คลังเก็บป้ายกำกับ: NVME_SSD

DirectStorage 1.2 มาแล้วตามคำเรียกร้อง พร้อมเพิ่มความเร็วของ HDD ให้ด้วยนะ!

DirectStorage 1.2

ในที่สุด Microsoft ก็ทำตามคำเรียกร้อง ออกการอัปเดตครั้งใหญ่สำหรับเทคโนโลยี DirectStorage 1.2 ให้สามารถลดเวลาในการโหลดเกมน้อยลงตามคำเรียกร้องของผู้พัฒนาเกม

การอัปเดตในครั้งนี้จะทำให้ HDD สามารถค้นหาและทำการแตกไฟล์เกมได้เร็วขึ้นผ่านความสามารถในการเร่งความเร็วของ Compute-Shader ของ GPU รุ่นใหม่

Advertisementavw

นอกจากนี้ Microsoft ยังเพิ่มฟีเจอร์ที่ทำให้ตัวเกมรู้ว่า GPU ทำการแตกข้อมูลออกมาหรือยัง หรือซอฟต์แวร์ (CPU) สำรองการทำงานเนื่องด้วยเหตุผลบางอย่าง เช่น การบีบอัด/รูปแบบไฟล์ที่เข้ากันไม่ได้ ตัวเกมจะแก้ปัญหานี้โดยการปรับคุณภาพเนื้อหา (เช่น ความละเอียดของพื้นผิว) เพื่อชดเชยประสิทธิภาพการบีบอัดที่ลดลงเนื่องจากปัญหาดังกล่าว

DirectStorage 1.2

ข่าวน่ายินดีอีกเรียกที่ต้องพูดถึงคือในที่สุด Microsoft ได้ผ่อนปรนข้อกำหนดด้านฮาร์ดแวร์สำหรับการใช้งานเทคโนโลยี DirectStorage API จากที่เดิมทีจะถูกจำกัดไว้สำหรับ NVMe SSDs เท่านั้น แต่ตอนนี้ได้ขยายไปยังอุปกรณ์ AHCI เช่น SATA SSD และตอนนี้ด้วย DirectStorage 1.2 นี้ ทำให้สามารถขยายไปยัง HDD ได้ด้วยเช่นกัน

ที่มา: Microsoft, TechPowerUp

from:https://notebookspec.com/web/697783-directstorage-1-2

Seagate เปิดตัว SSD รุ่นพิเศษ Lightsaber Collection เอาใจแฟนๆ Star Wars

 Lightsaber Collection

Seagate เปิดตัว Seagate Solid State Drives (SSD) แบบใหม่ในชื่อรุ่นว่า Lightsaber Collection เป็น licensed special edition ของทาง Seagate โดยเฉพาะ การออกแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครเด่นในจักรวาล Star Wars ได้แก่ Obi-Wan Kenobi, Darth Vader และ Luke Skywalker ด้วยการออกแบบแผ่นปิดหน้าแบบถอดเปลี่ยนได้ให้ตรงกับตัวละครทั้งสาม มีความเร็ว PCIe Gen 4 ประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์กลุ่มนักสะสม Star Wars และผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีได้ด้วย

lightsaber collection se ssd pdp carousel 4

FireCuda NVMe SSD รุ่นพิเศษที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก Lucasfilm ผู้ออกแบบ Lightsaber อันเป็นเอกลักษณ์ โดยนำลิขสิทธิ์ที่ได้มาทั้ง 3 แบบนี้ ในไปใช้กับการออกแบบแผ่นปิดหน้าฮีทซิงค์ที่ถอดเปลี่ยนได้ ดังนั้นเกมเมอร์จึงสามารถเลือกการออกแบบเองตาใจชอบได้เลย ไดรฟ์ประกอบด้วยไฟ LED RGB ที่ปรับแต่งได้ซึ่งส่องผ่านแผงหน้าปัดเพื่อบรรยากาศโดยรอบเป็นเสมือนกาแลคซีมาสู่สถานีรบ กลไกการโหลดที่ไม่เหมือนใครซึ่งติดแผ่นปิดหน้าแบบถอดเปลี่ยนได้เข้ากับ SSD และฮีทซิงค์ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย EKWB เป็นฮีทซิงค์แบบพาสซีฟในตัวช่วยลดการควบคุมความร้อนและรักษาประสิทธิภาพสูงสุดไว้เป็นระยะเวลานาน

Advertisementavw

SSD Lightsaber Collection ความจุสูงถึง 2 TB และให้ความเร็วในการอ่านแบบต่อเนื่องสูงถึง 7,300 MB/s ผ่านอินเทอร์เฟสแบบ PCIe Gen 4 ได้อย่างเต็มที่เพื่อรองรับเกมและซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ไดรฟ์รุ่นพิเศษนี้ ได้รับประกัน 5 ปีจาก Seagate และบริการกู้คืนข้อมูลกู้ภัย 3 ปี

Lightsaber Collection Special Edition FireCuda PCIE Gen 4 NVMe SSD วางจำหน่ายแล้ววันนี้ในราคา $184.99 (1 TB) ประมาณ 6,300 บาท และ $289.99 (2 TB) ประมาณ 9,900 บาท ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ seagate หรือคลิกที่นี่

ที่มา: TechPowerUp

from:https://notebookspec.com/web/695867-seagate-star-wars-lightsaber-collection

GIGABYTE Servers และ GRAID SupremeRAID™ มอบประสิทธิภาพ NVMe SSD เต็ม 100% โดยไม่เสีย Data Protection

เนื่องจาก NVMe มีคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพสูงและ Latency ต่ำ หลายบริษัทจึงนำ NVMe SSD มาใช้เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลหลักในเซิร์ฟเวอร์ อย่างไรก็ตาม NVMe SSD ที่เชื่อมต่อโดยตรงกับโฮสต์มีทางเลือกในการทำ RAID เพื่อปกป้องข้อมูลสองทางหลักๆ คือ ซอฟต์แวร์ RAID และฮาร์ดแวร์ RAID ที่รู้จักกันทั่วไป

NVMe RAID Cards แบบดั้งเดิมมีปัญหาอย่างไร?

ฮาร์ดแวร์ RAID Card แบบดั้งเดิมทำงานได้ดีจนถึงจุดหนึ่ง แต่ตอนนี้ NVMe SSD นั้นเร็วมากฮาร์ดแวร์ RAID Card กลายเป็นปัจจัยจำกัดหรือคอขวด ไม่ใช่ว่า RAID Card จะทำงานไม่ได้ แต่เซิร์ฟเวอร์ที่มีสล็อต Gen4 PCIe คาดหวังประสิทธิภาพระดับ 16GB/s จากสล็อต x8 หรือ 32GB/s จากสล็อต x16 แต่ RAID Card โดยทั่วไปจะมีความหลากหลายแค่ x8 ซึ่งหมายถึงการใช้ประโยชน์จาก NVMe Flash ในระดับปานกลางในหนึ่งเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างเช่น SSD ระดับเมนสตรีมอย่าง Intel P5510 กับ Sequential Read Bandwidth ที่ 7000MB/s หมายความว่า SSD แค่สองตัว RAID Card แบบเดิมจะกลายเป็นคอขวดใน Workload ระดับธรรมดานี้ และทั้งนี้ไม่ใช่ว่าทุก Workload จะเป็น Sequential Read ง่ายๆ แบบนี้ ประเด็นยังคงมีอยู่หากต้องการใช้งาน NVMe SSD มากกว่า 2 และอาจถึง 20 SSDs ในเซิร์ฟเวอร์ 2U มาตรฐาน การแก้ปัญหาด้วยฮาร์ดแวร์ RAID Card นั้นซับซ้อน มีราคาแพง และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบ ทางเลือกอื่น เช่น ซอฟต์แวร์ RAID ก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบเช่นกัน ซอฟต์แวร์ RAID นั้นง่ายต่อการตั้งค่าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่จะต้องใช้ทรัพยากรของ CPU จำนวนมากซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวมลดลง

GRAID – SupremeRAID the Next Generation of NVMe RAID Technology ที่มาพร้อมกับ GIGABYTE R282-Z9G จึงเป็นคำตอบ

สืบเนื่องมาจากความสำเร็จของซีรีส์ R282 นั้น ทุก SKU ได้รับการออกแบบมาเพื่อโซลูชันแบบ All-in-one
R282-Z9G จึงมาพร้อมกับการ์ด GRAID SupremeRAID ที่ติดตั้งและแสดงประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วยไดรฟ์ NVMe Kioxia CM6 (Gen4) สูงสุด 20 ตัว R282-Z9G รองรับโปรเซสเซอร์ AMD EPYC 7003 คู่ สูงสุด 64 คอร์ต่อซ็อกเก็ต และ TDP สูงสุด 240W ด้วยการออกแบบซ็อกเก็ตคู่ มีสล็อต DIMM 32 ช่องสำหรับ 2 DIMM ต่อช่องสัญญาณในการกำหนดค่าหน่วยความจำ 8 ช่อง มีสล็อต PCIe 4.0 x16 FHHL สำหรับเครือข่ายความเร็วสูง ที่ด้านหลังของเคสมีช่องใส่ SATA SSD เพิ่มเติม 2 x 2.5” และที่ด้านหลังของเคสคือพอร์ต USB 3.0, พอร์ต VGA สำหรับการจัดการภายในเครื่อง และพอร์ต 1GbE LAN หนึ่งคู่ การจ่ายไฟให้กับระบบแหล่งจ่ายไฟสำรอง 1600W คู่

Disruptive Solutions ของ GRAID Technology ได้กำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการปกป้องข้อมูล RAID โดยการปกป้อง Flash Storage ที่ต่อโดยตรงรวมถึงที่เก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่าน NVMe over Fabrics (NVMeoF) ด้วยประสิทธิภาพที่ได้รับการพิสูจน์แล้วระดับโลก

GRAID SupremeRAID รองรับ RAID 0, 1, 5, 6 และ 10 ในแง่ของประสิทธิภาพ GRAID ได้ขับเคลื่อน IOPS ประมาณ 6 ล้าน IOPS และ 100GB/s จากระบบ 24 ไดรฟ์ อนึ่ง 24 ไดรฟ์ไม่ใช่ข้อจำกัดสำหรับ GRAID นั่นเป็นเพียงสิ่งที่พบได้ทั่วไปในเซิร์ฟเวอร์ 2U, GRAID SupremeRAID ขจัดข้อจำกัดเรื่องจำนวน NVMe Drive ออกไปเลย

ในการทดสอบ GRAID SupremeRAID ประสิทธิภาพการอ่านแบบสุ่ม 4K ผ่าน GRAID อยู่ที่ระดับ 8.88 ล้าน IOPS เทียบกับเพียง 2.9 ล้าน IOPS ผ่านซอฟต์แวร์ RAID ประสิทธิภาพการเขียนแบบสุ่ม 4K ความต่างของผลลัพธ์จึงขยายกว้างออกไปอีก ด้วย GRAID ที่วัดได้ 863K IOPS เทียบกับเพียง 52.6K IOPS ของ SW RAID5

จุดเด่นสำคัญ ได้แก่

ยืดหยุ่นและพร้อมสำหรับอนาคต

ปรับให้เหมาะสมสำหรับ SCI (Software Composable Infrastructure) หมายถึงความยืดหยุ่นที่ไม่มีใครเทียบและความสามารถด้านระบบอัตโนมัติด้วยการรองรับ NVMeoF

