คลังเก็บป้ายกำกับ: AMAZON_CLOUDFRONT

AWS เพิ่มปริมาณ Data Transfer สำหรับ Free Tier ใหม่ สูงสุด 100GB ต่อเดือน

Amazon Web Services ได้ประกาศเพิ่มปริมาณ Data Transfer สำหรับ Free Tier สูงสุด 100GB ต่อเดือน และสำหรับ Amazon CloudFront 1TB ต่อเดือน

Credit: AWS

AWS ได้ดำเนินโครงการลดราคาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เพิ่มปริมาณ Data Transfer สำหรับผู้ใช้งานแบบ Free Tier ได้สูงสุด 100GB ต่อเดือน ต่อ Region แบบไม่มีค่าใช้จ่าย จากเดิมที่ให้สูงสุดที่ 1GB ต่อเดือน โดยบริการนี้จะรวม Amazon EC2, Amazon S3 และ Elastic Load Balancing นอกจากนี้ยังได้เพิ่มปริมาณ Data Transfer สำหรับ Amazon CloudFront ได้สูงสุด 1TB ต่อเดือน จากเดิมที่ให้สูงสุด 50GB ต่อเดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีจำกัดระยะเวลา 12 เดือนหลังจากสมัครเหมือนเดิมแล้ว โดยมีการปรับ HTTP และ HTTPS request สูงสุดจาก 2,000,000 เป็น 10,000,000 request อีกด้วย

การปรับราคาในครั้งนี้มีผลเริ่มต้นวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ผู้ใช้งาน Free Tier จะได้รับสิทธินี้แบบอัตโนมัติ ปัจจุบัน AWS มีบริการมากกว่า 100 ตัวที่สามารถใช้านได้แบบบ Free Tier อย่างไรก็ตามการปรับราคาในครั้งนี้ ผู้ที่ใช้ AWS GovCloud และ AWS China Region จะไม่ได้รับสิทธิ

ที่มา: https://aws.amazon.com/blogs/aws/aws-free-tier-data-transfer-expansion-100-gb-from-regions-and-1-tb-from-amazon-cloudfront-per-month/

from:https://www.techtalkthai.com/aws-expands-free-tier-data-transfer-to-100-gb-per-month/

AWS Webinar: เรียนรู้วิธีใช้ Amazon CloudFront และ AWS Edge Locations ในการส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในประเทศไทย อย่างรวดเร็ว และมีความปลอดภัย [18 พ.ย. 2020 เวลา 16.00น.]

AWS ขอเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคที่กำลังพิจารณา ปรับใช้แอปพลิเคชัน หรือรับผิดชอบการส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้ในประเทศไทย; ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT ที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติการระบบรักษาความปลอดภัยในโครงสร้างของคลาวด์; CTOs, CSO และผู้บริหาร/ดำเนินการด้านเทคนิคที่สนใจในระบบการส่งข้อมูลของ Web Content, การเติบโตของ API และระบบรักษาความปลอดภัย เข้าร่วม Webinar เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้ Amazon CloudFront และ AWS Edge Locations ในวันที่ 18 พ.ย. 2020 เวลา 16.00น. โดยมีรายละเอียดและวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานดังนี้

AWS Webinar: เรียนรู้วิธีใช้ Amazon CloudFront และ AWS Edge Locations ในการส่งข้อมูลให้กับผู้ใช้งานในประเทศไทย อย่างรวดเร็ว และมีความปลอดภัย

วันที่: 18 พ.ย. 2563
เวลา: 16:00 น. – 17:00 น. (GMT +7)
ระยะเวลาการสัมมนา: 60 นาที (45 นาทีสำหรับการนำเสนอ, ช่วงถาม – ตอบ 15 นาที)
ผู้บรรยาย: Surawut Phornthabthong, Principal Solutions Architect, AWS

คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Amazon CloudFront ซึ่งเป็น Content Delivery Network (CDN) ที่มีความปลอดภัยสูงของ AWS

CloudFront สามารถส่งสารได้ทั้งข้อมูล, วีดีโอ, แอปพลิเคชันและ API ให้แก่ลูกค้าทั่วโลกด้วยเครือข่ายที่มี Latency ต่ำและความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูง

ที่เหมาะแก่การใช้งานสำหรับนักพัฒนา โดยการเชื่อมต่อตรงกับระบบที่เป็นโครงสร้างหลักของ AWS

