คลังเก็บป้ายกำกับ: HPE

HPE อัปเกรดระบบจัดการไอทีใหม่เป็นแบบ AI ด้วยการซื้อ OpsRamp

Hewlett Packard Enterprise (HPE) ได้เพิ่มแพลตฟอร์มจัดการระบบไอทีแบบ “AI” และแมชชีนเลิร์นนิ่ง เข้ามาในบริการคลาวด์ On-Premises แบบ Pay-Per-Use อย่าง GreenLake ด้วยการซื้อบริษัท OpsRamp

แพลตฟอร์มอัพเดทใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการบริการไอที พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของไฮบริดคลาวด์ ทั้งนี้ OpsRamp ถือเป็นหนึ่งในทูล AI ยอดนิยมของ MSP ในการนำมาช่วยจัดการด้านบริการไอทีให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ

โดยล่าสุด OpsRamp ก็ได้คะแนนเต็ม 5 ดาวในรายงาน 2022 Partner Program Guide ของสำนักข่าว CRN ด้วย ทางด้าน David Stinner ผู้ก่อตั้งและประธานของ US itek ที่เป็น MSP ในกรุงนิวยอร์ก ยังกล่าวว่า “นี่เป็นจุดเปลี่ยนของ HPE และ GreenLake ที่ยิ่งใหญ่มาก”

“ในที่สุด HPE ก็พบผู้จำหน่ายที่สามารถเอาเข้ามาตอบสนองความต้องการได้อย่างครบวงจร ทั้งกับองค์กรต่างๆ และลูกค้าที่เป็นระดับ MSP ทำให้ HPE กลายเป็นเวนเดอร์สำหรับ MSP ที่น่าจับตามองมาก แข่งกับแพลตฟอร์ม AI อื่นที่ MSP ใช้กันอยู่อย่าง MSPbots.ai ได้เลย”

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – crn

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-gets-ai-based-it-management-boost-with-opsramp-acquisition/

Advertisement

HPE ซื้อกิจการ OpsRamp สตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม IT Operations Management

HPE หรือ Hewlett Packard Enterprise ประกาศซื้อกิจการ OpsRamp สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม IT operations management (ITOM) ที่ช่วยตรวจสอบและจัดการ Infrastructure, Workload และแอป ที่ทำงานบนไฮบริดคลาวด์ ตลอดจนมัลติคลาวด์

Fidelma Russo ซีทีโอ HPE พูดถึงดีลดังกล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าของ HPE รันและบริหารจัดการบนคลาวด์ที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละคลาวด์ก็จะมีเครื่องมือจัดการเฉพาะตัว ทำให้นอกจากพบปัญหาความซับซ้อนแล้ว ต้นทุนไลเซนส์เครื่องมือจัดการก็แพงขึ้นตามมาด้วย การรวมกันของ OpsRamp และ HPE จะช่วยลดปัญหานี้ เนื่องจากรองรับตั้งแต่ระดับ Edge จนถึงคลาวด์ รวมถึงรองรับการทำงานแบบมัลติคลาวด์

ดีลดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่า โดย HPE จะนำเครื่องมือของ OpsRamps เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม GreenLake ตลอดจนโซลูชันต่าง ๆ ของบริษัท ส่วนบริการ OpsRamps ยังคงให้บริการแบบ as-a-service แยกเฉพาะต่อไปด้วย

ที่มา: HPE

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133089

HPE เข้าซื้อกิจการ OpsRamp ผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring

Hewlett Packard Enterprise Co. ประกาศเข้าซื้อกิจการ OpsRamp Inc. บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring

Credit: ShutterStock.com

HPE ยังคงเดินหน้าเข้าซื้อกิจการอย่างต่อเนื่อง นับเป็นครั้งที่ 4 ในปีนี้ที่ HPE ได้เข้าซื้อกิจการ โดย OpsRamp เป็นผู้พัฒนาระบบ Infrastucture Monitoring ซึ่งใช้ในการบริหารจัดการระบบ Cloud Environment ได้หลากหลาย รองรับการสร้างระบบ Health System และแจ้ง Alert เมื่อมีการทำงานผิดพลาด มีจุดเด่นคือการกรอง Alert ที่แจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบให้เหลือน้อยที่สุดผ่านการใช้งาน AI ซึ่งจะแจ้งเตือนถึงสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ช่วยลด Alert ที่ไม่จำเป็นลงได้ 95% นอกจากนี้ยังมีระบบ Workflow Automation ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถเขียน Script เพื่อจัดการ Maintenance Task ต่างๆได้

ปัจจุบัน OpsRamp มีลูกค้ามากกว่า 1 พันราย โดย HPE นั้นก็เป็นหนึ่งในลูกค้าและนักลงทุนของ OpsRamp อีกด้วย การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และ HPE จะนำ OpsRamp เข้าเป็นส่วนหนึ่งใน HPE GreenLake ซึ่งมีบริการทางด้าน Data Center System และ Software Tools ที่หลากหลาย ให้บริการแบบ Pay-as-you-go ที่ผ่านมา HPE Green Lake มีลูกค้าแล้วกว่า 65,000 รายทั่วโลก ทำรายได้แบบ Recurring Revenue ได้มากกว่า 1 พันล้านเหรียญแล้ว