World Record Performance

ด้วย 6M IOPS 4k Random IO และอัตราความเร็ว 25GB/s พร้อมการ์ด GRAID SupremeRAID™ เดียวบนแพลตฟอร์ม PCIe Gen3 หรือปริมาณงาน 100GB/s บนแพลตฟอร์ม PCIe Gen4 GRAID SupremeRAID™ ได้กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพใหม่สำหรับเทคโนโลยี SSD RAID

ไม่เปลืองทรัพยากร CPU

ลดภาระการประมวลผล RAID ทั้งหมดของคุณไปยังการ์ด GRAID เพื่อเพิ่มทรัพยากรการประมวลผล CPU อันมีค่าสำหรับแอปพลิเคชันอื่นๆ

Plug & Play

ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเดินสายเคเบิลหรือเปลี่ยนเค้าโครงมาเธอร์บอร์ดใหม่

ปรับขนาดได้สูง

เพิ่มคุณสมบัติอื่นอย่างง่ายดายด้วยการอัปเกรดซอฟแวร์ เช่น การบีบอัด การเข้ารหัส หรือการจัดเตรียมแบบบาง หรือใช้สำหรับที่เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์

ง่ายต่อการใช้งาน

ไม่เหมือนกับระบบ RAID แบบฮาร์ดแวร์ทั่วไป GRAID SupremeRAID™ ไม่ได้พึ่งพาเทคโนโลยีการแคชหน่วยความจำเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้โมดูลสำรองแบตเตอรี่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่บล็อก Insight ของ GIGABYTE หรืออ่านโซลูชัน GRAID

หรือสามารถอ่านรีวิวการทดสอบแบบครบถ้วนได้เช่นกันที่ StorageReview.com 

“If you’re going to make the investment in Gen4 (and soon Gen5) SSDs, you don’t want to be leaving performance on the table,” “The GRAID SupremeRAID solution is absolutely phenomenal, we were blown away by the efficacy of this simple to use card and accompanying software.” — Brian Beeler, Founder & President of StorageReview.com 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ server.grp@gigabyte.com

from:https://www.techtalkthai.com/gigabyte-servers-and-graid-supremeraid/

Facebook เปิดตัว CacheLib ระบบ Caching Engine แบบ Open Source

Facebook เปิดตัว CacheLib ระบบ Caching Engine แบบ Open Source ที่รองรับการใช้งานระดับ Web-scale

Facebook ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาระบบ Caching มาโดยตลอด เนื่องจากเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบที่ต้องการความเร็ว และมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ล่าสุด Facebook ได้ประกาศเลิกใช้งาน DRAM ในการทำ Caching ด้วยเหตุผลว่ามีราคาแพงเกินไปและใช้พลังงานจำนวนมากสำหรับ Datacenter ขนาดใหญ่เช่น Facebook โดยจะมีการใช้งาน non-volatile memory (NVM) เป็นตัวจัดเก็บ Cache แทนเนื่องจากมีความเร็วที่ใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว CacheLib ซึ่งเป็นเครื่องมือ Caching Engine แบบ Open Source ให้ผู้ที่สนใจนำไปใช้งานได้ โดยเครื่องมือจะรองรับการนำ DRAM หรือ NVM มาทำเป็น Cache ได้ นอกจากนี้ยังมี CacheBench เครื่องมือ Benchmarking สำหรับระบบ Cahing มาให้ทดสอบอีกด้วย โดย CacheLib ถูกใช้งานในระบบของ Facebook มากกว่า 70 ระบบ เช่น Social Graph, CDN, Storage และ look-aside key-value cache

ปัจจุบัน Facebook ได้ทำการผลักดัน CacheLib และ CacheBench ให้เป็นมาตรฐานของการทำ Cache และมีการร่วมมือกับบริษัทต่างๆ, มหาวิทยาลัย และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือตัวนี้ และยังมีการร่วมมือกับ Intel, KIOXIA, Samsung และ Western Digital เพื่อพัฒนา SSD ให้สามารถทำงานกับ Caching Solution ได้ดียิ่งขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐาน NVMe Cloud SSD บน Open Compute Project

ที่มา: https://www.theregister.com/2021/09/03/facebook_cachelib_nvm_not_dram/

from:https://www.techtalkthai.com/facebook-releases-cachelib-open-source-caching-engine/

9 SSD 1TB สเปคเทพ โหลดฉากไวเกมลื่นไหล เกมเมอร์ห้ามพลาด

หลังจากไขข้อข้องใจว่าเราควรซื้อ SSD กี่ GB ไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนอาจจะตัดสินใจเลือก SSD 1TB มาใส่ในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหรือเกมมิ่งพีซีของตัวเองกันหลายคน เพราะเน้นว่าซื้อทีเดียวคุ้มและความจุมากกำลังดี ไม่ต้องมาคอยกังวลลบเกมนั้นลงเกมนี้ให้เสียเวลา แค่คอยดูไม่ให้ SSD ของเราถูกใช้พื้นที่เกิน 80% เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว SSD ของเราจะได้ใช้งานได้นาน ๆ นั่นเอง

แต่คำถามคือในปัจจุบัน SSD ความจุ 1TB นั้นมีให้เลือกหลายแบรนด์และบางครั้งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะเลือกแบรนด์ไหนมาใช้งานดี และบางคนก็อาจจะยึดอยู่กับแบรนด์หลัก ๆ ไม่กี่แบรนด์เท่านั้นทั้งปัจจุบันมี SSD แบรนด์อื่นที่คุณภาพสูงราคาไม่แพง และบางแบรนด์ก็ติดตั้งฮีตซิ้งค์มาช่วยระบายความร้อนให้ชิปสามารถระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้นและช่วยถนอมอายุการใช้งานอีกด้วย

SSD 1TB
หา NVMe ดี ๆ ความจุเยอะ ๆ สักตัวไว้ใส่เครื่อง บอกเลยดอกเดียวจบ

SSD 1TB ตัวไหนน่าใช้บ้าง?

adata

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้แนะนำ NVMe ความจุ 500GB สเปคดีและเทียบข้อดีระหว่าง NVMe กับ SSD SATA III ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่เชื่อว่าหลาย ๆ คนคิดว่าถ้าซื้อทั้งทีก็เอาแบบจัดเต็ม 1TB ไปเลยจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกันบ่อย ๆ ก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน ซึ่งถ้าเลือกซื้อ SSD SATA III ไปใช้งานก็อาจจะไม่ต้องคำนึงอะไรมากเพราะสามารถต่อเข้ากับพอร์ต SATA III แบบเดียวกับฮาร์ดดิสก์ลูกอื่น ๆ ในเครื่องได้เลย

กลับกันถ้าเป็น NVMe นั้นก็ควรเช็ค Interface ของ PCIe ด้วยว่าเป็นเวอร์ชั่นไหนเพราะปัจจุบันนี้มี NVMe ที่มีหัวเชื่อมต่อแยกเป็น B-Key, M-Key, B & M Key แยกกันไปตามที่เคยพูดถึงในบทความแนะนำกล่อง SSD ไปก่อนหน้านี้แล้ว และยังแยกเป็น PCIe 3.0 และ 4.0 ขายคละกันอยู่ในตลาดเต็มไปหมดแต่เราก็สามารถเช็คได้ที่หน้าข้อมูลสเปคของ NVMe ลูกนั้น ๆ ได้เลย เพียงแค่เปิดเข้าไปตรงหน้าสเปคก็สามารถเช็คได้ทันทีว่า NVMe รุ่นนั้นใช้ PCIe เวอร์ชั่นไหน

sn750

ตัวอย่างเช่น WD Black SN750 เองเมื่อเราเปิดเข้าหน้าสเปคแล้วจะเห็นว่าตัว NVMe นั้นเป็น PCIe 3.0 รองรับการอ่านเขียนข้อมูลแบบ 4 เลนส์ (X4) นั่นเอง ซึ่งตามสเปคแล้วมีความเร็ว Read 3,430 MB/s และ Write 2,600 MB/s ซึ่งถ้าซื้อไว้ใช้เล่นเกมหรือทำงานก็จัดว่ามีประสิทธิภาพสูงทีเดียว

sn850

ส่วนรุ่นใหม่อย่าง WD Black SN850 รุ่นใหม่ก็เปลี่ยน Interface มาใช้เป็น PCIe 4.0 ให้รองรับอุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ และมีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลสูงขึ้นอีกเป็น Read 7,000 MB/s และ Write 5,300 MB/s และรองรับ PCIe รุ่นเก่าได้อีกด้วยเช่นลูกศรที่ 2 แต่ความเร็วการอ่านเขียนก็จะวิ่งได้แค่เท่าที่พอร์ต PCIe บนเมนบอร์ดของพีซีและโน๊ตบุ๊ครุ่นนั้น ๆ รองรับ

ส่วนผู้อ่านที่เปิดเข้าไปอ่านหน้าสเปคแล้วสงสัยว่าหน้าสเปคส่วนต่าง ๆ หมายถึงอะไรบ้าง สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความรวมวิธีอ่านสเปค SSD ตรงนี้ได้เลย 

9 SSD 1TB สเปคเทพสำหรับเกมมิ่งพีซี, โน๊ตบุ๊ค

สำหรับ SSD 1TB สเปคดี ๆ ในปัจจุบันมีหลากรุ่นหลายแบรนด์ให้เลือกมากมาย และถึงบางรุ่นเป็น PCIe 3.0 ที่ความเร็วน้อยกว่า PCIe 4.0 ไปเล็กน้อยแต่ก็ยังประสิทธิภาพสูงสามารถรันเกมต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหลไม่แพ้กันและราคาถูกกว่าด้วย หรือจะเอาไปติดตั้งในโน๊ตบุ๊คสำหรับทำงานของตัวเองก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน

สำหรับ SSD 1TB สเปคเทพน่าใช้ทั้ง 9 รุ่นจะมีดังนี้

  1. WD Blue SN550 1TB (3,790 บาท)
  2. ADATA XPG SX8200 Pro 1TB (4,390 บาท)
  3. Samsung 970 Evo 1TB (4,990 บาท)
  4. WD Black SN750 1TB (5,690 บาท)
  5. Corsair MP600 1TB (6,990 บาท)
  6. Samsung 980 Pro 1TB (7,590 บาท)
  7. ADDLINK S95 1TB (8,790 บาท)
  8. WD Black SN850 1TB (8,890 บาท)
  9. SEAGATE FIRECUDA 520 1TB (9,590 บาท)
1. WD Blue SN550 1TB (3,790 บาท)

sn550

WD Blue SN550 นั้นเป็น SSD 1TB ตัวแรกที่ราคาเป็นมิตร เข้าถึงง่ายที่สุดในกลุ่มและแม้จะเป็น PCIe 3.0×4 ก็ตามแต่สเปคก็จัดว่าดีและตอบโจทย์การใช้งานได้รอบด้าน ไม่ว่าจะใช้ทำงานหรือเล่นเกมก็เวิร์ค ส่วนสเปคนั้น SN550 ใช้ Controller ออกแบบโดย WD เอง มีความเร็ว Read 2,400 MB/s Write 1,950 MB/s นั้นก็ถือว่าแรงกว่า SATA III SSD ทุกรุ่นในปัจจุบันร่วม 3-4 เท่า มีค่า 4K IOPS Read ได้ 410K และ Write 405K รองรับการเขียน 600 TBW จึงสามารถใช้งานได้นานหลายปีอย่างแน่นอน ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรีวิวได้ที่นี่

