คลังเก็บป้ายกำกับ: SERVER

NVIDIA โชว์ Grace Superchip ของจริง ประสิทธิภาพดีกว่า x86 สองเท่า ขายครึ่งหลังปี 2023

Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA โชว์หน้าตาชิปจริงของซีพียู Grace Superchip ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2022 โดยเลื่อนการวางขายสินค้าจริงจากครึ่งแรกของปี 2023 เป็นครึ่งหลังของปีแทน

Grace Superchip เป็นการนำซีพียู Grace สองตัวมาเชื่อมต่อกัน มีจำนวนคอร์รวม 144 คอร์ จุดขายของ Grace คือการเป็นสถาปัตยกรรม Arm ที่ประหยัดพลังงานกว่า และออกแบบมาเพื่องานปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ ทำให้รันงานลักษณะนี้ได้ดีกว่าชิป x86 ที่ออกแบบมาสำหรับงานทั่วไป

การที่ Grace กินไฟต่ำ ทำให้ขนาดเล็ก และสามารถยัด Grace Superchip จำนวน 2 ยูนิต (รวมเป็น 4 ซีพียู) ลงเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U มาตรฐานได้ จากเบนช์มาร์คของ NVIDIA เองบอกว่าสามารถรันงานกลุ่ม microservice ได้ดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ x86 ถึง 2 เท่าที่ระดับพลังงานเท่ากัน

ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์เริ่มได้ตัวอย่าง Grace Superchip ไปแล้ว สินค้าจริงจะวางขายช่วงครึ่งหลังของปี ที่ระบุยี่ห้อแล้วคือ ASUS, Atos, GIGABYTE, Hewlett Packard Enterprise, QCT, Supermicro, Wistron, ZT Systems

No Description

No Description

No Description

No Description

ที่มา – NVIDIA, Tom’s Hardware

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/133165

Advertisement

Lenovo เปิดตัวเวิร์คสเตชัน ThinkStation PX, P7, P5 ใช้ได้ทั้งเดสก์ท็อปหรือต่อเป็นแร็ค

Lenovo เปิดตัวเครื่องเดสก์ท็อปเวิร์คสเตชัน ThinkStation PX, P7, P5 ที่ออกแบบเคสร่วมกับแบรนด์รถยนต์ Aston Martin

จุดเด่นที่น่าสนใจของ ThinkStation ชุดนี้ (เฉพาะ PX และ P7) คือตัวเครื่องมาทรงเดสก์ท็อปทาวเวอร์ก็จริง แต่ออกแบบมาให้ใช้ต่อเป็นแร็คขนาด 4U ได้ด้วย เหมาะสำหรับหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้งานประมวลผลสูงๆ สามารถนำเวิร์คสเตชันมาต่อกันในศูนย์ข้อมูล

เวิร์คสเตชัน ThinStation ชุดนี้ใช้ซีพียู Intel Xeon Scalable Gen 4 (Sapphire Rapids) และ จีพียู NVIDIA RTX 6000 Ada Lovelace ซึ่งเป็นสเปกที่แรงที่สุดเท่าที่หาได้ในปัจจุบัน

ดีไซน์เครื่องที่ร่วมกับ Aston Martin จะเห็นได้จากการใช้ตะแกรงระบายอากาศด้านหน้าเครื่อง ที่ได้แรงบันดาลใจจากรถยนต์รุ่น Aston Martin DBS โดยยังคงสีแดงของแบรนด์ Lenovo และแนวคิดการวางไดรฟ์ด้านหน้าให้ใช้งานสะดวก เปิดเคสได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เพื่อให้อัพเกรดได้ง่าย

ThinkStation PX

รองรับซีพียู Xeon สูงสุด 120 คอร์, จีพียู RTX 6000 สูงสุด 4 ตัวต่อเครื่อง, ใส่แรมได้สูงสุด 2TB DDR5, PSU ขนาด 1850W

No Description

No Description

ThinkStation P7

เป็นเวิร์คสเตชันแบบซ็อคเก็ตเดี่ยว รองรับซีพียู Xeon W สูงสุด 56 คอร์, จีพียู RTX 6000 สูงสุด 3 ตัว

No Description

ThinkStation P5

น้องเล็กในซีรีส์ รองรับซีพียู Xeon W สูงสุด 24 คอร์, จีพียู RTX 6000 สูงสุด 2 ตัว

No Description

สินค้าทั้งหมดจะเริ่มวางขายในเดือนพฤษภาคม 2023 ยังไม่ประกาศราคา

ที่มา – Lenovo

from:https://www.blognone.com/node/132978

ทำเกมเองไม่รอด กูเกิลหันไปทำระบบคลาวด์สำหรับให้บริการเกม Live Service

หลังจากล้มเหลวกับบริการคลาวด์เกมมิ่ง Stadia จนต้องปิดตัว กูเกิลปรับทิศทางใหม่ นำเทคโนโลยีจาก Stadia มาให้บริการบริษัทเกมอื่นๆ แทน ภายใต้ชื่อแบรนด์ว่า Google Cloud for Live Service Games

บริการภายใต้ร่มของ Google Cloud for Live Service Games เป็นผลิตภัณฑ์ที่กูเกิลมีอยู่ก่อนแล้ว แต่นำมาจัดชุดใหม่ให้เหมาะกับลูกค้ากลุ่มบริษัทเกม ที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่รองรับเกมแนว Live Service ที่มีผู้เล่นจำนวนมหาศาล

