คลังเก็บป้ายกำกับ: MICROSOFT_AZURE

Azure OpenAI เปิดให้บริการเช่าใช้งาน GPT-4 แล้ว

ไมโครซอฟท์เปิดบริการโมเดล GPT-4 บน Azure OpenAI Service อย่างรวดเร็ว คล้อยหลังการเปิดตัวของ OpenAI เพียงหนึ่งสัปดาห์

ค่าใช้บริการคิดเป็น token โดยแยกเป็น token ในการสั่งงาน (prompt) และการรันงานจนเสร็จ (completion) ราคาแบบรุ่นเล็ก (8k content) คือ 0.03 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (prompt) และ 0.06 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens (completion) หากต้องการใช้รุ่นใหญ่ (32k content) ราคาจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

บริการ Azure OpenAI Service ให้บริการโมเดลของ OpenAI หลายตัว เช่น GPT-3.5, Dall-E 2, ChatGPT และล่าสุดคือ GPT-4

No Description

ที่มา – Microsoft Azure Blog

from:https://www.blognone.com/node/133122

Advertisement

ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังเครื่องที่ใช้เทรน ChatGPT ใช้จีพียู A100 เป็นหลักหมื่นตัว

ไมโครซอฟท์เล่าเบื้องหลังการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บน Azure เพื่อให้บริการ OpenAI เทรนโมเดล AI ขนาดใหญ่จนกลายมาเป็น ChatGPT แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์กับ OpenAI ในปี 2019 ตอนนั้นไมโครซอฟท์มีระบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับเทรนโมเดล AI ของตัวเองอยู่แล้ว (เช่น โมเดลที่ใช้ใน Microsoft Translator หรือตัวตรวจสะกดใน Word) แต่ขีดความสามารถนั้นไม่พอกับที่โมเดลขนาดใหญ่มากๆ ของ OpenAI ต้องการใช้งาน ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีออกแบบระบบใหม่

No Description

ระบบเบื้องหลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์ตัวนี้ใช้จีพียู NVIDIA A100 จำนวน “หลายหมื่นตัว” (tens of thousands) ซึ่งไมโครซอฟท์ประเมินคร่าวๆ ว่าต้นทุนของโครงการอยู่ในหลัก “หลายร้อยล้านดอลลาร์” (several hundred million dollars) แต่มีเงินซื้อจีพียูอย่างเดียวก็ไม่พอ ไมโครซอฟท์ต้องหาวิธีต่อเชื่อมจีพียูจำนวนเยอะขนาดนี้ที่กระจายตัวอยู่ตามศูนย์ข้อมูล 60 เขตทั่วโลกเข้าด้วยกัน

ตัวแกนของเทคโนโลยีเชื่อมต่อความเร็วสูงคือ InfiniBand ของ NVIDIA (จากการซื้อ Mellanox ในปี 2019) แต่ NVIDIA เองก็ไม่เคยนำจีพียูจำนวนเยอะขนาดนี้มาต่อกัน ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยีเชื่อมต่อเป็นไปได้แค่ไหน

No Description

ไมโครซอฟท์ใช้วิธีแบ่งส่วนงาน (partition) แล้วกระจายไปยังคลัสเตอร์ของจีพียูต่างๆ เป็นชุดๆ โดยมี InfiniBand เป็นตัวเชื่อม แต่ก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับกระจายงานทั้งจีพียูและระบบเครือข่ายเพิ่มอีกมาก (ผ่านซอฟต์แวร์ ONNX Runtime ที่เปิดเป็นโอเพนซอร์ส) ซึ่งใช้เวลาหลายปีที่ผ่านมาทำเรื่องนี้ อีกวิธีที่ใช้คือค่อยๆ ขยายจำนวนจีพียูและเครือข่ายทีละน้อย เพื่อดูว่าระบบโดยรวมรองรับได้แค่ไหน รวมถึงมีเรื่องระบบระบายความร้อน ระบบไฟสำรอง ที่ต้องขยายตัวรองรับด้วย

เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นของ Azure เป้าหมายจึงเป็นการออกแบบเพื่อเปิดให้คนนอกใช้งานด้วย แม้จุดเริ่มต้นเกิดจากการคัสตอมระบบตามความต้องการของลูกค้าเพียงรายเดียว (OpenAI) แต่วิธีการสร้างเครื่องของ Azure คือสร้างโดยมีโจทย์ให้คนทั่วไปใช้งาน (generalized) ซึ่งตอนนี้เครื่องถูกนำมาให้บริการ Azure OpenAI ที่บุคคลทั่วไปสามารถเช่าเทรนโมเดล

