ใครยังเป็นสาวกที่เหนียวแน่นของโปรแกรม Microsoft Office อยู่ (ของฟรี Google ทำอะไรเราไม่ได้) ในที่สุดวันนี้ก็กำลังจะมีโปรสุดเด็ดสุดถูกอันใหม่ออกมาแล้ว มีชื่อเรียกว่า Microsoft 365 Basic เป็นบริการใหม่ที่ Microsoft ตั้งใจเอามาแทนที่ OneDrive Standalone 100GB เดิมโดยเฉพาะ
ตอนแรก Microsoft ตั้งใจขายโปรนี้แบบให้เฉพาะพื้นที่คลาวด์ 100GB อย่างเดียว ในราคา 689 บาท/ปี หรือ 69 บาท/เดือน ให้เลือก ส่วนคนที่อยากได้ Office ด้วย (+OneDrive 1TB) เดิมต้องขยับไปใช้โปร Microsoft 365 Personal ในราคา 2,099 บาท/ปี หรือ 209 บาท/เดือน หรือสูงกว่า ถึงจะได้ Word, Excel, PowerPoint และ Outlook มาเพิ่ม
แต่ตอนนี้โปรแกรม Office จะไม่โดนกั๊กให้เฉพาะโปรใหญ่เท่านั้นแล้ว เพราะทุกโปรแกรมก็จะได้ใช้ใน Microsoft 365 Basic เหมือนกันหมด เน้นใช้งานคนเดียวได้เหมือน Personal แต่จะได้พื้นที่ OneDrive และฟีเจอร์ย่อยอื่น ๆ ที่น้อยกว่านิดหน่อยนั่นเอง แต่ก็คิดว่าก็ค่อนข้างเพียงพอแล้วสำหรับการใช้งานทั่วไป
ใช้งาน Microsoft 365 Basic เราจะได้สิทธิ์อะไรบ้าง?
พื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ OneDrive 100GB
ใช้อีเมล Outlook แบบไม่มีโฆษณา
มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา
ใช้งานแอปยอดนิยม เช่น Word, Excel และ PowerPoint
Microsoft ประเทศไทย จะเริ่มเปิดวางจำหน่ายบริการ Microsoft 365 Basic ผ่านหน้าเว็บไซต์ ในวันที่ 30 มกราคม 2023 นี้เป็นต้นไป ถ้าใครใช้ OneDrive Standalone 100GB จะได้อัปเกรดอัตโนมัติ ตอนนี้ถ้าเข้าไปหน้าเว็บเลยจะยังเห็นเป็นโปรเดิมอยู่ ดังนั้นอดใจรอกันก่อนแค่ไม่กี่วันเท่านั้น
แพ็กเกจ Microsoft 365 Basic จะกลายมาเป็นแพ็กเกจราคาถูกที่สุดของ Microsoft 365 โดยระดับราคาถัดขึ้นไปคือ Microsoft 365 Personal ที่ 6.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ได้พื้นที่ OneDrive 1TB และสิทธิใช้งาน Office เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย
Microsoft เตรียมเอาระบบ AI ใส่ลงในแอปและโปรแกรมทำงานต่าง ๆ ด้วยการจับมือร่วมกับ OpenAI เจ้าของ ChatGPT ทำให้ในอนาคตเราอาจได้เห็น Word ที่มีฟีเจอร์ล้ำ พิมพ์แค่หัวข้อหรือระบุข้อมูลไป ตัวโปรแกรมก็จะไปหาข้อมูลและเรียบเรียงออกมาเป็นงานเขียนได้ หรือช่วยเขียนอีเมลส่งหาคนได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น งานนี้ Google มีหนาว!
