คลังเก็บป้ายกำกับ: ENTERPRISE_CONTAINER

ก้าวสู่การใช้ Kubernetes ในธุรกิจอย่างมั่นใจ ด้วยโซลูชัน HPE Ezmeral Container Platform พร้อมระบบประมวลผลที่หลากหลายจาก HPE

Kubernetes ได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ธุรกิจองค์กรจะขาดไม่ได้อีกต่อไปในการก้าวสู่โลกยุค Cloud-Native แต่ในระยะยาวนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ธุรกิจองค์กรจะยังคงต้องมีทั้ง Cloud-Native Application และ Non-Cloud-Native Application ใช้งานควบคู่กันต่อไปเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้

HPE ในฐานะของผู้นำด้านระบบประมวลผลสำหรับธุรกิจองค์กร พร้อมนำเสนอทางเลือกในการตอบโจทย์นี้ด้วย HPE Ezmeral Container Platform ที่ตอบโจทย์ได้ทั้งระบบ Cloud-Native และ Non-Cloud-Native รองรับการใช้งานได้ทั้งบน Cloud จนถึง Edge ช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถดำเนินกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างมั่นใจ บน HPE Infrastructure ที่หลากหลายเหมาะสมต่อการใช้งานแต่ละรูปแบบ

HPE Ezmeral Container Platform ใช้งาน Kubernetes ด้วยความสามารถที่ตอบโจทย์ธุรกิจองค์กร รองรับ Workload ได้หลากหลาย

HPE Ezmeral Container Platform คือโซลูชันระบบ Enterprise-Grade Kubernetes ที่รองรับทั้งการใช้งาน Microservices, Cloud-Native Application และ Monolithic Non-Cloud-Native Application ได้ในหนึ่งเดียว

นอกเหนือจากการรองรับการทำ DevOps และการให้บริการระบบ Application ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่นเหมือนระบบ Kubernetes ทั่วๆ ไปแล้ว HPE Ezmeral Container Platform ยังได้เสริมนวัตกรรมจาก BlueData ที่ HPE ได้เข้าซื้อกิจการมาพัฒนาต่อยอดกลายเป็น HPE Ezmeral ML Ops และ HPE Ezmeral Data Fabric เพื่อรองรับ MLOps และ DataOps บน Kubernetes ได้อย่างเต็มตัว ตอบโจทย์งาน Big Data Analytics และ AI ได้เป็นอย่างดี

HPE Ezmeral Container Platform มีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้

  • ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการส่งมอบประสบการณ์แบบเดียวกับ Cloud ให้กับธุรกิจองค์กร
  • ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร ด้วยการเสริมความสามารถด้าน Security สำหรับธุรกิจองค์กรให้กับ Kubernetes พร้อมควบคุมประสิทธิภาพและความมั่นคงทนทานได้
  • ช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยการปรับให้การบริหารจัดการและเข้าถึงบริการต่างๆ ของ Kubernetes นั้นง่ายดายยิ่งกว่าเดิม
  • เร่งสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบริหารจัดการจากศูนย์กลางที่ช่วยให้สามารถสร้างและติดตั้งใช้งาน Application ใหม่ๆ ได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ภายใน Data Center, Cloud หรือ Edge ก็ตาม

Gartner ระบุว่าภายในปี 2022 นั้น 75% ของธุรกิจองค์กรจะมีการใช้งาน Containerized Application ภายในระบบ Production เติบโตจากปัจจุบันที่มีเพียง 30% เท่านั้นอย่างรวดเร็ว

วางระบบให้ยืดหยุ่น ด้วยการผสานแนวคิด Software as a service โดยรองรับติดตั้งบน Platform ของ HPE ได้ทุกระบบ

สำหรับธุรกิจองค์กรที่ต้องการวางระบบภายใน Data Center ให้มีความยืดหยุ่นสูงสุดเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้รองรับกับ Workload ที่หลากหลายและอาจไม่คาดฝันในอนาคต พร้อมทั้งใช้งาน Kubernetes ได้อย่างเต็มศักยภาพ HPE Platform คือทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับ HPE Ezmeral มากที่สุดในกรณีนี้

HPE Platfrom คือโซลูชัน Composable Infrastructure ที่เปิดให้ผู้ดูแลระบบ IT สามารถเลือกปรับเปลี่ยนส่วนประกอบภายใน Physical Server และสามารถติดตั้งได้ภายใน Virtual Machine แต่ละชุดได้จากการควบคุมผ่าน Software ที่ศูนย์กลาง ทำให้สามารถกำหนดค่าเพื่อสร้าง Server ที่มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ต่อ Workload เฉพาะทางที่ต้องการใช้งานบน HPE Ezmeral Container Platform ได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกันการเชื่อมข้อมูล (Persistent volume) นั้นก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ด้วยความสามารถของ HPE Ezmeral Data Fabric ซึ่งช่วยให้บริการ Persistent Storage ที่เพิ่มขยายได้แบบ Scale-Out และสามารถทำงานร่วมกับ HPE Data Platform ได้ ทำให้ไม่ว่าในส่วนของระบบ Compute จะปรับเปลี่ยนไปอย่างไร ข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้งานนั้นก็จะยังคงพร้อมให้บริการอยู่เสมอ

เน้นความง่ายดาย คุ้มค่า แต่ยังมั่นคงปลอดภัย เลือกใช้ HPE ProLiant DL

ในการรองรับ HPE Ezmeral Container Platform นั้น HPE ProLiant DL Server เองก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีสำหรับธุรกิจที่อาจไม่ได้มีระบบใหญ่มากนัก หรือมองหา Hardware ที่เหมาะสมสำหรับนำไปใช้งานใน Edge หรือรองรับการทำ DevOps ในแบบ Bare Metal เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

แน่นอนว่าจุดเด่นสำคัญของ HPE ProLiant DL Server อย่างเช่นความมั่นคงปลอดภัยที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่ในระดับของ Software, Hardware และ Supply Chain นั้น ก็จะช่วยให้การใช้งาน HPE Ezmeral Container Platform เป็นไปได้อย่างมั่นใจ ปกป้องระบบให้มั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคามได้แม้ระบบจะติดตั้งใช้งานอยู่ที่ Edge ก็ตาม

เปลี่ยนการลงทุนสู่ Container-as-a-Service ด้วย HPE GreenLake for Containers

สำหรับธุรกิจองค์กรที่มีกลยุทธ์ทางด้านการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และต้องการความยืดหยุ่นในการลงทุน HPE GreenLake for Containers คือทางเลือกที่จะทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้ HPE Ezmeral Container Platform โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงได้ ไม่ต้องลงทุนจัดซื้อระบบ Hardware และ Software ด้วยตนเองทั้งหมดตั้งแต่แรก

การใช้ HPE GreenLake for Containers จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรมีระบบ Container ที่มีความสามารถและรูปแบบการใช้งานที่เทียบเคียงได้กับบริการ Cloud ด้วยการมีทรัพยากรประมวลผลและระบบจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูงจาก HPE ให้ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างอิสระ แต่คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และเพิ่มขยายได้ตามต้องการ

