คลังเก็บป้ายกำกับ: MERGER

True/dtac เรียกประชุมผู้ถือหุ้นควบรวมบริษัท 23 ก.พ. 66 ชื่อบริษัทใหม่ใช้ “ทรู คอร์ปอเรชั่น”

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ว่าคณะกรรมการของทั้งสองบริษัทฯ ได้มีมติให้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นร่วม ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อพิจารณาและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท

ทั้งสองบริษัทจะดำเนินการควบรวมให้แล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปี 2566 จนกว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ทั้งสองบริษัทจะคงแยกกันดำเนินธุรกิจ โดยให้บริการลูกค้าตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

ชื่อบริษัทที่ได้รับการเสนอในการจดทะเบียนบริษัทใหม่ที่ควบรวมคือ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” โดยที่ทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ในขณะที่แบรนด์ทรูยังเป็นที่รู้จักครอบคลุมถึงธุรกิจบริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล

ทั้งนี้ หลังจากการควบรวม ทั้งแบรนด์ดีแทคและทรูจะยังคงแยกกันให้บริการลูกค้าของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับผู้บริโภค และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ยังเตรียมเสนอรายชื่อคณะกรรมการบริษัทใหม่ เพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมพิจารณาและอนุมัติ โดยประกอบด้วย นายศุภชัย เจียรวนนท์, นายเยอเก้น คริสเตียน อาเร้นท์ โรสทริป, ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, นางกมลวรรณ วิปุลากร, นายกลินท์ สารสิน, นางปรารถนา มงคลกุล, นายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข, ดร.เกา ถงชิ่ง, นางทูเน่ ริปเปล, นายลาส์ เอริค เทลแมนน์ และดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ

ผู้บริหารที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คือ นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ซึ่งปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วมของ True ส่วนนายชารัด เมห์โรทรา CEO ของ dtac ในตอนนี้จะได้รับการเสนอชื่อเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ทั้งสองฝ่ายกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นประมาณร้อยละ 30 อย่างเท่าเทียมในบริษัทใหม่

ที่มา – dtac, dtac (PDF)

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/132236

Unity เสร็จสิ้นการควบรวมกับบริษัทโฆษณา ironSource

บริษัทเอนจินเกม Unity เสร็จสิ้นการควบรวมกับบริษัทโฆษณามือถือ ironSource จากอิสราเอล ตามที่ประกาศไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022

เป้าหมายของดีลนี้คือการสร้างแพลตฟอร์มเกมมือถือแบบครบวงจร ตั้งแต่การสร้าง (build), เผยแพร่ (publishing) และทำเงินจากการโฆษณา ก่อนหน้านี้ Unity มีแพลตฟอร์ม Unity Ads สำหรับโฆษณาอยู่แล้ว แต่การได้แพลตฟอร์มของ ironSource มาร่วมด้วยก็ช่วยให้การหารายได้แข็งแกร่งมากขึ้น

ก่อนหน้านี้เคยมีแพลตฟอร์มโฆษณาอีกรายคือ AppLovin สนใจมาควบรวมกับ Unity ด้วยเช่นกัน แต่สุดท้าย Unity ปฏิเสธและเลือกไปแต่งงานกับ ironSource

ที่มา – Unity

from:https://www.blognone.com/node/131373

Unity ควบรวมกับ ironSource แพลตฟอร์มโฆษณาบนแอพมือถือ ด้วยวิธีแลกหุ้น

Unity บริษัทเอนจินเกมชื่อดัง ประกาศควบกิจการกับ ironSource แพลตฟอร์มการหารายได้ผ่านโฆษณาของแอพมือถือ โดยใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด

ironSource เป็นบริษัทจากอิสราเอล แต่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริการของ ironSource มีสำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอพมือถือ ที่ต้องการระบบวิเคราะห์การใช้งาน เพิ่มจำนวนผู้ใช้เข้าแอพ และหารายได้ (monetization) ผ่านการโฆษณา โดย ironSource เป็นทั้งเครือข่ายโฆษณา (ad network) เองและดึงโฆษณาจากเครือข่ายอื่นๆ มาแสดงผลในแอพด้วย