สเปคของ WD Blue SN550 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 3.0×4
  • Controller ออกแบบโดย WD
  • ความเร็ว Read 2,400 MB/s Write 1,950 MB/s
  • 4K IOPS Read 410K Write 405K
  • รองรับการเขียน 600 TBW
  • ราคา 3,790 บาท (JIB)
2. ADATA XPG SX8200 Pro 1TB (4,390 บาท)

adata

ADATA XPG SX8200 Pro เป็น SSD 1TB อินเตอร์เฟส PCIe 3.0×4 ประสิทธิภาพดีอีกรุ่นซึ่งไม่ควรมองข้าม เพราะสเปคถือว่าเหมาะจะเอาไปใช้ในโน๊ตบุ๊คทำงานหรือเกมมิ่งพีซีก็ได้ ในตัวติดตั้ง SLC caching และมี DRM Cache ให้อายุการใช้งานนานยิ่งขึ้นและมีฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยข้อมูล E2E, LDPC ECC คอยเช็คข้อมูลในไดรฟ์ให้ทำงานได้ราบลื่นอีกด้วย

สเปคใช้ Controller SM2262G ความเร็ว Read 3,500 MB/s และ Write 3,000 MB/s ส่วนค่า 4K IOPS อยู่ที่ Read 390K กับ Write 380K ซึ่งสื่อต่างประเทศที่ได้ NVMe อันนี้ไปทดสอบใช้งานแล้วเห็นตรงกันว่าเป็น NVMe ที่ประสิทธิภาพการทำงานดีมากรุ่นหนึ่ง และในแพ็คเกจจะมีฮีตซิ้งค์สำหรับ NVMe แถมมาให้ติดตั้งเพื่อลดความร้อนของชิปบนตัว NVMe อีกด้วย ทำให้ ADATA XPG SX8200 Pro สามารถเอาไปติดตั้งในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีก็ได้

สเปคของ ADATA XPG SX8200 Pro 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 3.0×4
  • Controller SM2262G
  • ความเร็ว Read 3,500 MB/s Write 3,000 MB/s
  • 4K IOPS Read 390K Write 380K
  • ราคา 4,390 บาท (Compute and More)
3. Samsung 970 Evo 1TB (4,990 บาท)

samsung 970

Samsung 970 Evo นั้นเป็นอดีตตัวแรงรุ่นหนึ่งของ Samsung ซึ่งทั้งผู้ใช้และเกมเมอร์น่าจะเคยหมายตากันมาก่อนเพราะประสิทธิภาพนั้นจัดว่าสูงจนไม่ควรมองข้าม แม้จะมี 980 Pro เปิดตัวออกมาแล้ว 970 Evo ก็ยังเป็น SSD 1TB ที่ดีอยู่ทั้งทำงานหรือเล่นเกม

อินเตอร์เฟสของ 970 Pro นั้นเป็น PCIe 3.0×4 ใช้ Controller Samsung Phoenix ความเร็ว Read 3,400 MB/s Write 2,500 MB/s ส่วน 4K IOPS มีค่า Read 500K Write 450K มีความทนทาน 600 TBW ซึ่งจัดว่าทนทานไม่แพ้ NVMe รุ่นอื่นเลย และปัจจุบันนี้ราคาของ 970 Evo ก็ถูกกว่าในอดีตมาก ถือเป็นจังหวะที่เหมาะจะซื้อมาใช้เป็นอย่างมาก ส่วนรีวิวอ่านได้ที่นี่

สเปคของ Samsung 970 Evo 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 3.0×4
  • Controller Samsung Phoenix
  • ความเร็ว Read 3,400 MB/s Write 2,500 MB/s
  • 4K IOPS Read 500K Write 450K
  • รองรับการเขียน 600 TBW
  • ราคา 4,990 บาท (Compute and More)
4. WD Black SN750 1TB (5,690 บาท)

sn750 wd

WD Black SN750 นั้นเป็น SSD 1TB รุ่นยอดนิยมประสิทธิภาพสูงอีกรุ่นซึ่งมีให้เลือกซื้อทั้งเวอร์ชั่นมีหรือไม่มีฮีตซิ้งค์บนตัวช่วยลดความร้อนระหว่างใช้งาน ช่วยยืดอายุของชิปบนตัว NVMe แต่โดยปกติแล้ว เวลา SN750 ทำงานนั้นไม่ได้ร้อนมากจนต้องพึ่งฮีตซิ้งค์เหมือน NVMe บางรุ่นแล้ว ดังนั้นเราสามารถคาดหวังประสิทธิภาพของ SSD ตัวนี้ได้เลย

SN750 จะเป็น PCIe 3.0×4 ใช้ Controller ที่ WD ออกแบบเอง มีความเร็ว Read 3,470 MB/s และ Write 3,000 MB/s ส่วน 4K IOPS อยู่ที่ Read 515K และ Write 560K มีความทนทานการเขียน 600 TBW ถ้าดูตามประสิทธิภาพแล้วจะเห็นว่า SN750 เองก็มีประสิทธิภาพสูงมากรุ่นหนึ่ง จะเอามาทำงานหรือเล่นเกมก็ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก และหลาย ๆ ครั้งก็จะมีโปรโมชั่นจากเว็บไซต์ขายสินค้าชื่อดังปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ อีกด้วย ดังนั้นเราอาจจะได้ราคาดี ๆ ที่ถูกกว่านี้ก็ได้ และทางเว็บไซต์ก็ได้รีวิว NVMe รุ่นนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว สามารถอ่านได้ที่นี่

สเปคของ WD Black SN750 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 3.0×4
  • Controller ออกแบบโดย WD
  • ความเร็ว Read 3,470 MB/s Write 3,000 MB/s
  • 4K IOPS Read 515K Write 560K
  • รองรับการเขียน 600 TBW
  • ราคา 5,690 บาท (JIB)
5. Corsair MP600 1TB (6,990 บาท)

corsair mp600

Corsair MP600 นั้นเป็น SSD 1TB แบบ gumstick ที่แม้จะเปิดตัวมาสักพักแล้วก็ยังเป็น NVMe PCIe 4.0×4 ประสิทธิภาพสูงรุ่นหนึ่งที่ถ้าใครจะประกอบเกมมิ่งพีซีสักเครื่องก็น่าเลือกซื้อไปใช้มาก มีข้อดีคือตัว NVMe ติดตั้งซิ้งค์ระบายความร้อนขนาดใหญ่เอาไว้เลยทำให้ระบายความร้อนได้ดีมากแต่ก็เอาไปใส่กับโน๊ตบุ๊คไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น Corsair MP600 จึงเหมาะกับเกมมิ่งพีซีเป็นหลัก 

สเปคใช้ Controller รุ่น Phison PS5016-E16 มีความเร็ว Read 4,950 MB/s และ Write 4,250 MB/s ซึ่งจัดว่าเร็วทีเดียว ส่วน 4K IOPS มี Read 680K และ Write ที่ 600K และความทนทานมากกว่า PCIe 3.0×4 ถึง 3 เท่า อยู่ที่ 1,800 TBW ทีเดียว จัดว่า MP600 ตัวนี้เกิดมาเพื่อเล่นเกมโดยเฉพาะและมีประสิทธิภาพสูงมาก และคาดว่าเร็ว ๆ นี้จะมี MP600 Pro เปิดตัวตามออกมาด้วย

สเปคของ Corsair MP600 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 4.0×4
  • Controller Phison PS5016-E16
  • ความเร็ว Read 4,950 MB/s Write 4,250 MB/s
  • 4K IOPS Read 680K Write 600K
  • รองรับการเขียน 1,800 TBW
  • ราคา 6,990 บาท (JIB)
6. Samsung 980 Pro 1TB (7,590 บาท)

samsung 980 pro

Samsung 980 Pro นั้นเป็น NVMe เรือธงตัวใหม่ที่มารับช่วงต่อจาก 970 Pro โดยตรงและสเปคก็อยู่ในระดับที่แรงเหลือใช้เหมือนเดิม และตัว SSD ก็เป็นแบบไม่มีฮีตซิ้งค์แต่เปลี่ยนวิธีใช้ชั้นเคลือบนิกเกิ้ลเพื่อระบายความร้อนแทน ทำให้บางและสามารถเอาไปใส่ในเกมมิ่งพีซีหรือโน๊ตบุ๊คก็ได้ รวมทั้งโปรแกรม Samsung Magician นั้นก็ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ 980 Pro จัดการการทำงานได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

สเปคจะเป็น PCIe 4.0×4 และใช้ Controller Samsung Elpis แทน Phoenix ในรุ่นก่อน ๆ มีความเร็ว Read 7,000 MB/s และ Write 5,000 MB/s นับว่าจัดจ้านเช่นเดิมส่วนค่า 4K IOPS เรียกว่านำรุ่นอื่นไปมากด้วยค่า Read และ Write 1M ซึ่งเรียกว่าเร็วมาก ๆ ระดับกดโปรแกรมปุ๊บติดปั๊บ แต่ความทนทานจะไล่เลี่ยกับ NVMe ที่เป็น PCIe 3.0×4 ที่ 600 TBW เท่านั้น แต่ถึงจะน้อยอยู่บ้างแต่โอกาสที่ผู้ใช้ทั่วไปจะทำ NVMe เสียเพราะว่าใช้ค่า TBW จนเต็มนั้นเป็นไปได้ยากทีเดียว ดังนั้นเราสามารถใช้งาน NVMe รุ่นนี้ได้โดยไม่ต้องคิดมากก็ได้

สเปคของ Samsung 980 Pro 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 4.0×4
  • Controller Samsung Elpis
  • ความเร็ว Read 7,000 MB/s Write 5,000 MB/s
  • 4K IOPS Read 1M Write 1M
  • รองรับการเขียน 600 TBW
  • ราคา 7,590 บาท (BaNANA)
7. ADDLINK S95 1TB (8,790 บาท)

addlink s95

ADDLINK S95 นั้นถึงจะเป็นแบรนด์ที่ไม่คุ้นหูคนไทยเท่าไหร่ แต่ NVMe สัญชาติไต้หวันแบรนด์นี้สร้างชื่อในต่างประเทศเอาไว้ดีทีเดียว เพราะประสิทธิภาพจากการรีวิวของสื่อต่างประเทศนั้นถือว่าเป็น NVMe ประสิทธิภาพสูงมากรุ่นหนึ่งที่อ่านเขียนข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ได้รวดเร็วและเสถียรมาก รวมทั้งออกแบบมารอรับ AMD Ryzen โดยเฉพาะอีกด้วย

สเปคใช้ Controller Phison PS5018-E18 รุ่นใหม่ประสิทธิภาพดี สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มีควาเร็ว Read 7,000 MB/s และ Write 5,100 MB/s ซึ่งจัดว่าเร็วพอตัว แต่ 4K IOPS ค่า Read จะอยู่ที่ 350K และ Write 700K ซึ่งอาจจะดูแปลก ๆ อยู่บ้างแต่ก็ทำงานได้เป็นอย่างดี ความทนทานอยู่ที่ 700 TBW ซึ่งมากกว่า PCIe 3.0×4 อยู่นิดหน่อย แต่ก็ถือเป็น SSD 1TB รุ่นน่าสนใจอีกรุ่นเช่นกัน 

สเปคของ ADDLINK S95 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 4.0×4
  • Controller Phison PS5018-E18
  • ความเร็ว Read 7,000 MB/s Write 5,000 MB/s
  • 4K IOPS Read 350K Write 700K
  • รองรับการเขียน 700 TBW
  • ราคา 8,790 บาท (Compute and More)
8. WD Black SN850 1TB (8,890 บาท)

sn850 sd

WD Black SN850 นั้นเป็น SSD 1TB ภาคต่อของ SN750 ซึ่งอัพเกรดสเปคมาแบบจัดเต็มและรุ่นมีซิ้งค์ระบายความร้อนจะมีระบบไฟ RGB ติดตั้งมาด้วยให้เข้ากับเซ็ตเกมมิ่งพีซีของหลายคนในยุคนี้ที่ชอบการจัดไฟให้ดูมีสีสันมากขึ้น ส่วนเวอร์ชั่นไม่มีฮีตซิ้งค์ก็จะตัวบางสามารถติดตั้งในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คได้อีกด้วย ส่วนสเปคนั้นจัดว่าแรงหายห่วงแน่นอน รวมทั้งระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย

สเปคของ WD Black SN850 นั้นเป็น PCIe 4.0×4 ใช้ Controller ของ WD เอง มีความเร็ว Read 7,000 MB/s และ Write 5,300 MB/s ส่วนค่า 4K IOPS สูงสุดทั้ง Read และ Write ที่ 1M ซึ่งจัดว่าสูงมากไล่เลี่ยกับ Samsung 980 Pro ทีเดียว ส่วนความทนทานของรุ่น 1TB จะอยู่ที่ 600 TBW แต่ถ้าเป็นรุ่น 2TB จะเพิ่มเป็น 1,200 TBW แต่อย่างไรก็ตามถ้าใช้งานทั่วไปก็ถือว่าใช้งานได้นานมาก ดังนั้นนี่เป็น SSD 1TB น่าสนใจอีกรุ่นซึ่งไม่ควรมองข้ามเลย ผู้สนใจสามารถอ่านรีวิวได้ที่นี่

สเปคของ WD Black SN850 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 4.0×4
  • Controller ที่ WD ออกแบบเอง
  • ความเร็ว Read 7,000 MB/s Write 5,300 MB/s
  • 4K IOPS Read 1M Write 1M
  • รองรับการเขียน 600 TBW
  • ราคา 8,890 บาท (JIB)
9. SEAGATE FIRECUDA 520 1TB (9,590 บาท)

firecuda 520

SEAGATE FIRECUDA 520 เองก็เป็น SSD 1TB ตัวแรงอีกรุ่นที่แม้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควรแต่ประสิทธิภาพนั้นถือว่าจัดจ้านมากและทางเว็บไซต์ก็เคยทำรีวิว NVMe รุ่นนี้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งประสิทธิภาพนั้นสูง ไม่ร้อนและตัวบางสามารถเอาไปติดตั้งในเกมมิ่งพีซีหรือโน๊ตบุ๊คก็ได้สบาย ๆ

สเปคใช้ Controller ของ Phison PS5016-E16 ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานดีทีเดียว มีความเร็ว Read 5,000 MB/s และ Write 4,400 MB/s ถือว่าเร็วไม่แพ้ใครเช่นกัน ด้าน 4K IOPS อยู่ที่ Read 760K กับ Write 700K ด้วยกัน มีความทนทาน 1,800 TBW จัดว่าอยู่ในอันดับต้นในกลุ่ม SSD 1TB  ที่เลือกมาแนะนำในวันนี้ ถ้าใครหวังว่าจะซื้อ NVMe ไปแล้วใช้งานได้นานและแรงหายห่วง SEAGATE FIRECUDA 520 ก็เป็นตัวเลือกน่าสนใจเช่นกัน

สเปคของ SEAGATE FIRECUDA 520 1TB

  • อินเตอร์เฟส PCIe 4.0×4
  • Controller Phison PS5016-E16
  • ความเร็ว Read 5,000 MB/s Write 4,400 MB/s
  • 4K IOPS Read 760K Write 700K
  • รองรับการเขียน 1,800 TBW
  • ราคา 9,590 บาท (JIB)
สรุป – เลือกซื้อ SSD 1TB ไปใช้กับอุปกรณ์ไหนดี

จะเห็นได้ว่า SSD 1TB ทั้ง 9 รุ่นที่เลือกมาแนะนำนั้นมีทั้งเป็น PCIe 3.0 และ 4.0 ซึ่งมีประสิทธิภาพดีและน่าใช้ทุกรุ่น และราคามีไล่ตั้งแต่ถูกไปจนรุ่นแพงประสิทธิภาพสูงไปเลย ซึ่งสเปคโดยสรุปจะมีดังนี้

รุ่น / สเปค ของ SSD 1TB อินเตอร์เฟส ความเร็ว 4K IOPS รองรับการเขียน Controller ราคา
WD Blue SN550 1TB PCIe 3.0×4 Read 2,400 MB/s

Write 1,950 MB/s

Read 410K

Write
405K

600
TBW
Controller เฉพาะของ WD 3,790 บาท
ADATA XPG SX8200 Pro 1TB PCIe 3.0×4 Read 3,500 MB/s

Write 3,000 MB/s

Read 390K

Write 380K

SM2262G 4,390 บาท
Samsung 970 Evo 1TB PCIe 3.0×4 Read 3,400 MB/s

Write 2,500 MB/s

Read 500K

Write 450K

600 TBW Samsung Phoenix 4,990 บาท
WD Black SN750 1TB PCIe 3.0×4 Read 3,470 MB/s

Write 3,000 MB/s

Read 515K

Write 560K

600 TBW Controller เฉพาะของ WD 5,690 บาท
Corsair MP600 1TB PCIe 4.0×4 Read 4,950 MB/s

Write 4,250 MB/s

Read 680K

Write 600K

1,800 TBW Phison PS5016-E16 6,990 บาท
Samsung 980 Pro 1TB PCIe 4.0×4 Read 7,000 MB/s

Write 5,000 MB/s

Read 1M

Write 1M

600 TBW Samsung Elpis 7,590 บาท
ADDLINK S95 1TB PCIe 4.0×4 Read 7,000 MB/s

Write 5,000 MB/s

Read 350K

Write 700K

700 TBW Phison PS5018-E18 8,790 บาท
WD Black SN850 1TB PCIe 4.0×4 Read 7,000 MB/s

Write 5,300 MB/s

Read 1M

Write 1M

600 TBW Controller เฉพาะของ WD 8,890 บาท
SEAGATE FIRECUDA 520 1TB PCIe 4.0×4 Read 5,000 MB/s

Write 4,400 MB/s

Read 760K

Write 700K

1,800 TBW Phison PS5016-E16 9,590 บาท

แต่ถ้าให้ฟันธงว่าจะเลือกซื้อ NVMe รุ่นไหนไปใช้งานดีต้องดูการใช้งานของเราว่าต้องการเอาไปใช้กับเครื่องไหนเป็นหลัก เช่นถ้าเอาไปใช้กับเกมมิ่งพีซีอาจจะเลือกรุ่นที่ใช้ PCIe 4.0 เพื่อให้เข้ากับอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงชิ้นอื่น ๆ และรองรับการอัพเกรดในอนาคตได้อีกด้วย ส่วนโน๊ตบุ๊คทำงานทั่วไปอาจจะเลือกซื้อเป็น PCIe 3.0 ก็จัดว่ามีประสิทธิภาพดีน่าพอใจแล้วแต่ถ้าใช้ 4.0 ก็จะทำให้เปิดโปรแกรมต่าง ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้นไปหลายเท่า โดยเฉพาะคนที่ใช้โน๊ตบุ๊คทำงานกับโปรแกรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ จะช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก ดังนั้นก่อนจะเลือกซื้อก็ลองตั้งโจทย์การใช้งานดูก่อนว่าเราต้องการเอาไปใช้งานแบบไหนก็จะทำให้เราเลือกซื้อ NVMe อันใหม่ได้ดีขึ้นแน่นอน

from:https://notebookspec.com/web/583641-9-ssd-1tb-with-good-spec-for-gamer

รวมวิธีอ่านสเปค SSD ที่คนขายไม่เคยบอก อัพเดตล่าสุด 2021

ตอนซื้อ SSD นั้นไม่ใช่แค่เรื่อง PCIe รุ่นไหน ความเร็วเท่าไหร่ เพราะสเปค SSD นั้นเขียนรายละเอียดอื่น ๆ ที่มีผลต่อการใช้งานเอาไว้เยอะมากจนผู้ใช้ทั่วไปอาจจะเลือกมองข้าม เพราะดูแล้วยุ่งยากมากเกินไปเลยเลือกแค่ดูเรื่องความเร็วอย่างเดียวแล้วจบ เพราะถ้าเราดูข้อมูลในหน้ากระดาษสเปคของผู้ผลิตจะเห็นว่า SSD ไม่ว่าจะเป็น SATA, NVMe หรือแม้แต่ External SSD จะมีรายละเอียดอยู่มากมายทีเดียว

สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เรื่อง SSD หรือคนที่เคยเลือกซื้อ SSD ด้วยวิธีการดูแค่ความเร็วอย่างเดียวแล้วมีความสนใจอยากรู้ว่าในสเปคจากผู้ผลิตเขียนอะไรเอาไว้บ้าง เราจะมาไล่ดูรายละเอียดทีละส่วนในบทความนี้กัน

สเปค ssd
สเปคข้างใน SSD สักตัวบอกเลยว่าสำคัญกว่ามีไฟ RGB เป็นไหน ๆ

สเปค SSD มีเรื่องสำคัญกว่าแค่ดูความเร็ว Read/Write และไฟ RGB

14756 01 biostar launches new m700 2 pcie nvme ssds

จากในบทความเกี่ยวกับ SSD ที่ผ่านมานั้น ผู้เขียนก็ได้สอดแทรกข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับ SSD ในส่วนต่าง ๆ เอาไว้บ้างแล้ว แต่ก็เป็นรายละเอียดประกอบการตัดสินใจซื้อ SSD และอุปกรณ์อื่น ๆ อยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งประเภทของ flash memory ในบทความ “ไขข้อข้องใจ SSD กี่ GB ดี? 256GB หรือ 512GB? หรือ 1TB เลยจบๆ”, จุดเด่นของ SSD ทั้งแบบ SATA และ NVMe ใน “SSD รุ่นไหนดี มาดู NVMe 6 รุ่นนี้ได้เลย สเปคดีฟีเจอร์เด็ดแน่” และคีย์แบบต่าง ๆ ของ NVMe ในบทความ “แนะนำ 4 กล่อง SSD ใส่ NVMe ใช้เซฟงานได้ Clone Windows ก็ดี”

แต่ทั้งหมดนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเลือก SSD ทั้ง SATA และ NVMe เท่านั้น นั่นเพราะหน้าสเปคจากผู้ผลิตนั้นยังมีรายละเอียดสเปค SSD รุ่นนั้น ๆ เขียนเอาไว้อีกหลายส่วนซึ่งผู้ใช้เช่นเราอาจจะมองข้ามไปเพราะไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร ทั้งที่จริง ๆ แล้วสำคัญไม่แพ้เรื่องความเร็ว Read/Write ซึ่งถูกนำมาโฆษณาอยู่เป็นประจำ

Screenshot 2021 02 27 161944

อย่างไรก็ตามถ้าเรากดเข้าไปดูหน้าสเปค SSD ตามหน้าเว็บไซต์ผู้ผลิตต่าง ๆ เช่น Western Digital ในหน้าสเปคของ WD Blue SN550 ก็อาจจะเห็นข้อมูลเพียงแค่ Sequential Read Performance และ Sequential Write Performance สูงเท่าไหร่เท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งเข้าใจได้ง่ายที่สุด แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราคลิกในส่วนของ Spec โดยละเอียดของ SSD รุ่นนั้น ๆ ขึ้นมาอ่าน ก็จะเป็นหน้าเอกสาร PDF แสดงสเปค SSD รุ่นนั้นโดยละเอียด

wd blue 1tb

จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลจำเพาะจะมีข้อมูลแสดงรายละเอียดทั้งหมดของ SSD รุ่นนั้น ถ้าดูในส่วนของอินเตอร์เฟส จะเห็นข้อมูลส่วนแรกคือ M.2 2280 คือเป็น SSD แบบ M.2 NVMe ขนาด 2280 (กว้าง 22 มม. ยาว 80 มม.) และเป็น NVMe ที่ใช้อินเตอร์เฟส PCIe Gen3 มีความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ที่ 8Gb/s