bing.com
แหล่งข่าวเผยกับ The Information ว่า Microsoft ต้องการใช้ตัว ChatGPT จาก OpenAI มาใส่ในบริการต่าง ๆ ทั้ง Bing, Word, Outlook, Powerpoint, และบริการอื่น ๆ ของบริษัท
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ต่อจากนี้ไป เมื่อเราพิมพ์หัวข้อที่ต้องการใน Word แล้ว ตัวโปรแกรมก็จะรวมรวมข้อมูลและนำมาเขียนเรียงออกมาเป็นงานเขียนให้เลย หรือไม่ต้องคอยเสียเวลาหาคำมาเขียนอีเมล เพราะตัว Outlook รู้จักวิธีการเขียนและพร้อมเรียบเรียงเนื้อหาได้อย่างถูกต้องอยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Excel ประจำเดือนธันวาคม 2022 มีของใหม่ที่น่าสนใจสองอย่างคือ Formula Suggestions และ Formula by Example ซึ่งมีผลกับผู้ใช้งาน Excel เวอร์ชันบนเว็บ
ฟีเจอร์แรก Formula Suggestions เป็นการแนะนำสูตรคำนวณ โดยเมื่อผู้ใช้งานพิมพ์ = ในเซลล์ Excel ก็จะแนะนำสูตรที่น่าจะต้องการใช้ขึ้นมา ในตอนนี้รองรับเฉพาะ SUM, AVERAGE, COUNT, COUNTA, MIN และ MAX รองรับเฉพาะเนื้อหาภาษาอังกฤษในตอนนี้ (ดูตัวอย่างท้ายข่าว)
อีกฟีเจอร์คือ Formula by Example โดยเมื่อผู้ใช้งานเริ่มใส่ข้อมูลแบบ manual แต่มีแพทเทิร์น ติดต่อกันหลายเซลล์ Excel จะแนะนำผลลัพธ์ที่เหลือให้ พร้อมกับแนะนำสูตรที่ใช้งานมาให้เพื่อยืนยัน คล้ายกับฟีเจอร์ Flash Fill
สำหรับองค์กรที่ต้องการย้ายโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดขึ้นมายัง Azure ไมโครซอฟท์เปิดทางให้ประหยัดได้มากกว่า ด้วยสิทธิประโยชน์การรับแพตช์ระยะยยาว Azure Hybrid Benefit ที่ใช้งานได้กับ Azure VMware ด้วย ทำให้เซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ทั้ง Windows Server และ SQL Server ยังคงได้รับแพตช์ระยะยาวต่อไป ขณะที่องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วยการใช้ Reserved Instance เมื่อคาดเดาโหลดที่ต้องการใช้งานได้ แม้แต่แอปพลิเคชั่นที่รันบนลินุกซ์ก็ยังสามารถนำไลเซนส์มาใช้งานต่อเนื่องบน Azure ได้ทั้ง Red Hat และ SUSE
Microsoft Azure มาพร้อมกับเครื่องมือช่วยจัดการค่าใช้จ่ายอย่าง Microsoft Cost Management ที่แนะนำวิธีการลดค่าใช้จ่ายได้ 20-34% พร้อมกับคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Azure Advisor
การใช้งานโครงสร้างพื้นฐานบน Azure ยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถใช้งานเครื่องมือเพิ่มเสถียรภาพและความปลอดภัยของระบบได้ เช่น Azure Site Recovery และ Azure Backup ที่ช่วยลดการเกิด downtime ที่ไม่คาดคิดได้ถึง 93% ขณะที่ Microsoft Defender for Cloud ก็ช่วยดูแลความปลอดภัยเซิร์ฟเวอร์และระบบฐานข้อมูลโดยประหยัดกว่าการใช้โซลูชั่นอื่น
Microsoft 365 Business Premium คุ้มครองทุกคนในองค์กร
องค์กรส่วนใหญ่คงใช้งาน Microsoft 365 กันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เพราะชุดซอฟต์แวร์ Microsoft Office กลายเป็นหัวใจสำหรับการทำงานในองค์กรจำนวนมาก แต่ที่หลายองค์กรยังคงเลือกใช้โซลูชั่นความปลอดภัยเพิ่มเติมจากผู้ผลิตต่างๆ ไปพร้อมกัน