No Description

Jack Buser หัวหน้าฝ่ายลูกค้าอุตสาหกรรมเกมของ Google Cloud เคยอยู่ในทีม Stadia มาก่อน เขายอมรับว่าถึงแม้ Stadia ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ตัวเทคโนโลยีนั้นก้าวหน้ามาก จึงนำแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นมาให้บริการลูกค้าบริษัทเกมรายอื่นที่มีความต้องการแบบเดียวกัน และประสบปัญหาเรื่องการสเกลเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับปริมาณผู้เล่นที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกูเกิลเชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่แล้วจากการให้บริการ Google Search และ YouTube

Buser บอกว่าเขาเองก็เป็นเกมเมอร์ และเจอปัญหาเซิร์ฟเวอร์เต็มหรือเซิร์ฟเวอร์ล่มอยู่บ่อยๆ ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้นในยุคนี้ มันเป็นปัญหาที่กูเกิลแก้ไขได้นานแล้ว (These problems are solved problems at Google) ตอนนี้กูเกิลเข้ามาให้บริการเกมใหญ่ๆ ของโลกหลายเกมตั้งแต่วันแรก ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าเบื่อมาก เพราะระบบทำงานได้ดีไม่มีพัง (Just bored. Because it just works.)

ที่มา – Google Cloud, VentureBeat

from:https://www.blognone.com/node/132948

สหรัฐสั่งแบนบริษัทเซิร์ฟเวอร์จีน Inspur, บริษัทชิป Loongson, บริษัทพันธุกรรม BGI

กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา ออกคำสั่งแบนห้ามบริษัทสัญชาติอเมริกันทำธุรกิจบริษัทจีนรอบใหม่ คราวนี้ในรายชื่อมี Inspur ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน (และอยู่อันดับสามของโลกในแง่จำนวนเซิร์ฟเวอร์) รวมอยู่ด้วย

Inspur มีจุดกำเนิดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และขยายกิจการเติบใหญ่จนกลายมาเป็นแบรนด์จีนยักษ์ใหญ่ด้านเซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันในรายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Top500 มีเครื่องของ Inspur ติดอยู่อันดับ 47 โดยเป็นเครื่องที่สร้างให้บริษัท Yandex ของรัสเซีย

จากคำสั่งแบนครั้งนี้ บริษัทที่ “งานเข้า” ทันทีเลยคือ Cisco และ IBM ที่มีบริษัทร่วมทุนกับ Inspur เพื่อขายสินค้าในประเทศจีน ซึ่งตัวแทนของทั้งสองบริษัทยังไม่แสดงความเห็นต่อการแบนครั้งนี้

นอกจาก Inspur แล้ว ในคำสั่งแบนรอบนี้ยังมี BGI บริษัทด้านวิเคราะห์พันธุกรรมรายใหญ่ของจีน, Loongson Technology ผู้พัฒนาชิปตระกูล Loongson (MIPS) รวมถึงบริษัทจากประเทศอื่นๆ เช่น Neotec Semiconductor ของไต้หวัน, DMT Electronics ของรัสเซีย, กระทรวงคมนาคมและสื่อสารของพม่า เป็นต้น (รายชื่อทั้งหมด)

ที่มา – Bloomberg

No Description

from:https://www.blognone.com/node/132897

Dell เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge ใหม่ พร้อมพาร์ทเนอร์เครือข่าย 5G ระดับองค์กรในงาน MWC

Dell ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล PowerEdge ใหม่ที่ใช้ชิป Gen4th ของ Xeon Scalable รวมทั้งเปิดตัวความร่วมมือครั้งใหม่กับบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายคลาวด์ และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อรุกตลาดเครือข่าย 5G ระดับองค์กร (Private 5G) โดยเฉพาะ

สำหรับ PowerEdge ตัวใหม่ที่จะเปิดให้เข้ามาจับจองกันในเดือนพฤษภาคมนี้ได้แก่ XR8000, XR7620, และ XR5610 ออกแบบมาให้เลือกประกอบกันแบบโมดูล รองรับการสเกลระบบเป็นหลัก ทำให้ติดตั้ง ดูแลระบบได้ง่าย

โดยเฉพาะแม้จะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่โหดร้าย เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์รองรับอุณหภูมิได้ในช่วงกว้างตั้งแต่ -5 ไปถึง 55 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว อย่าง PowerEdge XR5610 ขนาด 1U กะทัดรัดนี้ทนต่อฝุ่นและความชื้นเป็นพิเศษ

แถมยังเข้ากันดีกับมาตรฐานความทนทานระดับ MIL-STD-810H และ Network Equipment Level 3 ด้วย ส่วน XR7620 ขนาด 2U ก็ออกแบบมาเพื่อใช้กับ Edge โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมและโทรคมนาคม ส่วนรุ่น XR8000 เป็นแบบ Sled-based ที่ให้ความคุ้มค่าการลงทุนที่สุด พร้อมการทำงานแบบ RAN ประสิทธิภาพสูง

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – NW

from:https://www.enterpriseitpro.net/dell-launches-new-poweredge-servers/

Dell เปิดตัว PowerEdge Sever ใหม่ ในงาน MWC ที่บาร์เซโลนา

เดลล์ประกาศเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นใหม่ XR8000, XR7620, and XR5610 ที่ขับเคลื่อนโดยโปรเซสเซอร์ Xeon Scalable เจนเนอเรชั่นที่ 4 รวมถึงความร่วมมือใหม่กับผู้ให้บริการเครือข่ายคลาวด์และผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับเครือข่าย 5G ส่วนตัว
 

