คลังเก็บป้ายกำกับ: CLOUD_FIRST

อยากขึ้น Cloud แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร G-Able มี Framework ช่วยคุณได้

องค์กรของคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่หรือไม่? อยากขึ้น Cloud แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี, มีเครื่องมือเยอะมากแต่เลือกใช้ไม่ถูก, ต้องวาง Framework อย่างไรถึงจะเหมาะกับแอปพลิเคชันที่จะพัฒนา หรือเริ่มใช้ Cloud ไปแล้วแต่กลับไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูง … ทุกปัญหาเหล่านี้ G-Able ช่วยคุณได้

“G-Able พร้อมพาทุกองค์กรขึ้น Cloud สร้าง Cloud Foundation ให้แข็งแกร่ง พร้อมใช้งานระบบ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต มาร่วมสร้าง Cloud Journey ไปด้วยกันกับพาร์ทเนอร์ที่เชื่อถือได้”

โลกเข้าสู่ยุค Cloud First คุณพร้อมแล้วหรือยัง?

องค์กรทั่วโลกต่างเดินหน้าพลิกโฉมธุรกิจของตนด้วยการทำ Cloud Transformation ด้วยคุณสมบัติการขยายระบบได้อย่างรวดเร็ว ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายกว่า แอปพลิเคชันทั้งหลายจึงเริ่มถูกพัฒนาให้ใช้งานบน Cloud หรือที่เรียกว่า Cloud-native Applications มากขึ้น ก่อให้เกิดการวางกลยุทธ์ดิจิทัลแบบ Cloud First

อย่างไรก็ตาม ยังมีองค์กรอีกมากที่อยากหันไปใช้ระบบ Cloud แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี, อะไรควรย้ายขึ้น Cloud, อะไรยังควรใช้งานแบบ On-premises และอีกทั้งการเชื่อมต่อกันระหว่าง Cloud และ On-premises ควรที่จะเชื่อมต่อกันได้อย่างไร, ควรจะวางสถาปัตยกรรมแบบไหนให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่จะพัฒนา ในขณะที่ในตลาดก็มีบริการและเครื่องมือให้ใช้เยอะมาก จะรู้ได้อย่างไรว่าบริการหรือเครื่องมือไหนเหมาะสมกับการใช้งานขององค์กรตน ที่สำคัญคือจะวางแผนขยายระบบในอนาคตและควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

นำเสนอ Framework สำหรับการขึ้นสู่ Cloud ด้วยประสบการณ์ตรง

G-Able ในฐานะ Digital Transformation Agent จึงได้ออกบริการเพื่อช่วยสนับสนุนให้องค์กรในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจ SMB สามารถเริ่มต้นใช้ระบบ Cloud ได้อย่างมั่นใจ โดยเน้นการสร้างรากฐานระบบ Cloud ขององค์กรให้แข็งแกร่ง พร้อมต่อยอดการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Cloud-native ซึ่งนอกจากจะพัฒนาบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถขยายระบบในอนาคตเมื่อธุรกิจเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ที่สำคัญคือ G-Able ช่วยวางระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยบน Cloud เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้ แอปพลิเคชัน และข้อมูลจะพร้อมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์

G-Able นำเสนอบริการในรูปแบบ Framework ซึ่งประกอบด้วยชุดเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต่อการขึ้นสู่ Cloud, ชุดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์เสริมที่จะช่วยให้การขึ้น Cloud ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนา Cloud-native Applications โดยใช้ประสบการณ์จากการทำ Cloud Transformation และพัฒนาแอปพลิเคชันของบริษัทในเครือ ลูกค้าสามารถเลือกใช้ชุดเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่แนะนำ หรือจะใช้ที่ตนเองถนัดก็ได้ ทั้งยังสามารถเลือกใช้บริการ Managed Services ของ G-Able เพื่อช่วยดูแลระบบ Cloud ขององค์กรได้อีกด้วย

มุ่งสร้าง Cloud Foundation ให้แข็งแกร่ง ต่อยอดสู่กลยุทธ์ Cloud First

G-Able ช่วยให้ทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) ที่ต้องการใช้ Cloud สามารถเตรียมระบบ Cloudและทดลองพัฒนา Cloud-native Applications เพื่อให้คุณทดลองใช้งานก่อน หากผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ G-Able จะช่วยสร้าง Cloud Foundation ซึ่งเป็นการวางรากฐานของระบบ Cloud ให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ต่อยอดพัฒนาแอปพลิเคชันได้ง่าย พร้อมจัดการเรื่อง Migrate ระบบและข้อมูลขึ้นสู่ Cloud รวมไปถึงการดูแลและช่วยปรับจูนระบบ Cloud ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับการสร้าง Cloud Foundation นั้น G-Able เน้นที่การจัด Landing Zone คือการวางสถาปัตยกรรมระบบ Cloud ให้พร้อมรองรับการพัฒนา Cloud-native Applications และ Ecosystem ที่ระบบ Cloud ควรมี เช่น การบริหารจัดการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบเครือข่าย และระบบจัดเก็บ Log เป็นต้น เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมเชื่อมต่อกับบริการต่างๆ ของผู้ให้บริการระบบ Cloud และสามารถขยายระบบในอนาคตได้ง่าย  ซึ่งจะนำไปสู่การวางกลยุทธ์ Cloud First อย่างมียั่งยืน

ขึ้น Cloud อย่างมั่นใจด้วย Package SML จาก G-Able

G-Able แบ่งบริการขึ้น Cloud ออกเป็น 3 Packages สำหรับธุรกิจ SMB ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ดังนี้

Package S

สำหรับธุรกิจ SMB ที่ต้องการทดลองใช้ระบบ Cloud หรืออยากขึ้นระบบ Cloud แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี ทาง G-Able จะเข้ามาช่วยให้คำปรึกษา แนะนำชุดเครื่องมือที่ต้องใช้ จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นให้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถลองพัฒนา Cloud-native Applications ขึ้นมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องลงทุนสูงมากนัก

Package M

เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการขึ้น Cloud อย่างแน่นอนและกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาคอยให้คำปรึกษา หรือลูกค้าที่ใช้ Package S มาก่อนแล้วต้องการเดินหน้าใช้ระบบ Cloud อย่างจริงจัง โดย Package นี้จะเน้นที่การสร้าง Cloud Foundation ให้แข็งแกร่งและยั่งยืน ครอบคลุมทั้งทางด้าน Networking, Security, Logging และ Management เพื่อให้สามารถพัฒนา Cloud-native Applications ได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมขยายระบบได้ง่ายในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องวาง Cloud Foundation ใหม่ทุกครั้งที่จะสร้าง Applications

Package L

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่สร้าง Cloud Foundation และวางสถาปัตยกรรมเรียบร้อยแล้ว แต่อาจประสบปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีเท่าที่ควร ในขณะที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือต้องการยกระดับ SLA ให้ดีขึ้นกว่าเดิม G-Able มีผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ Performance Tuning และ Cost Optimization เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนบนระบบ Cloud มีความคุ้มค่าและสามารถดึงศักยภาพของระบบ Cloud ออกมาได้ 100%

ร่วมสร้าง Cloud Journey พร้อมก้าวเดินไปลูกค้า

Package SML สำหรับขึ้นระบบ Cloud ของ G-Able เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้าง Cloud Journey ไปพร้อมๆ กับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย 4 เฟสหลัก คือ Project, Foundation, Migration และ Optimization รวมเป็นบริการแบบ End-to-end ซึ่งนอกจาก G-Able จะช่วยดูแลระบบ Cloud ของลูกค้าอย่างครบวงจรแล้ว ยังช่วยค้นหาและนำเสนอเทคโนโลยีใหม่เพื่อเข้ามาประยุกต์ใช้ให้ตอบโจทย์กลยุทธ์ Cloud First ของลูกค้าอีกด้วย

ด้วยบริการของ G-Able ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบ Cloud จะพร้อมใช้งานอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ช่วยให้องค์กรของคุณสามารถโฟกัสกับการดำเนินธุรกิจหลักได้อย่างมั่นใจ G-Able มีทีมงานที่ได้รับการรับรองจากผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อช่วยแนะนำเทคโนโลยี Cloud ให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://bit.ly/3sr87bb
โทร: 02-781-9333
Website: www.g-able.com

from:https://www.techtalkthai.com/start-your-cloud-journey-with-g-able/

Juniper เซ็นต์สัญญาจ้าง IBM ดูแลระบบ Cloud ของตนเอง ดีลมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท

IBM Services และ Juniper Networks ได้เซ็นต์สัญญามูลค่า 325 ล้านเหรียญหรือราวๆ 10,400 ล้านบาท เพื่อให้ IBM ช่วยดูแลระบบ Hybrid Cloud ของ Juniper Networks ในการเปลี่ยนธุรกิจของ Juniper Networks ไปสู่การเป็น Cloud-First อย่างเต็มตัว

Credit: ShutterStock.com

Juniper Networks นั้นมีการใช้งาน Application หลากหลายทั้งแบบ Legacy และแบบ Cloud-Native ปะปนกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทาง IBM นั้นก็จะนำ IBM Services Platform with Watson เข้ามาช่วยในการสร้าง, การบริหารจัดการ และการดูแลรักษาทั้งในส่วนของ Data Center, Help Desk และ Data & Voice Network ด้วยเทคโนโลยี Robotics, Scripting, Predictive Insight และ Analytics เป็นระยะเวลา 7 ปี

นอกจากนี้ IBM ยังได้นำเสนอแนวคิด Factory Development ที่จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถก้าวสู่การทำ Agile IT ได้ด้วยการนำ Automation และเครื่องมือ Cognitive มาใช้ เสริมด้วยประสบการณ์ของ IBM ในการช่วยลูกค้าทั่วโลกในการแปลง Legacy Application ไปสู่ Microservices เพื่อช่วยให้การจัดการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของ Application ให้ทันสมัยขึ้นนั้นกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา

ก็ถือเป็นอีกมุมของความสัมพันธ์ระหว่างผู้พัฒนาเทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว และน่าจับตามองว่าหลังจากนี้ Juniper Networks จะนำเสนอนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ ผ่านระบบ Cloud ของตนเองบ้าง

ที่มา: https://www.sdxcentral.com/articles/news/ibm-juniper-ink-325-million-hybrid-cloud-deal/2019/01/

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-to-manage-hybrid-cloud-for-juniper-networks/

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพลิกโฉมสู่ตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล

ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ คุณถิรพันธุ์ สรรพกิจ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงประเด็นเรื่องการทำ Digital Transformation เพื่อมุ่งสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล (Digital Exchange) และเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม (Platform Provider) แก่ผู้ร่วมตลาด รวมไปถึงเบื้องหลังการนำเทคโนโลยีเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจ จึงสรุปข้อมูลมาแชร์ให้ได้อ่านกันครับ

มุ่งเน้นการสร้างแพลตฟอร์มพันธมิตร (Partnership Platform) ที่ทุกคนเข้าถึงได้

คุณถิรพันธุ์ เริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงวิสัยทัศน์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ทุกคนในสังคมได้รับประโยชน์จากตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุน หรือนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุน โดยทางตลาดทรัพย์เองก็เริ่มต้นนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ตั้งแต่ปี 1991 จนมาถึงปี 2000 ก็เริ่มให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ และล่าสุดก็มีการนำเทคโนโลยีระบบ Cloud และ Mobile เข้ามาใช้เพื่อให้นักลงทุนเกิดความสะดวกสบายในการใช้บริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ มากยิ่งขึ้น

สำหรับเป้าหมายในอนาคตของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น คือมุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มพันธมิตร (Partnership Platform) โดยรวบรวม วิเคราะห์ และจัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุน หรือบริษัทพันธมิตรอื่นๆ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นสามารถนำข้อมูลไปต่อยอด หรือนำไปพัฒนาเป็นบริการใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน

“เราติดตามและพยายามนำนวัตกรรมใหม่เข้ามาปรับใช้กับบริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล (Digital Exchange) โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มข้อมูลแบบ Open ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้ ตามวิสัยทัศน์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ว่า ‘To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone’” — คุณถิรพันธุ์กล่าวถึงเป้าหมายของการเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล

Cloud First หัวใจสำคัญของการเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล

เพื่อให้ก้าวสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัลได้นั้น คุณถิรพันธุ์ กล่าวว่า นโยบาย Cloud First ถือเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากระบบ Cloud มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง ในขณะที่ใช้เวลาน้อยเพื่อเตรียมการให้พร้อมออกสู่ตลาด ทำให้สามารถเริ่มให้บริการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และขยายระบบให้รองรับการให้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างอิสระ

ระบบที่เหมาะต่อการให้บริการผ่านระบบ Cloud คือ การซื้อขายหลักทรัพย์ออนไลน์ เนื่องจากต้องรองรับผู้เข้าใช้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังปี 2008 ที่เริ่มเข้าสู่ยุค Mobile อุปกรณ์สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้นำเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาพัฒนาระบบที่สามารถรองรับการเติบโตของผู้ใช้งาน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากความผันผวนของตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนสามารถใช้บริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างราบรื่น

จับมือกับ UIH การันตี SLA ให้ระบบ Cloud

บริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายรายการยึดความเร็วของการรับส่งข้อมูลเป็นสำคัญ (Time Sensitive) โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาหลักทรัพย์ที่ต้องอัปเดตแบบเรียลไทม์ เมื่อหลายๆ บริการถูกนำขึ้นสู่ระบบ Cloud อย่าง AWS ตามนโยบาย Cloud First แล้ว ความท้าทายสำคัญของการให้บริการไม่ใช่เรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือปริมาณ Bandwidth แต่อย่างใด เหล่านี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเพียงพออยู่แล้ว ปัญหาคือ Latency เพราะขึ้นอยู่กับเส้นทางที่ทราฟฟิกใช้วิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Public Cloud ที่ใช้งานตั้งอยู่นอกประเทศ การควบคุม Latency และเสถียรภาพในการเชื่อมต่อจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

แต่ด้วยประสบการณ์ของ UIH ในการรักษาคำมั่นสัญญาในเรื่องของ SLA มาโดยตลอด ทำให้มีการควบคุมและรักษาคุณภาพในการใช้ Public Cloud เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการ (SLA) ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจับมือเป็นพันธมิตรกับ UIH ผู้ให้บริการ Digital Infrastructure & Solution Provider ชั้นนำของประเทศไทย เพื่อใช้บริการ Cloud Direct ซึ่งช่วยให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถเชื่อมต่อกับ Public Cloud ที่อยู่ต่างประเทศของผู้ให้บริการระบบ Cloud ได้โดยตรง ผ่านลิงค์เฉพาะกิจที่มีเสถียรภาพและ Latency คงที่มากกว่าการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตปกติ

“เนื่องจากบริการสำคัญ (Critical Services) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายรายการอยู่บน Public Cloud ทำให้ SLA เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา เราเลือกจับมือกับ UIH เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมระดับต้นๆ ของประเทศซึ่งเรามั่นใจในประสบการณ์การให้บริการระบบ Cloud และเชื่อว่าสามารถรักษา SLA ได้ นอกจากนี้ UIH ยังมี Value-added Services ที่พร้อมต่อยอดเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและนักลงทุนในอนาคต” — คุณถิรพันธุ์กล่าวถึงสาเหตุการเป็นพันธมิตรกับ UIH

ยกระดับการให้บริการในอนาคตด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

เมื่อกล่าวถึงกระแสการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้งาน คุณถิรพันธุ์ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยี Big Data และ AI จะเข้ามามีผลต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังศึกษาและเตรียมนำ AI มายกระดับบริการให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ ได้แก่

  • การปรับแต่งบริการให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ – นำ Big Data และ AI มาวิเคราะห์ความเสี่ยงและเป้าหมายตามแต่ละผู้ใช้บริการ เพื่อปรับแต่งบริการให้เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ใช้บริการรายนั้นๆ เช่น เลือกหลักทรัพย์ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมและความต้องการของนักลงทุน รวมไปถึงเปิดให้บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนและพันธมิตรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ง่าย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ หรือนำไปต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว เกิดการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) โดยมี Big Data และ AI เป็นพื้นฐาน
  • การตัดสินใจในการลงทุน – นำ AI เข้ามาช่วยตัดสินใจในการลงทุนตามโปรไฟล์และความเหมาะสมของผู้ใช้บริการรายนั้นๆ