ที่มา: https://siliconangle.com/2023/03/20/continuing-acquisition-spree-hpe-buys-infrastructure-monitoring-startup-opsramp/

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-acquires-opsramp-infrastucture-monitoring-provider/

HPE GreenLake ออกอัปเดตใหม่ ตอบโจทย์ Edge-to-Cloud ด้วยโซลูชันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ HPE GreenLake บริการระบบ Hybrid Cloud แบบ Consumption-based จาก HPE ได้เปิดตัวและทำตลาดทั่วโลกมาได้ระยะหนึ่ง ทุกวันนี้ HPE GreenLake นั้นก็มีธุรกิจองค์กรใช้งานมากกว่า 65,000 แห่งแล้ว โดยครอบคลุมการให้บริการอุปกรณ์มากกว่า 2 ล้านรายการ และมีข้อมูลที่ถูกจัดเก็บประมวลผลมากกว่า 1 Exabyte เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

จากความสำเร็จดังกล่าวนี้ HPE จึงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนา HPE GreenLake ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการเปิดตัวนวัตกรรมและโซลูชันใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุด HPE ก็ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ ให้กับ HPE GreenLake มากถึง 5 บริการ ดังนี้

1. เปิดตัว HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise สำหรับงาน DevOps และ CI/CD โดยเฉพาะ

HPE ได้จับมือกับ AWS เพื่อนำบริการ Amazon Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) Anywhere มารองรับบน HPE GreenLake ทำให้ธุรกิจองค์กรสามารถก้าวสู่การทำ Multi-Cloud ได้ด้วย Amazon EKS Anywhere ที่ติดตั้งและทำงานอยู่ภายใน Private Cloud ขององค์กรบน HPE GreenLake ช่วยให้การบริหารจัดการและการดูแลรักษาระบบ Kubernetes เป็นไปได้อย่างราบรื่นด้วยประสบการณ์เดียวกับการใช้งาน Amazon EKS บน Cloud โดยสามารถควบคุมการใช้งานทรัพยากรของระบบได้ตามต้องการ

แนวทางนี้จะช่วยให้เหล่า Software Developer ภายในองค์กรที่มีการใช้งาน Amazon EKS เป็นหลักนั้น สามารถวางระบบ CI/CD อย่างไร้รอยต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Software บน HPE GreenLake หรือ AWS และทำการ Deploy ระบบบนทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ขององค์กรได้ตามต้องการ อีกทั้งยังสามารถผสานนำเครื่องมือต่างๆ สำหรับเสริมการทำงานของ Kubernetes มาใช้งานบน HPE GreenLake ได้อย่างอิสระอีกด้วย

2. เพิ่ม Workload-Optimised Instance ใหม่ 6 รายการ รองรับการใช้งานที่สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น

เพื่อให้ HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise รองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ทาง HPE จึงได้ทำการออกแบบ Instance ใหม่สำหรับรองรับ General Workload เพิ่มเติมอีก 6 รายการ ทำให้ธุรกิจองค์กรมีทางเลือกมากยิ่งขึ้นในการสร้าง VM Instance ที่เป็นมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้งาน ภายใต้ราคากลางที่ประเมินค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ง่าย และคิดค่าใช้จ่ายการใช้งานแบบ Consumption-based

3. เปิดตัว HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform และ HPE GreenLake for VMware ตอบโจทย์ Container และ Kubernetes ในระดับธุรกิจองค์กร

สำหรับธุรกิจองค์กรจำนวนมากที่เริ่มมีการใช้งาน Red Hat OpenShift ภายในระบบ ทาง HPE GreenLake ก็ได้ตอบโจทย์นี้ด้วยการเปิดตัวโซลูชัน HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถใช้งาน Red Hat OpenShift ภายใน Private Cloud ของตนเองได้ในแบบ Consumption-based อย่างเต็มศักยภาพ และสามารถก้าวสู่ภาพของ Hybrid Multi-Cloud ได้ทันทีที่ต้องการ

ข้อดีของการใช้ HPE GreenLake for Red Hat OpenShift Platform นี้ก็คือการรองรับการเพิ่มขยายของระบบ Container บน Red Hat OpenShift ได้อย่างอิสระ ซึ่งมักจะเป็นธรรมชาติของการพัฒนา Cloud-Native Application ในระดับธุรกิจองค์กรที่ต้องการเพิ่มขยายหรือลดขนาดของระบบได้ตลอดเวลา ช่วยให้การพัฒนานวัตกรรมหรือบริการใหม่ๆ สำหรับลูกค้าของธุรกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ

นอกจากนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว ทาง HPE ก็ยังได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for VMware ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้ธุรกิจองค์กรที่เดิมทีใช้งาน VMware Cloud เป็นระบบ Private Cloud ภายในองค์กรสามารถย้ายมาสู่การใช้งานแบบ Comsumption-based ได้อย่างเต็มตัวทั้งในระดับของ Software และ Hardware ซึ่งสามารถใช้งานได้บนทุกโซลูชันของ HPE GreenLake รวมถึง HPE GreenLake for Private Cloud Enterprise ด้วย

4. การปรับปรุง Consumption Analytics ใหม่ รองรับการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำหรับ Cloud หรือ Cloud Cost Management นั้นได้เริ่มกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ธุรกิจองค์กรให้ความสนใจ และ HPE GreenLake ก็ได้ทำการออกอัปเดตปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อเร่งตอบโจทย์ดังกล่าวให้กับธุรกิจองค์กรได้อย่างครบวงจรด้วยระบบ Cosumption Analytics ใหม่ที่ครอบคลุมไปถึงการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่าย พร้อมข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผู้ให้บริการ Public Cloud ชั้นนำ 3 ราย ได้แก่ Microsoft Azure, AWS และ Google Cloud Platform (GCP) ส่งผลให้ธุรกิจองค์กรที่ใช้งาน HPE GreenLake นั้นสามารถทำการประเมินและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้บนทั้ง HPE GreenLake เอง และบนผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำได้ภายในหน้าจอเดียว ช่วยให้กลยุทธ์ของการทำ Hybrid Multi-Cloud มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. เปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ในแบบ Early Access

สุดท้าย สำหรับตอบโจทย์การใช้งาน HPE GreenLake เพื่อรองรับระบบ AI, Big Data และ Analytics โดยเฉพาะ ทาง HPE จึงได้ทำการเปิดตัว HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics ซึ่งได้ผสานรวมโซลูชันในการทำ Data Management และ Data Analytics เอาไว้อย่างครบวงจร สามารถผสานรวมข้อมูลจาก Multi-Cloud, On-Premises และ Edge เอาไว้ในแบบรวมศูนย์ และสร้างคุณค่าใหม่ๆ จากข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยภายใน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ยังเปิดให้ธุรกิจองค์กรทำการติดตั้งใช้งานเครื่องมือจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลในแบบ Open Source Software ได้ตามต้องการ ทำให้สามารถรองรับทั้งการทำ Data Engineering, Data Analytics และโครงการ Data Science หรือวาง DataOps ได้ในระบบเพียงหนึ่งเดียว

โซลูชัน HPE GreenLake for Data Fabric and HPE Ezmeral Unified Analytics นี้ถือว่ามีความโดดเด่นและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะโซลูชันดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ธุรกิจองค์กรปรับกลยุทธ์ในการลงทุนด้าน AI และ Data มาสู่ Comsumption-based ภายใต้ Environment ที่ธุรกิจองค์กรต้องการได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกระบบ Storage ที่ต้องการ, การวาง Data Fabric ในรูปแบบที่เหมาะสม ไปจนถึงการกำหนด Computing Resource ทั้งในส่วนของ CPU และ GPU ได้ด้วยตนเอง โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายแบบ Consumption-based และมีความยืดหยุ่นในการเพิ่มขยาย Workload เพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของโครงการเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังสามารถประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ ต่างจากการใช้งานระบบรูปแบบเดียวกันนี้บน Public Cloud ที่ยากต่อการประเมินและวางแผน

สนใจ HPE GreenLake ติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน HPE GreenLake สามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางอีเมล์ mktmcc@metroconnect.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-greenlake-new-update-edge-to-cloud-more-use-cases/

รู้จัก HPE Zerto: โซลูชันสำรองข้อมูลยุค Hybrid Multi-Cloud ที่รองรับ RPO ได้ในหลักวินาที และ RTO ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

การสำรองและกู้คืนข้อมูลนั้นได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากแนวโน้มของการทำ Digital Transformation ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันไปแล้ว ในขณะที่ภัยคุกคามใหม่ๆ ในปัจจุบันอย่างเช่น Ransomware นั้นก็มุ่งไปที่การทำลายข้อมูล หรือการขโมยข้อมูลของธุรกิจด้วยการเจาะโจมตีระบบอย่างซับซ้อนมากขึ้นในทุกๆ วัน

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถตอบรับต่อโจทย์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการที่ข้อมูลของธุรกิจถูกทำลายให้เหลือน้อยที่สุด HPE จึงได้เข้าซื้อกิจการของ Zerto ผู้พัฒนาโซลูชันด้านการสำรองข้อมูลยุคใหม่ และนำมาให้บริการ ตอบโจทย์การสำรองข้อมูลสำหรับโลกยุค Hybrid Multi-Cloud ในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะ

บทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโซลูชัน HPE Zerto ว่ามีจุดเด่นใดที่เหนือกว่าโซลูชันสำรองข้อมูลอื่นๆ บ้าง? และธุรกิจองค์กรจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในระบบ IT เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญของธุรกิจได้อย่างไร?

