คลังเก็บป้ายกำกับ: CONSUMER

เพราะของมันต้องมี จริงเหรอ? ทำไมเรามักจะควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้เมื่อเห็นของฟรี หรือเลข 0 บาท

เคยเป็นไหม เจอป้ายซื้อ 1 แถม 1 ทีไรเป็นต้องพุ่งเข้าร้านทุกที คนเยอะแค่ไหนก็ยอมต่อคิวได้ จนสุดท้ายแล้วก็ต้องเสียเงินทุกที อาการชอบของฟรีเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ไม่ว่าใครก็เป็นกัน

ในปี 2013  แบรนด์ไอศกรีมสัญชาติอเมริกันอย่าง Baskin Robbins ได้ประกาศแจกไอศกรีมฟรีเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในโอกาสที่เมืองดูไบได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดงาน World Expo 2020 จนคนพากันมาต่อคิวยาวเหยียดต่อไปหลายช่วงตึกเพื่อรับไอศกรีมฟรีที่ปกติมีมูลค่าแค่ 3 ดอลลาร์สหรัฐหรือถ้าคิดเป็นเงินไทยปัจจุบันก็เพียงแค่ 105 บาทเท่านั้น

ทำไมของฟรีถึงทำให้ยอมต่อแถวหลายชั่วโมงได้ ทั้งที่ไอศกรีมก็มีมูลค่าไม่มากนัก และผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มีกำลังซื้อกันอยู่แล้ว? คำถามนี้ตอบได้ด้วยหลักจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่เรียกว่า “Zero Price Effect”

ก่อนที่จะไปพูดถึง Zero Price Effect เราควรเข้าใจหลักกลไกตลาดในสถานการณ์ปกติที่ของยังไม่ฟรีก่อน

หลักกลไกตลาดหากอธิบายอย่างง่ายมีอยู่ว่า 

  • ถ้าราคาสินค้าลดลง เราจะอยากซื้อมากขึ้น
  • ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เราจะอยากซื้อน้อยลง 

และราคาสินค้าและความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้แปรผกผันกันอย่างอิสระแต่เป็นการแปรผกผันกันอย่างมีสัดส่วน หากลองสังเกตจากตัวเราเอง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อของแต่ละอย่าง เรามักจะคิดคำนวณคร่าว ๆ อยู่เสมอว่าราคาของสิ่งที่เรากำลังจะซื้อคุ้มค่าและเหมาะสมกับการประโยชน์ของสินค้านั้นหรือไม่ 

Zero Price Effect: เมื่อเลข 0 มีพลังมหาศาล

มาสู่คำถามที่ว่า ทำไมพอเห็นของฟรี เราแทบจะไม่ต้องเสียเวลาคิดคำนวณอะไรเลยและรีบเดินเข้าไปหาสินค้านั้นโดยอัตโนมัติ (แม้จะต้องเสียเวลาต่อคิวหลายชั่วโมงเพื่อของฟรีที่มูลค่าจริงไม่กี่บาท)

นักจิตวิทยาและนักเศรษศาสตร์พฤติกรรมที่ชื่อว่า Dan Ariely พร้อมทั้ง Kristina Shampanier และ Nina Mazar ได้ตีพิมพ์งานวิจัยในปี 2007 พร้อมทั้งตั้งชื่ออาการเห็นของฟรีเป็นไม่ได้นี้ขึ้นมาว่า Zero Price Effect 

Zero Price Effect เป็นแนวคิดที่ว่าเมื่อสินค้านั้นฟรี กลไกตลาดแบบปกติจะใช้ไม่ได้ เพราะเลข 0 จะทำให้คนหยุดคิดเรื่องความคุ้มค่าแต่มองว่าต้องหยิบของนั้นไว้ก่อนเพราะกลัวจะเสียโอกาสไป ผู้บริโภคจึงไม่คิดเรื่องความคุ้มค่าอีกต่อไป แต่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจแทน ทำให้ความต้องการซื้อสินค้านั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก การใช้อารมณ์เหนือเหตุผลแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Affect Heuristic” พูดง่าย ๆ ก็คือ เลข 0 กระตุ้นให้เกิด Affect Heuristic

Ariely, Shampanier และ Mazar ได้ทำการทดลองขายช็อกโกแลต 2 แบรนด์ ดังนี้ Hershey’s Kisses วางขายในราคา 1 เซ็นต่อชิ้น Lindt truffles ที่เป็นช็อกโกแลตที่มีเป็นแบรนด์หรูกว่าและมีคุณภาพดีกว่า วางขายในราคา 15 เซ็นต่อชิ้น ผลการทดลองพบว่าลูกค้า 73% เลือกซื้อของ Lindt

ต่อมาได้ลองลดราคาช็อกโกแลตลงแบรนด์ละ 1 เซ็น เท่ากับว่าวางขาย Lindt ในราคา 14 เซ็น และให้ Hershey’s Kisses ฟรี ผลที่ได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยมีลูกค้าซื้อ Hershey’s Kisses 69% ขณะที่มีผู้ซื้อ Lindt เพียง 31% เท่านั้น 

จะเห็นว่าหากขายสินค้าชนิดเดียวกัน 2 แบรนด์ ในราคาที่ยังไม่ฟรี ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่า เพราะมีการคำนวนเปรียบเทียบ ‘คุณค่าที่ได้มา’ และ ‘เงินที่เสียไป’ ในหัวคร่าว ๆ แล้วรู้สึกว่าเสียเงินมากกว่านิดหน่อยแต่ได้คุณค่ากลับมามากกว่าเยอะ 

แต่พอเป็นเรื่องของฟรี ทุกอย่างจะกลับตาลปัตร เพราะแม้จะลดราคาลงมาในมูลค่าที่เท่ากัน (ซึ่งในกรณีนี้คือ 1 เซ็น) ผู้บริโภคจะหันมาเลือกของฟรีแทนโดยไม่สนใจคุณภาพของสินค้าเท่าไรนัก

ช็อกโกแลตแบรนด์ Lindt

ต่อมาในปี 2015 Mehdi Hossain และ Ritesh Saini ได้ทำการศึกษาพบว่า Zero Price Effect จะเกิดในระดับที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า โดยได้แบ่งสินค้าเป็น 2 ชนิด คือ ผลิตภัณฑ์ที่เน้นความพึงพอใจด้านอารมณ์ (hedonistic product) และผลิตภัณฑ์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอย (utilitarian product) 

การศึกษาพบว่า Zero Price Effect จะเกิดขึ้นสินค้าฟุ่มเฟือยมากกว่าสินค้าจำเป็น โดยให้ตัวอย่างไว้ว่า การแจกเค้กช็อกโกแลตฟรี 1 คำ จะทำให้เกิด Zero Price Effect มากกว่าการแจกน้ำตาลฟรี 1 ช้อน อย่างกรณีไอศกรีมของร้าน Baskin Robbins เองก็จัดว่าเป็นสินค้าที่สร้างความพึงพอใจทางด้านอารมณ์จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะยอมต่อคิวหลายชั่วโมงเพื่อรอรับไอศกรีมฟรี

ถอดบทเรียน Zero Price Effect กับธุรกิจ: ของฟรีจะฟรีจริงไหม?

เมื่อธุรกิจจับจุดได้ว่าเลข 0 มีพลังในการโน้มน้าวจิตใจให้คนมาซื้อสินค้า Zero Price Effect จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ แต่แบรนด์ต่าง ๆ มักจะคิดมูลค่าแอบแฝงลงไปอย่างเนียน ๆ จนออกออกมาในรูปแบบโปรโมชันลดราคาต่าง ๆ 

  • Buy One, Get One Free!

