คลังเก็บป้ายกำกับ: mobile_commerce

Rakuten ซื้อกิจการ Curbside สตาร์ทอัพ Mobile Commerce เชื่อมต่อกับร้านค้า

Rakuten อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศเข้าซื้อกิจการ Curbside สตาร์ทอัพจากซิลิคอนวัลเล่ย์ ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย ซึ่ง Rakuten คาดว่าจะนำผลิตภัณฑ์และบริการของ Curbside มาต่อยอดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

Curbside เป็นบริการด้าน Mobile Commerce หรือการซื้อสินค้าผ่านมือถือ มีจุดแตกต่างคือโฟกัสที่การเชื่อมต่อข้อมูลกับร้านค้าและร้านอาหาร ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าโดยอ้างอิงจากพิกัดที่อยู่ แล้วสามารถขับรถเพื่อไปรับสินค้าได้ ณ เวลาที่ถึงร้านทันที เนื่องจากฝั่งร้านค้าก็จะมีข้อมูลพิกัดจากลูกค้าว่าใกล้เดินทางมาถึงหรือยัง ปัจจุบัน Curbside มีพาร์ทเนอร์เป็นทั้งห้างค้าปลีกรายใหญ่ และเชนร้านอาหารหลายแห่ง ให้บริการเฉพาะในอเมริกา

สองผู้ก่อตั้ง Curbside กล่าวว่าบริษัทจะยังคงมีอิสระในการดำเนินงาน แต่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงทรัพยากรของ Rakuten และช่วยขยายบริการออกสู่ตลาดโลกด้วย

ที่มา: Curbside และ Rakuten ผ่าน TechCrunch

alt="Curbside x Rakuten"

alt="How it works"

alt="Curbside"

from:https://www.blognone.com/node/102929

Connected Commerce: ก้าวถัดไปของ Omni-channel ที่ธุรกิจ Banking และ Retail ต้องมุ่งไปในอนาคต

ท่ามกลางยุคสมัยของการทำ Digital Transformation ที่ธุรกิจต่างๆ นั้นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคธนาคารและการเงินต้องเร่งปรับตัวจากความพยายามในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ของ Startup มาแข่งขัน และเหล่าธุรกิจค้าปลีกที่ถูกเหล่า Online Commerce รายใหญ่เข้ามาแย่งส่วนแบ่ง ทางทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณชูเกียรติ เจียเจษฎากุล ผู้ดำรงตำแหน่ง Managing Director แห่ง Diebold Nixdorf (Thailand) จึงขอนำเรื่องราวของ Connected Commerce ซึ่งจะเป็นก้าวถัดไปที่ต่อจาก Omni-channel และจะกระทบต่อทั้งสองวงการนี้โดยตรงมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

 

Omni-channel คืออะไร? แล้วทำไมถึงไม่ตอบโจทย์ธุรกิจอีกต่อไปแล้วในยามนี้?

ในมุมมองของ Diebold Nixdorf นั้น Omni-channel คือแนวคิดที่ธุรกิจต่างๆ นั้นมีการขยายช่องทางสำหรับเข้าถึงลูกค้าไปหลากหลาย เพิ่มเติมจากเพียงแค่การมีหน้าร้าน, สาขา, E-Commerce มาสู่การนำช่องทางใหม่ๆ อย่างเช่น Mobile Application, Chat, Kiosk และอื่นๆ เพื่อให้เกิดโอกาสในการปิดการขายมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาทดแทนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการแบบเดิมๆ ในสถานที่จริง ซึ่ง Omni-channel เองก็ได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องในอดีตที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี เมื่อเวลาเปลี่ยนไป และผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีกันมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคเองนั้นก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง การซื้อสินค้าหรือบริการหนึ่งๆ นั้นไม่ได้เกิดกับช่องทางการติดต่อรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอีกต่อไป แต่ Customer Journey นั้นเปลี่ยนไปสู่การที่ผู้บริโภคคนหนึ่งๆ จะทำการติดต่อแบรนด์ในหลายๆ ช่องทางเพื่อให้ตนเองมีข้อมูลครบถ้วนพร้อมตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ทำให้ระบบ Omni-channel แบบเดิมที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้บริโภคข้ามช่องทางการสื่อสารได้นั้น ไม่เพียงพอต่อการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดและการขายอีกต่อไปแล้ว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

Connected Commerce: รวมทุกช่องทางการสื่อสารของแบรนด์ มาสู่ฐานข้อมูลกลาง พร้อมให้นำไปใช้งานได้ทุกจังหวะการติดต่อสื่อสาร

Connected Commerce คือชื่อของแนวคิดที่เป็นขั้นถัดไปของ Omni-channel ที่ทาง Diebold Nixdorf ตั้งขึ้นมา เพื่อสื่อถึงภาพที่ทุกๆ ช่องทางที่ธุรกิจหรือองค์กรใดๆ ใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าของตนนั้นถูกผสานรวมเข้าด้วยกันหมด ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าเคยเข้าไปศึกษาข้อมูลของสินค้าใดๆ ในช่องทางใดแล้ว ช่องทางอื่นๆ จะต้องมีข้อมูลตรงนี้และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้าง Personalization ให้กับเนื้อหาที่นำเสนอในช่องทางอื่นๆ ด้วย โดยคำว่าช่องทางในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสื่อสารแบบ Physical หรือ Online เท่านั้น แต่หมายถึงการรวมทั้งสองช่องทางเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งมีการปรับ Workflow ของธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมแบบใหม่ของลูกค้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการเปลี่ยน Customer Journey ครั้งใหญ่ของเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกนั่นเอง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

หากเปรียบ Omni-channel คือการที่ธุรกิจมีช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ลูกค้าเลือกใช้ได้หลายช่องทาง แต่หากมี Transaction เกิดขึ้นในช่องทางใดแล้ว ลูกค้าต้องดำเนิน Transaction ให้จบในช่องทางนั้นเท่านั้น

Connected Commerce ก็คือการที่ธุรกิจมีหลายช่องทาง และลูกค้าสามารถเลือกที่จะเริ่มต้น Transaction ในช่องทางใดๆ ก็ได้ ก่อนที่จะย้ายไปดำเนิน Transaction นั้นๆ ในช่องทางอื่นๆ และจบที่ช่องทางใดๆ ก็ได้เช่นกัน

 