ดีลนี้ใช้วิธีควบรวมและแลกหุ้น โดยผู้ถือหุ้น Unity จะมีสัดส่วนหุ้น 73.5% ในบริษัทใหม่ ส่วน ironSource ถือ 26.5% บริษัทคาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้

การที่ Unity โดดเด่นในฐานะเอนจินเกมฝั่งมือถือ ทำให้ระยะหลัง Unity มีธุรกิจฝั่งโฆษณา Unity Ads ตามมาด้วย (นักพัฒนาใช้เอนจิน Unity แล้วใช้แพลตฟอร์มโฆษณาของ Unity ต่อเลย) การควบรวมกับ ironSource นั้นก็ชัดเจนว่าต้องการขยายธุรกิจฝั่งโฆษณาเพิ่มเข้ามา

No Description

ที่มา – Unity

from:https://www.blognone.com/node/129351

DTAC และ True ไม่มีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการในที่ประชุม

การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อหารือเรื่องการควบรวมกิจการ ซึ่งจะทำให้ตลาดมือถือไทยมีการเปลี่ยนจำนวนผู้ให้บริการจากสามเหลือเพียงเพียงสองค่ายเท่านั้น

True และ DTAC ไม่ได้เข้าร่วมการพิจารณาด้านกฎระเบียบในการประชุมครั้งนี้ แต่ทั้งสองจะนำเสนอแผนการบริหารหลังจบดีลนี้ เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับตลาดว่าจะยังคงแข่งขันได้หลังจากการควบรวมกิจการในอนาคต
 
ภาพรวมของตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในประเทศไทย
  • ผู้นำตลาดปัจจุบันของประเทศไทยยังเป็นค่าย AIS โดยปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการกว่า 44 ล้ายราย
  • True และ DTAC อันดับสองและสาม ถ้าควบรวมกิจการสำเร็จจะกลายเป็นผู้นำรายใหม่ทันที ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 50 ล้านราย
 
ครั้งแรกที่ทั้งคู่ประกาศความตั้งใจที่จะรวมกิจการเข้าด้วยกันเมื่อปลายปี 2564 ต่างมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูจากคู่แข่งและองค์กรผู้บริโภค เนื่องจากพื้นที่ตลาดจะเปลี่ยนไปจากสามเป็นสองผู้ให้บริการทันที การให้บริการแบบผูกขาดเป็นความเสี่ยงที่ยกขึ้นมาพูดกันมากที่สุด เพราะเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ได้เกิด MVNO แบบผูกขาดขึ้นมาแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นโดยองค์การของรัฐเอง
  • มุมวิพากษ์วิจารณ์จากคู่แข่ง AIS ออกมาเตือนว่า การควบรวมกิจการจะทำให้ตลาดเกิดการผูกขาด และจะเป็นการกีดกันผู้เล่นรายใหม่เข้าสู่ตลาดในอนาคตได้
  • มุมวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรผู้บริโภค ออกมาคัดค้าน โดยอ้างว่าการควบรวมกิจการจะส่งผลร้ายแรงระยะยาวสำหรับผู้บริโภคชาวไทย
  • เสียงคัดค้านอื่นๆ ได้แก่ คุณสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่าข้อมูลแสดงให้เห็นว่าตลาดไทยมีคะแนนดัชนี Herfindahl-Hirschman (HHI) สูงอยู่แล้ว และการควบรวมกิจการจะทำให้แย่ลง
 
HHI เป็นตัววัดความเข้มข้นของตลาดทั่วไป และใช้เพื่อกำหนดความสามารถในการแข่งขันของตลาด
  • คะแนนน้อยกว่า 1,500 ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูง
  • คะแนนมากกว่า 2,500 ถือว่าเข้มข้นมาก
  • ตลาดมือถือของไทยมีอยู่แล้ว 3,700 คะแนน และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 5,016 หากการควบรวม DTAC–True ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อไป (ข้อมูลจาก คุณสมเกียรติ HHI เสริมไว้)
 