การนำ Zero Price Effect มาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจที่ชัดเจนที่สุดออกมาในรูปแบบโปรโมชัน 1 แถม 1 อย่างเช่น Pizza Company ที่มักมีโปรโมชันซื้อ 1 ถาด แถมอีก 1 ถาด แคมเปญแบบนี้ทำให้ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้บริโภคมักจะซื้อสินค้ามากกว่าที่จำเป็นหรือมากกว่าที่วางแผนไว้ตอนแรกเพราะเห็นว่าราคาถูกเลยรู้สึกว่าต้องรีบซื้อไว้ก่อน ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายของบริษัท โปรโมชัน 1 แถม 1 ยังดึงดูดให้ลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยซื้อ Pizza Company มาก่อน เข้ามาลองทานด้วยเพราะเห็นว่าราคาถูกดี

  • สมัครสมาชิกวันนี้ ทดลองใช้ฟรีก่อนได้เลย

Zero Price Effect ยังมาในรูปแบบของการให้ทดลองใช้ฟรีก่อนในระยะเวลาจำกัดแล้วค่อยให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะใช้บริการต่อหรือไม่ อย่างที่เราพบเจอกันในบริการสตรีมมิงต่าง ๆ อย่าง Netflix ที่เปิดให้ทดลองใช้ฟรีก่อน 30 วัน เริ่มแรกเราก็คิดว่าจะดูซีรีส์เรื่องดังซักเรื่องให้จบใน 1 เดือนแล้วค่อยยกเลิกสมาชิก แต่สุดท้ายก็จบลงที่ยอมจ่ายเงินให้ Netflix ทุกเดือนแม้ว่าจะได้ดูบ้างไม่ดูบ้าง นอกจาก Netflix จะได้เงินเพิ่มแล้วยังได้ข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ไปวิเคราะห์และสร้างเนื้อหาที่คนสนใจมาเพิ่มจำนวนสมาชิกได้อีก

  • ซื้อ X วันนี้ แถมฟรีสินค้า Y

หลายแบรนด์มักชอบจัดโปรโมชันซื้อของอย่างหนึ่ง แถมของอีกอย่างหนึ่ง หรือซื้อของครบมูลค่าที่กำหนดและจะได้ของฟรี อย่างแคมเปญ Back to School ของ Apple ที่ซื้อ iPad หรือ MacBook แล้วแถม AirPods ลองคิดง่าย ๆ ในช่วงที่ไม่มีแคมเปญ หากเราอยากได้ AirPods ก็คงจะไปซื้อ AirPods อย่างเดียว แต่พอมีแคมเปญนี้ขึ้นมาก็มีแนวโน้มว่าเราจะซื้อ iPad หรือ MacBook ไปด้วยเพราะคิดว่าคุ้มค่ามากกว่าและยังไงก็คงได้ใช้ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เราต้องเสียเงินซื้อ iPad และ Macbook ในราคาที่แพงกว่าการซื้อ AirPods อย่างเดียวอย่างน้อยก็ 2 เท่า

  • สร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าด้วยแพ็คเกจ Freemium

Freemium เป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่ได้รับความนิยม เกิดจากการนำ “Free” มาบวกกับ “Premium” คือการที่บริษัทให้ใช้สินค้าหรือบริการฟรี แต่หากอยากได้บริการเสริมค่อยจ่ายเงินเพิ่มซึ่งบริการเสริมเหล่านี้มักดึงดูดความสนใจของผู้ใช้เพราะทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น YouTube Premium แน่นอนว่าเราสามารถใช้ YouTube ได้ฟรี แต่ใครบ้างจะไม่อยากดูคลิปวิดีโอแบบลื่นไหล ไร้โฆษณา จนท้ายที่สุดหลายคนก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อแพ็คเกจ Premium ไปตามระเบียบ

หน้าทดลองใช้ YouTube Premium เพื่อดูคลิปวิดีโอแบบไม่มีโฆษณาคั่น
  • ของแจกดึงดูดใจจนต้องรับไว้ก่อนแม้จะไม่ได้ใช้อีกเลย

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การแจกของฟรีเมื่อไปร่วมงานหรือการประชุมต่าง ๆ  บริษัทมักจะแจกของที่ระลึกอย่างกระเป๋า สมุดโน้ตหรือแม้แต่เสื้อยืดที่ประทับเครื่องหมายของแบรนด์ลงไป จนเราก็อดไม่ได้ที่จะรับมาก่อนแล้วก็จบด้วยการวางไว้บนชั้นวางของจนลืม ราคาแอบแฝงของการแจกของฟรีคือการสร้างการรับรู้ว่าแบรนด์นั้น ๆ มีอยู่และทำให้ผู้บริโภคจำแบรนด์นั้น ๆ ได้ 

ปัญหาของการตลาดแบบนี้ก็คือการลงทุนมหาศาลไปกับการทำของที่ระลึกที่สุดท้ายแล้วผู้บริโภคน้อยคนมากจะได้นำไปใช้จริง แถมยังมีต้นทุนที่เสียเปล่าไปมากมายกับการผลิตของแจกฟรีซึ่งหนึ่งในนั้นคือต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม 

ใคร ๆ ก็พูดว่า “ของฟรีไม่มีในโลก” และเราก็รู้กันอยู่แก่ใจว่าเป็นเรื่องจริง แต่พอเห็นป้ายซื้อ 1 แถม 1 ทีไรก็ไม่มีใครห้ามใครสักที แม้จะเป็นแค่เลขศูนย์แต่ดันมีพลังมหาศาลจนสามารถเล่นกับจิตใจคนได้ เมื่อ Zero Price Effect เกิดขึ้น แล้วใครจะต้านทานไหว เพราะของใดเล่าจะดีเท่าของฟรี

อ้างอิง – The Decision Lab, Feedough

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เพราะของมันต้องมี จริงเหรอ? ทำไมเรามักจะควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้เมื่อเห็นของฟรี หรือเลข 0 บาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/zero-price-effect/

[Guest Post]การศึกษาผู้บริโภคของไอบีเอ็ม ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการค้าปลีกและท่องเที่ยว หลังผู้บริโภคได้รับวัคซีนโควิด-19

ผลการศึกษาผู้บริโภคทั่วโลกโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคมองถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับการกลับไปใช้ชีวิตหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยอุตสาหกรรมหลักๆ อย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง จะต้องสร้างประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้น หากต้องการคงความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดลูกค้าให้สำเร็จ

การศึกษาผู้บริโภคมากกว่า 15,000 คนทั่วโลก พบว่าคนส่วนใหญ่มั่นใจในความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการกระจายวัคซีนโควิด-19 และมากกว่าครึ่งคาดหวังว่าวัคซีนโควิด-19 จะช่วยปกป้องพวกเขาได้ เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมองว่าระดับการฉีดวัคซีนจะต้องเกิน 70% ถึงจะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ หากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังคงดำเนินไปในอัตราปัจจุบัน คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับความสะดวกสบายแบบที่เคยได้รับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนกว่าจะถึงปี 2022 โดยการศึกษาระบุว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ ผู้บริโภคกำลังมองถึงการปรับวิธีการทำงาน เข้าสังคม ท่องเที่ยว และซื้อของ

