คลังเก็บป้ายกำกับ: THUMBSUP

ทิศทางชีวิตหลัง COVID

เราทุกคนอยู่กับโควิดมา 1 ปี 6 เดือนแล้วนะครับ นับตั้งแต่มีการระบุว่ามีโรคนี้ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น จากนั้นมันก็ลามเลียไปทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลก ในสถานการณ์โควิด ผมเชื่อว่าชีวิตบางคนก็ ‘รุ่ง’ บางคนก็ ‘ริ่ง’ ใช่ไหมครับ? นักวิเคราะห์หลายๆ สำนักต่างออกมาให้ความเห็นกันในหลากหลายมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และแม้กระทั่งชีวิตประจำวัน สำหรับผมเองก็เป็นช่วงที่บอกตรงๆ ว่าช่วงแรกในปีที่ผ่านมาก็ ‘ริ่ง’ ทำธุรกิจอยู่ดีๆ ก็เจอ COVIDSRUPTION ซึ่งหนักยิ่งกว่า Digital Disruption เสียอีก

ที่ผมบอกว่ามันหนักกว่า เพราะอย่างตัวผมเอง ชีวิตการทำงานมันเติบโตมาจากการทำงานที่เป็น Digital อยู่แล้ว ผมอยู่กับกระแสการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เลยเข้าใจว่า Digital มันเปลี่ยนชีวิตคนอย่างไร ก็ยังพอรับมือได้ แถมยังสนุกไปกับมันเสียอีก หรือถ้าเทคโนโลยีตัวไหนที่ผมยังไม่ได้กระจ่างแจ้งมาก ก็ยังโชคดีมีเพื่อนๆ รอบตัว ก็ยังถามไถ่กันได้ว่าเทคโนโลยีแต่ละตัวมันทำงานอย่างไร เราจะเอามันมาใช้อย่างไร ผมเลยเขียนเรื่องเหล่านี้มาเรื่อยๆ จนช่วง 5 ปีหลังมานี่พอมาทำธุรกิจที่ปรึกษา ชีวิตผมอยู่กับการลงมือทำ ทำ ทำ ทำ ทำ แล้วก็ทำ ซึ่งส่วนใหญ่มันก็เป็นการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เหมือนที่ผมกับเพื่อนๆ เขียนกันมา 10 ปีแล้วนั่นล่ะ

แต่พอโควิดมานี่เป็นใครก็ตั้งตัวไม่ทันครับ

มันเป็นครั้งแรกในช่วงชีวิตเรา… ที่เราต้องรับมือกับอาการโรคระบาดร้ายแรงระดับโลก

มันเป็นครั้งแรกในช่วงชีวิตเรา… ที่เราต้องทำงานจากที่บ้าน เพื่อทำให้คนรอบตัวเราและตัวเราปลอดภัย

เป็นครั้งแรกในช่วงชีวิตเรา… ที่เราต้องเห็นคนรอบตัวเราติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตไปทีละคนสองคน

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เลยทำให้ผมกลับมาคิดเรื่อง start with why แบบที่ Simon Sinek เขาว่าไว้ว่าเราควรจะต้องรู้ว่า เราทำสิ่งที่เราทำอยู่ไปทำไม การเขียนเรื่องต่างๆ ใน thumbsup นี่ก็เหมือนกัน ถ้าผมจะเขียนอะไรสักอย่าง ผมก็อยากจะเขียนให้มันมีประโยชน์กับชีวิตคน ไม่ได้อยากเขียนเพื่อให้คนรับรู้และเข้าใจกระแส Digital อย่างเดียวเหมือนที่เคยทำมา เพราะเอาเข้าจริงๆ ทุกวันนี้ Digital มันกลายเป็นเรื่องปกติ หรือที่เขาพูดกันว่า New Normal ไปหมดแล้ว

แต่ ในโลกดิจิทัล

  • ถึงเราจะรู้จัก Automation มากแค่ไหน ถ้าเอามาทำให้ชีวิตคนดีขึ้นไม่ได้ ก็คงไร้ประโยชน์
  • ถึงเราจะพูดเรื่อง Data และ AI มากแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าชีวิตคนดีขึ้นไม่ได้
  • ถึงเราจะ Boost ad เก่งแค่ไหน ถ้าเอามาทำให้ชีวิตคนดีขึ้นไม่ได้ ก็คงไร้ประโยชน์
  • ถึงเราจะทำ Content เก่งแค่ไหนก็สิ้นหวัง ถ้า Content ของเราไม่ได้ทำให้ชีวิตคนดีขึ้นเลย
  • ถึงเราจะขายได้มากเท่าไหร่ มันก็เท่านั้นถ้าธุรกิจที่เราทำมันไม่ได้ทำให้ชีวิตคนดีขึ้นเลย

ผมเลยคิดว่า นอกเหนือจากการหาเงินเฉยๆ เราอยู่ในยุคที่เราต้องการธุรกิจที่ดี ยั่งยืน และยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงด้วย

อาจจะฟังดูอุดมคติ แต่โควิดเปลี่ยนวิธีคิดผมไปหมดครับ ผมก็เลยคิดว่าจากนี้ถ้าจะเขียนอะไร ผมคงอยากเขียนในสิ่งที่ผมคิดว่ามันมีประโยชน์ ผมคงอยากเขียนในสิ่งที่มันทำให้ชีวิตคนดีขึ้น ง่ายขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุด มันต้องไม่ทำร้ายใคร มันยังคงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ มันยังคงเกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่มิติที่ผมจะหยิบยกมาคุยกับคุณมากขึ้น คือธุรกิจและเทคโนโลยี และความยั่งยืนที่จะมีผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตคน

ทำไมอยู่ๆ เรื่องชีวิตคน และความยั่งยืนถึงโผล่เข้ามา?

จากรายงานของ IndustryWeek ระบุว่า 54% ขององค์กรทั่วโลกได้ทำกระบวนการ Digital Transformation แล้ว และ 58% กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง และการมุ่งเน้นไปที่ความเอาใจใส่ในประสบการณ์ของลูกค้าจากการ support ด้านเทคโนโลยี มีความเกี่ยวโยงกับ Customer Experience ที่ทำให้บริษัทต้องมองถึงการสร้าง Empathy ให้มากขึ้น เพื่อที่จะผลักดันไปสู่ next level ของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

ในบทความของ The Enterprisers Project ก็มองว่า Empathy หรือการเอาใจใส่คนเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าเราเข้าใจลูกค้า ตลอดจนพนักงานของเราเอง เราก็จะมี insight ที่นำไปปรับปรุงสินค้าและบริการของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เอาไปปรับให้เราตอบสนองลูกค้าได้ดีขึ้น

หรือพูดง่ายๆ ว่า มันเป็นทั้งเรื่อง ‘คน’ และเรื่อง ‘เทคโนโลยี’ ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นร้านขายของ เราควรให้ความสำคัญกับวิธีที่มนุษย์โต้ตอบกับแพลตฟอร์มขายของแบบอีคอมเมิร์ซของเรา เราจึงต้องปรับ UX, UI ให้มันใช้งานได้ง่าย (หรือจะคิดแบบหลุดคือเป็น Non-UI Commerce สั่งผ่านเสียงเลยก็ได้) ตัวระบบและกระบวนการต่างๆ หลังบ้านก็จะต้องทำให้คนมีชีวิตที่สะดวกขึ้น จัดส่งไวขึ้น และทั้งหมดทั้งมวลนี้จึงเป็นระดับที่เกินกว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำ Brand Communication เพียงอย่างเดียว

นอกเหนือไปจาก trend ของต่างประเทศ เราย้อนกลับมาที่บริบทแบบไทยๆ กันบ้าง

ผมไปเจอบทความน่าสนใจของทางธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านได้พูดถึง ​ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก แบ่งออกเป็น 4 เรื่อง ประกอบด้วย