CloudFront ยังช่วยเชื่อมต่อกับบริการต่าง ๆ ของ AWS ได้อย่างราบรื่น เช่น Amazon S3, Amazon EC2, Elastic Load Balancer, AWS Web Application Firewall และ AWS Shield นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ Lambda@Edge เพื่อให้การทำงานของ Lambda Function เกิดขึ้นใกล้กับผู้ใช้งาน Application ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพ และ ให้การตอบสนองที่รวดเร็ว

ในการสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ คุณจะได้พบกับฟีเจอร์ล่าสุดจาก Amazon CloudFront, เรียนรู้เกี่ยวกับการขยายตัวของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวิธีการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้เพื่อยกระดับความปลอดภัยของ Web Application และช่วยลด Latency Timeไปพร้อม ๆ กัน คุณจะได้รับคำแนะนำตั้งแต่ เริ่มใช้งาน Amazon CloudFront, การปรับปรุงประสิทธิภาพ และแนวทางการปฏิบัติที่เพื่อความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน

กำหนดการ

16:00 – 16:45 การสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการส่งข้อมูลและความปลอดภัยของ Amazon CloudFront – ประเทศไทย
16:45 – 17:00 Q&A

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันทีที่ https://pages.awscloud.com/cloudfront-thai-edge-location-webinar.html?sc_channel=el&sc_campaign=apac_pm_webinar_cloudfront-thai-edge-webinar_20201118_7010z000001m71w&sc_publisher=ttt&sc_country=th&sc_geo=apac&sc_category=cloudfront&sc_outcome=field&trk=sl_ttt_thaiedgewebinar2

from:https://www.techtalkthai.com/aws-webinar-amazon-cloudfront-and-aws-edge-locations/

Amazon CloudFront ประกาศรองรับ WebSocket Protocol แล้ว

AWS ได้ประกาศรองรับการสนับสนุน WebSocket Protocol บน Amazon CloudFront แล้วอย่างเป็นทางการ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง

 

Credit: AWS

 

WebSocket คือ Protocol สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ Real-time Communication ที่สื่อสารกันได้สองทางระหว่าง Client อย่างเช่น Browser และ Server บน TCP ที่เปิดค้างไว้ทำให้ไม่ต้องสร้าง Connection ใหม่กันทุกครั้งที่ต้องการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ซึ่ง WebSocket นี้มักถูกใช้งานใน Application ประเภท Chat, Collaboration, Multiplayer Game และระบบ Financial Trading

การสนับสนุน WebSocket ใน CloudFront นี้จะทำให้นักพัฒนาที่ใช้ AWS เป็นหลักสามารถรวมการรับส่งเนื้อหาทั้งแบบ Static และ Dynamic มายัง CloudFront ทั้หมดได้ และให้ CloudFront ช่วยทำ SSL/TLS Handshake ได้อย่างรวดเร็วขึ้นจาก Data Center ที่อยู่ใกล้ผู้ใช้งานมากที่สุด อีกทั้งยังสามารถเสริมการป้องกัน DDoS ได้ด้วยการใช้ AWS Shield และ AWS WAF

Amazon CloudFront นี้เปิดการสนับสนุน WebSocket ให้ใช้งานได้แบบ Default โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและไม่ต้องตั้งค่าเพิ่มเติมใดๆ ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่่ https://docs.aws.amazon.com/AmazonCloudFront/latest/DeveloperGuide/distribution-working-with.websockets.html

 

ที่มา: https://aws.amazon.com/about-aws/whats-new/2018/11/amazon-cloudfront-announces-support-for-the-websocket-protocol/

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-cloudfront-now-supports-websocket-protocol/

Amazon Web Services รองรับ HTTP/2, SDK for C++ และ LB/HA Reader Endpoint บน Amazon Aurora แล้ว

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง Amazon Web Services ได้เปิดตัว 3 ฟีเจอร์ใหม่สำคัญ ดังนี้

aws-600x300-banner-2

  • AWS SDK for C++ รุ่น 1.0 พร้อมให้ใช้งานได้แบบ Production แล้ว รวมถึงมีการเพิ่มเติม High-Level API เพื่อให้การใช้งาน C++ นั้นง่ายและปลอดภัยขึ้นไปในเวลาเดียวกัน https://aws.amazon.com/blogs/aws/aws-sdk-for-c-now-ready-for-production-use/
  • Amazon CloudFront รองรับการใช้งาน HTTP/2 แล้ว ทำให้ใช้งาน TCP Connection ได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และทำให้เว็บทำงานได้เร็วขึ้น https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-http2-support-for-cloudfront/
  • Reader Endpoint for Amazon Aurora ตัวใหม่ รองรับการทำ Database Load Balancing กรณี Read ได้จาก Cluster และสามารถทำ Aurora หลายๆ Replica บนต่าง Availability Zones ได้ โดย Endpoint ใหม่นี้จะทำ Failover ให้โดยอัตโนมัติ https://aws.amazon.com/blogs/aws/new-reader-endpoint-for-amazon-aurora-load-balancing-higher-availability/

