คลังเก็บป้ายกำกับ: FORCEPOINT

TechTalk Webinar: Data & Threat Protection strategy in today’s hybrid working environment

One Enterprise Solution ร่วมกับ Forcepoint ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “Data & Threat Protection  strategy in today’s hybrid working environment” โดยท่านจะได้เรียนรู้แนวทางการป้องกันข้อมูลรั่วไหลทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร โดยงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 – 15.30 น.

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ : Data & Threat Protection strategy in today’s hybrid working environment

ผู้บรรยาย : คุณพีระ เด่นประยูรวงศ์

วันเวลา : วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 14.00 – 15.30 น.

ช่องทางการบรรยาย : Zoom Webinar

ลิงก์ลงทะเบียน : https://us06web.zoom.us/webinar/register/WN_vg1db_nWQmSVhMgKXPJtFQ

ในยุคแห่งข้อมูลที่กลายเป็นบ่อน้ำมันแห่งใหม่ องค์กรต่างมุ่งหวังสกัดเอาข้อมูลออกมาใช้ นำไปสู่การท่วมท้นไปด้วยข้อมูลทำให้การสร้างความมั่นคงปลอดภัยป้องกันข้อมูลที่มากขึ้นเริ่มยากขึ้นทุกที

ขณะเดียวกันภัยคุกคามไม่ได้มาจากแค่ภายนอกเท่านั้น หลายครั้งจะเห็นได้ว่าคนในเองที่เป็นภัยต่อข้อมูลขององค์กร แล้วเราจะรับมืออย่างไรก็ความท้าทายครั้งนี้ มาร่วมรับฟังแนวทางการปกป้องข้อมูลไปกับโซลูชัน Data Loss Prevention(DLP) จาก Forcepoint กันได้ในงานสัมมนาครั้งนี้

กำหนดการบรรยาย

1. แนวทางและการเตรียมความพร้อมในทางปฏิบัติในการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (DLP)สำหรับ PDPA
2. เทคโนโลยี Data Lost Prevention (DLP) และ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
3. เทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลรั่วไหล ตามความเสี่ยงพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ปรับเปลี่ยนได้(Risk Adaptive Protection)
4. วิธีและแนวทางการปกป้องข้อมูลรั่วไหลและภัยคุกคามกลยุทธ์ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid ในปัจจุบัน

from:https://www.techtalkthai.com/techtalk-webinar-data-threat-protection-strategy-in-todays-hybrid-working-environment/

สรุปงานสัมมนา BAYCOMS Cybersecurity Day 2022 : Checkup Your Cybersecurity Vital Sign with Our Digital Wellbeing Metrics

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาบริษัท Bay Computing ผู้ให้บริการและเป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรได้จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปี ในรูปแบบไฮบริด โดยธีมของงานจะเน้นในการชวนผู้เข้าร่วมงานมาตรวจสอบสุขภาพความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในองค์กรของตน พร้อมรับคำปรึกษาจาก Partner และทีมงานมืออาชีพจาก Baycoms ที่ได้คัดสรรโซลูชั่นมากมายมากันแบบจัดเต็ม ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสเข้าชมงานครั้งนี้จึงขอสรุปไฮไลต์ของแต่ละหัวข้อมาให้ติดตามกันครับ

การรับมือกับภัยคุกคามในภาวะเศรษฐกิจถดถอย

คุณ Avirut Liangsiri ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Baycoms

Cyber Security เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีขีดจำกัดขึ้นอยู่กับมูลค่าของข้อมูลที่คุณคิดว่าเหมาะสม หากธุรกิจของคุณถูกแรนซัมแวร์โจมตีจนไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ก็ต้องจ่าย” — คำพูดของคุณ Avirut Liangsiri ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Baycoms ได้เปิดโลกของผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนให้เห็นว่าอันที่จริงแล้ว Cyber Security มีความสำคัญขนาดไหน ธุรกิจทั่วโลก Cyber Security จึงถูกจัดอยู่ในความสำคัญอันดับแรกของธุรกิจ

ในภาวะเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทั่วโลกอาจก่อให้เกิดอาชญากรทางไซเบอร์หน้าใหม่เพิ่มขึ้น อนึ่งด้วยความเชี่ยวชาญกว่า 26 ปีของ Baycoms ซึ่งเน้นเรื่องของการให้คำปรึกษารวมถึงให้บริการด้าน Cyber Security เป็นสำคัญ อีกทั้งยังมีทีมงาน E-C.O.P ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์โดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้ Baycoms มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยพาลูกค้าทุกองค์กรก้าวผ่านการเติบโตของภัยร้ายทางไซเบอร์ที่นับวันมีแต่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

สำหรับเทรนด์ทางด้าน Cyber Security ที่คุณ Avirut ชี้ให้เห็นถึงความน่ากังวล 2 เรื่องหลักคือ

1.) ช่องโหว่ที่พบมากขึ้นทุกปี โดยจากสถิติผู้บริหารด้านไอทีให้ความกังวลเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกท่านต้องให้ความสำคัญ

2.) แรนซัมแวร์เริ่มมีกลเม็ดใหม่เกิดขึ้นแล้วนั่นคือ ‘Triple Extortion’ โดยเดิมเพียงแค่เรียกค่าไถ่ ขู่เปิดเผยข้อมูล (Double Extortion) แต่ปัจจัยล่าสุดคือขู่ทำ DDoS เหยื่อซ้ำด้วย ซึ่งคาดว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะมาในไม่ช้า

และในเมื่อสภาพแวดล้อมการทำงานเปลี่ยนรูปแบบไป กลยุทธ์การโจมตีเองก็ถูกพัฒนาไปเช่นกัน ในฝั่งผู้ป้องกันต่างคิดค้นโซลูชั่นใหม่ขึ้นมาต่อกรกับภัยเหล่านั้น แต่ในที่สุดแล้วองค์กรกำลังก้าวเข้าสู่ปัญหาของความยุ่งยากซับซ้อนที่นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงแล้ว บุคลากรก็ไม่เพียงพอกับงานที่มากขึ้น โดย Baycoms ทำนายว่าในปี 2025 องค์กรควรเตรียมตัว และให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้เพื่อลดทอนความซับซ้อนยุ่งยากในการบริหารจัดการ และ ตอบสนองภัยคุกคาม ดังนี้

  • สนใจเรื่อง Integration เป็นหลักว่าโซลูชั่นที่ใช้งานคนละหน้าที่สามารถทำงานสอดประสานร่วมกันได้หรือไม่ 
  • ควบรวมระบบต่างๆ ให้มีจำนวน Vendor หรือ ผู้ผลิต ให้ลดลงเพื่อลดความซับซ้อนและไม่เชื่อมต่อกันในการบริหารจัดการลง
  • นำแนวคิดการทำ SIEM แบบหลายชั้น (n-tier SIEM) มาใช้ เช่น หากเป็นระบบที่มีความสำคัญสูง หรือ Log ประเภทที่เกี่ยวกับ Security โดยตรงให้ใช้ SIEM หลักแต่หากเป็นระบบที่สำคัญน้อยลงก็เลือกใช้โซลูชันตัวอื่นที่ราคาย่อมเยากว่า รวมถึงปรับใช้ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เสริมเพื่อการทำการวิเคราะห์เชิงลึก หรือ รายงานที่ออกรายไตรมาสหรือรายปี
  • ประยุกต์ใช้เทคนิค Risk Based Approach เพื่อประเมินโดยใช้ความเสี่ยงเป็นตัวนำ แทนที่จะมองที่ Severity ทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว เพื่อจะได้ทราบว่าต้องวางแผนรับมืออย่างไรถึงเหมาะสม และปิดความเสี่ยงขององค์กร รวมถึงเชื่อมต่อความเสี่ยงในเชิงเทคนิคเข้ากับความเสี่ยงในระดับองค์กรหรือความเสี่ยงทางธุรกิจ (Enterprise Risk Management)
  • เมื่อไม่มีบุคคลากรมากพอ องค์กรสามารถเลือกใช้บริการจากผู้ที่เชี่ยวชาญมากกว่าเข้ามาร่วมดูแลระบบของท่านด้วย (Hybrid) ซึ่งทาง Baycoms อาสาเป็นพาร์ทเนอร์ที่จะรับช่วงเหล่านั้น

Cyber Security เป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำ ซึ่งเราต้องคอยปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอไม่ใช้สิ่งที่จะสำเร็จได้ตั้งแต่วันแรก” — คุณ Avirut ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้

Hybrid Workforce ส่งผลอย่างไรต่อกลยุทธ์การรักษาข้อมูล

คุณ Chatkul Sopanangkul ตำแหน่ง Regional Director ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Forcepoint

โควิดเป็นปัจจัยที่เร่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจเพียงระยะเวลาสั้น ทำให้องค์กรเปลี่ยนวิถีการทำงานจากรูปแบบเดิม รวมถึงฝั่งภัยคุกคามกลับไม่ได้หยุดชะงักลงแต่ถูกพัฒนาและเพิ่มจำนวนขึ้นเสียด้วย ความท้าทายคือเรายังใช้การป้องกันแบบเดิมๆอยู่ แล้วเราจะจัดการอย่างไรกับการทำงานแบบ Remote Work ที่มีแอปใหม่และอุปกรณ์ที่ไม่ถูกจัดการมาเกี่ยวพันตั้งมากมาย“–คำถามที่คุณ Chatkul Sopanangkul ตำแหน่ง Regional Director ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Forcepoint ได้ชวนให้ทุกท่านได้ฉุกคิดกับภาวะสภาพแวดล้อมแบบใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันที่การป้องกันขององค์กรไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการทำงานเช่นนี้

ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคอนเซปต์ที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ นั่นก็คือ Zero Trust และ SASE ซึ่ง Zero Trust จะเป็นเชิงคอนเซปต์กว้างๆ ให้ตระหนักการไม่ให้เชื่อสิ่งใด และSASE คือการอินพลีเมนต์โซลูชั่นให้เป็นไปตามแนวทางคอนเซปต์นั่นเอง แต่ในที่สุดแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรก็คือข้อมูล

Forcepoint เป็นผู้นำเสนอโซลูชั่นด้านการปกป้องข้อมูลโดยเฉพาะกับโซลูชั่น DLP ที่องค์กรจำนวนมากไว้ใจ สำหรับ Forcepoint เองก็ได้มีการเตรียมการและอัปเกรตความสามารถของโซลูชั่นให้รองรับกับการทำงานรูปแบบใหม่ในรูปแบบของ SASE เช่น DLP รองรับการทำงานกับ Cloud หรือ CASB กับ SaaS และ ZTNA เพื่อเปลี่ยนโฉมการเชื่อมต่อที่มีมาตรการตรวจสอบเข้มข้นเหนือกว่า VPN ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเริ่มต้น Zero Trust ให้องค์กรเริ่มต้นตอบโจทย์การทำงานรูปแบบใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อมนุษย์คือจุดอ่อนของระบบ