Microsoft 365 Business Premium เป็นชุดเพิ่มเติมที่ใส่โซลูชั่นความปลอดภัยมาอย่างครบถ้วน เปิดทางให้องค์กรสามารถควบคุมความปลอดภัยได้อย่างเต็มรูปแบบ ตัวป้องกันไวรัสระดับองค์กรอย่าง Microsoft Defender for Business ทำให้องค์กรมองเห็นช่องโหว่ต่างๆ ว่าเครื่องของพนักงานคนใดถูกโจมตี และ Microsoft Intune ทำให้ควบคุมได้ว่าอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เชื่อมต่อเข้าระบบขององค์กรมีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ สามารถจัดการเครื่องระยะไกล โดยไม่ต้องให้พนักงานนำเครื่องมาหาฝ่ายไอทีเพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยโซลูชั่นทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ต้องเสียเวลาเซ็ตอัพที่ยุ่งยากและอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง
การเลือกใช้ Microsoft 365 Business Premium ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการไลเซนส์ได้อย่างง่ายดายเพราะนับตามการใช้งานของผู้ใช้ Microsoft 365 ปกติ ช่วยประหยัดต้นทุนการดูแลไลเซนส์ซอฟต์แวร์ที่อาจจะทับซ้อนกันไปมาและต้องเสียเวลาอินทิเกรตกันเป็นเวลานานไปได้ถึง 60% ขณะที่เจ้าหน้าที่ไอทีขององค์กรสามารถให้บริการได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้นจากระบบที่เชื่อมกันและเปิดให้สามารถให้บริการได้โดยอัตโนมัติ เปิดทางให้พนักงานทั้งองค์กรสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยยังมีความปลอดภัยเต็มรูปแบบ
Microsoft Power Platform พัฒนาแอปพลิเคชั่นได้มากกว่าในเวลาที่สั้นลง
ต้นทุนก้อนใหญ่ของการดูแลระบบไอทีในองค์กรคือการพัฒนาแอปพลิเคชั่นภายในที่ช่วงหลังมีต้นทุนที่สูงขึ้น ปัญหาเช่นนี้ทำให้องค์กรจำนวนมากหันมาพิจารณาแพลตฟอร์ม Low Code / No Code ที่ช่วยสร้างแอปพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนการทำงานตามความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้ตลอดเวลา และ Microsoft Power Platform ก็นับเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำไม่ต่างจากโซลูชั่นเฉพาะทาง
Power Apps นับเป็นแพลตฟอร์ม Low Code No Code ชั้นนำที่ความสามารถครบถ้วน เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่ตรงความต้องการได้ในเวลาอันสั้น หรือแม้แต่ผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นด้วยตัวเองได้
Power Automate เปิดทางให้องค์กรสามารถปรับกระบวนการทำงานที่เคยต้องใช้พนักงานมาทำขั้นตอนต่างๆ เช่น การส่งต่อเอกสาร รวบรวมข้อมูลประจำวัน หรืองานซ้ำๆ ที่เคยต้องใช้คน มาเป็นระบบอัตโนมัติที่เพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างชัดเจน
ในสภาพเศรษฐกิจที่ต้องบอกว่ายังเอาแน่เอานอนไม่ได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยขับเคลื่อนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและต้องพิจารณาในรายละเอียดให้ครอบคลุม วิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนก็คือพยายามลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้มากที่สุด เราจะทำอย่างไรให้การลงทุนทุกบาททุกสตางค์ของเราคุ้มค่า เราเชื่อว่าทุกวันนี้ใครก็อยากจ่ายน้อยแต่ได้มากกันทั้งนั้น สำหรับผู้ใช้งาน Microsoft วันนี้เราขอนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายจาก Microsoft ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประหยัดต้นทุนการทำงานได้มากขึ้น ประกอบด้วย Microsoft 365 Business Premium และแผน Bring Your Own License (BYOL) ของ Microsoft SQL Server และ VMware รวมถึงความคุ้มค่าจาก Power Platform จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลยครับ
ความปลอดภัยที่ครบ จบในตัว
องค์กรคงคุ้นเคยกับการซื้อ License ของ Microsoft 365 กันมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยมีการแบ่งแผนการใช้งานออกเป็นหลายระดับทั้งระดับส่วนบุคคล(Personal) สิทธิพิเศษสำหรับนักเรียน หรือการใช้งานในครอบครัว แต่ในระดับธุรกิจ Microsoft 365 จะมีการแบ่งตามขนาดธุรกิจเป็น 2 ระดับใหญ่คือ Business Plan สำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง(SME) และขนาดใหญ่(Enterprise) ซึ่งอย่างหลังนี้แอปจะเป็นมีความสามารถขั้นสูงระดับองค์กรอย่างแท้จริง ตอบโจทย์ความซับซ้อนของธุรกิจทั้งเรื่องฟังก์ชันและจำนวนพนักงาน
credit : Microsoft
ในบทความนี้เราจะโฟกัสเฉพาะแผน Business ซึ่งรองรับผู้ใช้งานได้สูงสุด 300 ท่าน ก่อนอื่นเลยมาวิเคราะห์กันก่อนว่าในเมื่อ Business มีหลายทางเลือกแล้วเหตุใดจึงต้องขยับไปใช้แผนสูงสุด จากภาพประกอบด้านบนจะเห็นได้ว่า Business Basic อาจจะยังไม่โดนใจสำหรับผู้ใช้งานที่คุ้นกับการใช้โปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องมากกว่า ดังนั้นทางเลือกต่อมาก็คือแผน Standard จึงน่าเป็นจุดตั้งต้นที่น่าดึงดูดให้หลายองค์กร แต่รู้หรือไม่ว่าความต่างด้านราคาเพียงไม่กี่เหรียญฯระหว่าง Premium นี้กลับช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล เนื่องจากรวบรวมเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยมาให้อย่างครบครันทำให้ไม่ต้องหาซื้อโซลูชันอื่นเข้ามาอีก ไม่ว่าจะเป็น Antivirus หรือซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการอุปกรณ์ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่แค่จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น เพราะยังช่วยให้แผนกไอทีของคุณทำงานได้ง่ายขึ้น สามารถบริหารจัดการเรื่องต่างๆ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียว แถมยังไม่ต้องปวดหัวกับการต่อ Subscription จากหลายผู้ให้บริการอีกด้วย โดยฟีเจอร์ด้าน Security ที่ท่านจะได้รับมีดังนี้
1.) Microsoft Intune
โซลูชัน Microsoft Intune ถือเป็นหัวใจของ Business Premium เลยก็ว่าได้ โดยให้ความสามารถในเรื่องของ Mobile Device Management(MDM) และ Mobile Application Management (MAM) ซึ่งโซลูชันให้บริการในลักษณะของ Cloud-based นั่นหมายความว่าไม่จำเป็นต้องจัดตั้งเซิร์ฟเวอร์ควบคุมขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ที่จะได้รับอีกมากมายเช่น
Microsoft Defender for Office 365 หรือชื่อเดิมคือ Microsoft Office 365 ATP ได้มอบความสามารถที่ช่วยขจัดพื้นผิวการโจมตีมักที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่น อีเมลและไฟล์เอกสารที่ซ่อนมัลแวร์เข้ามาภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นแนวหน้าของการรับมือกับภัยคุกคามเลยก็ว่าได้ หากเจาะลึกภายในของโซลูชันมีฟีเจอร์โดดเด่นดังนี้