No Description

ศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งของไมโครซอฟท์ที่รัฐวอชิงตัน ที่ให้บริการ OpenAI Service

ตอนนี้ไมโครซอฟท์กำลังสร้างเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ ซึ่งจะใช้เทรนโมเดลตัวใหม่ๆ ที่ใหญ่กว่าเดิมขึ้นไปอีก และตอนนี้เริ่มเปิดให้คนนอกเช่าเครื่อง H100 ใช้งานแล้ว

ที่มา – Microsoft, Bloomberg

from:https://www.blognone.com/node/133067

Azure เปิดทดสอบให้เช่า VM ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 Hopper รุ่นล่าสุดแล้ว

Microsoft Azure เปิดพรีวิวเครื่อง VM เวอร์ชันใหม่ที่ใช้จีพียู NVIDIA H100 รุ่นใหม่ล่าสุด สถาปัตยกรรม Hopper ที่พัฒนาขึ้นจากจีพียู NVIDIA A100 (Ampere) รุ่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หากอิงจากตัวเลขของ NVIDIA เองคือเทรนโมเดลบางประเภทได้เร็วขึ้น 9 เท่า

VM รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า ND H100 v5 เลือกจีพียูได้ต่ำสุด 8 ตัว สเกลขึ้นไปได้เป็นหลักพันตัว (ต่อกันผ่าน InfiniBand) สเปกเครื่องมีดังนี้

  • 8x NVIDIA H100 Tensor Core GPUs interconnected via next gen NVSwitch and NVLink 4.0
  • 400 Gb/s NVIDIA Quantum-2 CX7 InfiniBand per GPU with 3.2Tb/s per VM in a non-blocking fat-tree network
  • NVSwitch and NVLink 4.0 with 3.6TB/s bisectional bandwidth between 8 local GPUs within each VM
  • 4th Gen Intel Xeon Scalable processors
  • PCIE Gen5 host to GPU interconnect with 64GB/s bandwidth per GPU
  • 16 Channels of 4800MHz DDR5 DIMMs

ตอนนี้ ND H100 v5 VM ยังเปิดให้บริการในวงจำกัด ผู้ที่สนใจจำเป็นต้องลงทะเบียนขอสิทธิการใช้งานก่อน

NVIDIA กับไมโครซอฟท์ยังมีข้อตกลงสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ที่ใช้สเปกแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าบริการ ND H100 v5 เป็นการตัดบางส่วนของเครื่องมาให้คนนอกเช่าให้งาน ซึ่งในอดีตไมโครซอฟท์เคยมีเครื่องที่ให้บริการ Azure ติด Top 10 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์โลกเมื่อปี 2021 ด้วย

ที่มา – Microsoft

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/133058

ไมโครซอฟท์เสนอแนวคิด Reliable Web App (RWA) แพทเทิร์นสำหรับเว็บแอพ .NET บน Azure

หลายคนอาจคุ้นเคยกับชื่อ Progressive Web App (PWA) แนวทางการพัฒนาเว็บแอพที่ใช้นอกเบราว์เซอร์ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์เสนอแนวคิดชื่อคล้ายๆ กันคือ Reliable Web App (RWA)

จุดแตกต่างคือ RWA ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่เป็น “แพทเทิร์น” การเขียนเว็บแอพที่ไมโครซอฟท์แนะนำว่าดี (best practice ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำตาม) สำหรับการใช้ .NET สร้างเว็บแอพไปรันบนคลาวด์ Azure ให้เสถียร (SLO 99.9%) ดูแลง่าย ปลอดภัย ต้นทุนค่าคลาวด์ต่ำ

กลุ่มเป้าหมายของ RWA คือเว็บแอพเดิมที่เขียนด้วย ASP.NET อยู่แล้ว ต้องการแปลงมารันบนคลาวด์ ปรับสถาปัตยกรรมให้ทันสมัย ก็สามารถทำตามวิธีของไมโครซอฟท์ได้เลย ไม่ต้องเปลืองแรงคิดค้นเอง ไมโครซอฟท์ออกแบบสถาปัตยกรรมไว้ให้แล้ว มีเอกสาร, ซอร์สโค้ดตัวอย่าง, วิดีโอสอนใช้งาน ให้พร้อมสรรพ

