คลังเก็บป้ายกำกับ: SQL_SERVER

จ่ายให้แพงทำไม? วันนี้ Microsoft มีทางเลือกมากมายที่ให้คุณทำธุรกิจได้พุ่งทะยานในแบบที่ประหยัดมากกว่า

ในสภาพเศรษฐกิจที่ต้องบอกว่ายังเอาแน่เอานอนไม่ได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องพิจารณาในรายละเอียดให้ครอบคลุม วิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนก็คือพยายามลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้มากที่สุด เราจะทำอย่างไรให้การลงทุนทุกบาททุกสตางค์ของเราคุ้มค่า เราเชื่อว่าทุกวันนี้ใครก็อยากจ่ายน้อยแต่ได้มากกันทั้งนั้น สำหรับผู้ใช้งาน Microsoft วันนี้เราขอนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายจาก Microsoft ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประหยัดต้นทุนการทำงานได้มากขึ้น ประกอบด้วย Microsoft 365 Business Premium และแผน Bring Your Own License (BYOL) ของ Microsoft SQL Server และ VMware รวมถึงความคุ้มค่าจาก Power Platform จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลยครับ

ความปลอดภัยที่ครบ จบในตัว

องค์กรคงคุ้นเคยกับการซื้อ License ของ Microsoft 365 กันมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยมีการแบ่งแผนการใช้งานออกเป็นหลายระดับทั้งระดับส่วนบุคคล(Personal) สิทธิพิเศษสำหรับนักเรียน หรือการใช้งานในครอบครัว แต่ในระดับธุรกิจ Microsoft 365 จะมีการแบ่งตามขนาดธุรกิจเป็น 2 ระดับใหญ่คือ Business Plan สำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง(SME) และขนาดใหญ่(Enterprise) ซึ่งอย่างหลังนี้แอปจะเป็นมีความสามารถขั้นสูงระดับองค์กรอย่างแท้จริง ตอบโจทย์ความซับซ้อนของธุรกิจทั้งเรื่องฟังก์ชันและจำนวนพนักงาน

credit : Microsoft

ในบทความนี้เราจะโฟกัสเฉพาะแผน Business ซึ่งรองรับผู้ใช้งานได้สูงสุด 300 ท่าน ก่อนอื่นเลยมาวิเคราะห์กันก่อนว่าในเมื่อ Business มีหลายทางเลือกแล้วเหตุใดจึงต้องขยับไปใช้แผนสูงสุด จากภาพประกอบด้านบนจะเห็นได้ว่า Business Basic อาจจะยังไม่โดนใจสำหรับผู้ใช้งานที่คุ้นกับการใช้โปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องมากกว่า ดังนั้นทางเลือกต่อมาก็คือแผน Standard จึงน่าเป็นจุดตั้งต้นที่น่าดึงดูดให้หลายองค์กร แต่รู้หรือไม่ว่าความต่างด้านราคาเพียงไม่กี่เหรียญฯระหว่าง Premium นี้กลับช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล เนื่องจากรวบรวมเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยมาให้อย่างครบครันทำให้ไม่ต้องหาซื้อโซลูชันอื่นเข้ามาอีก ไม่ว่าจะเป็น Antivirus หรือซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการอุปกรณ์ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น เพราะยังช่วยให้แผนกไอทีของคุณทำงานได้ง่ายขึ้น สามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียว แถมยังไม่ต้องปวดหัวกับการต่อ Subscription จากหลายผู้ให้บริการอีกด้วย โดยฟีเจอร์ด้าน Security ที่ท่านจะได้รับมีดังนี้

1.) Microsoft Intune

โซลูชัน Microsoft Intune ถือเป็นหัวใจของ Business Premium เลยก็ว่าได้ โดยให้ความสามารถในเรื่องของ Mobile Device Management(MDM) และ Mobile Application Management (MAM) ซึ่งโซลูชันให้บริการในลักษณะของ Cloud-based นั่นหมายความว่าไม่จำเป็นต้องจัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ควบคุมขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่จะได้รับอีกมากมายเช่น

  • ทีมงานไอทีของธุรกิจสามารถสร้าง Policy เพื่อควบคุมเครื่องเดสก์ท็อป สมาร์ตโฟน หรือแทปเล็ต ที่ต้องการเข้ามาใช้งานในองค์กรได้ ครอบคลุมเครื่องทั้งที่เป็นเจ้าของโดยธุรกิจ หรือเครื่องของพนักงานที่นำเข้ามาเองด้วยการทำ Policy ที่แตกต่างออกไป โดย Policy ครอบคลุมทั้งเรื่องแอปพลิเคชัน การตั้งค่าอุปกรณ์ เงื่อนไขในการเข้าถึง Multi-factors Authentication(MFA) ซึ่งสามารถ Deploy ใช้งานได้อย่างอัตโนมัติอีกด้วย
  • สามารถสร้าง Default Image ของอุปกรณ์และ Deploy ได้ผ่านระบบคลาวด์แบบรีโมต 
  • ผนวกความสามารถในการควบคุมสิทธิ์และพิสูจน์ตัวตนได้กับ Azure AD แต่ในกรณีของการมี AD อยู่ที่ On-premise ก็รองรับการทำ Azure Sync เพื่อสร้างระบบแบบ Hybrid ได้
  • รองรับอุปกรณ์ได้หลายแพล็ตฟอร์มประกอบด้วย Android, Android Open Source Project (AOSP), iOS/iPadOS, macOS และ Windows 
  • กำหนดการใช้งานแอปพลิเคชันตามแต่องค์กรจะอนุมัติด้วยความสามารถของ App Store ที่ใช้ภายในองค์กรเท่านั้น
  • ลดงานของไอทีเนื่องจากผู้ใช้งานสามารถจัดการการใช้งานด้วยตัวเองได้ผ่าน Company Portal เช่น การรีเซ็ตรหัสผ่าน ติดตั้งแอป เข้าร่วมกลุ่ม และอื่นๆ ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบสามารถปรับแต่ง Company Portal ได้ตามต้องการ
  • แอดมินสามารถควบคุมและติดตามรายได้จากศูนย์กลางผ่านคลาวด์ ทั้งเรื่องแอปพลิเคชัน ข้อมูล และสิทธิการเข้าถึง 