สำหรับผู้ที่สนใจ HPE Ezmeral หรือโซลูชัน Server จาก HPE และอยากขอคำปรึกษา, ออกแบบระบบ หรือขอใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันทีที่ Email: MKTMCC@metroconnect.co.th หรือโทร 02-0894508 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Metro Connect ได้ทันทีที่ https://www.metroconnect.co.th/

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-ezmeral-container-platform-for-enterprise-kubernetes-from-hpe-by-metro-connect/

Red Hat OpenShift 4.7 ออกแล้ว จัดการ VM ได้ พร้อมรองรับ Windows Container

Red Hat ได้ออกมาประกาศเปิดตัว Red Hat OpenShift 4.7 แล้วอย่างเป็นทางการ โดยสามารถรองรับ Workload ได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น Virtual Machine หรือ Windows Container ก็ตาม โดยรวมแล้วมีจุดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

Credit: Red Hat
  • ใช้ Kubernetes 1.20
  • รองรับ OpenShift Virtualization ทำให้สามารถ Import VM เข้ามาใช้ใน OpenShift ได้, สร้าง VM ผ่าน Template ได้ และทำงานร่วมกับ Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes ได้ ทำให้จัดการ VM Workload ได้ในตัวด้วย
  • รองรับ Windows Containers ได้แล้ว
  • เปิดตัว Migration Toolkit for Virtualization ที่จะมีให้ใช้แบบ Preview ในอนาคต เพื่อย้าย VM จำนวนมากมาบน Red Hat OpenShift Virtualization ได้ง่ายๆ
  • เปิดตัว OpenShift GitOps ในแบบ Preview โดยใช้ Argo CD และสามารถทำงานร่วมกับ OpenShift Pipelines ได้

ปัจจุบัน Red Hat OpenShift 4.7 เข้าสู่สถานะ GA แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.openshift.com/

ที่มา: https://www.redhat.com/en/about/press-releases/red-hat-refines-kubernetes-both-traditional-and-cloud-native-applications-latest-version-red-hat-openshift

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-openshift-4-7-is-released/

สรุป VMware NSX webinar Part I – Enable Container Networking and Secure your Microservices by VMware NSX

ประเด็นด้านการตรวจสอบ, บริหารจัดการ และควบคุม Network และ Security สำหรับ Cloud-Native Application ที่ทำงานอยู่บน Container หรือ Kubernetes ถือเป็นประเด็นใหญ่สำหรับผู้ที่ดูแล Data Center ของธุรกิจองค์การในยามนี้ และในบทความนี้เราก็จะสรุปเนื้อหา Webinar จาก VMware ในประเด็นนี้กันโดยเฉพาะครับ

รู้จักกับ VMware Tanzu โซลูชันด้าน Container ของ VMware

โซลูชัน VMware Tanzu นี้เปิดตัวมาได้ระยะหนึ่งแล้วในฐานะของ Portfolio ทางด้าน Enterprise Container จาก VMware โดยภายใน VMware Tanzu นี้จะแบ่งความสามารถออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกันได้แก่

Credit: VMware
  1. Build
    • Code มี Spring Runtime เป็น Cloud Native Application Development Framework
    • Assemble มี Tanzu Build Service คอยช่วย Build Container ให้ โดยจะทำการ Optimize ขั้นตอนการ Build ให้รวดเร็ว และเป็นมาตรฐาน
    • Curate มี Tanzu Application Catalog เพื่อให้เลือกนำ Open Source Software ที่ต้องการมาใช้งานได้อย่างง่ายดาย และเลือกเวอร์ชันที่ต้องการได้
  2. Run
    • Deliver มี Tanzu Application Service ช่วยผสานระหว่างการ Build ไปสู่การ Run ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย
    • Operate มี vSphere with Kubernetes และ Tanzu Kubernetes Grid / TKGI เป็นทางเลือกในการใช้งานและบริหารจัดการ Kubernetes
  3. Manage
    • Observe มี Tanzu Observability by Wavefront สำหรับตรวจสอบการทำงานทั้งในระดับของ Application และ Infrastructure โดยมี AI คอยช่วยเหลือ
    • Unify มี Tanzu Service Mesh สำหรับบริหารจัดการการทำงานร่วมกับระหว่างแต่ละ Service ภายใน Application บน Multi-Cloud
    • Govern มี Tanzu Mission Control สำหรับบริหารจัดการ Kubernetes หลายๆ Cluster ได้จากศูนย์กลาง

ที่ผ่านมา VMware นั้นถือเป็น Contributor อันดับที่ 3 ของโครงการ Kubernetes แสดงให้เห็นถึงความจริงจังของ VMware ที่มีต่อ Kubernets และทำให้ Kubernetes ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน VMware vSphere และถูกพัฒนาโซลูชันใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย

Credit: VMware

สิ่งที่ VMware ต้องการทำก็คือการผสานรวม Infrastructure ทุกส่วนที่จำเป็นในการใช้ Kubernetes ในธุรกิจองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้รองรับการบริหารจัดการหลาย Cluster, รองรับการทำ DevOps, การกำหนด Workflow ที่ต้องการ, การทำ Automation, การบริหารจัดการ Network และ Security, การตรวจสอบการทำงาน ไปจนถึงการเชื่อมต่อเข้ากับบริการอื่นๆ ที่ต้องการได้อย่างเบ็ดเสร็จ รองรับ Hybrid Cloud และ Multi-Cloud ได้ทันที เป็นภาพรวมของ VMware Tanzu นั่นเอง

สำหรับ VMware Tanzu Mission Control เองก็ถือเป็นหนึ่งในพระเอกของโซลูชัน VMware Tanzu ที่สามารถทำ Cluster Lifecycle Management, Identity & Access, Security & Configuration, Audit & Compliance และ Data Protection ได้ เรียกได้ว่าไม่ว่าธุรกิจองค์กรจะใช้งาน Kubernetes ในรูปแบบใดอยู่ VMware Tanzu Mission Control ก็จะสามารถช่วยตอบโจทย์เบื้องต้นสำหรับการใช้งาน Kubernetes สำหรับธุรกิจองค์กรได้ในเชิงของการบริหารจัดการและการควบคุม

NSX Integration with Kubernetes

ในการใช้งาน Kubernetes หรือ Container ในระดับธุรกิจองค์กรนั้น ประเด็นด้าน Security และ Networking ถือเป็นความท้าทายสำคัญของผู้ดูแลระบบเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการ Router, Firewall หรือ Load Balancer ก็ตาม ซึ่ง VMware NSX เองก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี และมุ่งเน้นการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้ในระบบ Container

  1. ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการระบบเครือข่ายในแบบ Cloud-Native เมื่อเทียบกับแบบดั้งเดิม
  2. การควบคุมด้าน Security และ Compliance บนระบบ Cloud-Native และแบบดั้งเดิมที่ไม่เท่าเทียมกัน
  3. การขาดความสามารถในการตรวจสอบ Traffic เครือข่ายภายใน Container หรือการเชื่อมต่อระหว่าง Container ได้อย่างชัดเจน
Credit: VMware