บทความโดย http://www.awsusergroup.org/ และ https://www.techtalkthai.com ส่วนผู้ที่อยากศึกษาเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amazon Web Services ในไทยสามารถเข้าร่วมกลุ่มของ Bangkok AWS User Group ได้ทันทีที่ https://www.facebook.com/groups/awsusergroup/

 

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-web-services-supports-http2-sdk-for-c-lb-ha-reader-endpoint-on-amazon-aurora/

Internet of Beer: ทำความรู้จักกับ Simple Beer Service บน Amazon AWS

simple_beer_service_1

Internet of Things และ Cloud Computing ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมและประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้แบบเรียลไทม์ บทความนี้ทีมงาน TechTalkThai ขอแนะนำโปรเจ็คท์สนุกๆ ที่นำอุปกรณ์ IoT มาเก็บข้อมูลเบียร์พร้อมส่งไปประมวลผลบน Amazon AWS เพื่อให้แสดงสถานะต่างๆ ของเบียร์ เช่น การไหล อุณหภูมิ ความชื้น และระดับของเบียร์ได้อย่างเรียลไทม์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกคนจะได้ดื่มเบียร์ที่รสชาติดีที่สุด และไม่มี Down-time สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดื่มเบียร์

ไอเดียเบื้องต้น

หลักการง่ายมาก คือ Raspberry Pi จะถูกติดตั้งเข้ากับตู้กดเบียร์ เครื่องมือวัดอัตราการไหล (Flow Meter) จะทำการการตรวจจับการรินเบียร์ เช่น อัตราการไหล และอุณหภูมิ ส่งไปยัง Amazon API Gateway จากนั้นทำการประมวลผลบน Cloud แล้วแสดงผลบนหน้า Web Page เรียกบริการทั้งหมดนี้ว่า “Simple Beer Service”

สถาปัตยกรรมของ Simple Beer Service

ภาพด้านล่างแสดงสถาปัตยกรรมของ Simple Beer Service ซึ่งเป็นตู้กดเบียร์ที่เชื่อมต่อกับระบบ Cloud โดยส่งข้อมูลเกี่ยวกับการรินเบียร์ไปยัง Amazon API Gateway จากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลภายหลังโดยใช้ Amazon Elastic MapReduce และ Amazon Redshift ส่วนข้อมูลการรินเบียร์แต่ละครั้งสามารถแสดงผลได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอพพลิเคชันที่พัฒนาโดย JavaScript บน Amazon S3

simple_beer_service_2

ขั้นตอนการทำงานโดยละเอียด

Simple Beer Service จะใช้ Raspberry Pi 1 Model B+ ที่มีการติดตั้งเซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับอัตราการไหลของเบียร์ อุณหภูมิ เสียง และอื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลของตู้กดเบียร์ จากนั้นส่งข้อมูลไปยัง Amazon API Gateway ผ่าน HTTPS เมื่อ API Gateway ได้รับข้อมูลจะไปกระตุ้นให้ฟังก์ชัน AWS Lambda ทำงานเพื่อประมวลผลข้อมูล โดยจะแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือ Batch และ Speed

  • Speed Layer: ข้อมูลเบียร์จะถูกส่งไปเก็บไว้ใน Amazon DynamoDB เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
  • Batch Layer: ฟังก์ชันของ AWS Lambda จะทำงานทุกๆ 30 นาทีเพื่อโหลดข้อมูลจาก Amazon DynamoDB เข้าสู่ Amazon S3 สำหรับเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลระยะยาว โดยอาศัยการทำงานร่วมกับ Amazon Redshift และ Amazon Elastic MapReduce

simple_beer_service_3

หน้า Dashboard บน Web Page สำหรับแสดงผลแบบเรียลไทม์พัฒนาโดยใช้ JavaScript ซึ่งรันอยู่บน Amamzon S3 จากนั้นจะกระจายข้อมูลไปยังทั่วโลกผ่านทาง Amazon CloudFront เครือข่าย Content Deliver Network (CDN) ซึ่งช่วยให้สามารถรับชมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ส่วน DNS จะให้บริการผ่านทาง Amazon Route 53

simple_beer_service_4

simple_beer_service_5

ทั้งโปรเจ็คท์นี้ ลงทุนไปประมาณ $1,250 หรือประมาณ 44,000 บาท และเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนเพื่อใช้บริการ Amazon AWS ประมาณ $15 (530 บาท) ต่อเดือน ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดการติดตั้งและโปรแกรมได้ที่ GitHub