“ความเคยชินต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดได้เพิ่มความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการอย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง” นายเฮซุส แมนทัส Senior Managing Partner ของไอบีเอ็ม เซอร์วิสเซส กล่าว “หลายธุรกิจเริ่มมองถึง ‘การกลับมาสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาด’ ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะต้องเร่งพัฒนาระบบดิจิทัลบนพื้นฐานของเทคโนโลยีเอไอและคลาวด์ เพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ การลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ไฮบริดที่ผสมผสานทั้งกิจกรรมเชิงกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน จะช่วยมอบประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะบุคคลได้อย่างไร้รอยต่อยิ่งขึ้น”

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้

ผู้บริโภคทั่วโลกที่สำรวจส่วนใหญ่พร้อมที่จะกลับไปซื้อของในห้างร้านเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

การศึกษาพบว่ากระแสอาจเปลี่ยนไปสำหรับอุตสาหกรรมการค้าปลีกที่ซบเซา โดยผู้บริโภคระบุถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้กลับไปที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าอีกครั้ง หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่สำรวจจำนวนมากอาจไม่ละทิ้งทางเลือกในการช็อปปิงออนไลน์ที่พวกเขาคุ้นเคยในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีกลุ่มที่สำรวจอย่างน้อยหนึ่งในห้าคนที่ระบุว่าพวกเขาวางแผนที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่คาดว่าจะซื้อสินค้าในห้างร้านบ่อยขึ้นมาก หากว่าฉีดวัคซีนแล้ว

หมวดหมู่สินค้าที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะกลับไปซื้อที่ร้านค้ามากที่สุดคือของเล่น เกม และสินค้าที่เกี่ยวกับงานอดิเรก (เพิ่มขึ้น 121%) รวมถึงเครื่องแต่งกาย รองเท้า และเครื่องประดับ (เพิ่มขึ้น 76%)

เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคที่สำรวจทั่วโลกยังคงจะซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไปคือเรื่องความสะดวก ตามมาด้วยความคุ้มค่า และความหลากหลายของสินค้าที่มีขายออนไลน์ หากจะดึงดูดให้ผู้บริโภคกลับไปซื้อของที่ห้างร้าน ผู้ค้าปลีกต้องมองถึงการจัดโปรโมชันและการเน้นสินค้าท้องถิ่น โปรโมชันในห้างเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่จะช่วยดึงผู้บริโภคให้ไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างร้าน โดยเฉพาะกลุ่มเจนเอ็กซ์ (54% ที่สำรวจ) และเบบี้บูมเมอร์ (52% ที่สำรวจ) นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ไม่มีจำหน่ายออนไลน์ อย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในปริมาณน้อย และเครื่องแต่งกายทำมือ อาจสามารถดึงดูดกลุ่มมิลเลนเนีลยล เจนเอ็กซ์ และเบบี้บูมเมอร์เกือบ 50% ที่สำรวจให้มาซื้อสินค้าที่ร้านได้

ศักยภาพในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ในขณะที่การเดินทางของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็มีเริ่มส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจน การศึกษาแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยคน 30% วางแผนที่จะบินบ่อยขึ้น แม้ว่าจะสวนทางกับ 23% ของผู้ที่สำรวจที่วางแผนที่จะบินน้อยลง

การศึกษาพบว่าผู้บริโภคที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า มองถึงการเดินทางค้างคืนในหกเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มใหญ่ยังมีแผนที่จะอยู่บ้านไปเรื่อยๆ โดยประมาณหนึ่งในสี่ของผู้บริโภคที่สำรวจระบุว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะเดินทางในปี 2564 แม้ว่าจะได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วก็ตาม

วัคซีนอาจช่วยกระตุ้นการเดินทางที่เกี่ยวกับงาน โดยผู้ที่สำรวจรู้สึกสะดวกใจที่จะเดินทางที่เกี่ยวข้องกับงานเพิ่มขึ้นสองถึงสี่เท่าในประเทศส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่ต้องเดินทางเพื่อธุรกิจที่มีอายุมากกว่า แสดงความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวน้อยกว่า โดยมีกลุ่มที่อายุมากกว่า 55 ปีเพียง 8% เท่านั้นที่สะดวกใจจะเดินทางเพื่อธุรกิจขณะที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 และมีเพียง 25% เท่านั้นที่รู้สึกสะดวกใจแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว

การศึกษายังชี้ให้เห็นว่ายานพาหนะส่วนบุคคลยังเป็นทางเลือกสำคัญทั้งในช่วงการระบาดของโควิด-19 และหลังจากที่ประชาชนได้รับวัคซีนแล้ว แม้ว่า 10% ของผู้ที่สำรวจวางแผนที่จะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลน้อยลงหลังจากได้รับวัคซีน แต่ผู้บริโภค 47% มองว่าจะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น

การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าการเดินทางรูปแบบอื่นๆ อาจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรืออาจมีความต้องการลดลงเมื่อประชาชนได้รับวัคซีนมากขึ้น อุตสาหกรรมเรือสำราญอาจประสบกับการตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด โดย 26% ของผู้สำรวจระบุว่าพวกเขาจะใช้เรือสำราญน้อยลง ขณะที่มีเพียง 17% ที่ระบุว่าจะใช้มากขึ้น

ผลสำรวจกลุ่มเจนซี (ผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี) มีความแตกต่างออกไป

แนวโน้มหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันออกไปในผู้บริโภคที่ได้รับการสำรวจแต่ละกลุ่มอายุ แต่กลุ่มเจนซีที่สำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 กลับแสดงแนวโน้มที่แตกต่างออกไปในหลายๆ ด้าน

กลุ่มเจนซีที่สำรวจส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาร่วมกับคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวหลังได้รับวัคซีนแล้ว โดย 27% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจระบุว่าจะมีปฏิสัมพันธ์นอกบ้านมากขึ้น เทียบกับเพียง 19% ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ และเพียง 16% ของกลุ่มที่อายุเกิน 55 ที่สำรวจ โดยกลุ่มเจนซีสนใจที่จะกลับไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมากอย่างการแข่งขันกีฬา สถานบันเทิงหรือสวนสนุก พิพิธภัณฑ์และอาร์ตแกลลอรี รวมถึงกิจกรรมการแสดงสด และโรงภาพยนตร์ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ที่สำรวจ ยกเว้นการไปร้านอาหารและสถานที่ที่ให้บริการฟรีอย่างชายหาดและสวนสาธารณะ

โดยเฉลี่ยแล้ว 60% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจมีแผนที่จะไปสถานที่อย่างร้านอาหารและบาร์ ร้านเสริมสวยและร้านตัดผม เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว เทียบกับ 71% ของกลุ่มมิลเลนเนียล และ 69% ของกลุ่มเจนเอ็กซ์ที่สำรวจ และดูเหมือนพฤติกรรมนี้จะเป็นเทรนด์ต่อเนื่อง เพราะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มเจนซีที่สำรวจก็ระบุว่าออกไปยังสถานที่ต่างๆ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นเช่นกัน

 

ระเบียบวิธีการศึกษา

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็มหรือ IBV ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่มากกว่า 15,000 คน ในสหรัฐอเมริกา อินเดีย สหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมัน เม็กซิโก สเปน บราซิล และจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อวัคซีนโควิด-19 สิ่งที่ผู้บริโภควางแผนทำเมื่อได้รับวัคซีนแล้ว และผลที่มีต่อมุมมองของผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ เช่น การจับจ่ายซื้อสินค้า การเดินทาง การร่วมงานอีเวนท์ขนาดใหญ่ในอนาคต รวมถึงการกลับไปทำงาน สามารถดูข้อมูลผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่ https://ibm.co/vaccine-consumer-behavior