คุณ Surasak Rianprakaisang ผู้ดำรงตำแหน่ง Country Lead จาก Proofpoint

Cyber Security เป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญแต่ส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะเริ่มจากการวางตัวโซลูชั่นเพื่อจะสร้างกำแพงล้อมกรอบตัวเอง ซึ่งหลายคนอาจหลงลืมไปว่ามนุษย์เองเป็นจุดอ่อนของระบบ และแฮ็กเกอร์ทั่วโลกรับรู้สิ่งเหล่านี้ดี ดังนั้นข่าวการโจมตีดังๆ มากมาย ส่วนใหญ่จะเริ่มจากเหยื่อที่เป็นคนในองค์กร สอดคล้องกับสถิติที่ชี้ว่า 85% ของการโจมตีผ่านช่องทางมนุษย์ไม่ใช่การแฮ็กผ่านช่องโหว่ของระบบ

คุณ Surasak Rianprakaisang ผู้ดำรงตำแหน่ง Country Lead จาก Proofpoint อธิบายว่าพันธกิจสูงสุดของบริษัทก็คือการปกป้องผู้คนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรทางไซเบอร์เหล่านี้ ลดปริมาณความเสียหายขององค์กรต่างๆ หากพิจารณากันให้ดีแล้วปัจจัยของการโจมตีตัวบุคคลนั้นหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้

  • ถูกขโมย Credential อาจจะเป็นการรั่วไหลของข้อมูลหรือถูกหลอกให้กรอกข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • บัญชีของคลาวด์ถูกแทรกแซง
  • การแทรกแซงผ่านมาทาง Supplier
  • ติดจากมัลแวร์เข้ามา

ในมุมของ Proofpoint ได้นำเสนอโซลูชั่น Email Security ที่ช่วยคัดกรองการโจมตีได้อย่างเข้มข้น โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นอันดับหนึ่งของตลาด ช่องทางอีเมลนี้เองคือจุดแรกที่คนร้ายมักใช้เพื่อเริ่มต้นกระบวนการโจมตีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแรนซัมแวร์ หรือหลอกลวงเป็นบุคคลที่รู้จักเพื่อให้ทำการบางอย่าง (BEC) นอกจากแพลตฟอร์มจะมี Machine Learning ที่เรียนรู้กลเม็ดใหม่อยู่เสมอแล้ว คุณ Surasak ยังได้แนะนำให้ตัวองค์กรเองริเริ่มใช้การป้องกันที่เรียกว่า DMARC เพื่อลดโอกาสของการหลอกลวงว่าเป็น Supplier แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการฝึกฝนให้พนักงานรู้จักกับอีเมลที่ไม่หวังดีเพื่อให้ตระหนักรู้และรับมือได้อย่างเข้าใจ ซึ่งในเครื่องมือของ Proofpoint ก็ยังเปิดให้องค์กรสามารถสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบที่เหมาะกับตัวเองได้เช่นกัน

เปลี่ยนให้ศูนย์ SOC ของคุณทำงานปฏิบัติงานได้อย่างอัตโนมัติด้วย Splunk

คุณ Katipong Sirisawatdi ที่ปรึกษาโซลูชั่นอาวุโสจาก Splunk

ปัญหาของ SIEM ที่เกิดขึ้นจริงคือข้อมูลจากเครื่องมือที่มากเกินไปทำให้เกิดการแจ้งเตือนแม่นยำน้อย เนื่องจากยังไม่ได้มีการแมปปัญหาให้เหมาะกับผลกระทบของปัญหา มิหนำซ้ำในบางองค์กรอาจมี SIEM มากกว่าหนึ่งตัวทำให้วิสัยทัศน์ของภาพการมองเห็นไม่ครอบคลุม คุณ Katipong Sirisawatdi ที่ปรึกษาโซลูชั่นอาวุโสจาก Splunk จึงได้แนะนำว่าอันที่จริงแล้วองค์กรต้องมองหาโซลูชั่นในการเตือนภัยที่รวดเร็ว ซึ่งก็คือการติดตามภัยอย่างต่อเนื่องและเข้าใจทุกมิติของการโจมตี เมื่อการกระทำเริ่มเป็นภัยสามารถแจ้งเตือนได้ระดับเรียลไทม์ นอกจากนี้การรับข้อมูลจาก Threat Intelligence หลายแหล่งเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องรวมศูนย์ข้อมูลอย่างมีมาตรฐาน SIEM ถึงจะสำแดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ดีการทำให้ SOC เกิดความเป็นอัตโนมัตินั้นไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว อันที่จริงแล้วสิ่งที่ Splunk ทำคือการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดกระบวนการทำงานที่ดีของผู้คน ประกอบกับเป็นไปตาม Framework ที่ได้รับการยอมรับระดับสากลเช่น NIST, MITRE และอื่นๆ เมื่อองค์กรสร้างกรอบการทำงานให้คน กระบวนการและเทคโนโลยีสอดคล้องกันได้แล้ว สุดท้ายก็ต้องมีการวิเคราะห์ผลและนำไปปรับปรุงตัวเองด้วยว่ามีข้อบกพร่องใดบ้าง เช่น พนักงานบางท่านหรือกระบวนการบางอย่างทำให้การแก้ปัญหาช้า หรือวิเคราะห์ได้ว่าแต่ละเคสที่เข้ามานั้นมีรากฐานของปัญหาร่วมกันอย่างไร โดยท่านอาจจะโฟกัสเฉพาะช่องโหว่ในอุตสาหกรรมของท่านก็ได้ไม่ต้องปูพรมครอบคลุมทุกอย่าง และเมื่อทุกอย่างเข้าที่แล้วฟอร์มของการดำเนินงานอย่างอัตโนมัติในศูนย์ SOC จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ

Sentinel One : รวมร่างโซลูชั่น Identity Protection และ XDR

คุณ Nantharat Puwarang ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ SentinelOne

คุณ Nantharat Puwarang ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ SentinelOne ชี้ให้เห็นว่าการป้องกับแบบรอรับ (Reactive) นั้นไม่เพียงพอต่อการป้องกันภัยคุกคามอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เอง SentinelOne จึงได้นำเสนอโซลูชัน XDR แบบ Cloud-based สำหรับรวบรวมข้อมูลจากหลายภาคส่วนทั้ง Endpoint, Cloud และ Identity พร้อมนำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรม ซึ่งในงานได้เปิดวีดีโอสาธิตการจำลองถึงการโจมตีจากแรนซัมแวร์ ที่สุดท้ายแล้ว SentinelOne สามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้งาน SentinelOne จะมองเห็นทุกขั้นตอนที่คนร้ายปฏิบัติการทำให้การป้องกันของท่านกลับกลายเป็นเชิงรุก (Proactive) 

Vectra AI : ตรวจเช็คสัญญาณชีพด้าน Cloud Security

คุณ Sharat Nautiyal ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Vectra

หัวข้อนี้จะเน้นไปในเรื่อง Cloud Security ซึ่งปัจจุบันเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปคนร้ายก็ย้ายตัวเองไปยังสถานที่เหล่านั้นทั้ง SaaS, Cloud และ Serverless ต่างตกอยู่ในความเสี่ยงทั้งสิ้น สิ่งที่ Vectra AI ทำก็คือพิสูจน์ทราบจากข้อมูลระดับเครือข่าย (NDR) โดยเฉพาะเรื่อง Privilege ที่แฮ็กเกอร์จับตาดู เพราะรู้ว่าสิ่งนี้คือกุญแจสู่ระบบทั้งปวง ในคอนเซปต์ของ Cloud เรื่อง Privilege ค่อนข้างแตกต่างกันแล้วแต่ผู้ให้บริการ อย่าง Azure จะพึ่งพา Azure AD หากเป็น AWS จะใช้สิ่งที่เรียกว่า IAM ซึ่งยังมีความสามารถ Assume Role หรือสิทธ์ชั่วคราวได้อีกด้วย นอกจากนี้คุณ Sharat Nautiyal ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Vectra ยังเสริมว่า “หากใช้เพียง AI กับข้อมูล การแจ้งเตือนคงมากจนเกินรับไหว แต่กลไกที่ Vectra ใช้ก็คือการอ้างอิงกับ Mitre เพื่อค้นหาข้อมูลอย่างเจาะจงทำให้การแจ้งเตือนนั้นมีความแม่นยำและเชื่อได้ว่าท่านกำลังมีความเสี่ยง

E-C.O.P : ทำ SecOps ให้เป็นเรื่องง่ายด้วยบริการ Managed Service ที่ทำงานได้อัตโนมัติ

คุณ Chaiyanath Chamoraman กรรมการผู้จัดการบริษัท E-C.O.P บริษัทที่ให้บริการด้าน Managed Service ภายใต้ Baycoms

คุณ Chaiyanath Chamoraman กรรมการผู้จัดการบริษัท E-C.O.P บริษัทที่ให้บริการด้าน Managed Service ภายใต้ Baycoms ได้เผยให้เห็นสถานภาพของการทำงานในด้าน Security Operation ปัจจุบัน โดยองค์กรหลายแห่งยังคงติดกับการมี SIEM เพื่อแค่รับรู้ปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในทันที แต่การที่จะทำให้ความเป็นอัตโนมัติเกิดขึ้นได้ องค์กรก็ต้องผสานทั้งข้อมูล Threat Intelligence และความเชี่ยวชาญของบุคคลร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ แม้บางองค์กรจะทำได้บ้างแต่สุดท้ายแล้วก็ต้องทำโดยคนแทบทุกกรณีไป ดังนั้นทีมงาน Security Operation ส่วนใหญ่จึงจมอยู่กับงานที่ไม่มีวันหมด

คุณ Kris Nawan ผู้อำนวยการจาก Bangkok MSP

ด้วยเหตุนี้เองความร่วมมือกับ Cyware จึงเกิดขึ้นโดยนำเสนอเทคโนโลยีที่เรียกว่า Cyber Fusion โดยคุณ Kris Nawan ผู้อำนวยการจาก Bangkok MSP ได้มาเล่าเสริมว่าโซลูชั่นดังกล่าวรวมรวมข้อมูลจาก SIEM, Threat Intelligence (หลายแบรนด์) และ Cert จากอุตสาหกรรมต่างๆ มาวิเคราะห์รวมกัน ตอบสนองตาม Playbook และกระจายออกไปยังผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ภาพของ SOC ที่เคยล่าช้าเกิดความเป็นอัตโนมัติได้ พร้อมออกรายงานตอบโจทย์บอร์ดผู้บริหาร หรือใช้ประเมินความเหมาะสมของ Threat Intelligence ได้อย่างมีเหตุผล อย่างไรก็ดีสำหรับบริษัททั่วไปที่ไม่ได้มีงบลงทุนสูง ท่านสามารถติดต่อ E-C.O.P ที่มีผู้เชี่ยวชาญและได้เตรียมระบบไว้พร้อมให้บริการแบบ 24*7

Akamai : ลดความเสี่ยงจาก Ransomware ด้วยโซลูชั่น Zero Trust Segmentation / Microsegmentation

คุณ Jocelyn Chan หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยระดับองค์กรแห่งภูมิภาคอาเซียนและจีน