สำหรับคนที่สงสัยว่า PCIe Gen3 เอาไปใช้กับเมนบอร์ดที่มีช่อง M.2 PCIe Gen4 ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่จะทำงานที่ความเร็วสูงสุดเท่ากับ PCIe รุ่นที่ต่ำกว่า นั่นคือจะวิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ PCIe Gen 3 เท่านั้น

จะเห็นว่า ความเร็วในการอ่านอ่านตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Read Performance) และความเร็วในการเขียนตามลำดับสูงสุด (Max Sequential Write Performance) ของ WD Blue SN550 จะเป็นความเร็วเดียวกันกับที่เขียนเอาไว้ตรงหน้าแรกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 

Random vs sequential access

สำหรับการเขียนและอ่านข้อมูลเข้าออก SSD นั้นจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ Sequential (เรียง) และ Random (สุ่ม) โดย Sequential จะเป็นผลความเร็วในการอ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ที่ทางผู้ผลิตนำมาเสนอในหน้าแสดงสเปคให้ผู้ใช้เห็นนั่นเอง

โดยไฟล์ที่ SSD จะอ่านแบบ Sequential คือไฟล์ขนาดใหญ่เกิน 128 kB ขึ้นไป ส่วนการอ่านแบบ Random จะใช้กับไฟล์ขนาดเล็ก เช่นไฟล์ 4KB เป็นพวกไฟล์ cache, Cookies ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้เช่นเราก็จะได้ใช้งานทั้งสองแบบนี้สลับกันไปมา

CrystalDiskMark 6.0.2 x64 2 11 2020 11 47 45 AM

อิงจากรีวิว WD Blue SN550 ความจุ 1TB ที่ Notebookspec เคยรีวิว จะได้ผล Benchmark ก็จะเห็นว่าการอ่านแบบ Sequential Read Performance จะได้อยู่ 2,432MB/s และ Sequential Write Performance อยู่ที่ 2,033MB/s ซึ่งถ้าใช้งานกับโปรแกรมและไฟล์ขนาดใหญ่ก็จะอ่านเขียนได้เร็วทีเดียว

ส่วนไฟล์แคชขนาดเล็กในส่วน 4KiB จะได้ Read 1,036MB/s และ Write 1,231MB/s ซึ่งถ้าเป็นไฟล์แคชขนาดเล็กก็จะเห็นว่าประสิทธิภาพลดลงไปครึ่งหนึ่ง

wd blue 1tb IOPS TBW

หัวข้อ IOPS (Input/Output Operations per second) หรือความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเข้าและออก SSD แบบสุ่มในความเร็วต่อวินาที ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ควรโฟกัสเวลาอ่านรีวิว SSD รุ่นต่าง ๆ เพราะเป็นความเร็วตอนเขียนอ่านไฟล์เช่น cache file, cookies, pages file, ความเร็วในการเซฟและโหลดเซฟเกม ฯลฯ ซึ่งถ้ามีค่ามากก็จะยิ่งทำให้ SSD อันนั้นสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็นค่าความเร็วจริงของ SSD รุ่นนั้น ๆ 

ดังนั้นในส่วนนี้ถ้ามีค่า IOPS สูง ก็จะทำให้ NVMe ลูกนั้น ๆ สามารถจัดการคำสั่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ทำได้เร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง และ IOPS จะมีความเกี่ยวข้องกับส่วนของ 4KB Random Read, 4KB Random Write ด้วย

1800655

หัวข้อ TBW หรือ Terabytes Written เป็นส่วนแสดงอายุการใช้งานของ SSD นั้น ๆ ว่ามีอายุการใช้งานมากน้อยเท่าไหร่ เช่นของ WD Blue SN550 ตัวนี้จะอยู่ที่ 600TBW คือสามารถเขียนไฟล์ทับลงไปใน flash memory ของ SN550 ได้ 600TB

หากเทียบพื้นที่ขนาด 1TB เป็นจำนวนเพลง เราจะสามารถจุเพลงเอาไว้ได้ 200,000 เพลง ถ้าใช้ลง Windows 10 Home ขนาด 32GB (คิดจากตอนไฟล์ทั้งหมดติดตั้งลงเครื่องและบูตขึ้นมาพร้อมใช้งานแล้ว) ก็จะลง Windows 10 Home ซ้ำ ๆ ใน SSD ลูกนั้นได้ 31.25 ครั้ง ถึงจะครบ 1TB ดังนั้นอายุการใช้งาน 600TBW นั้นถือว่ายาวนานมาก

หัวข้อความเชื่อถือได้ ในข้อมูลของสเปค SSD นั้น จะเป็นการประเมินชั่วโมงการใช้งานของ SSD ลูกนั้นโดยผู้ผลิตจะเขียนทั้ง MTTF (Mean Time To Failure) และ MTBF (Mean Time Between Failure) ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้จะมีความหมายใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว โดย

  • MTTF (Mean Time To Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งานโดยรวม ตั้งแต่เริ่มใช้งานจนกระทั่งเสียหายและใช้งานไม่ได้อีกเลยและซ่อมให้กลับมาใช้งานไม่ได้
  • MTBF (Mean Time Between Failure) – เป็นการประเมินอายุการใช้งาน ซึ่งจะเป็นเวลาใช้งานโดยเฉลี่ยจนกว่าจะเกิดปัญหาระหว่างใช้งาน แต่ยังซ่อมกลับมาใช้งานได้

ซึ่งค่า MTTF และ MTBF จะเขียนหน่วยในหน้าสเปคเอาไว้ระดับล้านชั่วโมง จะเห็นว่า SN550 นี้เขียนเป็น MTTF นั่นคือผู้ผลิตประเมินอายุการใช้งานเอาไว้ที่ 1.7 ล้านชั่วโมง ถ้าคำนวนเป็นเวลา 24 ชั่วดมง (1 วัน) จะอยู่ที่ 70,833 วัน หรือราว 190 ปี แต่อย่างไรก็ตามการประเมินนี้จะเป็นการคำนวนจากระบบและอัลกอริธึ่มของผู้ผลิต ซึ่งถ้าใช้งานจริงอาจจะมีตัวแปรอื่น ๆ ทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการจ่ายไฟฟ้าไม่เสถียร, สภาพอากาศและอื่น ๆ

temp and warranty

หัวข้อสภาพแวดล้อม จะเป็นเรื่องอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน SSD ลูกนั้น ๆ ซึ่งถ้าอยู่ในระดับความร้อนที่เหมาะสมก็จะทำให้ใช้งานได้นานขึ้นนั่นเอง ซึ่งในตัวอย่างจะเห็นว่าอุณหภูมิการตอนทำงานอยู่ที่ 0-70 องศาเซลเซียส และตอนไม่ใช้ทำงาน อยู่ที่ -55 ถึง 85 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเราใช้งานตามปกติก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ กับตัว SSD อย่างแน่นอน

หัวข้อการรับประกันแบบจำกัดเงื่อนไข จะเห็นว่าตัว SSD นี้จะมีอายุรับประกันที่ 5 ปี แต่ตรงหัวข้อถูกเขียนตัวเลขหมายเหตุเอาไว้ จะเห็นว่าผู้ผลิตนั้นกำหนดเงื่อนไขรับประกันเอาไว้ว่าถ้า SSD ลูกนี้มีอายุการใช้งานที่ 5 ปี หรือ ค่าความทนทานการใช้งาน (Terabytes Written) เขียนถึงกำหนดก่อน ก็จะหมดประกันการใช้งานไปโดยปริยาย ซึ่งส่วนตัวผู้เขียนมองว่าถ้า SSD ลูกนั้นไม่ถูกนำไปทำเป็น Server หรือฮาร์ดดิสก์ที่ถูกเขียนอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ค่า TBW ก็จะไม่เต็มง่าย ๆ อย่างแน่นอน แต่ประกันตามอายุการใช้งานที่กำหนดน่าจะหมดก่อนเสียมากกว่า

นอกจากนี้ถ้าผู้อ่านคนไหนเห็นคำว่า 3D NAND อยู่ในหน้าสเปค นั่นคือ SSD แบบที่ใช้วิธีการผลิตโดยซ้อน cell ของ flash memory ลงไป 32 เลเยอร์ เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของ flash memory ให้ SSD มีความจุมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็น SSD ที่ใช้ 3D NAND มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้ flash memory แบบ TLC และ QLC มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

sata ssd

เมื่ออ่านข้อมูลสเปค SSD ว่าแต่ละหัวข้อหมายถึงอะไรบ้างมาถึงจุดนี้แล้ว จะเห็นว่าในหน้าข้อมูลของ SATA SSD ก็จะเขียนข้อมูลแบบเดียวกันกับ NVMe SSD แต่จะต่างกันตรงอินเตอร์เฟสที่เปลี่ยนจาก PCIe 3.0 หรือ 4.0 ไปเป็น SATA III ความเร็ว 6Gb/s แทน

sata ssd Copy

แต่จุดสังเกตในสเปค SSD แบบ SATA คือ อินเตอร์เฟสจะมีแบบ M.2 2280 ด้วย ซึ่งมีหน้าตาคล้ายกับ M.2 NVMe เป็นอย่างมากและใช้หน้าพิน เป็น M-Key แบบเดียวกันได้ด้วยเช่นที่เคยอธิบายไปในบทความที่แล้ว 

798d4dc6a3b1f9022fe8f8052a33b047 e1614427415580
ถ้าสังเกตหน้ากล่องตรงตัว SSD ที่สกรีนเอาไว้ จะมีคำว่า SATA M.2 2280 เขียนอยู่

ตัวอย่างเช่น WD Green PC SSD SATA M.2 2280 ในตัวอย่างจะเขียนคำว่า SATA เอาไว้ตรงภาพ SSD ที่หน้ากล่อง หรือไม่ก็สังเกตว่าตรงอินเตอร์เฟสที่เอามาต่อกับคอมพิวเตอร์เป็น B & M Key ก็จะรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับ PCIe x2 เท่านั้น ดังนั้นจะมีความเร็วระดับ SATA เท่านั้น อย่างที่ทางเว็บไซต์เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ 

ดังนั้นเราจะเห็นแล้วว่าในหน้าสเปค SSD ถ้าอ่านโดยละเอียดและสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่ามีรายละเอียดต่าง ๆ ให้อ่านมากมายทำให้เรารู้ว่า SSD รุ่นนั้น ๆ มีประสิทธิภาพดีอย่างที่เราต้องการหรือไม่ และก่อนซื้อก็ควรเช็คเมนบอร์ดของเราเสมอว่าสามารถใช้ SSD แบบไหนบ้าง จะได้เลือกซื้อ SSD อันใหม่มาอัพเกรดเครื่องของเราได้โดยไม่เสียเงินฟรีนั่นเอง

from:https://notebookspec.com/web/579455-easy-way-to-read-ssd-spec-sheet

SSD รุ่นไหนดี มาดู NVMe 6 รุ่นนี้ได้เลย สเปคดีฟีเจอร์เด็ดแน่

จะพีซีหรือโน๊ตบุ๊คสำหรับใช้ทำงานหรือเล่นเกม ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็มองหา SSD สักรุ่นเอาไปใช้ให้เครื่องทำงานได้เร็วทันใจแน่นอน แต่ปัญหาว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดีก็น่าจะวนเวียนอยู่ในหัวของใครหลาย ๆ คน แน่ เพราะแบรนด์ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์หลายเจ้าก็ผันตัวมาผลิต SSD กันจนมีหลายรุ่นหลากสเปคให้เลือกกันเยอะแยะไปหมด