IBV ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อทัศนคติและความชอบของพวกผู้บริโภค

เกี่ยวกับสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจ

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ให้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่เชื่อถือได้ภายใต้จุดยืนในการผสานรวมเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมความเชี่ยวชาญจากบรรดานักคิดในอุตสาหกรรมต่างๆ นักวิชาการแถวหน้า และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ พร้อมด้วยข้อมูลจากการวิจัยและผลการปฏิบัติงานทั่วโลก thought leadership ของ IBV ครอบคลุมถึงข้อมูลเจาะลึกจากการวิจัย การเปรียบเทียบมาตรฐานและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างแผนภาพข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคต่างๆ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ติดตาม @IBMIBV บน Twitter และรับข้อมูลเชิงลึกล่าสุดได้ทางอีเมล โดยไปที่ http://www.ibm.com/ibv

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ibm-post-vaccine-covid-19/

Colgate-Palmolive กำลังพิจารณาอนาคตแบรนด์ยาสีฟัน “Darlie” หลังมีประเด็นเรื่องเหยียดสีผิว

คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ กำลังพิจารณาอนาคตแบรนด์ยาสีฟัน “ดาร์ลี่” หลังจากจุดเริ่มต้นของแบรนด์ยาสีฟันดังกล่าวนี้ก็มาจากเรื่องการเหยียดสีผิว แม้ว่าจะมีการรีแบรนด์ไปแล้วหลายสิบปีก็ตาม

ยาสีฟันดาร์ลี่ Darlie
ภาพจาก Shutterstock

Colgate-Palmolive กำลังพิจารณาอนาคตของแบรนด์ยาสีฟัน Darlie ซึ่งยาสีฟันยี่ห้อดังกล่าวมีส่วนแบ่งตลาดสูงในทวีปเอเชียหลายประเทศ หลังจากการประท้วงเรื่องสีผิวได้ลุกลามไปทั่วโลก ขณะเดียวกันตัวแบรนด์ยาสีฟันนี้ก็มีต้นกำเนิดมาจากเรื่องสีผิวเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะมีการรีแบรนด์ไปแล้วตั้งแต่ปี 1989 แล้วก็ตาม

ในอดีต Hawley & Hazel ผู้ผลิตยาสีฟันยี่ห้อดังกล่าวนี้ได้ตั้งชื่อว่า “Darkie” ซึ่งแปลว่าคนดำ และเริ่มขายยาสีฟันดังกล่าวในประเทศจีนช่วงยุค 1930 ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปในไต้หวัน และฮ่องกง และแบรนด์ยาสีฟันดังกล่าวนี้เคยมีสโลแกนสำหรับการจำหน่ายในประเทศจีนว่า “ยาสีฟันของคนดำ” ยาวนานถึงทศวรรษ

ขณะที่ปี 1989 ทาง Colgate ได้ซื้อกิจการ Hawley & Hazel ด้วยมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่จะรีแบรนด์ใช้ชื่อยาสีฟัน Darlie อย่างในปัจจุบัน เนื่องจากโดนผู้ถือหุ้น นักการเมืองในสหรัฐ รวมไปถึงกลุ่มเรียกร้องด้านสีผิว กดดันให้ Colgate เปลี่ยนชื่อ และถ้าหากไม่เปลี่ยนชื่ออาจแบนสินค้าของ Colgate

โฆษกของ Colgate-Palmolive ได้กล่าวกับ Hong Kong Free Press ถึงการพิจารณาอนาคตของแบรนด์ยาสีฟันว่า “บริษัทใช้เวลา 35 ปีในการทำงานร่วมกับหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะพัฒนาชื่อแบรนด์ โลโก้ แพ็คเกจ และตอนนี้เรากำลังพิจารณาเรื่องนี้กับพาร์ตเนอร์ของเราในอนาคตของแบรนด์ดังกล่าวนี้”

ปัจจุบันยาสีฟันแบรนด์ดังกล่าวนี้มีส่วนแบ่งทางการตลาดในจีนมากถึง 17% ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 21% มาเลเซีย 28% ไต้หวัน 25%

ที่มา – BBC, HKFP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/colgate-palmolive-reviewing-product-darlie-name-after-racist-root-19-june-2020/

ผู้บริโภคทั่วโลกรอใช้งาน AI ภายในบ้านกันแล้ว

ในแง่มุมขององค์กรธุรกิจที่ยังไม่ได้มองเรื่องของ AI นั้น ต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่เสียแล้ว หลัง PwC เผยรายงานชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับผู้บริโภคทั่วโลกเกือบ 1 ใน 3 เตรียมพร้อมใช้อุปกรณ์ AI ภายในครัวเรือนกันแล้ว

PwC ได้เผยผลสำรวจพบว่าเกือบ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลก มีแผนที่จะซื้ออุปกรณ์ประเภทปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น  หุ่นยนต์หรือผู้ช่วยอัจฉริยะ มาไว้ใช้ประจำบ้านเพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกกำลังจับตาเทรนด์ของการซื้อสินค้าและบริการผ่านการใช้คำสั่งเสียง หรือ Voice commerce อย่างใกล้ชิด โดยประเทศไทย ติดอันดับ 5 ของประเทศที่มีผู้บริโภคเป็นเจ้าของและมีแผนซื้ออุปกรณ์เอไอมากที่สุด

นางสาว วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจ Global Consumer Insights ของ PwC ที่ทำการประเมินพฤติกรรมในการใช้จ่าย และความคาดหวังของผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 22,000 คนใน 27 ประเทศทั่วโลกว่า 32% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด มีแผนที่จะซื้ออุปกรณ์เอไอ เช่น หุ่นยนต์ หรือ ผู้ช่วยอัจฉริยะ มาไว้ใช้ในอนาคต

รายงานยังระบุอีกว่า 10% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ปัจจุบันเป็นเจ้าของอุปกรณ์ AI ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์หรือผู้ช่วยอัจฉริยะ อย่าง Amazon Echo หรือ Google Home เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอีก 32% มีแผนจะซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ในอนาคต ซึ่งทั้งผู้บริโภคและร้านค้าปลีกเอง ยังคงต้องใช้เวลาในการปรับรูปแบบสินค้าและบริการ รวมทั้งพฤติกรรมในการใช้จ่าย จากช่องทางการช้อปปิ้งผ่านการใช้คำสั่งเสียง

ทั้งนี้ ความสนใจในการครอบครองอุปกรณ์ AI พบมากที่สุดในกลุ่มผู้บริโภคจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ไทย เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีความต้องการโดยรวมน้อยกว่า ยกตัวอย่าง เช่น ผู้บริโภคในบราซิล และ จีน มีแนวโน้มที่จะซื้ออุปกรณ์ AI สูงเป็น 2 เท่า คือ 59% และ 52% ตามลำดับ เทียบกับผู้บริโภคชาวอเมริกัน 25% สหราชอาณาจักร 24% และ ฝรั่งเศส 25% ส่วนผู้บริโภคในอิตาลี และโปแลนด์ราว 40% ก็มีความสนใจที่จะซื้ออุปกรณ์เอไอเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้บริโภคที่มีการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 18 ถึง 34 ปี และเปิดรับการบริโภคในรูปแบบใหม่ โดยไม่ค่อยกังวลในเรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยออนไลน์ การฉ้อโกง และไม่ค่อยสนใจเรื่องราคาเท่าไหร่