เมื่อปีที่ผ่านมา TOT หรือ บมจ. ทีโอที ได้ควบรวมกิจการกับ CAT Telecom หรือ บมจ. กสท โทรคมนาคม เป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อทางการตลาดว่า NT โดยที่รัฐเป็นเจ้าของ ซึ่งทำให้บริการเครือข่ายแบบค้าส่งเกิดการแบบผูกขึ้นสำหรับทั้ง 4 MVNO ในประเทศไทย
 
ทั้ง True และ DTAC จะต้องพิสูจน์แผนการบริหารให้ได้ว่า ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จริง มากกว่าความเสี่ยงจากการการผูกขาด ถึงแม้ว่าในการประชุมจะไม่มีผู้คัดค้านการควบรวมกิจการก็ตาม สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ การประกาศความสำเร็จในการจับมือร่วมกันเรียบร้อยแล้ว เรื่องนี้จะต้องติดตามกันต่อไป
 

from:https://www.techtalkthai.com/dtac-true-absence-leaves-merger-detractors-unchallenged-at-meeting/

HBO Max และ Discovery+ จะรวมกันเป็นบริการเดียว หลังบริษัทแม่ควบรวมกันเสร็จ

บริการสตรีมมิ่งสองตัวคือ HBO Max และ Discovery+ ประกาศควบรวมกันเป็นบริการเดียวในอนาคต

เหตุผลเป็นเพราะบริษัทแม่ของทั้งสองกำลังจะควบรวมกัน นั่นคือ WarnerMedia (แม่ของ HBO) และ Discovery Inc. (แม่ของ Discovery+) เป็นบริษัทใหม่ชื่อ Warner Bros. Discovery ซึ่งกระบวนการจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปี 2022 นี้

หลังควบรวมเสร็จ เราจะเห็นบริการสตรีมมิ่งทั้งสองตัวจะขายพ่วงกันไปก่อน ใช้บัญชีล็อกอินเดียวกันได้ (เหมือนชุดบันเดิล Disney+, Hulu, ESPN+ ที่ซื้อรวมกันถูกกว่า) จากนั้นในระยะยาวจะควบรวม HBO Max กับ Discovery+ เป็นตัวเดียวกัน โดยยังไม่บอกว่าจะใช้ชื่ออะไร

ที่มา – The Hollywood Reporter

No Description

from:https://www.blognone.com/node/127626

Western Digital อาจควบรวมกิจการกับ Kioxia

Wall Street Journal รายงานว่า Western Digital อาจควบรวมกิจการกับ Kioxia ผู้พัฒนา Flash Memory เป็นดีลมูลค่ากว่า 6.5 แสนล้านบาท

Credit: ShutterStock.com

Kioxia เคยอยู่ภายใต้ Toshiba Corp ก่อนจะแยกตัวออกมาในช่วงปี 2018 ปัจจุบันมีบริษัท Bain Capital เป็นหุ้นส่วนรายใหญ่ Kioxia เป็นผู้ผลิตชิป Flash Memory ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยรายงานการควบรวมกิจการในครั้งนี้ยังอยู่ในช่วงพูดคุยเท่านั้น แต่มีโอกาสเป็นไปได้สูง ซึ่งจากรายงานดังกล่าว ทำให้ราคาหุ้นของ Western Digital พุ่งสูงกว่า 7.8%

ที่ผ่านมา Western Digital และ Kioxia มีการร่วมมือกันหลายครั้งในด้านเทคโนโลยีและระบบการผลิต เช่น การร่วมมือกันสร้างโรงงานผลิต Flash Memory ที่มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท หากดีลนี้สำเร็จ คาดว่า David Goeckeler ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Western Digital ในปัจจุบัน จะขึ้นมาเป็น CEO ในบริษัทใหม่อย่างเต็มตัว