VMware นั้นใช้ NSX เพื่อตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อนี้ ด้วยการทำ Advanced Container Networking, Micro-Segmentation for Microservices และ Cross-Platform Visibility ได้ในตัว ทำให้การใช้งาน Kubernetes ภายในองค์กรนั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ โดยจะมีความสามารถตั้งแต่การทำ Switching, Routing, Firewall, IDS/IPS, LB/WAF, Service Mesh และ Monitoring & Analytics ได้บนทั้ง VM, Container, Bare Metal พร้อมทั้งยังมี NSX Automation คอยบริหารจัดการระบบแบบอัตโนมัติให้อีกด้วย

VMware NSX นี้ทำงานร่วมกับ Container ได้ผ่านทาง Container Network Interface (CNI) ซึ่งเป็น Modular Framework ใน Plugin ต่างๆ ซึ่งสำหรับ VMware NSX ก็จะใช้ NSX NCP หรือ NSX Cointainer Plug-in ทำให้สามารถเชื่อม NSX-T Data Center เข้ากับ Kubernetes ได้ โดยรองรับความสามารถได้แก่ L7/L4 Load Balancing ทั้ง East/West และ North/South, IPAM, Logical Switching, Firewall, SNAT และ Routing

สำหรับประเด็นด้าน Security โดยปกติแล้วใน Kubernetes จะยึดหลัก 4C ได้แก่ Code, Container, Cluster และ Cloud/Co-Lo/Corporate Data Center ที่ต้องปกป้องให้มั่นคงปลอดภัย โดย VMware มี Harbor คอยช่วยตรวจสอบช่องโหว่ใน Image ต่างๆ และ VMware NSX ก็จะควบคุมในส่วนของระดับ Container และ Cluster ให้ อีกทั้งยังกำหนดสิทธิ์ให้กับนักพัฒนาและฝ่าย IT ให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรของ Container ได้แตกต่างกันด้วย

Credit: VMware

ในส่วนของการทำ Service Mesh ทาง VMware เองก็สามารถใช้ Istio, NSX Service Mesh และ NSX Data Center เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อให้ภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายภายใน Container มีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายคือ AVI Networks เทคโนโลยีที่ VMware เข้าซื้อกิจการมาเพื่อสร้าง Advanced Load Balancer ที่ใช้งานได้ในทุกสถาปัตยกรรม Data Center ที่ต้องการ และมีความสามารถด้าน Security และ Analytics เข้ามาด้วย โดยรองรับการใช้งานได้ทั้งสำหรับ Kubernetes และ OpenShift ไม่ว่าจะบน On-Premises หรือ Cloud ก็ตาม

รับชม Webinar ย้อนหลังได้ทันที

ใน Webinar ครั้งนี้มีการ Demo โซลูชัน VMware NSX สำหรับการทำงานร่วมกับ Container อย่างจุใจ รวมถึงยังมีเนื้อหาส่วนของการปูพื้นฐานด้าน Kubernetes ด้วย ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับชมได้ทันทีที่ https://vmware.zoom.us/rec/share/z5Rnf-DZqF9JRredw23cYKIQAbzBX6a8h3JI_fsFyBuzhvTrueWfkvgjqrOx1tTk

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-nsx-webinar-part-i-enable-container-networking-and-secure-your-microservices-by-vmware-nsx-summary/

Leadership Vision: Enterprise Container & Multi-Cloud บทสัมภาษณ์คุณเอกภาวิน สุขอนันต์ VMware Thailand

Container ได้ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายในธุรกิจองค์กร และจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญหนึ่งในระบบ IT Infrastructure ที่ทุกธุรกิจต้องใช้งาน แต่ธุรกิจควรนำ Container มาใช้งานอย่างไร? อนาคตของ Hybrid Cloud และ Multi-Cloud จะเกิดขึ้นด้วย Container ได้อย่างไร? และธุรกิจองค์กรต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อเปิดรับต่อการใช้ Container บ้าง? พบคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ใน “Leadership Vision: Enterprise Container & Future of Data Center” บทสัมภาษณ์คุณเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท วีเอ็มแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ถูกสัมภาษณ์: คุณเอกภาวิน สุขอนันต์

บริษัท: บริษัท วีเอ็มแวร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ตำแหน่ง: ผู้จัดการประจำประเทศไทย

ประวัติโดยย่อ:

คุณเอกภาวินได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำประเทศไทยของบริษัทในปี 2557 ก่อนก้าวขึ้นรับตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทยในปัจจุบัน ก่อนร่วมงานกับวีเอ็มแวร์ คุณเอกภาวินยังเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายที่ออราเคิลประเทศไทยและอินโดจีน โดยขณะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเอกภาวินรับหน้าที่ในการวางกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและฝ่ายขาย นอกจากนี้เขายังได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงให้กับบริษัทข้ามชาติสายอุตสาหกรรมด้านไอทีทั้ง Sun Microsystems, Computer Associates, SVOA, Kernal Computer และ IBM ซึ่งคุณเอกภาวินได้นำความรู้และประสบการณ์ทำงานในแวดวงวิศกรเฉพาะทางและเซลล์มาปรับใช้กับวีเอ็มแวร์ ประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์

คุณเอกภาวินสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสำเร็จการศึกษาในระดับมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการระบบสารสนเทศจากรั้วจามจุรี

เกี่ยวกับ VMware:

วีเอ็มแวร์เป็นผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความซับซ้อน ด้วยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์กว่า 75,000 ราย ผนวกกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของวีเอ็มแวร์ อาทิ ระบบประมวลผล ระบบคลาวด์ โมบิลิตี้ เน็ตเวิร์คกิ้ง และระบบรักษาความปลอดภัย วีเอ็มแวร์จึงเป็นผู้ให้บริการระบบดิจิทัลพื้นฐานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว โดยให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 500,000 รายทั่วโลก

สำนักงานใหญ่วีเอ็มแวร์ตั้งอยู่ที่เมืองพาโล อัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีนี้ วีเอ็มแวร์ฉลองครบรอบ 20 ปีแห่งความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลประโยชน์ต่อทั้งภาคธุรกิจและสังคม

ช่องทางการติดต่อ:

Website บริษัท: https://www.vmware.com
อีเมล์ติดต่อบริษัท: SEAK.generalenquiry@vmware.com
กรอกแบบฟอร์มเพื่อติดต่อบริษัท: https://www.vmware.com/content/microsites/learn/en/51104_TH_Hybrid_REG.html

Q: แนวโน้มการใช้งาน Container ภายในธุรกิจองค์กรมีปัจจัยมาจากอะไร?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Container นั้นก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น AI , ML คือเป็นเทคโนโลยีที่มีอายุมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่ Use Case หรือโครงสร้างพื้นฐานในอดีตนั้นยังไม่เอื้ออำนวย ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมในขณะนั้น ซึ่ง Container บน Linux เองก็มีมานาน ออราเคิลก็มี Solaris Container แต่ก็เป็นที่นิยมกันเฉพาะภายในกลุ่ม Software ของตัวเอง

ภายหลังเมื่อ Cloud กลายเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตจนมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในมุมของผู้ใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ เองก็ต้องการประสบการณ์ใช้งานที่ดี มีความเชื่อมโยงของบริการต่างๆ และมีความต่อเนื่องในการใช้งาน ส่วนทางด้านคนทำซอฟต์แวร์ก็นิยมใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่ายแบบ Container ที่ช่วยรองรับการทำงานของระบบ Application ซึ่งมีขนาดที่เล็กลงกว่าการติดตั้งทั้ง OS เป็นอย่างมาก และยังคล่องตัวในการนำไปใช้งานที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลภายในบริษัท และบริการ Public Cloud ซึ่งด้วยแรงผลักดันหลักที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการทางธุรกิจ ประสบการณ์ใหม่ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องของผู้ใช้ และการเติบโตของคลาวด์ ทั้งหมดนี้ก็ทำให้ Container กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้งานกันทั่วโลกในทุกวันนี้

Credit: ShutterStock.com

Q: ธุรกิจแบบใดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน Container?