ที่มา: https://medium.com/aws-activate-startup-blog/internet-of-beer-introducing-simple-beer-service-63c987037e9e#.p5kxzds5w

from:https://www.techtalkthai.com/internet-of-beer-simple-beer-service/

Case Study: Ascend Group กับการให้บริการ Service ทั้งหมดผ่าน Amazon AWS

ascend_logo

บทความนี้เป็นบทสัมภาษณ์พิเศษของ คุณชัยวัฒน์ รัตนประทีปพร CTO บริษัท Ascend Group เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือ ไม่ว่าจะเป็นบริการ E-payment, E-commerce, Digital Media และ True Data Center เพื่อไปใช้บริการระบบ Cloud Computing Service ของ Amazon หรือ Amazon AWS อย่างเต็มรูปแบบแทน ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วย

  • ภาพรวมขององค์กร
  • ปัญหาและความท้าทาย
  • การปรับระบบไปใช้ Amazon AWS
  • ทำไมถึงเลือกใช้ Amazon AWS
  • ประโยชน์ที่ได้รับ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ระบบคลาวด์
ascend_office_1
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

ภาพรวมขององค์กร

Ascend Group เป็นบริษัทที่ Spin-off ออกมาจาก True Corporation และปัจจุบันอยู่ภายใต้ C.P. Group โดยมุ่งเน้นการทำธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเป้าหมายคือ ให้บริการโซลูชันทางด้าน Digital Infrastructure แก่ผู้ใช้บริการในเมืองไทยและสังคม AEC

Ascend Group แบ่งธุรกิจออกเป็น 4 Business Units คือ

  • E-payment ให้บริการการชำระเงินออนไลน์ คือ TrueMoney
  • E-commerce ให้บริการโซลูชันสำหรับร้านค้าออนไลน์ ได้แก่ iTrueMart และ WeLoveShopping
  • Digital Media ให้บริการโซลูชันการตลาดบนโลกออนไลน์ คือ Egg Digitial
  • Hosting Solution ให้บริการรับฝากโฮสต์และโซลูชันบนระบบคลาวด์ คือ TrueIDC Data Center

และในปีนี้ Ascend Group ก็ได้เพิ่มอีกหนึ่งโซลูชันสำหรับการทำระบบ Logistic ให้แก่ E-commerce นั่นคือ Aden

ascend_1

ปัจจุบันนี้ Ascend Group มีพนักงานประมาณ 1,200 คน และเป็นวิศวกรฝ่าย IT ประมาณ 400 คน

ปัญหาและความท้าทาย

ด้วยความต้องการที่จะให้บริการระบบ Digital Infrastructure ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า Ascend Group จึงได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆเสริมลงไปในระบบต่างๆเสมอมา ส่งผลให้มีผู้นิยมใช้บริการระบบของ Ascend Group เพิ่มมากขึ้น ความต้องการใหม่ๆก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น เหล่านี้กลายเป็นสิ่งท้าทายต่อการให้บริการธุรกิจออนไลน์ทั้งสิ้น

1. ปัญหาด้านการขยายระบบ

หลังจากที่เปิดบริการ E-commerce (iTruemart และ WeLoveShopping) พบว่ามีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่าในแต่ละปี ส่งผลให้ระบบ Infrastructure ที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถรับภาระได้ไหว การขยายระบบจำเป็นต้องลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ค่าติดตั้ง และค่าดูแลรักษา นอกจากนี้ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าจำเป็นต้องขยายระบบไปขนาดไหนจึงจะเพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต

2. ปัญหาในการตอบสนองความต้องการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เพื่อให้บริการต่างๆมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทดลองใช้อยู่ตลอดเวลา ตลอดจนมีการพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆของลูกค้า การขอ Resource ใหม่ เช่น เซิฟเวอร์สำหรับทดสอบ อุปกรณ์ด้านเน็ตเวิร์ค จำเป็นต้องยื่นเรื่องเพื่อขอใช้งาน ซึ่งบางครั้งกินเวลาถึง 2-3 เดือนเนื่องจากจำเป็นต้องจัดซื้อเข้ามาใหม่ ทำให้กระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชันเกิดการสะดุด

3. ปัญหาเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ

เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการตามมาตรฐานสากล ข้อบังคับและข้อกำหนดต่างๆจึงได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบและพัฒนาแอพพลิเคชัน เช่น ต้องมีอุปกรณ์สำรองที่พร้อมใช้งานเมื่ออุปกรณ์หลักมีปัญหา หรือการทำ DR Site เป็นต้น เหล่านี้ส่งผลให้ต้นทุนในการให้บริการเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา

ascend_office_2
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

การปรับระบบ Infrastructure ไปใช้ Amazon AWS

เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ความท้าทายต่างๆ Ascend Group ได้ศึกษาและวิเคราะห์การใช้ระบบคลาวด์ ซึ่งพบว่าช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาแอพพลิคเชัน และการบำรุงรักษาระบบ รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี จึงได้ทำการปรับระบบ Infrastructure ทั้งหมดไปใช้ Amazon AWS แทน โดยเร่ิมต้นจาก iTrueMart เป็นอันดับแรก ซึ่ง Ascend Group ได้วางแผนการปรับระบบออกเป็น 3 เฟส

เฟสที่ 1 ย้ายระบบจาก Data Center ไปยังระบบ Amazon AWS

Ascend Group เริ่มต้นด้วยการย้ายระบบ Infrastructure ทั้งหมดของ iTrueMart ไปอยู่บนระบบคลาวด์ของ Amazon แทน โดยใช้หลายบริการ ไม่ว่าจะเป็น Amazon EC2 หรือ Amazon S3 เป็นต้น ซึ่งยังคงสถาปัตยกรรมรูปแบบเดิม แต่มีการปรับแต่งระบบให้สามารถทำงานบนคลาวด์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

เฟสที่ 2 ปรับแต่งระบบบน Amazon AWS ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หลังจากย้ายระบบทั้งหมดไปไว้บนคลาวด์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Acsend Group ได้นำบริการของ Amazon หลายรายการเข้ามาปรับใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและพร้อมตอบโจทย์การทำงานของนักพัฒนาแอพพลิเคชัน เช่น

  • Firewall และ Load Balance เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความเสถียรของการใช้งาน
  • Amazon S3 เพื่อเก็บข้อมูล Static Content มากขึ้น
  • Amazon CloudFront CDN สำหรับทำ Caching และเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังลูกค้าผู้ใช้บริการ
  • Amazon Direct Connect สำหรับเชื่อมต่อ Data Center เข้ากับระบบบน Amazon AWS ได้อย่างไร้รอยต่อ

เฟสที่ 3 นำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อขยายธุรกิจ

ณ ปัจจุบันนี้ หลังจากที่ระบบทุกอย่างเสถียร ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Ascend Group ได้ทำการศึกษาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาทดลองใช้ตลอดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้พัฒนาแอพพลิเคชันและบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เป็นการขยายธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น เช่น การนำ Amazon RDS มาใช้แทน MySQL แบบ Hosting ซึ่งไม่ตอบโจทย์การทำงานของนักพัฒนาแอพพลิเคชัน การนำ Amazon DynamoDB มาใช้เป็น RDBMS รวมถึงการใช้ Amazon EMR ในการทำ Big Data โดยไม่ต้องสร้าง Hadoop Cluster เอง ทำให้สามารถเริ่มกระบวนการพัฒนาได้เร็วและลดภาระการบำรุงรักษา เป็นต้น

ในส่วนของการปรับระบบและกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับมาตรฐาน PCI-DSS สำหรับการันตีความเชื่อมั่นในการให้บริการบัตรเครดิตนั้น Ascend Group ได้ทำการศึกษาข้อกำหนดดังกล่าวและเห็นว่าการทำบนระบบเดิม (On-premise) นั้น ทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงวางแผนการทำบน Amazon AWS แทน

ascend_office_3
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

ประโยชน์ที่ได้รับ

การย้ายระบบ Infratructure ของ iTrueMart จาก Data Center ไปยังระบบ Amazon AWS ช่วยให้ทีมงานฝ่าย IT ของ Ascend Group ได้รับประโยชน์มากมาย ได้แก่