นอกจากนี้ถ้าหาข้อมูลอีกนิด หลายคนก็จะเห็นว่า SSD มีให้เลือกทั้งแบบ SATA และ NVMe จนไม่รู้ว่าต้องเลือกตัวไหนดีถึงจะคุ้มแล้วแต่ละรุ่นจะมีฟีเจอร์อะไรน่าใช้บ้าง ในบทความนี้เราจะหยิบ NVMe รุ่นน่าสนใจพร้อมฟีเจอร์น่าสนใจมาคลายความสงสัยว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดีให้รู้กัน

SSD รุ่นไหนดี
NVMe SSD ตัวแรงสเปคดียุคนี้หามาใช้ได้ง่ายมากแถมราคาก็ถูกลงไปมาก

SSD รุ่นไหนดี ซื้อSATA หรือไป NVMe เลย

หากใครได้อ่านบทความ “ไขข้อข้องใจ SSD กี่ GB ดี? 256GB หรือ 512GB? หรือ 1TB เลยจบๆ” ไปแล้ว ผู้เขียนก็เชื่อว่าผู้อ่านหลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบในหัวของตัวเองแล้วว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดีมาติดตั้งในเครื่องของเราดีแต่กำลังอยู่ระหว่างชั่งน้ำหนักกันว่าจะเลือกซื้อ SATA SSD หรือว่าเอา NVMe มาใส่ในพีซีของเราดีกว่า ซึ่งทั้งสองแบบก็มีจุดเด่นและข้อสังเกตกันทั้งนั้น ซึ่งถ้าจำแนกตามข้อดีและข้อสังเกตก็จะมีดังนี้

wd black sn850 nvme ssd family.png.thumb .1280.1280

NVMe SSD

  • ข้อดี
    • อ่านเขียนข้อมูลได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงกว่า SATA SSD ร่วม 5-7 เท่า
    • ราคาในตอนนี้ไล่เลี่ยกับ SATA SSD หลาย ๆ รุ่นซึ่งมีความจุเท่ากัน
    • บางรุ่นมีฟีเจอร์เข้ารหัสข้อมูล AES-256 ติดตั้งมาในตัว
    • บางรุ่นติดตั้งซิ้งค์ระบายความร้อนมาช่วยระบายความร้อนบนตัวชิป flash memory ทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วและเสถียร และ flash memory เสื่อมสภาพช้าลง
    • ผู้ผลิตมีเฟิร์มแวร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ NVMe เปิดให้โหลดไปใช้ได้
  • ข้อสังเกต
    • ดีไซน์ของ NVMe SSD กับ M.2 SSD มีหน้าตาคล้ายกัน ต้องสังเกตที่ขาเชื่อมต่อเข้าพอร์ต PCIe X4 
    • ต้องดูว่าเมนบอร์ดของพีซีหรือโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่ารองรับหรือไม่
    • เมนบอร์ดในปัจจุบันยังรองรับ NVMe สูงสุดเพียง 2 ช่องเท่านั้น ถ้าต้องการทำ RAID 0 หรือ RAID 1 ต้องเลือกเมนบอร์ดที่มี NVMe x 2 ช่อง ถึงจะทำได้
    • NVMe SSD บางรุ่นที่มีฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนไม่สามารถติดตั้งในโน๊ตบุ๊คได้เพราะใหญ่เกินฝาหลังโน๊ตบุ๊ค

331480 des 02 hikvision ssd sata iii c100 120 gb

SATA SSD

  • ข้อดี
    • ราคาเข้าถึงง่าย ปัจจุบันหลายรุ่นหาซื้อได้ในราคาหลักร้อยบาท
    • ใช้กับพีซีหรือโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันได้ทุกรุ่น ใช้แทนฮาร์ดดิสก์ 2.5″ ในเครื่องได้ทันที
    • สามารถหาซื้ออะแดปเตอร์แปลง SATA เป็น USB 3.0 มาต่อแล้วเปลี่ยนเป็น External Harddisk ได้ด้วย
    • ติดตั้ง SATA SSD ได้มากเท่าที่พอร์ต SATA และสายไฟเลี้ยง SATA มีให้ใช้งาน
    • ทำ RAID ได้เหมือน HDD ทั่วไป ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นและราคาไม่แพงมาก
  • ข้อสังเกต
    • ความเร็วน้อยกว่า NVMe ร่วม 5-7 เท่า เพราะ SSD รับส่งข้อมูลได้เร็วถึงขอบเขตความเร็วสูงสุดของพอร์ต SATA 3 แล้ว
    • ใช้ไฟฟ้ามากกว่า NVMe พอสมควร ถ้าใช้ในโน๊ตบุ๊คจะทำให้ระยะเวลาทำงานด้วยแบตเตอรี่ลดลงไปบ้าง
    • ไม่มีฟีเจอร์เข้ารหัสรักษาความปลอดภัยเช่น AES-256 อยู่ในตัว ถ้าใช้งานกับพีซีหรือโน๊ตบุ๊คที่มี TPM ถึงจะปลอดภัยขึ้น
พีซีเก่าใส่ NVMe ไม่ได้ไม่เป็นไร M.2 PCie Adapter ช่วยได้!

nvme

เมื่อรู้ถึงข้อดีของ NVMe SSD แล้ว ก็เชื่อว่าน่าจะคลายข้อสงสัยว่าจะเลือก SSD รุ่นไหนดีไปได้มากทีเดียว แต่ถ้าปัญหาคือเมนบอร์ดของพีซียังเป็นรุ่นเก่าและยังไม่อยากเสียเงินซื้อเมนบอร์ด, ซีพียู, แรม และอาจรวมถึงฮีตซิ้งค์ระบายความร้อนตัวใหม่ด้วย ก็ยังสามารถใช้งาน NVMe SSD ได้เช่นกัน เพียงหาซื้ออุปกรณ์เสริม เช่น M.2 PCIe Adapter มาใส่ NVMe แล้วติดตั้งเข้าพอร์ต PCIe X4 หรือ X16 บนเมนบอร์ดก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ถ้าเราต่อ M.2 PCIe Adapter ตัวนี้เข้ากับพีซีแล้ว ก็ช่วยแก้ปัญหาเมนบอร์ดมี NVMe SSD เพียงช่องเดียวแล้วต้องการเพิ่ม NVMe ตัวที่สองได้ทันที และตั้งค่าให้ทำ RAID กับ NVMe ตัวหลักได้อีกด้วย ช่วยให้เราจ่ายเงินน้อยลงและไม่ยุ่งยากมากด้วย

แนะนำ SSD สเปคดี ฟีเจอร์เด็ดสำหรับพีซี

สำหรับ SSD แบบ NVMe ในบทความนี้ จะคัดเลือกจาก NVMe รุ่นจัดจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่มองหาอยู่ว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนไปติดตั้งในพีซีหรือโน๊ตบุ๊คเครื่องประจำของเราดี โดยจะเลือกแนะนำเป็นรุ่นความจุ 500GB ประสิทธิภาพดีและราคาไม่สูงมากให้เลือกซื้อไปติดตั้งในเครื่องกัน โดยมีรุ่นแนะนำดังนี้

  1. WD Blue SN550 500GB (2,190 บาท)
  2. Kingston A2000 500GB (2,250 บาท)
  3. ADATA SX8200 Pro 512GB (2,750 บาท)
  4. WD Black SN750 500GB (2,790 บาท)
  5. Samsung 970 EVO Plus 500GB (3,590 บาท)
  6. Seagate FIRECUDA 520 500GB (3,790 บาท)
1. WD Blue SN550 500GB (2,190 บาท)

wd blue sn550 nvme ssd.png.wdthumb.1280.1280 e1613985423532

WD Blue SN550 เป็นรุ่นเริ่มต้นราคาไม่แพงมากและน่าเลือกซื้อรุ่นหนึ่งถ้ากำลังสงสัยว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดี เป็น NVMe M.2 2280 แบบไม่มีฮีตซิ้งค์จึงเอาไปใช้กับพีซีหรือโน๊ตบุ๊คก็ได้ มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลอยู่ที่ Read 2,400 MB/s และ 1,750MB/s จัดว่าเร็วมากพอที่จะใช้ทำงานและเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดย Notebookspec เคยทำรีวิวไปแล้วด้วย

นอกจากความเร็วแล้ว ยังมีค่า 4K Read IOPS ถึง 300K IOPS และ 4K Write IOPS ที่ 240K IOPS รวมทั้งความทนทานในการเขียนข้อมูลมากถึง 300TBW (Terabytes Written) สามารถใช้งานต่อเนื่องได้หลายปี ส่วน flash memory เป็น TLC 

สเปคของ WD Blue SN550

  • ความจุ 500GB
  • ชนิดของ flash memory : TLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 2,400 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 1,750 MB/s
  • 4K Read IOPS : 300K IOPS
  • 4K Write IOPS : 240K IOPS
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 300TBW
  • ราคา 2,190 บาท (JIB)
2. Kingston A2000 500GB (2,250 บาท)

a2000

Kingston A2000 ก็เป็นอีกตัวเลือกคุณภาพดีสำหรับคนเลือกซื้อ NVMe ไปใช้งานสักตัวหนึ่ง แม้เรื่องความเร็วจะเป็นรอง แต่ความเสถียรและความปลอดภัยนั้นจัดว่าไว้ใจได้สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดี โดยเฉพาะคนทำงานเพราะ Kingston ใส่ฟีเจอร์เข้ารหัสความปลอดภัยอย่าง TCG Opal,  XTS-AES แบบ 256-bit และ eDrive ฝังเอาไว้ในตัวไดรฟ์อีกด้วย จึงไว้ใจเรื่องความปลอดภัยได้เลย รวมทั้งเป็น NVMe M.2 2280 แบบไม่มีฮีตซิ้งค์ ตัวไดรฟ์จึงบางจนติดตั้งในโน๊ตบุ๊คหรือพีซีก็ได้ ซึ่งผู้สนใจสามารถคลิกอ่านรีวิวได้ที่นี่

ด้านประสิทธิภาพของ Kingston A2000 ความจุ 500GB จะมีความเร็วในการอ่าน Read 2,200 MB/s และเขียน Write 2,000 MB/s ส่วนความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 4K Read IOPS อยู่ที่ 180K และ 4K Write IOPS ที่ 200K มีความทนทานการเขียนข้อมูล 350TBW ทำให้ใช้งานได้นานหลายปีแน่นอน ส่วน flash memory เป็น TLC

สเปคของ Kingston A2000

  • ความจุ 500GB
  • ชนิดของ flash memory : TLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 2,200 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 2,000 MB/s
  • 4K Read IOPS : 180K IOPS
  • 4K Write IOPS : 200K IOPS 
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 350TBW
  • ราคา 2,250 บาท (JIB)
3. ADATA SX8200 Pro 512GB (2,750 บาท)

productGallery7095 Copy

ADATA SX8200 Pro ก็เป็น NVMe M.2 2280 ความจุ 512GB น่าเลือกซื้อในรายชื่อรุ่นแนะนำถ้ากำลังคิดว่าจะเลือก SSD รุ่นไหนดี เพราะมีความทนทาน, ทำงานได้เสถียร และมีโปรแกรม Acronis True image HD สำหรับ Migrate ย้าย Windows 10 จากคอมพ์เครื่องเก่าไปเครื่องใหม่ได้ง่าย ๆ ให้ใช้งานอีกด้วย