2.) Microsoft Defender for Office 365 

Microsoft Defender for Office 365 หรือชื่อเดิมคือ Microsoft Office 365 ATP ได้มอบความสามารถที่ช่วยขจัดพื้นผิวการโจมตีมักที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่น อีเมลและไฟล์เอกสารที่ซ่อนมัลแวร์เข้ามาภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นแนวหน้าของการรับมือกับภัยคุกคามเลยก็ว่าได้ หากเจาะลึกภายในของโซลูชันมีฟีเจอร์โดดเด่นดังนี้

  • Safe Attachment และ Safe Links คือไอเดียของการทำ Sandbox ให้มัลแวร์รเผยพฤติกรรม เพื่อคัดกรองไฟล์แนบในอีเมลหรือลิงก์อันตรายที่หวังลวงผู้ใช้งานในองค์กร (Phishing) ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงไฟล์ที่หมุนเวียนใน OneDrive, SharePoint และ Teams ด้วย
  • ผู้ดูแลระบบสามารถเรียกดูรายงานและปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยได้แบบเรียลไทม์ หรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้น
  • กำหนด policy การใช้งานขององค์กรได้อย่างง่ายตามคำแนะนำ รวมถึงบังคับใช้งานได้อย่างอัตโนมัติ

3.) Microsoft Defender for Business

Microsoft Defender for Business คือโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับ Endpoint ที่ถูกออกแบบมาสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางโดยเฉพาะ ดังนั้นการตั้งค่าของแอดมินถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายผ่าน Wizard อย่างเป็นขั้นเป็นตอนพร้อมกับ Policy ตั้งต้นที่ถูกออกแบบไว้พร้อมแล้ว รวมถึงมีคำแนะนำในการปฏิบัติการต่างๆด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูล Insight ของ Endpoint ภายใต้การดูแลเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ดี Defender for Business ยังรองรับแพลตฟอร์มได้หลากหลายทั้ง Windows, macOS, iOS และ Android 

4.) Microsoft Defender for Cloud

Microsoft Defender for Cloud คือการผนึกกำลังกันระหว่างโซลูชัน Cloud Security Posture Management(CSPM) และ Cloud Workload Protection Platform(CWPP) ซึ่งส่วนแรกมองถึงการตั้งค่าของคลาวด์ว่าทำได้อย่างรัดกุมหรือไม่ โดยจะมีระบบการให้คะแนนที่เทียบกับธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เมื่อทราบความเสี่ยงแล้วท่านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น ในส่วนของ CWPP มองถึงการป้องกัน Workload ซึ่งอาศัยพลังของ Threat Intelligence เพื่อรับมือกับภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรของท่าน อย่างไรก็ดี Defender for Cloud ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ Azure เท่านั้นแต่ยังรองรับข้ามคลาวด์ค่ายอื่นได้เช่น AWS และ GCP หากผู้ใช้งานทำการเชื่อมต่อบัญชีของ AWS มายัง Azure Subscription ความสามารถของ Defender for Cloud ก็จะสามารถข้ามไปตรวจสอบการทำงานเหล่านั้นได้ 

5.) Azure AD Premium

เราทราบกันดีถึงความสามารถของ Active Directory ที่ใช้กันมานาน แต่เมื่อการทำงานเข้าสู่ยุคของคลาวด์ Azure AD จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานสมัยใหม่ ทั้งนี้เมื่อประกอบความสามารถเข้ากับ Intune องค์กรจะสามารถรองรับการ Join Domain เพื่อบริหารจัดการอุปกรณ์ Mobile ได้ นอกจากนี้ Azure AD ยังรองรับระบบอื่นที่นอกเหนือจาก Windows ด้วย อย่างไรก็ดีสิ่งที่ลูกค้า Microsoft 365 Business Premium จะได้รับคือ Azure AD Premium ที่มีความสามารถเหนือกว่าเดิมเช่น การทำงานแบบ Hybrid ทรัพยากรทั้งคลาวด์และ On-premise หรือเครื่องมือบริหารจัดการขั้นสูงของแอดมินอย่าง Dynamic Group, Self-service Group Management, Microsoft Identity Manager และ Cloud Write-back เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างความเป็น Conditional Access อย่างแท้จริงด้วยการรองรับทางเลือกของ MFA อย่าง SMS, Microsoft Authenticator, Software Token, Windows Hello for Business, Hardware Token, FIDO2 พร้อมความสามารถในด้านการจัดการ Policy ที่เข้มข้น