  • สามารถขยายระบบเพิ่มได้ทันทีที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเซิฟเวอร์เพียงหนึ่งเครื่อง หรือ 10 เครื่อง
  • ช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการจัดซื้อและส่งของเมื่อต้องการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่
  • นักพัฒนาแอพพลิเคชันสามารถเริ่มทำงานใหม่ได้ทันที เพียงแค่ทำการจอง Resource ของ Amazon AWS เพิ่มเติม
  • เพิ่มความยืดหยุ่นในการให้บริการ เช่น สามารถเพิ่มจำนวน Resource ในช่วงที่คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเยอะ และลด Resource ลงเมื่อกลับสู่ภาวะปกติได้ เป็นต้น
  • ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการทำระบบสำรองหรือ DR Site รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
  • ลดภาระงานของผู้ดูแลระบบ เมื่อเทียบกับระบบของ TrueMoney ที่เล็กว่าเกือบ 2 เท่าแต่ไม่ได้ใช้ระบบคลาวด์ TrueMoney ใช้ผู้ดูแลระบบมากกว่าถึง 2 เท่าตัว
  • Amazon AWS มีทีมสำหรับคอยติดตามการใช้บริการอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะคอยแจ้งเตือนเมื่อพบเหตุการณ์ผิดปกติหรือระบบถูกโจมตี

ยกตัวอย่างการใช้งานที่เห็นผลมากที่สุดคือ การตั้งระบบ iTrueMart ในประเทศฟิลิปปินส์ ทีมงาน Ascend Group ใช้เวลาเพียง 2 เดือนในการติดตั้งระบบพร้อมให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องให้พนักงานเดินทางไปยังประเทศฟิลิปปินส์เลย รวมทั้งไม่จำเป็นต้องสั่งซื้ออุปกรณ์แล้วขนส่งข้ามประเทศไปอีกด้วย ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้อย่างมหาศาล

ทำไมถึงเลือกใช้ Amazon AWS

ความต้องการพื้นฐานของของ Ascend Group คือ ทางบริษัทมีระบบ Infrastructure อยู่แล้ว เพียงแค่ต้องการเปลี่ยนไปใช้บนระบบคลาวด์ในรูปของ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) จึงต้องการ Cloud Service ที่ใช้งานได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเยอะ รวมไปถึงต้องการพัฒนาแอพพลิเคชันโดยใช้โมเดลแบบ Agile ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของ Cloud Service ในท้องตลาดพบว่า Amazon AWS ตอบโจทย์ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด

กระแสตอบรับการใช้ Amazon AWS ของพนักงานฝ่าย IT ก็เป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจาก Learning Curve ไม่สูงมาก ทำให้พนักงานสามารถปรับตัวเพื่อให้เข้ากับการใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว และจนถึงทุกวันนี้ การทำงานของระบบต่างๆบน Amazon AWS ก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ยังไม่พบปัญหาที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการดำเนินธุรกิจแต่อย่างใด

ascend_office_4
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ระบบคลาวด์

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์จะช่วยลดภาระด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และค่าบำรุงรักษา แต่ด้วยความที่สามารถขยายระบบได้ง่าย ส่งผลให้นักพัฒนาแอพพลิเคชันอาจเพิ่ม Resource กันเป็นว่าเล่น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายอาจบานปลายจนควบคุมไม่อยู่ จึงจำเป็นต้องมีการติดตามการใช้งานระบบ Amazon AWS อย่างใกล้ชิดและมีการกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการใช้ Resource ให้เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทาง Amazon AWS มีบริการให้สามารถใช้งานได้ทันที

นอกจากนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้ข้อมูลที่เก็บอยู่บนระบบคลาวด์มีความมั่นคงปลอดภัย และทางธนาคารฯ ต้องสามารถตรวจสอบ (Audit) ได้ จึงต้องมีการออกข้อกำหนดและข้อบังคับในการใช้งานระบบคลาวด์ให้รัดกุม แต่เนื่องจากยังไม่เคยมีบริษัทใดในประเทศไทยที่ให้บริการระบบ E-payment บนคลาวด์มาก่อน ทาง Ascend Group จึงได้ทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพัฒนาข้อกำหนดและข้อบังคับให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น พร้อมใช้เป็นมาตรฐานสำหรับบริษัทอื่นๆในอนาคต

แล้วการนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้จะทำให้ผู้ดูแลระบบ IT ตกงานหรือไม่ ?