Western Digital เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรายใหญ่ โดยดำเนินธุรกิจมามากกว่า 50 ปี ติดอันดับ 182 ใน Fortune 500 ในไตรมาสที่ผ่านมามียอดจำหน่าย Disk Drive และ Flash Memory รวมกันมากกว่า 100 Exabyte

ที่มา: https://siliconangle.com/2021/08/25/report-western-digital-talks-20b-merger-flash-chip-maker-kioxia/

from:https://www.techtalkthai.com/western-digital-talks-merger-with-kioxia/

NortonLifeLock ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ด้วยมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท

NortonLifeLock ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ด้วยมูลค่า 2.8 แสนล้านบาท

ก่อนหน้านี้ในปี 2019 ทาง Broadcom ได้เข้าซื้อธุรกิจ Enterprise Security ของ Symantec และได้เปลี่ยนชื่อเป็น NortonLifeLock ล่าสุด NortonLifeLock ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Avast ผู้พัฒนาแอนตี้ไวรัสจากประเทศอังกฤษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่าสูงถึง 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยผู้ถือหุ้น Avast สามารถเลือกได้ว่าต้องการผลตอบแทนเป็นเงินสดหรือสัดส่วนหุ้นในบริษัท ซึ่งหลังจากที่รวมเป็นบริษัทเดียวกันแล้ว จะทำให้มีลูกค้ารวมกันทั่วโลกถึง 500 ล้านคน และมีรายได้ต่อปีรวมกันที่ 1.1 แสนล้านบาท โดยจะมีการเสริมผลิตภัณฑ์ทางด้าน Cyber Security ร่วมกันในอนาคต

ที่มา: https://seekingalpha.com/news/3728566-nortonlifelock-acquiring-antivirus-company-avast-for-up-to-86-billion

from:https://www.techtalkthai.com/nortonlifelock-acquires-avast-with-8-6-billion-usd/

Arcserve ประกาศควบรวมกิจการกับ StorageCraft เผยแผนสู่การเป็นผู้นำด้าน Data Protection และ Data Management

Arcserve และ StorageCraft ผู้พัฒนาโซลูชันด้าน Data Protection ได้ประกาศถึงการบรรลุข้อตกลงในการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้นำระดับโลกทางด้านการทำ Data Protection และ Data Management ที่มีโซลูชันครอบคลุมทั้งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก

Credit: Arcserve

นอกจากนี้ การควบรวมกิจการร่วมกันจะทำให้ทั้งคู่มีโซลูชันที่ครบทั้งสำหรับการปกป้อง Data Center, Cloud, SaaS และ Edge รวมถึงยังมีทีมขาย, ทีมให้บริการ และพันธมิตรทางการค้าที่ครอบคลุมทั่วโลกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยช่องทางการขายนั้นก็จะมีทั้งกลุ่มที่ขายโซลูชันโดยตรง และนำโซลูชันไปให้บริการต่อในรูปแบบ as-a-Service

หลังจากการควบรวมกิจการกันแล้ว StorageCraft จะกลายเป็นแบรนด์ StorageCraft, an Arcserve Company แทน โดยผู้บริหารของทาง Arcserve และ StorageCraft จะร่วมกันบริหารธุรกิจต่อไป และหลังจากนี้ทั้งคู่จะทำการอัปเดต Partner ทั่วโลกถึงโซลูชันใหม่ๆ ที่จะนำเสนอต่อลูกค้าร่วมกัน

ที่มา: https://info.arcserve.com/press-releases/arcserve-and-storagecraft-merge-to-create-new-global-leader-in-data-protection-and-management

from:https://www.techtalkthai.com/arcserve-merges-with-storagecraft-to-be-a-data-protection-and-management-leader/

2 บริษัท Adtech รวมร่าง! Taboola เข้าซื้อกิจการ Outbrain ด้วยเงิน 850 ล้านเหรียญสหรัฐ หวังสู้ในตลาดโฆษณากับ Google-Facebook