รู้จักกับภาพรวมของ HPE Zerto

เดิมที Zerto นั้นคือธุรกิจ Startup ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันด้านการสำรองข้อมูลสำหรับ Virtualization และ Cloud โดยเฉพาะ ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2009 จนได้รับการระดมทุนและเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยแนวคิดของโซลูชันการสำรองข้อมูลในแบบ Software เป็นหลัก ง่ายต่อการใช้งาน และรองรับการสำรองข้อมูลได้ในระบบ IT Infrastructure ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโซลูชัน Virtualization หรือ Cloud ชั้นนำ อีกทั้งยังได้บุกเบิกตลาด Managed Service Provider ด้านการสำรองข้อมูลอย่างจริงจังเป็นรายแรกๆ อีกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2020 ทาง Zerto เองก็ได้ขยายขอบเขตความสามารถในการสำรองข้อมูลไปสู่โลกของ Container เพิ่มเติม และในปี 2021 ก็ได้มีการจับมือกับ Keepit เพื่อนำเสนอโซลูชันการสำรองข้อมูลสำหรับ SaaS ด้วย ทำให้การสำรองข้อมูลของ Zerto นั้นมีความครอบคลุม ตอบโจทย์การใช้งานของภาคธุรกิจองค์กรมากยิ่งขึ้น

HPE นั้นได้ทำการเข้าซื้อกิจการของ Zerto จนแล้วเสร็จในช่วงปี 2021 ด้วยมูลค่าที่สูงกว่า 10,000 ล้านบาท

ปัจจุบันโซลูชันของ Zerto มีลูกค้าภาคธุรกิจองค์กรใช้งานอยู่มากกว่า 9,500 รายทั่วโลก และให้บริการร่วมกับ Managed Service Provider มากกว่า 350 ราย โดยรองรับการสำรองข้อมูลจากระบบดังต่อไปนี้

  • Virtualization & Container: VMware vSphere, VMware Tanzu, Microsoft Hyper-V, Red Hat OpenShift, Microsoft Azure Kubernetes Service, Amazon Elastic Kubernetes Service, Google Kubernetes Engine, IBM Cloud Kubernetes Engine
  • IaaS Cloud: VMware Cloud Director, Google Cloud VMware Engine, IMB Cloud for VMware Solutions, Microsoft Azure VMware Solution, Oracle Cloud VMware Solution
  • SaaS Cloud: Microsoft 365, Microsoft Dynamics 365, Salesforce, Google Workspace, Azure Active Directory

จะเห็นได้ว่า Zerto นั้นมุ่งเน้นที่การสำรองข้อมูลของโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับ VMware, Kubernetes และ SaaS ชั้นนำที่ธุรกิจองค์กรมักเลือกใช้งานเป็นหลัก ทำให้การเติบโตในภาคธุรกิจองค์กรนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว

แนวทางการสำรองข้อมูลของ HPE Zerto ที่แตกต่างจากโซลูชันสำรองข้อมูลอื่นๆ

นอกเหนือจากความครอบคลุมในการสำรองข้อมูลของ HPE Zerto แล้ว อีกประเด็นสำคัญที่ทำให้ Zerto มีความแตกต่างจากผู้พัฒนาโซลูชันด้านการสำรองข้อมูลรายอื่นๆ นั้นก็คือแนวทางและเทคโนโลยีที่ใช้ในการสำรองข้อมูล ดังนี้

1. Continuous Data Protection

HPE Zerto นั้นใช้แนวคิดในการสำรองข้อมูลในแบบ Always-On, Near-Synchronous Replication ในการบันทึกข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจากแต่ละระบบมาทำการสำรองไว้ ทำให้ข้อมูลที่สำรองเอาไว้มีการอัปเดตอย่างต่อเนื่องในหลักวินาที โดยที่ไม่ต้องมีการกำหนดตารางเวลาการสำรองข้อมูล, ไม่ต้องมีการทำ Snapshot, ไม่ต้องติดตั้ง Agent และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบ Production แต่อย่างใด

แนวทางดังกล่าวนี้ถือว่าแตกต่างจากแนวทางของโซลูชัน Backup อื่นๆ เป็นอย่างมากที่จะทำการสำรองข้อมูลเป็นรอบๆ จากระบบ Production ซึ่งมักส่งผลกระทบเชิงประสิทธิภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งยังยากต่อการวางแผนกำหนดตารางเวลาการสำรองข้อมูล

ด้วยเหตุนี้ แนวทางของ HPE Zerto นี้จึงต้องมีแนวคิดในการออกแบบ Network Bandwidth และ Hardware ที่แตกต่างออกไปจากโซลูชันการสำรองข้อมูลอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจและเข้าใจได้ง่าย วางแผนเพิ่มขยายระบบหรือรองรับการสำรองข้อมูลจากระบบใหม่ๆ ได้อย่างไม่ซับซ้อน