ทุกธุรกิจในปัจจุบันต้องใช้ Container กันหมด เพราะต่อไปคงมีน้อยที่เราจะสร้าง Application ด้วย Architecture แบบเดิมอย่างในอดีตกัน ดังนั้นการรองรับ Application ใหม่ๆ นั้น Container ย่อมต้องเป็นส่วนประกอบสำคัญ

Cloud Native Application Development คือแนวทางการพัฒนา Application ในยุคปัจจุบันนี้ที่เราใช้ Cloud กันอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งด้าน Business Application, AI, ML, Mobile Application ไปจนถึง Platform สำหรับรองรับ Wearable Device และ IoT พูดอีกมุมคือเป็นการเปลี่ยนถ่ายจาก Data Center to Cloud to Edge to Devices

ลองนึกดูครับว่า แม้แต่พระทุกวันนี้ก็ยังมีการเทศนาผ่าน Social Platform โดยยังมี Application ให้สาธุชนเข้าถึงผ่าน Mobile Device ได้ ตอนนี้ถือเป็นยุคที่เทคโนโลยีสามารถช่วยได้ทุกภาคส่วนของสังคมอย่างแท้จริง

Q: แนวโน้มสำหรับภาคธุรกิจองค์กรไทยที่ใช้งาน Container เป็นอย่างไร? มีภาคส่วนใดที่ใช้บ้าง?

อย่างที่ตอบไปก่อนหน้านี้ มีการใช้งาน Container ครบหมดทุกภาคส่วนของธุรกิจองค์กรไทย แต่การที่จะใช้งานหรือ Run ระบบใดๆ บนโครงสร้างพื้นฐานที่บริหารจัดการได้ง่าย มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและมั่นคงปลอดภัย ปัจจัยเหล่านี้ยังคงถูกนำเสนอในระดับที่ไม่เท่ากันตามแต่เทคโนโลยีและผู้ให้บริการแต่ละราย

ลูกค้าเองก็มีทางเลือกที่พร้อมให้บริการมากมายในตลาด ซึ่งผู้ใช้งานของแต่ละธุรกิจจะเป็นคนกำหนดระดับการให้บริการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ภาคเอกชนที่แข่งขันสูงเช่นโทรคม การเงินการธนาคาร หรือค้าปลีก ก็มีแนวโน้มจะนำหน้าไปก่อนภาครัฐ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ COVID-19 แพร่ระบาดนี้ ก็จะเป็นอีกแรงผลักดันให้ต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อโยงเชื่อมข้อมูล และให้บริการประชาชนอย่างสอดคล้องและเป็นเอกภาพ โดยไม่ติดขัดเมื่อมีเหตุไม่คาดฝัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดตามมาอย่างเร็วนับจากนี้

Q: ในการวางระบบ IT Infrastructure สำหรับธุรกิจองค์กรนั้น นอกจากเรื่องของการบริหารจัดการแล้ว ยังมีประเด็นใดบ้างที่ควรเสริม?

เวลาเราพูดถึงโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบ IT Infrastructure เราก็จะเห็นได้ชัดว่า Hardware, Network, Storage, OS และ Security ล้วนถูกทดแทนโดยบริการที่มีใช้งานได้บน Cloud และผู้ให้บริการแต่ละรายก็จะมีจุดเด่นของตัวเอง ผู้ใช้มีแนวโน้มจะเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการหลายราย และสุดท้ายก็จะเกิดปัญหาเรื่องความไม่เชื่อมโยง ความไม่เข้ากันของเครื่องมือ ส่งผลให้การบริหารจัดการ การพัฒนาซอฟแวร์ การให้บริการไปยังลูกค้าองค์กร อีกทั้งการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทำได้ยากเพราะระบบโครงสร้างพื้นฐานที่กระจัดกระจาย เหมือนเรามีหลายเกาะที่มันแยกกัน ก็จะดูแลรักษาระบบให้แข็งแรงปลอดภัยได้ยาก ดังนั้นการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานไอทีในยุคต่อไป ก็ควรจะมีกลยุทธ์สำหรับการใช้ประโยชน์จากหลายๆ Cloud หรือที่เราเรียกกันว่า Multi-Cloud Strategy โดยคำนึงการ Build, Run, Manage (Service & Application) และ Secure & Connect กับ End User Workspace ด้วย

Q: VMware มีเทคโนโลยีใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับ Container และจะนำมาใช้เติมเต็มให้กับภาคธุรกิจองค์กรได้อย่างไร?

VMware ตั้งใจจะให้ลูกค้า Focus กับการสร้างสรรค์ทางธุรกิจเป็นหลัก เราได้พูดเสมอว่าลูกค้าต้องทำงานได้บน Any Clouds, Any Applications และ Any Devices โดยในแต่ละส่วน เรามีเทคโนโลยีที่ครอบคลุมในประเด็นดังต่อไปนี้

  • Build ให้สามารถสร้าง Cloud Native Application และสร้างโครงระบบสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับไปพร้อมกัน ในลักษณะ Infrastructure as Code โดย VMware เราเป็นผู้พัฒนา Spring Framework และทีม Heptio ของเราคือผู้ริเริ่มโครงการ Kubernetes และเรายังมี Vmware Tanzu ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยลูกค้าทำการพัฒนา Applications บน Multi-Cloud ได้ดีที่สุด
  • Run ชัดๆ เลยคือ VMware VSphere 7 ที่สามารถ Run Container ด้วย Kubernetes ในแบบ Native Mode ได้โดยตรง ในอนาคตต่อไป Container จะกลายเป็นประชากรชั้น 1 บน VMware vSphere เช่นเดียวกับ Virtual Machine หรือ VM ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีในดีต
  • Manage เราก็จะใช้สิ่งที่ลูกค้าคุ้นเคยที่สุดคือ VMware vCenter มาบริหารจัดการทั้ง Container และ VM ได้พร้อมกันบนเครื่องมือชุดเดียวกัน และ VMware Tanzu Mission Control ก็จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการ Multi-Cloud ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกด้วย
  • Secure and Connect คือการเชื่อมโยงและรักษาความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งเราก็เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี SDN และ SD-WAN อยู่แล้ว โดยล่าสุดจากการเข้าซื้อกิจการของ Carbon Black มาเสริม ก็ทำให้เรามีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์และตอบโจทย์ด้านเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างครบถ้วน รวมถึง VMware เรายังมีแนวคิดด้านความตื่นรู้ในการรักษาความปลอดภัยหรือที่เราเรียกว่า Intrinsic Security มาเสริมอีกด้วย
  • End User Computing คือการบริหารจัดการผู้มีสิทธิ์เข้ามาใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัยสูง โดย VMware Workspace ONE ก็เป็นผู้นำในด้านนี้ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญเรื่อง Business Continuity ในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่เราได้ช่วยให้ลูกค้าสามารถให้บริการผู้ใช้งานภายในองค์กรที่ต้องทำงานจากบ้าน อย่างทันท่วงทีและมั่นใจได้ในความมั่นคงปลอดภัย