สเปคของ ADATA SX8200 Pro นั้นใช้ flash memory แบบ 3D TLC มีความเร็วในการอ่าน 3,500 MB/s และเขียนเร็ว 3,000 MB/s กับค่า 4K Read IOPS อยู่ 390K IOPS ส่วน 4K Write IOPS อยู่ที่ 380K IOPS และรองรับการเขียนข้อมูลบนไดรฟ์ได้สูงสุด 320TBW ซึ่งถือว่ามากไม่แพ้กับ NVMe ตัวอื่น ๆ ทีเดียว

สเปคของ ADATA SX8200 Pro

  • ความจุ 512GB
  • ชนิดของ flash memory : 3D TLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 3,500 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 3,000 MB/s
  • 4K Read IOPS : 390K IOPS
  • 4K Write IOPS : 380K IOPS 
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 320TBW
  • ราคา 2,750 บาท (Advice)
4. WD Black SN750 500GB (2,790 บาท)

wd black sn750 nvme ssd noheatsink1.png.wdthumb.1280.1280

WD Black SN750 จัดเป็น SSD ตัวแรงประสิทธิภาพสูงน่าเลือกซื้อเช่นกัน เชื่อว่าถ้ามีคนถามว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดี ก็น่าจะมีหลายคนนึกถึง WD Black SN750 รุ่นนี้หลุดปากออกมาบ้างเหมือนกัน ซึ่งนอกจากจะมีซอฟท์แวร์ WD Align Windows – Powered by Acronis สำหรับใช้ Migrate ระบบปฏิบัติการ Windows 10 จากไดรฟ์เก่ามายัง WD Black ตัวนี้แล้ว ยังมี Western Digital Dashboard สำหรับปรับจูนประสิทธิภาพให้ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย และสามารถอ่านรีวิวทดสอบความแรงของ WD Black SN750 ได้ที่นี่

สเปคของ NVMe M.2 2280 ตัวนี้เป็น flash memory ของ SanDisk 64-layer TLC มีความเร็วในการอ่านที่ 3,470 MB/s และเขียน 2,600 MB/s มีค่า 4K Read IOPS สูงถึง 420K IOPS และ 4K Write IOPS อยู่ที่ 380K IOPS และความทนทานในการเขียน 300TBW จัดว่าทำงานได้เร็วแรงถึงใจ เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการ NVMe ประสิทธิภาพสูงไว้ใช้ทำงานและเล่นเกมอย่างมาก และตอนนี้มีรุ่นใหม่อย่าง SN850 เปิดตัวออกมาแล้วด้วย

สเปคของ WD Black SN750

  • ความจุ 500GB
  • ชนิดของ flash memory : SanDisk 64-layer TLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 3,470 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 2,600 MB/s
  • 4K Read IOPS : 420K IOPS
  • 4K Write IOPS : 380K IOPS 
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 300TBW
  • ราคา 2,790 บาท (Advice)
5. Samsung 970 EVO Plus 500GB (3,590 บาท)

Screenshot 2021 02 22 173415

Samsung 970 EVO Plus แม้จะเป็นรุ่นที่รองจากตัว Pro ก็ตาม แต่สเปคและประสิทธิภาพก็ไม่น้อยหน้าและมีซอฟท์แวร์สำหรับ Migrate จากฮาร์ดดิสก์ลูกเก่ามายัง 970 EVO Plus และซอฟท์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานอีกด้วย รวมทั้งใช้คอนโทรลเลอร์คุมการทำงานของ Samsung เอง ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องประสิทธิภาพที่ทำงานได้เร็วอย่างโดดเด่นซึ่งคนที่กำลังคิดว่าจะซื้อ SSD รุ่นไหนดีที่เน้นประสิทธิภาพการใช้งานสูงและราคาไม่แพงเกินไป และทาง Notebookspec เคยทำรีวิวไปแล้ว สามารถคลิกอ่านได้ที่นี่

สำหรับ Samsung 970 EVO Plus จะใช้ flash memory แบบ Samsung V-NAND 3-bit MLC ถ้าเทียบกันแล้วเทียบเท่ากับ TLC ตัว SSD เป็นแบบ 2280 มีความเร็วในการอ่าน 3,500 MB/s และเขียน 3,200 MB/s ส่วนค่า 4K Read IOPS อยู่ที่ 480K IOPS กับ 4K Write IOPS ที่ 550K IOPS ส่วนความทนทานในการเขียนข้อมูลลงไดรฟ์อยู่ที่ 300TBW ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ที่ชอบความเร็วและประสิทธิภาพระดับสูง ช่วยให้โหลดโปรแกรมขนาดใหญ่ต่าง ๆ ได้เร็วทันใจทีเดียว

สเปคของ Samsung 970 EVO Plus

  • ความจุ 500GB
  • ชนิดของ flash memory : Samsung V-NAND 3-bit MLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 3,500 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 3,200 MB/s
  • 4K Read IOPS : 480K IOPS
  • 4K Write IOPS : 550K IOPS 
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 300TBW
  • ราคา 3,590 บาท (JIB)
6. Seagate FIRECUDA 520 500GB (3,790 บาท)

520

Seagate FIRECUDA 520 จัดเป็น SSD สเปคเกมเมอร์เน้น ๆ ซึ่งนอกจาก Samsung ในข้อที่แล้วก็มี Seagate FIRECUDA 520 ตัวนี้เป็นรุ่นแนะนำเช่นกัน เนื่องจากเป็น PCIe Gen 4.0 สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีอายุใช้งานยาวนาน ไม่มีฮีตซิ้งค์เลยเอาไปติดตั้งในเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คได้เช่นกัน รวมทั้งรองรับ AMD Ryzen 5000 Series แล้วด้วย

สเปคของ Seagate FIRECUDA 520 ความจุ 500GB ใช้ flash memory แบบ 3D TLC เป็น NVMe M.2 2280 มีความเร็วในการอ่าน 5,000 MB/s ซึ่งจัดว่าสูงมากสุดในกลุ่ม NVMe รุ่นแนะนำและเขียน 2,500 MB/s ส่วนค่า 4K Read IOPS อยู่ที่ 430K IOPS และ 4K Write IOPS สูงถึง 630K IOPS ทีเดียว และทนทานมากเพราะรองรับการเขียนลงไดรฟ์ 850TBW มากกว่ารุ่นอื่นร่วมสองเท่า เหมาะกับผู้ใช้ที่อยากได้ NVMe ประสิทธิภาพสูงและใช้งานได้ทนทานระดับลืมไปแล้วว่าซื้อมาเมื่อไหร่เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้สนใจสามารถอ่านรีวิวของ Seagate FIRECUDA 520 ได้ที่นี่

สเปคของ Seagate FIRECUDA 520

  • ความจุ 500GB
  • ชนิดของ flash memory : 3D TLC
  • ความเร็วในการอ่าน : 5,000 MB/s
  • ความเร็วในการเขียน : 2,500 MB/s
  • 4K Read IOPS : 430K IOPS
  • 4K Write IOPS : 630K IOPS 
  • ความทนทานในการเขียนข้อมูล : 850TBW
  • ราคา 3,790 บาท (JIB)

สรุป – เลือกซื้อ SSD รุ่นไหนดี ถึงเป็นตัวจบ

จะเห็นว่าสเปคของ NVMe แต่ละรุ่นนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงมากและมีจุดเด่นแตกต่างกัน ซึ่งถ้าอ่านตามตารางข้างล่างนี้จะเห็นว่าแต่ละรุ่นใช้ flash memory แบบ TLC กันทั้งหมดแล้ว แต่ก็มีอายุการใช้งานยาวนานมากจนไม่ต้องกังวลการใช้งานเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว

รุ่น / สเปค ชนิดของ flash memory ความเร็วอ่าน ความเร็วเขียน 4K Read IOPS 4K Write IOPS ความทนทาน ราคา
WD Blue SN550 500GB TLC 2,400 MB/s 1,750 MB/s 300K IOPS 240K IOPS 300TBW 2,190 บาท
Kingston A2000 500GB TLC 2,200 MB/s 2,000 MB/s 180K IOPS 200K IOPS 350TBW 2,250 บาท
ADATA SX8200 Pro 512GB 3D TLC 3,500 MB/s 3,000 MB/s 390K IOPS 380K IOPS 320TBW 2,750 บาท
WD Black SN750 500GB SanDisk 64-layer TLC 3,470 MB/s 2,600 MB/s 420K IOPS 380K IOPS 300TBW 2,790 บาท
Samsung 970 EVO Plus 500GB Samsung V-NAND 3-bit MLC 3,500 MB/s 3,200 MB/s 480K IOPS 550K IOPS  300TBW 3,590 บาท
Seagate FIRECUDA 520 500GB 3D TLC 5,000 MB/s 2,500 MB/s 430K IOPS 630K IOPS 850TBW 3,790 บาท

อย่างไรก็ตามทั้ง 6 รุ่นนี้เป็นเพียงรุ่นน่าสนใจจากมุมมองของผู้เขียนเท่านั้น เพราะว่า NVMe รุ่นน่าสนใจและประสิทธิภาพดีก็ยังมีให้เลือกอีกมากมายในท้องตลาดและมีรุ่นเด่นสเปคดีที่ไม่ได้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งผู้ใช้สามารถหาซื้อได้ด้วยการสั่งซื้อผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ตามความสะดวกและความชอบของแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามอาจจะไม่แนะนำมากนักเนื่องจากไม่มีการรับประกันในประเทศไทย เมื่อเกิดปัญหาก็จำเป็นต้องส่งเคลมกลับไปต่างประเทศ ไม่ก็ต้องยอมรับสภาพและซื้อ NVMe รุ่นใหม่มาเปลี่ยนแทน

สุดท้ายจะซื้อ SSD รุ่นไหนดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราว่าจุดประสงค์เน้นเรื่องการใช้ทำงานทั่วไปหรือเน้นเรื่องการเล่นเกมเป็นหลัก เพียงดูข้อมูลเพิ่มเติมและเลือกให้เข้ากับรูปแบบของเราใช้งานสักนิดก็จะช่วยให้เราได้สินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานของเราไปใช้งานอย่างแน่นอน 

from:https://notebookspec.com/web/578565-6-recommend-ssd-to-speed-up-your-pc

รวมมิตร SSD 1TB ในราคาโคตรถูก ซื้อใช้งานแทนฮาร์ดดิสค์ได้เลย

ตอนนี้ SSD ราคาถูก ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจของผู้ใช้พีซีอย่างเราไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊คหรือคอมตั้งโต๊ะก็ตามด้วยราคาที่ถูกลงมามาก จับต้องได้ง่ายขึ้นถึงระดับความจุ 1TB ใช้งานได้โดยไม่ต้องพึ่งฮาร์ดดิสค์ต่อแยกเลย แม้จะเป็นเพียงแค่ SATA แต่ก็เพียงพอจะเปิดเครื่องไวเปิดโปรแกรมเร็ว ไม่ต้องกังวลเรื่องความจุอีกต่อไป

วันนี้ทีมงาน NBS เลยขอถือโอกาสรวม SSD 1TB จากทั่วฟ้าเมืองไทยที่มีราคาโคตรถูกมาแนะนำกันสักหน่อย ทั้งแบบ SATA ไปจนถึง NVMe กันเลยกับราคาที่หลายๆท่านต้องตะลึงว่ามันถูกขนาดนี้แล้วเหรอนี่