ด้วยมุมมองแบบนี้ ก็เปรียบเสมือนว่าจากเดิมที่ Omni-channel นั้นถูกออกแบบมาจากมุมมองของการสร้าง Channnel ใหม่ๆ ขึ้นมา และออกแบบแต่ละ Channel ให้ตอบโจทย์เฉพาะทางเป็นอย่างๆ ไปนั้น การสร้าง Connected Commerce ก็ต้องออกแบบจากมุมมมองของลูกค้าเป็นหลัก ที่จะต้องติดต่อธุรกิจองค์กรจากช่องทางใดเพื่อทำสิ่งใดๆ ก็ได้อย่างครบถ้วน เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนมุมมองในเชิงของการออกแบบประสบการณ์สำหรับลูกค้าก็คงไม่ผิดนัก

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

แน่นอนว่าแนวคิด Connected Commerce นี้ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีสาขาหน้าร้าน หรือธุรกิจที่มีลูกค้าจำนวนมากไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าธุรกิจธนาคารที่เดิมเคยมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่หลากหลายทั้งบนระบบโทรศัพท์และ Internet รวมถึงเหล่าธุรกิจค้าปลีกที่มีสาขาและมีระบบ E-Commerce ควบคู่กันไป

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

สำหรับตัวอย่างของอนาคตที่เหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกจะนำแนวคิดของ Connected Commerce ไปใช้ได้นั้นมีดังนี้

ตัวอย่างแรก หากลูกค้าของธุรกิจค้าปลีกรายหนึ่งทำการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านระบบ E-Commerce มาแล้ว ก็ควรจะสามารถตรวจสอบได้ด้วยว่าเข้าไปดูสินค้าจริงที่หน้าร้านสาขาใดได้ และหากไปดูสินค้าจริงที่สาขาหน้าร้านแล้วพบว่าสินค้าหน้าร้านมีราคาสูงกว่า E-Commerce ก็ควรจะกดสั่งซื้อสินค้าแบบออนไลน์ผ่านระบบ E-Commerce และแจ้งความประสงค์ว่าต้องการนำสินค้าชิ้นนั้นจากสาขานั้นๆ กลับบ้านได้ทันที ในขณะที่ระบบสะสมคะแนนใน Loyalty Reward Program นั้นก็จะต้องถูกสะสมและนำไปใช้ได้ในทุกๆ ช่องทางที่ลูกค้าต้องการ

ตัวอย่างที่สอง เมื่อลูกค้าของธนาคารใช้งานระบบ Self-Service ใดๆ ด้วยตัวเอง เช่น การสร้างเมนูลัดจากระบบ Internet Banking เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมที่ตนเองต้องการได้ง่ายขึ้นมาใช้ เมื่อลูกค้ารายเดียวกันนี้ไปใช้งานระบบอื่นๆ ของธนาคารเช่น Mobile Banking หรือ ATM นั้น เมนูเดียวกันก็ควรจะแสดงขึ้นมาให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่าย หรือหากลูกค้าเคยตอบรับหรือปฏิเสธบริการใดๆ ในช่องทางใดไปแล้ว ระบบก็ไม่ควรจะแสดงขึ้นมาถามลูกค้าอีก รวมถึงหากลูกค้ารายเดียวกันนี้ไปใช้บริการที่สาขาของธนาคารจริงๆ พนักงานก็ต้องทราบถึงความต้องการและพฤติกรรมเบื้องต้นของลูกค้า เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการได้ตรงใจมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างที่สาม เมื่อลูกค้าของธนาคารโทรศัพท์เข้ามาแจ้งปัญหาเกี่ยวกับสินค้าผ่านทางระบบ Call Center แล้ว และลูกค้าจะสามารถนำสินค้าที่มีปัญหานั้นเข้ามาเปลี่ยนที่สาขาขององค์กรเลยก็ได้ หรือแจ้งให้มีการมารับสินค้าไปเปลี่ยนผ่านทางระบบ Call Center หรือ Mobile Application เลยก็ได้ และไม่ว่าลูกค้าจะเลือกทางใด ระบบก็จะต้องสร้าง Ticket ของกรณีนี้ขึ้นมาให้ลูกค้าสามารถติดตามได้ด้วยตนเองจากทุกช่องทาง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

จะเห็นได้ว่าการมาของ Connected Commerce นี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ยังเป็นเรื่องของการปรับกระบวนการการติดต่อสื่อสารกันระหว่างองค์กับลูกค้าให้มีการนำข้อมูลมาใช้มากยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยทุกๆ ช่องทางการติดต่อสื่อสารนั้นผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความสามารถที่เทียบเท่ากัน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ว่าจะติดต่อกับองค์กรผ่านช่องทางใดก็ตาม ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าหรือรับบริการได้ตามต้องการต่อเนื่อง ไม่ต้องเดินเรื่องใหม่หรือถามคำถามเดิมๆ ใหม่เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Connected Commerce นี้นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ให้กับเหล่าลูกค้าขององค์กรได้แล้ว การที่ข้อมูล, ผลิตภัณฑ์ และบริการทั้งหมดเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียวรวมกันนี้ก็จะช่วยให้การปิดการขายหรือการทำธุรกรรมใดๆ เกิดโอกาสสำเร็จมากขึ้นด้วย และในระยะยาว ประเด็นเหล่านี้เองที่จะกลายเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญของเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกในอนาคต และแน่นอนว่าในเชิงเทคนิคแล้ว การปรับปรุงระบบ IT ในฝั่ง Backend ของธุรกิจเหล่านี้ก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้ภาพของ Connected Commerce เกิดขึ้นจริงได้ด้วยเช่นกัน

 

 

Diebold Nixdorf: ไม่ใช่แค่ผู้ให้บริการตู้ ATM แต่เป็นธุรกิจ IT ที่สร้างเทคโนโลยีใหม่สำหรับตอบโจทย์เรื่องช่องทางการติดต่อค้าขายกับลูกค้า

เมื่ออ่านบทความมาถึงจุดนี้แล้วหลายๆ ท่านอาจจะเกิดความสงสัย เพราะในประเทศไทยนั้นเรามักคุ้นชื่อของ Diebold Nixdorf ในฐานะของผู้ให้บริการตู้ ATM เท่านั้น ซึ่งดูจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ Connected Commerce ที่เล่ามาข้างต้นเลย และจุดนี้ทีมงาน TechTalkThai เองก็สงสัยเช่นกันจึงได้ถามถึงประเด็นนี้กับทางทีมงานของ Diebold Nixdorf ตรงๆ และก็ได้คำตอบที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งสรุปได้ใจความสั้นๆ ว่า “จริงๆ แล้ว Diebold Nixdorf เป็นธุรกิจ IT ที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้าง Channel การติดต่อซื้อขายใหม่ๆ สำหรับเหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกโดยเฉพาะ”