ช้อปปิ้งผ่านมือถือและร้านค้าดั้งเดิมยังโต

นอกเหนือจากความนิยมในการใช้เอไอที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ยังคงได้รับความสนใจจากผู้บริโภคทั่วโลกมากขึ้นด้วยเช่นกัน เห็นได้จากกำลังซื้อผ่านอุปกรณ์ไร้สายที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ภายในระยะเวลา 6 ปีหรือ 17% ของการช้อปปิ้งทั้งหมด คาดว่าในที่สุด จะแซงหน้าการช้อปปิ้งผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 20% หรือเพียง 1 ใน 5 ของการจับจ่ายที่เกิดขึ้น โดยสาเหตุสำคัญมาจาก ความสะดวกสบาย ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้กำลังซื้อออนไลน์เติบโต โดยครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจใช้สมาร์ทโฟนในการชำระสินค้า มากกว่าการซื้อของที่ร้านค้า

ในยุคที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ชครองตลาดการช้อปปิ้ง เห็นได้จากผลสำรวจที่ระบุว่า 59% ของผู้บริโภค มีการจับจ่ายสินค้ากับร้านค้าปลีกออนไลน์ ได้ส่งผลกระทบต่อความคาดหวังในการจัดส่งสินค้าของผู้บริโภคด้วย ซึ่ง 41% ของผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่า พร้อมที่จะจ่ายมากขึ้น เพื่อให้ได้รับสินค้าภายในวันเดียวกันหรือเร็วกว่านั้น และ 44% ยอมจ่ายเพื่อให้สามารถเลือกเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการรับสินค้า ขณะที่ 38% สนใจวิธีการรับสินค้าด้วยโดรน

แม้ว่าร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่จะครองตลาดอยู่ในขณะนี้ แต่ร้านค้าแบบดั้งเดิมก็ยังคงมีแนวโน้มเติบโต โดยจำนวนของผู้ตอบแบบสำรวจ ที่ซื้อหาสินค้ากับร้านค้าดังเดิมอยู่เป็นประจำทุกสัปดาห์ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ในปีนี้จาก 3% เป็น 44%

พนักงานขายที่มีประสบการณ์ และสามารถนำเสนอสินค้าได้ตรงตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้า เช่น คลาสออกกำลังกาย หรือ การได้เห็นสินค้าจริง ช่วยทำให้ร้านค้าสรรหาสินค้าที่ตรงกับความต้องการของนักช้อปได้มากขึ้น โดยปัจจุบันหน้าร้านมีลักษณะของการเป็นโชว์รูมแสดงสินค้ามากกว่า ร้านค้าธรรมดาๆ

ทั้งนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังคงมีอิทธิพลต่อการสร้างแรงบันดาลใจในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากที่สุดทั้งทางออนไลน์และหน้าร้าน แม้ว่าเปอร์เซ็นต์จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 39% เป็น 37% โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์มีอิทธิพลสูงที่สุดต่อผู้บริโภคในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 70% อินโดนีเซีย 58% มาเลเซีย 58% และจีน 52%

นางสาว วิไลพร กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคในแถบเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภคชาวไทยนิยมการช้อปปิ้งผ่านอุปกรณ์ AI เป็นจำนวนมาก โดยผลสำรวจพบว่า ไทยติดอันดับ 5 ของประเทศที่ผู้บริโภคเป็นเจ้าของและมีแผนจะซื้ออุปกรณ์เอไอมาไว้ครอบครองมากที่สุด โดยจีนนำมาเป็นอันดับที่ 1 ตามด้วย เวียดนาม อินโดนีเซีย และ สหรัฐอเมริกา

สะท้อนให้เห็นว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย เน้นความสะดวกสบาย และต้องการช่องทางในการจับจ่ายสินค้าที่หลากหลาย รวมทั้งได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกซื้อสินค้าไม่แพ้ผู้บริโภคประเทศอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ประกอบการค้าปลีกไทย ต้องเร่งปรับกลยุทธ์ในการจำหน่ายสินค้า โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มช่องทางการขาย รวมทั้งสร้างประสบการณ์ในการซื้อสินค้าที่แปลกใหม่ให้กับลูกค้า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังชะลอตัวในปัจจุบัน

ในส่วนของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ผลสำรวจได้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการเก็บข้อมูลลูกค้าของผู้ประกอบการค้าปลีก พบว่า 41% ของผู้บริโภคไม่มีปัญหากับการที่ร้านค้าติดตามพฤติกรรมการซื้อสินค้าของตน เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อเสนอพิเศษได้ตรงจุด แต่ในทางกลับกัน มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภค หรือ 37% ก็ต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัว และไม่ต้องการให้ร้านค้าติดตาม หรือส่งข้อเสนอใดๆ ให้

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจของ PwC ยังพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเติบโต แม้จะมีปัจจัยเรื่องความกังวลในการใช้จ่ายและบรรยากาศการลงทุนที่ซบเซา ผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่ยังคงวางแผนการใช้จ่ายในระดับเท่าเดิม หรือมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดย 38% ยังคงมีแผนที่จะใช้จ่ายเท่ากับปีที่แล้ว และ 37% วางแผนการใช้จ่ายมากขึ้นเช่นกัน

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/07/ai-consumer-world/

กระทบไปทั่ว! บริษัทสหรัฐเริ่มรายงานถึงค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากเรื่องสงครามการค้า

ผลกระทบเรื่องสงครามการค้ากำลังทำให้บริษัทเอกชนในสหรัฐเริ่มได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทำให้กระทบกับกำไรบริษัทในไตรมาสนี้บ้างแล้ว

ภาพจาก Shutterstock

ผู้บริหารบริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความเห็นในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสงครามการค้าในรายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบกว้างกว่าที่คิดไว้มาก และขั้นย่ำแย่กว่าคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการใช้ Supply Chain รายใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากภาษีที่เพิ่มขึ้น

ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง Ford ประมาณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากสงครามการค้าในปีนี้ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้แต่ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์อย่าง Harley-Davidson ที่เคยมีเรื่องกับทรัมป์ในการย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทยเนื่องจาก EU จะขึ้นภาษีนำเข้ามอเตอร์ไซค์จากสหรัฐ ก็ประมาณผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 45-55 ล้านเหรียญสหรัฐ 

ทางด้าน GE และ 3M ได้รายงานกับนักลงทุนว่าถ้าหากเรื่องสงครามการค้าย่ำแย่หนักก็อาจต้องใช้วิธีเปลี่ยน Supplier รายใหม่ที่ไม่ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วย

เริ่มมีเสียงวิจารณ์

บริษัทเอกชนสหรัฐส่วนใหญ่ชื่นชอบนโยบายของทรัมป์ในเรื่องการลดภาษีบริษัทเอกชน แต่ในเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างสงครามการค้ากับจีนทำให้ John Flannery ซึ่งเป็น CEO ของ GE ต้องถึงกับออกมาบอกในเรื่องนี้ว่า GE เป็นบริษัทสร้างมาเพื่อการค้าที่เปิดกว้างและยุติธรรม 

Brian Goldner ซึ่งเป็น CEO ของผู้ผลิตของเล่นอย่าง Hasbro ได้ออกมากล่าวเรื่องนี้ว่า นี่คือผลกระทบของสงครามการค้าว่ามันย่ำแย่แค่ไหน

แม้แต่น้ำอัดลมอย่าง Coke ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าด้วย (ภาพจาก Shutterstock)