เราทราบกันดีถึงความสามารถของ Active Directory ที่ใช้กันมานาน แต่เมื่อการทำงานเข้าสู่ยุคของคลาวด์ Azure AD จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับการทำงานสมัยใหม่ ทั้งนี้เมื่อประกอบความสามารถเข้ากับ Intune องค์กรจะสามารถรองรับการ Join Domain เพื่อบริหารจัดการอุปกรณ์ Mobile ได้ นอกจากนี้ Azure AD ยังรองรับระบบอื่นที่นอกเหนือจาก Windows ด้วย อย่างไรก็ดีสิ่งที่ลูกค้า Microsoft 365 Business Premium จะได้รับคือ Azure AD Premium ที่มีความสามารถเหนือกว่าเดิมเช่น การทำงานแบบ Hybrid ทรัพยากรทั้งคลาวด์และ On-premise หรือเครื่องมือบริหารจัดการขั้นสูงของแอดมินอย่าง Dynamic Group, Self-service Group Management, Microsoft Identity Manager และ Cloud Write-back เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างความเป็น Conditional Access อย่างแท้จริงด้วยการรองรับทางเลือกของ MFA อย่าง SMS, Microsoft Authenticator, Software Token, Windows Hello for Business, Hardware Token, FIDO2 พร้อมความสามารถในด้านการจัดการ Policy ที่เข้มข้น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาพร้อมกับ Microsoft 365 Business Premium ที่ท่านจะได้รับอย่างเข้มข้น ครบเครื่องไม่ว่าจะเป็นมุมของ Email, Office, Mobile Management, Cloud และโซลูชันด้าน Identity อย่าง Azure AD Premium แต่ท่านยังได้รับความสามารถของ Data loss Prevention และ Azure Information Protection ที่จะควบคุมการใช้งานข้อมูลอีกด้วย มาถึงตรงนี้คงเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าความต่างของราคาราว 10 เหรียญสหรัฐฯต่อเดือนคุ้มค่าขนาดไหน เทียบกับความยากในการซื้อโซลูชันอื่นเข้ามาให้ได้เท่ากัน เพราะเรื่องความปลอดภัยนั้นประเมินค่าไม่ได้…
หากคุณมี License SQL Server หรือ VMWare อยู่แล้ว ย้ายขึ้นคลาวด์ประหยัดได้ทันที
Bring Your Own Microsoft SQL Server to Azure Cloud
Microsoft เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ SQL Server ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากเกิดปัญหาขึ้นผู้ที่จะช่วยเหลือองค์กรได้ดีที่สุดก็คือ Microsoft เอง โดยเฉพาะหากนำ SQL Server ขึ้นสู่ระบบคลาวด์องค์กรจะได้ประโยชนอีกหลายเด้งเลยทีเดียว ประการแรก คือได้ความยืดหยุ่นของคลาวด์ที่จ่ายได้ตามจริง ทำให้ปรับเพิ่มลดทรัพยากรได้ตามต้องการ ประการที่สอง คือมีเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยพร้อมตอบโจทย์ด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบ ประการที่สาม บริหารจัดการได้ง่าย ยิ่งในรูปแบบของ PaaS ลูกค้ามีหน้าที่เพียงแค่ใช้งานและจัดการงานของตนเท่านั้น อีกทั้งหากต้องการฟีเจอร์ด้านข้อมูลขั้นสูงเช่น Data Mesh, Analytics หรือ Machine Learning ก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจาก SQL Database พร้อมใช้งานได้ทันที
ด้วยข้อมูลที่กล่าวมาจึงดึงดูดให้หลายองค์กรสนใจที่จะย้าย SQL Server (เริ่มต้นที่เวอร์ชัน 2012 หรือสูงกว่า) ของตนสู่ Microsoft Azure แต่ที่ผ่านมาอาจจะยังลังเลเพราะมีข้อจำกัดว่าต้องใช้ VM หรือ PaaS ที่มาพร้อมค่าใช้จ่ายของ License แต่เรื่องนี้เป็นอดีตไปแล้วเพราะล่าสุดด้วยข้อเสนอใหม่ผู้ใช้งานเดิมที่มี License ของ SQL Server จะสามารถย้ายมาใช้งานบน Azure ได้แบบไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็น VM ที่ติดตั้ง SQL Server หรือ PaaS ซึ่งท่านจะได้รับข้อดีข้างต้นทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา แต่ถ้าลูกค้าที่มี SQL Server License พร้อมกับ SA Software Assurance ท่านจะสามารถนำ License มาใช้บน Azure ได้พร้อมกับ VM ในดาต้าเซ็นเตอร์ของท่านเองสูงสุดถึง 180 วัน!