“การมี Cloud Infrastructure อันแข็งแกร่ง ที่มาพร้อมกับ SLA ที่เชื่อถือได้ ช่วยให้ AI สามารถประมวลผลและส่งข้อมูลกลับมาได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามผมยังไม่คิดว่า AI จะถูกนำมาใช้งานแทนนักวิเคราะห์ได้ทั้งหมด เมื่อมีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดนักวิเคราะห์สมัยใหม่ที่สามารถปรับตัวและเรียนรู้การนำ AI มาช่วยงาน นำข้อมูลที่ได้จาก AI มาต่อยอด ก่อให้เกิดการวิเคราะห์รูปแบบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน” — คุณถิรพันธุ์กล่าวปิดท้าย

ดูคลิปสัมภาษณ์คุณถิรพันธุ์ถึงประเด็นเรื่องการทำ Digital Transformation เพื่อมุ่งสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์ดิจิทัล (Digital Exchange) ได้ที่วิดีโอด้านล่าง

from:https://www.techtalkthai.com/set-digitally-transforms-to-digital-exchange/

แนะนำ Azure AD และ Azure Site Recovery สำหรับองค์กรในยุค Cloud First

เทคโนโลยีระบบ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private, Public หรือ Hybrid Cloud ต่างเริ่มถูกนำมาใช้งานภายในองค์กรมากขึ้น ด้วยความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถเข้าถึงบริการจากที่ไหนก็ได้ การลดภาระของผู้ดูแลระบบในการอัปเดตซอฟต์แวร์และแพตช์ด้านความมั่นคงปลอดภัยต่างๆ และที่สำคัญคือการลดต้นทุนการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ทำให้หลายองค์กรเริ่มวางกลยุทธ์การลงทุนระบบ IT ด้วยนโยบาย Cloud First แทน

เพื่อสนับสนุนการใช้ระบบ Cloud โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอปพลิเคชันประเภท SaaS เช่น Office 365 ที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง VST ECS (Thailand) (หรือเดิมชื่อ The Value Systems) จึงได้แนะนำ Azure Active Directory ซึ่งเป็นโซลูชันการบริหารจัดการตัวตนและการเข้าถึงสำหรับระบบ Cloud โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถพนักงานในองค์กรสามารถใช้ SaaS ได้อย่างไร้รอยต่อและมั่นคงปลอดภัย รวมไปถึงโซลูชัน Azure Site Recovery เพื่อให้บริการ DRaaS สำหรับเพิ่มความต่อเนื่องในการให้บริการเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติในราคาที่ถูกกว่าการตั้งศูนย์สำรองปกติ

ทำ SSO และควบคุมการเข้าถึง SaaS ด้วย Azure Active Directory

Azure Active Directory หรือ Azure AD เป็นบริการ Identity & Access Management สำหรับควบคุมการเข้าถึงระบบ Cloud ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถทำ Single Sign-on ระหว่างระบบใน Data Center และระบบ Cloud ได้อย่างไร้รอยต่อ นั่นหมายความว่า หลังจากที่พนักงานในองค์กรทำการพิสูจน์ตัวตนเข้าสู่ระบบผ่าน AD ใน Data Center แล้ว จะสามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ บนระบบ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Office 365, Dynamic CRM Online, SalesForce.com หรือ Dropbox ได้ทันที โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนซ้ำอีกครั้ง

คุณสมบัติเด่นของ Azure AD ได้แก่

  • รองรับการพิสูจน์ตัวตนแบบ Multi-factor Authentication เสริมความแข็งแกร่งในการตรวจสอบผู้ใช้งานก่อนเข้าถึงแอปพลิเคชัน
  • Self-service Password Management และ Self Service Group Management สำหรับให้ผู้ใช้สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านและบริหารจัดการกลุ่มของตนได้ด้วยตัวเอง
  • รองรับการทำงานร่วมกับ Cloud Applications ที่พัฒนาขึ้นมาเอง เพื่อให้จัดการเรื่อง SSO และสิทธิ์ในการใช้งานได้ผ่านทาง SAML 2.0, WS-* Protocol, OpenID และ OAuth
  • ให้บริการภายใต้โครงข่ายมาตรฐานสูงของ Microsoft โดยรองรับ SLA ที่ 99.9%

Azure AD มีแผนการใช้งานให้เลือกให้ 4 แบบ คือ Free, Basic, Premium 1 และ Premium 2 สำหรับผู้ใช้ Office 365 หรือ Microsoft Azure จะสามารถเรียกใช้ Azure AD แบบ Free ได้ทันที โดยรองรับฟีเจอร์พื้นฐาน ได้แก่ Directory Objects, User/Group Management, User-based Provisioning, Device Registration, SSO, Self-service Password Change, Connect, Reporting ในขณะที่แบบ Basic จะมีการเพิ่มฟีเจอร์ Group-based access management/provisioning, Self-Service Password Reset for cloud users, Application Proxy และ SLA เข้ามา และสุดท้ายแบบ Premium จะรองรับการทำงานทุกฟีเจอร์ สามารถดูรายการฟีเจอร์ทั้งหมดพร้อมเปรียบเทียบแต่ละแบบได้ที่ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/details/active-directory/

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม: https://azure.microsoft.com/en-us/services/active-directory/

ตั้งศูนย์สำรองอย่างรวดเร็วในราคาประหยัดด้วย Azure Site Recovery

Azure Site Recovery เป็นบริการ Disaster Recovery as a Service หรือศูนย์สำรองบนระบบ Cloud ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถสำรองข้อมูล Virtual Machine จาก Data Center ไปยัง Microsoft Azure และกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติได้ทันที โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และการบำรุงรักษาสถานที่แต่อย่างใด Azure Site Recovery นี้รองรับการสำรองข้อมูลของทั้ง Microsoft Hyper-V, VMware และ Physical Server รูปแบบอื่นๆ

จุดเด่นสำคัญของ Azure Site Recovery คือ ระบบสำรองบน Microsoft Azure ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows หรือรันซอฟต์แวรของ Microsoft สามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้าน License ของซอฟต์แวร์ ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์สำรองลงได้มหาศาล ที่สำคัญคือการันตีด้วย SLA ระดับ 99.9%

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ศึกษาต่อได้ที่นี่: https://azure.microsoft.com/en-us/services/site-recovery/

VST ECS ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้ง Azure AD และ Azure Site Recovery

VST ECS (Thailand) (หรือเดิมชื่อ The Value Systems) เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการของ Microsoft อย่างเป็นทางการในประเทศไทย วิศวกรและทีมงานขายผ่านการอบรมและได้ใบรับรองของ Microsoft หลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น MCSE Cloud Platform and Infrastructure, MCSA Windows Server 2012/2016 และ MCSA Office 365 ทีมงานมีประสบการณ์ในการติดตั้ง Azure AD และ Azure Site Recovery ในอุตสาหกรรมต่างๆ มานานหลายปี ทำให้เข้าใจถึงธุรกิจและความต้องการของลูกค้า และพร้อมแนะแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างครบถ้วน

บริการของ VST ECS (Thailand) ครอบคลุมตั้งแต่การเก็บรวบรวมความต้องการ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับแต่งการตั้งค่าให้ดีที่สุด และซัพพอร์ตตลอดเวลาแบบ 7/24 นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องแผนค่าใช้จ่ายขององค์กรเมื่อจำเป็นต้องชำระเงินเป็นแบบ Subscription รายเดือน ซึ่งช่วยให้องค์กรที่จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณล่วงหน้า เช่น หน่วยงานรัฐ หรือสถานศึกษา สามารถวางแผนใช้บริการ Azure AD และ Azure Site Recovery ได้อย่างต่อเนื่อง

Credit: ShutterStock.com

สั่งซื้อ Azure AD และ Azure Site Recovery ผ่าน VST ECS (Thailand) ในราคาพิเศษ

VST ECS (Thailand) พร้อมนำเสนอโซลูชัน Azure AD และ Azure Site Recovery ในราคาพิเศษ คุ้มค่าในการลงทุนและเป็นการจ่ายเงินตามการใช้งานจริง นอกจากนี้ VST ECS (Thailand) ยังมีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาในการออกแบบและติดตั้ง Azure AD และ Azure Site Recovery ตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดอีกด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถใช้งานโซลูชันทั้งสองได้ตรงกับความต้องการทางธุรกิจ

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อีเมล es-cloud@vstecs.co.th หรือโทร 090-1975489

from:https://www.techtalkthai.com/azure-ad-and-azure-site-recovery-for-cloud-first-era/