Diebold Nixdorf นี้เกิดจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง Diebold และ Wincor Nixdorf จนกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ทางด้านผู้ให้บริการโซลูชัน IT แก่เหล่าธุรกิจการเงินและค้าปลีกทั่วโลก ด้วยสาขาใน 130 ประเทศ มีทีมงานมากกว่า 25,000 คน มีส่วนแบ่งตลาดของตู้ ATM มากถึง 1 ใน 3 ของทั้งโลก โดยรวมแล้วมีจำนวนระบบ ePOS และ ATM ที่ติดตั้งทั่วโลกเกินกว่า 2 ล้านเครื่อง และยังมีรายรับรวมทั่วโลกต่อปีที่สูงถึง 5,200 ล้านเหรียญหรือราวๆ 182,000 ล้านบาทไทยเลยทีเดียว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

สำหรับในประเทศไทย Diebold Nixdorf ที่ได้เข้ามาดำเนินกิจการนานกว่า 18 ปีนี้ก็เป็นผู้ให้บริการระบบตู้ ATM และ CDM รายใหญ่ที่มีการติดตั้งไปทั้งสิ้นมากกว่า 50,000 ตู้ทั่วไทย นับเป็นส่วนแบ่งตลาดที่สูงถึง 71% และยังได้ติดตั้งระบบ ePOS มากถึง 22,000 ชุด นับเป็นส่วนแบ่งตลาด 22.7% โดยมีพนักงานในประเทศไทยด้วยกันทั้งสิ้นมากถึง 661 คน และมีลูกค้าเป็นธนาคารและห้างค้าปลีกชื่อดังที่เราทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่หลายรายเลยทีเดียว

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่จะสะท้อนถึงความเป็นผู้นำด้านระบบตู้ ATM และ ePOS เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงธุรกิจของ Diebold Nixdorf นั้นคือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้ธนาคารและธุรกิจค้าปลีกสามารถขยายสาขาและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นต่างหาก ซึ่งในอดีตนั้นการขยายธุรกิจเหล่านี้ก็คือการเปิดสาขาใหม่ๆ ที่ Diebold Nixdorf จะมีบทบาทในส่วนของระบบ IT และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การเปิดสาขานั้นๆ เป็นจริงขึ้นมาได้ ตั้งแต่ระบบ Hardware ที่จำเป็นสำหรับพนักงานในแต่ละตำแหน่ง, ระบบแคชเชียร์, ระบบเครือข่ายภายในสาขา, เครื่องพิมพ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ไปจนถึง Software ที่จะคอยช่วยประสานการทำงานในแต่ละสาขาเข้ามาสู่ระบบศูนย์กลาง

แต่เมื่อธุรกิจเปลี่ยนไป E-Commerce และ Mobile Application เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ Diebold Nixdorf นั้นก็หันมาพัฒนา Web Application และ Mobile Application เพิ่มเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ด้วยมุมมองที่ว่า Internet และ Mobile นั้นได้กลายเป็นสาขาใหม่ๆ ของธุรกิจไปแล้ว ดังนั้นแม้ว่าธุรกิจเหล่านี้จะเริ่มเข้าสู่สภาวะการลดจำนวนสาขาลง ธุรกิจของ Diebold Nixdorf ก็ยังคงเติบโตต่อไปได้ เพราะเทคโนโลยีที่มาทดแทนสาขาที่หายไปนั้น ก็ได้กลายมาเป็นธุรกิจของ Diebold Nixdorf ไปด้วยแล้ว

ส่วนตู้ ATM ที่นับวันนั้นจะเริ่มถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีอื่นๆ ทั้ง Internet Banking และ Mobile Banking ไปจนถึงทิศทางการก้าวไปสู่ Cashless Society ตามโครงการ National e-Payment และโครงการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศทั่วโลกเพื่อกำจัดเงินสดออกไปจากระบบและลดต้นทุนของธุรกิจการเงินนั้น ทาง Diebold Nixdorf ก็มองว่าท้ายที่สุดแล้วตู้ ATM จะกลายเป็นสาขาใหม่ของธุรกิจการเงิน ที่สามารถทำธุรกรรมได้หลากหลายรูปแบบแทนสาขาจริงของธนาคาร ทำให้สาขาของธนาคารนั้นสามารถลดขนาดลงได้อย่างมหาศาล เพราะการให้บริการส่วนใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติบนตู้ ATM นั่นเอง

 

Credit: Diebold Nixdorf

 

แน่นอนว่าสำหรับธุรกิจค้าปลีก ทาง Diebold Nixdorf ก็ได้เริ่มมองถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้สามารถมีสาขาใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องมีพนักงานเก็บเงินเหมือนกับที่เราได้เห็นกรณีศึกษาจากต่างประเทศกันมาบ้างแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกสามารถแข่งขันกับธุรกิจ Startup รายใหญ่ๆ ที่เริ่มนำเทคโนโลยีต่างๆ มาสร้างร้านค้าที่ไม่ต้องมีมนุษย์ให้ได้ในอนาคต

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ด้วยความแข็งแกร่งทางด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยีสำหรับการสร้าง Channel สำหรับค้าขายหรือให้บริการต่างๆ เหล่านี้ของ Diebold Nixdorf ก็ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เหล่าธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมๆ ที่ต้องการก้าวเข้าสู่โลกของ E-Commerce แต่ต่อยอดจนกลายเป็น Connected Commerce เท่านั้นที่มาเป็นลูกค้าของ Diebold Nixdorf แต่เหล่าธุรกิจ E-Commerce ที่เกิดขึ้นมาบนโลกออนไลน์ตั้งแต่แรกเริ่มและไม่มีสาขาจริงเลย ก็สามารถทำงานร่วมกับ Diebold Nixdorf เพื่อก้าวเข้าสู่โลกของ Online & Offline ได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ในส่วนของธุรกิจค้าปลีก เทคโนโลยีของ Diebold Nixdorf นี้จะเหมาะกับธุรกิจที่เริ่มมีสาขาจำนวนมากๆ จนต้องเริ่มมองหาระบบบริหารจัดการร้านค้าจำนวนมากเหล่านั้นให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากมีสาขาตั้งแต่ 30 – 40 สาขาขึ้นไป Diebold Nixdorf ก็จะเริ่มช่วยตอบโจทย์ได้ดีขึ้นแล้ว ในขณะที่สำหรับธุรกิจการเงินนั้น ธนาคารส่วนมากก็เป็นลูกค้าของ Diebold Nixdorf อยู่แล้ว

 