Credit : Microsoft
Bring Your Own VMware License to Azure Cloud
Microsoft Azure มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้อย่างมั่นคง มีความสเถียรสูงและวางแผนค่าใช้จ่ายได้ทุกระยะ ประกอบกับมีบริการขั้นสูงที่สร้างประโยชน์ต่อยอดให้ธุรกิจได้มากมายทั้ง AI/ML, Analytics, Data Governance โดยเฉพาะเครื่องมือด้าน Security ที่มีให้ครบครันไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อย่างไรก็ดี VMware เป็นผู้เล่นชั้นนำในตลาด Virtualize ซึ่งมีลูกค้าอยู่มากมาย ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่จะผลักดันให้องค์กรเปลี่ยนพฤติกรรมและทักษะความคุ้นเคยที่สั่งสมมานานเพื่อหันมาใช้เครื่องมือใหม่คงทำได้ยาก ซึ่ง Microsoft ตระหนักเรื่องนี้ดีจึงได้ร่วมมือกับ VMware สร้างบริการ Azure VMware Solution เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเหล่านี้
ไอเดียของ Azure VMware Solution ก็คือโครงสร้างพื้นฐานของ Microsoft เพียงแต่ว่าใช้ซอฟต์แวร์สแต็กจาก VMware เช่น vSphere, NSX-T Data Center, vSAN และ HCX ซึ่งได้รับการการันตีโดย VMware เรียบร้อยแล้ว จึงให้ความมั่นใจได้ว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้โซลูชันเดียวกันของ VMware แต่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานของ Azure เพื่อเสริมศักยภาพในการให้บริการธุรกิจได้ โดยในมุมของไอทีผู้ดูแลก็ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เครื่องมือใหม่นั่นเอง
*ล่าสุด Microsoft ได้เปิดให้ผู้สนใจทุกท่านที่มี License ของ VMware vRealize สามารถนำมาใช้งานบริการ Azure VMware Solution ต่อได้ ซึ่งท่านสามารถขอรับคำปรึกษาและความช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านและดูแล จากทีมงาน Microsoft และพาร์ทเนอร์ที่ดูแล Azure ได้ที่นี่ครับ
Credit : Microsoft
เพิ่มศักยภาพให้ทุกคนในองค์กรด้วย Microsoft Power Platform
ขึ้นชื่อว่าเป็นการประชุมออนไลน์ แม้จะดูผ่อนคลายกว่าการประชุมแบบ face-to-face เยอะ แต่เชื่อว่ายังไงก็ต้องมีความเครียดสะสมจากการทำงานเกิดขึ้นกันบ้าง ดังนั้นระหว่างพักเบรก Microsoft เลยจัดวิธีแก้เครียดให้ชาว Work From Home ทุกคน ด้วยการใส่เกมในตำนานบน Windows ถึง 4 เกม มาให้เล่นได้ผ่านตัวแอป Microsoft Teams กันเลย
เกมที่มีให้เล่นจะประกอบด้วย Solitaire (เกมไพ่ในตำนาน), Minesweeper (เกมค้นหาระเบิด), IceBreakers และ Wordament ซึ่งวัยเก๋าที่เคยใช้ Windows รุ่นเก่า ๆ มาก่อนคงไม่มีใครไม่รู้จักเกมพวกนี้แน่นอน โดยทั้ง 4 เกมนี้จะมาในรูปแบบของแอปเสริมที่ติดตั้งได้ในตัว Microsoft Teams อีกที ชื่อว่า Games for Work สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้โดยกดที่หัวข้อ Apps พิมพ์ค้นหาคำว่า ‘Games for Work’ และกด Add to a meeting หรือดาวน์โหลดโดยตรงผ่านลิงก์นี้