Q: Container และ Multi-Cloud นั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไรในมุมของ VMware? และองค์กรควรวางกลยุทธ์เพื่อตอบรับต่อทั้งสองแนวโน้มนี้อย่างไร?

Container เป็นเสมือนตู้ขนาดเล็กที่สุดที่เอาไว้สร้างและรันแอพพลิเคชัน ซึ่งทำงานอยู่บนศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center และบน Cloud ต่างๆ ทำให้ธรรมชาติของ Cloud Native Application ที่มี Container เป็นพื้นฐานนี้สามารถทำงานได้บน Multi-Cloud อยู่แล้ว แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ผู้ให้บริการหรือเจ้าของเทคโนโลยีหลายรายมีการนำ Open Source Kubernetes มาพัฒนาเพิ่มเติมจนเมื่อมี Update ใหม่จาก Community หลักก็ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนหรืออัปเดตตามได้ทัน กลายเป็นข้อจำกัดไปอย่างน่าเสียดาย

VMware vSphere 7 จึงถูกออกแบบมาให้รองรับ Upstream Kubernetes ได้เลย ทำให้รองรับความสามารถใหม่ๆ ที่ถูกอัปเดตเพิ่มเติมจากชุมชนนักพัฒนาได้ตลอดเวลา และไม่เกิดปัญหา Vendor Lock-In หรือถูกบังคับให้ผูกติดกับ Kubernetes ที่ถูกพัฒนาต่อยอดโดยผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งเท่านั้น

Q: ในอนาคต ทักษะของผู้ดูแลระบบ Data Center ที่ควรจะต้องมีเพิ่มเติมนั้นคืออะไรบ้าง?

ในอนาคต ผู้ดูแลระบบ IT นั้นต้องปรับตัวกันไม่น้อย โดยควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเรื่องของแนวคิดและเทคโนโลยีด้าน Cloud Native Application และ Kubernetes ก่อน โดยขอแนะนำให้เข้าเรียนพื้นฐานที่ https://kube.academy/ ที่สามารถเริ่มต้นเรียนฟรีได้บน Internet

ส่วนในการทำงานจริงนั้น การดูแลรักษาระบบก็จะง่ายขึ้นสำหรับทุกท่านที่ใช้ VMware vSphere 7 ก็จะสามารถใช้ VMware vCenter ที่คุ้นเคยในการบริหารจัดการได้ทั้ง Container และ VM ร่วมกัน แต่หลักสำคัญคือผู้ดูแลระบบนั้นจะต้องเข้าใจวิธีทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ดีเสียก่อน

from:https://www.techtalkthai.com/leadership-vision-enterprise-container-and-multi-cloud-by-ekpawin-sukanan-vmware-thailand/

ชวนเรียน VMware Tanzu Mission Control ฟรีกับ VMware เป็นภาษาไทย พร้อมลุ้นรับ iPad ใน VMware Evolve Online 2020

อีกเทคโนโลยีสำคัญของ VMware ที่จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรใช้งาน Kubernetes ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นก็คือ VMware Tanzu Mission Control และในงาน VMware Evolve Online 2020 ก็มีคลิปสอนเรื่องของ VMware Tanzu Mission Control เป็นภาษาไทยโดยเฉพาะเพื่อให้เราได้เข้าไปเรียนรู้กันฟรีๆ ด้วยกัน 3 คอร์ส ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง และยังมีแล็บแห้งให้ได้ทดลองทำ พร้อมลุ้นรับรางวัลใหญ่อย่าง Apple iPad Pro 12.9″ โดยมีวิธีการเข้าร่วมรับชมดังต่อไปนี้

สมัครเข้าสู่งานสัมมนาออนไลน์ VMware Evolve Online 2020

สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนสมัคร VMware Evolve Online 2020 ต้องสมัครให้เรียบร้อยก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ลงทะเบียนที่ https://evolve.vmware.com/register.html?src=em_5e5cdfe8e02fc โดยในช่องบนสุดจะมีการถามถึงการเลือกลง Session Live สดที่จะเกิดขึ้นใกล้ที่สุด ซึ่งสามารถเลือก Session ใดก็ได้ไม่ส่งผลใดๆ จากนั้นก็ทำการกรอกข้อมูลตามปกติ
  • เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ระบบจะทำการสร้าง Account ให้และส่งอีเมล์มายืนยันตามข้อมูลที่ได้ทำการลงทะเบียน
  • สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่ https://onlinexperiences.com/Launch/Event.htm?ShowKey=80190 โดยระบุอีเมล์ที่ได้ทำการลงทะเบียนเข้าไป ก็จะสามารถเข้าระบบได้ทันที

ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วม VMware Evolve Online 2020 แล้วจะมีสิทธิ์ร่วมกิจกรรมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ Apple iPad Pro, Apple Watch, Apple AirPods Pro และ Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 จากการเข้าชมเนื้อหาและทำแล็บรวมถึงร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้

วิธีการรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับ Kubernetes เป็นภาษาไทยจาก VMware

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่เนื้อหาดังนี้

  1. คลิกที่ปุ่ม “ภาคภาษาไทย” ด้านล่าง
  2. เลือกหัวข้อ App Modernization
  3. เลือกคลิปที่ต้องการฟัง แล้วกดปุ่ม On Demand

สำหรับเนื้อหาทางด้าน VMware Tanzu Mission Control นี้จะมีด้วยกัน 3 หัวข้อ แต่ละคลิปจะมีความยาวประมาณ 15-25 นาทีก็เรียกได้ว่าเนื้อหาค่อนข้างเข้มข้นเลยทีเดียวครับ

บริหารจัดการ Kubernetes บน Multi-Cloud ด้วย VMware Tanzu Mission Control

Credit: VMware

สำหรับหัวข้อนี้จะมีประเด็นที่แนะนำให้ชมดังนี้ครับ

  • VMware Tanzu Mission Control – Overview and Roadmap – Thai เล่าถึงแนวโน้มของการใช้ Kubernetes ในองค์กร และปัญหาที่ VMware Tanzu Mission Control ต้องการจะแก้
  • VMware Tanzu Mission Control – Getting Started – Thai ลองใช้ความสามารถเบื้องต้นของ VMware Tanzu Mission Control ในการบริหารจัดการ Kubernetes
  • VMware Tanzu Mission Control – Demonstration – Thai สาธิตการใช้งาน VMware Tanzu Mission Control กับความสามารถเชิงลึกเพิ่มเติม