ตอบโจทย์ Connected Commerce ด้วย Diebold Nixdorf Vynamic

Diebold Nixdorf Vynamic นี้เป็น Software สำหรับตอบโจทย์ด้าน Channel ที่จะช่วยทำให้เหล่าองค์กรก้าวมาสู่ภาพของการทำ Connected Commerce ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในหลายแง่มุม โดยภายในโซลูชัน Vynamic นี้จะประกอบไปด้วยโซลูชันย่อยภายใน 6 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

  1. Vynamic Connection Points ระบบ Application กลุ่ม Self-service ให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
  2. Vynamic Transation Engine ระบบกลางสำหรับการเชื่อมการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Channel ต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน
  3. Vynamic Management & Security ระบบสำหรับจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ทั้งในเชิงของ IT และการเงิน
  4. Vynamic Engagement ระบบสำหรับการทำการตลาดและโครงการ Loyalty Program สำหรับทุกๆ Channel ขององค์กร
  5. Vynamic Analytics ระบบวิเคราะห์ข้อมูลกลางเพื่อการตรวจสอบประเด็นต่างๆ, การทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และการปรับปรุงแคมเปญการตลาดต่างๆ
  6. Vynamic Digital ระบบ Mobile Application สำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Mobile Banking และ Mobile Retail

ในภาพรวมนั้น Diebold Nixdorf Vynamic นี้ก็คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแปลงทุกๆ Transaction และการติดต่อกับลูกค้าให้อยู่ในรูปของ Digital และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าและสร้าง Connected Commerce ให้กับทางภาคธุรกิจ พร้อมให้องค์กรก้าวสู่การทำงานแบบ Data-driven แบบเต็มตัวได้ และนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูกค้าได้ง่ายขึ้นเป็นหลัก

 

 

ติดต่อ Diebold Nixdorf ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Diebold Nixdorf สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทันทีที่ https://www.dieboldnixdorf.com และหากต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศไทย ก็สามารถติดต่อได้ทันทีที่โทร 02-832-4600

from:https://www.techtalkthai.com/connected-commerce-the-next-steps-of-omni-channel-for-banking-and-retail-businesses-by-diebold-nixdorf/

PayPal ชี้ คนไทยนิยมช้อปออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน – แท็บเล็ต เป็นรองแค่ “จีน”

เรียกได้ว่าเป็นสัปดาห์แห่ง E-Commerce เลยก็ว่าได้ กับการออกมาเผยผลวิจัยจาก PayPal และ Ipsos ประจำปี 2016 ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นรองแค่จีนเท่านั้น 

โดย PayPal ผู้ให้บริการด้านการชำระเงินแบบดิจิทัลยักษ์ใหญ่ และ Ipsos นำเสนอรายงานการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกปี 2016 ที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคกว่า 28,000 คน ใน 32 ประเทศ รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวน 800 คน พบว่า

การใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

  • PayPal ระบุว่า ปัจจุบัน มีคนไทยซื้อสินค้าออนไลน์ประมาณ 7.9 – 8 ล้านคน และยอดใช้จ่ายออนไลน์ทั้งหมดของนักช้อปชาวไทยในปี 2559 อยู่ที่ 3.25 แสนล้านบาท เติบโต 19% จากปี 2558 และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน อยู่ที่ 41,215 บาท
  • ขณะที่ในปี 2560 ประมาณการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน คิดเป็นยอดใช้จ่ายอยู่ที่ 3.76 แสนล้านบาท ส่วนปี 2561 นั้นคาดการณ์ว่ายอดใช้จ่ายออนไลน์ของนักช้อปคนไทย จะขยับขึ้นเป็น 4.26 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
  • นักช้อปออนไลน์ในประเทศไทยจำนวน 55% ระบุว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้นในปี 2560 และจากกลุ่มนักช้อปเหล่านั้น ราว 82 เปอร์เซ็นต์เห็นว่า ความสะดวกสบายน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาหันมาช้อปด้วยวิธีนี้มากขึ้น ขณะที่อีก 37% มองว่าการส่งของที่รวดเร็วเป็นอีกปัจจัยหลัก  และ 35% คิดว่าทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่า

โดยสินค้า 3 ประเภทที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากการเติบโตของ E-Commerce ในปี 2560 ได้แก่

  • ของใช้ในครัวเรือน (เติบโต 24%)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค (เติบโต 20%)
  • สินค้าสำหรับเด็ก (เติบโต 16%)

ไทยช้อปผ่านมือถือเป็นรองแค่จีน

การสำรวจของ PayPal ยังพบว่า ประเทศจีน (47%) และประเทศไทย (46%) เป็นนักช้อปข้ามประเทศที่นิยมซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถือมากที่สุด ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด โดยเฉลี่ยจะมีนักช้อปข้ามประเทศที่ซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์มือถืออยู่ที่ 37 เปอร์เซ็นต์ ซื่งเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 27 เปอร์เซ็นต์

เหตุผลดังกล่าวเนื่องมาจากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย และ PayPal คาดการณ์ว่าในปี 2560 นี้ ยอดการซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือ (mobile-commerce) จะเพิ่มเป็นจาก 1.41 แสนล้านบาทในปี 2559 เป็น 1.73 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนอุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น ผนวกกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับอุปกรณ์มือถือใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การซื้อขายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือเป็นทั้งประสบการณ์ และโอกาสทางธุรกิจทั้งสำหรับผู้ซื้อและผู้ค้าออนไลน์

นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย

“อินเตอร์เน็ตและการใช้อุปกรณ์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น กำลังปฏิวัติรูปแบบการค้าปลีกแบบเดิมๆ ทำให้การซื้อขายนั้นไร้พรมแดนมากขึ้น และนี่คือโอกาสครั้งใหญ่ของธุรกิจไทยในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก ข้อมูลจากผลสำรวจ PayPal พบว่าช่องทางในการเติบโตนั้นยังมีอีกมากในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลกโดยปราศจากต้นทุนที่สูง เหมือนการขยายสาขาแบบดั้งเดิม” นายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย กล่าว

ความคุ้มค่าเป็นสิ่งสำคัญต่อนักช้อป

แม้การช้อปข้ามประเทศจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวไทย แต่ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง โดย 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้สำรวจทั้งหมดระบุว่า ค่าขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปไม่สามารถซื้อของข้ามประเทศได้บ่อยครั้งเท่าที่ควร ปัจจัยรองลงมาคือ การจ่ายค่าภาษีศุลกากร (44 เปอร์เซ็นต์) และความชัดเจนของอัตราภาษีศุลกากร (42 เปอร์เซ็นต์)

ดั้งนั้นร้านค้าควรจะหาช่องทางที่จะแก้ไขหรือบรรเทาความกังวลของผู้ซื้อในประเด็นดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมั่นใจและกล้าซื้อสินค้ามากขึ้น