9 แนวโน้มเทคโนโลยีเครือข่าย WAN ในปี 2018 โดย CEO จาก Silver Peak

David Hughes ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Silver Peak ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน Software-defined WAN ชั้นนำของโลก ออกมาแสดงความเห็นถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีเครือข่าย WAN ต่อธุรกิจในปี 2018 ซึ่งสามารถสรุปได้ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. บริษัทขนาดใหญ่หันมาใช้สถาปัตยกรรม WAN แบบ Cloud First

ปัจจุบันนี้ ทราฟฟิก WAN ส่วนใหญ่ของสำนักงานสาขามักจะวิ่งไปยังระบบ Cloud เนื่องจากบริษัทหันไปใช้บริการ Software-as-a-Service หรือรันแอปพลิเคชันบน Private Cloud มากขึ้น การใช้เทคโนโลยี WAN แบบดั้งเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขานั้น ทำให้ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพการเข้าถึงระบบ Cloud ได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้ในปี 2018 เราจะเริ่มเห็นหลายบริษัทเริ่มนำ SD-WAN ที่เน้นสถาปัตยกรรมแบบ Cloud First เข้ามาใช้งานกันมากขึ้นกว่าเดิม

2. WAN Edge รูปแบบใหม่จะถูกนำมาใช้แทน Router แบบเดิมๆ ในสำนักงานสาขา

อุปกรณ์ Router แบบเดิมๆ จะไม่ใช่ตัวเลือกแรกในการวางระบบของสำนักงานสาขาอีกต่อไป การลงไปคอนฟิก Router ผ่านหน้า CLI ทีละเครื่องๆ กลายเป็นการเพิ่มภาระและความยุ่งยากให้แก่ผู้ดูแลระบบ แต่ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยี SD-WAN ซึ่งเป็นอุปกรณ์ WAN Edge นวัตกรรมใหม่ที่สามารถบริหารจัดการจากศูนย์กลางและตั้งค่าให้เหมาะกับการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทต่างๆ ได้ ทำให้ Router เหล่านั้นจะถูกแทนที่ในไม่ช้านี้

3. การซื้อ Switch หรือ Router มาใช้ในระบบเครือข่ายเริ่มลดน้อยลง

การแทนที่ Switch และ Router แบบเดิมๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะที่การวางระบบในสำนักงานสาขาเพียงอย่างเดียว ในปี 2018 ที่จะถึงนี้ เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตลาด Data Center หลายองค์กรจะเริ่มนำนวัตกรรมเครือข่ายแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากการใช้ Switch หรือ Router แบบเดิมๆ มาใช้มากยิ่งขึ้น เกิดการพลิกโฉมของสถาปัตยกรรมโครงข่าย

4. การใช้ WAN Edge ช่วยเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้แก่โครงข่าย

เป็นเวลาหลายปีที่องค์กรถูกบังคับให้ต้องเลือกระหว่างการติดตั้ง Firewall ที่ทุกสาขา หรือบีบให้สาขามาออกอินเทอร์เน็ตโดยผ่าน Next-generation Firewall ที่สำนักงานใหญ่ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่ในปี 2018 อุปกรณ์ WAN Edge จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบเลือกได้ว่า จะให้ทราฟฟิกประเภทใดออกอินเทอร์เน็ตที่สาขาผ่าน Cloud-based Firewall Service (หรือ Web Service Gateway) และทราฟฟิกใดควรผ่านมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบครบวงจรที่สำนักงานใหญ่ นอกจากนี้ โซลูชัน SD-WAN ระดับใช้งานในองค์กรยังช่วยทำ Micro-segmentation ทราฟฟิกบนเครือข่าย WAN เพื่อจำกัดผลกระทบเมื่อเกิดเหตุ Data Breach ได้อีกด้วย

5. Machine Learning ช่วยให้ระบบเครือข่ายขับเคลื่อนด้วยตัวมันเองได้

Machine Learning จะเข้ามาเติมเต็มการทำ Automation และช่วยพลิกโฉมระบบเครือข่ายให้ก้าวข้ามการตั้งค่าผ่าน CLI ทีละเครื่อง ไปเป็นการบริหารจัดการจากศูนย์กลาง เราจะได้เห็นสิ่งเหล่านี้จากเทคนิคการจำแนกประเภทของแอปพลิเคชัน การเรียนรู้และปรับตัวของฟังก์ชันการทำงานบนเครือข่าย และการทำ Data Analytics ซึ่งช่วยสกัดข้อมูลระดับ Terabytes ให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ผู้ดูแลระบบนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

6. การบริหารจัดการผ่านระบบ Cloud กลายเป็นฟีเจอร์พื้นฐาน

หลายปีที่ผ่านมา จำนวนอุปกรณ์ที่บริหารจัดการผ่านระบบ Cloud มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระบบ Wi-Fi มาสู่ระบบ Switch จนมาถึงอุปกรณ์ WAN Edge การบริหารจัดการผ่านศูนย์กลางบนระบบ Cloud ช่วยให้การเริ่มวางระบบทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มขีดความสามารถในการบริการจัดการได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือ ขุมพลังของระบบ Cloud ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำ Data Analytics และนำเทคนิค Machine Learning มาใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของตนได้

7. มี Virtual Network Function (VNF) ระบบเดียวดีกว่ามี 4 ระบบ

ปี 2018 เราจะเห็นผู้ให้บริการเริ่มออก Universal CPE หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แบบ x86 ที่รวม Virtual Network Functions จากหลายๆ ผู้ผลิตไว้ในอุปกรณ์เดียวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อ VNF รองรับฟีเจอร์ที่หลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้ยิ่งจำนวน VNF มีน้อยเท่าไหร่ ยิ่งช่วยให้บริหารจัดการได้ง่ายเท่านั้น ที่สำคัญคือ VNF ที่ทำหน้าที่เป็น SD-WAN จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางระบบสำหรับสำนักงานสาขา นอกจากนี้ Universal CPE ที่ดีจะถูกตัดสินโดยความสามารถในการเลือกใส่เทคโนโลยีที่องค์กรต้องการเข้าไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์

8. การวางระบบ SD-WAN มีตัวเลือกมากขึ้น ตั้งแต่แบบทำเองจนถึงผู้ให้บริการทำให้อย่างครบวงจร

การวางระบบ SD-WAN ของหลายๆ องค์กรในช่วงแรกนั้น จะเป็นการดำเนินการด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง ตั้งค่า หรือบริหารจัดการ แต่ปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นองค์กรเรียกใช้ Managed Service Provider เข้ามาช่วยจัดการอย่างครบวงจรมากขึ้น หรือองค์กรบางแห่งอาจต้องการความช่วยเหลือเฉพาะตอนติดตั้ง แต่หลังจากนั้นก็บริหารจัดการด้วยตนเอง เหล่านี้ ก่อให้เกิดตลาดที่ SI และผู้ให้บริการพร้อมนำเสนอทางเลือกที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบ

9. ธุรกิจ SD-WAN พร้อมเสนอขายหุ้น IPO

เมื่อเทคโนโลยี SD-WAN เริ่มแพร่หลาย เราอาจจะได้เห็นผู้ให้บริการโซลูชัน SD-WAN รายใหญ่เตรียมเสนอขายหุ้น IPO เพื่อขยายธุรกิจหรือหาเงินลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไป สำหรับผู้ให้บริการ SD-WAN รายย่อยเอง ก็อาจถูกบริษัทใหญ่เข้าควบรวมกิจการเพื่อนำเทคโนโลยีมาต่อยอดบริการของตน ส่วนบริษัทที่ถูกรวมกิจการในปี 2017 เราคงจะได้เห็นว่าเทคโนโลยีใดของบริษัทนั้นที่จะถูกนำไปพัฒนาต่อในบริษัทที่ซื้อกิจการไป และเทคโนโลยีใดที่จะถูกโละทิ้ง

David Hughes ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Silver Peak

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี SD-WAN สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.techtalkthai.com/silver-peak-sd-wan-interview/

from:https://www.techtalkthai.com/9-ceo-predictions-from-silver-peak/

McAfee เผยผลสำรวจการใช้ Cloud จาก IT C-Level ชี้ส่วนใหญ่เลือกใช้ Cloud First

McAfee ผู้ให้บริการโซลูชันด้านความั่นคงปลอดภัยแบบบูรณาการ ออกรายงาน Building Trust in a Cloudy Sky: Global Views from the IT C-suite ชี้ผู้บริหารระดับสูงทางด้าน IT ส่วนใหญ่ดำเนินงานตามนโยบาย Cloud First และพร้อมที่จะลงทุนบน Cloud Services เพิ่มในปีถัดไป ในขณะที่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ระบุว่าองค์กรของตนไม่มีการใช้ระบบ Cloud