2. Journal-Based Recovery

ด้วยการสำรองข้อมูลอย่างต่อเนื่องข้างต้น ทำให้การกู้คืนข้อมูลของ HPE Zerto เองก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยแนวคิด Journal-Based Recovery ทำให้สำรองข้อมูลมีค่า Recovery Point Objective (RPO) ในหลักวินาที และในการกู้คืนข้อมูลนั้นมีค่า Recovery Time Objective (RTO) ในหลักนาที

คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ข้อมูลของธุรกิจเสียหายและต้องทำการกู้คืน ธุรกิจจะได้รับข้อมูลล่าสุดก่อนที่ข้อมูลจะเสียหายในหลักวินาทีกลับมา และใช้เวลาในการกู้คืนข้อมูลเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ทำให้สามารถตอบโจทย์การเสริมสร้างความมั่นคงให้กับข้อมูลได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ HPE Zerto ยังรองรับการทำ Offsite Copy นำข้อมูลสำรองไปจัดเก็บภายนอกโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ช่วยเสริมความมั่นคงอีกระดับ รับมือกับ Ransomware ที่ปัจจุบันมักมีการโจมตีระบบ Backup ได้ด้วยอีกทางหนึ่ง

3. Application-Centric Protection

การสำรองข้อมูลแบบ Near-Synchronous Replication ของ HPE Zerto นี้จะมีการบันทึกลำดับการเขียนข้อมูลเอาไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นไม่ว่าการสำรองจะเกิดขึ้นกับ VM เดียว หรือระบบ Kubernetes ที่มี Container จำนวนมากทำงานร่วมกัน และทำงานอยู่บน VM หรือ Hardware คนละชุด ลำดับของข้อมูลก็จะยังคงถูกต้องเสมอ ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อกู้คืนข้อมูลมาแล้ว ข้อมูลชุดนั้นจะถูกนำไปใช้บนระบบ Production ได้โดยไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในระดับ Application

4. Hybrid & Multi-Cloud Agility

โซลูชันของ HPE Zerto ถูกพัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานสำหรับ Hybrid Multi-Cloud เป็นหลัก ทำให้สามารถเพิ่มขยายได้ง่ายและปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น สามารถย้าย Workload ระหว่าง On-Premises กับ Cloud ได้อย่างไร้รอยต่อ อีกทั้งยังสามารถทำ One-to-Many Replication เพื่อสำรองข้อมูลไปยังหลายระบบ Cloud พร้อมๆ กันได้อีกด้วย

5. Orchestration, Automation & Analytics

ในการสำรองข้อมูล, ตรวจสอบ, ทดสอบ และกู้คืนนั้น HPE Zerto มีเครื่องมือในการทำงานเหล่านี้แบบอัตโนมัติให้พร้อมใช้งาน และสามารถผสานระบบร่วมกับระบบอื่นๆ ได้ ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย รองรับระบบขนาดใหญ่ได้ดี

6. Simplicity at Scale

หน้าจอบริหารจัดการของ HPE Zerto นั้นถูกออกแบบมาให้มีประสบการณ์การใช้งานเสมือนกับเป็นระบบสำหรับผู้ใช้งานในระดับ Consumer ทำให้ผู้ดูแลระบบ IT สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ง่ายและดูแลระบบได้ด้วยตนเอง รองรับการปกป้องข้อมูลจาก VM, Container และ Cloud นับพันได้จากหน้าจอเดียว

ธุรกิจองค์กรจะประยุกต์ใช้ HPE Zerto เพื่อสำรองข้อมูลจากระบบใดได้บ้าง?

เนื่องจากโซลูชันของ Zerto นั้นเป็นแบบ Software-based จึงมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

  • Perpetual ซื้อ License สำหรับติดตั้งใช้งานเองภายในระบบ IT Infrastructure ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นแบบ Data Center หรือ Cloud Edition
  • HPE GreenLake for Disaster Recovery ใช้งาน HPE Zerto ในแบบ Managed Services ที่มาพร้อมกับ Hardware ชั้นนำจาก HPE โดยคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง
  • Zerto Backup for SaaS บริการ SaaS สำหรับสำรองข้อมูลของบริการ SaaS ชั้นนำ ที่เริ่มต้นใช้งานได้โดยไม่ต้องติดตั้งระบบด้วยตนเอง คิดค่าใช้จ่ายแบบ Subscription-based

สนใจ HPE Zerto ติดต่อทีมงาน Metro Connect ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจโซลูชัน HPE Zerto สามารถติดต่อสอบถามและขอรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางอีเมล์ mktmcc@metroconnect.co.th  และลงทะเบียนเพื่อทดสอบ Free Hands-on Lab ได้ที่ https://www.zerto.com/labs

from:https://www.techtalkthai.com/hpe-zerto-hybrid-multi-cloud-backup-in-time-your-rto-rpo/