ในจุดนี้ PayPal ระบุว่า บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความมั่นใจในการช้อปด้วย Refunded Returns[2] หรือ การคืนเงินค่าจัดส่งให้สูงสุด 15 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับสินค้าที่เข้าร่วม เพื่อช่วยให้นักช้อปมั่นใจในการช้อปออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ PayPal ยังมีบริการ Buyer Protection หรือบริการคุ้มครองผู้ซื้อ เพื่อให้นักช้อปมั่นใจทุกครั้งในการช้อป และก้าวข้ามข้อจำกัดในการตัดสินใจที่จะซื้อในแต่ละครั้ง นโยบายนี้ครอบคลุมการซื้อในกลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ อาทิ ตั๋วอิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ไฟล์เพลงดิจิตอล อีบุ๊ค เกมส์ และการโหลดซอฟท์แวร์และยังมีนโยบายคุ้มครองผู้ขายที่เรียกว่า Seller Protection ที่คุ้มครองผู้ขายจากการถูกหลอกลวงด้านธุรกรรมออนไลน์ด้วยเช่นกัน

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/02/paypal-report-thais-behavior-shopping-online-by-smartphone/

กว่าครึ่งของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอังกฤษ ทำธุรกรรมผ่านมือถือแล้ว

วันนี้ขอนำรายงานจากฝั่งอังกฤษมาให้ชาว thumbsup ได้อ่านกันค่ะ จากรายงานของ Criteo ที่ได้รวบรวมข้อมูลทางการตลาดโดยใช้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเผยว่า กว่าครึ่ง (48.9%) ของการทำธุรกรรมทางการเงินของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอังกฤษนั้น เกิดขึ้นผ่านทางมือถือ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 6% จากปีต่อปี เห็นแบบนี้แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเพิ่มช่องทางการโอนเงินผ่านทางมือถือนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ
782
เพราะมือถือได้เข้ามามีบทบาทต่อแวดล้อมธุรกิจรีเทลมากขึ้นในประเทศอังกฤษ ข้อมูลล่าสุดจาก Criteo ได้กล่าวถึงการสำรวจร้านค้าที่มุ่งการใช้มือถือเป็นศูนย์กลาง และขั้นตอนที่ธุรกิจในอังกฤษควรจะนำมาใช้เพื่อความสำเร็จอันสูงสุด :

  • iPhone ได้กระโดดข้าม iPad มาเป็นเครื่องมืออันดับแรกของการทำธุรกรรมบนมือถือ โดย 19% ของการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับบริษัทอีคอมเมิร์ซสัญชาติอังกฤษเกิดขึ้นบน iPhone ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 7% ในปีถัดจากการเปิดตัว Apple Pay
  • 4 ใน 10 (39%) ของการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในอังกฤษถูกผูกกับหลากหลาย device ในกระบวนการการซื้อ
  • ธุรกิจรีเทลที่มีความล้ำหน้าในการทำธุรกรรมทางมือถือมากที่สุด คือ ธุรกิจแฟชั่นและสินค้าฟุ่มเฟือย โดย 55% ของการทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นผ่านมือถือ
  • แอปได้ผลักดันการทำธุรกรรมผ่านทางมือถือมากขึ้น โดยมีสัดส่วน 65% ของการทำธุรกรรมเกิดขึ้นบนมือถือ และอีก 35% เกิดขึ้นบนเว็บไซต์

การค้นพบนี้มาพร้อมกับรายงานอันใหม่จาก Ovum’s Principal Analyst ที่เขียนโดย Eden Zoller ได้สำรวจแนวโน้มการทำธุรกิจของรีเทลในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเทคโนโลยีจะมีอิทธิพลมากที่สุด และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็จะทำให้ขอบเขตระหว่างออฟไลน์และออนไลน์รีเทลหายไป

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น AR และ AI มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงการค้ารีเทล ทั้งนี้ธุรกิจจะต้องเพิ่มการโน้มน้าวใจให้มากขึ้น มีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ที่เพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าในแต่ละราย เพราะลูกค้าไม่ว่าใครก็ตาม แม้กระทั่งเราเอง ก็มีความคาดหวังสูงในทุกขั้นตอนการซื้อขาย ร้านค้าที่จะประสบความสำเร็จจะเป็นผู้ที่สามารถกำหนดเป้าหมายกลุ่มลูกค้ามากกว่าอุปกรณ์ และสามารถส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่เหมาะกับตัวบุคคลโดยครอบคลุมทั้งในออนไลน์และออฟไลน์

ที่มา : Digital marketing magazine(UK)

 
Source: thumbsup

The post กว่าครึ่งของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอังกฤษ ทำธุรกรรมผ่านมือถือแล้ว appeared first on thumbsup.

from:http://thumbsup.in.th/2016/06/ecommerce-uk-on-mobile/

อังกฤษคว่ำจีน ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ตลาด Mobile Commerce โลก

Mobile-Commerce-UK-Mega-Monday

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านอุปกรณ์พกพากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะการศึกษาล่าสุดพบว่าอังกฤษสามารถแซงหน้าจีน ขึ้นนั่งเก้าอี้ตลาด Mobile Commerce ขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลก

สถิติ Mobile Commerce เมืองผู้ดีอังกฤษนี้ถูกเปิดเผยโดยบริษัทวิจัย Criteo โดยระบุว่าสัดส่วนการซื้อสินค้าบนอุปกรณ์พกพาของชาวอังกฤษนั้นคิดเป็น 46% ของยอดรวมซื้อสินค้าออนไลน์

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Mobile Commerce ในอังกฤษเติบโตคือแรงหนุนจากโปรโมชันสุดแรงที่เหล่าธุรกิจสร้างสรรค์ออกมาเอาใจผู้ใช้ รวมถึงความสะดวกสบายที่ร้านค้ามอบให้ผู้ซื้ออย่างเต็มที่ จุดนี้รายงานระบุว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับบริการ mobile commerce เป็นพิเศษในอังกฤษนั้นประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

UK-Mobile-Commerce-Market-300x224

อีกส่วนสำคัญที่ทำให้ยอดการซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของชาวอังกฤษมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของยอดการซื้อสินค้าออนไลน์ทั้งหมด คือความปลอดภัยในระบบจ่ายเงินผ่านหน้าจอจิ๋วที่รัดกุม จุดนี้รวมถึงการออกแบบแอพพลิเคชันที่ช่วยให้การสั่งซื้อสินค้าเป็นไปได้อย่างสะดวกโยธิน