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาพร้อมกับ Microsoft 365 Business Premium ที่ท่านจะได้รับอย่างเข้มข้น ครบเครื่องไม่ว่าจะเป็นมุมของ Email, Office, Mobile Management, Cloud และโซลูชันด้าน Identity อย่าง Azure AD Premium แต่ท่านยังได้รับความสามารถของ Data loss Prevention และ Azure Information Protection ที่จะควบคุมการใช้งานข้อมูลอีกด้วย มาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าความต่างของราคาราว 10 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือนคุ้มค่าขนาดไหน เทียบกับความยากในการซื้อโซลูชันอื่นเข้ามาให้ได้เท่ากัน เพราะเรื่องความปลอดภัยนั้นประเมินค่าไม่ได้…

หากคุณมี License SQL Server หรือ VMWare อยู่แล้ว ย้ายขึ้นคลาวด์ประหยัดได้ทันที

Bring Your Own Microsoft SQL Server to Azure Cloud

Microsoft เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ SQL Server ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากเกิดปัญหาขึ้นผู้ที่จะช่วยเหลือองค์กรได้ดีที่สุดก็คือ Microsoft เอง โดยเฉพาะหากนำ SQL Server ขึ้นสู่ระบบคลาวด์องค์กรจะได้ประโยชนอีกหลายเด้งเลยทีเดียว ประการแรก คือได้ความยืดหยุ่นของคลาวด์ที่จ่ายได้ตามจริง ทำให้ปรับเพิ่มลดทรัพยากรได้ตามต้องการ ประการที่สอง คือมีเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยพร้อมตอบโจทย์ด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ ประการที่สาม บริหารจัดการได้ง่าย ยิ่งในรูปแบบของ PaaS ลูกค้ามีหน้าที่เพียงแค่ใช้งานและจัดการงานของตนเท่านั้น อีกทั้งหากต้องการฟีเจอร์ด้านข้อมูลขั้นสูงเช่น Data Mesh, Analytics หรือ Machine Learning ก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจาก SQL Database พร้อมใช้งานได้ทันที

ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาจึงดึงดูดให้หลายองค์กรสนใจที่จะย้าย SQL Server (เริ่มต้นที่เวอร์ชัน 2012 หรือสูงกว่า) ของตนสู่ Microsoft Azure แต่ที่ผ่านมาอาจจะยังลังเลเพราะมีข้อจำกัดว่าต้องใช้ VM หรือ PaaS ที่มาพร้อมค่าใช้จ่ายของ License แต่เรื่องนี้เป็นอดีตไปแล้วเพราะล่าสุดด้วยข้อเสนอใหม่ผู้ใช้งานเดิมที่มี License ของ SQL Server จะสามารถย้ายมาใช้งานบน Azure ได้แบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น VM ที่ติดตั้ง SQL Server หรือ PaaS ซึ่งท่านจะได้รับข้อดีข้างต้นทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา แต่ถ้าลูกค้าที่มี SQL Server License พร้อมกับ SA Software Assurance ท่านจะสามารถนำ License มาใช้บน Azure ได้พร้อมกับ VM ในดาต้าเซ็นเตอร์ของท่านเองสูงสุดถึง 180 วัน!

Credit : Microsoft

Bring Your Own VMware License to Azure Cloud

Microsoft Azure มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้อย่างมั่นคง มีความสเถียรสูงและวางแผนค่าใช้จ่ายได้ทุกระยะ ประกอบกับมีบริการขั้นสูงที่สร้างประโยชน์ต่อยอดให้ธุรกิจได้มากมายทั้ง AI/ML, Analytics, Data Governance โดยเฉพาะเครื่องมือด้าน Security ที่มีให้ครบครันไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อย่างไรก็ดี VMware เป็นผู้เล่นชั้นนำในตลาด Virtualize ซึ่งมีลูกค้าอยู่มากมาย ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่จะผลักดันให้องค์กรเปลี่ยนพฤติกรรมและทักษะความคุ้นเคยที่สั่งสมมานานเพื่อหันมาใช้เครื่องมือใหม่คงทำได้ยาก ซึ่ง Microsoft ตระหนักเรื่องนี้ดีจึงได้ร่วมมือกับ VMware สร้างบริการ Azure VMware Solution เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเหล่านี้

ไอเดียของ Azure VMware Solution ก็คือโครงสร้างพื้นฐานของ Microsoft เพียงแต่ว่าใช้ซอฟต์แวร์สแต็กจาก VMware เช่น vSphere, NSX-T Data Center, vSAN และ HCX ซึ่งได้รับการการันตีโดย VMware เรียบร้อยแล้ว จึงให้ความมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้โซลูชันเดียวกันของ VMware แต่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานของ Azure เพื่อเสริมศักยภาพในการให้บริการธุรกิจได้ โดยในมุมของไอทีผู้ดูแลก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เครื่องมือใหม่นั่นเอง

*ล่าสุด Microsoft ได้เปิดให้ผู้สนใจทุกท่านที่มี License ของ VMware vRealize สามารถนำมาใช้งานบริการ Azure VMware Solution ต่อได้ ซึ่งท่านสามารถขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านและดูแล จากทีมงาน Microsoft และพาร์ทเนอร์ที่ดูแล Azure ได้ที่นี่ครับ