Ascend Group ระบุว่า บริษัทไม่ได้นำระบบคลาวด์มาใช้เพื่อแทนที่ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร กลับมองว่าระบบคลาวด์จะช่วยพัฒนาทีมงานในองค์กรของตนให้มีทักษะสูงยิ่งขึ้น กล่าวคือ ผู้ดูแลระบบจะต้องพัฒนาตัวเองให้พร้อมสนับสนุนการใช้งานระบบคลาวด์ และนักพัฒนาแอพพลิเคชันก็ต้องฝึกใช้งานระบบคลาวด์เพื่อให้สามารถแสดงประสิทธิภาพการทำงานออกมาได้อย่างเต็มที่

ascend_office_6
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

สรุปผลลัพธ์การใช้งานระบบ Amazon AWS

ปัจจุบันนี้ ระบบของ iTrueMart 100% และระบบอื่นๆบางส่วนทำงานอยู่บน Amazon AWS เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผลตอบรับทั้งทางฝั่งลูกค้า และพนักงานในองค์กรเป็นไปในทางที่ดี Ascend Group จึงพร้อมวางแผนที่จะย้ายระบบอื่นๆไปทำงานบน Amazon AWS เร็วๆนี้ นอกจากนี้ Ascend Group ยังได้ออกนโยบาย “Cloud-First” สำหรับโปรเจ็คท์ใหม่ๆ นั่นคือ การพัฒนาแอพพลิเคชันหรือบริการต่างๆในอนาคต จะต้องเลือกพัฒนาบนระบบคลาวด์ก่อนเสมอ

“Cloud Service ถือว่าเป็นระบบ Next-generation ของวงการ IT ด้วยศักยภาพในกาสนับสนุนการใช้งานเชิงธุรกิจ และลดภาระค่าใช้จ่าย ทำให้แทบทุกองค์กรเตรียมวางแผนใช้งานระบบคลาวด์ในอนาคต Ascend Group จึงเลือกเป็นบริษัทแรกๆ ที่ใช้งานระบบคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ เพราะเราต้องการพัฒนาคนให้มีทักษะเพิ่มมากขึ้น Cloud Engineer และ Cloud Architecture จะกลายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาองค์กรและธุรกิจต่อไปในอนาคต” — คุณชัยวัฒน์ รัตนประทีปพร CTO บริษัท Ascend Group

ascend_office_5
Credit: Pirak Anurakyawachon/Spaceshift Studio & WVK Design Solution

Credit

ทีมงาน TechTalkThai ขอขอบพระคุณ คุณชัยวัฒน์ ที่เสียสละเวลาให้สัมภาษณ์ประสบการณ์การใช้ Amazon AWS และทีมงานจาก Amazon AWS ที่ช่วยติดประสานงานให้ครับ นอกจากนี้ขอขอบพระคุณ WVK Design Solution ผู้ร่วมออกแบบสถานที่ทำงานของ Ascend Group ให้มีความทันสมัย ดูผ่อนคลาย และมีสีสันความสนุกสนาน ซึ่งเป็นเบื้องหลังของแรงบันดาลใจให้ทีมงาน Ascend ทุกท่านสามารถแสดงศักยภาพในการทำงานออกมาได้อย่างเต็มที่ และคุณภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน จาก Spaceshift Studio ที่เอื้อเฟื้อภาพถ่ายประกอบบทความอันแสนสวยงามนี้

from:https://www.techtalkthai.com/case-study-ascend-group-using-amazon-aws/

Amazon CloudFront รองรับการทำ GZIP แล้ว

aws_banner

Amazon CloudFront สามารถช่วยบีบอัดข้อมูลต่างๆ ด้วย GZIP เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ที่จะส่งถึงผู้ใช้งานผ่านทาง Web Browser นั้นมีขนาดเล็กลงได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ที่ใช้งาน Amazon S3 อยู่ CloudFront ก็จะสามารถช่วยบีบอัดข้อมูลให้ได้ทันที ในขณะที่ผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน S3 อยู่ก็จะสามารถประหยัด CPU ในการบีบอัดข้อมูลลงได้เป็นอย่างมาก และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Data Transfer ลงได้อีกด้วย

ผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถเปิดใช้งานความสามารถนี้ในหน้าบริหารจัดการของ CloudFront หรือผ่าน API ได้ทันทีจากทุกๆ Data Center ที่มี CloudFront ส่วนคู่มือการใช้งานสามารถดูได้ที่ http://docs.aws.amazon.com/AmazonCloudFront/latest/DeveloperGuide/ServingCompressedFiles.html ทันที