  • เทคโนโลยี
  • ห่วงโซ่การผลิต
  • ภาวะโลกร้อน
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

เทคโนโลยี

ดร.วิรไท กล่าวว่าจาก 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้มีการส่งเสริมระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-payment ทำให้คนไทยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินต่างธนาคาร แต่การทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัลสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการใช้จ่ายของคน ทำให้ปัจจุบันสถาบันการเงินเริ่มมีการพูดถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อจากข้อมูลการใช้โทรศัพท์และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งเริ่มมีเรื่องของ data privacy เข้ามาเกี่ยวข้องรวมถึงความปลอดภัยขอข้อมูลส่วนบุคคล
บทสรุปสุดท้าย ยังคงพูดถึงการส่งเสริมให้คนเร่งปรับตัว รับกับการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล

เรื่องแรก คือ เทคโนโลยี ที่กำลังเปลี่ยนแปลงเร็วมากประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก สามารถตอบโจทย์หลากหลายด้วยต้นทุนที่ถูกลงมาก เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การซื้อของและการทำธุรกรรมทางการเงินมาอยู่บนสมาร์ทโฟน เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทำให้เกิดเศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน (sharing economy) ธุรกิจต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพยากรเอง สามารถใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีอีกมากกำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจในโลก ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สามมิติ Artificial Intelligence (AI) machine learning หรือเทคโนโลยีชีวภาพ เรียกได้ว่าไม่มีธุรกิจใดที่จะไม่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

ห่วงโซ่การผลิต (supply chain)

เมื่อระบบอัตโนมัติ (automation) และหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้เกือบทั้งหมด ทำให้หลายธุรกิจซึ่งเดิมกระจายขั้นตอนการผลิตไปหลายจุดทั่วโลก ย้ายกลับมาผลิตในภูมิภาค (regionalization) มากขึ้นหรือดึงกลับไปผลิตภายในประเทศปลายทาง (onshoring) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านนี้ สำคัญมากเพราะประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิดที่พึ่งพาการ ส่งออก และภาคอุตสาหกรรมไทยก็เป็นส่วนหนึ่งใน supply chain ของโลกด้วย นอกจากนี้ ภาคบริการจะมีบทบาทมากขึ้นใน supply chain ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือบริการหลังการขาย กิจกรรมบริการจะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าทำให้ธุรกิจมีอำนาจต่อรองเรื่องการตั้งราคา

ภาวะโลกร้อน

ในปี 2562 บางพื้นที่ในประเทศไทยประสบทั้งภัยแล้งรุนแรงและน้ำท่วมฉับพลันในเวลาใกล้กัน น้ำสะอาดจะเป็นสิ่งที่ขาดแคลนในอนาคต เรื่องเหล่านี้เป็นความเสี่ยงโดยตรงต่อธุรกิจและกระทบกับคนทั้งโลก นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงทางอ้อมที่อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และความคาดหวังของสังคมถึงมาตรฐานในการทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เรายังสังเกตุได้ว่ามีผลสำรวจของหลายสำนักความคิดต่างยืนยันความคิดเห็นคล้ายๆ กันว่าคนยุคใหม่เริ่มให้ค่ากับแบรนด์ที่ทำประโยชน์ให้กับโลก และมีปัจจัยความยั่งยืนมาเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการของแบรนด์นั้นๆ การจะเป็นธุรกิจที่ดีได้ในยุคนี้จึงหลีกหนีการสร้างความยั่งยืนไม่พ้น

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

ในปี 2578 เราจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยมาก (hyper-aged society)1 จะมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นและคนวัยทำงานน้อยลง โครงสร้างแรงงานที่เปลี่ยนไปทำให้การทำธุรกิจรูปแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากอาจไม่เหมาะสมอีกต่อไป โครงสร้างตลาดและการบริโภคของประชาชนก็จะเปลี่ยนไปมากด้วย

– – – – –

จากข้อมูลทั้งหมดที่ร่ายมานี้ ผมเพียงแต่อยากจะบอกว่า เรื่องราวธุรกิจดิจิทัลที่พวกเราในกองบรรณาธิการ thumbsup นำเสนอมาตลอด 10 ปีนั้น เราจะยังคงทำอยู่ แต่แนวทางที่เราจะเดินต่อจากนี้ จะมีเรื่องของคนเกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะท้ายที่สุด ไม่ว่าเราจะทำเทคโนโลยีมาสร้างประสิทธิผลให้กับธุรกิจมากเพียงไร เราก็ทำไปเพื่อความสุข ความยั่งยืนของคนอยู่ดี เราจึงต้องการเห็นธุรกิจที่ดี ยั่งยืน และยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง

ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอดครับ

from:https://www.thumbsup.in.th/life-after-covid-disruption?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=life-after-covid-disruption

Advertisement

THUMBSUP SCOOP : “Out of Home Ads” The Dark Horse of Advertising Channel

THUMBSUP SCOOP ของเราเดินทางมาสู่เล่มที่ 4 แล้ว โดยมาในหัวข้อ “Out of Home Ads: The Dark Horse of Advertising Channel” สื่อนอกบ้าน ม้ามืดสุดร้อนแรงแห่งวงการโฆษณา เพื่อพาผู้ติดตาม thumbsup ทุกท่านไปทำความรู้จักกับสื่อโฆษณานอกบ้านอย่าง Out of Home Media ที่หลายคนอาจมองข้ามไป โดยอาจจะให้เหตุผลว่าราคาค่อนข้างแพง, คนอาจจะเห็นได้เพียงเวลาสั้นๆ, ไม่เชื่อว่าจะทำให้เกิด Awareness ได้โดยง่าย หรือเหตุผลอะไรก็ตาม

แต่ทำไมหลายแบรนด์กลับให้ความสนใจกับสื่อโฆษณาแบบนี้กันมากขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นรูปแบบหรือช่องทางการโฆษณานี่อยู่ “นอกสายตา”ใครหลายๆ คนไป แต่ทำไมพวกเขาจึงเชื่อว่าการโฆษณารูปแบบนี้จะเข้าไปอยู่ “ในตา” และ “ในใจ” กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคได้

วันนี้เราจึงขอพาทุกท่านไปหาคำตอบกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ Out of Home Media อย่างคุณภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา ของบริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ Media Intelligence (MI) และคุณวัชรพงศ์ ลีโทชวลิต หัวหน้าฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ ของบริษัท แพลน บี มีเดีย จํากัด (มหาชน) หรือ Plan B ซึ่งได้ข้อมูลที่ใครนักการตลาดและผู้ลงโฆษณาอาจไม่เคยรู้มาก่อนแล้ว

เราได้โอกาสสัมภาษณ์คุณไมค์ ไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย เพื่อขอคำแนะนำในการลงโฆษณาบนแพลตฟอร์ม Google และ YouTube เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการตลาดสูงสุดอีกด้วย

อย่ารอช้าดาวน์โหลด E-Book ของเรา ‘THUMBSUP SCOOP’ ได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ -> https://www.thumbsup.in.th/wp-content/uploads/2019/10/thumbsup-scoop-out-of-home-ooh-ads-ebook-sep-2019.pdf

หรือจะอ่านจากด้านล่างนี้ทันทีเลยก็ได้ครับ

thumbsup-scoop-out-of-home-ooh-ads-ebook-sep-2019

 

คลิปวิดิโอสัมภาษณ์

บทความที่มีอยู่ใน E-Book

บทความแนะนำ

from:https://www.thumbsup.in.th/thumbsup-scoop-out-of-home-ads-the-dark-horse-of-advertising-channel

THUMBSUP SCOOP : HR Management in Digital Era

ติดตามอ่านนิตยสาร THUMBSUP SCOOP ประจำเดือนมิถุนายน 2562 ในประเด็น HR 4.0 บริหารองค์กรอย่างไร ให้คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วย