Credit : Microsoft

เพิ่มศักยภาพให้ทุกคนในองค์กรด้วย Microsoft Power Platform

จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่สูงมากในโลกปัจจุบัน ธุรกิจองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 70% ได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุด พึ่งพากำลังคนให้น้อยลง ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยี No/Low Code จึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่ง Microsoft เองมีโซลูชันที่ชื่อว่า ‘Power Platform’ ที่จะช่วยตอบโจทย์การทำงานข้างต้น ให้องค์กรได้ Transform ธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลได้ทันเวลา

Credit : Microsoft

เหตุผล 5 ข้อว่าทำไมองค์กรต้องใช้ Microsoft Power Platform 

  1. ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย – หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจ้าง developer เพื่อเขียนแอปขนาดใหญ่ พัฒนาโปรแกรมต่างๆ และ Server จำนวนมาก อีกทั้งยังปรับลดเพิ่มตามความเติบโตของธุรกิจอีกด้วย
  2. ประหยัดเวลา – ด้วยการทำงานที่เชื่อมต่อกันของ Power App และ Power Automate ใน Platform Microsoft องค์กรสามารถเปลี่ยนงาน manual จากเดิมที่ใช้เวลาเขียนแอปนานนับเดือนให้เป็น workflow ที่อัตโนมัติเพื่อประหยัดเวลาเหลือเพียงไม่กี่วัน ตอบโจทย์การเข้าสู่ตลาดได้ทันต่อความต้องการ
  3. ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องมีทักษะ Coding – ด้วยเทคโนโลยี Low Code No Code อย่าง Power Apps พนักงานไม่จำเป็นต้องพึ่งทีม IT ในการพัฒนาแอป โดยสามารถสร้างแอปด้วยการ drag & drop ฟีเจอร์และใช้ application template เพื่อการสร้างแอปได้ง่ายๆด้วยตัวเอง
  4. ยืดหยุ่นและคล่องตัว – สามารถพัฒนาแอปต่างๆที่ตอบโจยท์ความต้องการของแต่และองค์กรและเปลี่ยนแปลงการบันทึกข้อมูลแบบ traditional บนกระดาษให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลบน application ที่ง่ายต่อการตรวจสอบ การใช้งาน การเข้าถึง และการนำข้อมูลไปใช้ต่อในการทำงานร่วมกันในองค์กร
  5. มีประสิทธิภาพด้วยการเชื่อมโยงของ Platform และ มั่นใจได้ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก – Microsoft Power Platform มีความปลอดภัยที่เป็นพื้นฐานและเป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft Cloud โดยเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ผู้ใช้งานสามารถใช้ connector เพื่อเชื่อมต่อกับแอปต่างๆได้มากกว่า 400 รายการ นำข้อมูลและ workflow เข้าไป integrate กับระบบขององค์กรคุณได้อย่างลงตัว

และเพื่อให้การลดค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น วันนี้ Microsoft มีโปรแกรมมากมายที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านเป็นเรื่องง่าย อย่างเช่นเรื่องของการนำ Microsoft SQL Server และ VMware License มาสู่ Azure Cloud นั้น Microsoft มีโปรแกรมพิเศษที่จะช่วยท่าน migrate และมี credit ให้ทดลองใช้งานฟรี รวมถึงการช่วย optimize ให้แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายในกรณีที่ท่านใช้ Microsoft Azure อยู่แล้วตามเงื่อนไขที่กำหนด

ท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ aka.ms/AZTHContact หรือแชท Facebook ผ่าน Aka.ms/ContactMSFTTH หรือโทรมาหาเรา 1800-012-821 ได้ตั้งแต่วันนี้

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-do-more-with-less-4-ways-save-your-cost/

แรนซั่มแวร์ FARGO กำลังจ้องช่องโหว่ของ Microsoft SQL ในการโจมตีระลอกใหม่

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก AhnLab Security Emergency Response Center (ASEC) ออกโรงเตือนว่า เซิร์ฟเวอร์ Microsoft SQL ทั่วโลกกำลังเผชิญกับการโจมตีของแรนซั่มแวร์ FARGO นอกจากตัวที่ระบาดอยู่ก่อนแล้วอย่าง GlobeImposter

โดยจากข้อมูลทางสถิติที่อิงตามรหัสของแรนซั่มแวร์แล้ว พบว่า FARGO มีอัตราการเติบโตที่สูงมาก สายพันธุ์นี้เคยมีโค้ดเนมชื่อ “Mallox” จากการเข้ารหัสไฟล์เป็นสกุล .mallox นอกจากนี้ บริษัทแอนตี้ไวรัสอย่าง Avast ก็เคยพบตัวนี้มาก่อน

ซึ่งครั้งนั้นออกรายงานการพบช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมตั้งชื่อว่า TargetCompany รวมถึงมีการออกยูทิลิตี้ถอดรหัสไฟล์เหยื่อที่โดนล็อกให้ด้วย ประเด็นคือทูลปลดล็อกของ Avast ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง

ครั้งนี้ทาง ASEC ระบุว่า FARGO จะโหลดโค้ด .NET อันตรายโดยใช้คำสั่ง cmd.exe และ powershell.exe แล้วสร้างไฟล์ .BAT สำหรับรันเพื่อปิดโปรเซสและเซอร์วิสต่างๆ ในโฟลเดอร์ %temp% จากนั้นฝังตัวใน AppService.exe ลบรีจิสตรี้ของระบบป้องกันต่างๆ ต่อไป

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – ITPro

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%8b%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b9%8c-fargo-%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a/