ระบบแนะนำโฆษณาที่ขึ้นมาในรูปแบบการแนะนำบทความทั้ง Taboola และ Outbrain ที่บางคนอาจจะเรียกว่าเป็น Adtech Startup กำลังจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว! เมื่อ Taboola เข้าซื้อกิจการของคู่แข่งทางธุรกิจอย่าง Outbrain มูลค่ารวมสูงถึง 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 25,784 ล้านบาท และใช้ชื่อบริษัทเป็น Taboola เพียงอย่างเดียว

หากใครนึกไม่ออกว่าโฆษณาของ Taboola และ Outbrain เป็นแบบไหน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือโฆษณาที่อยู่ในระหว่างเนื้อหา ใต้เนื้อหา หรือข้างๆ เนื้อหาของเว็บไซต์ที่เป็น Publisher ต่างๆ ซึ่งรายได้ก็จะแปรผันตามโฆษณา

ทั้งสองบริษัทก่อตั้งที่ประเทศอิสราเอล แต่มีสำนักงานใหญ่ที่นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Outbrain ก่อตั้งในปี 2549 ส่วน Taboola ก่อตั้งในปี 2550

การรวมกันกิจการในครั้งนี้ จะทำให้ทั้งสองบริษัท

  • มีพนักงานมากกว่า 2,000 คน ในสำนักงาน 23 แห่ง
  • มีฐานผู้ใช้ที่เข้าถึงโฆษณาอยู่ที่ 2,600 ล้านราย
  • มีจำนวนลูกค้าอยู่ที่ 20,000 ราย ทั้งในอเมริกาเหนือ, ละตินอเมริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิก
  • มีพาร์ทเนอร์สื่อที่ทำงานร่วมกันก็จะมีทั้ง
    • CNBC, NBC News, USA TODAY, BILD, Sankei, Huffington Post, Microsoft, Business Insider, The Independent, El Mundo และ Le Figaro จาก Taboola
    • CNN, BBC, The Washington Post, The Guardian, Spiegel Online, El Paris และ Sky News จาก Outbrain

โดยผู้ถือหุ้น Outbrain จะได้รับหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์และเงินสดมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7,630 ล้านบาท)

Adam Singolda CEO Taboola
อดัม ซิงโกลด้า ผู้ก่อตั้งและ CEO คนปัจจุบันของ Taboola

ส่วนตำแหน่งผู้บริหารคนสำคัญหลังควบรวมกิจการจะเป็นดังนี้

  • อดัม ซิงโกลด้า (Adam Singolda) ผู้ก่อตั้งและ CEO คนปัจจุบันของ Taboola จะยังดำรงตำแหน่ง CEO ต่อไป
  • อัลดาด มานีฟ ผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Taboola และเดวิด โคสต์แมน Co-CEO ของ Outbrain ก็จะมีส่วนร่วมในการบริหาร Taboola ต่อไป
  • ส่วนยารอน กาไล CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Outbrain จะมีส่วนร่วมในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปอีก 12 เดือนจนกว่าการควบรวมกิจการจะเสร็จสิ้น

นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทมีแผนที่จะขายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ ต่อไป ซึ่งตอนนี้เราก็คงพอทราบกันอยู่แล้ว Taboola ก็มีสำนักงานในประเทศไทยอยู่แล้ว

น่าสนใจว่าการรวมกิจการครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า Taboola และ Outbrain ก็เตรียมสู้กับ Google และ Facebook ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์ที่ได้เม็ดเงินจากทั่วโลกไปมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่ง Traffic เว็บส่วนใหญ่ในเวลานี้ก็ไหลไปยัง Google Search, YouTube และบน News Feed ของ Facebook

รวมถึงมีข่าวว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมักเปิดตัวบล็อคโฆษณาหรือ Ad-blocker มากขึ้นจาก 24.7 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 27 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีข่าวว่า Facebook กำลังพยายามสร้างแท็บรวมข่าวหรือ News Tab อีกด้วย