ผู้บริโภครับกรรม

ผู้ผลิตน้ำอัดลมอย่าง Coca Cola ได้รายงานถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบทำกระป๋องโค๊กที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสงครามการค้า นอกจากนั้นยังรวมไปถึงค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นอีก ซึ่งทำให้บริษัทต้องขึ้นราคาสินค้าเล็กน้อย

ไม่เว้นแม้แต่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Whirlpool ก็ยังรายงานในงบไตรมาส 2 ว่าได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กและอลูมิเนียมที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นภาษีตามนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ จนต้องทำให้บริษัทต้องขึ้นราคา

ที่มาFinancial Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/us-companies-report-about-cost-and-trade-war/

เจาะแนวโน้มพฤติกรรมล่าสุดลูกค้าดีแทค

อัปเดตแนวโน้มพฤติกรรมผู้ใช้ดีแทคปีล่าสุด พบลูกค้าที่ใช้บริการแพคเกจมีสัดส่วนอยู่กับดีแทคนานกว่ากลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการ ขณะที่เทรนด์ลูกค้าพรีเพดเริ่มเปลี่ยนไปโพสต์เพดมากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม

ปัญญา เวชบรรยงรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เผยรายละเอียดหนึ่งในแพคเกจร้อนแรงที่ดีแทคภูมิใจอย่าง Go No Limit ว่าเป็นแพคเกจที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มเติมเงิน DTAC โตขึ้น 86% ช่วงปี 2017 โดยแพคเกจนี้ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายดีแทคเพิ่มขึ้น 28% และ Churn Rate หรืออัตราลูกค้าย้ายออกน้อยลง 2%

ผู้บริหารดีแทคเผยอีกว่า ปีนี้ “ตลาดเติมเงิน” เป็นตลาดที่แข่งขันสูง แต่มีโอกาสรออยู่สูงมาก เนื่องจากมีทั้งตลาดนักท่องเที่ยวซึ่งต้องเปิดใช้ซิมชั่วคราวในไทย ตลาดผู้ใช้เยาวชนที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นแต่ยังต้องถูกจำกัดค่าใช้งาน และแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ดีแทคครองแชมป์ในขณะนี้

ในภาพรวม ลูกค้ารายเดือนดีแทคเติบโตขึ้น 600,000 หมายเลข ส่งผลให้รายได้เติบโตขึ้น 17.9% และรายได้เฉลี่ยเติบโตขึ้น 3% ขณะที่อัตราการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 83% รวมถึงการใช้งานดาต้า (Data usage) เพิ่มขึ้น 96% และผู้ใช้งาน 4G เพิ่มมากขึ้น 34% ด้านจำนวนผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน “ดีแทค” เพิ่มขึ้น 1.5 ล้านราย (+125% YOY) ซึ่งคิดเป็น 50% ของลูกค้ารายเดือน

สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดเรื่องแนวคิด “ใจดี” ซึ่งดีแทคเปิดตัวพร้อมพรีเซนเตอร์คนใหม่ “ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์” ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการเดินกลับไปเน้นภาพ “ใจดี ขี้เล่น” เหมือนเมื่อครั้งช่วง 10 ปีก่อน การกลับมายืนแนวคิดเดิมนี้ไม่ได้แปลว่าไม่มีอะไรใหม่ เพราะดีแทคจะเพิ่มเติมเรื่องการขยายบริการเสริมให้มากกว่าบริการโทรคมนาคม ซึ่งดีแทคเริ่มเปิดให้ผู้ใช้โรมมิ่งดีแทคซื้อบริการประกันภัยท่องเที่ยวราคาประหยัด 85 บาทคุ้มครอง 10 วัน และวางแผนขยายให้หลากหลายยิ่งขึ้นตลอดปีนี้

นอกจากการเปิดตัวแนวคิด “ใจดี” ที่ดีแทคจะยืดเป็นการตลาดหลักตลอดปี 2018 ดีแทคยังโชว์ผลสำรวจล่าสุดของบริษัทรว่าลูกค้ายกให้ดีแทคเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมใน 4 ด้าน ได้แก่ 1 แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่คุ้มค่า (ดีแทค 64% คู่แข่ง 52%) 2 ความใส่ใจของพนักงานในการแนะนำรายละเอียดแพ็กเกจและโปรโมชั่น (ดีแทค 42% คู่แข่ง 40%) 3 พนักงานมีความสุภาพ พร้อมส่งมอบบริการอย่างเต็มที่ (ดีแทค 45% คู่แข่ง 41%) และ 4 สิทธิพิเศษที่ตรงกับความต้องการ (ดีแทค 47% คู่แข่ง 42%)

ผู้สนใจ ติดตามชมโฆษณาใหม่ของดีแทค นำแสดงโดย​ “ซันนี่” ได้ด้านล่าง

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/03/dtac-consumer/

สมาคมการตลาดฯ เปิดคอร์สเข้มสำหรับกลุ่มธุรกิจสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม

สำหรับใครที่มองหาคอร์สด้านการตลาดดี ๆ ในสายงานสินค้าบริโภค (อาหารสำเร็จรูป) เช่น ขนมขบเคี้ยว ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น หรือ เครือร้านอาหารต่างๆ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยเตรียมเปิดคอร์สกลยุทธ์การตลาดแบบใหม่ให้ถูกใจผู้บริโภค และได้ลงมือปฏิบัติจริง

โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การทำความเข้าใจกลไกการทำงานของการตลาดสินค้าอาหาร เพื่อให้สามารถค้นหาและคัดกรองกลยุทธ์ที่เหมาะกับการสร้างธุรกิจและแบรนด์อาหารจริงได้ รวมถึงสามารถ คิดแผนเชิงปฏิบัติการณ์ได้อย่างชัดเจน และได้เรียนรู้ marketing tools & techniques ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สอนโดย คุณจรรย์จารี ธรรมา วิทยากร นักการตลาดมืออาชีพผู้มีประสบการณ์ปั้นกลยุทธ์สร้างแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มชั้นนำในเมืองไทยมากมาย อาทิ มันฝรั่งเลย์ เครื่องปรุงรสคนอร์ นมแอนลีน ผลิตภัณฑ์เบสฟู้ด ชาลิปตัน ขนมตะวัน เป็นต้น

สำหรับงานจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20 -21  กุมภาพันธ์นี้  ที่โรงแรมเอทัส ลุมพินี   ถ.พระราม 4
สอบถามข้อมูล  โทร 02-679-7360-3 
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.marketingthai.or.th
ค่าใช้จ่ายหลักสูตร
สมาชิกสมาคมฯ   ท่านละ  14,900  (+ VAT 7% = 1,043) รวมเป็นเงิน 15,943  บาท
ผู้สนใจทั่วไป       ท่านละ  15,900  (+ VAT 7% = 1,113) รวมเป็นเงิน 17,013  บาท
 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/01/food-marketing-mat-course/

เปิดเทรนด์ผู้บริโภค 10 เรื่องนี้ยอมได้ถ้าชีวิตจะสะดวกสบายขึ้น

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจาก Ericsson เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่พบว่าโลกดิจิทัลทำให้คนคาดหวังกับ “เทคโนโลยี” มากขึ้น รวมถึงยอมรับและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้มากขึ้นด้วย โดยแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดกับผู้บริโภคในปี 2018 ตามการคาดการณ์ครั้งนี้มีประเด็นหลัก ๆ ที่น่าสนใจอยู่ 10 หัวข้อได้แก่ 