Azure Data Studio ได้รับอัพเดต, เปิดให้ทดลองใช้ Table Designer และ Query Plan Viewer

ข่าวเก่าหน่อยแต่คิดว่ายังเป็นประโยชน์อยู่ครับ เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตเวอร์ชัน 1.35 ให้ Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลตัวใหม่ของไมโครซอฟท์ โดยได้เพิ่มเครื่องมือสร้างและออกแบบ table (Table Designer) และเครื่องมือวิเคราะห์และวัดประสิทธิภาพคิวรี (Query Plan Viewer) ทำให้ Azure Data Studio มีความสามารถใกล้เคียง SQL Management Studio (SSMS) ที่มีให้ใช้เฉพาะบน Windows มากขึ้น

Table Designer ปัจจุบันรองทั้งการสร้างและการแก้ไข table บนฐานข้อมูลตระกูล SQL Server โดยไมโครซอฟท์ระบุว่าได้พัฒนาฟีเจอร์นี้โดยใช้ DacFx ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คตัวเดียวกันกับที่ SQL Server Data Tools (SSDT) บน Visual Studio ใช้งาน จึงน่าจะพอมั่นใจได้ว่า Table Designer บน Azure Data Studio จะสามารถจัดการฐานข้อมูลได้ดีเช่นกัน

alt="ภาพอธิบายการใช้งาน Table Designer ของ Azure Data Studio"

ในส่วนการใช้งานไมโครซอฟท์ยังตั้งใจให้ Table Designer ใช้งานได้คล้ายกันกับหน้าจัดการ table บน SSDT ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ table ผ่าน GUI พร้อมตรวจสอบ/แก้ไขสคริปต์ที่ใช้จัดการ table ได้ในหน้าต่างเดียวกัน

สำหรับ Query Plan Viewer นั้นยังคงส่วนแสดงผลการทำงานภายในแต่ละคิวรีด้วยภาพกราฟฟิกเช่นเดียวกับบน SSMS

alt="ภาพตัวอย่างกราฟฟิกแสดงการทำงานของคิวรีบน Query Plan"

และยังได้เพิ่มตาราง Top Operations ซึ่งจะช่วยจัดอันดับว่าขั้นตอนการทำงานภายในคิวรีใดใช้เวลาและพลังประมวลผลของซีพียูมากสุด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพคิวรีต่อไป

alt="ภาพตัวอย่างตาราง Top Operations"

อย่างไรก็ดีเครื่องมือที่เพิ่มมาทั้งคู่ยังอยู่ในสถานะทดลองใช้งาน (preview) ความสามารถต่างๆ ที่พบได้ใน Azure Data Studio เวอร์ชันนี้อาจมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในภายหลังครับ

ที่มา – SQL Server Blog

from:https://www.blognone.com/node/128075

อยากย้าย SQL Server ขึ้น Cloud แต่ติดปัญหา SSIS ต้องทำอย่างไร?

สำหรับองค์กรที่ติดปัญหาเรื่องการย้าย Microsoft SQL Server จาก On-premises ขึ้นสู่ Cloud เนื่องจากไม่สามารถย้าย SQL Server Integration Services (SSIS) ตามขึ้นไปใช้งานได้ Inteltion ที่ปรึกษาด้าน Data ระดับองค์กรและ VST ECS ผู้จัดจำหน่ายโซลูชันของ Microsoft อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ได้ออกมาให้คำแนะนำในการย้าย SQL Server และ SSIS ขึ้น Microsoft Azure พร้อมกัน ดังนี้

Microsoft Azure – Cloud ที่ดีที่สุดสำหรับ SQL Server

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล หลายองค์กรต่างเดินหน้าทำ Cloud Transformation โดยการย้าย Workload ต่างๆ จาก On-premises ขึ้นสู่ Cloud ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความต่อเนื่องในการใช้งาน และความพร้อมในการขยายระบบในอนาคตแล้ว ยังต่อยอดไปใช้บริการ Cloud อื่นๆ เช่น AI และ Analytics เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริการและเปิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจได้อีกด้วย

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลอย่าง Microsoft SQL Server ก็เป็นอีกหนึ่ง Workload ที่ Microsoft แนะนำให้ย้ายขึ้นสู่ Cloud พร้อมเตรียมทางเลือกที่รองรับการใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SQL Server on VM, SQL Server Managed Instance หรือ SQL Database (PaaS) ในรูปแบบ Single หรือ Elastic Pool พร้อมมอบส่วนลดพิเศษให้สำหรับผู้ที่มี License ของ Microsoft SQL Server อยู่แล้วเพื่อสนับสนุนให้ย้ายจาก On-premises ขึ้นสู่ Cloud อีกด้วย

SQL Server กับสิ่งที่ต้องเจอในการย้าย SSIS ขึ้น Cloud

แม้ Microsoft จะเตรียมช่องทางการย้าย SQL Server ขึ้น Azure Cloud ให้หลากหลายวิธี แต่มีอีกหลายองค์กรที่ยังลังเลในการย้ายเนื่องจากติดขัดปัญหาบางประการ หนึ่งในนั้นที่พบบ่อย คือ การไม่ทราบว่าจะย้าย SQL Server Integration Services (SSIS) ขึ้น Cloud ตามไปด้วยอย่างไร เนื่องจาก Azure Cloud ไม่มีบริการ SSIS โดยตรง