ก่อนหน้านี้ ฝ่ายวิจัยของ Barclays เคยประเมินว่า ตลาด Mobile commerce ของอังกฤษอาจมีมูลค่ามากกว่า 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในอีก 9 ปีข้างหน้าหรือ 2024 ทั้งหมดนี้ตอกย้ำสัญญาณว่าธุรกิจค้าปลีกในอังกฤษจะให้ความสำคัญกับการต่อยอดตลาดในโมบายต่อเนื่อง

ผลการสำรวจของ Criteo เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขของ Morgan Stanley (ข่าวเก่าบน thumbsup) ที่เคยระบุว่า 3 ประเทศตลาด Mobile commerce ใหญ่ที่สุดในโลกคืออินเดีย จีน และอังกฤษ (ตามลำดับ) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานวิจัยฉบับเต็มของ Criteo ในขณะนี้

ที่มา : MobileCommercePress

from:http://thumbsup.in.th/2015/07/uk-is-the-worlds-second-largest-mobile-commerce-market/

เริ่มแล้ว! ปุ่ม Buy ใน Pinterest เฉพาะผู้ใช้งาน iPhone และ iPad ในอเมริกาเท่านั้น

เมื่อต้นเดือนที่แล้ว Pinterest ออกมาประกาศว่าจะเปิดตัวฟีเจอร์ที่ส่งเสริมการขายทุกๆ Pins ในแอปพลิเคชั่น ซึ่งมันก็คือปุ่ม Buy ที่จะมาช่วยให้การซื้อขายสินค้ามีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

และวันนี้ ตามข้อมูลจากบล็อกของ Michael Yamartino ผู้ดูแลฝ่ายคอมเมิร์ซจาก Pinterest ระบุว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเริ่มใช้งานโปรแกรมดังกล่าวได้แล้ว เริ่มที่อเมริกา เฉพาะใน iPhone และ iPad ส่วนผู้ใช้งานในระบบ Android และเดสก์ทอป ยังคงต้องรอต่อไปโดยไม่มีการระบุเวลาที่แน่ชัด

Screen Shot 2558-07-01 at 10.03.27 PM

ถ้าผู้ใช้งานได้รับอีเมลเกี่ยวกับเรื่องนี้ นั่นแปลว่าบัญชีของผู้ใช้งานคนนั้นสามารถใช้งานปุ่ม Buy ใน Pinterest ได้แล้ว เพียงแค่จัดการอัปเดตให้เรียบร้อยก็จะสามารถใช้งานได้

สำหรับไอเทมที่พร้อมขาย จะมีสัญลักษณ์ Pin กับป้ายบอกราคาสีน้ำเงิน หรือผู้ใช้งานสามารถค้นหารายการสินค้าที่ต้องการได้เช่นกัน

เมื่อตัดสินใจซื้อ แตะที่ปุ่ม Buy และจ่ายเงินได้โดยตรงผ่าน Apple Pay หรือบัตรเครดิต

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆ ฟีเจอร์ที่ออกมารองรับการตัดสินใจซื้อ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกชมสินค้าในส่วนที่มีการรวบรวมรายการที่ถูกซื้อล่าสุด (Shop  our Picks) มาไว้ด้วยกันเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

ที่มา : The Next Web

from:http://thumbsup.in.th/2015/07/pinterest-makes-buyable-pins-available-on-ios-for-us-users/

Amazon ส่ง Stream แพลทฟอร์มชอปปิ้งรูปแบบใหม่ สู้ศึกโมบายล์คอมเมิร์ซ

ยุคแห่งโมบายล์และการแข่งขันที่ดุเดือดในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซระดับโลก คือที่มาของแพลทฟอร์มชอปปิ้งออนไลน์รูปแบบใหม่จาก Amazon 

Amazon ออกมาประกาศว่ากำลังสร้างประสบการ์ชอปปิ้งแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Stream ถ้าดูผ่านๆ อาจจะคิดว่ามันคือพินบอร์ดของ Pinterest คอนเซปต์คือความเรียบง่าย ที่ใครๆ ก็ใช้ได้แบบไม่ต้องปวดหัว เน้นไปที่สินค้าสำหรับผู้หญิง ผู้ชาย และของใช้ในบ้าน

Amazon-Stream-screen

แบรนด์ที่ต้องการให้สินค้าของตัวเองถูกโชว์ จะต้องจ่ายสปอนเซอร์ ทางด้านผู้ใช้งานก็จะมีตัวเลือกให้เก็บสินค้าแต่ละชิ้นไว้ใน Wishlist ได้ ซึ่งมันก็จะแยกกับ Wishlist แบบเดิมของ Amazon ที่มีอยู่แล้ว แต่ Amazon ยังไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมากนักเกี่ยวกับแพลทฟอร์มใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม ในตอนเปิดตัวนี้มันไม่ได้น่าสนใจเท่าไรนัก เพราะยังไม่มีอะไรมากไปกว่าสินค้าสำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และสินค้าในครัวเรือน ซ้ำยังไม่มีเรทติ้งและข้อมูลผู้ขายอีกต่างหาก

Amazon-Stream-2

ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานที่คุ้นเคยกับ Amazon เวอร์ชั่นเดสก์ทอป คุณอาจจะพบว่า Stream มีจุดบกพร่องเต็มไปหมด ทั้งประเภทของสินค้าและข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเหมาะสำหรับการชอปปิ้งด้วยโมบายล์

นักช้อปที่ใช้งาน Stream น่าจะเห็นสินค้าจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็วขึ้น เพียงแค่เลื่อนหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเลตลงมาก็จะเห็นสินค้าประจำวันจำนวนมาก เพราะการออกแบบ UI ที่มีความเรียบง่ายและมินิมอลแบบสุดๆ

ที่มา : The Next Web

from:http://thumbsup.in.th/2015/06/say-hello-to-amazon-stream-a-pinterest-like-endless-shopping-experience/

ผลสำรวจการซื้อผ่านสมาร์ทโฟนในอเมริกา สินค้าอุปโภคบริโภคมาแรงอันดับ 1

การซื้อสินค้าออนไลน์ คือหนึ่งในหัวข้อสนทนาด้านการตลาดดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคนี้ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าบนโมบายล์ ที่กำลังเป็นช่องทางการขายสินค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ และจากสถิติแล้ว สินค้าปลีกที่ขายดีที่สุดบนช่องทางนี้คือ สินค้าอุปโภคบริโภค 