ตรงนี้จะทำให้เราเห็นภาพของการใช้ Kubernetes ในธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่กันมากขึ้น และเข้าใจถึงความสามารถของ VMware Tanzu Mission Control ที่จะกลายเป็นอีกทางเลือกในการติดตามการใช้งานและบริหารจัดการ Kubernetes ในธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ที่มีหลาย Cluster อยู่บนบริการ Cloud ที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสมและง่ายดาย

ทดลองทำแล็บ HOL-2032-91-CNA – VMware Tanzu Mission Control Simulation

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่ Lab ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ Hands-on Lab ที่ Menu ด้านบน
  2. Scroll เนื้อหาลงมายัง HOL-2032-91-CNA – VMware Tanzu Mission Control Simulation
  3. คลิก Run Lab Now

แล็บนี้จะมีด้วยกันเพียงแค่ 10 ขั้นตอนนิดๆ เท่านั้น โดยตัวแล็บจะจำลอง UI ของ VMware Tanzu Mission Control มาให้เราได้ลองใช้งานเพื่อทำให้เห็นความสามารถเบื้องต้นและประโยชน์ของการใช้ VMware Tanzu Mission Control เพื่อจะได้ประเมินถูกว่าธุรกิจของเราถึงจุดที่ควรจะต้องมีระบบบริหารจัดการ Kubernetes ในลักษณะนี้หรือยัง ซึ่งในแล็บนี้เราจะได้เห็นว่าภายใน VMware Tanzu Mission Control สามารถตรวจสอบและบริหารจัดการ Kubernetes ได้ลึกถึงระดับไหนบ้าง ตรงนี้ถือว่ามีหน้าจอมาให้เห็นภาพกันค่อนข้างเยอะ และใช้เวลาเพียงไม่เกิน 10 นาทีก็ทำแล็บได้จบแล้วครับ

ลุ้นรับรางวัลจากกิจกรรม Leaderboard

สำหรับผู้เข้าร่วมงาน VMware EVOLVE Online 2020 นี้ จะได้รับการสะสมคะแนนทุกๆ ครั้งที่มีการเข้าถึงเนื้อหาใดๆ ภายในงานหรือร่วมกิจกรรมภายในงาน และจะสามารถลุ้นรับ 4 รางวัลจาก VMware ได้แก่

  • Apple iPad Pro 12.9″ มูลค่า 1,000 เหรียญหรือราวๆ 30,000 บาท
  • Apple Watch Series 5 มูลค่า 440 เหรียญหรือราวๆ 13,200 บาท
  • Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 True Wireless Earbuds มูลค่า 350 เหรียญหรือราวๆ 10,500 บาท
  • Apple AirPods Pro มูลค่า 250 เหรียญ หรือราวๆ 7,500 บาท

from:https://www.techtalkthai.com/vmware-tanzu-mission-control-thai-course-in-vmware-evolve-online-2020/

HPE Webinar: HPE Point of View for Container

Containers เป็น New Normal ของ IT Industry เพราะทำให้การ Deploy Application ทำได้เร็วและยืดหยุ่นมายิ่งขึ้น แต่ เพราะทุกคนรู้หรือไม่ว่าทำไม Containers ยังไม่สามารถตอบโจทย์การใช้งาน Application แบบ Non-Cloud Native app หรือ Traditional app ได้ดีเท่าที่ควร session นี้มีคำตอบให้ โดยเราขอเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วม Webinar: HPE Point of View for Container ในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00 – 12:00 น.

ใน Session ทุกท่านจะได้พบวิธีการบริหารจัดการแบบ Hybrid IT อย่างแท้จริง ที่ซึ่งเราสามารถรัน Containers พร้อมไปกับ Non-Cloud Native/Traditional app ได้อย่างลงตัว และยิ่งไปกว่านั้น HPE ยังมาพร้อมความง่าย กับ ความสามารถระดับ Enterprise แบบที่ไม่เคยมาก่อน พบกันได้ใน Webinar : HPE Point of View for Container

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: HPE Point of View for Container
ผู้บรรยาย: คุณวรท อัศวโกวิทกรณ์, HPSD Presales, Hewlett Packard Enterprise Thailand
วันเวลา: วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 10:00 – 12:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรีที่: https://zoom.us/webinar/register/WN_9X6Gb1MMRzOkqAxM3m_1LA

For more information contact:

Khun Sirivaridsara Nitisumethchayangkoon, 089 699 4916
Email: sirivaridsara@hpe.com

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-webinar-hpe-point-of-view-for-container/

Red Hat Webinar: สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus

TechTalkThai ขอเรียนเชิญ IT Manager, DevOps Engineer, Software Engineer, และผู้ที่สนใจทุกท่าน เข้าร่วมฟัง Red Hat Webinar ในหัวข้อเรื่อง “สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus โดย Red Hat” เพื่อทำความรู้จักกับเทคโนโลยีของ Quarkus ที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างระบบ Microservices ให้กับ Java Application ในวันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: สร้างระบบ Microservices ที่มีขนาดเล็กมากและมีความเร็วสูงด้วย Quarkus โดย Red Hat
ผู้บรรยาย: คุณวรวิทย์ เลิศกิติพงศ์พันธ์, Senior Solutions Architect, Thailand, Red Hat
วันเวลา: วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2020 เวลา 10.30 – 12.00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
ภาษา: ไทย

Quarkus คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านขนาดและความเร็วของ Java ซึ่งจะช่วยให้การเริ่มเปิดใช้งานระบบนั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และใช้พื้นที่บนหน่วยความจำและดิสก์เพียงเล็กน้อย เหมาะกับการนำไปใช้ใน Application แบบ Cloud Native และ Serverless เป็นอย่างมาก

เข้าร่วม Webinar ฟรีในครั้งนี้ เพื่อทำความรู้จักกับ Quakus ว่าถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร มีความสามารถอย่างไร และทำไม Quarkus จึงจะทำให้ Java กลับมามีบทบาทสำคัญอีกครั้งหนึ่งได้

การเข้าร่วมฟัง Webinar ครั้งนี้จะนำเสนอเป็นภาษาไทยโดยทีมงาน Red Hat ที่พร้อมตอบทุกคำถามที่เกี่ยวข้อง

ลงทะเบียนเข้าร่วม Webinar ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม TechTalk Webinar ในหัวข้อนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://events.redhat.com/profile/form/index.cfm?PKformID=0x162850abcd&sc_cid=7013a000002DgQgAAK#SessionAbstract โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/red-hat-webinar-microservices-for-java-with-quarkus/

ชวนเรียน Kubernetes ฟรีกับ VMware เป็นภาษาไทย พร้อมลุ้นรับ iPad ใน VMware Evolve Online 2020