SSIS เป็นเครื่องมือจำพวก Business Intelligence สำหรับบริหารจัดการกระบวนการ Extraction, Transformation & Loading (ETL) ข้อมูล เป็นฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับ SQL Server ให้ใช้งานได้ฟรี อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ SSIS คือ ถ้าใช้ SQL Server และ SSIS บนเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน เมื่อฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้น จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SSIS และเป็นเรื่องยากที่จะขยายระบบออกไป นอกจากนี้ SSIS ยังไม่รองรับการจัดการกับข้อมูลประเภทใหม่ๆ ในยุคดิจิทัล เช่น ข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data) ข้อมูลในโลกออนไลน์ ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย เป็นต้น

การย้าย SQL Server ขึ้น Cloud และใช้เครื่องมือ ETL ใหม่ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถมากกว่า SSIS เดิม แม้จะเป็นทางออกที่ดี แต่ก็เป็นเรื่องยากและกินเวลานานเกินไปกว่าจะพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการใช้ SSIS จัดการกับข้อมูลหลากหลายรูปแบบ

Azure Data Factory ทางออกสำหรับการย้าย SSIS ขึ้น Cloud ตาม SQL Server

เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดหลายๆ อย่างของ SSIS และการใช้งานบน Cloud ทาง Microsoft จึงได้ให้บริการ Azure Data Factory (ADF) ซึ่งเป็นเครื่องมือ ETL สำหรับ Scale-out Serverless Data Integration & Transformation บน Microsoft Azure โดยมีฟีเจอร์สำคัญ คือ SSIS Integration Runtime สำหรับการย้าย SSIS จาก On-premises ขึ้นมาใช้งานบน Cloud ผ่าน Azure Data Factory ได้เลย โดยมี Wizard คอยช่วยเหลือให้การย้าย SSIS ขึ้นมาเป็นเรื่องง่ายและไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ซึ่งช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบลงได้อย่างมาก

ข้อดีที่เห็นชัดที่สุดของการย้าย SSIS มาใช้งานผ่าน Azure Data Factory คือการได้ประโยชน์จากความเป็น Cloud อย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องการลดต้นทุนและภาระในการดูแลอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ความต่อเนื่องในการใช้งาน (Availability) ที่เพิ่มมากขึ้น และความสามารถในการปรับขยายระบบได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังเป็นก้าวแรกของการทำ Digital Transformation เพื่อต่อยอดการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี Cloud อื่นๆ ได้ เช่น IoT, AI/ML และ Advanced Analytics

4 วิธีการย้าย SSIS ไปใช้งานผ่าน Azure Data Factoryโดย Inteltion และ VST ECS

สำหรับผู้ที่คุ้นเคยการใช้ Azure Cloud อยู่แล้ว อาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะย้าย SQL Server และ SSIS ขึ้น Cloud แต่สำหรับมือใหม่หรือองค์กรที่ต้องการเริ่มเปลี่ยนไปใช้ Cloud สามารถติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Inteltion และ VST ECS เพื่อขอคำปรึกษาและช่วยเหลือการย้ายระบบขึ้น Cloud ได้ โดยมี 4 วิธีให้เลือกตามความคุ้นเคย ได้แก่

  1. Deploy โปรเจ็กต์ผ่านทาง SSIS Deployment Wizard
  2. Deploy โปรเจ็กต์ผ่านทาง Visual Studio ด้วย SSDT
  3. Deploy โปรเจ็กต์ผ่านทาง PowerShell
  4. ใช้ Azure Database Migration Service

ที่สำคัญคือ Inteltion และ VST ECS จะช่วยตรวจสอบและแก้ไขการตั้งค่าต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อย้าย SSIS ไปใช้งานผ่าน Azure Data Factory แล้ว กระบวนการ ETL จะทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ และสามารถเชื่อมต่อกับบริการใหม่ๆ บน Cloud ได้ เช่น การเปลี่ยนเชื่อมต่อจาก SQL Server บน On-premises ไปเป็น SQL Server บน Cloud แทน หรือการปรับไปใช้งานร่วมกับ Azure Synapse Analytics เป็นต้น

องค์กรที่สนใจย้าย Microsoft SQL Server จาก On-premises ขึ้น Cloud พร้อมเปลี่ยนจาก SSIS ไปใช้ Azure Data Factory สามารถติดต่อทีมงานเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม พร้อมรับโปรโมชันพิเศษ ทำ Assessment ฟรีได้ที่ Inteltion Sales โทร 086-400-5490 หรือ Contact – Inteltion (ภายในวันที่ 31 มี.ค. 2022)

from:https://www.techtalkthai.com/migrate-ssis-packages-to-azure-data-factory/

ไมโครซอฟท์เปิดตัว SQL Server 2022 รุ่นพรีวิว เน้นเชื่อมต่อบริการอื่นของ Azure

ไมโครซอฟท์เปิดตัวฐานข้อมูล SQL Server 2022 รุ่นพรีวิว ฟีเจอร์ใหม่เน้นการใช้งานกับบริการอื่นๆ บน Azure เป็นหลัก

  • เชื่อมต่อกับ Azure Synapse Link เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ โดยไม่ต้องใช้ท่า ETL (extract, transform, and load)
  • เชื่อมต่อกับ Azure Purview สำหรับค้นหาข้อมูลในองค์กร และทำ data governance
  • เชื่อมต่อกับ Azure SQL Managed Instance เพื่อทำ disaster recovery (DR) แบบไปกลับ (bidirectional)