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware ) เป็นเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดี (Hacker) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังการร้องขอผลประโยชน์ทางการเงินจากเหยื่อ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลของเหยื่อที่ถูกเข้ารหัส เพื่อไว้เรียกค่าไถ่ของเหยื่อ ซึ่งมีหลากหลายเทคนิคล่อลวงให้เหยื่อติดกับดัก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องหาโซลูชั่นในการป้องกัน

ในมุมของ Akamai คุณ Jocelyn Chan หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยระดับองค์กรแห่งภูมิภาคอาเซียนและจีน ได้แนะนำว่า วิธีหนึ่งในการต่อกรที่ควรต้องทำนอกจากการอัปเดตซอฟต์แวร์ต่างๆ และมีการสำรองของมูลที่ดีแล้วนั้น ก็คือการใช้โซลูชั่น Microsegmentation ซึ่งปัจจุบันองค์กรต่างๆ มีการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย Next Generation Firewall ในการรักษาความปลอดภัยทาง North-South Traffic แล้ว แต่ Traffic East-West นั้น Next Generation Firewall ไม่สามารถช่วยป้องกันได้ อีกทั้งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายขององค์กร ไม่ได้มีอยู่แค่ Data Center และ DR ในองค์กรแล้ว แต่มีการ Transform ใช้ Private Cloud โซลูชั่น Docker/Container และ Kubernetes และบางองค์กรมีการใช้ทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายบน Public Cloud มากยิ่งขึ้น Akamai จึงได้นำเสนอโซลูชัน Zero Trust Segmentation ที่ติดตั้งในระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่องค์กรใช้ ข้อดีคือสามารถรองรับระบบปฏิบัติการ Operating System (OS) ได้หลากหลาย เช่น Windows 2000/2003 รวมถึงรุ่นล่าสุด, Linux หลากหลายค่าย และระบบ Container กับ Kubernetes ซึ่งหน้าที่หลักก็คือสามารถรักษาความปลอดภัยให้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและกำหนดนโยบายความปลอดภัย (Policy) ที่เจาะลึกถึงบริบทของการทำงาน โดยมีระบบ AI ที่สามารถเรียนรู้ว่า ระบบแอปพลิเคชั่นขององค์กรมีการติดต่อสื่อสารข้อมูลกับระบบอื่นๆ อย่างไรบ้าง โดยแสดงออกเป็นภาพรวม รูปกราฟฟิกที่เข้าใจง่าย เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ดูแลระบบเห็นภาพรวม (Visibility) ในการติดต่อสื่อสารของทุกเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทั้งหมด จากเดิมที่องค์กรอาจจะมีจุดที่มองไม่เห็น และโซลูชั่น Zero Trust Segmentation ยังสามารถ Mapping เป็น Label และกลุ่มได้ ทำให้เข้าใจและเห็นภาพทุก Flow ของระบบงานในองค์กร อีกทั้งสามารถจัดการนโยบายป้องกัน (Control) ทุกๆ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วจากศูนย์กลาง โดยมี Template Policy ตาม Use Case ต่างๆ สามารถนำไปใช้ อย่างเช่น Use Case เรื่องการลดความเสี่ยงของการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Thales : ดูแลจัดการข้อมูลตาม PDPA ได้ง่ายๆด้วย Thales

คุณ Saravut Sudsawart ผู้อำนวยการฝ่ายขายและผู้บริหารของ Bangkok Systems Group

คุณ Saravut Sudsawart ผู้อำนวยการฝ่ายขายและผู้บริหารของ Bangkok Systems Group ผู้ให้คำปรึกษาและจำหน่ายโซลูชันของ Thales ได้ชี้ให้เราเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวตาม PDPA ว่าคงเป็นไปได้ยากหากเราไม่สามารถตั้งต้นจากการมองเห็นข้อมูลได้ ผลที่ตามมาคือทำให้ควบคุมไม่ได้ และหากข้อมูลหลุดไปคงเป็นเหตุเลวร้ายที่ไม่อยากจะนึกถึงเป็นแน่

ในมุมของ Thales เองได้นำเสนอโซลูชั่น 3 ส่วนคือ

Discover – โซลูชั่นนี้จะช่วยในการค้นหาข้อมูลไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์, ข้อมูลที่อยู่ในบริษัทไม่ว่าจะเป็น Database หรือกระทั่ง File Share โดยการ Discovery จะคัดแยกได้ว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Sensitive Data อยู่ที่ใดบ้าง พร้อมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของข้อมูลชุดนั้นๆ เพื่อให้ท่านดำเนินการด้านความปลอดภัยในลำดับถัดไป อย่างเช่นการเข้ารหัส และหากมีกรณีการร้องขอเพื่อลบข้อมูลก็จะทำได้อย่างหมดจด

Protect – หนึ่งสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในการป้องกันข้อมูลไม่ให้เกิดรั่วไหลออกไป ก็คือการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่ง Thales มีโซลูชั่นครบวงจรในด้านการเข้ารหัสเช่น โซลูชั่นการบริหารจัดการกุญแจเข้ารหัส, การทำ Tokenize รวมถึงโซลูชั่นการเข้ารหัสไฟล์และการเข้ารหัสฐานข้อมูล หรือการทำ Data Masking ป้องกันการมองเห็นข้อมูลสำคัญ

Control – การใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่ายเช่น 12345678 ยังเป็นจุดอ่อนของคนไทยเสมอมา โดยโซลูชั่น Safenet Trusted Access มีความสามารถในการจัดการเรื่องการยืนยันตัวตน เช่น การทำ MFA หรือกระทั่ง Password Less  เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน และยังป้องกันเรื่องของ Password หลุดรั่วไปด้วย รวมไปถึงสามารถทำเรื่องของ Access Policy เพื่อกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน เช่นคนที่จะใช้งานต้องมาจาก Network ที่อนุญาตเท่านั้น ก็จะช่วยยกระดับของความปลอดภัยในองค์กรได้

Mandiant : สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรรองรับความเสี่ยงของทรัพย์สินดิจิตัล

คุณนิธิพัฒน์ นิลสัมฤทธิ์ วิศวกรอาวุโส, Mandiant

เมื่อตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ ผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์หรือแฮ็กเกอร์ย่อมมีกระบวนการในการค้นคว้าหาข้อมูล รวมไปถึงทรัพย์สินดิจิตัลของเป้าหมาย โดยที่เป้าหมายไม่สามารถป้องกันหรือล่วงรู้ได้เลยจนกระทั่งผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์เริ่มการโจมตีระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่เป้าหมายติดตั้งไว้จึงจะเริ่มทำการ Prevention และ Response กับการโจมตีที่เกิดขึ้นในลักษณะ Reactive แต่ไม่สามารถตรวจจับการรุกรานสินทรัพย์ดิจิตัลที่ปรากฏในโลกอินเทอร์เน็ตได้

ทางบริษัท Mandiant โดยคุณนิธิพัฒน์ นิลสัมฤทธิ์ วิศวกรอาวุโส ได้นำเสนอแนวทางตรวจจับและคาดคะเนหรือประเมินความเสี่ยงของทรัพย์สินดิจิตัลขององค์กรได้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างตรงจุดและเหมาะสม ตามนิยามใหม่ที่เกี่ยวกับ Digital Risk Protection ของ Gartner ซึ่งรวมถึงการรู้จักตนเอง คู่ค้าและพันธมิตร ร่วมกับฐานข้อมูลข่าวกรองภัยไซเบอร์จากบริษัท Mandiant

สิ่งที่ทาง Mandiant ให้บริการคือฐานข้อมูลข่าวกรองภัยไซเบอร์ของกลุ่มผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์ทั่วโลก ประกอบไปด้วยพฤติกรรมการโจมตี เทคนิค เป้าหมาย และแรงจูงใจ โดยรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลกที่ทาง Mandiant ได้ร่วมสืบค้นและให้บริการด้านการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางดิจิทัล และข้อมูลในเว็บไซต์ใต้ดินและเครือข่ายผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์ต่างๆ เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถล่วงรู้และประเมินได้ว่าควรพุ่งความสนใจไปที่ใด จุดอ่อนขององค์กรอยู่ที่ใด ทรัพย์สินดิจิตัลใดที่มีความเสี่ยงและมีผลกระทบต่อองค์กรหากถูกโจมตี โดยบริการจากทาง Mandiant จะช่วยให้องค์กรทราบถึง Cyber Threat Profile ของตนเอง และสามารถนำข้อมุลมาอ้างอิงเพื่อการตรวจจับ ป้องกัน และรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้อย่างถูกต้อง เฉพาะเจาะจง เหมาะสมตามความเสี่ยงและรูปแบบการโจมตีจากผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์ตามแต่ละองค์กรและคู่ค้า รวมไปถึงความเสี่ยงตามอุตสาหกรรม ตำแหน่งที่ตั้งหรือประเทศ แรงจูงใจและวัตถุประสงค์ของผู้ก่อการร้ายทางไซเบอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กรอย่างเฉพาะเจาะจง โดยผู้สนใจสามารถร่วมทดสอบโซลูชั่นได้ฟรีที่

www.mandiant.com/asm-free

www.mandiant.com/ti-free

Cloudflare : Zero Trust – Zero Infect

คุณ Nuttaphan Ruengrangsrirat, Regional Account Executive ของ Cloudflare

คุณ Nuttaphan Ruengrangsrirat, Regional Account Executive ของ Cloudflare ได้มาขยายความในคอนเซ็ปต์ของ Zero Trust ที่ Cloudflare มอง โดยเผยว่าหากต้องการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน องค์กรต้องปรับตัวให้รองรับการทำงานจากที่ใดก็ได้ หรือการเปลี่ยนตัวเองจากโลกของการวางระบบเชื่อมต่อภายในเป็นการทดแทนด้วยอินเทอร์เน็ตผ่านโซลูชัน SASE (Secure Access Service Edge) โดยข้อดีของ Cloudflare คือมีครบทุกโมดูลประกอบด้วย ZTNA, Secure Web Gateway (SWG), CASB, DNS Security, Email Security, Remote Browser Isolation และ DLP ทำให้ไม่ต้องไปหาโซลูชันอื่นเสริม นอกจากนี้ยังมีโหนดในไทยหลายแห่งทำให้การวิ่งไปใช้ Cloud จึงรวดเร็วไร้ค่าใช้จ่ายแฝง หากเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ ที่อาจมีราคาที่เพิ่มขึ้นหรือข้อจำกัดการถ่ายโอนข้อมูล อย่างไรก็ดีหากผู้สนใจต้องการเริ่มทำ Zero Trust ก็แนะนำให้มองภาพใหญ่ว่าต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และค่อยๆ ให้ผู้ใช้หรือคู่ค้าทดลองส่วนหนึ่งก่อนเมื่อมีความคุ้นเคยแล้วค่อยเปิดใช้ทั้งระบบ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการเป็นโมเดล Cloud จะทำให้การทำงานแบบไฮบริดของท่านปลอดภัย รวดเร็ว และคุ้มค่าด้วยค่าใช้จ่ายแบบรายบุคคล