Image Credit : servethehome.com
เซิร์ฟเวอร์ PowerEdge รุ่นใหม่ จะพร้อมวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีแนวคิดในการทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงทั้งฝุ่นและอุณหภูมิตั้งแต่ -5 ถึง 55 องศาเซลเซียส
  • PowerEdge XR8000 ออกแบบมาเพื่อ TCO ที่ต้องการประสิทธิภาพในการใช้งาน open RAN
Image Credit : servethehome.com
  • PowerEdge XR7620 ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ industrial edge และ telecom
Image Credit : servethehome.com
  • PowerEdge XR5610 ออกแบบมาให้มีขนาดขนาดพอดีกับตู้หรือ MEC มีความทนทานต่อฝุ่นและความชื้นสูงตามมาตรฐาน MIL-STD-810H และ Network Equipment Level 3
Image Credit : servethehome.com
เดลล์ ออกแบบเซิร์ฟเวอร์ในซีรีย์ XR โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขนาดและประสิทธิภาพ โดยเพิ่มส่วนประกอบที่มีความทนทานระดับสูง ทนต่อแรงกระแทก การสั่นสะเทือน สภาพอากาศที่รุนแรง ฝุ่นและสิ่งสกปรก นอกจากนี้ยังเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีขนาดพอดีกับตู้หรือ MEC ที่ถูกติดตั้งอยู่ที่ฐานของเสาส่งสัญญาณ
 
ในการประกาศในงาน MWC ที่บาร์เซโลนา ของเดลล์ ถึงความพร้อมใช้งานทั่วโลกของระบบ Dell Private Wireless โดยความร่วมมือกับ Expeto ผู้ให้บริการระบบเครือข่าย PaaS และผู้จำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายมือถือ Athonet และ Airspan
  • ความร่วมมือครั้งแรก กับ Expeto และ Airspan นั้นเป็นระบบที่เน้นองค์กรขนาดใหญ่สำหรับเครือข่ายส่วนตัว ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้การเชื่อมต่อแบบบูรณาการในเครือข่าย 5G และ LTE ทั้งสาธารณะและส่วนตัวเพื่อรองรับแอปพลิเคชัน
  • ความร่วมมือครั้งแรกที่สอง กับ Athonet มุ่งเป้าไปที่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมากขึ้น โดยเสนอทางเลือกที่ยืดหยุ่นสำหรับการปรับใช้ตัวเลือกของธุรกิจสำหรับผู้จำหน่ายวิทยุ ย่านคลื่นความถี่ และสถาปัตยกรรมเครือข่าย
ทั้งหมดนี้ เดลล์ได้ผ่านกระบวนการทดสอบด้าน การจัดการการรวมระบบ และการสนับสนุนสำหรับระบบที่กล่าวมาแล้ว นั่นหมายถึงความพร้อมให้ใช้งานทั่วโลกตามกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม 2023 นี้
 

from:https://www.techtalkthai.com/dell-launched-the-new-poweredge-sever-at-mwc-barcelona/

Nokia เสริม MXIE สำหรับ Industry 4.0 ด้วย Blade Server จาก Dell

Nokia เสริมพอร์ตโฟลิโอ MX Industrial Edge (MXIE) ด้วย Blade Server ระดับ top-end จาก Dell สำหรับเวิร์กโหลดอุตสาหกรรม 4.0 ที่เข้มข้น บนแพลตฟอร์ม 5G ส่วนตัวของ Digital Automation Cloud (DAC)
 

Image Credit : telecomreview.com
เซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge XR11 รุ่นใหม่ มีโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable Gen 3รุ่นที่สาม ซึ่งรองรับหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU), NVIDIA A2 Tensor Core GPU ช่วยให้การเร่งการอนุมาน AI ที่หลากหลาย

ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยโนเกียได้เน้นย้ำถึงการประยุกต์ใช้บริการแพลตฟอร์ม MXIE สองรายการ ได้แก่ ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์ฉากของโนเกียและแพลตฟอร์ม Atos Computer Vision ซึ่งใช้ AI สำหรับการประกันคุณภาพและการวิเคราะห์วิดีโอ
 
Nokia ต้องการส่งต่อประโยชน์ของ MXIE เพื่อลดข้อกำหนด CAPEX ซึ่งจะช่วยให้องค์กรจำนวนมากตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล OT ที่มีลูกค้าระดับองค์กรกว่า 560 รายสำหรับการเชื่อมต่อกับ Industry 4.0
 
Stephan Litjens รองประธานฝ่าย Enterprise Campus Edge Solutions ของ Nokia กล่าวว่า:
 
“เรากำลังเพิ่มพลังการประมวลผลและความสามารถของ Nokia MXIE เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าสำหรับการใช้งานขั้นสูงของ Industry 4.0 โดยความสามารถของ MXIE ที่ประมวลผลด้วย GPU ใหม่จะรองรับกรณีการใช้งานที่ใช้ประโยชน์จาก AI และการเรียนรู้ของเครื่อง เช่น วิดีโอแบบเรียลไทม์และการวิเคราะห์ข้อมูล OT ด้วยการแนะนำ MXIE จะช่วยลดต้นทุนล่วงหน้าของ industrial edge ของเราสำหรับธุรกิจต่างๆ เพื่อเร่งเส้นทางสู่ดิจิทัล”
 