ฟีเจอร์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ Azure คือ ปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการรันคิวรี, ฟีเจอร์ด้าน Availability แก้ปัญหาเรื่อง write conflict ทำให้งานหยุดชะงัก เพราะต้องรอแอดมินมาเลือก เปลี่ยนมาใช้กฎ last-writer wins แทน

No Description

ที่มา – Microsoft

from:https://www.blognone.com/node/125667

AWS เปิดตัว Babelfish ระบบแปลงให้ PostgreSQL ใช้แทน SQL Server เต็มตัว พร้อมเปิดเป็นโอเพนซอร์ส

เมื่อปีที่แล้ว AWS เปิดตัวโครงการ Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงให้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server สามารถเชื่อมกับฐานข้อมูล PostgreSQL ได้เพื่อประหยัดค่าไลเซนส์ ตอนนี้โครงการก็เข้าสถานะ GA ให้ทุกคนใช้งาน พร้อมกับโครงการโอเพนซอร์สออกมาพร้อมกัน

Babelfish รับผิดชอบการแปลงโปรโตคอล 3 ระดับ ได้แก่

  • ตัวโค้ด SQL เอง แม้ SQL จะเป็นมาตรฐานแต่ในความเป็นจริงการอิมพลีเมนต์ก็มีความแตกต่างกัน เช่น ชนิดข้อมูล, ฟังก์ชั่นและโอเปอร์เรเตอร์ที่มีไม่เท่ากันหรือบางครั้งก็ทำงานไม่เหมือนกัน
  • ภาษา T-SQL ที่เป็นส่วนขยายจาก SQL เฉพาะของไมโครซอฟท์ มีฟีเจอร์หลายอย่างที่ SQL ปกติไม่มี เช่น การประกาศตัวแปร, exceptions, if-else
  • โปรโตคอล TDS สำหรับการเชื่อมต่อกับไคลเอนต์เดิมที่เชื่อมต่อกับ SQL Server อยู่แล้ว การที่ Babelfish แปลงโปรโตคอลเป็น PostgreSQL ทำให้แอปพลิเคชั่นเดิมๆ สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนไดร์เวอร์หรือไลบรารีใหม่

ตัวโครงการแก้ไข PostgreSQL อย่างหนัก มีตั้งแต่แพตช์ตัวฐานข้อมูลเอง โดย AWS ระบุว่าจะพยายามส่งแพตช์เข้าไปยังโครงการ PostgreSQL เองในอนาคต และยังเป็นส่วนขยายของ PostgreSQL อีก 4 ตัวเพื่อรองรับฟีเจอร์ต่างๆ เมื่อรัน PostgreSQL เวอร์ชั่นที่ติดตั้ง Babelfish ตัวฐานข้อมูลจะรองรับการเชื่อมต่อแบบ PostgreSQL เดิมที่พอร์ต 5432 และการเชื่อมต่อ TDS ที่พอร์ต 1433 เหมือน SQL Server

สำหรับผู้ใช้งานผ่านบริการ RDS หลังจากนี้เมื่อเลือกฐานข้อมูลเป็น PostgreSQL เวอร์ชั่น 13.4 ขึ้นไป จะมีตัวเลือก Babelfish ให้เปิดใช้งาน เมื่อเลือกแล้วสามารถใช้ไคลเอนต์ของไมโครซอฟท์ เช่น SSMS เชื่อมต่อเข้าไปเหมือน SQL Server ได้ทันที

ที่มา – AWS, Babelflish

No Description

from:https://www.blognone.com/node/125561

ไมโครซอฟท์หยุดพัฒนา SQL Server สำหรับ Windows Container

ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดโครงการ SQL Server on Windows Containers ที่เปิดตัวเมื่อปี 2017 และค้างอยู่ในสถานะเบต้าโดยไม่ได้ออกมาเป็นโครงการเพื่อการค้าจริงจัง โดยหลังจากนี้ตัวอิมเมจใน Docker Hub จะถูกลบทิ้ง

แม้ว่า SQL Server จะถูกออกแบบมาเพื่อทำงานบนวินโดวส์เป็นหลัก แต่การใช้งานในกลุ่มคอนเทนเนอร์ก็นิยมอิมเมจลินุกซ์มากกว่า ตัวเลขจาก Docker Hub ระบุว่าอิมเมจ SQL Server on Windows Container นั้นมีอัตราการ pull เพียงประมาณ 1 ล้านครั้ง เทียบกับ SQL Server on Linux ที่มีอัตราการ pull มากกว่า 50 ล้านครั้งแล้ว

SQL Server on Linux จะขาดฟีเจอร์จากรุ่นวินโดวส์ไปจำนวนหนึ่ง เช่น database mirroring, merge replication, managed backup

การยกเลิกการซัพพอร์ต SQL Server ครั้งนี้สร้างคำถามต่อ Windows Container โดยรวมที่อาจจะไม่ได้รับความนิยมนัก แพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์เอง เช่น .NET ก็รองรับลินุกซ์ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ลูกค้าองค์กรอาจจะเลือกคอนเทนเนอร์ลินุกซ์เหมือนกับคอนเทนเนอร์อื่นๆ มากกว่า

ที่มา – The Register

No Description

from:https://www.blognone.com/node/123604

AWS เปิดตัว Babelfish for PostgreSQL ย้ายแอปใน Microsoft SQL Server มารันบน PostgreSQL