No Description

สถาปัตยกรรม Azure ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบเอาไว้ให้ จะเรียกใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่แล้วของ Azure เช่น Azure Web App, Blob Storage, SQL Database, Azure Cache for Redis, Azure App Configuration, Azure Key Vault, Azure Web Application Firewall, Azure Front Door, Azure AD เป็นต้น

No Description

No Description

ที่มา – .NET Blog

from:https://www.blognone.com/node/132979

Microsoft Azure เริ่มให้บริการเรียกใช้ ChatGPT บน Azure OpenAI แล้ว

Microsoft เริ่มให้บริการ ChatGPT ผ่าน Azure OpenAI Service ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อเดือนมกราคม 2023

ก่อนหน้านี้ Azure OpenAI Service ยังรองรับเฉพาะโมเดลบางตัวของค่าย OpenAI เช่น GPT-3.5, Codex, DALL-E 2 แต่ยังขาดโมเดลยอดฮิตอย่าง ChatGPT ซึ่งไมโครซอฟท์สัญญาไว้ว่าจะตามมา และตอนนี้เปิดบริการแล้วแบบพรีวิว

ราคาใช้งานอยู่ที่ 0.002 ดอลลาร์ต่อ 1,000 tokens

ที่มา – Microsoft

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132965

Azure เปิดฟีเจอร์ไฮบริดใช้คอมพิวเตอร์ปกติร่วมกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม

Azure Quantum เปิดฟีเจอร์ Integrated Hybrid เปิดทางให้ลูกค้ารันอัลกอริธึมผสมระหว่างคอมพิวเตอร์ปกติและคอมพิวเตอร์ควอนตัม ไมโครซอฟท์สาธิตฟีเจอร์นี้ด้วยโค้ดภาษา Q# ทดสอบคุณสมบัติ entanglement จำนวน 10 รอบ หากระบบทำงานได้ถูกต้องก็จะตอบค่า 0 เสมอ แต่ในความเป็นจริงเมื่อรันไปหลายๆ รอบก็จะได้ค่าที่ผิดไปออกมาบ้าง

ตอนนี้คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่รองรับฟีเจอร์ Integrated Hybrid ยังใช้ได้กับ Quantinuum H-Series เท่านั้นทางไมโครซอฟท์ระบุว่าจะรองรับคอมพิวเตอร์ของ QCI เพิ่มเติมในอนาคต

แนวทางการเขียนโค้ดผสมกันเช่นนี้น่าจะทำให้ลูกค้าเลือกใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ง่ายขึ้น แต่ที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังมีขนาดค่อนข้างเล็กเกินไปที่จะรันอัลกอริธึมที่มีประโยชน์ในโลกความเป็นจริง และคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ขนาดใหญ่ขึ้นก็มักประสบปัญหาสัญญาณรบกวนจนการทำงานผิดพลาดทำให้การใช้งานที่ผ่านมามักจำกัดอยู่ในการวิจัยเป็นหลัก

ที่มา – Microsoft

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132933

ไมโครซอฟท์ชี้แจงเหตุศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ล่มเพราะแอร์ดับหนึ่งยี่ห้อ บางบริการคอนฟิกข้ามโซนก็ยังมีปัญหา

ไมโครซอฟท์ออกรายงานฉบับเต็มถึงเหตุการณ์ศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ล่ม จนทำให้บริการจำนวนหนึ่งใช้งานไม่ได้เป็นเวลานานประมาณหนึ่งวันเต็ม โดยต้นตอของปัญหาเกิดจากเหตุไฟตก (power dip) จนทำให้ระบบทำความเย็นทำงานไม่เต็มที่ สร้างปัญญาต่อๆ มาอย่างต่อเนื่อง