McAfee ได้ทำการสำรวจผู้บริหารระดับสูงของฝ่าย IT ได้แก่ CIO, CISO และ CSO จำนวน 281 คน และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางด้าน IT อีก 1,119 คนจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ซาอุดิอาระเบีย เยอรมนี ญี่ปุ่น เม็กซิโก สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ซึ่งร้อยละ 99 ระบุว่า องค์กรที่ตนสังกัดอยู่มีการใช้บริการ Cloud Services ในรูปแบบต่างๆ และร้อยละ 92 ระบุว่าองค์กรของตนดำเนินการตามนโยบาย Cloud First คือจะเลือกวางระบบภายใน Data Center เฉพาะกรณีที่ไม่มีบริการบนระบบ Cloud ที่เหมาะสมให้ใช้งานเท่านั้น

สำหรับประเภทของระบบ Cloud ที่ IT C-Level เลือกใช้งานนั้น ส่วนใหญ่ (69%) เลือกใช้ระบบ Cloud แบบ Hybrid คือมีการใช้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ร่วมกัน มีเพียง 30% เท่านั้นที่เลือกใช้ Public Cloud หรือ Private Cloud เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่ 1% ระบุว่าองค์กรที่ตนสังกัดอยู่ไม่มีการใช้ระบบ Cloud เลย แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันความเชื่อเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของการใช้ระบบ Cloud เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดย 91% ของผู้บริหารระบุพวกเขามีความเชื่อมั่นในระบบ Cloud มากขึ้นกว่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการบน Public Cloud ที่เชื่อว่ามีความมั่นคงปลอดภัยกว่า Private Cloud เสียอีก

อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงปลอดภัยยังคงเป็นประเด็นสำคัญของระบบ Cloud โดยปัญหาใหญ่ที่ IT C-Level เป็นกังวล คือ ปัญหาด้านการตรวจสอบและควบคุมการใช้ระบบ Cloud หรือ Shadow IT ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าองค์กรของตนมีการใช้ Cloud Services โดยไม่ได้รับอนุญาตสูงถึง 39% ของ Cloud Services ทั้งหมดที่องค์กรใช้งาน และฝ่าย IT สามารถติดตามการใช้ Cloud Services เหล่านั้นได้เพียง 50% เท่านั้น นอกจากนี้ 64% ของ IT C-Level ยังพบร่องรอยของมัลแวร์ที่ติดมาจากการใช้แอพพลิเคชัน SaaS บนระบบ Cloud

โดยภาพรวมแล้วผู้บริหารระดับสูงของฝ่าย IT มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้บริการ Public Cloud เมื่อเทียบกับผู้บริหารที่ไม่ใช่สาย IT และพวกเขาต่างมุ่งมั่นที่จะทำให้การปฏิบัติการด้านต่างๆ ที่มี Cloud เข้ามาเกี่ยวข้องมีความมั่นคงปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ปรับแต่งกระบวนการ หรือนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปกป้องการใช้บริการบนระบบ Cloud ซึ่ง 88% ของผู้บริหารระบุว่า พวกเขาเลือกใช้โซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบบูรณาการในการปกป้องระบบ IT ทั้งหมดขององค์กร แทนที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในแต่ละรายการแต่ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://www.mcafee.com/us/resources/reports/rp-building-trust-cloudy-sky-summary-c-suite.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/mcafee-cloud-adoption-by-it-c-level/

ผลสำรวจชี้สถาบันการเงินใช้ Cloud มากขึ้น แต่ยังห่วงเรื่อง Cybersecurity

McAfee ผู้ให้บริการโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบบูรณาการ เปิดเผยรายงานผลสำรวจการใช้ระบบ Cloud ของสถาบันการเงินทั่วโลกล่าสุด พบ 99% มีการนำระบบ Cloud เข้ามาใช้ในองค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หลายองค์กรยังกังวลประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้าน Visibility & Control

99% ใช้ Cloud และ 87% ใช้นโยบาย Cloud First

McAfee ได้สำรวจผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้าน IT Security กว่า 300 คนที่ทำงานอยู่ในสถาบันการเงินชื่อดังทั่วจากหลายภูมิภาคทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ซาอุดิอาระเบีย เยอรมนี ญี่ปุ่น เม็กซิโก สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา พบว่า 99% ของสถาบันการเงินเหล่านี้มีการนำระบบ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private Cloud, Public Cloud หรือ Hybrid Cloud เข้ามาใช้ในองค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ 93% ที่สำคัญคือร้อยละ 87 ยังใช้นโยบาย Cloud First หรือเลือกใช้ระบบ Cloud เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง

สำหรับการเลือกใช้ระบบ Cloud นั้น สถาบันการเงินส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนจากการใช้ Private Cloud เพียงอย่างเดียว มาเป็น Hybrid Cloud มากขึ้น โดยการใช้ Private Cloud ลดลงจาก 50% ในปี 2015 เหลือ 26% ในปี 2016 ในขณะที่การใช้ Hybrid Cloud มีจำนวนมากถึง 57% ส่วน Data Center ของสถาบันการเงินก็มีการปรับรูปแบบใหม่ โดย 55% หันมาใช้ระบบ Virtualization มากขึ้น และ 80% ก็มีการใช้เทคโนโลยี Container นอกจากนี้ 73% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า สถาบันการเงินที่ตนสังกัดอยู่วางแผนที่จะปรับไปใช้ Software-defined Data Center ภายใน 2 ปี

Shadow IT ปัญหาสำคัญของการใช้ระบบ Cloud

สถาบันการเงินเกือบครึ่ง (48%) ระบุว่า สาเหตุที่องค์กรของตนเปลี่ยนไปใช้ระบบ Cloud ได้ช้านั้นมีสาเหตุมาจากการขาดทักษะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของพนักงานในองค์กร ส่งผลให้หลายองค์กรส่วนใหญ่หันไปใช้บริการ Public Cloud ที่ผู้ให้บริการมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยมากกว่า ที่สำคัญคือองค์กรเหล่านั้น 64% มีการเก็บข้อมูลสำคัญของลูกค้าไปบน Public Cloud อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่จากใช้ Public Cloud ก็คือ Shadow IT ซึ่งเป็นการใช้บริการ Public Cloud โดยที่ฝ่าย IT ไม่ทราบหรือไม่ได้รับอนุญาต ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัย เช่น ข้อมูลรั่วไหล และค่าใช้จ่ายซ่อนเร้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่า บริการบนระบบ Cloud ที่ถูกใช้งานโดยที่ฝ่าย IT ไม่ทราบเรื่องมีมากถึง 39% และฝ่าย IT สามารถติดตามการใช้บริการเหล่านั้นได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น (45%)

สถิติอื่นๆ ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยที่น่าสนใจ

  • 59% เลือกใช้ Next-generation Firewall ในการตรวจจับ Shadow IT แต่สามารถบล็อกได้สำเร็จเพียง 28% เท่านั้น
  • 54% ระบุว่ามัลแวร์ที่เคยแพร่เข้าสู่ระบบขององค์กรมีแหล่งกำเนิดมาจาก SaaS Applications
  • 19% เคยประสบกับเหตุการณ์ Data Breach อันเนื่องมาจากการใช้ระบบ Cloud
  • 72% เชื่อว่าปัญหา Shadow IT เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบ Cloud

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://www.mcafee.com/us/solutions/lp/cloud-security-report-finserv.html

สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และโซลูชันของ McAfee เพิ่มเติมได้ที่ อินแกรม ไมโคร (ประเทศไทย) อีเมล TH-McAfee@ingrammicro.com ทางเรายินดีให้บริการทุกท่านอย่างเต็มรูปแบบ

from:https://www.techtalkthai.com/financial-services-cloud-adoption-by-mcafee/

Review : Nextbit Robin สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมนวัตกรรม Cloud-First รุ่นแรกของโลก

เชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้สมาร์ทโฟนคงเคยประสบปัญหาหน่วยความจำไม่พอ เพราะเก็บทั้งไฟล์ภาพ ไฟล์เพลง ไฟล์วิดีโอ รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ และไม่อยากที่จะลบออกไป สุดท้ายก็ต้องเลือกลบเพื่อให้มีหน่วยความจำที่เพียงพอสำหรับการใช้งานอื่นๆ แต่สำหรับ Nextbit Robin คือคำตอบของผู้ที่ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีหน่วยความจำเยอะๆ โดยมาพร้อมนวัตกรรม Cloud-First ที่การันตีว่าหน่วยความจำไม่มีวันเต็ม เพราะมาพร้อมกับพื้นที่เก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์มากถึง 100GB และพื้นที่หน่วยความจำภายในเครื่องอีก 32GB

pic_nextbit-robin-03

Nextbit Robin เกิดจากการรวมตัวของอดีตผู้เชี่ยวชาญด้านโทรศัพท์มือถือที่เคยทำงานร่วมกับ Google มาก่อน สร้างโปรเจ็คระดมทุนในเว็บ kickstarter โดยมีแนวคิดในการพัฒนาสมาร์ทโฟนที่สามารถรองรับข้อมูลได้มากกว่าเดิม จึงเป็นที่มาของสมาร์ทโฟน Cloud First แต่สิ่งที่ทำให้ได้ทุนมานั่นก็คือ การออกแบบตัวเครื่องที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงการใช้สีพาสเทลสดใส ทำให้โปรเจ็คนี้สามารถระดมทุนประสบความสำเร็จอย่างเกินคาด

nextbit_robin4

ชุดอุปกรณ์ในกล่อง

กล่องแพ็คเกจของเครื่อง Nextbit Robin เป็นกล่องกระดาษแข็งรูปทรงยาวแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ออกแบบคล้ายหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊ค โดยบนกล่องจะมีแถบกระดาษสีดำคาดไว้พร้อมตัวอักษร Robin by Nextbit เมื่อถอดแถบคาดนี้ออก และเปิดกล่องออกมาจะเหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่มือการใช้งานเบื้องต้นของสมาร์ทโฟนรุ่นนี้ เมื่อเปิดหน้าถัดไปก็จะเห็นตัวเครื่อง Nextbit Robin, สาย USB Type-C และเข็มจิ้มถาดใส่ซิมการ์ดรูปคลาวด์ (เครื่องขายจริงจะมีเคส, ฟิล์มกันรอย และอะแดปเตอร์ชาร์จไฟแบบ Quick Charge มาให้ด้วย)

nextbit_robin16

nextbit_robin17

ดีไซน์

Nextbit Robin มีรูปทรงแบบแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งทางผู้ออกแบบได้อธิบายไว้ว่า Nextbit Robin ใช้รูปทรงสี่เหลี่ยม และรูปทรงกลมเป็นพื้นฐานในการออกแบบ และพัฒนาออกมาเป็น Final Design พร้อมดีไซน์เรียบหรูไม่เหมือนใครเห็นครั้งแรกก็สะดุดตาทันที การันตีด้วยรางวัล Red Dot Design Awards 2016 ตัวเครื่องใช้วัสดุที่ทำจากพลาสติกเป็นหลักให้ผิวสัมผัสแบบโพลีคาร์บอเนต ไม่ลื่นมือเวลาถือจับใช้งาน

nextbit_robin3

ด้านหน้าเครื่อง ด้านบนประกอบด้วยเซ็นเซอร์ Proximity, เซ็นเซอร์ Ambient Light, เซ็นเซอร์ Accelerometer, เลนส์กล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล และลำโพงเสียงสำหรับการสนทนา ซึ่งทำหน้าที่เป็นลำโพงหลักด้านบนของตัวเครื่องด้วย ถัดลงมาเป็นหน้าจอแสดงผลเป็นจอแบบ IPS LCD ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1920×1080 พิกเซล พร้อมกระจกป้องกันหน้าจอ Corning Gorilla Glass 4 ส่วนใต้หน้าจอเป็นลำโพงตัวที่สองของเครื่อง (ไม่ใช่ปุ่ม Home)

nextbit_robin8

nextbit_robin9

พลิกมาด้านหลังเครื่อง ตรงมุมซ้ายด้านบนมีเลนส์กล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชแบบคู่ (Dual-LED) ถัดลงมามีโลโก้รูปคลาวด์ โดยใต้โลโก้จะมีไฟสถานะแบบ LED เพื่อแสดงสถานะว่าในขณะนั้นตัวเครื่องกำลังทำการ Sync ข้อมูลเข้าสู่ Cloud หรือไม่ เมื่อการ Sync ข้อมูลสำเร็จไฟก็จะดับลง และด้านล่างมีตัวอักษร Nextbit

nextbit_robin5

ด้านซ้ายข้างเครื่องมีปุ่มปรับเพิ่มลดระดับเสียง

nextbit_robin11

ด้านขวาข้างเครื่อง มีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดแบบ nanoSIM และปุ่ม Power สำหรับเปิด-ปิดเครื่อง หรือล็อกหน้าจอ และมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมืออยู่บนปุ่มนี้

nextbit_robin10

ใช้เข็มจิ้มซิมการ์ดจิ้มเข้าไปในช่องเพื่อดึงถาดใส่ซิมการ์ดออกมา

nextbit_robin14

nextbit_robin15

ด้านบนเครื่องมีช่องไมโครโฟนตัดเสียงรบกวน และช่องเสียบชุดหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มม.

nextbit_robin12

ด้านท้ายเครื่องมีพอร์ตเชื่อมต่อ USB Type-C และช่องไมโครโฟนสนทนา

nextbit_robin13

สเปก Nextbit Robin

ขนาด 149 x 72 x 7 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 150 กรัม
หน้าจอ IPS LCD Full HD 1080p ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด 1920×1080 พิกเซล พร้อมกระจกป้องกันหน้าจอ Corning Gorilla Glass 4
หน่วยประมวลผล Hexa-Core Qualcomm Snapdragon 808
RAM 3 GB
หน่วยความจำภายในเครื่อง 32 GB พร้อมหน่วยความจำออนไลน์แบบ Cloud ขนาด 100GB
microSD Card ไม่มี
กล้องถ่ายภาพ กล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชแบบคู่ (Dual Tone LED) และระบบ PDAF (Phase Detection Autofocus)  ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล
ระบบปฏิบัติการ Android 6.0.1 Marshmallow ครอบทับด้วย Nextbit OS
เชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11a/b/g/n/ac, Bluetooth 4.0 LE และ USB Type-C
รองรับระบบ 4G LTE และ 3G 850/900/1900/2100 MHz ( 4G และ 3G ทุกเครือข่ายในไทย)
แบตเตอรี่ 2680 mAh พร้อมรองรับ Qualcomm Quick Charge 2.0
ราคา 12,900 บาท

คุณสมบัติการใช้งาน

Nextbit Robin รันบนระบบปฏิบัติการ Andoid 6.0.1 Marshmallow ครอบทับด้วย Nextbit OS ที่มีคีไซน์เรียบง่าย สบายตา และสอดคล้องกับคอนเซปต์การใช้สี่เหลี่ยมและวงกลมในการออกแบบตัวเครื่องรวมถึงอินเทอร์เฟส โดยในส่วนของ App Drawer หรือหน้ารวมเมนูแอปพลิเคชั่นนั้นไม่มีมาให้ ดังนั้นแอปต่างๆ ทั้งหมดจะวางบนหน้าจอหลักโฮมสกรีนแทน และมีเฉพาะแอปที่ใช้งานพื้นฐาน และแอปที่มาจาก Google เท่านั้น เมื่อใช้นิ้วแตะด้านบนแล้วลากลงมาจะเป็นส่วนของการแจ้งเตือน Notifications และการตั้งค่าเปิด/ปิดการเชื่อมต่อต่างๆ และถ้าใช้นิ้วแตะค้างไว้บนหน้าจอจะเป็นการเปลี่ยนภาพพื้นหลัง และการตั้งค่าต่างๆ

nextbit_robin19

ฟีเจอร์เด่นที่เป็นจุดขายของ Nextbit Robin นั่นก็คือ Cloud-First โดยฟีเจอร์นี้จะอยูในเมนูตั้งค่าและใช้ชื่อว่า Smart Storage ซึ่งถ้าต้องการใช้งานจะต้องทำการล็อคอินก่อนโดยใช้บัญชี Google หลังจานั้นจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลบน Cloud มาให้ใช้งาน 100GB และระบบจะเป็นคิดให้เองว่าจะใช้พื้นที่เหล่านี้เมื่อไหร่ รวมทั้งมี options ให้เลือกปรับได้ว่าจะให้มีการ Backup อะไรขึ้นบน Cloud ทั้งแอป และรูปถ่าย ส่วนวิดีโอไม่สามารถเอาขึ้น Cloud ได้ และจะ Backup ได้เฉพาะตอนที่เชื่อมต่อ Wi-Fi และเสียบชาร์จอยู่ด้วยหรือไม่