ไฮไลต์เด็ดที่ตัวเกมในนี้เจ๋งกว่าเวอร์ชันปกติก็คือ สามารถชวนคนในห้องประชุมมาเล่นได้พร้อมกันสูงสุดถึง 250 คน (ตามจำนวนที่แอป Microsoft Teams รองรับ) โดยเฉพาะเกม Wordament ที่เอาไว้แย่งกันทายคำศัพท์เร็ว ๆ คล้ายกับเวลาเล่น kahoot จึงเหมาะแก่การแย่งกันเล่นและช่วยละลายพฤติกรรมไปในตัว ที่สำคัญทุกเกมในนี้จะเป็นเวอร์ชันไม่มีโฆษณากวนใจอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 4 เกมที่ว่ามานี้จริง ๆ มีให้โหลดเล่นฟรีอยู่แล้วด้วยบน Microsoft Store ไม่จำเป็นต้องเล่นผ่าน Microsoft Teams ก็ได้หากไม่ได้ใช้ ดังนั้นใครคิดถึงเกมวัยเก๋าเหล่านี้ ซึ่งอยู่คู่กับพีซีมาตั้งแต่สมัย Windows 3.1 เลย ก็ไปลองโหลดมาเล่นรำลึกความหลังกันได้ครับ (ดักแก่ ๆ)
14 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมา Microsoft ได้เปิดตัว Microsoft Supply Chain Platform ซึ่งรวบรวมบริการต่างๆ ของ Microsoft และโซลูชันคู่ค้าเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการจัดการซัพพลายเชน
Microsoft Supply Chain Platform ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของ Microsoft ได้แก่ Microsoft Dynamics 365, Microsoft Azure, Microsoft Teams และ Power Platform นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับบริการการทำงานร่วมกันของ Microsoft Teams
Supply Chain Center Console
องค์ประกอบหลักที่โดดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือ Microsoft Supply Chain Center ซึ่งเป็นคอนโซลการจัดการที่ขณะนี้อยู่ในขั้นแสดงตัวอย่าง ซึ่งสามารถใช้งานได้จริงกับข้อมูลซัพพลายเชนและแอปพลิเคชันที่มีอยู่ได้
ตามที่ Microsoft ได้กล่าวไว้ Supply Chain Center จะทำงานร่วมกับบริการการวางแผนทรัพยากรระดับองค์กร (ERP) ของ Microsoft Dynamics 365 แต่จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ ERP อื่นๆ ทั้ง SAP และ Oracle พร้อมด้วยระบบซัพพลายเชนแบบสแตนด์อโลน
Supply Chain Center มาพร้อมกับโมดูลที่สร้างโดย Microsoft สองโมดูล แต่ยังสามารถใช้โมดูลที่สร้างโดยพันธมิตรได้อีกด้วย โดยโมดูลของ Microsoft ใน Supply Chain Center ประกอบด้วย:
โมดูล Supply and Demand Insights – ซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อคาดการณ์ข้อจำกัดด้านอุปทาน สต็อกเกิน หรือคำสั่งซื้อที่ไม่ได้รับ โมดูลนี้มีคุณลักษณะ “Smart News Insights” ที่แสดงข้อมูลเหตุการณ์ภายนอกที่เกี่ยวข้องภายในพอร์ทัล Supply Chain Center
โมดูล Order Management Module – ซึ่งใช้ข้อมูลสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์และ AI เพื่อ “ตอบสนองปริมาณการสั่งซื้อในอนาคตอย่างรวดเร็ว” มีตัวเชื่อมต่อที่สร้างไว้ล่วงหน้าเพื่อทำงานกับ “การรับคำสั่งซื้อ การจัดส่ง และบริการโลจิสติกส์ของบุคคลที่สาม” ของพันธมิตร
Partner Integration Efforts
Microsoft Supply Chain Platform สามารถผสานรวมเข้ากับโซลูชันซัพพลายเชนอื่นๆ ได้ ซึ่ง Microsoft ได้มีความร่วมมือกับ “Accenture, Avanade, EY, KPMG, PwC และ TCS” ซึ่งเป็นผู้รวมระบบและพันธมิตรที่ปรึกษาในครั้งนี้ด้วย