[NCSA THNCW 2023] To Prevent Last Line of Defense / Edge to Cloud Security โดย HPE

หลายปีที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินหัวข้อที่พูดถึงเรื่องทำนองว่า Edge นั้นสำคัญกว่าที่เคย แต่นับวันประเด็นนี้เริ่มซับซ้อนมากขึ้นทุกที จากหลายความท้าทายที่ก่อตัวทับถมกันจนเกิดเป็นช่องว่างที่ยากจะแก้ไขหากไร้การวางแผนไว้ก่อน อย่างไรก็ดีนอกจากการป้องกันที่ระดับขอบเขตของเครือข่ายแล้ว สุดท้ายผู้ปฏิบัติงานในสายไอทีโดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ด้านความมั่นคงปลอดภัยคงเข้าใจดีว่าไม่มีอะไรที่ 100% ดังนั้นคำถามคือแนวป้องกันสุดท้ายขององค์กรควรอยู่ที่ใด 

ในงานมหกรรมนิทรรศกาลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติที่ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา HPE จึงได้มาให้ความรู้กับผู้ฟังในความท้าทายของ Edge และแนวป้องกันสุดท้าย พร้อมกับไอเดียในการวางแผนรับมือ ทั้งนี้สำหรับใครที่อาจจะพลาดช่วงหัวข้อนี้ไปก็สามารถติดตามบทความสรุปจากทางทีมงาน TechTalkThai ที่ได้หยิบยกประเด็นสำคัญมาให้ได้อัปเดตกันอีกครั้ง

Edge to Cloud Security

สถานการณ์ของวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมต่างๆได้ยกระดับให้ความมั่นคงปลอดภัยที่ระดับ Edge กลายเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ปัจจัยแรกคือหากเราพิจารณาถึงการไปคลาวด์ท่านอาจจะพบว่ามีการใช้งานคลาวด์ขององค์กรแฝงอยู่มากมาย ไม่ใช่แค่เซิร์ฟเวอร์ที่ย้ายไปบนนั้นแต่ยังรวมถึง SaaS เช่น Dropbox, Microsoft 365, Google Cloud และอื่นๆ 

ปัจจัยที่สองคือ IoT ซึ่งประเด็นหลักคืออุปกรณ์จำพวกนี้มีทรัพยากรต่ำ ไม่มีระบบปฏิบัติการที่รองรับการทำงานขั้นสูงโดยเฉพาะงานด้านความมั่นคงปลอกภัย สาเหตุมาจากวัตถุประสงค์ที่ต้องคล่องตัว ราคาถูก และใช้พลังงานให้น้อยที่สุด ซึ่งอุปกรณ์ที่สังเกตได้ง่ายในองค์กรเช่น ปริ้นเตอร์ voIP กล้องวงจรปิด ยังไม่นับรวมเซนเซอร์จำนวนมหาศาลที่ท่านอาจมองข้ามไป

ปัจจัยสุดท้าย คือการทำงานจากที่ใดก็ได้ ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นวิถีปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นปกติแล้ว ทั้งนี้ความท้าทายสำคัญคือจะทำอย่างไรให้องค์กรของท่านสามารถบังคับหรือควบคุมการทำงานเหล่านี้ให้เป็นไปอย่างมั่นใจ เฉกเช่นเดียวกับระบบการทำงานที่เคยอยู่เพียงแค่ในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะมองได้ถึงการติดตั้งการป้องกันระดับ Endpoint  แต่เชื่อได้แค่ไหนว่าทุกอุปกรณ์นั้นปลอดภัย โดยเฉพาะอุปกรณ์ส่วนตัวที่นำมาใช้ทำงาน ด้วยเหตุนี้เอง Edge ที่มีความเข้มแข็งด้านความมั่นคงปลอดภัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

Framework ของการทำ Zero Trust มีอยู่หลายขั้นตอน แต่หนึ่งในเสาหลักสำคัญก็คือสิ่งที่เรียกว่า Zero Trust Network Access (ZTNA) โดยจุดเริ่มแรกก็คือองค์กรจำเป็นที่จะต้อง ‘มองเห็น’ สิ่งที่มีอยู่ในองค์กรเสียก่อน การพิสูจน์ตัวตนจึงตามมา พร้อมกับกำหนดมาตรการเข้าถึงอย่างตรงบทบาทหน้าที่ ซึ่ง HPE Aruba มีโซลูชันที่ช่วยตอบโจทย์การทำ ZTNA ได้อย่างครบเครื่อง