ต้องยอมรับว่าในยุคนี้ การเปลี่ยนงานของคนรุ่นใหม่กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว แต่องค์กรห้างร้านต่าง ๆ คงไม่ถูกใจสิ่งนี้มากนัก เพราะต้นทุนในการหาคนมาทำงานก็สูงไม่ใช่น้อย

ทำให้หน้าที่รักษาคนให้อยู่ในองค์กร จึงตกไปอยู่กับ Human Resource (HR) Management อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องรักษาให้พนักงานอยู่ในองค์กรต่อไป โดยไม่ได้มีแค่เรื่องการขึ้นเงินเดือนเท่านั้น

เราได้รับโอกาสเข้าสัมภาษณ์บุคคลในระดับผู้บริหารที่ดูแลบุคคลในองค์กร แม้ชื่อตำแหน่งอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่าพวกเขาก็คือบุคลากรสาย HR ในองค์กรอันดับต้น ๆ ของประเทศ

หลายคำถามที่เราถามไป หัวใจสำคัญอยู่ที่คำถามเกี่ยวกับการปรับตัวของ HR เพื่อให้คนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า สามารถอยู่ในองค์กรเก่า(หรือใหม่) ได้อย่างสอดคล้องกัน

ถ้าอยากรู้ว่าคำถามที่เราถามถึง HR ไปมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้จาก THUMBSUP SCOOP เล่มนี้ครับ

tu-ebook-hr

ชมคลิปวิดิโอ

 

บทความที่มีอยู่ใน E-Book

  • f

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

from:https://www.thumbsup.in.th/thumbsup-scoop-hr-management-in-digital-era

รู้จักกับ The Zero Publishing บริษัทสื่อออนไลน์รุ่นใหม่ เจ้าของ MangoZero, Thumbsup, ParentsOne, RAiNMaker และ GG2

ในวันที่ทุกสื่อต่างมุ่งหน้าเข้าหาโลกออนไลน์ ตามพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป เราได้เห็นสื่อหน้าใหม่มากมายที่เกิดขึ้นในยุคนี้ แต่ถึงอย่างนั้นในหลายๆ สื่อเองก็ยังขาดการร่วมกัน (Synergy) จนเกิดเป็นกลุ่มบริษัทสื่อที่เป็นมากกว่าเว็บไซต์หนึ่งเว็บ

Disclaimer : Thumbsup เป็นเว็บในเครือ The Zero Publishing

The Zero Publisher เป็นบริษัทสื่อออนไลน์รุ่นใหม่ ซึ่งได้เติบโตมาในโลกออนไลน์ไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสื่อที่หลากหลาย รวมถึงเจาะกลุ่มผู้อ่านทั้งแมส และกลุ่มเฉพาะทางเป็นอย่างดี โดยมีทั้งเว็บแนวไลฟ์สไตล์, แม่และเด็ก, ชุมชนนักการตลาด, เกมส์ และ ชุมชนของคนสร้างคอนเทนต์ออนไลน์

 

  • Mange Zero : เว็บข่าวโซเชียลหน้าใหม่ ที่รวมทุกกระแสบนโลกออนไลน์มาส่งต่อให้ผู้อ่านไม่ตกกระแส และสร้างสรรค์เนื้อหาสนุกๆ ให้ได้ชมตลอดเวลา

  • Parents One : เว็บไซต์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ซึ่งได้ “คุณตุ๊ก นิรัตน์ชญา” จากเพจ Little Monster ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคน มาเป็นบรรณาธิการ เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลการเลี้ยงลูกที่หลากหลาย เข้าใจง่าย และเป็นการบอกต่อความเป็นจริงจากแม่สู่แม่ ในการเลี้ยงลูกยุค 4.0

  • Thumbsup in Thailand : ชุมชนของนักเรียนการตลาดตลอดชีวิต ที่จะอัปเดตข่าวสาร บทความ บทสัมภาษณ์ ตลอดจน อีเวนต์ ที่มีประโยชน์สูงสุดต่อนักการตลาดไทย

  • RAiNMaker : ชุมชนของนักสร้างสรรค์สื่อบนโลกออนไลน์ (Content Creator Community) ซึ่งเป็นเสมือนคลังความรู้สำหรับคนยุคใหม่ที่ต้องการเป็น Content Crater, บล็อกเกอร์, ผู้ดูแลเพจ, YouTuber รวมไปถึงความเคลื่อนไหวในวงการของนักสร้างสรรค์คอนเทนต์

  • GG2 เว็บไซต์ข่าวสารวงการเกม อีสปอร์ตและรีวิว ที่มีความเคลื่อนไหวหลากหลายที่ไม่ได้เอาใจแค่นักเล่น แต่ยังครอบคลุมถึงธุรกิจในวงการเกมด้วย

 

โดยทั้ง 5 เว็บไซต์ ถือว่าเป็นคลังความรู้แนวใหม่ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกรอบสื่อพิมพ์แบบเดิม เพราะโลกออนไลน์เปลี่ยนไปทุกวัน ซึ่งผู้ที่ดูแลทั้ง 5 เว็บในเครือคือ “ขจร เจียรนัยพานิชย์” หรือที่รู้จักในนาม @Khajochi บล็อกเกอร์ชื่อดัง ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Macthai และติด 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ไทย จัดอันดับโดยนิตยสาร LIPS

“จริงๆ แล้วผมฝันที่อยากจะทำนิตยสารมาโดยตลอด แต่เมื่อเรามาถึงในยุคนี้ที่คนอ่านเริ่มเปลี่ยนมาสู่โลกออนไลน์ เราก็ต้องปรับตาม ไอเดียคือเราอยากทำนิตยสารเฉพาะทาง แต่อยู่บนโลกออนไลน์ เพราะฉะนั้นในแต่ละเว็บจึงจับกลุ่มเฉพาะทาง และมีเป้าหมายที่ชัดเจนไปเลย” ขจรกล่าว

นอกจากนี้ ยังมี พลสัน นกน่วม บรรณาธิการ เว็บไซต์ Mango Zero ซึ่งมีประวัติในวงการออนไลน์ไม่ธรรมดา เพราะเป็นอดีตบรรณาธิการสำนักพิมพ์ Salmon Books, อดีตบรรณาธิการนิตยสาร 247 ในเครือ GM, อดีตบรรณาธิการบทสัมภาษณ์นิตยสาร GM และ Co-Founder สถานีพอดแคสต์ GetTalks กล่าวว่า

“MangoZero มีแนวคิดว่าเราจะไม่ทำข่าวฉาวโจมตีใครเพื่อเอายอด Like ยอด Share แต่เรามีความตั้งใจว่าจะสร้างคอนเทนต์ที่ให้ประโยชน์ต่อคนอ่าน ทันกระแสสังคม เลือกนำเสนอในมุมที่สร้างสรรค์ ย่อยง่าย ได้ความรู้ ไม่สร้างความแตกแยก โดยสอดแทรกความสนุก อารมณ์ขัน รวมถึงวิธีการนำเสนอที่น่ารักในแบบแมงโก้”

การรวมหลากหลายเว็บเป็นบริษัทสื่อออนไลน์รุ่นใหม่

เมื่อถามถึงการรวมตัวหลายเว็บที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในแง่คนอ่านและเนื้อหา การที่ทุกเว็บอยู่ในเครือเดียวกันจะมีส่วนช่วยเหลือกันได้มากน้อยแค่ไหน ?

“ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ความสนใจของคนเราเฉพาะทางมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเรามีกลุ่มผู้อ่านในหลาย Target ให้ลูกค้าเลือก ยิ่งเป็นข้อดีในแง่ของการดีลงานต่างๆ เช่น ลูกค้าอยากได้กลุ่มคนรุ่นใหม่อาจจะไปที่ Mango Zero แต่พอเขามีแคมเปญเกี่ยวกับครอบครัว สามารถสลับมาลง Parents One ได้ทันที”

ขจรเล่าว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีลูกค้าที่เซ็นสัญญาระยะยาวตลอดทั้งปีจำนวนมาก รวมถึงด้วยแนวทางนี้ ตัวบริษัทเองก็เติบโตในระดับ 2 เท่าในทุกปี ทั้งในแง่ผู้อ่านและการเติบโตของรายได้

จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 เว็บไซต์ในเครือ The Zero ล้วนแล้วแต่มีความโดดเด่น ไม่ใช่เพียงเนื้อหาที่แตกต่างกัน แต่ทุกเว็บมีรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลาย ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นบทความเขียนเพียงอย่างเดียว แต่มีทั้งในรูปแบบของ Photo Set, สัมภาษณ์วีดีโอ, Live, Long Form และคลิปสรุปเหตุการณ์สำคัญ เพื่อให้การนำเสนอเรื่องราวมีความน่าสนใจและแตกต่างจากเดิม

ทางด้านเป้าหมายในอนาคตของ The Zero ในฐานะ Publisher รุ่นใหม่นั้น คือ การทำให้ธุรกิจเดินหน้า เติบโตอย่างแข็งแรงและก้าวกระโดด เพราะธุรกิจสื่อออนไลน์ยุคใหม่ ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ที่เห็นกันจะอยู่ในกรอบของการเป็นสื่อเดิมที่ปรับมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการรักษาแบรนด์และถ่ายทอดเนื้อหาเท่านั้น ซึ่งการทำงานแบบเดิมนั้น ไม่ได้ส่งต่อให้ธุรกิจสื่อ จะอยู่รอดได้อย่างแข็งแรงในอนาคต แต่การเดินหน้าธุรกิจสื่อบนช่องทางออนไลน์แบบคนดิจิทัลที่แท้จริงเท่านั้น ถึงจะสร้างโอกาสและการเติบโตอย่างมั่นคงได้อย่างแท้จริง

ติดต่อ The Zero Publishing

  • ติดต่อโฆษณา / ฝ่ายขาว : sale [at] thezero.co.th
  • สมัครเข้าร่วมทีมงาน : The Zero Jobs
 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/02/profile-the-zero-publishing/

Time to grow: thumbsup x The Zero Publishing

สวัสดีครับ thumbsupers, พวกเรากองบรรณาธิการ thumbsup วันนี้พวกเราทั้ง 4 คนยุคก่อตั้ง คือ @charathbank @jakrapong @mimee @tuirung อยากจะอัปเดตการเปลี่ยนแปลงใน thumbsup ครับ เราจะพยายามเขียนให้สั้น-กระชับ ไม่เสียเวลาทุกคนมากจนเกินไปนะครับ

พวกเราสร้างเว็บไซต์ thumbsup ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2010 เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 11 มกราคม 2011 เราคิดฝันว่าอยากจะให้ thumbsup เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารของธุรกิจดิจิทัล เพราะช่วงนั้นสื่อกระแสหลักไม่ได้นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้สักเท่าไหร่ (เข้าทำนองว่าไม่มีใครทำ ก็ทำเอง) นับถึงวันนี้ เป็นเวลา 8 ปีเต็ม เราอัปเดตบทความมาอย่างต่อเนื่อง 10,460 บทความ จนมี thumbsupers ให้เกียรติเข้าอ่านบทความของพวกเราทั้งหมด 20,704,666 ครั้ง ปัจจุบันมีคนติดตามพวกเราเดือนละประมาณ 200,000 คน

ที่นับเลขมามากมายไม่ใช่อะไรหรอกครับ

แค่จะบอกว่า มาถึงวันนี้ คนอ่านมากขึ้น งานก็มากขึ้นตาม พวกเราแต่ละคนต่างคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องขยับขยาย thumbsup ให้รับใช้ผู้คนได้มากขึ้น แต่ลำพังเราคนเดียวก็ไม่ไหว เพราะต้องใช้ทั้งคน, เงิน, และเวลามหาศาล พวกเราจึงมองหา “พาร์ทเนอร์” ที่จะมาร่วมสร้าง และท้ายที่สุดเราก็ได้พบกับ “The Zero Publishing” บริษัทในเครือ Rabbit Digital Group นำโดย  ขจร เจียรนัยพานิชย์  หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ @khajochi และ รุ่งโรจน์ ตันเจริญ ได้เข้ามาลงทุนใน thumbsup โดยพวกเรากองบรรณาธิการ thumbsup รุ่นก่อตั้งก็จะยังคงเข้ามาร่วมวางทิศทางในการทำงานร่วมกับกองบรรณาธิการยุคปัจจุบัน ตลอดจนการกลับมาทำ event ที่หลายคนให้การต้อนรับมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Spark Conference, Digital Matters และ event อื่นๆ ที่จะตามมา

ด้วยการรวมตัวกันครั้งนี้ thumbsup เราจะไม่ได้มาเดี่ยวๆ แต่เราจะมาร่วมกับ The Zero Publishing ซึ่งเป็น Group Publishing Company มีสื่อออนไลน์ในเครือทั้งหมดคือ MangoZero, ParentsOne, RAiNMAKER, GG2 มาด้วยกันทั้งหมด ซึ่งเราหวังว่าการรวมตัวกันครั้งนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดชุมชนของ “นักเรียนการตลาดตลอดชีวิต” ที่จะอัปเดตข่าวสาร, บทความ, บทสัมภาษณ์ ตลอดจน event ที่มีประโยชน์สูงสุดต่อนักการตลาดไทยต่อไป

ขอบคุณที่อยู่ด้วยกันมาเสมอ และต่อไปครับ

@charathbank @jakrapong @mimee @tuirung

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/01/thumbsup-x-the-zero/

สวัสดีปีใหม่ 2017 จากใจกองบรรณาธิการ thumbsup

2016-12-30 09.09.17

ทันทีที่เข็มนาฬิกาบอกเวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที พาพวกเรานักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์ดิจิทัลเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม 2017 อย่างเป็นทางการ ราวกับนัดกับไว้… เสียง notification จาก Facebook Messenger, LINE Application, และ SMS พร้อมข้อความ “สวัสดีปีใหม่” ก็ทยอยวิ่งเข้ามาสู่ smartphone ของพวกเราจนอ่านกันแทบไม่ทัน แต่ถึงจะมากแค่ไหนเราก็อ่าน เพราะนั่นคือความปรารถนาดีที่มีให้กัน และวันนี้พวกเราจะขอมากล่าวสวัสดีปีใหม่ thumbsupers ครับ

@charathbank

ปีที่ผ่านมาน่าจะเป็นปีที่หมดคำว่า ดิจิทัล กับทุกๆ สิ่งอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะการตลาด เพราะว่ามันคือส่วนประกอบสำคัญจนไม่สามารถแยกส่วนออกมาอย่างเรียบร้อยแล้ว แบรนด์ทุกแบรนด์ สินค้าทุกตัว บริการทุกอย่าง ถ้าไม่คิดเรื่องดิจิทัลอาจจะหลงยุคหรือไม่ก็ต้องดิ้นรนกันสุดขีดในเวลานี้

ปีนี้ทุกอย่างก็จะยังคงเดินหน้าต่อไปด้วยวิวัฒนการใหม่ๆ ที่จะเข้ามาหาคน เราเห็นคนเริ่มถ่ายวิดีโอสดกันเป็นเรื่องปกติ คนเริ่มจะไม่คุยกับคน คนเริ่มจะเริ่มเห็นของเสมือนมากขึ้น แน่นอนว่าย่อมจะบริการใหม่ๆ ที่เราอาจจะไม่นึกว่าจะมี ก็เริ่มออกมาให้คนลองใช้ นี่คือสิ่งที่แบรนด์ควรเริ่มคิดถึงพฤติกรรมคนแล้วเอามาปรับให้เข้ากับการก้าวเดินของผู้บริโภค ซึ่งข้อมูล Insight อาจจะไม่เพียงพอก็เป็นได้