บทความโดย http://www.awsusergroup.org/ และ https://www.techtalkthai.com ส่วนผู้ที่อยากศึกษาเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Amazon Web Services ในไทยสามารถเข้าร่วมกลุ่มของ Bangkok AWS User Group ได้ทันทีที่ https://www.facebook.com/groups/awsusergroup/

ที่มา: https://aws.amazon.com/about-aws/whats-new/2015/12/cloudfront-supports-gzip/

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-cloudfront-supported-gzip-compression/

Amazon CloudFront ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐาน PCI DSS แล้ว

amazon_aws_logo_h50

Amazon CloudFront บริการ Content Delivery Web Service ได้ถูกรวมเข้าไปในกลุ่มของบริการที่ผ่านมาตรฐาน Payment Card Industry Data Security Standard (PCI DSS) Merchant Level 1 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับที่สูงที่สุดสำหรับผู้ให้บริการ Service Provider แล้ว

introduction-to-cloudfront-9-638

PCI DSS Compliance เป็นมาตรฐานที่จำเป็นต่อทุกธุรกิจที่มีการจัดเก็บ, ประมวลผล หรือส่งต่อข้อมูลของบัตรเครดิต การผ่านมาตรฐาน PCI ครั้งนี้ของ Amazon CloudFront จึงสร้างความง่ายดายให้กับธุรกิจ E-Commerce ค้าปลีก, ธุรกิจท่องเที่ยว, ธุรกิจขายตั๋ว หรือ Application ที่มีระบบ In-app Purchase ในการ Integrate ระบบเข้ากับ Amazon CloudFront ได้โดยยังคงผ่านมาตรฐาน PCI DSS อยู่ ทั้งนี้ Amazon CloudFront เองก็รองรับทั้งการส่ง Content ที่เป็นแบบ Dynamic และ Static ได้ทั้งคู่ ทำให้ลูกค้าอย่างเช่นธุรกิจ E-Commerce สามารถใช้บริการที่มีความปลอดภัยนี้เพื่อสร้างประสบการในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ดีได้ ทั้งการเพิ่มความเร็วในการเปิดหน้าต่างๆ และการจัดการกับ Shopping Cart ได้อย่างครบถ้วน

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่านมาตรฐาน PCI DSS ของ Amazon CloudFront สามารถเยี่ยมชม Blog ของ Amazon AWS ได้ที่ http://aws.amazon.com/blogs/aws/pci-compliance-for-amazon-cloudfront/

from:https://www.techtalkthai.com/amazon-cloudfront-passes-pci-dss-compliance/

Amazon Cloudfront เปิดให้ใช้งาน POST, PUT และ HTTP method อื่นๆ

Amazon Cloudfront คือผู้ให้บริการ Content Delivery Service รายใหญ่รายหนึ่งที่มีสตาร์ทอัพมากมายใช้บริการ เพื่อช่วยให้ฝั่งผู้ใช้สามารถเข้าถึง content จากภูมิภาคต่างๆได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่เราสามารถดาวน์โหลดรูปภาพ Instagram จากประเทศไทยผ่าน Amazon Cloudfront ของสิงคโปร์ ซึ่งทำให้เร็วกว่าการดาวน์โหลดจากเซิฟเวอร์ในอเมริกาโดยตรง เป็นต้น

โดยในวันนี้ Amazon Cloudfront ได้ประกาศรองรับ HTTP method เพิ่มเติม คือ POST, PUT, DELETE, OPTIONS และ PATCH ซึ่งจะทำให้สามารถใช้พัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้หลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการอัพโหลดผ่าน Amazon Cloudfront ได้โดยตรง จากแต่เดิมที่ต้องวางเซิฟเวอร์ไว้ตามภูมิภาคต่างๆ เองเพื่อรองรับการอัพโหลดจากผู้ใช้

หลังการเปลี่ยนแปลงนี้ ค่าบริการของ Amazon Cloudfront ก็ยังคงอยู่ในราคาเดิม คือ ไม่มีขั้นต่ำแต่คิดเอาจากจำนวนของข้อมูลที่ส่งผ่าน Amazon Cloudfront ทั้งหมด เพียงแต่ค่าบริการในการอัพโหลดจะถูกกว่าการดาวน์โหลดสูงสุด 83%

ที่มา: AWS what’s new, Amazon Cloudfront

Amazon cloudfront, Amazon web service

from:http://www.blognone.com/node/49902