ณ จุดแรกโซลูชันของ Aruba นั้นสามารถแยกแยะได้ว่าผู้ใช้ หรืออุปกรณ์ที่เข้ามานั้นเป็นอะไร โดยเฉพาะกลุ่มของ IoT ที่ต้องตอบคำถามสำคัญคืออุปกรณ์นั้นเป็นอุปกรณ์อะไร ยี่ห้อไหน จากนั้นก็จะอาศัยความสามารถในการพิสูจน์ตัวตนผ่าน Clearpath หรือ CloudAuth และจากประเด็นของ IoT ที่ไม่มีความสามารถเหมือนอุปกรณ์อื่น ทำให้ภาระสำคัญตกมาอยู่ที่ตัว Edge ที่ต้องมองเห็นและรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เชื่อมต่อคือ IoT เพื่อการกำหนด Policy ได้อย่างเหมาะสมต่อไป ไม่เพียงเท่านั้นการทำ Policy ที่ดีต่อ User Experience คือไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่สถานที่ใด ผ่านเครือข่าย LAN หรือ Wireless ก็ควรต้องได้รับ Policy เดียวกัน

ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นหัวใจสำคัญที่พลาดไม่ได้ โดยเฉพาะรูปแบบที่ผู้คนวิ่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปหาจุดหมายปลายทางไม่ว่า จะเป็นเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ เซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร หรือสาขาที่ต้องไปออกไปหาศูนย์ใหม่ ทั้งหมดนี้สามารถตอบโจทย์ได้ผ่านโซลูชัน Aruba SD-WAN ที่รองรับการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ การันตีคุณภาพของบริการ และรู้จักกับบริการ SaaS ต่างๆในท้องตลาด ตลอดจนความสามารถในการ Integrate ตัวเองเพื่อทำงานร่วมกับอุปกรณ์ค่ายอื่นตอบสนองการทำงานแบบอัตโนมัติ

To Prevent Last Line of Defense

ประเด็นของแนวป้องกันระดับองค์กรคงไม่ได้อยู่ที่เพียง Edge หรืออุปกรณ์รอบนอกเพียงอย่างเดียว เนื่องจากสุดท้ายแล้วการที่ไม่มีอะไรปลอดภัย 100% กลายเป็นการบ้านที่ผู้ดูแลระบบในทุกองค์กรต้องมาตีโจทย์ว่าอะไรคือแนวป้องกันสุดท้ายที่ท่านควรจะมี ซึ่งคำตอบเหล่านี้ก็ย้อนกลับมาที่จุดเดียวนั่นก็คือ ‘ข้อมูล’

จุดสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเสียหายได้อย่างมากก็คือข้อมูลนั่นเอง โดยเฉพาะหากเรามองไปถึงปัญหาเรื่องแรนซัมแวร์ ที่คนร้ายไม่เพียงแค่เข้ารหัสข้อมูลที่ใช้อยู่เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงข้อมูลสำรองด้วยเช่นกัน และที่น่ากังวลก็คือท่านสามารถบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้ดีแค่ไหน เพราะหากพูดถึงความท้าทายมักมีนัยยะซ่อนอยู่ 2 เรื่องคือ ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าภายใต้กองข้อมูลมหาศาลนั้นข้อมูลที่เก็บเอาไว้สำคัญจริงหรือไม่ ประกอบกับข้อมูลเหล่านี้กระจายกันอยู่ที่ใดบ้าง ซึ่งองค์กรมักมีการใช้โซลูชันประกอบกันหลายตัวเพื่อแก้ปัญหาแต่ก็อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องการทำงานร่วมกันต่อไป

HPE Cohesity คือโซลูชันที่นำเสนอแนวทางการจัดการความท้าทายด้านข้อมูลอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปกป้องข้อมูล ความมั่นคงปลอดภัย การเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังสถานที่ต่างๆ พร้อมจำกัดการเข้าถึง และสุดท้ายคือการสกัดคุณค่าอันแท้จริงออกมาว่าข้อมูลมีความถูกต้องหรือมีคุณค่าอะไรแฝงอยู่ และนั่นคือการป้องกันด่านสุดท้ายที่ทุกองค์กรควรต้องมีการวางแผนรับมือครับ

from:https://www.techtalkthai.com/ncsa-thncw-2023-data-edge-cloud-security-by-hpe/

HPE ยกระดับระบบความปลอดภัยเครือข่ายด้วยการซื้อ Axis Security

HPE ออกมาประกาศเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาว่า ตนเองได้ซื้อกิจการของผู้ให้บริการความปลอดภัยผ่านคลาวด์ Axis Security ด้วยดีลที่เชื่อว่าสูงถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 17,000 ล้านบาท) ซึ่งคาดว่าน่าจะปิดดีลได้ภายในไตรมาสที่ 2 นี้

ทาง HPE กล่าวว่า การซื้อครั้งนี้จะช่วยขยายความสามารถที่ครอบคลุมจาก Edge ขึ้นไปสู่คลาวด์ได้ ผ่านโซลูชั่น Secure Access Service Edge (SASE) แบบยูนิฟายด์ เพื่อตอบความต้องการที่ผสานกันทั้งด้านเน็ตเวิร์กและความปลอดภัยที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง

Axis ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอลนนี้ ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์นาทีฟแบบ SASE ในชื่อ Atmos สำหรับยืนยันตัวตนผู้ใช้ที่เข้าถึงแอพพลิเคชั่นส่วนบุคคลที่ส่วนปลายของเครือข่าย” รวมทั้งเว็บเกตเวย์ และ Cloud Access Security Broker (CASB)

HPE จะเอาเทคโนโลยีของ Axis มาอยู่ในบริการความปลอดภัยเครือข่ายของ Aruba เพื่อให้การควบคุมความปลอดภัยทั้งบน WAN และบนคลาวด์ ไปจนถึงเครือข่าย Edge ของแอพพลิเคชั่น แทนที่จะเสียเวลาเราต์ข้อมูลเข้ามาที่ดาต้าเซ็นเตอร์

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-accelerates-network-security-drive-with-axis-security-acquisition/

HPE ซื้อกิจการซอฟต์แวร์ความปลอดภัย Axis Security – นำมาเป็นส่วนหนึ่งของ Aruba

HPE หรือ Hewlett Packard Enterprise ประกาศซื้อกิจการ Axis Security บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ความปลอดภัยบนคลาวด์จากอิสราเอล ซึ่ง HPE บอกว่าดีลนี้จะทำให้โซลูชันความปลอดภัย Secure Access Services Edge (SASE) รองรับความต้องการที่มากขึ้น จากการที่ลูกค้าทำงานแบบรีโมทมากขึ้น และมีการรันแอพพลิเคชันบนคลาวด์มากขึ้นเช่นกัน

ซอฟต์แวร์ความปลอดภัยของ Axis จะเข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม Aruba ของ HPE ในส่วนควบคุม SD-WAN และ Network Firewall ทำให้เป็นโซลูชันที่ครอบคลุมตั้งแต่ Edge จนถึง Cloud ควบคุมแบบ Zero Trust รองรับการเชื่อมต่อจากทุกที่และทุกอุปกรณ์

ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่เข้าซื้ออย่างเป็นทางการ

ที่มา: HPE

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132880

HPE รายงานผลประกอบการไตรมาส เติบโตทุกกลุ่มธุรกิจ: HPC & AI ทำสถิติสูงสุด

HPE หรือ Hewlett Packard Enterprise รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2023 สิ้นสุดเดือนมกราคม มีรายได้รวม 7,809 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 501 ล้านดอลลาร์ ส่วนตัวเลขรายรับต่อเนื่องรายปีหรือ ARR ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยไตรมาสนี้สูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์แล้ว

Antonio Neri ซีอีโอ HPE กล่าวว่าไตรมาสนี้บริษัทมีกำไรตามบัญชีแบบ non-GAAP สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 จากการเป็นผู้นำตลาดแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์ HPE GreenLake ตลอดจนแผนงานต่าง ๆ ที่ดำเนินงานได้ตามกลยุทธ์

รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจเป็นดังนี้ Intelligent Edge มีรายได้ 1,127 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 25%, กลุ่ม HPC & AI เพิ่มขึ้น 34% เป็น 1,056 ล้านดอลลาร์ เป็นสถิติสูงสุดที่เคยมีมา, Compute เพิ่มขึ้น 14% เป็น 3,456 ล้านดอลลลาร์ และสตอเรจ เพิ่มขึ้น 5% เป็น 1,187 ล้านดอลลาร์

ที่มา: HPE

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132879

HPE เตรียมรุกตลาด Private 5G ด้วยการซื้อ Athonet

HPE ประกาศว่าได้ซื้อกิจการของผู้ให้บริการเครือข่ายโมบายล์แกนหลักอย่าง Athonet แล้ว ถือเป็นความเคลื่อนไหวเพื่อการขยายความครอบคลุมเครือข่ายระดับองค์กร และเสริมแกร่งให้แพลตฟอร์ม Greenlake ของตัวเองด้วย

คาดว่าการได้ Athonet มานี้จะช่วยเสริมทัพผลิตภัณฑ์ด้าน Edge โดยเฉพาะ ยกระดับบริการเครือข่าย 5G ส่วนบุคคลระดับองค์กร และช่วยในการวางระบบสำหรับลูกค้าแบบ B2B ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์

เนื่องจากเหล่าผู้ให้บริการคลาวด์นี้จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโครงข่าย 4G และ 5G ส่วนตัวนี้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการโครงข่ายแบบอัตโนมัตินี้ HPE เองคาดว่าจะสามารถปิดดีลซื้อ Athonet ได้ภายในไตรมาสที่ 3

เทคโนโลยีของ Athonet น่าจะเข้ามาผนวกกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Aruba ของ HPE ทำให้ลูกค้าสามารถควบคุมระบบ 5G ส่วนตัวผ่านคอนโซลยูนิฟายด์ของ HP และใช้ประโยชน์ผ่านแพลตฟอร์ม AIOps ได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/hpe-eyes-private-5g-expansion-with-athonet-acquisition/