แล้วรอติดตามครับ สวัสดีปีใหม่ครับ

@chyutopia

สวัสดีปีใหม่ผู้อ่านทุกคนครับ ปี 2016 ที่ผ่านมามีเรื่องราวมากมาย และเราก็ได้สัมผัสกันแล้วว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เริ่มส่งผลกระทบกับการตลาดเดิมๆ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นิตยสารยังทยอยปิดตัวลง สถานีโทรทัศน์เริ่มลดบทบาทลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันนั้น การใช้เทคโนโลยีฝั่งออนไลน์แบบเดิมๆ ก็เริ่มไม่ได้ผลอย่างที่เคย สิ่งเหล่านี้ต่างชี้ให้เห็นว่าโลกยังคงเดินหน้าต่อไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นพวกเราทุกคนก็ไม่สามารถหยุดเรียนรู้ได้เช่นกัน พวกเรา thumbsup ยังคงจะตั้งใจนำเนื้อหาสาระและมุมมองดีๆ มาแบ่งปันกันต่อไปนะครับ เดินไปด้วยกันเรื่อยๆ นะครับ สวัสดีปีใหม่ 2017 ครับ

@jakrapong

ปลายปี 2016 เป็นช่วงเวลาที่ผมหยุดพักผ่อนใช้เวลากับตัวเองครุ่นคิดถึงเป้าหมายใหญ่ของ thumbsup ครับ

ต้นปี 2011 เราเริ่มต้นด้วยการคิดง่ายๆ ว่า เราอยากมีเว็บไซต์ที่เราอยากอ่านเองได้ทุกวัน เพราะพออ่านเว็บไซต์ที่จะเป็นกึ่งๆ ธุรกิจ กึ่งๆ เทคโนโลยีในเวลานั้น ไม่มีเว็บไทยเว็บไหนเลยที่นำเสนอในแบบที่เราต้องการ พวกเรากองบรรณาธิการ thumbsup จึงออกมาประกาศตัวว่าเราจะเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านธุรกิจดิจิทัล จน thumbsupers ให้การตอบรับเป็นอย่างดี พวกเราขอบคุณมาก

แต่หลังจากผ่านมา 7 ปี ความต้องการข้อมูลข่าวสารของ thumbsupers เปลี่ยนไป จากเดิมที่เราผลักดัน startup ไทยอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู วันนี้เรื่อง startup จะไปอยู่ที่ techsauce ส่วน thumbsup เราจะกลับมาในด้านการเป็นชุมชนของ “นักเรียนตลาดและนักเรียนประชาสัมพันธ์ตลอดชีวิต” ที่จะอัปเดตข่าวสาร, บทความ, บทสัมภาษณ์ ตลอดจน event ที่มีประโยชน์สูงสุดต่อนักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์ไทยยุคดิจิทัล

ปี 2017 นี้นึกถึงชุมชนของนักการตลาด และนักประชาสัมพันธ์ดิจิทัล นึกถึง thumbsup นะครับ สวัสดีปีใหม่ครับ

@mimee

ขอบคุณที่ติดตามเส้นทางของ thumbsup ตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว ถ้าเทียบกับคนก็เป็นช่วงกำลังเรียนรู้และเติบโต ยอมรับว่าปี 2016 เงียบหายกันไปบ้าง แต่ปี 2017 สัญญาว่าจะกลับมาสร้างชุมชนของนักการตลาดให้แข็งแรงอีกครั้ง ในแนวถนัดของตัวเองคือ MarTech (Marketing Technology) และ AdTech (Advertising Technology) ว่าการนำเทคโนโลยีจะมาผสมผสานเพื่อช่วยนักการตลาดตอบโจทย์ customer journey ในแต่ละจุดได้อย่างไร แล้วพบกันนะคะ

@tuirung

หลังจากผ่านพ้นปี 2016 ไปแล้ว สองสิ่งที่ผมนึกถึงและเห็นได้อยู่บ่อยๆ ก็คือเรื่องของ conversion marketing และการเติบโตที่เพิ่มขึ้นสูงของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งผมขอพูดถึงเรื่องของอุปกรณ์พกพา ที่เรียกได้ว่า กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วทั่วไปแล้ว นักการตลาด ควรคำนึงถึงการ เข้าถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางนี้ แทนการเข้าถึงผ่านหน้าจอ desktop ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง การทำการประชาสัมพันธ์ ต่างๆ ในปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าแบรนด์ อัดเม็ดเงินเข้าไปในระบบทางช่องทางนี้อย่างมากมาย และในปี 2017 เอง เราก็คงจะเห็นภาพที่ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก และก็ขอฝาก ให้เพื่อนๆ ติดตามข่าวสารเรื่องนี้ จากเว็บไซต์ของเราได้เช่นเคย…สวัสดีปีใหม่ครับ

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/01/happy-new-year-2017-from-our-heart-thumbsup-editorial-staff/

[ประกาศ] thumbsup จะทำอะไรต่อไป?

thumbsup-thumbnail

ใครที่ได้ไปร่วมงาน Spark Conference 2 เมื่อต้นเดือนมีนาคม คงจำได้ว่าพวกเราพูดบนเวทีว่าเราจะเปิดเว็บใหม่ ที่ชื่อว่า Techsauce.co ที่จริงมันเกิดจากแนวคิดที่ว่า ถึงความสนใจของชุมชนคน Digital marketing และ Tech Startup มันมีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง แต่มันก็ไม่ได้ตรงกันสักทีเดียว คงจะเหมาะสมกว่าหากมีอีกเว็บที่ทุ่มเทให้กับวงการ Tech Startup ไปเลย แต่เรายังไม่ได้ออกมาบอกว่าแล้ว thumbsup จะเอาอย่างไรต่อ

วันนี้เราก็เลยถือโอกาสมาพูดว่าสำหรับ thumbsup เราจะทุ่มเทให้กับแวดวง Digital marketing ครับ

อย่างไรบ้าง?

ในภาพใหญ่ๆ สิ่งที่เราอยากจะพูดมันจะมีอยู่ 3 เรื่องคือ เรื่องแนวความคิดของเรา เรื่องเนื้อหา และเรื่องชุมชน

ในแง่แนวความคิด – ประเทศไทยเข้าสู่ยุค AEC แล้ว เราจะเห็นได้ว่าเริ่มมีนักการตลาดดิจิทัลเก่งๆ จากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาสมัครงานในบ้านเรามากขึ้น นั่นหมายความว่า นักการตลาดไทยจะเข้าสู่ยุค AEC เต็มตัว ข้อดีก็คือเรามีโอกาสที่จะมีประสบการณ์ในระดับนานาชาติ ทำงานร่วมกับหลายประเทศ แต่ในทางหนึ่งก็คือ เราจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้แข่งขันกับตลาดแรงงานทั่วภูมิภาคที่จะเดินขบวนเข้ามาในไทยให้จงได้ และตรงนี้เองที่ thumbsup อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันวงการ Digital marketing ของไทยให้เติบโตไปสู่นานาประเทศได้อย่างมั่นคง ด้วยการสนับสนุนนักการตลาดไทยให้เติบโตไปด้วยกันพร้อมกับมีทักษะความรู้และประสบการณ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น

ในแง่เนื้อหา – จากเดิมเราจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ Tech Startup ผสมกันกับ Digital marketing แต่จากนี้ไป thumbsup จะเน้นการนำเสนอในเรื่องของ Digital marketing ในทุกแง่มุม ไม่ว่าคุณจะเป็นฝั่งไหน จะทำแบรนด์ จะทำเอเยนซี่ หรือเป็น Publisher คุณสามารถอัปเดตเรื่องราว Digital marketing ในทุกๆ มุมมองได้จากเรา ดังนั้น