Colorful SSD รุ่น SL500 ขนาด 960 GB

แบรนด์ Colorful ที่ขึ้นชื่อลือชาในความคุ้มค่า แม้จะไม่ใช่ความจุเต็ม 1TB แต่ก็ใกล้เคียงมากที่ 960GB กับราคาเพียงแค่ 3,980 บาทเท่านั้น ถ้าเทียบราคาต่อความจุถือว่าเป็น SSD ราคาถูกที่คุ้มค่าที่สุดเลย แต่ก็แลกมาด้วยความเร็วการอ่านเขียนที่ไม่สูงมาก แต่ก็อยู่ในระดับที่ใช้งานได้เร็วกว่าฮาร์ดดิสค์แน่นอน

  • Write_Speed     450+MB/S
  • Read_Speed     500+MB/S
  • NAND_Flash     3D NAND
  • ประกัน 3 ปี

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

Transcend TS1TSSD230S SSD 1TB ที่ทีมงานเคยรีวิวไปแล้ว กับราคาโปรโมชั่นที่จัดมาเรื่อยๆจนมาถูกสุดที่ 4,590 บาท กับความเร็วการอ่านเขียนที่จัดว่าแจ่มเลยทีเดียว ใช้งานต่างๆรวมไปถึงการโหลดเกมเร็วๆได้สบายๆ แต่จะติดตรงที่ต้องสั่งออนไลด์เท่านั้นและโปรโมชั่นไม่ได้มีมาตลาด รวมถึงบางขาดเป็นบางช่วงด้วยจ้า

  • Flash Type :3D NAND flash
  • Read Speed (Max.) :560 MB/s
  • Write Speed (Max.) :520 MB/s
  • ประกัน 5 ปี

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

SANDISK SSD X600 2.5 SATA 1TB อาจจะแพงกว่าแบรนด์อื่นหน่อย แต่ด้วยชื่อชั้นของ SANDISK การันตีความน่าเชื่อถือได้ดีเลย ทนทานใช้งานได้ยาวนานแน่นอน พร้อมการรับประกันนานถึง 5 ปี กับความเร็วการอ่านเขียนที่ถือว่ารวดเร็วเลยทีเดียว

 

  • Flash Type :3D NAND flash
  • Read Speed (Max.) :560 MB/s
  • Write Speed (Max.) :530 MB/s
  • ประกัน 5 ปี

 

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

BIOSTAR S130 แบรนด์น้องใหม่ที่กลับมาทำตลาดอีกครั้งกับตัวแทนจำหน่ายอย่าง JIB ความเร็วการอ่านเขียนไม่ขี้เหร่ ประกัน JIB ที่เชื่อถือได้

 

  • Read Speed (Max.) :560 MB/s
  • Write Speed (Max.) :510 MB/s
  • ประกัน 3 ปี

 

สั่งซื้อที่

Samsung 1TB 860 EVO ชื่อเสียงคุณภาพคงไม่ต้องพูดถึงมากกับยี่ห้อ Samsung ทนทานใช้งานได้ยาวนานแน่นอน ประกันยาวถึง 5 ปี แม้จะเป็นเทคโนโลยีเก่า แต่ก็ยังจัดว่าเก๋าอยู่

  • Flash Type :V-NAND
  • Read Speed (Max.) :550 MB/s
  • Write Speed (Max.) :520 MB/s
  • ประกัน 5 ปี

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

Transcend TS1TMTE110S PCIe NVMe M.2 SSD 1 TB มาถึงฝั่ง M.2 ที่เป็น NVMe เร็วแรงกว่า SATA หลายเท่าในราคาที่เพิ่มมาอีกเล็กน้อยเท่านั้น เหมาะกับท่านที่นำไปใช้งานบนโน้ตบุ๊คที่มีพอร์ตอยู่แล้ว หรือใช้บนพีซีได้ทั้งความจุและไม่ต้องเดินสายให้ลำบากวุ่นวาย ความเร็วการอ่านเขียนแม้จะไม่เท่าพวกตัวท๊อปแต่ก็เร็วเหลือแล้ว

  • Bus Interface :NVMe PCIe Gen3 x4
  • Flash Type : 3D NAND flash
  • Read Speed (Max.) :1,700 MB/s
  • Write Speed (Max.) :1,500 MB/s
  • ประกัน 5 ปี

 

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

WD SSD 1TB M.2 3DNAND Blue แต่ถ้าโน้ตบุ๊คหรือพีซีของท่านไม่รองรับ NVMe ละก็ ผมขอแนะนำตัวนี้ครับ ซื้อไปใส่เปิดติดแน่นอน เซ็ตอัพก็ง่ายไม่ต้องตั้งค่าอะไรมาก ความเร็วการอ่านเขียนก็ตามาตรฐาน SATA แต่น่าแปลกใจที่เดี๋วยนี้ M.2 SATA กลับแพงกว่า NVMe ซะงั้น

  • Flash Type : 3D NAND flash
  • Read Speed (Max.) : 560 MB/s
  • Write Speed (Max.) : 530 MB/s
  • ประกัน 3 ปี

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

แต่ถ้าเพิ่มความสวยงามให้ SSD แบบ NVMe ในราคาที่ไม่สูงเกินไปละก็ ผมขอแนะนำ BIOSTAR M500 PCIe/NVMe M.2 ตัวนี้ ที่มาพร้อมซิงค์ระบายความร้อนในตัว ใช้งานต่อเนื่องยาวนานก็ไม่ร้อนจนความเร็วดร๊อป เมนบอร์ดของเครื่องพีซีใส่ได้ไม่มีปัญหา แต่โน้ตบุ๊คอย่าลืมเช็คก่อนนะครับว่าติดไหม ส่วนความเร็วนั้นก็กลางๆไม่เร็วเหมือนพวก NVMe ตัวแพงๆ

  • Bus Interface :PCIe 3.0
  • Flash Type : 3D TLC NAND Flash
  • Read Speed (Max.) :1,700 MB/s
  • Write Speed (Max.) :1,100 MB/s
  • ประกัน 3 ปี

สั่งซื้อที่

สุดท้ายผมแนะนำม้านอกสายตาอีกตัวจากร้านออนไลด์ชื่อดัง Crucial P1 1TB 3D NAND NVMe ชื่อชั้นแบรนด์ไม่ต้องพูดถึงต่างประเทศฮิตมาก ความเร็วการอ่านเขียนถือว่าเร็วที่สุดที่ทีมงานคัดมาให้ในวันนี้เลย เร็วกว่า Transcend อีก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพงกว่าราวๆพันบาท

  • Bus Interface :NVMe PCIe Gen3 x4
  • Flash Type : 3D QLC NAND Flash
  • Read Speed (Max.) :2,000 MB/s
  • Write Speed (Max.) :1,750 MB/s
  • ประกัน 5 ปี

>>วาร์ปสั่งซื้อ<<

##แล้วเพื่อนๆละครับครับตอนนี้ใช้ SSD ความจุเท่าไรกันอยู่ ทีมงานยังอยู่ที่ 256 GB อยู่เลย##

from:https://notebookspec.com/ssd-1-tb-low-price/469333/

Cisco จับมือ WD ทำลายสถิติโลก SQL Server ประสิทธิภาพสูงสุดบน Linux

Cisco และ Western Digital (WD) ได้ออกมาประกาศความสำเร็จร่วมกันในการทำลายสถิติโลกด้านการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ Microsoft SQL Server 2017 ที่มีฐานข้อมูลขนาด 3,000GB บนระบบปฏิบัติการ Linux ด้วย Server จาก Cisco และ NVMe SSD จาก WD

ในการทดสอบครั้งนี้ใช้ TPC-H Benchmark เป็นหลัก โดย Hardware ที่ใช้ในการทดสอบมีเสป็คดังนี้

Cisco® C240 M5

  • 2 x Intel® Xeon® Scalable Processor Platinum 8180M CPUs (2.5 GHz, 38.5MB L3 cache, 205W)
  • 24 x 64GB DRAM @2666 MHZ
  • 4 x Cisco HHHL AIC 3.2T HGST SN260 NVMe Extreme Perf High Endurance
  • 2 x 3.8TB 2.5-inch Enterprise Value 6G SATA SSD
  • 1 x Cisco 12G SAS Modular Raid Controller with 2GB Cache for C240 M5

 

ส่วนการกำหนดค่าการจัดเก็บข้อมูลภายใน Server นั้นเป็นดังนี้

Credit: WD

 

ในการทดสอบครั้งนี้ผลลัพธ์ดังนี้

Credit: WD

 

สำหรับข้อมูลการทดสอบฉบับเต็ม สามารถศึกษาได้ที่ http://www.tpc.org/tpch/results/tpch_price_perf_results.asp?resulttype=all ครับ

 

ที่มา: https://blogs.cisco.com/datacenter/world-record-sql-server-benchmark, https://blog.westerndigital.com/sql-server-on-linux-3tb-tpch/

from:https://www.techtalkthai.com/cisco-and-wd-break-world-record-on-fastest-3tb-microsoft-sql-server-2017-on-linux/

SSD – มาแล้ว SSD ความเร็วการอ่านระดับ 6 GB/s เขียน 3.8 GB/s จาก ADATA บอกเลยว่าโคตรแรง เร็ว !!!

ในตอนนี้ที่ราคา SSD ไม่ได้แพงมากเวอร์เหมือนสมัยก่อนแล้ว ทำให้หลายคนเริ่มสนใจที่จะอัพเกรดเครื่องของตัวเองมาใช้ SSD มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และ ถ้าหากใครจะประกอบเครื่องใหม่คงจะต้องมี SSD อยู่ในรายการของที่อยากซื้อด้วยแน่นอน ซึ่ง SSD เองก็มีหลายราคา หลายความเร็วให้ได้เลือกซื้อกัน เริ่มตั้งแต่ 500 MB/s ไปจนถึงระดับ 3 GB/s ซึ่งก็เร็วมากแล้ว แต่วันนี้เรามีผู้ทำลายสถิติใหม่ที่ความเร็วระดับ 6 GB/s ว่าแล้วเราไปดูกันดีกว่าว่าจะเป็นอย่างไร

ทาง ADATA ได้เปิดตัว SSD ในรุ่น SR2000CP ที่สามารถทำความเร็วอ่านระดับ 6 GB/s เขียน 3.8 GB/s โดยความเร็วระดับนี้ได้มาจากการใช้ PCI-E 3.0 x8 ซึ่งทำให้มันมีเลนเพิ่มมากขึ้นจึงได้ความเร็วที่มากระดับนั้น ส่วนความจุที่ขายได้แก่ 2TB, 3.5TB, 4TB, 8TB, และ 11TB  ส่วนเทคนิคที่ใช้ในการผลิตคือ 3D “eTLC” NAND ที่มีอายุการใช้งานใกล้เคียงกับ MLC NAND

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกรุ่นที่สามารถทำความเร็วได้ระดับ 6 GB/s โดยรุ่นที่เคลมว่าทำได้คือรุ่น 4TB ส่วนรุ่นอื่นๆ ยังไม่มีผลการทดสอบออกมา นอกจากนี้ยังมีพร้อมฟีเจอร์ระดับ Enterprise อย่างระบบการป้องข้อมูลหายเมื่อไฟดับ และการเข้ารหัสที่ระดับ AES 256 Bit ด้วย ส่วนราคาในตอนนี้ยังไม่มีออกมา แต่คาดว่าไม่ถูกแน่นอน ด้วยฟีเจอร์ระดับนี้ ใครอยากเร็วแรง สะใจ ใครก็ตามไม่ทัน อย่าลืมไปจัดกันได้

ที่มา tweaktown

 

from:https://notebookspec.com/adatas-new-sr2000cp-ssd-reads-6gb-sec-writes-3-8gb/445770/