อ้างอิงจากข้อมูลของ PriceWaterhouse Coopers ระบุว่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ถูกซื้อบนช่องทางออนไลน์ มาจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต 37% ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ในขณะที่สินค้าในกลุ่มอื่นๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ หรือสินค้าเพื่อสุขภาพ ก็มีตัวเลขการซื้อจากโมบายล์ใกล้เคียงกับสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งทาง Business Insider ก็ได้ทำนายว่า ยอดขายของสินค้าบริโภคในช่องทางออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนจะโตเร็วกว่าช่องทางการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

ในปัจจุบัน ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วสหรัฐฯ มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ราวๆ 20 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งทาง BI คาดว่าช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์จะโตขึ้นปีละ 21% ในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้

ทั้งนี้ ตลาดอาหารและเครื่องดื่มคือกลุ่มสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ และการสั่งซื้อแบบออนไลน์จะทำให้สินค้าเหล่านี้มาอยู่ที่บ้านคุณโดยไม่ต้องออกเดินทางให้เสียเวลา ทั้งแบบที่เป็นวัตถุดิบพร้อมปรุง หรือแบบปรุงสำเร็จพร้อมทาน เมื่อมันตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ก็ย่อมมีดีมานด์มากตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ทำธุรกิจด้านการขนส่งก็จะหันมาจับตลาดนี้กันหลายๆ เจ้า ตั้งแต่ GrubHub, Amazon และ Uber ต่างก็พากันเปิดตัวแคมเปญที่ว่าด้วยการขนส่งเร็วทันใจกันทั้งนั้นbii-sai-cotd-grocery-mobile-commerce-1

 

ที่มา : Business Insider

from:http://thumbsup.in.th/2015/02/more-people-use-mobile-devices-to-buy-groceries/

ไอบีเอ็มเปิดตัวเมนเฟรม z13 ระบบที่ทรงพลังและปลอดภัยที่สุดเท่าที่เคยมีมา [Official News]

สุดยอดนวัตกรรมก้าวล้ำตอบโจทย์ธุรกรรมยุคโมบายล์แบบเรียลไทม์

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 6 กุมภาพันธ์ 2558: ไอบีเอ็ม [NYSE: IBM] เปิดตัวระบบเมนเฟรมรุ่นใหม่ z13 หนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ที่ก้าวล้ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของธุรกรรมต่างๆ แบบเรียลไทม์ รวดเร็วกว่าระบบคู่แข่งถึง 17 เท่า ปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมในยุคโมบายล์ โดยเฉพาะในแวดวงการเงินการธนาคารหรือค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับการดำเนินการขนาดหลายล้านล้านรายการ พร้อมประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น

ibm_z13_1

เมนเฟรม z13 มอบความสามารถใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน อาทิ

  • z13 มีไมโครโปรเซสเซอร์ที่เร็วที่สุดในโลก โดยเร็วกว่าโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ทั่วไปถึง 2 เท่า ทั้งยังมีหน่วยความจำมากกว่าถึง 300 เปอร์เซ็นต์ และแบนด์วิธมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเป็นระบบแรกที่สามารถประมวลผลธุรกรรมได้มากถึง 2.5 พันล้านรายการต่อวัน โดยธุรกรรมบน z13 จะมีลักษณะต่อเนื่อง ได้รับการปกป้อง และสามารถแก้ไขได้ตั้งแต่ต้นจนจบ เพิ่มความมั่นใจและตอบโจทย์ธุรกรรมโมบายล์ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น 40 ล้านล้านธุรกรรมต่อวันภายในปี 2568
  • z13 คือระบบแรกที่รองรับการเข้ารหัสแบบเรียลไทม์สำหรับธุรกรรมโมบายล์ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใด จึงช่วยปกป้องข้อมูลการทำธุรกรรมต่างๆ และรองรับการตอบสนองที่ฉับไว โดยระบบที่ก้าวล้ำนี้นำไปสู่การจดสิทธิบัตรใหม่กว่า 500 รายการ เช่น เทคโนโลยีการเข้ารหัสลับที่รองรับฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับธุรกรรมโมบายล์ เป็นต้น
  • z13 เป็นเมนเฟรมรุ่นแรกที่มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเวคเตอร์แบบในตัว และส่งมอบข้อมูลการทำธุรกรรมทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้สถาบันการเงินหรือบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่สามารถตรวจจับการฉ้อโกงในธุรกรรมทางธุรกิจได้แบบเรียลไทม์และ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ช่วยหยุดยั้งธุรกรรมก่อนที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค พร้อมการนำเสนอข้อมูลเชิงลึก ‘ขณะเชื่อมต่อ’ รวดเร็วกว่าคู่แข่งถึง 17 เท่า ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย

“ทุกครั้งที่ผู้บริโภคทำการซื้อหรือกดปุ่มรีเฟรชบนสมาร์ทโฟน อาจก่อให้เกิดชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องเพิ่มขึ้นบนระบบประมวลผลที่รองรับธุรกรรมนั้นๆ ตั้งแต่ 4 ถึง 100 ครั้ง เมนเฟรม z13 ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถจัดการกับธุรกรรมหลายพันล้านรายการเหล่านั้นได้อย่างทรงประสิทธิภาพ ในเศรษฐกิจยุคโมบายล์ในปัจจุบัน มีเพียงเมนเฟรมของไอบีเอ็มเท่านั้นที่สามารถนำเอาระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ปลอดภัยที่สุดในโลกมาไว้ในมือคุณ” นายสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจระบบและเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ทุกวันนี้ ผู้บริโภคคาดหวังธุรกรรมโมบายล์ที่รวดเร็ว ง่ายดาย และปลอดภัย สิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจก็คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยและทรงพลัง ที่ผนวกเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ก้าวล้ำเข้าไว้ด้วยกัน”


เมนเฟรม z13 รองรับธุรกรรมโมบายล์และ“ผลกระทบแบบดาวกระจาย” ได้อย่างปลอดภัย

ปัจจุบันผู้บริโภคจำนวนมหาศาลทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์โมบายล์ และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่ช้านี้ โดยแต่ละธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล การเปรียบเทียบกับข้อมูลการซื้อก่อนหน้านี้ การกระทบยอดระหว่างธนาคาร หรือการใช้ส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เป็นสมาชิก ล้วนก่อให้เกิดชุดเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องบนระบบประมวลผลหลายๆ ระบบ เป็น “ผลกระทบแบบดาวกระจาย” (starburst effect) ซึ่งอาจก่อให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ณ แต่ละจุดของการสื่อสาร โดยผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศและไอที 71 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าประเด็นเรื่องความปลอดภัยเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญที่สุดขององค์กรที่ปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์ในการดำเนินงาน (Mobile Enterprise) เพราะมีจุดโจมตีมากมาย