Kyle Dufresne รองประธานอาวุโสระดับโลกและผู้จัดการทั่วไปด้านโซลูชัน OEM ของ Dell Technologies กล่าวว่า
 
“ตระกูลเซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge มีระบบที่มีประสิทธิภาพสูงและทนทาน ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงที่สุด โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge XR11 ที่รองรับ NVIDIA Tensor Core GPU เป็นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งสำหรับ Nokia MXIE และสามารถรองรับลูกค้าระดับองค์กรของ Nokia ที่ต้องการนำกรณีการใช้งานไปใช้ เช่น ระบบอัตโนมัติที่แพร่หลายที่พอร์ตและเหมืองระยะไกล ตลอดจนในโรงงานและคลังสินค้า”
 

from:https://www.techtalkthai.com/nokia-adds-mxie-for-industry-4-0-with-blade-server-from-dell/

ลดความซับซ้อน เพิ่มความคุ้มค่าให้กับการลงทุน Server ด้วย Dell PowerEdge Server ที่มาพร้อมกับระบบ Windows Server 2022

ถึงแม้ Cloud จะเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดธุรกิจองค์กร แต่ความต้องการในการใช้งานระบบในแบบ On-Premises เองก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายระบบ IT สำคัญของธุรกิจนั้นยังอาจไม่คุ้มค่าหรือเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานบน Cloud อีกทั้งในหลายกรณี ระบบ On-Premises เองก็มีความคุ้มค่าในระยะยาวที่สูงกว่าการใช้ Cloud

และแน่นอนว่าหลายระบบ On-Premises ของธุรกิจเอง ยังคงต้องอาศัย Windows Server 2022 เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบโดยรวมไม่ว่าจะเป็น Active Directory, File Sharing, Application Server หรือแม้แต่ Database Server สำหรับระบบภายใน

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Windows Server OEM ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้งาน Windows Server 2022 ร่วมกับ Dell PowerEdge Server ได้อย่างคุ้มค่า ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่น้อยลง และการติดตั้งหรือการดูแลรักษาที่ง่ายดายยิ่งขึ้น พร้อมประโยชน์ของการใช้งาน Windows Server 2022 ร่วมกับ Dell PowerEdge Server ที่เหนือยิ่งขึ้นกว่าเดิม

Microsoft OEM Software คืออะไร?

แนวคิดของ OEM Software อาจเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ดูแลระบบ IT ในธุรกิจองค์กรหลายแห่งอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วงการ Enterprise IT เราจะขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ
Microsoft OEM Software กันก่อน

OEM นั้นย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer ซึ่งเป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายวงการ ตัวอย่างที่เรามักจะพบเห็นกันนั้นก็คือโรงงาน OEM ซึ่งเป็นโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เหล่านั้นนำโลโก้หรือตราสัญลักษณ์ของตนเองมาติดก่อนนำไปจำหน่าย เรียกง่ายๆ ว่าโรงงานเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตให้กับแบรนด์นั่นเอง

ในวงการ IT ก็คล้ายคลึงกัน Microsoft OEM Software นั้นก็คือ License ของ Microsoft ที่จัดจำหน่ายให้กับผู้ผลิต Hardware โดยตรง ซึ่งจะทำให้โรงงานเหล่านั้นสามารถขาย Software ของ Microsoft ในราคาที่ถูกกว่าการที่ลูกค้าไปซื้อผ่านช่องทางอื่นๆ เอง แต่ก็มากับเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติม อย่างเช่นในกรณีของ Windows Server จะมีเงื่อนไขดังนี้

  • License ของ Windows Server OEM จะถูกผูกติดอยู่กับ Motherboard ของ Server ดังนั้นโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้งานจะสามารถอัปเกรด Hardware ในส่วนอื่นๆ ได้ตามต้องการ ยกเว้นในกรณีที่ Motherboard มีปัญหา
  • การ Downgrade สามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการ
  • สามารถใช้ License Microsoft Software Assurance เสริมเพื่อรองรับการอัปเกรดเพิ่มเติมได้ในอนาคต

สำหรับการใช้ Windows Server OEM ร่วมกับ Dell PowerEdge Server นั้นจะช่วยลดขั้นตอนการติดตั้งและความซับซ้อนในการจัดซื้อ License ลงมาได้เป็นอย่างมาก โดย License ดังกล่าวจะถูกผูกอยู่กับ Dell PowerEdge Server เครื่องนั้นๆ และ Dell Technologies จะรับหน้าที่เป็น Contact Point ในการดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาให้ทั้งในส่วนของ Server Hardware และ Windows Server Software ทั้งหมด

อัปเกรดระบบสู่ Windows Server 2022 ตอบโจทย์ทั้งความมั่นคงปลอดภัย และความยืดหยุ่นที่สูงยิ่งขึ้นในแบบ Hybrid Multicloud

สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจองค์กรจำนวนมากพิจารณาการอัปเกรดระบบไปสู่ Windows Server 2022 นั้น ก็คือเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยที่สูงขึ้น และการรองรับสถาปัตยกรรมของ Application ในแบบ Hybrid Multicloud ที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

ในแง่ของความมั่นคงปลอดภัย Windows Server 2022 สามารถทำงานร่วมกับ Hardware เพื่อปกป้องระบบด้วยแนวทางใหม่ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น