รายงานระบุว่ามีระบบทำความเย็นทั้งหมด 8 ชุดจากยี่ห้อ A 5 ชุดและ B 3 ชุด โดยมีชุดหนึ่งของยี่ห้อ A ปิดซ่อมบำรุงตามรอบอยู่ เมื่อเกิดเหตุไฟตกระบบทำความเย็นทั้งหมดปิดตัวลง แต่ทีมงานเปิดระบบของยี่ห้อ B กลับขึ้นมาไม่ได้แม้จะสั่งเปิดเครื่องแบบแมนนวลแล้วก็ตาม ศูนย์ข้อมูลร้อนขึ้นเรื่อยๆ เพราะระบบหล่อเย็น 4 ชุดนั้นไม่เพียงพอ หลังจากตามช่างของผู้ผลิตเข้ามาพบว่าบอร์ดควบคุมคอมเพรสเซอร์ต้องปิดทิ้งไว้ 5 นาทีจึงเปิดกลับขึ้นมาได้เพื่อให้ประจุไฟคายออกให้หมดก่อน แต่คู่มือการทำงานกลับไม่ได้เขียนขั้นตอนนี้ไว้

ระยะเวลาที่นานทำให้น้ำหล่อเย็นร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 28 องศา ซึ่งทำให้ไม่สามารถเปิดระบบหล่อเย็นได้แม้จะซ่อมอุปกรณ์เสร็จแล้วเพราะจะทำให้ระบบเสียหาย ทีมงานตัดสินใจปิดระบบทั้งหมดเพื่อให้อุณหภูมิลดลง จากนั้นก็เปิดระบบหล่อเย็นกลับขึ้นมาทั้งหมดได้สำเร็จแล้วค่อยเปิดโครงสร้างทั้งหมดกลับขึ้นมา เริ่มจากระบบสตอเรจและระบบประมวลผล (compute)

ผลกระทบต่อเนื่องจากการปิดศูนย์ข้อมูลไปหนึ่งโซน คือ บริการบางตัวที่ผู้ใช้เปิดระบบทำงานข้ามโซนเอาไว้กลับทำงานไม่ถูกต้องระหว่างเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย เนื่องจาก ARM control plane ที่เป็นตัวจัดการบริการต่างๆ นั้นคอนฟิกไว้ในภูมิภาค Southeast Asia ผิด ทำให้ CosmosDB อ่านข้อมูลบางส่วนไม่ได้เมื่อโซนหนึ่งถูกปิดไป บริการที่ได้รับผลกระทบได้แก่ Azure Site Recovery (ASR) ลูกค้าบางส่วนย้ายไซต์ไม่สำเร็จ, Azure Backup เกิดความล่าช้าระหว่างการกู้คืนข้อมูล, Azure Storage ที่เปิดการทำงานข้ามภูมิภาคบางรายไม่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ เพราะระบบตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลบล็อคการทำ failover เอาไว้, Azure SQL มีปัญหากู้ระบบได้ช้าประมาณ 90 นาที และลูกค้าบางส่วนที่รอศูนย์ข้อมูลเปิดกลับมาก็กลับไม่สามารถใช้ Azure SQL ได้เพราะเซิร์ฟเวอร์มีปัญหาจากบั๊กใน BIOS จนต้องใช้เวลาแก้ไขต่ออีกวัน

ที่มา – Azure Status

from:https://www.blognone.com/node/132766

คุยกับ CTO ไมโครซอฟท์ประเทศไทย เมื่อปัญญาประดิษฐ์พร้อมมาช่วยคนทำงาน

หลังจากไมโครซอฟท์จัดงานเปิดตัวฟีเจอร์แชตบอทใน Bing ทางไมโครซอฟท์ประเทศไทยก็จัดงานพบปะกับองค์กรในประเทศเพื่อสาธิตถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ใน Bing ไปพร้อมๆ กับการสาธิตถึงการใช้ Azure OpenAI ที่เพิ่งเปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผมได้คุยกับคุณเชาวลิต รัตนกรไกรศรี เชาวลิต รัตนกรไกรศรี CTO ของไมโครซอฟท์ประเทศไทย ถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจในไทยในอนาคต

GPT-3 ของ OpenAI เปิดให้บริการทั้งผ่าน OpenAI เองและผ่าน Azure สองทางนี้ต่างกันอย่างไร

Azure OpenAI มองว่าเป็น OpenAI for Enterprise ที่เตรียมไว้สำหรับลูกค้าองค์กร เราให้ความสำคัญกับแนวทาง Responsible AI เราต้องการให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกใช้งานอย่างปลอดภัย ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกฝึกและใช้งานต้องตอบคำถามอย่างปลอดภัยเป็นส่วนตัว, มีการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่แบ่งแยกคน