ถ้าคุณเป็นแบรนด์ คุณก็จะได้อ่านข่าวอัปเดตการตลาดใหม่ๆ แนวทางการสร้างแบรนด์ยุคดิจิทัล การผสมผสาน Digital เข้าไปในทุกๆ ภาคส่วนของธุรกิจ เช่น การค้าปลีก การขาย การทำ E-Commerce

ถ้าคุณเป็นเอเยนซี่ คุณก็จะได้รับข่าวอัปเดตไวๆ เช่นกัน แต่เราจะมีข่าวสารของคนในแวดวงเอเยนซี่ รางวัลที่แต่ละเอเยนซี่ชนะกัน ตลอดจนกรณีศึกษาจากเอเยนซี่ต่างๆ ที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนกันในนี้

และถ้าคุณเป็น Publisher (เจ้าของเว็บ เจ้าของแอป และ Influencer ทุกคน) คุณก็จะได้รับการอัปเดตข่าวที่เหมาะสมกับงานของคุณ เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คุณควรนำมาใช้ ตลอดจนข่าวสาร

ในแง่ชุมชน –  thumbsupers ทุกคนคงจะเห็นว่า ที่ผ่านมาเราจัด event อยู่ 3 งาน นั่นคือ Spark Conference (#SparkCon) ซึ่งเป็น event รายปี / Digital Matters (#dmatters) เป็น event รายไตรมาสที่จะอัปเดตเรื่อง Digital marketing trend / และ Start it up, Power it up event ที่อัปเดตทุกเรื่องราวของชาว Tech Startup

จากนี้ไป thumbsup จะเป็นผู้จัดเฉพาะ Spark Conference และ Digital Matters ส่วน Start it up, Power it up จะอยู่กับทาง Techsauce.co

นี่คือทั้งหมดที่เราต้องการจะบอกในวันนี้ครับ จากนี้เตรียมรอรับการอัปเดตด้าน Digital marketing ที่จะเข้มข้นขึ้น ตลอดจน event ด้าน Digital marketing ที่เราจะทำให้คุณได้ประโยชน์ที่สุด ในฐานะสื่อ และชุมชนของ Digital marketer ไทยที่พร้อมเดินหน้าไปกับพลวัตรใหม่ในยุค AEC ครับ

from:http://thumbsup.in.th/2015/04/what-is-next/

thumbsup จับมือ HUBBA เปิด Techsauce.co รวมข่าวสารความเคลื่อนไหวสำหรับ Tech Startup โดยเฉพาะ

Tech sauce final logo color

thumbsup สื่อออนไลน์ด้าน Digital Marketing และ Tech Startup จับมือ HUBBA ผู้ให้บริการ co-working space สำหรับ Tech Startup ในประเทศไทย สร้างแบรนด์ใหม่ Techsauce.co รวมทุกเรื่องราวในวงการ Tech Startup สำหรับ Startup ไทยและผู้ที่สนใจได้ติดตามข่าวสารและกิจกรรมได้ในที่เดียว

เมื่อ thumbsup คือสื่อไทยรายแรกๆ ที่นำเรื่อง Tech Startup มาให้คนไทยได้รู้จัก จนมาในตอนนี้เรียกได้ว่าไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงเรื่องนี้ และ HUBBA ผู้ให้บริการ co-working space สำหรับ Tech Startup รายแรกในกรุงเทพฯ และมีสาขาอยู่ในหลายแห่งในประเทศไทย ได้มาพูดคุยและมีเห็นตรงกันว่า ควรทำให้วงการ Startup ของเมืองไทยมี ecosystem ที่แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม, ตอบกับความต้องการในตลาด และสามารถดัน Startup ไทยให้ออกไปสู่ตลาดต่างประเทศได้ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นี้ โดยใช้ชื่อว่า Techsauce

tu-hub copy

ที่มาของชื่อ Techsauce เกิดจากการรวมคำ 2 คำ Tech ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยี และ Sauce ที่มีความหมายเป็นทั้ง Sauce เครื่องปรุงรสที่จะทำให้เกิดความอร่อยเพิ่มมากขึ้น และการเล่นคำ Source นั่นคือแหล่งข่าวชั้นดีที่คนอ่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ Tech Startup ได้เข้ามาอ่านและมั่นใจในเนื้อหาว่าจะมีความเข้มข้น เมื่อสองอย่างมารวมกัน Techsauce จึงเป็นแหล่งข่าวที่มีส่วนผสม ที่จะทำให้เนื้อหาของข่าวและบทความ ด้าน Tech Startup มีความอร่อย ทานง่าย และถูกปากผู้อ่านทุกคน

ภายใน Techsauce.co จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ Startup ทั้งไทยและเทศ รวมถึงบทสัมภาษณ์ Startup ในประเทศไทยและในต่างประเทศ และยังมี Startup 101 คู่มือสำหรับผู้ที่สนใจและอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ Startup โดยเฉพาะ โดยแบ่งออกเป็น 3 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ และญี่ปุ่น ซึ่งก็จะตอบโจทย์กับคนอ่านและเปิดโอกาสให้คนต่างชาติได้รู้เรื่องเกี่ยวกับ Startup ในเมืองไทยได้ผ่านบทความและบทสัมภาษณ์อีกด้วย

สามารถติดตามและเข้าไปอ่านได้แล้ววันนี้ที่ http://techsauce.co/ และบน Facebook techsauce.co

from:http://thumbsup.in.th/2015/03/thumbsup-co-hubba-launch-techsauce-co/

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาการตลาดดิจิทัลแห่งปี 2558: Spark Conference ครั้งที่ 2: Age of Expertise #SparkCon

spark_conference_2_sparkcon

เรารู้ว่ามันอาจจะฟังดูวิชาการไปสักนิดถ้าจะพูดว่า เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคข้อมูลข่าวสารล้นหลาม” แบบที่ตำราว่าไว้นั้น แต่ก็ต้องยืนยันว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นความจริง จริงซะยิ่งกว่าสมัยก่อนเสียอีก [วันนี้เราจะเกริ่นยาวสักหน่อย ถ้าต้องการทราบรายละเอียดงาน กดลงไปดูช่วงกลางได้เลย]

ลองจินตนาการในแต่ละวันดูนะครับว่า วันหนึ่งๆ เราต้องเสพย์ข้อมูลข่าวสาร หรือ Content มากขนาดไหน

  • ตื่นเช้ามาเปิดโทรศัพท์มือถือเช็คอีเมล
  • เช็คสเตตัสบน Facebook, Twitter
  • ตอบคำถามเพื่อนใน Message (LINE, WeChat, WhatsApp, Facebook Messenger, Beetalk, Kakao ฯลฯ)
  • ระหว่างทางเข้าออฟฟิศ ขับรถฟังเพลงทางวิทยุ
  • ขับไปก็แล่นผ่านป้าย OOH ต่างๆ เห็นโฆษณาอีกบานตะไท
  • เมื่อถึงสำนักงาน เราแวะทานข้าวเช้า เรายังเจอคนยืนแจกหนังสือพิมพ์และนิตยสารแจกฟรีให้เรา

ท้ายที่สุด…เราก็พบว่ามือเราถือหนังสือพิมพ์ แต่ตาก็ดูรายการโทรทัศน์ฆ่าเวลาก่อนจะเริ่มงาน นี่ยังไม่รวมถึง Notification จากข้อความที่เพื่อนแชร์มาบน Social Network ชี้ชวนให้เราอ่านเว็บไซต์อีกล้านแปดเว็บ