Tanium : บริหารจัดการเหตุการณ์ยามวิกฤติ

คุณ Thanakorn Withawatkajee ที่ปรึกษาอาวุโสจาก M-Solutions Technology

การบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณ Thanakorn Withawatkajee ที่ปรึกษาอาวุโสจาก M-Solutions Technology ได้แนะนำว่าความท้าทายจริงๆ ของเรื่องนี้ก็คือ Visibility ที่จำกัด ยิ่งแก้ไขได้ช้าผลกระทบก็ยิ่งรุนแรง ปัญหาของข้อมูลที่กระจายไปทั่ว และสุดท้ายคือ มีเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัยมากจนเกิดความซับซ้อนดูแลลำบาก สิ่งเหล่านี้เองทำให้ Tanium ได้นำเสนอระบบบริการจัดการที่ประกอบด้วยความสามารถทั้ง IT Operation และ Security ร่วมกันอยู่ใน Agent เพียงตัวเดียว ซึ่งมีความสามารถทั้งการค้นหา ติดตามประสิทธิภาพ อุดช่องโหว่ อัปเดตซอฟต์แวร์ และจัดการคอนฟิครวมถึงตอบสนองปัญหา โดยมีแนวคิดหลักของการใช้งานง่ายและโดดเด่น ซึ่งใช้งานเพียงแค่ค้นหาด้วยคำถามง่ายๆ (ASK) ได้รับคำตอบที่ตรงใจและเรียลไทม์ (KNOW) เช่น มีช่องโหว่ Log4J กี่เครื่องหรือมีไฟล์มัลแวร์ติดตั้งในเครื่องลูกข่ายตัวใดบ้าง และสามารถตอบได้แม้กระทั่งการค้นหาข้อมูลละเอียดอ่อน เป็นต้น สุดท้ายเมื่อได้รู้คำตอบแล้วผู้ดูแลก็สามารถสั่งแก้ไขได้ตามความต้องการ(ACT) ทั้งหมดนี้เป็นไปตามคอนเซปต์คือ “See Everything, Do Anything

HPE : ต่อกรกับแรนซัมแวร์ด้วยโซลูชั่นสำรองข้อมูลที่เด็ดขาดจาก HPE Cohesity

คุณ Touch Thongjurai, Storage Sales Specialist จาก HPE

คุณ Touch Thongjurai, Storage Sales Specialist จาก HPE ได้มาแนะนำถึงมุมมองของการป้องกันแรนซัมแวร์ที่ต้องไม่ใช่แค่แผน 3-2-1 หรือ 3 สำเนาที่ไซต์ 2 สำเนาต่างมีเดีย และ 1 สำเนาเก็บนอกไซต์ แต่ต้องเพิ่มเป็น 3-2-1-1-0 ที่ 1-0 ตัวแรกคือมีชุดสำเนาที่เป็น Offline คล้ายๆ กับเทปแต่ในยุคสมัยใหม่คือ ความสามารถ Immutable ส่วน 0 คือการทดสอบว่าชุดข้อมูลสามารถนำกลับมาใช้ได้จริง ในส่วนของ HPE Cohesity ได้นำเสนอโซลูชั่นแบบ Appliance หรือคลาวด์ ซึ่งข้อดีคือมีครบทุกฟังก์ชั่นทั้งการรองรับ Object หรือ File นอกจากนี้ยังมีโซลูชั่น DR ที่พร้อมสำหรับเป็น DR หรือนำข้อมูลไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น โดยทั้งหมดนี้ถูกบริหารจัดการได้ผ่านคลาวด์ที่มีชื่อเรียกว่า Helios นอกจากนี้สิ่งที่ Cohesity โดดเด่นกว่าคู่แข่งอื่นๆ คือระบบตรวจจับพฤติกรรมที่เป็นอันตรายให้ผู้ดูแลทราบ รวมถึงสามารถแนะนำชุดข้อมูลที่ปลอดภัย 100% ตัดปัญหาการเลือกเวอร์ชั่นของไฟล์ที่ยุ่งยากนั่นเอง กล่าวคือ Cohesity ได้นำเสนอการดูแลข้อมูลอย่างครอบคลุมทั้ง Defend, Detect และ Reduce Downtime

บทส่งท้าย

Baycoms ได้ชวนทุกท่านมาตรวจสอบแนวรับของทุกองค์กรให้เท่าทันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์สมัยใหม่ที่นับวันยิ่งมีความซับซ้อน ทวีจำนวน และส่งผลรุนแรงมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เองท่านจึงต้องเตรียมการรับมือ เรียนรู้ภัยคุกคามรอบด้าน ไม่เพียงแต่เฉพาะตัวองค์กร แต่ยังต้องมองหาพันธมิตรที่ทำงานร่วมกันด้วย ซึ่งคาดว่าจาก Vendor ที่ขนทัพมาให้ท่านรับชมในวันนี้ คงเป็นโอกาสอันดีที่ท่านอาจจะมีไอเดียเพื่อเสริมทัพหรือริเริ่มกับแนวทางใหม่ๆ ได้ครับ ดังนั้นหากท่านกำลังมองหาหรือสนใจโซลูชั่นจาก Baycoms สามารถติดต่อทีมงานได้ทันทีที่

Bay Computing Co.,Ltd.

Tel: 02-115-9956

Email: info@baycoms.com

Website: www.baycoms.com

#BAYCOMS #YourTrustedCybersecurityPartner

#BAYCOMSCybersecurityDay2022

from:https://www.techtalkthai.com/baycoms-cybersecurity-day-2022-checkup-your-cybersecurity-vital-sign-with-our-digital-wellbeing-metrics/

[Guest Post] มุมมองเชิงลึกสู่อนาคต ในปี 2021

ความปั่นป่วน และไม่สามารถคาดการณ์ได้ เป็นคำที่ใช้อธิบายปี 2020 ได้อย่างถูกต้องที่สุด จากการที่คนทำงานต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากที่ไซต์งานหรือจากออฟฟิศไปสู่การทำงานจากระยะไกล ทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไอทีและความเป็นผู้นำในองค์กรถูกบังคับให้ต้องปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้อย่างถูกโดยไม่มีข้อผิดพลาด และกลายเป็นว่าทุกคนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีกันมากขึ้น ทั้งในการทำงาน การไปโรงเรียน รวมถึงการเสพสิ่งบันเทิงต่างๆ จึงทำให้ภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ในปี 2021 ฟอร์ซพอยต์ เชื่อว่า เราจะเริ่มตระหนักกันอย่างจริงจังว่ามีทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมากที่ถูกโจรกรรมจากผู้บุกรุกที่เป็นคนนอกและจากคนในที่ประสงค์ร้าย ในช่วงระหว่างปี 2020 ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบสู่การทำงานจากระยะไกล ด้วยปัจจัยบ่งชี้ในเรื่องของการทำงาน การดูแลความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการปกป้องข้อมูลทุกที่ได้อย่างต่อเนื่อง  Forcepoint Future Insights ได้นำเสนอมุมมองความคิดใน 4 ประเด็นเกี่ยวกับแนวโน้ม และเหตุการณ์ที่เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะต้องรับมือกันในปี 2021

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ

ในปี 2020 ดูเหมือนว่าอนาคตจะพุ่งตรงเข้ามาหาเราอย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวพร้อมกับต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และเมื่อเราทุกคนก้าวสู่การทำงานจากระยะไกล การปรับใช้คลาวด์จึงเป็นสิ่งจำเป็น มีการปฏิรูปสู่ดิจิทัลเกิดขึ้น และในที่ๆ ยังไม่มีการปฏิรูป ก็จำเป็นจะต้องทำ

องค์ประกอบในภาพใหญ่ทั้งหมดเหล่านี้ นำเราไปสู่บทสรุปที่ว่า การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้กลายเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในปัจจุบัน และจำเป็นต้องอาศัยผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงเฉพาะทาง (category disruptor)  การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ กลายเป็นกลไกที่มีศักยภาพที่อนุญาติให้องค์กรธุรกิจเร่งเป้าหมายสู่คลาวด์ และใช้ประโยชน์จากความเร็ว ขอบเขตที่กว้างขวาง และความยืดหยุ่นของการปฏิรูปทางดิจิทัล

เมื่อการ์ทเนอร์ เริ่มแนะนำ SASE ออกมาเป็นแนวคิดในปี 2019  รายงานฉบับแรกระบุว่าตลาดอาจจะยังไม่พร้อม หรืออาจจะยังไม่ไปกับโมเดลนี้ในเวลาสองถึงห้าปี  มีเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่จะใช้โมเดลนี้ในปี 2024  แต่ส่วนผสมของแรงขับเคลื่อนที่มีในตลาดในการเปลี่ยนสู่คลาวด์ บวกกับแผนงานใหม่ที่บังคับให้เราต้องทำงานจากระยะไกล หมายถึงเรากำลังเผชิญกับการทำ defragmentation ของตลาดที่เร็วยิ่งขึ้น และความเร่งด่วนในการนำ “แพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัย” มาเป็นเครื่องมือทางเลือก

การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในระดับของกรรมการบริษัท ซึ่งผลักดันความต้องการในการรักษาความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มคลาวด์ กรรมการบริหารทั้งหลายต่างมองหานวัตกรรมและปัจจัยในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่นำมาใช้งานได้เร็วอีกทั้งประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้จะเพิ่มความกดดันให้กับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และจำต้องใช้โซลูชันรักษาความปลอดภัยสำหรับแพลตฟอร์มคลาวด์

ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ที่มาจากระดับผู้บริหาร จะเป็นปัจจัยที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในอุตสาหกรรมรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ความจำเป็นด้านแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทำงานผ่านคลาวด์และเป็นระบบควบรวมการทำงานเข้าด้วยกัน คือการที่เราจะได้เห็นความเร่งด่วนของ “Zoom of Security” หรือการมาอย่างรวดเร็วของระบบรักษาความปลอดภัย

ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงเฉพาะทาง (category disruptor) ที่จริงจัง ต้องผสานรวมกับระบบนิเวศพับลิคคลาวด์ได้อย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน ผู้พัฒนากำลังนำระบบรักษาความปลอดภัยมาใช้เป็นเครื่องมือ แต่การต้องมีตัวช่วยสำหรับแอปพลิเคชันและฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานบนคลาวด์โดยเฉพาะ ระบบรักษาความปลอดภัยจะต้องย้ายไปอีกฝั่งสำหรับผู้พัฒนา และจะกลายเป็นการทำให้นำมาปรับใช้ได้ง่ายดายอีกทั้งผสานรวมการทำงานได้อย่างเต็มที่

การผสานรวมจะส่งผลให้ระบบรักษาความปลอดภัยถูกฝังอยู่ในแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม ที่คนทั่วไปจะไม่รู้เลยว่าตัวเองกำลังได้รับ “การรักษาความปลอดภัย” ให้อยู่ ฟอร์เรสเตอร์ได้คาดการณ์ว่าสถาปัตยกรรมแบบ Zero Trust จะเติบโต 200 เปอร์เซ็นต์ในปี 2021  ทันทีที่เราก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงในอีกด้านหนึ่ง การรักษาความปลอดภัยจะกลายเป็นระบบงานปกติของคลาวด์ และการผสมผสานของเทคโนโลยีบวกกับข้อมูลจะช่วยให้ผู้นำไอทีมีความสามารถด้านการมองเห็นอย่างแท้จริง ว่าข้อมูลเคลื่อนที่ไปที่ไหนในองค์กรและไปอย่างไร