อย่างที่สองคือ องค์กรต้องการ compliance กับมาตรฐานต่างๆ เช่น ISO, SOC II และสุดท้าย คือ การใช้ Azure OpenAI จะเปิดให้องค์กรสามารถใช้งาน concurrent ได้มากกว่า การฝึกโมเดลต่างๆ จะสามารถฝึกได้ในเวลาสั้นกว่า

ในมุมมองของไมโครซอฟท์ประเทศไทย คิดว่าปัญญาประดิษฐ์อย่าง GPT-3 พร้อมสำหรับองค์กรไทยแค่ไหน

GPT-3 น่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ประมวลภาษาที่ดีกว่าตัวอื่นๆ ที่เคยมีในท้องตลาดอย่างชัดเจน แต่ในการใช้งานก็ต้องเลือก use case ที่ใช้งานให้เหมาะสม และมีการตรวจสอบในการใช้งาน

ในตอนนี้ผมไม่เชื่อว่ามันจะเข้ามาแทนมนุษย์อย่างสิ้นเชิง แต่งานหลายอย่างสามาารถทำได้อย่างดี เช่น การอ่านคำติชมจากสังคมออนไลน์ต่างๆ ก็สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาทำงานได้

แต่งานบางประเภทเช่นงานเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ตอนนี้อาจจะยังมีข้อกำหนดอยู่ว่าต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น การใช้งานส่วนหนึ่งที่เป็นไปได้คือการใช้งานแทนระบบ IVR ที่ผู้ใช้สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลกับแชตบอทได้

ค่าใช้งาน API ของ OpenAI ค่อนข้างสูง หากใช้งานแทนระบบอัตโนมัติเดิมจะคุ้มไหม

ตอนนี้เราอยู่ในช่วงพูดคุยกับลูกค้าถึงความเป็นไปได้ แต่หลังจากนี้ก็จะมีการทำ workshop เพื่อหาความเป็นไปได้ และความคุ้มค่า

อย่างระบบ IVR ที่อาจจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่ในความเป็นจริงลูกค้ามักจะได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีนัก ลูกค้าอาจจะวนอยู่ใน IVR และหาคำตอบไม่ได้ จนเสียลูกค้าไป หากเราใช้ OpenAI ร่วมกับ IVR แบบเดิมๆ แล้วลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้นก็อาจจะคุ้มค่ากว่าที่ลูกค้าจะไปบ่นวิจารณ์ลงโซเชียลหรือย้ายไปใช้ผู้ให้บริการายอื่นไปเลย เรื่องนี้ก็ต้องหา use case ที่เหมาะสมกันต่อไป

ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่รอบนี้ต้องใช้เทคโนโลยีบริษัทภายนอก เกิดอะไรขึ้นจึงต้องใช้ OpenAI และจะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองไหม

ทุกองค์กรเวลามีวิสัยทัศน์ไปข้างหน้า ทุกคนก็ต้องตัดสินใจว่าจะสร้างเทคโนโลยีเองหรือจะซื้อเทคโนโลยี ในครั้งนี้ OpenAI สร้างเทคโนโลยีที่มีศักยภาพเราก็เลือกจะนำเข้ามา empower ลูกค้าของเรา เช่นเดียวกับระบบอื่นๆ ที่อาจจะมีการ integrate จากผู้ผลิตต่างๆ

อีกอย่างคือการทำงานกับ OpenAI นั้นเป็นรูปแบบของการทำงานร่วมกันมากกว่าผู้ลงทุนเฉยๆ แม้ว่า OpenAI จะพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างดีแต่ไมโครซอฟท์ก็เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มให้ OpenAI อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันไมโครซอฟทืก็ยังคงทำงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเองก็มี BioGPT ที่นำ GPT-2.5 มาฝึกกับข้อมูลงานวิจัยด้านชีววิทยาโดยเฉพาะ

หรืออีกกรณีหนึ่งคืออินเดียมีภาษาราชการถึง 12 ภาษา ทีมวิจัยของไมโครซอฟท์ก็ไปฝึกปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้รองรับภาษาท้องถิ่นได้

ถึงเวลาที่องค์กรนำ GPT ไปใช้งานเป็นแชตบอทจริงๆ ก็น่าจะมีคนลองของให้บอทตอบแปลกๆ เช่นเดียวกับ ChatGPT มีแนวทางให้องค์กรป้องกันตัวไหม