สังเกตนะครับ Content ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ฟรี หาง่าย และมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกคนสามารถเป็น Media ได้ ทุกคนเป็นเจ้าของสื่อเองได้ ด้วยต้นทุนไม่กี่ร้อยกี่พันบาท ไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ใครจะเป็นเจ้าของสื่อ ต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีแท่นพิมพ์นับล้านบาท

ท่ามกลางมหาสมุทรข้อมูลที่ทุกคนสามารถนำเสนอสิ่งที่ตัวเองคิด เราในฐานะผู้บริโภคเองก็ต้องเริ่มตั้งคำถามแล้วว่า Content อะไรที่น่าเชื่อถือ และอะไรที่ไม่น่าเชื่อถือ

thumbsup ในฐานะของเว็บข่าวและบทความด้านธุรกิจดิจิทัล จึงมองว่า ข้อมูลข่าวสารที่มาจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นเป็นข้อมูลที่น่าจับตามอง ควรให้เวลาศึกษามัน เหมือนกับที่เวลาเราไม่เก่งอะไรสักอย่าง ต้องตามหาที่ปรึกษามาช่วยแนะแนวทาง เพราะคนเหล่านี้กว่าจะกลายเป็นที่ปรึกษาได้ ย่อมผ่านกระบวนการคิดและฝึกฝนมามากมาย

  • อ่านบล็อกและเว็บบอร์ดข้อมูลทางด้านการเงินที่เจ๋งๆ โดยยอมจ่ายให้กับสมาคม ThaiVI เพราะในนั้นมี ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ จำนวนมาก
  • จ่ายค่าเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโบรคเกอร์ เพื่อเช็คข้อมูลข่าวสารของหุ้นในแอปของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความรู้ ‘ความเชี่ยวชาญ’ ให้กับตัวเอง ก่อนที่จะลงทุน
  • จองตั๋วหนัง ซื้อหนังสือ และเลือกซื้อสินค้าจากเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ เพราะอ่านรีวิวที่น่าเชื่อถือจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ในเว็บต่างๆ

เราเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้าคุณอยากจะเก่งอะไรสักอย่างในระดับผู้เชี่ยวชาญแล้วล่ะก็ ลองฝึกมันเข้าสัก 10,000 ชั่วโมงคุณก็จะสามารถกลายเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นได้ แต่เราจะเสียเวลาไปฝึกทุกๆ ทักษะที่เราอยากเก่งทำไม สู้ตามหา ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ กลุ่มนี้มาตอบสนองความกระหายใคร่รู้ของเราดีกว่า ได้ผลเร็วกว่ากันเยอะ ยิ่งในยุคออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ในการแสดงความเชี่ยวชาญ และพรสวรรค์ส่วนตัว เราตามหาคนกลุ่มนี้ได้ไม่ยากเลยล่ะครับ

นี่จึงเป็นสาเหตุของการที่ thumbsup อยากจะเชิญชวน thumbsupers มาทำความรู้จักกับยุคสมัยใหม่ ยุคสมัยที่เราขอเรียกมันว่า ‘Age of Expertise’ หรือยุคของ Content ที่มีความหมายนั้นจะมาจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ

เราจึงอยากขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมทำความรู้จัก ‘Age of Expertise’ ในแง่มุมของการทำ Content Marketing ด้วยกันในงานสัมมนา “Spark Conference 2: Age of Expertise” การกลับมาของ​ Spark Conference งานสัมมนาของวงการธุรกิจดิจิทัล จากที่เราได้รับการตอบรับจาก thumbsupers และผู้สนใจธุรกิจดิจิทัลกว่า 1,000 คนเมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา

คราวนี้กลับมาภาค 2 เชิญอ่านรายละเอียดครับ

Spark Conference 2: Age of Expertise

วัน: ศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558  ตั้งแต่เวลา 9.00 – 18.00 น.
เวลา: 9.00 น. – 18.00 น. (วาระและหัวข้อต่างๆ ของแขกรับเชิญทุกท่านอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนครั้งสุดท้าย เราจะนำมาเสนอในไม่กี่วันนี้)
สถานที่: หอประชุมมหิศร SCB Park

สำหรับงาน Spark Conference 2 เราได้รวบรวมวิทยากรที่เราเชื่อมั่นว่าคนในแวดวงธุรกิจดิจิทัลจะชื่นชอบพวกเขา ณ ตอนนี้แขกรับเชิญที่จะมาร่วมงานกับเรามีหลายต่อหลายท่าน วันนี้เราขอแนะนำ 7 ท่านแรกก่อนนะครับ

dave-kerpen1

คุณ Dave Kerpen ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท Likeable Local บริษัทซอฟต์แวร์ทางด้าน social media ระดับรางวัลของสมาคม Word of Mouth และผู้แต่งหนังสือขายดีระดับโลก “Likeable Social Media” บินตรงจากกรุงนิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกาถึงกรุงเทพมหานครเพื่อแชร์ความรู้ด้าน Social Media และ Content Marketing ในงาน Spark Conference 2 โดยเฉพาะ

ทางด้านผลงาน หนังสือ Likeable Social Media: How to Delight Your Customers, Create an Irresistible Brand, and Be Generally Amazing on Facebook and other social networks ของคุณ Dave เป็นหนังสือที่ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการติดอันดับขายดีของหนังสือพิมพ์ New York Times และ USA Today จากนั้นเขายังแต่งหนังสือที่ต่อยอดความสำเร็จของเล่มแรกออกมาอย่าง Likeable Business และ  Likeable Leadership ที่มีการพิมพ์ซ้ำออกจำหน่ายและแปลอีกหลายภาษาทั่วโลกอีกด้วย

siwat

คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ – นักการตลาดดิจิทัลชั้นนำผู้เคี่ยวกรำงานมากว่า 15 ปี ปัจจุบันคุณศิวัตรเป็น CEO ของบริษัท mInteraction ซึ่งให้บริการด้าน Interactive/Digital advertising  และ communication solutions สำหรับแบรนด์และองค์กรชั้นนำ นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม Digital Advertising Association (Thailand) หรือ DAAT อีกด้วย

krittee_sanook_online

คุณกฤตธี มโนลีหกุล – คุณกฤตธี มโนลีหกุล ร่วมงานกับสนุก! ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร รับผิดชอบการบริหารงานทั้งหมด ได้แก่ บริการเว็บพอร์ทัล (www.sanook.com) เนื้อหาบนมือถือ (Sanook! Mobile) เกมส์ และโฆษณาออนไลน์ (Topspace) ทั้งยังปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเทนเซ็นต์ (Tencent) ทั้งในด้านการทำตลาด การพัฒนาธุรกิจและการบริหารจัดการกิจกรรมด้านการตลาดต่างๆ ทั้งหมดให้ WeChat ในประเทศไทย

ก่อนร่วมงานสนุก! คุณกฤตธีทำงานที่ Expedia Inc. ซึ่งเป็นบริษัทผู้บุกเบิกธุรกิจ E-Commerce การจองตั๋วและโรงแรมออนไลน์ (Online Travel Agent) โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นเวลา 4 ปีที่สำนักงานในฮ่องกง มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาความก้าวหน้าให้กับพันธมิตรทางการค้าทั้งหมดของ Expedia Inc. กำหนดกลยุทธ์ และการปฎิบัติการในเอเชียและแปซิฟิก และก่อนที่จะร่วมงานกับ Expedia Inc. เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาในหน่วยงานที่ดูแลด้านการวางกลยุทธ์ของ Samsung ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งยังร่วมงานในสายธุรกิจต่างๆ กับ Samsung เช่น Samsung Electronics และ Cheil Communications ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการร่วมงานกับบริษัท CGI ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกา

คุณกฤตธีจบการศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ด้านการตลาด การเงิน และกลยุทธ์จาก Kellogg School of Management และปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จาก Brown University ที่สหรัฐอเมริกา