AWS เปิดโครงการโอเพนซอร์ส Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงโปรโตคอล ทำให้แอปที่พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server ผ่านทางโปรโตคอล TDS และภาษาคิวรี T-SQL สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ PostgreSQL และทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ Microsoft SQL Server อีกต่อไป

Babelfish รับคำสั่ง SQL บางส่วนที่ SQL Server รองรับ เช่น คำสั่ง SQL ทั่วไป, cursors, catalog views, data types, triggers, stored procedures, และ function หากแอปพลิเคชั่นใช้งานเฉพาะส่วนที่ Babelfish รองรับก็จะสามารถรันแอปต่อไปได้เลย แม้เอนจินฐานข้อมูลด้านหลังจะกลายเป็น PostgreSQL ไปแล้วก็ตาม

ทาง AWS ยอมรับว่าช่วงแรก Babelfish จะไม่สมบูรณ์ เนื่องจากความความต่างเล็กๆ น้อยๆ ในเอนจินทั้งสอง และหวังว่าการเปิดโครงการเป็นโอเพนซอร์จะมีชุมชนเข้ามาช่วยกันปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้น โดยโครงการใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache 2.0 และพัฒนาอย่างเปิดเผยใน GitHub ตัวซอร์สโค้ดจะเปิดออกมาภายในไตรมาส 1 ปี 2021

ที่มา – AWS Blog

No Description

from:https://www.blognone.com/node/119888

Azure Data Studio ได้รับอัพเดต, ปรับปรุง SQL Notebooks วาดแผนภูมิได้ในตัว, รองรับการสร้าง Jupyter Book

เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลตัวใหม่ของไมโครซอฟท์ ได้รับอัพเดต เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความสามารถใหม่สำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูลบน SQL Server รวมถึง PostgreSQL

ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจอย่างแรกคือการปรับปรุงให้ SQL Notebooks สามารถวาดแผนภูมิได้ในตัว เปลี่ยนจากเดิมที่เคยแสดงผลข้อมูลในลักษณะตารางเท่านั้น

ผู้ใช้จะสามารถปรับแต่งแผนภูมิให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ และเมื่อพอใจกับผลลัพธ์แล้วยังสามารถสั่งก็อปปี้/บันทึกแผนภูมิเป็นรูปภาพได้อีกด้วย

No Description

อย่างที่สองเป็นการเพิ่มความสามารถให้กับการใช้งาน Jupyter Book โดยในเวอร์ชันนี้ ผู้ใช้จะสามารถสั่งสร้าง Jupyter Book ด้วย Azure Data Studio ได้แล้ว ผ่านการกดปุ่ม Create Book (preview) ในเมนู … ซึ่งจะปรากฎขึ้นมาเมื่อวางเมาส์ไว้เหนือแถบ Saved Books ในหน้า Jupyter Books

เมื่อกดปุ่มข้างต้นเรียบร้อย Azure Data Studio จะเปิดหน้า notebook ซึ่งมาพร้อมกับคำสั่งที่ต้องใช้รันเพื่อสร้าง Jupyter Book ใหม่ ให้ผู้ใช้อ่านและทำตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้

No Description

สำหรับการปรับปรุงอื่นๆ ที่ไมโครซอฟท์ยกให้เป็นไฮไลท์ของอัพเดตครั้งนี้มีดังนี้

  • ปรับปรุงส่วนขยาย PostgreSQL ให้รองรับการล็อกอินเข้าใช้งานด้วย Azure Active Directory
  • แก้ไขบั๊กด้านฟังก์ชั่นช่วยเหลือผู้พิการ (accessibillity) เช่น ปรับปรุงการใช้งานด้วยคีย์บอร์ดและ screen reader
  • ปรับ VS Code ที่ใช้เป็นฐานไปใช้เวอร์ชัน 1.42
  • แก้ไขบั๊กอื่นๆ

ที่มา – SQL Server Blog

from:https://www.blognone.com/node/115762

Red Hat เปิดตัว JBoss Enterprise 7.3 รองรับ Jakarta EE และ SQL Server บนลินุกซ์

Red Hat เปิดตัว JBoss Enterprise Application Platform เวอร์ชันเสถียร 7.3 (ช่วงหลังออกเวอร์ชันเสถียรประมาณปีละ 1 รอบ)

ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ รองรับการใช้งานบน Jarkarta EE 8 จาก โครงการโอเพนซอร์สของ Java EE ที่ไปอยู่กับ Eclipse Foundation ผู้ใช้งานจึงเลือกได้ว่าจะรันบน Java EE 8 หรือ Jakarta EE 8 (ซึ่งตอนนี้ยังเหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นชื่อ)

ของใหม่ที่สำคัญอีกอย่างคือ รองรับ Microsoft SQL Server 2017 บน Red Hat Enterprise Linux (RHEL) นอกเหนือจากบนวินโดวส์ ซึ่งมาจากความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับ Red Hat ก่อนหน้านี้

ฟีเจอร์อื่นๆ ในเวอร์ชันนี้ได้แก่ ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย รองรับ Server Name Indication (SNI) และ Online Certificate Status Protocol (OCSP), ปรับปรุงเรื่องการส่งข้อความ รองรับ Message-Driven Beans (MDBs) ส่งทีเดียวหลายกลุ่ม, ปรับปรุงการทำงานกับคอนเทนเนอร์บน Red Hat OpenShift เป็นต้น

ที่มา – Red Hat

No Description

from:https://www.blognone.com/node/115434