ก่อนใช้งาน GPT ต้องมีการ fine-tune และความเก่งของ OpenAI คือกระบวนการนี้ทำได้ง่ายใกล้เคียงกับการสอนคนว่าคำถามแบบใดอย่าตอบ

แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าอาจจะป้องกันไม่ได้ทั้งหมดจริงๆ ก็เป็นงานอีกส่วนว่าองค์กรที่จะนำไปใช้ต้องมีการมอนิเตอร์ต่อเนื่อง ดูผลตอบรับเมื่อผู้ใช้ได้รับคำตอบแล้วมีความผิดพลาดต้องนำกลับมาแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งงานส่วนนี้ต่อให้ใช้คนตอบคำถามก็ต้องมีกระบวนการแบบเดียวกัน

มีลูกค้าเข้ามาติดต่อขอใช้งานบ้างหรือยัง

กระแส ChatGPT ทำให้ลูกค้าในไทยแสดงความสนใจอย่างมาก เราก็ต้องบอกว่า ChatGPT เป็น use case หนึ่ง และยังมี use case อื่นๆ ที่ใช้งานในธุรกิจได้ด้วย

Bing ใส่แชตบอทเข้ามาอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการสูงขึ้น จะคุ้มแค่ไหน

ที่จริงตลาด search engine เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ที่ผ่านมาก็แทบจะถูกผูกขาด จุดเริ่มต้นของไมโครซอฟท์คือเรามองว่าการ search ต้องเปลี่ยนแนวคิดเพราะบริการค้นหาแบบเดิมๆ ไม่มี productivity และในอนาคตจะมีการทำธุรกิจก็อาจจะมีการโฆษณาที่ตรงจุดมากขึ้น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ทำความเข้าใจคำถามก็อาจจะทำให้แสดงสินค้าตามบริบทที่ผู้ใช้สนทนากับ Bing อยู่

from:https://www.blognone.com/node/132662

Azure กู้ระบบแอร์ได้แล้ว แต่บริการยังไม่กลับมา ต้องค่อยๆ เปิดทีละส่วน

ไมโครซอฟท์รายงานถึงความคืบหน้าของเหตุ Azure ที่สิงคโปร์ล่มไปหนึ่ง Availability Zone ทำให้ลูกค้าจำนวนมากได้รับผลกระทบ โดยตอนนี้สามารถกู้ระบบทำความเย็นได้สำเร็จแล้ว และอุณหภูมิในศูนย์ข้อมูลก็อยู่ในระดับปกติ แต่ความยากคือการเปิดระบบกลับมาจากศูนย์

กระบวนการเปิดศูนย์ข้อมูลกลับมาจะเริ่มจากระบบสตอเรจเป็นอย่างไร จากนั้นจึงเริ่มเปิดระบบ compute ทั้งหลายซึ่งจะทำให้ระบบกลับมาเต็มรูปแบบ

ระบบทำความเย็นเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ช่วงตีสามของไทยเมื่อคืนที่ผ่านมา จนตอนนี้ก็กินเวลาเกือบเต็มวันแล้ว และทางไมโครซอฟท์ระบุว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีกำหนดเปิดระบบกลับคืนได้เมื่อใด

ที่มา – Azure Status

from:https://www.blognone.com/node/132553

ศูนย์ข้อมูล Azure ที่สิงคโปร์ไฟตก ระบบความทำเย็นดับ ทำ 1 AZ ใน SEA ล่ม

หนึ่งในศูนย์ข้อมูลของ Microsoft Azure ที่สิงคโปร์เกิดเหตุการณ์ไฟตก จนทำให้ระบบทำความเย็นไม่ทำงาน ทาง Microsoft จึงต้องสั่งลดการทำงานศูนย์ข้อมูลลง เป็นเหตุให้ 1 Available Zone ของ South East Asia Region ล่ม ไม่สามารถให้บริการได้ (จากทั้งหมด 3 AZ)

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เวลาประมาณตี 3 เมื่อเช้าบ้านเราที่ผ่านมา จนตอนนี้ยังไม่สามารถกู้ระบบทำความเย็นกลับมาได้

ที่มา – Azure Status

from:https://www.blognone.com/node/132548