 

pornthip-photo

คุณพรทิพย์ กองชุน –  หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย
คุณพรทิพย์ร่วมงานกับ Google มา 9 ปี โดยเป็นผู้บุกเบิกตลาดให้กับ Google ในการพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีให้กับคนไทยโดยเฉพาะ ที่ผ่านมาคุณพรทิพย์มีผลงานเปิดตัวเทคโนโลยีจาก Google ให้กับคนไทยกว่า 100 เทคโนโลยี ล่าสุดเปิดตัว YouTube ประเทศไทย

suharit

คุณสุหฤท สยามวาลา – ผู้บริหาร บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเขียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ แต่วัยรุ่นหลายคนคงรู้จักเขาในฐานะศิลปิน พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ชายที่บอกว่าเป็นวัยรุ่นที่แก่ที่สุดในโลก ที่ออกมาประกาศอาสาขอรับใช้ประชาชนลงท้าชิงในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสมัยหน้าพร้อมนโยบายที่จะทำให้คนกรุงเทพฯต้องเซอร์ไพส์ ซึ่งครั้งนี้คุณสุหฤท จะนำเบื้องหลังการสร้างแคมเปญหาเสียง ที่ชาวกทม. หลายหมื่นเสียงทุ่มเทคะแนนเสียงให้ในโลกดิจิทัลมาแชร์ คิดว่าหลายคนยังคงจำ MV นี้กันได้

surangkana_wayuparb_etda

คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ (CEO) ของ สพธอ. หรือ ETDA (Electronic Transactions Development Agency) (Public Organization)) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2554 เนื่องจากประสบการณ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาเกือบ 15 ปี และยังเป็นคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในหลายสมาคม โดย สพธอ. มีภารกิจในการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงปลอดภัยทัดเทียมผู้นำในภูมิภาค โดยเฉพาะการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดโลกให้แก่ผู้ประกอบการ E-Commerce ของไทย

nuttaputch

คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง – จบการศึกษาด้านศิลปะการละครจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะศึกษาต่อด้านการจัดการวัฒนธรรมที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแม้ว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะเน้นไปทางสายศิลป์ แต่ด้วยพื้นสายวิทย์เดิมในช่วงมัธยมศึกษาทำให้ศึกษาต่อด้วยความสนใจส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยี การตลาด การบริหารจัดการ ซึ่งก็ดูเหมือนว่าการเรียนผสมผสานทั้งสายวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์จะทำให้มีความสามารถทั้งสองสายควบคู่กันจนทำให้มีผลงานและประสบการณ์ทั้งสองฝั่งพอๆ กัน

ปัจจุบันคุณณัฐพัชญ์ ดำรงตำแหน่ง Vice President – Head of Online Marketing ที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ควบคู่ไปกับการเป็น Columnist ให้กับนิตยสาร a-day และนิตยสาร Positioning และงานพิธีกร ผู้ผลิตรายการ – DigiLife TV ที่ Nation Channel

และนี่คือโฉมหน้าของวิทยากร 7 ท่านแรกในงาน Spark Conference 2

ใครที่สนใจก็กด ลงทะเบียนร่วมงาน ได้เลยครับ บัตรเข้างาน ราคา 1,200 บาท แต่ตอนนี้เรามี “อัตรานกตื่นเช้า” ที่ 1,000 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 20 กุมภาพันธ์ 2558 พร้อมรับฟรี! Report ของ Econsultancy 1 ชุดมูลค่า 23,000 บาท*

ขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ Spark Conference 2: dtac, Econsultancy, ETDA, Samsung Galaxy, Sanook!SCB, Syndacast, WeChat

เกี่ยวกับ Spark Conference: Spark Conference เป็นงานสัมมนาด้านธุรกิจดิจิทัลชั้นนำของประเทศ นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดดิจิทัล โดยจะมีการแบ่งปันความรู้ตลอดจนอัปเดตเทรนด์การตลาดดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลจากทั้งในและนอกประเทศ

หมายเหตุ:
– บริษัทองค์กรใดต้องการร่วมสนับสนุนงานนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่ contact@thumbsup.in.th

– สนใจซื้อบัตรร่วมงานสำหรับองค์กรในราคาพิเศษ กรุณาติดต่อ ticket@thumbsup.in.th

– Report จาก Econsultancy จะแจ้งรายละเอียดการดาวน์โหลดอีกครั้ง

บรรยากาศของงานในปีที่ผ่านมา:

 

from:http://thumbsup.in.th/2015/01/spark-conference-2-age-of-expertise/

Start it Up, Power it Up ครั้งที่ 7 งาน Startup โดยคนไทยเพื่อคนไทยส่งท้ายปี 2014

Startitup
งาน Startup ที่โดยคนไทยงานแรกที่จัดต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 3 ปี กลับมาอีกครั้ง Start it Up, Power it Up ครั้งที่ 7 โดยครั้งนี้จะเป็นการสรุปภาพรวมของปี 2014 ในด้าน Startup พร้อมต้อนรับปี 2015 ปีที่จะเข้าสู่ AEC เนื้อหาภายในงานยังคงแน่นเหมือนเดิม พร้อมการประกวด Pitching ในงานด้วย

วันจัดงาน:

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2557

สถานที่ :

ชั้น 11 CP Tower 1 สีลม (ฺBTS ศาลาแดง, MRT สีลม)
stationary--map-silom

กำหนดการ :

9.30 – 10.00 เปิดรับลงทะเบียน
10.00 – 10.05 คุณบัญญัติ คำนูณวัฒน์  ผู้บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ กล่าวเปิดงาน
10.05 – 10.30 – สรุป Startup ในรอบปี 2014 และทิศทางน่าจับตาปี 2015 โดย thumbsup team
10.30 – 11.00 – สัมภาษณ์พิเศษ คุณภัทรพร (สุขสมปอง) สกุลคู กับชีวิต Startup ไทย ใน Silicon Valley
11.00 – 11.45 – มุมมอง Startup ใน South East Asia หลังเปิด AEC โดยทีมงาน World Startup Report
11.45 – 12.15 – Session จากทาง Microsoft

=====รับประทานอาหารเที่ยง  ======

13.30 – 14.15 – แชร์ประสบการณ์จุดวัดผลธุรกิจ Tech Startup
คุณณัฐวุฒิ พีงเจริญพงศ์ หรือคุณหมู CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Ookbee
คุณสุรวัฒน์ พรหมโยธิน หรือแซม CEO Stylhunt

2.15 – 3.00 – กรณีศึกษาขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคได้อย่างไร กับ GrabTaxi

3.00 – 3.45 – ทิปและเทคนิคการทำ Mobile App Marketing ด้วย AppStore Search Optimization (ASO)
คุณอรรถพล ฟักน้อย (อ๊อบ) Founder & CEO: Dev Design Corner Co.,Ltd.

3.45 – 4.30 – เจาะลึกชีวิต Startup กับการสร้างกำลังใจในทุกๆ วัน
คุณวิชานน์ มานะวาณิชเจริญ ผู้ร่วมก่อตั้ง Taamkru 
คุณ​ภัทรพร โพธิ์สุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง MakerZoo

รวมทั้งจะมีการแข่งขัน Startup Pitching ระดับมหาวิทยาลัยรอบสุดท้ายควบคู่ในระหว่างงานไปด้วยตลอดทั้งวันเช่นกัน

startitup2

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ (จะมีอีเมล์ยืนยันเข้าร่วมงานส่งกลับไปก่อนวันงานประมาณ 2 วันครับ)

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

ขอบคุณผู้สนับสนุนงานในครั้งนี้

dentsu360 logo_unigin  microsoft

ขอบคุณผู้สนับสนุนสถานที่

cpall_logo

from:http://thumbsup.in.th/2014/10/start-it-up-power-it-up-7/