  • Secured-Core Server ปกป้อง Server เพิ่มเติมได้ด้วยความสามารถของ Hardware จาก OEM Partner ที่ผ่านการทดสอบและรับรองร่วมกับ Microsoft
  • Hardware Root-of-Trust ใช้ชิป Trusted Platform Model 2.0 (TPM 2.0) บน Server เพื่อจัดเก็บกุญแจเข้ารหัสสำคัญของระบบภายใน Hardware ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง ลดโอกาสการถูกเจาะระบบโจมตีเพื่อขโมยกุญแจเข้ารหัสลงได้
  • Firmware Protection ใช้เทคโนโลยี Dynamic Root of Trust for Management (DRTM) และ Direct Memory Access (DMA) เพื่อปกป้อง Firmware ส่วนต่างๆ ของระบบให้มีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ส่วนในแง่ของการใช้งาน Windows Server 2022 ก็สามารถตอบโจทย์ให้กับภาคธุรกิจองค์กรได้ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

  • Identity จัดการการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้งานและระบบต่างๆ ภายในองค์กรด้วย Active Directory Domain Services
  • File Server จัดเก็บและกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ด้วยระบบ Storage และ File Sharing พร้อมการเสริมความมั่นคงปลอดภัย, การทำ Backup, การทำ Replication และการ Recover ข้อมูลได้ภายในระบบปฏิบัติการโดยตรง
  • Application Hosting รองรับการติดตั้ง Application ต่างๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น Application จาก Microsoft อย่างเช่น IIS สำหรับเว็บ, SharePoint สำหรับการทำงานร่วมกันภายในองค์กร, Exchange สำหรับระบบ Email, SQL Server สำหรับ Database ไปจนถึงระบบ Application อื่นๆ ทั้งจาก Microsoft และผู้พัฒนารายอื่นๆ
  • VMs & Containers รองรับการใช้งาน Virtual Machine และ Container ที่ใช้ระบบปฏิบัติการทั้งจาก Microsoft, Linux และผู้พัฒนารายอื่นๆ ไปจนถึงการใช้ Kubernetes ทำหน้าที่เป็นระบบ Infrastructure ให้กับ Cloud-Native Application และรองรับการต่อยอดสู่ Hybrid Multicloud ร่วมกับ Microsoft Azure และบริการ Cloud ชั้นนำรายต่างๆ ได้
  • Network Infrastructure จัดการ DNS และ DHCP ภายในองค์กรได้จากศูนย์กลาง ทั้งสำหรับผู้ใช้งานและระบบ IT ต่างๆ ภายในองค์กร

ใช้ Windows Server 2022 แบบ OEM บน Dell PowerEdge Server: ลดความซับซ้อน เพิ่มความคุ้มค่า เสริมความมั่นคงปลอดภัย

เพื่อให้ธุรกิจองค์กรสามารถเริ่มต้นใช้งาน Windows Server 2022 ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นระบบ IT ใหม่ หรือการอัปเกรดระบบเก่า ทาง Dell Technologies จึงได้จับมือกับ Microsoft ในฐานะของ OEM Partner เพื่อนำ Windows OEM Software ในส่วนของ Windows Server 2022 มาติดตั้งบน Dell PowerEdge Server และจัดจำหน่ายพร้อมให้บริการแบบครบวงจร ดังนี้

1. เริ่มต้นใช้งานได้อย่างง่ายดาย ด้วยขั้นตอนในการติดตั้งที่น้อยลงถึง 59 ขั้นตอน

ด้วยการติดตั้ง Windows Server 2022 มาให้บน Dell PowerEdge Server ล่วงหน้า ทำให้ผู้ดูแลระบบหรือผู้ติดตั้งสามารถลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้ถึง 59 ขั้นตอน ภายในเวลาประมาณ 6 นาทีเท่านั้น ใช้เวลาน้อยลงกว่าเดิมถึง 84% ส่งผลให้องค์กรมีความรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการติดตั้งระบบ Server จำนวนหลายเครื่องพร้อมๆ กัน

2. คุ้มค่ากว่าเดิม ด้วยค่า License ที่ถูกลง และไม่ต้องติดตั้ง Windows Server ด้วยตัวเอง

หากเปรียบเทียบกับการซื้อ Volume License แล้ว การใช้ OEM License จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้ถึง 28% จากการที่ตัว OEM License มีราคาที่ถูกกว่า และธุรกิจยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ซับซ้อนลงไปได้ในเวลาเดียวกัน

3. มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกันระหว่าง Hardware ของ Dell Technologies และ Software จาก Microsoft

Dell PowerEdge Server นั้นรองรับการทำงานร่วมกับ Windows Server 2022 เพื่อเสริมความมั่นคงปลอดภัยได้แบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Secured-Core Server, Hardware Root-of-Trust ไปจนถึง Firmware Protection พร้อมการติดตั้ง OEM License ที่เปิดใช้ความสามารถเหล่านี้มาให้แต่แรก ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ IT มั่นใจได้ในความมั่นคงปลอดภัย

4. ดูแลรักษาแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดาย โดยทีมงานมืออาชีพจาก Dell Technologies

ในการใช้ Windows Server 2022 บน Dell PowerEdge Server แบบ OEM นี้ ทีมงาน Dell Technologies จะทำหน้าที่เป็น Contact Point เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในส่วนของ Dell PowerEdge Server และ Windows Server 2022 ให้ทั้งหมด ช่วยให้ผู้ดูแลระบบ IT สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น และสามารถจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงของความเข้ากันได้ระหว่าง Software และ Hardware ได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