ผู้บริโภคยุคใหม่จะ

  • มีการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เสียง หรือท่าทางตามธรรมชาติเป็นตัวสั่งการเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการ
  • ต้องการหูฟังที่ช่วยแปลภาษาแบบเรียลไทม์เพื่อความสามารถในการสื่อสารที่มากขึ้น
  • มีความสนใจที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา และพร้อมจะลืมเรื่องที่เรียนรู้มาแล้วได้ตลอดเวลาเช่นกัน เนื่องจากสามารถกลับเข้ามาค้นหาข้อมูลนั้น ๆ ใหม่ได้ตราบเท่าที่ยังมีอินเทอร์เน็ต
  • ยอมรับให้ AI เข้ามาตรวจสอบข้อมูลที่ถูกโพสต์ลงบน Social Network มากขึ้น
  • พบว่าการโฆษณาสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นจะชาญฉลาดมากขึ้น
  • แยกแยะความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรได้ยากขึ้น
  • มองการใช้ชีวิตว่าจะมีหุ่นยนต์ หรือระบบอัตโนมัติเข้ามาทำงานสร้างรายได้แทน เพื่อให้ตนเองมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
  • คาดหวังว่า เทคโนโลยี VR จะก้าวล้ำจนทำให้ตนเองสามารถเดินเข้าไปดูรูปแห่งความทรงจำเก่า ๆ ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนได้ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า
  • คาดหวังการเดินทางในอากาศ เช่น โดรนแท็กซี่ มากขึ้นเนื่องจากเบื่อปัญหาการจราจรในปัจจุบัน
  • คาดหวังถึงแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้อย่างยาวนาน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องที่ชาร์จอีกต่อไป

จากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะทำให้ “หูฟัง” มีแนวโน้มจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานมากขึ้นในชีวิตประจำวัน และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปถึงระดับหนึ่ง อุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้จะเป็นฝ่ายเรียนรู้เราแทนที่เราจะต้องไปเรียนรู้อุปกรณ์เหมือนแต่ก่อน และให้การตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติกลับมาภายในเวลาอันรวดเร็วด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ มนุษย์จะรู้สึกว่าตนเองล้าหลังได้ง่าย และหลงลืมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น เนื่องจากเห็นว่ามีอินเทอร์เน็ตอยู่ และตนเองสามารถกลับเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้ข้อมูลในรายงาน 10 แนวโน้มผู้บริโภคปี 2018 เป็นการศึกษาจากห้องปฏิบัติการวิจัยผู้บริโภคของ Ericsson โดยอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างประชากรจำนวน 30 ล้านราย ใน 10 เมืองทั่วโลก

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/01/ericsson-research-consumer-trend-2018/

จับตา 10 เทรนด์ค้าปลีกปี 2018 “ดิจิทัล และการปรับความคิดในธุรกิจ” ยังเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

อย่างที่รู้กันว่าธุรกิจ “ค้าปลีก” ในต่างประเทศนั้นดิ้นรนกันหนักมาก เพราะถูกกลุ่มค้าออนไลน์มาตีจนยับเยิน แล้วในปี 2561 ภาพรวมอุตสาหกรรมนี้จะต้องเดินไปทางไหนบ้าง ลองมาศึกษา 10 เทรนด์ธุรกิจค้าปลีกไปด้วยกัน

1.วางสินค้ายอดนิยมให้ถูกจุด

ปัจจุบันการปล่อยให้ลูกค้าเดินวนไปวนมาในร้านนานๆ อาจไม่ใช้เรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะพวกเขาเริ่มมีจุดหมายปลายทางในการหาซื้อสินค้าที่ต้องการมากขึ้น ดังนั้นการบริหารจัดการสินค้าภายในร้านก็จำเป็นมากขึ้น เช่นหากรู้ว่าสาขานั้นๆ มียอดขายสินค้าประเภทใดดี ก็ควรวางไว้ข้างหน้า หรือตั้งเชลฟ์พิเศษเพื่อขายสินค้านั้นๆ ไปเลย ซึ่งนั่นรวมถึงบริการชำระเงินที่สะดวกด้วย เช่นร้าน McDonald’s บางแห่งติดตั้ง Touch Screen เพื่ออำนวยความสะดวกแล้ว

2.การขนส่งจะจำเป็นมากขึ้น

เมื่อผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ความจำเป็นในการลงทุนเรื่องระบบ Fulfillment ด้วยตนเองในค้าปลีกขนาดใหญ่ก็จำเป็นมากขึ้น เพื่อรองรับการสั่งซื้อที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมากในอนาคตได้ คล้ายกับกรณีของ Amazon ที่พัฒนาระบบ Fulfillment ทั้งคลังสินค้า, ระบบจัดส่ง และอื่นๆ ด้วยตนเอง แต่ค้าปลีกขนาดเล็กอาจไม่มีกำลังจ่ายขนาดนั้น ทางที่ดีคือการเข้าไปหาพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ รวมถึง Startup เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน

3.กลยุทธ์ด้านราคาไม่ได้มีแค่ลด

ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์ด้านราคานั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยตลอด ยิ่งสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ สิ่งของที่ราคาถูกกว่าก็ย่อมได้รับความนิยม แต่จริงๆ แล้วแบรนด์ รวมถึงค้าปลีกต่างๆ มีความหลากหลายในการเดินกลยุทธ์นี้มากกว่าแค่ “ลดราคาสินค้า” ตัวอย่างที่ดีคือ การให้ผู้บริโภคตัดสินใจเองว่าจะยอมจ่ายในราคาที่ลดแล้วหรือไม่ เช่นกรณีที่ซื้อออนไลน์อาจมีให้เลือกว่า ถ้าไม่ใช้บริการส่งคืนสินค้าฟรี จะได้ส่วนลดทันที

4.Brick and Data คืออนาคตใหม่

การลงทุนในเรื่องวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจค้าปลีกยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะยิ่งมีข้อมูลลูกค้ามากเท่าไร การคาดการณ์ยอดขายก็ทำได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างที่ดีคือ Amazon ที่ซื้อกิจการค้าปลีก Whole Foods ทำให้รู้ว่าผู้บริโภคทั่วไปซื้ออะไรในร้านค้าปลีก และนำมาผนวกกับข้อมูลยอดขายบนโลกออนไลน์ที่แข็งแกร่ง ก่อนเข้าสู่การทำ Omni-Channel อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมส่งโปรโมชั่นถูกต้องเพื่อปิดการขาย

5.การใช้ชีวิตในห้างยังเกิดขึ้นอยู่

แม้การซื้อสินค้าออนไลน์จะทำจากที่ไหน เมื่อไรก็กได้ แต่ภายในห้างสรรพสินค้ายังคงเป็นอีกแหล่งสังสรรค์ของสังคมต่างๆ อยุ่ โดยเฉพาะฝั่ง Baby Boomer กับ Millennial ที่ต้องการหาอะไรที่มีราคาเข้าถึงได้ เพราะยังไม่มีรายได้มากนัก เพื่อผ่อนคลาย และเข้าสังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งตัวธุรกิจห้างสรรพสินค้ายังสามารถตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้อยู่ แต่ก็อยู่ที่ห้างเหล่านั้นจะปรับตัวเพื่อให้ตนเองเป็นได้มากกว่าแค่ร้านขายของหรือไม่