เมื่อผสานรวมเข้ากับโซลูชั่น IBM MobileFirst ระบบเมนเฟรม z13 จะมอบสมรรถนะ ความพร้อมใช้งาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการรักษาความปลอดภัยที่เหนือกว่า รวมถึงประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์พกพา ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างสรรค์แอพที่ดีกว่าและปลอดภัยมากกว่า โดย IBM MobileFirst Protect มอบการรักษาความปลอดภัยที่ไร้รอยต่อและการจัดการแบบครบวงจรสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ โปรแกรม เนื้อหา และธุรกรรมทั้งหมดของลูกค้า

ibm_z13_2

เมนเฟรม z13 ก้าวล้ำด้วยการส่งมอบข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับธุรกรรมทั้งหมด

z13 มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อรองรับการปรับแต่งเพิ่มเติม ทั้งการตรวจสอบรูปแบบการซื้อสินค้าของลูกค้าในแบบเรียลไทม์ เพื่อนำเสนอโปรโมชั่นสำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องก่อนที่ลูกค้าจะเดินออกจากร้าน และในบางกรณีอาจเสนอโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจก่อนที่ลูกค้าจะเดินเข้ามาในร้าน

ระบบ z13 ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถวิเคราะห์ธุรกรรมของลูกค้าได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถใช้เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองสำหรับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ของไอบีเอ็มอย่าง SPSS ปรับแต่งธุรกรรมได้ทันทีที่เกิดขึ้น

สนับสนุน Hadoop เพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง สามารถเพิ่มเติม DB2 BLU สำหรับ Linux ซึ่งรองรับฐานข้อมูลในหน่วยความจำเพื่อเพิ่มศักยภาพการค้นหาข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น เร่งความเร็วของระบบวิเคราะห์ข้อมูล IBM DB2 และเสริมประสิทธิภาพสำหรับเวิร์คโหลดการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านคณิตศาสตร์ได้

เมนเฟรม z13 กับระบบคลาวด์ภายในองค์กรที่สมบูรณ์แบบ

z13 เป็นสถาปัตยกรรมคลาวด์ภายในองค์กร (private) และแบบไฮบริด (hybrid) ที่สมบูรณ์แบบ ด้วยความสามารถในการปรับขนาดและจัดการเวิร์คโหลดมากมายได้อย่างปลอดภัย โดยสถาปัตยกรรมแบบ Scale-out นี้จะสามารถรันเซิร์ฟเวอร์เสมือนได้มากกว่า 50 ระบบต่อหนึ่งคอร์ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของซอฟต์แวร์ ไฟฟ้า และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

มีการประเมินว่าระบบคลาวด์ z Systems บน z13 มีค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบน้อยกว่า 32 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 3 ปี เมื่อเทียบกับระบบคลาวด์ x86 และมีค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบน้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 3 ปี เมื่อเทียบกับระบบคลาวด์สาธารณะ (public) นอกจากนั้น z13 ยังใช้มาตรฐานเปิด จึงรองรับ Linux และ OpenStack ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ibm_z13_3

ตอบโจทย์ด้วยบริการเช่าซื้อตามราคาตลาด

ไอบีเอ็ม โกลบอล ไฟแนนซิ่ง (IBM Global Financing) ยังมอบบริการเช่าซื้อตามราคาตลาดสำหรับเมนเฟรม z13 รุ่นใหม่นี้ พร้อมสินเชื่อผ่อนชำระสำหรับลูกค้าที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและต้องการอัพเกรดจากระบบรุ่นเก่าเป็นรุ่น z13 หรือเปลี่ยนระบบ z ที่มีอยู่ให้เป็นอุปกรณ์เช่าขณะที่อัพเกรด หรือซื้อระบบ z13 เครื่องใหม่

######################

เกี่ยวกับ z13

ระบบ z13 เป็นผลลัพธ์จากการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ และการพัฒนาที่ยาวนานถึง 5 ปี โดยเป็นนวัตกรรมที่นำไปสู่การจดสิทธิบัตรใหม่กว่า 500 รายการ และอาศัยการทำงานร่วมกับลูกค้ากว่า 60 ราย นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งของไอบีเอ็มในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มอบคุณประโยชน์ที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ z13 และ IBM z Systems ได้ที่ ibm.com/systems/z

from:http://www.techtalkthai.com/ibm-releases-new-powerful-mainframe-z13/

LINE เปิดตัวซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ พร้อมบริการจัดส่งฟรี เริ่มไทยที่แรก

Line เคยประกาศเอาไว้ว่าจะอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยในปัจจุบัน Line มีผู้ใช้งานแบบ active user ประมาณ 181 ล้านคนต่อเดือน ล่าสุด เตรียมเปิดตัวร้านของชำออนไลน์ หรือพูดให้ดูดีคือซูเปอร์มาร์เก็ต พร้อมบริการจัดส่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริการซูปเปอร์มาร์เก็ตของ Line จะเริ่มเปิดตัวในไทยเป็นที่แรกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นี้ โดนจะให้ส่วนลดกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้บ่อยๆ เช่น น้ำดื่มแบบขวด กาแฟ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งมีบริการจัดส่งฟรีด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็น 1 ในตลาดระดับท็อปของ Line มีผู้ใช้งานที่เป็น active user ในปัจจุบันราว 36 ล้านคน

Line-gets-into-groceries-with-launch-of-online-supermarket-for-Southeast-Asia

หลังจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ขายสินค้าจำพวกอาหารหรืออุปโภคบริโภคเริ่มจะอยู่ในกระแสมาได้สักพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและเกาหลีใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจาก Line ได้ระบุว่าเห็นโอกาสที่แพลทฟอร์มการชอปปิ้งของผู้คนเริ่มจะถูกเปลี่ยนไปเป็นโมบายล์ ซึ่งจะทำให้การชอปปิ้งผ่านสมาร์ทโฟนมีบทบาทมากขึ้น

แคมเปญนี้ถือเป็นก้าวแรกของ Line ในการที่จะพัฒนาช่องทางที่ตัวเองมี ซึ่งความ้ทาทายอย่างหนึ่งก็คือต้องให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้บริโภคและผู้ค้าปลีกจะได้รับจากโมบายล์คอมเมิร์ซ

ซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ของ Line จะขยายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ยังไม่ได้ระบุวันเวลาที่แน่นอน ดูเหมือนว่าจะมีจำกัดเพียงบางเมืองในแต่ละประเทศมากกว่าที่จะครอบคลุมทั้งหมด  จากการรายงานของ Tech in Asia

from:http://thumbsup.in.th/2015/02/line-gets-into-groceries-with-launch-of-online-supermarket-for-southeast-asia/