สนใจ Dell PowerEdge Server และ Windows Server 2022 ติดต่อทีมงาน Dell Technologies ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งาน Dell PowerEdge Server และ Windows Server 2022 สามารถรับชมข้อมูลได้ที่ https://www.dell.com/en-th/dt/solutions/microsoft-oem/index.htm หรือสอบถามโซลูชันอื่นๆ จาก Dell Technologies สามารถติดต่อทีมงาน Dell Technologies ประจำประเทศไทยได้ที่ E-mail DellTechnologies@kkudos.com โทร 090-949-0823 (คุณวศิน)

from:https://www.techtalkthai.com/dell-poweredge-server-bundle-windows-server-2022/

7 เหตุผลที่ฮาร์ดแวร์เครื่อง Servers แพงกว่าฮาร์ดแวร์ PC

เคยสงสัยไหมว่าทำไมฮาร์ดแวร์ของเครื่อง Servers ถึงได้มีราคาแพงกว่าฮาร์ดแวร์ของเครื่อง PC ทั่วไป และนี่คือ 7 เหตุผลที่จะตอบข้อสงสัยดังกล่าวนี้ จะมีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกัน

Servers Are More Expensive
7 เหตุผลที่ฮาร์ดแวร์เครื่อง Servers แพง

เซิร์ฟเวอร์คือคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์สำหรับการให้บริการต่างๆ เช่น อีเมล, เว็บไซต์และการถ่ายโอนไฟล์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนเว็บไซต์และโลก แต่ที่สำคัญพอๆ กับที่เป็นอยู่ คุณอาจแปลกใจที่ส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์มักไม่ได้มีประสิทธิภาพมากไปกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปทั่วไปของคุณ ในความเป็นจริง ส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับส่วนประกอบระดับผู้บริโภคทั่วไปของคุณ

ดังนั้น อะไรที่ทำให้ส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์แตกต่างจากส่วนประกอบเดสก์ท็อป และทำไมพวกมันถึงมีราคาแพงกว่ามากเมื่อพวกเขาใช้เทคโนโลยีเดียวกันและมีประสิทธิภาพในระดับที่ใกล้เคียงกัน เราจะมาไขปริศนานี้ใน 7 ข้อทางข้างล่างกัน

Advertisementavw


ความสามารถในการถอดเปลี่ยนและความสามารถในการเข้าถึง

fran jacquier iv6xbp11olc unsplash 1

แม้ว่าในคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปอาจไม่สำคัญเท่าไร แต่การมีระบบโมดูลาร์ที่สมบูรณ์แบบ(ระบบที่สามารถถอดเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ดแต่ละตัวได้อย่างทันทีทันใด) พร้อมความสามารถในการเข้าถึงส่วนประกอบในระดับสูงเป็นคุณลักษณะสำคัญที่เซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่องต้องมี

เซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องเป็นระบบโมดูลาร์ เนื่องจากหลายบริษัทมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันในด้านฮาร์ดแวร์ ในขณะที่บางเซิร์ฟเวอร์อาจต้องการเพียงเซิร์ฟเวอร์ที่มีสเปกเหมือนกับพีซีทั่วไปของคุณ แต่บางเซิร์ฟเวอร์อาจต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการปรับแต่งมาอย่างดีพร้อมหน่วยประมวลผลหลายสิบตัว, RAM ในระดับ เทราไบต์(TB), แหล่งเก็บข้อมูบมากกว่าหนึ่งร้อยตัวและพัดลมกำลังสูงจำนวนมากเพื่อระบายความร้อน

เพื่อให้การติดตั้งและบำรุงรักษาส่วนประกอบโมดูลาร์เหล่านี้ง่ายขึ้น เซิร์ฟเวอร์มักจะใช้ชั้นวางเพื่อเก็บส่วนประกอบต่างๆ เข้าที่ ชั้นวางเหล่านี้ยังมีขนาดต่างๆ กันในแง่ของความกว้างและความสูง(ซึ่งอาจจะมีกรอบเปิดหรือกรอบปิดอีกทีด้วยก็ได้แล้วแต่ความต้องการของบริษัทนั้นๆ)

ด้วยแร็คและส่วนประกอบโมดูลาร์ เซิร์ฟเวอร์สามารถให้การพิสูจน์ในอนาคตในระดับหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ปรับขนาดสูงขึ้นซึ่งอาจต้องการการอัปเกรดอย่างต่อเนื่องเมื่อธุรกิจเติบโต


ความน่าเชื่อถือ

carabiner 1

เซิร์ฟเวอร์มักได้รับมอบหมายให้จัดเก็บข้อมูลสำคัญสำหรับบริการต่างๆ ความผิดพลาดหรือข้อผิดพลาดจากเซิร์ฟเวอร์อาจทำให้เวชระเบียนหายไป, บันทึกธนาคารถูกรีเซ็ตหรือบัญชีเกมของคุณถูกลบ

ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องจัดการกับข้อมูลที่สำคัญต่อภารกิจ พวกเขาต้องการส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ที่เชื่อถือได้พร้อมความสามารถในการสำรองข้อมูลและการตรวจสอบข้อผิดพลาด ด้วยเหตุนี้เซิร์ฟเวอร์จึงมักใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล Redundant Array of Independent Disk (RAID) และหน่วยความจำ Error Correction Code (ECC) เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลจะปลอดภัยระหว่างการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล


ความซ้ำซ้อน

redundancy 001

เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์มีไว้เพื่อให้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงในทุกๆ วันเป็นเวลาหลายปี ชิ้นส่วนบางอย่างอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเมื่อเสียหายและอัปเกรดเมื่อจำเป็น ดังนั้นการเปลี่ยนชิ้นส่วนอย่างราบรื่นระหว่างการทำงานจึงเป็นฟังก์ชันสำคัญที่เซิร์ฟเวอร์ต้องมี

ส่วนประกอบแบบ Hot-swap เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อระบบมีความซ้ำซ้อนในส่วนประกอบ และเพื่อให้มีส่วนประกอบที่ซ้ำซ้อน เมนบอร์ดต้องออกแบบให้รองรับส่วนประกอบหลายชิ้น โดยที่ส่วนประกอบเองต้องสามารถรองรับการทำงานเป็นกลุ่มได้ ทุกสิ่งที่เซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องดำเนินการจำเป็นต้องมีความซ้ำซ้อน แม้แต่พลังงานก็ต้องมีสำรองไว้ผ่านระบบพลังงานสำรองอัตโนมัติ ซึ่งตัวมันเองอาจมีระบบสำรองของตัวเองอีกทีด้วยซ้ำ


ความทนทาน

cyril saulnier tsvn31dzyv4 unsplash

เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีโดยไม่หยุดและหยุดทำงานไปเสียดื้อๆ เซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบที่ทนทาน ความทนทานในส่วนประกอบสัมพันธ์อย่างมากกับความน่าเชื่อถือของเซิร์ฟเวอร์ แม้จะมีระบบสำรองและระบบแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่แล้ว ส่วนประกอบที่ทนทานช่วยให้การสึกหรอช้าลง ลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในระยะยาว

และด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานอย่างร้อน(มาก), เสียงดังและเต็มไปด้วยการสั่นสะเทือน ส่วนประกอบต่างๆ จึงจำเป็นต้องทนทานกว่าเดสก์ท็อปพีซีทั่วไปของคุณมาก ส่วนประกอบระดับเซิร์ฟเวอร์มักได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมมากเกินไปเพื่อจัดการกับปัจจัยแวดล้อมบางอย่างที่อาจทำให้ฮาร์ดแวร์เสียหาย


การเพิ่มประสิทธิภาพภาระงาน

ในขณะที่เดสก์ท็อปพีซีได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่สร้างขึ้นสำหรับเล่นเกม, ท่องอินเทอร์เน็ต, ดูวิดีโอและทำงานด้านประสิทธิภาพต่างๆ เซิร์ฟเวอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อโฮสต์แอปพลิเคชันหรือฟังก์ชันการทำงานเฉพาะ และแม้ว่าโปรเซสเซอร์เซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปอาจทำงานด้วยความเร็วสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่โปรเซสเซอร์เซิร์ฟเวอร์มีแกนการประมวลผลมากกว่าโปรเซสเซอร์พีซีทั่วไปมาก

เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์มักจะใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์ในการจำลองเครื่องเพื่อโฮสต์ฟังก์ชันการทำงานต่างๆ เช่น อีเมล, การถ่ายโอนไฟล์, เว็บเซิร์ฟเวอร์และฐานข้อมูล การมีแกนการประมวลผลมากขึ้นเพื่อกำหนดให้กับแต่ละแอปพลิเคชันเหล่านี้ทำให้การใช้ตัวประมวลผลเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมนบอร์ดเซิร์ฟเวอร์ยังมีความเชี่ยวชาญในการจัดการซีพียูขนาดใหญ่ เช่น โปรเซสเซอร์ Xeon ของ Intel และโปรเซสเซอร์ Epyc ของ AMD นอกเหนือจากการจัดการ CPU ที่ใหญ่กว่าแล้ว เมนบอร์ดเหล่านี้ยังได้รับการออกแบบให้มีซ็อกเก็ต CPU หลายช่อง, ช่องเสียบ RAM หลายสิบช่องและช่องเสียบส่วนขยายจำนวนมาก


การสนับสนุน

support 001

เนื่องจากส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่มีความซับซ้อนมากขึ้นในการติดตั้งและกำหนดค่า การสนับสนุนด้านเทคนิคจากผู้ผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ บริษัทที่ผลิตส่วนประกอบเหล่านี้อาจส่งช่างเทคนิคมาติดตั้งและกำหนดค่าผลิตภัณฑ์ของตนไปยังเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้ส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์ยังมีการรับประกันที่เข้มงวดมากขึ้น หากผลิตภัณฑ์ของพวกเขาล้มเหลวและจำเป็นต้องซ่อมแซม, เปลี่ยนหรือแก้ไขปัญหาในแบบที่จะต้องเกิดขึ้นทันทีทันใด


ชิ้นส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์และ R&D

ux indonesia 8mikj83lmsq unsplash 1

แม้ว่าส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์บางอย่างจะผลิตขึ้นจากสายการประกอบเดียวกันกับชิ้นส่วนเดสก์ท็อปพีซี แต่หลายชิ้นผลิตขึ้นในโรงงานเฉพาะทาง และด้วยผู้ผลิตจำนวนมากที่ต้องการความภักดีต่อแบรนด์จากลูกค้า พวกเขาจึงเริ่มออกแบบชิ้นส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษและจำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของตน แน่นอนว่าการวิจัยและพัฒนาสำหรับการออกแบบเหล่านี้เพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้กับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายขั้นสุดท้าย