nextbit_robin20

ติดตั้งเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือบนปุ่ม Power ที่ด้านขวาข้างเครื่อง

nextbit_robin21

คุณสมบัติอื่นๆ ก็มีมาให้อย่างครบถ้วน

 nextbit_robin34

ด้านการถ่ายภาพ

Nextbit Robin มาพร้อมกล้องหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล พร้อมไฟแฟลชคู่แบบ Dual Tone LED พร้อมเทคโนโลยี PDAF(Phase Detection auto Focus) โดยภาพนิ่งถ่ายได้ที่ความละเอียดสูงสุด 4160 x 3120 พิกเซล ส่วนวิดีโอบันทึกได้ในระดับ Full HD 1080p สามารถเลือกโหมดการถ่ายได้ทั้ง  Auto และ Manual ส่วนกล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล โดยใช้เลนส์มุมกว้าง 85 องศา

nextbit_robin22

ตัวอย่างภาพจากกล้อง

nextbit_robin30

nextbit_robin32

nextbit_robin33

nextbit_robin31

ประสิทธิภาพ

Nextbit Robin ใช้หน่วยประมวลผลซีพียูแบบ Hexa Core ความเร็ว 1.8GHz โดยใช้ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 808, หน่วยประมวลผลกราฟิก Adreno 418, RAM 3GB และหน่วยความจำภายในเครื่องขนาด 32GB พร้อมหน่วยความจำออนไลน์แบบ Cloud ขนาด 100GB เท่าที่ได้ลองทดสอบโดยใช้งานปกติทั่วไปปรากฏว่า ใช้งานได้อย่างไหลลื่นไม่มีสะดุด และตอบสนองการใช้งานได้เป็นอย่างดี ส่วนการเล่นเกมได้ลองกับเกม Point Bank Mobile ที่มีภาพกราฟิกสูง สามารถเล่นได้อย่างไหลลื่น โดยไม่มีอาการกระตุกให้เห็นเลย โดยรวมแล้วถือว่าสอบผ่าน

nextbit_robin23

nextbit_robin24

nextbit_robin25

nextbit_robin26

ผลการทดสอบประสิทธิภาพของ Nextbit Robin ผ่านแอป Antutu

nextbit_robin27

ผลการทดสอบประสิทธิภาพของ Nextbit Robin ผ่านแอป Geekbench 4

nextbit_robin28

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ที่ใช้กับเครื่องรุ่นนี้มีขนาด 2,680 mAh ที่มาพร้อมโหมดประหยัดแบตเตอรี่ และรองรับระบบชาร์จเร็ว Qualcomm Quick Charge 2.0 หลังจากที่ได้ทำการทดสอบโดยใช้งานต่อเนื่องใน 1 วันปรากฏว่าสามารถใช้งานได้ประมาณ 8-10 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้งานเล่นเกม และเชื่อมอินเทอร์เน็ตในเครือข่าย 4G แบตก็อาจหมดเร็วขึ้น โดยรวมแล้วถ้าจะใช้งานใน 1 วันและอยู่นอกบ้านอาจจะต้องพก Power Bank ติดไปด้วย

nextbit_robin29

บทสรุป

Nextbit Robin ถือเป็นสมาร์ทโฟนแบรนด์น้องใหม่ล่าสุดที่เข้ามาทำตลาดในบ้านเรา โดยชูจุดเด่นในเรื่องของนวัตกรรม Cloud-First ที่การันตีว่า “หน่วยความจำไม่มีวันเต็ม” รวมถึงดีไซน์เครื่องที่โดดเด่นสะดุดเมื่อแรกเห็น และได้รับรางวัล reddot award 2016 มาแล้ว นอกจากนี้ยังมาพร้อมสเปกที่เร็วและแรงกว่าสมาร์ทโฟนระดับกลางในระดับเดียวกัน สำหรับราคาของ Nextbit Robin นั้นอยู่ที่ 12,900 บาท วางจำหน่ายแล้วที่ PowerMall ทุกสาขา รวมทั้งช่องทางออนไลน์อย่าง Lazada, Central, Shopat24, Shopee และ WeloveShopping

The post Review : Nextbit Robin สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมนวัตกรรม Cloud-First รุ่นแรกของโลก appeared first on MobileOcta.

from:http://mobileocta.com/review-nextbit-robin/

Oracle เปิดตัว Modern Apps บนระบบ Cloud ตอบโจทย์ธุรกิจยุค Digital Economy

oracle_logo

ธุรกิจในยุคดิจิทัลมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ใช้มีความต้องการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) Oracle ผู้ให้บริการ Integrated Cloud Applications และ Platform Services ชั้นนำของโลก พร้อมนำเสนอ Modern Cloud Applications สำหรับตอบโจทย์ธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตในปัจจุบันนี้

ระบบ Cloud ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัลมากกว่าระบบแบบ On-premise

Steve Miranda, Senior Vice President ฝ่ายงาน Application Development ของ Oracle กล่าวใน Keynote ภายในงาน Oracle Modern Business Summit 2016 ที่เพิ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถึงสาเหตุที่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ควรย้ายแอพพลิเคชันที่ใช้งานอยู่แบบ On-premise ไปใช้งานบนระบบ Cloud หรือที่เรียกว่า Software-as-a-Service (SaaS) แทน ว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์สมัยก่อนจำเป็นต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีเพื่อออกซอฟต์แวร์ใหม่ ตั้งแต่เก็บความต้องการของลูกค้า ออกแบบ เขียนโค้ด ทดสอบ และส่งมอบ แต่ในปัจจุบันนี้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนแปลงตาม ทำให้โมเดลการพัฒนาซอฟต์แวร์ในอดีตไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกต่อไป SaaS ช่วยเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตรงจุดนี้ ซึ่งช่วยให้สามารถออกซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้ภายใน 6 เดือน ส่งผลให้ Oracle สามารถตอบรับความต้องการของธุรกิจและตลาดได้อย่างรวดเร็ว

oracle_modern_cloud_apps_1

“Cloud นับว่าเป็นทางเลือกของบริษัท Start-up เนื่องจากไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ และค่าดูแลรักษาหลังจากนั้น การนำแอพพลิเคชันมาใช้บนระบบ Cloud หรือที่เรียกว่า Software-as-a-Service ช่วยให้บริษัทลงทุนได้ต่ำกว่า และสามารถขยายระบบเพื่อสนับสนุนการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ง่าย” — Adrian Johnston, Vice President ฝ่ายงาน Cloud Applications ของ Oracle ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

อัพเดทฟีเจอร์ใหม่และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

การเป็น SaaS ทำให้แต่ละองค์กรใช้แอพพลิเคชันเดียวกันทั่วโลก ส่งผลให้ Oracle สามารถติดตามการใช้ซอฟต์แวร์ได้ง่าย ถ้าค้นพบปัญหา เช่น บั๊คของซอฟต์แวร์ หรือช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัย ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเมื่อมีฟีเจอร์ใหม่ออกมา ก็สามารถอัพเดทให้ลูกค้าทุกคนใช้งานได้ทันทีเช่นเดียวกัน

“เราสามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ให้คุณได้ดีขึ้น และเร็วขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน” — Miranda กล่าว

ยังคงปรับแต่งแอพพลิเคชันให้เหมาะกับองค์กรได้

ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์บน Cloud จะไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับองค์กรนั้นๆ โดยเฉพาะ แต่ด้วยประสบการณ์การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์มากว่าหลายสิบปีของ Oracle ย่อมนำเสนอซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันครบถ้วน ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ลูกค้าที่ใช้งานยังคงสามารถปรับแต่งแอพพลิเคชันให้เหมาะสมกับการใช้งานในองค์กรของตนได้ โดยไม่จำเป็นต้องอัพเดทซอฟต์แวร์หรือติดต่อฝ่ายสนับสนุนแต่อย่างใด

oracle_modern_cloud_apps_4

นอกจากนี้ SaaS ของ Oracle ยังมีจุดเด่นอีกหลายประการ ได้แก่

  • Complete – นำเสนอโซลูชันแบบ End-to-end นั่นคือ มีโซลูชันครอบคลุมความต้องการเชิงธุรกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Value Chain, CX, HCM, ERP, Industry Solutions, DAAS, Marketplace และ EPM
  • Data Driven – สามารถนำข้อมูลการใช้แอพพลิเคชันมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจได้
  • Connected – พร้อมทำงานร่วมกับ 3rd Party ไม่ว่าจะเป็นโซลูชันบน Cloud หรือแบบ On-premise ก่อให้เกิด Ecosystem อันทรงพลัง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
  • Secure – มีความมั่นคงปลอดภัยไม่แพ้ระบบแบบ On-premise เช่น มีการเข้ารหัสข้อมูลตลอดเวลา ทั้งขณะจัดเก็บ ขณะส่ง และขณะประมวลผล โดยกุญแจสำหรับเข้าหรัสนั้นจะเก็บไว้กับลูกค้า ส่งผลให้แม้แต่ Oracle เองก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ เป็นการปกป้อง Privacy อย่างแท้จริง