ประกอบกับข้อมูลของ eMarketer ปี 2562 ระบุว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเงินที่ลงโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลในสหรัฐอเมริกา อยู่ในมือของผู้เล่นหลักเพียง 3 ราย คือ Facebook, Google และ Amazon ทำให้สำนักข่าวออนไลน์ และ Publisher ต่างๆ ต้องสู้กับการถูกแย่งรายได้จากยักษ์ใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

”การร่วมมือกันครั้งนี้เรายังคงเดินหน้าลงทุนในการทำให้เม็ดเงินโฆษณาทุกบาททุกสตางค์ไปถึงองค์กรสื่อและผู้ผลิตคอนเทนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่วงการสื่อสารมวลชนในทศวรรษหน้า และนั่นคือเหตุผลที่เกิดการควบรวมกิจการครั้งนี้และพันธกิจของเรา” อดัม ซิงโกลด้า CEO กล่าวอย่างมั่นใจว่าจะสู้ในสนามนี้เพื่อช่วยเหล่า Publisher ต่อไป

ที่มา: Taboola, Outbrain (1) (2), New York Times, TechCrunch และข่าวประชาสัมพันธ์ Taboola ประเทศไทย

from:https://www.thumbsup.in.th/adtech-company-taboola-bought-outbrain

Cloudera และ Hortonworks ควบรวมกิจการเสร็จสิ้นแล้ว มุ่งสู่การเป็นธุรกิจ Open Source AI ในปี 2019

หลังจากที่ประกาศถึงแผนการควบรวมกิจการกันมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 ที่ผ่านมา ในที่สุด Cloudera และ Hortonworks อดีตคู่แข่งด้านระบบ Open Source Big Data ก็ได้ควบรวมกิจการแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน Open Source AI ต่อไปในอนาคต

Credit: Cloudera

ในวันที่ 3 มกราคม 2019 นี้ Cloudera และ Hortonworks ได้ออกมาประกาศร่วมกันถึงการควบรวมกิจการกลายเป็นบริษัทเดียวกัน และเตรียมสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้ภาคธุรกิจนั้นสามารถใช้งานเทคโนโลยีด้าน Artificial Intelligence หรือ AI ได้บน Open Source Platform ทั้งหมด เหมือนที่ก่อนหน้านี้ทั้งคู่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาด Open Source Big Data Platform โดยมี Apache Hadoop เป็นศูนย์กลาง

การควบรวมกิจการครั้งนี้ถือเป็นการทำให้ธุรกิจของทั้งคู่เติบโตยิ่งขึ้นและสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น โดยฐานลูกค้าเดิมของทั้งคู่นั้นแทบจะไม่ทับกันเลย ในขณะที่ธุรกิจเองก็ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีเงินสดเหลือเกินกว่า 500 ล้านเหรียญหรือราวๆ 16,000 ล้านบาทด้วย

สำหรับวิสัยทัศน์ถัดไปนั้น ทั้งสองบริษัทจะรวมอยู่ภายใต้ชื่อของ Cloudera แทน และจะมุ่งมั่นสู่การเป็นผู้ให้บริการด้าน Enterprise Data Cloud โดยมีเทคโนโลยี Big Data ที่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่บน Edge Computing ไปจนถึงบน Cloud และสามารถต่อยอดการประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ไปสู่การสร้าง AI ขึ้นมาใช้งานในภาคธุรกิจได้

ก็ถือเป็นอีกดีลที่ส่งผลไม่น้อยต่อวงการ Open Source สำหรับภาคธุรกิจทีเดียว เพราะเดิมที Cloudera กับ Hortonworks นั้นถือเป็นคู่แข่งกันอย่างชัดเจนด้วยแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้งานนั้นก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย

ที่มา: http://vision.cloudera.com/the-new-cloudera/

from:https://www.techtalkthai.com/cloudera-and-hortonworks-complete-merger/