หนึ่งในก้าวสำคัญของปี 2020 สำหรับ VMware นี้ก็คือการก้าวสู่ตลาด Enterprise Container อย่างเต็มตัวด้วยการรองรับ Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 อย่างเป็นทางการ และในงาน VMware Evolve Online 2020 ก็มีคลิปสอนเรื่องของ Kubernetes เป็นภาษาไทยโดยเฉพาะเพื่อให้เราได้เข้าไปเรียนรู้กันฟรีๆ ด้วยกันถึง 6 คอร์ส ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง และยังมีแล็บแห้งให้ได้ทดลองทำ พร้อมลุ้นรับรางวัลใหญ่อย่าง Apple iPad Pro 12.9″ โดยมีวิธีการเข้าร่วมรับชมดังต่อไปนี้

สมัครเข้าสู่งานสัมมนาออนไลน์ VMware Evolve Online 2020

สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนสมัคร VMware Evolve Online 2020 ต้องสมัครให้เรียบร้อยก่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ลงทะเบียนที่ https://evolve.vmware.com/register.html?src=em_5e5cdfe8e02fc โดยในช่องบนสุดจะมีการถามถึงการเลือกลง Session Live สดที่จะเกิดขึ้นใกล้ที่สุด ซึ่งสามารถเลือก Session ใดก็ได้ไม่ส่งผลใดๆ จากนั้นก็ทำการกรอกข้อมูลตามปกติ
  • เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว ระบบจะทำการสร้าง Account ให้และส่งอีเมล์มายืนยันตามข้อมูลที่ได้ทำการลงทะเบียน
  • สามารถเข้าสู่ระบบได้ที่ https://onlinexperiences.com/Launch/Event.htm?ShowKey=80190 โดยระบุอีเมล์ที่ได้ทำการลงทะเบียนเข้าไป ก็จะสามารถเข้าระบบได้ทันที

ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วม VMware Evolve Online 2020 แล้วจะมีสิทธิ์ร่วมกิจกรรมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ Apple iPad Pro, Apple Watch, Apple AirPods Pro และ Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 จากการเข้าชมเนื้อหาและทำแล็บรวมถึงร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงานสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้

วิธีการรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับ Kubernetes เป็นภาษาไทยจาก VMware

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่เนื้อหาดังนี้

  1. คลิกที่ปุ่ม “ภาคภาษาไทย” ด้านล่าง
  2. เลือกหัวข้อ App Modernization
  3. เลือกคลิปที่ต้องการฟัง แล้วกดปุ่ม On Demand

โดยสำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวกับ App Modernization นี้จะมีด้วยกันหลากหลายทีเดียว โดยแต่ละคลิปความยาวเพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น ดังนั้นนั่งฟังเพลินๆ ก็จบได้ในเวลาไม่นานครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Kubernetes ด้วยกันหลักๆ จะมีดังนี้ครับ

รู้จักกับแนวคิด App Modernization กันก่อน

สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีฝั่ง Container หรือ Kubernetes มาก่อนเลย และอยากทำความเข้าใจที่มาและความสำคัญของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ก่อน รวมถึงทำความรู้จักกับเบื้องต้นของการทำ DevOps, การทำ Continuous Delivery หรือสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ก็สามารถเริ่มต้นจากคอร์สเหล่านี้ได้ครับ

  • Introduction to App Modernization – Thai ปูพื้นฐานถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบ Application ไปเป็นรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจในอนาคต
  • Approaching App Modernization – Thai แนวทางการประเมินเรื่องการทำ App Modernization ว่าควรวางแผนอย่างไร พิจารณาประเด็นใดบ้าง เนื้อหาจะเป็นเชิงนโยบายและการบริหารมากกว่าจะลงเทคนิค
  • Peeking into Domain Driven Design – Thai การใช้แนวคิด Domain Driven Design เพื่อทำ App Modernization

เรียนรู้เทคโนโลยี Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7

สำหรับคนที่พอจะมีพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดเหล่านี้มาอยู่แล้ว ก็สามารถเรียนรู้เทคโนโลยี Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 กันได้เลย โดยมีหัวข้อที่แนะนำให้ชมดังนี้ครับ

  • vSphere 7 – Kubernetes in the Enterprise – Thai เล่าถึงความสำคัญของการใช้ Container และปูพื้นฐานของการใช้ Kubernetes ภายใน VMware vSphere 7 พร้อมรับชมตัวอย่างการใช้ Kubernetes จริง
  • vSphere 7 – Containers and Kubernetes for the VI Admin – Thai เล่าถึงการบริหารจัดการ Container และ Kubernetes สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีฝั่ง Virtualization มาก่อน
  • vSphere 7 – Resource Management for the Kubernetes Administrator – Thai การจัดการทรัพยากรสำหรับให้ Kubernetes นำไปใช้งาน และการออกแบบระบบ HA ให้กับ Application บน Kubernetes

ระบบเสียงอาจมีปัญหาบ้างเล็กน้อยนะครับ แต่โดยรวมก็ยังสามารถเรียนรู้เนื้อหาเหล่านี้ได้โดยไม่ติดขัดอะไรมากครับ

ทดลองทำแล็บ HOL-2013-01-ISM – vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab

เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบของ VMware Evolve Online 2020 ได้แล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้าไปสู่ Lightning Lab ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้

  1. เลือกหัวข้อ Hands-on Lab ที่ Menu ด้านบน
  2. Scroll เนื้อหาลงมายัง HOL-2013-01-ISM – vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab
  3. คลิก Run Lab Now

แล็บ vSphere 7 with Kubernetes – Lightning Lab นี้จะมีด้วยกันเพียงแค่ 17 ขั้นตอน มีเนื้อหาทั้งส่วนที่เป็นข้อความ, ภาพประกอบ และวิดีโอ ซึ่งสามารถเรียนรู้ให้จบได้ภายในเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น และผู้เรียนจะได้รู้ว่าการตั้งค่าเพื่อใช้งาน Kubernetes บน VMware vSphere 7 นั้นจะต้องอาศัย Parameter สำคัญส่วนใดในการทำงานบ้าง โดยในแล็บนี้เราจะได้ทำการทดลองติดตั้ง Supervisor Kubernetes Cluster บน VMware vSphere 7 และตั้งค่า Namespaces ให้กับระบบ

ในแล็บ vSphere 7 with Kubernetes นี้จะเป็นแบบ Lightning Lab ซึ่งจะต่างจากงานสัมมนาออนไลน์ของ VMware แบบเต็มตัวซึ่งใช้ Virtual Desktop ให้ได้ทดสอบระบบกันจริงๆ แต่ Lightning Lab นี้จะเป็น Lab แห้งที่จำลอง User Interface ของการตั้งค่าทั้งหมดมาให้เราได้ลองทำตามเป็นขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งก็มีข้อดีว่าสามารถทำแล็บให้จบได้ง่ายและรวดเร็ว เห็นภาพรวมได้ครบถ้วน แต่ก็อาจไม่สามารถลองทำการตั้งค่าหรือตรวจสอบสถานะของระบบเพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกได้มากนัก