ความสามารถด้านการมองเห็นข้อมูลถือเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนโฉมการแข่งขัน ไม่ใช่แค่เรื่องการมอนิเตอร์ในแง่ของการติดตามว่าใครทำอะไร หรือบุกรุกความเป็นส่วนตัว แต่เป็นการช่วยให้นักวิเคราะห์ข้อมูลและผู้นำองค์กรมองเห็นข้อมูลและการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์พฤติกรรมช่วยให้เราตรวจวัดและรับส่งข้อมูลทางไกลเพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างฉลาดท่ามกลางความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยไม่เป็นการบุกรุกความเป็นส่วนตัวของผู้คนหรือเวิร์กโฟลว์แต่อย่างใด

สร้างสมดุลระหว่างแมชชีนเลิร์นนิ่ง และมุมมองเชิงลึกของผู้คนในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

ในปี 2021 ฟอร์ซพอยต์ เชื่อว่าแมชชีนเลิร์นนิ่ง และระบบวิเคราะห์ จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น เนื่องจากผู้คนจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตามธรรมชาติที่ปราศจากอคติและเป็นธรรม รวมถึงเส้นแบ่งทางจริยธรรม

ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จำนวนมาก ใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งในการตัดสินใจว่าการดำเนินการของผู้ใช้หรือระบบงานใดๆ มีความเหมาะสม (มีความเสี่ยงต่ำ) หรือไม่ ระบบแมชชีนเลิร์นนิ่งเหล่านี้ จะต้องผ่านการฝึกฝนด้วยข้อมูลในปริมาณมากพอ และจะต้องถูกประเมินในเรื่องอคติและความแม่นยำอย่างละเอียดถี่ถ้วน

การสร้างระบบไซเบอร์ เพื่อช่วยระบุหาผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงและป้องกันการดำเนินการที่อาจเป็นอันตราย ข้อมูลส่วนใหญ่ที่เราใช้วิเคราะห์จะมาจากกิจกรรมของผู้ใช้เป็นหลัก ควรแจ้งล่วงหน้าว่าการตรวจสอบกิจกรรมของผู้ใช้จะต้องมีการดำเนินการอย่างเหมาะสม และคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้คนรวมถึงอยู่ในหลักเกณฑ์ด้านจริยธรรมที่เหมาะสมเช่นกัน  การทำความเข้าใจว่าผู้คนปรับเปลี่ยน ตอบสนองและแจ้งเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างไร นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร ความจำเป็นในการสร้างความเข้าใจถึงพฤติกรรมในระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ รวมถึงการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์ประกอบของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ

ในปี 2021 ฟอร์ซพอยต์ คาดว่าการปรับใช้งานต่อๆ ไป จะล้มเหลวเนื่องจากอคติและการขาดการควบคุมดูแลอัลกอริธึมโดยผู้เชี่ยวชาญ  แม้ไม่ใช่ทั้งหมด แต่อย่างน้อยปัญหาก็คือ อัลกอริธึ่มที่ควบคุมแมชชีนเลิร์นนิ่งส่วนใหญ่ จะทำหน้าที่เสมือนกล่องดำ ทำให้การตรวจสอบความถูกต้องค่อนข้างทำได้ยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้

แต่เรื่องนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าอัลกอริธึ่มของแมชชีนเลิร์นนิ่งทั้งหมดจะต้องล้มเหลว ข่าวดีก็คืออคติที่ว่าได้ถูกหยิบยกมาพูดคุยและพิจารณากันในกลุ่มเปิด พร้อมๆ กับเรื่องประสิทธิภาพของอัลกอริธึ่ม  ฟอร์ซพอยต์ หวังว่าเราจะยังคงพัฒนาอัลกอริธึ่มที่สามารถอธิบายกันต่อไป ซึ่งสร้างแบบจำลองข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ อนาคตของแมชชีนเลิร์นนิ่งนั้นสดใส การนำอัลกอริธึ่มมาใช้ในแนวทางที่ฉลาดนั้นขึ้นอยู่กับจินตนาการของเรา

ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดจากที่ๆ คุณคาดไม่ถึง

ในปี 2021 เรากำลังได้เห็นภัยคุกคามที่เกิดจากสถานที่ๆ เราคาดไม่ถึง และบางครั้งอาจจะมาจากภายในบ้านตัวเอง

ในปี 2021 คาดว่าจะได้เห็นหน่วยงานที่ดำเนินการอย่างมีระบบของผู้ที่แทรกซึมมาในสายการว่าจ้างงาน ที่นำเสนอมาตรฐานที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ดำเนินการด้วยความประสงค์ร้าย เพื่อให้กลายเป็นพนักงานที่น่าเชื่อถือ โดยมีเป้าหมายแทรกซึมเข้ามาที่ IP ที่หาค่าไม่ได้  “ผู้ดำเนินการด้วยความประสงค์ร้าย” เหล่านี้ ตามจริงแล้ว จะกลายเป็นตัวแทนลับๆ ที่จะผ่านกระบวนการสัมภาษณ์และข้ามผ่านสิ่งกีดขวางและอุปสรรคนานาที่ทั้งฝ่ายบุคคลและทีมงานรักษาความปลอดภัยสร้างขึ้นเพื่อหยุดยั้งคนเหล่านี้

สอดคล้องตามข้อมูลของ McKinsey ที่ว่า การนำข้อมูลมาปลอมแปลงอัตลักษณ์ หรือ synthetic ID fraud เป็นอาชญากรรมทางการเงินประเภทที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐอเมริกา และกำลังแพร่กระจายไปยังภาคพื้นอื่นๆ  ผู้ปลอมแปลงจะใช้ข้อมูลส่วนตัวทั้งของจริงและของปลอมมาสร้างเป็นประวัติปลอม ที่ดูดีพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ แม้ว่าปกติแล้วการยื่นสมัครอาจจะถูกปฏิเสธจากเครดิตบูโรก็ตาม การมีไฟล์ที่ว่า ก็พอที่จะนำมาสร้างเป็นแอคเคาท์ และเริ่มสร้างประวัติด้านเครดิต “ของจริง” สำหรับบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต และการกู้เงินได้ จึงค่อนข้างจะยากที่จะหาอัตลักษณ์จริงจากสิ่งที่ปลอมแปลง และเนื่องจากไม่มีคนที่โดนขโมย ID เหยื่อตัวจริงก็คือธุรกิจที่ไม่สามารถกู้คืนความเสียหายได้

คุณอาจคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น แมชชีน เลิร์นนิ่ง อาจจะระบุการฉ้อโกงประเภทนี้ได้ง่าย ประเด็นอยู่ที่การหาชุดข้อมูลเพื่อมาฝึกแมชชีนเลิร์นนิ่ง ซึ่งคุณจะแสดงให้เห็นอย่างไรในการระบุตัวปลอมในเวลาที่มันแทบจะแยกไม่ออกจากคนจริงๆ?

คำตอบก็คือการเจาะลึกเพื่อหาอัตลักษณ์ด้วยข้อมูลที่ได้จากบุคคลที่สาม ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องมา หรืออัตลักษณ์ที่สามารถแสดงใบหน้าของพาสปอร์ตหรือใบขับขี่ ตลอดเวลาที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจสามารถสร้างเช็คลิสต์ของสิ่งที่ไม่สอดคล้องที่มักพบตัวตนที่ปลอมแปลงขึ้นเองและนำมาใช้ในการฝึกอัลกอริธึมเพื่อหาไฟล์ที่ต้องสงสัยได้โดยอัตโนมัติ เพื่อดำเนินการ

ข้อมูลคุณอยู่ที่ไหนบ้าง คุณจะรู้ได้ในปี 2021

ในปี 2021 ความสามารถในการมองเห็นข้อมูล และการบริหารจัดการเรื่องการปกป้องข้อมูล จะเป็นตัวบ่งชี้ด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กร

ส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ ก็คือ เราต้องตอบโจทย์ข้อใหญ่ให้ได้ การสูญหายของข้อมูลสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจ และเพื่อหยุดยั้งความสูญเสีย เราต้องรู้ว่าจริงๆ แล้วข้อมูลอยู่ที่ไหน ในระดับของนาทีต่อนาทีกันเลย นั่นหมายความว่า เราต้องมีการมอนิเตอร์กิจกรรมผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ (หรือเกือบจะเรียลไทม์ก็ตาม) เราควรจะต้องมอนิเตอร์เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย ไม่ใช่การติดตามเรื่องผลิตผล  ความโปร่งใสในโซลูชันเหล่านี้ และการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ควรเป็นหัวใจสำคัญของโซลูชั่นใดก็ตามที่ใช้ในการมอนิเตอร์กิจกรรมของผู้ใช้

ความจริงที่ว่า เราเปลี่ยนมาสู่การทำงานจากระยะไกลกันอย่างรวดเร็ว และค่อนข้างทำได้อย่างราบรื่น อาจจะหมายถึงว่าเราไม่จำเป็นต้องกลับไปใช้ perimeter ที่มีโครงสร้างเป็นแบบแผน แต่เราจะต้องมุ่งไปสู่เรื่องของการมอนิเตอร์กิจกรรมผู้ใช้กันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นวิธีการที่อาศัยฐานของการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูลและตัวบ่งชี้พฤติกรรม (IoB – Indicators of Behavior) ที่สามารถระบุระดับของความเสี่ยงได้

การขาดความสามารถในการมองเห็นข้อมูลในแนวทางดังกล่าว จะไม่สามารถขยายศักยภาพและไม่เข้าใจว่าจะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่นและปลอดภัยได้อย่างไร  ซึ่งการผสมผสานระหว่างเรื่องของการวิเคราะห์พฤติกรรมและการบ่งชี้พฤติกรรม เพื่อวางรากฐานในการประเมินความเสี่ยงแบบไดนามิค จะช่วยให้เราสามารถสร้างความสามารถในการมองเห็นได้ การใช้ข้อมูลต้องมีการตรวจสอบและเข้าใจถึงเนื้อหาในตัวบริบท รวมถึงต้องมีการปรับใช้นโยบายการป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม และอยู่ในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว หากเราสร้างเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งสร้างด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง และการวิเคราะห์เพื่อตรวจวัดและเข้าใจถึงการเคลื่อนไหวของข้อมูลในแบบกึ่งเรียลไทม์ ช่วยให้หลีกเลี่ยงความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นได้

เนื่องจาก “วิถีชีวิตแบบใหม่” กลายเป็น “วิถีปกติ” ไปแล้ว ผู้นำจึงต้องเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้อง ทบทวนนโยบายและกระบวนการ ประเมินสภาวะและความเสี่ยงขององค์กร พร้อมกับต้องหลีกเลี่ยงสมมุติฐานที่ว่าทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดีเพราะยังไม่เห็นว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ในระยะยาว โซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์ พร้อมกับความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงพฤติกรรมของผู้ใช้จะกลายเป็นโซลูชันที่ถาวร มากกว่าการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวในเวลาที่ต้องปกป้องข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญา

 

