยกรรมของ Envoy เองนั้นเป็นแบบ Out-of-Process จึงสามารถใช้งานได้กับทุก Application, ทุกภาษา และทุกๆ Runtime โดยรองรับ Protocol และความสามารถอย่าง HTTP/2, gRPC, MongoDB, Redis, Thrift, การทำ External Authorization, การทำ Global Rate Limiting, การปรับแต่ง API ได้เชิงลึก และอื่นๆ อีกมากมาย

ในสองปีที่ผ่านมานี้ Envoy ถือเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจและเติบโตอย่างรวดเร็วมาก รวมถึงได้กลายเป็นกุญแจสำคัญของการทำ Service Mesh ไปแล้ว อีกทั้งยังเป็นผู้นำของว Cloud Native L7 Proxy ที่มีองค์กรหลายพันแห่งใช้งานร่วมกับ Kubernetes ด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Envoy เพื่มเติมได้ที่ https://github.com/envoyproxy/envoy

 

ที่มา: https://www.cncf.io/announcement/2018/11/28/cncf-announces-envoy-graduation/

from:https://www.techtalkthai.com/envoy-is-graduated-from-cncf/