โซลูชันบนระบบ Cloud แบบครบวงจร

Modern Cloud Apps ของ Oracle ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. Modern CX Cloud – แอพพลิเคชันสำหรับมอบประสบการณ์การใช้บริการอันแสนยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าขององค์กร เช่น ระบบโฆษณาอัจฉริยะที่คอยติดตามพฤติกรรมของลูกค้าแล้วนำเสนอโฆษณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่สนใจในขณะนั้น ซึ่ง Modern CX Cloud ประกอบด้วยแอพพลิเคชันสำหรับสนับสนุน Marketing, Sales, CPQ, Commerce, Service และ Social
  2. Modern HCM Cloud – แอพพลิเคชันที่ถูกออกแบบมาเพื่อฝ่าย HR สำหรับบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความพึงพอใจสูงสุดแก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง HCM ประกอบด้วยแอพพลิเคชันสำหรับทำ Global HR, Talent Management, Workforce Management และ Workforce Rewards
  3. Modern ERP Cloud – แอพพลิเคชันสำหรับวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วยแอพพลิเคชันที่สำคัญ 3 รายการ คือ Financials, Gevernace, Risk & Compliance, Project Portfolio Management และ Procurement
  4. Modern SCM Cloud – แอพพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการ Supply Chain เพื่อให้ได้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้าน Planing & Collaboration, Manufacturing, Order Management, Logistics, PLM และ Procurement

“เราไม่ได้เน้นโฟกัสที่ตลาดขนาดกลางเพียงอย่างเดียว Cloud Apps ของ Oracle ครอบคลุมโซลูชันตั้งแต่ระดับ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากบริษัทขนาดกลางสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีผลงานปรากฏเด่นชัดกว่าตลาดอื่น ต้องขอบคุณนวัตกรรมของ Oracle ที่ช่วยลดความซับซ้อนและเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบแอพพลิเคชัน และยังช่วยลด CapEx และ OpEx อีกด้วย” — Rajen Sanggaran, Vice President Sales ฝ่ายงาน Oracle SaaS Applications สำหรับตลาดขนาดกลาง ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

oracle_modern_cloud_apps_2

กลยุทธ์ Cloud First แต่ยังสนับสนุนระบบแบบ On-premise เหมือนเดิม

Oracle มีแผนที่จะย้ายทุกอย่างไปให้บริการบนระบบ Cloud เนื่องจาก SaaS ตอบโจทย์ธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตมากกว่าบริการแบบ On-premise ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และการขยายระบบ อย่างไรก็ตาม Oracle ยังคงลงทุนและให้การสนับสนุนแอพพลิเคชันแบบ On-premise เช่น JD Edwards, PeopleSoft หรือ E-BS เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่สำหรับลูกค้ารายใหม่ Oracle จะแนะนำและผลักดันให้ไปใช้บริการบนระบบ Cloud ที่ดีกว่าแทน

“เรายังคงให้บริการและให้การสนับสนุนโซลูชันที่เป็น On-premise อยู่ โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากเราทราบดีกว่า การเปลี่ยนแปลงระบบแอพพลิเคชันทั้งหมดให้ไปใช้งานบนระบบ Cloud หรือ Software-as-a-Service นั้น จำเป็นต้องใช้เวลา แต่ถ้าเป็นลูกค้ารายใหม่เราจะแนะนำให้ใช้ Cloud Apps เนื่องจากให้ฟีเจอร์ที่ไม่ต่างจาก On-premise Apps แต่มีความยืดหยุ่นและค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า เราต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าเสมอ” — คุณณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการของ Oracle ประเทศไทย

เกี่ยวกับงาน Oracle Modern Business Summit 2016

Oracle Modern Business Summit 2016 เป็นงานประชุมครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นทั่วโลก โดยในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้นี้ถูกจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ภายในงาน Oracle จะเน้นโฟกัสที่การนำเทคโนโลยีระบบ Cloud เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจ เป็นการสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงขององค์กรให้พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) และชิงความได้เปรียบในเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดย Oracle จะแบ่งเทคโนโลยีระบบ Cloud เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเชิงธุรกิจของ 4 ภาคส่วน คือ Customer Experience (CX), Finance, Human Capital Management (HCM) และ Supply Chain

oracle_modern_business_2016

from:https://www.techtalkthai.com/oracle-introduces-modern-cloud-apps-for-digital-economy-era/

Forcepoint เชิญร่วมงานสัมมนา “Forcepoint Security Briefing”

forcepoint_logo_2

Forcepoint (Raytheon + Websense) มีความยินดีขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจเข้าฟังการบรรยาย เรื่อง “ระบบความปลอดภัยของ Forcepoint” ซึ่งจัดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก ในวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2559 นี้ ณ โรงแรม ดับเบิลยู ห้อง Social Room ชั้น 2 (สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี) โดยการเสวนาจะจัดขึ้นในช่วงเช้าและขอเชิญท่านร่วมรับประทานอาหารกลางวันเพื่อเป็นการฉลองเปิดตัวบริษัทใหม่

forcepoint_security_briefing_1

ในกิจกรรมนี้ท่านจะได้ทราบว่า Forcepoint สามารถปกป้องข้อมูลของท่านอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในคลาวด์ ข้อมูลที่ใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์ในสำนักงาน ซึ่งช่วยให้การทำงานต่างๆสอดประสานกันมากขึ้นและช่วยในการตัดสินใจด้านระบบความปลอดภัย

กำหนดการ

  • Safe enablement of a Cloud First strategy | การใช้กลยุทธ์ Cloud First
  • Bridging the Office 365 security gap | อุดช่องโหว่ของระบบความปลอดภัยบน Office 365
  • Addressing the Insider Threat | พูดคุยเกี่ยวกับภัยคุกคามจากภายในองค์กรที่ไม่ควรมองข้าม

รายละเอียดการจัดงาน

  • วันเวลา: ศุกร์ที่ 4 มีนาคม 2016 เวลา 9.00 – 14.00 น.
  • สถานที่: W Hotel ห้อง Social Room ชั้น 2 (สถานนีรถไฟฟ้าช่องนนทรี ทางออก 1) แผนที่

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://app.certain.com/profile/form/index.cfm?PKformID=0x2283611e9a3&

หรือสำรองที่นั่งผ่านทาง คุณดนิตา ดอกมณฑา โทร 02-408-8770 หรืออีเมล Danita@chiq-511.co.th

forcepoint_banner_3

หมายเหตุ

การบรรยายครั้งนี้จัดขึ้นเฉพาะสำหรับลูกค้าของ Forcepoint และองค์กรที่ได้รับเชิญจากเรา, และหรือท่านที่มองหาโซลูชั่นระบบความปลอดภัยใหม่ที่รองรับจำนวน IT User ขนาดมากกว่า 1,000 คนขึ้นไปเท่านั้น

สิ่งที่ท่านจะได้รับจากงานนี้

ท่านจะได้ทำความรู้จัก Forcepoint รวมถึงได้ทราบว่า Forcepoint สามารถปกป้องข้อมูลของท่านอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในคลาวด์ ข้อมูลที่ใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรืออุปกรณ์ในสำนักงาน ซึ่งช่วยให้การทำงานต่างๆสอดประสานกันมากขึ้นและช่วยในการตัดสินใจด้านระบบความปลอดภัย

กิจกรรมนี้จัดขึ้นสำหรับท่านที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบไอทีในองค์กร โดยการบรรยายจะเน้นในเชิงธุรกิจและไม่ได้เจาะลึกในเชิงเทคนิค

บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติจากท่านในการเข้าร่วมงานในครั้งนี้

from:https://www.techtalkthai.com/forcepoint-security-briefing-invitation/