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-forcepoint-security-insight-2021/

โอ้ว!! Forcepoint ปลดพนักงาน “ทีมสนับสนุนตัวแทนขาย” เกือบหมด

มีแหล่งข่าวแจ้งมาทางสำนักข่าว CRN ว่า ทาง Forcepoint ได้เลย์ออฟทีมงานฝ่ายส่งเสริมช่องทางจัดจำหน่ายในภูมิภาคอเมริกาเหนือไปเกือบหมดภายในแค่ไม่กี่สัปดาห์หลังจากผู้จำหน่ายแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยรายนี้ถูกซื้อกิจการโดย Francisco Partners

โดยบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองออสตินรายนี้ได้เชิญพนักงานด้านช่องทางจำหน่ายในเขตอเมริกาเหนือไปอีก 10 รายเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งรวมถึง Mark Nehring ที่เป็นหัวหน้าทีมช่องทางจัดจำหน่ายประจำภูมิภาคนี้มาตั้งแต่มกราคม 2019 ด้วย

แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดระบุว่า การลดพนักงานครั้งนี้จำเพาะกับกลุ่มผู้จัดการบัญชีลูกค้าช่องทางจัดจำหน่าย (CAM) ที่คอยดูแลพาร์ทเนอร์รายใหญ่ระดับชาติ ไปจนถึงทีมงานด้านการตลาด งานขาย และเจ้าหน้าที่การตลาดที่ไม่ได้อยู่ในส่วนงานช่องทางจัดจำหน่ายด้วย

ทำให้ปัจจุบัน Forcepoint มีแค่ผู้จัดการอาวุโสและ CAM อีก 4 คนที่ดูแลเขตอเมริกาเหนือทั้งหมด ทั้งๆ ที่บริษัทมีเม็ดเงินไหลเข้ามาจากช่องทางจัดจำหน่ายเหล่านี้ 500 – 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทีมงานด้านแชนแนลงานขายของภูมิภาคนี้ลดลงเหลือแค่ 1 ใน 3 ของขนาดทีมก่อนหน้า

ที่มา : CRN

from:https://www.enterpriseitpro.net/forcepoint-layoffs-cut-deep-into-channel/

CyberRatings ออกรายงาน Enterprise Firewall 2021 – Sangfor, Palo Alto, Forcepoint, Check Point คะแนนนำ

CyberRatings.org ออกรายงานการให้คะแนนผลิตภัณฑ์ Enterprise Firewall + SSL/TLS ปี 2021 จัดอันดับผู้นำตลาดจาก 11 บริษัทชั้นนำ โดยมี 4 บริษัทได้รับคะแนนระดับ “AAA” ได้แก่ Sangfor, Palo Alto Networks, Forcepoint และ Check Point

ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่เข้ามาจัดอันดับด้วยมี Barracuda Networks, Cisco, Fortinet, Juniper Networks, SonicWall, Versa Networks, WatchGuard

การให้คะแนนเป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ: แนวทางและวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับความสามารถของผลิตภัณฑ์ ในการตอบสนองความต้องการในอนาคตที่มีต่อลูกค้า โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ด้านเทคโนโลยี และด้านความเป็นผู้นำทางธุรกิจ การหมุนเวียนของพนักงานในองค์กร ความพึงพอใจของลูกค้า ความมั่นคงทางการเงิน สภาวะตลาด รวมถึงผลการทดสอบ ที่ประกอบด้วย ด้านความปลอดภัย ด้านประสิทธิภาพการทำงานของ SSL/TLS และความคิดเห็นจากลูกค้า

ที่มา – CyberRatings, Palo Alto, Sangfor, Juniper

alt="CRActionTable"

alt="CRratingchart"

from:https://www.blognone.com/node/121392

[Video Webinar] Zero Trust + SASE: A Purpose-driven Approach to Cloud-based Security

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย Forcepoint Webinar เรื่อง “Zero Trust + SASE: A Purpose-driven Approach to Cloud-based Security” เพื่อเรียนรู้การผสานโมเดล Zero Trust Security เข้าด้วยกันกับ Secure Access Service Edge (SASE) เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบ Cloud ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: Chatkul Sopanangkul, Regional Manager จาก Forcepoint Thailand & Indochina

ปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง Work from Anywhere ทำให้รูปแบบการทำงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงไป หลายองค์กรย้ายแอปพลิเคชันและเซอร์วิสต่างๆ จาก On-premises ขึ้นสู่ Cloud มากขึ้น ส่งผลให้โมเดลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบเดิมที่เน้นการปกป้อง Infrastructure ภายในองค์กรเป็นหลักไม่สามารถคุ้มครองผู้ใช้และข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่บน Cloud ได้อีกต่อไป ก่อให้เกิดโมเดลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบใหม่ที่เรียกว่า Secure Access Service Edge (SASE)

ภายใน Webinar นี้ ท่านจะได้ทำความรู้จักกับแนวคิด Secure Access Service Edge (SASE) และการผสานโมเดล Zero Trust Security เข้าไปเพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบน Cloud ไปอีกขั้น รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • เพิ่ม Productivity ให้แก่ผู้ใช้ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัย
  • เปลี่ยนเทคโนโลยี VPN แบบเก่าที่ราคาสูงไปสู่เทคโนโลยีใหม่ที่ดียิ่งกว่า
  • ปกป้องระบบเครือข่ายภายในจากอุปกรณ์ ผู้ใช้ และ Wi-Fi ที่ถูกแฮ็ก
  • ยกระดับด้าน Visibility & Control เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ

from:https://www.techtalkthai.com/video-webinar-zero-trust-sase-a-purpose-driven-approach-to-cloud-based-security-by-forcepoint/

Forcepoint Webinar: Zero Trust + SASE: A Purpose-driven Approach to Cloud-based Security

Forcepoint ขอเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT Security เข้าฟังบรรยาย Forcepoint Webinar เรื่อง “Zero Trust + SASE: A Purpose-driven Approach to Cloud-based Security” เพื่อเรียนรู้การผสานโมเดล Zero Trust Security เข้าด้วยกันกับ Secure Access Service Edge (SASE) เพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบ Cloud ในวันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2021 เวลา 14:00 น. ผ่าน Live Webinar ฟรี

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: Zero Trust + SASE: A Purpose-driven Approach to Cloud-based Security
ผู้บรรยาย: Chatkul Sopanangkul, Regional Manager จาก Forcepoint Thailand & Indochina
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2021 เวลา 14:00 – 15:30 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงค์ลงทะเบียน: https://zoom.us/webinar/register/WN__N3nkWGTQWGkmHEAIlx3Pw

ปัจจุบัน แนวคิดเรื่อง Work from Anywhere ทำให้รูปแบบการทำงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงไป หลายองค์กรย้ายแอปพลิเคชันและเซอร์วิสต่างๆ จาก On-premises ขึ้นสู่ Cloud มากขึ้น ส่งผลให้โมเดลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบเดิมที่เน้นการปกป้อง Infrastructure ภายในองค์กรเป็นหลักไม่สามารถคุ้มครองผู้ใช้และข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่บน Cloud ได้อีกต่อไป ก่อให้เกิดโมเดลการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบใหม่ที่เรียกว่า Secure Access Service Edge (SASE)

ภายใน Webinar นี้ ท่านจะได้ทำความรู้จักกับแนวคิด Secure Access Service Edge (SASE) และการผสานโมเดล Zero Trust Security เข้าไปเพื่อยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบน Cloud ไปอีกขั้น รวมไปถึงประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • เพิ่ม Productivity ให้แก่ผู้ใช้ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัย
  • เปลี่ยนเทคโนโลยี VPN แบบเก่าที่ราคาสูงไปสู่เทคโนโลยีใหม่ที่ดียิ่งกว่า
  • ปกป้องระบบเครือข่ายภายในจากอุปกรณ์ ผู้ใช้ และ Wi-Fi ที่ถูกแฮ็ก
  • ยกระดับด้าน Visibility & Control เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ

กด Interested หรือ Going เพื่อติดตามอัปเดตและรับการแจ้งเตือนบน Facebook Event: https://www.facebook.com/events/134751158454762/

from:https://www.techtalkthai.com/forcepoint-webinar-zero-trust-with-sase/

สรุปงานสัมมนา Surviving Cyber Next Normal ประจำปี 2020 โดย Bay Computing

Bay Computing ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาด้านระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ชื่อดัง จัดงานสัมมนา Bay Cybersecurity Day 2020 ภายใต้ธีม Surviving Cyber Next Normal เพื่ออัปเดตแนวโน้มด้านภัยคุกคามไซเบอร์ล่าสุด รวมไปถึงความท้าทายและการปรับตัวของภาคธุรกิจ พร้อมโซลูชันจากบริษัทชั้นนำด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

Cyber Next Normal เป็นอย่างไร องค์กรต้องปรับตัวอย่างไร

คุณอวิรุทธ์ เลี้ยงศิริ ประธานกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีจาก Bay Computing ได้ขึ้นบรรยายในเซสชัน Keynote อธิบายถึงลักษณะของ Cyber Next Normal หลังจากเกิดเหตุ COVID-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก จนส่งผลให้การทำงานจากภายนอกออฟฟิสหรือจากที่บ้านเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรยอมรับได้ การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดช่องโหว่และภัยคุกคามแบบใหม่ การปกป้องพนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรจากภัยคุกคามไซเบอร์ และการคุ้มครองข้อมูลขององค์กรไม่ให้รั่วไหลออกไปกลายเป็นความท้าทายใหม่ที่ทุกองค์กรต้องเผชิญ นอกจากนี้ สำหรับประเทศไทย หลังจากที่มีการออก พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาแล้ว องค์กรและหน่วยงานในทุกอุตสาหกรรมจะถูกบังคับใช้กฏหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทุกองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งเหล่านี้ การเพิกเฉยอาจก่อให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวงตามมา ไม่ว่าจะเป็นการถูกโจมตีไซเบอร์ หรือถูกลงโทษจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

“รายงานจาก Gartner คาดการณ์ว่า อาชญากรรมไซเบอร์ในปี 2021 จะสร้างความเสียหายสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อมีการใช้ระบบ Cloud เพิ่มมากขึ้น ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายออกไป การใช้สถาปัตยกรรมแบบใหม่สำหรับ Serverless และ Modern Apps ทำให้องค์กรต้องเปลี่ยนแนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยเสียใหม่ ทำอย่างไรจึงจะมี Business Continuity และปกป้ององค์กร รวมไปถึงลูกค้าของตนได้ นี่คือสิ่งที่ CISO ต้องเน้นย้ำ” — คุณอวิรุทธ์กล่าว

สำหรับการปรับตัวขององค์กรในไปสู่ Cyber Next Normal นั้น คุณอวิรุทธ์ แนะนำให้โฟกัสที่ 5 ประเด็นดังต่อไปนี้