6.เปิดร้านย่อยสำหรับสินค้านั้นๆ ก็ช่วยได้

ในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีค้าปลีกบางรายตัดสินใจแยกหน้าร้านสำหรับสินค้ายอดนิยม เช่นรองเท้า, เครื่องประดับ และสินค้าแฟชั่นต่างๆ ออกมาตั้งอยู่ในบริเวณอื่น เพื่อสร้างประสบการณ์เลือกซื้อสินค้าที่แตกต่าง แต่ถ้ายังไม่มีขนาดใหญ่พอ บางร้านก็เลือกจะเปิดส่วนจำหน่ายสินค้าเฉพาะ เช่น The Three Shop ก็เปิดชั้นที่จำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพอย่างเดียว

7.Innovation Labs ต้องลุยจริงจัง

เกือบทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นต่างต้องลงทุนเรื่องเทคโนโลยีกันทั้งนั้น ทำให้ค้าปลีกยุคใหม่ต้องใส่ใจกับแผนกนี้มากขึ้น เพื่อนำการใช้งาน Artificial Intelligence (AI), Augmented Reality (AR) รวมถึง Blockchain มาพัฒนาใช้ใจกับหลายๆ ส่วนในธุรกิจ ซึ่งก็คล้ายกับเรื่องเบื้องต้น ที่การพัฒนาในลักษณะนี้สามารถทำได้ด้วยการร่วมกับ Startup เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

8.ดีลแบบจำกัดเวลาคืออีกแรงจูงใจ

ดีลแบบจำกัดเวลาเริ่มเป็นที่นิยมกับผู้บริโภคมากขึ้น ตัวอย่างง่ายๆ คือวันคนโสด หรือ 11.11 ที่มีการลดราคาสินค้าออนไลน์กันกระหน่ำ และทุกคนรู้กันว่าช่วงนั้นจะขายได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งการยอมเสียกำไรเพียงน้อยนิด แต่แลกมาด้วยผู้ซื้อทั้งหน้าเก่า และหน้าใหม่จะเข้ามาจับจ่ายในร้านค้า หรือบนออนไลน์ รวมถึงตัวค้าปลีกเองก็ได้ข้อมูลของลูกค้าเพื่อไปต่อยอดในทิศทางอื่นๆ นั่นเท่ากับมันค่อนข้างคุ้มค่ากับการลงทุน

9.การผลิตสินค้าเพื่อตอบมากกว่าความต้องการ

ในแง่ของแบรนด์ หากจะนำสินค้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีกให้ปัง การสร้างสินค้าที่จะเข้ามาตอบโจทย์ผู้บริโภคในแง่มุมอื่นๆ นอกจากตัวสินค้าสามารถแก้ไขได้ ก็จะเห็นในร้านค้าปลีกมากกว่าเดิมด้วย เช่นสินค้าที่ขนย้ายง่าย คล้ายกับของที่ Ikea ทำอยู่ในตอนนี้

10.เพิ่มความโปร่งใสด้วยการ Track สินค้า

สุดท้ายคือผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มใส่ใจกับความโปร่งใส และความจริงใจของสินค้าในร้าน ดังนั้นการสร้างระบบ Track สินค้า ไม่ว่าจะบังคับให้ผู้ฝากสินค้ามาขายต้องทำสินค้าให้ Track กลับไปยังที่ผลิตได้ หรือว่าแบรนด์เหล่านั้นจัดทำอยู่ ก็น่าจะช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

อ้างอิง // Forbes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/10-trends-in-retail-business/

เปิดผลสำรวจพบ”ผู้บริโภคไทย” อดทนต่ำต่อความผิดพลาดของแบรนด์

 

ผู้บริโภคยุคใหม่ความอดทนต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความผิดพลาดของแบรนด์ ซึ่งประเด็นนี้มีการศึกษาจาก SAP ในหัวข้อ SAP Hybris Consumer Insights Report ประจำปี 2017 ที่พบว่าถ้าต้องแลกกันระหว่างให้เบอร์มือถือกับรายได้เงินเดือน ผู้บริโภคพร้อมจะตัดรำคาญด้วยการบอกรายได้เงินเดือนแทนเสียเลย

โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นการศึกษาว่าผู้บริโภคชาวไทยพิจารณาถึงเรื่องใดบ้างเมื่อมีการติดต่อสื่อสารกับแบรนด์ต่างๆ จากผู้บริโภคกว่า 7,000 คนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) โดยมี 1,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศไทย และพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยพร้อมที่จะเปลี่ยนใจไปแบรนด์อื่นได้ง่ายกว่าผู้ร่วมการสำรวจจากประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่แบรนด์นั้นๆ เกิดข้อผิดพลาดมากกว่าสองครั้ง โดย 61 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าชาวไทย ลงความเห็นว่าความผิดพลาดมากกว่าสองครั้งของแบรนด์อาจนำไปสู่จุดจบของความสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าผลสำรวจผู้บริโภคจากประเทศอื่นๆ

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสำรวจจากประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในกลุ่มลูกค้าที่เรียกร้องมากที่สุด ในแง่ของความต้องการที่จะได้รับการติดต่อกลับจากแบรนด์ โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ร่วมการสำรวจ (48 เปอร์เซ็นต์) คาดหวังการตอบกลับจากแบรนด์ภายในหนึ่งชั่วโมง ในขณะที่ 93 เปอร์เซ็นต์คาดหวังการตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่ง SAP ผู้สำรวจวิเคราะห์ว่า ความคาดหวังในระดับที่สูงเช่นนี้ เพราะพวกเขาแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลให้กับแบรนด์ ซึ่งข้อมูลในที่นี้ไม่รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์มือถือของพวกเขา

ทั้งนี้ 90 เปอร์เซ็นต์เผยว่า พวกเขายินดีที่จะแชร์ข้อมูลกับแบรนด์ภายในประเทศ (85 เปอร์เซ็นต์ ยินดีที่จะแชร์ข้อมูลกับแบรนด์ต่างประเทศ) อย่างไรก็ดี 43 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะแชร์ข้อมูลรายได้ต่อเดือนมากกว่าการให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของตนเองกับแบรนด์

นิโคลัส คอนโทพูลอส รองประธานฝ่ายการตลาด SAP Hybris กล่าวว่า “ลูกค้าคาดหวังให้แบรนด์ต่าง ๆ ดูแลพวกเขา เช่นเดียวกับการดูแลความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ ทั้งการใช้เวลาในการทำความเข้าใจลูกค้า ไม่เพิกเฉยพวกเขา และแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจ ความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ และความเชี่ยวชาญในการจัดระเบียบข้อมูลผู้บริโภคด้วยวิธีที่จะทำให้แบรนด์สามารถเข้าใจลูกค้าได้เป็นรายบุคคล แล้วตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม”

นอกจากนี้ยังพบข้อมูลเชิงลึกด้วยว่า 

  • 59% ยินดีที่จะแชร์อีเมลส่วนตัวให้กับแบรนด์ต่างๆ
  • 65% คาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆจะปกป้องข้อมูลส่วนตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา
  • 42% คาดหวังว่าแบรนด์ต่างๆ จะนำเสนอโปรโมชั่นทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ที่สอดคล้องกับความสนใจของพวกเขา
  • 47% ต้องการให้แบรนด์ต่างๆ ทำให้พวกเขาประหลาดใจ

ส่วนเหตุผลหลักที่ทำให้ลูกค้ารจบความสัมพันธ์กับแบรนด์ คือการ “ไม่พบข้อมูลผู้ใช้งาน” (77 เปอร์เซ็นต์) นั่นเองค่ะ ใครที่ยังตอบแบบนี้อยู่พึงระวังให้มากนะคะ 🙂

ที่มา :  SAP

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/11/sap-thai-consumer-low-patient-for-brand-mistake/