ตัวอย่างของส่วนประกอบระดับเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ ได้แก่ เมนบอร์ด, CPU, หน่วยความจำและตัวควบคุมการจัดเก็บข้อมูล

สิ่งนี้ทำให้ส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์มีราคาแพงขึ้นเนื่องจากคุณจะต้องซื้อชิ้นส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์อื่นๆ จากผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้ทำงานเป็นระบบ สิ่งที่ทำให้มีราคาแพงกว่านั้นคือชิ้นส่วนเหล่านี้จำนวนมากยังต้องการซอฟต์แวร์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ในกรณีที่คุณต้องการปรับแต่งและตรวจสอบประสิทธิภาพ แม้ว่าผู้ผลิตระดับเดสก์ท็อปบางรายจะบังคับใช้ชิ้นส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์(อย่างเช่น Apple ที่จะอัปเกรดฮาร์ดแวร์อะไรจะต้องเอาเข้าศูนย์อย่างเดียวเท่านั้น) ทว่านั่นก็พบได้น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของเซิร์ฟเวอร์


ส่วนต่าง ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ถูกสร้างขึ้นมาแตกต่างกัน

AdobeStock 90603827 scaled 1

ส่วนประกอบระดับเซิร์ฟเวอร์คือชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่แข็งแกร่งที่สุด(ในบางส่วน) แม้ว่าหลายองค์ประกอบอาจมีข้อมูลจำเพาะที่คล้ายคลึงกันกับส่วนประกอบเดสก์ท็อปพีซีทั่วไปของคุณ แต่ฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ก็สร้างต่างกัน ราคาของส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์นั้นแพงเพราะคุณไม่เพียงแค่จ่ายสำหรับประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันโดยไม่ล้มเหลวอีกด้วย

เซิร์ฟเวอร์ทั่วไปมักจะมีราคาตั้งแต่ 200,000 – 800,000 บาทซึ่งก็อยู่ในจุดที่เข้าใจได้ แต่ในฐานะผู้บริโภคทั่วไป คุณจะได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้จริงๆ เนื่องจากทำให้มั่นใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่คุณเมื่อเรียกดูข้อมูลที่อยู่ในโลกออนไลน์และจัดการบัญชีออนไลน์ของคุณ

และถ้าคุณต้องการเซิร์ฟเวอร์ของคุณเองเป็นการส่วนตัว คุณสามารถค้นหาชิ้นส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้แล้วทางออนไลน์และหาซื้อได้ในราคาที่ค่อนข้างถูก เนื่องจากบริษัทต่างๆ มักจะอัปเกรดและขายชิ้นส่วนเก่าของตน คุณยังสามารถสร้างโฮมเซิร์ฟเวอร์ของคุณด้วยชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือหากคุณมีเงินทุนน้อยจริงๆ คุณสามารถสร้างได้ด้วย Raspberry Pi ที่มีราคาถูกเป็นอย่างมาก

ที่มา : makeuseof

from:https://notebookspec.com/web/683658-7-reasons-why-servers-are-more-expensive-than-similarly-specced-pc-hardware

Basecamp เผย จ่ายค่าคลาวด์ AWS ปีละ 100 ล้านบาท, กำลังย้ายออก ซื้อเซิร์ฟเวอร์ทำเอง

David Heinemeier Hansson (@dhh) ผู้ร่วมก่อตั้ง Basecamp เคยประกาศไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ว่าบริษัท 37signals ของเขาจะเลิกเช่าคลาวด์เพราะมีต้นทุนแพง เวลาผ่านมาเกือบ 6 เดือน เขาโพสต์ข้อมูลอัพเดตของการย้ายออกจากคลาวด์ให้ทราบกัน

DHH เปิดเผยตัวเลขให้เห็นชัดๆ ว่าเขาต้องจ่ายค่าคลาวด์ให้ AWS ตลอดทั้งปี 2022 เป็นเงิน 3,201,564.24 ดอลลาร์ (ตีเป็นเงินไทยปัจจุบันราว 106 ล้านบาท) โดยก้อนใหญ่ๆ เป็นค่า S3, RDS, OpenSearch, Elasticache ตามลำดับ ซึ่ง Basecamp จ่ายในราคาที่ถือว่ามีส่วนลดแล้ว เพราะเป็นการซื้อแบบการันตีระยะเวลานาน 4 ปี

ทางออกของ 37signals คือเปลี่ยนมาซื้อเซิร์ฟเวอร์มาจัดการเอง ซึ่ง DHH ให้ข้อมูลว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge R6525 ในราคาเครื่องละ 1,287 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราว 43,000 บาท) แต่ยังไม่เปิดเผยว่าต้องซื้อทั้งหมดกี่เครื่อง และมีต้นทุนอื่นๆ อีกเท่าไร (ฝากเครื่องไว้ที่ศูนย์ข้อมูลของบริษัท Deft เพื่อจัดการเครื่อง แบนด์วิดท์ ระบบไฟฟ้า) DHH บอกว่าเงินที่จ่ายไปถูกกว่าค่าคลาวด์มาก และจะมาเปิดเผยต้นทุนให้เห็นหลังจบปี 2023 แล้ว

No Description

ที่มา – 37signals, The Register

from:https://www.blognone.com/node/132278