  • Automation – คนไม่สามารถรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้ทันอีกต่อไป จำเป็นต้องมีระบบ Automation เข้ามาช่วย
  • Identity – การระบุ ยืนยัน และควบคุมตัวตนของพนักงานเป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องผู้ใช้ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
  • Visibility – องค์กรไม่สามารถปกป้องและคุ้มครองสิ่งที่มองไม่เห็นได้
  • Intelligence – การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รู้จักภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว ย่อมสร้างความได้เปรียบในการรับมือ
  • Data Protection – Encryption, Anonymous และ Tokenization เป็น 3 เทคนิคสำคัญในการปกป้องข้อมูล และที่สำคัญคือควรทำให้รู้สึกว่าข้อมูลขององค์กรมีมูลค่าน้อย จะได้ลดการตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์

สุดท้าย คุณอวิรุทธ์ได้แนะนำคีย์เวิร์ดของเทคโนโลยีที่ควรจับตามอง ได้แก่ EDR, MDR, TI, TIP, NTA, NetFlow, Identity, MFA, SSO, UEBA, MSSP, SIEM, SOAR, Zero Trust, BYOK, Encryption, SASE และ CASB

สรุปแนวโน้มและเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก

นอกจากการอัปเดตแนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในยุค New Normal จากทาง Bay Computing แล้ว ภายในงาน Bay Cybersecurity Day 2020 ยังมีการนำเสนอเสนอโซลูชันและแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจโดยเหล่า Vendors ชั้นนำระดับโลกอีกด้วย ได้แก่

Forcepoint: A Guide to Identity and Safeguarding Your Privacy Data

คุณ Chatkul Sopanagkul, Regional Manager TH & Indochina จาก Forcepoint ระบุว่า ในยุค New Normal นี้ หลายองค์กรหันไปใช้ Cloud และ IoT มากขึ้น ส่งผลให้ข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บบน Data Center อีกต่อไป การปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอกต้องเปลี่ยนจากการวางมาตรการล้อมกรอบ Data Center ไปเป็นการล้อมกรอบผู้ใช้และอุปกรณ์ของผู้ใช้ในทุกๆ ที่แทน

Forcepoint ได้นำเสนอโซลูชันสำหรับการปกป้องข้อมูลในยุค New Normal ที่พร้อมปรับตัวให้สอดคล้องกับความเสี่ยง ณ ขณะนั้น และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 3 โซลูชัน ได้แก่

  • Dynamic Edge Protection: คุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในระดับ Infrastructure ได้แก่ Web Security, Email Security, Enterprise Firewall & SD-WAN, CASB และ SASE ใหม่ล่าสุด
  • Dynamic Data Protection: ป้องกันข้อมูลสำคัญและข้อมูลส่วนบุคคลทั้งใน Data Center และบน Cloud ไม่ให้รั่วไหลสู่ภายนอกด้วนนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยแบบไดนามิก
  • Dynamic User Protection: วิเคราะห์และเฝ้าระวังพฤติกรรมของผู้ใช้ในระดับ Endpoint อย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับนโยบายควบคุมตามระดับความเสี่ยงโดยอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้ก่อเหตุที่ละเมิดนโยบายขององค์กร

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.forcepoint.com/

FireEye: Security Effectiveness Strategies

ไตรมาสที่ผ่านมา FireEye ได้ออกรายงาน Mandiant Validation Effectiveness Report สำหรับชี้วัดประสิทธิผลของมาตรการควบคุม (Security Controls) ขององค์กรทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยรวม 123 รายการจาก Fortune 1000 รวม 100 บริษัท ครอบคลุม 11 อุตสาหกรรม ได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจดังนี้

  • มีเพียง 1 ใน 3 ของการโจมตีเท่านั้นที่บริษัทสามารถป้องกัน (Prevent) ได้ ในขณะที่มีเพียง 1 ใน 4 ของการโจมตีที่ถูกตรวจจับ (Detect) ได้
  • การแจ้งเตือนที่บริษัทได้รับจาก SIEM มีเพียง 9% ของการโจมตีทั้งหมด
  • มีการโจมตีที่หลุดผ่านมาตรการควบคุมเข้ามาได้สูงถึง 53%
  • มากกว่า 50% ของเกือบทุกขั้นตอนของ Cyber Kill Chaine ไม่สามารถตรวจจับได้
  • 67% ของเหตุ Data Breaches ไม่สามารถตรวจจับได้ โดยทั่วไปมาสาเหตุมาจากการไม่ทราบว่ามาตรการควบคุมมีช่องโหว่ การขาดความสามารถในการตรวจสอบทราฟฟิกที่เข้ารหัส การวางมาตรการควบคุมผิดพลาด และการมีฐานข้อมูลการโจมตีไม่อัปเดตล่าสุด

ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่องค์กรควรพิจารณา คือ มาตรการควบคุมที่ใช้งานอยู่นั้น มีประสิทธิผลในการป้องกันจริงหรือไม่ และสามารถชี้วัดผลได้อย่างไร เพื่อให้ได้คำตอบของคำถามที่ว่า องค์กรของเรามั่นคงปลอดภัยหรือไม่

FireEye ได้นำเสนอโซลูชัน Security Validation Program เพื่อตรวจสอบว่ามาตรการควบคุมที่ใช้งานอยู่ได้ผลดีหรือไม่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. Threat Actor Assurance: ค้นหาว่าแฮ็กเกอร์ที่พุ่งโจมตีองค์กรหรืออุตสาหกรรมคือใคร ใช้เทคนิคอะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร
  2.  Framework Assessment: นำ Framework ต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการชี้วัดประสิทธิผล เช่น MITRE ATT&CK และ NIST
  3. Security Infrastructure Health: ตรวจสอบว่ามาตรการควบคุมต่างๆ มีการกำหนดนโยบายและตั้งค่าอย่างถูกต้อง สามารถใช้รับมือกับภัยคุกคาม ณ ปัจจุบันได้ผลจริง

นอกจากนี้ ควรนำ Threat Intelligence เข้ามาใช้กับทั้ง 3 ขั้นตอนเพื่อให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.fireeye.com/mandiant/security-validation.html

Splunk: Battle the Breach

คุณ Katipong Sirisawatdi, Senioe Sales Engineer จาก Splunk ระบุว่า ปัจจุบันนี้ องค์กรมีการนำโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยเข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การติดตามและเฝ้าระวังภัยคุกคามทำได้ลำบาก เพราะต้องคอยสับเปลี่ยนหน้าจอไปมา ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อมีโซลูชันมากขึ้น การแจ้งเตือนที่เกิดจากแต่ละอุปกรณ์ก็จะมากขึ้นตาม การจัดอันดับความสำคัญของเหตุการณ์ที่ต้องแก้ไขจึงเป็นเรื่องท้าทายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การกำหนด Rule/Policy แบบตายตัวเริ่มไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับภัยคุกคามอีกต่อไป เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้และองค์กรเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ การตรวจจับและวิเคราะห์พฤติกรรมจึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์กรควรให้ความสนใจ

เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานจากศูนย์กลาง (Centralized Operations) อย่างแท้จริง Splunk จึงได้ผสานโซลูชัน SOAR และ SIEM เข้าเป็นแพลตฟอร์มเดียวกัน เมื่อมีข้อมูลอัปเดตเข้ามา ทั้ง SOAR และ SIEM จะรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที และเมื่อ SOAR เข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหานั้นๆ ก็จะถูกอัปเดตไปที่ SIEM ด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือ Splunk สามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบใดก็ได้ แล้วนำมาวิเคราะห์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ เพื่อค้นหาเหตุผิดปกติและนำเสนอข้อมูลบริบทได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยี Machine Learning เข้ามาใช้เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ใช้อีกด้วย สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มด้านความมั่นคงปลอดภัยอื่นๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ ช่วยให้สามารถทำ Incident Response ได้อย่างบูรณาการและอัตโนมัติ

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.splunk.com/en_us/cyber-security.html

Imperva: WAF and DB Firewall Market is Changing

แนวโน้มการให้บริการ Web Apps เปลี่ยนไปจากเดิม หลายองค์กรย้ายระบบ Web Apps ขึ้นสู่ Cloud มากขึ้นเรื่อยๆ Imperva ในฐานะผู้ให้บริการ Web & Data Security ชั้นนำ จึงให้บริการ Web Applications Firewall ที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่อง Security, Availability และ Performance ทั้งยังมีบริการ DDoS Protection ช่วยให้ Web Apps ของลูกค้าพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และมั่นคงปลอดภัย

ในส่วนของ Data Security นั้น Imperva ให้บริการ Database Firewall สำหรับปกป้องข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจดิจิทัล รวมไปถึงการทำ Database Auditing ช่วยให้สามารถติดตามและเฝ้าระวังการกระทำของผู้ใช้ย้อนหลังได้ ตอบโจทย์ความต้องการของ PDPA นอกจากนี้ Imperva ยังได้ผสานเทคโนโลยี AI และ ML ซึ่งจะเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก Log และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ แล้วนำข้อมูลเหตุการณ์มาแสดงผลให้รูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย ครอบคลุม ยกระดับประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.imperva.com/

Menlo Security: Security without Compromise

Menlo Security เป็นบริษัท Startup ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จากสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาที่ค้างคาในโลกไซเบอร์มาอย่างยาวนาน นั่นก็คือ การติดมัลแวร์ ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีสำหรับป้องกันมากมาย เช่น Firewall, IPS, Antivirus, Sandboxing แต่แฮ็กเกอร์ก็พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อหลบหลีกการตรวจจับเช่นกัน กลายเป็นเกมแมวจับหนูที่ไม่มีวันจบสิ้น

Menlo Security จึงเปลี่ยนแนวคิดในการป้องกันมัลแวร์จากการคอยตรวจจับและบล็อก ไปเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสติดต่อกับมัลแวร์แทน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใช้มักติดมัลแวร์ผ่านทางเว็บไซต์เป็นหลัก แทนที่จะดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เข้าถึงมารันสคริปต์และแสดงผลบนเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะมีการดึงมัลแวร์ติดเข้ามาด้วย Menlo Security ใช้เทคโนโลยี Isolation เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเว็บ โดยทำหน้าที่ดึงข้อมูลและรันสคริปต์ให้แทน จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้มาสร้างเป็นเว็บไซต์ใหม่ที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ต้นฉบับทุกประการ แล้วส่งไปแสดงผลที่ผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้จะไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังท่องเว็บเสมือนที่ Menlo Security จำลองขึ้นมาอยู่ ด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้จะไม่ได้ติดต่อเว็บไซต์โดยตรง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่มัลแวร์จะเข้ามาโจมตีถึงผู้ใช้ได้

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.menlosecurity.com/isolation-platform

Palo Alto Networks: New Way of Work, Life and Business with Digital Transformation

ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 แพร่ระบาด หลายบริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานจากภายนอกสถานที่หรือ Work from Home ได้ รวมไปถึงมีการย้ายแอปพลิเคชันขึ้นสู่ Cloud เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง อย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาเทคโนโลยี VPN แบบดั้งเดิมที่พนักงานทุกคนต้องเชื่อมต่อกลับมาที่สำนักงานก่อน เพื่อบังคับใช้นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัย แล้วค่อยอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรภายในหรือออกอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ Cloud Apps เมื่อทุกคนต้องเชื่อมต่อกลับมาแล้วค่อยออกอินเทอร์เน็ตจากที่สำนักงาน อาจเกิดปัญหาแย่งกันใช้ลิงค์อินเทอร์เน็ตจนการทำงานหรือการใช้แอปพลิเคชันเกิดความล่าช้าได้