ลุ้นรับรางวัลจากกิจกรรม Leaderboard

สำหรับผู้เข้าร่วมงาน VMware EVOLVE Online 2020 นี้ จะได้รับการสะสมคะแนนทุกๆ ครั้งที่มีการเข้าถึงเนื้อหาใดๆ ภายในงานหรือร่วมกิจกรรมภายในงาน และจะสามารถลุ้นรับ 4 รางวัลจาก VMware ได้แก่

  • Apple iPad Pro 12.9″ มูลค่า 1,000 เหรียญหรือราวๆ 30,000 บาท
  • Apple Watch Series 5 มูลค่า 440 เหรียญหรือราวๆ 13,200 บาท
  • Bang & Olufsen BeoPlay E8 2.0 True Wireless Earbuds มูลค่า 350 เหรียญหรือราวๆ 10,500 บาท
  • Apple AirPods Pro มูลค่า 250 เหรียญ หรือราวๆ 7,500 บาท

from:https://www.techtalkthai.com/free-kubernetes-on-vmware-courses-and-lab-on-vmware-evolve-2020/

Mirantis เข้าซื้อธุรกิจ Docker Enterprise จาก Docker ขยายฐานตลาด Enterprise Container

Mirantis ได้ออกมาประกาศถึงการเข้าซื้อธุรกิจในส่วนของ Docker Enterprise มาจาก Docker พร้อมฐานลูกค้าอีกกว่า 750 รายของ Docker Enterprise

Credit: Mirantis

Docker นั้นถือเป็นผู้ที่เข้ามาพลิกโฉมเปิดตลาด Container ในระดับโลก และส่งผลให้การพัฒนา Software ทั่วโลกนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ โดยโซลูชัน Docker Enterprise ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรโดยเฉพาะนั้นก็มีธุรกิจขนาดใหญ่ใช้งานอยู่มากถึง 750 ราย โดย 1 ใน 3 ของธุรกิจใน Fortune 100 และ 1 ใน 5 ของธุรกิจใน Global 500 นั้นต่างก็เลือกใช้งาน Docker Enterprise สำหรับระบบ Container ของตนเอง

การเข้าซื้อธุรกิจในส่วน Docker Enterprise ครั้งนี้ของ Mirantis จะเข้ามาช่วยเติมเต็มวิสัยทัศน์ของโซลูชัน Kubernetes-as-a-Service ที่จะทำให้นักพัฒนา Software ทั่วโลกนั้นมี Platform สำหรับรองรับ Application ของตนเองได้ด้วยประสบการณ์แบบเดียวกันทั้งบน Cloud และบน On-Premises

หลังจากการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้แล้วเสร็จ Mirantis จะได้รับผลิตภัณฑ์, สิทธิบัตร, ลูกค้า, พันธมิตร และพนักงานที่เกี่ยวข้องของ Docker Enterprise ไปทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมถึง Docker Enterprise Engine, Docker Trusted Registry, Docker Unified Control Plane และ Docker CLI โดย Mirantis นั้นจะนำองค์ความรู้ด้าน Kubernetes เข้าไปเสริมให้กับ Docker Enterprise และพัฒนาโซลูชันร่วมกันต่อไป และยังคงสนับสนุนลูกค้าทุกรายที่ใช้งาน Docker Enterprise ต่อไปด้วย

Mirantis ระบุว่าจะสนับสนุนการใช้งาน Docker Swarm ต่อไปอีกอย่างน้อยเป็นเวลา 2 ปี แต่วิสัยทัศน์หลักนั้นก็คือ Kubernetes ซึ่งทาง Mirantis นั้นกำลังพิจารณาในการทำให้การย้ายระบบจากการใช้ Docker Swarm มาสู่ Kubernetes นั้นง่ายดายยิ่งขึ้นในอนาคต

ที่มา: https://www.mirantis.com/blog/mirantis-acquires-docker-enterprise-platform-business/

from:https://www.techtalkthai.com/mirantis-acquires-docker-enterprise-from-docker/

TechTalk Webinar: การพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ด้วย Container Services บน AWS Cloud โดย AWS

TechTalkThai ขอเรียนเชิญเหล่า Software Engineer, IT Manager, Data Center Engineer, System Engineer, Cloud Engineer, DevOps Engineer และผู้ที่ดูแลระบบ Data Center ขององค์กร เข้าร่วมฟัง TechTalk Webinar ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ด้วย Container Services บน AWS Cloud โดย AWS” เพื่อเรียนรู้แนวทางการพัฒนา Application บนสถาปัตยกรรมแบบ Microservices ด้วยบริการด้าน Container ต่างๆ บน AWS เช่น Amazon ECS, Amazon EKS, AWS Fargate พร้อมสาธิตการใช้งานจริง ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2019 เวลา 14.00 – 15.30 น. โดยมีกำหนดการและวิธีการลงทะเบียนดังนี้

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: การพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ด้วย Container Services บน AWS Cloud โดย AWS
ผู้บรรยาย: คุณกิติศักดิ์ ศรีประเสริฐ, AWS Solution Architect, AWS และคุณพงษ์สันติ์ สายัมพล, AWS Solution Architect, AWS
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2019 เวลา 14.00 – 15.30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 100 คน
ภาษา: ไทย

การพัฒนาแอปพลิเคชั่นในปัจจุบันที่จำเป็นจะต้องส่งมอบตามกำหนดเวลาอย่างรวดเร็ว (time to market) อีกทั้งยังต้องสามารถรองรับการขยายตัวของผู้ใช้ให้ได้จำนวนมาก (scalability) การออกแบบแอปพลิเคชั่นแนวใหม่ให้เป็น Microservices ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Container บน Amazon Web Service cloud (AWS) ช่วยทำให้ระบบมีความสามารถในการรองรับความต้องการของลูกค้าได้ และช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของระบบให้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นสามารถบริหารจัดการระบบได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น สัมมนานี้จะมีการแนะนำบริการของ AWS เบื้องต้น อธิบายบริการบน AWS ที่เกี่ยวข้องกับ Container เช่น Amazon Elastic Container Service (ECS), Amazon Elastic Container service for Kubernates (EKS), Fargate และประโยชน์ที่ได้ รวมถึงมีการสาธิตใช้งานจริง

สัมมนาครั้งนี้เหมาะสำหรับ

  • นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยี Container
  • ผู้บริหารฝ่าย IT ที่กำลังมองหา platform/service ที่ช่วยให้ระบบมีความเสถียรภาพ High Availability และสามารถรองรับการขยายตัวได้ Scalability
  • ผู้สนใจที่อยากจะพัฒนาแอปพลิเคชั่นบน AWS Cloud

ลงทะเบียนเข้าร่วม TechTalk Webinar ได้ฟรี

ผู้ที่สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วม TechTalk Webinar ในหัวข้อนี้ได้ฟรีๆ ทันทีที่ https://zoom.us/webinar/register/WN_H_Yy_GKGQb-k8zJILEU2Mw โดยทีมงานขอความกรุณากรอกข้อมูลชื่อบริษัทด้วยชื่อเต็มของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการจัดการกับข้อมูลการลงทะเบียน

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-container-on-aws-cloud/