Palo Alto Networks จึงได้นำเสนอโซลูชัน Prisma Access ซึ่งเป็นการย้าย Network & Security Services ขึ้นไปอยู่บนอินเทอร์เน็ตแทน ส่งผลให้พนักงานไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกลับมาที่สำนักงาน แต่สามารถออกอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้งาน Cloud Apps ได้ทันที ที่สำคัญคือการเชื่อมต่อยังคงเป็นในรูปของ Tunnel มีความมั่นคงปลอดภัย และถูกบังคับใช้นโยบายทั้งหมดเช่นเดียวกับการเชื่อมต่อผ่าน VPN สำหรับการเชื่อมต่อกลับมายังสำนักงาน จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพนักงานจำเป็นต้องเข้าถึงทรัพยากรภายในเท่านั้น ช่วยประหยัด Bandwidth ของลิงค์อินเทอร์เน็ตลงอีกด้วย

แนวคิดการให้บริการ Network & Security Services บนอินเทอร์เน็ตแบบนี้ถูกเรียกว่า “Secure Access Service Edge (SASE)” 

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.paloaltonetworks.com/prisma/access

Thales: Thales CipherTrust Data Security Platform Global Launch

ในโลกยุคดิจิทัล ข้อมูลมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และกระจัดกระจายไปอยู่ในทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็น Data Center หรือบน Cloud ส่งผลให้การควบคุมไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปสู่ภายนอกทำได้ยาก และเมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เช่น GDPR และ PDPA ทำให้องค์กรที่วางมาตรการคุ้มครองข้อมูลไม่ดีเพียงพอต้องเสี่ยงถูกฟ้องร้องจนต้องชดใช้ค่าเสียหายหรือถูกจำคุกอีกด้วย

Thales ในฐานะผู้นำโซลูชัน HSM จึงได้นำเสนอ CipherTrust Data Security Platform ซึ่งเป็นโซลูชันการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลสามารถปกป้องตัวมันเอง แม้จะถูกขโมยออกไป บุคคลก็ไม่สามารถอ่านหรือเข้าใจได้ CipherTrust ประกอบด้วยฟีเจอร์สำคัญ 3 ประการ คือ

  • Discover: ค้นหาและจำแนกประเภทของข้อมูลในองค์กร
  • Protect: เข้ารหัส (Encryption) หรือทำ Tokenization บนข้อมูลที่สำคัญหรือข้อมูลส่วนบุคคล
  • Control: ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างมั่นคงปลอดภัยและบริหารจัดการกุญแจที่ใช้เข้ารหัส

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://cpl.thalesgroup.com/encryption/data-security-platform

HPE Aruba: Aruba ESP. The Industry’s First Cloud-Native Platform Built for the Intelligent Edge

เมื่อต้นปี 2020 ที่ผ่านมา HPE Aruba ได้ประกาศโครงสร้างระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่ เรียกว่า Edge Services Platform ซึ่งมีจุดเด่นที่การผสานเครือข่าย Wired และ Wireless ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เฝ้าระวังและบริหารจัดการได้ง่ายจากศูนย์กลาง และมีความมั่นคงปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเทคโนโลยี AI เข้าไปเพื่อเรียนรู้การใช้งานบนระบบเครือข่ายและทำการปรับจูนประสิทธิภาพให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ระบบเครือข่ายทำงานได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา

Edge Services Platform ยังได้ยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนโครงสร้างระบบเครือข่ายไปอีกขั้น ด้วยการนำโมเดล Zero Trust Securiy เข้ามาใช้งาน เพื่อพิสูจน์ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามายังระบบเครือข่ายมีความเสี่ยงต่ำ และกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงให้เหมาะสมกับประเภทผู้ใช้ รวมไปถึงคอยเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดปกติ พร้อมตอบสนองเมื่อพบภัยคุกคามโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ Edge Services Platform ยังสามารถผสานการทำงานร่วมกับโซลูชันรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายนอกได้อย่างไร้รอยต่อผ่านทาง API อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.arubanetworks.com/solutions/aruba-esp/

เกี่ยวกับ Bay Computing

Bay Computing เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และให้บริการโซลูชันแบบครบวงจร (End-to-End Turnkey Solutions) ได้แก่ Cyber Security Operation Solution, Endpoint Security and Management, Network & Network Security Solutions, Data Security Solution, Infrastructure Solution and Advisory Service ตลอดจนการพัฒนาโซลูชัน Cybersecurity ที่ครอบคลุมทั้งการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงกระบวนการนำไปใช้ และทักษะของบุคลากรในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง บำรุงรักษา ปฏิบัติการ ตลอดจนการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จสูงสุด

ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน Bay Computing มีผลิตภัณฑ์ที่รองรับความต้องการเพื่อให้เป้าหมายทางธุรกิจ บรรลุผลขององค์กรทุกระดับ ด้วยทีมงานมืออาชีพมากกว่า 100 คนที่มีความพร้อมและเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายเทคโนโลยีและมีความชำนาญมากกว่า 24 ปี จึงได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำมากมาย อาทิ ผู้ให้บริการระบบสื่อสารและโทรคมนาคม, สถาบันการเงิน, บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์, หน่วยงานราชการ, หน่วยงานความมั่นคง, รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาชั้นนำ ในการส่งมอบโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กรและธุรกิจของคุณ

from:https://www.techtalkthai.com/surviving-cyber-next-normal-2020-by-bay-computing/

[Video Webinar] ยกระดับการคุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในโลกที่ไร้ขอบเขตโดย Forcepoint

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย Forcepoint Webinar เรื่อง “ยกระดับการคุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในโลกที่ไร้ขอบเขต” พร้อมเรียนรู้หลักการคุ้มครองข้อมูลที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและพร้อมปรับตัวตามระดับความเสี่ยง รวมไปถึงโซลูชัน Dynamic User Protection ใหม่ล่าสุดจาก Forcepoint ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

ผู้บรรยาย: Chatkul Sopanangkul, Regional Manager จาก Forcepoint Thailand & Indochina

ทีมรักษาความมั่นคงปลอดภัยกำลังเผชิญหน้ากับการเร่งทำ Digital Transformation และการเปลี่ยนไปทำงานแบบ Remote Working ขององค์กร กระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลแบบดั้งเดิมเริ่มไร้ประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ โซลูชันแบบเก่าๆ กลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ แถมมักจะล้มเหลวในการป้องกันการแทรกซึมเพื่อขโมยข้อมูล เราจำเป็นต้องมีกลไกการป้องกันข้อมูลแบบใหม่ที่ช่วยให้เครื่องมืออย่าง DLP, Encryption และ Tokenization สามารถตอบสนองต่อความต้องการในยุคของ Cloud ที่ข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ในทุกหนทุกแห่ง

จากรายงานของ Gartner พบว่า 75% ของเหตุ Data Breach เกิดจากพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงภายใน หรือจากการเข้าถึงโดยมิชอบ ภัยคุกคามจากภายใน (Insider Threats) กลายเป็นประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยที่องค์กรทั่วโลกจำเป็นต้องตระหนักถึง

ภายใน Webinar นี้ ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคุ้มครองข้อมูลที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และพร้อมปรับตัวตามระดับความเสี่ยง แทนที่จะติดตามเหตุการณ์และการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้นแบบเดิมๆ นอกจากนี้ท่านจะได้รู้จักกับ Dynamic User Protection (DUP) โซลูชันสำหรับปกป้องผู้ใช้แบบ Cloud-based ล่าสุดจาก Forcepoint ที่จะคอยประเมินการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และข้อมูลตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด เข้าถึงโดยมิชอบ หรือข้อมูลรั่วไหลสู่ภายนอก

from:https://www.techtalkthai.com/video-webinar-elevating-your-user-and-data-security-by-forcepoint/

Forcepoint Webinar: ยกระดับการคุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในโลกที่ไร้ขอบเขต

Forcepoint ขอเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT Security เข้าฟังบรรยาย Forcepoint Webinar เรื่อง “ยกระดับการคุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในโลกที่ไร้ขอบเขต” พร้อมเรียนรู้หลักการคุ้มครองข้อมูลที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและพร้อมปรับตัวตามระดับความเสี่ยง รวมไปถึงโซลูชัน Dynamic User Protection ใหม่ล่าสุดจาก Forcepoint ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2020 เวลา 10:30 ผ่าน Live Webinar ฟรี

รายละเอียดการบรรยาย

หัวข้อ: ยกระดับการคุ้มครองข้อมูลและผู้ใช้ในโลกที่ไร้ขอบเขต
ผู้บรรยาย: Chatkul Sopanangkul, Regional Manager จาก Forcepoint Thailand & Indochina
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2020 เวลา 10:30 – 12:00 น.
ช่องทางการบรรยาย: Online Web Conference
จำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุด: 500 คน
ภาษา: ไทย
ลิงค์ลงทะเบียน: https://zoom.us/webinar/register/WN_djmZ6-orRSqgKIq5AZf-LQ

ทีมรักษาความมั่นคงปลอดภัยกำลังเผชิญหน้ากับการเร่งทำ Digital Transformation และการเปลี่ยนไปทำงานแบบ Remote Working ขององค์กร กระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลแบบดั้งเดิมเริ่มไร้ประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ โซลูชันแบบเก่าๆ กลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ แถมมักจะล้มเหลวในการป้องกันการแทรกซึมเพื่อขโมยข้อมูล เราจำเป็นต้องมีกลไกการป้องกันข้อมูลแบบใหม่ที่ช่วยให้เครื่องมืออย่าง DLP, Encryption และ Tokenization สามารถตอบสนองต่อความต้องการในยุคของ Cloud ที่ข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ในทุกหนทุกแห่ง

จากรายงานของ Gartner พบว่า 75% ของเหตุ Data Breach เกิดจากพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงภายใน หรือจากการเข้าถึงโดยมิชอบ ภัยคุกคามจากภายใน (Insider Threats) กลายเป็นประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยที่องค์กรทั่วโลกจำเป็นต้องตระหนักถึง

ภายใน Webinar นี้ ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคุ้มครองข้อมูลที่ยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และพร้อมปรับตัวตามระดับความเสี่ยง แทนที่จะติดตามเหตุการณ์และการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้นแบบเดิมๆ นอกจากนี้ท่านจะได้รู้จักกับ Dynamic User Protection (DUP) โซลูชันสำหรับปกป้องผู้ใช้แบบ Cloud-based ล่าสุดจาก Forcepoint ที่จะคอยประเมินการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และข้อมูลตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด เข้าถึงโดยมิชอบ หรือข้อมูลรั่วไหลสู่ภายนอก

กด Interested หรือ Going เพื่อติดตามอัปเดตและรับการแจ้งเตือนบน Facebook Event: https://www.facebook.com/events/704255533507033/

from:https://www.techtalkthai.com/forcepoint-webinar-elevating-your-user-and-data-security/